ฉบับที่ 167 ปัญหานักศึกษากับบัตร Rabbit รถไฟฟ้า BTS

“รถติด” ปัญหาชีวิตคนเมืองกรุงเทพฯ  ทั้งนักเรียน  นักศึกษา คนทำงาน  โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วนทั้งช่วงเช้า และช่วงเย็น  คนกรุงเทพฯ มักจะหลบเลี่ยงการจราจรที่คับคั่ง  รถติดยาวเหยียด ด้วยการหันไปใช้บริการรถไฟฟ้า BTS  กันมากขึ้น  ต้องบอกว่าแน่นไม่แพ้กัน ทำให้ต้องขยายเส้นทางกันมากมาย และยังให้นักเรียน นักศึกษา ใช้รถไฟฟ้า  BTS  ในราคาถูกกว่าผู้ใช้บริการทั่วไป ดังเช่น น้องลัคนา นักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชน ที่เพิ่งจบการศึกษาหมาดๆลัคนาเล่าให้เราฟังว่า “ใช้บริการมาตลอดตั้งแต่เรียนปีที่ 2  โดย ซื้อบัตร Rabbit เพื่อความสะดวกในการใช้เดินทาง จนเมื่อเช้าวันพฤหัสบดี ที่ 11 ธันวาคม 57 สถานที่ BTS บางหว้า น้องกำลังจะเดินทางไปอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ โดยนำบัตรไปใช้บริการตามปกติ แต่เครื่องอัตโนมัติได้เตือน ว่าไม่สามารถผ่านได้ ต้องเติมเงินเท่านั้นเธอจึงไปที่เคาน์เตอร์เติมเงินลงบัตรแรบบิท จำนวน 100 บาท เพราะเป็นช่วงต่อขยาย ผู้ร้องใช้บัตรแรบบิทแบบเติมเที่ยว เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้น ได้นำบัตรไปใช้บริการ ระหว่างนั้น พนักงานท่านหนึ่ง  ได้เรียกและขอดูบัตรแรบบิท พร้อมกล่าว ขอดูบัตรประชาชน และบัตรนักศึกษา แต่ในช่วงระยะเวลานั้น ผู้ร้องมีเพียงบัตรประชาชน จึงยื่นไปแต่พนักงานพูดจาไม่รู้เรื่อง ถึง 2 รอบ แต่จับประเด็นได้ว่า ขอยึดบัตรแรบบิท พร้อมเขียนบิล(ยึดบัตรโดยสาร)พนักงานกล่าวว่า ถ้าจะเอาคืน ต้องเอาบัตรนักศึกษามาแนบ ภายในระยะเวลา 3 วัน และให้ผู้ร้องออกมา พร้อมบอกว่าให้ไปซื้อบัตรหยอดตู้ รายวันใช้ใหม่  แล้วค่อยกลับเข้าไปใหม่  ในช่วงนั้นผู้ร้องรู้สึกสิ้นหวังสิ้นหวังสุดๆ เพราะมีเงิน เพียง 100 บาท แต่นำไปเติมค่าโดยสารหมดแล้ว  ต้องจำยอมไปถอนเงินซื้อบัตรใหม่ วันรุ่งขึ้นเมื่อไปติดต่อขอรับบัตรคืน  กลับถูกปฏิเสธพนักงานอ้างว่าเรียนจบแล้ว เพระบัตรนักศึกษาหมดอายุ ใช้ไม่ได้  น้องนึกในใจว่า แล้วที่ยอมให้เติมเงินได้ทุกครั้งล่ะ?   แล้วที่เขียนว่าอายุไม่เกิน 23 ปีล่ะ เขียนไว้ทำไม  บัตรก็เป็นของเราแค่เพิ่งเรียนจบ งานก็ยังไม่ได้ทำ งั้น…ขอเงินคืนได้หรือไม่  พนักงานบอกว่าไม่ได้น้องจึงมาขอคำปรึกษา ว่าทำอะไรได้บ้างไหม ศูนย์พิทักษ์หลังจากรับฟังเรื่องราว  และมาตรวจสอบข้อมูล  พบว่า “เงื่อนไขในการใช้บัตรชนิดนี้มีกำหนดแต่เพียงว่า “สำหรับนักเรียน  นักศึกษา ที่มีอายุไม่เกิน 23 ปีบริบูรณ์ ตามบัตรประชาชนและศึกษาในสถานศึกษาในประเทศไทย ศึกษาในต่างประเทศ  เนติบัณฑิต โรงเรียนฝึกอาชีพ และโรงเรียนสอนภาษา  และไม่ต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้มีสิทธิใช้บัตรโดยสารประเภทดังกล่าวในเวลาซื้อบัตรโดยสาร” พนักงานใช้วิธีเพียงสุ่มตรวจเท่านั้น  ซึ่งมิใช่มาตรการที่รัดกุม  และบัตรนั้นเป็นของผู้ร้องเอง ที่มิใช่นำของผู้อื่นมาใช้  จึงเห็นด้วยว่า ที่บริษัทฯ ไม่ให้โอกาส ผู้บริโภคแก้ตัว เช่น การคืนเงิน น่าจะพูดคุยกันได้ จึงแนะนำให้ น้องลัคนาทำหนังสือถึง บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ขอให้คืนเงินในบัตรที่เติมเป็นเงินค่าส่วนต่อขยาย และราคาค่าเที่ยวที่ยังคงเหลือทั้งหมด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 112-113 เมื่อเด็กไทยไม่สามารถเข้าถึงตำราลิขสิทธิ์

  วันนี้ ฉลาดซื้อ ชวนคุณเข้ารั้วมหาวิทยาลัย ซึ่งใครๆ ก็รู้ว่ามีการใช้ “ตำราเรียนฉบับขาวดำ” (ซีรอกส์) ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกันอย่างแพร่หลาย เพื่อไปสอบถามความเห็นของนักศึกษาว่าพวกเขาคิดอย่างไรกับเรื่องของตำราต้นฉบับ และเหตุใดพวกเขาจึงนิยมใช้ฉบับขาวดำกันมากกว่า เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคโดยฉลาดซื้อ ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ในเขตกรุงเทพมหานครและนนทบุรี จำนวน 480 คน* เรื่องปัญหาและอุปสรรคในการเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์_____* หมายเหตุ การสำรวจครั้งนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) และประเทศสมาชิกอีกกว่าสิบประเทศ ได้ทำสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภคในประเทศของตนเอง การสำรวจนี้เป็นส่วนหนึ่งการเก็บข้อมูลเพื่อการรณรงค์ในระดับนานาชาติเพื่อเพิ่มระดับการเข้าถึงความรู้ (A2K: Access to Knowledge)   เหตุผลที่นักศึกษาจะตัดสินใจซื้องานที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง  -- ใกล้เคียงกันมากระหว่าง คุณภาพ ราคา และการหาซื้อได้สะดวก   89%  ของผู้ตอบจะซื้อตำราเรียน (รวมถึงภาพยนตร์ เพลง และโปรแกรมคอมพิวเตอร์) ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องถ้างานนั้นมีคุณภาพที่ดีกว่างานที่ทำซ้ำโดยผิดกฎหมาย 87% ของผู้ตอบแบบสำรวจตอบว่าตนเองจะซื้องานที่มีลิขสิทธิ์  ถูกต้อง (แทนที่จะซื้อฉบับที่ทำซ้ำโดยผิดกฎหมาย) ถ้าราคาของฉบับลิขสิทธิ์เป็นราคาที่ตนเองสามารถจ่ายได้ 85% เห็นด้วยว่าจะซื้องานที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้องถ้าตนเองสามารถหาซื้อได้สะดวก   ทำไม “ตำราเรียนฉบับขาวดำ” ถึงมีอยู่ทั่วไปในรั้วมหาวิทยาลัย จากการสัมภาษณ์นักศึกษาปีสี่ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เธอกล่าวว่า “ของจริงมันแพง .. สมมุติว่า หนังสือเล่มละพัน เรียนแปดวิชาก็ปาไปแล้วแปดพัน ตายพอดีถ้าซื้อของลิขสิทธิ์”   จากคำพูดนี้ เราคงพอจะอนุมานได้ว่าสินค้าลิขสิทธิ์ราคาฉบับลิขสิทธิ์นั้นเป็นอย่างไร ตัวอย่าง หนังสือ Biology (Seventh Edition) ของ Neil A. Campbell และ Jane B. Reece ซึ่งเป็น International Edition ราคา 1,000 บาท มีประมาณ 1,200 หน้า หากถ่ายเอกสาร หน้าละ 50 สตางค์ ราคาก็จะลดลงเหลือเพียงครึ่งเดียว หรือถ้าถ่ายทั้งเล่มอาจจะได้ราคาถูกกว่านี้ ซึ่งอาจรวมถึงคุณภาพที่ด้อยลงด้วย แต่หลายคนก็ยอมรับเรื่องนี้ได้ อาจเป็นเพราะเด็กไทยอาจจะต้องอดข้าวหลายสิบมื้อเวลาที่ต้องการจะซื้อหนังสือสักเล่ม อีกคำสัมภาษณ์จากนักศึกษาชั้นปีที่สี่ คณะสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พบว่า เคยถ่ายเอกสารตำราเรียนภาษาต่างประเทศทั้งเล่ม เพราะราคาแพงและไม่ทราบว่าจะหาซื้อตำราเล่มดังกล่าวได้จากที่ไหน “ราคามีส่วนสำคัญมากเวลาจะซื้อหนังสือ แล้วอีกอย่าง ไม่รู้ด้วยว่าหนังสือพวกนี้หาซื้อได้จากไหน” แต่ยังมีนักศึกษาอีกหลายคนลงที่ทุนซื้อตำราเรียนต่างประเทศฉบับลิขสิทธิ์ เพราะต้องการคุณภาพ และคิดว่ามัน “คุ้มค่า”  นักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คนหนึ่งตอบว่า “ซื้อสิ เอาไว้ดูรูป มันจำเป็นและได้ใช้ไปตลอด”   แล้วทำไมไม่ใช้วิธียืม????นักศึกษากลุ่มที่เราไปทำการสำรวจจำนวนไม่น้อยเคยประสบปัญหาในการยืมตำราเรียนต่างประเทศ สาเหตุหลักคือห้องสมุดยังมีให้เพียงพอ   76.6% บอกว่าหนังสือที่มีในห้องสมุดไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้ 72% ตอบว่าห้องสมุดไม่มีตำราเล่มที่ตนต้องการ   นักศึกษาคณะสหเวชคนเดิมพูดเกี่ยวกับการยืมว่าส่วนใหญ่จะยืมจากห้องสมุด  ตอนอยู่ปี 2 ที่เรียนวิชารวมกับคณะอื่นๆ เคยมีปัญหาเรื่องยืมตำราเรียนไม่ทันเพราะห้องสมุดมีหนังสือไม่พอ จนสอบตก “ตอนที่เรียนใหม่ ๆ ใช้วิธียืมเอาแล้วยอมเสียค่าปรับ เสียเงินร้อยสองร้อยบาทดีกว่าสอบตก” แต่ทั้งนี้พอเรียนปีสูงขึ้น ก็ไม่มีปัญหาเรื่องหนังสือในห้องสมุดไม่เพียงพอ  จากการสอบถามนักศึกษาที่เรียนสายวิทยาศาสตร์ พบว่า นักศึกษาเหล่านี้ใช้วิธีการถ่ายเอกสารและยืมจากห้องสมุด ซึ่งก็ยืมได้บ้างไม่ได้บ้าง ส่วนเหตุที่ไม่ซื้อฉบับลิขสิทธิ์นั้นก็คงเดากันได้ว่าเป็นเพราะ “ราคา” นั่นเอง  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point