ฉบับที่ 216 กระแสต่างแดน

ขอคืนพื้นที่        Adblock Cardiff เรียกร้องให้เทศบาลเมืองเลิกหารายได้จากการให้เช่าพื้นที่ทำป้ายโฆษณาที่พวกเขาบอกว่า “เป็นมลพิษต่อสุขภาพจิต” ของผู้คน เพราะมันพร่ำบอกอยู่ทุกเช้าค่ำว่าชีวิตพวกเขา “ขาดอะไรบางอย่าง”        องค์กรดังกล่าวขอให้เทศบาลคาร์ดิฟพิจารณาผลกระทบในระยะยาวและเคารพสิทธิผู้บริโภคที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงโฆษณาเหล่านี้ได้แม้จะไม่ต้องการเห็นมัน         ด้านโฆษกเทศบาลชี้แจงว่านอกจากสร้างรายได้ให้รัฐแล้ว ป้ายพวกนี้ยังช่วยเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ประชาชนด้วย นักวิเคราะห์สื่อก็มองว่านี่เป็นเรื่องปกติที่ทำกัน ป้ายรถเมล์ในลอนดอนก็สร้างโดยบริษัทที่จ่ายค่าเช่าพื้นที่ให้กับเทศบาลนั่นเอง        การเคลื่อนไหวแบบเดียวกันนี้ที่เมืองบริสตอลสามารถระงับการให้อนุญาตติดตั้งป้ายโฆษณาดิจิทัลขนาดใหญ่ถึง 11 ป้ายในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา ในขณะที่เซาเปาโลซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของบราซิลได้แบนโฆษณาแบบนี้ไปแล้วจ่ายให้จบ        สภารีไซเคิลแห่งออสเตรเลียว่าจ้างบริษัท Equilibrium ให้ศึกษาแนวทางจัดเก็บ “ค่ารีไซเคิล” ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ก่อนจะประชุมเพื่อทำ “นโยบายขยะแห่งชาติ” ในเดือนกุมภาพันธ์นี้        อัตราที่เหมาะสมในการเรียกเก็บค่ารีไซเคิลจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ยางรถยนต์ และที่นอน (ตั้งแต่จัดเก็บ ขนส่ง คัดแยก และนำกลับมาใช้ใหม่ รวมถึงค่าบริหารจัดการและค่าการตลาด) มีดังนี้        ขยะเครื่องใช้ไฟฟ้ามีค่าใช้จ่าย 1.85 เหรียญ (41 บาท) ต่อน้ำหนักสินค้า 750 กรัม กาต้มน้ำไฟฟ้าที่หนัก 1.3 กิโลกรัมจึงมีค่ารีไซเคิล 3.20 เหรียญ (71 บาท)        ยางรถยนต์หนึ่งเส้นมีค่ารีไซเคิล 4 เหรียญ (89 บาท) และที่นอนหนึ่งหลังมีค่ารีไซเคิล 16.50 เหรียญ (365 บาท) เฉลี่ยแล้วค่าธรรมเนียมนี้อยู่ที่ร้อยละ 2 ของราคาสินค้า        คนออสซี่สร้างขยะปีละ 2,700 กิโลกรัมต่อคน ออสเตรเลียจริงจังกับมาตรการรีไซเคิลมากขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่จีนประกาศไม่รับอุปการะขยะต่างประเทศองจำกัด        รัฐมนตรีกระทรวงขนส่งของเยอรมนีให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นฉบับหนึ่งว่าทางหลวงของประเทศเขาปลอดภัยที่สุดในโลก…        แต่สถิติขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) ระบุว่าอัตราการเสียชีวิตต่อระยะทาง 1,000 กิโลเมตรของทางหลวงในเยอรมนีอยู่ที่ร้อยละ 30.2 ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของยุโรปคือร้อยละ 26.4 และ OECD ยังพบว่าความเร็วที่เพิ่มขึ้นผันแปรโดยตรงต่ออัตราการตายที่สูงขึ้น        พูดให้ชัดคือทางหลวงในฝรั่งเศส ฟินแลนด์  สหราชอาณาจักร โปรตุเกส และสวีเดน ปลอดภัยกว่าในเยอรมนีซึ่งร้อยละ 70 ของทางหลวงไม่มีการจำกัดความเร็ว        รอดูกันว่ารัฐบาลเยอรมนีจะจัดการอย่างไร ก่อนหน้านี้ก็เคยมีเสียงเรียกร้องให้จำกัดความเร็วบน “ออโต้บาห์น” เพราะผลการศึกษาพบว่าการจำกัดความเร็วจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไฮโดรคาร์บอนลงได้ร้อยละ 9 และลดการปล่อยไนโตรเจนออกไซด์ลงได้ร้อยละ 6 ด้วยขออภัยในความไม่สะดวก        ร้านสะดวกซื้อในญี่ปุ่นประกาศยุติการขาย “นิตยสารผู้ใหญ่” ภายในเดือนสิงหาคมนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศที่เป็นมิตรต่อทุกคน ก่อนที่ญี่ปุ่นจะเปิดบ้านเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกในปี 2020        สามแบรนด์ใหญ่ต่างเห็นตรงกันว่าไม่ควรทำให้อาคันตุกะจากต่างแดนที่จะเริ่มมาเยือนตั้งแต่ปีนี้เพื่อชมการแข่งขันรักบี้เวิลด์คัพได้ภาพลักษณ์ที่ผิดๆ เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น        เซเว่นอิเลฟเว่นบอกว่าก่อนหน้านี้ลูกค้าหลักของร้านคือผู้ชายที่เข้ามาซื้อเครื่องดื่มและอาหารฟาสต์ฟู้ด แต่ปัจจุบันมีลูกค้าทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ที่สำคัญยอดขายนิตยสารเหล่านี้มีสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายใน 20,000 สาขาทั่วประเทศ        ด้านแฟมิลี่มาร์ทซึ่งมี 16,000 สาขาทั่วประเทศ ก็เริ่มหยุดขายนิตยสารนี้ไปแล้วใน 2,000 สาขา        ลอว์สันซึ่งหยุดการขายนิตยสารนี้ในสาขาที่โอกินาวาไปตั้งแต่สองปีก่อน ก็เตรียมจะใช้นโยบายนี้ใน 14,000 สาขาทั่วประเทศเช่นกันลดแล้วลดอีก        ปักกิ่งมีแผนจะลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศลงจากเดิมให้ได้อีกร้อยละ 1 จากปีที่แล้วที่สามารถลดจากปีก่อนหน้าได้ถึงร้อยละ 12 จนเหลือปริมาณฝุ่นอยู่ที่ 51 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร        “โครงการหนึ่งไมโครกรัม” นี้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเมืองที่ได้ลงมือทำทุกอย่างที่ควรทำเพื่อลดปริมาณฝุ่น แม้แต่เชื้อเพลิงที่ใช้เพื่อให้ความอบอุ่นในบ้านเรือนทุกวันนี้ก็เปลี่ยนจากถ่านหินมาใช้พลังงานสะอาดแล้ว        รัฐมนตรีกระทรวงนิเวศน์วิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีนยอมรับว่า การรักษาระดับปริมาณฝุ่นไม่ให้สูงกว่าเดิมในสภาวะอากาศที่อาจไม่เป็นผลดีต่อคุณภาพอากาศก็ถือเป็นชัยชนะแล้ว        สาเหตุหลักของฝุ่นจิ๋วในปักกิ่งมาจากการคมนาคมขนส่ง (ร้อยละ 45) โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถบรรทุกที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล รัฐบาลจึงมีมาตรการติดตามการเคลื่อนไหวของรถเหล่านี้ด้วยระบบออนไลน์ ในขณะที่ไซต์งานก่อสร้าง ซึ่งเป็นตัวการสร้างฝุ่นอันดับสอง (ร้อยละ 16) ก็กำลังถูกจับตาผ่านกล้องวิดีโอเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >