ฉบับที่ 185 สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 300บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ สำหรับขนมไทย อาหารไทย หลายตำรับนั้น น้ำตาลมะพร้าวที่นำมาปรุงประกอบจะให้รสสัมผัสที่นุ่มนวล หวานมันกว่าน้ำตาลทราย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหาร โดยในอดีตน้ำตาลมะพร้าวแท้ ต้องได้จากการเคี่ยวน้ำหวานที่ปาดจากดอกมะพร้าว(งวงหรือจั่นมะพร้าว) เคี่ยวไฟจนเกือบแห้งแล้วบรรจุในปี๊บ เรียกกันว่า น้ำตาลปี๊บ หรือใส่ในเบ้าหรือถ้วยหลุมตื้นที่เรียกว่า น้ำตาลปึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนมะพร้าว แต่ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้อาจไม่คุ้มทุนและเจอปัญหาในการผลิตหลายอย่าง จึงเกิดการใช้น้ำตาลอย่างอื่น เช่น น้ำตาลทราย มาผสมให้มีรูปแบบอย่างน้ำตาลมะพร้าว ทำให้คุณค่าและรสชาติแท้ๆ ลดลงไป รวมถึงการปนเปื้อนของสารตกค้างอย่าง สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงลองหยิบจับน้ำตาลมะพร้าวทั้งที่บอกว่า แท้ และชนิดเลียนแบบ ซึ่งวางขายในห้างค้าปลีกและร้านค้าในตลาดสด จำนวน 21 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาว ซึ่งทางราชการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตได้แต่ต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด(ดูท้ายตาราง)ไปดูกันเลยว่าน้ำตาลมะพร้าวของใครไม่มีสารฟอกขาวบ้าง     สารฟอกสีเหล่านี้  เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium hydrosulfite) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผงซักมุ้งสารประกอบซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้ เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่ จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ   อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ของ Suttiphan (สุทธิภัณฑ์) ที่แบ่งจำหน่ายที่ ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซีคอนบางแคนั้น ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ทั้งสองตัวอย่าง มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ในฉลากของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งจำหน่ายในห้างท็อปฯ จะให้รายละเอียดที่มากกว่า ซึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากห้างกูร์เมต์ฯ นั้น ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่  281  พ.ศ. 2547 และประกาศ อย เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อ 1  กิโลกรัมข้อสังเกต ยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำตาลมะพร้าว จึงใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดในน้ำตาลทรายละเอียด   ฉลาดซื้อแนะ1.ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าวแท้ หรือน้ำตาลมะพร้าวแบบผสม นอกจากนี้ควรมีการระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต ขนาดบรรจุ ราคาที่แน่นอน คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ และแหล่งผลิตพร้อมชื่อยี่ห้อสินค้าที่ชัดเจน 2.ไม่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาวจนผิดธรรมชาติ น้ำตาลมะพร้าวแท้จะมีสีคล้ำเนื่องจากการเคี่ยวไฟเป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำตาลปึกต้องไม่มีลักษณะแข็งกระด้างจนเกินไป 3.หากพบว่าน้ำตาลมะพร้าวที่ซื้อมา มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมาก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องโดยสียังคงขาวนวล ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาวในปริมาณมาก      -------------------------------------------------- >>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 300 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >