ฉบับที่ 253 น้ำส้มกล่องหมดอายุ

        มินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อ ทำให้เราสามารถหาซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เราก็สะดวกด้วย อยากได้อะไรก็สามารถเข้าไปซื้อได้เลย แต่บางทีความสะดวก ง่าย รวดเร็ว อาจไม่ได้หมายถึงว่า เราควรจะวางใจจนไม่รอบคอบ ทั้งในฝ่ายของผู้ประกอบการและผู้ซื้อ เรามาดูกรณีนี้กัน         ภูผา อยากดื่มน้ำส้มหวานๆ เย็นๆ ให้ชื่นใจสำหรับหน้าร้อนอันแสนทรมาน จึงแวะเข้าร้านสะดวกซื้อระหว่างเดินไปทำงาน ด้วยความรีบ (เพราะสายแล้ว) เขาเดินปรี่เข้าไปหยิบน้ำส้มในตู้แช่มา 1 กล่อง แล้วรีบไปจ่ายเงินโดยความรวดเร็ว พอถึงสำนักงานหลังจากสแกนนิ้วเข้าสถานที่ทำงานได้เรียบร้อย ก็เจาะกล่องน้ำส้มดูดอย่างว่องไว แต่แล้วก็ต้องหน้าเบ้เพราะพบว่ารสชาติแปลกๆ เขาจึงหมุนกล่องไปดูวันหมดอายุที่นี้แหละรู้เลยว่าทำไม น้ำส้มถึงรสชาติแปลกๆ นั่นก็เพราะว่า น้ำส้มกล่องนี้หมดอายุไปแล้ว 2 วัน “อ้าว หมดอายุแล้วเอามาวางขายได้ไง”  ภูผาไม่เข้าใจว่าทำไมร้านสะดวกซื้อถึงเอาสินค้าหมดอายุมาขายให้เขา ร้านสะดวกซื้อน่าจะตรวจสอบให้ดีกว่านี้นะ ออกจะเป็นร้านมากสาขาใหญ่เสียขนาดนั้น แม้ราคาน้ำส้มกล่องไม่กี่บาท แต่เขาไม่รู้ว่าเขาจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างไหม เพราะว่าไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไป จึงมาขอคำปรึกษามูลนิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา        ศูนย์พิทักษ์สิทธิ แนะนำว่าผู้ร้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ดังนี้        1. ถ่ายรูปกล่องน้ำส้ม ถ่ายให้เห็นฉลากสินค้าวันผลิต – วันหมดอายุ ล็อตการผลิต พร้อมเก็บกล่องน้ำส้มและใบเสร็จจากร้านสะดวกซื้อไว้เป็นหลักฐาน (ให้ถ่ายสำเนาใบเสร็จเก็บไว้ด้วยป้องกันใบเสร็จลบเลือน)         2. นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษ ที่สถานีตำรวจบริเวณใกล้ที่ทำงาน เพื่อเป็นหลักฐาน         3. ให้ติดต่อร้านสะดวกซื้อที่ซื้อน้ำส้มมา ขอให้ทางร้านแก้ไขปัญหา พร้อมชดเชย เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยต้องคิดให้ดีว่าจะให้ร้านสะดวกซื้อรับผิดชอบอย่างไร เช่น ขอเปลี่ยนสินค้า, ขอเงินคืน, จ่ายค่าเสียเวลา, ค่าขาดประโยชน์, ค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับผู้ประกอบการ หรือให้ทำหนังสือชี้แจงเหตุของสิ่งผิดปกติและขอโทษต่อผู้เสียหายและสาธารณะ เป็นต้น         4. ถ้าไม่สามารถตกลงกับร้านสะดวกซื้อสาขาที่เกิดเหตุได้ ให้ทำหนังสือยื่นกับบริษัท (สำนักงานใหญ่) โดยบรรยายสรุปปัญหาที่พบ พร้อมข้อเรียกร้อง โดยส่งถึงประธานกรรมการบริหารหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า        กรณีจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 29 แห่งพระราชบัญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งถือได้ว่าการจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค และบทลงโทษอยู่ในมาตรา 61 ระบุให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 252 ผลทดสอบสารตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท

        ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และไทยแพน  จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง           การสุ่มเก็บตัวอย่างส้มทำในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 โดยเก็บจากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์  เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง  ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ แต่ไม่รวมสารกำจัดวัชพืชพาราควอตและไกลโฟเซต ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025   รายละเอียดการเก็บตัวอย่างทดสอบ          ส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile   สรุปผลการทดสอบจากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า        1. ส้มทั้ง 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดกำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 57 ตัวอย่าง หรือ คิดเป็น 95% ของกลุ่มตัวอย่าง  และพบว่า 5% หรือ 3 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากบิ๊กซี บางใหญ่ , Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท จากกูเมต์มาร์เก็ต และ ส้มเช้ง ร้านเจ๊อ้อย 201 ผลไม้ ตลาดไท        2. น้ำส้มในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง มี 5 ตัวอย่างที่ไม่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่  น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco, น้ำส้ม 100% ตรา UFC,  น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน) และน้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh และ Harvey Fresh อีก 5 ตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตราARO , น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ตรา CHABAA, น้ำส้ม 98% ตราดอยคำ, น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% ตรากรีนการ์เด้น และ น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรา SMILE ทั้งนี้จากการตรวจสอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบ ข้อสังเกตจากการทดสอบ         จากรายงานผลการวิเคราะห์ว่า หากจำแนกตามแหล่งผลิต จะพบว่า ตัวอย่างส้มที่มาจากการปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง หรือคิดเป็น 100% ในขณะที่ส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 84.21% อีก 3 ตัวอย่างมีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน         สำหรับกลุ่มตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ สายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง เขียวหวาน 9 ตัวอย่าง โชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มน้ำตาล 1 ตัวอย่าง และส้มเขียวหวาน 1 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  โดยในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่มาจากแปลง GAP (Good Agriculture Practices) ที่ได้รับรองโดยกระทรวงเกษตรฯ 11 ตัวอย่าง เป็นผลผลิตที่มีมาจากแปลงที่มีการรับรอง ThaiGAP โดยสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 ตัวอย่าง และไม่ระบุการรับรองมาตรฐานใดๆ 29 ตัวอย่าง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ แมนดาริน 5 ตัวอย่าง ส้มไต้หวัน 3 ตัวอย่าง เมอร์คอท 2 ตัวอย่าง นาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง เอินชู 1 ตัวอย่าง กัมควอท/กิมจ๊อ 1 ตัวอย่าง ซันคิสต์ 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง สายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง มีเพียงส้มสายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และส้มเมอร์คอท 1 ตัวอย่าง ที่พบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีก 16 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  สำหรับชนิดสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด เป็นสารกำจัดแมลง 31 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด และสารกำจัดไร 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้        1. สารกำจัดแมลงที่พบตกค้างมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Imidacloprid, Ethion และ Profenofos โดยพบในส้ม 56, 52 และ 49 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 93.33%, 86.67% และ 81.67% ตามลำดับ         2. ในขณะที่สามอันดับแรกของสารป้องกันและกำจัดโรคพืชคือ Benomyl/Carbendazim, Hexaconazole และ Prochloraz โดยพบใน 48, 42 และ 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 80.0%, 70.0% และ 51.67% ตามลำดับ         3. สารกำจัดไรที่พบตกค้างมากที่สุด คือ Propargite พบใน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 51.67%         4. พบการตกค้างของ Chlorpyrifos-ethyl ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้แล้ว) 50% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยตกค้างในส้มที่ผลิตในประเทศ 22 ตัวอย่าง และส้มนำเข้า 8 ตัวอย่าง         “กรณีที่พบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอสที่แบนแล้วในตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ อาจเป็นไปได้ที่จะมีสารที่ค้างอยู่เป็นสต็อกของเกษตรกรหลังจากมีการแบนอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดขึ้นจากการลักลอบนำเข้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการ”  รายการวิเคราะห์ ชนิดและปริมาณค่าสารพิษตกค้าง สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ https://thaipan.org/action/2519  และสามารถดาวน์โหลด ผลทดสอบส้มฉลาดซื้อแนะ        • เลือกการสนับสนุนส้มที่ผลิตโดยวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี หรือผลผลิตที่ทราบที่มาและเชื่อถือได้ว่ามาจากกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย         • ล้างส้มทุกครั้งที่บริโภค แม้ไม่สามารถลดปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างได้ทั้งหมด เพราะมีสารเคมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ดูดซึมไปสู่เนื้อส้มได้ แต่ก็เป็นการลดปริมาณของสารเคมีได้ระดับหนึ่ง         • ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปการผลิต การจัดจำหน่าย และกลไกการกำกับดูแลสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง

        สภาองค์กรของผู้บริโภค ไทยแพน ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง ตอกย้ำปัญหาส้มพิษยังไม่ถูกแก้ไข เสนออาจต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่        สภาองค์กรของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท แบ่งเป็นส้มจำนวน 60 ตัวอย่างและน้ำส้ม 10 ตัวอย่าง พบว่า ส้มที่มาจากการปลูกในประเทศจำนวน 41 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ทุกตัวอย่าง (100%) ส่วนส้มที่มาจากการนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง (84.21%) มีเพียง 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท พบ 50% ของกลุ่มตัวอย่างมีการตกค้างของสารพิษ         วันนี้ (10 มีนาคม 2565) ในงานแถลงข่าวผลการตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้ม นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน มพบ.และไทยแพน  จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง           การสุ่มเก็บตัวอย่างส้ม คณะทำงานเลือกช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์  เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง   สำหรับส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile         ทั้ง 70 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025จากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า รายการวิเคราะห์ ชนิดและปริมาณค่าสารพิษตกค้าง สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ https://thaipan.org/action/2519  และสามารถดาวน์โหลด ผลทดสอบส้ม        1.    ส้มทั้ง 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดกำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 57 ตัวอย่าง หรือ คิดเป็น 95% ของกลุ่มตัวอย่าง  และพบว่า 5% หรือ 3 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากบิ๊กซี บางใหญ่ , Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท จากกูเมต์มาร์เก็ต และ เป็นส้มเช้ง ร้านเจ๊อ้อย 201 ผลไม้ ตลาดไท ซึ่งทั้งสามตัวอย่างเป็นส้มนำเข้าจากต่างประเทศ        2.    จากตัวอย่างน้ำส้มในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง มี 5 ตัวอย่างที่ไม่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่  น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco, น้ำส้ม 100% ตรา UFC,  น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน) และน้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh และ Harvey Fresh อีก 5 ตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตราARO , น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ตรา CHABAA, น้ำส้ม 98% ตราดอยคำ, น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% ตรากรีนการ์เด้น และ น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรา SMILE ทั้งนี้จากการตรวจสอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบ         ด้านนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากรายงานผลการวิเคราะห์ว่า หากจำแนกตามแหล่งผลิต จะพบว่า ตัวอย่างส้มที่มาจากการปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง หรือคิดเป็น 100% ในขณะที่ส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 84.21% อีก 3 ตัวอย่างมีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน         สำหรับกลุ่มตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ สายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง เขียวหวาน 9 ตัวอย่าง โชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มน้ำตาล 1 ตัวอย่าง และส้มเขียวหวาน 1 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  โดยในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่มาจากแปลง GAP (Good Agriculture Practices) ที่ได้รับรองโดยกระทรวงเกษตรฯ 11 ตัวอย่าง เป็นผลผลิตที่มีมาจากแปลงที่มีการรับรอง ThaiGAP โดยสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 ตัวอย่าง และไม่ระบุการรับรองมาตรฐานใดๆ 29 ตัวอย่าง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ แมนดาริน 5 ตัวอย่าง ส้มไต้หวัน 3 ตัวอย่าง เมอร์คอท 2 ตัวอย่าง นาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง เอินชู 1 ตัวอย่าง กัมควอท/กิมจ๊อ 1 ตัวอย่าง ซันคิสต์ 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง สายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง มีเพียงส้มสายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และส้มเมอร์คอท 1 ตัวอย่าง ที่พบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีก 16 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน         สำหรับชนิดสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด เป็นสารกำจัดแมลง 31 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด และสารกำจัดไร 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้        1. สารกำจัดแมลงที่พบตกค้างมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Imidacloprid, Ethion และ Profenofos โดยพบในส้ม 56, 52 และ 49 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 93.33%, 86.67% และ 81.67% ตามลำดับ        2. ในขณะที่สามอันดับแรกของสารป้องกันและกำจัดโรคพืชคือ Benomyl/Carbendazim, Hexaconazole และ Prochloraz โดยพบใน 48, 42 และ 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 80.0%, 70.0% และ 51.67% ตามลำดับ        3. สารกำจัดไรที่พบตกค้างมากที่สุด คือ Propargite พบใน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 51.67%         4. พบการตกค้างของ Chlorpyrifos-ethyl ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้แล้ว) 50% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยตกค้างในส้มที่ผลิตในประเทศ 22 ตัวอย่าง และส้มนำเข้า 8 ตัวอย่าง         “กรณีที่พบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอสที่แบนแล้วในตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ อาจเป็นไปได้ที่จะมีสารที่ค้างอยู่เป็นสต็อกของเกษตรกรหลังจากมีการแบนอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดขึ้นจากการลักลอบนำเข้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการ” นางสาวปรกชลกล่าว         นางสาวทัศนีย์ กล่าวเสริมว่า หากดูจากรายงานผลการวิเคราะห์ในครั้งนี้ มันยังคงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาการตกค้างของสารพิษในส้มว่าไม่ได้ดีขึ้น ส้มเกือบทุกตัวอย่างที่สุ่มมามีการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐาน ดังนั้นคงจะต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้มีส่วนในห่วงโซ่ของการผลิตส้ม ได้โปรดช่วยกันหาทางเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องถึงขั้นเปลี่ยนระบบการผลิตครั้งใหญ่หรือไม่         นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่าการเฝ้าระวัง ทดสอบสินค้าและบริการเป็นอำนาจหนึ่งของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งกำหนดให้สภาฯ มีฐานะเป็นผู้แทนผู้บริโภค และมีอำนาจดำเนินการเพื่อการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค  การสนับสนุนการทดสอบเรื่องส้มในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าหรือบริการ และหลีกเลี่ยงสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยหรืออาจกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ทั้งนี้ ตนเองมองว่า กระทรวงสาธารณสุขควรดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในน้ำส้มและผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะจนมั่นใจว่าไม่มีการตรวจพบสารตกค้าง และประกาศให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลทุกครั้ง อีกทั้งต้องการเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตพืชอาหารอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้นทางของการผลิตอาหาร         สรุปข้อเสนอจากรายงานการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยข้อเสนอต่อภาครัฐ        1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์             • ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ลักลอบนำเข้า ครอบครอง หรือมีไว้จำหน่ายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสารเคมีที่ประเทศไทยยกเลิกการใช้หรือไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว             • ปฏิรูประบบการรับรอง GAP  เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตหรือสินค้าที่ได้รับการรับรองจะไม่ตรวจพบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน             • ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์เพื่อให้เป็นทางเลือกในการผลิตของเกษตรกรและผู้บริโภค         2.กระทรวงสาธารณสุข             • เพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ด่านนำเข้า            • พัฒนากลไกเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในระดับพื้นที่และประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน             • ควรยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีน้ำส้มหรือน้ำผลไม้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากการบริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้ป่วยข้อเสนอต่อภาคเอกชน ผู้จัดจำหน่าย        1. ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ตลอดจนร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นแหล่งจัดจำหน่ายส้มขนาดใหญ่ควรสนับสนุนข้อมูลเรื่องที่มาของส้ม ที่นำมาจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability) เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งผลิต สารเคมีที่ใช้ การเก็บเกี่ยว การบรรจุ ฯลฯ ได้อย่างสะดวกด้วยเทคโนโลยีเช่นการสแกนคิวอาร์โค้ด             2. ผู้ผลิตที่นำส้มมาแปรรูป ควรคำนึงถึงแหล่งที่มาตลอดจนการคัดเลือกวัตถุดิบอย่างเป็นระบบเพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์         ทางเลือกและการแก้ปัญหาของผู้บริโภค             • เลือกการสนับสนุนส้มที่ผลิตโดยวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี หรือผลผลิตที่ทราบที่มาและเชื่อถือได้ว่ามาจากระบวนการผลิตที่ปลอดภัย             • ล้างส้มทุกครั้งที่บริโภค แม้ไม่สามารถลดปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างได้ทั้งหมด เพราะมีสารเคมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ดูดซึมไปสู่เนื้อส้มได้ แต่ก็เป็นการลดปริมาณของสารเคมีได้ระดับหนึ่ง            • ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปการผลิต การจัดจำหน่าย และกลไกการกำกับดูแลสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 ผลวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีน้ำส้มคั้น

          ในบรรดาเครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้ น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดครองใจคนไทยมาโดยตลอด ด้วยรสชาติหวานเข้มอมเปรี้ยวลงตัวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทำให้เป็นที่นิยมดื่มกันทุกเพศวัย และไม่เพียงแต่รสชาติถูกใจยังได้รับการยอมรับด้วยว่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่จะเป็นความจริงหรือไม่ เรามาลองดูผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “น้ำส้มคั้น” ที่นิตยสารฉลาดซื้อ โดยโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ  นำมาทดสอบ ทั้งคุณภาพทางเคมี ได้แก่ วัตถุกันเสีย(กรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก) ปริมาณน้ำตาล การตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของสารเคมีการเกษตร และการวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ซึ่งเก็บตัวอย่างกันแบบสดใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 30 ตัวอย่าง โดยเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง คือ        1.เก็บจากสถานที่จำหน่ายน้ำส้มคั้นสด จำนวน 25 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่(1 ตัวอย่าง)  และ        2.น้ำส้มบรรจุกล่องผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ที่ระบุบนฉลากว่าเป็นน้ำส้ม 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 5 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างสินค้าเดือนสิงหาคม 2562หมายเหตุ 1.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง            2.กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ(น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่าเป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติ   สรุปผลการทดสอบ          1.การวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบ Multi-Pesticide Residues พบว่า มีตัวอย่างน้ำส้มจำนวน 18 ตัวอย่าง มีสารเคมีตกค้าง โดยสรุปในแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างตั้งแต่ 1-7 ชนิด และการทดสอบครั้งนี้พบสารพิษตกค้างทั้งสิ้นจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ Acequinocyl, Acetamiprid, Azoxystrobin, Carbendazim, Carbofuran, Carbofuran-3-hydroxy, Chlorpyrifos, Ethion, Fenobucarb, Imazalil, Imidacloprid, Methomyl, Profenofos และ Prothiofos โดยตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้างเป็นตัวอย่างที่มาจากการคั้นสดแล้วบรรจุขวดขายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย อย. และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น Orange Juice Pulp, Tipco Squeeze SHOGUN และ Tipco ส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น          เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ผล ปรากฎว่าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3635) พ.ศ. 2549 กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 – 2549 ไม่พบการกำหนดค่าสารพิษตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในน้ำส้มในประกาศทั้ง 2 ฉบับ         อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาตามประกาศกระทรวงสารณสุข ฉบับที่ 387 พ.ศ.2560 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศฯ ฉบับที่ 393 พ.ศ. 2561 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) มาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกษ.) กรมวิชาการเกษตร และมาตรฐาน CODEXพบว่าไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ากำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในสินค้าเกษตร           2.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ผลทดสอบไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง          3.การทดสอบวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกผลทดสอบ พบกรดเบนโซอิกใน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ส้มฝากนาย(190 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อุดมพันธุ์(50.8  มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Healthy Plus(66.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พบกรดซอร์บิกใน 2 ตัวอย่าง ได้แก่  Healthy Plus(52.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง(43.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)  ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        อย่างไรก็ตาม น้ำส้มอุดมพันธุ์ Malee และ Healthy Plus ทั้งสามผลิตภัณฑ์ระบุว่า ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า เป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติไม่ได้มีการใส่สารเคมีเจือปนลงไปจากข้อมูลบทความเรื่อง สารกันบูด เรื่องจริงบางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้ ตีพิมพ์ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 203 โดย ดร.วิสิฐ จะวะสิต  กล่าวว่า “สารกันบูดมีหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ซึ่งสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ได้แก่ กรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโพรพิโอนิก สารกันบูดที่เป็นกรดอินทรีย์ยังพบในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและยังสามารถสร้างได้โดยจุลินทรีย์บางชนิด เช่น กรดเบนโซอิกมีพบในผลไม้พวกเบอรี่หลายชนิด เครื่องเทศจำพวกอบเชย และนมเปรี้ยว ผลแครนเบอรี่เป็นตัวอย่างของผลไม้ที่มีกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมาก กรดซอร์บิกก็มีพบในผลไม้หลายชนิดเช่นกัน...”         ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อได้ส่งตรวจยืนยันอีกครั้ง พบว่า มีวัตถุกันเสีย ใน 2 ตัวอย่างเท่านั้น คือ ส้มฝากนาย พบกรดเบนโซอิก 176.11 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ Healthy Plus พบ เบนโซอิก 53.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกรดซอร์บิก 2 41.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        4.ปริมาณน้ำตาล ผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.84 กรัม/100 มิลลิลิตร (ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในน้ำส้มคั้นที่เคยมีผู้วิจัยไว้ คือ 8.4 กรัม/หน่วยบริโภค 100 กรัม ที่มา www.CalForLife.com) โดยยี่ห้อที่มีน้ำตาลมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ฉลาดซื้อนำมาทดสอบ ได้แก่                      Orange Juice Healthy Valley                   13.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    C-orange                                                 13.4 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Gourmet Juice by Hai Fresh Juice         13.3 กรัม/100 มิลลิลิตร                    เจ้ทิพย์ จี้ดจ้าด                                          12.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Fram Fresh                                             12.5 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Kiss Cjuice                                              12.5  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Teddy Zero                                              12     กรัม/100 มิลลิลิตร                    The Orange                                            11.8  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Orangee                                                  11.4  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Beautea                                                   11.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Tipco Squeeze Shogun                           10.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง                             10.1  กรัม/100 มิลลิลิตร------------------กินน้ำส้มดีหรือร้ายต่อสุขภาพ          หลายคนมีความเชื่อว่า น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะพวกวิตามิน ซี แต่ในขณะเดียวกันความเห็นของนักวิชาการทางด้านสุขภาพ ยังคงแสดงความเป็นห่วงว่า น้ำจากผลไม้ ไม่เฉพาะน้ำส้มเท่านั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากปริมาณน้ำตาลที่สูงเกินไป ทำให้ติดหวานและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้          ที่มาของความห่วงใยนี้เกิดจากความกังวลที่นักวิชาการด้านสุขภาพพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า การดื่มน้ำผลไม้มีประโยชน์มากกว่าดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำชา กาแฟที่มีการผสมน้ำตาล แต่ความจริงคือ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้ตามธรรมชาติ หรือน้ำตาลที่มีการผสมเข้าไปในเครื่องดื่มอย่าง น้ำอัดลม ชาเขียว ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่ต่างกัน “เมื่อคุณดื่มน้ำผลไม้ลงไปแล้ว ท้องของคุณไม่รู้หรอกว่านั่นคือน้ำส้มคั้นหรือโคล่า”          การกินผลไม้ตามลักษณะธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งเราจะได้น้ำตาลในระดับที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำผลไม้(หากกินไม่มาก) เพราะปริมาณของน้ำหรือกากใยที่อยู่ในเนื้อผลไม้จะช่วยให้เราอิ่มไว แต่การดื่มน้ำที่คั้นจากเนื้อผลไม้ เช่น น้ำส้ม มันดื่มได้ง่ายและไว ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปจึงมีสูง อีกทั้งยังสูญเสียคุณประโยชน์ในส่วนกากใยอาหารไปด้วย หรือบางทีอาจมีการเติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อปรับปรุงรสชาติของน้ำผลไม้ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากขึ้น(ขอบคุณข้อมูลจาก https://health.kapook.com/view80221.html)  น้ำส้มคั้น เขาทำขายกันอย่างไร          ส้มเขียวหวาน ส้มแมนดาริน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มเช้ง...เมืองไทยเรานี้ก็มีส้มหลากหลายสายพันธุ์จนหลายคนอาจจะงงๆ เหมือนกันว่า อะไรแบบไหนจะดีกว่ากัน หรือน้ำส้มคั้นที่เห็นขายกันทั่วไปนั้น เขาใช้ส้มอะไรมาคั้น แท้ไม่แท้ ผสมน้ำตาลหรือเปล่า ใส่สารกันบูดไหม หรือจริงๆ แล้วเป็นแค่หัวเชื้อ(น้ำส้มเข้มข้น)ผสมกับน้ำ น้ำเชื่อมกันแน่          สำหรับผู้บริโภคถ้าให้มั่นใจว่าคั้นจากผลส้มจริงๆ เราก็คงต้องเห็นกับตาว่าเขาคั้นสดๆ ต่อหน้าจริง แบบนี้ก็จะหวานด้วยน้ำตาลที่มีอยู่ในผลส้มตามธรรมชาติ (ซึ่งถ้ายังหวานไม่พอก็อาจมีการเติมน้ำเชื่อม และเกลือเพื่อปรุงรส) โดยทั่วไปการทำน้ำส้มคั้นบรรจุขวดขายในปัจจุบันนั้นผู้ค้าจะมีสูตรเฉพาะของตนเอง หลักๆคือการผสมน้ำส้มคั้นจากผลส้มหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดรสชาติที่อร่อยลงตัว เช่น น้ำส้มจากส้มเขียวหวานผสมกับส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น เพราะส้มแต่ละสายพันธุ์จะมีคุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางพันธุ์หวานเข้ม บางพันธุ์เปรี้ยวมากกว่าหวานแต่กลิ่นหอม  บางพันธุ์เนื้อส้มเป็นเกล็ดสวย ฯลฯ ซึ่งสูตรพวกนี้จะไม่ค่อยเปิดเผยต่อสาธารณะ มักจะซื้อขายกันเรียกว่าเป็นความลับทางการค้า          อย่างไรก็ตามพอจะรวบรวมมาฝากโดยสรุป ดังนี้          1.น้ำส้มคั้นจากส้มสายพันธุ์เดียว          2.น้ำส้มคั้นจากส้มหลายสายพันธุ์ผสมกัน          3.น้ำส้มคั้นจากการผสมหัวเชื้อน้ำส้ม น้ำ น้ำเชื่อมกับน้ำส้มคั้นธรรมชาติเพื่อปรุงแต่งให้มีกลิ่นและรสสัมผัสคล้ายส้มตามธรรมชาติ           ทั้งนี้บางผู้ผลิตอาจมีการเติมน้ำตาลและเกลือเพื่อปรับรสชาติให้กลมกล่อมขึ้น  และอาจเติมวัตถุกันเสียลงไปด้วย          สำหรับวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก ซึ่งตามกฎหมายอาหาร อนุญาตให้ผสมได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร(ฉบับที่ 5) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 น้ำส้มสายชู..เพื่อสุขภาพ ?

หลายท่านคงเคยถูกชักชวนให้ดื่มน้ำส้มสายชูเพื่อให้มีสุขภาพดี ประเด็นนี้ก่อความประหลาดใจแก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง(เพราะปรกติเรามักใส่น้ำส้มสายชูใน ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ผัดไทย ราดหน้า หรือนำไปดองผักผลไม้ หรือแม้แต่ใช้ล้างเครื่องซักผ้าตามคำแนะนำของช่างซ่อมเครื่อง) เนื่องจากมองหาเหตุผลไม่ได้ว่า น้ำส้มสายชูช่วยให้สุขภาพดีได้อย่างไร ถ้าไม่กินอาหารให้ครบห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมทั้งการออกกำลังกายที่เพียงพอน้ำส้มสายชูนั้นมีคำเรียกในภาษาอังกฤษว่า Vinegar ซึ่งเมื่อดูประวัติที่มาของศัพท์คำนี้ก็พบว่า เป็นคำที่ตั้งขึ้นจากการสังเกตของคนโบราณที่พบว่า ถ้าหมักไวน์เกินเวลาที่เหมาะสม ไวน์นั้นกลับมีรสเปรี้ยวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า จุลชีพหลักที่อยู่ในไวน์ได้เปลี่ยนจากยีสต์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลจนสุดท้ายเป็นแอลกอฮอล์ ไปเป็นแบคทีเรียซึ่งเปลี่ยนแอลกอฮอลไปเป็นกรดอะซิติก ทำให้ได้น้ำส้มสายชูธรรมชาติ ซึ่งควรมีความเข้มข้นของกรดไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ตามมาตรฐานของ Codex และสหภาพยุโรป โดยทั่วไปแล้วน้ำส้มสายชูธรรมชาตินั้นแบ่งง่าย ๆ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักผลไม้และน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักพืชอื่น ๆ ด้วยจุลชีพที่มีในธรรมชาติ(หรือที่มีการคัดเลือกพันธุ์เฉพาะไว้เมื่อเป็นการผลิตในโรงงานใหญ่ที่ต้องการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักถูกใช้ในการปรุงอาหารหรือผลิตอาหารบางชนิด อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผู้คิดว่า น้ำส้มสายชูควรมีประโยชน์โดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคนอกเหนือไปจากเป็นเครื่องปรุงอาหาร ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำส้มสายชูต่อสุขภาพที่พบในอินเทอร์เน็ต เช่น ฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียและเชื้อรา ต้านพิษแมงกะพรุนและบรรเทาผิวไหม้แดด บำบัดอาการปวดศีรษะ เจ็บกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดท้อง ป้องกันการติดเชื้อที่หูชั้นนอก บำบัดแผลพุพองในปากแห้ง ทำให้ผมเงางาม ผิวพรรณนุ่มนวล ลดโคเลสเตอรอลและป้องกันการเกิดเบาหวานขั้นต้น และที่ผู้เขียนค่อนข้างสนใจมากคือ มีผู้ที่เชื่อว่า นํ้าส้มสายชูผสมน้ำผึ้งกับนํ้าอุ่นช่วยให้หายปวดตะคริวที่ขา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการเล่นกีฬาที่ใช้กำลังกายสูง อย่างไรก็ดีการพิสูจน์ประโยชน์ต่าง ๆ ของน้ำส้มสายชูนั้นยังมีเจ้าภาพในการพิสูจน์ที่เป็นระบบทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างน้อย อาจเพราะไม่มีใครสามารถจดสิทธิบัตรน้ำส้มสายชูได้นั่นเองอย่างไรก็ตามในวันหนึ่งของเดือนเมษายน 2560 ซึ่งร้อนจนตับแทบสุก ผู้เขียนก็ได้พบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในหัวข้อเรื่อง How Apple Cider Vinegar May Help With Weight Loss ซึ่งเขียนโดย Markham Heid ในเว็บ http://time.com/time-health เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2017 โดยกล่าวว่า มีนักวิจัยของบริษัท Mizkan Group Corporation (www.mizkan.net/profile) ซึ่งเป็นบริษัทที่ขายน้ำส้มสายชูและเครื่องปรุงรสต่างๆ ในญี่ปุ่นเคยตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง Vinegar Intake Reduces Body Weight, Body Fat Mass, and Serum Triglyceride Levels in Obese Japanese Subjects ในวารสาร Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry หน้าที่ 1837–1843 ของชุดที่ 73 เมื่อปี 2009 ความโดยย่อจากผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้คือ จากการให้อาสาสมัคร(กลุ่มละ 58-59 คน) ซึ่งมีอายุระหว่าง 25-60 ปี (ที่จัดว่าอ้วนเพราะมีดัชนีมวลกาย 25-30 กิโลกรัม/ตารางเมตร) ดื่มน้ำส้มสายชูทำจากแอปเปิ้ล ที่เจือจางด้วยน้ำสะอาดให้มีความเข้มข้นตามกำหนด (ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่ามี กรดอะซิติกเท่ากับ 0, 750 หรือ 1,500 มิลลิกรัม ในน้ำ 500 มิลลิลิตรต่อวัน) นาน 12 สัปดาห์ สามารถช่วยลดน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ไขมัน (visceral and subcutaneous fat) และดัชนีอื่น ๆ ที่ตรวจวัดได้อย่างน่าประทับใจคนทำวิจัย อย่างไรก็ดีสำหรับผู้เขียน เมื่อดูข้อมูลจากบทความที่ตีพิมพ์แล้วกลับรู้สึกว่า มันก็งั้น ๆ ทั้งนี้เพราะค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวเมื่อจบการวิจัย(สัปดาห์ที่ 12) ของอาสาสมัครที่กินน้ำส้มสายชูสูงสุด(1,500 มิลลิกรัม) คือ 71.2 ± 8.3 กิโลกรัม(สัปดาห์ที่ 0 หนัก 73.1 ± 8.6) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้กินน้ำส้มสายชู(Placebo group) นั้นมีน้ำหนักเมื่อจบการวิจัยคือ 74.6 ± 11.3 (สัปดาห์ที่ 0 หนัก 74.2 ± 11.0) ซึ่งดูไม่น่ามีความหมายเท่าใด เพราะน้ำหนักตัวผู้เขียนก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในช่วง 2-3 กิโลกรัม โดยไม่ต้องดื่มน้ำส้มสายชูจากบทความของ Markham Heid ซึ่งผู้เขียนได้อ่านนั้น เขาได้สัมภาษณ์ Dr.Carol Johnston ซึ่งเป็นอาจารย์ด้าน โภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพ ของมหาวิทยาลัย Arizona State University ผู้ให้ความเห็นว่า น้ำส้มสายชูนั้นคงเข้าไปปรับเปลี่ยนในกระบวนการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น การกระตุ้นให้มีการเผาผลาญไขมัน นอกจากนี้ Markham Heid ยังกล่าวว่าเขาพบงานวิจัยอีกชิ้นที่ตั้งสมมุติฐานว่า การดื่มน้ำส้มสายชูช่วยลดน้ำหนักเพราะ ก่อให้ผู้ที่ดื่มเกิดอาการคลื่นไส้จนกินอาหารไม่ลงความรู้สึกที่ดีต่อการดื่มน้ำส้มสายชูของ Dr. Johnston อีกเรื่องนั้น เกี่ยวกับผลการวิจัยของเธอเองซึ่งพบสมมุติฐานว่า น้ำส้มสายชูมีแนวโน้มในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการไปลดการดูดซึมอาหารกลุ่มที่ทำจากแป้ง เช่น พิซซ่า ซึ่งฟังแล้วดูดีต่อผู้ที่ใกล้จะมีอาการเบาหวาน ที่มักมีระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นทุกครั้งหลังอาหารนอกจากนี้ Dr. Johnston ยังให้ข้อสังเกตว่า อาหารเมดิเตอเรเนียน ซึ่งถูกจัดให้เป็นอาหารสุขภาพนั้นก็มีน้ำส้มสายชูเป็นองค์ประกอบในปริมาณที่น่าสนใจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถประยุกต์สู่พฤติกรรมการบริโภคในแต่วันได้ เช่น การใช้น้ำส้มสายชูปริมาณสูงหน่อยกับสลัดผักในมื้ออาหารสำหรับชนิดของน้ำส้มสายชูที่ควรค่าแก่การดื่มหรือปรุงอาหารนั้น Dr. Johnston กล่าวเพียงว่า ขอแค่เป็นน้ำส้มสายชูก็พอ จะผลิตจากพืชอะไรก็ได้ ผลมันก็ดูจะเหมือนกันในประเด็นการลดน้ำหนักที่เธอสนใจ แต่ถ้าเป็นประเด็นอื่นก็ต้องว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ความสามารถในการลดความดันโลหิตสูงของน้ำส้มสายชู  ซึ่งผู้เขียนค่อนข้างสนใจในเรื่องนี้เช่นกันผลของน้ำส้มสายชูต่อความดันโลหิตนั้น มีงานวิจัย(ที่ใช้หนูทดลอง) ของ Shino Kondo และคณะนักวิจัยของบริษัท Mitsukan Group Corporation (ซึ่งผลิตสินค้าเกี่ยวกับอาหารและมีหน่วยงานวิจัยด้านไบโอเท็คขั้นสูงจนสามารถขอสิทธิบัติเกี่ยวกับยีนทนกรดน้ำส้มของแบคทีเรีย) ชื่อ Antihypertensive Effects of Acetic Acid and Vinegar on Spontaneously Hypertensive Rat ผลงานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry (ซึ่งเป็น online journal ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องใช้ กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 ในการอ่านบทความนี้) เมื่อปี 2001 ซึ่งมีผลการวิจัยโดยสรุปว่า หนูที่ได้กินอาหารเหลวซึ่งมีน้ำส้มสายชูที่ทำจากข้าวเป็นองค์ประกอบ (คำนวณเป็นกรดอะซีติก 46.2 กรัมต่อลิตรของอาหาร) นั้น เมื่อวัดปริมาณ angiotensin II ในเลือดพร้อมกับการทำงานของ reninพบว่าลดลง (ค่าทั้งสองนี้เป็นปัจจัยในการเพิ่มความดันโลหิตมนุษย์) สำหรับความรู้สึกในการดื่มน้ำส้มสายชูทำจากผลไม้นั้น กล่าวบรรยายเป็นตัวอักษรได้ค่อนข้างยาก เลยไม่รู้ว่าควรยกนิ้วอะไรให้ เพราะหลังจากดื่มอึกแรกเข้าไปผู้เขียนรู้สึกว่า คอหอยมันระคายเคืองด้วยฤทธิ์กัดของกรดอะซิติก (ที่มีความเข้มข้นราวร้อยละ 5) ประสบการณ์ครั้งนั้นเกิดเนื่องจากมีนักศึกษาขอทำสัมมนาวิชาการเรื่อง เมื่อน้ำส้มสายชูเป็นมากกว่าเครื่องปรุง โดยนักศึกษาผู้นั้นได้ลงทุนซื้อน้ำส้มสายชูจากแอปเปิ้ลที่บรรจุกล่องแบบเดียวกับน้ำผลไม้ขนาด 150 มิลลิลิตร (ปัจจุบันสินค้านี้ไม่เห็นมีวางตลาดแล้ว) มาให้กรรมการคุมการสัมมนาดื่ม ซึ่งก็เป็นครั้งแรกและคงเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตผู้เขียนที่ดื่มเครื่องดื่มนี้ดังนั้นผู้บริโภคพึงคำนึงว่า ถ้าต้องการได้ประโยชน์จากสารธรรมชาติที่ถูกกล่าวว่า พบในน้ำส้มสายชูเหล่านี้จริง ทำไมจึงไม่จ่ายเงินซื้อในรูปผลไม้ซึ่งได้ประโยชน์มากมายพร้อมความอร่อย แล้วค่อยตั้งหลักไปกินน้ำส้มสายชูใน ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ซอสมะเขือเทศ ผักดองน้ำส้มต่าง ซึ่งถูกกว่าและง่ายกว่าต่อการมีชีวิตบนโลกใบนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 รู้เท่าทันการกินไข่ไก่แช่น้ำส้มสายชู

ในขณะนี้มีการเผยแพร่และส่งต่อในเว็บไซต์มากมายว่า ให้กินไข่ไก่สดแช่ในน้ำส้มสายชู เพราะเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณ  มีคุณค่าต่อร่างกายมากมาย  กระแสความตื่นตัวเรื่องนี้มาจากไหน  เราลองมารู้เท่าทันกันเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนจริงหรือ    ความเชื่อเรื่องประโยชน์ของน้ำส้มสายชู ไม่เพียงแต่เป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนเท่านั้น  ศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมทุกชาติทุกภาษาล้วนเชื่อว่าน้ำส้มสายชูมีประโยชน์ต่อร่างกาย  ในคัมภีร์เน่ยจิงของจีนกล่าวว่า “น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวมีรสขม เปรี้ยว  และอุ่น  เมื่อรสขมและเปรี้ยวรวมกัน จะทำหน้าที่ระบายหรือลุ  จึงใช้เป็นทั้งอาหารและยาในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดี ไม่อุดตัน  บำรุงพลังชีวิตของตับ ขับสารพิษ และประโยชน์อื่นๆ     ไข่แช่ในน้ำส้มสายชู ยังใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังและความแข็งแรงสำหรับนักรบซามูไรของญี่ปุ่น  โปรตีน วิตามินในไข่ จะถูกดูดซึมได้เป็นอย่างดี  เปลือกไข่ไก่หนึ่งฟองประกอบด้วยแคลเซียม 1,800 มิลลิกรัม   (เทียบเท่ากับนมวัวสดยูเอชที รสจืด 1.6 ลิตร.....ผู้เขียน)  ซึ่งคนไทยควรกินแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม  นอกจากนี้ในไข่ไก่ยังอุดมด้วยวิตามินดี ซึ่งทำให้กระดูกแข็งแรงและอายุยืนยาว  ปัจจุบัน คนญี่ปุ่นก็ยังนิยมดื่มไข่ไก่ที่แช่ในน้ำส้มสายชูจนเปลือกไข่ละลาย และตอกไข่ผสมกับน้ำส้มสายชูที่แช่ไข่นั้น เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง     ในการแพทย์ดั้งเดิมอื่นๆ ต่างเชื่อว่า น้ำส้มสายชูมีประโยชน์และใช้รักษาอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ปวดศีรษะ เจ็บคอ อ้วน เป็นต้น   เครื่องดื่มเก่าแก่และยอดนิยมของชาวเวอร์มอนต์ ในอเมริกา ก็ใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล 2 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ละลายในน้ำ 1 ถ้วย  พบว่าช่วยปรับน้ำปัสสาวะให้กลับมาเป็นภาวะกรด (ค่ากรดด่างของปัสสาวะปกติ เท่ากับ 4.6-8) อะไรเกิดขึ้นเมื่อไข่ไก่แช่ในน้ำส้มสายชู    เมื่อนำไข่ไก่แช่ในน้ำส้มสายชู จะเห็นฟองอากาศเกิดขึ้นที่เปลือกไข่ทั้งฟอง  ฟองอากาศเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู) และแคลเซียมคาร์บอเนตที่เปลือกไข่  กรดน้ำส้มจะละลายแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่  กลายเป็นไอออนของแคลเซียมละลายอยู่ในน้ำส้มสายชู  ส่วนคาร์บอเนตจะกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่เห็นเป็นฟองอากาศ  เปลือกไข่จะค่อยๆ หายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง เหลือแต่เยื่อหุ้มไข่ที่หุ้มไข่ขาวและไข่แดงไว้ข้างใน     ดังนั้นในน้ำส้มสายชูที่แช่ไข่จะมีไอออนของแคลเซียมละลายอยู่  ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญสำหรับร่างกาย  เมื่อฉีกเยื่อหุ้มไข่ออก ไข่ขาวและไข่แดงก็จะไปผสมกับน้ำส้มสายชูที่มีแคลเซียมของเปลือกไข่ละลายอยู่  เราจึงได้ประโยชน์ไข่ไก่สด  แคลเซียม  และน้ำส้มสายชู ไปพร้อมๆ กัน     นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษ และการแพทย์ดั้งเดิมที่ได้ค้นพบอาหารบำรุงร่างกาย    ประเทศไทยต้องเสียเงินมากมายในการซื้อยาเม็ดแคลเซียมเพื่อให้กับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์  ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  และผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการกินนมวัวเพื่อให้ได้แคลเซียมจากนมวัว  เท่านี้ยังไม่พอ มีการใส่แคลเซียมลงในนมเพื่อให้เป็นไฮแคลเซียมอีกด้วย  ราคาก็สูงขึ้นตามค่าโฆษณา  แต่เรากลับละเลยภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สามารถหาแหล่งแคลเซียมราคาถูก  และสามารถทำเองได้  ไม่ว่าจะจากอาหารพื้นบ้าน  สมุนไพรบางชนิด  รวมถึงแคลเซียมจากเปลือกไข่     เรื่องไข่แช่ในน้ำส้มสายชูเป็นตัวอย่างภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดี   เราสามารถประยุกต์และพัฒนาการดึงแคลเซียมจากเปลือกไข่ในน้ำส้มอื่นๆ  น้ำมะนาว  น้ำมะขาม  และนำมาใช้เป็นน้ำส้มไฮแคลเซียม แข่งกับนมไฮแคลเซียมบ้าง     ที่สำคัญ ต้องล้างทำความสะอาดเปลือกไข่เป็นอย่างดี  เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำส้มสายชู                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 89 เมื่อน้ำส้มจะทำร้ายนางเอก

น้ำผลไม้ในความคิดของผู้บริโภคส่วนใหญ่ คือเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เพราะต่างก็รู้ว่า ผลไม้นั้นมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะน้ำส้มคั้นเป็นน้ำผลไม้ที่นิยมกันมาก ขนาดนางเอกหนังไทยต้องสั่งมาดื่มทุกครั้งที่มีฉากในร้านอาหาร จึงถูกเรียกอย่างน่ารักๆ ว่า “น้ำนางเอก” น้ำส้มหากคั้นสดแล้วดื่มเลยทันที ย่อมมีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่เพียงเวลาผ่านไปไม่นาน วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ในน้ำส้มจะเสื่อมคุณภาพอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเพื่อให้น้ำส้มคงคุณภาพได้นานขึ้นและสะดวกในการขนส่ง จึงได้มีการผลิตน้ำส้มพร้อมดื่ม (น้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท) ออกมาจำหน่ายเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ทุกวันนี้ตามชั้นวางเครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า เราจะพบน้ำส้มพร้อมดื่มหลากหลายยี่ห้อ มีทั้งที่เป็นน้ำส้มแท้ (100%) น้ำส้มผสม ที่มีปริมาณน้ำส้มตั้งแต่ 25% ขึ้นไป และอีกหลายยี่ห้อมีน้ำส้มผสมเป็นหัวเชื้ออยู่ประมาณ 10 – 15% แล้วแต่งสี กลิ่น รส สังเคราะห์ให้คล้ายน้ำส้ม ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทหลังนี้ อย.ไม่ให้เรียกว่า “น้ำส้ม” แต่ต้องเรียกว่า “น้ำรสส้ม” (จริงๆ ฉลาดซื้ออยากเรียกว่า “น้ำสีส้ม” มากกว่า เพราะสีส้มได้ใจมาก) แม้ว่าในระยะสองสามปีที่ผ่านมานี้ น้ำส้มพร้อมดื่มอาจจะถูกตีตลาดด้วย “ชาเขียว” ทำให้ซบเซากันไประยะหนึ่ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ชาเขียว out ไปแล้ว น้ำส้มกำลังกลับมาผงาดอีกครั้ง ลองสังเกตปรากฏการณ์น้ำส้มฟีเวอร์ได้จากโฆษณาและชั้นวางสินค้าเครื่องดื่ม ลองดูสิ คุณจะเห็นขวดและกล่องสีส้มละลานตาไปหมด กับสินค้าสุดฮิต ฉลาดซื้อย่อมไม่พลาดที่จะหยิบมาทดสอบ เราเก็บตัวอย่างน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ จากชั้นวางเครื่องดื่มในห้างสรรพสินค้า มาทดสอบหาปริมาณ “น้ำตาล” และ “วิตามิน ซี” ที่คนส่วนใหญ่มักเชื่อกันไปเองว่า ส้มเป็นผลไม้ที่มีวิตามิน ซี สูง เมื่อทำให้เป็นน้ำส้มแล้ววิตามิน ซี ย่อมสูงตามไปด้วย  ซึ่งเป็นความเชื่อที่เกือบถูก แต่ไม่ถูกต้อง เพราะคนส่วนใหญ่จะยังขาดความเข้าใจอีกมากเกี่ยวกับวิตามินตัวนี้ ผลทดสอบน้ำส้มและน้ำรสส้มพร้อมดื่ม จำนวน 22 ยี่ห้อ •    น้ำส้ม น้ำรสส้ม สามอันดับแรกที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ได้แก่ น้ำรสส้ม ฟรุ้ตฟิตฟอร์ฟัน มีปริมาณน้ำตาลถึง 15 ช้อนชาต่อขวด ขนาด 330 มล.(19.3 กรัม/100 มล.) อันดับสอง มาลี จู๊ซมิกซ์ 13 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 350 มล.(16.4 กรัม/100 มล.) และน้ำส้ม 30% ทิบโก้ คูลฟิต 11 ช้อนชาครึ่งต่อขวด ขนาด 300 มล.(16.3 กรัม/100 มล.)•    น้ำส้ม 100% ที่ไม่เติมน้ำตาลจะมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 5.5 ช้อนชา ต่อ 200 มล.(1 แก้ว) ส่วนน้ำส้มผสมจะมีปริมาณน้ำตาลโดยเฉลี่ยที่ 12.8  กรัมต่อ 100 มล.หรือประมาณ 6 ช้อนชา ต่อ 1 แก้ว (200 มล.)   •    เมื่อนำน้ำส้ม น้ำรสส้มมาทดสอบหาวิตามิน ซี พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีวิตามิน ซี เหลืออีกแล้ว หรือไม่ก็เหลือในปริมาณที่น้อยมาก บางผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า มีการเติมวิตามิน ซี ก็ไม่พบ ได้แก่ น้ำส้ม 25% ฟิวเจอร์ น้ำรสส้ม 20 % โออิชิ เซกิ •    จากการทดสอบ มีผลิตภัณฑ์อยู่สามยี่ห้อที่พบว่ามีวิตามิน ซี อยู่มากกว่า 20 มก./100 มล. ได้แก่ น้ำรสส้ม แบร์รี่ ซันเบลสท์ มีปริมาณวิตามิน ซี 24 มก. น้ำส้ม 40% ยูเอฟซี มีวิตามิน ซี 23 มก. น้ำรสส้ม อะมิโนโอเค มีวิตามิน ซี 20 มก. ปริมาณน้ำตาลในเครื่องดื่มน้ำอัดลมมีน้ำตาลเป็นส่วนผสม 7 ช้อนชา ต่อ 1 กระป๋อง น้ำหวาน 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 6 ช้อนชา นมถั่วเหลือง1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชาชาเขียว 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) มีน้ำตาลเฉลี่ย 5 ช้อนชา ฉลาดซื้อแนะ•    ภาชนะบรรจุน้ำส้ม น้ำรสส้มพร้อมดื่มที่นำมาทดสอบมีขนาดตั้งแต่ 180 – 500 มล. โดยขนาดบรรจุที่ปริมาณ 180 – 350 มล. จะเป็นขนาดที่ดื่มได้หมดภายในครั้งเดียว ทำให้ปริมาณน้ำตาลที่ดื่มเข้าไปในแต่ละครั้งมีปริมาณที่ค่อนข้างสูง แต่ปริมาณน้ำตาลที่นักโภชนาการแนะนำต่อวัน คือระหว่าง 6 - 8 ช้อนชา ดังนั้นน้ำส้มพร้อมดื่ม จึงไม่น่าจะใช่เครื่องดื่มที่เป็นทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับนางเอกหรือผู้ที่รักสุขภาพ  •    บางครั้งคนเราก็ต้องการดื่มอะไรที่หวานเย็นชื่นใจบ้าง ดังนั้นหากคิดจะดื่มน้ำส้มหรือน้ำรสส้มจึงไม่ใช่เรื่องผิดอะไร เพียงแต่ควรจะเลือกขวดหรือกล่องขนาดเล็กหรือแบ่งดื่มเพื่อไม่ให้ร่างกายรับความหวานมากเกินไป เพราะคุณต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งคุณยังต้องกินอาหารที่มีน้ำตาลผสมอยู่อีกหลายชนิด รวมๆ กันแล้วต่อวันก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ •    น้ำรสส้มที่ผลิตโดยค่ายน้ำอัดลมยักษ์ สแปลช (ลิขสิทธิ์โคค่า โคล่า) และทรอปิคานา ทวิสเตอร์ (ลิขสิทธิ์เป๊ปซี่) ยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหวานไม่ต่างจากน้ำอัดลม โดยที่ สแปลช มีปริมาณน้ำตาล 6 ช้อนชาต่อขนาดกล่อง 180 มล.(14 กรัม/100 มล.) และ ทรอปิคานา มีปริมาณน้ำตาล ประมาณ 12 ช้อนชาต่อขนาดขวด 350 มล.(14.3 กรัม/100 มล.) พอๆ กับน้ำอัดลมหรือมากกว่า โดยน้ำอัดลมมีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 7 ช้อนชาต่อ 1 กระป๋อง •    ข้อแตกต่างระหว่างผลไม้สดกับน้ำผลไม้ คือเส้นใยอาหาร เมื่อผลไม้ถูกสกัดมาเป็นน้ำผลไม้ กากใยอาหารถูกแยกออกไป ทำให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้เร็ว แต่ไม่ช่วยเรื่องการขับถ่าย  ส่วนการกินผลไม้สดซึ่งมีใยอาหารสูง การดูดซึมน้ำตาลในกระแสเลือดจะช้ากว่าและเนื้อของผลไม้จะช่วยให้เราไม่รับประทานน้ำตาลมากจนเกินไป อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการขับถ่ายอีกด้วย•    อย่าเข้าใจผิดว่า น้ำส้มหรือน้ำรสส้มพร้อมดื่มจะมีวิตามิน ซี สูง เสมอไป อย่างที่ฉลาดซื้อได้ทดสอบให้เห็นแล้วว่า ขนาดผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่า เติมวิตามิน ซี ลงไปด้วยหรือผลิตด้วยเทคโนโลยีสุดทันสมัยก็ยังหาแทบไม่เจอ ทั้งนี้คุณต้องมีความเข้าใจในเรื่องจริงที่ว่า วิตามิน ซี นั้นถูกทำลายได้ง่ายมาก และกว่าที่เครื่องดื่มจะมาถึงผู้บริโภคก็ต้องผ่านการขนส่ง ผ่านการจัดเก็บในสถานที่ต่างๆ อาจโดนทั้งแสง ความร้อน ทำให้ปริมาณวิตามิน ซี (ที่เหลือมาบ้างจากกระบวนการผลิต) ลดลงไปเรื่อยๆ จนไม่เหลือค่าอะไรให้วัดได้อีก•    น้ำส้มที่ผสมวิตามิน ซี ไม่ควรมาพร้อมกับวัตถุกันเสีย(เบนโซอิก) เพราะมีข้อมูลที่ชวนให้สงสัยว่า เมื่อทั้งสองมาอยู่รวมกันอาจเกิดเป็นสารพิษที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ (หาอ่านได้จากเรื่อง วันนี้คุณดื่มน้ำอัดลมแล้วหรือยัง ในฉลาดซื้อฉบับที่ 80)  •    น้ำส้มเสื่อมคุณภาพได้ง่าย ดังนั้นควรเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่ได้มาตรฐาน ได้รับการรับรองจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา •    ไม่แนะนำสำหรับเด็กและสาวๆ ที่ต้องการมีหุ่นแบบนางเอก เนื่องจากเป็นเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลค่อนข้างสูง เสี่ยงต่อโรคอ้วนและเบาหวาน ตลาดน้ำผลไม้มีมูลค่าประมาณ 6,000 ล้านบาท เป็นน้ำผลไม้ 100% มูลค่า 2,500 ล้านบาท ส่วนน้ำผลไม้ต่ำกว่า 25% มีมูลค่าอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ที่เหลือเป็นน้ำผลไม้ 40% รสชาติที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ "น้ำส้ม" ที่มีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดน้ำผลไม้ปริมาณวิตามินซีในผัก ผลไม้และน้ำผลไม้คั้นสด

อ่านเพิ่มเติม >