ฉบับที่ 265 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2566

ลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าดำเนินคดีทุกราย!         สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เผยมีประชาชนร้องเรียนว่าพบมีการลักลอบเปิดร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าให้กับประชาชนทั่วไป รวมทั้งนักศึกษาในบริเวณตลาดถนนคนเดินใกล้มหาวิทยาลัยชื่อดัง ย่านเขตประเวศ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจึงสั่งการให้ศูนย์ปฏิบัติการพิเศษสนธิกำลังร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.อุดมสุข ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งพบผู้กระทำผิดจริงในขณะกำลังเปิดร้านขายบุหรี่ไฟฟ้าให้แก่ลูกค้าหลายราย พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้แสดงตัวเพื่อดำเนินการยึดบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้าและควบคุมตัวผู้กระทำผิดไปที่ สน.อุดมสุข เพื่อดำเนินคดีฐานขายบุหรี่ไฟฟ้าและน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า  ทั้งนี้ สคบ. ขอเตือนไปยังผู้ที่ลักลอบขายบุหรี่ไฟฟ้าหรือน้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า หากพบจะดำเนินคดีขั้นเด็ดขาดทุกราย         "บุหรี่ไฟฟ้า"  เป็นสินค้าห้ามนำเข้ามาในราชอาณาจักร โดยผู้ครอบครองหรือรับฝากไว้จะมีความผิดฐาน ช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้โดยประการใด ซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยยังมิได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง ตามมาตรา 246 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีผู้ขายหรือผู้ให้บริการบุหรี่ไฟฟ้า คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้เคยมีคำสั่งที่ 9/2558 เรื่อง ห้ามขายหรือห้ามให้บริการสินค้า “บารากู่ บารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า หรือตัวยาบารากู่ น้ำยาสำหรับเติมบารากู่ไฟฟ้าหรือบุหรี่ไฟฟ้า” ดังนั้นผู้ใดขายหรือให้บริการ โดยมีค่าตอบแทนรวมถึงการซื้อมาเพื่อขายต่อ มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 600,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถูกตัดคะแนนใบขับขี่ ขอคะแนนคืนได้         หลังจากมีประกาศจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติสำหรับมาตรการตัดแต้มใบขับขี่ เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่าหากผู้ขับขี่รายใดถูกตัดคะแนนจนเหลือน้อยกว่า 6 คะแนน ท่านสามารถขอคะแนนคืนได้ด้วยการเข้าอบรม ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศซึ่งมีการเปิดอบรมให้ปีละ 2 ครั้งเท่านั้น โดยสามารถจองคิวผ่านทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ DLT Smart Queue แอปพลิเคชัน DLT Smart Queue (การเข้าอบรมจะมีค่าใช้จ่ายตามหลักสูตร)            กรณีที่ถูกตัดแต้มใบขับขี่จนเหลือ 0 คะแนน จะถูกสั่งพักอนุญาตใบขับขี่ (ห้ามขับรถทุกประเภทเป็นเวลา 90 วัน) และหากฝ่าฝืนขับรถขณะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาต โทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ   คนไทยป่วยจากมลพิษทางอากาศ 1.32 ล้านคน         นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากรายงานสถานการณ์หมอกควัน ฝุ่นละอองขนาดเล็กด้านการแพทย์และสาธารณสุข ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2566 พบว่ามีพื้นที่มีค่าฝุ่น PM. เกิน 51 มคก./ลบ.ม. และเริ่มกระทบต่อสุขภาพ ติดต่อกันเกิน 3 วัน จำนวน 15 จังหวัด และ กทม. 50 เขต โดยเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขแล้ว 15 จังหวัด และกำลังเปิดเพิ่ม 6 จังหวัด ในส่วนพื้นที่ค่าฝุ่นมากกว่า 51 มคก./ลบ.ม. แต่ไม่ต่อเนื่องเกิน 3 วัน มีทั้งหมดจำนวน 36 จังหวัด         ทั้งนี้การเฝ้าระวังโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ ระหว่างวันที่ 1 ม.ค.- 5 มี.ค. 66 นั้น พบว่ามีผู้ป่วยจากมลพิษทางอากาศรวม 1,325,838 คน กลุ่มผู้ป่วยสูงสุดได้แก่ โรคทางเดินหายใจ 583,238 คน โรคผิวหนังอักเสบ 267,161 คน โรคตาอักเสบ 242,805 คน โรคหัวใจ หลอดเลือดและสมอง 208,880 คน น้ำตาเทียมที่พบเชื้อแบคทีเรีย 2 ยี่ห้อในอินเดียยังไม่มีขายในไทย        จากกระแสข่าวที่มีศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา (CDC) นั้น มีการพบเชื้อแบคทีเรียในน้ำตาเทียม 2 ยี่ห้อ ได้แก่ EzriCare และ Delsam Pharma โดยมีผลิตในประเทศอินเดีย ซึ่งน้ำยาดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบให้มีผู้เสียชีวิต 3 คน สูญเสียการมองเห็นถึง 8 คนและต้องผ่าลูกตากว่า 4 คนนั้น           สำนักงานคณะกรรมการอาหารและ(อย.) ระบุจากการตรวจสอบของทาง อย.ไม่พบว่ามีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ดังกล่าว และไม่พบข้อมูลจำหน่ายทางออนไลน์ในไทย โดยทาง อย.มีมาตรการที่เข้มงวดในการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์ทั้งการนำเข้าและจัดจำหน่ายในประเทศ รวมทั้งมีการติดตามข่าวผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยในต่างประเทศอย่าใกล้ชิดเพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ขอให้ผู้บริโภควางใจ มพบ. ยื่นฟ้อง กสทช. กรณีปมควบรวม ทรู-ดีแทค         8 มีนาคม 2566 นายเฉลิมพงษ์ กลับดี และนางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล ได้รับมอบอำนาจจากคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค(มพบ.) ยื่นฟ้องคณะกรรมการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(สนง.กสทช) เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 โดยยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนมติ กสทช. กรณีอนุมัติให้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) ควบรวมกิจการ ชี้เป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้ สืบเนื่องจากการประชุมนัดพิเศษของ กสทช. ครั้งที่ 5/2565 วันที่ 20 ตุลาคม 2565 ซึ่งเอื้อประโยชน์ให้เอกชน มีมติเสียงข้างมาก 3 ต่อ 2 อนุมัติให้ควบรวมธุรกิจ ทรู-ดีแทค โดยไม่รับฟังความคิดเห็นประชาชนทั่วไป ไม่นำรายงานฉบับสมบูรณ์ที่ปรึกษาต่างประเทศมาพิจารณาประกอบ รับฟังความคิดเห็นของบริษัทที่ปรึกษาอิสระ (บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันซ่า จำกัด) เป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ประกาศ ระเบียบ กฎ และข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง        กชนุช แสงแถลง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวว่า จากเหตุนี้ทำให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบ เพราะเมื่อประเทศไทย เหลือผู้ให้บริการรายใหญ่เพียง 2 เจ้า อย่างเป็นทางการ และบริษัทใหม่กลายเป็นผู้ให้บริการอันดับ 1 ทันที มีส่วนแบ่งการตลาดเกินกว่าร้อยละ 50 ก่อให้เกิดการผูกขาดธุรกิจโทรคมนาคม โดยไม่ได้เกิดการพัฒนาด้านคุณภาพ สุ่มเสี่ยงต่อการฮั้วราคา ส่งผลต่อค่าโทรศัพท์ที่จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 ถึง 200 รวมทั้งตลาดมือถือจะอยู่ในภาวะ การแข่งขันตกต่ำ ยากเกินจะฟื้นฟูให้อยู่ในสภาพเดิม จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ คณะกรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลงมติ ยื่นฟ้อง คณะกรรมการ กสทช.และ สำนักงาน กสทช. เป็น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 248 ความเคลื่อนไหวเดือนตุลาคม

10 อันดับรูปแบบการหลอกลวงทางออนไลน์ ปี 2564 เฟซบุ๊กถูกร้องสูงสุด        10 ตุลาคม 2564 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ได้เร่งดำเนินการสืบสวนเอาผิดมิจฉาชีพออนไลน์ ในคดีฉ้อโกงและหลอกลวงประชาชน พบว่า ในรอบ 10 เดือนมีร้องเรียนผ่านสายด่วนเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวตั้งแต่เดือน มกราคม – ตุลาคม 2564 โดยส่วนมากเจอกลลวงหลอก ดังนี้ 1.หลอกโอนเงิน ไม่มีสินค้าส่งจริง 2. สินค้าไม่ตรงตามโฆษณา  3.จ่ายซื้อแบรนด์เนมแท้ แต่ได้ของปลอม 4.รับหิ้วของ 5.หลอกให้เซ็นรับพัสดุผิดกฎหมาย 6.ได้รับของชำรุดเสียหาย 7.หลอกซื้อลอตเตอรี่ออนไลน์ 8.หลอกเช่าพระบูชา 9.ตุ๋นขายแบบผ่อนชำระ 10.หลอกขายไม่ตรงรูป โดยสัดส่วนจากการถูกหลอกขายออนไลน์จากทางเฟซบุ๊ก มีสูงสุดคิดเป็น 82.4% ตามด้วยเว็บไซต์ 4.6% อินสตาแกรม 4.3% และพบว่าข้อมูลการถูกหลอกขายออนไลน์เพิ่มจากปีที่แล้วเป็นเฉลี่ย 2,221 ครั้ง ต่อเดือน         การกระทำดังกล่าวข้างต้นเข้าข่ายความผิดฉ้อโกงต่อประชาชน มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และทั้งเป็นความผิดพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 11 อีกด้วย กรมปศุสัตว์แจ้งนมโรงเรียนห้ามซื้อขาย        จากกรณีที่มีกระแสดราม่าในโลกออนไลน์เกี่ยวกับการโพสต์ขายนมโรงเรียน น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารกลางโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ได้เปิดเผยว่า ห้ามจำหน่ายนมโรงเรียนนอกโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ทุกกรณี ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการอาหารนมเพื่อเด็กและเยาวชน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินงานโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ประจำปีการศึกษา 2564 หมวด 2 ข้อ 9 ได้กำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เข้าร่วมโครงการ โดยระบุว่า ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์นมที่เข้าร่วมโครงการ ต้องผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมในโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน และต้องจำหน่ายเฉพาะภายในประเทศไทยเท่านั้น หากนำมาจำหน่ายนอกเหนือถือว่าเป็นการกระผิด มีโทษถูกตัดสิทธิการจำหน่ายในส่วนที่เหลือในปีการศึกษานั้น หากพบเป็นการทุจริตของหน่วยงานราชการเอง จะต้องรับผิดชอบตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 โดยจะมีโทษทั้งทางวินัยและอาญาขั้นร้ายแรงเด็ดขาด สั่งปิด “บริษัท เอเชียประกันภัย 1950”        15  ตุลาคม 2564  คปภ.ได้มีคำสั่งนายทะเบียนเพิกถอนประกอบกิจการ บริษัท เอเชียประกันภัย 1950 โดยนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า มีคำสั่งนายทะเบียนปิดบริษัท เอเชียประกันภัย 1950 จำกัด (มหาชน) จากการตรวจสอบของทาง คปภ.ได้ตรวจสอบสถานะทางการเงินของบริษัทและได้มีคำสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราว เนื่องจากพบว่า บริษัทมีหนี้สินเกินกว่าทรัพย์สิน โดยระบุ วันที่ 30 กันยายน 2564 มีหนี้สินติดลบ 1,543 ล้านบาท จากปัญหามีผู้ติดเชื้อสูงโควิด-19 ขึ้นต่อเนื่อง จนกระทบต่อสภาพคล่องและมีค่าสินไหมทดแทนค้างจ่ายจำนวนมาก ทำให้บริษัทไม่มีความพร้อมในการประกอบธุรกิจวินาศภัยและยังฝ่าฝืนกฎหมายหลายประการ จึงเพิกถอนใบอนุญาต ให้มีผลวันที่ 15 ตุลาคม 2564 โดยผู้เอาประกันจะได้รับความช่วยเหลือและคุ้มครอง จากกองทุนประกันวินาศภัยทันที โดยมีสมาชิก 13 บริษัทประกัน จะรับโอนกรมธรรม์ที่ยังไม่หมดอายุทุกกรมธรรม์ และหากผู้เอาประกันภัยต้องการยกเลิกกรมธรรม์ ทางกองทุนประกันวินาศภัย จะเข้ามาช่วยเหลือและคุ้มครองในการรับค่าสินไหมและค่าเบี้ยคืน แพทย์สมาคมแห่งประเทศไทยค้านดีอีเอสดึงบุหรี่ไฟฟ้าถูกกฎหมาย        จากกรณีภาคเครือข่ายชาวไร่ยาสูบแห่งประเทศไทยและกลุ่ม ECST ที่สนับสนุนผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าและแอดมินเพจเฟซบุ๊ก “มนุษย์ควัน”  เข้าพบนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อหารือแนวทางผลักดันบุหรี่ไฟฟ้าให้จำหน่ายได้ตามกฎหมายนั้น ทางนายชัยวุฒิ บอกว่า ได้กำลังศึกษาข้อกฎหมายเพื่อดึงบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาอยู่ในระบบให้ถูกต้องตามกฎหมายและมีประเด็นติดขัดเรื่องอะไรบ้าง ต่อมาทางแพทย์สมาคมแห่งประเทศไทยจึงได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่าคณะแพทย์จากราชวิทยาลัย 14 แห่ง ขอชี้แจงข้อมูลดังกล่าวพร้อมขอบคุณนายกรัฐมนตรี ที่ไม่เปิดโอกาสให้มีการพิจารณาเรื่องที่ รมว.ดีอีเอส เสนอ และกรณีที่อ้างว่ามี 67 ประเทศ อนุญาตนั้น ขอให้กลับไปทบทวนคำอนุญาตของแต่ละประเทศ ว่ามีข้อแม้และข้อบ่งชี้ในการใช้ทั้งสิ้น ไม่ใช่ขายได้อย่างอิสระ ด้วยคำนึงเหตุผลที่ว่าประเทศเหล่านั้นต้องการปกป้องสุขภาพของประชาชนของเขาด้วยกระบวนการ “ป้องกัน ดีกว่าแก้” มพบ. เร่งกระทรวงดิจิทัลออกกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์ต่างประเทศ         จากกรณีที่มีผู้บริโภคกว่า 10,700 ราย ได้รับความเสียหายจากการที่เงินหายจากบัญชีโดยไม่ทราบสาเหตุ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงเร่งรัดให้กระทรวงดิจิทัล ออกกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์ ซึ่งมีสาเหตุจากที่แบงก์ชาติได้ออกมาชี้แจงว่า ไม่ได้เกิดจากการรั่วไหลข้อมูลของระบบธนาคาร แต่เกิดจากมิจฉาชีพสุ่มข้อมูลบัตร และนำไปสวมรอยทำธุรกรรมผ่านร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศที่ไม่มีการใช้ One Time Password (OTP) และออกมาตรการแก้ไข 4 ข้อในวันที่ 19 ตุลาคม 2564 นั้น         ด้านนางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการฝ่ายศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้กล่าวว่า เครื่องรูดบัตร EDC หรือเครื่องแสกนจ่ายโดยแอปพลิเคชันที่ผูกกับบัญชีธนาคาร จะมีการยืนยันตัวตนด้วยการเซ็นสลิป หรือใส่รหัสผ่าน แต่การทำระบบธุรกรรมออนไลน์ที่ใช้การผูกบัญชี ใช้แค่เลขบัตรและเลขหลังบัตรเท่านั้น ซึ่งธนาคารอาจจะต้องไปตรวจสอบว่าข้อมูลรั่วไหลได้อย่างไร  เนื่องจากผู้เสียหายบางรายไม่ได้ผูกบัญชีกับร้านค้าออนไลน์ และรัฐต้องตอบคำถามว่าจะออกมาตรการจัดการปัญหาเรื่องนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกอย่างไร หากปัญหาเกิดจากแพลตฟอร์มร้านค้าออนไลน์ต่างประเทศตามที่หน่วยงานรัฐชี้แจง แสดงว่ารัฐยังไม่มีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคและควบคุมแพลตฟอร์มต่างประเทศที่ทำธุรกิจออนไลน์ในพื้นที่ประเทศไทย อาจทำให้เกิดปัญหาแบบเดิมในอนาคต หากไม่มีกฎหมายมาควบคุมธุรกิจและคุ้มครองผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ โดยขอให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเร่งออกกฎหมายควบคุมแพลตฟอร์มธุรกิจออนไลน์ต่างประเทศและคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อสินค้าออนไลน์ เพื่อป้องกันปัญหาเรื่องระบบข้อมูลของผู้บริโภคที่รั่วไหลออกไปต่างประเทศและสามารถตรวจสอบตัวตนของผู้ที่ทำธุรกิจออนไลน์ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 ความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2562

องค์กรผู้บริโภค และ ETDA จับมือผู้ประกอบการ ทำ MOU ซื้อขายออนไลน์ปลอดภัย        19 กันยายน องค์กรผู้บริโภค และ ETDA จับมือผู้ประกอบการ ทำ MOU ซื้อขายออนไลน์ปลอดภัย หวังคุ้มครอง เยียวยาผู้บริโภคจากการถูกหลอก         คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน สมาคมสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ ETDA กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย บริษัท เซ็นทรัล เจดี คอมเมิร์ซ จำกัด บริษัท แอลเอ็นดับเบิ้ลยู จำกัด และบริษัท บิวตี้ นิสต้า จำกัด ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เรื่อง “การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์” ณ ห้อง 201 ชั้น 2 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมี นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว         โดยนายณัฏฐชัย ศรีรุ่งสุขพินิจ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้เกิดจากองค์กรผู้ร่วมลงนามและพยานทุกฝ่ายเห็นความสำคัญของการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และต้องการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการซื้อขายออนไลน์ จึงร่วมกับ ETDA และผู้ประกอบการออนไลน์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การคุ้มครองผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้าและบริการในตลาดออนไลน์” นี้ขึ้น เพื่อเป็นกรอบในการทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคร่วมกัน ทำให้การซื้อขายออนไลน์มีความปลอดภัย น่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น         ด้านนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ความร่วมมือในการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ซื้อขายออนไลน์ในครั้งนี้ได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างองค์กรผู้บริโภค หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องและผู้ประกอบการตลาดออนไลน์หลายครั้ง เพื่อให้เกิดระบบและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการซื้อขายออนไลน์ ซึ่งบันทึกความร่วมมือนี้จะคลอบคลุมสาระสำคัญทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการตรวจสอบร้านค้าที่ร่วมจำหน่ายสินค้าหรือบริการ 2. ด้านการแสดงข้อมูลของร้านค้าที่ร่วมจำหน่ายสินค้าหรือบริการ 3. ด้านการมีระบบให้ข้อมูลจำเป็นแก่ผู้บริโภค 4. ด้านระบบรักษาความปลอดภัยทางการเงิน โดยมีระบบ “คนกลาง” 5. ด้านนโยบายความเป็นส่วนตัว 6. ด้านการมีช่องทางร้องเรียน และระบบติดตามเรื่องร้องเรียน และ 7. ด้านการมีนโยบายความพึงพอใจ การคืนสินค้าและการเยียวยาแก่ผู้บริโภค          ขณะที่นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า ผลสำรวจของ ETDA พบว่า มูลค่าตลาดอีคอมเมิร์ซ เพิ่มสูงขึ้น จาก 2.7 ล้านล้านบาทในปี 2560 เป็น 3.2 ล้านล้านบาทในปัจจุบัน ส่วนบีทูซี (B2C) ของประเทศไทยก็สูงเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน และเมื่อเทียบมูลค่าระหว่างปี 2559 กับปี 2560 พบว่า มีมูลค่าเพิ่มถึงกว่า 1 แสน 6 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งมาจากความเชื่อมั่นในเทคโนโลยี ระบบอีเพย์เมนท์ (e - Payment) ที่สะดวกมากขึ้น การขนส่งที่รวดเร็ว ทำให้คนหันมานิยมซื้อของออนไลน์สูงขึ้น ท่ามกลางการทำธุรกรรมทางออนไลน์ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด กลับพบปัญหา การโกง ฉ้อฉล เอารัดเอาเปรียบผู้โภคอย่างต่อเนื่อง        จากสถิติศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ (1212 OCC) พบว่า ในปี 2560 มีการร้องเรียนจำนวน 9,987 ครั้ง และเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวในปี 2561 ที่พบเรื่องร้องเรียนสูงถึง 17,558 ครั้ง เฉลี่ย 1,463 ครั้งต่อเดือน ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับการซื้อแล้วไม่ได้รับสินค้า สินค้าไม่ตรงตามสเปกที่ตกลง สินค้าผิดกฎหมาย ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งการลงนามครั้งนี้จะเป็นตัวแปรสำคัญในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต  เผย “บุหรี่ไฟฟ้า” ลดสูบไม่เกิน 10%        การประชุมการขับเคลื่อนเชิงนโยบายการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทย โดยศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ม.มหิดล เผยผู้ที่นำบุหรี่ไฟฟ้ามาเป็นทางเลือกเพื่อเป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่นั้น จากข้อมูลพบว่าผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามีอัตราการเลิกบุหรี่เพียงร้อยละ 5-9และหากคนที่สูบบุหรี่ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นตัวช่วยเลิกบุหรี่เทียบกับคนที่ไม่ได้ใช้ โอกาสเลิกบุหรี่ยังลดลงไปกว่าเดิมถึง 27% (ผลิตภัณฑ์บุหรี่ไฟฟ้าในตลาดมากกว่า 95% มีสารนิโคตินเป็นส่วนผสมอยู่ในสารน้ำ ซึ่งทำให้ติดสารนิโคตินได้)        ด้าน ภญ.ดร.อรลักษณ์ พัฒนาประทีป คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า จากการประมาณค่าความสูญเสียที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้าในเชิงเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข พบว่า ผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าเสียโอกาสในการเกิดโรคต่อปีเท่ากับ  534,571,710 บาท ซึ่งเป็นความสูญเสียทางเศรษฐศาสตร์และสุขภาพของเยาวชนและประชาชนไทยที่ต้องแบกรับภาระจากบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์         ที่ประชุมจึงได้เสนอความเห็นเพื่อการคงไว้ซึ่งมาตรการห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า  ห้ามขาย หรือให้บริการ ตามคำสั่งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ 9/2558 ซึ่งกำหนดโทษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทั่วไป ให้จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากผู้ที่กระทำผิดเป็นผู้ประกอบธุรกิจในฐานะผู้ผลิต ผู้สั่ง หรือผู้ที่นำเข้ามาเพื่อขาย ต้องรับโทษเพิ่มสูงขึ้นเป็นจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 1,000,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ1 ต.ค. นี้ กระทรวงสาธารณสุขให้ผู้ป่วยไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านได้         ต้นเดือนตุลาคม 2562 นี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเริ่มดำเนินนโยบายลดความแออัดของโรงพยาบาล โดยให้ผู้ป่วยสามารถนำใบสั่งยาจากแพทย์ไปรับยาที่ร้านยาใกล้บ้านได้ เพื่อลดเวลารอคิวรับยาในโรงพยาบาลและเพิ่มความสะดวกสบายแก่ประชาชนมากขึ้น หากเข้าเกณฑ์ 4 เงื่อนไข ดังนี้ (1) ใช้สิทธิ์บัตรทอง (2) ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด หรือโรคทางจิตเวช (3) แพทย์วิจัยฉัยแล้วว่าผู้ป่วยสามารถรับยาที่ร้านยาได้ และ (4) ผู้ป่วยยินดีไปรับยาที่ร้านยา เริ่มนำร่องในโรงพยาบาล 50 แห่ง และร้านยาที่ได้มาตรฐานกว่า 500 ร้านทั่วประเทศ        ดูรายชื่อร้านยาที่เข้าร่วมโครงการได้ที่        https://www.nhso.go.th/FrontEnd/page-contentdetail.aspx?CatID=MTI4OA%3D%3D ป.ป.ส. เตือน ระวังตกเป็นเหยื่อขนส่งยาทางพัสดุไปรษณีย์         พันตำรวจตรี สุริยา สิงหกมล รองเลขาธิการ ป.ป.ส. เตือนประชาชน ระวังตกเป็นเหยื่อนักค้ายาเสพติด ฉวยโอกาสขนส่งยาเสพติดและสิ่งผิดกฎหมายผ่านพัสดุไปรษณีย์ เป็นเหตุให้ถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย         “ปัจจุบัน นักค้ายาเสพติดเลือกใช้บริการรับ-ส่งพัสดุภัณฑ์ในการขนส่งยาเสพติดมากขึ้น ซึ่งหากพบว่าบุคคลใดมีส่วนเกี่ยวข้อง ไม่ว่าในฐานะผู้ให้บริการขนส่ง หรือผู้รับพัสดุไปรษณีย์ ล้วนมีความผิดตามกฎหมาย โดยผู้ส่งมีความผิดฐานจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ และผู้รับพัสดุภัณฑ์มีความผิดฐานครอบครอง หรือครอบครองเพื่อจำหน่าย ขึ้นอยู่กับปริมาณของกลางยาเสพติด...ดังนั้นขอให้ประชาชนระมัดระวังตนเองและคนในครอบครัว กรณีผู้รับสินค้า เมื่อทราบจากพนักงานส่งพัสดุภัณฑ์ว่าจะมีการส่งพัสดุนั้น ขอให้สอบถามและตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนว่า ตนเองหรือคนในครอบครัวมีการสั่งสินค้า หรือจะได้รับพัสดุภัณฑ์โดยที่ไม่สั่งสินค้าหรือไม่ หากพบการแอบอ้างชื่อในการส่งสินค้า หรือเห็นความไม่ชอบมาพากล ขอให้แจ้งตำรวจหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยลงบันทึกไว้เป็นหลักฐาน หรืออาจเก็บหลักฐานไว้แสดงถึงเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ และยืนยันตนว่าไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง”         แจ้งเบาะแสได้ที่ สายด่วน ป.ป.ส. โทร. 1386 ตลอด 24 ชั่วโมง สถิติการฆ่าตัวตายปี 2562 ของไทย เฉลี่ย 14.4 คนต่อคนไทย 1 แสนคน         คนไทยฆ่าตัวตายเป็นอันดับ 32 ของโลก  เฉลี่ย 14.4 คนต่อคนไทย 1 แสนคน ข้อมูลจากผลสำรวจซึ่งแถลงในวันที่ 10 กันยายน ซึ่งองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดให้เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก(World Suicide Prevention Day)         องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้รายงานสถานการณ์การฆ่าตัวตายโลก โดยระบุว่ามีคนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตายทุกๆ 40 วินาที และการฆ่าตัวตายเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของวัยรุ่น(อายุ 15-29 ปี) มากที่สุด รองลงมาจากอุบัติเหตุบนท้องถนน แม้ว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกจะเพิ่มมาตรการ และนโยบายป้องกันการฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังต้องการการสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆรายงานการจัดอันดับประเทศที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดในโลก ประจำปี 2562 โดย World Population Review ที่สำรวจ และพิจารณาข้อมูลการฆ่าตัวตายขององค์การอนามัยโลกปี 2561 ทั้งหมด 183 ประเทศ พบว่า ประเทศไทย มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุด ติดอันดับ 32 ของโลก เฉลี่ย 14.4 คนต่อประชากร 1 แสนคน      โดยห้าอันดับแรกได้แก่ อันดับ 1 ลิทัวเนีย อันดับ 2 รัสเซีย อันดับ 3 กายอานา อันดับ 4 เกาหลีใต้ อันดับ 5 เบลารุส

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 ขออนุญาตเห็นแก่ตัว เรื่องบุหรี่

คนที่ซื้อบ้านในหมู่บ้านที่ราคาไม่แพงนักมักไม่ค่อยพอใจในสิ่งที่ได้ จึงพยายามต่อเติมบ้าน เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์และ(คิดเอาเองว่า) เพิ่มความสวยงาม โดยไม่ค่อยคิดถึงใจเพื่อนบ้านว่า อาจเดือดร้อนจากกลิ่นควันบุหรี่ ซึ่งร้อยทั้งร้อยของช่างที่ต่อเติมบ้านต้องดูดเข้าปอดเกือบตลอดเวลาทำงาน เสมือนว่าเพื่อเพิ่มการเกิดอนุมูลอิสระในปอดให้มีแรงทำงานให้ตลอดรอดฝั่ง        ควันบุหรี่นั้นก่อให้เกิดความไม่สบายกายและใจของผู้เขียนมาตลอด เนื่องจากเป็นคนไม่ชอบกลิ่นของมันและเกิดความอึดอัดทุกครั้งที่ได้กลิ่น สมัยไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกานั้น โชคดีสบายปอดมากที่ได้เรียนในรัฐยูทาห์ที่ประชาชนส่วนใหญ่เป็นมอร์มอน ซึ่งไม่สูบบุหรี่ตามข้อกำหนดทางศาสนา         เป็นที่น่าดีใจที่ไทยติดแค่ลำดับที่ 68 (เฉลี่ย 925.00 มวนต่อคนต่อปี) ในการจัดลำดับชาติที่มีคนสูบบุหรี่จัดที่สุดในโลกโดย World Cancer Report 2014 ขององค์การอนามัยโลก (อ้างอิงจาก List of countries by cigarette consumption per capita ปรากฏใน www.wikipedia.org) โดยมีมอนเตเนโกร (4124.53 มวนต่อปี) เป็นแชมป์โลกและเบลารุส (3831.62 มวนต่อปี) เป็นรองแชมป์ ส่วนจีนเข้าสู่ลำดับที่ 9 (2249.79 มวนต่อปี) ควบตำแหน่งแชมป์เอเชีย ตามด้วยเกาหลีใต้อยู่ลำดับที่ 15 (2072.57 มวนต่อปี) ญี่ปุ่นอยู่ลำดับที่ 21 (1713.00 มวนต่อปี)เกี่ยวกับควันบุหรี่ที่ลอยอยู่ในอากาศนั้น มีประเด็นหนึ่งซึ่งคนไทยหลายส่วนมักลืมหรือไม่รู้เอาเลยว่า สภาผู้แทนราษฏรของไทยได้เคยออกกฏหมายที่ดีคือ พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 พ.ร.บ. นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่แต่จำใจหรือจำเป็นต้องอยู่ใกล้ผู้สูบ จึงต้องกลายเป็น second-hand smoker โดยห้ามการสูบบุหรี่ในบางสถานที่ พร้อมให้มีการจัดเขตให้สูบบุหรี่โดยเฉพาะ ซึ่งกระบวนการนี้หน่วยงานรัฐใช้ความประณีตมากถึงเกือบ 20 ปี ที่ทำให้ประเทศไทยได้มี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2553 เพื่อกำหนดชื่อหรือประเภทของสถานที่สาธารณะที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และกำหนดส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดของสถานที่สาธารณะดังกล่าวเป็นเขตสูบบุหรี่หรือเขตปลอดบุหรี่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ พ.ศ. 2535 โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ลงนามเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 อย่างไรก็ดีผู้เขียนนึกไม่ออกว่า ใครคือผู้รักษากฎหมายนี้และได้ทำให้กฎหมายนี้ศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ เพราะที่เห็นอยู่ตำตาคือ การสูบบุหรี่ที่ป้ายรถเมล์ ซึ่งเป็นสถานที่กำหนดห้ามนั้น คนในเครื่องแบบต่างๆ ยังถุนควันบุหรี่หน้าตาเฉยเหมือนไม่เคยรู้ว่า พ.ร.บ. คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ยังมีผลบังคับอยู่        นอกจากนี้เรายังมีแผนยุทธศาสตร์การควบคุมยาสูบแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557 ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสูงสุดหนึ่งในสามข้อว่า ต้องการทำให้สิ่งแวดล้อมปลอดควันบุหรี่ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยมีเป้าหมายหนึ่งของแผนว่า ในปี พ.ศ. 2557 อัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองของประชาชน ลดลงร้อยละ 50 จากปี พ.ศ. 2552 ส่วนผลต่อมาจากปี 2557 นั้น ท่านผู้อ่านสามารถเข้าไปดู สถานการณ์การบริโภคยาสูบ ได้เองที่ www.trc.or.th/th/สถานการณ์การบริโภคยาสูบ.htmlในหลายประเทศวิธีหนึ่งที่นิยมทำกันเพื่อลดความเข้มข้นในอากาศของควันบุหรี่คือ ผลักดันให้ผู้นิยมการใช้ยาสูบไปสูบบุหรี่ปลอมที่ไม่สร้างควันให้คนอื่นเดือดร้อนมากนัก โดยที่ผู้สูบยังได้รับนิโคตินสมดังใจหมาย บุหรี่ปลอมดังกล่าวนั้นคือ บุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ผู้เขียนเห็นว่า เป็นทางออกที่ดูง่ายกว่าการโน้มน้าวให้คนที่นิยมสูบบุหรี่เลิกสูบ (ผู้เขียนขออนุญาตไม่สนใจประเด็นการลดอัตราการตายของผู้ป่วยเนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้า ณ วันนี้ก่อน เพราะคิดว่าการลดปัญหา second-hand smoker นั้นสำคัญกว่า และมีความหวังกว่าการพยายามให้คนไทยเลิกสูบบุหรี่)บุหรี่ไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมค่อนข้างใหม่ที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2003 โดยแพทย์ชาวจีนที่หวังช่วยให้คนไข้เลิกบุหรี่ ซึ่งต่อมามีการแพร่ไปหลายประเทศที่มีผู้บริหารซึ่งคำนึงถึงสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าเข้าสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 2007 และสามารถสร้างมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 3,000 ล้านดอลลาร์ในแต่ละปี เพราะได้รับความนิยมสูงโดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นซึ่งยังไงๆ ก็ดิ้นรนสูบบุหรี่ให้ได้เหมือนไอดอลชายชาวอเมริกันในภาพยนตร์ทั้งหลาย จากสถิติการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชน(National Youth Tobacco Survey) ที่เป็นนักเรียนอเมริกัน 2 ล้านคน เมื่อปี 2557 พบว่า ในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.5 เป็นร้อยละ 13 และในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมต้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.1 เป็นร้อยละ 3.9 ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวภายใน 1 ปี นี่อาจแสดงให้เห็นถึงวิสัยทัศน์ของรัฐบาลอเมริกันสมัยนั้น ในการลดควันบุหรี่ที่ทำลายสุขภาพผู้ไม่ประสงค์ได้รับควันพิษนี้ ทั้งที่บริษัทผู้ผลิตบุหรี่นั้นมีอิทธพลต่อนักการเมืองมากในประเทศนี้แม้บุหรี่ไฟฟ้ามีผลเสียต่อสุขภาพของ ผู้ยินดีสูบและไม่กลัวความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอด ดังที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอดในไทยหลายคนแสดงความกังวล แต่ในทัศนะของผู้เขียนแล้วคิดว่า คนข้างเคียงของผู้ติดบุหรี่ที่หันไปใช้บุหรี่ไฟฟ้าคงสบายใจและสบายปอดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เป็นลูกน้องของ เจ้านาย/หัวหน้างาน ผู้บังคับบัญชาที่ติดบุหรี่และใจแคบไม่ยอมคิดถึงใจผู้ไม่สูบบุหรี่ และสิ่งที่น่ากังวลที่สุดคือ กรณีที่สตรีผู้โชคร้ายต้องร่วมหอกับผู้นิยมควันพิษแล้วเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมา ถ้าสามีเป็นคนมีสมองพอรู้บ้างว่า สารพิษในควันบุหรี่นั้นเป็นสารที่ทำให้ทารกในครรภ์เกิดความผิดปรกติได้ แล้วพยายามงดสูบบุหรี่ในบ้าน เด็กก็อาจพอมีบุญเกิดมาเป็นผู้เป็นคนธรรมดา แต่ถ้าไปเจอกรณีคู่ผัวตัวเมียที่สามีไม่สนใจสุขภาพของเด็กในท้องและแม่ สุดท้ายทั้งสองก็ต้องรับกรรมรับสารพิษเข้าร่างกายไป ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นกรณีที่ควรคิดกันอย่างจริงจังได้แล้วในสังคมไทยเคยมีผู้ให้ข้อมูลในอินเทอร์เน็ตว่า บุหรี่ไฟฟ้าอาจช่วยให้คนไข้ เลิกบุหรี่ได้ถึง 81% แม้ว่าการเลิกบุหรี่นั้นมักทำให้คนไข้ทรมานอย่างแสนสาหัส จนคนไข้บางส่วนท้อใจหันกลับไปสูบเพื่อลงนรกเมื่อแก่ด้วยโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ แต่มีผู้หวังดีแก่สังคมโดยรวมได้กล่าวไว้บนอินเทอร์เน็ตว่า น่าเป็นห่วงเด็กวัยรุ่นที่มีโอกาสเข้าถึงสินค้านี้ เนื่องจากบุหรี่ไฟฟ้าอาจเป็นขั้นตอนแรกก่อนเข้าสู่การพัฒนาไปใช้บุหรี่จริงหรือยาเสพติดชนิดอื่นง่ายขึ้น อย่างไรก็ตามผู้เขียนสรุปเอาเองด้วยประสบการณ์ว่า เด็กนั้นถ้าจะเลวไม่ว่าเพราะพันธุกรรมและ/หรือสิ่งแวดล้อมต่างๆ ถึงไม่มีบุหรี่ไฟฟ้า การเสาะแสวงเพื่อการเสพสารเสพติดย่อมเกิดขึ้นเสมอ เพราะสารเสพติดนั้นดูว่าหาง่ายนักในสังคมไทยปัจจุบัน โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนรู้สึกสลดใจทุกครั้งที่เห็นคนไทยสูบบุหรี่(ซึ่งตอนนี้คงต้องรวมผู้ที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าด้วย) ทั้งนี้เพราะเป็นการรับสารเสพติดคือ นิโคติน เข้าสู่ปอดด้วยความตั้งใจของผู้สูบ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ดีเลยต่อร่างกายพุทธศาสนิกชน ถ้าย้อนไปในในยามที่พระพุทธองค์คงพระชนม์ชีพและสมมุติว่า คนอินเดียมีบุหรี่สูบ พระพุทธองค์อาจกำหนดให้บุหรี่เป็นสิ่งต้องห้ามคู่กับสุราในศีลข้อ 5 สำหรับผู้ที่ประกาศตนเป็นพุทธมามกะด้วยก็ได้ ทั้งนี้เพราะไม่ว่าศีลข้อใดใน 5 ข้อที่เป็นนิจศีลนั้น พระพุทธองค์ได้บัญญัติขึ้นเพื่อความสงบสุขของสังคม ซึ่งปัจจุบันนี้ผู้เขียนขอเสนอว่า ควันบุหรี่นั้นเป็นภัยต่อการมีสุขภาพดีของคนในสังคนไทย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 สูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่า จริงหรือ ?

จากผลสำรวจ ปี 2560 พบประชากรไทย ราว 10.7 ล้านคน บริโภคยาสูบ(ชนิดมีควัน) หรือเท่ากับ ร้อยละ 19.1 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป อันตรายจากการสูบบุหรี่จากผลสำรวจสถิติการสูบบุหรี่ของคนไทย จากโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ปี 2560 พบว่า จำนวนผู้บริโภคยาสูบชนิดมีควัน คือ 10.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 19.1 ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยมีอัตราการบริโภคยาสูบในเพศชายร้อยละ 37.7 และในเพศหญิงร้อยละ 1.7และจากการสำรวจการได้รับควันบุหรี่มือสองในช่วงระยะเวลา 30 วัน พบว่า 17.3 ล้านคน ได้รับควันบุหรี่มือสองในบ้านอย่างน้อยเดือนละครั้งการสูบบุหรี่เพิ่มโอกาสในการเป็นโรคมะเร็งปอด โรคถุงลมโป่งพอง หญิงมีครรภ์ที่สูบบุหรี่มีโอกาสแท้งลูกมากขึ้น และเด็กที่คลอดออกมาอาจมีน้ำหนักน้อยกว่าปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังเพิ่มโอกาสของอาการหัวใจวาย และโรคมะเร็งประเภทอื่นๆ อีกด้วยโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดจากการสูบควันนั้นไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับลักษณะของการสูบ สารที่สูบ และความถี่ จากสถิติพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งปอดประมาณ 10 - 20 เท่าของคนที่ไม่สูบบุหรี่ การสูดสารพิษและสารก่อมะเร็งจากควันบุหรี่ เช่น เรดอนและเรเดียม-226 เชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของการเกิดมะเร็งจากบุหรี่ธรรมดาสู่บุหรี่ไฟฟ้าจากการให้ข้อมูลที่ชัดเจนทั้งในทางสถิติและคำเตือนที่หน่วยงานรัฐได้พยายามแจ้งสื่อสารต่อประชาชนมาเป็นเวลาหลายสิบปี ทุกคนน่าจะตระหนักดีถึงอันตรายอันร้ายแรงของการสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามผู้ที่เสพติดการสูบบุหรี่ การละเลิกจากสิ่งนี้อาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย นวัตกรรมหนึ่งจึงเกิดขึ้น เราเรียกมันว่า “บุหรี่ไฟฟ้า” หรือให้ถูกต้องคือ “ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่ง “ฉลาดซื้อ” เราจะมาหาคำตอบกันว่า การสูบบุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าการสูบบุหรี่(ธรรมดา) จริงๆ หรือ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่ทั่วไป จริงหรือ ?   คำตอบคงต้องแบ่งเป็นสองประการ คือ ถ้าจะวัดกันที่ว่า บุหรี่ไฟฟ้าไม่ปล่อยควันยาสูบที่เป็นอันตราย บุหรี่ไฟฟ้า อันตรายตรงนี้น้อยกว่าจริง   แต่ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อมาคือ ผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าอาจได้รับมีสารตกค้าง และความเสี่ยงในการรับนิโคตินมากเกินไปบุหรี่ไฟฟ้าได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะจากบริษัทบุหรี่ว่า อาจไม่มีความปลอดภัยในการใช้ นอกจากนี้บริษัทยาขนาดใหญ่ที่สนใจเกี่ยวกับยาเพื่อการเลิกสูบบุหรี่ เช่น แผ่นแปะนิโคติน หรือเม็ดอมนิโคติน ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินอย่างเป็นธูปธรรมต่อกลุ่มสาธารณสุขเพื่อเรียกร้องให้มีการห้ามยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากยาสูบอิเล็กทรอนิกส์มีผลต่อความอยากบุหรี่ และอาจทำให้เลิกบุหรี่ได้ บุหรี่ไฟฟ้าเป็นเครื่องมือทางการแพทย์และได้รับการยอมรับในหลายประเทศ แต่ก็เป็นสินค้าผิดกฎหมายในอีกหลายประเทศเช่นกันในประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุขได้มีมาตรการห้ามนำบุหรี่ไฟฟ้าเข้ามาจำหน่ายในประเทศโดยใช้กฎหมาย 3 ฉบับ ได้แก่ - พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ. 2535 มาตรา 10 เรื่องห้ามผลิต นำเข้า เพื่อขายหรือเพื่อจ่ายแจกเป็นการทั่วไปหรือโฆษณาสินค้าอื่นใดที่มีรูปลักษณะ ที่ทำให้เข้าใจได้ว่าเป็นสิ่งเลียนแบบผลิตภัณฑ์ยาสูบประเภทบุหรี่ซิการ์แรต หรือบุหรี่ซิการ์ มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาท - พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510  มาตรา 12 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต ขาย หรือนำ หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร ซึ่งยาแผนปัจจุบัน เว้นได้แต่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท และมาตรา 72 ห้ามมิให้ผู้ใดผลิตขาย หรือนำเข้า หรือสั่งนำเข้ายาที่มิได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา มาในราชอาณาจักร ฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 20,000 บาท - พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ผู้ใดนำหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจำกัดหรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง เข้ามาในราชอาณาจักรสยาม ความผิดครั้งหนึ่งจะมีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรขาเข้าด้วยแล้ว หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำโดยกระทรวงสาธารณสุขอ้างว่า พบปริมาณนิโคตินสูงกว่าบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า และมีผลเสียต่อผู้ที่สูบ หากสูบบุหรี่อิเล็กทรอนิกส์ 1 มวน จะเท่ากับสูบบุหรี่ทั่วไปถึง 15 มวน หากนำไปใช้โดยปราศจากการดูและของแพทย์จะเป็นอันตรายต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ขณะเดียวกันผู้ใช้ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ก็มีการโต้แย้งว่าบุหรี่จริง มีนิโคตินที่ได้รับจากการเผาไหม้ใบยาสูบ ซึ่งนอกจานิโคตินแล้ว ยังมีสารก่อมะเร็งและสารพิษมากมายปัจจุบันในสังคมไทยยังไม่อนุญาตให้นำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า และไม่ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกประกาศแล้วว่าบุหรี่ไฟฟ้า ไม่ใช่อุปกรณ์ช่วยเลิกบุหรี่ จากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ JAMA ชี้ว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้า (e-cigarette) ไม่ได้ทำให้อัตราการเลิกบุหรี่ลดลง หลังจากการใช้ 1 ปี แต่อย่างใดแม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปที่ก่อให้เกิดสารพิษกว่า 7,000 ชนิด ในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เรื่องต้องรู้ ความต่างของบุหรี่ธรรมดาและบุหรี่ไฟฟ้าบุหรี่ มีลักษณะเป็นทรงกระบอกม้วนห่อด้วยกระดาษ ขนาดปกติจะมีความยาวสั้นกว่า 12 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 1 เซนติเมตร มีใบยาสูบบดหรือซอยบรรจุอยู่ภายใน ปลายด้านหนึ่งใช้สำหรับจุดไฟ อีกด้านจะมีตัวกรองใช้สำหรับใช้ปากดูดควันไส้บุหรี่ ทำจากใบยาสูบตากแห้ง นำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ควันบุหรี่ประกอบด้วยสารเคมีมากกว่า 7,000 ชนิด ซึ่งมีสารเคมีที่เป็นสารพิษ สารที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม และสารก่อมะเร็ง สารเคมีที่มีอยู่ในบุหรี่ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์ (Carbon monoxide), คลอโรฟอร์ม (Chloroform), ไซยาไนด์/ไฮโดรเจนไซยาไนด์ (Cyanide/Hydrogencyanide), ฟอร์มัลดีไฮด์ (Formaldehyde), นิโคตีน (Nicotine), ทาร์ (Tar)บุหรี่ไฟฟ้า หรือ ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Cigarette) หรือบุหรี่ไอน้ำ (Vapor Cigarette) คือผลิตภัณฑ์ยาสูบจำพวกบุหรี่ บุหรี่ซิการ์ และบุหรี่แบบกล้องสูบ ซึ่งทำขึ้นจากอุปกรณ์ประจุแบตเตอรีที่จะส่งผ่านนิโคตินไปยังผู้สูบ โดยทั่วไปมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบที่คล้ายกับบุหรี่จริง กับแบบที่เรียกว่าแบบปากกา (Pen style) มีลักษณะเหมือนบุหรี่ที่มีปลายด้านก้นกรองเสียบอยู่กับตัวต่อก้นกรองอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นถูกคิดค้นขึ้นในประเทศจีนบุหรี่ไฟฟ้าสามารถอดแยกชิ้นส่วนได้เป็น 3 ส่วน คือ- ส่วนแบตเตอรี่ (Battery) คือ ส่วนที่มีลักษณะคล้ายกับตัวบุหรี่ มีความยาวราว 55-80 มิลลิเมตร ส่วนปลายมักมีหลอดไฟแอลอีดี (LED) แสดงสถานะการทำงาน และแจ้งเตือนระดับแบตเตอรี่ มีทั้งแบบอัตโนมัติและแบบตรวจด้วยมือ- ส่วนตัวสร้างควัน และความร้อน (Atomizer) คือ ส่วนกลาง จะมีไมโครชิพ (Microship Circuit) ควบคุมการทำงาน และขดลวดอิเล็กตรอนเพื่อเปลี่ยนน้ำยา (e-Liquid) ให้กลายเป็นละอองไอน้ำ และสร้างกลิ่นเสมือนบุหรี่จริง- ส่วนเก็บน้ำยา (Cartridge) หรือส่วนปากดูด (Mouth piece) จะมีรูปร่างคล้ายปากเป็ด หรือทรงกระบอก และอีกด้านหนึ่งจะเป็นกระเปาะใส่วัสดุซับน้ำยาไว้นอกจากส่วนประกอบในตัวเครื่องแล้ว ส่วนประกอบสำคัญของยาสูบอีกอย่างคือ น้ำยา (e-Liquid) ซึ่งผลิตจาก สารโพรพีลีน กลีเซอรอล (Propylene Glycerol) หรือ สารโพรพีลีน ไกลคอล (Propylene Glycol) หรือเรียกสั้นๆ ว่าสารพีจี (PG) ซึ่งเป็นตัวทำละลายระดับที่บริโภคได้ (Food-grade) ซึ่งสารพีจีนั้นมีอยู่ในเครื่องสำอางแทบทุกชนิด รวมทั้งในผลิตภัณฑ์จำพวก แชมพู สบู่ โฟมล้างหน้า หรือแม้กระทั่งลูกอม สารพีจีนี้อาจมีการสะสมหรือระคายเคืองหากได้รับเป็นเวลานานระดับของสารนิโคตินในน้ำยา โดยทั่วไปจะกำหนดไว้ดังนี้- ระดับสูงมาก (Extra High) มีระดับนิโคติน 20 - 24 มิลลิกรัม- ระดับสูง (High) มีระดับนิโคติน 16 - 18 มิลลิกรัม- ระดับปานกลาง (Medium) มีระดับนิโคติน  11 - 14 มิลลิกรัม- ระดับต่ำ (Low) มีระดับนิโคติน  4 - 8 มิลลิกรัม- ไม่มีนิโคติน (Non) มีระดับนิโคติน   0 - 2 มิลลิกรัมนอกจากนี้ ยังมีบางบริษัทที่ผลิตระดับนิโคตินสูงสุด (Super High) คือ 34 มิลลิกรัม ซึ่งอาจเกิดอันตรายต่อร่างกาย หากได้รับในปริมาณมากควันที่เกิดจากบุหรี่ไฟฟ้า คือ ไอน้ำที่เกิดจากปฏิกิริยาของสารพีจีที่ถูกคลื่นความร้อนไมโครเวฟจากตัวสร้างควันทำให้แตกตัวและดูดน้ำในอากาศกลายเป็นสายหมอกไอน้ำสีขาว ที่มีความคล้ายคลึงกับไอน้ำจากกาต้มน้ำ แต่มีความหนาแน่นและรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนมากกว่า ซึ่งแตกต่างจากควันบุหรี่จริงที่มีสีออกเทาแม้ว่ายาสูบอิเล็กทรอนิกส์จะปราศจากส่วนผสมของใบยาสูบ และการสันดาปที่ก่อให้เกิดสารพิษกว่า 7,000 ชนิด ในบุหรี่จริงก็ตาม แต่ผู้สูบยังคงได้รับนิโคตินอยู่ ซึ่งการรับนิโคตินที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคือง คลื่นไส้ และมีผลต่อหัวใจได้ จึงไม่อาจกล่าวว่า ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์ ปลอดภัยได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์เป็นเพียงทางเลือกหนึ่ง สำหรับผู้ต้องการลดปริมาณพิษสะสม อันเกิดจากบุหรี่จริงและเพื่อให้ได้คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้นว่า บุหรี่ไฟฟ้ามีอันตรายน้อยกว่าบุหรี่จริงนั้น ถูกต้องหรือไม่ ฉลาดซื้อจึงได้สัมภาษณ์ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เพื่อคลายข้อสงสัยดังกล่าว“ความจริงอันหนึ่งที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ ถ้าคนสูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่เลย อันตรายจะน้อยกว่าซึ่งอันนี้จริง ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ คนที่สูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวแต่สูบทั้งสองอย่าง เขาจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อไปในที่ๆ คนไม่ให้สูบบุหรี่ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอยู่ในที่ๆ เขาสูบบุหรี่ได้ เขาก็จะสูบบุหรี่”จริงหรือไม่ ที่ว่าบุหรี่ไฟฟ้าช่วยไม่ให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ ? ศ.นพ.ประกิต ได้ให้ข้อมูลว่า จากรายงานขององค์กร The National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine หรือ สถาบันวิชาการทางวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และการแพทย์แห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (https://www.nap.edu/catalog/24952/public-health-consequences-of-e-cigarettes) ซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นกลาง ได้สรุปรายงานเมื่อ เดือนมกราคม 2561 ว่า ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานว่าบุหรี่ไฟฟ้าสามารถลดตัวเลขสถิติของนักสูบบุหรี่หน้าใหม่ลง แต่กลับกันมีแนวโน้มว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เกิดนักสูบบุหรี่หน้าใหม่มากขึ้น โดยเฉพาะเด็กวัยรุ่นที่ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน ซึ่งเริ่มเข้ามาสูบบุหรี่ไฟฟ้า จากการติดตามในระยะเวลา 1 - 2 ปี ผลปรากฏว่า เด็กเหล่านั้นกลายมาสูบบุหรี่จริง มากกว่าเด็กที่ไม่ได้สูบบุหรี่ไฟฟ้าถึง 3 - 4 เท่า ซึ่งพบว่ามีรายงานในลักษณะนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยประเด็นที่น่ากังวลก็คือ บุหรี่ไฟฟ้าอาจทำให้เด็กหรือผู้ใหญ่ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย มีความเข้าใจว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยกว่า เพราะไม่เหม็นเหมือนบุหรี่ธรรมดา ก็เริ่มติดบุหรี่ไฟฟ้า ติดนิโคติน แล้วก็เริ่มหันไปสูบบุหรี่จริง แม้แต่รายงานของคณะกรรมาธิการสาธารณสุขของประเทศออสเตรเลีย เมื่อเดือนมีนาคม 2561 ก็ได้มีการสั่งให้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมถึงความเป็นไปได้ที่บุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้เยาวชนติดนิโคติน และหันมาสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น นี่คือประเด็นที่ประเทศออสเตรเลียก็ห่วงเช่นกันผู้ที่หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้าแทนบุหรี่ธรรมดา สามารถเลิกบุหรี่ได้จริงหรือ ?ศ.นพ.ประกิต ได้ให้ข้อมูลว่า มีหลักฐานรายงานที่ให้ข้อเท็จจริงว่า คนที่สูบบุหรี่จริงแล้วหันมาใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อการเลิกบุหรี่นั้น ไม่ได้มีประสิทธิภาพดีกว่าการเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งยังคงต้องอยู่ภายใต้การควบคุมการวิจัย โดยพบว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่ ยังคงต้องทำพร้อมกันควบคู่ไปกับการเข้ารับคำแนะนำ ตัวยา และกำลังใจจากแพทย์ผู้ดูแล การใช้บุหรี่ไฟฟ้าเพื่อเลิกบุหรี่ด้วยตนเองนั้น มีโอกาสที่จะเลิกได้น้อยกว่า การใช้บุหรี่ไฟฟ้าภายใต้ความดูแลของหมอ ซึ่งคล้ายกันกับการใช้ยาอดบุหรี่ “ความจริงอันหนึ่งที่ยอมรับกันทั่วไปก็คือ ถ้าคนสูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่เลย อันตรายจะน้อยกว่าซึ่งอันนี้จริง ปัญหาส่วนใหญ่ก็คือ คนที่สูบบุหรี่แล้วหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้า 80 เปอร์เซ็นต์ไม่ได้เปลี่ยนไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าอย่างเดียวแต่สูบทั้งสองอย่าง เขาจะสูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อไปในที่ๆ คนไม่ให้สูบบุหรี่ แต่เมื่อไหร่ที่เขาอยู่ในที่ๆ เขาสูบบุหรี่ได้ เขาก็จะสูบบุหรี่”บุหรี่ไฟฟ้านั้นยังพัฒนาไม่เต็มที่ เพราะการส่งนิโคตินไปสู่สมองยังไม่เท่าบุหรี่จริง ในแง่ความรื่นรมย์ การใช้บุหรี่ไฟฟ้ายังให้ความรื่นรมย์ในการสูบสู้บุหรี่จริงไม่ได้ ถ้าคนที่สูบบุหรี่ธรรมดาหันไปสูบบุหรี่ไฟฟ้าแล้วเลิกสูบบุหรี่จริงได้ อันตรายจะน้อยกว่าการสูบบุหรี่ธรรมดาแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม พบว่าความตั้งใจเลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่นๆ โดยไม่พึ่งบุหรี่ไฟฟ้านั้นสามารถเลิกได้มากกว่าบุหรี่จริงนั้นมีการพัฒนามานานกว่าสองสามร้อยปี แต่สำหรับบุหรี่ไฟฟ้านั้นเพิ่งพัฒนาได้ไม่ถึง 10 ปี และบุหรี่ไฟฟ้าก็มีการเปลี่ยนเทคนิคการผลิตไปเรื่อยๆบุหรี่ไฟฟ้ารุ่นแรก มีการนำขดลวดและสำลีชุปน้ำยาซึ่งสูบได้ 200 ครั้ง มีแบตเตอรี่ในตัว ใช้เสร็จแล้วทิ้งได้เลย ส่วนในน้ำยามีนิโคตินและสารเคมีอีกหลายตัว ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าก็มีทั้งประเภทเหลว หรือ แบบน้ำ รวมถึงล่าสุด มีการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้ง (ที่ไม่ใช่นิโคตินเหลว) มีตัวชาร์จแบตเตอรี่ และตัวสูบ แยกออกจากกัน เมื่อดูดแล้วเกิดความร้อนซึ่งทำให้เกิดควัน บุหรี่ไฟฟ้าแบบใหม่นั้น ส่วนที่เป็นยาเส้น ไม่ใช่ใบยาแบบบุหรี่ธรรมดา แต่เป็นใบยาที่บดเป็นผง ใส่สารเคมี แล้วรีดเป็นแผ่น จากนั้นจึงตัดเป็นใบยาใหม่ แต่ยังคงใช้ความร้อนจากแบตเตอรี่เหมือนกันในประเทศญี่ปุ่น และออสเตรเลีย มีกฎหมายห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าที่เติมน้ำยาแบบเหลว เพราะนิโคตินถือเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายในกฎหมายยาพิษ ในประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งได้ เพราะไม่มีส่วนประกอบของนิโคตินเหลว (ซึ่งถือว่าเป็นยาพิษ) ส่วนประเทศออสเตรเลีย มีกฎหมายห้ามไม่ให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าทั้งรูปแบบนิโคตินแห้ง และ นิโคตินเหลวส่วนในประเทศสหรัฐอเมริกานั้นอนุญาตให้ขายบุหรี่ไฟฟ้าแบบเหลวได้ แต่ยังไม่อนุญาตให้ขายแบบแห้ง ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (U.S. FDA) ยังไม่เห็นด้วยกับบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้ง เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานที่มาสนับสนุนว่าปลอดภัยกว่าบุหรี่ธรรมดา ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าชนิดน้ำที่ยังขายอยู่ในอเมริกา จะถูกออกกฎหมายควบคุมภายในปี 2021 กรณีดังกล่าวเป็นความหลากหลายของนโยบายในแต่ละประเทศต่อเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า อย่างเช่นในประเทศสิงคโปร์ที่ห้ามจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าทุกชนิดบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งเพิ่งออกวางจำหน่ายในตลาดเพียงแค่ปีกว่าๆ ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าแบบแห้งให้ควันที่น้อยกว่าบุหรี่จริง บุหรี่ไฟฟ้าไม่ได้มีเพียงแค่ผลิตภัณฑ์เดียว และยังมีส่วนประกอบต่างกันอีกด้วย ซึ่งบางรายงานก็บอกว่ามีอันตรายน้อย บ้างรายงานก็บอกว่าเยอะกว่า เพราะมีหลากหลายยี่ห้อ และประกอบไปด้วยสารเคมีกว่า 7,000 ตัวที่ใช้ทำกลิ่น (Favor)การซื้อบุหรี่ไฟฟ้าไปเพื่อใช้เลิกสูบบุหรี่เองส่วนใหญ่จะไม่สำเร็จ อาจจบลงด้วยการสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่จริง ซึ่งจากรายงานของสหรัฐอเมริกา พบว่า ภายใน 4 ปี เด็กมัธยมศึกษาตอนปลายสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 1.5 มาเป็นร้อยละ 16 ภายในระยะเวลา 4 ปี บุหรี่ไฟฟ้าเป็นอะไรที่น่าตื่นเต้น เป็นสิ่งใหม่ ไม่มีกลิ่นเหม็น แอบสูบได้ ซึ่งปัจจุบันยังมีการพัฒนาให้ตัวสูบคล้ายกับธัมไดรฟ์ (Thumb Drive) ที่ใช้เก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถแอบนำเข้าไปในโรงเรียนได้ คนไทยมีแนวโน้มสูบบุหรี่ธรรมดาลดลง แต่มีแนวโน้มในการสูบบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขั้น จากข้อมูลสำรวจเมื่อปี พ.ศ. 2558 จากการสำรวจระดับประเทศในเด็กช่วงอายุ 13 - 15 ปี พบว่ามีการสูบบุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นเพศชายร้อยละ 4.9 เพศหญิงร้อยละ 1.9 ในความเป็นจริงแล้วเด็กผู้หญิงในวัยนั้นก็เริ่มสนใจทดลองสูบบุหรี่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่ไม่เลือกที่จะสูบต่อ คือทดลองแล้วเลิก เพราะสังคมไม่ยอมรับ ผู้หญิงนั้นมีการทดลองสูบบุหรี่ไม่ได้น้อยกว่าผู้ชายเท่าไหร่ มันเป็นธรรมชาติ แต่ผู้ชายมีการทดลองต่อ ซึ่งถ้าลองเกิน 100 มวน ครึ่งหนึ่งของผู้ที่ลองจะติดบุหรี่ เพราะสารนิโคตินพูดกันให้ชัดในเรื่องบุหรี่ไฟฟ้าก็คือ ถ้าเราสามารถเปลี่ยนคนสูบบุหรี่ธรรมดาทั้งหมด ให้หันมาสูบบุหรี่ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องดี แต่ปัญหาขณะนี้คือแนวโน้มมันอาจจะทำให้คนติดบุหรี่เพิ่มขึ้น จากคนที่ไม่ได้สูบ ก็เข้าไปติดบุหรี่ไฟฟ้า แล้วก็หันมาสูบบุหรี่จริง มันอันตรายในเชิงเพิ่มปริมาณคนสูบบุหรี่ให้เพิ่มขึ้นการนำเข้า - จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยตามกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้ามาเพื่อจำหน่ายในประเทศไทย รวมถึงกฎหมายของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ซึ่งห้ามมิให้มีการขาย หรือให้บริการบุหรี่ไฟฟ้าแต่หากนักท่องเที่ยวนำเอาบุหรี่ไฟฟ้าติดตัวมาเพื่อใช้ส่วนตัว นั้นไม่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้นำเข้าเพื่อการจำหน่าย ซึ่งไม่มีกฎหมายห้ามไว้ เว้นแต่นำเข้ามาเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำมาใช้สูบส่วนตัวสำหรับคนไทยที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า นั้นไม่มีความผิดตามกฎหมาย จริงๆ ควรถามต่อไปว่าได้บุหรี่ไฟฟ้ามาจากไหน เพื่อสืบไปยังต้นตอที่นำมาจำหน่าย ซึ่งสำหรับคนขายนั้นมีความผิดทั้งจากการขาย และมีความผิดจากการนำเข้า ซึ่งไทยเองก็ยังไม่มีการพิจารณากฎหมายเกี่ยวกับการอนุญาตให้จำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้า เพราะยิ่งนับวัน ก็ยิ่งเห็นฤทธิ์ของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น และหลักฐานที่จะสนับสนุนว่าบุหรี่ไฟฟ้านั้นช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้เองก็มีน้อยลงการห้ามมิให้มีการขายบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทย เป็นการจำกัดสิทธิผู้บริโภคหรือไม่ต้องคิดถึงภาพรวมว่า สุดท้ายแล้วบุหรี่ไฟฟ้าจะทำให้คนสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ส่วนประเด็นว่าจะเป็นการจำกัดสิทธิผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้าหรือไม่ ก็คงต้องบอกว่าประเทศไทย ไม่ใช่ประเทศเดียวที่จำกัดสิทธิเรื่องบุหรี่ไฟฟ้า ในประเทศออสเตรเลียก็มีการห้าม ญี่ปุ่นก็ห้ามบุหรี่ไฟฟ้าบางประเภท สิงคโปร์นั้นห้ามหมดเลย ห้ามแม้แต่การมีครอบครองก็ผิดกฎหมาย ซึ่งก็แล้วแต่บริบทของแต่ละประเทศต้องให้ความจริงกับผู้บริโภค เพราะธุรกิจบุหรี่ไฟฟ้าอยู่เบื้องหลังคนบางกลุ่มที่ออกมาให้ความเห็นต่อสาธารณะ ไม่ว่าจะปิด หรือ เปิดขาย ก็ต้องให้ความรู้กับผู้บริโภคให้มากที่สุด เพราะบุหรี่ไฟฟ้าถูกบิดเบือนไปว่าไม่มีอันตรายซึ่งไม่ใช่ บุหรี่ไฟฟ้านั้นมีอันตราย แต่อาจจะน้อยกว่าบุหรี่ธรรมดา ส่วนผลกระทบในระยะยาวยังไม่สามารถบอกได้ศ.นพ.ประกิต กล่าวว่า “มีคนไทยเข้าใจผิดว่า บุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัยไม่มีอันตราย ซึ่งความเข้าใจผิดเหล่านี้มาจากคำของคนขาย เขาจะอ้างประเทศอังกฤษ ต้องเข้าใจเพราะอังกฤษเขาตายจากการสูบบุหรี่ปีละเกือบแสนคน ค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลเขาเต็มที่ จากการป่วยจากการสูบบุหรี่ เขาเลยโปรโมทให้สูบบุหรี่ไฟฟ้า และเขาคุมการเข้าถึงของเด็ก เขาห้ามใส่พวกกลิ่นที่ดึงดูดนักสูบหน้าใหม่”อ้างอิง:- https://www.nap.edu/catalog/24952/public-health-consequences-of-e-cigarettes- 10 ความเชื่อผิดๆ ของการสูบบุหรี่ ที่คุณต้องทำความเข้าใจใหม่, หนังสือคู่มือชุดนิทรรศการยืม-คืน ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิตประเด็น “บุหรี่และยาสูบ” โดย สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส.- Wikipedia (https://th.wikipedia.org/wiki/ยาสูบอิเล็กทรอนิกส์)- ผลวิจัยสหรัฐชี้ บุหรี่ไฟฟ้า ทำติดยาสูบ 6.8 เท่า (มติชนออนไลน์) (https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_790745)- รายงานโครงการสำรวจการบริโภคยาสูบในผู้ใหญ่ ระดับโลก ปี 2554 (http://www.ashthailand.or.th/th/data_center_page.php?id=505)- e-cigarette โดย ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ (เว็บไซต์กรุงเทพธุรกิจ)(http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/514474)-  https://www.honestdocs.co/cigarette-effects

อ่านเพิ่มเติม >