ฉบับที่ 185 ทำไมประกันภัยจ่ายไม่ครบ

ปัจจุบันกฎหมายได้กำหนดให้รถมอเตอร์ไซค์ทุกคันต้องทำประกันภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนนทุกฝ่าย อย่างไรก็ตามประกันภัยดังกล่าวก็สามารถสร้างความสับสนให้กับผู้ทำประกันในส่วนของการชดเชยค่ารักษาพยาบาลได้ ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับผู้ร้องรายนี้คุณสุชาติประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์ล้ม จึงเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายไปทั้งสิ้น 2,800 บาท อย่างไรก็ตามเขารู้ว่าได้ทำประกันภัยกับบริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยภัยจากรถ (คปภ.) ไว้ จึงนำใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลดังกล่าวไปเบิกกับบริษัทฯ แต่เจ้าหน้าที่กลับแจ้งว่าไม่สามารถเบิกได้เต็มจำนวน โดยจะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ทำให้เขาเห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีความเป็นธรรม จึงไม่ยินยอมรับเงินจำนวนดังกล่าวและมาร้องเรียนยังศูนย์พิทักษ์สิทธิเพื่อขอความช่วยเหลือแนวทางการแก้ไขปัญหาพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดไว้ว่า สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ผู้ได้รับบาดเจ็บตามความเป็นจริง แต่ไม่เกิน 15,000 บาทต่อหนึ่งคน ศูนย์ฯ จึงส่งเรื่องร้องเรียนของคุณสุชาติไปไปสอบถามยัง คปภ. โดยแนบสำเนาใบเสร็จรับเงินของผู้ร้องไปด้วย ซึ่งภายหลังทางบริษัทฯ ได้ชี้แจงกลับมาว่า “คปภ. ได้พิจารณาจ่ายรักษาพยาบาลคืนให้ผู้ร้องเป็นจำนวน 2,280.18 บาท โดยไม่สามารถจ่ายเงินเต็มจำนวนคืนให้ได้ เพราะผู้ร้องเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุและทำประมาทเอง ซึ่งตามประกาศคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ได้กำหนดให้บริษัทประกันภัย บริษัทกลางประกันภัย จำกัด กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจากรถดำเนินการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น ตามจำนวนจริงแต่ไม่เกินจำนวนเงินสูงสุด โดยให้จ่ายแต่ละรายการในอัตราไม่เกินราคาสูงสุดที่กำหนดตามมาตรฐานกลางของรายการ ซึ่งจากกรณีของผู้ร้องมีค่าใช้จ่ายที่เกินราคากลางไปจำนวน 520 บาท ซึ่งเงินจำนวนนี้ผู้ร้องจำเป็นต้องจ่ายเอง”สรุปว่า คปภ. จ่ายได้ในแต่ละรายการไม่เกินอัตราสูงสุดที่ประกาศกำหนดไว้ ซึ่งกรณีของผู้ร้องนั้นสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 2,280.18 บาท ขาดไปจากที่จ่ายจริง 520 บาท ซึ่งผิดกับที่ผู้ร้องเข้าใจในตอนแรกว่าบริษัทฯ จะชดเชยให้เพียง 520 บาทเท่านั้น ภายหลังได้รับการชี้แจง ผู้ร้องก็ยินดีรับเงินจำนวนดังกล่าวและยุติการร้องเรียนทั้งนี้สำหรับใครที่ต้องการใช้สิทธิขอรับค่าเสียหายเบื้องต้น ต้องติดต่อกับบริษัทภายใน 180 วัน นับแต่วันที่มีความเสียหายเกิดขึ้น โดยเตรียมหลักฐานต่างๆ ดังนี้1. กรณีบาดเจ็บ1.1 ใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล หรือหลักฐานการแจ้งหนี้เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล 1.2 สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัย2. กรณีผู้ประสบภัยที่ได้รับบาดเจ็บต่อมาทุพพลภาพ นอกจากต้องยื่นหลักฐานตาม ข้อ 1.1 และ 1.2 แล้ว ให้ยื่นใบรับรองแพทย์ หรือความเห็นแพทย์ หรือหลักฐานอื่นใดที่ระบุว่าเป็นผู้ประสบภัยซึ่งทุพพลภาพ พร้อมทั้งสำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือหลักฐานอื่นที่แสดงว่าผู้นั้นได้รับความเสียหายจากการประสบภัยจากรถเพิ่มเติมด้วย3. กรณีเสียชีวิต 3.1 สำเนามรณะบัตร 3.2 สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน 3.3 สำเนาบัตรประจำตัว หรือสำเนาใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือสำเนาหนังสือเดินทาง หรือหลักฐานอื่นใดที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ผู้ที่มีชื่อในหลักฐานนั้นเป็นผู้ประสบภัยอย่างไรก็ตามสำหรับข้อมูลอื่นๆ สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของบริษัทฯ  http://www.rvp.co.th หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) http://www.oic.or.th/ และสามารถโทรศัพท์สอบถามได้ที่สายด่วน 1791

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 96 กระแสในประเทศ

กระแสในประเทศกองบรรณาธิการ ประมวลเหตุการณ์เดือนมกราคม 25523 มกราคม 2552กรมวิทย์มุ่งธนาคารสเต็มเซลล์ ปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกรามารุ่ง นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ขณะนี้การนำเซลล์ต้นกำเนิดมาใช้รักษาโรคยังเป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิกยังไม่ได้รับการยืนยันมาตรฐานทางการแพทย์ แต่ต้องยอมรับว่า เป็นการศึกษาวิจัยที่ได้ผลการรักษาค่อนข้างดี โดยที่ผ่านมากรมวิทย์ฯ ได้ทำโครงการความร่วมมือกับสถานพยาบาลในการใช้เซลล์ต้นกำเนิดรักษาโรคแล้ว 2 โครงการ โดยประสบความสำเร็จ 1 โครงการ คือความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ศึกษาการปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกผ่านหลอดเลือดโคโรนารี่ เพื่อทดแทนกล้ามเนื้อและหลอดเลือดฝอยที่ตายจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจทำงานบกพร่องในผู้ป่วยเด็กจำนวน 2 ราย ส่วนอีก 1 โครงการ คือ ความร่วมมือกับโรงพยาบาลเลิดสิน ศึกษาการปลูกถ่ายเซลล์ไขกระดูกเพื่อรักษาโรคข้อเข่าเทียม แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ในอนาคต กรมวิทย์ฯ จะพัฒนาการเพาะเซลล์ต้นกำเนิดใช้รักษาโรคอื่นๆ ด้วย เช่น โรคเลือดต่างๆ ธาลัสซีเมีย มะเร็งเม็ดเลือดขาว เบาหวาน กระจกตา เป็นต้น และอาจจะพัฒนาเป็นธนาคารเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อสาธารณประโยชน์เช่นเดียวกับสภากาชาดไทย 6 มกราคม 2552แพทย์เตือนพ่อแม่ซื้อของเล่น ระวังสารปนเปื้อนทำลายลูกนพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ หัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โรงพยาบาลรามาธิบดี เปิดเผยว่า ในปี 2551 ได้เก็บตัวอย่างของเล่นในศูนย์พัฒนาเด็ก กทม. 23 แห่ง ตรวจหาสารตะกั่ว พบว่าของเล่นเด็กจาก 4 แห่ง มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน คือ 600 มล./กก. นอกจากนี้ยังเก็บตัวอย่างของเล่นที่มีการวางขายหน้าโรงเรียนในกรุงเทพฯ 26 แห่ง พบ 4 แห่ง มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน และจากการซื้อของเล่นจากห้างและตลาดทั่วไปในกรุงเทพฯ พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และชลบุรี 126 ชิ้น ส่งตรวจคุณสมบัติทางกายภาพ 50 ชิ้น พบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐาน 9 ชิ้น สภาพปัญหาที่พบคือ มีเสียงดังเกิน 75-85 เดซิเบล ซึ่งเป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาทการได้ยิน มีเส้นสายยาวเกินกว่า 30 ซม. ซึ่งเสี่ยงต่อการพันรัดคอเด็ก มีช่องรูที่กว้างระหว่าง 5-12 มล. เสี่ยงต่อนิ้วเด็กติดค้างในช่องรู และมีขอบแหลมคมที่ทำอันตรายเด็กได้ และจากผลการตรวจคุณสมบัติทางเคมีของของเล่น 80 ชิ้น พบว่ามีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐาน 6 ชิ้น ซึ่งมีผลให้ไอคิวต่ำ "พ่อแม่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ให้เด็ก ที่มีตรา มอก.รับรอง แม้จะไม่ปลอดภัย 100% แต่ก็พอที่จะบรรเทาอันตรายได้ในระดับหนึ่ง" 9 มกราคม 2552วิจัยพบเด็กโตขึ้นไอคิวยิ่งต่ำลงพญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล กล่าวว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงเรื่องระดับสติปัญญา (ไอคิว) และระดับความฉลาดทางอารมณ์ (อีคิว) ของเยาวชนไทย เนื่องจากในโครงการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทยที่ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 เก็บข้อมูลทุกปีจากพื้นที่ตัวอย่างนำร่องจำนวน 1,500 คน 15 จังหวัดมาศึกษาพบว่า ต้นทุนของเด็กไทยในช่วงทารกหรือแรกเกิดอยู่ในระดับสากล คือมีไอคิวประมาณ 100 แต่เมื่อมาอยู่ระดับประถมศึกษาประมาณ 9-10 ขวบ กลับมีระดับไอคิวเหลือเพียง 97-98 แต่เมื่อโตมาในช่วงวัยรุ่นระดับมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษาจะมีค่าไอคิวเฉลี่ยเหลือเพียง 90 ต้นๆ เท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่ง ที่น่าสนใจคือ ปัจจัยแวดล้อมใดที่มีผลต่อการพัฒนาการทางสมองของเด็กไทย เพราะจากระดับไอคิวของเด็กแรกเกิดไทยแสดงให้เห็นว่าเรื่องของพันธุกรรมไม่ได้เป็นปัจจัยหลักเกี่ยวกับการพัฒนาไอคิวเด็ก"วิธีที่จะกระตุ้นให้พัฒนาการของลูกดีคือการที่พ่อแม่เอาใจใส่สนใจในการตั้งคำถามของลูก ไม่ด่าว่า ส่งเสริมให้เด็กตั้งคำถาม เอาใจใส่ต่ออาหารและการออกกำลังกาย การอ่านหนังสือ รวมถึงได้ทำกิจกรรมร่วมกับลูกในช่วงวันหยุด เพราะการทำกิจกรรมร่วมกันอย่างการเล่นกับลูกให้เหมาะตามวัยจะช่วยให้พ่อแม่ได้รู้จักลูกตัวเองดีขึ้นด้วย อาทิ เกมหมากรุก เกมต่อคำภาษาอังกฤษ จิ๊กซอว์ เกมคอมพิวเตอร์พวกเกมซิมที่เป็นการสร้างเมืองวางแผนต่างๆ ซึ่งระหว่างการเล่นพ่อแม่สามารถสอนลูกไปพร้อมกันได้ ซึ่งเด็กจะซึมซับและนำมาใช้ในชีวิตจริงได้" อย.ชี้อันตราย"คุกกี้เสริมอึ๋ม" ใช้กวาวเครือขาวผิดวิธีเจอดีอย. เตือนอันตรายคุกกี้ผสมกวาวเครือขาว ชื่อผลิตภัณฑ์ F Cup Cookie ขายเกลื่อนเน็ต โอ้อวดสรรพคุณเพิ่มอึ๋ม นอกจากเสียเงินมากแล้วอาจเจออันตรายจากผลข้างเคียงของการใช้กวาวเครือขาวโดยผิดวิธี เนื่องจากจะรบกวนระบบฮอร์โมนเพศ อีกทั้งเป็นการโฆษณาที่ผิดกฎหมาย แสดงฉลากไม่ถูกต้อง และกวาวเครือเป็นพืชสมุนไพรควบคุมที่ยังไม่อนุญาตให้ใช้ในอาหาร ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่มีการขออนุญาตนำเข้ากับ อย. เพื่อนำมาจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคแต่อย่างใด ซึ่งในกรณีของผู้นำสินค้าเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต มีโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากจำหน่ายอาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง มีโทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หากผู้บริโภคพบเห็นการจำหน่ายและโฆษณาผลิตภัณฑ์คุกกี้ดังกล่าว และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่คาดว่าจะผิดกฎหมาย โปรดแจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย.1556 29 มกราคม 2552หมอเตือนภัยฉีด"คาร์บ็อกซี่" หลุมพรางของคนคลั่ง"ผอม"นพ.ชลธิศ สินรัชตานันท์ นายกสมาคมศัลยกรรมตกแต่งใบหน้าแห่งประเทศไทย และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความงาม กล่าวถึงกระแสความนิยมของคาร์บ็อกซี่ (Carboxy) ว่า มีโฆษณาชวนเชื่อว่าสามารถสลายไขมันและเซลลูไลท์เฉพาะส่วนได้ในระยะเวลาไม่นาน และขั้นตอนไม่ยุ่งยาก แต่ไม่รู้ว่าคาร์บ็อกซี่กำลังเป็นภัยเงียบที่คุกคามผู้บริโภค หากไม่ศึกษาถึงผลกระทบให้ดีก่อนตัดสินใจเข้ารับบริการ การใช้ก๊าซคาร์บอนฉีดยังเป็นการทดลอง ยังไม่มีผลรับรองออกมาอย่างเป็นทางการ ทางที่ดีผู้บริโภคควรรอให้มีรายงานทางการแพทย์รับรอง 10 ฉบับขึ้นไป จึงนับว่าปลอดภัย รศ.นพ.นิยม ตันติคุณ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงการทำคาร์บ็อกซี่ว่า ฝรั่งเศส คือประเทศแรกที่นำมาใช้ และขยายความนิยมสู่อิตาลี ในปี 2533 จากนั้นได้รับการยอมรับและนิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในเอเชียและยุโรป คาร์บ็อกซี่ เป็นนวัตกรรมความงามเพื่อใช้ลดไขมันเฉพาะที่ด้วยก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซที่ละลายน้ำได้ดี สลายตัวได้เร็ว เมื่อฉีดเข้าไปยังชั้นไขมันใต้ผิวหนังจะช่วยเพิ่มการขยายตัวของเส้นเลือดและทำให้เซลล์ไขมันสลายตัวและถูกกำจัดออกไป เช่น หน้าท้อง ใต้ท้องแขน สะโพก น่อง ต้นขา ฯลฯ ทั้งนี้ ในวงการแพทย์มีการนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มาใช้อยู่ก่อนแล้ว เช่น การฉีดเข้าช่องท้องขณะส่องกล้องตรวจอวัยวะภายใน ถ้าใช้เหมาะสมไม่ส่งผลอันตรายใดต่อร่างกาย ที่สำคัญผู้ที่ให้การรักษาควรเป็นแพทย์เท่านั้น ส่วนกลุ่มเสี่ยงที่ควรหลีกเลี่ยงการฉีดคาร์บ็อกซี่ ได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเลือด โรคเบาหวาน สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เพราะหากก๊าซบางส่วนผ่านเข้าไปในระบบไหลเวียนเลือดอาจทำให้อาการดังกล่าวแย่ลง ในปัจจุบันข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่รับรองว่าการทำคาร์บ็อกซี่ปลอดภัยนั้นยังมีน้อย เท่าที่ทำการสืบค้นรายงานทางการแพทย์พบว่า มีเพียง 2 ฉบับเท่านั้น ที่รับรองว่าการทำคาร์บ็อกซี่ได้ผลและส่งผลข้างเคียงน้อย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยรถถึงเวลาต้องยกเลิก?พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 กำลังมาถึงจุดที่ต้องเปลี่ยนแปลงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า การรักษาพยาบาลที่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากบริษัทประกันในช่วงแรก เมื่อรักษาหมดวงเงินประกัน ก็ต้องกลับเข้ามารักษาตามสิทธิของแต่ละบุคคล ซึ่งถือว่าไม่ได้รับการดูแลจาก พ.ร.บ. ฉบับนี้อย่างเต็มที่ นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จงอุดมสุข ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) กล่าวว่า จากการศึกษาเรื่อง "พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถในบริบทของการประกันสุขภาพถ้วนหน้า" ของ นพ.ดร.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรและคณะ ระบุว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ ซึ่งเป็นการประกันภัยภาคบังคับมีหลักไม่กำไร ไม่ขาดทุน แต่ผลกำไรของบริษัทประกันวินาศภัยที่ได้จากประกันภัยประเภทนี้กลับมีสูงถึง 3.3 พันล้านบาทใน 4 ปี บวกกับปัจจุบันคนไทยมีหลักประกันสุขภาพทุกคน พ.ร.บ.นี้ไม่น่าจะมีความจำเป็นอีกต่อไป จึงต้องพิจารณาทางเลือกในการปรับปรุงระบบเพื่อให้คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถทุกคน ไม่ว่าจะมีหรือไม่มีประกัน" นายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แนวคิดในการเปลี่ยนระบบ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 เป็นเพราะขณะนี้กองทุนผู้ประสบภัยจากรถเปลี่ยนแปลงไปจากวัตถุประสงค์เดิมที่ออกกฎหมายไว้ให้มีกองทุนเพื่อช่วยเหลือประชาชนเพราะไม่มีกองทุนใดคอยดูแล แต่ขณะนี้คนไทยทุกคนได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เมื่อเกิดอุบัติเหตุฉุกเฉินก็สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งได้ อย่างไรก็ตาม หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ควรจะให้เวลาในการหารือและตัดสินใจ เนื่องจากอาจจะกระทบกระเทือนหลายฝ่าย โดยเฉพาะธุรกิจการประกันภัย “ขณะนี้ได้มอบหมายให้ทีมที่ปรึกษาระดมความคิด พูดคุย ศึกษาว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง ปัจจุบันรายละเอียดต่างๆ ในสิทธิการรักษาพยาบาลเปลี่ยนไปมากจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม ยอมรับว่ามีข้อร้องเรียนเข้ามาเสมอๆ โดยเฉพาะเรื่องความล่าช้าในการจ่ายเงินของบริษัทประกันภัย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวเป็นการโยนหินถามทางว่า สังคมจะมีความคิดเห็นอย่างไร ส่วนจะดำเนินการทันทีหรือไม่นั้น กระทรวงสาธารณสุขมีหลายเรื่องที่ต้องทำขณะนี้ คงจะต้องทำทีละเรื่อง เดือนละเรื่องและแต่ละเรื่องต้องใช้เวลา" นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ปัจจุบันไม่จำเป็นต้องมี พ.ร.บ.ประกันภัยรถยนต์อีก เพราะคนไทยทุกคนมีระบบหลักประกันสุขภาพรองรับแล้ว หากรัฐบาลนำมาเป็นนโยบายและดำเนินการจริงจัง สปสช.ก็พร้อมดูแลรับผิดชอบผู้ประสบภัยอุบัติเหตุอย่างเต็มที่ แต่ สปสช.คงไม่เป็นต้นเรื่องในการให้ยกเลิก พ.ร.บ.ดังกล่าวเอง ซึ่งหากยกเลิก พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว รัฐสามารถจัดเก็บภาษีอื่นทดแทนได้ เช่น การคิดภาษีจากน้ำมันเชื้อเพลิง 1 สตางค์ต่อลิตร หากยานพาหนะเติมน้ำมันเต็มถัง 50 ลิตร สัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในระยะเวลา 1 ปีจะเสียค่าภาษีเพียง 104 บาทต่อคันต่อปีเท่านั้น ถูกกว่าจ่ายเบี้ยประกันภัยในปัจจุบันหลายเท่า ผู้เสียหาย “ซานติก้า” และนักวิชาการ วอนผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง 30 มกราคม 2552 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับกลุ่มแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดเสวนา “ซานติก้า…ปัญหาและทางออกของผู้บริโภค” ขึ้น โดยเชิญผู้เสียหายในเหตุการณ์ และนักวิชาการร่วมหาทางออก นายสันติสุข มะโรงศรี ผู้เสียหายในเหตุการณ์ ไฟไหม้ร้านซานติก้า เมื่อคืนวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องผู้ถือหุ้นร้านซานติก้า ได้แก่ นายวิสุข เสร็จสวัสดิ์ ผู้ถือหุ้นใหญ่ และผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ และนายสุริยา ฤทธิ์ระบือ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไวท์ แอนด์ บราเธอร์ ตามลำดับ รวมทั้งหมด 31 คน ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้ บริโภค พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า สาเหตุหลักของการเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากการออกแบบอาคารและการก่อสร้างที่ผิดแบบ หากมีการก่อสร้างที่ถูกต้อง มีระบบดังเพลิงที่ดี เหตุการณ์ร้ายๆ คงจะไม่เกิดขึ้น “การที่ผมออกมาฟ้องเรื่องนี้ เพื่อจะยกระดับมาตรฐานเรื่องความปลอดภัย และเพื่อขอความเป็นธรรมให้กับตัวผมเอง และอยากจะใช้กฎหมายตัวนี้เป็นบรรทัดฐานให้ผู้บริโภคต่อไป และผมอยากให้ผู้ที่เสียหายต่อเหตุการณ์นี้ ได้ลุกขึ้นมาทวงสิทธิของตัวเอง” นายสันติสุขกล่าวนายชัยรัตน์ แสงอรุณ ตัวแทนจากสภาทนายความ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าวขณะนี้ ได้มีผู้ไปขอความช่วยเหลือจากสภาทนายความจำนวน 18 รายแล้ว สภาทนายความยินดีให้ความช่วยเหลือทุกท่าน“จากการทำงานที่ผ่านมา กรณีเกิดเหตุไฟไหม้เช่นนี้ซึ่งถือว่าเกิดเหตุโดยประมาท ผู้ประกอบการมักจะหลุดจากข้อหา เพราะภาระการพิสูจน์ตกอยู่กับผู้บริโภค จึงค่อนข้างลำบาก แต่การฟ้องด้วย กม.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพราะภาระการพิสูจน์จะตกอยู่กับผู้ประกอบการว่า สถานประกอบการถูกต้องอย่างไง ผมคิดว่าข้อเท็จจริงของคดีนี้จะเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีผู้บริโภคต่อไป และอยากให้ผู้เสียหายออกมาใช้สิทธิของตัวเองและเพื่อให้กฎหมายผู้บริโภคที่ออกมาและมีอยู่ได้ถูกใช้โดยผู้บริโภค” นายชัยรัตน์ กล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 103 พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถได้เวลาแก้ใหม่แล้ว

ช่วงนี้หากใครได้ดูข่าวทีวีนอกจากข่าวเรื่องการเมือง เรื่องสนุกสนานของรัฐบาล และเครือข่ายของอดีตนายกทักษินที่ต่อสู้กันด้วยการสาดน้ำลายใส่กันบนหน้าจอทีวีและสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ รวมถึงการใช้ระบบเทคโนโลยีถล่มกันอย่างเมามันแล้ว ก็ยังมีข่าว(ที่ต้องพยายามดู) ของเครือข่ายผู้บริโภค ที่ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องปัญหาจากการใช้ พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ เพราะ พรบ.ฉบับนี้เป็น พรบ.ที่บังคับทุกคนที่มีรถต้อง ทำพรบ.ทุกคนทุกคัน การบังคับดังกล่าวเป็นการบังคับให้ชาวบ้านอย่างเราๆ ต้องจ่ายเงินให้บริษัทประกันภัยเอกชน ที่เวลารับเงินเราแสนจะอำนวยความสะดวกทุกอย่าง มีตัวแทนไว้คอยรับทำประกันทุกที่ ทุกตรอกซอกซอยมีหมด แต่เวลาจะจ่ายสินไหมคืนเราเมื่อเราประสบอุบัติเหตุ กลับเป็นไปด้วยความยากลำบาก มีเทคนิคมากมายที่จะประวิงเวลาและทำทุกวิถีทาง ที่จะจ่ายเงินให้น้อยที่สุดหรือไม่ต้องจ่ายเลยก็ยิ่งดี (ว่าไปนั่น)ผู้บริโภคเลยสุดทนกับกฎหมายที่แสนจะเอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน แต่ชาวบ้านอย่างเราๆแสนจะเสียเปรียบ เสียเปรียบอย่างไรนะหรือ หากพูดไปเรื่อยๆ อาจจะเห็นภาพได้ยาก จึงขอยกตัวอย่างหนึ่งมาเล่าสู่กันฟังเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2552 มีโทรศัพท์มาร้องทุกข์กับผู้เขียน กรณีคนถูกรถชนตาย 3 ศพ โดย พ่อ-แม่ ตายหมดเหลือลูกสาวคนเดียวน่าสงสารมาก ผู้เขียนได้ขับรถไปฟังเรื่องราว จึงทราบว่า เรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม 2552 ผู้เสียชีวิตคือนายสำเริง จันทร์รอด(ผู้ขับขี่) โดยมีนายสมโภช ณ บางช้าง และนาง ยุวดี ณ บางช้าง ซ้อนท้ายกลับจากตลาดแม่กลอง มาบนถนนวงแหวนรอบนอก ดอนหอยหลอดจังหวัดสมุทรสงคราม(ที่มีรถไม่หนาแน่น) โดยขับมาปกติ แต่จู่ๆ ก็มีรถฟอร์จูนเนอร์(โตโยต้า) ขับสวนมาด้วยความเร็วสูงและแหกโค้งมาชน ทำให้ทั้ง 3 คนตายคาที่ และรถคันดังกล่าวขับหนีไป แต่ถูกตำรวจสกัดจับไว้ได้ในสภาพมึนเมาเต็มที่รถมอเตอร์ไซด์คันที่ถูกชนได้ทำพรบ.ผู้ประสบภัยจากรถไว้กับบริษัทนำสินประกันภัย แต่ที่น่าเศร้าใจที่สุดคือ ชาวบ้านไม่รู้เลยว่าเมื่อประสบเหตุอย่างนี้ เขาต้องทำอะไรบ้าง เมื่อผู้เขียนถามว่าตำรวจไม่แนะนำอะไรบ้างหรือ ก็ได้คำตอบว่าไม่มี ไม่เห็นตำรวจบอกอะไรเลย ผู้เขียนถามต่อว่ารู้ไหมว่าพรบ.รถที่เราทำนั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุแล้วเราจะได้อะไรบ้าง คำตอบคือ ไม่รู้ รู้แต่ว่าต้องทำพรบ.ไม่อย่างนั้นจะถูกตำรวจจับ ผู้เขียนฟังแล้วสะท้อนใจจริงๆ นี่ล่ะชาวบ้านตัวจริง คือไม่รู้อะไรเลยทั้งๆ ที่เป็นสิทธิของตัวเอง กลายเป็นว่าที่ทำประกันเพราะกลัวตำรวจ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องก็เพิกเฉย ไม่สนใจทุกข์ร้อนของชาวบ้านเลย ตามพรบ.แล้วผู้ซ้อนซึ่งเป็นบุคคลที่ 3 ต้องได้ค่าปลงศพ ศพละ 100,000 บาท ผู้ขับขี่ต้องได้รับค่าปลงศพเบื้องต้น 35,000 บาทภายใน 7 วัน(ที่เหลือรอพิสูจน์ถูกผิด) แต่นี่ดูรึคนตาย 3 คน 7 วัน แล้วการช่วยเหลือเบื้องต้นจาก พรบ.ยังไม่มีเลยสักบาท (ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงครามได้เข้ามาช่วยเหลือเรื่องนี้แล้ว) เป็นไงล่ะเรื่องที่เล่ามาพอจะเห็นปัญหากันบ้างหรือยัง อาจจะมีบางคนบอกว่าช่วยไม่ได้อยากโง่เอง ก็ให้ลองคิดดูว่าเด็กผู้หญิงที่อายุแค่ 15 ปี ที่เสียทั้งพ่อและแม่ไปในเวลาเดียวกัน เขาจะเอาสมองที่ไหนมาคิด และนี่คืออีกหนึ่งเหตุผลที่ว่าทำไมเครือข่ายผู้บริโภคจึงลุกขึ้นมาเรียกร้องให้ยกเลิกหรือทบทวน พรบ.ผู้ประสบภัยจากรถ โดยให้มีการเขียนกฎหมายขึ้นมาใหม่ให้เกิดความเป็นธรรมกับชาวบ้านอย่างเราๆ บ้าง เพราะปัจจุบัน องค์กรกำกับดูแลการประกันภัย เช่น คณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ทำให้เราขาดความเชื่อมั่นในพรบ.ฉบับนี้จะรอรัฐบาลก็ไม่ได้ผู้บริโภคอย่างเราจึงต้องลุกขึ้นมาร่วมกันเขียนกฎหมายในชื่อใหม่คือ “กองทุนสินไหมทดแทนผู้ประสบภัยจากรถ” โดยโอนค่ารักษาพยาบาลไปใช้ตามสิทธิของแต่ละคน โดยพรบ.นี้จะจ่ายเพียงค่าสินไหม กรณีบาดเจ็บต่อเนื่อง ทุพลภาพ เสียชีวิต เท่านั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างล่ารายชื่อนะ ใครเห็นด้วยเร่งมาลงชื่อโดยไว

อ่านเพิ่มเติม >