ฉบับที่ 246 ความเคลื่อนไหวเดือนสิงหาคม 2564

ปรับเป็นแสน ห้ามนำ-ใช้ ครีมกันแดดที่มีสารเคมีอันตรายเข้าอุทยานแห่งชาติ        3 สิงหาคม ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่อง ห้ามนำและใช้ครีมกันแดดที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ใจความสำคัญระบุว่า ปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวเข้าไปท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติทางทะเลเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีการนำและใช้ครีมกันแดดที่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ทั้งนี้จากข้อมูลทางวิชาการพบว่า สารเคมีหลายชนิดที่พบในครีมกันแดดมีส่วนทำให้ปะการังเสื่อมโทรมลง มีส่วนทำลายตัวอ่อนปะการัง ขัดขวางระบบสืบพันธุ์และทำให้ปะการังฟอกขาว  ดังนั้นเพื่อเป็นการสงวน อนุรักษ์ คุ้มครองดูแลทรัพยากรและป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อปะการังและระบบนิเวศในอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติจึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 ออกประกาศดังนี้         ห้ามนำและใช้ครีมกันแดด ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ได้แก่ Oxybenzone , Octinoxate ,4-Methylbenzylid Camphor และ Butylparaben หากผู้ใดฝ่าฝืนมีความผิดมาตรา 20 ประกอบมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2561 ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท         ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ซื้อยาฟ้าทะลายโจรระวังเจอของปลอม         23 สิงหาคม 2564 กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แถลงผลการปฏิบัติกรณีบุกตรวจค้นโรงงานลักลอบผลิตยาฟ้าทะลายโจรโดยไม่ได้รับอนุญาต มูลค่าของกลางกว่า 200,000 บาท พร้อมจับแม่ลูกเจ้าของโรงงานที่ลักลอบผลิตยาฟ้าทะลายโจรปลอม  เนื่องจากมีกรณีผู้ร้องเรียนแจ้งว่า ได้สั่งซื้อยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรที่มีการโฆษณาตามเพจเฟซบุ๊ก แล้วพบว่ายาไม่มีรสชาติขมซึ่งผิดปกติจากฟ้าทะลายโจรที่มีรสขมเป็นลักษณะเด่น จึงดูที่ฉลากพบระบุสถานที่ผลิตคือ “ผลิตโดย วิสาหกิจชุมชนบ้านคลอง เลขทะเบียน 03/1-20024 ควบคุมสูตรโดยแพทย์แผนไทย” แต่ไม่พบเลขการจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร และไม่สามารถตรวจสอบผู้ได้รับอนุญาตหรือผู้ผลิตได้ จึงเชื่อว่ายาฟ้าทะลายโจรดังกล่าวน่าจะเป็นของปลอม ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ อย. จึงทำการสืบสวนจนพบผู้ที่โพสขายยาฟ้าทะลายโจร บนเพจเฟซบุ๊ก และเข้าจับกุม ด้าน อย.ระบุ หากผู้บริโภคต้องการซื้อยาฟ้าทะลายโจรต้องดูฉลากที่ระบุเลขที่จดแจ้งและระบุสถานที่ผลิตชัดเจน โดยซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ “ขนส่งทางบกขอ” ตำรวจไม่จับใบขับขี่หมดอายุถึงสิ้นปี         ตามที่กรมการขนส่งทางบกมีประกาศงดให้บริการประชาชนด้านใบอนุญาตขับรถและใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศจากสถานการณ์โควิดระบาด จนกว่าจะมีประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น กรมฯ จึงประสานสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อขอให้ผ่อนปรนการใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง เกี่ยวกับกรณีใบขับขี่หมดอายุ ทั้งนี้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจึงได้พิจารณากฎเกณฑ์ขยายระยะเวลา ดังนี้         1.ใบขับขี่หมดอายุขับรถต่อไปได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564          2.เพิ่มการผ่อนปรนให้ผู้ที่มีใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคลและส่วนบุคคลชั่วคราว สามารถขับรถที่ใช้ในการรับจ้างขนส่งสินค้าได้ เช่น รถบรรทุกที่มีน้ำหนักรถไม่เกิน 2,200 กิโลกรัม โดยจดทะเบียนตามกฎหมายของการขนส่งทางบก และรถปิกอัพป้ายเหลือง         กรณีที่ประชาชนมีเอกสารคำขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถหรือใบอนุญาตประจำรถ ได้แก่ เอกสารใบรับรองแพทย์ หนังสือรับรองการผ่านการอบรมและทดสอบ หรือคำขอที่ดำเนินการไม่สำเร็จภายใน 90 วัน กรมการขนส่งทางบกจะอนุโลมให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการดำเนินการได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม  2564  พืชกระท่อมปลดออกจากยาเสพติดแล้ว ประชาชน ซื้อ-ขายได้        นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า กระท่อมเคยถูกจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5 พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ แต่ตอนนี้พืชกระท่อมได้ถูกปลดออกจากยาเสพติดให้โทษแล้ว ทุกคนสามารถครอบครองซื้อขายได้         และ การปลดพืชกระท่อมออกจากยาเสพติด มีผลให้ต้องปล่อยตัวผู้กระทำความผิดตามกฎหมายพืชกระท่อมจำนวน 1,038 คน ซึ่งจะต้องไม่เป็นผู้ที่เกี่ยวกับคดีสารเสพติดอื่นนอกเหนือจากพืชกระท่อม และถือว่าเป็นผู้ไม่เคยกระทำความผิด หากในกรณีที่ผู้ต้องหาที่อยู่ระหว่างการสอบสวนให้ยุติปล่อยตัวทันที รวมถึงผู้ที่ถูกดำเนินคดีในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกา ต้องมีการจำหน่ายคดีออกจากสารบบของศาล โดยได้รับการพิพากษายกฟ้อง ผู้ที่ถูกกักขังแทนค่าปรับ จะต้องยกเลิกการเสียค่าปรับทันที ไม่รับเป็นคดีกลุ่ม กรณีคดีฟ้องกลุ่มเอไอเอสคิดค่าบริการปัดเศษวินาทีเป็นนาที         ตามที่มีตัวแทนผู้บริโภคได้ยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่ม 3 ค่ายมือถือดัง เรื่องการคิดค่าโทรศัพท์แบบปัดเศษวินาทีเป็นนาทีเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561 เหตุจากการคิดค่าบริการดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคจ่ายค่าบริการเกินกว่าที่ใช้จริงนั้น  วันที่ 3 สิงหาคม 2564 ศาลชั้นต้นได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในการขอดำเนินคดีแบบกลุ่มคดีฟ้องกลุ่มเอไอเอสว่า ศาลอุทธรณ์ได้มีคำสั่งไม่รับคำร้องอนุญาตให้ดำเนินคดีแบบกลุ่มของโจทก์ ให้ดำเนินคดีแบบสามัญแทน โดยให้เหตุผลว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มมิได้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากกว่าการดำเนินคดีสามัญ ไม่มีข้อมูลว่าสมาชิกในกลุ่มถูกเรียกเก็บค่าบริการเกินการใช้งานจริงไปเท่าไร ค่าเสียหายในคำขอบังคับไม่ได้ระบุหลักการและวิธีการคำนวณเพื่อชำระเงินให้แก่สมาชิก ส่วนเรื่องการคิดค่าบริการปัดเศษของบริษัทเอไอเอส ผู้ให้บริการสามารถเปลี่ยนโปรโมชั่นหรือผู้ให้บริการได้ และหากดำเนินคดีแบบสามัญการคำนวณค่าเสียหาย ผู้บริโภคไม่ต้องคำนวณ เพราะอยู่ในความรู้เห็นของผู้ประกอบการ แต่หากเป็นการดำเนินคดีแบบกลุ่ม ให้โจทก์ชี้แจงมาให้หมดว่าค่าบริการที่เก็บเกินไปมีเท่าไร ดังนั้นหากดำเนินคดีแบบสามัญสะดวกกว่า         ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ระบุว่า จากคำตัดสินนี้ทางมูลนิธิฯ กำลังอยู่ในระหว่างตัดสินใจว่าจะยื่นฟ้องแยกเป็นรายคดีหรือฟ้องแบบเป็นโจทก์ร่วมกันในกระบวนการแบบสามัญ เช่น สมาชิก 30-40 คน อาจจะฟ้องแยก หรือถ้าเป็นโจทก์ร่วมกัน สมาชิกที่เหลืออาจจะเอาขึ้นมาเป็นโจทก์ทั้งหมด นอกจากโจทก์ 2 คนที่ฟ้องไปก็ต้องเปลี่ยนเป็นโจทก์ที่ 1 พร้อมกับพวกอีก 30 คน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 อย่างนี้ก็ได้เหรอ เมื่อต้องเจอโควิด (2)

2. ควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกร ก่อนตัดสินใจนำมาใช้        2.1 กินฟ้าทะลายโจร ป้องกันรักษาโควิด 19        ตามที่มีข่าวว่าฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด 19 ได้ ทำให้ประชาชนหลายคน แห่ไปซื้อยาฟ้าทะลายโจรเพื่อมารับประทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันโควิด 19  หรือหากตัวเองติดเชื้อแล้วก็จะสามารถหายได้โดยไม่ต้องไปรักษาที่ไหน ในแง่วิชาการ ฟ้าทะลายโจรมีสารสำคัญคือ แอนโดรกราโฟไลด์ (Andrographolide) ซึ่งการทดลองในหลอดทดลอง พบว่ามีฤทธิ์ต้านไวรัสได้ แต่ปีที่ผ่านมาทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ทำการทดลองเพิ่มเติมพบว่า เมื่อมาอยู่ในเซลล์ร่างกายจะป้องกันโคโรนาไวรัสได้หรือไม่ ปรากฏว่ายังไม่สามารถป้องกันไวรัสเข้าสู่เซลล์ได้         อย่างไรก็ตามสารแอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรนั้น ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางตัวได้และฟ้าทะลายโจรยังเป็นยาลดไข้ที่ดี จึงมีการกำหนดในบัญชียาหลักในสรรพคุณที่ ลดไข้ได้ และเนื่องจากในผู้ป่วยโควิด19 จะมีภาวะการอักเสบ ซึ่งฟ้าทะลายโจรสามารถลดการอักเสบและส่งเสริมภูมิคุ้มกันได้ดี ซึ่งในการศึกษาวิจัยใน 9 รพ. (มีผู้ป่วยจำนวน 304 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยอาการน้อย) เมื่อให้รับประทานยาฟ้าทะลายโจรในขนาด 180 มิลลิกรัมต่อวัน วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 5 วัน พบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น โดยไม่พบผลข้างเคียงรุนแรง อาจมีเวียนศีรษะ หน้ามืด หรือถ่ายเหลว แต่ไม่มาก จึงน่าจะเป็นทางเลือกในการใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และมีแนวโน้มที่ดีในการจะนำมาใช้ประโยชน์ในผู้ป่วยโควิด 19 ได้ ซึ่งหากมีความก้าวหน้ามากขึ้นจะนำมาเผยแพร่ต่อไป         แต่ฟ้าทะลายโจรเองก็มี ข้อห้ามในการใช้ เช่นกัน เช่น ผู้ป่วยรายใดมีประวัติเคยแพ้ฟ้าทะลายโจร หากรับประทานครั้งแรกมีผื่นคันขึ้นต้องหยุดใช้ หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตรก็ไม่ควรใช้ รวมทั้งผู้ป่วยโรคตับ โรคไตก็ต้องหลีกเลี่ยงและผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวและรับประทานยาประจำ โดยเฉพาะยาลดการแข็งตัว อย่างยาวาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโดเกรล ซึ่งเป็นยาที่จ่ายให้กับผู้ป่วยอัมพฤตอัมพาต หรือเส้นเลือดหัวใจตีบต้องระวัง และผู้ป่วยที่รับประทานยาลดความดันโลหิตก็ไม่แนะนำให้ใช้ร่วมกัน”         การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน สามารถเป็นข้อแนะนำได้ในเบื้องต้น แต่ต้องรับประทานฟ้าทะลายโจรประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อวัน ติดต่อกันไม่เกิน 5 วัน หยุด 2 วัน ต่อเนื่องไม่เกิน 3 เดือน         2.2 กิน กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด ป้องกันรักษาโควิด 19         ตามที่มีคลิปผู้ป่วยโควิด19 ใช้สมุนไพรพวก กระชาย ขิง ข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด มาต้มแล้วดื่ม ปรากฏว่าอาการป่วยดีขึ้น จึงแนะนำให้ผู้ป่วยอื่นๆ ทำตามดูบ้าง         ในแง่วิชากการ สมุนไพรเหล่านี้ยังไม่สามารถฆ่าเชื้อโควิด 19 ได้ แต่อาจมีประโยชน์ตรงที่ทำให้ร่างกายแข็งแรง การป่วยจึงฟื้นตัวจนหายได้เร็วขึ้น แม้ในการศึกษาจะพบว่า กระชายได้ผลลัพธ์คล้ายคลึงกับฟ้าทะลายโจรในการต้านไวรัส แต่ก็ต้องใช้ปริมาณมากจนเป็นไปยากเพราะต้องใช้กระชายถึงครั้งละ ครึ่งกิโลกรัม         ดังนั้นหากเราจะเลือกสมุนไพรเหล่านี้มาบริโภค ก็อย่าคาดหวังผลในการรักษาโควิด 19 แต่ให้หวังผลในแง่สุขภาพที่อาจจะดีขึ้นบ้างเล็กน้อย และไม่ควรไปซื้อผลิตภัณฑ์เหล่านี้ที่ราคาแพงๆ ที่วางขาย เพราะจะไม่คุ้มค่าเงินที่เสียไปในยามที่เศรษฐกิจฝืดเคืองแบบนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 245 ฟ้าทะลายโค (วิด)

        มีผู้โพสต์คลิปบ้างและจัดรายการสดบ้างใน YouTube แนะนำให้ผู้บริโภคที่เริ่มสงสัยตนเองว่าติดเชื้อก่อโรค covid-19 กินสมุนไพรฟ้าทะลายโจรบรรจุในแคปซูล โดยวิธีการกินนั้น กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้แนะนำไว้ (ในเอกสารรูปแบบ pdf เรื่อง คำแนะนำการใช้ฟ้าทะลายโจร-บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งเข้าไปดาว์นโหลดได้ที่ https://thaicam.go.th/26042020)         ประมาณว่า “สำหรับผู้ที่ได้รับการตรวจพบเชื้อโควิด-19 แล้วแต่ยังไม่มีอาการป่วย ควรกินสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide) ปริมาณ 20 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น (รวม 60 มิลลิกรัมต่อวัน) ติดต่อกันนาน 5 วัน ส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการไม่รุนแรงและไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงอื่นๆ มีคำแนะนำให้กินสารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีสารแอนโดรกราโฟไลด์ปริมาณ 60 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนอาหาร เช้ากลางวัน และเย็น (รวม 180 มิลลิกรัมต่อวัน) ติดต่อกันนาน 5 วัน”         สำหรับในการแถลงข่าวทางโทรทัศน์และสิ่งพิมพ์ออนไลน์ต่างๆ กระทรวงสาธารณสุขโดยอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกได้ให้ข้อมูลว่า แม้สมุนไพรฟ้าทะลายโจร ไม่สามารถนำมาใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้ แต่สารแอนโดรกราโฟไลด์ในสมุนไพรฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ฆ่าไวรัสและแบคทีเรีย ลดไข้ ลดอาการอักเสบ ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน โดยมีผลการทดลองจากโรงพยาบาล 9 แห่งพบว่า การให้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรจำนวน 180 มิลลิกรัม/วัน โดยแบ่งเป็นสามมื้อให้กับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการน้อยจำนวน 304 ราย กินต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วันแล้วมีอาการดีขึ้นและไม่มีอาการข้างเคียงรุนแรง อย่างไรก็ดีได้มีคำแนะว่า หลังผู้เริ่มป่วยกินทันทีเมื่อมีไข้แล้ว หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 2 วันให้รีบพบแพทย์        นอกจากนี้ใน www.bangkokbiznews.com ยังมีบทความเรื่อง ไขข้อสงสัย 'ฟ้าทะลายโจร' รักษา - ป้องกัน 'โควิด-19' ได้หรือไม่ ซึ่งให้ข้อมูลว่า หลายหน่วยงานในกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับโรงพยาบาลสมุทรปราการศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อกลับจากต่างประเทศแล้วถูกกักตัวใน State Quarantine นั้นพบว่า ผู้ป่วยที่กินสารสกัดฟ้าทะลายโจรมีอาการดีขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 ของการได้รับสารสกัดโดยไม่มีอาการข้างเคียงซึ่งตรวจวัดได้จากค่าการทำงานของตับและไตที่อยู่ในเกณฑ์ปกติ         ฟ้าทะลายโจรที่มีวางขายอย่างแพร่หลายในลักษณะยาสมุนไพรนั้น มักเป็นการนำใบแห้งมาบดเป็นผงบรรจุแคปซูลขนาด 500 มิลลิกรัม ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยแล้ว ควรพบสารแอนโดรกราโฟไลด์ราว 20 มิลลิกรัม อย่างไรก็ดีในการโฆษณาขายยาฟ้าทะลายโจรนั้น ในบางกรณีอาจก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้บริโภค เพราะยาฟ้าทะลายโจรบางยี่ห้อนั้นโฆษณาว่า เป็นสารสกัดฟ้าทะลายโจร ซึ่งโดยทั่วไปแล้วน่าจะหมายถึง การนำเอาฟ้าทะลายโจรแห้งมาบดสกัดในตัวทำละลายเช่น แอลกอฮอล์ 95% ก่อนแล้วจึงนำสารที่สกัดได้ในรูปของเหลวไปทำให้กลายเป็นผงแห้ง น่าจะทำให้ได้สารแอนโดรกราโฟไลด์ในปริมาณที่เข้มข้นขึ้นกว่าการกินในลักษณะผงที่ได้จากการบดใบแห้ง ผู้บริโภคจำเป็นต้องสอบถามความชัดเจนจากเภสัชกรที่เป็นผู้ขายก่อนว่า สินค้าที่ขายนั้นเป็นผงใบแห้งหรือสารสกัดจากใบ และต้องกินเท่าใดจึงจะได้แอนโดรกราโฟไลด์ตามที่กรมการแพทยแผนไทยและการแพทย์ทางเลือกแนะนำ ข้อมูลในลักษณะนี้อาจขาดหายไปเมื่อสินค้านั้นถูกขายออนไลน์ (ดูคำแนะนำการใช้ที่ กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ)         ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2552 จากเว็บของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์กล่าวว่า ฟ้าทะลายโจรเป็นสมุนไพรที่มีชื่อวิทยาศาสตร์วา Andrographis paniculata (Burm.f.) Nees นอกจากนี้ยังมีชื่อสามัญอื่น ๆ อีกว่าฟ้าทะลาย หญ้ากันงู น้ำลายพังพอน สามสิบดี คีปังฮี เป็นต้น ฟ้าทะลายโจรส่วนของต้นเหนือดินมีสารสำคัญกลุ่มไดเทอร์ปีนแลคโตน (diterpene lactones) หลายชนิด ได้แก่ แอนโดรกราโฟไลด์ (andrographolide), นีโอแอนโดกราโฟไลด์ (neoandrographolide), ดีออกซีแอนโดกราโฟไลด์ (deoxyandrographolide), 14-ดีออกซี-11,12-ไดดีไฮโดรแอนโดรกราโฟไลด์ (14-deoxy-11,12-didehydroandrographolide) ซึ่งสารสำคัญเหล่านี้มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาแตกต่างกันไป         Wikipedia ให้ข้อมูลที่น่าสนใจประการหนึ่งว่า อนุพันธุ์หนึ่งของแอนโดรกราโฟไลด์ที่ได้จากการสังเคราะห์ในห้องปฏิบัติการชื่อ Xiyanping (ซิ-เหยีน-ผิง) ได้ถูกผลิตในประเทศจีนเพื่อใช้ในรูปยาฉีดเพื่อต่อต้านไวรัสหลายชนิดนั้น ให้ผลในลักษณะเดียวกับสารแอนโดรกราโฟไลด์ธรรมชาติ แต่อาจก่ออาการแพ้ได้ เช่น มีผื่นแดงและตุ่มคันรอบ ๆ บริเวณที่ฉีด ตลอดไปจนถึงก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้อย่างรุนแรง  จนอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตและที่น่ากังวลคือ พบว่าซิเหยีนผิงทำให้สัตว์ทดลองแท้งลูก ดังนั้นจึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในสตรีมีครรภ์ ซึ่งข้อมูลจาก Wikipedia นี้เป็นการยืนยันถึงข้อห้ามการใช้สมุนไพรฟ้าทะลายโจรในหญิงมีครรภ์ดังกล่าวข้างต้น         ข้อมูลเกี่ยวกับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของฟ้าทะลายโจรนั้นมีผลการศึกษาหลายเรื่อง ที่น่าสนใจ เช่น งานวิจัยจากประเทศอินเดียเรื่อง Immunostimulant Agents From Andrographis Paniculata ตีพิมพ์ใน Journal of Natural Products ของปี 1993 กล่าวว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรด้วยเอทานอล 95% สามารถกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีเพื่อการตอบสนองต่อเซลล์เม็ดเลือดแดงแกะ (SRBC) ที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายหนูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมีการกระตุ้นการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเป็นแบบไม่เฉพาะเจาะจง (nonspecific immune response) กล่าวคือ เมื่อดูการเพิ่มจำนวนเซลล์แมคโครฟาจและการเพิ่มจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวในม้ามนั้น ปรากฏผลว่า สารสกัดฟ้าทะลายโจรสามารถกระตุ้นกระตุ้นการเพิ่มเซลล์ดังกล่าวในลักษณะเดียวกันของแอนโดรกราโฟไลด์บริสุทธิ์ (เมื่อปรับปริมาณแอนโดรกราโฟไลด์ให้เท่ากัน) เพียงแต่ผลจากสารสกัดนั้นสูงกว่าซึ่งชี้ให้เห็นว่า สารธรรมชาติอื่นที่ไม่ใช่แอนโดรกราโฟไลด์ที่มีอยู่ในสารสกัดอาจมีส่วนในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันด้วย         ในการศึกษาเพื่อดูว่าองค์ประกอบใดในฟ้าทะลายโจรที่ควรนำไปพัฒนาเป็นยาต้านการรุกรานของไวรัสที่ก่อโรค covid-19 นั้นบทความเรื่อง Computational investigation on Andrographis paniculata phytochemicals to evaluate their potency against SARS-CoV-2 in comparison to known antiviral compounds in drug trials ในวารสาร Journal of Biomolecular Structure and Dynamics ของปี 2020 ได้ศึกษาโดยใช้รูปแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์ดูความสามารถของสารพฤกษเคมี 4 ชนิด ซึ่งพบได้ในฟ้าทะลายโจร ได้แก่ andrographolide, 14-deoxy 11,12-didehydro andrographolide, neoandrographolide และ 14-deoxy andrographolide ในการเข้าจับกับเป้าหมายหลักซึ่งเป็นโปรตีน 4 ชนิดของไวรัสซึ่ง สองชนิดเป็นเอ็นซัมโปรตีเอส หนึ่งชนิดคือเอ็นซัม RNA-direct RNA polymerase (เอ็นซัมสำคัญในการเพิ่มปริมาณองค์ประกอบของ SARS-CoV-2) และหนามโปรตีน (spike protein) ของไวรัส ซึ่งข้อมูลจากการศึกษาในภาพรวมชี้ให้เห็นว่า neoandrographolide น่าจะถูกใช้เป็นยาสำหรับการบำบัดการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศกำลังพัฒนา เพราะมีผลในการจับรูปแบบโปรตีนของไวรัสดีที่สุด         ในการทบทวนเอกสารเกี่ยวกับสารธรรมชาติที่น่าจะมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อไวรัสก่อ covid-19 นั้น มีบทความเรื่อง Combating COVID-19: The role of drug repurposing and medicinal plants ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Infection and Public Health ของปี 2021ให้ข้อมูลว่า แอนโดรกราโฟไลด์ในฟ้าทะลายโจรนั้นมีฤทธิ์ต้านการอักเสบและเป็นสารต้านไวรัสแบบไม่จำกัด (broad spectrum) โดยยับยั้งเชื้อไวรัส Influenza A virus (H9N2, H5N1 และ H1N1), ไวรัส Hepatitis B และ C, ไวรัส Herpes simplex, ไวรัส Epstein–Barr, ไวรัส Human papilloma, ไวรัส HIV และไวรัส Chikungunya         ส่วนในกรณีของการต้านไวรัส SARS-CoV-2 นั้นมีรายงานผลการวิจัยที่เป็นความร่วมมือของหลายคณะในมหาวิทยาลัยมหิดลและโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ตีพิมพ์ในวารสาร bioRxiv เมื่อ 8 ธันวาคม 2020 เรื่อง Anti-SARS-CoV- 2 activity of Andrographis paniculata extract and its major component Andrographolide in human lung epithelial cells and cytotoxicity evaluation in major organ cell representatives ที่ให้ข้อมูลว่า ทั้งสารสกัดฟ้าทะลายโจรด้วยเอทานอล 95% หรือแอนโดรกราโฟไลด์บริสุทธิ์นั้นสามารถยับยั้งการเจริญของไวรัส SARS-CoV-2 ในเซลล์ปอดมนุษย์ (Calu-3) ที่เลี้ยงในหลอดทดลอง ข้อควรรู้เกี่ยวกับยาฟ้าทะลายโจรที่กระทรวงสาธารณสุขแนะนำ  1) ห้ามใช้ยาฟ้าทะลายโจรในหญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร2) ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการไข้เจ็บคอจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง หนาวสั่น3) ห้ามใช้ในผู้ที่เคยมีประวัติแพ้ฟ้าทะลายโจร หากไม่เคยมีประวัติแต่เมื่อใช้ยาแล้วมีอาการแพ้ เช่น เกิดผื่น ลมพิษ หน้าบวม ริมฝีปากบวม หายใจลำบาก ให้หยุดใช้ยาทันที4) ควรระวังในผู้ที่ใช้ยาที่มีผลต่อเลือดเช่น วาร์ฟาริน แอสไพริน โคลพิโดเกรล ยาลดความดันโลหิต เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2559โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโม้สรรพคุณระบาดหนัก เจอเพียบในวิทยุปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์หลอกลวงผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาที่แก้ยังไงก็ไม่หมดไปจากสังคมไทยสักที ล่าสุดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทั้งทางสื่อต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายออกอากาศ เป็นจำนวนมาก จากการเฝ้าระวังพบว่ามีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่เผยแพร่อยู่จำนวน 206 ผลิตภัณฑ์ โดยสื่อวิทยุชุมชนถือเป็นช่องทางหลักที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงใช้เป็นทางช่องทางหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่รับฟังรายการเป็นประจำ รองลงมาคือ ดิจิตอลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ตัวอย่างที่พบการทำผิดกฎหมายก็มีอย่างเช่น โฆษณาไม่ตรงกับสรรพคุณที่ระบุไว้ ส่วนมากจะเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ใช้แล้วผิวขาว รักษาสิว ฝ้า หรือลดริ้วรอย ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าระวังที่ได้ ทางเครือข่ายฯจึงอยากกระตุ้นไปถึงภาครัฐที่มีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลปัญหาดังกล่าว อย่าง อย.และ กสทช. ออกมาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างจริงจัง รวดเร็ว และเด็ดขาด ใครที่พบเจอโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายหลอกลวง สามารถส่งข้อมูลแจ้งเรื่องร้องเรียนไปได้ที่ทั้ง อย.และกสทช. หรือที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   อย่าหลงเชื่อ “แผ่นหยกความร้อน” อ้างรักษาโรคอย.ออกมาเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ “แผ่นหยกให้ความร้อน” ที่มาในรูปแบบของ แผ่นรองนั่ง หมอน เตียงนอน ฯลฯ ที่อวดอ้างว่าสามารถช่วยเร่งการขับสารพิษหรือของเสียออกจากร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหายใจ แถมยังบอกว่าสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งความคัน เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ และ มะเร็ง ซึ่งข้อความสรรพคุณต่างๆ ที่ว่ามาทั้งหมด อย.ยืนยันแล้วว่าเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทั้งสิ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัด บรรเทา รักษาโรค หรืออาการบาดเจ็บต่างๆ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 การจะผลิตหรือนำเข้าต้องได้รับอนุญาตจาก อย. เสียก่อน ซึ่งจากการตรวจสอบฐานข้อมูลการขออนุญาตด้านเครื่องมือแพทย์ของ อย. ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวกับแผ่นหยกให้ความร้อนที่มีสรพพคุณตามที่แอบอ้าง นอกจากนี้ อย.ยังฝากเตือนว่าแผ่นหยกให้ความร้อนนอกจากจะไม่ช่วยรักษาโรค ผู้ใช้อาจเกิดอันตรายจากผลของกระแสไฟฟ้า เช่น ถูกไฟดูดจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งผิวหนังอาจเกิดการแพ้ต่างๆ ได้ด้วย คมนาคมคาดโทษ “นกแอร์” ทำผิดซ้ำเจอถอนใบอนุญาตจากเหตุการณ์ที่สายการบินนกแอร์ยกเลิกเที่ยวบินโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า จากเหตุผลที่นักบินประท้วงสายการบินเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้โดยสารกว่า 3,000 คนได้รับผลกระทบ ทางด้านหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาดังกว่างอย่าง กระทรวงคมนาคม ได้ออกมาจัดการกับสายบินนกแอร์ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยทางกระทรวงคมนาคมได้ออกคำสั่งเตือนไปยังสายการบินนกแอร์ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกเป็นครั้งที่สองจะพักใช้ใบอนุญาต และถ้าซ้ำครั้งที่สามจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตด้านการบิน พร้อมกันนี้ได้แจ้งไปยังสายการบินต่างๆ ทั้งหมด ว่าต้องมีแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคในลักษณะแบบเดียวกัน ส่งให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ และต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน เสนอติดคำเตือน “ฟ้าทะลายโจร” ช่วยควบคุมมาตรฐานสร้างความตื่นตกใจให้กับผู้บริโภคไม่น้อย หลังจากที่ในสังคมออนไลน์มีการแชร์เอกสารของอย. ซึ่งลงนามโดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ อย.ที่มีเนื้อหาขอให้เพิ่มข้อความ “คำเตือนของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร” ที่ฉลากและเอกสารกำกับยา เนื่องจาก อย.ได้รับรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟ้าทะลายโจร อาจเกิดภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock) แม้ว่าจะมีจำนวนรายงานไม่สูงมากนัก โดยคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาสำหรับมนุษย์ ได้ทบทวนข้อมูลความปลอดภัย ประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของยาฟ้าทะลายโจร เห็นควรกำหนดให้ยาฟ้าทะลายโจรต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา เช่น ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ในผู้มีประวัติแพ้ยา ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยาควรหยุดและพบแพทย์ทันที นพ.ไพศาล จึงต้องออกมาชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นการขอความคิดเห็นจากผู้รับอนุญาตผลิตยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเท่านั้น ประชาชนไม่ต้องตกใจหรือเกิดความกังวล ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หากมีรายงานพบผลข้างเคียง ตามขั้นตอนต้องมีการพิจารณามาตรการป้องกัน ซึ่งแนวทางหนึ่งก็คือการติดฉลากเตือนเหมือนยาแผนปัจจุบันทั่วไป ทั้งนี้ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. ได้รับข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ หลังใช้ยาฟ้าทะลายโจร ว่าอาจมีอาการ เช่น ผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีตั้งแต่ปี 2544 แต่กลุ่มที่มีอาการข้างเคียงนั้นถือว่าน้อยมาก โดยจะพบได้ประมาณ 2 - 3 คนในหมื่นคน ภาคประชาชนร้องรัฐบาลต้องมี “กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค”คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกว่า 150 คน เข้ายื่นหนังสือคัดค้านมติการประชุมหารือการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค และขอให้สนับสนุนกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยมี นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกฯ เป็นผู้รับหนังสือแทน เนื่องจากกระบวนการหารือร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 2 ต.ค.58 ไม่มีผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภค องค์กรภาคประชาชน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม มีเพียงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่าง สคบ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ทั้งที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับ ยิ่ง ณ ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคไทยยังคงถูกละเมิดสิทธิในหลายเรื่อง โดยที่หน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันยังดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง เครือข่ายผู้บริโภคจากทั่วประเทศจึงร่วมกันแสดงพลังเพื่อขอให้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้มีส่วนในการพิจรณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ให้ช่วยเร่งพลักดันและทำให้เกิดขึ้นกฎหมายฉบับนี้เป็นจริง ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญตลอด 19 ปีที่ผ่าน

อ่านเพิ่มเติม >