ฉบับที่ 227 ที่มาที่ไปของมาตรฐานเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในครัวเรือน

        จากการติดตามดูเสียงสะท้อน ผลการทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศ ที่ร่วมจัดทำกับนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า ยังต้องมีการทำความเข้าใจและอธิบายเพิ่มในเรื่องมาตรฐานการทดสอบอีกพอสมควร ซึ่งทางเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ได้ใช้มาตรฐานของ JEMA (The Japan Electrical Manufacturers’ Association เป็นแนวทางในการทดสอบ ผมขออนุญาตใช้คอลัมน์นี้ อธิบายความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นของมาตรฐานนี้ เพื่อให้ ประชาชนและผู้บริโภคที่สนใจได้รับทราบเพิ่มเติม          มาตรฐานที่ทางทีมวิชาการของเรา ใช้อ้างอิง คือ JEM 1467 เป็นมาตรฐานสำหรับ เครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในครัวเรือน และ การใช้งานที่คล้ายกัน ประกาศใช้ เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 1995 และแก้ไขปรับปรุง (ฉบับที่ 4) เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2015 จุดมุ่งหมายของการบัญญัติมาตรฐาน        มีการกำหนดมาตรฐานของเครื่องฟอกอากาศสำหรับ Commercial Use ตามมารตรฐานของ JIS C 915 (เครื่องฟอกอากาศ) .ในปี 1976 อย่างไรก็ตามในปี 1983 เริ่มมีการใช้เครื่องฟอกอากาศในครัวเรือนอย่างแพร่หลาย ส่วนใหญ่ใช้ Filter ที่กำจัดกลิ่น และดักจับฝุ่น แต่เนื่องจากเกณฑ์การเปลี่ยนและวิธีการทดสอบ Filter แตกต่างกันไปในแต่ละผู้ผลิต จึงมีความต้องการให้กำหนดมาตรฐานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน         คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเครื่องฟอกอากาศของสมาคม JEMA จึงสร้างมาตรฐานโดยความสมัครใจของวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดกลิ่น และวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นขึ้นมา ก่อน ปรับให้เข้ากับการบังคับใช้ แล้วพิจารณากำหนดมาตรฐานแยก ในฐานะเป็น  The Japan Electrical Manufacturers’ Association ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ประยุกต์ใช้กับเครื่องฟอกอากาศที่ใช้ในครัวเรือนขนาดเล็ก แยกกับ JIS          ที่น่าสนใจสำหรับ การทดสอบตามมาตรฐานของ JEMA คือ ในปี 2015 มีการแก้ไขมาตรฐานให้สอดคล้องกับสภาพปัจุจบัน โดยใช้เนื้อหาและข้อมูลวิธีการทดสอบประสิทธิภาพการกำจัดฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5)  ของเครื่องฟอกอากาศในครัวเรือน และวิธีการคำนวณเปลี่ยนแปลงมาตรฐานโดยสมัครใจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเครื่องฟอกอากาศของสมาคมที่ได้กำหนดไว้        ขอบเขตการประยุกต์ใช้ คือ เป็นกฎข้อบังคับกำหนดเกี่ยวกับเครื่องฟอกอากาศที่ติดตั้งในครัวเรือนทั่วไป และในสำนักงาน เพื่อกำจัดกลิ่น ดักจับฝุ่นและควบคุมไวรัส หรือ ดักจับฝุ่นอย่างเดียว         ขอยกนิยาม และ คำศัพท์เฉพาะ และเงื่อนไขการทดสอบที่เกี่ยวข้องกับการดักจับฝุ่น กรณี PM 2.5                เครื่องฟอกอากาศ หมายถึง อุปกรณ์ที่มีวัตถุประสงค์ ในการกำจัดกลิ่นและดักจับฝุ่น หรือดักจับฝุ่นเท่านั้น โดยแบ่งออกเป็นวิธีการดักจับฝุ่นแบบไฟฟ้า และแบบเชิงกล        เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้า เป็นเครื่องฟอกอากาศ ที่ใช้ประจุไฟฟ้าที่มีแรงดันสูงเพื่อดักจับฝุ่นละออง        หมายเหตุ เครื่องฟอกอากาศแบบไฟฟ้าที่ไม่มีอุปกรณ์พัดลม โดยทั่วไปถือว่าเป็นเครื่องฟอกอากาศ แบบอิออน         เครื่องฟอกอากาศแบบเชิงกล ส่วนมากเป็นเครื่องฟอกอากาศที่ดักจับฝุ่นที่ใช้วัสดุตัวกรอง        อัตราการไหลของอากาศ (Rated Air Flow) เป็นการไหลของลมในขณะที่เครื่องฟอกอากาศกำลังทำงาน ที่ระดับความถี่ (Rated Frequency) และที่ระดับแรงดันไฟฟ้า ( Rated Voltage) ในกรณีที่ เครื่องฟอกอากาศที่มีอุปกรณ์ปรับการไหลของอากาศ ให้ใช้อัตราการไหลของอากาศสูงสุด        ความคงทนของตัวกรอง (Durability)        เกณฑ์การเปลี่ยนตัวกรองกำจัดกลิ่น และตัวกรองดักจับฝุ่น แสดงเป็นจำนวนวัน        พื้นที่ห้องที่ใช้งาน        เงื่อนไขจำนวนครั้งในการระบายอากาศตามธรรมชาติ คือ สิ่งสกปรกในอากาศที่ความหนาแน่น 1.25 mg / m3 ในเวลา 30 นาที โดยเป็นห้องที่สามารถทำความสะอาดให้เหลือสิ่งสกปรก 0.15 mg/ m3 ตามกฎหมายการจัดการอาคารและสุขภาพของประเทศญี่ปุ่น        ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5) คือ ประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นขนาดไมโคร (PM 2.5) เมื่อทดสอบตามข้อกำหนด ตามภาคผนวก G ในพื้นที่ 32 ตารางเมตร ภายใน 90 นาที เมื่อได้ค่า Capacity ที่สามารถกำจัดฝุ่นได้ 99 % จึงถือว่ามีประสิทธิภาพในการกำจัดฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5) ของเครื่องฟอกอากาศ (ที่การทดสอบครั้งนี้ ใช้เป็นแนวทาง)        หมายเหตุ ในข้อกำหนดมาตรฐานการทดสอบประสิทธิภาพการดักจับฝุ่นละอองขนาดไมโคร (PM 2.5) คือ เป็นข้อกำหนดสำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศ อย่างไรก็ตามสามารถบังคับใช้โดยอนุโลม กับผลิตภัณฑ์ที่นอกเหนือจากเครื่องฟอกอากาศได้ โดยให้พิจารณาคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ แล้วตั้งค่าขนาดพื้นที่ทดสอบและเวลาวัดตามแต่ละรายการ        และบทความนี้ต้องขอขอบคุณ ผศ. ดร. ประพัทธ์ พงษ์เกียรติกุล ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ที่กรุณาให้ข้อมูลและอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐาน JEM 1467        สุดท้ายนี้ผมคิดว่า ถึงเวลาที่หน่วยงานทางด้านการกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทยจะต้องรีบออกมาตรฐานผลิตภัณฑ์ เครื่องฟอกอากาศในครัวเรือน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ เด็กทารก ผู้ป่วยทางเดินหายใจ ในกรณีที่เครื่องฟอกอากาศไม่มีคุณภาพ ในการกรองดักจับฝุ่นครับ แหล่งข้อมูลJapan Electrical Manufacturers’ Association Regulation JEM 1467: 2015

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 สัญญามาตรฐานรถเช่า(2)

ฉบับที่แล้วผมค้างไว้ว่าจะมาบอกเล่าถึงการขับเคลื่อนของคณะทำงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา โดยมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ที่ทำยังไงถึงสามารถผลักดันการใช้สัญญาเช่ารถโดยสารรับจ้างไม่ประจำทางให้เป็นนโยบายของจังหวัดได้แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น คงต้องเริ่มกันที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. (ที่มีทั้ง อบจ. อบต. เทศบาล) ก่อนว่า เดิมทีหากจะต้องเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางเพื่อไปดูงานในแต่ละปีนั้น ปกติหน่วยงานเหล่านี้จะใช้ระเบียบสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ที่มีเพียงข้อมูลของผู้ประกอบธุรกิจ และราคาที่ตกลงว่าจ้าง โดยไม่มีข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยและเงื่อนไขความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจหากไม่สามารถปฏิบัติตามการว่าจ้าง เพราะไม่เคยมีนโยบาย คำสั่ง หรือข้อมูลอื่นใดมากำหนดให้ปฏิบัติมาก่อน ทำให้ในแต่ละครั้งที่เช่ารถโดยสารไปดูงาน หากเจอรถที่ไม่มีคุณภาพ ขับไปรถดับสตาร์ทไม่ติด คนขับดูอ่อนเพลีย เหมือนรับงานมาหลายวัน หรือนัดหมายเอารถคันนี้ แต่วันเดินทางเอารถคันอื่นมารับ เชื่อเลยว่าถึงเวลาแล้วก็ต้องเดินหน้ากันต่อไป จะเปลี่ยนรถเปลี่ยนใจกันก็ไม่ได้ซะแล้ว นอกจากนี้ก็ยังไม่รู้จะไปเรียกร้องอะไรได้อีก เพราะไม่มีเงื่อนไขบังคับผู้ประกอบธุรกิจให้ต้องรับผิดนั่นเอง ประกอบกับที่ผ่านมามีสถิติการเกิดอุบัติจากรถโดยสารไม่ประจำทางบ่อยครั้ง เป็นเหตุเกิดความเสียหายด้านทรัพย์สิน และต้องสูญเสียบุคลากรที่เป็นกำลังหลักของหน่วยงานมาโดยตลอดยกตัวอย่าง เมื่อปี 2560 เทศบาลตำบลรวมใจพัฒนาจังหวัดพะเยา มีแผนจะพาสมาชิกสภาเทศบาลจำนวน 45 คนไปดูงานที่ประจวบคีรีขันธ์ และทำการเช่าตามระเบียบราชการ หลังจากตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของรถที่มารับจ้างเป็นที่ตกลงกันแล้ว ปรากฏว่าในวันเดินทางจริง ผู้รับจ้างไม่ได้นำรถคันที่ตรวจรับมาให้บริการ  แถมรถคันใหม่ที่มารับเมื่อลองตรวจสภาพแล้วพบว่าประตูฉุกเฉินเปิดออกไม่ได้ จะให้แก้ไขเปลี่ยนรถก็ทำไม่ได้แล้วตอนนั้น เพราะทุกคนพร้อมเดินทางตามนัดหมาย จึงต้องยอมรับเดินทางด้วยความระแวงไม่สบายใจไปตลอดทาง  และต้องถือว่าเป็นความโชคดีที่ไม่มีอะไรรุนแรงเกิดขึ้นกับการเดินทางครั้งนั้น ซึ่งหากมีเหตุไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ใครจะต้องรับผิดกัน คงเป็นคำถามที่ต้องการคำตอบ แล้วมูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนาทำอย่างไร การใช้สัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ถึงถูกนำไปขับเคลื่อน เป็นนโยบายร่วมของจังหวัดที่กำหนดให้ต้องใช้สัญญาเช่าเมื่อต้องไปนอกสถานที่ได้ ต้องมองกันที่จุดเริ่ม มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนานั้น มีต้นทุนประสบการณ์ด้านการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคในจังหวัดพะเยามาอย่างยาวนาน โดยมีภารกิจสำคัญประการหนึ่งเกี่ยวกับการขับเคลื่อนงานด้านรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย   ในปี 2558 มูลนิธิพะเยาเพื่อการพัฒนา ได้เลือกเทศบาลตำบลในอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เป็นพื้นที่นำร่องในการเก็บข้อมูล การเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง เมื่อได้ผลออกมาแล้วจึงเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับฟังแลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์ความเสี่ยง เพื่อสร้างความเข้าใจในการเลือกใช้บริการรถโดยสารที่ปลอดภัย รวมถึงการสนับสนุนการทำสัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางที่เป็นธรรมทุกครั้งจนนำไปสู่ความสำเร็จขั้นแรก ด้วยการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยในระดับองค์กรปกครองท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอแม่ใจจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2559  ซึ่งกำหนดให้แต่ละท้องถิ่นมีการทดลองใช้ “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” ทุกครั้ง เมื่อต้องเช่ารถไปแลกเปลี่ยนดูงานนอกสถานที่ ซึ่ง “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” นั้น จะมีเนื้อหาสาระที่คุ้มครองสิทธิผู้ว่าจ้างและกำหนดหน้าที่ของผู้รับจ้างมากกว่าสัญญาจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป ต่อมาใน 2560 คณะทำงานได้เริ่มเก็บข้อมูลการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางอีกครั้ง คราวนี้เลือกเทศบาลตำบล/องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ 9 อำเภอจังหวัดพะเยา รวมจำนวน 72 แห่ง หลังจากนั้นจึงนำผลการเก็บข้อมูลไปรายงานในเวทีประชุม “คณะทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพรถโดยสารสาธารณะและรถรับส่งนักเรียนปลอดภัยต่อผู้บริโภคจังหวัดพะเยา” เพื่อนำเสนอข้อมูลและข้อเสนอต่อการยกระดับให้การใช้ “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” เป็นนโยบายระดับจังหวัด ความสำเร็จขั้นถัดมา คือ การลงนามบันทึกความร่วมมือการทำงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อพัฒนารถโดยสารสาธารณะที่ปลอดภัยจังหวัดพะเยา ในวันที่ 28  ธันวาคม 2560  โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาและหน่วยงานอื่นๆ ทั้งจังหวัดได้พร้อมใจกัน ให้ความสำคัญกับการใช้ “สัญญาจ้างขนส่งผู้โดยสาร” และกำหนดเป็นมาตรการให้หน่วยงานในจังหวัดพะเยาใช้สัญญาเช่าทุกครั้งของการดำเนินการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง อย่างไรก็ดี แม้ทุกภาคส่วนจะเห็นชอบด้วยกับการใช้สัญญาเช่าโดยสารไม่ประจำทางและมีมาตรการจังหวัดกำหนดข้อตกลงให้ปฏิบัติ แต่หากเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานยังไม่เข้าใจจนละเลยต่อความสำคัญในการใช้สัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ที่มุ่งเน้นด้านการดูแลผลประโยชน์ของหน่วยงานและปกป้องความปลอดภัยของบุคลากรที่ต้องเดินทาง การลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของทุกหน่วยงานที่ทำไปคงไม่เกิดผล ปัญหาเดิมๆ ก็จะมีมาให้เห็นอีกเรื่อยๆ แน่นอน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 สัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง

เข้าสู่เดือนกุมภาพันธ์ หลายเทศกาลแห่งความสุขรอเราอยู่ ทั้งวาเลนไทน์ ตรุษจีน ต่อด้วยเด็กๆ ได้หยุดปิดเทอม แต่คนทำงานบางหน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำลังดีใจที่ได้จะเดินทางไปศึกษาดูงานตามต่างจังหวัดไกลๆ เหตุผลหนึ่งที่อ้างกันบ่อย คือ เพื่อพัฒนาศักยภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์คนทำงาน  ทั้งนี้ในแต่ละปีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอยู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศต้องมีกิจกรรมดูงานทางไกลแบบนี้ทั้งนั้น นี่ยังไม่นับรวมถึงโรงเรียนที่มีอีกมากกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ ที่ต้องจัดแผนพาเด็กนักเรียนไปเข้าค่ายหรือทัศนศึกษาตามที่ต่างๆ เช่นเดียวกัน ซึ่งแน่นอนทั้งหมดที่ว่ามานี้ต้องเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางในการเดินทาง แล้วรถโดยสารไม่ประจำทางที่นิยมใช้กันมากที่สุดนั่น คือ รถโดยสารสองชั้น ที่ปัจจุบันมีให้บริการมากกว่า 5,000  คันทั่วประเทศ และเหตุผลที่คนส่วนใหญ่เลือกใช้รถโดยสารสองชั้น ก็เพราะสะดวก สบาย เบาะเอนนอนได้ มีอุปกรณ์บันเทิงครบครัน เครื่องเสียง คาราโอเกะ ขณะที่เสียงสะท้อนจากหน่วยงานที่เลือกรถเดินทางบอกว่า บางทีก็ไม่อยากเลือกรถโดยสารสองชั้น แต่มีความจำเป็นเพราะในพื้นที่หารถโดยสารชั้นเดียวไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดเรื่องนโยบายหน่วยงานที่ต้องการบริการที่มีต้นทุนราคาถูก มุ่งเน้นการประหยัดด้านงบประมาณและความสะดวกสบายของการเดินทาง จนละเลยถึงความปลอดภัย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการเดินทางไป ทำให้รถโดยสารสองชั้นเป็นเป้าหมายที่ต้องการ เพราะตอบโจทย์เรื่องราคาและการบรรทุกคนได้ครั้งละมากๆ ไปคันเดียวได้เกือบ 50 คน มิเช่นนั้นหากเลือกรถโดยสารชั้นเดียวจะต้องว่าจ้างหลายคันส่วนการว่าจ้างรถโดยสารไม่ประจำทางนั้น หลายพื้นที่ใช้ความใกล้ชิดรู้จักกับผู้ประกอบการท้องถิ่นในการว่าจ้างหรือวิธีการเสนอราคาค่าบริการรถโดยสารไม่ประจำทาง รวมถึงวิธีการว่าจ้างที่เป็นไปตามรูปแบบการจัดจ้างตามแบบหนังสือราชการทั่วไป ที่ยังขาดสาระสำคัญและข้อปฏิบัติในเรื่องความรับผิดของผู้ประกอบการ และความคุ้มครองสิทธิผู้ของเช่าและผู้โดยสารจากการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือความเสียหายเกิดขึ้น ผู้รับจ้างหรือผู้ประกอบการอาจใช้เป็นช่องทางประวิงการชดใช้ค่าเสียหายหรือปฏิเสธความรับผิดชอบได้  ดังความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับองค์การบริหารส่วนตำบลอย่างน้อยสองแห่ง คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตากูก จังหวัดสุรินทร์ เมื่อ 3 มีนาคม 2558 และองค์การบริหารส่วนตำบลแม่ต๋ำ จังหวัดเชียงราย เมื่อ 8 มีนาคม 2559  ที่เราต้องสูญเสียบุคลากรระดับนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและผู้บริหารระดับสูงไปทั้งสองครั้งเลยทีเดียว หากย้อนดูสถิติอุบัติเหตุที่เกิดกับรถโดยสารไม่ประทาง ทั้งประเภทชั้นเดียวและสองชั้นในปี 2560 แล้วพบว่า ในที่ผ่านมาเกิดอุบัติเหตุกับรถโดยสารไม่ประจำทางมากถึง 65 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 20 คน  บาดเจ็บถึง 536 คน มากกว่าครึ่งเป็นการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่มีคู่กรณี  และในแต่ละปีจะมีอุบัติเหตุความสูญเสียที่เกิดขึ้นกับการว่าจ้างรถโดยไม่ประจำทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอยู่เสมอ จากความเสียหายที่เกิดขึ้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขับเคลื่อนให้เกิดการใช้สัญญามาตรฐานในการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการยกร่างและพัฒนาข้อความสำคัญในสัญญาโดยมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และเครือข่ายนักวิชาการร่วมกันจัดทำขึ้น โดยมุ่งเน้นที่การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทาง ตั้งแต่การจัดทำสัญญาเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางที่มีมาตรฐานการป้องกันและความคุ้มครองความปลอดภัย พร้อมหลักการปฏิบัติของผู้โดยสารและความรับผิดของผู้รับจ้างหากไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือเงื่อนไขที่ตกลงกันได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ เครือข่ายนักวิชาการ โดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนนจะขับเคลื่อนงานสัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางนี้ ส่งผ่านถึงกรมการปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อให้เกิดนโยบายสั่งการ แต่ในทางปฎิบัติก็ยังไม่เห็นผลของการใช้สัญญามาตรฐานที่เป็นแบบของสัญญาในการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางนัก เหตุผลหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาอ้าง เมื่อได้มีโอกาสไปคุยกับเทศบาลตำบลบางแห่ง คือ กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ใช้สัญญาอื่นนอกเหนือไปจากระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่ราชการกำหนดไว้ แต่เราไม่เชื่อในเหตุผลนั้น และได้ทดลองนำร่องการขับเคลื่อนการใช้สัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยไม่ประจำทางกับเทศบาลตำบลของอำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ซึ่งได้ผลตอบรับที่น่าพอใจ จนนำไปสู่การขยับเป็นนโยบายของจังหวัดที่เห็นชอบร่วมกันในการนำสัญญามาตรฐานการเช่ารถโดยสารไม่ประจำทางไปใช้ได้ และในฉบับหน้าเราจะมาวิเคราะห์ถึงความสำเร็จและวิธีการขับเคลื่อน ที่ทำยังไงถึงเป็นนโยบายของจังหวัดพะเยาได้ เพื่อเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นกันครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 แอร์หรือระเบิดเวลา?

ซื้อแอร์ใหม่ราคา 2 หมื่นเศษ แทนที่จะทำงานเย็นเฉียบเงียบสนิท ให้ความรู้สึกรื่นรมย์ในยามพักผ่อนหลับนอน แอร์เจ้ากรรมกลับมีเสียงดังติ๊กๆ น่ารำคาญหูเล็ดลอดตลอดเวลา พาอารมณ์หงุดหงิด สะกิดหัวใจ ฟังไปเรื่อยๆ ยิ่งหนัก คิดว่ากำลังนอนหลับกับระเบิดเวลา ลุ้นและเครียดเอาเรื่องเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา คุณสุรพิเชษฐ์ ได้ซื้อเครื่องปรับอากาศยี่ห้อไดกิ้น รุ่น F13 HV2S ในราคา 21,000 บาท จากบริษัท เจเอสบี แอร์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัดหลังจากให้ช่างมาติดตั้งเสร็จสรรพ เปิดใช้งานกะว่าเย็นฉ่ำสบายอารมณ์แน่ พอแอร์เริ่มทำงาน ความเย็นค่อยๆไหลไล่ความร้อนให้หลบหนี“อืม เย็นจัง” กำลังเคลิ้มๆ กับความเย็นแต่ก็ต้องร้องเอ๊ะ“ติ๊ก ติ๊ก ติ๊กๆๆๆๆ” มันดังไม่หยุด ดังอยู่ตลอดเวลาที่แอร์เปิดทำงานคุณสุรพิเชษฐ์เงี่ยหูฟังเสียงไม่พึงประสงค์แทรกเข้ามาพร้อมความเย็นฉ่ำจากการทำงานของแอร์ที่เพิ่งซื้อมา“เสียงอะไร เสียงจากไหน” คิดในใจพร้อมกับลองปิดแอร์เงียบ...! “ไหนลองเปิดอีกครั้งสิ”“ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก...” เสียงที่น่ารำคาญดังมาทันทีวันนั้นคุณสุรพิเชษฐ์ ลองปิด-เปิดแอร์อยู่หลายครั้ง และทุกครั้งก็มีเสียงดังติ๊กๆ ออกมา เหมือนว่าเป็นมาตรฐานติดมากับแอร์เครื่องนี้เมื่อพบความผิดปกติ จึงได้แจ้งบริษัท เจเอสบี แอร์ แอนด์ เซอร์วิส ให้ส่งช่างมาตรวจสอบ หลังจากที่ช่างมาตรวจสอบอยู่ครู่ใหญ่ จึงได้มีคำตอบที่น่าผิดหวังว่า เสียงติ๊กๆ ที่เกิดขึ้นช่างไม่สามารถซ่อมได้ ต้องให้ช่างของบริษัทไดกิ้นโดยตรงมาซ่อมให้ ซึ่งบริษัทเจเอสบีฯ จะติดต่อกับไดกิ้นให้ส่งช่างมาซ่อมต่อมาช่างของไดกิ้นเข้ามาซ่อมแก้ไขแอร์ โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากเสียงของแผ่นพลาสติกที่ไปกระทบกันภายในเครื่องแอร์ จึงใช้แผ่นกำมะหยี่เป็นวัสดุแทรกกันการกระแทกสั่นไม่ให้เกิดเสียงดัง ปรากฏว่าเช้าวันต่อมาแอร์ที่เพิ่งซ่อมไปมีน้ำหยดออกมาจากตัวเครื่องคุณสุรพิเชษฐ์รู้สึกว่าเช้านั้นเซ็งอารมณ์สุดๆ“แอร์ซื้อมาใหม่ๆ แท้ๆ ครับ ใช้ไม่กี่วันก็ต้องเรียกให้ช่างมาซ่อมแล้วซ่อมอีก”“ช่างที่มาซ่อมบอกว่าที่บ้านก็ใช้แอร์รุ่นนี้ก็มีเสียงดังเหมือนกัน”เมื่อนำเหตุผลทั้งหมดมารวมกัน ความไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์สินค้าจึงเกิดขึ้น จึงได้ติดต่อไปที่บริษัทไดกิ้นเพื่อจะขอเปลี่ยนแอร์รุ่นใหม่ หลังติดต่อไปบริษัทก็ไม่ได้แสดงท่าทีตอบรับหรือปฏิเสธที่ชัดเจน ทำให้คุณสุรพิเชษฐ์มีความกังวลและคิดว่าบริษัทไดกิ้นอาจจะไม่ยอมเปลี่ยนแอร์รุ่นใหม่ให้ จึงโทรปรึกษามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาหลังรับฟังปัญหาของผู้บริโภคจนได้รายละเอียดเสร็จสิ้น เราจึงแนะนำให้คุณสุรพิเชษฐ์รีบทำจดหมายไปที่บรัทไดกิ้นโดยทันที โดยให้ระบุเนื้อหาในจดหมายว่า ผู้บริโภคได้ซื้อแอร์เครื่องใหม่และเลือกยี่ห้อไดกิ้นก็เพราะว่า เป็นสินค้าที่ดีมีมาตรฐาน แต่เมื่อใช้ไปได้ไม่กี่วัน เครื่องมีอาการผิดปกติ มีเสียงดังเล็ดลอดออกมาตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งาน การที่ได้ซื้อแอร์เครื่องนี้ในราคาเป็นหมื่น เพราะประสงค์ที่จะได้แอร์ที่ดีมีคุณภาพพร้อมทั้งมาตรฐานที่ดี เพื่อนำความสุขมาให้ครอบครัว แต่เมื่อแอร์เกิดปัญหาเช่นนี้โดยไม่ใช่ความผิดจากการใช้งานของผู้บริโภค บริษัทที่มีความรับผิดชอบจะต้องทำการเปลี่ยนเครื่องให้ใหม่ เพื่อที่จะรักษาชื่อเสียงและยี่ห้อของสินค้าให้คงอยู่ตลอดไป จึงขอให้ทางบริษัทไดกิ้นฯ ช่วยพิจารณาดำเนินการเปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่ให้ด้วยหลังจากที่ได้ทำจดหมายออกไป ปรากฏว่าบริษัทไดกิ้น ได้แสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการแจ้งว่า บริษัทยินดีที่จะเปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่ให้กับคุณสุรพิเชษฐ์โดยไม่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดใครที่มีปัญหาซื้อสินค้าใหม่ใช้งานแล้วไม่ได้ผลหรือเกิดปัญหาจนต้องเรียกช่างมาซ่อมแซมแก้ไข หากต้องการจะให้บริษัทเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ ลองใช้วิธีนี้ดู  ไม่สงวนลิขสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 พฤกษา ยอมคืนเงินผู้บริโภค เหตุสร้างบ้านไม่ได้มาตรฐาน

สำหรับคนที่จะซื้อบ้านใหม่ ซ่อมบ้านใหม่ หลังภาวะน้ำท่วม บทเรียนของผู้บริโภคเรื่องนี้น่าสนใจทีเดียวเมื่อปลายเดือนธันวาคม 2553 คุณภัทรวรรธน์ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านและที่ดินในโครงการบ้านพฤกษา 47/2 (เทพารักษ์-หนามแดง) จ.สมุทรปราการ กับบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด(มหาชน)บ้านที่จะซื้อจากโครงการของพฤกษา เป็นทาวน์เฮ้าส์ 2 ชั้น หน้ากว้าง 5 เมตร ห้องริมไม่มีหน้าต่าง อยู่บนเนื้อที่ 16.20  ตารางวา ราคารวมทั้งสิ้น 909,000 บาทกลยุทธ์การขายบ้านราคาไม่ถึง 1 ล้านของพฤกษา เรียลเอสเตท มักจะล่อลูกค้าผู้มีรายได้ปานกลางไปถึงน้อยด้วยการคิดเงินจองเงินดาวน์ในอัตราที่ไม่สูง สำหรับโครงการบ้านพฤกษา 47/2 พฤกษาเรียลเอสเตทคิดค่าจองเพียง 3,499 บาท ส่วนเงินดาวน์คิด 36,000 บาทให้แบ่งจ่าย 8 งวด งวดละ 4,500 บาท เงินค่าบ้านก้อนใหญ่ที่เหลืออีก 869,500 บาท ให้ผู้บริโภคไปหากู้เงินจากธนาคารมาจ่ายในวันนัดโอนบ้านคุณภัทรวรรธน์ทำเรื่องติดต่อธนาคารและจ่ายเงินจองเงินดาวน์มาถึง 6 งวด โครงการได้นัดเข้าไปตรวจรับบ้านเพื่อเตรียมการโอนบ้าน คุณภัทรวรรธน์จึงมอบหมายให้บริษัทตรวจรับบ้านที่มีประสบการณ์เข้าไปตรวจสภาพการก่อสร้างบ้านผลการตรวจบ้านพบปัญหาจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐานหลายจุด ดูไม่สมกับชื่อเสียงของโครงการฯ ที่หนักหนาสาหัสที่สุดตรงที่ผนังบ้าน ไม่แน่ใจว่าช่างตาเอียงตาเหล่แค่ไหน ถึงได้ก่ออิฐบิดเบี้ยวจนทำให้ผนังบ้านซึ่งเป็นส่วนรับน้ำหนักบ้านเอียงไม่ได้ฉากและเกิดรอยร้าวอย่างเห็นได้ชัด คุณภัทรวรรธน์ จึงได้แจ้งให้โครงการฯ ทราบ ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ช่างของโครงการฯ เสนอวิธีการแก้ไขแบบง่ายแสนง่าย ว่า จะซ่อมแซมให้ด้วยการฉาบปิดรอยร้าว และฉาบปูนเพิ่มเพื่อให้กำแพงได้ฉาก คุณภัทรวรรธน์จึงสอบถามไปที่บริษัทตรวจรับบ้านว่าปัญหาผนังบ้านเอียงไม่ได้ฉาก จะใช้วิธีฉาบปูนเพิ่มเข้าไปได้หรือเปล่า ได้รับคำตอบว่า ผนังบ้านที่เอียงอย่างเห็นได้ชัดขนาดนั้นเป็นส่วนรับน้ำหนักของตัวบ้าน ซึ่งจะเกิดอันตรายในอนาคตได้ หากไม่ดำเนินการรื้อและก่อผนังขึ้นใหม่คุณภัทรวรรธน์ ได้พยายามเรียกร้องให้โครงการฯ แก้ไขงานบ้านตามที่บริษัทตรวจรับบ้านให้คำแนะนำแล้ว แต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน ซ้ำยังกำชับให้จ่ายค่างวดที่เหลือต่ออีก ในขณะที่ธนาคารก็นัดวันเซ็นสัญญาใกล้เข้ามา จึงปรึกษามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า จะขอให้โครงการแก้ไขต้องทำอย่างไร และยังต้องจ่ายค่างวดให้ครบและต้องรับโอนบ้านหรือไม่ แนวทางแก้ไขปัญหาถ้าผู้บริโภคคนไหนทำสัญญาจะซื้อจะขายบ้านหรือว่าจ้างก่อสร้างบ้านใหม่ แล้วเรื่องเดินมาถึงจุดที่พบว่าสภาพการก่อสร้างมีปัญหา คิดจะใช้วิธีไม่จ่ายค่างวดที่เหลือ หรือไม่รับโอนบ้าน กะจะใช้เป็นเงื่อนไขกดดันหวังให้เจ้าของโครงการทำการซ่อมแซมแก้ไข ต้องระวังให้ดีเพราะผลีผลามทำไปโดยไม่รู้ขั้นตอนจะตกเป็นฝ่ายผิดสัญญาถูกฟ้องคดีบังคับให้ต้องจ่ายเงินตามสัญญาที่เหลือได้โดยที่บ้านก็ไม่ได้ซ่อม หรืออาจจะสูญบ้านทั้งหลังไปเลยก็ได้หากต้องการจะหยุดส่งค่างวดหรือไม่รับโอนบ้าน โดยไม่เป็นฝ่ายผิดสัญญาเสียเอง การมีหนังสือแจ้งถึงปัญหาเพื่อให้ดำเนินการแก้ไขตามกรอบระยะเวลาที่ได้กำหนดกันไว้ในสัญญาก่อนหน้า ส่งถึงกรรมการผู้จัดการบริษัทเจ้าของโครงการไปทางแฟกซ์หรือจดหมายลงทะเบียนตอบรับ เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาด อย่าใช้ปากเรียกร้องเพียงอย่างเดียว เพราะมีแต่ลมจับต้องอะไรมาเป็นหลักฐานยืนยันในภายหลังไม่ได้ยิ่งได้ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาประกอบถึงการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน ยิ่งทำให้เหตุผลของฝั่งผู้บริโภคมีน้ำหนักมากขึ้น และหากความชำรุดบกพร่องนั้นเกี่ยวกับโครงสร้างหลักของตัวบ้าน เมื่อพิจารณาแล้วว่าไม่อาจทำการแก้ไขได้ตามกำหนดระยะเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ ผู้บริโภคมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเรียกเงินที่ได้ชำระไปคืนทั้งหมดได้  โดยให้ทำเป็นหนังสือบอกเลิกสัญญาส่งไปทางแฟกซ์หรือจดหมายลงทะเบียนตอบรับก็ได้หลังจากได้รับคำแนะนำ คุณภัทรวรรธน์ไม่มั่นใจในคุณภาพการก่อสร้างบ้าน จึงมีหนังสือบอกเลิกสัญญาและขอเงินคืน ซึ่งบริษัทไม่ได้งอแงอิดออดแต่อย่างใด ยอมคืนเงินทั้งหมดให้ในเวลาไม่นานท้ายที่สุดของเรื่อง หวังว่าปัญหาของบ้านหลังนี้ บริษัทฯจะได้ทำการซ่อมแซมให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานการก่อสร้างที่ดีก่อนนำไปขายต่อให้ใคร อย่าให้เสียชื่อกันอีกรอบเพียงเพราะบ้านไม่ได้มาตรฐานเพียงแค่หลังเดียว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 ขอมาตรฐานรถตู้โดยสารด้วยจ้ะ

เผลอ..แป๊บเดียวสงกรานต์มาถึงอีกแล้วหรือนี่...  เฮ้อ...วันเวลามันช่างผ่านไปอย่างรวดเร็วจริงๆ เอ้า...เมื่อสงกรานต์มาถึงก็หมายความว่าเทศกาลแห่งการเดินทางของผู้คนก็มาถึงอีกแล้วซิ...  เมื่อถึงเทศกาลนี้ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ได้มีแค่ บขส.รถไฟ ดั่งแต่ก่อน ปัจจุบันการเดินทางด้วยรถตู้ก็ได้รับความนิยมอย่างมากเช่นกัน เพราะทั้งสะดวกและรวดเร็วกว่า(ไม่ค่อยจอดรับรายทางแต่ความปลอดภัยตัวใครตัวมัน) ธุรกิจรถตู้จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เห็นได้ว่าทุกซอกทุกมุมทั้งต่างจังหวัดและในเมืองมีคิวรถตู้เกลื่อนไปหมดวันก่อนมีชาวบ้านมาตั้งคำถามว่าหน่วยงานไหนควบคุมดูแลรถตู้(นั่นซิหน่วยงานไหนจ๊ะ) แล้วทำไมรถตู้จึงสามารถเพิ่มที่นั่งได้มากกว่าที่กฎหมายกำหนดเช่น กฎหมายกำหนดไว้ให้มีที่นั่งได้ 11 ที่นั่ง แต่รถตู้โดยสารสามารถเพิ่มที่นั่งได้ถึง 14 ที่ อย่างหน้าตาเฉย โดยไม่มีใครสนใจ  แม้แต่ตำรวจจราจรตำรวจทางหลวงก็เพิกเฉยและยิ่งไปกว่านั้นด้านหน้ารถจริงๆ มีได้แค่ 2 ที่นั่ง คือคนขับและคนนั่งอีกคน แต่รถตู้สามารถเสริมให้มีคนนั่งข้างคนขับได้ถึง 2 คน และที่แย่ไปกว่านั้นคือคนที่นั่งข้างหน้าริมประตูคนเดียวที่มีเข็มขัดให้คาด ส่วนคนนั่งกลางตัวใครตัวมัน  หากมีอุบัติเกิดขึ้นอาจกระเด็นทะลุกระจกออกไปได้ง่ายๆ  ลุงยังบอกอีกว่าผู้โดยสารอย่างเขามีสิทธิบอกมั้ย... ว่าอย่าเพิ่มที่นั่งเลย จะคิดค่าโดยสารเพิ่มก็ได้ แต่ขอความปลอดภัยให้เขาได้ไหม? เพราะการเพิ่มที่นั่ง มันทำให้นั่งไม่สบายอึดอัด  ยิ่งเป็นรถที่ขับระยะทางไกลๆ กว่าจะถึงที่หมายก็เกือบเป็นอัมพาตกันเลยทีเดียว   นั่นนะซิ..ใครล่ะที่จะเป็นคนบอกว่าได้ไม่ได้   ตกลงผู้บริโภคอย่างเราๆ ท่านๆ ที่เป็นคนจ่ายสตางค์มีสิทธิที่จะร้องขอความปลอดภัยบ้างไหม.. ทำไมรถตู้ถึงมีเอกสิทธิเหนือกฎหมายได้ขนาดนี้ปากก็บอกว่าจะจัดระเบียบรถตู้ มีการเอาจริงเอาจังขนาดตรวจจับกันเลยทีเดียว   แต่ที่สำคัญคือไอ้ที่ดูๆ อยู่น่ะ...ดูกันแค่ ป้ายเหลืองหรือป้ายดำเท่านั้น  ส่วนความปลอดภัยของผู้โดยสารไม่เห็นมีใครพูดถึง    หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะดูแลเรื่องพวกนี้บ้าง? ไม่ใช่จ้องจะนับศพว่าปีนี้จะตายมากหรือน้อยกว่าปีที่ผ่านมา  ฟังแล้วมันวังเวง และหดหู่ใจ  ที่ตื่นเช้ามาก็จะมีรายงานข่าววันที่ 1 ตายกี่ศพและนับทบไปเรื่อยๆ จนทำให้เราลืมไปว่ากำลังอยู่ใน เทศกาล สงกรานต์ ปีใหม่  หรือเทศกาลแห่งความตายกันแน่    ที่พูดนี่ไม่ใช่ไม่ให้มีรถตู้แต่อยากให้มีการกำหนดมาตรฐานกันให้ชัดเจน  ใครฝ่าฝืนก็ดำเนินการตามกฎหมายผู้โดยสารจะได้อุ่นใจ  และเดินทางอย่างมีความสุข เอาเป็นว่าหากท่านผู้อ่านท่านใดที่พบเห็นเรื่องราวที่ท่านคิดว่าไม่เป็นธรรมและไม่ค่อยจะปลอดภัยสำหรับผู้โดยสาร ก็ขอให้เล่าสู่กันฟังมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค  เราจะได้ช่วยกันพัฒนาระบบบริการสาธารณะให้มีความปลอดภัยมากขึ้น พลังของผู้บริโภคสามารถเปลี่ยนแปลงสังคมได้ หากเราช่วยกันสอดส่องดูแล  ขอให้เดินทางโดยปลอดภัยและมีความสุขกับครอบครัวในเทศกาลสงกรานต์ปี 54 ทุกคนนะจ๊ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 ประเทศไทย สองมาตรฐานจริงๆ

กว่าหนังสือเล่มนี้จะออกคงล่วงเลยเวลาที่มีบุคลากรทางการแพทย์แต่งชุดดำมาคัดค้าน พรบ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เราคงไม่บอกว่าการคัดค้านการสนับสนุนพรบ.ฉบับนี้ใครถูกใครผิด แต่มีประเด็นที่น่าคิดมากกว่านั้นคือ ประเด็นการคัดค้านของคุณหมอต่างๆ ที่ออกมาให้ข้อมูลกับสังคมว่า วันนี้ผู้ป่วยมากขึ้น หมอมีน้อย งานหนัก วัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลน เตียงรองรับคนไข้ไม่เพียงพอ มาตรฐานการให้บริการยังต้องพัฒนากันอีกมาก งบบริการจัดการองค์กรเป็นไปด้วยความยากลำบากเราเข้าใจและเห็นใจเป็นอย่างยิ่งเพราะมันเป็นเช่นนั้นจริงๆ และยอมรับว่าด้วยงานที่หนักมากทำให้เกิดความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ยกตัวอย่างจำนวนผู้ที่ได้รับความเสียหายที่มาขอรับเงินชดเชย ตามมาตรา 41 แห่ง พรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในปี 2552 (ผู้ไม่รู้สิทธิยังมีอีกมาก)จำนวน 810 ราย ผ่านเกณฑ์ช่วยเหลือ 660 รายไม่ผ่าน 150 ราย(เป็นไปตามอาการของโรค)เสียชีวิต 340 ราย พิการ 97 ราย เจ็บป่วยต่อเนื่อง 219 ราย สปสช.จ่ายเงินชดเชยไปทั้งสิ้น 73 ล้านบาท(ยังไม่รวมประกันสังคมและราชการ)   นี่คือตัวเลขที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีคนตายมากกว่าประเทศที่ทำสงครามอีก(อนิจจาระบบสาธารณสุขที่รักษาคนไทย)แต่อีกมุมหนึ่งในประเทศเดียวกัน เราก็เจรจาการค้าเสรีกับประเทศอื่นๆ โชว์สรรพคุณ คุณภาพมาตรฐานการบริสาธารณสุขที่โดดเด่นเป็นสากลไม่น้อยหน้าประเทศใดๆ ภายใต้ชื่อเมดดิคอลฮับ(ศูนย์กลางทางการแพทย์สากล) เกิดธุรกิจการแพทย์ ที่มีความพร้อมในการรองรับผู้ป่วยจากต่างประเทศ คุณภาพมาตรฐานการรักษาระดับ 5 ดาว ที่เจริญเติบโตอย่างไร้ขีดจำกัด มีการนำโรงพยาบาลเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อปั่นมูลค่ากันมากมาย ถึงขนาดบางมหาวิทยาลัยเปิดหลักสูตรการแพทย์นานาชาติ เพื่อรองรับธุรกิจดังกล่าว จนเกิดเสียงเพรียกร้องจากประชาชน ที่ต้องการให้มหาวิทยาลัย ผลิตแพทย์มารักษาคนไทยให้เพียงพอก่อน แล้วค่อยคิดถึงคนต่างชาติ แต่หานำพาไม่จนมีคำถามที่ถามทีเล่นทีจริงว่าหากมีคนไทย(คนจน) กับคนต่างประเทศที่เจ็บเจียนตายเหมือนกัน โรงพยาบาลเอกชนจะเลือกรักษาใคร ? เออ..เนาะใครรู้ช่วยตอบหน่อยซิ กี่รัฐบาลมาแล้วที่ปล่อยปละละเลย..เรื่องนี้ แล้วสังคมไทยจะโทษหมอหรือบุคลากรทางการแพทย์ฝ่ายเดียวก็ไม่ได้เพราะคุณหมอก็ต้องทำงานบนข้อจำกัดมากมายเราอยากบอกคุณหมอดังๆ ว่าเราอยู่ข้างคุณหมอนะ เราเข้าใจความรู้สึกของคุณหมอ และเราก็เข้าใจความรู้สึกของผู้เสียหายเช่นกัน ก็ไม่รู้ว่าจะฝากเรื่องนี้ไว้ที่ใครดี คงต้องฝากคณะทำงานที่มีหน้าที่ปฏิรูปชุดต่างๆ ช่วยปฏิรูปเรื่องนี้ด้วย ไม่อย่างนั้นอาจต้องเขียนป้ายใหญ่ๆ ปิดไว้หน้าโรงพยาบาลว่า “การเข้ารับการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลนี้มีความเสี่ยงโปรดใช้วิจารณญาณในการเข้ารับการรักษา” ดีมั้ยท่านนา....ยกกกกก....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 เสื้อกัน UV (ต่อ) ทางเลือกใหม่ สำหรับคนชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง

ต่อเนื่องจากเล่มก่อนหน้า เราขอนำเสนอผลการทดสอบเสื้อและชุดว่ายน้ำป้องกันรังสีสำหรับเด็กที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศได้ทำไว้   สัดส่วนการให้คะแนนเป็นดังนี้ -   การป้องกันรังสียูวี  ร้อยละ 60 (ปัจจุบันยังมีหลายมาตรฐานในการวัดค่าการป้องกันรังสียูวี ผู้ผลิตต่างรายจึงใช้มาตรฐานต่างกัน แต่ในที่นี้จะวัดตามมาตรฐาน UV Standard 801) -  ฉลาก  ร้อยละ 30 (หมายถึง การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค มีการอ้างอิงว่าใช้มาตรฐานใด) -  การใช้สารเคมีร้อยละ 10                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 164 เสื้อกัน UV ทางเลือกใหม่ สำหรับคนชอบใช้ชีวิตกลางแจ้ง

แม้จะอยู่ใต้ฟ้าแต่เราก็ไม่กลัวแสงแดด เพราะมีผลิตภัณฑ์มากมายที่ช่วยสกัดกั้นไม่ให้รังสีจากดวงอาทิตย์เข้ามาทำร้ายผิวเราได้ นอกจากครีมกันแดด หมวก และร่มแล้ว เรายังมีเสื้อป้องกันรังสียูวีที่ทำออกมาเอาใจผู้ชื่นชอบกีฬากลางแจ้งอีกด้วยนะ ฉลาดซื้อฉบับนี้นำผลทดสอบเสื้อกันรังสียูวี ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทำไว้ มาฝากสมาชิกกัน หลักๆ แล้วเขาต้องการดูค่าการป้องกันรังสีของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว (ค่า UPF) และดูว่าสอดคล้องกับฉลากหรือไม่ และในกรณีของเสื้อหรือชุดเด็ก จะมีการตรวจหาสารเคมีที่อาจปนเปื้อนมาในเนื้อผ้า เช่น ฟอร์มัลดีไฮด์ โนนิลฟีนอล และพทาเลท ด้วย การทดสอบนี้เป็นไปตามมาตรฐานของเสื้อผ้าที่ป้องกันรังสียูวี UV Standard 801   ครั้งนี้เขาเน้นเสื้อผ้าเด็กเป็นพิเศษ เพราะคนยุโรปเน้นให้เด็กๆ ได้อยู่กลางแจ้งเพื่อรับแสงแดดที่มีไม่บ่อยนักในรอบปี และเสื้อผ้าเหล่านี้ก็เป็นทางออกสำหรับเด็กๆ ที่ไม่ชอบให้ทาครีมกันแดดซึ่งจะว่าไปแล้วก็อาจมีสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็กด้วย สัดส่วนการให้คะแนนเป็นดังนี้ -          การป้องกันรังสียูวี           ร้อยละ 60 (ปัจจุบันยังมีหลายมาตรฐานในการวัดค่าการป้องกันรังสียูวี                                   ผู้ผลิตต่างรายจึงใช้มาตรฐานต่างกัน แต่ในที่นี้จะวัดตามมาตรฐาน UV                                  Standard 801) -          ฉลาก                            ร้อยละ 30 (หมายถึง การให้ข้อมูลที่ชัดเจนแก่ผู้บริโภค มีการอ้างอิง                                       ว่าใช้มาตรฐานใด) -          การใช้สารเคมี                ร้อยละ 10   ฉบับนี้เราขอลงผลทดสอบของเสื้อผู้ใหญ่ 7 รุ่น และเต็นท์สำหรับเด็กอีก 5 รุ่น มาให้ชมกันเป็นน้ำจิ้มก่อน ส่วนผลของชุดและเสื้อยืดเด็กนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าลืมติดตามกันในฉบับต่อไป --------------------------------------------------------------------------------------------------- ทำอย่างไรให้เนื้อผ้าป้องกันรังสียูวีได้? วิธีที่ผู้ผลิตนิยมใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติการป้องกันแสงแดด ได้แก่ การใช้ผ้าที่ทอหนาและแน่นในการตัดเย็บ เพราะช่องว่างระหว่างเส้นใยที่น้อยลงจะช่วยลดแสงที่ผ่านเข้ามาด้วย การใช้สีย้อม เพราะสีย้อมบางชนิดที่ความเข้มข้นระดับหนึ่ง สามารถลดการส่งผ่านรังสียูวีได้ บางชนิดสะท้อนรังสีออกไปได้บางส่วน บางชนิดจะไม่รับรังสีเข้ามาเลย เช่น สีย้อมสีดำ ณ ปัจจุบัน เราไม่สามารถทราบได้ว่าเสื้อตัวดังกล่าวสามารถกันรังสีได้หรือไม่จากการดูด้วยตาเปล่า ต้องดูจากฉลากที่ระบุค่า UPF เท่านั้น เสื้อผ้าที่ออกแบบมาเพื่อการป้องกันรังสีอาจใช้สีย้อมระดับพรีเมียมซึ่งมีโมเลกุลที่สามารถสกัดรังสีได้ เมื่อใช้สีย้อมมากขึ้น ระดับความเข้มข้นของสีและการป้องกันยูวีก็จะเพิ่มขึ้นด้วย แต่ต้องย้ำว่าสีที่ใช้ (เหลือง แดง ฟ้า เขียว ฯลฯ) ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับค่าการป้องกันยูวี การเติมสารเคมีบางชนิดลงไป เช่น สารเพิ่มความสว่าง และสารต้านยูวี เช่น ไททาเนียมไดออกไซด์ ซิงค์โคไซด์ เบนโซไทรอาโซล ทินูวิน 312 เป็นต้น การเลือกชนิดของเส้นใย เช่นโพลีเอสเตอร์ สามารถต้านรังสีได้ดีมาก ไนลอนก็ทำได้ดี ไหมและขนแกะก็พอใช้ แต่เส้นใยธรรมชาติอย่างฝ้าย เรยอน แฟลกซ์ และปอ ป้องกันรังสีได้ไม่ดีนักถ้าไม่มีการเติมสารเคมีเพิ่มลงไป ที่สำคัญ ผ้าฝ้ายที่ไม่ผ่านการฟอกหรือผ้าสีธรรมชาติจะต้านรังสีได้ดีกว่าฝ้ายที่กัดสีแล้ว   หมายเหตุเพิ่มเติม: Ø เมื่อผ้าถูกยืดออกร้อยละ 10 ความสามารถในการต้านรังสีจะลดลงถึงร้อยละ 40 Ø เมื่อผ้าเปียกน้ำ ความสามารถในการต้านรังสีจะลดลงประมาณร้อยละ 30 - 50 Ø ผ้าเก่าหรือผ้าที่ซีดแล้วจะสามารถป้องกันยูวีได้น้อยลง ---------------------------------------------------------------------------------------------------   ก่อนลงทุนซื้อเสื้อ/ชุดป้องกันยูวี -          เลือกเสื้อผ้าที่มีการติดฉลากตามมาตรฐาน UV 801 -          ถ้าเป็นไปได้ เลือกชนิดที่ป้องกันยูวีโดยวิธีการทางกายภาพ ไม่ใช่ทางเคมี -          ควรเลือกเสื้อผ้าที่ปกปิดแขนทั้งหมดหรือส่วนใหญ่ของแขน และส่วนบนของขา -          ถ้าเป็นชุดเด็ก ค่าการป้องกันยูวี (UPF) ควรอยู่ระหว่าง 40-60 เพื่อให้เด็กได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ --------------------------------------------------------------------------------------------------- เสื้อผู้ใหญ่                                                                                                                                                                       ---- บ้านเรากับเสื้อป้องกันยูวี?   ในบรรดาสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษนั้น ที่มาแรงที่สุดในบ้านเราคงไม่มีใครเกินสิ่งทอป้องกันแบคทีเรีย (ก็อากาศร้อน ช่วยขับเหงื่อผู้คนกันขนาดนี้) ส่วนเรื่องสิ่งทอป้องกันยูวีนั้นยังไม่เท่าไร เพราะเรามีจริตที่จะหลบแดดกันอยู่แล้ว ยกเว้นใครที่ต้องทำงานหรือชอบงานอดิเรกที่ต้องอยู่กลางแจ้งจริงๆ เช่นนักกีฬา หรือขาปั่นจักรยาน ที่อาจต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์นี้อยู่   แต่คุณรู้หรือไม่? บ้านเรามีสภาพอากาศและพื้นที่ที่เหมาะกับการปลูกพืชชนิดหนึ่ง ซึ่งเส้นใยของมันสามารถป้องกันรังสียูวีได้โดยธรรมชาติ แถมยังระบายกลิ่นอับได้ดี ประเทศในยุโรปรู้จักใช้ประโยชน์จากใยชนิดนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เยอรมนีก็ใช้เพื่อผลิตหมวกป้องกันยูวีให้กับนักกีฬาด้วย พืชที่ว่านี้คือกัญชง (ถูกแล้ว มันเป็นญาติกับกัญชา) ซึ่งเคยมีสถานะเป็นยาเสพติดให้โทษ ประเภท 5 แต่กำลังจะถูกพิจารณาให้เกษตรกรสามารถปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ในเบื้องต้นสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) กำลังศึกษาวิจัยเพื่อให้ได้เมล็ดพันธุ์กัญชงที่มีระดับเตตร้าไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ต่ำ เพื่อแจกจ่ายให้เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนปลูก แต่แม้จะมีการปลูกในภาคเหนือบ้างแล้ว ปริมาณวัตถุดิบก็ยังไม่เพียงพอต่อการผลิต เราจึงยังต้องนำเข้าจากประเทศลาวอีกเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าตอนนี้ราคาขายอยู่ที่กิโลกรัมละ 300 บาท และนอกจากจะนำมาทอผ้าแล้ว เปลือกและเมล็ดของมัน ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อีกหลายอย่างด้วย   ขอบคุณข้อมูลจาก อ.ดร.ประเทืองทิพย์ ปานบำรุง สาขาวิศวกรรมเคมีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมสิ่งทอ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 83 ของ (ไม่น่า) เล่น

ใครๆก็รู้ว่าของเล่นเป็นสิ่งที่สามารถสร้างช่วยเสริมทักษะ และสนับสนุนพัฒนาการต่างๆให้กับเด็กได้ แต่ใช่ว่าของเล่นทุกชิ้นที่มีขายอยู่ทั่วไปในท้องตลาดจะปลอดภัยสำหรับบุตรหลานของท่าน หลายคนอาจได้ยินเรื่องของของเล่นปนเปื้อนสารตะกั่วที่ต้องมีการประกาศเรียกคืนมาบ้างแล้ว เพราะของเล่นดังกล่าวอาจจะทำให้พัฒนาการเรียนรู้ พัฒนาการของกล้ามเนื้อและกระดูก รวมถึงพัฒนาการทางด้านภาษาของเด็กช้าหรือน้อยลงนั่นเอง มาดูกันว่าของเล่นที่มีขายในตลาดบ้านเราชิ้นที่เป็นอันตรายเพราะมีสารตะกั่วปนเปื้อนเกินมาตรฐานนั้นมีอะไรบ้าง ข้อมูลที่ฉลาดซื้อนำมาเสนอนั้นได้จาก ศูนย์วิจัยเสริมสร้างความปลอดภัยการป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก  คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ได้ทำการตรวจสอบหาโลหะหนักในของเล่นจำนวน 183 ชิ้น ที่มีราคาระหว่าง 20 – 150 บาท และเป็นของเล่นที่หาซื้อได้จากห้างและตลาดทั่วไป ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร น่าน พิษณุโลก สระแก้ว และ บุรีรัมย์ ผลการตรวจสอบ•    ของเล่นที่พบว่ามีสารตะกั่วเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนดนั้นมีทั้งของเล่นที่มี และไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม •    ในภาพรวม ร้อยละ16.9 ของของเล่นทั้งหมดที่ตรวจสอบ มีระดับสารตะกั่วสูงเกินมาตรฐาน•    ร้อยละ 16.3 ของของเล่นที่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม และร้อยละ 18.8 ของของเล่นที่ไม่มีเครื่องหมายดังกล่าว มีระดับสารตะกั่วสูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สารกันบูดในขนมจีน

“ขนมจีน” อาหารยอดนิยมของคนเกือบทุกภาค เป็นอาหารที่รับประทานสะดวก มีคุณค่าทางสารอาหารจากผักเคียงและมีหลายเมนูให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นขนมจีนน้ำยากะทิของคนภาคกลาง ขนมจีนน้ำเงี้ยวของภาคเหนือ ขนมจีนราดแกงไตปลาของคนใต้ หรือขนมจีนในต่ำซั่วของคนอีสาน ซึ่งนอกจากจะอร่อยถูกปากแล้ว บางส่วนยังมีความเชื่อว่าการนำขนมจีนเลี้ยงพระในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน จะทำให้ชีวิตคู่อยู่ยืนนานเหมือนเส้นขนมจีนอีกด้วย อย่างไรก็ตามในทุกครั้งที่เรากำลังเพลิดเพลินกับขนมจีนที่เอร็ดอร่อยนั้น รู้หรือไม่ว่าส่วนใหญ่แล้วเราได้รับประทาน “สารกันบูด” เข้าไปด้วย ซึ่งหากเรารับประทานสารดังกล่าวมากเกินไปจนทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง หรืออาจส่งผลถึงขั้นพิการได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศ (ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547) เรื่อง ค่ามาตรฐานของสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของโคเด็กซ์ (CODEX) สำหรับอาหารจำพวกพาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกันว่า ต้องมีปริมาณ ไม่เกิน 1,000 มก./กก. ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปทดสอบสารกันบูด(เบนโซอิก) ตกค้างในขนมจีนทั้งหมด 12 ยี่ห้อจากแหล่งซื้อต่างๆ ว่ามีมากน้อยแค่ไหนกัน ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย   ผลทดสอบผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐาน                       ไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐาน    *ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจ เก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2559สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบทั้งหมดพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของสารกันบูด - 2 ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดตกค้างมากที่สุด และเกินกว่าปริมาณสูงสุดที่ อย . กำหนดไว้คือ ขนมจีนตราดาว จากตลาดยิ่งเจริญสะพานใหม่ จำนวน 1,121.37 มก./กก. รองลงมาคือ ไม่มียี่ห้อ จากตลาดสะพานขาวจำนวน 1,115.32 มก./กก.- ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดตกค้างน้อยที่สุดคือ ขนมจีนจาก ตลาดพระประแดง จำนวน 147.43 มก./กก. เทคนิคการหลีกเลี่ยงสารกันบูดตกค้างในร่างกาย แม้กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) หรือสารกันบูดที่ใส่ในขนมจีน จะมีประโยชน์ในการช่วยยืดอายุของอาหาร ด้วยการยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย และถูกจัดอยู่ในประเภทพิษปานกลาง ซึ่งร่างกายสามารถขจัดออกมาได้เอง แต่ก็สามารถส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากมีการตกค้างหรือสะสมในร่างกายมากเกินไปดังที่กล่าวไปข้างต้น เราจึงควรระมัดระวังในการรับประทาน ดังนี้ - บริโภคอาหารให้หลากหลายชนิดหมุนเวียนกัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมสารพิษตกค้างในร่างกาย โดยควรทำอาหารรับประทานเองบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบที่นำมาปรุงมีความสดใหม่ หรือปลอดภัยจากสารเคมี- เลือกซื้ออาหารที่ระบุ ว/ด/ป ที่ผลิต-หมดอายุ และมี อย เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารดังกล่าวไม่ได้ใส่สารกันบูดมากเกินกว่าที่กำหนดไว้- หลีกเลี่ยงอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารพร้อมบริโภคบรรจุกล่อง เพราะอาหารเหล่านี้หากไม่บรรจุในภาชนะปิดสนิท หรือต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนดไว้ อาจมีสารกันบูดเจือปนในปริมาณมาก- นอกจากขนมจีนแล้วก็ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่นิยมใส่สารกันบูด เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ผลไม้แช่อิ่ม หรือน้ำผลไม้ ซึ่ง อย . ก็ได้กำหนดค่ามาตรฐานไว้ต่างกัน เราจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานข้อมูลอ้างอิง: http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food/data/news/2556/560902/Update%20Food%20Additives.pdf กรดเบนโซอิก (Benzoic acid)กรดเบนโซอิก (benzoic acid) เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย เป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ลูกพรุน, อบเชย, แอปเปิล, กานพลู และมะกอกสุก เป็นต้น โดยมีจำหน่ายในท้องตลาดในรูปผงผลึกสีขาวหรือเป็นเกล็ด มักใช้ร่วมกับกรดซอร์บิก และพาราเบนส์สำหรับเป็นวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอตจะต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีในสภาวะเป็นกรดที่ต่ำกว่า 4.5 ดังนั้น อาหารที่ใช้กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอตเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บ จึงควรเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด สูง เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ แยม เยลลี ผักดอง ผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด และเนยเทียม เป็นต้น ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 66 ชั่งความจริงใจข้าวหอมมะลิถุงไหนไม่โกง

เมื่อปี พ.ศ.2541 ฉลาดซื้อได้ทำการเก็บตัวอย่างข้าวสารบรรจุถุงที่แจ้งว่าเป็นข้าวหอมมะลิส่งให้ศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานีทำการตรวจวิเคราะห์มาตรฐาน พบว่าจากจำนวน 18 ตัวอย่างมีเพียง 8 ตัวอย่างเท่านั้นที่เข้าเกณฑ์มาตรฐานข้าวหอมมะลิที่เหลือเป็นข้าวหอมมะลิผสมกับข้าวชนิดอื่นทั้งสิ้นในปี 2545 กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้มีประกาศเรื่องการรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงเพื่อจำหน่ายในประเทศขึ้นมาใหม่ และใช้วิธีเชิญชวนให้ผู้ประกอบการแสดงฉลากที่ถูกต้องด้วยการอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานข้าวหอมมะลิบรรจุถุงตรารูปพนมมือ โดยข้าวหอมมะลิที่จะได้รับการรับรองมาตรฐานมีทั้งสิ้น  8 ชนิดซึ่งเป็นการแบ่งตามคุณภาพของเมล็ดข้าวและระดับการสี (ดูที่ล้อมกรอบมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 8 ชนิด) แต่ที่เราเห็นจำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นข้าวขาวหอมมะลิ 100% ข้าวขาวหอมมะลิ 5% มีข้าวขาวหอมมะลิ 10% บ้างเพียงเล็กน้อยผลสำรวจของกรมการค้าภายในถึงวันที่ 31 มกราคม 2548 มีข้าวหอมมะลิบรรจุถุงที่ได้เครื่องหมายรับรองตราพนมมือ นับได้รวมทั้งสิ้น 104 ยี่ห้อจากผู้ประกอบการทั้งหมด 68 ราย ซึ่งบางยี่ห้อก็จำหน่ายข้าวขาวหอมมะลิหลายชนิดในชื่อยี่ห้อเดียวกันเพียงแต่ใช้สีถุงหรือลวดลายของถุงบรรจุที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ก็ยังมีข้าวหอมมะลิที่ไม่มีตรามือพนมหรือกรมการค้าภายในไม่ได้รับรอง และข้าวหอมมะลิบางยี่ห้อก็อาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดได้หากไม่สังเกตฉลากให้ถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นข้าวหอมมะลิผสมกับข้าวชนิดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่าทำให้สามารถขายได้ในราคาที่ถูกเอามาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับข้าวหอมมะลิล้วน ๆ   เพื่อให้คุณผู้อ่านสามารถเลือกซื้อข้าวหอมมะลิบรรจุถุงได้อย่างคุ้มค่าคุ้มราคา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงได้ทำการสำรวจข้าวหอมมะลิบรรจุถุงใน 2 ลักษณะด้วยกัน คือ หนึ่ง การสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิ และสองคือการสำรวจน้ำหนักสุทธิของข้าวหอมมะลิขนาดบรรจุ 5 กิโลกรัมว่าเที่ยงตรงตามที่ระบุไว้จริงแค่ไหนหรือไม่ ผลสำรวจคุณภาพข้าวหอมมะลิบรรจุถุงมีข้าวสารบรรจุถุง ที่ฉลากระบุว่าเป็นชนิดข้าวขาวหอมมะลิ 100% จำนวนทั้งสิ้น 35 ตัวอย่าง ที่ฉลาดซื้อเก็บได้จากซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 34 ตัวอย่างเป็นถุงบรรจุขนาด 5 กิโลกรัม อีก  1 ตัวอย่างเป็นข้าวถุงบรรจุขนาด 4 กิโลกรัมคือยี่ห้อ ช้างทิพย์ ข้าวเติมวิตามินของ บ.สากลธุรกิจเลิศรวมมิตร จำกัด ซึ่งมีราคาใกล้เคียงกับข้าวขนาด 5 กิโลกรัมเลยทีเดียว ฉลาดซื้อได้ส่งตัวอย่างทั้งหมดไปที่ห้องปฏิบัติการทดสอบของศูนย์วิจัยข้าวปทุมธานี กรมวิชาการเกษตร เพื่อตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานของข้าวขาวหอมมะลิ 100% เหล่านี้ ผลการวิเคราะห์พบว่าจาก 35 ตัวอย่าง มี 2 ตัวอย่างที่ไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ของกรมการค้าภายใน คือยี่ห้อ ฉลาดชิม ของ บ.ไทยฮา จก.(มหาชน) ซึ่งไม่มีตรารับรองมือพนม และ ยี่ห้อ นครไทย ของ บ.บี.เค.เค.อินเตอร์ไรซ์ จำกัด ยี่ห้อนี้มีตรารับรองมือพนมของกรมการค้าภายในแสดงที่ข้างถุง โดยทั้งสองตัวอย่างมีปริมาณอมิโลสและข้าวอื่นปนเกินมาตรฐาน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เกณฑ์มาตรฐานข้าวขาวหอมมะลิ 100% บรรจุถุงของกรมการค้าภายในที่ให้การรับรองด้วยตรามือพนม1.    กรมการค้าภายในยอมให้ข้าวหอมมะลิ 100% มีข้าวอื่นปนได้ไม่เกิน 8 %2.    ปริมาณอมิโลสอยู่ระหว่าง 13-18 % ข้าวอมิโลสต่ำ ๆ เวลาหุงไม่ควรใช้น้ำมากเพราะจะทำให้ข้าวแฉะ3.    อุณหภูมิแป้งสุกต่ำ ซึ่งทำให้ข้าวสุกไวไม่ใช้เวลาหุงนาน ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผลการวิเคราะห์ข้าวสารบรรจุถุงที่ฉลากระบุว่าเป็นข้าวขาวหอมมะลิ 100% จำนวน 35 ตัวอย่าง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 43 Heavy boy น้ำหวานตกมาตรฐาน

ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชานี ตรวจพบน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด อากาศร้อนอบอ้าวอย่างที่เราเจอกันอยู่นี้ ถ้าได้เครื่องดื่มเย็น ๆ สักแก้วสองแก้วก็ช่วยคลายร้อนได้เยอะ แต่ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองเงินทองทุกบาทก็ย่อมมีค่า น้ำอัดลมก็กลายเป็นของแพงไปเสียแล้ว จะไปซื้อหาผลไม้มาคั้นมาปั่นราคาก็ไม่ใช่ถูก ๆ แถมได้ปริมาณไม่มาก น้ำหวานเข้มข้นจึงเป็นที่พึ่งยามยากของหลาย ๆ ครอบครัว น้ำหวานเข้มข้นขวดหนึ่งก็สามารถผสมกับน้ำสะอาดทำเป็นน้ำหวานได้มากถึง 4 เท่า แถมยังมีให้เลือกหลายรสชาติตามแต่จะต้องการ แม้จะมีข้อดีในเรื่องของการประหยัดสตางค์ในกระเป๋า แต่น้ำหวานเข้มข้นก็ยังมีเรื่องที่ต้องระวังเช่นกัน เนื่องจากน้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่หรือเกือบจะทั้งหมดล้วนใช้สีสังเคราะห์เป็นส่วนผสมด้วยกันทั้งนั้น และสีสังเคราะห์นี้หากผู้ผลิตเขาใส่มากเกินไปก็อาจจะเกิดอันตรายจากการสะสมของสารพิษที่อยู่ในสีสังเคราะห์นั้นได้ ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย , ขอนแก่น , บุรีรัมย์ , สุราษฎร์ธานี และสงขลา จึงได้ร่วมกันสำรวจตลาดและเก็บตัวอย่างน้ำหวานเข้มข้นในพื้นที่ของตน และได้ส่งไปให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 อุบลราชธานี ทำการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณของสีสังเคราะห์ที่ผสมอยู่ในน้ำหวานเข้มข้นยี่ห้อต่าง ๆ ยี่ห้อน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีทั้งหมด  12 ยี่ห้อ คือ 1.Heavy boy 2.โกลเด้นแพน 3.แคนดี-เคน 4.แคนดี้บอย 5.ซันนี่บอย 6.ท็อปส์ 7.เมาเทนเบส 8.วินนี่ บราวน์ 9.วินบอย 10.ออคิด 11.ฮอร์น บอย 12.เฮลซ์บลูบอย ส่วนกลิ่นและสีของน้ำหวานเข้มข้นที่สำรวจพบมีอยู่ 8 ชนิดด้วยกัน คือ 1.สับปะรด 2.ส้ม  3.สละ 4.องุ่น  5.ครีมโซดา  6.สตรอเบอรี่  7.ซาสี่  8.กุหลาบ กลิ่นและสีเหล่านี้เกิดจากการใช้สีสังเคราะห์มาเป็นส่วนผสมในกระบวนการผลิตน้ำหวานเข้มข้น กลิ่นและสีบางอย่างก็เกิดจากการผสมสีสังเคราะห์ 2 ชนิดในสัดส่วนที่เหมาะสม อย่างกลิ่นครีมโซดาเกิดจากการผสมกันระหว่างสีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF เป็นต้น ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เขต 7 ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้นรวมทั้งสิ้น 52 ตัวอย่างจาก 12 ยี่ห้อดังกล่าว พบน้ำหวานเข้มข้นที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค 1 ตัวอย่างคือ น้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ในฉลากไม่ระบุชื่อผู้ผลิต ระบุเพียงสถานที่ผลิตคือ เลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ เลขทะเบียน อย./ฉผด. 98/36 เนื่องจากมีสีสังเคราะห์ผสมอยู่เกินมาตรฐานกำหนด(สีเอโซรูบีน 92.34 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) นอกจากนี้จากการสำรวจยังพบน้ำหวานเข้มข้นที่ทำผิดกฎหมายว่าด้วยเรื่องการแสดงฉลาก คือ ไม่มีการแสดงวันที่ผลิตหรือวันหมดอายุ ได้แก่ 1.Heavy boy แหล่งผลิตเลขที่ 456 ถ.ริมทางรถไฟสายปากน้ำ ต.คลองเตย อ.พระโขนง กรุงเทพฯ 2.Horn boy แหล่งผลิตโรงงาน ส.วัฒนา 43/20 หมู่ 7 ซ.วัดกำแพง เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 3.Win boy แหล่งผลิตโรงงานน้ำหวานสมชัย 68 หมู่ 1 ถ.สุขาภิบาล 2 ต.คลองขวาง อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี นอกจากน้ำหวานเข้มข้นตรา Heavy boy กลิ่นสละ ที่มีสีสังเคราะห์เกินมาตรฐานแล้ว นอกนั้นถือว่ามีการใช้สีสังเคราะห์ผสมเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ตารางที่นำมาแสดงนี้จะเรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์ตัวหลักจากน้อยไปมากและจะจัดเป็นกลุ่มตามกลิ่นของน้ำหวาน ชอบใจน้ำหวานรสหรือกลิ่นไหนก็เลือกกันได้เลย แต่อย่าลืมว่า น้ำหวานนั้นมีส่วนประกอบของน้ำตาลอยู่ค่อนข้างมาก ดื่มน้ำหวานมากระวังโรคอ้วนจะถามหา เดี๋ยวจะหาว่าไม่เตือน วิธีการเลือกซื้อ เลือกดื่มน้ำหวานเข้มข้น1. ไม่จำเป็นต้องเลือกซื้อน้ำหวานเข้มข้นที่มีราคาแพง 2. แม้น้ำหวานเข้มข้นส่วนใหญ่จะมีปริมาณสีสังเคราะห์เป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการรับสีสังเคราะห์เข้าสู่ร่างกาย ควรเลือกซื้อน้ำหวานที่มีปริมาณสีสังเคราะห์ที่มีปริมาณน้อยไปจนถึงปานกลาง(ของแต่ละตาราง) 3. ในการทำน้ำหวานให้เจือจางควรปฏิบัติตามฉลากที่แสดงคือ ผสมน้ำหวาน 1 ส่วน กับน้ำสะอาด 4 ส่วน เพื่อไม่ให้ร่างกายได้รับความหวาน และปริมาณสีสังเคราะห์มากเกินไป(แม้ว่าจะมีปริมาณสีสังเคราะห์อยู่ในเกณฑ์ก็ตาม) 4. ผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ควรบริโภคน้ำหวาน เพราะร่างกายของผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีน้ำตาลในเลือดมากเกินกว่าที่ตนเองจะใช้ได้หมดอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลในรูปของอาหารประเภทใดก็ตาม งดได้ควรงด 5. เตือนตัวเองตลอดเวลาว่า น้ำที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายคือน้ำดื่มสะอาด(น้ำเปล่า) ไม่ควรดื่มน้ำหวานบ่อย ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคอ้วนได้(และจะมีโรคอื่น ๆ ตามมาอีกหลายโรค) เกณฑ์การควบคุมปริมาณสีที่ใช้เติมลงไปในน้ำหวานเข้มข้นกลุ่มสีแดง -สีปองโซ 4 อาร์  เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีเอโซรูบีน เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเหลือง-สีตาร์ตราซีน , สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีเขียว-สีฟาสต์กรีน FCF  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กลุ่มสีน้ำเงิน-สีอินดิโกร์คาร์มีน  เติมได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม-สีบริลเลียนท์บลู FCF เติมได้ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม กรณีที่น้ำหวานมีสีผสมกันอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป -ต้องมีปริมาณรวมของสีทุกชนิดไม่เกินปริมาณของสีที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุด เช่น น้ำหวานที่มีสีตาร์ตราซีนและสีบริลเลียนท์บลู FCF ผสมกันอยู่ ต้องมีปริมาณรวมของสี 2 ชนิด ไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่ออาหารที่จะใช้บริโภค 1 กิโลกรัม อันเป็นเกณฑ์ของสีบริลเลียนท์บลู FCF ที่กำหนดให้ใช้ได้น้อยที่สุดนั่นเอง อันตรายของสีสังเคราะห์1.พิษของสีในระยะยาว สีส้ม (ซันเซ็ต เย็ลโล FCF) ถ้ารับประทานเกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะทำให้ท้องเดินและน้ำหนักตัวลด 2.พิษที่เกิดจากโลหะที่ปนมากับสีผสมอาหาร ตะกั่ว ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ และโลหิตจาง อาการต่อมาคือเป็นอัมพาตตามแขนขา สมองไม่ปกติ ชักกระตุก เพ้อคลั่ง และหมดสติ สารหนู ทำอันตรายต่อระบบส่วนกลาง ระบบทางเดินอาหาร ทำให้ตับอักเสบ และมีอันตรายต่อวงจรโลหิตที่ไปเลี้ยงหัวใจ อาจทำให้หัวใจวายได้ • โครเมียม ทำให้เวียนศีรษะ กระหายน้ำอย่างรุนแรง ปวดท้อง อาเจียนจนหมดสติ และเสียชีวิตเนื่องจากปัสสาวะเป็นพิษ   ผลการวิเคราะห์น้ำหวานเข้มข้น โดยศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เขต 7 อุบลราชธานี(เรียงตามปริมาณสีสังเคราะห์จากน้อยไปหามาก)   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์* (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เมาเทนเบส กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 12.32 - 2 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ กรุงเทพฯ - - 39.31 - 3 เฮลซ์บลูบอย กุหลาบ เชียงราย - - 39.63 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 วินนี่ บราวน์ ครีมโซดา เชียงราย 7.35 1.96 - - 2 โกลเด้นแพน ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 8.37 0.72 - - 3 โกลเด้นแพน ครีมโซดา กรุงเทพฯ 9.76 1.43 - - 4 ท็อปส์ ครีมโซดา สงขลา 10.14 1.46 - - 5 ท็อปส์ ครีมโซดา กรุงเทพฯ 10.15 0.85 - - 6 ออคิด ครีมโซดา กรุงเทพฯ 16.73 1.30 - - 7 ออคิด ครีมโซดา บุรีรัมย์ 18.14 1.25 - - 8 เมาเทนเบส ครีมโซดา กรุงเทพฯ 18.65 1.16 - - 9 แคนดี-เคน ครีมโซดา เชียงราย 19.51 1.35 - - 10 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา บุรีรัมย์ 20.03 2.24 - - 11 แคนดี้บอย ครีมโซดา สุราษฎร์ธานี 21.12 1.50 - - 12 ซันนี่บอย ครีมโซดา สงขลา 23.63 3.74 - - 13 แคนดี้บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 24.88 2.37 - - 14 ซันนี่บอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 26.25 3.62 - - 15 เฮลซ์บลูบอย ครีมโซดา กรุงเทพฯ 28.10 2.07 - - 16 Heavy boy ครีมโซดา ขอนแก่น 36.50 2.25 - -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1 เฮลซ์บลูบอย ซาสี่ กรุงเทพฯ ตรวจไม่พบสีสังเคราะห์ 2 เมาเทนเบส ทับทิม กรุงเทพฯ 14.07 - 25.04 - 3 วินบอย เพียเรด บุรีรัมย์ 22.96 2.03 - - 4 เฮลซ์บลูบอย สตรอเบอรี่ กรุงเทพฯ - - 42.39 -   ชื่อสินค้า กลิ่น สถานที่เก็บ ผลการตรวจวิเคราะห์ (มิลลิกรัม/กิโลกรัม) สีตาร์ตราซีน สีบริลเลียนท์บลู FCF สีเอโซรูบีน สีซันเซ็ต เย็ลโล FCF 1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 176 กระแสต่างแดน

กระแสต่างแดนฉบับนี้ขอพาสมาชิกไปที่เมืองบันดุง เมืองใหญ่อันดับสามของประเทศอินโดนีเซีย (รองจากจาการ์ตา และสุราบายา) ซึ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน Asean Automobile Safety Forum 2015 ในระหว่างวันที่ 21 – 22 กันยายน 2558    ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อินโดนีเซียมีจำนวนพาหนะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 200 ในขณะที่ถนนหนทางที่รองรับการสัญจรเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 35 ผู้ว่าเมืองบันดุงก็ยืนยันว่าร้อยละ 75 ของคนที่นี่ใช้รถยนต์หรือมอเตอร์ไซค์ส่วนตัว มีเพียงร้อยละ 25 เท่านั้นที่ใช้การขนส่งสาธารณะ ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม ปี 2557 ระบุว่าอินโดนีเซียมีพาหนะบนท้องถนน 113 ล้านคัน ในจำนวนนั้นเป็นรถมอเตอร์ไซค์ 93 ล้านคัน (ร้อยละ 83) และจำนวนอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับมอเตอร์ไซค์ก็มีมากถึงร้อยละ 70 จากอินโดนีเซียเรามาดูตัวเลขของทั้งโลกกันบ้าง ... ปัจจุบันค่าเฉลี่ยอัตราการตายจากอุบัติเหตุทางท้องถนนทั่วโลกอยู่ที่ 18 รายต่อประชากร 100,000 คน เมื่อดูเฉพาะในอาเซียนจะพบว่าอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 20.1 รายต่อประชากร 100,000 คน  (ประเทศไทยอยู่ที่ 33.5 ราย ในขณะที่สิงคโปร์อยู่ที่ 4.75 ราย) ที่น่าสนใจคือ ถ้าแบ่งกลุ่มประเทศต่างๆ เหล่านี้ออกเป็นกลุ่มรายได้น้อย รายได้ปานกลาง และรายได้สูง เราจะพบว่ากลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง (เช่น ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย) มีอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนเฉลี่ยสูงที่สุด (20.1 ต่อ 100,000) ตามด้วยกลุ่มประเทศรายได้น้อย (18.3) และกลุ่มที่รายได้สูง (8.7) หลายท่านอาจเคยได้ยินคำว่า “ทศวรรษแห่งความปลอดภัย” ที่สหประชาชาติได้กำหนดไว้ให้ช่วงปีค.ศ. 2011 ถึง 2020 เป็นช่วงเวลาที่จะลดอัตราการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทั่วโลกลงให้ได้ เป้าหมายคือการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุท้องถนนให้เหลือเพียง 7 รายต่อประชากร 100,000 คนภายในในปีค.ศ. 2020 สหประชาชาติเรียกร้องให้ประเทศสมาชิกมีการพัฒนาทาง 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการความปลอดภัยทางท้องถนน  ถนนที่ปลอดภัยขึ้น พาหนะที่ปลอดภัยขึ้น พฤติกรรมการขับขี่ที่ปลอดภัยขึ้น ไปจนถึงการบริหารจัดการในช่วงก่อนและหลังเกิดอุบัติเหตุ ในขณะประเด็นเรื่องความปลอดภัยบนท้องถนนในบ้านเรายังเน้นเรื่องเมาไม่ขับเป็นหลัก เพื่อนบ้านอย่างอินโดนีเซียและมาเลเซีย มีความเคลื่อนไหวด้านกฎหมายและด้านการทดสอบความปลอดภัยที่น่าสนใจทีเดียว อินโดนีเซียได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการเก็บข้อมูลอุบัติเหตุแล้ว เพราะตระหนักดีว่าข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ และที่ผ่านมาการบันทึกข้อมูลของเขายังขาดความเที่ยงตรง ทำให้ไม่สามารถได้ข้อมูลที่แท้จริงเพื่อนำมาออกแบบหาทางแก้ปัญหาได้  วิทยากรจากญี่ปุ่นเล่าให้ฟังว่าเวลาที่เกิดอุบัติเหตุนั้น ตำรวจญี่ปุ่นต้องกรอกข้อมูลไม่ต่ำกว่า 300 ช่องเลยทีเดียว และญี่ปุ่นก็ลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วยข้อมูลจากการวิเคราะห์อุบัติเหตุนั่นเอง ปีนี้การประชุม Asean Automobile Safety Forum ที่บันดุงเขาเน้นเรื่อง “พาหนะปลอดภัย” เพราะประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียนนั้นติดอันดับผู้ผลิตรถยนต์อันดับต้นๆ ของโลก ประเทศที่ผลิตรถมากเป็นอันดับหนึ่งในอาเซียนได้แก่อินโดนีเซีย ตามด้วยไทย และมาเลเซีย สมาชิกหลายท่านอาจเคยได้ยินชื่อองค์กรทดสอบรถที่มีคำต่อท้ายชื่อว่า NCAP ซึ่งย่อมาจาก New Car Assessment Program เช่น EURO NCAP (ยูโรเอ็นแคป) ที่มีหน้าที่ทดสอบความปลอดภัยของรถใหม่เมื่อเกิดการชน (ความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้โดยสารทั้งเด็กและผู้ใหญ่ รวมถึงผู้ใช้ถนน)     องค์กรดังกล่าวยังมีอยู่ในละตินอเมริกา ออสเตรเลีย และเกาหลี และขณะนี้เรามีองค์กรเพื่อทดสอบการชนรถของรุ่นที่ผลิตขายในภูมิภาคอาเซียนในนาม ASEAN NCAP แล้วเช่นกัน สำนักงานตั้งอยู่ที่เมืองมะละกา ประเทศมาเลเซีย องค์กรนี้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐบาลที่ชื่อว่า สถาบันวิจัยความปลอดภัยทางถนนแห่งมาเลเซีย Malaysia Institute of Road Safety Research หรือเรียกสั้นๆ ว่า MIROS   นั่นหมายความว่าเราสามารถคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ของ ASEAN NCAP ก่อนตัดสินใจซื้อรถได้เลยว่าคันไหนได้คะแนนความปลอดภัยไม่ต่ำกว่า 4 ดาว ซึ่งความจริงแล้วผู้ผลิตรถยนต์สามารถเพิ่มดาวได้ไม่ยากเลย ยกตัวอย่างรถ เกีย พิคันโต รุ่นที่ไม่มีถุงลมนิรภัย ไม่ได้คะแนนความปลอดภัยเลย แต่รถรุ่นที่มีถุงลมนิรภัย 6 ใบและมีระบบควบคุมเสถียรภาพรถ กลับได้คะแนนความปลอดภัยไปถึง 4 ดาว เดวิด วอร์ด เลขาธิการของ Global NACP ระบุว่าค่าใช้จ่ายในการทำให้รถยนต์ผ่านมาตรฐานขั้นต่ำด้านความปลอดภัยอยู่ที่คันละไม่เกิน 200 เหรียญ (ประมาณ 7,000 บาท) ที่สำคัญวันนี้ถุงลมนิรภัยมีต้นทุนต่ำกว่าเดิมถึงร้อยละ 60 เหลือเพียงแค่ใบละ 50 เหรียญ (ประมาณ 1,800 บาท) และระบบควบคุมเสถียรภาพรถก็ไม่เกินคันละ 50 เหรียญเช่นกัน ที่สำคัญถ้าผู้บริโภคทั่วโลกรวมตัวกันเรียกร้องให้เกิดมาตรฐานเดียวกันได้ ค่าใช้จ่ายในการผลิตรถยนต์ก็จะยิ่งถูกลงไปได้อีก เขาบอกอีกว่า เรื่องนี้ภาครัฐสามารถเข้ามามีบทบาทเพื่อความปลอดภัยของประชาชนได้ด้วยการลงนามรับรองแผนแม่บทเพื่อความปลอดภัยในท้องถนน ปี 2020 ที่ว่าด้วยข้อกำหนดด้านมาตรฐานความปลอดภัยรถยนต์ หากมติดังกล่าวผ่าน รถที่ผลิตใหม่ทุกรุ่น (ทั้งที่ผลิตเองและนำเข้า) ในประเทศนั้นๆจะต้องผ่านมาตรฐานขั้นต่ำการชนทั้งด้านหน้า ด้านข้าง มาตรฐานเข็มขัดนิรภัยและตัวยึด ภายในปี ค.ศ. 2016 และในขั้นต่อไปรถยนต์ใหม่ทุกคันจะต้องผ่านมาตรฐานเรื่องระบบควบคุมเสถียรภาพของรถและการคุ้มครองคนเดินถนน ภายในปี ค.ศ. 2018 และภายในปี 2020 รถทุกคันไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าจะต้องผ่านมาตรฐานดังกล่าว เพราะ “ความปลอดภัยไม่ใช่สิทธิพิเศษ”

อ่านเพิ่มเติม >