ฉบับที่ 252 กรแสะต่างแดน

โหวตได้หรือไม่        สวิตเซอร์แลนด์ใช้ระบบประชาธิปไตยทางตรงที่ประชาชนสามารถโหวตได้ทุกเรื่อง แต่มีอย่างน้อยหนึ่งเรื่องที่แต่ละรัฐในประเทศยังเห็นไม่ตรงกัน มีจึงมีเพียงบางรัฐ (จากทั้งหมด 26 รัฐ) เท่านั้นที่จัดโหวตในเรื่องดังกล่าว         ประเด็นที่ว่าคือ “การขอให้บริการขนส่งมวลชนเป็นสิ่งที่รัฐจัดให้ฟรี”           เนื่องจากรัฐธรรมนูญของสวิตเซอร์แลนด์กำหนดว่า ผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะจะต้องจ่ายค่าเดินทางในราคาที่สมเหตุสมผล ในขณะที่บางคนมองว่าการจ่ายภาษีก็ถือเป็นการร่วมจ่ายอย่างเหมาะสมแล้ว ผู้บริหารบางรัฐยังตีความว่าการจัดโหวตเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้         แต่บางรัฐอย่างรัฐโว (Vaud) ตีความว่ารัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม “บริการขนส่งสาธารณะฟรี” และให้ความเห็นว่า รัฐมีสิทธิตัดสินใจได้ว่าจะช่วยจ่ายค่าโดยสารให้เต็มราคาหรือไม่ เขาเลือกใช้หลักการ...หากเกิดข้อสงสัย ให้เลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนไว้ก่อน อยากเปลี่ยนน้ำ         เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านในยุโรป เดนมาร์กยังล้าหลังในเรื่องการลดปริมาณแคลเซียมในน้ำประปา ชาวบ้านจึงต้องหาวิธีจัดการกับน้ำกระด้างกันเอง บ้างก็พยายามขูดหินปูนในท่อ บ้างก็ลงทุนซื้อเครื่องกรองมาติดฝักบัว  นอกจากจะเปลืองสบู่ แชมพู และผงซักฟอก เพราะ “ตีฟองไม่ขึ้น” แล้ว การอาบน้ำกระด้างยังทำให้ผิวแห้ง หนังศีรษะเป็นรังแค แถมยังผมชี้ฟูอีกด้วย         แต่ข่าวดีคือโคเปนเฮเกนกำลังจะมีระบบกรองน้ำประปาส่วนกลางแล้ว บริษัท Hofor ผู้ให้บริการน้ำประปาในเมืองนี้และพื้นที่โดยรอบประกาศว่าเขาจะลดความกระด้างของน้ำลงให้ได้ภายในปี 2028         ด้านทันตแพทย์ออกมาเตือนว่า “น้ำอ่อน” จะทำให้คนฟันผุมากขึ้น โดยอ้างอิงงานวิจัยที่ยืนยันว่าเด็กในโคเปนเฮเกนมีฟันผุน้อยกว่าเด็กในเขตอื่นอย่างมีนัยยะสำคัญ (งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากเด็กอายุ 15 ปี จำนวน 52,000 คน)           มารอดูกันว่าเขาจะแก้ปัญหานี้อย่างไร   ป้องกันหลงผิด         ตั้งแต่ 1 มีนาคมเป็นต้นไป รัฐบาลเมืองหางโจวจะเริ่มใช้กฎหมายอนุรักษ์ชาหลงจิ่ง สินค้าที่ได้รับการคุ้มครองเพราะเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเมืองหางโจว         ด้วยชื่อเสียงด้านคุณภาพและราคาระดับพรีเมียม ทำให้มี “ชาแอบอ้าง” เข้ามาบุกตลาด ส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรตัวจริงจากไร่ชาในเขตรอบทะเลสาบซีหู และหุบเขาในเมืองหางโจว          เพื่อพิทักษ์ “แบรนด์หลงจิ่ง” เขาจึงมีกฎหมายกำหนดรหัสเฉพาะ ที่ประกอบด้วยชื่อบริษัทผู้ผลิต ปีที่ผลิต ซีเรียลนัมเบอร์ และรหัสที่ต้องแจ้งบนกระป๋องนี้ จะไม่สามารถนำไปโอน แจกจ่าย หรือให้ใครยืมได้ ผู้ฝ่าฝืนมีค่าปรับ 10,000 หยวน สำหรับบุคคลธรรมดา และ 50,000 หยวน สำหรับนิติบุคคล          นอกจากนี้ยังต้องมีแพลตฟอร์มออนไลน์ทำหน้าที่ควบคุม ดูแล จัดการ ตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย รวมถึงการแบ่งปันข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้วย          ไร่ชาที่นี่จะมีการสำรวจทุก 10 ปี เพื่อดูแลจัดการเรื่องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และทำฐานข้อมูลพื้นที่แต่ละแปลง รวมถึงการใช้ปุ๋ยธรรมชาติตามที่รัฐส่งเสริม โปรฯ โรแมนติก         ข่าวดีสำหรับคู่รักที่พร้อมจะแต่งงานกันภายในปีนี้ แคว้นลาซิโอ อิตาลี เขาจัดโปรโมชันเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในธุรกิจงานแต่ง และโปรฯ นี้สามารถเข้าร่วมได้ทั้งคนอิตาเลียนและคนต่างชาติ            ตามโครงการ “In Lazio with Love” คู่สมรสที่จัดพิธีแต่งงานในเขตลาซิโอ ไม่ว่าจะเป็นในกรุงโรม ชายหาด หรือปราสาทยุคกลาง หรือโลเคชันยอดนิยมอื่นๆ จะสามารถนำใบเสร็จมาขอเบิกเงินคืนได้สูงสุด 2,000 ยูโร (ประมาณ 73,000 บาท)         ใบเสร็จที่ว่านี้อาจมาจากบริษัทรับวางแผนงานแต่ง ร้านเช่าชุดแต่งงาน ผู้ให้เช่าสถานที่ ร้านดอกไม้ บริษัทรับจัดเลี้ยง รวมไปถึงค่าจ้างช่างภาพ หรือค่าเช่ารถด้วย ทั้งนี้เขาสงวนสิทธิ์ให้ส่งใบเสร็จได้ไม่เกิน 5 ใบ         ข่าวบอกว่าเขาตั้งงบไว้ 10,000,000 ยูโร เพื่อช่วยเหลือธุรกิจงานแต่งที่ซบเซาลงอย่างเห็นได้ชัด ในปี 2019 มีคู่รักมาจัดงานแต่งที่นี่ถึง 15,000 คู่ แต่สองปีกว่าหลังการระบาดของโควิด-19 เขามีโอกาสจัดงานแต่งไปเพียง 9,000 งานเท่านั้น       สควิดฟาร์ม        โลกกำลังจะมีฟาร์มปลาหมึกแห่งแรกในปี 2023 ภายใต้การดำเนินการของบริษัท Nueva Pescanova ของสเปน ที่ปาดหน้าคู่แข่งจากญี่ปุ่นและเม็กซิโกไปได้         บริษัทอ้างว่าเขาลงทุนไปกว่า 65 ล้านยูโร หรือประมาณ 2,400 ล้านบาท และได้ศึกษาวิจัยจนพบ “สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม” กับการเลี้ยงปลาหมึกในถัง เขาจะผลิตปลาหมึกได้ถึงปีละ 3,000 ตัน ภายในปี 2026 ทั้งนี้เขาไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเพราะถือเป็น “ความลับทางการค้า”         แต่นักวิชาการที่รีวิวผลงานวิจัยกว่า 300 ชิ้น ฟันธงว่า “ฟาร์มปลาหมึก” มันเป็นไปไม่ได้ การถูกจำกัดบริเวณอาจทำให้ปลาหมึกเครียดและทำร้ายกันเอง นักสิ่งแวดล้อมก็มองว่านี่เป็นการสวนกระแสเรื่องความยั่งยืน ปัจจุบันเราใช้ 1 ใน 3 ของสัตว์ทะเลที่จับได้มาเป็นอาหารสัตว์  แล้วเรายังจะต้องนำไปใช้ในฟาร์มปลาหมึกอีกหรือ ชาวประมงรายย่อยก็อาจได้รับผลกระทบ ในขณะที่เชฟบอกว่า “มันไม่อร่อย”            ขณะนี้ฟาร์มดังกล่าวอยู่ระหว่างรอการอนุมัติ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 249 แผนปั่นให้โลกเย็น

        ในการประชุมภาคีสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ COP26 ที่เมืองกลาสโกว สก็อตแลนด์ ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา สหพันธ์จักรยานแห่งทวีปยุโรป (European Cycling Federation) ได้เข้ายื่นจดหมายเปิดผนึกที่ลงนามโดย 350 องค์กรทั่วโลก เรียกร้องให้รัฐบาลประเทศต่างๆ ส่งเสริมการใช้จักรยานอย่างเร่งด่วนและกว้างขวาง เพื่อลดการปล่อยก๊าซที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น        โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้จักรยานในเมืองใหญ่ ร้อยละ 80 ของก๊าซเรือนกระจกเกิดขึ้นในเขตเมือง และโดยเฉลี่ย ผู้คนประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศก็อยู่ในเมือง การสำรวจยังพบว่าคนเหล่านี้ยืนยันจะเป็นคนเมืองต่อไป แม้เหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น การล็อคดาวน์ หรือวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงโควิดจะทำให้การใช้ชีวิตลำบากไปบ้างก็ตาม         หลายเมืองใหญ่ในโลกได้ลงมือส่งเสริมการใช้จักรยานอย่างจริงจัง ประสบความสำเร็จบ้าง ประสบปัญหาบ้าง เรามาดูตัวอย่างกัน...         -        อัมสเตอร์ดัม เมืองหลวงของเนเธอร์แลนด์ อยู่ในอันดับต้นๆ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้จักรยาน การออกแบบผังเมืองที่ดี การจำกัดความเร็วรถยนต์ รวมถึงขนาดของเมืองที่เล็กกะทัดรัด ทำให้มากกว่าร้อยละ 50 ของการเดินทางในเมือง เป็นการเดินทางด้วยจักรยาน ปัจจุบันเมืองนี้มีประชากร 1.15 ล้านคน จักรยานจดทะเบียนมากกว่า 900,000 คัน และเลนจักรยานความยาว 400 กิโลเมตร ไม่เพียงอัมสเตอร์ดัมเท่านั้น ร้อยละ 25 ของประชากรเนเธอร์แลนด์ใช้จักรยานในการเดินทางประจำวัน อัตราการถือครองจักรยานเฉลี่ยทั้งประเทศอยู่ที่คนละ 1.33 คัน (ด้วยสถิติโจรกรรมจักรยานที่ค่อนข้างสูง คนส่วนหนึ่งจึงถีบจักรยานเก่าๆ ไปทำงาน แต่จะมีจักรยาน “ไฮเอนด์” อีกคันจอดไว้ที่บ้าน สำหรับใช้ปั่นออกทริปไกลๆ)  ข้อมูลของประเทศเนเธอร์แลนด์ระบุว่าการใช้จักรยานจะทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์คนละ 21 กรัมต่อกิโลเมตร ขณะที่การใช้รถส่วนตัวทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ 271 กรัมต่อคน/ต่อกม. แม้แต่การใช้รถเมล์ก็ยังทำให้เกิดก๊าซดังกล่าวถึงคนลั 101 กรัม/กม.  และการเปลี่ยนจากรถยนต์มาใช้จักรยานยังลดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ลงได้ร้อยละ 65 แถมประหยัดเงินได้ปีละไม่ต่ำกว่า 8,000 ยูโรเนเธอร์แลนด์ยังเคาะตัวเลขออกมาว่าทุกๆ 1 กิโลเมตรที่จักรยานผ่านไป จะทำให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ 0.68 ยูโร ในขณะที่รถยนต์ส่วนบุคคลและรถเมล์จะเป็นภาระต่อสังคมคิดเป็นมูลค่า 0.37 และ 0.29 ยูโร ต่อกิโลเมตร         -        ลอสแอนเจลิส เป็นอีกตัวอย่างที่น่าสนใจ เพราะเขาให้ความสำคัญกับการใช้จักรยานด้วยสาเหตุด้านสุขภาพ ทั้งๆ ที่โครงสร้างเดิมจะเป็นเมืองที่เกิดมารองรับการใช้รถยนต์ (อาจจะมากกว่าเมืองอื่นๆ ในอเมริกาด้วยซ้ำ) เมืองนี้ติดอันดับเมืองที่ประชากรวัยเด็กเป็นหอบหืดมากที่สุดในอเมริกา และปัญหารถติดสาหัสในเมืองก็ทำให้เกิดการสูญเสียทางผลิตภาพไปปีละไม่ต่ำกว่า 19,000 ล้านเหรียญ นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่พบว่ามีการแจ้งเหตุความรุนแรงในครอบครัวผ่านสายด่วน 911 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9 ในวันที่รถติดหนัก ที่สำคัญยังพบว่ารถเมล์เมืองนี้วิ่งได้เร็วแค่ประมาณ 17 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ต่างอะไรกับความเร็วจักรยาน และการเดินทางส่วนใหญ่ (เกินร้อยละ 65) มีระยะไม่เกิน 8 กิโลเมตร สิ่งที่เป็นปัญหาของแอลเอคือเรื่องความปลอดภัย สถิติการเกิดอุบัติเหตุกับผู้ใช้จักรยานที่นี่ค่อนข้างสูง แต่ความนิยมใช้จักรยานที่เพิ่มสูงขึ้นหลังการระบาดของโควิด-19 ก็ทำให้ภาครัฐหันมาให้ความใส่ใจปรับปรุงเรื่องนี้อย่างจริงจังขึ้น         -        ปารีส เมืองนี้ไม่พูดถึงไม่ได้เพราะเขามีนายกเทศมนตรีที่มุ่งมั่นจะปรับปรุงคุณภาพอากาศและคุณภาพชีวิตของผู้คน ด้วยการส่งเสริมให้การขี่จักรยานเป็นโหมดการเดินทางหลักของคนเมือง            หลังได้รับตำแหน่งในปี 2014  แอนน์ อิดัลโก ก็ทำตามสัญญาที่ให้ไว้เมื่อตอนหาเสียง เช่น ลดพื้นที่จอดรถยนต์ ลดกำหนดความเร็วรถจาก 50 กิโลเมตร/ชม. เป็น 30 กิโลเมตร/ชม.) เพิ่มทางจักรยาน ทั้งโดยการเปลี่ยนจากเลนรถยนต์และการสร้างเลนจักรยานขึ้นใหม่ รวมๆ แล้วปารีสได้ทางจักรยานมา 300 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 150 ล้านยูโร         ปัจจุบัน “เครือข่าย” จักรยานในปารีสมีระยะทางมากกว่า 1,000 กิโลเมตร ในนี้รวมเอา “เลนโคโรนา” หรือเส้นทางชั่วคราวสำหรับใช้จักรยานในช่วงโควิด-19 ระบาดหนัก ระยะทาง 52 กิโลเมตร ที่ถูกเปลี่ยนมาเป็นเลนจักรยานถาวรอยู่ด้วย           นอกจากนี้ใจกลางกรุงปารีส ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญหลายแห่ง เช่น มหาวิหารนอร์เทรอดาม ยังถูกประกาศให้เป็นเขตห้ามรถยนต์เข้า นับว่ากร้าวมากสำหรับเมืองที่มีนักท่องเที่ยวมาเยือนมากที่สุดในโลก  ล่าสุด แอนน์ อิดัลโก นายกเทศมนตรีปารีสสองสมัยคนนี้ได้ประกาศลงสู้ศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศสในปีหน้า (2022) แน่นอนว่าเธอยังชูนโยบายเดิม ด้วยการประกาศว่าจะทำให้ปารีสเป็นเมืองที่ใช้จักรยานได้ 100% ภายในปี 2026         หันมาดูกรุงเทพมหานครของเรา เมืองที่มีผู้อยู่อาศัยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคน มีรถยนต์และจักรยานยนต์ไม่ต่ำกว่า 9 ล้านคัน และคุณภาพอากาศแบบคุ้มดีคุ้มร้าย ผู้คนมีทางเลือกสองทางเมื่อใช้ขนส่งสาธารณะ (จะเลือกแบบคุณภาพดีราคาแพง หรือแบบคุณภาพต่ำราคาถูก) ไหนจะปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อ ในขณะที่คนพร้อมจะใช้จักรยานยังต้องยอมรับความเสี่ยงและความลำบากยุ่งยาก         ทั้งหมดนี้ดูแล้วยังไม่ใช่ “ชีวิตดีๆ ที่ลงตัว” แต่ปัญหานี้ยังไม่เคยถูกจัดการอย่างเป็นระบบ  ได้แต่หวังว่าผู้ที่จะได้รับเลือกตั้งเป็นผู้ว่ากรุงเทพมหานครคนใหม่ ในการเลือกตั้งที่ (คาดว่า) จะมีขึ้นในเดือนเมษายนปีหน้า จะมีนโยบายยกระดับคุณภาพอากาศและคุณภาพชีวิตของคนกรุงเทพฯ ได้อย่างยั่งยืนเสียที https://www.france24.com/en/france/20211103-residents-react-to-mayor-hidalgo-s-plans-for-a-100-bikeable-parishttps://www.dutchcycling.nl/en/https://www.amsterdamtips.com/cycling-in-amsterdamhttps://cop26cycling.com/https://streetsforall.org/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 239 กระแสต่างแดน

โรงเรียนปิด “โรงไฟฟ้า” เปิด               รัฐบาลญี่ปุ่นต้องปิดโรงเรียนประถมจำนวนมากเนื่องจากอัตราการเกิดที่ต่ำเป็นประวัติการณ์อย่างต่อเนื่อง จึงเกิดโจทย์ให้คิดกันว่าจะใช้ประโยชน์จากโรงเรียนปลดระวางเหล่านี้อย่างไร         จนกระทั่งบริษัท ELM Inc. ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เขาเสนอขอใช้พื้นที่ในสระว่ายน้ำของโรงเรียน (เพราะทักษะการว่ายน้ำถือเป็นสิ่งจำเป็น โรงเรียนประถมของญี่ปุ่นส่วนใหญ่จึงมีสระว่ายน้ำ) เป็นพื้นที่สำหรับแผงโซลาลอยน้ำ ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหาโอเวอร์ฮีทในวันที่ร้อนเกินไป ส่วนห้องเปลี่ยนเสื้อผ้าที่อยู่ใกล้ๆ ก็ดัดแปลงเป็นห้องเก็บคอนเวอร์เตอร์         โรงเรียนแรก (จากทั้งหมด 15 โรง ในโครงการ) ที่เริ่มติดตั้งระบบดังกล่าว อยู่ในเขตมินามิซัตสึมะ ในจังหวัดคาโกชิมะ สระว่ายน้ำทั้งสองแห่งของโรงเรียน (สระ 25 เมตร และสระ 6 เมตร) ที่รองรับแผงโซลาเซลล์ได้รวมกัน 160 แผง จึงเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าปีละ 61,000 กิโลวัตต์ชั่วโมง ที่บริษัทจะขายให้กับ คิวชูอิเล็กทริคพาวเวอร์ ผู้ประกอบการด้านพลังงานในภูมิภาคตะวันตกเฉียงใต้ของญี่ปุ่นปั่นไม่ทันจีน         ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 2030 ยอดขายจักรยานจะแซงยอดขายรถยนต์ ... อย่างน้อยๆ ก็ในยุโรป เนเธอร์แลนด์มีประชากร 17 ล้านคน แต่มีจักรยาน 22.1 ล้านคัน ในขณะที่ร้อยละ 52 ของผู้อยู่อาศัยในเมืองโคเปนเฮเกน ใช้จักรยานในการเดินทาง         ร้อยละ 90 ของจักรยานที่คนยุโรปใช้ ผลิตในประเทศจีน เมื่อจีนลดกำลังการผลิต/ปิดโรงงาน และการขนส่งทำได้ล่าช้า (เพราะคอนเทนเนอร์จะจัดส่งได้ก็ต่อเมื่อมันบรรจุสินค้าจนเต็มเท่านั้น) บวกกับความต้องการใช้จักรยานที่เพิ่มขึ้นในยุคที่โควิด-19 ระบาด ยุโรปจึงขาดแคลนจักรยาน         ความจริงยุโรปก็ผลิตจักรยานเองได้ เขาผลิตได้ถึง 2.7 ล้านคันในปี 2019 ผู้ผลิตรายใหญ่สามอันดับแรกได้แก่ โปรตุเกส อิตาลี และเยอรมนี แต่จักรยานเหล่านี้ราคาแพงกว่าจักรยานจีนซึ่งได้รับความนิยมมากกว่า         คณะกรรมาธิการยุโรปกำลังทำการสอบสวนกรณีที่จีนส่งจักรยานไฟฟ้าเข้าไปตีตลาดในราคาต่ำ (เพราะได้รับการสนับสนุนต้นทุนจากรัฐบาล) จนอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุโรปไม่ต่ำกว่า 800 ราย  บ่อขยะของยุโรป        โปแลนด์รับขยะหลายพันตันในยุโรปเพื่อ “นำมารีไซเคิล” โดยร้อยละ 70 ของขยะเหล่านั้นมาจากเยอรมนี ที่เหลือเป็นขยะจากสหราชอาณาจักร อิตาลี และออสเตรีย         เกิดเหตุการณ์โป๊ะแตกเมื่อธุรกิจรับกำจัดขยะในโปแลนด์ถูกเปิดโปงว่า ไม่ได้รีไซเคิลขยะที่ได้มา หลักๆแล้วนำไปทิ้งรวมในบ่อขยะ ซ้ำร้ายบางทีก็เผาทิ้งเพื่อประหยัดต้นทุน ให้ชาวบ้านและสิ่งแวดล้อมแบกรับผลกระทบ           บริษัทเหล่านี้หาประโยชน์จากข้อตกลงของสหภาพยุโรปที่อนุญาตให้ “ขยะรีไซเคิล” เช่นกระดาษ หรือพลาสติก สามารถถูกส่งไปยังประเทศในกลุ่มโดยไม่ต้องรายงานตัวเลข เขาก็เลยให้ต้นทางจั่วหัวขยะสารพัดชนิดว่าเป็น “ขยะรีไซเคิล” ก่อนส่งมาที่โปแลนด์        รัฐบาลโปแลนด์ยังโดนวิจารณ์หนัก ที่อนุญาตให้เอกชนไปรับขยะจากประเทศอื่น ทั้งๆ ที่ขยะในบ้านตัวเองก็ยังจัดการไม่ได้ ไม่มีโรงงานรีไซเคิลมากพอ ไม่มีเทคโนโลยีการกำจัดที่ถูกต้อง ที่สำคัญคือไม่มีการกำกับดูแลหลังออกใบอนุญาตด้วย ปัญหาไม่มุ้งมิ้ง         เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เดนมาร์กสั่งปิดฟาร์มมิงค์ทั้งประเทศ (1,500 กว่าฟาร์ม) และสั่งประหารชีวิตมิงค์ทั้ง 17 ล้านตัว ตามด้วยการออกกฎห้ามการเลี้ยงมิงค์ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2021 หลังพบว่ามีตัวมิงค์ติดเชื้อโควิดชนิดที่กลายพันธุ์ ซึ่งอาจมีผลต่อการแพร่ระบาดและเป็นอุปสรรคต่อความพยายามในการหาวิธีรักษาโรคโควิด-19         แต่คำสั่งนี้ผิดกฎหมายและกำลังมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาสอบสวนความผิดของรัฐบาล         อย่างไรก็ตามล่าสุดสภาเดนมาร์กมีมติอนุมัติเงินเยียวยา 1,600 ล้านยูโร (ประมาณ 58,000 ล้านบาท) ให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงมิงค์และพนักงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ธุรกิจนี้ไม่ล้มละลายและสามารถเปิดดำเนินการได้ใหม่หลังสิ้นสุดการแบน         แน่นอนว่ามีคนไม่เห็นด้วยมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เชื่อว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่ควรจะมีอยู่ในโลก จึงไม่มีความจำเป็นจะต้องช่วย “ฟื้น” มันขึ้นมาอีก         เดนมาร์กเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกขนมิงค์รายใหญ่ที่สุดในโลกมันยังไม่สุก         คนอเมริกันคุ้นเคยกับอาหารแช่แข็งมานาน สถิติระบุว่าผู้คนไม่ต่ำกว่า 130 ล้านคนพึ่งพา “อาหารเย็นแช่แข็ง” แต่งานวิจัยล่าสุดโดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐฯ (USDA) กลับพบว่าพวกเขาเตรียมอาหารกันอย่างไม่ถูกสุขลักษณะและมัก “การ์ดตก” ไม่ระมัดระวังเหมือนเตรียมอาหารดิบ           จากการสังเกตกลุ่มตัวอย่างที่มาประกอบอาหารแช่แข็งในครัวทดลอง จำนวน 403 คน เขาพบว่าร้อยละ 97 ไม่ล้างมือระหว่างประกอบอาหาร (อีกร้อยละ 3 ที่ล้าง ก็ทำได้ไม่ถูกต้อง) และคนส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้อุณหภูมิอย่างน้อย 165 องศา ในการประกอบอาหารแช่แข็ง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้เพราะเชื้อโรคยังไม่ตาย         ยิ่งกว่านั้น ร้อยละ 61 ของคนที่เคยป่วยหรือมีคนในครอบครัวล้มป่วยเพราะอาหาร ก็ยังไม่ “เปลี่ยน” วิธีการเตรียมอาหารอีกด้วย         USDA แนะนำให้จัดการกับอาหารแช่แข็งเสมือนเราจัดการกับอาหารดิบไว้ก่อนเป็นดีที่สุด แม้ว่ามันจะดูเป็นสีน้ำตาล หรือมีรอยไหม้เหมือนผ่านการทำสุกแล้วก็ตาม   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 ห้ามรถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซลวิ่งในหลายๆ เมืองของประเทศเยอรมนี !!!

       มีข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ประเด็น “สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังชีพได้อย่างปลอดภัย เป็นสิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคแต่ละคนไม่สามารถควบคุมได้เอง สิทธินี้ต้องยอมรับถึงความต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตลอดชั่วอายุเราไปจนชั่วอายุลูกหลานอีกด้วย”       โดยที่ ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป (Court of European Union) พิพากษายืนยันมาตรการ การห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งในเมือง ที่มีคุณภาพอากาศย่ำแย่ ในหลายๆ เมืองของประเทศเยอรมนี โดยก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดของเยอรมนี ก็ได้มีคำพิพากษาห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งในเมือง ใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮัมบวร์ก  มิวนิค สตุ๊ตการ์ต โคโลญจน์  ดึสเซลดอร์ฟ เบอร์ลิน ดอร์ตมุน ฯลฯ และอีกกว่า 20 เมืองที่จะมีกฎหมายห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งในเมืองเหล่านี้ เนื่องจากเมืองใหญ่ประสบปัญหา มีปริมาณ NOx  (ออกไซด์ของไนโตรเจน) เกินค่ามาตรฐาน  มาตรการการห้ามรถยนต์ดีเซล โดยเฉพาะรถบรรทุกวิ่งในเขตเมือง คือ การแบ่งโซนนิง พื้นที่ที่มีความเข้มข้นของ ก๊าซ NOx ที่มีค่าสูงจนเกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมือง พื้นที่ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ห้ามผ่าน จะมีผลต่อรถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซล ต่ำกว่ามาตรฐาน EUEO 4 และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 ก็จะขยายมาตรการห้ามรถยนต์ที่เครื่องดีเซล ต่ำกว่ามาตรฐาน EURO 5 วิ่งในพื้นที่ ที่ได้ประกาศไว้ด้วยเช่นกัน       อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้น สำหรับ ผู้พิการที่จำเป็นต้องใช้รถเก่า และประชาชนที่อาศัยในเขตห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งผ่าน แต่อาจต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ในกรณีพิเศษ โดยจะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ตั้งเป้า การห้ามรถยนต์ดีเซลที่มีมาตรฐานต่ำกว่า EUEO 6  วิ่งในพื้นที่ห้ามวิ่ง ภายในปี 2564 เพิ่มเติมอีกด้วยรัฐบาลมีมาตรการอย่างไรในการรับมือกับคำพิพากษาของศาลปกครอง-  รัฐบาล ไม่ห้ามรถยนต์ดีเซล มาตรฐาน Euro 4 และ Euro 5 แต่รถต้องปล่อย NOx ไม่เกิน 270 mg/ km -  รัฐบาลมีงบสนับสนุนการเปลี่ยนรถใหม่ (Exchange Premium) ในกรณีที่รถยนต์ต่ำกว่ามาตรฐาน Euro 4 และ Euro 5 ที่ปล่อยก้าซ NOx เกินกว่า 270 mg/km โดยมีเงื่อนไขว่า เงินสนับสนุนนี้จะให้กับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ ห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่ง หรือต้องขับรถเข้ามาทำงาน ในพื้นที่ห้ามวิ่งและครอบครองรถยนต์มาตรฐานดังกล่าว ซึ่งเงินสนับสนุนของรัฐบาลนี้มีวัตถุประสงค์ในการชดเชย มูลค่ารถที่เสียไปจาก มาตรการทางกฎหมายห้ามรถยนต์ดีเซลมาตรฐานต่ำๆ วิ่งในพื้นที่ต้องห้ามวิ่ง-  มาตรการการเปลี่ยนชิ้นส่วน หรือระบบกรองอากาศ มาตรการนี้ ผู้ผลิตรถยนต์หลายเจ้าได้ยกเลิกการพัฒนาระบบกรองอากาศ แต่ บริษัทรถยนต์ชั้นนำไม่ว่าจะเป็น Mercedes, Volkswagen และ BMW พร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการนี้ให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในวงเงินไม่เกิน 3000 ยูโร ถ้า ลูกค้าไม่สนใจในมาตรการรับเงินสนับสนุน (Exchange Premium) จากรัฐบาล          ในกรณีที่ประชาชนละเมิดกฎหมาย ฝ่าฝืนมาตรการการห้ามรถวิ่งผ่านพื้นที่ดังกล่าว จะต้องเสียค่าปรับ ประมาณ 80 ยูโร หรือ อาจต้องเสียค่าปรับถึง 160 ยูโร หากทางเจ้าหน้าที หรือ ศาลเห็นว่าจงใจฝ่าฝืนมาตรการหรือคำสั่งดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 102 มีอะไรอยู่บนไข่ ในยุโรป

ช่วง ฉลาด ช้อปดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค บทความฉบับนี้ เกิดจากความซุกซน ของคนชอบกินไข่ บวกกับเรื่องไข่ไก่ปลอมจากเมืองจีน เลยมีเรื่องของไข่ในยุโรปมาฝากครับ ตอนที่ผมเรียนอยู่ในเยอรมนีนั้น ก็มักจะซื้อไข่เก็บไว้ทำอาหารรับประทาน ซึ่งเป็นไข่ไก่ บรรจุอยู่ในกล่องอยู่ 10 ฟอง (คนยุโรปไม่ค่อยรับประทานไข่เป็ด) อาจจะเป็นสีขาว หรือ สีน้ำตาลก็ได้ เพราะฉะนั้นถ้าเราไปเดินตลาด แล้วเจอไข่สีขาวๆ ฟองโตๆ ให้เราคิดไว้ก่อนเลยว่า เป็นไข่ไก่ คนยุโรปเขาเป็นคนละเอียด แม้แต่ไข่ ซึ่งตามสามัญสำนึกของเรา มันก็ไม่น่าจะไปยุ่งอะไรกับมันมากนัก เขาก็จัดการให้มันพูดกับผู้บริโภคได้ วิธีการก็คือ กำหนดหมายเลขลงบนไข่ โดยตัวเลขจะมีความหมายดังนี้   หมายเลขตัวแรก หมายถึง ไข่ที่ได้จากการเลี้ยงโดยวิธีต่างๆ คือ0 เป็นไข่ที่ได้จากการเลี้ยงแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม Ecology Products 1 ไข่ที่ได้จากการเลี้ยงปล่อย (ในทุ่ง) (Free range egg)2 ไข่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงกว้าง แต่มีบริเวณให้ไก่เดินและบิน ได้บ้าง3 ไข่ที่ได้จากการเลี้ยงในกรงแคบ ซึ่งจัดว่าเป็นการเลี้ยงไก่ ที่จัดว่า ทรมานสัตว์ เนื่องจากไก่ไม่สามารถเดินไปไหนได้เลย นอกจากนอนอุดอู้อยู่ในกรง เพื่อการวางไข่เท่านั้น   หมายเลขโค้ดถัดมา จะบอกถึงประเทศ ? เป็นแหล่งที่มาของไข่ เช่น AT ประเทศออสเตรีย BE ประเทศเบลเยียม DE หมายถึงประเทศเยอรมนี NL ประเทศเนเธอร์แลนด์หมายเลขโค้ด7 หลัก ซึ่งจะบ่งบอกถึงฟาร์มที่ผลิตไข่ โดยหมายเลขสองหลักแรก จะ เป็นรหัสที่ระบุว่ามาจากมลรัฐใด (ประเทศเยอรมนี แบ่งการปกครองออก เป็น 16 รัฐ) สำหรับข้อกำหนดในเรื่องนี้ เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ ปี 2004 เพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงแหล่งที่มาของไข่ที่เป็นอาหารหลัก สามารถเลือกบริโภคได้ตรงตามรสนิยม ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และการไม่สนับสนุนการทรมานสัตว์ ซึ่งทางยุโรปมีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ที่เข้มงวด และเพื่อเป็นการป้องกัน ผู้บริโภคที่สูงอายุ จากการติดเชื้ออาหารเป็นพิษ อันมีสาเหตุจากการบริโภคไข่ไก่ โดยเฉพาะหากไข่ไก่ไม่สุก การติดหมายเลขบนไข่นั้น จะช่วยให้ผู้บริโภค สามารถเลือกไข่อย่างมั่นใจได้ว่ามาจากฟาร์มเลี้ยงที่ปลอดภัย แต่การที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในตลาดบ้านเรานั้น ยังอาจเป็นเรื่องของอนาคตครับ เพราะยังมีเรื่องเร่งด่วนพื้นฐานอีกหลายเรื่อง เช่น ตารางการเดินรถโดยสารประจำทาง ที่บอกเวลาของรถแต่ละสาย ที่ป้ายรถเมล์ที่จะต้องมีการปรับปรุงขนานใหญ่ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบและสามารถเลือกได้อย่างอิสระจริงๆ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 150 ทำไมต้องสนใจการเจรจาเอฟทีเอ ไทยกับสหภาพยุโรป

แล้วกระแสเรื่องการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ก็วนกลับมาสู่ความสนใจของสาธารณะอีกครั้ง หลังการเจรจารอบแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจในข้อเสนอต่างๆ และย้ำเจตนารมณ์ที่จะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2557 โดยจะมีการหารือในรายละเอียดมากขึ้นในการเจรจารอบสอง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นที่เชียงใหม่ ประเทศไทย ในระหว่างวันที่  16 – 20 กันยายน 2556 นี้ ในโลกที่ทุกประเทศต้องแข่งขันกันในด้านการค้าขาย แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการค้าระหว่างประเทศได้ การส่งออกถือเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเพราะเหตุที่ต้องแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจาะตลาด การส่งเสริมการส่งออก และการทำให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลงนั้นต้องทำผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่างๆ เอฟทีเอหรือความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement : FTA) ก็คือหนึ่งในเวทีการเจรจาที่สำคัญ เป็นระดับความสำคัญขนาดที่ว่ามีผลกระทบต่อความเป็นความตายของคนในประเทศเลยทีเดียว ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยได้ทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกับประเทศจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมานั้น น่าจะทำให้เราได้ประจักษ์ในการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจการค้าหลายประการ และขณะนี้เราก็มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดิมอีกครั้ง(อาจร้ายแรงกว่า) เมื่อจำต้องเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจบางส่วนเสียหายเนื่องจากการเสียสิทธิ จีเอสพี(การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร) ที่เคยทำให้ภาคธุรกิจนั้นได้เปรียบคู่แข่งขันจากชาติอื่นในการค้าขายกับสหภาพยุโรป   การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(Generalized System of Preferences) หรือ GSP เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในคราวประชุมของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development- UNCTAD) เมื่อปี 2507 ได้มีการเสนอให้มีสิทธิพิเศษ GSP ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต่อมาในคราวประชุม UNCTAD ปี 2511 ที่ประชุมจึงได้ยอมรับในระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP โดยกำหนดให้ระบบ GSP ที่ก่อตั้งขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย และอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ เป็นการให้สิทธิโดยทั่วไป(Generalized) ไม่หวังผลตอบแทน(Non - recipocal) และไม่เลือกปฎิบัติ (Non-discrimination) สำหรับประเทศไทยนั้นใช้สิทธิพิเศษฯ GSP จากประเทศต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2514   ถูกตัดสิทธิ จีเอสพี เหตุที่ไทยต้องเร่งเจรจาเอฟทีเอ “17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เพื่อประกาศรายการสินค้าตาม Section ที่จะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559” สหภาพยุโรป หรือ อียู เป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าส่งออกจากไทย ขณะนี้กำลังจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า จีเอสพี (Generalised System of Preferences) ที่เคยให้กับไทยมาเป็นระยะเวลานานหลายปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยุโรป เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ จีเอสพี จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วมันมีหลายคำตอบเพื่อการปรับตัวสำหรับโจทย์นี้ แต่สิ่งที่ถูกหยิบมาก่อนมาตรการอื่นใด(ประสานเสียงกันทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาล) คือ ไทยต้องเร่งเจรจา Free Trade Agreement (FTA) กับอียู เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษีครอบคลุมสาขาส่งออกสำคัญเช่นที่เคยได้รับตามระบบ จีเอสพี โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัด จีเอสพี ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงการเร่งรีบเจรจา เอฟทีเอ ระหว่าง ไทย-อียู นี้ไม่แน่ว่าอาจทำให้เสียมากกว่าได้...ก็เป็นได้ สินค้าส่งออกของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP เรียงตามมูลค่าส่งออก 10 อันดับแรก ในปี 2555 (ม.ค.-พ.ย.) สินค้า มูลค่าส่งออกไปอียู (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วนการพึ่งพาอียู (ร้อยละ) อัญมณีและเครื่องประดับ 1,501.7 11.8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 347.0 24.4 ปลาทูน่ากระป๋อง 262.6 10.9 กุ้งแปรรูป 225.7 16.7 อาหารสัตว์เลี้ยง 132.9 13.1 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 98.9 10.3 เนื้อสัตว์และของปรุงแต่ง ที่ทำจากเนื้อสัตว์ 63.3 23.2 ปลาแปรรูป 53.9 10.8 ผักกระป๋ องและแปรรูป 45.1 14.3 โกโก้และของปรุงแต่งที่ ทำจากโกโก้   15.0 20.4   ที่มา กระทรวงพาณิชย์ 10 มกราคม 2556 คนไทยรวยขึ้น ต้นเหตุสำคัญการถูกตัดจีเอสพีจากอียู ในวันที่ 1 ม.ค. 2557 อียูจะทำการทบทวนประจำปีเพื่อตัดชื่อประเทศที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ จากระบบ GSP โดยเน้นหลักการที่จะให้ประโยชน์เฉพาะประเทศที่มีความต้องการจริง หากประเทศไทยยังคงได้รับการจัดอันดับโดย World Bank ตาม GNI per capita ให้เป็น upper-middle income country อีกในปี 2556 นี้  เท่ากับว่าไทยจะครองตำแหน่งนี้ติดกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิ GSP จากอียูอีก ไม่ว่าในสินค้าใดๆ โดยที่อียูให้เวลาปรับตัว 1 ปีหมายความว่าสิทธิ GSP จากอียูอาจจะหมดไปสำหรับทุกตัวสินค้าจากไทยในต้นปี 2558 วันที่ 4 ธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป และได้มอบหมายผู้แทนการค้าไทย (ดร.โอฬาร ไชยประวัติ) เป็นหัวหน้าคณะเจรจา และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่ประชุมรัฐสภาร่วมฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา กรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปจะครอบคลุมความ   ตกลงด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเจรจาอาจแยกเป็นรายฉบับ รวมทั้งภาคผนวกและเอกสารแนบท้ายที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหน้า สาระสำคัญครอบคลุม 17 ประเด็น 1)            การค้าสินค้า 2)            พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 3)            กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 4)            มาตรการเยียวยาทางการค้า 5)            มาตรการปกป้องด้านดุลการชำระเงิน 6)            มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7)            อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 8)            การค้าบริการ 9)            การลงทุน 10)          การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ 11)          ทรัพย์สินทางปัญญา 12)          การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 13)          ความโปร่งใส 14)          การแข่งขัน 15)          การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 16)          ความร่วมมือ 17)          เรื่องอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากกรอบการเจรจาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะพบว่า การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียูนี้ มีหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เป็นต้น        จึงทำให้เกิดประเด็นร้อนในสังคมขึ้นมาทันใดว่า รัฐบาลจะเร่งเจรจาไปเพื่อผลทางการค้าของสินค้าส่งออกไม่กี่กลุ่ม แล้วยอมละทิ้งผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่หรือ?   สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าไทยขาดความระมัดระวังในการเจรจา - ยารักษาโรคถูกผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้น ยาราคาแพงจะคงอยู่ในตลาดยาโดยไม่มียาที่ถูกกว่าเข้ามาแข่งขัน ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา เข้าไม่ถึงการรักษา เพิ่มภาระกับงบประมาณของประเทศ และระบบหลักประกันสุขภาพจะถูกสั่นคลอน  หากมีการยอมรับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา - เปิดทางให้บรรษัทการเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตเกษตรกรรมและอาหารจะสูงขึ้นอย่างมาก หากยอมรับประเด็น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ - เปิดทางให้บริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลงทุน ทางการเกษตร ด้วยเงินทุนเทคโนโลยี และการเอื้อประโยชน์ทางนโยบายจากรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินของตัวเอง อาหารถูกผูกขาดและถูกกำหนดราคาโดยบริษัทจากการเปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตร - ขณะที่ยารักษาโรคมีราคาแพง สินค้าที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจะได้รับการลดภาษีอย่างมโหฬาร เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ จะมีราคาถูก กระตุ้นให้เกิดนักดื่ม-นักสูบหน้าใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาระโรคใน ระยะยาว และยังจำกัดอำนาจของรัฐในการออกนโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภค แอลกอฮอล์และยาสูบ - เอฟทีเอนี้ จะเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข, การคุ้มครองผู้บริโภค, ปกป้องสิ่งแวดล้อม, ช่วยเหลือเกษตรกร, อุดหนุนเอสเอ็มอี ด้วยกลไกที่เรียกว่า “กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน” ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียก ค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดิน หากรัฐบาลกำหนดนโยบายที่กระทบต่อการหากำไรของ บริษัทข้ามชาติ - ปิดกั้นการเข้าถึงความรู้ทั้งหนังสือและโลกออนไลน์ ผ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายที่เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ ในองค์การการค้าโลก (WTO) ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ได้ ค้าน FTA แต่เราต้องการ FTA ที่เป็นธรรมกับประชาชน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch “เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้มีแค่เรื่องยา แต่ยังมีเรื่องทรัพยากรชีวภาพอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำคือ ทำอย่างไรก็ตามเพื่อให้การเจรจา ผลของการเจรจาเป็นประโยชน์กับประชาชน กับสังคมมากที่สุด โดยที่พยายามลดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดไม่ใช่เป็นเหมือนกับการเจรจา FTA ครั้งที่ผ่านๆ มา โดยต้องใช้ข้อมูล ใช้การศึกษา ใช้งานวิจัยให้มากที่สุด ถ้าอะไรเป็นผลกระทบไม่ควรจะยอมรับ อะไรที่ยังพอได้ก็ยังสามารถกำหนดระยะเวลาออกไปได้ เพื่อให้มีผลบังคับช้าหน่อย แต่อะไรที่ยอมได้และเป็นประโยชน์กับประเทศไทยก็ยอม แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกดดันของภาคธุรกิจเท่านั้น ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้มาจากการที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาระดับล่างๆ ทำให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ GSP หมายความว่าประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งสินค้าไปขายจะเสียภาษีน้อยกว่า แต่เมื่อไหร่ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอีก ต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งช่วงทศวรรษหลังนี้ประเทศไทย ธุรกิจของไทยมีศักยภาพสูงขึ้นมา ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับสูง 3 ปีติดต่อกัน และเรายังมีสินค้าจำนวนมากที่เคยได้สิทธิ GSP และไปครองตลาดเกิน 17.5% สินค้าบางประเภทที่เขากำหนดก็เกิน 14.5% สินค้าหลายตัวของไทยทยอยหมดสิทธิได้รับ GSP ไปแล้ว และที่ล็อตใหญ่ๆ จะหมดสิ้นปี 2557 เพราะฉะนั้นภาคธุรกิจควรจะปรับตัวเองก่อนหน้านี้ 3-4 ปีแล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่กลับพบว่าภาคธุรกิจไทยไม่ยอมทำอะไรเลย แต่มาเรียกร้องและกดดันรัฐบาลไทยว่าต้องไปเจรจา FTA ให้แล้วเสร็จในปีครึ่ง ให้มันใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2558 เพื่อให้ได้ต่อสิทธินี้อย่างถาวร ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งเพราะว่ามันจะทำให้การเจรจาด้อยประสิทธิภาพอย่างมาก อินเดียเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย เจรจามาแล้วกว่า 5 ปี กับสหภาพยุโรปยังไม่ยุติ สิงคโปร์ขนาดเป็นประเทศเล็กเขายังเจรจาไป 3 ปีใกล้จะเสร็จแล้ว” โฟกัสมาที่เรื่องยาเพราะไม่ใช่แค่ผลทางธุรกิจแต่มีต่อสุขภาพของคนไทยด้วย ? “เรื่องยา เราต้องบอกว่ามีความพยายามของภาคธุรกิจเอกชนที่จะได้ผลประโยชน์จากการคง สิทธิ GSP พยายามร่วมมือกับสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ ใช้คำเรียกยาชื่อสามัญว่าเป็นการทำปลอม ซึ่งน่าแปลกใจมากที่เขาใช้คำเดียวกับทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยใช้บอกกับ ผู้สื่อข่าวว่ายาชื่อสามัญของไทย หรือยาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นยาปลอมจำนวนมาก แต่คำว่าปลอมของเขาจงใช้ในเรื่องของการปลอมทรัพย์สินทางปัญญา แต่คำว่ายาปลอมในบ้านเราเป็นยาปลอมเรื่องคุณภาพ ยาปลอมตาม พ.ร.บ.ยา ซึ่งพวกนี้ไม่สนใจ พยายามที่จะขยายนิยามออกมาเพื่อที่จะกีดกันยาชื่อสามัญไม่ให้เข้าสู่ตลาด ยาชื่อสามัญมีความสำคัญอย่างไร ก็ย้อนหลังกับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีการผู้ขาดเพียงเจ้าเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ต่อคนประมาณ 3-4 หมื่นบาท ตอนนั้นมีเพียงผู้ติดเชื้อที่อยู่ในโครงการทดลองเท่านั้นถึงจะได้ใช้ แต่เมื่อมีการผลิตได้มากขึ้น ประเทศบราซิลผลิตได้ อินเดียผลิตได้ ประเทศไทยผลิตได้ ราคาลดลงเกินกว่าครึ่ง และเมื่อเวลาผ่านมา เมื่อมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันในตลาดมากขึ้นราคาก็ลดลง ปัจจุบันยา จีพีโอเวียร์ของเราอยู่ที่ประมาณ 700-800 บาทต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ยาต้นแบบเองก็ลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันบาท แบบนี้มันทำให้คนเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าสามารถช่วยชีวิตคนได้ เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวเขาได้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่ายาชื่อสามัญมีความสำคัญ เราไม่ได้คัดค้านระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิทธิผูกขาดกับผู้คิดค้นนวัตกรรมที่มีความใหม่ และมีนวัตกรรมที่สูงขึ้น แต่สมควรได้รับในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการตกลงขององค์กรการค้าโลกระบุไว้ที่ 20 ปี แต่อยู่ๆ คุณบอกว่าจะมาขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี เนื่องจากความล่าช้าในการออกสิทธิบัตร และบวกความล่าช้าในการอนุมัติทะเบียนยา ซึ่งคุณไม่เคยไปดูเลยว่าความล่าช้านั้นเกิดจากเจ้าหน้าที่หรือเกิดจากผู้ที่ มาขอสิทธิบัตรหรือมาขอขึ้นทะเบียนยา ทั้งๆ ที่กรณีการขอสิทธิบัตรถ้าของดีจริง ได้สิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ขอยื่นแล้ว ถ้าใครจะไปผลิต ถึงแม้จะยังไม่ได้สิทธิแต่สามารถยื่นโนติสไปให้ผู้ผลิตเหล่านั้นได้ ซึ่งบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยก็ทำอยู่บ่อย เพียงแต่ถ้ายาของคุณไม่ได้คุณภาพจริง ไม่สมควรได้สิทธิบัตรจริง คนอื่นก็กล้าผลิตเพราะรู้ว่าไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิบัตร หรือแม้แต่กรณีที่มีบางคนอ้างว่าการขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาถึง 13 ปีจึงอนุมัตินั้น คิดว่าตัวเลขนี้เป็นการโกหก ถ้าจริงออกมาบอกเลยว่าเป็นยาตัวไหน เพราะว่าจากงานวิจัยเราพบว่าบริษัทยาข้ามชาติที่มาขอสิทธิบัตรในประเทศไทย พยายามขอถ่วงเวลาในการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ พยายามยืดเวลาออกไป 3-5 ปี เพราะรู้อยู่แล้วว่าในช่วงเวลานั้นถึงอย่างไรก็ได้รับความคุ้มครอง เพราะฉะนั้นก็ไม่รีบร้อนยื่นให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ ถ้ามีความล่าช้าในส่วนของผู้อนุมัติคุณก็ต้องไปเร่งกระบวนการอนุมัติ ไม่ใช่มาบอกว่าคุณควรต้องได้รับการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี” จริงๆ แล้วของไทยใช้เวลาขอขึ้นทะเบียนนานแค่ไหน ? “มันไม่ได้นานขนาดนั้นหรอก อย่างขอขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ปี จะมีบางเคสที่ใช้เวลา 2 ปี แต่มีไม่เยอะ ซึ่งเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงได้ เขามีตัวเลขเหล่านี้ทั้งหมด ส่วนเรื่องการขอสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 4-5 ปี ที่เป็นปัญหาแบบนี้ ก็อย่างที่บอกว่างานวิจัยพบว่าบริษัทที่มาขอสิทธิบัตรไม่ยอมยื่นจรวจสอบ คือยื่นขอแล้ว จะมีระยะเวลาที่จะมาขอยื่นตรวจสอบ หากไม่มาขอยื่นตรวจสอบ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วเขาก็ยืดเวลาออกไป 3-5 ปีอย่างนี้ ยืดจนสุดขีดของเขาเพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นจะได้รับการคุ้มครองถ้าสิทธิบัตร ของเขาดีจริง ฉะนั้นไม่ได้เป็นปัญหาจากหน่วยงานราชการของไทยเลย ซึ่งประเด็นนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวกับยามักจะไม่รู้ และยังมีสมาคมบริษัทยาข้ามชาติพยายามไปกรอกหูคนเหล่านี้ให้มาพูดจาโกหก ประชาชน เป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ ยังไม่นับเรื่องที่คุณพยายามใช้ Data Exclusivity เพื่อที่จะได้ผูกขาดข้อมูลทางยา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบริษัทยาข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนแล้ว ห้ามคนอื่นมาขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะอ้างว่าเป็นโมเลกุลใหม่ แต่กลับไม่มีระบุไว้ตรงไหนเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ เนื้อหาคำขอที่ยุโรปยื่นให้อินเดีย ยื่นให้อาเซียนไม่มีคำขอใดบอกเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ พวกนี้ต้องการใช้วิธีการนี้สำหรับตัวยาที่หมดสิทธิบัตรแล้วแต่ยังไม่ได้ขึ้น ทะเบียน ยาตัวใหม่ที่คิดค้นขึ้นกว่าจะมาถึงบ้านเราก็ช้ามาก การขึ้นสิทธิบัตรถ้าขึ้นช้าจะถือว่าเก่า เพราะฉะนั้นก็ต้องมาขึ้น กว่าที่ยาจะมา กว่าจะมาขึ้นทะเบียนยาก็เก่าแล้ว ถ้าไม่ใช้วิธี Ever greening หรือสิทธิบัตรต่อเนื่อง ไม่ใหม่มากแต่ก็มาต่ออายุไปเรื่อยๆ คือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถตั้งราคาได้โดยไม่มีผู้แข่ง เพราะเมื่อไหร่ที่มีคนมาแข่งราคาจะลดลงไปกว่าครึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยายามทำคือการขัดขวางบริษัทยาชื่อสามัญ และตอนนี้มีความพยายามที่จะบอกว่ายาชื่อสามัญในไทยไม่มีศักยภาพ ซึ่งคิดว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้คงจะเข้าใจผิด ในวงธุรกิจเดียวกันเขาเป็นที่ยอมรับว่าบริษัทยาชื่อสามัญในไทยมีศักยภาพ อย่างมาก และตอนนี้หลายเจ้าทำส่งขายในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่ส่งขายในประเทศไทยด้วย” มีข้อเสนอจากภาคธุรกิจว่า เมื่อเป็นกังวลเรื่องยาแพงก็ให้เจรจากันในเรื่องของยาแพง ถ้าหากประเทศไทยยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป แล้วเจรจาในประเด็นเรื่องยาแพงอย่างเดียวจะเกิดผลอย่างไรกับประเทศไทย ? “เกิดผลกระทบแน่นอน ต้องบอกก่อนว่าคนที่พูดแบบนี้คือไม่เข้าใจระบบการควบคุมราคายาของประเทศไทย เลย ว่าบ้านเราไม่เคยมีระบบนี้อยู่ในประเทศ ดังนั้นเราจะไปคุมราคาเขาไม่ได้ มีแต่กรมการค้าภายในที่บอกว่าราคายาต้องไม่ขายเกินกว่าที่ระบุไว้ที่กล่อง แต่สามารถขายถูกกว่านี้ได้ บ้านเราไม่มีระบบควบคุมราคายา เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าไปเจรจา แล้วบอกเขาว่าหากได้ตรงนี้ไป จะต้องขายไม่เกินเท่านี้ๆ แต่คุณไม่มีกลไกอะไรเลยที่จะไปควบคุมเขา แล้วบอกไว้ก่อนเลยว่า หลัง FTA มีผลบังคับใช้กฎแบบนี้ออกไม่ได้ เพราะถ้าออกมาแล้วบริษัทยาสามารถเอาไปฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย เอาไปฟ้องร้องกับอนุญาโตตุลาการ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาการควบคุมราคายาของไทยคือ การที่เมื่อไหร่ก็ตามมีคู่แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ราคายาในตลาดจะลดลง หรือเขาใช้วิธีการซื้อจำนวนมากแล้วต่อรองราคายา แต่ว่าถ้าซื้อจำนวนมากแล้วมีขายแค่เจ้าเดียวก็ไม่ได้ลดราคาเหมือนกัน ประเทศไทยมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทำหน้าที่ผลิตยา จะมียาตัวใหม่ๆ ออกมาเพื่อยันราคายาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องอีกข้อหนึ่งคือการตัดแขนตัดขา อภ. คือให้ให้ยกเลิกกฎระเบียบให้ซื้อยากับ อภ.ก่อน ถ้าไม่เกิน 5% ซึ่งปกติโรงพยาบาลแทบไม่ได้ใช้กฎนี้แล้ว เพราะว่าเงินที่ได้รับจากสปสช.จะเข้าไปในลักษณะของเงินบำรุง ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎนี้  ดังนั้นข้อดีของการมี อภ.คือเอาไว้ยันราคา แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำให้ อภ.ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ เลยไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เมื่อนั้นเท่ากับว่าตัดแขน ตัดขา อภ. เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่เมื่อก่อนเคยมีองค์การเภสัชกรรมคล้ายกับบ้าน เรา แต่แปรรูปไป หลังจากนั้นยาในมาเลเซียแพงมาก ทุกวันนี้มีผู้ติดเชื้อและใช้ยาเรื้อรังในมาเลเซียมาซื้อยาในประเทศไทยเยอะ มาก เวลาที่คุณเป็นคนรวยมากๆ คุณไม่เข้าใจหรอกว่าคนเข้าไม่ถึงยาเป็นอย่างไร คนที่ผ่านช่วงเวลาเห็นเพื่อนล้มตายเป็นจำนวนมากทั้งๆ ที่มียาแต่มันแพงเกินไปมันผ่านมาแล้วทั้งนั้น ถึงต้องลุกมาบอกว่าไม่เฉพาะยาของผู้ติดเชื้อ แต่รวมถึงยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย และจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพตาย เพราะว่าถ้าระบบหลักประกันสุขภาพไม่สามารถซื้อได้เพราะยาราคาแพง ระบบหลักประกันสุขภาพก็จะกลายเป็นประกันชั้น 2 ในที่สุดก็จะล้มเหลวถ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ สิ่งที่ระบบหลักประกันสุขภาพต้องทำคือการต่อรองราคายาให้ถูก การที่มีภาคธุรกิจมาบอกว่าให้ต่อรองราคายาจากเขาลงนั้นเป็นไปไม่ได้ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นสหรัฐอเมริกากดดันประเทศไทยให้แก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ปี 2528-2535 โดยอ้างว่าจะตัดสิทธิ GSP ไทย พวกธุรกิจที่ส่งออกก็บอกว่าให้ยอมรับไปเถอะเดี๋ยวก็มีการควบคุมราคายาโดยคณะ กรรมการสิทธิบัตรด้านยา จนในที่สุดคณะกรรมการสิทธิบัตรด้านยาก็ถูกยกเลิกไป เพราะว่ามีความตกลงลับๆ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาขณะนั้นว่า ความจริงจะให้ยกเลิกคณะกรรมการชุดนี้หลังจากที่ออกกฎหมายแล้ว ในที่สุดก็ไม่มีตัวควบคุมราคายา แต่คุณได้ประโยชน์จากการได้สิทธิ GSP และขณะนี้ 20 ปี ต่อมาคุณยังจะทำแบบนี้ใช่ไหม คือไม่เคยเลยที่จะคิดถึงประชาชนคนอื่น ไม่เคยเลยที่จะคิดว่าจริงอยู่ที่ธุรกิจของคนทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า แต่ว่าผลประโยชน์มันต้องถูกแบ่งปันบ้าง คนที่ยากจนควรมีตาข่ายทางสังคมมารองรับ เราไม่ได้บอกว่าคุณเจรจา FTA ไม่ได้ คุณเจรจาได้ แต่อะไรที่มันเป็นผลกระทบระยะยาว งานวิจัยที่ชี้ออกมาว่าการผูกขาดข้อมูลทางยาทำให้เกิดผลกระทบ 8 หมื่นล้าน จากการขยายอายุสิทธิบัตรอีก 2 หมื่นล้าน ยังไม่นับเรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของประเทศอีกประมาณแสนล้าน ถามว่าตรงนี้ใครจะรับภาระ จะเป็นเรื่องผลได้กระจุก ผลเสียกระจายอีกใช่ไหม” จากสถานการณ์ที่คณะเจรจาถูกกดดันจากภาคธุรกิจทำให้ขณะนี้แนวโน้มของการเจรจาคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ? “ตอนนี้ต้องบอกว่าต้องแยกก่อนว่า เราจะเห็นความพยายามของหัวหน้าคณะเจรจาคุณโอฬาร ไชยประวัติ และกรมทรัพย์สินทางปัญหาให้ อย. ดูเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาเป็นหลัก แต่พี่คิดว่าว่าเขายังให้ดูน้อยเกินไป เพราะว่าดูแค่การขยายอายุสิทธิบัตรและการผูกขาดข้อมูลทางยา แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือการแก้ไขการบังคับใช้ กฎหมายของไทยให้เข้มข้นขึ้น ให้ยึดจับยาได้โดยอ้างว่าเป็นเป็นยาปลอม หรือยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเวลาที่บอกว่ายานี้เป็นยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ฉะนั้นทริปส์ไม่เคยกำหนดว่าให้สามารถยึดจับได้ เพราะว่าสิทธิบัตรต้องไปฟ้องร้องกันในชั้นศาล และดูถึงระดับโมเลกุล ใช้ตาดูไม่ได้ แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือให้ยึดจับเลย ไม่ว่าจะละเมิดหรือยัง หรือเกือบจะละเมิดให้ยึดจับได้ ตามกระบวนการของศาลไทยหากจะมาร้องขอให้ยึดจับโดยอ้างว่าเป็นการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า หรือว่าทรัพย์สินทางปัญญาต้องวางเงินประกัน เพราะศาลเกรงว่าอาจจะมีการกล่าวหาอย่างไม่สมเหตุผล เป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่สหภาพยุโรปเขียนเลยว่า “ห้ามวางเงินประกัน” ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ใช้วิธีรังแกเขาเลยสิ แถมยังบอกว่าสามารถหยุดได้ทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นคนส่งวัตถุดิบ คนส่งของ ร้านขายยา แล้วใครยังจะอยากขายยาชื่อสามัญอีก ทั้งที่จริงๆ ไม่ใช่ยาปลอม เพราะยาชื่อสามัญจะผลิตได้ก็เมื่อสิทธิบัตรยานั้นหมดอายุไปแล้ว พี่เลยเข้าใจเลยว่าตอนนี้ทำไมทั้งสหภาพยุโรป ทูตสหภาพยุโรป และสภาหอการค้าไทยและพรีม่าพยายามโจมตีเรื่องยาปลอม ทั้งที่จริงๆ เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลอยากมาก เพราะว่าเขาเอาไปรวมกับยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยาที่ลักลอบเอาเข้ามา ซึ่งตอนนี้อย.ไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ตรวจจับอยู่แล้ว ตอนนี้เป็นปัญหามาก คิดว่าฝ่ายคณะเจรจาเขาเริ่มดูเรื่องพวกนี้มากขึ้น ทางอย.เขาพยายามที่จะทำเตรียมพร้อมรับการเจรจา และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่ อย.ร่วมกับสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันทำ ตรงนี้ก็จะเสร็จประมาณเดือนก.ย. นี้ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเจรจา FTA ไทย ที่มีงานศึกษาที่พร้อมมูลมากกว่าครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้ใช้งานวิจัยพวกนี้ไหม ถ้าภาคธุรกิจยังมากดดันอยู่ทุกวันว่าต้องเจรจาให้เสร็จภายในสิ้นปีหน้า พวกนี้มันต้องเจรจากันอย่างรอบคอบ ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอย่างนี้แล้วจะเขียนอย่างไรให้รอบคอบ เขียนหลบอย่างไรให้ผลกระทบเกิดน้อยที่สุด ซึ่งถามว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะอินเดียเจรจากับสหภาพยุโรปจนสหภาพยุโรปยอมที่จะไม่เรียกร้องการขยาย อายุสิทธิบัตร ไม่เรียกร้องการผูกขาดข้อมูลทางยาแล้ว ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้าอนุสัญญา UPOV 1991[1] ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้า สนธิสัญญาบูดาเปส ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้ากลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน เหลือที่ยังยันกันอย

อ่านเพิ่มเติม >