ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พัฒนาเครือข่ายผู้บริโภค ‘เก็บตัวอย่าง-เฝ้าระวังอาหาร ยา สินค้าสุขภาพ’ รุกสร้างมาตรฐานความปลอดภัยในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเก็บตัวอย่าง-เฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพ” เพื่อเสริมความรู้และพัฒนาศักยภาพในการเก็บตัวอย่างสินค้าและบริการประเภทอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพให้กับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนส่วนกลางและภูมิภาค เพื่อนำไปใช้ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคให้เข้าถึงระดับท้องถิ่นอย่างมีมาตรฐานถูกต้องและมีประสิทธิภาพวันนี้ (10 ต.ค.60) เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ - มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดกิจกรรมฝึกอบรมปฏิบัติการ การเก็บตัวอย่างและเฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพ ภายใต้ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมความรู้ให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชน สามารถลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่าง ทำการบรรจุ-จัดส่งผลิตภัณฑ์เพื่อส่งตรวจ และเฝ้าระวังสินค้าหรือบริการด้านสุขภาพในท้องถิ่นได้ถูกต้องมีประสิทธิภาพ โดยการบรรยายความรู้การเก็บตัวอย่างเพื่อการทดสอบอาหาร ยาและเครื่องสำอาง จาก ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร อดีตอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และคณะ และกิจกรรมฝึกปฏิบัติการเก็บตัวอย่างสินค้านายสมนึก งามละมัย ผู้ประสานงานโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ กล่าวว่า “การมีส่วนร่วมในการทดสอบสินค้าหรือบริการของเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจากทั่วประเทศ มีผลดีต่อการสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่กว้าง และครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น ทำให้ผลการทดสอบโดยรวม มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น” “ผู้เข้าอบรมเองจะได้รับความรู้พื้นฐานในการเลือกซื้อสินค้า ดูข้อมูลบนฉลาก ทำให้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคมีความเชี่ยวชาญในการสุ่มเก็บตัวอย่าง โดยเฉพาะสินค้าในตลาดชุมชนที่ดูมีความสุ่มเสี่ยงน่าสงสัยว่าอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ไปยังห้องแล็บเพื่อตรวจสอบ และนำผลการทดสอบที่ได้ไปใช้ประโยชน์ในการคุ้มครองผู้บริโภค” นายสมนึกกล่าว นางสาวมลฤดี โพธิ์อินทร์ นักวิชาการด้านอาหาร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ความรู้และเทคนิคการสุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าประเภทอาหาร ยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำอย่างถูกต้องและรวดเร็ว เช่น การคำนวณปริมาณที่ต้องสุ่มเก็บ เลขล็อตการผลิตที่ต้องเป็นชุดเดียวกัน การถ่ายภาพตัวอย่าง การบันทึกข้อมูลฉลากของตัวอย่างอาหารติดบนตัวอย่าง เหล่านี้ต้องทำอย่างระมัดระวังและเข้มงวด เพราะการเก็บตัวอย่างที่ถูกต้องจะสามารถนำส่งตรวจวิเคราะห์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสินค้าประเภทอาหารหากเก็บผิดพลาด อาจไม่สามารถส่งตรวจได้ เป็นการเสียเวลาและงบประมาณ”นางสาวบารีย๊ะ ยาดำ ผู้ประสานงานสมาคมผู้บริโภคจังหวัดสงขลา กล่าวว่า “อำเภอหาดใหญ่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีสินค้าหลากหลาย มีแหล่งตลาดสดจำนวนมาก สินค้านำเข้าส่วนใหญ่มาจากจีนและมาเลเซียซึ่งไม่มีฉลากภาษาไทย เช่น อาหารแห้งและเครื่องสำอางที่มีความสุ่มเสี่ยง วันนี้ได้เรียนรู้การอ่านและดูฉลากและเลือกเก็บตัวอย่างประเภทอาหารสด อาหารแห้ง สุ่มเก็บอย่างไรให้ครอบคลุม โดยเรามีเครือข่ายอาสาทำงานในพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมายังไม่รู้เทคนิคการเก็บตัวอย่าง จะนำความรู้ในวันนี้ไปถ่ายทอดให้กับคนทำงานพื้นที่ต่อไป” นางสาวพวงทอง ว่องไว กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคเหนือและผู้ประสานงานศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดพะเยา กล่าวว่า “ปัญหาการเฝ้าระวังสินค้าและบริการสุขภาพในภาคเหนือ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านำเข้าจากประเทศจีน เช่น ขนม อาหารแห้ง ยา และเครื่องสำอาง ซึ่งไม่มีฉลากภาษาไทย มีการตรวจพบสเตียรอยด์ในยาสมุนไพรจีน จากรถขายเร่ที่มาจำหน่ายตามชุมชน ซึ่งเป็นยาที่ไม่ได้จดแจ้ง มาอบรมวันนี้ได้เทคนิคการอ่านฉลาก วิธีการเลือกเก็บตัวอย่างสินค้า การคำนวณปริมาณสินค้าที่ต้องส่งต่อ การบันทึกข้อมูลเอกสารที่นำส่งเพื่อตรวจสอบสินค้า ซึ่งทั้งหมดจะได้นำไปใช้ทำงานในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”ทั้งนี้ ภายหลังการฝึกอบรมเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนจะลงพื้นที่เก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในชุมชนส่งศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการมาตรฐานต่อไป ซึ่งจะส่งเสริมและยกระดับมาตรฐานการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนครอบคลุมพื้นที่ระดับประเทศมากขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 195 ระวังผู้สูงวัยอายุจะสั้นจากผลิตภัณฑ์กตัญญู

ช่วงเทศกาลสงกรานต์ ผมมีโอกาสไปร่วมงานรดน้ำขอพรผู้สูงวัยหลายแห่ง  ทำให้มีโอกาสพูดคุยกับผู้สูงวัยหลายท่าน  สิ่งหนึ่งที่ผู้สูงวัยมักจะถามบ่อยๆ ก็คือเรื่องปัญหาสุขภาพ และการใช้ยาต่างๆ  ทำให้ทราบว่า นอกเหนือจากยาที่ต้องทานประจำแล้ว หลายท่านยังรับประทานผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีกมากมาย บางชนิดเป็นผลิตภัณฑ์ราคาแพงจากต่างประเทศด้วยซ้ำ เมื่อคุยไปคุยมาจึงทราบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้ล้วนส่งมาจากลูกหลานของท่านที่ไปทำงานในที่ห่างไกล ท่านบอกว่าลูกหลานมักจะซื้อผลิตภัณฑ์แปลกๆ ส่งมาให้ ทีแรกท่านเองก็ไม่อยากจะกิน  แต่ขัดลูกหลานไม่ได้ ยอมรับว่าเวลาทานมันก็มีความสุขที่ลูกๆ หลานๆ ยังไม่ลืม ยังกตัญญู คอยดูแลอยู่เสมอๆ ผมมีโอกาสตามไปดูที่บ้าน  เลยได้เห็นผลิตภัณฑ์มากมายหลายชนิดจริงดังที่ท่านเล่า  ท่านบอกว่าระยะหลังๆนี้ความดันโลหิตของท่านคุมไม่ค่อยอยู่ ไม่ยอมลดลง  พอสอบถามว่าทานอะไรเพิ่มหรือเปล่า ท่านก็บอกว่ามีแค่โสมชนิดแคปซูลอย่างเดียว  ผมพลิกดูฉลากพบว่าขึ้นทะเบียนเป็นยา มีคำเตือนในผู้ป่วยบางโรค เช่น โรคความดันโลหิต  ซึ่งในแง่ข้อมูลทางวิชาการเขาก็แนะนำในผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงต้องระมัดระวังอยู่แล้ว เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตของบางคนสูงขึ้นได้ ผู้สูงอายุอีกราย นำผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมาให้ ดู  จากฉลากแสดงส่วนประกอบเป็นพวกแร่ธาติและวิตามินชนิดต่างๆ  ฉลากมีรายละเอียดการได้รับอนุญาตถูกต้องครบถ้วน  ท่านเล่าว่าลูกชายไปทำงานที่กรุงเทพ ซื้อมาให้ ราคาขวดละหลายร้อยบาท ลูกชายสั่งให้ทานร่างกายจะได้แข็งแรง ท่านก็เลยทานเป็นประจำ วันละ 2-3 ครั้ง ผมถามท่านว่าทานแล้วมีอาการอะไรมั๊ย ท่านบอกว่าก็ปกติดีนี่  เสียแต่ว่าช่วงนี้คุมน้ำตาลไม่ค่อยอยู่  ผมถึงนึกขึ้นได้ รีบอ่านฉลาก  พบว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมค่อนข้างสูง ดังนั้นจึงไม่แปลกใจเลยที่ระดับน้ำตาลในเลือดของท่านจึงสูงขึ้น ส่วนอีกรายท่านมีอาการปวดข้อเข่า ท่านเล่าว่าในอดีตท่านเคยซื้อยาผงสมุนไพรไทยที่ฉลากเป็นรูปรากไม้สีเขียวมารับประทาน ต่อมามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาตรวจสอบยาให้  พบว่ามีสารสเตียรอยด์ ก็เลยหยุดรับประทาน หันไปรับประทานยาที่หมอโรงพยาบาลจ่ายแทน  แต่หลังๆ ก็มีคนรู้จักมาขายให้อีก เป็นยาสมุนไพรไทยเหมือนเดิม ฉลากก็คล้ายเดิม เพียงแต่ฉลากรูปรากไม้เป็นสีน้ำเงิน  คนขายบอกว่าสีนี้ไม่มีสารสเตียรอยด์ ท่านลองกินก็ได้ผล หายปวดเข่า ก็เลยทานมาเรื่อยๆพอยาหมดก็ฝากเขาซื้อ  บางครั้งก็ได้อีกชนิดที่ราคาแพงกว่า เป็นยาสมุนไพรไทยเหมือนเดิม แต่ฉลากเป็นรูปรากไม้สีส้ม  ท่านเลยเอายามาให้ผมลองตรวจสอบ  ผลปรากฏว่าทั้งชนิดที่ฉลากเป็นรูปรากไม้สีน้ำเงิน และรากไม้สีส้ม ต่างก็พบสารสเตียรอยด์ทั้งหมด ฟังเรื่องของผู้สูวัยแต่ละท่านก็อดเป็นห่วงไม่ได้ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย แต่ผู้สูงวัยหลายท่านยังต้องเสี่ยงจากการบริโภคผลิตภัณฑ์อันตราย ที่สำคัญมันเป็นความเสี่ยงที่ท่านไม่ได้หามาเอง แต่เป็นความเสี่ยงที่มาพร้อมๆกับความกตัญญูจากลูกหลาน  ทราบอย่างนี้แล้ว ลูกหลานท่านใดจะดูแลบิดามารดา ก็ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ให้รอบคอบก่อนนะครับ ถ้าไม่จำเป็นหรือไม่แน่ใจ อย่าให้ท่านรับประทานเลย เพราะอาจทำร้ายท่านโดย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 “โปรดระวังเอกสารสำคัญของตัวเอง”

“นักศึกษาช้ำกลายเป็นผู้ค้ำประกันแบบไม่รู้เรื่อง แถมยังโดนทวงหนี้กว่า 150 ล้าน!!”นี่ไม่ใช่เรื่องระหว่างนักธุรกิจร้อยล้านคุยกัน แต่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องที่เป็นนักศึกษาอายุ 20 ปีกับบริษัทประกันภัยชื่อดังอย่าง บริษัท อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จำกัด (มหาชน) เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ร้องได้รับจดหมายขอให้ชำระหนี้ ของสำนักงานกฎหมายที่อ้างว่าทวงถามหนี้ให้กับบริษัทประกันภัยดังกล่าว เหตุเพราะต้องรับผิดชอบในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับตัวแทนขายประกันของบริษัทเนื้อหาในจดหมายอ้างว่าตัวแทนคนหนึ่งของบริษัทฯ ได้ชักชวนให้คนทำประกันภัย โดยเสนอผลตอบแทนสูงกว่าเงื่อนไขในกรมธรรม์ เป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยจำนวนมากหลงเชื่อและตกลงทำประกันชีวิต อย่างไรก็ตามต่อมาผู้เอาประกันภัยเหล่านั้นได้ขอยกเลิกกรมธรรม์ ทำให้บริษัทฯ ต้องคืนเงินเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัย และสูญเสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการนำเงินค่าเบี้ยประกันชีวิตนั้นไปลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีการจ่ายเงินค่าบำเหน็จ และผลประโยชน์อื่นๆ ที่ให้ตัวแทนดังกล่าวไปแล้ว รวมมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเป็นจำนวนเงิน 159,924,536.12 บาท (หนึ่งร้อยห้าสิบเก้าล้านเก้าแสนสองหมื่นสี่พันห้าร้อยสามสิบหกบาทสิบสองสตางค์) ดังนั้นเพื่อเป็นการชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทฯ จึงขอให้ผู้ร้องในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกันและตัวแทนดังกล่าว ร่วมกันชำระเงินที่บริษัทได้สูญเสียไปทั้งหมดข้างต้น พร้อมอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ คืนเบี้ย!! แน่นอนว่าเงินจำนวนมากที่บริษัทเสียหายไปเทียบไม่ได้กับความตกใจของผู้ร้อง เพราะเขาไม่เคยรู้จักกับบุคคลตามสัญญาค้ำประกัน และไม่เคยเซ็นเอกสารหรือสัญญาใดๆ กับทางบริษัทฯ มากไปกว่านั้นด้วยวัยเพียง 20 ปีจะเป็นผู้ค้ำประกันให้กับตัวแทนดังกล่าวได้อย่างไร ซ้ำยังต้องมาโดนทวงนี้กว่า 150 ล้านทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้ก่อขึ้นอีก (แค่คิดก็ขนลุกแล้ว)แนวทางการแก้ไขปัญหาหลังจากผู้ร้องได้แจ้งเรื่องมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอความช่วยเหลือ ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์จึงได้แนะนำให้ไปแจ้งความบันทึกประจำวันไว้ก่อน จากนั้นก็ให้ทำหนังสือถึงบริษัท อลิอันซ์ อยุธยา เพื่อขอหนังสือสัญญาดังกล่าวมาให้ตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งพบว่า สัญญาการค้ำประกันฉบับนั้นมีการปลอมแปลงเอกสารทุกจุดได้อย่างน่าตกใจ ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็นของผู้ร้องหรือแม้กระทั่งลายนิ้วมือ ทางศูนย์ฯ จึงให้ผู้ร้องไปแจ้งความอีกครั้ง แต่เป็นการร้องทุกข์กล่าวโทษเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร โดยระหว่างนี้อยู่ในขั้นตอนการพิสูจน์หลักฐานของตำรวจ สิ่งน่ากลัวสำหรับผู้บริโภคอย่างเราทุกคนก็คือ เอกสารสำคัญของเราสามารถถูกปลอมแปลงได้ตั้งแต่ต้นทาง และสามารถทำให้เรากลายเป็นหนี้จำนวนมากมายมหาศาลได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหา สิ่งที่เราควรทำนอกเหนือไปจากการระมัดระวังไม่ให้เอกสารสำคัญเหล่านั้นสูญหายแล้วก็คือ ในทุกครั้งที่มีการทำสัญญาใดๆ ควรเขียนหรือเซ็นกำกับไว้ว่าเอกสารนั้นใช้สำหรับทำอะไร หรือแสดงความประสงค์แบบเฉพาะเจาะจงทุกครั้ง เพื่อไม่ให้เอกสารของเราถูกนำไปใช้ต่อโดยผู้ไม่ประสงค์ดีนั่นเอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 171 คนกันเองยิ่งต้องระวัง

 หลังเทศกาลสงกรานต์หมาดๆ   น้องวดี ตื่นตระหนกพบว่า เงินในบัญชีธนาคารที่มีสัญลักษณ์ใบโพธิ์  สาขาหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ของตน ได้ล่องหนโดยไม่ทราบสาเหตุมากถึง 35,000 บาท  สำหรับเด็กอายุเพียง 20 ปีมันเป็นเรื่องใหญ่มาก น้องรีบไปแจ้งความต่อสถานีตำรวจเจ้าของพื้นที่ แล้วก็ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไรต่อ เพราะตำรวจไม่ได้บอกความคืบหน้าใดๆ  แม่ยาคุณแม่ของน้องวดีความร้อนใจมาก จึงโทรมาขอคำปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อให้ช่วยติดตามหาความจริงวันต่อมา เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ ให้ผู้ร้องดำเนินการนำใบแจ้งความยื่นขอตรวจสอบจากธนาคาร จึงพบว่ามีการใช้บัตรเอทีเอ็ม กดเงินที่ตู้เอทีเอ็มหน้าตลาดธานินทร์ เชียงใหม่ จำนวน 2 ครั้ง ครั้งแรก 15,000 บาทและครั้งที่สองอีก 20,000 บาท  ซึ่งตู้เอทีเอ็มตั้งอยู่บริเวณใกล้บ้านเสียด้วย  เมื่อทราบข้อมูลดังกล่าว  แม่ยาจึงได้ลองสอบถามผู้อาศัยในบ้านของตนเอง(สอบเค้น)  จนมาทราบในเวลาต่อมาว่า ผู้พักอาศัยภายในบ้านหรือคนใกล้ตัวนี่แหละ เป็นผู้นำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงินสด 35,000 บาท    แม่ยาได้แจ้งต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ไม่ติดใจที่ดำเนินการต่อแล้ว เพราะยังไงก็เป็นญาติกัน แนวทางแก้ไข  หากกรณีที่มีเงินในบัญชีธนาคารหายไป ผู้บริโภคต้องปฏิบัติดังนี้ 1. รีบดำเนินการแจ้งคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารเจ้าของบัตร เพื่ออายัดการทำธุรกรรมต่างๆ 2. แจ้งความดำเนินคดีต่อสถานีตำรวจท้องที่เกิดเหตุ เพื่อดำเนินการหาผู้กระทำความผิดและเป็นหลักฐาน 3. ทำหนังสือหรือจดหมายถึงธนาคารฯ เพื่อตรวจสอบว่าเงินหายไปได้อย่างไร เช่น มีผู้อื่นนำบัตรเอทีเอ็มไปกดเงิน เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 กินเส้นใหญ่ระวังไตพัง

ก๋วยเตี๋ยวหนึ่งในอาหารจานด่วนที่บริโภคกันมาก เพราะมีสารพัดสูตรให้เลือกชิมเลือกทาน ไม่ว่าจะเป็น ก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้น ก๋วยเตี๋ยวเย็นตาโฟ ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ก๋วยเตี๋ยวเรือ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ก๋วยเตี๋ยวคั่วไก่ บะหมี่หมูแดง ราดหน้า ผัดซีอิ้ว ก็ใช่ เรียกว่ามากมาย จนสาธยายไม่หมด ซึ่งตัวเส้นก๋วยเตี๋ยวก็มีหลากหลาย ชนิด ทั้ง เส้นเล็ก เส้นใหญ่ เส้นหมี่ วุ้นเส้น บะหมี่ โซบะ เส้นขนมจีน และเส้นก๋วยจั๊บ โดยเส้นก๋วยเตี๋ยว  ส่วนใหญ่จะทำจากแป้งข้าวเจ้า บะหมี่ทำจากแป้งสาลี  ผสมไข่ ส่วนวุ้นเส้นทำจากแป้งถั่วเขียวผสมน้ำโครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความ  ปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ได้เก็บตัวอย่างเส้น  ก๋วยเตี๋ยวจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ เส้นใหญ่จำนวน 8  ตัวอย่าง เส้นเล็กจำนวน 8 ตัวอย่าง เส้นหมี่(ขาว)  จำนวน 5 ตัวอย่าง เส้นบะหมี่จำนวน 6 ตัวอย่าง  และเส้นขนมจีนจำนวน 4 ตัวอย่าง จากตลาดสดในพื้นที่ดำเนินงานโครงการทั้ง 8 จังหวัดได้แก่ กรุงเทพฯ  สมุทรสงคราม   ขอนแก่น   มหาสารคาม    เชียงใหม่   พะเยา สงขลา และ สตูล ในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 3   เมื่อเดือนมกราคม 2553 รวมจำนวนตัวอย่างที่เก็บทั้งสิ้น 31 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสิ่งปนเปื้อนใน  อาหารกลุ่มสารกันบูดและสีผสมอาหารที่เป็นวัตถุ   เจือปนอาหาร นอกจากนั้นยังมีการตรวจหาสารพิษ  จากเชื้อรา-อะฟลาท็อกซินในเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นแห้ง และการทดสอบทางจุลินทรีย์ในเส้นก๋วยเตี๋ยว  ประเภทเส้นสดเพื่อหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์รวม เชื้อแบคทีเรีย อี.โคไล และเชื้อแบคทีเรียซัลโมเนลล่า   ผลการทดสอบเส้นก๋วยเตี๋ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่า เส้นใหญ่  ข่าวดี – พบสารกันบูดในปริมาณที่น้อยลงกว่า  ที่ศูนย์วิทยาศาสตรการแพทย์อุบลราชธานีเคย  แถลงข่าวเมื่อปี พ.ศ. 2550 กว่าหกเท่าตัว คือจาก ประมาณ 3,900 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเหลือไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ข่าวร้าย – ไม่มีตัวอย่างเส้นก๋วยเตี๋ยวประเภท  เส้นใหญ่ใดที่ไม่พบการปนเปื้อน โดยทุกตัวอย่างมี อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ว่าจะเป็นทางจุลินทรีย์หรือทางเคมี ดังมีรายละเอียดดังนี้ - พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิค จำนวน 7 ตัวอย่างจากตัวอย่างทดสอบทั้งสิ้น 8 ตัวอย่าง โดย มีอัตราเฉลี่ยของกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 570.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับประมาณ 125 - 175  มิลลิกรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคของก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่  1 ชาม (ประมาณ 150 - 250 กรัม) จำนวนกรด  เบนโซอิคที่พบสูงสุด 3 อันดับแรกคือ (1) ตัวอย่างที่เก็บจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 836.3 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 209 มิลลิกรัม/250 กรัม หรือเท่ากับ 2 ใน 3 ของปริมาณที่แนะให้บริโภคได้สูงสุดต่อวันในคน น้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม [ปริมาณที่แนะนำให้บริโภค ได้สูงสุดต่อวัน (ADI) เท่ากับ 0-5 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัวกิโลกรัม หรือ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัม ในคนที่มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม] (2) ก๋วยเตี๋ยวเส้นสดตราเส้นทิพย์ที่เก็บจากตลาดบรบือ จังหวัดมหาสารคาม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ 598 มิลลิกรัม/กิโลกรัมเทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ148 มิลลิกรัม/250 กรัม (3) ตัวอย่างที่เก็บจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม มีปริมาณกรดเบนโซอิคที่พบเท่ากับ596.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม เทียบเป็นปริมาณต่อหน่วยบริโภคเท่ากับ 146 มิลลิกรัม/250 กรัม- พบสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิคจำนวน2 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยมีอัตราเฉลี่ยที่พบเท่ากับ 428.8 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ตัวอย่างที่พบกรดซอร์บิคทั้ง 2 ตัวอย่าง ได้แก่เส้นใหญ่สดของโรงก๋วยเตี๋ยวไทยเจริญ เก็บตัวอย่างจากตลาดพลาซ่า อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 505.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัมและเส้นใหญ่แสงชัยตราพระอาทิตย์ เก็บตัวอย่างจากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่น มีปริมาณกรดซอร์บิคที่พบเท่ากับ 352 มิลลิกรัม/กิโลกรัม- พบการปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อรา – อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตยกรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย- พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่าจุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม หมายเหตุ- เส้นก๋วยเตี๋ยวประเภทเส้นใหญ่ตราพระอาทิตย์ที่เก็บตัวอย่าง  จากตลาดสดเทศบาล 2 จังหวัดขอนแก่นพบสารกันบูดทั้ง  กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิค ในผลิตภัณฑ์เดียวโดยปริมาณ  รวมของกรดทั้ง 2 ชนิดเท่ากับ 942 มิลลิกรัม/กิโลกรัม หรือ เกือบจะเท่ากับที่เกณฑ์มาตรฐานระหว่างประเทศหรือ CODEX กำหนดไว้ที่ 1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม - เส้นก๋วยเตี๋ยวจากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงครามไม่ผ่าน เกณฑ์มาตรฐานวัตถุเจือปนอาหารด้านสารกันบูด (กรดเบนโซอิค) และไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาฯ ของกรมวิทยาสตร์การแพทย์ - เส้นก๋วยเตี๋ยวกว่าครึ่งไม่ทราบผู้ผลิตและทั้งหมดไม่ระบุวันหมดอายุ  อะฟลาท็อกซิน จำนวน 1 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่าง  ที่ทำการทดสอบ โดยพบที่ตัวอย่างจากตลาดคลองเตย  กรุงเทพฯ ที่ปริมาณ 0.1 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่ง  ถือว่าน้อยมากและไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับร่างกาย - พบการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ในการทดสอบ ค่าจุลินทรีย์รวม (Total plate count) ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ ความสะอาดของเส้น จำนวน 6 ตัวอย่างจาก 8 ตัวอย่างที่ทำการทดสอบ แต่มีเพียง 1 ตัวอย่างจาก 6 ตัวอย่างที่พบเท่านั้นที่มีค่าจุลินทรีย์รวมสูงเกินกว่าที่ เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะ และผู้สัมผัสอาหารของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดไว้ที่ 100,000 โคโลนี/กรัม โดยพบที่ตัวอย่าง จากร้านพรพัฒนา จังหวัดสมุทรสงคราม พบค่า  จุลินทรีย์รวมที่ 200,000 โคโลนี/กรัม   ฉลาดซื้อแนะเส้นก๋วยเตี๋ยวที่บริโภคนอกบ้าน  เราไม่สามารถรู้ได้ว่าผลิตจากที่ไหน และมี  กระบวนการผลิตอย่างไรบ้าง ดังนั้นหาก  ต้องการบริโภคเส้นใหญ่นอกบ้านไม่ว่าจะเป็น  ผัดซีอิ้ว ก๋วยเตี๋ยวหลอด หรือก๋วยเตี๋ยวน้ำ  เส้นใหญ่ไม่ควรรับประทานเกิน 1 ชามต่อวัน   และไม่ควรบริโภคติดต่อกันทุกวัน เนื่องจาก  จะเกิดการสะสมและทำให้ประสิทธิภาพการ ทำงานของตับและไตลดลง และอาจเป็น  สาเหตุให้เกิดโรคไตได้ ค่ามาตรฐานเส้นก๋วยเตี๋ยว- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร จะไม่ระบุให้ผู้ประกอบการใช้กรดเบนโซอิคและกรดซอร์บิคใน  เส้นก๋วยเตี๋ยวได้ - ขณะที่มาตรฐานสากล (CODEX) ระบุให้ใช้ได้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมสำหรับกรดเบนโซอิค และไม่ระบุว่าให้ใช้ได้หรือไม่สำหรับกรดซอร์บิค - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน อนุญาตให้มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนในอาหารได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร ไม่อนุญาตให้ใส่สีผสมอาหารในเส้นบะหมี่ - เกณฑ์กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กำหนดเรื่องจุลินทรีย์ในอาหารไว้ดังนี้ - Total plate count หรือ จุลินทรีย์ทั้งหมด ไม่เกิน 1 x 106 cfu/g - E. coli อี.โคไล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 96 ทดสอบ ระวังสีสวยๆ ในแหนม

แหนมกับหมูยอเป็นของขายคู่กัน ฉบับก่อนว่าด้วยเรื่องหมูยอไป ฉบับนี้เลยตามประกบด้วยเรื่อง แหนม ของฝากของดีจากถิ่นอีสานและย่านเมืองเหนือ แหนมมีหลากรูปแบบทั้งแหนมเนื้อหมู แหนมหูหนู แหนมซี่โครง แต่ทั้งหมดล้วนเป็นอาหารดิบ ที่เกิดจากการนำเนื้อสัตว์หมักกับข้าว น้ำตาล เกลือ ดินประสิว (โปตัสเซียมไนเตรท) โดยรสเปรี้ยวของแหนมจะมาจากเชื้อจุลินทรีย์กลุ่มแล็กโตบาซิลลัส (Lactobacillus) เห็นคำว่า ดินประสิว อย่าไปนึกโยงว่าทำระเบิดแต่อย่างเดียว มันยังเป็นวัตถุที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารด้วยเช่นกัน ในธุรกิจอาหารเขาใช้ดินประสิวเป็นสารกันบูดและสารถนอมสีเนื้อสัตว์ให้ดูสดอยู่เสมอ จริงๆ แล้วผลของการกันบูดนั้น มาจากอนุพันธ์ไนเตรทนั่นเอง นอกจากไนเตรทแล้ว ยังมีสารอีกชนิดหนึ่งที่คนชอบใช้เป็นสารกันบูดก็คือ ไนไตรท์ วัตถุกันเสียตระกูลนี้ป้องกันเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิดและช่วยในเรื่องของสีสันสดใสของเนื้อสัตว์ ดังนั้นจึงนิยมกันมากแต่ต้องใช้ในปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้เท่านั้น เพราะเป็นสารที่มีอันตรายสูง เรียกว่า กินเข้าไปมากๆ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งได้ ฉลาดซื้อเห็นสีสวยๆ ของแหนมแล้วก็เลยอดไม่ได้อยากรู้ว่า แหนมจะมีปริมาณไนเตรท ไนไตรท์มากน้อยแค่ไหน เลยไปหยิบเอาแหนมในตลาดวโรรสมาได้ 2 เจ้าดัง ได้แก่ แหนมป้าย่นและแหนมหม้อกระเทียมร้านศรีพรรณ และอีก 10 ยี่ห้อจากห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ 1.วนัสนันท์ แหนมหูหมูไบโอเทค 2.แหนมสุนิสา 3.สุทธิลักษณ์ แหนมฉายรังสี 4.ส.ขอนแก่น แหนมแท่งกลาง 5.จีรศักดิ์ แหนมแท่งใบมะยม 6.สามเหรียญทอง แหนมฉายรังสี 7.หมูดี แหนมตุ้มจิ๋ว 8.แหนมรสทิพย์ เจ๊หงษ์ 9.เจ้าสัว เตีย หงี่ เฮียง 10.แหนมแซ่บ เจ๊หงษ์ รวม 12 ตัวอย่างส่งสถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ผลทดสอบ1. พบว่า มีปริมาณไนเตรทสูงถึง 1259.81 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในแหนมศรีพรรณ แหนมหม้อกระเทียม ซึ่งจัดว่า เกินว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดคือ สารไนเตรทมีได้ไม่เกิน500มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและรองลงมาได้แก่ 309.91 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในยี่ห้อวนัสนันท์ แต่ก็ถือว่าผ่านเกณฑ์ 2. ไม่พบสารไนไตรท์เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ มีได้ไม่เกิน 125 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในทุกผลิตภัณฑ์ "โปตัสเซียมไนเตรท" หรือ ดินประสิว ลักษณะเป็นผงสีขาว ละลายน้ำได้ดี ไม่มีกลิ่น มีรสเค็มเล็กน้อยหรือแทบจะไม่มีรสอะไร มีความคงตัวดี แต่อาจมีการเปลี่ยนรูประหว่างไนเตรทกับไนไตรท์กลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมสารไนเตรท/ไนไตรท์ มีการรายงานว่าเมื่อรวมกับโปรตีนชนิดทุตติยภูมิ และตติยภูมิสามารถเปลี่ยนเป็นไนโตรซามีนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งได้ ฉลาดซื้อ 1. เลือกซื้อแหนมที่สีไม่แดงจัดจนผิดธรรมชาติ แหนมที่ทำไว้นานเกินไป จะมีกลิ่นเปรี้ยวมากและมีเมือกไม่น่ารับประทาน เลือกที่เนื้อมีลักษณะไม่เปื่อยยุ่ย หรือมีน้ำเยิ้มจากก้อนเนื้อ ไม่มีสิ่งปนเปื้อน2. แหนมฉายรังสีก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้บริโภค ควรเลือกที่ผ่านเกณฑ์การรับรองจาก อย. ซึ่งปัจจุบันมีหลายยี่ห้อ แต่ราคาจะแพงกว่าแหนมธรรมดา3. แหนมอย่างไรก็เป็นอาหารดิบ อาจมีพยาธิและแบคทีเรียก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้จึงควรปรุงให้สุกก่อนรับประทาน 4. แหนมโดยปกติแล้ว ถ้าเก็บที่อุณหภูมิห้องจะมีอายุการเก็บประมาณ 1 สัปดาห์ แต่ถ้าเราเก็บไว้ในตู้เย็นจะสามารถเก็บไว้ได้ประมาณ 1 เดือน ตารางทดสอบ Nitrite ในผลิตภัณฑ์แหนม รายชื่อผลิตภัณฑ์ น้ำหนัก (กรัม) ราคา (บาท) ผู้ผลิต วันผลิต-วันหมดอายุ ปริมาณ Nitrate ที่ตรวจพบ (มก/กก.) ปริมาณ Nitrite ที่ตรวจพบ (มก./กก.) 1.วนัสนันท์ แหนมหูหมูไบโอเทค 200 60 บ.แหนมไบโอเทค จำกัด เชียงใหม่ 05-11-51 05-01-52 309.91 4.34 2.แหนมสุนิสาดอนเมืองแหนมแท่ง 60 17 บ.ผลิตภัณฑ์อาหารสุนิสา จำกัด กรุงเทพฯ 29-10-51 14-12-51 3.42 2.52 3.สุทธิลักษณ์แหนมฉายรังสี 120 40 บ.สุทธิลักษณ์ อินโนฟู้ด จำกัด กรุงเทพฯ 16-10-51 15-12-51 - 2.87 4.ส.ขอนแก่นแหนมแท่งกลาง 130 49 บ.อุตสาหกรรมอาหาร ส.ขอนแก่น จำกัด(มหาชน) กรุงเทพฯ 18-11-08 28-12-08 2.94 2.92 5.จีรศักดิ์แหนมแท่งใบมะยม 120 35 บ.จีรศักดิ์ โปรดักส์ จำกัด สมุทรปราการ 08-10-08 08-12-08 - 4.26 6.สามเหรียญทองแหนมฉายรังสี 180 66 บ.อุตสาหกรรมอาหาร ส.ขอนแก่น จำกัด(มหาชน) กรุงเทพฯ 14-11-08 24-12-08 15.85 3.71 7.หมูดีแหนมตุ้มจิ๋ว 70 25.25 โรงงานเจ๊หงษ์ นครราชสีมา 03-11-08 03-12-08 - 3.72 8.แหนมรสทิพย์ เจ๊หงษ์ 180 32 หจก.ดีฟู้ด มาร์เก็ตติ้ง 2008 นครราชสีมา 20-11-51 20-02-52 - 5.10 9.เจ้าสัวเตีย หงี่ เฮียง 155 54 บ.เตียหงี่เฮียง(เจ้าสัว) จำกัด นครราชสีมา 07-11-08 06-01-09 5.41 4.65 10.แหนมแซ่บ เจ๊หงษ์ 100 16 โรงงานเจ๊หงษ์ นครราชสีมา 20-11-51 20-02-52 3.04 3.10 11.ป้าย่น*แหนมชีวภาพ 250 35 บ.อุ๊ยย่น จำกัด เชียงใหม่ ไม่มีซื้อที่ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 25/11/51 50-2-06645-2-0004 0.78 3.70 12.ร้านศรีพรรณ*แหนมหม้อกระเทียม - 35 053-422550 ไม่มีซื้อที่ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 25/11/51 ไม่มีอย. 1259.81 7.53 * สินค้าขายในตลาดสด ไม่มีการระบุวันผลิต วันหมดอายุ คงเนื่องจากผลิตและจำหน่ายวันต่อวัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 ข้อควรระวังเมื่อจอดรถทิ้งไว้กลางแดดหน้าร้อน

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการหน้าร้อนในเมืองไทย โดยเฉพาะเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของทุกปี จะเป็นเดือนที่มีอุณหภูมิสูงที่สุด อุณหภูมิกลางแจ้งอาจเกินกว่า 40 องศาเซลเซียส ในบางพื้นที่ทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด หากเราจอดรถปิดกระจกทิ้งไว้ โดยไม่มีที่บังแดดหรือติดม่านกันแดด อุณหภูมิภายในรถที่จอดทิ้งไว้นานหลายชั่วโมง อาจจะสูงถึง 70- 80 องศาเซลเซียส ข้อควรระวังสำหรับผู้ที่ต้องจอดรถทิ้งไว้กลางแจ้ง ในการเติมน้ำมันเต็มถัง แล้วขับรถโดยใช้น้ำมันเล็กน้อย เมื่อจอดรถในที่กลางแจ้ง อาจทำให้น้ำมันที่เติมนั้นล้นออกมาจากถังได้ เพราะอากาศร้อนทำให้น้ำมันขยายตัว เช่น เราเติมน้ำมันเต็มถัง 50 ลิตร เมื่ออุณหภูมิของรถที่จอดกลางแดดเพิ่ม น้ำมันจะขยายตัว เพิ่มขึ้นอีกถึงหนึ่งลิตร เนื่องจากน้ำมันที่ออกมาจากปั้มนั้น จะมีอุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิสิ่งแวดล้อม เนื่องจากถังน้ำมันในปั๊ม จะฝังอยู่ใต้ดิน  น้ำมันที่รั่วล้นออกมาจากการขยายตัวนั้น หากโชคร้าย ก็อาจติดไฟลุกไหม้ เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ แว่นตา ก็ไม่ควรทิ้งไว้ โดยเฉพาะด้านที่ติดกับกระจกที่สามารถโดนแสงแดด  เนื่องจากเป็นอันตรายในกรณีที่แสงแดดผ่านเลนส์ อาจทำให้เกิด focus effect ซึ่งการรวมแสงที่จุดโฟกัส อาจทำให้เกิดการติดไฟลุกไหม้ได้เช่นกัน ของมีค่าไม่ว่าจะเป็นกล้องถ่ายรูป คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือ เนื่องจากเป็นของล่อตาล่อใจ โจรขโมย และอาจทำให้อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคเหล่านี้ ชำรุดได้ เมื่อทิ้งไว้ในที่ที่มีอุณหภูมิสูงนาน ๆ โซดาหรือน้ำอัดก๊าซ ที่บรรจุในขวดแก้ว ก็ไม่ควรทึ้งไว้ในรถที่จอดกลางแดดไว้นานๆ เพราะความร้อนทำให้ก๊าซขยายตัว เกิดการระเบิดได้ เมื่อจอดรถไว้กลางแดด เมื่อสตาร์ตรถ ควรหมุนกระจกหน้าต่างให้ต่ำที่สุด เพื่อระบายอากาศร้อนในรถก่อน หลังจากนั้น เมื่อขับรถ ก็ปรับกระจกหน้าต่างระบายอากาศโดยปรับให้กระจกสูงขึ้น โดยมีช่องระบายอากาศสูงประมาณ 1 ฝ่ามือ และเปิดเครื่องปรับอากาศที่มีความแรงปานกลาง และหากรถเรามี ปุ่มปรับทิศทางของแอร์ ก็ให้ปรับทิศทางของแอร์ไหลผ่านทางเท้า จะช่วยการระบายความร้อนในรถได้เร็วขึ้น การเปิดเครื่องปรับอากาศระดับสูงสุดขณะขับรถ จะสิ้นเปลืองพลังงานสูงมาก สิ่งมีชีวิต เช่น สัตว์เลี้ยง ไม่ว่า สุนัข หรือแมว ก็ไม่ควรปล่อยให้อยู่ในรถเพราะอาจทำให้ เกิดอาการ heat stroke ได้ เราเคยได้ยินข่าวโศกนาฏกรรมจากการปล่อย สัตว์เลี้ยงอยู่ในรถ ในขณะที่จอดรถทิ้งไว้กลางแดด ต้องตายเพราะความประมาท ชะล่าใจของเจ้าของ ที่สำคัญที่สุด คือ ไม่ควรปล่อยเด็กเล็กทิ้งไว้ในรถ โดยไม่มีผู้ใหญ่ดูแล เคยมีกรณี เด็กเสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจ และ heat stroke เป็นประจำ ฉลาดซื้อ ฉลาดคิด ฉลาดใช้ชีวิต ในยุคบริโภคนิยม แม้หน้าร้อนสภาพอากาศจะร้อนรุนแรง หากเราตั้งสติรับมือกับความร้อนอย่างชาญฉลาด ก็สามารถผ่านหน้าร้อนได้อย่างสบายๆ ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 117 น้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกับเรื่องที่ต้องระวัง

คนเราทุกคนต้องดื่มน้ำเพื่อหล่อเลี้ยงให้ระบบต่างๆ ภายในร่างกายดำเนินไปเป็นปกติ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายไม่อาจขาดน้ำได้ เพราะการขาดน้ำย่อมหมายถึงการสิ้นสุดของชีวิตโดยทั่วไปร่างกายได้น้ำมาจากน้ำดื่ม เครื่องดื่มและอาหาร น้ำที่เราใช้ดื่มกินมาจากหลายแหล่ง ทั้งที่ได้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ เช่น น้ำฝน น้ำบาดาล และที่ผ่านกระบวนการผลิต เช่น น้ำประปา น้ำดื่มบรรจุขวด ซึ่งอย่างหลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายจนเป็นเรื่องปกติ เนื่องจากผู้บริโภคส่วนใหญ่ไม่ไว้วางใจในน้ำประปาว่า สะอาดเพียงพอสำหรับการดื่มกิน อย่างไรก็ตาม น้ำดื่มบรรจุขวดนั้นมีราคาแพงมาก น้ำดื่มขนาด 600 มิลลิลิตรที่วางจำหน่ายทั่วไปมีราคาสูงถึง 7 บาทต่อขวด และยังอาจมีราคาสูงไปได้อีกหากจำหน่ายในร้านอาหารที่ไม่มีการควบคุมราคาน้ำดื่ม ดังนั้นหากเป็นการซื้อมาไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือน น้ำดื่มบรรจุขวดอาจไม่ใช่ทางเลือกสำหรับครอบครัวที่ต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย การติดตั้งเครื่องกรองน้ำ ก็เป็นวิธีการหนึ่งที่บางครอบครัวเลือกใช้ แต่สำหรับบางครอบครัวหรือบางคนที่ไม่ได้มีบ้านพักถาวร เช่นผู้ที่ต้องอาศัยอยู่ในหอพักหรือห้องเช่า น้ำดื่มที่กำลังมาแรงสุดตอนนี้ก็คือ น้ำดื่มที่ได้มาจากตู้หยอดเหรียญ ที่ปัจจุบันมีกระจายติดตั้งอยู่ทั่วไปในย่านชุมชนที่มีหอพักจำนวนมาก เพราะทั้งสะดวกในการใช้บริการและมีราคาถูกมาก เมื่อเทียบกับน้ำดื่มบรรจุขวด โดยน้ำที่ได้จากตู้หยอดเหรียญจะมีราคาอยู่ที่ประมาณลิตรละ 70 – 85 สตางค์ เท่านั้น __________________________________________________________________________ ตู้น้ำหยอดเหรียญเป็นการพัฒนาระบบบริการน้ำดื่มให้ครอบคลุมความต้องการ โดยเฉพาะในแหล่งชุมชนที่มีประชาชนอยู่จำนวนมาก เช่น หอพัก ห้องเช่า ตลาด หรือบริษัทห้างร้านที่มีประชาชนจำนวนมาก พบได้ในพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ตลอดจนในพื้นที่เขตเมือง เขตเทศบาลและแหล่งชุมชนใหญ่ๆ ตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จากการศึกษาล่าสุดโดยกองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ประมาณการว่า เฉพาะในเขตกรุงเทพมหานคร มีมากถึง 20,000 ตู้ และส่วนใหญ่เป็นตู้น้ำดื่มที่ใช้กระบวนการรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) __________________________________________________________________________ น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญปลอดภัยหรือไม่ โดยวิธีการและแหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำ น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญน่าจะมีความปลอดภัยเหมาะสำหรับการบริโภค เพราะใช้น้ำประปาที่คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานมาผ่านกระบวนการหรือขั้นตอนที่ทำให้ได้น้ำดื่มที่มีคุณภาพและความสะอาดที่ดี แต่จากการวิจัยของหลายหน่วยงานในช่วงสองสามปีที่ผ่านมา พบว่า น้ำที่ได้จากตู้หยอดเหรียญยังมีความเสี่ยงในเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อโรค ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ ข้อมูลจากศึกษาวิจัยและเฝ้าระวังของคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ได้ทำการศึกษาเชิงสำรวจคุณภาพน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยสุ่มตัวอย่างจากพื้นที่ 30 เขตของกรุงเทพฯ จำนวน 546 ตัวอย่างจาก 20 ตราผลิตภัณฑ์ ในช่วง มี.ค. – มิ.ย. 2548 โดยอาศัยเกณฑ์ประเมินคุณภาพของ 3 หน่วยงาน ได้แก่ มอก. 257-2521 ของกระทรวงอุตสาหกรรม มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (2524) และฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) และมาตรฐานของการประปานครหลวง ในภาพรวมพบว่า มีน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานสูงถึง 289 ตัวอย่างหรือคิดเป็นร้อยละ 52.9 โดยมีประเด็นที่น่าสังเกตคือเมื่อจำแนกตามตรายี่ห้อผลิตภัณฑ์ของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญทั้ง 20 ตราผลิตภัณฑ์พบว่าไม่มีกลุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์จากตรายี่ห้อใดเลยที่ผ่านเกณฑ์ได้ทั้งหมด และในจำนวนนี้มีมากกว่าครึ่งหนึ่งของตราผลิตภัณฑ์ที่ไม่ผ่านเกณฑ์ในสัดส่วนมากกว่า 50% ของกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มตรวจของแต่ละตราผลิตภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2549 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญ โดยสุ่มตรวจตู้น้ำหยอดเหรียญจาก 9 จังหวัด (รวม กทม. และนนทบุรี) พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน (แบคทีเรีย) ของกรมอนามัย จำนวน 3 ตัวอย่าง (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 33 ตัวอย่าง) และพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliforms) จำนวน 1 ตัวอย่าง (จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 22 ตัวอย่าง) ในปี 2550 เจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ทำการศึกษาเรื่องความปลอดภัยของการบริโภคน้ำจากเครื่องผลิตน้ำดื่มหยอดเหรียญ โดยสุ่มตัวอย่างจากเขตพื้นที่ต่าง ๆ ใน กทม. จำนวน 350 ตัวอย่าง (50 เขต ๆ ละ 7 ตัวอย่าง) ปรากฏว่า ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 61 พ.ศ. 2524 และฉบับที่ 135 พ.ศ. 2534) จำนวน 264 ตัวอย่าง ซึ่งหมายความว่ากว่าร้อยละ 25 ของกลุ่มตัวอย่างไม่ผ่านเกณฑ์ และในจำนวนนี้พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์เรื่องกรด – ด่าง (pH) และความกระด้างร้อยละ 20.9 พบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม (Coliforms) ร้อยละ 5.43 และ อี. โคไล (E.coli) ร้อยละ 0.57 นอกจากนี้ยังพบการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์ม บริเวณหัวจ่ายน้ำของตู้น้ำหยอดเหรียญถึงร้อยละ 23.41 และมีตะไคร่เกาะอยู่ที่หัวจ่ายน้ำกว่าร้อยละ 50 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2552 สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย ได้ทำการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำบริโภคครัวเรือนอีกครั้ง โดยสุ่มตรวจน้ำดื่มเพื่อการบริโภคประเภทต่างๆ ของครัวเรือน จาก 19 จังหวัดในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ (ไม่รวม กทม.) ทั้งเขตเมืองและชนบท ซึ่งได้มีการสุ่มตรวจคุณภาพน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญด้วยจำนวน 6 ตัวอย่าง พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์แบคทีเรีย จำนวน 4 ตัวอย่าง ซึ่งจากการทบทวนการสำรวจทั้งหลายที่กล่าวมา พบว่า สาเหตุสำคัญที่น้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญมีการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ แบคทีเรียและโคลิฟอร์ม เนื่องจากความไม่สะอาดของอุปกรณ์กรองน้ำ ภาชนะที่เก็บน้ำและการเก็บน้ำที่กรองออกมาจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญอย่างไม่ถูกสุขลักษณะนั่นเอง ที่ทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากนี้ในบางจุดยังพบสาหร่ายและตะไคร่ในบริเวณหัวจ่ายน้ำอีกด้วย __________________________________________________________________________ ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญในพื้นที่จังหวัดสงขลา สมาคมผู้บริโภคสงขลา ได้ทำการสำรวจคุณภาพของน้ำดื่มตู้หยอดเหรียญจำนวน 13 ตัวอย่าง 11 ตราผลิตภัณฑ์ ในการเก็บตัวอย่างจำนวน 3 ครั้ง ในเดือน กันยายน และ พฤศจิกายน 2552 และเดือนมกราคม 2553 จากพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยส่งทดสอบหาจุลินทรีย์ก่อโรค 4 ชนิด ได้แก่ เสต็ฟฟิโลคอคคัส ออเรียส (เอส.ออเรียส/S. aurius) ซัลโมเนลล่า (Salmonella ) อี.โคไล (E.coli) และ โคลิฟอร์ม (Coliform) ผลการทดสอบพบว่า มีเพียงหนึ่งตัวอย่างที่ไม่ผ่านการทดสอบ คิดเป็นร้อยละ 8 ได้แก่ตัวอย่างยี่ห้อสยามวอเตอร์ จากหอพักณัชชา อพาร์ทเม้นท์ ในการเก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2553 พบโคลิฟอร์มจำนวนมากกว่า 22 เอ็มพีเอ็น ต่อน้ำดื่ม 100 มิลลิลิตร ซึ่งตามมาตรฐานในประกาศกระทรวงฯ ฉบับที่ 61 และ ฉบับที่ 135 ระบุไว้ว่าไม่เกิน 2.2 เอ็มพีเอ็น ต่อน้ำดื่ม 100 มิลลิลิตร (ข้อมูลจาก โครงการพัฒนากลไกการเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของผู้บริโภค ภายใต้การสนับสนุนจากแผนงานสร้างเสริมการเรียนรู้กับสถาบันอุดมศึกษาไทย เพื่อการพัฒนานโยบายสาธารณะที่ดี (นสธ./TUHPP) __________________________________________________________________________ ใครรับผิดชอบตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ในรายงานการศึกษาทบทวนองค์ความรู้ทางด้านน้ำกับความปลอดภัยด้านอาหาร โดย โปรแกรมศึกษาระบบความปลอดภัยอาหารและโภชนาการ (FSN) สถาบันคลังสมองของชาติ (KNIT) ร่วมกับ สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 กล่าวว่า หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกำกับดูแลน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญยังไม่มีความชัดเจน ไม่ว่าจะทางด้านหน่วยงาน/องค์กรหรือด้านตัวกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่างๆ ก็ยังไม่มีกฎหมายใดที่กำหนด ควบคุมและกำกับดูแลน้ำดื่มเพื่อการบริโภคที่ได้จากตู้น้ำหยอดเหรียญโดยตรงเลย มีก็เพียงเกณฑ์มาตรฐานน้ำดื่มทั่วไปในการตรวจสอบและเฝ้าระวังเท่านั้น อย่างไรก็ดีปัจจุบันเริ่มมีความพยายามที่จะเข้าควบคุมกำกับดูแลคุณภาพบ้างแล้ว เช่น ในเขตกรุงเทพมหานคร จากการให้สัมภาษณ์ของ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ  ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2552 ระบุว่า มีผู้ประกอบการตู้น้ำดื่มแบบหยอดเหรียญมาลงทะเบียนไว้ที่สำนักงานเขต ทั้งสิ้น 2,000 ตู้ ซึ่งต่อไปนี้ทางสำนักงานเขตแต่ละพื้นที่จะเข้มงวดให้ผู้ประกอบการทุกรายมาขึ้นทะเบียน โดยเตือนว่า ผู้ที่เป็นเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญต้องมาลงทะเบียนที่สำนักงานเขต หากตู้น้ำใดไม่มีการขึ้น ทะเบียน หรือไม่มีใบจดทะเบียนที่สำนักงานเขตออกให้ก็จะดำเนินการตามกฎหมาย อาจจะถึงขั้นไม่ให้ตั้งตู้น้ำในพื้นที่นั้นๆ เลย และยังกล่าวอีกว่า “ขอความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ให้ ช่วยเป็นหูเป็นตาด้วย หากพบว่าตู้น้ำดื่มใดไม่มีใบขึ้นทะเบียนจากทางสำนักงานเขตก็อย่าได้ไว้ วางใจกดน้ำมาบริโภค” ถึงกระนั้น หากพิจารณาให้ดีจะเห็นว่า มาตรการดังกล่าวเป็นเพียงทางกฎระเบียบข้อบังคับเท่านั้น แต่การเฝ้าระวัง การกำกับดูแลและการตรวจสอบที่อยู่บนพื้นฐานขององค์ความรู้ทางวิชาการในส่วนที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญยังไม่ปรากฏว่า มีการดำเนินงานหรือการสนับสนุนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม เช่น ยังไม่การวิจัยหรืองานวิชาการเรื่องฐานความรู้ในเรื่องสำคัญๆ ที่จะเกี่ยวกับความปลอดภัยของน้ำดื่มจากตู้หยอดเหรียญ อย่างเช่น ลักษณะทางกายภาพของตู้น้ำดื่มที่ดีควรเป็นเช่นไร หัวจ่ายที่ใช้ในการจ่ายน้ำต้องมีความปลอดภัยแค่ไหนหรือแม้แต่มาตรฐานของวิธีการบำรุงรักษาว่าควรเป็นเช่นใด ถึงตรงนี้ผู้บริโภคก็ต้องทำใจรอกันล่ะ ว่าเมื่อไหร่ผู้มีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องทั้งหลาย จะเร่งศึกษาวิจัยและจัดทำมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่มจากตู้น้ำหยอดเหรียญกันเสียที ก่อนที่จะกลายเป็นปัญหาบานปลายแก้ไขไม่ทัน เพราะปัจจุบันธุรกิจตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญกำลังเป็นธุรกิจที่มีอัตราการเติบโตสูงมาก   ฉลาดซื้อแนะ การเลือกใช้บริการน้ำดื่มจากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ 1. สภาพภายนอกของตู้น้ำดื่ม : ควรเลือกตู้ที่สะอาด มีการทำความสะอาด ไม่มีฝุ่นผงหรือคราบสกปรก ผู้ประกอบการมีการปัดกวาดเช็ดถูบริเวณรอบๆ ตู้ โดยเฉพาะตรงจุดที่ใช้สำหรับวางภาชนะบรรจุเพื่อรองน้ำจากหัวบรรจุต้องสะอาด ไม่มีฝุ่นผง มีฝาปิดเพื่อป้องกันฝุ่นละออง หัวจ่ายน้ำจะต้องสะอาด ไม่มีคราบสนิมหรือตะไคร่น้ำ และควรเลือกใช้ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ตั้งอยู่ในที่ร่มไม่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งแสงแดดมักจะก่อให้เกิดตะไคร่ขึ้นภายในหัวบรรจุ 2. การควบคุมคุณภาพของน้ำ : ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญบางยี่ห้อจะมีการดูแลและควบคุมคุณภาพของน้ำดื่มโดยผู้ ดูแลตู้จะเข้ามาทำการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องและไส้กรอง จากนั้นจะทำการแปะสติ๊กเกอร์แสดงข้อความบอกวัน เวลาที่เข้ามาตรวจสอบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยทำให้ผู้บริโภครู้ว่าเจ้าของตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ ตู้นี้มีการดูแล และควบคุมคุณภาพของน้ำหรือไม่ 3. การสังเกตกลิ่น สี รส : ผู้บริโภคควรตรวจดูสภาพของน้ำที่ได้จากตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญเบื้องต้นด้วยตน เอง จากการสังเกตสี ความขุ่น-ใส กลิ่นและรสชาติของน้ำ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ถ้าเป็นตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญที่ใช้อยู่เป็นประจำ เมื่อน้ำที่ได้มามีกลิ่นหรือรสชาติของน้ำเปลี่ยน ก็ควรที่จะเปลี่ยนตู้ใหม่ หรือรอให้ตู้ที่ใช้อยู่เดิมนั้นได้รับการดูแลทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรอง เสียก่อน 4. ภาชนะบรรจุที่จะนำไปบรรจุน้ำดื่มจากตู้ : ควรเป็นภาชนะที่สะอาดและมีขนาดพอดีกับปริมาณน้ำที่ซื้อ 5. ไม่สัมผัสหัวจ่ายน้ำด้วยมือหรือวัสดุอื่นใด : เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคลงในน้ำดื่ม   __________________________________________________________________________ น้ำดื่มจากระบบรีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) อันตรายจริงหรือ เนื่องจากน้ำจากตู้หยอดเหรียญส่วนใหญ่ ผ่านกระบวนการที่เรียกว่า รีเวอร์ส ออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) ที่เคยมีผู้กล่าวอ้างว่าเป็นน้ำดื่มที่มีอันตรายเพราะ เป็นน้ำดื่มที่มีความบริสุทธิ์สูงนั้น ในความเป็นจริงยังไม่มีวิจัยไหนมารับรองว่าการกินน้ำ RO จะทำให้เกิดโทษหรือเกิดประโยชน์ไปมากกว่าน้ำปกติ กระบวนการผลิตน้ำบริโภคด้วยระบบ รีเวอร์ส ออสโมซิส เป็นการกรองน้ำให้มีความบริสุทธิ์เกือบ 100% ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ได้น้ำที่สะอาดปลอดภัยวิธีหนึ่ง และไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตน้ำแบบใดก็ตาม หากน้ำผ่านการกรองที่ได้มาตรฐานตามข้อกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งยึดหลักเกณฑ์ตามองค์การอนามัยโลก น้ำนั้นจะไม่มีอันตราย __________________________________________________________________________ คุณภาพน้ำประปาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้เหมาะกับการนำมาบริโภคหรือไม่?โดย สถาบันวิจัยโภชนาการ มหิดล ตีพิมพ์ใน วารสารโภชนาการปีที่ 43 ฉ.1 มค.-มีค. 51 ถาม : คุณภาพน้ำประปาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยปัจจุบันนี้เหมาะกับการนำมาบริโภคหรือไม่?ตอบ : กองอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย ศูนย์อนามัยสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ได้ทำการสำรวจคุณภาพน้ำบริโภคจากแหล่งต่างๆ คือ ประปาขนาดใหญ่ ประปาขนาดกลาง ประปาขนาดเล็ก บ่อบาดาล และบ่อตื้นทั่วประเทศ ยกเว้นในกรุงเทพมหานคร โดยสำรวจคุณภาพในแง่กายภาพ เคมี และแบคทีเรีย พบว่าน้ำบริโภคจากแหล่งน้ำเหล่านี้ประมาณร้อยละ 80 ไม่ได้มาตรฐาน แม้แต่ในกรณีประปาขนาดใหญ่ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 27.2 ที่ได้มาตรฐานทั้ง 3 ด้านคุณภาพของน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่ได้มาตรฐาน ยกเว้นอีกประมาณร้อยละ 8 ที่จ่ายให้ในบางพื้นที่ซึ่งมีปริมาณน้ำประปาไม่เพียงพอ จึงต้องใช้น้ำบาดาลแทน น้ำบาดาลเหล่านั้นมักไม่ได้มาตรฐานทั้งในด้านกายภาพ เคมี และแบคทีเรีย สรุปแล้วน้ำบริโภคจากทั้ง 5 แหล่งในชนบท มีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้นที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐานเหมาะกับการบริโภค ส่วนน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครประมาณร้อยละ 90 ได้มาตรฐาน   ถาม : การต้มหรือกรองน้ำประปาจะช่วยปรับปรุงคุณภาพของน้ำให้เหมือนกับคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดที่จำหน่ายอยู่ทั่วไปได้หรือไม่? ตอบ : การต้มช่วยฆ่าเชื้อโรคในน้ำและลดความกระด้างโดยเฉพาะในน้ำกระด้างชั่วคราว นอกจากนี้ยังช่วยลดกลิ่นคลอรีนด้วย คุณภาพจึงน่าจะใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวด ส่วนน้ำประปาที่ผ่านระบบกรองที่นิยมใช้อยู่ตามบ้านเรือนทั่วไป ซึ่งก็ประกอบด้วยถ่านและเรซิน เหมือนกับกระบวนการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด ยกเว้นไม่มีขั้นตอนการฆ่าเชื้อโรคด้วยรังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือก๊าซโอโซน อย่างไรก็ตามถ้าน้ำประปาที่ใช้ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยคลอรีนในปริมาณที่เพียงพอ น้ำที่กรองจากเครื่องมือเหล่านั้นก็มีคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำดื่มบรรจุขวดเช่นกัน

อ่านเพิ่มเติม >