ฉบับที่ 166 ทดสอบความปลอดภัย “รางปลั๊กไฟ”

“ปลั๊กพ่วง” หรือ “รางปลั๊กไฟ” ถือเป็น 1 ใน อุปกรณ์ที่เริ่มมีบทบาทต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ด้วยความที่ยุคนี้เป็นยุคของเทคโนโลยี อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ถูกคิดค้นขึ้นมาให้ตอบสนองเพื่อความสะดวกสบายของชีวิต ไม่ใช่แค่ โทรทัศน์ วิทยุ ตู้เย็น พัดลม แบบเมื่อก่อน เดี๋ยวนี้ยังมีเครื่องใช้ไฟฟ้าหน้าตาใหม่ๆ ที่พร้อมเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ โน๊ตบุ๊ค โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ไมโครเวฟ ไดรฟ์เป่าผม เครื่องทำกาแฟ ฯลฯ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้า รางปลั๊กไฟจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นไปโดยปริยาย เพราะแค่เต้าเสียบปลั๊กไฟแบบที่ติดถาวรอยู่กับผนังอาคารอาจไม่เพียงพออีกต่อไป ด้วยเหตุผลของการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ที่มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อเลือกใช้ “รางปลั๊กไฟ” ที่ได้คุณภาพมาตรฐานจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนไม่ควรมองข้าม ปลั๊กไฟที่ได้มาตรฐานนั้นย่อมหมายถึงความปลอดภัยที่เราจะได้รับจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ อันตรายที่เกิดจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น ไฟฟ้าช็อต กระแสไฟฟ้ารั่ว อันตรายเหล่านี้สร้างความเสียหายได้ต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สิน   เกณฑ์ในการทดสอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่จะมีเครื่องหมายรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. เป็นตัวช่วยรับรองคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้า แต่รางปลั๊กไฟยังไม่มีมาตรฐานรับรอง แต่ก็มีมาตรฐานที่ใช้เทียบเคียงกันได้อย่าง มอก. 2162 – 2547 และ มอก. 166 – 2547 มาตรฐาน “เต้าเสียบและเต้ารับสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและงานทั่วไปที่มีจุดประสงค์คล้ายกัน” ซึ่งการทดสอบครั้งได้เลือกข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยใน มอก. 2162 – 2547 เป็นเกณฑ์ในการทดสอบ   ประเด็นที่ในการทดสอบ เน้นที่เรื่องของการใช้งานและความปลอดภัย 1.ความต้านทานของฉนวนและความทนแรงดันไฟฟ้า – เป็นการทดสอบคุณสมบัติของฉนวนว่ามีความสามารถในการป้องกันการเกิดไฟดูดได้หรือไม่ โดยจะมีการวัดความต้านทานของฉนวนตรงบริเวณเต้ารับว่าทำหน้าที่ฉนวนได้ดีหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่เกี่บวข้องกับความปลอดภัยโดยตรง หากฉนวนไม่มีความทนทานและไม่สามารถทนต่อแรงดันไฟฟ้าได้ อาจส่งผลให้เกิดกระแสไฟฟ้ารั่วและไฟช็อตได้ 2.อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น – การใช้งานรางปลั๊กไฟเมื่อใช้เป็นเวลานานความร้อนย่อมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งความร้อนที่สะสมมากขึ้นนั้นอาจนำไปสู่การติดไฟหรือไฟฟ้าลัดวงจร การทดสอบจะดูทั้งเต้ารับ ขั้วต่อ ส่วนภายนอกของวัสดุฉนวน โดยอุณหภูมิจากการใช้งานกระแสไฟฟ้าต้องไม่สูงเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 3.แรงที่ใช้ในการดึงเต้าเสียบ – การใช้งานรางปลั๊กไฟ การเสียบเข้าและถอดออกของเต้าเสียบกับเต้ารับ ถือเป็นจังหวะที่เรามีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากรางปลั๊กไฟมากที่สุด เพราะฉะนั้นการออกแบบรางปลั๊กไฟจะต้องทำให้เต้าเสียบเข้าและดึงออกง่าย และต้องมีการป้องกันเต้าเสียบหลุดออกจากเต้ารับในการใช้งาน เต้ารับที่หลวมเกินไปจนหน้าสัมผัสของปลั๊กไม่สมบูรณ์อาจเป็นสาเหตุของการเกิดไฟฟ้าช็อตได้ แต่หากเต้ารับแน่นเกินไปจนทำให้ปลั๊กถอดออกยาก อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อฉนวนของปลั๊กได้ด้วยเช่นกัน 4.ความทนของวัสดุฉนวนต่อความร้อนผิดปกติ ไฟ และการเกิดรอย – ส่วนที่ทำด้วยวัสดุฉนวนที่อาจได้รับความร้อนจากกระแสไฟฟ้า เมื่อเสื่อมสภาพแล้วอาจทำให้ความปลอดภัยของรางปลั๊กไฟเสื่อมสภาพลง วัสดุฉนวนที่ดีต้องไม่ลุกติดไฟ หรือถ้าติดไฟก็ต้องดับภายในเวลา 30 วินาที เพื่อป้องกันความเสียหายทั้งต่อตัวรางปลั๊ก และป้องกันการลุกลามไปติดสิ่งของอื่นในบริเวณใกล้เคียง                          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point