ฉบับที่ 254 สำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ ปี 2565

        การล้างมือบ่อย ๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี จะช่วยป้องกันโรคระบบทางเดินอาหารและทางเดินหายใจ และลดจำนวนการเสียชีวิตจากโรคท้องร่วงได้ถึง 50 % แล้วยังเป็นมาตรการหลักในป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย ครั้นจะใช้สบู่ก้อนแบบเดิม ๆ หลายคนก็เกรงจะเสี่ยงรับเชื้อจากการสัมผัสสบู่ก้อนร่วมกันอีก ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ “สบู่เหลวล้างมือ” ที่แม้จะมีราคาสูงกว่า แต่ตอบโจทย์ทั้งความสะอาด ใช้สะดวก และลดการสัมผัสโดยตรง ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคมากขึ้น         เมื่อปี 2560 มูลค่าตลาดรวมของสบู่ประมาณ 14,032 ล้านบาท แบ่งออกเป็นกลุ่มสบู่ก้อน 9,120 ล้านบาท กลุ่มสบู่เหลว 4,912 ล้านบาท ต่อมาในปี 2563 มูลค่าตลาดรวมของสบู่เพิ่มเป็นประมาณ 16,000 กว่าล้านบาท แต่กลุ่มสบู่ก้อนกลับลดลงมาที่ 9,000 ล้านบาท ในขณะที่กลุ่มสบู่เหลวสูงขึ้นถึงประมาณ 7,400 ล้านบาท         แม้สบู่เหลวล้างมือแต่ละยี่ห้อจะมีส่วนผสมหลากหลายสูตรเพื่อสร้างจุดขายที่แตกต่าง แต่มักยังคงมีสารเคมีจำพวกที่ทำให้เกิดฟอง สารกันเสีย และสารสังเคราะห์อื่นๆ เป็นส่วนประกอบพื้นฐานเหมือนกัน ดังนั้นเมื่อผู้บริโภคมีพฤติกรรมการล้างมือบ่อยขึ้น อาจเสี่ยงสัมผัสสารเคมีในสบู่เหลวบ่อยขึ้นด้วยเช่นกัน           เพื่อเป็นการเฝ้าระวังเรื่องความปลอดภัย นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งสนับสนุนโดย สสส. ได้สุ่มเก็บตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ จำนวน 27 ตัวอย่าง 25 ยี่ห้อ จากห้างค้าปลีกและร้านค้าทั่วไปในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล ในเดือนมีนาคม 2565 เพื่อสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือว่ามีสารเคมีที่ควรระวังหรือไม่ ได้แก่         โซเดียมลอริธซัลเฟต (Sodium Laureth sulfate : SLES ) : สารลดแรงตึงของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ถ้าล้างออกช้าหรือล้างออกไม่หมด อาจทำให้ผิวแห้ง และระคายเคืองได้        เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน (Methylisothiazolinone : MIT) : สารกันเสียที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วต้องล้างออกเท่านั้น อาจทำให้ผิวระคายเคือง หากแพ้มากจะทำให้ผิวอักเสบและมีผื่นแดงขึ้น        พาราเบน (Paraben) : สารกันเสียที่เสี่ยงส่งผลให้เป็นมะเร็ง        ไตรโคลซาน (Triclosan): สารกันเสียที่อาจทำให้ระบบภูมิคุ้มกันมีปัญหา หากใช้ระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยาด้วย         (หมายเหตุ : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยืนยันว่าสารที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดทั้ง 4 ชนิดนี้มีความปลอดภัย เมื่อใช้ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด) สรุปผลสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ         จากผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ 27 ตัวอย่าง 25 ยี่ห้อ         - มี 9 ตัวอย่าง ที่ไม่พบทั้ง SLES, MIT, พาราเบน และไตรโคลซาน         ได้แก่ ยี่ห้อคาว แบรนด์ เซเก็ทสึ คะโซกุ แฮนด์ โซป, ลักส์ โบทานิคัล โฟมล้างมือ, บีไนซ์ คิทเช่น แคร์ โฟมมิ่ง แฮนด์ วอช, บิโอเร โฟมล้างมือ, ศารายา ซิลกี้วอช พิ้งกี้ พีช, คากิชิบุ เซคัทซึ แฮนด์ โซป, คิเรอิคิเรอิ โฟมล้างมือ, เอสเซ้นซ์ ออร์แกนิค อโลเวร่า โฟมล้างมือ และคิงส์สเตลล่า เฮลธ์แคร์ แอนตี้แบคทีเรียล แฮนด์ วอช         - พบ พาราเบน ใน 1 ตัวอย่าง           - ไม่พบ ไตรโคลซาน ในทุกตัวอย่าง         - เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตร พบว่ายี่ห้อคากิชิบุ เซคัทซึ แฮนด์ โซป แพงสุดคือ 0.44 บาท ส่วนยี่ห้อเซฟการ์ด เพียว ไวท์ ลิควิด แฮนด์ โซป และยี่ห้อ 3เอ็ม สบู่เหลวล้างมือ ถูกสุดคือ 0.17 บาท         - ตัวอย่างสบู่เหลวล้างมือที่ฉลาดซื้อเคยสำรวจไว้เมื่อปี 2562 มีค่าเฉลี่ยของราคาต่อปริมาณ 1 มิลลิลิตรอยู่ที่ 0.33 บาท ขณะที่ผลการสำรวจของปี 2565 มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 0.28 บาท คำแนะนำ        - สบู่เหลวล้างมือจัดเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ควรเลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ และสังเกตเลขที่ใบรับจดแจ้งเครื่องสำอางที่ฉลากทุกครั้ง ซึ่งนำไปตรวจสอบผลิตภัณฑ์ได้ที่ www.fda.moph.go.th เพื่อลดความเสี่ยงจากการได้รับเครื่องสำอางปลอมหรือใช้สารเคมีเกินกว่าเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด        - อ่านฉลากก่อนซื้อ และควรปฏิบัติตามคำเตือนที่ระบุไว้บนฉลาก        - สบู่เหลวล้างมือควรมีอายุไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ผลิต        - เลือกสูตรที่มีส่วนผสมที่อ่อนโยน ไม่ระคายเคือง และให้ความชุ่มชื่นคืนผิว        - ควรเลือกสบู่เหลวที่ไม่มีกลิ่นหรือกลิ่นอ่อนๆ ไว้ล้างมือก่อนปรุงอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารติดกลิ่นสบู่ไป          - ล้างฟองออกให้เกลี้ยงเพื่อเลี่ยงการสะสมของสารตกค้างที่อาจทำให้ระคายเคืองผิวได้        - ถ้ามีขวดเดิมอยู่แล้ว ครั้งต่อไปควรซื้อแบบถุงเติมเพื่อช่วยลดปริมาณขยะจากขวดพลาสติกข้อมูลอ้างอิงฉลาดซื้อ ฉบับที่ 217 ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือhttps://mgronline.com/goodhealth/detail/9600000088199https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/966/Hand-hygienehttps://my-best.in.th/49271https://www.thestorythailand.com/08/07/2021/33784/

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 217 ผลิตภัณฑ์สบู่เหลวล้างมือ

        การล้างมือเพื่อลดความเสี่ยงการติดหรือแพร่กระจายของเชื้อโรค เป็นสุขอนามัยที่ยอมรับกันมากขึ้นเรื่อยๆ เดิมเราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญถึงขนาดต้องมีผลิตภัณฑ์สำหรับล้างมือโดยเฉพาะ เพียงแค่สบู่ก้อนกับน้ำสะอาดนับว่าเพียงพอ แต่ตลาดของผลิตภัณฑ์ชำระล้างร่างกายปัจจุบันมีความหลากหลายขึ้น จากสบู่ก้อน มาสู่สบู่เหลว ครีมอาบน้ำ ซึ่งในกลุ่มของสบู่เหลวยังแยกย่อยออกมาเป็น สบู่เหลวเพื่อการทำความสะอาดมือ ที่มีสัดส่วนในตลาดสบู่เหลวประมาณร้อยละ 3        ปัจจุบันสบู่ที่จำหน่ายในท้องตลาดแบ่งตามลักษณะของผลิตภัณฑ์เป็น 2 ลักษณะ คือ สบู่ก้อน(bar soaps) และสบู่เหลว(liquid soaps) ทั้งนี้มูลค่าการตลาดรวมของสบู่ในปี 2560 มีมูลค่าประมาณ 14,032 ล้านบาท แบ่งออกเป็นสบู่เหลว 4,912 ล้านบาท สบู่ก้อน 9,120 ล้านบาท (ที่มา...ประชาชาติธุรกิจ)        โดยทั่วไปสบู่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในการฟอกทำความสะอาดผิว เป็นหนึ่งในสินค้าที่ผู้บริโภคไม่ค่อยยึดติดกับยี่ห้อมากนัก เพราะคุณสมบัติพื้นฐานไม่ต่างกัน ยี่ห้ออะไรก็ใช้แทนกันได้ ดังนั้นแต่ละยี่ห้อจึงต้องสรรหาจุดขายเพื่อสร้างความดึงดูดใจผู้บริโภค สบู่เหลวล้างมือก็เช่นกัน เป็นผลจากการแบ่งย่อยคุณสมบัติสินค้าให้เจาะจงยิ่งขึ้น สบู่เหลวล้างมือจึงมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ที่ออกแบบให้เป็นหัวปั๊มใช้งานง่าย สามารถรีฟิล(refill) ได้ รวมทั้งการใส่สารผสมอย่างน้ำหอม สารให้ความชุ่มชื้น วิตามินต่างๆ หรือสารสกัดจากธรรมชาติ เพื่อสร้างความแตกต่าง แต่อย่างไรก็ตามในส่วนประกอบพื้นฐานยังคงเป็นสารเคมีเพื่อการชะล้างหรือทำความสะอาดผิว ซึ่งเป็นสารแบบเดียวกันหมดมีอะไรในสบู่ สบู่เหลว        1.ไขมันและน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว         2.ด่าง(alkali) เป็นตัวทำปฏิกิริยากับกรดไขมันและส่วนประกอบอื่นๆ ทำให้สารลดแรงตึงผิวและสารลดความกระด้างของน้ำทำงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ที่นิยมใช้มี 2 ชนิด คือ โซเดียมไฮดรอกไซด์ และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์         3.สารลดความกระด้างของน้ำ(builders) ใช้ลดความกระด้างของน้ำ เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำความสะอาดและป้องกันการเสื่อมของผลิตภัณฑ์ เช่น สี กลิ่น เป็นต้น         4.สารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์(synthic surfactants)         5.สารปรับสภาพ(conditioners) เพื่อให้ผิวเกิดความชุ่มชื้นและเกิดความระคายเคืองต่อผิวน้อยลง         6.สี ซึ่งจะต้องได้รับอนุญาตตามกฎหมายเครื่องสำอาง        7.น้ำหอม(fragrances) ทำหน้าที่ปกปิดกลิ่นของส่วนประกอบต่าง ๆ และให้กลิ่น        8.วัตถุกันเสีย เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของสบู่  และ        9.สารต้านจุลินทรีย์(antimicrobial agents) ทำหน้าที่ฆ่าและยับยั้งการ เจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดเชื้อโรคและกลิ่นสารกลุ่มเสี่ยงที่ควรให้ความสนใจ          สารในกลุ่มที่มีการกล่าวถึงกันมากว่าอาจเป็นอันตรายทั้งต่อตัวผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม คือ         ·        สารในกลุ่มลดแรงตึงผิว (Surfactant ) เป็นส่วนผสม ซึ่งมีทั้งหมด 4 ประเภท ได้แก่         1.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) มีคุณสมบัติทำความสะอาดได้ดี ทำให้เกิดฟองเร็ว มีราคาถูก และมีความแรงมากกว่าชนิดอื่น จึงอาจทำให้เกิดการระคายต่อผิวได้มาก เช่น sodium lauryl sulfate (SLS), Sodium Lauryl Ether Sulfate (SLES)         2.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวก (cationic surfactant) มักใช้ร่วมกับชนิดประจุลบในปริมาณไม่มากนัก แก้ไขจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์ ไม่ให้สบู่เหลวมีประจุลบมากเกินไป เช่น benzalkonium chioride polyquaternium 7, 10, 22 quaternary este        3.สารลดแรงตึงผิวชนิดประจุบวกและประจุลบ (amphoteric surfactant) กลุ่มนี้ให้ฟองปานกลางและระคายเคืองต่อผิวน้อย เช่น cocamidopropyl betaine         4.สารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุ มีประสิทธิภาพในการชำระล้างได้ดี แต่มีฟองไม่มาก ระคายเคืองต่อผิวหนังน้อย เช่น nonyl phenol groups, polyxyethylene fatty alcoholsผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กและสบู่เหลวสุตรอ่อนโยนต่อผิว มักใช้สารลดแรงตึงผิวประเภทที่ 3 และ 4 เป็นส่วนผสม เนื่องจากมีความอ่อนโยนกว่าประเภทอื่น        ·        สารกันเสีย (Preservative) คือสารเคมีที่ใส่เข้าไปในผลิตภัณฑ์ เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดในครัวเรือน เพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เพื่อยืดอายุผลิตภัณฑ์ แต่หากเราสัมผัสสารตัวนี้ในปริมาณมากเกินไปก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย และสารบางชนิด เช่น สารกลุ่มพาราเบน มีการศึกษาวิจัยกันมากขึ้นว่า อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดมะเร็งด้วย        ·        น้ำหอมสังเคราะห์ จัดเป็น 1 ใน 5 อันดับแรกของสารก่อภูมิแพ้ อยู่ในผลิตภัณฑ์แทบทุกชนิด หากใช้มากเกิน อาจก่อให้เกิดการระคายเคือง ภูมิแพ้ คำว่า น้ำหอม อาจใช้แทนสารเคมีกลุ่ม phthalates ซึ่งเป็นสารเคมีที่ใช้เป็นกลิ่นสังเคราะห์หรือน้ำหอมสังเคราะห์นั่นเอง โดยสารกลุ่มนี้จะรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อจึงอาจก่อให้เกิดความอ้วน และอาจมีผลรบกวนระบบสืบพันธ์และการพัฒนาการได้ การหลีกเลี่ยงสารกลุ่ม phthalates การล้างมือที่ถูกวิธี          การเลือกใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว อาจเป็นเรื่องของความพึงพอใจในการใช้งาน แต่จริงๆ แล้ว การล้างมือถ้าทำได้ถูกวิธี ผลิตภัณฑ์ทั้งสบู่เหลวและสบู่ก้อนให้ผลไม่แตกต่างกัน ถ้าเช่นนั้นการล้างมือที่ถูกวิธี ต้องทำอย่างไร          1.ระยะเวลาในการล้างมือ อย่างน้อยต้อง 15 วินาทีขึ้นไป เพื่อให้เพียงพอในการขัดถูฝ่ามือ หลังมือ ถูซอกนิ้วมือ ซอกเล็บ รวมถึงบริเวณข้อมือด้วย           2.ควรล้างมือเมื่อเลอะคราบสิ่งสกปรก  ต้องเตรียมอาหารหรือกินอาหาร ใส่คอนแทคเลนส์ การทำแผล และควรล้างมือหลังกิจกรรมเหล่านี้ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม สั่งน้ำมูกใช้มือปิดปากเมื่อไอ จาม และสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงหรือเก็บกวาดมูลสัตว์           3.จำเป็นไหมว่าต้องเป็นสบู่หรือสบู่เหลวที่ผสมยาฆ่าเชื้อ การล้างมือที่ถูกวิธีก็เพียงพอในการลดการสะสมของเชื้อโรคได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สบู่เหลวที่ผสมสารฆ่าเชื้อ    

อ่านเพิ่มเติม >