ฉบับที่ 225 สภาผู้บริโภคเกิดช้า...ใครได้ประโยชน์? สปน. จับองค์กรผู้บริโภคเป็นตัวประกัน

        ย้อนกลับไปวันที่ 22 กรกฎาคมที่ผ่านมา วันแรกของการยื่นจดแจ้งองค์กรผู้บริโภคคึกคักมากวันรุ่งขึ้น วันที่ 23 กรกฎาคม มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและองค์กรผู้บริโภคจากทุกภูมิภาคยื่นขอจดจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภคทันที เพราะถือว่า ทุกองค์กรต่างทำงานมามากกว่า 2 ปี การจดแจ้งเป็นการแจ้งให้สปน.(สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี) ทราบว่าเรามีตัวตน แต่ถูกตีกลับเพราะอ้างว่า ยังไม่มีการพิจารณาองค์กร         ยกที่หนึ่ง เมื่อถูกตีกลับว่าไม่สามารถจดแจ้งสภาองค์กรผู้บริโภคได้ ทุกจังหวัดไม่ท้อแท้ มีตัวแทนองค์กรไปยื่นจดแจ้งเพิ่มเติม เพราะคาดการณ์กันว่า ภายใน 30 วัน เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่า ฯ มอบหมาย ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี หรือคนที่ปลัดมอบหมาย รับจดแจ้งองค์กรคงใช้เวลาไม่เกิน 30 วัน เพราะการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพ เลขาธิการ อย. รับลูกรัฐมนตรีขึ้นทะเบียนเสร็จภายใน 1 วัน  ไฉนเลยการแจ้งความเป็นองค์กรผู้บริโภคน่าจะรวดเร็วกว่าแน่นอน        ยกที่สอง นายทะเบียนกลางออกประกาศฉบับที่ 2  โดยให้อำนาจสปน. ในการเรียกองค์กรผู้บริโภคไปพบ หรือรายงานตัว ทั้งที่มาตรา 6 ระบุชัดเจนว่าการยื่นจดแจ้ง ต้องไม่มีลักษณะการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็นและให้รับฟังความคิดเห็นองค์กรผู้บริโภค รวมทั้งขยายเวลาเป็น 120 วัน จากประกาศฉบับที่ 1 กำหนด 60 วัน สามารถขยายได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 30 วัน รวม 60 วัน         เป็นคำถามต่อจังหวัดที่เหลือและโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครที่ยังไม่มีใดองค์กรผ่านการจดแจ้ง ปัจจุบันมีเพียง 16 จังหวัดเท่านั้น คิดเป็น 20.78% จำนวน 129 องค์กร ได้แก่ เชียงใหม่ 19 องค์กร เชียงราย 9 องค์กร ลำปาง 18 องค์กร นครปฐม 3 องค์กร ฉะเชิงเทรา  17 องค์กร พะเยา 12 องค์กร ลำพูน 11 องค์กร ปัตตานี 2 องค์กร นราธิวาส 3 องค์กร ร้อยเอ็ด 8 องค์กร สตูล 8 องค์กร สุราษฎร์ธานี 8 องค์กร นครราชสีมา 2 องค์กร สระบุรี 1 องค์กร สระแก้ว  3 องค์กร สมุทรสงคราม 5 องค์กร         เนื่องจากการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค ต้องการองค์กรริเริ่มไม่น้อยกว่า 150 องค์กร จึงยังไม่สามารถจัดตั้งได้ในปัจจุบัน        ยกที่สาม วัดความอดทนขององค์กรผู้บริโภคหรือถูกสปน.วางยา? องค์กรผู้บริโภคถูกจับเป็นตัวประกัน ทำให้ตัดสินใจลำบากในการฟ้องคดีปกครองทั้งๆ ที่น่าจะเข้าข่ายการปฏิบัติงานล่าช้าเกินควรจนเกิดความเสียหายต่อองค์กรผู้บริโภค เพราะเลยระยะเวลา 120 วันที่กำหนด        การเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ของสภาองค์กรผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคเสียประโยชน์จากการมีตัวแทนของตนเองในการให้ความเห็นทางนโยบายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ไม่สามารถสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้จัดตั้งสภาผู้บริโภคระดับจังหวัด การแจ้งเตือนภัยสินค้าหรือบริการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายหรือเกิดความเสียหายแก่ผู้บริโภค ยังไม่สามารถทำได้        ที่สำคัญ ที่หน่วยงานรัฐไม่ต้องการให้เกิดอำนาจในการดำเนินการตรวจสอบการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค หรือแม้แต่ดำเนินคดีแทนผู้บริโภคหรือองค์กรของผู้บริโภคทั้งที่มีเรื่องสำคัญเกิดขึ้นมากมายนับแต่วันที่ 22 พฤษภาคมที่ผ่านมา

อ่านเพิ่มเติม >

นักวิชาการแย้งกฤษฎีกา ร่าง พ.ร.บ.สภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. ... ไม่ขัด รธน.

(29 ต.ค.61) ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น - กรุงเทพฯเวทีเสวนา ความก้าวหน้าของร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรผู้บริโภคแห่งชาติ พ.ศ. …. ฉบับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ตั้งแต่ผ่านมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 5 มิ.ย.61 ได้ถูกเปลี่ยนอีกครั้งเมื่อเข้าสู่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ โดยเนื้อหาร่างกฎหมายดังกล่าว ถูกคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 46 จึงได้มีการเสนอร่าง พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. …. ขึ้นใหม่ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธานฯ และมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตัวแทนจากองค์กรผู้บริโภคเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำร่างกฎหมายด้วยโดยนักวิชาการได้อภิปรายโต้แย้ง 3 ประเด็น คือ 1. ไม่มีหลักประกันงบประมาณของสภา ต้องของบประมาณผ่านหน่วยงานรัฐ ขอตรงไม่ได้ ซึ่งอาจไม่เป็นอิสระในการทำงาน  2. เปิดโอกาสให้มีหลายสภา ทำให้ไม่เป็นองค์กรที่จะมีตัวแทนผู้บริโภคเพียงหนึ่งเดียวที่มีพลังในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 3. ยืนยันว่าร่างกฎหมายสภาผู้บริโภคของ สคบ. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างที่กฤษฎีกาให้ความเห็น

อ่านเพิ่มเติม >