ฉบับที่ 277 มือถือหาย 4 ปี แต่โดนเรียกเก็บหนี้ย้อนหลัง

        ปัจจุบันอุปกรณ์ที่สำคัญในชีวิตประจำวันสำหรับใครหลายคนไปโดยปริยาย ก็คงไม่พ้นสมาร์ทโฟนเพราะนอกจากใช้โทร ส่งข้อความ ยังใช้ทำได้ทุกอย่างอีกด้วยไม่ว่าจะทำงาน ทำธุรกรรมทางการเงิน ฟังเพลงหรือเล่นโซเชียลต่างๆ  แต่ถ้ามือถือสุดที่รักที่เป็นแทบจะทุกอย่างเลยของเราดันหายไป และแถมยังโดนเรียกเก็บเงินเงินย้อนหลังอีกล่ะ ควรจะทำอย่างไรดี         เหมือนกับเคสของคุณโรส เธอได้มาปรึกษากับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า มีจดหมายแจ้งหนี้มาถึงที่ทำงานของเธอว่า ให้เธอไปชำระหนี้ค่าบริการซึ่งใช้กับมือถือเครื่องเก่า (ที่หายไป) จำนวน 7,400 บาท ซึ่งเบอร์ที่เคยใช้บริการพร้อมกับโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นระยะเวลามันผ่านไป 4 ปีแล้ว          ตอนที่มือถือหายก็ว่าเสียใจมากแล้ว แต่ก็พยายามทำดีสุดในความคิดของเธอคือ รีบแจ้งความลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจและไปที่สำนักงานใหญ่ค่ายมือถือ ตอนนั้นมันช่วงโควิดที่ห้ามการเดินทางโดยไม่จำเป็น  โดยขอให้ค่ายมือถือช่วยตามหาสัญญาณจากเบอร์ของเธอ ซึ่งสุดท้ายแล้วก็ไม่สามารถตามหาสัญญาณได้ จึงต้องทำใจปล่อยไป กระทั่งปัจจุบันมีจดหมายส่งมาที่ทำงานของเธอ ทำให้ยิ่งงงเข้าไปใหญ่ เพราะยอดดังกล่าวนั้นเธอไม่ได้ใช้สิ เพราะเธอได้เปลี่ยนเครื่องใหม่กับเบอร์ใหม่ไปแล้วด้วย อีกอย่างเครื่องเก่าที่หายเธอก็ผ่อนชำระหมดไปแล้วด้วยซ้ำ        อย่างไรก็ตาม เมื่อมีเรื่องก็ต้องหาทางแก้ไข เธอเลยต้องไปที่ศูนย์บริการค่ายมือถือดังกล่าว (ดีหน่อยไม่ต้องไปถึงสำนักงานใหญ่) พร้อมกับแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้น ทางบริษัทมือถือจึงได้แนะนำว่าให้ไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ โดยขอให้แจ้งความแบบดำเนินคดี (ขอเอกสารตราครุฑ) ไม่ใช่การลงบันทึกประจำวัน หลังจากนั้นนำหลักฐานมาแจ้งความกับทางบริษัทเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาต่อไป แนวทางการแก้ไขปัญหา         เบื้องต้นคุณโรสบอกว่า เธอได้ไปแจ้งความตามที่บริษัทแนะนำและได้นำหลักฐานไปแจ้งต่อบริษัทเรียบร้อยแล้ว ซึ่งทางบริษัทได้แจ้งต่อเธอว่าจะส่งเรื่องให้ฝ่ายกฎหมายตรวจสอบอีกครั้งผลเป็นอย่างไรจะติดต่อไปอีกครั้ง จนปัจจุบันทางบริษัทยังไม่มีการติดต่อกลับมาฉลาดซื้อ อยากแนะนำเพิ่มเติมว่า          1.ในกรณีมือถือหายแนะนำไปแจ้งความแบบต้องการดำเนินคดี (เอกสารที่ตำรวจออกให้จะต้องมีตราครุฑ         2.นำเอกสารไปแจ้งต่อศูนย์บริการค่ายมือถือทันที เพื่อให้พนักงานระงับการใช้งานเบอร์ดังกล่าวไว้ก่อน และป้องกันนำไปแอบอ้างใช้งานอีกด้วย         3.ในกรณีที่ยังไม่หายก็อยากแนะนำให้โหลดแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามสัญญาณตัวเครื่องไว้หน่อย เพื่อไว้มีช่องทางในการตามหาได้ และควรตั้งรหัสมือถือไว้ตลอด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 275 ฝึกฝนภาษาบนสมาร์ทโฟนด้วยปลายนิ้ว

        การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงอายุใดก็ตาม เมื่อได้เรียนรู้ ทักษะความสามารถย่อมเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งการเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียนรู้ผ่านห้องเรียนเท่านั้น การอ่านหนังสือ การอ่านข้อมูลจากแหล่งต่างๆ การเล่าสู่กันฟัง การอธิบายยกตัวอย่าง ฯลฯ รวมถึงการฝึกฝนทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจก็เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้เช่นกัน         ปัจจุบันภาษาเข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้นทุกที โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษาสากลที่ช่วยในการสื่อสารกันทั่วโลก ดังนั้นการมีความรู้ความเข้าใจในภาษาอังกฤษ ทั้งทางด้านการพูด การฟัง การอ่าน และการเขียน ก็มีความสำคัญอย่างมาก        ฉบับนี้มาแนะนำสำหรับผู้ที่ต้องใช้ทักษะด้านการอ่าน การเขียน และการฝึกพูด ด้วยแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Johnny Grammar Word Challenge ของ British Council ซึ่งเป็นองค์กรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ แอปพลิเคชันนี้เป็นการทดสอบคำศัพท์ การสะกดคำ และไวยากรณ์สำหรับภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันของผู้เรียนภาษาอังกฤษ โดยทดสอบผ่านการทำแบบฝึกหัดจากการแข่งขันกับเวลาภายในระยะเวลา 60 วินาที การเข้าใช้แอปพลิเคชัน ผู้ใช้สามารถเลือกลงทะเบียนเข้าใช้โดยการกรอกข้อมูลส่วนตัว หรือเข้าใช้ผ่าน facebook หรือเลือกเข้าใช้แบบ guest ซึ่งไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว โดยภายในแอปพลิเคชันจะมีหมวดการทดสอบ 3 หมวด ได้แก่ หมวด Grammar (ไวยากรณ์) หมวด Words (คำศัพท์) และหมวด Spelling (สะกดคำ)         หมวด Grammar เป็นหมวดที่ทดสอบด้านไวยากรณ์ แบ่งตามหัวข้อจากระดับง่ายไปจนถึงระดับยาก ดังนี้ หัวข้อคำบุพบท (preposition) หัวข้อกริยาไม่ปกติ (Irregular verbs) หัวข้อคำคุณศัพท์และคำกริยาวิเศษณ์ (Adjectives & adverbs) หัวข้อคำนามนับได้และคำนามนับไม่ได้ (Countable and uncountable) หัวข้อกริยาที่มี  to และไม่มี  to หรือกริยาที่เติม ing และใช้แบบ noun (Infinitives or gerunds) หัวข้อการใช้คำ More or less หัวข้อเกี่ยวกับสี (Expression with colour) หัวข้อการใช้คำ Few and little หัวข้อคำวิเศษณ์ (Adverbial Clauses) หัวข้อกริยาช่วย (Modals) หัวข้อคำเชื่อม (Linkers) และหัวข้อคำสันธาน (Conjunctions)         หมวด Words (คำศัพท์) เป็นหมวดที่ทดสอบด้านคำศัพท์ แบ่งตามหัวข้อตามกิจกรรม ดังนี้ หัวข้อร้านอาหาร หัวข้อการท่องเที่ยว หัวข้อการสนทนาสั้นๆ หัวข้องานอดิเรก หัวข้อคำ idioms หัวข้อแสดงความเป็นตัวตน หัวข้อความสนใจ หัวข้อการทำงาน หัวข้อการสนทนาง่ายๆ และหัวข้อช้อปปิ้ง ส่วนหมวด Spelling เป็นหมวดที่ทดสอบด้านการสะกดคำ เมื่อกดในหมวดนี้แอปพลิเคชันจะนำไปสู่การทดสอบโดยกำหนดโจทย์ในรูปแบบประโยคและให้ผู้ใช้เลือกคำให้เหมาะสม ซึ่งในหมวดนี้จะเป็นการทบทวนการใช้ประโยคไปในตัว ทั้งนี้เมื่อจบบททดสอบการสะกดคำแล้ว แอปพลิเคชันจะสรุปและเฉลยคำตอบทีละข้อเพื่อให้ตรวจสอบและทำความเข้าใจอีกครั้งมาฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษกันผ่านแอปพลิเคชันนี้กัน เพราะการเรียนและฝึกฝนทุกวันจะช่วยพัฒนาศักยภาพของเราได้อย่างแน่นอน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 โอ้ละหนอ ... ดวงตาเอย

        ปัจจุบันเราใช้สายตาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกันมาก ทำให้หลายคนอาจเกิดปัญหาต่างๆ ทางสายตามากขึ้น  จึงเป็นโอกาสทองของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จะเข้ามาแทรกตรงนี้เพื่อให้ผู้บริโภคเคลิบเคลิ้มจนเสียเงินอย่างไม่จำเป็น โดยสารสำคัญล่าสุดที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยกมาอ้างถึงประโยชน์คือ “ลูทีน”         ในเว็บขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต พบว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ที่แจ้งว่ามีส่วนผสมของลูทีนและวิตามินต่างๆ แต่ที่เหมือนๆ กันคือ ทุกชนิดจะอ้างว่าตนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงรักษาดวงตา บางผลิตภัณฑ์มีการนำผลการวิจัยที่มีตัวเลขต่างๆ มาอ้างอิงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการรักษา เหมือนว่าเพิ่มความขลัง แรกๆ ก็อ้างว่าสามารถรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ แต่ลองอ่านไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามีการอ้างว่ารักษาโรคต่างๆ มากขึ้นไปอีก ประหนึ่งว่ามันคือ อาหารเทวดา เช่น ความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ  อาการหลอดเลือดแข็ง ลดไขมัน ทำให้ผิวพรรณสดใส ฯลฯ แต่ที่หาไม่เจอคือ ข้อมูลแสดงที่มาของการวิจัยว่าเป็นหน่วยงานทางวิชาการที่ไหนทำ หรือพูดภาษาบ้านๆ คือ ยกเมฆเอาข้อมูลมาอวดอ้าง แต่ไม่บอกแหล่งที่มาว่าใครวิจัย ดีที่ไม่อ้างว่าเทวดาวิจัย(ฮา)         เมื่อตามเข้าไปดูในเฟซบุ๊คของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ยิ่งหนักขึ้นไปอีก มีการนำภาพผ้สูงอายุมาประกอบการโฆษณา โดยมีข้อความชวนตะลึงเข้าไปอีก เช่น “ทานต่อเนื่อง 3 กล่อง ต้อเนื้อหลุด ตาพร่ามัวดีขึ้น มองชัด” ผลิตด้วยเทคโนโลยีนาโน และยังแทคข้อความแฝงสรรพคุณต่างๆ เช่น #แสบตา #เคืองตา #น้ำตาไหล #ตาพร่ามัว #แพ้แสง #แพ้ลม #มองไม่ชัด#ภาพซ้อน #หยากไย่ลอยไปลอยมา #ตาบอดกลางคืน #ต้อลม #ต้อกระจก#ต้อเนื้อ #ต้อหิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีภาพกล่องพัสดุที่เตรียมส่งไปรษณีย์กองใหญ่ รวมทั้งโชว์ภาพใบส่งของไปรษณีย์ที่ยาวเหยียดมากมาย เหมือนโชว์ว่าสินค้านี้มีผู้สั่งซื้อจำนวนมาก         อันที่จริง ลูทีน เป็นสารอาหารในกลุ่มเดียวกับ เบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ พบได้มากในผักและผลไม้หลายชนิด เช่น ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ คะน้า ข้าวโพด กีวี องุ่น ส้ม ฯลฯ ดังนั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปเสียเงินเสียทองซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแพงๆ มากิน หากใครติดตามข่าวจะพบว่าแม้กระทั่งจักษุแพทย์ เช่น ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเคยออกมาเตือนผ่านทางสื่อต่างๆ ว่า โรคตาแต่ละชนิดมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเป็นต้อกระจกต้องผ่าตัดต้อกระจก หากเป็นต้อหินก็ต้องให้ยาลดความดันลูกตา ไม่สามารถใช้วิตามินกินแล้วบอกว่ารักษาทุกโรคได้         สารลูทีนและซีแซนทีน เป็นกลุ่มวิตามิน ซึ่งมีการศึกษาที่พิสูจน์ว่าได้ประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุบางประเภท “ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ก่อน” จึงจะสามารถใช้ยาได้ “ดังนั้นการโฆษณาว่ารักษาโรคตาได้ทุกโรคนั้นไม่เป็นความจริง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ หนำซ้ำจะทำให้เกิดอันตราย ขาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้โรครุนแรงขึ้นจนถึงขั้นตาบอดได้” เช่น ถ้าเป็นต้อเนื้อ ก็จะลุกลามจนบังการมองเห็น ถ้าเป็นต้อกระจกก็จะทำให้อาการรุนแรงเกิดผลแทรกซ้อนกลายเป็นต้อหินและตาบอดในที่สุด ยิ่งถ้าเป็นต้อหินอยู่เดิมแล้วไม่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันลูกตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ บางคนอาจจะใช้เวลาเพียง 1-2 เดือนก็ทำให้ตาบอดได้        ทราบข้อมูลขนาดนี้แล้ว ช่วยๆ กันเตือนคนที่เรารัก ให้เท่าทัน หากมีปัญหาเรื่องตา ควรไปหาจักษุแพทย์ตรวจรักษาอย่างถูกวิธีดีกว่า อย่าไปหลงเป็นเหยื่อ ให้ผลิตภัณฑ์พวกมา...โอ้ละหนอ หลอกดวงตาจนอาจจะบอดเอย

อ่านเพิ่มเติม >


ฉบับที่ 212 มือถือกับเด็ก ภัยจากเทคโนโลยีที่ยากจะควบคุม

มาถึงศตวรรษนี้แล้วคงไม่มีใครปฏิเสธการเข้ามาของเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตให้ง่ายขึ้นด้วยปลายนิ้ว จนปัจจุบันกลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ที่มนุษย์ทุกคนแสวงหา อย่างไรก็ตาม ในแง่มุมตรงกันข้าม ความง่ายของมันทำให้เกิดปัญหาตามมาได้หากใช้โดยไม่รู้เท่าทัน จากผู้ที่กุมโลกทั้งใบเอาไว้ในมืออาจกลายเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะ “เด็ก” ที่อยู่ในช่วงการสร้างพัฒนาการทางด้านร่างกาย สมอง สติปัญญา ทักษะชีวิตและการเข้าสังคม เมื่อราวๆ กลางปี 2561 นพ.สมัย ศิริทองถาวร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันพบเด็กเล็กเป็น “โรคไฮเปอร์เทียม” มากขึ้น คือมีอาการคล้ายโรคไฮเปอร์แต่ยังไม่ถึงขั้นป่วย เกิดจากการเลี้ยงดูด้วยการ “ปล่อยให้เด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ เล่นแท็ปเล็ต สมาร์ทโฟนเพื่อทำให้เด็กนิ่ง ไม่ซน” ในวงการจิตแพทย์พบว่าความเร็วของภาพในเกม ซึ่งเปลี่ยนทุก 3 วินาทีจะส่งผลโดยตรงต่อสมองทำงานไม่ลงตัว คุมสมาธิไม่ได้ ทำให้ทักษะการอ่าน การเขียน การพูดของเด็กแย่ลง อารมณ์ร้อน รอคอยไม่เป็น มีปัญหาการอยู่ร่วมกับเด็กวัยเดียวกันหรือคนอื่น นอกจากนี้ เมื่อเด็กอยู่กับสมาร์ทโฟน ติดกับความสนุกสนานของภาพเคลื่อนไหว เด็กจะนั่งนิ่ง ไม่มีพัฒนาการด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและมวลกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึงการสื่อสารกับคนรอบข้าง นับเป็นจุดเริ่มต้นของผลกระทบด้านลบ ปัญหาแสงสีฟ้ากับสายตาขี้เกียจ นพ.ศักดิ์ชัย วงศ์กิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่าการใช้สมาร์ทโฟนมีผลทำให้เด็กสายตาสั้นมากขึ้น และแสงสีฟ้าจากจอโทรศัพท์มือถือก็มีผลทำให้คนรุ่นหลังๆ เสี่ยงเป็นโรคต้อกระจกมากขึ้น และเกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ ขอเริ่มที่ “ปัญหาแสงสีฟ้า” ก่อน แสงที่อยู่ตามธรรมชาติ เช่นแสงแดด ประกอบด้วยสีหลายสี เช่น คราม น้ำเงิน แสงสีฟ้า เขียว เหลือง แสด แดง เป็นต้น แต่ละสีมีคลื่นความถี่แตกต่างกัน  แสงสีฟ้าที่มีในจอโทรศัพท์มือถือนั้นเป็นแสงความยาวคลื่นที่มีความถี่สูงกว่าแสงสีชนิดอื่นๆ จึงมีพลังงานสูงกว่าแสงสีอื่น ทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่บริเวณจอประสาทตามากขึ้น ซึ่งวงการแพทย์มีความเป็นห่วงว่าอาจจะทำให้เกิดจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุ เร็วกว่าเวลาอันควร ซึ่งโรคนี้จะนำมาซึ่งการสูญเสียการมองเห็น “สมัยก่อนเราจะพบโรคนี้ในคนที่ทำงานกลางแจ้ง แต่ก็มักพบเมื่ออายุประมาณ 70-80 ปี ขึ้นไปแล้ว แต่การที่เด็กเล่นโทรศัพท์ โดยเฉพาะการเล่นตอนกลางคืนจากเดิมที่ตอนกลางวันก็โดนแสงธรรมชาติอยู่แล้ว ก็ยังมาโดนแสงโทรศัพท์อีก ยิ่งถ้าปิดไฟเล่นจะทำให้ม่านตาขยายเข้าไปมากกว่าเดิม ดังนั้นจักษุแพทย์จึงเป็นห่วงว่าคนในยุคหน้าจะเป็นจอประสาทตาเสื่อมเร็วกว่าที่ควรจะเป็น” มาที่ผลกระทบของการใช้โทรศัพท์มือถือที่ทำให้เด็กมีปัญหาสายตาสั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเล่ากันยาวหน่อย คือ เนื่องจากเมื่อมีการใช้สายตามองในระยะใกล้ๆ ทำให้เด็กต้องใช้สายตามากขึ้น และการเพ่งสายตามากขึ้นจะทำให้เกิดปัญหา “สายตาสั้นเทียม” หมายความว่าเด็กมีอาการเพ่งค้างของสายตา มองไกลไม่ชัด เมื่อไปพบจักษุแพทย์แล้วหยอดยาลดการเพ่ง จากนั้นก็วัดค่าสายตาแล้วจะพบว่าไม่มีปัญหาจริงๆอย่างไรก็ตามมีการศึกษาวิจัยทั่วโลก โดยเฉพาะโซนเอเชีย พบว่าการใช้สายตามองใกล้มากๆ ของเด็ก โดยเฉพาะเด็กที่ไม่ค่อยได้ออกไปเล่นกลางแจ้ง หรือมองไกลๆ เลยจะทำให้มีปัญหาสายตาสั้นมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่มีกรรมพันธุ์พ่อแม่สายตาสั้น เด็กที่เล่นสมาร์ทโฟนมากขึ้นก็ยิ่งทำให้สายตาสั้นมากขึ้น เร็วขึ้นกว่าเวลาอันควร ปัจจุบันบางประเทศพบเด็กสายตาสั้นครึ่งหนึ่งของเด็กทั้งหมด ซึ่งประเทศไทยก็มีแนวโน้มเช่นเดียวกัน“ยิ่งอายุน้อยยิ่งมีผลกระทบเยอะ เพราะว่าความสามารถในการเพ่งจะมากที่สุดตั้งแต่ตอนเกิดและค่อยๆ ลดลง รวมทั้งความสามารถในการขยายตัวของลูกตาที่มีผลทำให้สายตาสั้นนั้นจะพบเร็วมากในช่วง 2 ขวบแรก เพราะเป็นช่วงที่ลูกตามีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้สูง ดังนั้นถ้าเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ เราไม่แนะนำให้เล่นเลย เพราะว่าลูกตายังมีความบอบบาง ยังไม่แข็งแรงพอ ถ้าทำให้เด็กมีการเพ่งตั้งแต่อายุยังน้อยก็มีโอกาสที่จะเกิดสายตาสั้นเร็วมากขึ้น” รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวต่อว่า ปัญหาคือเวลาที่เด็กมีปัญหาสายตา ไม่ว่าจะสั้นเทียมหรือสั้นจริง เด็กอาจจะไม่รู้ว่านั่นคือปัญหา จึงไม่ได้บอกผู้ปกครอง แน่นอนว่าเมื่อมีปัญหาการมองเห็นแล้วย่อมมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ด้านอื่น ตามมา ที่กังวลคือมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการถาวรจากโรค “สายตาขี้เกียจ” คือเด็กอายุต่ำกว่า 10 ขวบ เป็นเวลาทองของการพัฒนาจอประสาทตา หากมองไม่ชัด ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม จะทำให้จอประสาทตาไม่พัฒนา เมื่อจอประสาทตาไม่พัฒนา มารู้ตัวอีกทีหลังจากที่เด็กมีอายุมากกว่า 10 ขวบแล้ว จะแก้ไขให้กลับมามองเห็นปกติไม่ได้ ต่อให้ตัดแว่นให้ใส่ก็ตาม ทั้งนี้ เมื่อตามองไม่ชัด สมองก็ไม่พัฒนา สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือตาเหล่ คือข้างหนึ่งมองเห็นปกติ ข้างหนึ่งไม่ปกติ หากไม่ได้รับการแก้ไข ข้างนั้นจะพิการไป แต่ปัจจุบันสาเหตุอันดับหนึ่งคือสายตาผิดปกติ ปัจจุบันพ่อแม่ที่พาลูกเข้ามาตรวจกับจักษุแพทย์พบว่า กว่าครึ่งหนึ่งมีปัญหาสายตาสั้น และเกือบทุกรายมีปัญหาติดโทรศัพท์มือถือ แนวทางการป้องกันมีข้อแนะนำว่าไม่ควรให้เกิดการเพ่งอย่างต่อเนื่อง เรามีสูตร 20 : 20 : 20 คือ เมื่อเด็กใช้สายตามองใกล้ทุก 20 นาที ต้องหยุดพักมองไกลๆ อย่างน้อย 20 ฟุต อย่างน้อย 20 วินาที ถึงจะกลับมาใช้มือถือต่อได้  ส่วนระยะห่างจากมือถือกับดวงตาควรห่างกันประมาณ 33-40 เซนติเมตร ไม่ควรปิดไฟเล่น อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างแล้วแต่บริบท แต่ที่ต้องย้ำคือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่ควรใช้สมาร์ทโฟน  ส่วนวัยที่โตมาหน่อยเข้าใจว่า ทุกวันนี้เราไม่สามารถกันเด็กออกจากมือถือหรือเทคโนโลยีได้ แต่ต้องใช้อย่างเหมาะสม ดังนั้นต้องมีกติกาการใช้ ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นที่ตั้งเวลาการใช้งานได้ หรืออย่างไต้หวัน ที่มีกฎหมายให้เด็กมีกิจกรรมกลางแจ้งอย่างน้อยวันละ 90 นาที มือถือพาเด็กเข้าสู่โลกของผู้ใหญ่ได้อย่างง่ายดายและน่าเป็นห่วงรศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผอ.สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล บอกว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมา พบเด็กอายุประมาณ 9 เดือน ถูกเลี้ยงดูด้วยสมาร์ทโฟน พ่อแม่จะเปิดการ์ตูนในยูทูปให้ดู ตั้งค่าเอาไว้เลย 4-5 เรื่อง ซึ่งก็พบว่าเด็กอายุแค่นั้นสามารถใช้เองได้ด้วย เด็กอยากดูเรื่องไหนก็เอามือจิ้มๆ เข้าไป รู้จักการไถมือ เราพบว่าตัวเด็กเองนั้นสนใจมาก มองตาม ฟัง อยู่นิ่งๆ ได้นาน จนกระทั่ง 10-12 เดือน ก็ติดมือถือแล้วที่ผ่านมามีเด็ก 3-4 คนที่มาคลินิกผม เด็กพวกนี้พูดภาษาอังกฤษเก่งมาก สำเนียงชัดมากจากการดูยูทูปพวกนี้ ถือว่ามีประโยชน์เหมือนกัน ทั้งๆ ที่ผู้ปกครองพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลย แต่ในทางกลับกันก็พบว่าเมื่อถึงวัยที่เด็กไปโรงเรียน เด็กก็ไม่ยอมเล่นกับเพื่อน ไม่คุย แยกตัวอยู่คนเดียว พูดภาษาอังกฤษได้ แต่สื่อสารกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง “เราจะสังเกตว่าภาษาเป็นการสื่อสารของมนุษย์ มีภาษาพูด จะมองตา มองปาก ขณะคุยกันจะมีการสื่อความรู้สึกไปพร้อมกับภาษาพูด ในเด็กเล็กซึ่งเป็นช่วงที่สมองมีการพัฒนา ถ้าเล่นแต่มือถือ  เรียนรู้การสื่อสารผ่านมือถือซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียว อยู่กับเรื่องเรียนภาษา สำเนียง โดยไม่มีอารมณ์ ความรู้สึก จนก่อพฤติกรรมการแยกตัว เขานึกไม่ออกหรอก ว่าการสื่อสารกับมนุษย์จริงๆ ต้องใช้อารมณ์แบบไหน เขาไม่รู้ โตมาหวังจะแก้ไขให้เขารู้จักสื่อสารด้วยความรู้สึก ความรัก ความเกลียดชังต่างๆ มันสร้างได้ยาก ถามว่าแก้ได้ไหม บอกเลยว่าแก้ยาก และจะเป็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตในอนาคต”รศ.นพ.อดิศักดิ์ บอกว่า ถ้าเป็นการเล่นและติดโทรศัพท์มือถือในกลุ่มเด็กโต ก็จะมีปัญหาคนละแบบ ส่วนใหญ่มักเล่นเกมเพื่อความสนุก  แต่ก็มีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งเพื่อการเรียนรู้  ลึกลับ รุนแรง ยิงกันเลือดสาด เรื่องเพศ เป็นต้น หากล้นมากๆ จนไร้การควบคุมก็จะนำไปสู่การสูญเสียพัฒนาการ ไม่กิน ไม่นอน และเกิดปัญหาเด็กติดเกมตามมา“อาการติดเกม”  เป็นอาการที่คล้ายกับการติดสารเสพติด ติดยา เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารในสมอง ต้องการเกมที่แรงขึ้น เครื่องมือที่ดีขึ้น ใครห้ามจะโกรธ โมโห มีอารมณ์ ต้องใช้การบำบัด ปรับพฤติกรรม “ถอนออกจากเกม” เหมือนรักษาการติดยา แต่ก็เป็นพฤติกรรมที่แก้ไขได้ อย่างไรก็ตาม นอกจากเกมแล้วยังพบการติดโซเชียลมีเดียรูปแบบอื่นที่มากับโทรศัพท์มือถือ เช่น เฟซบุ๊ค อินสตาแกรม ไลน์ ดูนั่นดูนี่ เปิดทั้งวัน ปิดไม่ได้ ถ้าไม่ได้ดูจะมีความกังวล ฯลฯ  ยิ่งปัจจุบันพบว่าเด็กสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้เหมือนกับผู้ใหญ่ เพราะไม่มีการแยกแยะกลุ่มเนื้อหาเฉพาะ แม้จะบอกว่าแยกแล้ว แต่ในความเป็นจริงสามารถเข้าถึงได้ทั้งหมด ทำให้เด็กเข้าถึงเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสมได้อย่างง่ายดาย เช่น แค่พิมพ์คำว่า “โป๊” คำเดียว ก็ขึ้นมาเป็นเนื้อหาลามกอนาจารเลย พอเข้าไปแล้วคลิกอีก 2-3 ที ก็ดูได้แล้ว ซึ่งถ้าเทียบกับโลกแห่งความเป็นจริง สื่อประเภทหนังสือโป๊ สื่ออนาจาร ตลอดจนสิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ล้วนแต่ถูกควบคุมเอาไว้หมด แต่อินเทอร์เน็ตมีทุกอย่าง เข้าได้อย่างเสรี ดังนั้นถ้าสนับสนุนให้เด็กวันนี้ใช้สื่อโซเชียล โดยพวกผู้ใหญ่บอกว่าต้องส่งเสริมให้เด็กใช้อินเทอร์เน็ต ทำทุกอย่างผ่านอินเทอร์เน็ต ทำการบ้าน ส่งงานผ่านทางอินเทอร์เน็ต ก็ต้องออกแบบให้สามารถดูแลสภาพปัญหาที่ว่านี้ให้ได้ก่อน ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตต่างๆ ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน ไม่ใช่เก็บเงินเด็กแล้วเปิดไปมีแต่ภาพโป๊ ทั้งๆ ที่เป็นสายของเด็ก ต้องร่วมกันทำ “อินเทอร์เน็ตสีขาว” หรืออินเทอร์เน็ตที่เปิดมาแล้วเจอเนื้อหาที่ปลอดภัย หากจะเข้าเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาเฉพาะสำหรับผู้ใหญ่ถึงจะต้องมีการลงทะเบียนอีกรูปแบบหนึ่ง  “ปัจจุบันเด็กเข้าอินเทอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือส่วนตัว หากไปลงทะเบียนกับบริษัทที่ให้บริการสัญญาณอินเทอร์เน็ตก็ต้องกำหนดรูปแบบอินเทอร์เน็ตที่ปลอดภัยสำหรับเครื่องนั้น ซึ่งปัจจุบันทำได้อยู่แล้ว เช่น ต่ำกว่า 13 ปีห้ามใช้เฟซบุ๊ค เกมประเภทนี้เหมาะสมกับอายุเท่าไหร่ คือพ่อ แม่เป็นคนลงทะเบียนอินเทอร์เน็ตให้ หากมีการเข้าเว็บที่มีเนื้อหาไม่เหมาะสมกับอายุเด็ก ก็ตัดทันที ปัจจุบันมีบริการนี้อยู่แต่ไม่ค่อยได้ประชาสัมพันธ์ ที่ประเทศอังกฤษทำให้ฟรีเลย” ปัญหาอีกอย่างที่ซ่อนอยู่กับการใช้โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตของเด็กๆ คือ เรื่องความรุนแรง การล่วงละเมิดเด็ก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในสังคม ผู้ใหญ่หรือมิจฉาชีพบางคนใช้การสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียในการล่อลวงเด็ก หลอกขายสินค้า เสียเงินเสียทอง ที่หนักสุดคือการหลอกล่อพาเด็กไปทำอนาจารทางเพศ แน่นอนว่าเด็กผู้หญิงตกเป็นเหยื่อมากกว่าเด็กผู้ชาย และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเปราะบาง คือครอบครัวไม่เข้มแข็ง พ่อ แม่แยกทางกัน เป็นต้น “ผมมีคนไข้คนหนึ่งถูกหลอกลวงทางเพศจากแอปสนทนาทางโซเชียลมีเดีย 12 ครั้งเพื่อไปข่มขืน ซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางอยู่แล้วจากการที่พ่อ แม่แยกทางกัน ตัวเด็กเองอยู่กับพี่สาวสองคน เรื่องนี้เกิดขึ้นเยอะเหมือนกัน และเกือบทั้งหมดที่เข้ามาปรึกษา เป็นเหยื่อของคนที่เพิ่งรู้จักกันครั้งแรกผ่านทางโซเชียล” สำหรับข้อถกเถียงเรื่องคลื่นความถี่จากโทรศัพท์มือถือกับสมองนั้น ต้องเรียนว่า มีคนศึกษาเยอะว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีผลต่อมะเร็งในสมองหรือไม่ มีผลต่อมะเร็งกับเซลล์ชั้นในหรือไม่ แต่เข้าใจว่างานวิจัยยังไม่มีผลยืนยันชัดเจน ดังนั้นจึงไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วคลื่นแม่เหล็กนั้นจะมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ การใช้โทรศัพท์มือถือและอินเทอร์เน็ตผิดวิธีนั้นมีอันตราย ตั้งแต่การทำลายพัฒนาการ การเสพเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมซึ่งเป็นการบ่มเพาะพฤติกรรม เช่น พฤติกรรมก้าวร้าว การใช้โดยที่ผู้ใหญ่เข้าถึงหรือป้องกันได้ยาก คนร้ายเข้าถึงตัวเด็กได้ง่าย ถูกล่อลวงทางเพศ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน “เด็กที่เสียชีวิต เด็กที่เสียพัฒนาการ เด็กที่ถูกกระทำนั้น เกิดขึ้นจริงแล้วในสังคม แต่ยังไม่ยอมแก้ไข ผู้ใหญ่หากมีการพูดถึงเรื่องนี้มักอ้างเรื่องของอิสรภาพ กระทรวงวัฒนธรรมเองพูดอย่างทำอย่าง ปากพูดถึงอินเทอร์เน็ตสีขาว แต่กลับทำยาก”อย่างไรก็ตาม การใช้โทรศัพท์มือกับเด็กไม่ใช่จะมีแต่เรื่องแย่ๆ ร้ายๆ ประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กก็มี แต่ต้องมีการสร้างความสมดุลเพื่อให้มีโทรศัพท์มือถือเพื่อการเรียนรู้ของเด็กจริง อย่างกรณีการฝึกภาษา ตอนนี้ที่เราแนะนำเลยคือ เด็กต่ำกว่า 2 ขวบไม่ให้ใช้สื่อหน้าจอเลย หากจะใช้ในกรณีที่ต้องการฝึกภาษา ต้องเอามาเป็นเครื่องมือของพ่อแม่ในการสื่อสารกับลูก โดยเน้นเป็นการสบตาของพ่อ แม่ ลูก แล้วเอาโทรศัพท์มือถือมาสอนควบคู่ เช่น เปิดเสียงสัตว์ชนิดต่างๆ ประกอบ เป็นต้น ไม่ใช่เปิดทิ้งไว้ให้เด็กดูเพียงลำพัง อย่าปล่อยให้อยู่ด้วยกันเพียงลำพัง ลูกต้องติดใจที่ได้เล่นกับแม่หรือพ่อ แล้วยอมพูดตามสำเนียงตามโทรศัพท์มือถือ เพราะแม่เป็นคนถือ แม่เชียร์อยู่ ไม่ใช่เด็กติดใจมือถือ เราจะอยู่กันอย่างนี้ไม่ได้ การใช้อินเทอร์เน็ตต้องมีการควบคุมเนื้อหาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก พ่อแม่ต้องควบคุมการใช้งานทั้งเรื่องเนื้อหาและระยะเวลาที่ใช้งาน วันนี้เมืองไทยต้องมีการออกกฎหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองเด็กจากสื่อออนไลน์ ล้อไปกับ พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก เป็นไปไม่ได้ที่ภายนอกมี พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก ซึ่งออกมาตั้งแต่ปี 2546 บอกว่ามิให้ผู้อื่นผู้ใดกระทำการดังต่อไปนี้ เช่น เอาเด็กไปอยู่ในจุดอันตราย กระทำร้ายต่อเด็ก ล่วงละเมิดต่อเด็ก เขียนไว้ในกฎหมายเยอะแยะ แต่ในอินเทอร์เน็ตกลับคุมไม่ได้ เอาเด็กเข้าไปอยู่ในจุดอันตราย เอาไปอยู่ในโซเชียลมีเดียเป็นการทำลายพัฒนาการเด็ก ถ้าบอกว่ามี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ดูแลอยู่ บอกเลยว่าไม่จริง ล่าสุดที่เพิ่งมีการแก้ไขกฎหมาย ยังไม่เห็นการพูดถึงเรื่องนี้ พ.ร.บ.คอมพ์ฯ พูดถึงแต่เรื่องคนที่เข้าไปล้วงข้อมูลออนไลน์จะผิดอย่างนั้น ผิดอย่างนี้ ไม่พูดถึงผู้ร้ายที่ขายของผิดกฎหมาย อย่างบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งไม่เข้าใจ เพราะกระทรวงพาณิชย์ออกกฎหมายห้ามนำเข้า กรมสรรพากรบอกว่าห้ามขายในประเทศ ผิดกฎหมาย แต่ในออนไลน์มีหมด ซื้อง่าย มีโฆษณาด้วย สิ่งผิดกฎหมายต่างๆ ที่ห้ามในโลกแห่งความเป็นจริงกลับพบว่ามีหมดเลยบนโลกออนไลน์ อย่างไรก็ตาม พอพูดเรื่องการดูแลเนื้อหาทางอินเทอร์เน็ต ก็มักมีการอ้างเรื่องผลกระทบกับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจหรือการจำกัดสิทธิเสรีภาพบ้าง แต่เปิดช่องให้ทำในเรื่องที่เป็นการกระทบกับพัฒนาการเด็ก พอพูดเรื่องนี้แล้วก็ขอเอ่ยถึงเรื่อง “อี-สปอร์ต” ส่วนตัวมองว่าไม่ใช่กีฬา ไม่มีการส่งเสริมการออกกำลัง แต่มันคือเรื่องของธุรกิจ ซึ่งกระทบพัฒนาการเด็ก เป็นการเพิ่มจำนวนเด็กติดเกมอย่างเห็นได้ชัด แต่ด้วยความกลัวว่าเศรษฐกิจจะก้าวไม่ทันชาวบ้านเขา มหาวิทยาลัยเปิดสอนกันเยอะมาก เปิดสอนให้คนไปทำธุรกิจอี-สปอร์ตได้ แต่ไม่ได้สอนให้รู้โทษ  ร้านเกมในต่างจังหวัดเปลี่ยนเป็นศูนย์อี-สปอร์ต ทั้งนั้น เด็กเล่นเลอะเทอะไปหมด กฎระเบียบไม่ต้องมี เพราะการกีฬาอนุมัติ เพราะกลัวเศรษฐกิจไม่ทันกิน ก็เลยวางคุณภาพเอาไว้ก่อน  ปัจจุบันเห็นแล้วว่าถ้ามองแต่เศรษฐกิจเบื้องหน้า แต่คนไร้คุณภาพ ประเทศจะพัฒนาไปได้แค่ไหน ตอนนี้ต้องยอมรับว่า 4.0 หากไม่คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ มันไม่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ อัตราเด็กถูกทำร้ายและอัตราการเสียชีวิตของเด็กอาจเพิ่มมากขึ้น คิดว่าถ้าชั่งน้ำหนักแล้วไม่คุ้ม เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ป้องกันได้ ป้องกันตั้งแต่แรกดีกว่ามาตามแก้ไข  และเป็นเรื่องที่ต้องดูแลกันตั้งแต่ระดับนโยบาย จะให้เป็นเรื่องของครอบครัว หรือเรื่องบุคคลไม่ได้ เพราะความสามารถในการ “คิด วิเคราะห์ แยกแยะ” ของเด็กยังไม่สมบูรณ์เต็มที่ การมีโทรศัพท์มือถือจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแล ใส่ใจ จากผู้ปกครอง รวมถึงผู้ที่มีอำนาจในบ้านเมืองที่ต้องทำให้เด็กๆ ได้รับความปลอดภัย   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 สมาร์ทโฟน

กลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบโทรศัพท์ประเภทสมาร์ทโฟนที่หลายคนต้องมีติดไม้ติดมือไว้เสมอในยุคที่ต้องดำเนินชีวิตทั้งในโลกจริงและโลกเสมือนไปพร้อมๆ กัน  ในช่วงปลายปีที่แล้ว องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำการทดสอบสมาร์ทโฟนไว้ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านเนื้อที่เราจึงของเลือกมาเพียง 20 รุ่น มีทั้งยี่ห้อที่สมาชิกรู้จักกันดีและแบรนด์หน้าใหม่ที่เพิ่งมาลงแข่งอย่างจริงจังในตลาดบ้านเราเมื่อไม่นานมานี้ อย่าง Huawei Xiaomi และ Wiko ด้วย  สนนราคาก็มีให้เลือกตั้งแต่ 4,000 กว่าๆ   ถึง 30,000 บาท เรามีคะแนนมาให้ดูกันทุกด้านตั้งแต่คุณสมบัติตัวเครื่อง ความสะดวกในการหยิบจับและการใช้เครื่อง การใช้งานด้านต่างๆ – การโทรออก/รับสาย ส่ง/รับข้อความ การใช้อินเตอร์เน็ท/อีเมล์ การถ่ายรูป ดูหนัง ฟังเพลง การใช้เป็นอุปกรณ์นำทาง และความสะดวกในการเชื่อมต่อ                     จากการทดสอบครั้งนี้มีสมาร์ทโฟน 2 รุ่น ได้แก่ Galaxy Note 4 และ iPhone 6 Plus ที่ได้ไป 5 ดาว ส่วนรุ่นอื่นๆ นั้น ได้คะแนนในระดับ 4 ดาว ไปครอบครอง แต่รายละเอียดของคะแนนในแต่ละด้านจะเป็นอย่างไรนั้น ติดตามได้ในหน้าถัดไป ------------------------------------------------------------------------------------------------------------- จากการคาดการณ์ของฟรอสต์แอนด์ซัลลิแวน ซึ่งเป็นองค์กรให้คำปรึกษาและวิจัยระดับโลก ยอดจำหน่ายสมาร์ทโฟนในประเทศไทยในปี 2014 จะเติบโตขึ้นจากปีก่อนหน้าไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 (หรือประมาณ 13 ล้านเครื่อง) เพราะราคาที่ถูกลง บวกกับความนิยมในการมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ของผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตในประเทศไทยที่สูงถึงร้อยละ 61 (ค่าเฉลี่ยของทั่วโลกคือร้อยละ 42) หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,990 วันที่ 9-11 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ------------------------------------------------------------------------------------------------------------- เว็บไซต์ www.emarketer.com ระบุว่าในปี 2012 ทั่วโลกมีผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 1,000 ล้านคน และคาดว่าจำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นเป็น 1,750 ในปี 2014 และจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปจนถึงปี 2017 จนกระทั่งจำนวนผู้ใช้สมาร์ทโฟนจะมีมากถึงเกือบครึ่งหนึ่งของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือโดยรวม ------------------------------------------------------------------------------------------------------------- จากสถิติของประเทศอังกฤษ เหยื่อล่อที่ถูกใช้โดย “ร้านออนไลน์” มากที่สุดในช่วงเทศกาลคริสต์มาสปี2013 คือสมาร์ทโฟน ตามด้วยเกมคอนโซล รองเท้าบู๊ทยี่ห้อUGG เสื้อกันหนาวยี่ห้อ Barbour และ ไอแพด  … ลูกค้าที่ถูกดึงดูดด้วยราคาที่ถูกจนไม่น่าเชื่อและสั่งซื้อเข้าไปก็จะได้รับของปลอม หรือไม่ก็ไม่ได้รับอะไรเลย  The Guardian 26 November 2014

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 151 สมาร์ทโฟน 2013

ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลการทดสอบเปรียบเทียบสมาร์ทโฟน ที่เราเลือกมา 25 รุ่น จากที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT หรือ International Consumer Research & Testing เขาทำไว้ในปีนี้ (รวมตั้งแต่ มกราคมถึงกันยายน) สนนราคาก็มีตั้งแต่ 6,000 บาท ถึง 22,900 บาท ต้องบอกไว้ก่อนว่ารุ่นที่ได้คะแนนรวมระดับ 4.5 ดาวนั้นราคาไม่ต่ำกว่า 15,000 บาท แต่ถ้าคุณไม่ต้องการลงทุนมากขนาดนั้น ก็ยังมีรุ่นอื่นๆ ที่ได้คะแนนรวม 4 ดาวเอาไว้ให้คุณได้เลือกเช่นกัน  ใครชอบแบบไหน เป็นสาวกแบรนด์ใด หรือเน้นการใช้งานอะไรเป็นพิเศษ เชิญติดตามผลคะแนนในแต่ละด้านได้ในหน้าถัดไป หมายเหตุ: สำหรับใครที่รอผลทดสอบ iPhone 5S และ 5C คงต้องรอรอบหน้า เพราะเขาเพิ่งจะเปิดตัวกันไปเมื่อต้นเดือน แต่ iPhone 5 นั้นทีมทดสอบนี้เขาได้ทำไปแล้วเมื่อปลายปี 2555 และให้คะแนนไป 4.5 ดาว                    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 150 ผู้พิทักษ์สมาร์ทโฟน

อุปกรณ์ฉลาดๆ ทั้งหลายกำลังตกเป็นเป้าหมายของการถูกล้วงข้อมูลกันมากขึ้น ในปี 2012 หน่วยงาน National Computer Network Emergency Response Technical Team and Coordination Center เขาพบมัลแวร์ในอุปกรณ์พกพาที่ใช้เข้าอินเตอร์เน็ทมากกว่า 160,000 ตัว (เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นถึง 25 เท่า) และที่สำคัญ ร้อยละ 80 ของเชื้อชั่วเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อโจมตีสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่เราดาวน์โหลดแอพลิเคชั่นต่างๆ มาใช้นั่นเอง ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอนำเสนอผลทดสอบโปรแกรมต้านไวรัสสำหรับสมาร์ทโฟนที่ใช้แอนดรอยด์ ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT ทำเพิ่งเสร็จหมาดๆ มาฝากสมาชิกกัน งานนี้เขาทดสอบทั้งหมด 16 โปรแกรม ส่วนใหญ่ได้คะแนนรวมในระดับ 4 ดาว แต่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของคะแนนการป้องกันมัลแวร์ การป้องกันขโมย ความสะดวกในการใช้งาน และการไม่ทำให้เครื่องช้า ทั้งนี้มีอยู่หลายโปรแกรมเหมือนกันที่ทำงานได้ไม่เข้าตากรรมการเลย   Bitdefender 4 ป้องกันมัลแวร์                            4 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store     AVG 4 ป้องกันมัลแวร์                            4 ป้องกันขโมย                              3 ใช้ง่าย                                       5 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store     Trustgo 4 ป้องกันมัลแวร์                            4 ป้องกันขโมย                              3 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store   Lookout 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              5 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่ https://market.android.com/details?id=com.lookout     McAfee 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              5 ใช้ง่าย                                       5 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     3 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store     Eset 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       5 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     5 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store     Avast 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       5 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store     Norton 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store       TrendMicro 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     3 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store     Kaspersky 4 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              3 ใช้ง่าย                                       5 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     5 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store       Dr Web 3 ป้องกันมัลแวร์                            3 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     5 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store         Gdata 2 ป้องกันมัลแวร์                            2 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store       Zoner 2 ป้องกันมัลแวร์                            2 ป้องกันขโมย                              1 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     5 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store         Avira 1 ป้องกันมัลแวร์                            1 ป้องกันขโมย                              4 ใช้ง่าย                                       3 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     5 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store       My Mobile Security 1 ป้องกันมัลแวร์                            1 ป้องกันขโมย                              2 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     5 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store       NQ 1 ป้องกันมัลแวร์                            1 ป้องกันขโมย                              3 ใช้ง่าย                                       4 ไม่เปลืองหน่วยความจำ                     4 โหลดฟรี ที่  https://play.google.com/store

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 131 ฉลาดใช้ สมาร์ทโฟน

  สมาร์ทโฟน ก็คือ โทรศัพท์มือถือที่สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับคอมพิวเตอร์ แถมยังได้เปรียบในเรื่องของขนาดที่ทั้งเล็กและเบากว่าคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คทั่วไป พกพาไปไหนมาไหนก็สะดวกสบาย ปัจจุบันมือถือเป็นมากกว่าอุปกรณ์สื่อสารแล้ว เพราะเป็นได้ทั้ง กล้องถ่ายรูป เครื่องเล่นวิทยุ โทรทัศน์ เกม อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ท ฯลฯ ต้องยอมรับว่า “สมาร์ทโฟน” นั้น “ฉลาด” สมชื่อ แต่ก็อย่าลืมว่าเราในฐานะผู้ใช้ก็ต้อง “รู้จักใช้และใช้อย่างฉลาด” ใช้อย่างมีความรู้มีข้อมูล ใช้แล้วตัวเราได้รับประโยชน์ อย่าใช้แล้วทำให้เกิดโทษ โดยเฉพาะค่าบริการในใบแจ้งหนี้ อาจทำให้ช็อกได้ อย่าลืมว่า ไม่ว่าเราจะคุยโทรศัพท์ ส่งข้อความ อ่านอีเมล โหลดเพลง โหลดเกม เล่นเน็ต เข้าเว็บไซต์ หรือไปกด Like ใน Facebook อะไรก็แล้วแต่ที่ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านทางมือถือ ทุกอย่างมีค่าบริการหมด ไม่มีอะไรฟรี   การใช้งานสมาร์ทโฟน โปรดอย่าซื้อตามกระแส ควรซื้อมาและใช้ให้คุ้มประโยชน์มากที่สุด บางทีเครื่องเป็นหมื่นแต่คุณก็ใช้ประสิทธิภาพของมันแค่สองสามพัน อันนี้ไม่คุ้ม เป็นเรื่องที่น่าเสียดาย บางคนชอบไอโฟน แต่ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อนี้ราคาสูง นอกจากนี้โปรแกรมการใช้งานเสริม หรือที่เรียกกันว่า แอพพลิเคชั่น (Application) ต่างๆ ก็มีทั้งที่ให้โหลดฟรีและที่ต้องเสียเงินซื้อเพิ่ม โปรดศึกษาให้ดีก่อน สิ่งที่ควรรู้เมื่อใช้สมาร์ทโฟน 1.ศึกษารูปแบบแพ็คเก็จ เดี๋ยวนี้บรรดาค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ต่างก็ออกแพ็คเก็จต่างๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ความแตกต่างของแต่ละแพ็คเก็จขึ้นอยู่กับปริมาณของบริการที่ได้รับ ยิ่งจ่ายแพงก็ยิ่งได้ใช้มาก แต่ต้องเข้าใจว่าแพ็คเก็จสำหรับสมาร์ทโฟนไม่เหมือนกับแพ็คเก็จสำหรับมือถือทั่วไปแบบแต่ก่อน ที่จะเป็นประเภทจ่ายเท่าไหร่ก็ได้ค่าโทรเท่านั้น (หรือมากกว่า) อย่างแพ็คเก็จ voice ของดีแทค ที่จ่ายเดือนละ 499 บาท สามารถโทรได้ 550 นาที แต่ถ้าเป็นแพ็คเก็จสำหรับสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone ของดีแทคเหมือนกันที่จ่ายเดือนละ 499 บาทเท่ากัน จะโทรได้แค่ 225 นาที แต่ก็ต้องเข้าใจว่ายังมีบริการอื่นๆ รวมอยู่ด้วย ทั้งค่าบริการอินเตอร์เน็ต SMS MMS โดยเฉพาะค่าบริการอินเตอร์เน็ตจาก EDGE/GPRS, WiFi และ 3G เพื่อลองรับความเป็นสมาร์ทโฟน แต่ก่อนบริการอินเตอร์เน็ตจะอยู่ในรูปแบบแพ็คเก็จเสริม นั่นเป็นเพราะว่าบรรดาผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือมองว่าเมื่อเป็นโทรศัพท์สมาร์ทโฟน การใช้งานอินเตอร์เน็ตก็จะมีมากขึ้น การโทรออกก็จะมีน้อยลง คนใช้สมาร์ทโฟนเลยต้องยอมรับ (แบบไม่ค่อยเต็มใจ) ว่าต้องปรับพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ให้สอดรับกับรูปแบบของแพ็คเก็จ จากที่เคยติดต่อสื่อสารผ่านการคุยโทรศัพท์ ก็อาจต้องเปลี่ยนมาใช้การติดต่อที่ใช้อินเตอร์เน็ตแทนบ้างในบางโอกาส ซึ่งก็มีหลายช่องทางหลายวิธี เช่น ผ่านทางอีเมล MSN หรือ โปรแกรมที่คนใช้สมาร์ทโฟนควรมีไว้อย่าง  Whatsapp, Viber และ Line เพราะเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการติดต่อสื่อสารเหมือนการคุยโทรศัพท์ แต่เป็นการคุยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ไม่ต้องเสียค่าบริการในส่วนของค่าโทร ส่วนแพ็คเก็จสำหรับเล่นอินเตอร์เน็ต ก็มีทั้งแบบรวมมากับค่าโทร และแบบที่เป็นแพ็คเก็จอินเตอร์เน็ตอย่างเดียว ที่ยิ่งไปกว่านั้นก็คือ แพ็คเก็จอินเตอร์เน็ตซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งกับ โทรศัพท์มือถือ แท็ปเล็ต และแอร์การ์ด สำหรับใช้ในคอมพิวเตอร์หรือโน๊ตบุ๊ค ก็ยังมีรูปแบบการคิดค่าบริการทั้งแบบเหมาจ่าย คือจ่ายราคาเดียวเป็นประจำทุกเดือนใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่าน EDGE หรือ 3G ได้ไม่จำกัด ซึ่งแพ็คเก็จแบบเหมาจ่ายรายเดือนแม้จะใช้งานได้ไม่จำกัดแต่ก็อาจจะมีราคาแตกต่างกันบ้าง ขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ใช้ นอกจากนี้ยังมีแพ็คเก็จที่ให้เราจ่ายตามปริมาณที่ใช้ โดยจะมีการคิดค่าบริการเริ่มต้น และกำหนดปริมาณอินเตอร์เน็ตที่สามารถใช้ได้ในแต่ละเดือน ซึ่งจะมีทั้งแบบที่คิดเป็นจำนวนเมกะไบต์ และแบบที่คิดตามระยะเวลา ซึ่งถ้าหากมีการใช้เกินกว่าที่กำหนดก็ต้องจ่ายเพิ่มเป็นค่าบริการส่วนเกิน   2.รู้พฤติกรรมการใช้ของตัวเอง ก่อนจะเลือกแพ็กเก็จหรือโปรโมชั่นจากผู้ให้บริการมือถือค่ายไหนก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญที่สุดคือต้องรู้ก่อนว่าพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์ของตัวเองเป็นแบบไหน ใช้โทรเข้าโทรออกเป็นหลัก หรือหนักไปทางใช้งานอินเตอร์เน็ต ต้องสำรวจตัวเองให้ดี เพราะค่าบริการโทรศัพท์มือถือรายเดือนเดี๋ยวนี้มีราคาสูง แถมถ้าหากไม่มีการวางแผนที่ดีแต่ละเดือนอาจจะต้องสูญเงินไปกับค่าโทรศัพท์ เพราะไม่ใช่แค่จ่ายตามราคาแพ็จเก็จที่สมัครแล้วจบ  ถ้าโทรเกิน เล่นเน็ตเกิน ก็ต้องเจอกับค่าบริการส่วนเกิน บางคนทีเลือกแพ็กเก็จ 399 บาท แต่อาจจะต้องจ่ายจริงๆ เกือบพันบาท เพราะใช้งานเกินข้อตกลงของแพ็กเก็จที่เลือกไว้ เรื่องที่ต้องย้ำกับคนใช้โทรศัพท์มือถือทุกคนไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือรุ่นไหน จะสมาร์ทหรือไม่สมาร์ท ต้องอย่าลืมศึกษาข้อตกลงและเงื่อนไขต่างๆ ให้ดี ต้องรู้ว่า จากราคาแพ็กเก็จรายเดือนที่จ่ายไป เราสามารถโทรออกได้กี่ครั้งหรือกี่นาที แล้วเมื่อโทรเกินจำนวน คิดค่าโทรส่วนเกินอย่างไร นาทีละเท่าไหร่ การใช้บริการอินเตอร์เน็ตต่างๆ ก็เช่นกัน ต้องมั่นตรวจสอบการใช้งานอยู่เรื่อยๆ อย่าลืมว่าโทรศัพท์มือถือของเราเป็นแบบสมาร์ทโฟน ฉลาดแบบที่เราอาจคาดไม่ถึง พอไปเจอสัญญาณ WiFi หรือ 3G ที่ไหนเข้า มือถือของเราก็อาจต่ออินเตอร์เน็ตได้เองโดยเจ้าของอย่างเราไม่ทันรู้ตัว เราสามารถประมาณการดูได้ว่าในแต่ละเดือนเราใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือมากน้อยแค่ไหน โดยใช้ “โปรแกรมช่วยคำนวณการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อเลือกแพ็คเก็จให้เหมาะสมกับการใช้งาน” ที่ค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือที่ออกแบบมาเพื่อให้เราคำนวนการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนโทรศัพท์มือถือในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเว็บไซต์ รับ – ส่งอีเมล ดู Youtube เล่น Facebook ลองเลือกตามพฤติกรรมการใช้ของตัวเอง โปรแกรมจะคำนวณออกมาเป็นจำนวนเมกะไบต์ที่เราใช้ต่อเดือน แล้วค่อยนำไปเปรียบเทียบหาแพ็คเก็จที่เหมาะสมกับการใช้งานของเราที่สุด โดยเราสามารถเข้าไปใช้งานโปรแกรมนี้ได้ที่เว็บไซต์ของแต่ละค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ หรือตามลิงค์เหล่านี้ AIS http://www.ais.co.th/mobileinternet/3g/package/mobile-internet-calculator/Dtac http://www.dtac.co.th/3g/calculator-time.phpTruemove H http://www.truemove-h.com/calculator.aspx   3.อัตราค่าบริการส่วนเกิน หลายคนมักมีปัญหาเวลาที่ต้องจ่ายค่าบริการรายเดือนโทรศัพท์มือถือ เพราะยอดที่ต้องจ่ายมักแพงกว่าราคาแพ็คเก็จที่สมัครไว้เสมอ นั่นก็เป็นเพราะปริมาณการใช้งานบริการต่างๆ บนมือถือ ทั้ง โทรออก ส่งข้อความ เล่นเน็ต เกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเก็จ ทำให้ต้องเสียค่าบริการส่วนเกิน ซึ่งจำเป็นอย่างมากที่เราต้องรู้ว่าแพ็คเก็จที่เราใช้อยู่นั้น สามารถใช้บริการต่างๆ ได้ที่ปริมาณเท่าไหร่ แล้วการคิดอัตราค่าบริการส่วนเกินอย่างไร เท่าไหร่ เพื่อเราจะได้สามารถควบคุมตัวเองได้ว่าในแต่ละเดือนสามารใช้ได้เท่าไหร่ ถ้าหากใช้เกินจะต้องเสียเงินเพิ่มแค่ไหน เพื่อไม่ให้เราต้องเสียค่าบริการแต่ละเดือนสูงเกินไป จนตัวเราเองไม่สามารถรับภาระนั้นได้ ซึ่งเราสามารถศึกษาอัตราค่าบริการส่วนเกินต่างๆ ได้ในข้อตกลงและเงื่อนไขการใช้แพ็คเก็จหรือโปรโมชั่นต่างๆ ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 ค่ายผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือจะคิดค่าโทรส่วนเกินสำหรับแพ็คเก็จรายเดือนคือ 1 บาท 25 สตางค์ - 1 บาท 50 สตางค์ต่อนาที ส่วนบริการข้อความ SMS คิดข้อความละ 2 – 3 บาท EDGE/GPRS และ 3G มีค่าบริการส่วนเกินอยู่ที่ 1 บาท 50 สตางค์ - 2 บาท ต่อเมกะไบต์ และ WiFi คิด 1 บาทต่อนาที นอกจากนี้ค่าบริการต่างๆ ที่มีการแจ้งไว้ในแพ็คเก็จยังไม่ได้บวกค่าภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7%   4.ข้อจำกัดในการใช้งานอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่าแต่ละค่ายผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ ต่างก็ออกมาบอกกันว่าความเร็วอินเตอร์เน็ตของตัวเองทั้งแรงทั้งเร็ว เทคโนโลยีล้ำหน้ากันสุดๆ แต่ยังมีความจริงเกี่ยวกับข้อจำกัดเรื่องสัญญาณอินเตอร์เน็ตอีกมากที่เขาไม่ได้บอกกับเราในโฆษณา ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดเรื่อง สถานที่ ช่วงเวลา อุปกรณ์เชื่อมต่อ หรือแม้แต่ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนที่ใช้อยู่ ล้วนมีผลต่อความเร็วของสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั้งสิ้น อย่างเรื่องของ 3G ที่ถือเป็นเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตที่ว่ากันว่าแรงและเร็วที่สุด ณ เวลานี้ ก็ยังมีข้อจำกัดอีกมาก โดยเฉพาะเรื่องพื้นที่การให้บริการ อย่างที่เห็นในโฆษณาที่บอกว่า “เครือข่าย 3G ครอบคลุมทั่วกรุงเทพฯ และอีกหลายจังหวัดทั่วประเทศ” คนต่างจังหวัดฟังแล้วอาจสงสัยว่าจังหวัดที่เราอยู่มี 3G ใช่หรือเปล่า ต่างกับคนกรุงเทพฯ ที่อาจจะหลงดีใจว่าเรามี 3G ให้ใช้แล้ว แต่ในความเป็นจริงอาจไม่เป็นเช่นนั้น เพราะอย่างที่บอกว่าสัญญาณ 3G ยังมีข้อจำกัดอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นระยะห่างของจุดรับ – ส่งสัญญาณ จำนวนผู้ใช้บริการ ณ เวลานั้นๆ และอุปกรณ์ที่ใช้งาน ซึ่งทำให้บางพื้นที่ก็อาจไม่มีสัญญาณ 3G หรือมีสัญญาณต่ำมาก ไม่เร็วอย่างที่โฆษณา จนเรียกว่าแทบจะใช้งานไม่ได้ ยิ่งในต่างจังหวัดยิ่งไม่ต้องพูดถึงเพราะมีแค่บางจังหวัด แถมในจังหวัดที่มีก็มีแค่บางอำเภอเท่านั้น เมื่อเป็นแบบนี้การสมัครแพ็กเก็จที่มีบริการ 3G เสริมเข้ามาด้วยนั้นก็ไม่มีประโยชน์ แต่ถ้าใครที่อยากก้าวตามเทคโนโลยีอยากใช้ 3G ก็ศึกษาข้อมูลพื้นที่สัญญาณที่จะใช้ให้ดี ดูปริมาณที่กำหนดให้ใช้ได้ในแต่ละเดือน รวมถึงอัตราค่าบริการส่วนเกินหากมีการใช้มากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในแพ็คเก็จ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------- วิธีปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ตบนมือถือป้องกันไม่ให้เสียค่าบริการส่วนเกิน จากเชื่อมต่ออัตโนมัติในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน AISปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต *129*1# โทรออกเปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต *129*2# โทรออกตรวจสอบสถานะการใช้งาน ปิด - เปิด EDGE/GPRS : กด *129# โทรออกAIS มีบริการควบคุมการใช้งาน EDGE/GPRS ให้มียอดค่าบริการสูงสุดไม่เกิน 1,500 บาทต่อเดือน (ไม่รวม VAT)   Dtac ปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ต *140*71# โทรออกเปิดการใช้งานอินเตอร์เน็ต *140*72# โทรออกนอกจากนี้ Dtac ยังมีบริการ SMS แจ้งเตือนยอดการใช้งานอินเตอร์เน็ต ซึ่งจะแจ้งเตือนเมื่อใช้ครบ 10 บาท / 200 บาท / 500 บาท และ 1,500 บาท   True Move Hปิดการใช้งานอินเทอร์เน็ต โทร  *9399 กด 5 กด 3 (ค่าบริการครั้งละ 1 บาท)ซึ่งเบอร์ *9399 ยังเป็นเบอร์ที่ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อีกหลายเรื่องเช่น ตรวจสอบยอดการใช้บริการ ยอดคงเหลือ ยอดส่วนเกิน สมัครบริการเสริม SMS แจ้งเตือนยอดคงเหลือ บริการควบคุมค่าใช้จ่าย------------------------- วิธีปิดการใช้งาน EDGE/GPRS ด้วยตัวเราเองในโทรศัพท์สมาร์ทโฟน 1.ระบบปฏิบัติการ IOS (ในโทรศัพท์ iPhone)เลือก Setting > General > Network > Cellular Data Off 2.ระบบปฏิบัติการ RIM (ใช้กับ Blackberry)วิธีที่ 1 เลือก Options > Mobile Network > Data Services > Offวิธีที่ 2 เลือก Manage Connection > Mobile Network Options > Data Services > Off 3.ระบบปฏิบัตรการ Androidเลือก Setting > Wireless & Networks > Mobile Network > Select the Data Roaming Check Box 4.ระบบปฏิบัติการ Windows Mobileเลือก Start > Comn Manager > Data connection > Off ที่มา : พลังคน พลังคลื่น ปีที่ 2 ฉบับที่ 10 กันยายน – ตุลาคม 2553, สำนักคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สมท.)http://www.it24hrs.com/2011/close-edge-gprs-setting/   เปรียบเทียบแพ็คเก็จรายเดือนสำหรับโทรศัพท์ iPhone ของแต่ละค่ายมือถือ AIS DTAC true ชื่อแพ็คเก็จ mini medium max Max plus S M L S M L ค่าบริการรายเดือน  (บาท) 279 519 839 899 449 580 699 399 579 799 โทรทุกเครือข่าย (นาที) 150 250 500 500 225 250 350 100 250 450 3G / EDGE (เมกะไบต์) 150 500 ไม่จำกัด ไม่จำกัด 100 ไม่จำกัด ไม่จำกัด 400 ไม่จำกัด ไม่จำกัด SMS (ครั้ง) 100 250 300 300 200 300 400 50 300 400 MMS (ครั้ง) 20 30 50 50 30 50 75 20 50 100 Wifi (ชั่วโมง) - - - ไม่จำกัด - - - 10 20 ไม่จำกัด ฟรีค่าบริการรายเดือน 6 เดือน เดือนที่ 19 - 24 4 เดือน เดือนที่ 21 - 24 3 เดือน เดือนที่ 10 - 12 6 เดือน เดือนที่ 19 - 24 6 เดือน หลังใช้มาแล้ว 18 เดือน     เปรียบเทียบแพ็คเก็จรายเดือนสำหรับโทรศัพท์ Blackberry ของแต่ละค่ายมือถือ   AIS DTAC true ชื่อแพ็คเก็จ BBM + Voice Call Chat + E-mail หรือ Facebook Internet 50 MB Internet 300 MB Unlimited BB Mini BB Mix BB Me BB Max BB Talk BB Social BB Net BB Unlimited ค่าบริการรายเดือน  (บาท) 300 300 450 500 799 179 249 299 790 300 300 450 799 โทรทุกเครือข่าย (นาที) 200 - - - - - - -   200 100 นาที ใช้ได้ 3 เดือนแรกที่สมัครแพ็คเก็จ SMS (ครั้ง) 10 - - - - 300 - - - - - - - Blackberry Massage P P P P P P P P P P P P P Chat - P P P P -   P P - - - - E-mail - เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง P P P - - P P - - P P Social Network (facebook, tweeter) - P P P - P P P - P P P 3G / EDGE (เมกะไบต์) - - 50 300 ไม่จำกัด - - - ไม่จำกัด - - 500 ไม่จำกัด Wifi (ชั่วโมง) - - - - ไม่จำกัด - - - - - 3 5 ไม่จำกัด สำรวจในช่วงเดือนมกราคม 2555 โปรโมชั่นอาจมีการเปลี่ยนแปลง อย่าลืมตรวจสอบอีกครั้ง

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 124 ผลทดสอบ สมาร์ทโฟน

  กลับมาอีกครั้งกับโทรศัพท์สารพัดประโยชน์ คราวนี้เรานำผลทดสอบที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research & Testing) ที่ทำไว้ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้มาให้ชมกัน เพื่อชาวฉลาดซื้อจะได้ไม่ตกเทรนด์ สมาร์ทโฟนเหล่านี้มีฟังก์ชั่นทั่วไปตามมาตรฐานของโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ บวกกับความสามารถใหม่ๆ (ที่เราเรียกกันว่าแอพพลิเคชั่น) ที่คุณสามารถดาวน์โหลดเพิ่ม ทำให้มันยกระดับขึ้นมาเป็นทั้งผู้ช่วยส่วนตัว เป็นเพื่อนแก้เหงา และยังสามารถเป็นไกด์นำทางให้กับคุณได้อีกด้วย   ใครชอบแบบไหน เน้นการใช้งานอะไร ลองดูผลทดสอบได้ในหน้าถัดไป       ผลทดสอบ                    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 89 สมาร์ทโฟน

มาแล้วพี่น้อง คราวนี้เป็นผลทดสอบโทรศัพท์สารพัดนึก หรือที่เราเรียกกันว่าสมาร์ทโฟน เป็นทั้งโทรศัพท์ และคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาด้วย เรียกว่าให้คุณใช้งานได้หลากหลายขึ้นตั้งแต่ทำงานเอกสารอย่างโปรแกรมเวิร์ด เอกเซล ไปจนถึงท่องอินเทอร์เน็ต และรับ/ส่งจดหมายเล็กทรอนิกส์  ผลทดสอบครั้งนี้จัดให้ตามที่แฟนพันธุ์แท้ของฉลาดซื้อได้แวะเวียนมาขอไว้เป็นการส่วนตัวที่บูธของเราในงานสัปดาห์หนังสือครั้งที่ผ่านมา ทีมงานมั่นใจว่าน่าจะมีสมาชิกของเราอีกหลายท่านที่สนใจอยากหาเจ้าสมาร์ทโฟน (หรือพีดีเอโฟนอย่างที่หลายคนเรียกกัน) มาไว้ใช้เป็นผู้ช่วยส่วนตัวที่ช่วยให้การทำงาน และการจัดการชีวิตส่วนตัวเป็นไปอย่างสะดวกสบายรวดเร็ว เพื่อจะได้ใช้เวลากับครอบครัวเพื่อนฝูงให้มากขึ้น โทรศัพท์รุ่นที่นำมาทดสอบในครั้งนี้มีทั้งหมด 23 รุ่น แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่รุ่นที่เป็นพีดีเอพื้นฐาน รุ่นที่มีเพียงคีย์บอร์ดอย่างเดียว รุ่นที่มีจอสัมผัสอย่างเดียว และรุ่นที่มีทั้งสองอย่างให้เลือก  มีราคาตั้งแต่ 8,000 32,000 บาท ผลการทดสอบในภาพรวมปรากฏว่าสมาร์ทโฟนทุกรุ่น สามารถใช้งานเป็นโทรศัพท์มือถือได้ในระดับที่ยอมรับได้ (ยกเว้น เอชทีซี   X7500 ที่ได้คะแนนฟังก์ชั่นโทรศัพท์น้อยกว่ารุ่นอื่นๆ) แต่จะมีความแตกต่างกันอยู่ในด้านของการใช้งานเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดพกพาที่มีตั้งแต่รุ่นที่ได้คะแนนมากที่สุด ได้แก่ แอปเปิลไอโฟน ไปจนถึงรุ่นที่ได้คะแนนในระดับต่ำกว่าขั้น “พอใช้” อย่าง เอชพี Ipaq 514  เอชทีซี P3300 และ ซัมซุง SGH-i600 เช่นเดียวกับเรื่องของการใช้งานที่ต้องมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่พบว่ามีความแตกต่างกันพอสมควร มีถึง 6 รุ่นจาก 23 รุ่นที่ได้คะแนนด้านนี้ต่ำกว่าขั้น “พอใช้”  และมีอีก 6 รุ่นเช่นกันที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เครื่องเสียงได้ไม่ดีนัก ส่วนการใช้งานเป็นอุปกรณ์นำทางนั้น เรียกได้ว่ายังไม่มีรุ่นไหนโดดเด่นน่าสนใจ >>>ดาวน์โหลดรายละเอียด

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 185 เพิ่มพื้นที่ความจำในสมาร์ทโฟน

ผู้อ่านรู้สึกกันบ้างไหมคะ ทำไมสมาร์ทโฟนที่ใช้กันอยู่นั้น เมื่อซื้อมาใช้ในช่วงแรกๆ ความเร็วในการใช้เครื่องสูงมาก ลื่นปื๊ดสมกับเป็นเครื่องสมาร์ทโฟนที่เพิ่งแกะออกมาจากกล่อง สามารถเข้าโปรแกรมแอพพลิเคชั่นได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ความรวดเร็วเหล่านั้นกลับลดน้อยลง จะเริ่มสัมผัสได้ถึงความรู้สึกช้าๆ หน่วงๆ ของเครื่องสมาร์ทโฟนไม่เหมือนเมื่อก่อน หลายคนอาจจะถามกลับว่า คุณมีรูปในเครื่องมากเกินไปหรือเปล่า มีข้อมูลที่เก็บในเครื่องมากหรือเปล่า ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่ง แต่เชื่อได้เลยคะว่าหลายคนก็เคยลบรูปและข้อมูลต่างๆ ภายในเครื่องสมาร์ทโฟนนั้นแล้ว แต่ก็ยังคงมีอาการเช่นเดิม และความจุในเครื่องสมาร์ทโฟนก็ยังไม่ลดลง และเป็นไปตามที่คาดหมายเช่นเดิม เพราะอาการเหล่านั้นก็ยังอยู่ ในระบบปฏิบัติการ Android  ขอแนะนำให้ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นล้างข้อมูลใน Play Store  อย่างเช่น แอพพลิเคชั่น ใช้เพื่อเคลียร์ข้อมูลบ้าง และลบแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้ใช้งานออก โดยให้เข้าไปลบแอพพลิเคชั่นในเมนูการตั้งค่า เพื่อให้แอพพลิเคชั่นนั้นถูกลบจากเครื่องสมาร์ทโฟนทั้งหมด ซึ่งผู้อ่านสามารถเข้าไปที่การตั้งค่า เลือกแอพพลิเคชั่น จากนั้นเลือกการจัดการแอพพลิเคชั่น และลบการติดตั้งแอพพลิเคชั่นนั้น     ขอเน้นย้ำว่าต้องเข้าไปลบในส่วนของเมนู เพราะการลบแค่หน้าจอ อาจลบไปแค่แอพพลิเคชั่น แต่ข้อมูลที่ฝังอยู่ในความจำเครื่องสมาร์ทโฟน อาจจะไม่ได้ถูกลบออกไปด้วย ส่วนระบบปฏิบัติการ iOS ก็แนะนำให้ลบแอพพลิเคชั่นที่ไม่ได้ใช้งานออกเช่นกัน แต่ที่อยากแนะนำเพิ่มเติมในระบบปฏิบัติการ iOS ก็คือ การลบแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานประจำ และดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนั้นใหม่ เนื่องจากการใช้แอพพลิเคชั่นนั้นเป็นเวลานานๆ ข้อมูลต่างๆ ที่ใช้จะถูกสะสมไว้ ซึ่งมีผลทำให้เพิ่มพื้นที่ความจำในเครื่องสมาร์ทโฟน  ดังนั้นการลบแอพพลิเคชั่นและดาวน์โหลดใหม่จะช่วยทำให้พื้นที่ในความจำเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง ขั้นตอนแรกให้ผู้อ่านเข้าไปดูรายละเอียดการใช้พื้นที่ในเครื่องสมาร์ทโฟน โดยเฉพาะในส่วนของการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น ส่วนใหญ่จะอยู่ในเมนู setting หรือการตั้งค่า เลือก General หรือทั่วไป  จากนั้นเลือกการใช้งานเนื้อที่เก็บข้อมูล และเลือกจัดการเนื้อที่เก็บข้อมูลเมื่อเข้าไปในส่วนจัดการเนื้อที่เก็บข้อมูล จะทำให้เห็นพื้นที่ความจำในเครื่องทั้งหมด เพื่อให้ผู้อ่านรู้ว่าแอพพลิเคชั่นใดที่ใช้พื้นที่ในเครื่องมากที่สุด และสามารถลบแอพพลิเคชั่นในส่วนนี้ได้เลยก่อนที่จะลบแอพพลิเคชั่นและติดตั้งแอพพลิเคชั่นใหม่ ผู้อ่านต้องสำรวจและแน่ใจว่าในแอพพลิเคชั่นที่จะทำการดาวน์โหลดใหม่นั้น ไม่มีข้อมูลที่สำคัญเก็บไว้ เนื่องจากเมื่อทำการลบแอพพลิเคชั่นไปแล้ว ข้อมูลต่างๆ จะถูกลบไปด้วยทันที อย่างเช่น ข้อความใน Line  เป็นต้นขอเน้นย้ำว่าอย่าลืมดูข้อมูลภายในแอพพลิเคชั่นที่ต้องการจะลบให้แน่ใจก่อนที่ข้อมูลจะหายไปอย่างถาวร

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 173 ระบบปฏิบัติการบนสมาร์ทโฟน

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนมีให้เลือกหลากหลาย และมีหลายขนาดให้เลือกตามกำลังทรัพย์ของผู้ซื้อ จนผู้ซื้อต้องมีการเปรียบเทียบคุณสมบัติของสมาร์ทโฟนของแต่ละยี่ห้อ ว่าคุณสมบัติอันไหนตรงตามความต้องการของตนมากกว่ากันแม้บริษัทที่มีสินค้าประเภทสมาร์ทโฟนจะมีหลายยี่ห้อให้เลือก และมีหลายรุ่นให้เลือกสรร  อีกทั้งยังพยายามดึงดูดความสนใจผู้ซื้อตั้งแต่การออกแบบรูปร่างของโทรศัพท์ให้มีความทันสมัยมากขึ้น การแข่งขันกันในเรื่องความบางเบาและความแข็งแรงของเครื่อง  แต่จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีของระบบการทำงานของสมาร์ทโฟนนั้นจะมีเพียงแค่ 2 ระบบเท่านั้น นั่นคือ ระบบปฏิบัติการ Android และ ระบบปฏิบัติการ iOSขอพูดถึงข้อดีของระบบปฏิบัติการ Android และ ระบบปฏิบัติการ iOS ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร ระบบปฏิบัติการ Android  มีความสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกได้ง่าย ไม่ว่าจะเสียบสาย USB กับคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ตาม ก็รองรับได้หมด  อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการเปิดแอพพลิเคชั่นหลายๆ อันได้พร้อมกันโดยไม่มีปัญหาใด  นอกจากนี้สามารถปรับเปลี่ยนโฮมสกรีนได้หลากหลาย โดยปรับหน้าจอได้ตามใจเจ้าของเครื่อง ทำให้รู้สึกเสมือนว่ามีโทรศัพท์ใหม่ตลอดเวลา ละง่ายต่อการเคลื่อนย้ายไอคอนแอพพลิเคชั่นภายในสมาร์ทโฟน  ที่สำคัญเหมาะสำหรับคนที่ชอบใช้ Line เป็นอย่างมาก เพราะมีคีย์บอร์ดให้เลือกหลายรูปแบบ ระบบปฏิบัติการ iOS  ระบบจะมีความซับซ้อนน้อย แต่เมื่อเริ่มใช้ระบบปฏิบัติ iOS จะต้องลงชื่อบัญชีก่อน  หลังจากนั้นจะสามารถใช้บริการได้ทั้งหมด ระบบปฏิบัตินี้มีจุดเด่นในเรื่องการให้บริการจากระบบส่วนกลาง อย่างเช่น iCloud  iTunes เป็นต้น โดยถือว่ามีความเป็นหนึ่งเดียวในการให้บริการที่เป็นระบบ ส่วนเรื่องการใช้งานบนสมาร์ทโฟนนั้น เมื่อเปิดแอพพลิเคชั่นในระบบนี้จะมีความลื่นไหล แม้ว่าจะมีการลงแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนมากแค่ไหนก็ตาม ก็ยังช่วยประหยัดพลังงานและสามารถใช้งานได้โดยไม่หน่วงหรือช้า  นอกจากนี้ยังมีแอพพลิเคชั่นที่ช่วยสร้างความบันเทิงให้กับผู้ใช้ให้เลือกจากระบบส่วนกลางได้มากมาย ล่าสุดระบบปฏิบัติการทั้ง 2 ระบบ ได้พยายามแข่งขันโดยการพัฒนาซอฟแวร์อยู่ตลอดเวลา ปัจจุบันระบบปฏิบัติการ  Android  อยู่ที่เวอร์ชั่น Android 5.x  ส่วนระบบปฏิบัติการ iOS  อยู่ที่เวอร์ชั่น iOS 8.x  การเลือกใช้สมาร์ทโฟนสักเครื่องหนึ่ง ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงระบบที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด ด้วยเทคโนโลยีที่ได้มีการปรับเปลี่ยนให้มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการแข่งขันกันในตลาดธุรกิจสมาร์ทโฟน  ซึ่งถือว่าเป็นผลดีกับผู้บริโภคอย่างเรา แต่ผู้บริโภคก็ต้องใส่ใจเพื่อศึกษาถึงคุณสมบัติและเท่าทันกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 168 สร้างไฟล์งานด้วยสมาร์ทโฟน

ตั้งแต่เข้าปีแพะมา บอกตรงๆ เลยค่ะ ว่างานยุ่งมาก ทำงานไม่ทัน อันโน้นยังไม่เสร็จ อันนี้ยังไม่เสร็จ พระอาทิตย์ก็ตกดินไปซะแล้ว จนทำให้รู้สึกเวลาในแต่ละวันช่างเดินเร็วเสียจริง...อ๊ะ!! ผู้อ่านหลายคนอาจจะคิดว่าปีชงหรือเปล่า  ไม่ใช่จริงๆ ค่ะ ทุกอย่างเป็นเพราะงานล้นมือล้วนๆ เลย ขอบอก พอมีงานมากมายก่ายกอง ซึ่งก็ทำให้ทำไม่ทันอยู่แล้วเป็นทุนเดิม  แถมบ่อยครั้งต้องออกเดินทางไปประชุมด้านนอกทั้งแบบนัดหมายไว้ล่วงหน้าหรือแบบกะทันหัน  งานก็เลยต้องพักไว้ แต่บางครั้งก็ยังมีงานเข้ามาให้ปวดหัว ต้องพิมพ์โน้นนี่นั่นแบบเร่งด่วน ทั้งที่ตัวยังต้องเข้านั่งประชุมอยู่ และไม่สามารถใช้โน๊คบุ๊คได้ ทีนี้ก็งานเข้าทุกทิศทุกทางเลยค่ะ ชั่วขณะนั้นก็ทำให้นึกถึงสมาร์ทโฟนในมือของตนเองว่าน่าจะช่วยอะไรได้บ้าง เลยเข้ากูเกิ้ล (google) ค้นหาผู้ช่วยมือที่สามทันที และแล้วแอพพลิเคชั่น  Docs ToGo  ก็มาช่วยแบ่งเบางานได้บ้างเมื่อต้องเดินทางออกนอกสถานที่ แอพพลิเคชั่นมีทั้งเวอร์ชั่นฟรี และเสียเงิน  โดยในเวอร์ชั่นฟรี สามารถใช้โปรแกรมสกุล docx  ซึ่งก็คือโปรแกรม word และโปรแกรมสกุล xlsx ก็คือโปรแกรม excel   ส่วนเวอร์ชั่นเสียเงินจะเพิ่มโปรแกรม PDF มาให้ เพื่อเพิ่มความสะดวกในการใช้งานบอกสมาร์ทโฟน ในแอพพลิเคชั่นนี้ สามารถใช้งานได้ง่ายมาก  พอกดเข้าแอพพลิเคชั่นด้านหน้าจอสมาร์ทโฟน  จะปรากฏหน้ารวมไฟล์ทุกสกุล ไม่ว่าจะเป็น  docx, xlsx, pdf  โดยจะแจ้งเป็นชื่อไฟล์ตามที่เจ้าของงานได้ตั้งไว้ และสามารถกดเลือกให้โชว์ไฟล์เฉพาะสกุลนั้นๆ ก็ได้ เป็นการเพิ่มความสะดวกให้อีกทาง เมื่อต้องการจะใช้โปรแกรมให้กดเครื่องหมายบวกมุมบนขวา จากนั้นแอพพลิเคชั่น จะให้เลือกว่าต้องการใช้โปรแกรม word หรือ excel ถ้าเป็นโปรแกรม word จะเปิดหน้าว่างสีขาวมาให้ โดยสามารถพิมพ์ข้อความได้ตามปกติเหมือนอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลูกเล่นในการเลือกให้ข้อความเป็นตัวหนา ตัวเอียงหรือขีดเส้นใต้ได้ และมีเมนูทำให้ข้อความอยู่กึ่งกลาง ตั้งชิดหน้า ชิดหลัง รวมทั้งการกั้นหน้าหลังในแต่ละบรรทัดด้วย สำหรับโปรแกรม excel เมื่อกดแล้วจะปรากฏหน้าเป็นตารางเหมือนกันในเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งวิธีใช้เหมือนกันทุกอย่าง โดยในแอพพลิเคชั่นจะสามารถจัดรูปแบบ font ได้ทันที และสามารถลากแถบช่องตารางที่ต้องการเลือกได้เหมือนกับใช้ mouse ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยสร้างไฟล์ในเบื้องต้นให้กับเรา หลังจากนั้นให้ save ไฟล์ ซึ่งแอพพลิเคชั่นจะให้ตั้งชื่อเอง และผู้ใช้สามารถส่งไปยังเมลต่างๆ ที่ต้องการได้ทันที ขั้นตอนในการส่งนั้น เพียงแค่เลือกไฟล์ที่ต้องการ และกดรูปซองจดหมาย หลังจากนั้นแอพพลิเคชั่นจะไปลิ้งกับเมล เพื่อให้กรอกที่อยู่เมลที่ต้องการส่งทันที ต้องยอมรับว่าในยุคสมัยการใช้อินเตอร์เน็ตผ่านเทคโนโลยีสมาร์ทโฟนเป็นเรื่องที่ง่ายจริงๆ เพียงแค่ใช้ปลายนิ้วก็สามารถช่วยคุณได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 โหลดฟรีกับแอพพลิเคชั่น App of the Day

  ผู้อ่านเคยยอมเสียเงินเพื่อดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟนบ้างหรือเปล่า   ต้องยอมรับกันว่าหลายคนคงยอมเสียเงินเพื่อแลกกับการได้เล่นแอพพลิเคชั่นที่ตนสนใจ และน่าสนใจ  ไม่ว่าจะเป็นแอพพลิเคชั่นความสวยความงาม  แอพพลิเคชั่นอาหารการกิน แอพพลิเคชั่นด้านการเงินการบริหาร แอพพลิเคชั่นตกแต่งภาพ แอพพลิเคชั่นเกมส์ต่างๆ และแอพพลิเคชั่นอื่นๆ อีกมากมาย ล้วนเป็นที่น่าสนใจในสายตาของผู้มีสมาร์ทโฟนทั้งสิ้น แต่การเสียเงินเพื่อให้แอพพลิเคชั่นนั้นลงมาอยู่บนสมาร์ทโฟนของตน ก็ทำให้ผู้บริโภคฉลาดซื้ออย่างพวกเรารู้สึกไม่คุ้มค่าและสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ   ด้วยเหตุนี้ แอพพลิเคชั่น  App of the Day จึงน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด   แอพพลิเคชั่น  App of the Day เป็นแอพพลิเคชั่นที่คอยแจ้งให้เจ้าของสมาร์ทโฟนได้ทราบว่าในแต่ละวันมีแอพพลิเคชั่นตัวไหนที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรี โดยสามารถดาวน์โหลดได้ภายใน 24 ชั่วโมง เมื่อคลิกเข้าไปในแอพพลิเคชั่น App of the Day โปรแกรมจะดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นที่เปิดให้ดาวน์โหลดฟรีขึ้นมาให้เห็น ซึ่งในแต่ละวันจะมีเพียงแอพพลิเคชั่นเดียวที่จะเปิดฟรี ให้ดาวน์โหลดหมุนเวียนกันไป  และบริเวณรายละเอียดภายในแอพพลิเคชั่น จะมีเวลานับถอยหลังสำหรับการดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ปรากฏอยู่  ตรงนี้จะช่วยให้รู้เวลาที่เหลือ แล้วผู้อ่านก็รีบไปบอกต่อเพื่อนๆ เลยค่า...   นอกจากนี้ด้านบนหน้าจอของแอพพลิเคชั่น ยังบอกราคาของแอพพลิเคชั่นนั้นๆ ไว้ด้วย เผื่อใครดาวน์โหลดฟรีไม่ทัน จะได้รู้ว่าราคาที่แท้จริงอยู่ที่เท่าไร  ส่วนบริเวณด้านล่างหน้าจอของแอพพลิเคชั่น จะมีรายละเอียดที่แจ้งให้ว่าแอพพลิเคชั่นตัวไหนบ้างที่เคยเปิดให้ดาวน์โหลดฟรี พร้อมราคาให้เสร็จสรรพ   ถ้าเปิดแอพพลิเคชั่น App of the Day แล้ว รู้สึกพึงพอใจกับแอพพลิเคชั่นที่ปรากฏอยู่ ก็คลิกเลย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 สมาร์ทโฟนแค่เดือนเดียวเจ๊งต้องขอเปลี่ยนคืน

เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555 เวลาประมาณ 6 โมงเย็นที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ภูษิตเข้าไปซื้อสมาร์ทโฟน Sony Xperia SZ(LT26i) ในราคา 15,990 บาทจากบริษัท ทีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด สาขาที่ 108หลังจากใช้งานได้ประมาณ 1 เดือน มือถือเริ่มมีอาการค้างบูทเอง และเปิดเครื่องไม่ได้ในท้ายที่สุด“วันที่ 15 ตุลาคม 2555 ผมเอาเครื่องไปส่งซ่อมที่ศูนย์โซนี สาขามาบุญครอง ช่างบอกว่าต้องลงโปรแกรมใหม่ ใช้เวลา 2 ชั่วโมงมารับเครื่องได้ หลังจากรับเครื่องไปใช้ได้เพียงหนึ่งวัน เครื่องก็มีอาการเดิมครับ”“วันที่ 17 ตุลาคม 2555 ผมนำเครื่องกลับไปที่ศูนย์มาบุญครองอีก ช่างแจ้งว่าต้องนำไปที่ศูนย์ทองหล่อ ซอย 9 เพื่อตรวจสอบ เพราะอาจเสียที่ฮาร์ดแวร์และเป็นศูนย์ใหญ่แน่นอนกว่า”“ในวันเดียวกันผมจึงเดินทางไปที่ศูนย์ทองหล่อซอย 9 ช่างยืนยันจะลงโปรแกรมให้เหมือนเดิม อ้างว่าศูนย์มาบุญครองอาจลงไม่ครบ”“หลังจากที่ผมรอ 2 ชั่วโมงกลับมารับเครื่อง ระหว่างตรวจสอบก่อนรับเครื่องคืน เครื่องก็มีอาการดับเอง บูทเครื่องเองอีก ต้องใช้เวลานานมากเพื่อให้ช่างรับเครื่องไว้ เพื่อให้ตรวจสอบฮาร์ดแวร์”“ช่างพยายามบอกให้ผมนำเครื่องกลับไปใช้ก่อน แต่ผมไม่มีความมั่นใจอีกแล้ว สุดท้ายเจ้าหน้าที่จึงรับปากจะตรวจสอบฮาร์ดแวร์ให้อย่างละเอียด บอกว่าใช้เวลา 3 วัน” วันที่ 19 ตุลาคม 2555 ครบกำหนดสามวันภูษิตกลับไปรับเครื่อง เมื่อเปิดเครื่องตรวจสอบเครื่องก็ดับต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของศูนย์โซนีเลย“ผมไปรับเครื่องตั้งแต่บ่ายสามโมงเย็น คุยจนศูนย์ปิดห้าโมงเย็น ถามเจ้าหน้าที่ว่าเครื่องมีปัญหาชัดเจนแบบนี้ทำไมไม่ทำอะไรให้ ช่างจึงรับปากว่าจะเปลี่ยนเมนบอร์ดให้ แต่ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 อาทิตย์”“ผมไม่มีความมั่นใจในบริการอีกแล้ว เครื่องไม่สามารถใช้ได้ต้องรอนาน ศูนย์ไม่ใส่ใจในการแก้ปัญหา ผมเขียนอีเมล์ถึงบริษัทโซนี เพื่อขอให้รับซื้อสินค้าคืน และขอร้องเรียนต่อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้ช่วยติดตามเรื่องด้วยครับ” แนวทางแก้ไขปัญหาโดยทั่วไป ผู้ประกอบธุรกิจมักจะมีระยะเวลารับประกันสินค้าหากเกิดความชำรุดบกพร่องอันเนื่องจากสภาพตัวเครื่องหรือการใช้งานตามปกติ และมักจะใช้วิธีการซ่อมแล้วซ่อมอีกซ่อมไปเรื่อยๆ จนหมดระยะเวลารับประกัน หลังจากนั้นก็โบกมือบ๊ายบายแต่เดี๋ยวนี้มือถือนี่เหมือนรถยนต์ ราคาไม่ใช่ถูก จึงเป็นสินค้าที่เอามาขายต่อได้ ซื้อมาใช้ อยากเปลี่ยนใหม่ก็ขายต่อได้ แต่ถ้าต้องเจอแบบซื้อมาแป๊บเครื่องซ่อมแล้วซ่อมอีก ซ่อมก็ไม่หายจะเอาไปขายต่อใครก็ไม่ได้ เพราะเครื่องยังเจ๊งอยู่ซ่อมไม่หาย ใช้งานไม่ได้ ขายไม่ได้ ดังนั้นผู้ขายผู้ผลิตจึงต้องรับผิดชอบที่เกิดขึ้นซ่อมได้ หายก็จบ ซ่อมไม่ได้ก็ต้องคืนสินค้าและเรียกร้องค่าใช้จ่ายทั้งหมดคืนหลังจากที่ภูษิตส่งอีเมล์ถึงโซนี และได้แสดงอาการเสียและความล้มเหลวในการซ่อมให้เห็นอย่างแจ่มแจ้ง และได้แสดงความประสงค์อย่างชัดเจนว่าไม่ต้องการเปลี่ยนสินค้าตัวใหม่เพราะขาดความมั่นใจในคุณภาพของสินค้า ท้ายที่สุดโซนีจึงให้บริษัททีจี เซลลูล่าร์เวิลด์ จำกัด ผู้จำหน่ายสินค้า ชำระเงินคืนทั้งหมดจำนวน 15,990 บาทคืนแก่ภูษิตจนเป็นที่เรียบร้อย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 ผลทดสอบ กระจกนิรภัยกันรอยหน้าจอสมาร์ทโฟน

“แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ” เป็น 1 อุปกรณ์เสริมที่ทำหน้าที่เป็นตัวช่วยสำหรับคนใช้โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะรุ่นที่เป็นสมาร์ทโฟนที่สั่งการโดยใช้การสัมผัสที่หน้าจอ ส่วนใหญ่เกือบทุกคนต้องหาซื้อมาติดไว้ที่หน้าจอมือถือของตัวเอง เพื่อช่วยให้หน้าจอยังดูเหมือนใหม่ ใช้งานได้นาน ที่สำคัญคือป้องกันไม่ให้เกิดรอยขีดข่วน ซึ่งฟิล์มกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือที่ขายอยู่ทั่วไป มีราคาตั้งแต่ไม่ถึงร้อยบาทไปจนถึงหลักพันบาท แตกต่างกันไปตามวัตถุดิบที่นำมาผลิตและคุณสมบัติ โดยชนิดของแผ่นกันรอยที่ถือว่ามีประสิทธิภาพในการป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือได้ดีที่สุดก็คือ กระจกนิรภัยกันรอย (Tempered Glass)ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่าง แผ่นกันรอยหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ชนิดที่เป็นกระจกนิรภัยกันรอย จำนวน 8 ตัวอย่าง ซึ่งเราเลือกรุ่นที่ใช้สำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน iPhone6 ทั้งหมด  โดยมี “เครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ทำหน้าที่ดูแลเรื่องการทดสอบ    ประเด็นในการทดสอบมี 3 ประเด็น คือ1.ทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test)2.ทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง3.การวัดความแข็งซึ่งเแต่ละประเด็นการทดสอบ เป็นการทดสอบคุณสมบัติวัสดุที่นำมาผลิตเป็นแผ่นกระจกป้องกันรอยขีดข่วนบนหน้าจอสมาร์ทโฟน ขั้นตอนการทดสอบ1.ทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test) (มาตรฐาน ASTM หรือย่อมาจาก American Society for Testing and Materials ซึ่งเป็นชื่อของสมาคมวิชาชีพ ทางด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ที่ก่อตั้งในอเมริกา ทำหน้าที่พัฒนาระบบมาตรฐานต่างๆ ทั้งด้านการผลิต การใช้งาน เพื่อส่งเสริมด้านวิชาการสำหรับภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นมาตรฐานที่นำมาใช้ได้โดยสมัครใจ)1.1 ติดกระจกนิรภัยแต่ละยี่ห้อ ลงบนหน้าจอสมาร์ตโฟน หลังจากนั้นนำ cross cut guide หลังจากนั้นเปลี่ยนทิศทางของ cross cut guide ให้ตั้งฉากกับรอยตัดเดิม แล้วทำการกรีดตามร่องให้ครบทั้ง 10 ร่อง 1.2 นำเทปกาวมาตรฐาน ที่มาพร้อมกับเครื่องมือทดสอบปิดลงบนรอยกรีดรีดให้ครอบคลุมรอยกรีดทุกร่องรีดเทปกาวให้สนิทบนผิวกระจกนิรภัย1.3 ทำการดึงเทปกาวออกจากผิวกระจกนิรภัยโดยดึงด้วยความเร็วสม่ำเสมอ1.4 สังเกตรอยกรีดว่ามีหรือไม่2 ทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง    2.1 ติดกระจกนิรภัยแต่ละยี่ห้อลงบนหน้าจอสมาร์ทโฟนให้สนิทแน่น โดยใช้ฟิล์มพลาสติกใสที่แต่ละยี่ห้อให้มาทำหน้าที่เป็นแผ่นติดประสานระหว่างแผ่นกระจกกันรอยและหน้าจอสมาร์ทโฟน หลังจากนั้นนำเครื่องขัดกระดาษทรายความเร็วสูง (ความเร็วรอบของการขัด 2500 รอบต่อนาที) ขัดลงบนแผ่นกระจกกันรอยนาน 1 นาที2.2 สังเกตรอยแตกที่เกิดขึ้น พร้อมทำการถ่ายรูป เพื่อบันทึกข้อมูล3 ทดสอบความแข็งวัดความแข็งโดยใช้เครื่อง micro hardness tester, model HV-1000B หัวกดที่ใช้ คือ เพชร ซึ่งมีรูปร่างเป็นปิระมิดฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีมุมระหว่างผิวหน้าด้านตรงข้ามกันเท่ากับ 136 องศา และใช้แรงกด 1000 กิโลกรัมฟอร์ซ (kilogram-force:kgf) ระยะเวลากด 20 วินาที รอยที่เกิดขึ้นมีขนาดเล็กในระดับไมครอน ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ในการช่วยคำนวณความแข็งสำหรับทดสอบฟิล์มกระจก ผลการทดสอบ1.ผลการทดสอบความสามารถการต้านทานรอยขีดข่วน โดยประยุกต์วิธีการทดสอบตามมาตรฐาน ASTM D 3359 (cross cut guide test) ไม่พบรอยขีดข่วนทุกตัวอย่างที่ทดสอบ2.ผลการทดสอบความสามารถการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูง พบรอยแตกทุกตัวอย่างที่ทดสอบ3.ผลทดสอบความแข็ง 3 อันดับที่มีความแข็งสูงที่สุด1.Remax มีความแข็งสูงสุด คือ 968.57 วิกเกอร์2.Hishield มีความแข็ง 931.93 วิกเกอร์3.Gorilla มีความแข็ง 848.70 วิกเกอร์ความแข็งของกระจกนิรภัยสามารถเชื่อมโยงไปถึงค่าความสามารถต้านทานการสึกหรอ คือ ค่าความแข็งสูง ก็จะส่งให้ผลค่าความต้านทานการสึกหรอสูงตามไปด้วยฉลาดซื้อแนะนำจากผลการทดสอบจะเห็นว่าทุกยี่ห้อมีผลการทดสอบทั้ง 3 หัวข้อที่ค่อนข้างใกล้เคียงกันมาก คือ ไม่พบรอยขีดข่วนทุกยี่ตัวอย่าง แต่ในการทดสอบการต้านทานการขัดด้วยความเร็วรอบสูงพบรอยแตกทุกตัวอย่าง ส่วนการทดสอบความแข็ง ผลที่ออกมาก็อยู่ในเกณฑ์ที่ใกล้เคียงกัน เพราะฉะนั้นคำแนะนำในการเลือกซื้อกระจกนิรภัยกันรอยสำหรับโทรศัพท์สมาร์ทโฟน ก็ควรเปรียบเทียบที่ราคาเป็นอันดับแรก พร้อมดูคุณสมบัติอื่นๆ ประกอบไปพร้อมกัน เช่น ความหนาของกระจก ความคมชัด การลดการสะท้อนของรังสียูวี การป้องกันแสงสีฟ้า (แสงที่เป็นอันตรายต่อจอประสาทตา) จากจอมือถือ การลดหรือป้องกันการเกิดรอยนิ้วมือจากการใช้งาน ฯลฯผลทดสอบแต่ละยี่ห้อ                            

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 สมาร์ทโฟน รุ่นไหนที่เหมาะกับความต้องการของเรา

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการบทความในเดือนนี้ผมขอเสนอผลการรีวิวการทดสอบ สมาร์ตโฟนทั้งรุ่นเก่า และรุ่นใหม่ จำนวน 100 รุ่น ของ มูลนิธิทดสอบสินค้าแห่งเยอรมนี (Stiftung Warentest) ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม 2014  มีผลสรุปโดยแบ่งประสิทธิภาพและคุณภาพเป็น 4 กลุ่มตามตารางข้างล่างนี้ หวังว่าสมาชิกฉลาดซื้อสามารถใช้ข้อมูลนี้ เลือกซื้อสมาร์ตโฟนเป็นของขวัญในปีใหม่นี้ ได้อย่างฉลาดและรู้เท่าทันกันนะครับ ท้ายนี้ผมขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ดลบันดาลให้ทุกท่านเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุข พละ ตลอดปีวอก 2559 ครับ ผลการรีวิวการทดสอบสมาร์ตโฟน          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 174 คุณภาพสมาร์ทโฟนระหว่าง รุ่นเก่า Vs. รุ่นใหม่

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ...เก่าไป ใหม่มา คลื่นลูกเก่าหายไป คลื่นลูกใหม่ย่อมมีมาแทน... เวลาที่เราได้ฟังเพลงฮิตเพลงนี้ ของวงนูโว เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ทำให้เราเข้าใจว่า ของใหม่ที่ผลิตมาแทนของรุ่นเก่านั้นย่อมดีกว่า มีคุณภาพดีกว่า มายาคตินี้ ได้ตอกย้ำให้เห็นว่าไม่จริงเสมอไป โดยผลการทดสอบสมาร์ตโฟนล่าสุดของ มูลนิธิทดสอบสินค้าแห่งเยอรมนี (Stiftung Warentest) ฉบับที่ 8/2015 มีผลสรุปดังนี้1.    Samsung S6 สวยกว่า แต่ Samsung S5 ดีกว่ารูปลักษณ์ภายนอกของ Samsung S6 โครงของสมาร์ตโฟน (body) ทำจากพลาสติก ทำให้ดูดีมีสไตล์ ในขณะโครงของ Samsung S5 ทำจาก โลหะและกระจกแก้ว นอกจากนี้ข้อด้อยของรุ่น S6 คือ ผู้บริโภคไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรีได้เองอีกแล้ว เพราะแบตเตอรีจะติดแน่นกับตัวเครื่อง ข้อด้อยอีกอย่างหนึ่งของสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ เมื่อเทียบกับรุ่นเก่าคือ พลังงานไฟฟ้าของแบตเตอรีหมดเร็วกว่า จากการทดสอบการโทรศัพท์ ปรากฏว่า แบตเตอรีของรุ่นใหม่ หมดเร็วกว่ารุ่นเก่าถึง 6 ชั่วโมงตัว memory card ภายใน สำหรับเพิ่มปริมาณการเก็บข้อมูลก็ไม่สามารถขยายต่อเติมได้ ราคาสมาร์ตโฟน Samsung S6 ในเยอรมันราคาอยู่ที่ 700 ยูโร ในขณะที่ ราคาของ รุ่น S5 อยู่ที่ 430 ยูโร แนะนำว่าถ้าไม่สนใจเรื่องรูปลักษณ์ภายนอกและอยากประหยัดก็แนะนำว่า รุ่น S5 ก็ยังมีคะแนนโดยรวมจากการทดสอบสูงกว่ารุ่น S62.    สมาร์ตโฟน LG G4 คุณภาพไม่ได้แตกต่างจาก รุ่น G3 แต่ราคาแพงกว่า ราคาของ LG G4 อยู่ที่ 665 ยูโร ในขณะที่ รุ่น G3 อยู่ที่ 290 ยูโร สมาร์ตโฟนถึงแม้นว่า คุณภาพของกล้องและ วิดีโอจะดีกว่า รุ่น G3 แต่แบตเตอรีของรุ่น G4 หมดเร็วกว่ารุ่น G3 ถึง 6 ชั่วโมงครึ่ง 3.    สมาร์ตโฟน HTC One M9 Vs. HTC M8 จากผลการทดสอบ ทั้งรุ่นเก่า ( HTC M8) และรุ่นใหม่ (HTC One M9) ยังอยู่ในกลุ่ม คุณภาพดีทั้งคู่ แต่รุ่นใหม่ก็ยังด้อยกว่ารุ่นเก่า ดังนี้•    คุณภาพในการรับสัญญาณคลื่นของ รุ่น HTC One M9 แย่กว่า รุ่น HTC M 8 เพราะในการทดสอบ network sensitivity ที่ทดสอบในสภาพแวดล้อมที่มีคลื่นสัญญาณต่ำ ปรากฏว่า สัญญาณโทรศัพท์ถูกตัดขาดง่ายกว่า•    ผลการทดสอบแบตเตอรี จากการใช้งานอินเตอร์เนต แบตเตอรีของสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่หมดเร็วกว่ารุ่นเก่าถึง 2 ชั่วโมง โดยที่ราคาของรุ่นใหม่อยู่ที่ 695 ยูโร แต่ราคาของรุ่นเก่าอยู่ที่ 450 ยูโร4.    สมาร์ตโฟน Motorola G 2 Vs. G1 ผลการทดสอบเปรียบเทียบระหว่างรุ่นเก่า (G 1) กับรุ่นใหม่ (G 2) น่าแปลกใจว่า รุ่นเก่ามีคุณภาพดีกว่ารุ่นใหม่ โดยเฉพาะผลการทดสอบของ network sensitivity และ ความละเอียดของภาพถ่ายที่ 8 Megapixel ก็ไม่ได้ทำให้ผลการทดสอบดีขึ้นแต่อย่างใดเมื่อรู้ผลอย่างนี้แล้ว ก็คงต้องพิจารณานะครับว่า ชอบรุ่นเก่าหรือชอบรุ่นใหม่ หรือ เก็บออมไว้สำหรับของใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่า คอลัมน์นี้จะนำผลการทดสอบมานำเสนอให้เพื่อนสมาชิกทราบอย่างสม่ำเสมอเมื่อผลการทดสอบได้เผยแพร่ออกมา(ที่มา: วารสาร Test ฉบับที่ 7/ 2015 และ ฉบับที่ 7/ 2014) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 ธุรกิจ ธุรกรรมผ่านสมาร์ตโฟน และ Tablet PC : ประเด็นสำคัญที่องค์กรผู้บริโภคให้ความสำคัญ

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการธุรกิจ ธุรกรรมผ่าน สมาร์ตโฟน และ Tablet PC : ประเด็นสำคัญ ที่องค์กรผู้บริโภคให้ความสำคัญ (Mobile Commerce via Smartphone and Co.- Analysis and and outlook of the future market from the user’s point of view สำหรับบทความในวันนี้ จะขอแปลและเรียบเรียง ผลการศึกษาขององค์กรผู้บริโภคเยอรมนี ที่ได้เผยแพร่งานวิจัย ในเรื่องการทำธุรกรรม ผ่านโทรศัพท์มือถือ สมาร์ตโฟน และ แทบเลต ที่จะมีบทบาทสำคัญทางการค้าขาย ในยุค 3G และ 4G ของการสื่อสาร และการเสนอกรอบสำหรับการกำกับดูแลในประเด็นดังกล่าว สมาร์ตโฟนและแทบเลต เป็นเครื่องมือที่นอกจากจะใช้การติดต่อสื่อสาร รับส่งข้อมูล แล้วยังสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ด้วย ทำให้เป็นที่นิยมในสังคมเยอรมนีเป็นอย่างมาก ความนิยมดังกล่าวส่งผลให้ การให้บริการรับส่งข้อมูล (Data mobile service) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่การสื่อสารประเภทเสียง (Voice mobile service) ก้าวเข้าสู่ยุคการอิ่มตัวของตลาด การสื่อสารประเภทข้อมูล (Data mobile service) มีการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ช้อปปิงออนไลน์ ซื้อตั๋วรถไฟ ตั๋วเครื่องบิน ฯลฯ   ความสะดวกสบายในการทำธุรกรรมเป็นผลมาจาก เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 (3G) และ ยุคที่ 4 (4G) ที่ผู้ให้บริการโครงข่ายการสื่อสารได้เพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล ในโครงข่ายของตัวเองเพิ่มมากขึ้น และในขณะเดียวกัน การติดตั้งไว ไฟ (Wi-Fi) ภายในบ้านและสถานที่สาธารณะ ก็ได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ทำให้การเชื่อมต่อระหว่างสมาร์ตโฟนและแทบเลต สะดวกขึ้น รวดเร็วขึ้น ในราคาผู้บริโภคเข้าถึงได้ ประสิทธิภาพของสมาร์ตโฟนรุ่นใหม่ เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ทุกๆ 2 ปี และในอนาคตสมาร์ตโฟนจะเป็นเครื่องมือสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า โทรศัพท์มือถือ เพราะสมาต์โฟนก็คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา ที่มี processor ประสิทธิภาพสูง มีหน่วยบันทึกความจำปริมาณมาก ประกอบไปด้วยทัชสกรีน ที่มีความไวสูง มีกล้องถ่ายรูปที่มีจำนวน pixel มากๆ และมีเซนเซอร์หลายตัว และการพัฒนาสมาร์ตโฟนใอนาคตก็จะทำให้การใช้งานเป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ   สมาร์ตโฟน: อุปกรณ์ส่วนตัวที่ดึงดูดให้เกิดการทำธุรกรรมแบบเคลื่อนที่ (mobile- commerce) ระบบปฏิบัติการของสมาร์ตโฟนและแทบเลต ไม่ว่าจะเป็น Android, Apple iOS, Blackberry OS, Windows Mobile จะอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้งาน การติดตั้ง Apps จะง่ายขึ้น Apps หรือโปรแกรมทำหน้าที่เชื่อมต่อข้อมูลระหว่างสมาร์ตโฟน เป็นประตูที่จะรับส่ง ข้อมูลต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของ sensor (sensor data) ตำแหน่งของสมาร์ตโฟน (location data) ตลอดจนข้อมูลอื่นๆ การดาวน์โลด app มักจะทำการดาวโลดน์ผ่าน app store เช่น Apple App store (ระบบปฏิบัติการ iOS), BlackBerry App world (ระบบปฏิบัติการ BlackBerry OS), Google Play Store (Android), Samsung App (ระบบปฏิบัติการ Android และ Bada) หรือ Microsoft Market Place (ระบบปฏิบัติการ Windows) โดยที่ Apps เหล่านี้ เกิดจากการสร้างสรรค์และพัฒนาโดยนักเขียนโปรแกรมอิสระ ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างมูลค่าให้กับระบบห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรม การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นแหล่งของการงานสร้างสรรค์อย่างมหาศาล เป็นแหล่งที่นักพัฒนาซอฟท์แวร์อิสระสามารถเข้าสู่ตลาดที่กว้างใหญ่ได้โดยง่าย ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคมี Apps ให้เลือกมากกว่า ครึ่งล้าน Apps สมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือสื่อสารส่วนบุคคล ที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้มากมายด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น Address book ปฏิทินกิจกรรม รูปภาพ และ ลิงค์เชื่อมต่อ Social Network เนื่องจากสมาร์ตโฟนได้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานส่วนบุคคลมากที่สุด ทำให้สามารถใช้สมาร์ตโฟนได้ทุกที่ ทุกเวลา ทำให้สมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือที่สำคัญอย่างยิ่งในการประกอบธุรกรรม ไม่ว่าผู้บริโภคต้องการตรวจสอบโปรโมชันของสินค้าหรือบริการ เปรียบเทียบราคา เสาะหาร้านค้า สั่งสินค้า ชำระค่าสินค้าและบริการ ด้วยเทคโนโลยี Geo-Localization (เทคโนโลยีการระบุตำแหน่งบนโลก) ทำให้สามารถตรวจจับ ตำแหน่งของผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนได้ และ App บางตัว ทำให้ผู้บริโภคสามารถได้รับข้อมูลที่จำเป็น ว่าจะเดินทางไปที่ไหน และจะเดินทางไปอย่างไร ในเรื่องการระบุตำแหน่งของผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนนั้น ถือว่าเป็นหลักการพื้นฐานเบื้องต้น สำหรับการทำธุรกรรมแบบเคลื่อนที่ (m-commerce services) อย่างไรก็ตามข้อมูลระบุตำแหน่ง เป็นข้อมูลส่วนบุคคลจำเป็นต้องมีความระมัดระวังระมัดระวัง เพราะข้อมูลเหล่านี้สามารถเป็นเครื่องมือในการบอกพฤติกรรมของผู้บริโภคได้ และเป็นช่องทางให้ผู้ประกอบการค้าขายนำมาใช้ในทางที่ผิด ละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้โดยง่าย จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมผู้บริโภคจึงได้ App บางตัวมาฟรีๆ โดยไม่ต้องเสียสตางค์ เพราะสิ่งที่ผู้ประกอบการบางรายต้องการคือข้อมูลส่วนตัวของผู้บริโภค เพื่อนำมาใช้ในเชิงธุรกิจ   กระเป๋าสตางค์ในอนาคต (M-Payment) ในอนาคตสมาร์ตโฟนจะเป็นกระเป๋าสตางค์ของผู้บริโภคด้วย ที่ผ่านมาเราสามารถทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบอินเตอร์เนตได้แล้ว และกำลังจะเคลื่อนไปสู่การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบ สมาร์ตโฟน (m-payments of mobile online purchase) การทำธุรกรรมทางการเงิน ใช้การรับส่งสัญญาณและข้อมูลผ่านระบบการติดต่อไร้สายระยะใกล้ (Near Field Communication (NFC) wireless technology) การจ่ายเงินหรือการชำระค่าบริการผ่านสมาร์ตโฟนสามารถทำได้ทุกที่ ขณะนี้ในประเทศเยอรมนีก็เริ่มมีการแข่งขันกันในการ ทำระบบ m- payment system ไม่ว่าจะเป็นบัตรสมาชิก คูปองแลกซื้อสินค้า ก็สามารถใช้สมาร์ตโฟนเป็นเครื่องมือในการใช้งานได้ผ่าน NFC ชิป (NFC-Chips) เงื่อนไขความสำเร็จของระบบตลาดภายใต้การทำธุรกรรม m-payment ผ่านระบบ NFC คือ การยอมรับเทคโนโลยีของผู้บริโภคและผู้ค้าปลีก รายย่อย ซึ่งจะต้องดูว่าในอนาคตนั้น m-payment จะประสบความสำเร็จเพียงใด จะสามารถไปถึงจุดคุ้มทุน (critical mass) ของจำนวนผู้ใช้สมาร์ตโฟนได้หรือไม่ ปัจจุบันรูปแบบการทำธุรกรรมแบบนี้ได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด เนื่องจากการขยายตัวของจำนวนผู้ใช้สมาร์ตโฟน ในปี 2011 ชาวเยอรมันจำนวน 2.9 ล้านคน ใช้สมาร์ตโฟนในการทำธุรกรรมทางการเงิน ในขณะที่คนมากกว่า 5 ล้านคน ใช้ประโยชน์จากการการรวบรวมข้อมูล จากสมาร์ตโฟนมากกว่าการซื้อสินค้า M-shopping ได้เพิ่ม ความโปร่งใสของระบบตลาดทั้งในด้านผู้บริโภคและผู้ให้บริการ ผู้บริโภคได้รับข้อมูลด้านราคา ความหลากหลายของสินค้า โปรโมชัน ส่วนผสมของสินค้า และแหล่งที่มาของสินค้า ดีขึ้น ในขณะเดียวกันผู้ให้บริการ Apps ก็ได้ใช้ประโยชน์ข้อมูลของผู้บริโภคที่มีค่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้ออย่างไร ชอบหรือไม่ชอบอะไร มาเป็นประโยชน์ในทางธุรกิจได้ ภายใต้บริบท การทำธุรกรรมเป็นแบบส่วนตัว นี้ ผู้บริโภคก็มีความกังวลในประเด็น เรื่องความเสี่ยง (Risk) การบิดเบือนข้อเท็จจริง (Manipulation) หลอกลวง ปลอมแปลง ต้มตุ๋น ทำให้เข้าใจผิด (Deception) และ การเลือกปฏิบัติ (Discrimination)   เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่านสมาร์ตโฟน และแทบเลต เป็นช่องทางที่รวดเร็วมาก หน้าจอของอุปกรณ์เหล่านี้ เป็นแบบสัมผัส ที่มีความไวต่อการสัมผัสสูง ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการทำธุรกรรม เพราะฉะนั้นสมควรที่จะพัฒนากฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยกเลิกการทำธุรกรรม การคืนสินค้า ข้อมูลของการทำธุรกรรมที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค   แนวทางการกำกับดูแล การทำธุรกรรมในระบบ m-commerce การยอมรับ ความน่าเชื่อถือ และความโปร่งใสเป็นหัวใจสำคัญ ในการทำธุรกิจภายใต้ m-commerce ที่เกิดขึ้นตามกระแสโลกาภิวัฒน์ การกำกับดูแลจากภาครัฐมีความจำเป็นในการกำหนดกรอบกฎหมายที่จะใช้เป็นเครื่องมือ ในการดูแล ปกป้องสิทธิความเป็นส่วนตัวขั้นสูงสุดของผู้บริโภค สมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญต่างๆ เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านสถานที่ที่ผู้บริโภคกำลังสถิตอยู่ หรือแม้แต่พฤติกรรมการจ่ายเงิน ข้อมูลส่วนบุคคลเหล่านี้สมควรจะได้รับการคุ้มครอง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จำเป็นที่จะต้องมีแนวคิด ที่ว่า ความเป็นส่วนตัวสามารถกำหนดได้ (privacy by design) คือ อุปกรณ์สมาร์ตโฟนและซอฟท์แวร์ที่ผลิตออกมาจากโรงงาน สมควรจะติดตั้ง ระดับการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอย่างสูงสุด (default settings offer the highest degree of privacy)   การออกกฎเพื่อลดช่องว่างของกฎหมาย เนื่องจากการทำธุรกรรมผ่านสมาร์ตโฟน และแทบเลต เป็นช่องทางที่รวดเร็วมาก เนื่องจาก หน้าจอของอุปกรณ์เหล่านี้ เป็นแบบสัมผัส ที่มีความไวต่อการสัมผัสสูง ซึ่งก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการทำธุรกรรม เพราะฉะนั้นสมควรที่จะพัฒนากฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการยกเลิกการทำธุรกรรม การคืนสินค้า ข้อมูลของการทำธุรกรรมที่ครบถ้วนและเพียงพอต่อการตัดสินใจของผู้บริโภค จากงานวิจัยขององค์กรผู้บริโภคเยอรมนีพบว่า Apps ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการทำธุรกรรมส่วนมาก มีเงื่อนไขของสัญญาที่ยังไม่เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนด (German Telemedia legislation) เนื้อหาในสัญญามีความยาวมากเกินไป และบางครั้งเนื้อหาในสัญญาเองก็เข้าข่าย ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล (German’s Federal Privacy Act) กลไกที่สำคัญอย่างหนึ่งสำหรับการคุ้มครองผู้บริโภค การสร้างหลักประกันความมั่นใจให้กับผู้บริโภค (Reputation Mechanism) คือ การออกมาตรฐานและการรับรองจากหน่วยงานที่เป็นอิสระในทางวิชาการ สำหรับสมาร์ตโฟน Apps และบริการ m-commerce ต่างๆ ที่นำเสนอในอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจสำหรับการทำธุรกรรมเพิ่มมากขึ้น พัฒนาการสำหรับการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคตคือ การที่ผู้บริโภคสามารถจัดแบ่งลำดับความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล สามารถที่จะเลือกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคลได้มากกว่าปัจจุบัน ที่ยังอยู่ในระดับแค่การยอมรับ หรือไม่ยอมรับมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เป็นสัญญาสำเร็จรูปจากผู้ประกอบการ (ในกรณีที่ผู้บริโภคไม่ยอมรับเงื่อนไข การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ประกอบการเสนอมาในรูปแบบของสัญญาสำเร็จรูป ก็ไม่สามารถดำเนินการทางธุรกรรมต่อไปได้ เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ) และการประกอบธุรกรรมภายใต้ระบบ m-commerce ควรที่เพิ่มช่องทางให้ผู้บริโภคที่เป็นเจ้าของข้อมูล สามารถลด และลบร่องรอยของข้อมูล ที่มักจะทิ้งไว้ให้สะกดรอยตามได้โดยง่าย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point