ฉบับที่ 214 ห้ามรถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซลวิ่งในหลายๆ เมืองของประเทศเยอรมนี !!!

       มีข่าวที่น่าสนใจเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ประเด็น “สิทธิที่จะดำรงชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี และยังชีพได้อย่างปลอดภัย เป็นสิทธิที่จะได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ซึ่งหมายรวมถึงสิทธิที่จะได้รับการป้องกันจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ผู้บริโภคแต่ละคนไม่สามารถควบคุมได้เอง สิทธินี้ต้องยอมรับถึงความต้องการที่จะได้รับการคุ้มครองและปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ตลอดชั่วอายุเราไปจนชั่วอายุลูกหลานอีกด้วย”       โดยที่ ศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรป (Court of European Union) พิพากษายืนยันมาตรการ การห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งในเมือง ที่มีคุณภาพอากาศย่ำแย่ ในหลายๆ เมืองของประเทศเยอรมนี โดยก่อนหน้านี้ ศาลปกครองสูงสุดของเยอรมนี ก็ได้มีคำพิพากษาห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งในเมือง ใหญ่ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฮัมบวร์ก  มิวนิค สตุ๊ตการ์ต โคโลญจน์  ดึสเซลดอร์ฟ เบอร์ลิน ดอร์ตมุน ฯลฯ และอีกกว่า 20 เมืองที่จะมีกฎหมายห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งในเมืองเหล่านี้ เนื่องจากเมืองใหญ่ประสบปัญหา มีปริมาณ NOx  (ออกไซด์ของไนโตรเจน) เกินค่ามาตรฐาน  มาตรการการห้ามรถยนต์ดีเซล โดยเฉพาะรถบรรทุกวิ่งในเขตเมือง คือ การแบ่งโซนนิง พื้นที่ที่มีความเข้มข้นของ ก๊าซ NOx ที่มีค่าสูงจนเกิดความเสี่ยงและผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยในเขตเมือง พื้นที่ที่ได้ประกาศให้เป็นพื้นที่ห้ามผ่าน จะมีผลต่อรถยนต์ที่ใช้เครื่องดีเซล ต่ำกว่ามาตรฐาน EUEO 4 และตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 ก็จะขยายมาตรการห้ามรถยนต์ที่เครื่องดีเซล ต่ำกว่ามาตรฐาน EURO 5 วิ่งในพื้นที่ ที่ได้ประกาศไว้ด้วยเช่นกัน       อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อยกเว้น สำหรับ ผู้พิการที่จำเป็นต้องใช้รถเก่า และประชาชนที่อาศัยในเขตห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่งผ่าน แต่อาจต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ในกรณีพิเศษ โดยจะพิจารณาความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้ตั้งเป้า การห้ามรถยนต์ดีเซลที่มีมาตรฐานต่ำกว่า EUEO 6  วิ่งในพื้นที่ห้ามวิ่ง ภายในปี 2564 เพิ่มเติมอีกด้วยรัฐบาลมีมาตรการอย่างไรในการรับมือกับคำพิพากษาของศาลปกครอง-  รัฐบาล ไม่ห้ามรถยนต์ดีเซล มาตรฐาน Euro 4 และ Euro 5 แต่รถต้องปล่อย NOx ไม่เกิน 270 mg/ km -  รัฐบาลมีงบสนับสนุนการเปลี่ยนรถใหม่ (Exchange Premium) ในกรณีที่รถยนต์ต่ำกว่ามาตรฐาน Euro 4 และ Euro 5 ที่ปล่อยก้าซ NOx เกินกว่า 270 mg/km โดยมีเงื่อนไขว่า เงินสนับสนุนนี้จะให้กับประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ ห้ามรถยนต์ดีเซลวิ่ง หรือต้องขับรถเข้ามาทำงาน ในพื้นที่ห้ามวิ่งและครอบครองรถยนต์มาตรฐานดังกล่าว ซึ่งเงินสนับสนุนของรัฐบาลนี้มีวัตถุประสงค์ในการชดเชย มูลค่ารถที่เสียไปจาก มาตรการทางกฎหมายห้ามรถยนต์ดีเซลมาตรฐานต่ำๆ วิ่งในพื้นที่ต้องห้ามวิ่ง-  มาตรการการเปลี่ยนชิ้นส่วน หรือระบบกรองอากาศ มาตรการนี้ ผู้ผลิตรถยนต์หลายเจ้าได้ยกเลิกการพัฒนาระบบกรองอากาศ แต่ บริษัทรถยนต์ชั้นนำไม่ว่าจะเป็น Mercedes, Volkswagen และ BMW พร้อมที่จะสนับสนุนมาตรการนี้ให้กับลูกค้าที่ได้รับผลกระทบในวงเงินไม่เกิน 3000 ยูโร ถ้า ลูกค้าไม่สนใจในมาตรการรับเงินสนับสนุน (Exchange Premium) จากรัฐบาล          ในกรณีที่ประชาชนละเมิดกฎหมาย ฝ่าฝืนมาตรการการห้ามรถวิ่งผ่านพื้นที่ดังกล่าว จะต้องเสียค่าปรับ ประมาณ 80 ยูโร หรือ อาจต้องเสียค่าปรับถึง 160 ยูโร หากทางเจ้าหน้าที หรือ ศาลเห็นว่าจงใจฝ่าฝืนมาตรการหรือคำสั่งดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 150 ทำไมต้องสนใจการเจรจาเอฟทีเอ ไทยกับสหภาพยุโรป

แล้วกระแสเรื่องการเจรจาเอฟทีเอระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป ก็วนกลับมาสู่ความสนใจของสาธารณะอีกครั้ง หลังการเจรจารอบแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่จัดขึ้น ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม จบลงด้วยการที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำความเข้าใจในข้อเสนอต่างๆ และย้ำเจตนารมณ์ที่จะพยายามสรุปผลการเจรจาให้ได้ภายในปี 2557 โดยจะมีการหารือในรายละเอียดมากขึ้นในการเจรจารอบสอง ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นที่เชียงใหม่ ประเทศไทย ในระหว่างวันที่  16 – 20 กันยายน 2556 นี้ ในโลกที่ทุกประเทศต้องแข่งขันกันในด้านการค้าขาย แน่นอนว่าประเทศไทยไม่อาจเลี่ยงการค้าระหว่างประเทศได้ การส่งออกถือเป็นกลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเพราะเหตุที่ต้องแข่งขันเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเจาะตลาด การส่งเสริมการส่งออก และการทำให้อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดประเทศคู่ค้าลดน้อยลงนั้นต้องทำผ่านการเจรจาในเวทีระดับต่างๆ เอฟทีเอหรือความตกลงการค้าเสรี(Free Trade Agreement : FTA) ก็คือหนึ่งในเวทีการเจรจาที่สำคัญ เป็นระดับความสำคัญขนาดที่ว่ามีผลกระทบต่อความเป็นความตายของคนในประเทศเลยทีเดียว ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยได้ทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นกับประเทศจีน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย ฯลฯ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมานั้น น่าจะทำให้เราได้ประจักษ์ในการเปลี่ยนแปลงเชิงเศรษฐกิจการค้าหลายประการ และขณะนี้เราก็มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์เดิมอีกครั้ง(อาจร้ายแรงกว่า) เมื่อจำต้องเร่งเปิดเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรป ด้วยเหตุผลหลักๆ คือ เพื่อไม่ให้ภาคธุรกิจบางส่วนเสียหายเนื่องจากการเสียสิทธิ จีเอสพี(การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร) ที่เคยทำให้ภาคธุรกิจนั้นได้เปรียบคู่แข่งขันจากชาติอื่นในการค้าขายกับสหภาพยุโรป   การให้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(Generalized System of Preferences) หรือ GSP เกิดขึ้นครั้งแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากเกิดปัญหาภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ในคราวประชุมของคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและพัฒนา (United Nations Conference on Trade and Development- UNCTAD) เมื่อปี 2507 ได้มีการเสนอให้มีสิทธิพิเศษ GSP ขึ้น เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งต่อมาในคราวประชุม UNCTAD ปี 2511 ที่ประชุมจึงได้ยอมรับในระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP โดยกำหนดให้ระบบ GSP ที่ก่อตั้งขึ้นนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออก การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลาย และอยู่บนหลักการพื้นฐาน 3 ประการ คือ เป็นการให้สิทธิโดยทั่วไป(Generalized) ไม่หวังผลตอบแทน(Non - recipocal) และไม่เลือกปฎิบัติ (Non-discrimination) สำหรับประเทศไทยนั้นใช้สิทธิพิเศษฯ GSP จากประเทศต่างๆ มาตั้งแต่ปี 2514   ถูกตัดสิทธิ จีเอสพี เหตุที่ไทยต้องเร่งเจรจาเอฟทีเอ “17 ธันวาคม 2555 คณะกรรมาธิการยุโรปออกระเบียบ Commission Implementing Regulation (EU) No 1213/2012 เพื่อประกาศรายการสินค้าตาม Section ที่จะถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้โครงการ GSP ใหม่ของสหภาพยุโรป ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559” สหภาพยุโรป หรือ อียู เป็นตลาดใหญ่สำหรับสินค้าส่งออกจากไทย ขณะนี้กำลังจะตัดสิทธิพิเศษทางการค้า จีเอสพี (Generalised System of Preferences) ที่เคยให้กับไทยมาเป็นระยะเวลานานหลายปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของสินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยุโรป เมื่อไทยถูกตัดสิทธิ จีเอสพี จึงเกิดคำถามขึ้นว่า แล้วสาขาอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจะเดินหน้าอย่างไร ซึ่งอันที่จริงแล้วมันมีหลายคำตอบเพื่อการปรับตัวสำหรับโจทย์นี้ แต่สิ่งที่ถูกหยิบมาก่อนมาตรการอื่นใด(ประสานเสียงกันทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาล) คือ ไทยต้องเร่งเจรจา Free Trade Agreement (FTA) กับอียู เพื่อให้ได้สิทธิพิเศษทางภาษีครอบคลุมสาขาส่งออกสำคัญเช่นที่เคยได้รับตามระบบ จีเอสพี โดยทั้งภาคธุรกิจและรัฐบาลต่างเห็นพ้องกันว่า เป็นมาตรการที่จะช่วยลดผลกระทบจากการถูกตัด จีเอสพี ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งในความเป็นจริงการเร่งรีบเจรจา เอฟทีเอ ระหว่าง ไทย-อียู นี้ไม่แน่ว่าอาจทำให้เสียมากกว่าได้...ก็เป็นได้ สินค้าส่งออกของไทยที่ถูกตัดสิทธิ GSP เรียงตามมูลค่าส่งออก 10 อันดับแรก ในปี 2555 (ม.ค.-พ.ย.) สินค้า มูลค่าส่งออกไปอียู (ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) สัดส่วนการพึ่งพาอียู (ร้อยละ) อัญมณีและเครื่องประดับ 1,501.7 11.8 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 347.0 24.4 ปลาทูน่ากระป๋อง 262.6 10.9 กุ้งแปรรูป 225.7 16.7 อาหารสัตว์เลี้ยง 132.9 13.1 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและ อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 98.9 10.3 เนื้อสัตว์และของปรุงแต่ง ที่ทำจากเนื้อสัตว์ 63.3 23.2 ปลาแปรรูป 53.9 10.8 ผักกระป๋ องและแปรรูป 45.1 14.3 โกโก้และของปรุงแต่งที่ ทำจากโกโก้   15.0 20.4   ที่มา กระทรวงพาณิชย์ 10 มกราคม 2556 คนไทยรวยขึ้น ต้นเหตุสำคัญการถูกตัดจีเอสพีจากอียู ในวันที่ 1 ม.ค. 2557 อียูจะทำการทบทวนประจำปีเพื่อตัดชื่อประเทศที่มีสิทธิได้รับสิทธิประโยชน์ จากระบบ GSP โดยเน้นหลักการที่จะให้ประโยชน์เฉพาะประเทศที่มีความต้องการจริง หากประเทศไทยยังคงได้รับการจัดอันดับโดย World Bank ตาม GNI per capita ให้เป็น upper-middle income country อีกในปี 2556 นี้  เท่ากับว่าไทยจะครองตำแหน่งนี้ติดกันมาเป็นระยะเวลา 3 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยกลายเป็นประเทศที่ไม่มีสิทธิได้รับสิทธิ GSP จากอียูอีก ไม่ว่าในสินค้าใดๆ โดยที่อียูให้เวลาปรับตัว 1 ปีหมายความว่าสิทธิ GSP จากอียูอาจจะหมดไปสำหรับทุกตัวสินค้าจากไทยในต้นปี 2558 วันที่ 4 ธันวาคม 2555 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบร่างกรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย – สหภาพยุโรป และได้มอบหมายผู้แทนการค้าไทย (ดร.โอฬาร ไชยประวัติ) เป็นหัวหน้าคณะเจรจา และเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2556 ที่ประชุมรัฐสภาร่วมฯ ได้มีมติเห็นชอบร่างกรอบการเจรจา กรอบการเจรจา ความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปจะครอบคลุมความ   ตกลงด้านการค้าสินค้า บริการ การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ซึ่งการเจรจาอาจแยกเป็นรายฉบับ รวมทั้งภาคผนวกและเอกสารแนบท้ายที่จะมีการเจรจาเพิ่มเติมในภายหน้า สาระสำคัญครอบคลุม 17 ประเด็น 1)            การค้าสินค้า 2)            พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า 3)            กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า 4)            มาตรการเยียวยาทางการค้า 5)            มาตรการปกป้องด้านดุลการชำระเงิน 6)            มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช 7)            อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า 8)            การค้าบริการ 9)            การลงทุน 10)          การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ 11)          ทรัพย์สินทางปัญญา 12)          การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ 13)          ความโปร่งใส 14)          การแข่งขัน 15)          การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน 16)          ความร่วมมือ 17)          เรื่องอื่นๆ เมื่อพิจารณาจากกรอบการเจรจาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ จะพบว่า การเจรจาเอฟทีเอ ไทย-อียูนี้ มีหลายประเด็นที่ไม่เคยเจรจาเปิดเสรีมาก่อนในเอฟทีเออื่นๆ ทั้งเป็นประเด็นที่มีผลกระทบสูง เช่น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยา ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ การคุ้มครองการลงทุนที่เปิดโอกาสให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศในการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน และสินค้าทำลายสุขภาพ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และบุหรี่ เป็นต้น        จึงทำให้เกิดประเด็นร้อนในสังคมขึ้นมาทันใดว่า รัฐบาลจะเร่งเจรจาไปเพื่อผลทางการค้าของสินค้าส่งออกไม่กี่กลุ่ม แล้วยอมละทิ้งผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่หรือ?   สิ่งที่จะเกิดขึ้น ถ้าไทยขาดความระมัดระวังในการเจรจา - ยารักษาโรคถูกผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้น ยาราคาแพงจะคงอยู่ในตลาดยาโดยไม่มียาที่ถูกกว่าเข้ามาแข่งขัน ส่งผลให้คนจำนวนมากเข้าไม่ถึงยา เข้าไม่ถึงการรักษา เพิ่มภาระกับงบประมาณของประเทศ และระบบหลักประกันสุขภาพจะถูกสั่นคลอน  หากมีการยอมรับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญาด้านยา - เปิดทางให้บรรษัทการเกษตรยักษ์ใหญ่เข้ามาผูกขาดเมล็ดพันธุ์ ต้นทุนการผลิตเกษตรกรรมและอาหารจะสูงขึ้นอย่างมาก หากยอมรับประเด็น ทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับทรัพยากรชีวภาพ - เปิดทางให้บริษัทธุรกิจการเกษตรขนาดใหญ่เข้ามาใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลงทุน ทางการเกษตร ด้วยเงินทุนเทคโนโลยี และการเอื้อประโยชน์ทางนโยบายจากรัฐบาล เกษตรกรรายย่อยจะกลายเป็นแรงงานรับจ้างในที่ดินของตัวเอง อาหารถูกผูกขาดและถูกกำหนดราคาโดยบริษัทจากการเปิดเสรีการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติและการเกษตร - ขณะที่ยารักษาโรคมีราคาแพง สินค้าที่มีอันตรายต่อสุขภาพของประชาชนจะได้รับการลดภาษีอย่างมโหฬาร เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ จะมีราคาถูก กระตุ้นให้เกิดนักดื่ม-นักสูบหน้าใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเป็นภาระโรคใน ระยะยาว และยังจำกัดอำนาจของรัฐในการออกนโยบายและมาตรการเพื่อควบคุมการบริโภค แอลกอฮอล์และยาสูบ - เอฟทีเอนี้ จะเป็นอุปสรรคสำหรับการกำหนดนโยบาย กฎหมาย และมาตรการต่างๆ  ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณสุข, การคุ้มครองผู้บริโภค, ปกป้องสิ่งแวดล้อม, ช่วยเหลือเกษตรกร, อุดหนุนเอสเอ็มอี ด้วยกลไกที่เรียกว่า “กลไกการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน” ที่เปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติฟ้องร้องผ่านอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ เรียก ค่าเสียหายจากงบประมาณแผ่นดิน หากรัฐบาลกำหนดนโยบายที่กระทบต่อการหากำไรของ บริษัทข้ามชาติ - ปิดกั้นการเข้าถึงความรู้ทั้งหนังสือและโลกออนไลน์ ผ่านเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาและการบังคับใช้กฎหมายที่เกินไปกว่าที่ตกลงไว้ ในองค์การการค้าโลก (WTO) ---------------------------------------------------------------------------------------------------------- เราไม่ได้ ค้าน FTA แต่เราต้องการ FTA ที่เป็นธรรมกับประชาชน และเป็นประโยชน์อย่างแท้จริงมากกว่า กรรณิการ์ กิจติเวชกุล FTA Watch “เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาไม่ได้มีแค่เรื่องยา แต่ยังมีเรื่องทรัพยากรชีวภาพอีกด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ใหญ่มาก ดังนั้นสิ่งที่เรากำลังทำคือ ทำอย่างไรก็ตามเพื่อให้การเจรจา ผลของการเจรจาเป็นประโยชน์กับประชาชน กับสังคมมากที่สุด โดยที่พยายามลดผลกระทบทางลบให้น้อยที่สุดไม่ใช่เป็นเหมือนกับการเจรจา FTA ครั้งที่ผ่านๆ มา โดยต้องใช้ข้อมูล ใช้การศึกษา ใช้งานวิจัยให้มากที่สุด ถ้าอะไรเป็นผลกระทบไม่ควรจะยอมรับ อะไรที่ยังพอได้ก็ยังสามารถกำหนดระยะเวลาออกไปได้ เพื่อให้มีผลบังคับช้าหน่อย แต่อะไรที่ยอมได้และเป็นประโยชน์กับประเทศไทยก็ยอม แต่ไม่ใช่ว่าทุกอย่างขึ้นอยู่กับการกดดันของภาคธุรกิจเท่านั้น ปัญหาสำคัญของเรื่องนี้มาจากการที่ก่อนหน้านี้ประเทศไทยเป็นประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนาระดับล่างๆ ทำให้ได้สิทธิพิเศษทางการค้า หรือ GSP หมายความว่าประเทศด้อยพัฒนาที่ส่งสินค้าไปขายจะเสียภาษีน้อยกว่า แต่เมื่อไหร่ที่เป็นประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าวอีก ต้องมีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ซึ่งช่วงทศวรรษหลังนี้ประเทศไทย ธุรกิจของไทยมีศักยภาพสูงขึ้นมา ถือเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ระดับสูง 3 ปีติดต่อกัน และเรายังมีสินค้าจำนวนมากที่เคยได้สิทธิ GSP และไปครองตลาดเกิน 17.5% สินค้าบางประเภทที่เขากำหนดก็เกิน 14.5% สินค้าหลายตัวของไทยทยอยหมดสิทธิได้รับ GSP ไปแล้ว และที่ล็อตใหญ่ๆ จะหมดสิ้นปี 2557 เพราะฉะนั้นภาคธุรกิจควรจะปรับตัวเองก่อนหน้านี้ 3-4 ปีแล้ว เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้ แต่กลับพบว่าภาคธุรกิจไทยไม่ยอมทำอะไรเลย แต่มาเรียกร้องและกดดันรัฐบาลไทยว่าต้องไปเจรจา FTA ให้แล้วเสร็จในปีครึ่ง ให้มันใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2558 เพื่อให้ได้ต่อสิทธินี้อย่างถาวร ซึ่งตรงนี้เราถือว่าเป็นความไม่ยุติธรรมอย่างยิ่งเพราะว่ามันจะทำให้การเจรจาด้อยประสิทธิภาพอย่างมาก อินเดียเป็นประเทศใหญ่กว่าประเทศไทย เจรจามาแล้วกว่า 5 ปี กับสหภาพยุโรปยังไม่ยุติ สิงคโปร์ขนาดเป็นประเทศเล็กเขายังเจรจาไป 3 ปีใกล้จะเสร็จแล้ว” โฟกัสมาที่เรื่องยาเพราะไม่ใช่แค่ผลทางธุรกิจแต่มีต่อสุขภาพของคนไทยด้วย ? “เรื่องยา เราต้องบอกว่ามีความพยายามของภาคธุรกิจเอกชนที่จะได้ผลประโยชน์จากการคง สิทธิ GSP พยายามร่วมมือกับสมาคมบริษัทยาข้ามชาติ ใช้คำเรียกยาชื่อสามัญว่าเป็นการทำปลอม ซึ่งน่าแปลกใจมากที่เขาใช้คำเดียวกับทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยใช้บอกกับ ผู้สื่อข่าวว่ายาชื่อสามัญของไทย หรือยาที่ใช้อยู่ในประเทศไทยเป็นยาปลอมจำนวนมาก แต่คำว่าปลอมของเขาจงใช้ในเรื่องของการปลอมทรัพย์สินทางปัญญา แต่คำว่ายาปลอมในบ้านเราเป็นยาปลอมเรื่องคุณภาพ ยาปลอมตาม พ.ร.บ.ยา ซึ่งพวกนี้ไม่สนใจ พยายามที่จะขยายนิยามออกมาเพื่อที่จะกีดกันยาชื่อสามัญไม่ให้เข้าสู่ตลาด ยาชื่อสามัญมีความสำคัญอย่างไร ก็ย้อนหลังกับไปเมื่อ 10 ปีก่อน ยาต้านไวรัสเอชไอวี มีการผู้ขาดเพียงเจ้าเดียว ทำให้ค่าใช้จ่ายต่อเดือน ต่อคนประมาณ 3-4 หมื่นบาท ตอนนั้นมีเพียงผู้ติดเชื้อที่อยู่ในโครงการทดลองเท่านั้นถึงจะได้ใช้ แต่เมื่อมีการผลิตได้มากขึ้น ประเทศบราซิลผลิตได้ อินเดียผลิตได้ ประเทศไทยผลิตได้ ราคาลดลงเกินกว่าครึ่ง และเมื่อเวลาผ่านมา เมื่อมีจำนวนผู้เข้าแข่งขันในตลาดมากขึ้นราคาก็ลดลง ปัจจุบันยา จีพีโอเวียร์ของเราอยู่ที่ประมาณ 700-800 บาทต่อเดือนเท่านั้น ในขณะที่ยาต้นแบบเองก็ลดลงเหลือเพียงไม่กี่พันบาท แบบนี้มันทำให้คนเข้าถึงยาเพิ่มขึ้น ซึ่งชัดเจนว่าสามารถช่วยชีวิตคนได้ เป็นกำลังสำคัญของครอบครัวเขาได้ต่อไป เรื่องนี้ทำให้เราเห็นว่ายาชื่อสามัญมีความสำคัญ เราไม่ได้คัดค้านระบบทรัพย์สินทางปัญญา ระบบทรัพย์สินทางปัญญาที่ให้สิทธิผูกขาดกับผู้คิดค้นนวัตกรรมที่มีความใหม่ และมีนวัตกรรมที่สูงขึ้น แต่สมควรได้รับในเวลาที่เหมาะสม ซึ่งการตกลงขององค์กรการค้าโลกระบุไว้ที่ 20 ปี แต่อยู่ๆ คุณบอกว่าจะมาขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี เนื่องจากความล่าช้าในการออกสิทธิบัตร และบวกความล่าช้าในการอนุมัติทะเบียนยา ซึ่งคุณไม่เคยไปดูเลยว่าความล่าช้านั้นเกิดจากเจ้าหน้าที่หรือเกิดจากผู้ที่ มาขอสิทธิบัตรหรือมาขอขึ้นทะเบียนยา ทั้งๆ ที่กรณีการขอสิทธิบัตรถ้าของดีจริง ได้สิทธิบัตรตั้งแต่วันที่ขอยื่นแล้ว ถ้าใครจะไปผลิต ถึงแม้จะยังไม่ได้สิทธิแต่สามารถยื่นโนติสไปให้ผู้ผลิตเหล่านั้นได้ ซึ่งบริษัทยาข้ามชาติในประเทศไทยก็ทำอยู่บ่อย เพียงแต่ถ้ายาของคุณไม่ได้คุณภาพจริง ไม่สมควรได้สิทธิบัตรจริง คนอื่นก็กล้าผลิตเพราะรู้ว่าไม่ได้เป็นการละเมิดสิทธิบัตร หรือแม้แต่กรณีที่มีบางคนอ้างว่าการขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาถึง 13 ปีจึงอนุมัตินั้น คิดว่าตัวเลขนี้เป็นการโกหก ถ้าจริงออกมาบอกเลยว่าเป็นยาตัวไหน เพราะว่าจากงานวิจัยเราพบว่าบริษัทยาข้ามชาติที่มาขอสิทธิบัตรในประเทศไทย พยายามขอถ่วงเวลาในการให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ พยายามยืดเวลาออกไป 3-5 ปี เพราะรู้อยู่แล้วว่าในช่วงเวลานั้นถึงอย่างไรก็ได้รับความคุ้มครอง เพราะฉะนั้นก็ไม่รีบร้อนยื่นให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาตรวจ ถ้ามีความล่าช้าในส่วนของผู้อนุมัติคุณก็ต้องไปเร่งกระบวนการอนุมัติ ไม่ใช่มาบอกว่าคุณควรต้องได้รับการขยายความคุ้มครองสิทธิบัตรออกไปอีก 5 ปี” จริงๆ แล้วของไทยใช้เวลาขอขึ้นทะเบียนนานแค่ไหน ? “มันไม่ได้นานขนาดนั้นหรอก อย่างขอขึ้นทะเบียนยาใช้เวลาเฉลี่ยประมาณ 1 ปี จะมีบางเคสที่ใช้เวลา 2 ปี แต่มีไม่เยอะ ซึ่งเรื่องนี้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ชี้แจงได้ เขามีตัวเลขเหล่านี้ทั้งหมด ส่วนเรื่องการขอสิทธิบัตรจะอยู่ที่ 4-5 ปี ที่เป็นปัญหาแบบนี้ ก็อย่างที่บอกว่างานวิจัยพบว่าบริษัทที่มาขอสิทธิบัตรไม่ยอมยื่นจรวจสอบ คือยื่นขอแล้ว จะมีระยะเวลาที่จะมาขอยื่นตรวจสอบ หากไม่มาขอยื่นตรวจสอบ กรมทรัพย์สินทางปัญญาก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ แล้วเขาก็ยืดเวลาออกไป 3-5 ปีอย่างนี้ ยืดจนสุดขีดของเขาเพราะรู้ว่าช่วงเวลานั้นจะได้รับการคุ้มครองถ้าสิทธิบัตร ของเขาดีจริง ฉะนั้นไม่ได้เป็นปัญหาจากหน่วยงานราชการของไทยเลย ซึ่งประเด็นนี้คนที่ไม่ได้อยู่ในภาคส่วนที่เกี่ยวกับยามักจะไม่รู้ และยังมีสมาคมบริษัทยาข้ามชาติพยายามไปกรอกหูคนเหล่านี้ให้มาพูดจาโกหก ประชาชน เป็นเรื่องที่เรารับไม่ได้ ยังไม่นับเรื่องที่คุณพยายามใช้ Data Exclusivity เพื่อที่จะได้ผูกขาดข้อมูลทางยา เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่มีบริษัทยาข้ามชาติมาขึ้นทะเบียนแล้ว ห้ามคนอื่นมาขึ้นทะเบียนเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี จะอ้างว่าเป็นโมเลกุลใหม่ แต่กลับไม่มีระบุไว้ตรงไหนเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ เนื้อหาคำขอที่ยุโรปยื่นให้อินเดีย ยื่นให้อาเซียนไม่มีคำขอใดบอกเลยว่าเป็นโมเลกุลใหม่ พวกนี้ต้องการใช้วิธีการนี้สำหรับตัวยาที่หมดสิทธิบัตรแล้วแต่ยังไม่ได้ขึ้น ทะเบียน ยาตัวใหม่ที่คิดค้นขึ้นกว่าจะมาถึงบ้านเราก็ช้ามาก การขึ้นสิทธิบัตรถ้าขึ้นช้าจะถือว่าเก่า เพราะฉะนั้นก็ต้องมาขึ้น กว่าที่ยาจะมา กว่าจะมาขึ้นทะเบียนยาก็เก่าแล้ว ถ้าไม่ใช้วิธี Ever greening หรือสิทธิบัตรต่อเนื่อง ไม่ใหม่มากแต่ก็มาต่ออายุไปเรื่อยๆ คือเป็นอีกระบบหนึ่งที่สามารถตั้งราคาได้โดยไม่มีผู้แข่ง เพราะเมื่อไหร่ที่มีคนมาแข่งราคาจะลดลงไปกว่าครึ่ง เพราะฉะนั้นสิ่งที่พยายามทำคือการขัดขวางบริษัทยาชื่อสามัญ และตอนนี้มีความพยายามที่จะบอกว่ายาชื่อสามัญในไทยไม่มีศักยภาพ ซึ่งคิดว่าคนที่ไม่ได้อยู่ในธุรกิจนี้คงจะเข้าใจผิด ในวงธุรกิจเดียวกันเขาเป็นที่ยอมรับว่าบริษัทยาชื่อสามัญในไทยมีศักยภาพ อย่างมาก และตอนนี้หลายเจ้าทำส่งขายในยุโรป สหรัฐอเมริกา รวมถึงทำให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่ส่งขายในประเทศไทยด้วย” มีข้อเสนอจากภาคธุรกิจว่า เมื่อเป็นกังวลเรื่องยาแพงก็ให้เจรจากันในเรื่องของยาแพง ถ้าหากประเทศไทยยอมตามข้อเรียกร้องของสหภาพยุโรป แล้วเจรจาในประเด็นเรื่องยาแพงอย่างเดียวจะเกิดผลอย่างไรกับประเทศไทย ? “เกิดผลกระทบแน่นอน ต้องบอกก่อนว่าคนที่พูดแบบนี้คือไม่เข้าใจระบบการควบคุมราคายาของประเทศไทย เลย ว่าบ้านเราไม่เคยมีระบบนี้อยู่ในประเทศ ดังนั้นเราจะไปคุมราคาเขาไม่ได้ มีแต่กรมการค้าภายในที่บอกว่าราคายาต้องไม่ขายเกินกว่าที่ระบุไว้ที่กล่อง แต่สามารถขายถูกกว่านี้ได้ บ้านเราไม่มีระบบควบคุมราคายา เพราะฉะนั้นการที่อ้างว่าไปเจรจา แล้วบอกเขาว่าหากได้ตรงนี้ไป จะต้องขายไม่เกินเท่านี้ๆ แต่คุณไม่มีกลไกอะไรเลยที่จะไปควบคุมเขา แล้วบอกไว้ก่อนเลยว่า หลัง FTA มีผลบังคับใช้กฎแบบนี้ออกไม่ได้ เพราะถ้าออกมาแล้วบริษัทยาสามารถเอาไปฟ้องร้องดำเนินคดีได้เลย เอาไปฟ้องร้องกับอนุญาโตตุลาการ เพราะฉะนั้นที่ผ่านมาการควบคุมราคายาของไทยคือ การที่เมื่อไหร่ก็ตามมีคู่แข่งขันในตลาดเพิ่มขึ้น ราคายาในตลาดจะลดลง หรือเขาใช้วิธีการซื้อจำนวนมากแล้วต่อรองราคายา แต่ว่าถ้าซื้อจำนวนมากแล้วมีขายแค่เจ้าเดียวก็ไม่ได้ลดราคาเหมือนกัน ประเทศไทยมีองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ทำหน้าที่ผลิตยา จะมียาตัวใหม่ๆ ออกมาเพื่อยันราคายาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว เพราะฉะนั้นสิ่งที่สหภาพยุโรปเรียกร้องอีกข้อหนึ่งคือการตัดแขนตัดขา อภ. คือให้ให้ยกเลิกกฎระเบียบให้ซื้อยากับ อภ.ก่อน ถ้าไม่เกิน 5% ซึ่งปกติโรงพยาบาลแทบไม่ได้ใช้กฎนี้แล้ว เพราะว่าเงินที่ได้รับจากสปสช.จะเข้าไปในลักษณะของเงินบำรุง ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้กฎนี้  ดังนั้นข้อดีของการมี อภ.คือเอาไว้ยันราคา แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่ทำให้ อภ.ไม่มีสิทธิพิเศษใดๆ เลยไม่ว่าจะใช้หรือไม่ใช้ก็ตาม เมื่อนั้นเท่ากับว่าตัดแขน ตัดขา อภ. เช่นเดียวกับประเทศมาเลเซียที่เมื่อก่อนเคยมีองค์การเภสัชกรรมคล้ายกับบ้าน เรา แต่แปรรูปไป หลังจากนั้นยาในมาเลเซียแพงมาก ทุกวันนี้มีผู้ติดเชื้อและใช้ยาเรื้อรังในมาเลเซียมาซื้อยาในประเทศไทยเยอะ มาก เวลาที่คุณเป็นคนรวยมากๆ คุณไม่เข้าใจหรอกว่าคนเข้าไม่ถึงยาเป็นอย่างไร คนที่ผ่านช่วงเวลาเห็นเพื่อนล้มตายเป็นจำนวนมากทั้งๆ ที่มียาแต่มันแพงเกินไปมันผ่านมาแล้วทั้งนั้น ถึงต้องลุกมาบอกว่าไม่เฉพาะยาของผู้ติดเชื้อ แต่รวมถึงยารักษาโรคเรื้อรังอื่นๆ ด้วย และจะทำให้ระบบหลักประกันสุขภาพตาย เพราะว่าถ้าระบบหลักประกันสุขภาพไม่สามารถซื้อได้เพราะยาราคาแพง ระบบหลักประกันสุขภาพก็จะกลายเป็นประกันชั้น 2 ในที่สุดก็จะล้มเหลวถ้าไม่สามารถทำให้ประชาชนเชื่อมั่นได้ สิ่งที่ระบบหลักประกันสุขภาพต้องทำคือการต่อรองราคายาให้ถูก การที่มีภาคธุรกิจมาบอกว่าให้ต่อรองราคายาจากเขาลงนั้นเป็นไปไม่ได้ ย้อนหลังกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน ตอนนั้นสหรัฐอเมริกากดดันประเทศไทยให้แก้ไข พ.ร.บ.สิทธิบัตร ปี 2528-2535 โดยอ้างว่าจะตัดสิทธิ GSP ไทย พวกธุรกิจที่ส่งออกก็บอกว่าให้ยอมรับไปเถอะเดี๋ยวก็มีการควบคุมราคายาโดยคณะ กรรมการสิทธิบัตรด้านยา จนในที่สุดคณะกรรมการสิทธิบัตรด้านยาก็ถูกยกเลิกไป เพราะว่ามีความตกลงลับๆ ระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกาขณะนั้นว่า ความจริงจะให้ยกเลิกคณะกรรมการชุดนี้หลังจากที่ออกกฎหมายแล้ว ในที่สุดก็ไม่มีตัวควบคุมราคายา แต่คุณได้ประโยชน์จากการได้สิทธิ GSP และขณะนี้ 20 ปี ต่อมาคุณยังจะทำแบบนี้ใช่ไหม คือไม่เคยเลยที่จะคิดถึงประชาชนคนอื่น ไม่เคยเลยที่จะคิดว่าจริงอยู่ที่ธุรกิจของคนทำให้ประเทศชาติก้าวหน้า แต่ว่าผลประโยชน์มันต้องถูกแบ่งปันบ้าง คนที่ยากจนควรมีตาข่ายทางสังคมมารองรับ เราไม่ได้บอกว่าคุณเจรจา FTA ไม่ได้ คุณเจรจาได้ แต่อะไรที่มันเป็นผลกระทบระยะยาว งานวิจัยที่ชี้ออกมาว่าการผูกขาดข้อมูลทางยาทำให้เกิดผลกระทบ 8 หมื่นล้าน จากการขยายอายุสิทธิบัตรอีก 2 หมื่นล้าน ยังไม่นับเรื่องสิทธิบัตรพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ของประเทศอีกประมาณแสนล้าน ถามว่าตรงนี้ใครจะรับภาระ จะเป็นเรื่องผลได้กระจุก ผลเสียกระจายอีกใช่ไหม” จากสถานการณ์ที่คณะเจรจาถูกกดดันจากภาคธุรกิจทำให้ขณะนี้แนวโน้มของการเจรจาคาดว่าจะเป็นไปในทิศทางใด ? “ตอนนี้ต้องบอกว่าต้องแยกก่อนว่า เราจะเห็นความพยายามของหัวหน้าคณะเจรจาคุณโอฬาร ไชยประวัติ และกรมทรัพย์สินทางปัญหาให้ อย. ดูเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับยาเป็นหลัก แต่พี่คิดว่าว่าเขายังให้ดูน้อยเกินไป เพราะว่าดูแค่การขยายอายุสิทธิบัตรและการผูกขาดข้อมูลทางยา แต่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือการแก้ไขการบังคับใช้ กฎหมายของไทยให้เข้มข้นขึ้น ให้ยึดจับยาได้โดยอ้างว่าเป็นเป็นยาปลอม หรือยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าเวลาที่บอกว่ายานี้เป็นยาที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่า ฉะนั้นทริปส์ไม่เคยกำหนดว่าให้สามารถยึดจับได้ เพราะว่าสิทธิบัตรต้องไปฟ้องร้องกันในชั้นศาล และดูถึงระดับโมเลกุล ใช้ตาดูไม่ได้ แต่สิ่งที่สหภาพยุโรปต้องการคือให้ยึดจับเลย ไม่ว่าจะละเมิดหรือยัง หรือเกือบจะละเมิดให้ยึดจับได้ ตามกระบวนการของศาลไทยหากจะมาร้องขอให้ยึดจับโดยอ้างว่าเป็นการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญหา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องหมายการค้า หรือว่าทรัพย์สินทางปัญญาต้องวางเงินประกัน เพราะศาลเกรงว่าอาจจะมีการกล่าวหาอย่างไม่สมเหตุผล เป็นการกลั่นแกล้งกัน แต่สหภาพยุโรปเขียนเลยว่า “ห้ามวางเงินประกัน” ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ใช้วิธีรังแกเขาเลยสิ แถมยังบอกว่าสามารถหยุดได้ทั้งกระบวนการ ไม่ว่าจะเป็นคนส่งวัตถุดิบ คนส่งของ ร้านขายยา แล้วใครยังจะอยากขายยาชื่อสามัญอีก ทั้งที่จริงๆ ไม่ใช่ยาปลอม เพราะยาชื่อสามัญจะผลิตได้ก็เมื่อสิทธิบัตรยานั้นหมดอายุไปแล้ว พี่เลยเข้าใจเลยว่าตอนนี้ทำไมทั้งสหภาพยุโรป ทูตสหภาพยุโรป และสภาหอการค้าไทยและพรีม่าพยายามโจมตีเรื่องยาปลอม ทั้งที่จริงๆ เป็นข้อกล่าวหาที่ไม่มีมูลอยากมาก เพราะว่าเขาเอาไปรวมกับยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ยาที่ลักลอบเอาเข้ามา ซึ่งตอนนี้อย.ไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ก็ตรวจจับอยู่แล้ว ตอนนี้เป็นปัญหามาก คิดว่าฝ่ายคณะเจรจาเขาเริ่มดูเรื่องพวกนี้มากขึ้น ทางอย.เขาพยายามที่จะทำเตรียมพร้อมรับการเจรจา และการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพที่ อย.ร่วมกับสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ร่วมกันทำ ตรงนี้ก็จะเสร็จประมาณเดือนก.ย. นี้ ครั้งนี้จะเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเจรจา FTA ไทย ที่มีงานศึกษาที่พร้อมมูลมากกว่าครั้งไหนๆ ที่ผ่านมา แต่ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้ใช้งานวิจัยพวกนี้ไหม ถ้าภาคธุรกิจยังมากดดันอยู่ทุกวันว่าต้องเจรจาให้เสร็จภายในสิ้นปีหน้า พวกนี้มันต้องเจรจากันอย่างรอบคอบ ถ้ารู้ว่ามีปัญหาอย่างนี้แล้วจะเขียนอย่างไรให้รอบคอบ เขียนหลบอย่างไรให้ผลกระทบเกิดน้อยที่สุด ซึ่งถามว่าทำได้ไหม ทำได้ เพราะอินเดียเจรจากับสหภาพยุโรปจนสหภาพยุโรปยอมที่จะไม่เรียกร้องการขยาย อายุสิทธิบัตร ไม่เรียกร้องการผูกขาดข้อมูลทางยาแล้ว ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้าอนุสัญญา UPOV 1991[1] ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้า สนธิสัญญาบูดาเปส ไม่เรียกร้องให้อินเดียเข้ากลไกระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐและเอกชน เหลือที่ยังยันกันอย

อ่านเพิ่มเติม >