ฉบับที่ 241 กระแสต่างแดน

มือสะอาดหรือเปล่า        บริษัทท้อปโกลฟ (Top Glove Corp) ผู้ผลิตถุงมือยางทางการแพทย์รายใหญ่ที่สุดของโลก กำลังถูกฟ้องร้องดำเนินคดีถึงสิบข้อหา โทษฐานไม่จัดหาที่อยู่อาศัยที่มีมาตรฐานให้กับแรงงานต่างชาติ ตามข้อกำหนดของกรมแรงงานมาเลเซียแต่ท้อปโกลฟซึ่งมีโรงงาน 41 แห่งในมาเลเซีย และมีคนงานกว่า 21,000 คน ปฏิเสธทุกข้อหา เรื่องนี้จึงต้องติดตามคำตัดสินกันอีกครั้งในปลายเดือนเมษายนหากพบว่ามีความผิดจริง บริษัทจะถูกปรับเป็นเงิน 50,000 ริงกิต ( 375,400 บาท) ต่อหนึ่งข้อหาในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทางการมาเลเซียได้เข้าตรวจสอบหอพักสำหรับคนงานต่างชาติในพื้นที่หลายแห่งของบริษัท หลังมีการระบาดของโควิด-19 ในโรงงานแห่งหนึ่งของบริษัทที่ตั้งอยู่ใกล้กับกรุงกัวลาลัมเปอร์ กลุ่มก้อนดังกล่าวได้กลายเป็นคลัสเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย ที่มีแรงงานต่างด้าวติดเชื้อมากกว่า 5,000 คน ลอนนี้ดีต่อใจ        เป็นเวลาหลายทศวรรษที่สาวๆ อิยิปต์ต้องดิ้นรนไปซาลอนหรือซื้อหาครีมยืดผมมาเปลี่ยนผมให้ตรงสวย “ดูดีมีคลาส” ตามมาตรฐานความงามแบบตะวันตก ในขณะที่หนุ่มๆ ก็ใช้วิธีไว้ผมทรงสั้นติดหนังศีรษะหลายคนเคยถูกครูทำโทษฐานไม่ดูแลตัวเองถ้าไปโรงเรียนด้วยทรงผมหยิกตามธรรมชาติ บ้างก็ไม่ได้รับคัดเลือกเข้าทำงาน หากไปสอบสัมภาษณ์ด้วยลอนผมที่แม่ให้มา เพราะสังคมมองว่าทรงแบบนั้น “ไม่เป็นมืออาชีพ”แต่เรื่องนี้กำลังจะเปลี่ยนไป หนุ่มสาวอิยิปต์วันนี้กล้าโชว์รอยสัก ตัดผมทรงขัดใจบุพการี และกล้าเดินอวดลอนผมตามท้องถนนในเมืองโดยไม่แคร์เสียงโห่ฮาด้วยพวกเขาตระหนักแล้วว่าการยืดผมส่งผลกระทบต่อทั้งเส้นผมและจิตใจ ในขณะที่ความร้อนหรือสารเคมีทำให้ผมแตกแห้งหลุดร่วง การไม่สามารถเป็นตัวของตัวเองก็ทำให้พวกเขารู้สึกขาดอิสรภาพเช่นกัน   บรรดาคนดังของอิยิปต์เริ่มปรากฏตัวในเทศกาลหนังด้วยลอนผมธรรมชาติ แบบเดียวกับที่โมฮาเหม็ด ซาลาห์นักฟุตระดับโลกทำมาตลอดนั่นเอง ขอฉลากมีสี        นักวิทยาศาสตร์ 269 คน และสมาคมสุขภาพ 21 แห่ง ร่วมกันลงชื่อเรียกร้องให้สหภาพยุโรปนำระบบฉลากแบบ Nutri-Score ซึ่งเป็นการระบุข้อมูลโภชนาการด้วยตัวอักษร A B C D E พร้อมสีประจำตัว มาใช้เพื่อให้ผู้บริโภคตัดสินใจได้ดีขึ้นศาสตราจารย์ Serge Hercberg ผู้ให้กำเนิดนูทรีสกอร์ ย้ำว่านี่คือระบบเดียวที่มีงานวิจัยรับรอง แต่กลับถูกลดความน่าเชื่อถือโดยการแทรกแซงทางการเมืองและการให้ข้อมูลเชิงลบผ่านสื่อโซเชียลโดยไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มายืนยันอิตาลี กรีก และสเปน ไม่เห็นด้วยกับระบบนี้ สิ่งที่พวกเขาต้องการคือฉลาก Nutinform ที่แสดงร้อยละของพลังงาน ไขมัน น้ำตาล และเกลือ คล้ายการแสดงกำลังไฟในรูปแบตเตอรี ซึ่งยังไม่มีงานวิจัยรับรองปัจจุบันฉลาก Nutri-Score ใช้อยู่ในฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ และสเปน (ซึ่งรัฐบาลรับมาใช้ แต่ผู้ประกอบการไม่เห็นด้วย) ภายในปี 2022 สหภาพยุโรปต้องเลือกรูปแบบของฉลากโภชนาการสำหรับใช้กับทุกประเทศในกลุ่ม  ปวดเมือไรก็แวะมา        ฝรั่งเศสมีร้านยา 21,000 แห่ง ข้อมูลปี 2017 ระบุว่ามีร้านยา 33 แห่งต่อประชากร 100,000 คน (ค่าเฉลี่ยของทั้งยุโรปคือ 29)   ร้านยาที่มีสัญลักษณ์กากบาทสีเขียวเรืองรอง พร้อมป้ายบอกวัน เวลา และอุณหภูมิ มีให้เห็นอยู่ทั่วไป ที่มีมากขนาดนี้เพราะตามกฎหมายฝรั่งเศส คุณจะซื้อยาแก้ไอ แก้ไข้ แก้ปวด ลดน้ำมูก ได้จากร้านขายยาเท่านั้น แต่หลักๆ แล้วรายได้ของร้านยังมาจากการจัดยาตามใบสั่งแพทย์การสำรวจในปี 2019 พบว่าร้อยละ 90 ของการพบแพทย์จบลงด้วยการได้ใบสั่งยา ซึ่งมียาไม่ต่ำกว่า 3 รายการในนั้น รายงานบอกว่าคุณหมอเองก็ถูกกดดันทั้งจากตัวแทนบริษัทยาและคนไข้ (1 ใน 5 ของคนไข้เรียกร้องให้หมอจ่ายยา) ซึ่งไม่วิตกเรื่องค่าใช้จ่ายเพราะเบิกจากรัฐได้พวกเขาคุ้นเคยและใช้ประโยชน์จากร้านขายยาเต็มที่ เภสัชกรประจำร้านนอกจากจะจ่ายยาแล้ว ยังให้คำปรึกษาเรื่องสุขภาพ รวมถึงฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำปี หรือแม้แต่วัคซีนโควิดให้ลูกค้าด้วยใครเข้าป่าไปเก็บเห็ดมาแล้วไม่แน่ใจว่ากินได้หรือไม่ ก็เก็บใส่ถุงไปให้เภสัชกรเขาช่วยดูได้   เสียงจากเบื้องบน        Korea Environment Corporation เปิดเผยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมาว่าในปี 2020 มีเหตุร้องเรียนเพื่อนบ้านชั้นบนถึง 42,250 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 60 เพราะโรคระบาดทำให้คนต้องอยู่บ้านมากขึ้น  ปัญหาส่วนใหญ่มาจากเสียงกระทืบพื้น (ร้อยละ 61) ตามด้วยเสียงลากเฟอร์นิเจอร์ เสียงค้อนทุบผนัง เสียงปิดประตู และเสียงเพลงที่ดังเกินไปการตอบโต้กันระหว่างเพื่อนบ้าน “ต่างชั้น” นอกจากการใช้เสียง เช่น บางคนลงทุนซื้อลำโพงใหญ่ๆ มาเปิดเสียงพุ่งใส่ชั้นบนแล้ว บางรายถึงขั้นทำร้ายร่างกายหรือฆาตกรรมเพื่อนบ้านด้วย  ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าการได้ยินเสียงรบกวนอย่างต่อเนื่องยาวนานอาจทำให้เป็นโรคนอนไม่หลับหรือภาวะซึมเศร้าได้ร้อยละ 60 ของประชากรเกาหลี 50 ล้านคนอาศัยในอพาร์ตเมนต์ แต่กฎหมายที่กำหนดให้พื้นห้องมีความหนาอย่างต่ำ 21 เซนติเมตรนั้นเพิ่งจะประกาศใช้เมื่อปี 2005 ตึกที่สร้างก่อนหน้านั้นจึงมีพื้นหนาเพียง 13.5 เซนติเมตร และไม่สามารถลดเสียงรบกวนได้         

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 ฉลากเขียว สัญลักษณ์เพื่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม

การเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประชากรโลก ทำให้การบริโภคทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นประเด็นกระแสที่ถูกพูดถึงไม่จบสิ้น เป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ทำให้ผู้คนหลายๆ ประเทศตื่นตัวและตระหนักในการแก้ปัญหาร่วมกันผ่านการริเริ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อลดโลกร้อน เช่น การใช้ถุงพลาสติกให้น้อยลงหรือใช้ถุงผ้าทดแทน การยกเลิกพลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม การไม่ใช้หลอดพลาสติก เหล่านี้เป็นยุทธวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของผู้คนให้รักษ์โลกมากขึ้น เช่นเดียวกันกับโครงการฉลากเขียว ที่หลายๆ คน อาจจะเคยบังเอิญสังเกตเห็น ฉลากสีเขียววงกลมที่มีรูปนก ต้นไม้และหน้าเด็กยิ้ม ชวนให้สงสัยว่าฉลากสีเขียวนี้คืออะไร และเป็นประโยชน์กับเราอย่างไรฉลากเขียวคืออะไร ? ฉลากเขียว (Green label) หรือฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (eco-label) เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 (ตาม ISO) ที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสื่อสารให้ผู้บริโภคทราบว่า สินค้าชิ้นนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นสินค้าที่มีองค์ประกอบ กระบวนการผลิต การใช้ ตลอดจนการกำจัดทำลายที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ ในประเภทเดียวกัน โดยมีองค์กรกลางเป็นผู้ให้การรับรองวิวัฒนาการของฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ eco-label  เริ่มต้นจากประเทศในแถบยุโรปโดยมีประเทศเยอรมนีเป็นหัวหอกและนับประเทศแรกที่เอาจริงเอาจังในการพัฒนาโครงการฉลากสิ่งแวดล้อม เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ใช้ฉลากที่เรียกว่า นางฟ้าสีฟ้า (Blue Angel) ในการรณรงค์ปกป้องสิ่งแวดล้อมด้วยจุดมุ่งหมาย 3 ประการคือ ชี้แนะให้ผู้บริโภคซื้อเฉพาะแต่สินค้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด ส่งเสริมให้ผู้ผลิตพัฒนาสินค้าที่รักษาสิ่งแวดล้อม และรณรงค์ให้ฉลากนางฟ้าสีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ในการส่งเสริมการจำหน่าย ฉลากนางฟ้าสีฟ้า ได้เริ่มจากการใช้คำว่า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltfreundlich (Environment Friendly) มาแก้ไขเป็น ฉลากสิ่งแวดล้อม หรือ Umweltzeichen (Environment Label) ในปี พ.ศ. 2531 เพื่อหลีกเลี่ยงคำโฆษณาต่างๆ ที่มักใช้ประโยคว่าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มสหภาพยุโรปเอง ก็มีฉลาก EU-Eco Label หรือที่เรียกว่า EU – Flower ของสหภาพยุโรป เป็นตราสัญลักษณ์ฉลากสิ่งแวดล้อมของทุกประเทศในสหภาพยุโรปที่แสดงให้เห็นว่า สินค้าเหล่านั้นมีการผลิตและได้รับการรับรองแล้วว่ามีวงจรชีวิต (Life Cycle) ที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม และพยายามลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่การเลือกวัตถุดิบในการผลิต กระบวนการผลิตเป็นสินค้า และผลกระทบของคุณภาพสินค้าต่อผู้บริโภค เช่น การรักษาคุณภาพน้ำ อากาศ ดิน และเสียง รวมทั้งเรื่องการประหยัดพลังงาน โดยพิจารณาตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการผลิต ทั้งในเรื่องวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การใช้งาน จนถึงขั้นตอนสุดท้ายซึ่งเป็นการกาจัดกากเหลือใช้หรือการนากลับมาใช้ใหม่ EU Eco-label มีสัญลักษณ์เป็นรูปดอกไม้และมีรูปตัวอีคล้ายสัญลักษณ์ของเงินยูโรแทนเกสรดอกไม้ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในปี 2536สำหรับประเทศไทย โครงการฉลากเขียวริเริ่มขึ้นโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน Thailand Business Council for Sustainable Development (TBCSD) เมื่อเดือนตุลาคม ปี 2536 โดยได้รับความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการโครงการฉลากเขียวเกิดขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานอิสระที่ใช้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อผู้บริโภค มีความเป็นกลาง โปร่งใส เชื่อถือได้ โดยมีการส่งเสริมให้เกิดความตระหนักและป้องกันมลพิษที่อาจเกิดขึ้นตลอดวัฎจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ เนื่องจากสินค้าสีเขียวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเกิดจากการประชาสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้จัดนำหน่ายโดยอิสระเท่านั้นฉลากเขียว เป็นฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ตามมาตรฐาน ISO14024 เริ่มดำเนินการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2537 โดยฉลากเขียวได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกที่ได้รับรองระบบงานGenesis (เจเนซิส) ของเครือข่ายฉลากสิ่งแวดล้อมโลก Global Ecolabelling Network (GEN) มีสมาชิกมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมีวัตถุประสงค์ร่วมกันในการพัฒนาเกณฑ์ของผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล Common Core Criteria (CCC) และในการสร้างความร่วมมือระหว่างกลุ่มสมาชิก อาจลงนามบันทึกความเข้าใจ Memorandum of Understanding (MOU) ร่วมกันเพื่อดำเนินงานร่วมกันระดับองค์กร ในการยอมรับมาตรฐานห้องปฏิบัติการ และผลการทดสอบของผลิตภัณฑ์เดียวกันปัจจุบันฉลากเขียวได้ดำเนินงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกันกับหน่วยงานด้านฉลากสิ่งแวดล้อมของประเทศต่างๆ เพื่อการรับสมัครขอการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม และ การตรวจประเมินสถานประกอบการ (On-Site Assessment) แทนกันของประเทศที่มีความร่วมมือ ในการรับรองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ได้แก่ ไต้หวัน เกาหลี นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย จีน ฟิลิปปินส์ ฮ่องกง มาเลเซีย และเยอรมนีนอกจากนี้ ฉลากเขียวยังได้มีการพัฒนาเกณฑ์ข้อกำหนดสำหรับใช้เป็นเกณฑ์อ้างอิงในการรับรองผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่สามารถใช้ร่วมกันได้ในระดับสากล Common Core Criteria (CCC) เพื่อให้มีสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งมีผลิตภัณฑ์บางชนิดที่ถูกนำเข้าหรือส่งออกในตลาดระหว่างประเทศ เช่น เครื่องพิมพ์ (Printers) เครื่องถ่ายเอกสาร (Copiers) และผลิตภัณฑ์เครื่องฉายดิจิตอล (Digital Projectors)แนวคิดและวัตถุประสงค์ของโครงการฉลากเขียว ฉลากเขียวเป็นฉลากที่ออกให้กับผลิตภัณฑ์ ซึ่งได้ผ่านการประเมินและตรวจสอบว่าได้มาตรฐานทางด้านสิ่งแวดล้อมตามข้อกำหนด โดยความสมัครใจของผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ให้บริการที่ต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีทางด้านสิ่งแวดล้อมให้กับผู้บริโภค โดยการกระตุ้นให้มีการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย กระตุ้นให้กลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิต หันมาใช้เทคโนโลยีสะอาด รวมถึงกระตุ้นให้รัฐบาลและเอกชน ร่วมมือกันฟื้นฟูรักษาสิ่งแวดล้อม และลดปัญหามลภาวะด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคในสังคม ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงการฉลากเขียว มาจากแนวคิดและความต้องการให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยยึดหลักการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศควบคู่ไปกับการป้องกันรักษาสิ่งแวดล้อม ดังนี้ 1. ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมโดยรวมภายในประเทศ 2. ให้ข้อมูลที่เป็นกลางต่อผู้บริโภคเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน 3. ผลักดันให้ผู้ผลิตใช้เทคโนโลยีหรือวิธีการผลิตที่สะอาด ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยผู้บริโภคได้อะไรจากการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีฉลากเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียวนั้นมีข้อกำหนดและการพิจารณาแตกต่างกันไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ทั้งในแง่การผลิต การใช้ การทิ้งทำลาย และความเสียหายของสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผลิตภัณฑ์ เรียกว่าครบทั้งวงจรวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ชนิดนั้นๆ ซึ่งจะคำนึงถึงการจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดมลภาวะทางสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมให้มีการผลิต การขนส่ง การใช้และการกำจัดทิ้งหลังการใช้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลัก 3R คือ ลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle)  การที่ผู้บริโภคเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยกันลดปัญหาโลกร้อน รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียวยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองว่ามีคุณภาพสูงกว่าผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีความปลอดภัยจากสารเคมีที่เป็นอันตราย เนื่องจากมีการตรวจสอบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งนอกจากจะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ผู้บริโภคยังได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีมาตรฐานความปลอดภัยอีกด้วย ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว ผลิตภัณฑ์ที่สามารถขอการรับรองฉลากเขียวได้นั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ สินค้า และบริการ (บางประเภท) ยกเว้น ยา เครื่องดื่ม และอาหาร เนื่องจากการติดฉลากเขียวบนผลิตภัณฑ์ยา เครื่องดื่มและอาหาร มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ ความปลอดภัยในการบริโภค เพราะอาจสร้างความสับสนให้กับผู้บริโภคได้ ปัจจุบันฉลากเขียวของประเทศไทย มีข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่พร้อมให้ผู้ผลิตยื่นขอรับการรับรองเครื่องหมายฉลากเขียวแล้ว จำนวน 124 ผลิตภัณฑ์ มีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับสิทธิ์ให้ใช้เครื่องหมายฉลากเขียว รวมทั้งสิ้น 674 รุ่น ใน 30 กลุ่มผลิตภัณฑ์ และ 72 บริษัท/ผู้ผลิต (ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเขียว) (ข้อมูลเผยแพร่ รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว ประจำเดือน ม.ค.2561; http://www.tei.or.th/greenlabel/download/2018-01-Name-GL-th.pdf) โดยผู้บริโภคสามารถดูรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองฉลากเขียว และรายชื่อห้องปฏิบัติการทดสอบที่ยอมรับผลโดยฉลากเขียว (ISO/IEC 17025) ได้ที่เว็บไซต์ www.tei.or.th/greenlabel นอกจากฉลากเขียวแล้ว ภาครัฐยังมีการส่งเสริมระบบการติดฉลากสิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ฉลากคาร์บอน ฉลากประหยัดพลังงาน ฉลากรับรองไม่ทำลายป่าไม้ ฉลากลดการใช้น้ำ และเกียรติบัตรใบไม้สีเขียวสำหรับธุรกิจโรงแรม เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า สินค้านั้นๆ มีคุณประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าสินค้าหรือบริการประเภทเดียวกันที่ไม่มีฉลากรับรอง ทั้งนี้ การอ่านฉลากสินค้าจะช่วยให้เราทราบข้อมูลที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อหาหรือใช้บริการอย่างปลอดภัย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้กำหนดให้มีการแสดงหรือระบุข้อความบนฉลากตามข้อกฎหมาย โดยฉลากสินค้าต้องใช้ข้อความที่ตรงตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า โดยหากผู้บริโภคพบเจอสินค้าที่มีข้อความบนฉลากที่เป็นเท็จ หรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า สามารถร้องเรียนได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ให้ดำเนินการกับผู้ประกอบการที่กระทำผิดตามกฎหมายได้ ในฐานะพลเมืองโลกที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (Active Citizen) อย่างเราๆ การเลือกสรรหรือลดการบริโภคด้วยการเริ่มเป็นผู้บริโภคสีเขียว (Green Consumers) ที่รู้จักประมาณการบริโภคและตระหนักว่า การบริโภคทุกอย่างล้วนส่งผลกระทบต่อตนเองและสังคม การเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากเขียว ก็นับเป็นกิจกรรมที่มุ่งสู่การบริโภคที่พอเพียงบนวิถีแห่งการรักษ์โลกที่แท้จริงเช่นกันแหล่งข้อมูลอ้างอิง- www.tei.or.th/greenlabel- ศูนย์วิจัยนโยบายด้านเศรษฐกิจสีเขียว (https://progreencenter.org)- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)สัญลักษณ์สีเขียวมีรูปหน้าเด็กยิ้ม ต้นไม้และนกที่อยู่ร่วมกันในโลกที่เห็นนี้เป็นสัญลักษณ์ของ “ฉลากเขียว” ของประเทศไทย -----------------------------------------------------------------------------ฉลากสิ่งแวดล้อม (ECO LABELLING)“ฉลากสิ่งแวดล้อม” เป็นกลไกการสื่อสารและบ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้บริโภครับทราบ โดยฉลากสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO  สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ     ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 1 ( ISO14024)เป็นฉลากที่บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมอบให้กับผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนด โดยองค์กรอิสระที่ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Third party) โดยจะพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมแบบใช้วิธีพิจารณาแบบตลอดวัฏจักรชีวิต (Life Cycle Consideration) ในประเทศไทยมีการออกฉลากประเภทที่ 1 ซึ่งรู้จักกันดีในนาม “ฉลากเขียว” ฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 2 ( ISO14021)เป็นฉลากที่ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้ส่งออก จะเป็นผู้บ่งบอกความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือแสดงค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตนเอง (Self-declared Environmental Claims)  ซึ่งอาจจะแสดงในรูปของข้อความ หรือสัญลักษณ์ รูปภาพ เช่น การใช้พลังงานอย่างประหยัด การนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น โดยฉลากนี้ จะไม่มีองค์กรกลางในการดูแล แต่ทางผู้ผลิต จะต้องสามารถหาหลักฐานมาแสดงเมื่อมีคนสอบถาม ดังนั้น ฉลากประเภทนี้ผู้ผลิตสามารถทำการศึกษาหรือประเมินผลได้ด้วยตนเองฉลากสิ่งแวดล้อมประเภทที่ 3 ( ISO14025)เป็นฉลากที่บ่งบอกถึงผลกระทบของผลิตภัณฑ์ต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการแสดงข้อมูลสิ่งแวดล้อมโดยรวม (Environmental information) โดยการใช้เครื่องมือการประเมินผลกระทบตลอดวัฏจักรชีวิตของสิ่งแวดล้อม (Life Cycle Assessment) เข้ามาประเมิน ตามมาตรฐาน ISO 14040 โดยฉลากนี้ จะมีหน่วยงานอิสระหรือองค์กรกลางในการทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนที่จะประกาศลงกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 124 เครื่องหมายสัญลักษณ์ แห่งความอร่อย ใช้ได้จริงหรือ...

 พูดถึงความอร่อย...ท่านผู้อ่านคงรู้แล้วสินะว่า ผู้เขียนต้องเขียนเรื่องเกี่ยวกับอาหารแน่นอน ใช่ !คุณทายถูก วันนี้เราจะคุยกันเรื่องอาหารอร่อย(หรือเปล่า?)ว่าไปประเทศไทยของเราเป็นประเทศที่โชคดี   เพราะเรามีภูมิประเทศที่ดี มีความอุดมสมบูรณ์ และเป็นประเทศที่เป็นแหล่งผลิตอาหาร เราจึงรอดพ้นปัญหาการขาดแคลนอาหารอย่างที่หลายประเทศกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน    นอกจากไม่ขาดแคลนแล้วเรียกได้ว่ามีกินอย่างเหลือเฟืออีกต่างหาก  การที่มีมากเช่นนี้ทำให้เกิดการแข่งขันสูงมากเช่นกัน  ดังนั้นยุทธศาสตร์การโฆษณาสินค้า(อาหาร)ทั้งกลวิธี ยุทธวิธีที่ทันสมัยจึงถูกนำมาใช้สื่อสารกับประชาชนแบบท่วมท้นทะลักทลาย ทั้งนี้ก็เพื่อแข่งขันกันหาลูกค้าเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจและผลกำไรวันก่อนมีคุณพี่คนหนึ่ง เป็นผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูป(ปลาหยอง) อันเป็นกลุ่มอาชีพในจังหวัดสมุทรสงคราม ได้มาคุยให้ฟังว่า   มีคนโทรมาติดต่อและแนะนำตัวว่าเป็นเจ้าของสัญลักษณ์สินค้าอร่อย.. ชื่อ “ช้อนทองชวนทาน” แล้วบอกว่าได้ซื้อสินค้าปลาหยองจากร้านค้าร้านหนึ่งในกรุงเทพฯ ไปรับประทาน แล้วบอกว่าอร่อยมาก  ต่อจากนั้นก็ได้บอกต่ออีกว่า “ช้อนทองชวนทาน” ของเธอนั้นได้จดทะเบียนไว้กับพาณิชย์(เขาหมายถึงกระทรวงพาณิชย์) มาสิบหกปีแล้ว   ถ้าใครเอาสัญลักษณ์ของเธอไปติดสินค้า สินค้านั้นจะขายดีขึ้น  หากตกลงเธอจะรีบส่งตราสัญลักษณ์มาให้แต่มีข้อแม้ว่าผู้ผลิตต้องจ่ายเงินค่าตราสัญลักษณ์นั้นให้เจ้าของตราสินค้าก่อน    คุณพี่ผู้ผลิตของเราเขาไหวพริบดีเลยตอบกลับไปว่า เอ๊ะ! ก็คุณบอกเองว่าปลาหยองของเราอร่อยอยู่แล้ว   และเราก็ได้ อย. และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนแล้ว ทำไมต้องเสียเงินเพื่อซื้อสัญลักษณ์ของคุณ   เจ้าของสัญลักษณ์ก็เลยวางสายไป ที่นำเรื่องนี้มาเล่าสู่กันฟังเพื่ออยากจะสื่อสารกับผู้บริโภคว่า ไอ้เจ้าตราสัญลักษณ์ต่างๆ ที่มีทั้งแม่นั่นชิม แม่นี่รำต่างๆ มันน่าเชื่อถือแค่ไหน? หากมีการนำตราสัญลักษณ์เหล่านี้มาซื้อ-ขายในเชิงธุรกิจ โดยไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพ   เช่นรายที่เล่าให้ฟังนี้บอกขายสัญลักษณ์กันตรงๆ เลย โดยไม่ต้องลงไปตรวจแหล่งผลิต ไม่ต้องดูกรรมวิธีการผลิตใดๆ ชิมแล้วอร่อยบอกขายตราสัญลักษณ์กันเลยอย่างนี้   ถ้าเจ้าช้อนทองชวนทานนี้ มีกระทรวงพาณิชย์รับรองจริงอย่างที่กล่าวอ้าง ก็วานกระทรวงพาณิชย์ช่วยดูแลหน่อยเถอะ ชาวบ้านจะได้ไม่ต้องเหนื่อยใจ ผู้บริโภคอย่างเราๆ มันยิ่งหาที่พึ่งยากเสียด้วย  โน่น...คงต้องรอองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่กำลังถูกแช่อยู่ในชั้นวุฒิสภา(เมื่อประกาศยุบสภาการพิจารณากฎหมายต้องหยุดจนกว่าจะมีสภาใหม่) ก็ได้แต่หวังไว้เพียงว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาคงจะยืนยันกฎหมายฉบับนี้ให้สามารถเดินหน้าต่อไปและมีผลบังคับใช้โดยเร็วรอลุ้นกันนะว่าใคร พรรคใดจะมาสานต่อเรื่องนี้ที่เรารอมา 14 ปี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 สัญลักษณ์ในผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการปัจจุบันคนทั่วไปจะซักผ้าโดยใช้เครื่องซักผ้า เพราะมีความสะดวก และประหยัดกว่าการจ้างซัก เสื้อผ้าที่เราซื้อมาใช้นั้น ถ้าเป็นเสื้อผ้าที่มีคุณภาพระดับส่งออก มักจะมีป้ายที่ติดสัญลักษณ์ไว้ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเลือกโปรแกรมในการซักได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับชนิดของเสื้อผ้า ซึ่งจะทำให้เสื้อผ้าที่เราซื้อมานั้นมีอายุการใช้งานได้นานขึ้น บทความครั้งนี้ ขอเสนอความหมายของสัญลักษณ์ ที่เรามักพบเห็นได้บนเสื้อผ้า เพื่อเป็นข้อมูลให้กับผู้บริโภคที่ฉลาด (smart consumer) ในการเลือกใช้งานสำหรับการซัก รีด เสื้อผ้าของเราได้อย่างถูกต้อง แสดงวิธีการซัก (washing): โปรแกรมซักผ้าสี ซักแบบถนอมผ้าปานกลาง และซักผ้าแบบถนอมผ้าที่สุด ความหมายของตัวเลขในกล่องหมายถึงอุณหภูมิของน้ำที่จะใช้ซักผ้า เครื่องซักผ้าบางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถเลือกโปรแกรมการซัก โดยกำหนดอุณหภูมิในการซักได้ เช่น 95 หมายถึงซักในน้ำที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียสได้ การเลือกใช้โปรแกรมซักผ้าที่อุณหภูมิสูงนั้น เป็นการซักผ้าสี และเป็นผ้าที่มีความทนทานสูง สามารถใส่ผ้าลงไปในเครื่องซักผ้าในปริมาณมากๆ ของการซักแต่ละครั้งได้ 60 หมายถึงซักในน้ำที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียสได้ การเลือกใช้โปรแกรมซักผ้าที่อุณหภูมินี้นั้น เป็นการซักแบบถนอมผ้า (delicate wash program) และเป็นผ้าที่มีความทนทาน ขีดหนึ่งขีดที่ใต้กล่อง หมายถึงควรใส่ผ้าในปริมาณหลวมๆ ที่ไม่แน่นมาก 30 หมายถึงซักในน้ำที่อุณหภูมิไม่เกิน 30 องศาเซลเซียสได้ การเลือกใช้โปรแกรมซักผ้าที่อุณหภูมินี้นั้น เป็นการซักแบบถนอมผ้าที่สุด (fine wash program) เช่นผ้าขนสัตว์ ขีดสองขีดที่ใต้กล่อง หมายถึงควรใส่ผ้าในปริมาณน้อยๆ ไม่แน่นจนเกินไป ซักด้วยมือ   หมายถึงควรซักด้วยมือ ในน้ำที่อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และไม่ควรแช่ผ้าทิ้งไว้ในน้ำเป็นเวลานานๆ เครื่องซักผ้าบางรุ่นได้พัฒนาความสามารถ โดยมีโปรแกรมการซักเหมือนกับการซักด้วยมือ   ห้ามซักผ้าด้วยเครื่อง ต้องซักแห้งโดยใช้น้ำยาเคมีเท่านั้น เวลาเลือกซื้อเสื้อผ้า ควรตรวจดูฉลากด้านใน ของเสื้อผ้าด้วย เพราะถ้าซื้อมาแล้วซักด้วยเครื่องหรือซักมือไม่ได้ ก็ต้องจ้างซัก ซึ่งมีราคาที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แสดงวิธีการฟอกขาว (Bleaching) สัญลักษณ์ รูปสามเหลี่ยม หมายถึง เราสามารถฟอกเสื้อผ้าได้ ไม่ว่าจะฟอกด้วยออกซิเจน หรือ ฟอกด้วยคลอรีน ถ้าเป็นสัญลักษณ์รูปสามเหลี่ยมที่มีเส้นขวางสองเส้นอยู่ด้านใน หมายความว่า แนะนำให้ฟอกด้วยออกซิเจน     สัญลักษณ์แสดงการ ห้ามฟอกขาว   ถ้าเสื้อผ้ามีสัญลักษณ์นี้ ให้เราเข้าใจว่า ห้ามฟอกขาว และควรต้องเลือกใช้ผงซักฟอกสำหรับซักผ้าสี ไม่ควรใช้ผงซักฟอกสำหรับซักผ้าขาว เพราะจะทำให้สีซีดได้ สัญลักษณ์แสดงการรีด สัญลักษณ์ ที่แสดงเป็นรูปเตารีด หมายถึง สามารถรีดเสื้อผ้าโดยใช้ความร้อนได้ โดยขนาดความร้อนที่ใช้รีด ดูได้จากจำนวนจุด ถ้ามี สามจุดหมายความว่า สามารถรีดโดยใช้ความร้อนสูงได้ (200 องศาเซลเซียส) สองจุดขนาดความร้อนปานกลาง (150 องศาเซลเซียส) หนึ่งจุดขนาดความร้อนเล็กน้อย (100 องศาเซลเซียส) ซึ่งสามารถปรับขนาดความร้อนตามเตารีดให้ตรงตามปริมาณจุด ที่กำหนดไว้ในเสื้อผ้าได้   สัญลักษณ์ห้ามรีด เป็นสัญลักษณ์ที่ บอกว่า ห้ามรีด ถ้านำเสื้อผ้าไปรีด ก็อาจทำให้สีตก หรือ สีเพี้ยนไป และอาจทำให้เสื้อผ้าฉีกขาดเสียหายได้ เพราะความร้อนทำให้เนื้อผ้าละลาย สัญลักษณ์สำหรับการใช้เครื่องอบแห้ง เป็นรูปสี่เหลี่ยม ด้านในเป็นรูปวงกลม จุดสองจุดหมายถึง สามารถเลือกใช้โปรแกรมสำหรับการอบแห้งใด ๆ ก็ได้ แต่ถ้ามีจุดเดียวต้องเลือกใช้โปรแกรมที่มีอุณหภูมิต่ำในการอบ   เพราะอาจทำให้เสื้อผ้าเสียหายได้จากความร้อนของเครื่องอบผ้า     ฉลาดซื้อแล้ว ก็ต้องฉลาดใช้ ด้วยนะครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 120 เส้นทางสายกุหลาบ

  สิ่งที่หลายคนนิยมมอบให้กันเพื่อสื่อแทนความรักและเป็นเหมือนสัญลักษณ์ของวันวาเลนไทน์ คือ “กุหลาบ” ราชินีแห่งดอกไม้ เธอกลายมาเป็นสัญลักษณ์ได้อย่างไร มีคุณค่ามากพอไหมสำหรับการบอกรัก เรามาติดตามเส้นทางชีวิตของเธอกัน  เมื่อถึงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ดอกกุหลาบจะกลายเป็นของที่หลายๆ คนต้องการ เพราะดอกกุหลาบจะไม่ได้เป็นเพียงแค่ดอกไม้ธรรมดา แต่จะกลายเป็นของขวัญสุดล้ำค่าที่ใช้เป็นสื่อแสดงถึงความรักความรู้สึกดีๆ ของคนที่ให้ไปถึงยังคนที่รับ (อาจจะฟังดูเว่อร์ๆ แต่เรื่องแบบนี้เชื่อว่าคนที่เคยมีความรักน่าจะเข้าใจดี) ช่วงเทศกาลแห่งความรัก นอกจากคนที่มีความรักหัวใจจะชื่นบานแล้ว การซื้อ-ขายดอกกุหลาบก็ดูจะคึกคักเบิกบานตามไปด้วย  เมื่อดอกกุหลาบกลายเป็นของมีค่าที่คนมีความรักต่างก็เรียกหาในวันวาเลนไทน์ ลองมาดูกันซิว่า  ดอกกุหลาบในช่วงเทศกาลแห่งความรัก มีความลับอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า?   บนทางที่โรยด้วยกลีบกุหลาบกุหลาบ เป็นไม้ตัดดอกที่ออกตลอดทั้งปี ซึ่งปกติถ้าไม่ใช่ช่วงวันวาเลนไทน์ เราจะซื้อกุหลาบมาสำหรับไหว้พระ รอยมาลัย หรือตกแต่งใส่แจกัน กุหลาบถือเป็นดอกไม้ที่ขายง่าย หาซื้อก็ง่าย ในเมืองไทยเรามีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกอยู่ประมาณ 5,500 ไร่ โดยกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ที่ อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ที่เหลือจะกระจายอยู่ที่ จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงรายและบางจังหวัดในภาคกลาง เช่น นครปฐม และราชบุรี เหตุที่อำเภอพบพระเป็นแหล่งปลูกกุหลาบตัดดอกแหล่งใหญ่ของประเทศ เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีสภาพอากาศเหมาะสม ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป พื้นที่ก็มีความลาดชันน้อยกว่าทางเหนือ แถมยังนิยมใช้แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งมีค่าแรงที่ถูกกว่า ที่อำเภอพบพระจะปลูกกุหลาบเพื่อส่งขายไปทั่วประเทศตลอดทั้งปี ดอกกุหลาบที่วางขายที่ปากครองตลาด ตลาดดอกไม้สำคัญของคนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ก็มาจากที่นี่ รวมทั้ง เชียงใหม่และเชียงรายด้วย   แต่ใช่ว่าบ้านเราจะนิยมเฉพาะแต่ดอกกุหลาบในประเทศ เพราะเราก็ยังคงต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ หลักๆ จะมาจาก เนเธอร์แลนด์และจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องการปลูกดอกไม้สวยงามอยู่แล้ว ความสวยงามและสีสันของดอกกุหลาบจะมีความแตกต่างกับกุหลาบที่ปลูกในบ้านเราอยู่บ้าง ด้วยความที่สายพันธุ์และสภาพของภูมิอากาศในพื้นที่ที่ปลูกกุหลาบมีความแตกต่างกัน แต่อย่าคิดว่าดอกกุหลาบนำเข้าจะต้องสวยกว่าหรือแพงกว่าดอกกุหลาบที่ปลูกในประเทศเสมอไป เพราะราคาของกุหลาบไม่ได้ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา แต่ว่าขึ้นอยู่กับสภาพความสวยงามและขนาดของดอกกุหลาบ   เมื่อรักคือการให้...งั้นไปซื้อกุหลาบกัน ถ้าใครเคยไปเดินเลือกซื้อกุหลาบที่ปากคลองตลาด ก็จะเห็นว่าที่นี้มีกุหลาบให้เลือกซื้อมากมาย หลายสี หลายขนาด ที่สำคัญก็คือมีหลายราคา ดอกกุหลาบที่ปากคลองตลาดมีทั้งแบบที่ปลูกในบ้านเราและดอกที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยกุหลาบที่ขายกันจะมีทั้งแบบที่ขายเป็นมัด มัดหนึ่งมีตั้งแต่ 20 – 50 ดอก มัดรวมกันไว้เป็นห่อ มีทั้งแบบดอกสีเดียวและแบบคละสี ซึ่งถ้าขายในลักษณะนี้จะเป็นดอกกุหลาบที่ไม่ค่อยสวยเท่าไร ดอกจะช้ำๆ ใน 1 มัดอาจจะมีดอกที่สวยจริงๆ แค่ไม่กี่ดอก แต่ดีตรงที่ราคาจะถูก  ส่วนแบบที่ขายแยกเป็นดอกก็จะแพงกว่าแบบที่ขายเป็นมัด แต่เราสามารถเลือกได้ ได้เห็นสภาพของดอกกุหลาบจริงๆ และแบบที่ขายเป็นดอกเดี่ยวๆ ดอกกุหลาบจะมีคุณภาพมากกว่า สวยกว่า ดอกใหญ่กว่า ที่สำคัญคือ ทางร้านจะเก็บรักษาดีกว่า คือมีการดูแลพรั่งพร้อม ดอกกุหลาบจะถูกแช่น้ำไว้ ทำให้ดอกยังดูสด กลีบดอกจะไม่มีรอยช้ำ เพราะไม่ได้ถูกมัดหรือถูกวางทับรวมกันไว้ แต่ถ้าใครพอจะมีงบสูงสักหน่อยในการจะเลือกซื้อดอกกุหลาบ แล้วอยากได้แบบที่สวยโดนใจ เอาไปให้ใครแล้วเขาต้องประทับใจแน่นอน แนะนำให้เลือกจากร้านที่เขารับจัดดอกไม้ เพราะตามร้านรับจัดดอกไม้ส่วนใหญ่ เขาจะคัดดอกกุหลาบที่สวยงาม ดอกใหญ่ ก้านยาว แถมเรายังเจาะจงเลือกได้ว่าใน 1 ช่อ จะให้ดอกกุหลาบกี่ดอก สีอะไรบ้าง ตกแต่งด้วยอะไร เรียกว่าไม่ต้องลุ้นเหมือนการซื้อดอกกุหลาบแบบที่ขายเป็นมัดๆ และก็ไม่ต้องเหนื่อยไปจัดช่อเองถ้าซื้อแยกเป็นดอกๆ แต่กุหลาบจัดช่อนั้นขอแนะนำเฉพาะคนที่พร้อมจะลงทุนให้กับความรักจริงๆ เท่านั้น เพราะกุหลาบแบบจัดช่อจะมีราคาค่อนข้างสูง ส่วนมากจะอยู่ที่หลักพันบาท ขึ้นอยู่กับจำนวนดอกและความยาวของก้านดอก แถมบรรดาร้านที่รับจัดช่อดอกไม้ยังมีจุดขายที่เรื่องความสะดวกสบายของลูกค้า เพราะมีทั้งบริการสั่งจองช่อดอกไม้ออนไลน์และบริการเดลิเวอร์รี่ส่งดอกไม้ถึงมือผู้รับให้ด้วย ++++การแบ่งเกรดของดอกกุหลาบจะดูกันที่ความยาวของก้าน ยิ่งก้านยาวจะถือเป็นกุหลาบที่มีความสวยงามมากแถมหายาก ทำให้ราคาก็ยิ่งสูงมากตามไปด้วยการแบ่งเกรดของดอกกุหลาบก็มีตั้งแต่ เกรดของดอกกุหลาบ ความยาวของก้าน (เซนติเมตร)เกรดพิเศษ         60 ขึ้นไปเกรดเอ             50เกรดบี              40เกรดซี              30ตกเกรด            น้อยกว่า 30 +++++++++   เมื่อถึงวันวาเลนไทน์ ดอกกุหลาบก็กลายเป็นของมี (มูล) ค่า (สูง)++ ถือเป็นเรื่องที่คนที่มีความรักต้องเตรียมใจ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาที่ราคาดอกกุหลาบช่วงวาเลนไทน์จะปรับขึ้นมากกว่าราคาที่ขายในช่วงเวลาปกติมาก ++ การขึ้นราคาของดอกกุหลาบมาจากเหตุผลง่ายๆ ว่าเมื่อสินค้าเป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ผู้ค้าจะปรับราคาให้สูงขึ้น โดยผู้ซื้อเองก็ยินดีที่จะจ่ายเพื่อแลกกับสินค้าที่ต้องการ  ++ ราคาดอกกุหลาบในช่วงวันวาเลนไทน์จะสูงกว่าช่วงปกติถึง 3 เท่า  ++ ไม่ใช่แค่ดอกกุหลาบเท่านั้น ที่ราคาจะสูงขึ้นในช่วงวันวาเลนไทน์ แต่ดอกไม้สวยงามอื่นๆ ทั้ง คาร์เนชั่น ลิลลี่ ทิวลิป เยียบีร่า ราคาก็สูงขึ้นด้วยเช่นกัน  ++ ราคากุหลาบจะไม่ตายตัวจะปรับเปลี่ยนทุกวัน แม่ค้ากุหลาบที่ปากคลองตลาดบอกว่าการตั้งราคาขายจะดูจากหลายปัจจัยหลายองค์ประกอบ ทั้งจากคุณภาพของดอกไม้ ความคับคั่งของการซื้อ – ขาย ถ้าวันไหนดอกกุหลาบขายดีมีคนเดินเยอะก็สามารถตั้งราคาสูงได้ แต่ถ้าวันไหนตลาดเงียบเหงาก็จำเป็นต้องลดราคาหรือตั้งราคาให้ถูกลงเพื่อให้สินค้าขายได้ง่ายขึ้น  ++ ความต้องการดอกกุหลาบในวันวาเลนไทน์จะมีมากกว่าช่วงเวลาปกติถึง 10 เท่า  ++ ราคากุหลาบจะค่อยๆ สูงขึ้นตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาทองของดอกกุหลาบ  ++ กุหลาบไม่ได้แพงแค่ช่วงเทศกาลแห่งความรักเท่านั้น แต่ช่วงที่มีการรับปริญญาของมหาวิทยาลัยต่างๆ ช่วงประมาณเดือนกรกฎาคม ดอกกุหลาบก็จะมีราคาสูงขึ้นด้วยเช่นกัน  ++ กุหลาบเกรดดีๆ ที่ปลูกในบ้านเรา จะมีราคาต้นทุนอยู่ที่ประมาณ 10 - 15 บาท ในขณะที่ดอกกุหลาบที่นำเข้าจากต่างประเทศต้นทุนจะถูกกว่า เนื่องจากกุหลาบเกรดคุณภาพในบ้านเรา ยังมีการปลูกกันน้อย  ++ ช่วงวันวาเลนไทน์ดอกกุหลาบแบบที่มัดขายเป็นห่อจะขายดีที่สุด เพราะราคาถูก เนื่องจากลูกค้ากลุ่มหลักที่จะหาซื้อดอกกุหลาบในวันแห่งความรักก็คือ นักเรียน – นักศึกษา ซึ่งยังไม่มีรายได้ ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีรวมเงินกันซื้อแล้วค่อยไปแบ่งกุหลาบกัน ++ ร้านขายกุหลาบหรือร้านที่รับจัดช่อดอกไม้บางร้าน มีบริการรับสั่งจองกุหลาบล่วงหน้าสำหรับวันวาเลนไทน์ ถ้าหากสั่งแต่เนินๆ สัก 2 – 3 อาทิตย์ จะได้ราคาที่ถูกลงกว่าซื้อใกล้ๆ วันวาเลนไทน์++++++++++++++++++++++++++++++++++++   แม้ดอกกุหลาบจะเป็นสัญลักษณ์ของความรักและวันวาเลนไทน์ แต่ผลสำรวจเมื่อปี 2553 พบว่า ของขวัญยอดฮิตในวันวาเลนไทน์หาใช่ดอกกุหลาบไม่ แต่กลับเป็นช็อกโกแลต โดยมีการสรุปตัวเลขจำนวนเงินที่ใช้ในการซื้อช็อกโกแลตเอาไว้ว่า 1 คน จะลงทุนไปกับการซื้อช็อกโกแลตประมาณ 292 บาท ส่วนดอกกุหลาบได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 งบในการซื้อดอกไม้ให้คนที่รักจะอยู่ที่ประมาณ 285 บาท โดยดอกกุหลาบสีแดงได้รับความนิยมมากที่สุด รองลงคือสีขาว และสีชมพู (ในผลสำรวจไม่ได้บอกว่างบที่ใช้ซื้อของขวัญในวันวาเลนไทน์นั้น เป็นงบที่ใช้กับผู้รับแค่ 1 คนหรือเปล่า ถ้าใครมีแฟนหรือคนที่แอบชอบหลายคน ก็อาจจะต้องใช้งบซื้อของมากกว่าที่บอกในผลสำรวจนะ อิอิ)ที่มา: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย +++++++++++++++++   ไม่รักได้ไง ถ้าดอกกุหลาบที่ให้ ราคา 5 แสน!!!อย่าเพิ่งตกใจ เพราะดอกกุหลาบราคานี้มีขายจริงๆ ดอกกุหลาบช่อกลมสำหรับวันวาเลนไทน์ จำนวน 799 ดอก ซึ่งสื่อความหมายว่า “รักเธอตลอดกาล” ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของช่อกุหลาบมีความกว้างถึง 1 เมตร เรียกว่าใครที่ได้รับดอกกุกลาบ 799 ดอก ราคา 5 แสนบาทไปเป็นของขวัญ ก็คงประทับใจไม่รู้ลืม อาจจะประทับใจจนช็อคไปเลยก็ได้ ส่วนที่จะรักเธอตลอดกาลหรือเปล่าอันนี้คงบอกไม่ได้  เคยมีคนบอกว่าความรักทำได้ทุกสิ่ง แต่เรื่องนี้ต้องเฉพาะคนที่มีเงินถึงจริงๆ เท่านั้นถึงจะทำได้(***ช่อดอกกุกลาบ 799 ดอก ราคา 5 แสนบาท มีขายจริงๆ ที่ มิสลิลลี่ ฟลาเวอร์)++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   ดอกกุหลาบแบบขายเป็นห่อ ราคาประมาณ 70 – 180 บาทส่วนใหญ่เป็นกุหลาบจาก อ.พบพระ จ.ตาก ห่อหนึ่งจะมีกุหลาบอยู่ประมาณ 50 ดอก ข้อดีคือราคาถูก ได้กุหลาบเยอะ แต่ข้อเสียคือ ดอกกุหลาบมักจะไม่ค่อยสวย ดอกเล็ก กลีบดอกช้ำ เพราะถูกมัดรวมกันมา การดูแลจากชาวสวนและแม่ค้าหลังจากตัดดอกและก่อนนำมาวางขายมีน้อยมาก ซื้อมา 1 มัด 50 ดอก อาจจะดอกที่สวยถูกใจเหมาะจะเอาไปให้คนที่รักไม่ถึง 10 ดอก   ดอกกุหลาบแบบขายเป็นกำ ราคาประมาณ 100 – 500 บาท1 กำจะมีดอกกุหลาบ ประมาณ 10 – 20 ดอก คุณภาพของดอกจะดีกว่าแบบที่ขายเป็นห่อ ดอกใหญ่กว่า ส่วนมากเป็นดอกกุหลาบเชียงใหม่ หรือไม่ก็เป็นดอกกุหลาบนำเข้า ใน 1 กำจะมีให้เลือกทั้งแบบสีเดียวและคละสี แต่ลักษณะการขายเป็นกำก็ยังมีข้อเสียคล้ายๆ กับกุหลาบที่ขายเป็นห่อคือการจัดเก็บและขนส่งจากสวนมายังตลาด กุหลาบมีโอกาสได้รับความบอบช้ำสูง   ดอกกุหลาบแบบขายเป็นดอก ราคาประมาณ 20 บาท จนถึงหลักร้อยดอกกุหลาบที่แยกขายแบบดอกเดียวมีหลากหลายรูปแบบ ความสวยงามและคุณภาพของดอกก็เป็นไปตามราคา ยิ่งดอกใหญ่ สด กลีบไม่ช้ำ ก้านยาว ราคาก็ยิ่งสูง   ดอกกุหลาบแบบขายแบบจัดช่อ – หลักร้อย จนถึงหลักหมื่นเรื่องคุณภาพและความสวยงามของดอกกุหลาบไปต้องพูดถึง แถมยังตกแต่งมาเป็นช่อเรียบร้อย เรื่องราคาก็ว่ากันไปตามคุณภาพ ชนิด และปริมาณของดอกไม้ ฝีมือของคนจัดช่อ รับประกันว่าถูกใจคนรับ แต่ราคาอาจจะไม่ถูกสำหรับคนซื้อ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++ ปลูกกุหลาบแดงไว้เพื่อเธอการปลูกกุหลาบในบ้านเราจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ การปลุกกุหลาบแบบเชิงปริมาณ คือการปลูกที่เน้นที่จำนวนของดอกกุหลาบ ปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ให้ดอกมากเก็บเกี่ยวได้เร็ว แต่ดอกกุหลาบที่ได้จะไม่ค่อยได้คุณภาพ ดอกจะมีขนาดเล็ก ก้านสั้น หรือไม่ก็มีตำหนิจากโรคและแมลง ทำให้อายุของดอกกุหลาบจะค่อนข้างสั้น ไม่เหมาะแก่การนำไปปักแจกัน แต่การผลิตดอกกุหลาบในลักษณะนี้ทำให้เกษตรกรสามารถตัดดอกกุหลาบส่งขายตลาดได้ทุกวัน ส่วนการปลูกกุหลาบเชิงคุณภาพ เป็นการปลูกที่ต้องมีการดูแลกุหลาบอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ช่วงของการปลุกไปจนถึงหลังการเก็บเกี่ยว นิยมปลูกในโรงเรือนเพื่อควบคุมอุณหภูมิและป้องกันแมลง ดอกกุหลาบที่ได้จะมีคุณภาพสูง นิยมส่งไปตามร้านที่รับจัดช่อดอกไม้ซึ่งต้องใช้ดอกกุหลาบที่มีขนาดใหญ่ สีสด ไม่มีตำหนิที่กลีบดอก ซึ่งกุหลาบในลักษณะนี้เมืองไทยยังผลิตได้น้อยกว่าความต้องการของตลาด จึงทำให้ยังต้องมีการนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ ++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++   ฉันซื้อกุหลาบให้ตัวเอง...ไม่ว่าจะซื้อกุหลาบให้ตัวเอง หรือให้คนอื่นๆ ลองมาดูเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ในการเลือกซื้อกุหลาบ ให้ได้ดอกที่สวยถูกใจ ไม่ผิดหวังทั้งคนให้และคนรับ   1.เลือกดอกที่ยังดูสด ไม่เหี่ยวแห้ง ไม่มีรอยช้ำ หรือสีสันไม่สดใส ไม่เปล่งปลั่ง เพราะแบบนั้นแสดงว่ากุหลาบขาดน้ำ จะเก็บไว้ได้ไม่นาน 2.นอกจากดูที่ดอกแล้วก็ต้องดูที่ใบด้วย ใบก็ต้องสวย ไม่เหี่ยว หรือห่อลู่ ไม่หักงอ ใบอยู่เต็มไม่ขาด 3.ลองจับที่กลีบดอกกุหลาบเบาๆ กุหลาบที่สุขภาพดีกลีบต้องยังมีความแข็ง จับแล้วไม่ช้ำหรือหักตามแรงกด แต่วิธีนี้ต้องอาจต้องแอบทำ เพราะส่วนใหญ่แม้ค้ามักจะไม่ให้เราสัมผัสดอกกุหลาบ ระวังถูกแม่ค้าโกรธ  4.ถ้าซื้อดอกกุหลาบแล้วเก็บข้ามคืนเพื่อใช้งานในวันถัดไป ต้องเลือกที่ดอกยังไม่บานเต็มที่ แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นดอกตูมจนเกินไป เพราะอาจจะเป็นดอกที่ไม่บานแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นควรเลือกดอกที่กลีบยังเป็นทรงสวย บานออกบางแล้ว แต่ไม่ขยายมากจนเกินไป  5.ดูว่าร้านมีการดูแลดอกกุหลาบยังไงบ้าง เพราะดอกกุหลาบที่ถูกตัดมาขายจะขาดน้ำไปเลี้ยง หากแม่ค้านำมาขายโดยไม่ได้แช่น้ำ ดอกกุหลาบก็มีโอกาสเหี่ยวเร็ว  6.ถ้าไปเลือกซื้อที่ปากคลองตลาด ก็ควรยอมเสียเวลาเดินเลือกให้ทั่ว เพราะอย่างที่รู้ว่าที่นี่เป็นแหล่งขายดอกไม้ มีให้เลือกหลายร้านหลายแบบหลายราคา ลองเปรียบเทียบกันดู รับรองต้องเจอแบบที่ทั้งถูกทั้งใจถูกทั้งราคาแน่นอน  กุหลาบแทนใจ...อยากเก็บไว้หลายๆ วัน1.เมื่อซื้อกุหลาบมาแล้ว ให้เด็ดใบที่ไม่ต้องการออกบ้าง แล้วนำไปแช่ในน้ำ นำไปเก็บในที่ที่อากาศเย็น ไม่มีแดดส่อง ซึ่งการหลีกเลี่ยงไม่ให้กุหลาบถูกแดดก่อนนำไปใช้งานก็เพื่อป้องกันการสังเคราะห์แสง เพราะดอกอาจเปลี่ยนสภาพ และอย่าให้อุณหภูมิของน้ำร้อนหรือเย็นเกินไป 2.อย่าแช่ดอกกุหลาบไว้ในแจกันหรือภาชนะที่ใส่น้ำจนแน่นเกินไป เพราะมีผลต่อการดูดซึมน้ำของดอกกุหลาบ ถ้าแช่ดอกกุหลาบมากเกินไปจนดอกต้องเบียดกันแน่นอาจทำดอกและใบชำ 3.หมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกวัน ดอกกุหลาบก็ชอบน้ำสะอาดๆ เพราะฉะนั้นเวลาทุกครั้งที่เปลี่ยนน้ำอย่าลืมล้างทำความสะอาดแจกันด้วย  4.การตัดก้านกุหลาบเพื่อนำมาปักแจกัน ควรตัดในแนวเฉียง เพราะปลายก้านในลักษณะเฉียงจะช่วยให้ดอกกุหลาบดูดซับน้ำได้มากขึ้น 5.ริดหนามออกก็สามารถช่วยชะลอไม่ให้กุหลาบเฉาเร็วได้ แต่อย่าให้มีรอยฉีกที่ก้านเพราะกลายเป็นว่าจะทำให้ดอกไม้เน่าเร็วแทน  6.ว่ากันว่าถ้าใส่เหรียญสลึงลงในแจกันที่จัดดอกกุหลาบไว้ ส่วนผสมที่เป็นทองแดงในเหรียญจะช่วยยับยั้งเชื้อแบคที่เรียที่อยู่ในแจกัน ทำให้ดอกกุหลาบไม่เหี่ยวเร็ว++++++++

อ่านเพิ่มเติม >