ฉบับที่ 187 สันติ โฉมยงค์ “ถ้าเราไม่ทำแล้วจะมีใครไปทำงาน”

สันติ โฉมยงค์ เภสัชกรชำนาญการกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการตัวเล็กๆ ที่ทำงานคุ้มครองอย่างเข้มแข็งและเต็มไปด้วยสีสัน ต้องมาสะดุดเมื่อถูกผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องราวการทำงานแต่ละช่วงเวลาเป็นตลกร้ายที่พวกเราอาจหัวเราะไม่ออก แต่เมื่อเราถามว่าเขาเริ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่เมื่อไหร่ แววตาคู่นั้นกลับมีประกายอีกครั้ง สันติดเล่าย้อนกลับไปว่า “เริ่มงานด้านผู้บริโภคตอนมาเป็นเภสัชนี่ละครับ  ผมเห็นปัญหาเรื่องของการบริโภคแล้วก็เห็นปัญหาเรื่องของการใช้ยาของชาวบ้าน  แต่ก่อนก็เป็นภสัชที่โรงพยาบาลชุมชน รพ.บ้านหมอ ตอนนั้น รพ.มีวิกฤติ คือเป็นช่วงที่ รพ.เข้าสู่ระบบ 30 บาทใหม่ๆ (ยุคแรกของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) งานมันมากมาย พองานมากๆ เข้าแพทย์ก็เริ่มลาออก ทันตแพทย์ เภสัชก็ลาออกกันหมดเลย ผมก็เป็นรุ่นที่ไปแทน ตอนนั้นเป็นข่าวดังมากที่มีบุคลากรทางการแพทย์ลาออกกันหมด ย้ายหนีกันหมด เราก็พยายามทำงานเชิงรุก เพราะเราเจอปัญหามากเนื่องจากวันหนึ่งๆ มีคนไข้ประมาณ 600 คน มีเตียง 30 เตียง คือบางทีมันจ่ายยาคนเดียวไม่ไหว เราก็พยายามออกไปเยี่ยมบ้าน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตัวเอง แล้วเราก็รู้ ก็ไปเจอว่ามันมีปัญหา ปัญหาที่ซับซ้อนในการใช้ยาของชาวบ้าน เช่น มีกลุ่มทุนในหมู่บ้านที่ต้มยาขายเอง หรือกลุ่มพระสงฆ์ที่ซื้อยาแผนปัจจุบันไปบดทำยาสมุนไพร ก็เลยคิดว่าการไปทำงานเชิงรับในโรงพยาบาลมันช่วยอะไรไม่ได้ ตอนนั้นรู้จักพี่ภาณุโชติ(ภก.ภาณุโชติ ทองยัง) แกก็เลยชวนมาทำปัญหาเรื่องยาไม่เหมาะสมในชุมชน  ซึ่งมันก็พอดีกับที่เจอเราก็เลยออกมาทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค เลยเริ่มที่ รพ.ชุมชนก่อน  แต่ทำงานใน รพ.ชุมชนก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา คือต้องหลังจากที่แพทย์เลิกตรวจแล้ว เวลาหลังบ่ายสองโมงเราถึงจะออกไปทำงานกับชาวบ้านได้ก็ทำอยู่แบบนั้นได้ประมาณสักสามปีก็เลยย้ายไปทำงานที่ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่อุทัยธานี ตอนนั้นก็ทำเต็มตัวเลยนะ ไปทำหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร  ผมเจอเคสหนึ่งตกใจมากเลย คือมีเด็กป่วยแล้วทิ้งเจลแปะหน้าผากลงไปในน้ำ พอดีฝนตกน้ำมันก็ไหล ชาวบ้านไปเจอแล้วเข้าใจว่ากินได้ เขาก็ไปจับมาแล้วก็หุงข้าวเตรียมจะกินละ  ตอนนั้นคิดว่าชาวบ้านเขาไม่รู้จริงๆ เรื่องราวเป็นข่าวใหญ่โตมากเลย เราก็ไปดูเห็นว่านี่มันเจลแปะลดไข้ธรรมดา เลยคิดว่าเราต้องทำงานเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้น อยู่ที่นั่น(อุทัยธานี) ก็ทำเรื่องแก้ปัญหาหน่อไม้ปี๊บ เรื่องการฉีดยาฆ่าแมลงแตงกวาก่อนการเก็บเกี่ยว เช่นพรุ่งนี้จะเก็บเย็นวันนี้ก็จะฉีด เราก็เข้าไปให้ความรู้ ซึ่งตอนหลังพบว่า เราเข้าไปต่อสู้กับระบบทุนใหญ่ บางพื้นที่เขาทำขนาด 50 ไร่  ใช้เครื่องฉีด ใช้รถพ่น เราก็เลยคิดว่าเรื่องการให้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญ พอย้ายมาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา จึงทำเรื่องเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจังหลักๆ มีอะไรบ้างคะมีเครือข่ายโรงเรียน เช่น งาน อย.น้อย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่แทนที่เราจะทำกับเด็กอย่างเดียว ผมเข้าไปทำกับชุมชนด้วย แล้วผมก็ไปชวนชาวบ้านมาเป็นเครือข่ายผู้บริโภคด้วย มาให้ช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหาของชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาใหม่ๆ แล้วคนในชุมชนก็ตอบปัญหาไม่ได้ อันแรกจำได้แม่นว่า มีตัวดูดน้ำ อันนี้เด็กๆ และอาจารย์ที่โรงเรียนจะเป็นคนที่แจ้งมา ตอนแรกคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ผมไปอยู่โรงเรียนหนึ่งเห็นเข้าตกใจมาก เพราะว่าทุกคนในโรงเรียนเล่นไอ้ตัวนี้อยู่ คุณครูก็จะไม่รู้เพราะว่าเด็กจะซ่อนเอาไว้ใต้โต๊ะในลิ้นชัก ครูไม่รู้ แล้วก็กลัวว่าถ้าบอกออกไปจะเป็นความผิด เราเลยไปหาผู้บริหาร ผู้บริหารก็บอกว่าใครมีเอาออกมานะ ไม่เอาออกมาจะมีความผิดปรากฏว่าทั้งโรงเรียน หรือมีอยู่โรงเรียนหนึ่งคือ เด็กกลัวความผิด เลยเอาไปทิ้งไว้ในชักโครก พอเปิดชักโครกมา โอ้โห มันพองเต็ม กลายเป็นส้วมตันทั้งโรงเรียน เราเลยต้องให้ความรู้ว่ามันอันตรายอย่างไร โดยเฉพาะพวกเด็กเล็กๆ ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังเอามากินยังอม  พอพยายามให้ความรู้กับชาวบ้าน เพราะมีเอาไปเล่นที่บ้านด้วย ตอนหลังก็รู้ว่ามันเป็นสินค้าที่ห้ามจำหน่ายอยู่แล้วเพราะผิดกฎหมาย ตอนนั้น สคบ.ออกประกาศมาแล้ว พอเราแจ้งไป สคบ.ก็มากวาดล้างที่อยุธยา แต่ถ้าถามว่าทุกวันนี้ยังมีไหมก็ยังมีอยู่นะแต่มันก็ลดน้อยลง เหมือนชุมชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เวลาผมไปทำงานแบบนี้ผมไม่ได้ไปคนเดียว จะพาชาวบ้านเครือข่ายในชุมชนนั้นไปด้วยให้เขาเห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหา ต่อไปพอเขาเห็นว่าสิ่งใดผิดสังเกตก็จะแจ้งเรา อีกอันที่เราเจอก็คือ เครื่องแช่น้ำน่ะครับ สปาเท้า ที่ต้องเอาเท้าแช่ลงไปแล้วจะมีเครื่องไฟฟ้าอะไรสักอย่างใส่ที่เอวเวลาเปิดกระแสไฟฟ้าจะผ่านตัวน้ำ แล้วน้ำจะเปลี่ยนสี น้ำจะแต่ละสีจะมีการบอกเล่าหรือวินิจฉัยโรคที่ต่างกัน เป็นใบเหมือนเสี่ยงเซียมซี เช่น ถ้าน้ำออกเป็นสีแดงสนิม อันนี้จะเป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ถ้าน้ำออกเป็นสีเขียวเป็นโรคตับเป็นน้ำดี ถ้าเป็นเหลืองๆ โรคน้ำเหลือง ชาวบ้านก็ไปทำสปาเท้ากันเต็มเลย  มีลงพื้นที่แล้วไปเจออยู่วัดหนึ่ง เขาลงทุนซื้อเลยนะครับ วัดก็มีรายได้ คนก็มานั่งแช่กันเป็นชั่วโมง เราก็ไม่ได้นะครับน้ำที่คุณแช่มันไม่สะอาด แล้วมันไม่ใช่ว่าเป็นโรคตับแล้วน้ำมันไหลมาจากเท้า ตอนนั้นถึงขนาดมีปัญหากับวัดเพราะไปทำให้วัดเขาสูญเสียรายได้ แต่ที่หนักสุดของพระนครศรีอยุธยา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานบริการสุขภาพ(คลินิก) เพราะว่าจังหวัดนี้มีนิคมอุตสาหกรรมมาก ประเด็นแรกๆ ที่เราเข้าไปดู เป็นเรื่องของยาลดความอ้วน ประมาณสักปี 52 หรือ 53 มีเจ้าหน้าที่ภาครัฐท่านหนึ่ง กินยาลดความอ้วนจนเสียสติ กินจนเป็นบ้าเลย ทางสำนักงานต้นสังกัดก็ไม่จ้างต่อ (ทุกวันนี้ก็ยังคล้ายๆ คนสติไม่ดีขายผักอยู่ที่ตลาด) เราเห็นแล้วรู้สึกว่า “ปล่อยให้มีอยู่ได้อย่างไร” เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง ผมเริ่มจากการสำรวจก่อนเลยว่ามีแหล่งจำหน่ายกี่แหล่ง แล้วมีช่องทางอะไรบ้าง ไปเจอช่องทางหนึ่ง น่ากลัวมาก คือเจ้าของคลินิกเป็นแพทย์ แพทย์จริงๆ นะครับ เขาใช้วิธีนี้ คือเวลาคนมารักษา เขาจะจ่ายยาให้ ให้คนรักษาเอายาไปขายต่อได้ มันก็เหมือนว่าตัวหมอไม่ผิด เพราะจ่ายยาตามใบสั่ง ถูกไหมฮะ ยาพวกนี้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คนที่ซื้อไปก็เอาไปขายต่อ เป็นยาชุดเลย เช่นยาชุดละ 250 บาท ก็ไปขายต่อชุดละ 300 ช่วงนั้นระบาดไปทั่วอยุธยาเลย “ยาชุดลดความอ้วน” มีน้องคนหนึ่งที่ใช้ยาตอนชุดนี้ตอนเรียนหนังสือน้ำหนัก 50 กิโลกรัมกว่าๆ เขากินยาพวกนี้ 2 ปีกว่าจะจบ เพราะกลัวว่าตอนรับปริญญาแล้วจะไม่สวย พอจบแล้วตอนนี้เลิกกิน แต่น้ำหนักขึ้นมาถึงประมาณ 120 กิโลกรัม  หรือมีอีกคลินิกหนึ่ง ตอนแรกแสดงตนว่าเป็นแพทย์แล้วมีใบประกอบโรคศิลปะด้วย มีบัตรมีอะไรครบ แต่ผมสังเกตว่าบัตรมันไม่เหมือนบัตรแพทย์ แต่เขาก็มาขออนุญาตที่เรานะ คือผมดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ได้ดูเรื่องการออกใบอนุญาต แต่ผมมาเห็นว่ามันผิดสังเกต คิดว่าบัตรนี้มันไม่ใช่แน่ แต่เราก็ยังทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะหมอส่วนใหญ่ต้องบอกว่าเส้นใหญ่ พอดีมีเหตุสาวโรงงานคนหนึ่งกินยาลดน้ำหนักแล้วเสียชีวิต เราเลยได้เข้าไปสืบข่าว ตอนนั้นขอดูหมดเลย ปรากฏว่าเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก คือเขาเคยเป็นนักเรียนแพทย์แล้วเลขที่ติดกันกับเพื่อนซึ่งชื่อเดียวกัน แต่คนละนามสกุล แต่คนที่มาเปิด(คลินิก)ที่นี่น่ะเรียนไม่จบแพทย์ เลยไปเรียนต่อต่างประเทศพอกลับมาก็มาทำธุรกิจแบบนี้ โดยที่เอาใบประกอบวิชาชีพของเพื่อน เพราะชื่อเดียวกันไง ที่นี้เขาก็ถ่ายเอกสารแล้วเปลี่ยนตรงนามสกุล เราก็เลยบอกนี่มันผิดหมดเลยนะ เราจับสังเกตจากเรื่องยา เนื่องจากใช้ยาไม่มีทะเบียน พอมีคนเสียชีวิตเราก็เลยเข้าไปตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เลยถึงบางอ้อว่าบัตรประชาชนก็คนละอย่าง ใบประกอบวิชาชีพตัวจริงก็คนละอย่าง สุดท้ายเราก็แจ้งไปที่ตัวแพทย์จริงๆ ที่อยู่ชลบุรี(ทางเราสอบถามไปที่แพทย์ชื่อนี้ก่อนว่ามีการสั่งซื้อยาเป็นล้านๆ บาทเลย ทางนั้นไม่รู้เรื่อง เราเลยอ๋อแบบนี้ ) จึงให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกัน เรื่องคดีนั้นผมไม่ได้ตามต่อ ส่วนคลินิกก็ถูกปิดไปแล้ว ในส่วนของ สสจ.เราจะเช็คมาตรฐานว่ามีตามเกณฑ์หรือไม่  หากมีการเปิดคลินิก จากนั้นจะมีตรวจประจำปี ปีละครั้งจากนั้นผมก็คิดว่าจะทำอะไรสักอย่างกับยาลดความอ้วนในจังหวัดอยุธยาดี เลยคิดว่าต้องใช้การส่งสายลับไป พวกคลินิกที่มีปัญหาเพิ่งปิดได้หมดเมื่อประมาณสักปีที่แล้ว กว่าจะเข้าไปควบคุมได้มันยาก เพราะยาพวกนี้ต้นทุนต่ำ เขาแค่สั่งของจริงที่มันถูกต้อง 1 กระปุก แต่ที่เหลือก็สั่งจากตลาดมืดมา เวลาเราไปตรวจก็จะนับแค่นี้ 30 เม็ด อ้อ ไม่มีจ่ายเลยนะ แต่ทำไมคนเดินเข้าเดินออกเยอะจังเลย ตั้งแต่วันนั้นมาวันนี้ 10 ปีแล้วผมคิดว่าเราควบคุมได้แล้ว แต่ตอนนี้มาในรูปแบบใหม่ คือไปขายส่งตามอินเทอร์เน็ต เรื่องที่ยังต้องเฝ้าระวัง  หลังจากเรื่องยาลดความอ้วน ก็มีเรื่องธุรกิจตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนเสริม ตอนแรกไม่อยากยุ่งเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นธุรกิจของแพทย์ เหมือนจะคุยกันยาก แต่พอเป็นเรื่องฉีดวัคซีนเสริม ผมเริ่มรับไม่ได้ เหมือนกับว่าเขาต้องการระบายวัคซีนที่ใกล้จะหมดอายุ แล้วโรงพยาบาลที่ทำแบบนี้เป็น รพ.เอกชนใหญ่ๆ ที่อยู่ชานเมืองทั้งนั้นเลย วิธีการคือจะสต็อกของไว้ พอ 3 เดือนหมดอายุก็จะไปเดินสายฉีดตามโรงเรียน คิดดูนักเรียนในเกาะเมืองอยุธยาประมาณ 20,000 คน ต้องมารับการฉีดวัคซีนใกล้หมดอายุน่ะ ไข้หวัด สมองอักเสบ ประมาณนี้ เข้าใจว่าเป็นการระบายของเพราะตอนมาเห็นใส่กล่องโฟมมา ซึ่งมันไม่ได้อยู่แล้วน่ะครับ ผมเจอโรงเรียนแห่งหนึ่ง มีกลุ่มบุคคลนำวัคซีนที่อีก 1 เดือนจะหมดอายุ แล้วใส่กล่องโฟมเปล่าๆ ไม่มีน้ำแข็งอะไรเลยนะ สนนราคาเข็มละ 700 บาท มานำเสนอ เคยเรียกเซลล์มาสอบถาม เขายอมรับว่าเป็นการระบายของ แต่ตัวเขาเองจะทำโดยตรงไม่ได้ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลหรือคลินิกมาพักของไว้ก่อน แล้วให้ รพ.เหล่านี้ทำโครงการตรวจสุขภาพกับโรงเรียน ส่วนโรงเรียนทำเรื่องแจ้งกับผู้ปกครองว่า แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ถ้าจะฉีดก็เข็มละ 700 บาท แต่ส่วนใหญ่ด้วยความไม่รู้และไว้ใจผู้ปกครองก็จะให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนพวกนี้ เราก็สงสารเด็กที่ต้องมาเจ็บตัวโดยใช่เหตุ ตอนนั้นเราก็ออกประชาสัมพันธ์เลยเพื่อเตือนเรื่องพวกนี้ แต่ก็มีเรื่องที่กระทบกระทั่งกันนะ เพราะบางโรงเรียนเขาได้ส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์ เช่น หัวละร้อย นักเรียนจำนวนสองพันก็กินนิ่มเลย เราต้องใช้วิธีการเข้าไปคุย ทำความเข้าใจ ทำหนังสือแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการไปให้ และเรียกพนักงานขายของบริษัทมาปราม ก็ควบคุมได้ระดับหนึ่ง หลังๆ หนักกว่า พอไม่มีการวัคซีนแล้ว คราวนี้เป็นการตรวจสุขภาพนักเรียนเลย เช่น เด็กมัธยมต้องเสียเงินค่าตรวจสุขภาพปีละ 100 บาท ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้เริ่มมาตอนไหน ผมนำเรื่องนี้ไปเสนอในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเลย เสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่า เราควรสร้างเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสุขภาพตามช่วงวัยนะ เด็กวัยไหนควรทดสอบอะไร เช่น ทดสอบสมรรถภาพ สำหรับนักศึกษาทดสอบอะไร ต้องตรวจอะไร เช่น โรคร้ายแรง ก่อนเข้างานตรวจอะไร ผู้สูงอายุตรวจอะไร แต่มันเป็นประเด็นที่ “เงียบ” มากเลย เจอปัญหาแบบนนี้เข้ากับตัวเอง เลยถึงบางอ้อว่า “ประชาชนนี่ละเป็นเหยื่อ” เรื่องราวของเภสัชกรสันติ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บอกเล่าผ่านฉลาดซื้อ ยังคงมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผลจากการทำงานอันเข้มข้นของเขา จนโดยผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท โปรดติดตามในฉบับหน้า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 สันติ โฉมยงค์ “ถ้าเราไม่ทำแล้วจะมีใครไปทำงาน”

สันติ โฉมยงค์ เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการตัวเล็กๆ ที่ทำงานคุ้มครองอย่างเข้มแข็งและเต็มไปด้วยสีสัน ต้องมาสะดุดเมื่อถูกผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องราวการทำงานแต่ละช่วงเวลาเป็นตลกร้ายที่พวกเราอาจหัวเราะไม่ออก แต่เมื่อเราถามว่าเขาเริ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่เมื่อไหร่ แววตาคู่นั้นกลับมีประกายอีกครั้ง สันติดเล่าย้อนกลับไปว่า “เริ่มงานด้านผู้บริโภคตอนมาเป็นเภสัชนี่ละครับ  ผมเห็นปัญหาเรื่องของการบริโภคแล้วก็เห็นปัญหาเรื่องของการใช้ยาของชาวบ้าน  แต่ก่อนก็เป็นภสัชที่โรงพยาบาลชุมชน รพ.บ้านหมอ ตอนนั้น รพ.มีวิกฤติ คือเป็นช่วงที่ รพ.เข้าสู่ระบบ 30 บาทใหม่ๆ (ยุคแรกของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) งานมันมากมาย พองานมากๆ เข้าแพทย์ก็เริ่มลาออก ทันตแพทย์ เภสัชก็ลาออกกันหมดเลย ผมก็เป็นรุ่นที่ไปแทน ตอนนั้นเป็นข่าวดังมากที่มีบุคลากรทางการแพทย์ลาออกกันหมด ย้ายหนีกันหมด เราก็พยายามทำงานเชิงรุก เพราะเราเจอปัญหามากเนื่องจากวันหนึ่งๆ มีคนไข้ประมาณ 600 คน มีเตียง 30 เตียง คือบางทีมันจ่ายยาคนเดียวไม่ไหว เราก็พยายามออกไปเยี่ยมบ้าน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตัวเอง แล้วเราก็รู้ ก็ไปเจอว่ามันมีปัญหา ปัญหาที่ซับซ้อนในการใช้ยาของชาวบ้าน เช่น มีกลุ่มทุนในหมู่บ้านที่ต้มยาขายเอง หรือกลุ่มพระสงฆ์ที่ซื้อยาแผนปัจจุบันไปบดทำยาสมุนไพร ก็เลยคิดว่าการไปทำงานเชิงรับในโรงพยาบาลมันช่วยอะไรไม่ได้ ตอนนั้นรู้จักพี่ภาณุโชติ(ภก.ภาณุโชติ ทองยัง) แกก็เลยชวนมาทำปัญหาเรื่องยาไม่เหมาะสมในชุมชน  ซึ่งมันก็พอดีกับที่เจอเราก็เลยออกมาทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค เลยเริ่มที่ รพ.ชุมชนก่อน   แต่ทำงานใน รพ.ชุมชนก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา คือต้องหลังจากที่แพทย์เลิกตรวจแล้ว เวลาหลังบ่ายสองโมงเราถึงจะออกไปทำงานกับชาวบ้านได้ก็ทำอยู่แบบนั้นได้ประมาณสักสามปีก็เลยย้ายไปทำงานที่ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่อุทัยธานี ตอนนั้นก็ทำเต็มตัวเลยนะ ไปทำหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร  ผมเจอเคสหนึ่งตกใจมากเลย คือมีเด็กป่วยแล้วทิ้งเจลแปะหน้าผากลงไปในน้ำ พอดีฝนตกน้ำมันก็ไหล ชาวบ้านไปเจอแล้วเข้าใจว่ากินได้ เขาก็ไปจับมาแล้วก็หุงข้าวเตรียมจะกินละ  ตอนนั้นคิดว่าชาวบ้านเขาไม่รู้จริงๆ เรื่องราวเป็นข่าวใหญ่โตมากเลย เราก็ไปดูเห็นว่านี่มันเจลแปะลดไข้ธรรมดา เลยคิดว่าเราต้องทำงานเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้น อยู่ที่นั่น(อุทัยธานี) ก็ทำเรื่องแก้ปัญหาหน่อไม้ปี๊บ เรื่องการฉีดยาฆ่าแมลงแตงกวาก่อนการเก็บเกี่ยว เช่นพรุ่งนี้จะเก็บเย็นวันนี้ก็จะฉีด เราก็เข้าไปให้ความรู้ ซึ่งตอนหลังพบว่า เราเข้าไปต่อสู้กับระบบทุนใหญ่ บางพื้นที่เขาทำขนาด 50 ไร่  ใช้เครื่องฉีด ใช้รถพ่น เราก็เลยคิดว่าเรื่องการให้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญ พอย้ายมาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา จึงทำเรื่องเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจังหลักๆ มีอะไรบ้างคะมีเครือข่ายโรงเรียน เช่น งาน อย.น้อย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่แทนที่เราจะทำกับเด็กอย่างเดียว ผมเข้าไปทำกับชุมชนด้วย แล้วผมก็ไปชวนชาวบ้านมาเป็นเครือข่ายผู้บริโภคด้วย มาให้ช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหาของชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาใหม่ๆ แล้วคนในชุมชนก็ตอบปัญหาไม่ได้ อันแรกจำได้แม่นว่า มีตัวดูดน้ำ อันนี้เด็กๆ และอาจารย์ที่โรงเรียนจะเป็นคนที่แจ้งมา ตอนแรกคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ผมไปอยู่โรงเรียนหนึ่งเห็นเข้าตกใจมาก เพราะว่าทุกคนในโรงเรียนเล่นไอ้ตัวนี้อยู่ คุณครูก็จะไม่รู้เพราะว่าเด็กจะซ่อนเอาไว้ใต้โต๊ะในลิ้นชัก ครูไม่รู้ แล้วก็กลัวว่าถ้าบอกออกไปจะเป็นความผิด เราเลยไปหาผู้บริหาร ผู้บริหารก็บอกว่าใครมีเอาออกมานะ ไม่เอาออกมาจะมีความผิดปรากฏว่าทั้งโรงเรียน หรือมีอยู่โรงเรียนหนึ่งคือ เด็กกลัวความผิด เลยเอาไปทิ้งไว้ในชักโครก พอเปิดชักโครกมา โอ้โห มันพองเต็ม กลายเป็นส้วมตันทั้งโรงเรียน เราเลยต้องให้ความรู้ว่ามันอันตรายอย่างไร โดยเฉพาะพวกเด็กเล็กๆ ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังเอามากินยังอม  พอพยายามให้ความรู้กับชาวบ้าน เพราะมีเอาไปเล่นที่บ้านด้วย ตอนหลังก็รู้ว่ามันเป็นสินค้าที่ห้ามจำหน่ายอยู่แล้วเพราะผิดกฎหมาย ตอนนั้น สคบ.ออกประกาศมาแล้ว พอเราแจ้งไป สคบ.ก็มากวาดล้างที่อยุธยา แต่ถ้าถามว่าทุกวันนี้ยังมีไหมก็ยังมีอยู่นะแต่มันก็ลดน้อยลง เหมือนชุมชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เวลาผมไปทำงานแบบนี้ผมไม่ได้ไปคนเดียว จะพาชาวบ้านเครือข่ายในชุมชนนั้นไปด้วยให้เขาเห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหา ต่อไปพอเขาเห็นว่าสิ่งใดผิดสังเกตก็จะแจ้งเรา อีกอันที่เราเจอก็คือ เครื่องแช่น้ำน่ะครับ สปาเท้า ที่ต้องเอาเท้าแช่ลงไปแล้วจะมีเครื่องไฟฟ้าอะไรสักอย่างใส่ที่เอวเวลาเปิดกระแสไฟฟ้าจะผ่านตัวน้ำ แล้วน้ำจะเปลี่ยนสี น้ำจะแต่ละสีจะมีการบอกเล่าหรือวินิจฉัยโรคที่ต่างกัน เป็นใบเหมือนเสี่ยงเซียมซี เช่น ถ้าน้ำออกเป็นสีแดงสนิม อันนี้จะเป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ถ้าน้ำออกเป็นสีเขียวเป็นโรคตับเป็นน้ำดี ถ้าเป็นเหลืองๆ โรคน้ำเหลือง ชาวบ้านก็ไปทำสปาเท้ากันเต็มเลย  มีลงพื้นที่แล้วไปเจออยู่วัดหนึ่ง เขาลงทุนซื้อเลยนะครับ วัดก็มีรายได้ คนก็มานั่งแช่กันเป็นชั่วโมง เราก็ไม่ได้นะครับน้ำที่คุณแช่มันไม่สะอาด แล้วมันไม่ใช่ว่าเป็นโรคตับแล้วน้ำมันไหลมาจากเท้า ตอนนั้นถึงขนาดมีปัญหากับวัดเพราะไปทำให้วัดเขาสูญเสียรายได้ แต่ที่หนักสุดของพระนครศรีอยุธยา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานบริการสุขภาพ(คลินิก) เพราะว่าจังหวัดนี้มีนิคมอุตสาหกรรมมาก ประเด็นแรกๆ ที่เราเข้าไปดู เป็นเรื่องของยาลดความอ้วน ประมาณสักปี 52 หรือ 53 มีเจ้าหน้าที่ภาครัฐท่านหนึ่ง กินยาลดความอ้วนจนเสียสติ กินจนเป็นบ้าเลย ทางสำนักงานต้นสังกัดก็ไม่จ้างต่อ (ทุกวันนี้ก็ยังคล้ายๆ คนสติไม่ดีขายผักอยู่ที่ตลาด) เราเห็นแล้วรู้สึกว่า “ปล่อยให้มีอยู่ได้อย่างไร” เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง ผมเริ่มจากการสำรวจก่อนเลยว่ามีแหล่งจำหน่ายกี่แหล่ง แล้วมีช่องทางอะไรบ้าง ไปเจอช่องทางหนึ่ง น่ากลัวมาก คือเจ้าของคลินิกเป็นแพทย์ แพทย์จริงๆ นะครับ เขาใช้วิธีนี้ คือเวลาคนมารักษา เขาจะจ่ายยาให้ ให้คนรักษาเอายาไปขายต่อได้ มันก็เหมือนว่าตัวหมอไม่ผิด เพราะจ่ายยาตามใบสั่ง ถูกไหมฮะ ยาพวกนี้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คนที่ซื้อไปก็เอาไปขายต่อ เป็นยาชุดเลย เช่นยาชุดละ 250 บาท ก็ไปขายต่อชุดละ 300 ช่วงนั้นระบาดไปทั่วอยุธยาเลย “ยาชุดลดความอ้วน” มีน้องคนหนึ่งที่ใช้ยาตอนชุดนี้ตอนเรียนหนังสือน้ำหนัก 50 กิโลกรัมกว่าๆ เขากินยาพวกนี้ 2 ปีกว่าจะจบ เพราะกลัวว่าตอนรับปริญญาแล้วจะไม่สวย พอจบแล้วตอนนี้เลิกกิน แต่น้ำหนักขึ้นมาถึงประมาณ 120 กิโลกรัม  หรือมีอีกคลินิกหนึ่ง ตอนแรกแสดงตนว่าเป็นแพทย์แล้วมีใบประกอบโรคศิลปะด้วย มีบัตรมีอะไรครบ แต่ผมสังเกตว่าบัตรมันไม่เหมือนบัตรแพทย์ แต่เขาก็มาขออนุญาตที่เรานะ คือผมดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ได้ดูเรื่องการออกใบอนุญาต แต่ผมมาเห็นว่ามันผิดสังเกต คิดว่าบัตรนี้มันไม่ใช่แน่ แต่เราก็ยังทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะหมอส่วนใหญ่ต้องบอกว่าเส้นใหญ่ พอดีมีเหตุสาวโรงงานคนหนึ่งกินยาลดน้ำหนักแล้วเสียชีวิต เราเลยได้เข้าไปสืบข่าว ตอนนั้นขอดูหมดเลย ปรากฏว่าเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก คือเขาเคยเป็นนักเรียนแพทย์แล้วเลขที่ติดกันกับเพื่อนซึ่งชื่อเดียวกัน แต่คนละนามสกุล แต่คนที่มาเปิด(คลินิก)ที่นี่น่ะเรียนไม่จบแพทย์ เลยไปเรียนต่อต่างประเทศพอกลับมาก็มาทำธุรกิจแบบนี้ โดยที่เอาใบประกอบวิชาชีพของเพื่อน เพราะชื่อเดียวกันไง ที่นี้เขาก็ถ่ายเอกสารแล้วเปลี่ยนตรงนามสกุล เราก็เลยบอกนี่มันผิดหมดเลยนะ เราจับสังเกตจากเรื่องยา เนื่องจากใช้ยาไม่มีทะเบียน พอมีคนเสียชีวิตเราก็เลยเข้าไปตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เลยถึงบางอ้อว่าบัตรประชาชนก็คนละอย่าง ใบประกอบวิชาชีพตัวจริงก็คนละอย่าง สุดท้ายเราก็แจ้งไปที่ตัวแพทย์จริงๆ ที่อยู่ชลบุรี(ทางเราสอบถามไปที่แพทย์ชื่อนี้ก่อนว่ามีการสั่งซื้อยาเป็นล้านๆ บาทเลย ทางนั้นไม่รู้เรื่อง เราเลยอ๋อแบบนี้ ) จึงให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกัน เรื่องคดีนั้นผมไม่ได้ตามต่อ ส่วนคลินิกก็ถูกปิดไปแล้ว ในส่วนของ สสจ.เราจะเช็คมาตรฐานว่ามีตามเกณฑ์หรือไม่  หากมีการเปิดคลินิก จากนั้นจะมีตรวจประจำปี ปีละครั้งจากนั้นผมก็คิดว่าจะทำอะไรสักอย่างกับยาลดความอ้วนในจังหวัดอยุธยาดี เลยคิดว่าต้องใช้การส่งสายลับไป พวกคลินิกที่มีปัญหาเพิ่งปิดได้หมดเมื่อประมาณสักปีที่แล้ว กว่าจะเข้าไปควบคุมได้มันยาก เพราะยาพวกนี้ต้นทุนต่ำ เขาแค่สั่งของจริงที่มันถูกต้อง 1 กระปุก แต่ที่เหลือก็สั่งจากตลาดมืดมา เวลาเราไปตรวจก็จะนับแค่นี้ 30 เม็ด อ้อ ไม่มีจ่ายเลยนะ แต่ทำไมคนเดินเข้าเดินออกเยอะจังเลย ตั้งแต่วันนั้นมาวันนี้ 10 ปีแล้วผมคิดว่าเราควบคุมได้แล้ว แต่ตอนนี้มาในรูปแบบใหม่ คือไปขายส่งตามอินเทอร์เน็ต เรื่องที่ยังต้องเฝ้าระวัง หลังจากเรื่องยาลดความอ้วน ก็มีเรื่องธุรกิจตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนเสริม ตอนแรกไม่อยากยุ่งเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นธุรกิจของแพทย์ เหมือนจะคุยกันยาก แต่พอเป็นเรื่องฉีดวัคซีนเสริม ผมเริ่มรับไม่ได้ เหมือนกับว่าเขาต้องการระบายวัคซีนที่ใกล้จะหมดอายุ แล้วโรงพยาบาลที่ทำแบบนี้เป็น รพ.เอกชนใหญ่ๆ ที่อยู่ชานเมืองทั้งนั้นเลย วิธีการคือจะสต็อกของไว้ พอ 3 เดือนหมดอายุก็จะไปเดินสายฉีดตามโรงเรียน คิดดูนักเรียนในเกาะเมืองอยุธยาประมาณ 20,000 คน ต้องมารับการฉีดวัคซีนใกล้หมดอายุน่ะ ไข้หวัด สมองอักเสบ ประมาณนี้ เข้าใจว่าเป็นการระบายของเพราะตอนมาเห็นใส่กล่องโฟมมา ซึ่งมันไม่ได้อยู่แล้วน่ะครับ ผมเจอโรงเรียนแห่งหนึ่ง มีกลุ่มบุคคลนำวัคซีนที่อีก 1 เดือนจะหมดอายุ แล้วใส่กล่องโฟมเปล่าๆ ไม่มีน้ำแข็งอะไรเลยนะ สนนราคาเข็มละ 700 บาท มานำเสนอ เคยเรียกเซลล์มาสอบถาม เขายอมรับว่าเป็นการระบายของ แต่ตัวเขาเองจะทำโดยตรงไม่ได้ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลหรือคลินิกมาพักของไว้ก่อน แล้วให้ รพ.เหล่านี้ทำโครงการตรวจสุขภาพกับโรงเรียน ส่วนโรงเรียนทำเรื่องแจ้งกับผู้ปกครองว่า แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ถ้าจะฉีดก็เข็มละ 700 บาท แต่ส่วนใหญ่ด้วยความไม่รู้และไว้ใจผู้ปกครองก็จะให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนพวกนี้ เราก็สงสารเด็กที่ต้องมาเจ็บตัวโดยใช่เหตุ ตอนนั้นเราก็ออกประชาสัมพันธ์เลยเพื่อเตือนเรื่องพวกนี้ แต่ก็มีเรื่องที่กระทบกระทั่งกันนะ เพราะบางโรงเรียนเขาได้ส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์ เช่น หัวละร้อย นักเรียนจำนวนสองพันก็กินนิ่มเลย เราต้องใช้วิธีการเข้าไปคุย ทำความเข้าใจ ทำหนังสือแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการไปให้ และเรียกพนักงานขายของบริษัทมาปราม ก็ควบคุมได้ระดับหนึ่ง หลังๆ หนักกว่า พอไม่มีการวัคซีนแล้ว คราวนี้เป็นการตรวจสุขภาพนักเรียนเลย เช่น เด็กมัธยมต้องเสียเงินค่าตรวจสุขภาพปีละ 100 บาท ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้เริ่มมาตอนไหน ผมนำเรื่องนี้ไปเสนอในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเลย เสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่า เราควรสร้างเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสุขภาพตามช่วงวัยนะ เด็กวัยไหนควรทดสอบอะไร เช่น ทดสอบสมรรถภาพ สำหรับนักศึกษาทดสอบอะไร ต้องตรวจอะไร เช่น โรคร้ายแรง ก่อนเข้างานตรวจอะไร ผู้สูงอายุตรวจอะไร แต่มันเป็นประเด็นที่ “เงียบ” มากเลย เจอปัญหาแบบนนี้เข้ากับตัวเอง เลยถึงบางอ้อว่า “ประชาชนนี่ละเป็นเหยื่อ” เรื่องราวของเภสัชกรสันติ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บอกเล่าผ่านฉลาดซื้อ ยังคงมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผลจากการทำงานอันเข้มข้นของเขา จนโดยผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท โปรดติดตามในฉบับหน้า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point