ฉบับที่ 238 สารกันบูดในหมูหมัก (หมูกระทะ) จังหวัดขอนแก่น

        อาหารยอดฮิตที่เวลานัดเจอกันยามปาร์ตี้จะมีอะไรดีไปกว่าหมูกระทะ ปิ้งย่างเพลินๆ กินไปคุยไปถูกใจสายกินยิ่งนัก นิยมกันชนิดไม่ต้องไปร้านก็ได้ แค่สั่งซื้อหมูหมักซึ่งเป็นทีเด็ดของแต่ละร้านมาอร่อยกันที่บ้านก็ทำได้ง่าย แสนสะดวกสบาย ยิ่งใกล้ปีใหม่คิดว่าเมนูนี้น่าจะมาวิน         อย่างไรก็ตาม รู้หรือไม่ว่าบางร้านหมูกระทะเวลาที่เขาหมักหมูนอกจากจะใช้เครื่องปรุงหรือซอสสารพัดอย่างแล้ว อาจมีของแถมเป็นผงสารกันบูดยอดนิยมอย่างกรดเบนโซอิก(ซึ่งหาซื้อง่าย) ผสมเข้าไปด้วยเพื่อให้มั่นใจว่าหมูจะไม่เน่าไปก่อนขายหมด ปัญหาคือผลิตภัณฑ์หมูหมักไม่ควรเติมสารกันบูด เพราะธรรมดามันก็ปนเปื้อนจากเครื่องปรุงหรือซอสอยู่บ้างแล้ว ยิ่งคนหมักหมูไม่มีความรู้ นำสารกันบูดมาผสมแบบนึกจะใส่ก็ใส่เข้าไปอีก แบบนี้ความเสี่ยงที่ผู้บริโภคอาจได้รับสารกันบูดมากเกินไปก็สูงลิ่วกลายเป็นยิ่งอร่อยยิ่งเสี่ยงภัย         เรื่องสารกันบูดในหมูหมักจึงถูกนำเสนอเข้าสู่แผนการเก็บตัวอย่างเพื่อการเฝ้าระวังฯ โดยเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่น เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทางเครือข่ายฯ พบว่าชาวบ้านนิยมกันมาก นิตยสารฉลาดซื้อ เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดขอนแก่นและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงร่วมกันดำเนินการเก็บตัวอย่าง เนื้อหมูหมัก จากร้านหมูกระทะในจังหวัดขอนแก่นจำนวนทั้งสิ้น 21 ร้าน ส่งห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองมาตรฐานเพื่อหาการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และสารบอแรกซ์ โดยเก็บตัวอย่างปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เอาละดูกันสิว่าเจอมากน้อยแค่ไหน สรุปผลทดสอบ         ร้อยละ 85.7 เราพบสารกันบูด กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) หรือพบ 18 จาก 21 ตัวอย่าง มีเพียง 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 14) ที่ไม่พบการปนเปื้อน   การตรวจพบวัตถุกันเสียกลุ่มเบนโซเอต แบ่งเป็นสารสองชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิก INS 210 และ โซเดียมเบนโซเอต INS 211 ถึงร้อยละ 86 ของกลุ่มตัวอย่างหมูหมักนั้นมีได้สองเหตุผล คือ         1.เกิดจากการใช้เครื่องปรุงรสต่าง ๆ เช่น ซีอิ๊วขาว ซอสปรุงรส ซอสหอยนางรม ฯลฯ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่อนุญาตให้มีการใช้การกันเสียเพื่อควบคุมคุณภาพ กรณีนี้จะพบวัตถุกันเสียในปริมาณไม่มากและแม้ว่าจะหมักเนื้อหมูรับประทานเองที่บ้าน ก็พบการปนเปื้อนได้เช่นกัน         2.เกิดจากการจงใจผสมวัตถุกันเสียลงไปในการหมักของผู้ขาย เพื่อต้องการควบคุมไม่ให้หมูเน่าเสียก่อนที่จะขายหมดหรือมีสภาพไม่สวยงาม เช่น มีสีเขียวคล้ำ ซึ่งจะพบการปนเปื้อนกรดเบนโซอิกในปริมาณสูง (มากกว่า 100 มก./ 1 กก.)          ส่วนการทดสอบสารบอแรกซ์ ไม่พบในทุกตัวอย่างเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2563 ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบ ‘สารกันบูด – ปริมาณไขมัน’ ในน้ำสลัดครีม แนะควรเลือกแบบไขมันต่ำ เพื่อไม่ให้ไขมันต่อวันเกิน

        ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลตรวจวิเคราะห์สารกันบูดและปริมาณไขมันในสลัดครีม 17 ตัวอย่าง พบสารกันบูดเกินเกณฑ์มาตรฐาน 1 ตัวอย่าง และมีการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์ทุกยี่ห้อ แนะผู้บริโภคอ่านข้อมูลการใช้วัตถุกันเสีย ปริมาณโซเดียมและไขมัน ฉลาดซื้อแนะควรดูปริมาณไขมันก่อนรับประทาน         วันนี้ (5 ต.ค.63) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบปริมาณวัตถุกันเสีย และปริมาณไขมัน ในผลิตภัณฑ์สลัดครีม 17 ตัวอย่าง ที่สุ่มเก็บจากร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าทั่วไปใน กทม.         โดยจากผลตรวจปริมาณไขมันในผลิตภัณฑ์สลัดครีม พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สลัดครีมที่มีปริมาณไขมันทั้งหมด (ต่อน้ำสลัด 100 กรัม) น้อยที่สุด ได้แก่ อเมริกัน คลาสสิค แรนส์ น้ำสลัด (American Classic Ranch)  ตรวจพบปริมาณไขมันทั้งหมด เท่ากับ 2.34 กรัม ต่อน้ำสลัด 100 กรัม และ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์สลัดครีมที่มีปริมาณไขมันทั้งหมด (ต่อน้ำสลัด 100 กรัม) มากที่สุด ได้แก่ สลัดครีม คิวพี ตรวจพบปริมาณไขมันทั้งหมด เท่ากับ 48.33 กรัม ต่อน้ำสลัด 100 กรัม         ในขณะเดียวกัน มีผลิตภัณฑ์สลัดครีม 1 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก รวมกันเกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ อเมริกัน คลาสสิค แรนส์ น้ำสลัด (American Classic Ranch) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก เท่ากับ 664.14  มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ ปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ 569.47 มิลลิกรัม/กิโลกรัม รวมปริมาณวัตถุกันเสียทั้งสองชนิด เท่ากับ 1,233.61 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ซึ่งเกินเกณฑ์มาตรฐาน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้กำหนดในบัญชีแนบท้ายประกาศฯ อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic acid) ชนิดละไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ในหมวดอาหารประเภทซอสและผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกัน หากการใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง         น้ำสลัดสูตรดั้งเดิมรวมถึงที่ปรับเป็นสไตล์ญี่ปุ่นจะมีความอร่อยทั้งเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม สูตรที่มีความดั้งเดิมสูงจึงมีไขมันในปริมาณสูง ทั้งนี้ การบริโภคสูตรที่มีปริมาณไขมันสูงที่สุดคราวหนึ่งจะได้รับไขมันถึงประมาณ 15 กรัม คิดร้อยละ 69 ของไขมันที่ควรกินไม่เกินในมื้อนั้น ซึ่งก็คงต้องระมัดระวังไขมันจากอาหารอื่นในมื้อนั้นไม่ให้สูงมาก ดังนั้น การเลือกกินสูตรที่ปริมาณไขมันต่ำกว่า ย่อมให้โอกาสกินอาหารอย่างอื่นได้มากขึ้น อย่างไรก้ตาม บนฉลากน้ำสลัดส่วนใหญ่ระบุว่าใช้น้ำมันถั่วเหลืองทำให้ตัดข้อกังวลเรื่องไขมันอิ่มตัวที่อาจได้รับมากเกินไปได้         ทั้งนี้ การเลือกผลิตภัณฑ์ประเภทสลัดครีม นอกจากรสชาติที่ชื่นชอบแล้ว ผู้บริโภคอาจพิจารณาข้อมูลบนฉลากเพิ่มเติม เช่น ปริมาณโซเดียมต่อหนึ่งหน่วยบริโภคที่แนะนำ ข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียว่ามีการใช้วัตถุกันเสียหรือไม่ หรือเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้วัตถุกันเสียเลย เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ ซึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงที่แนะนำของน้ำสลัดประเภทต่าง ๆ อยู่ที่ 30 กรัม โดยผู้บริโภคสามารถอ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่เว็บไซต์นิตยสารฉลาดซื้อ https://www.chaladsue.com/article/3452

อ่านเพิ่มเติม >

ตรวจ ‘น้ำพริกหนุ่ม’ รอบ 2 พบ สารกันบูดเกินมาตรฐานน้อยลง

ฉลาดซื้อ จับมือ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ตรวจ ‘น้ำพริกหนุ่ม’ รอบ 2 พบ สารกันบูดเกินมาตรฐานน้อยลง        ฉลาดซื้อ และ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ตรวจซ้ำ ‘สารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม’ รอบ 2 พบ น้ำพริกหนุ่ม 7 ตัวอย่างตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิด และมีน้ำพริกหนุ่ม 8 ตัวอย่าง ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน ส่วนอีก 8 ตัวอย่าง ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน ขณะที่มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ยี่ห้อที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้ง 2 รอบ คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา         นิตยสารฉลาดซื้อ ร่วมกับ เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ สุ่มตรวจน้ำพริกหนุ่มครั้งที่ 2 โดยแบ่งกลุ่มสินค้าตัวอย่างเป็นยี่ห้อเดิมที่เคยตรวจเมื่อเดือนมิถุนายน 2562 (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม) จำนวน 11 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างใหม่จำนวน 12 ตัวอย่าง เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ถึงเดือนมีนาคม 2563 โดยนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง      สารี อ๋องสมหวัง บรรณาธิการบริหารนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ผลการทดสอบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกหรือกรดซอร์บิกเลย กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน และ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน           กลุ่มที่ 1 ตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดเลย จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ 2) น้ำพริกหนุ่ม วนัสนันท์ สูตรดั้งเดิม จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ 3) น้ำพริกหนุ่ม จ่าเหลาหมูทอด จากตลาดโต้รุ่งข้างลานเจ้าแม่ลำพูน 4) น้ำพริกหนุ่มแม่ลัด จาก จ.ลำพูน 5) น้ำพริกหนุ่ม ครัวไส้อั่วแม่บุญนาค จาก จ.ลำพูน 6) น้ำพริกหนุ่มเปมิกา จากร้านเปมิกา ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา และ 7) น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา สูตรโบราณ จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย         กลุ่มที่ 2 ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน จำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) มารศรี น้ำพริกหนุ่ม สูตรดั้งเดิมจากร้านแม่ทองปอน ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 115.25 มก./กก. 2) นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 133.16 มก./กก. 3) แม่อุ่นเรือน จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 187.17 มก./กก. 4) นันทวัน น้ำพริกหนุ่มเจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 282.66 มก./กก. 5) น้ำพริกหนุ่มอำพัน จากร้านข้าวแต๋นของฝาก จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 302.10 มก./กก. 6) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จากร้านดำรงค์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 382.19 มก./กก. 7) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้ว จากกาดขัวมุง จ.ลำพูน พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 430.18 มก./กก. และ 8) น้ำพริกหนุ่ม ตรา ศุภลักษณ์ (รสเผ็ดมาก) จากร้านแม่ทองปอน ตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 524.59 มก./กก.        ส่วนผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มในกลุ่มที่ 3 ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน พบจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่ 1) เจ๊หงษ์ จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 515.13 มก./กก. 2) ร้านแคบหมู รัตติกรณ์ จากตลาดพะเยาอาเขต จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 577.71 มก./กก. 3) น้ำพริกหนุ่มอุมา จากตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1152.12 มก./กก. 4) น้ำพริกหนุ่มดวงกมล สูตรดั้งเดิม จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1262.21 มก./กก. 5) ประชันฟาร์ม จากร้านแม่สมใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 1346.65 มก./กก. 6) บัวลักษณ์ จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3007.29 มก./กก. 7) คุณถนอม จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3370.82 มก./กก. และ 8) น้ำพริกหนุ่ม แม่ประกาย จากร้านยาใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่ พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 4647.98 มก./กก. ในส่วนของผลการเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์น้ำพริกหนุ่มจากการตรวจครั้งที่ 2 และ 3 สรุปได้ ดังนี้        • มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้งสองครั้ง คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา        • มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่เคยตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานในครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้ไม่เกินมาตรฐาน คือ นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) และ น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค          • มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง  (แต่ครั้งล่าสุด ตรวจพบปริมาณสารกันบูดน้อยลง แต่ก็ยังคงเกินมาตรฐาน) คือ เจ๊หงษ์ และ น้ำพริกหนุ่มอุมา         ทั้งนี้ หากลองเปรียบเทียบสัดส่วนผลตรวจปริมาณสารกันบูดที่เกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง จะพบว่า ในครั้งที่แล้ว (เดือนมิถุนายน 2562) ผลตรวจน้ำพริกหนุ่มทั้งหมด 17 ตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.17 และในครั้งนี้ จากทั้งหมด 23 ตัวอย่าง พบว่า มีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.78 ซึ่งน้อยลงกว่าครั้งก่อน     ด้าน พวงทอง ว่องไว เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่า ผลการเฝ้าระวังที่ออกมาครั้งนี้จะพบว่ามีผู้ประกอบการส่วนมากได้มีการปรับคปรุงคุณภาพของสินค้าได้ดีขึ้น ส่วนนี้ต้องขอบคุณในความใส่ใจเพื่อผลิตอาหารที่ปลอดภัยออกมาจำหน่ายให้กับผู้บริโภค และในบางผลิตภัณฑ์ที่ยังพบอยู่นั้น คงต้องขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการในการพัฒนาสูตรและการผลิตต่อไป ส่วนเครือข่ายผู้บริโภคจะทำหน้าที่เฝ้าระวังสินค้าต่างๆ ต่อไปเพื่อกระตุ้นให้ผู้ผลิตให้ความสำคัญและผลิตสินค้าออกมาจำหน่ายให้มีความปลอดภัยต่อการบริโภคอ่านผลทดสอบฉบับเต็มได้ที่ ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 229 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม

        หากยังจำกันได้ ฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ของฝากจากภาคต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์วัตถุเจือปนอาหาร เช่น สารกันบูด สีผสมอาหาร หรือการปนเปื้อนของโลหะหนักจำพวกตะกั่ว-แคดเมียม เพื่อผู้บริโภคจะได้นำข้อมูลผลทดสอบไปใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อของฝากได้อย่างมั่นใจมากขึ้น โดยของฝากจากภาคต่างๆ ที่ฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบ ได้แก่ โรตีสายไหม จากภาคกลาง, น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จากภาคอีสาน, แกงไตปลาแห้ง จากภาคใต้และน้ำพริกหนุ่ม จากภาคเหนือ ซึ่งในฉบับนี้จะเป็นการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มซ้ำอีกครั้ง        น้ำพริกหนุ่มจัดเป็นอาหารที่บูดเสียง่าย เก็บได้ไม่นาน โดยเฉพาะหากเก็บไว้ในที่ๆ อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ หากลองชิมแล้วพบว่าน้ำพริกหนุ่มมีรสเปรี้ยว แปลว่าบูดแล้ว ไม่ควรนำมารับประทาน ดังนั้นการถนอมน้ำพริกหนุ่มให้อยู่ได้นาน ผู้ผลิตอาจใช้สารกันบูดเป็นตัวช่วยในการยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งหากใช้สารกันบูดในปริมาณที่ถูกต้องเหมาะสมก็จะมีความปลอดภัย แต่หากใช้เกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้         ฉลาดซื้อและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ ได้ดำเนินการเฝ้าระวังสินค้าตาม โครงการสนับสนุนระบบการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม จำนวน 23 ตัวอย่าง จากร้านขายของฝากและตลาดต่างๆ ในจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มที่นำมาส่งตรวจวิเคราะห์นั้นมีทั้งแบบตักชั่งน้ำหนักใส่ถุงขาย และแบบบรรจุในบรรจุภัณฑ์ปิดสนิท         เราแบ่งกลุ่มสินค้าตัวอย่างเป็นยี่ห้อเดิมที่เคยตรวจ เมื่อเดือนมิถุนายน 2562  (ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่ม ภาค 2) จำนวน 11 ตัวอย่าง และกลุ่มตัวอย่างใหม่จำนวน 12 ตัวอย่าง โดยนำตัวอย่างผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มส่งตรวจวิเคราะห์หาปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง         โดยผลการทดสอบปรากฏดังตารางที่ 1 ซึ่งแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มทั้ง 23 ตัวอย่าง โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ตรวจไม่พบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิกหรือกรดซอร์บิกเลย  กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบสารกันบูด แต่ไม่เกินมาตรฐาน และ กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน สรุปผลการทดสอบ         ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) ได้อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) ไว้ไม่เกิน 500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และวัตถุกันเสียประเภท กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) ไว้ไม่เกิน 1000 มก./กก. ในหมวดอาหารประเภทเครื่องปรุงรส เช่น น้ำพริกพร้อมบริโภค น้ำพริกสำหรับคลุกข้าว น้ำพริกกะปิ          จากตารางผลตรวจวิเคราะห์ พบว่า         กลุ่มที่ 1 ตรวจไม่พบวัตถุกันเสียทั้งสองชนิดเลย จำนวน 7 ตัวอย่าง ได้แก่           1) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่          2) น้ำพริกหนุ่ม วนัสนันท์ สูตรดั้งเดิม จากตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่          3) น้ำพริกหนุ่ม จ่าเหลาหมูทอด จากตลาดโต้รุ่งข้างลานเจ้าแม่ลำพูน          4) น้ำพริกหนุ่มแม่ลัด จาก จ.ลำพูน          5) น้ำพริกหนุ่ม ครัวไส้อั่วแม่บุญนาค จาก จ.ลำพูน          6) น้ำพริกหนุ่มเปมิกา จากร้านเปมิกา ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยาและ    7) น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา สูตรโบราณ จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย          กลุ่มที่ 2 ตรวจพบสารกันบูดแต่ไม่เกินมาตรฐาน จำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่          8) มารศรี น้ำพริกหนุ่ม สูตรดั้งเดิม จากร้านแม่ทองปอน ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 115.25 มก./กก.          9) นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 133.16 มก./กก.          10) แม่อุ่นเรือน จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 187.17 มก./กก.          11) นันทวัน น้ำพริกหนุ่มเจียงฮาย สูตรดั้งเดิม จาก บจก.นันท์ธินี จ.เชียงราย               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 282.66 มก./กก.          12) น้ำพริกหนุ่มอำพัน จากร้านข้าวแต๋นของฝาก จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 302.10 มก./กก.          13) น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์ จากร้านดำรงค์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 382.19 มก./กก.          14) น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้ว จากกาดขัวมุง จ.ลำพูน               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 430.18 มก./กก.และ    15) น้ำพริกหนุ่ม ตรา ศุภลักษณ์ (รสเผ็ดมาก) จากร้านแม่ทองปอน ตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 524.59 มก./กก. และมีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่มในกลุ่มที่ 3 ซึ่ง ตรวจพบปริมาณวัตถุกันเสียเกินมาตรฐาน พบจำนวน 8 ตัวอย่าง ได้แก่          16) เจ๊หงษ์ จากร้านเจ๊หงษ์ ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 515.13 มก./กก.           17) ร้านแคบหมู รัตติกรณ์ จากตลาดพะเยาอาเขต จ.พะเยา                พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 577.71 มก./กก.          18) น้ำพริกหนุ่มอุมา จากตลาดสดแม่ทองคำ จ.พะเยา               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1152.12 มก./กก.          19) น้ำพริกหนุ่มดวงกมล สูตรดั้งเดิม จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 1262.21 มก./กก.          20) ประชันฟาร์ม จากร้านแม่สมใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดซอร์บิก เท่ากับ 1346.65 มก./กก.          21) บัวลักษณ์ จากร้านขายของฝาก (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3007.29 มก./กก.          22) คุณถนอม จากตลาดสดอัศวิน จ.ลำปาง               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 3370.82 มก./กก.และ    23) น้ำพริกหนุ่ม แม่ประกาย จากร้านยาใจ (สามแยกเด่นชัย) จ.แพร่               พบปริมาณ กรดเบนโซอิก เท่ากับ 4647.98 มก./กก.          ผลการเปรียบเทียบการตรวจวิเคราะห์น้ำพริกหนุ่มจากการตรวจครั้งที่ 2 และ 3         เมื่อเปรียบเทียบปริมาณสารกันบูดของผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 11 ตัวอย่าง ที่เคยสุ่มตรวจครั้งที่ 2 (เมื่อเดือน มิถุนายน 2562) กับในครั้งนี้ จะปรากฏผลดังตารางต่อไปนี้           สรุป          - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดเลยทั้งสองครั้ง คือ น้ำพริกหนุ่มอุ้ยคำ (ตราขันโตก) และ น้ำพริกหนุ่ม ตรา วรรณภา        - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่เคยตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานในครั้งที่แล้ว แต่ครั้งนี้ไม่เกินมาตรฐาน คือ นิชา (เจ๊หงษ์ น้ำพริกหนุ่ม) และ น้ำพริกหนุ่ม ร้านดำรงค์         - มีผลิตภัณฑ์น้ำพริกหนุ่ม 2 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง  (แต่ครั้งล่าสุด ตรวจพบปริมาณสารกันบูดน้อยลง แต่ก็ยังคงเกินมาตรฐาน) คือ เจ๊หงษ์ และ น้ำพริกหนุ่มอุมา                ทั้งนี้ หากลองเปรียบเทียบสัดส่วนผลตรวจปริมาณสารกันบูดที่เกินมาตรฐานทั้งสองครั้ง จะพบว่า ในครั้งที่แล้ว (มิ.ย.62) ผลตรวจน้ำพริกหนุ่มทั้งหมด 17 ตัวอย่าง พบมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 41.17 และในครั้งนี้ จากทั้งหมด 23 ตัวอย่าง พบมีปริมาณสารกันบูดเกินมาตรฐาน 8 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 34.78 ซึ่งน้อยลงกว่าครั้งก่อน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 กุนเชียงกับสารตรึงสีและสารกันบูด

        ไส้กรอก แฮม แหนม กุนเชียง หมูยอ เป็นเนื้อสัตว์แปรรูปที่คนไทยนิยมทาน นอกจากอร่อยแล้วยังสะดวกในการปรุงด้วย เพราะเพียงแค่อุ่นร้อนไม่กี่นาทีก็รับประทานได้ และยังหาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป รวมถึงการซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือเมื่อเดินทางท่องเที่ยว นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้เคยเก็บตัวอย่างและทดสอบสินค้าในกลุ่มนี้หลายชนิด ทั้งไส้กรอก หมูยอ แหนม  ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ดี ปลอดภัย อีกทั้งในรายที่ตกมาตรฐาน ก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น         ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังสินค้ากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ทางโครงการฯ และนิตยสารฉลาดซื้อ จึงเก็บตัวอย่างสินค้า กุนเชียง ซึ่งเป็นไส้กรอกประเภทหนึ่ง ซึ่งนิยมรับประทานกันมากและจัดเป็นของฝากของภาคอีสานมาทดสอบ ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทีมอาสาสมัครจากเครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน ในการเก็บตัวอย่าง กุนเชียงจำนวน 19 ตัวอย่าง เดือนธันวาคม 2562 โดยเน้นพื้นที่โซนภาคอีสาน ได้แก่ กุนเชียงหมู 9  ตัวอย่าง  กุนเชียงไก่  5  ตัวอย่าง และกุนเชียงปลา 5 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารตรึงสี(ช่วยให้มีสีแดงสวยและป้องกันการเน่าเสีย) และวัตถุกันเสีย สองชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก มาดูกันว่า ผลทดสอบเป็นเช่นไร        กุนเชียง ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่มีต้นกำเนิดมาจากจีน จัดเป็นไส้กรอกประเภทหนึ่ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า  Chinese sausage หรือ ไส้กรอกจีน ดั้งเดิมมีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อหมูและมันหมู โดยเนื้อสำหรับทำกุนเชียงจะเป็นเนื้อหมูที่บดหยาบกว่าเนื้อหมูที่ทำไส้กรอก แต่ปัจจุบันอาจผลิตจากเนื้อสัตว์อื่น เช่น ไก่ ปลา ซึ่งในการผลิตกุนเชียงผู้ผลิตบางรายอาจเติมเกลือไนไตรท์และเกลือไนเตรทเข้าไปด้วย เพื่อเป็นสารกันเสียและตรึงสีทำให้กุนเชียงมีสีแดงน่าทาน และอาจเติมวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและซอร์บิก เพื่อให้สินค้าคงสภาพได้นานขึ้นเก็บตัวอย่างเดือนธันวาคม 2562สรุปผลทดสอบ                   สรุปผลทดสอบ        จากการทดสอบกุนเชียง จำนวน 19 ตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้        -          กุนเชียงทุกตัวอย่างปลอดภัย ไม่มีวัตถุเจือปนอาหาร ไนไตรท์ ไนเตรท กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เกินค่ามาตรฐาน        -          ไม่พบไนไตรท์ใน 18 ตัวอย่าง พบน้อยกว่า 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 1 ตัวอย่าง          -          พบไนเตรทเล็กน้อย ที่ค่าเฉลี่ย 11.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และไม่พบเลย 7 ตัวอย่าง        -          พบกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่เกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้แจ้งไว้บนผลิตภัณฑ์ (การพบปริมาณกรดเบนโซอิกเพียงเล็กน้อย เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบ มิได้เกิดจากการตั้งใจใช้เพื่อป้องกันการเน่าเสีย)  วิธีเลือกซื้อกุนเชียง        1.เลือกที่เนื้อแน่น คงรูป ไม่มีโพรงอากาศ เนื้อมีความนุ่มพอเหมาะ เนื้อและมันสัตว์ผสมกันอย่างทั่วถึง ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน        2.เลือกสีที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ และสม่ำเสมอตลอดชิ้น ไม่มีสีผิดปกติ เช่น ซีด เขียวคล้ำ ดำ หรือรอยไหม้        3.ไม่มีกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน         4.ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม ดิน กรวด ทราย ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์        5.ภาชนะบรรจุสะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้        6.เลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์กุนเชียงกุนเชียงจัดอยู่ในกลุ่ม เนื้อสัตว์บดที่ผ่านกระบวนการหมักหรือไม่ก็ได้แล้วและทำแห้งโดยไม่ใช้ความร้อน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ.2561 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ใช้ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารคงสภาพของสีและสารกันเสีย ในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและอนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไนไตรท์ คือ อะไร“ไนไตรท์” เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ในกลุ่มสารกันเสีย (preservative) และสารตรึงสี ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม หมูยอ กุนเชียง ที่มีการอนุญาตให้ใช้ “ไนไตรท์” ได้ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนด โดย “ไนไตรท์” มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเน่าเสีย และยังมีหน้าที่ในการตรึงสีของเนื้อสัตว์แปรรูปให้เป็นสีชมพู ไม่ซีดไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำอันตรายหรือไม่        อันตราย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่กำหนด โดยไนไตรท์จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง อาจเป็นลม หมดสติได้ แต่จะอันตรายมากกว่า หากไม่ใส่ในอาหารกลุ่มไส้กรอก กุนเชียง ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสิ่งที่อันตรายที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป คือ การเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม” ที่สามารถสร้างสารพิษร้ายแรงที่มีชื่อว่า “โบทูลินั่มท็อกซิน” (Botox) ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปก็อาจเสียชีวิตได้        การใช้ “ไนไตรท์” ภายใต้ปริมาณที่กำหนด สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียนี้ จึงช่วยให้มีความปลอดภัยในการบริโภคมากขึ้น ซึ่ง European Food Safety Authority (EFSA) ได้บ่งชี้ว่าการใช้เกลือไนไตรท์ในปริมาณที่พอเหมาะ (50-100 มก./กก.) จะควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มคลอสตริเดียมโบทูลินัม ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถสร้างสารพิษ ชื่อ โบทูลินั่มท็อกซิน        ในแต่ละวันร่างกายเราได้รับสารไนไตรท์ที่มาจากเนื้อสัตว์แปรรูปโดยเฉลี่ยประมาณ 10% อีก 90% เราได้รับมาจากพืชและแหล่งอาหารอื่นๆ ที่เราบริโภค ซึ่งหากรับประทานในปริมาณที่กำหนดก็จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด แต่หากได้รับมากเกินไป จะทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ไม่สามารถนำพาออกซิเจนไปใช้ได้ อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 221 ผลทดสอบสารกันบูดในแกงไตปลาแห้ง

        แกงไตปลาแห้ง หรือที่เรียกว่า แกงพุงปลาแห้ง หมายถึง ผลิตภัณฑ์พร้อมบริโภคที่ทำจากไตปลาหมัก เนื้อปลาแห้ง เครื่องเทศและสมุนไพร เช่น ใบมะกรูด มาผสมรวมกัน ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงรส เช่น กะปิแล้วเคี่ยวให้แห้ง เป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่แปรรูปจากแกงไตปลาทำให้แห้งเพื่อเก็บรักษาได้นานขึ้น         อย่างไรก็ตามแกงไตปลาแห้งในแหล่งผลิตหลายแห่งมีการใช้สารกันบูดเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ซึ่งนิตยสารฉลาดซื้อและโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้ทำทดสอบผลิตภัณฑ์นี้ไปเมื่อปีที่ผ่านมา(2561) พบว่าจากตัวอย่างแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 10 ยี่ห้อ มี 5 ยี่ห้อ ที่พบสารกันบูด(กรดเบนโซอิก/ ซอร์บิก) ตกค้างเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือพบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มก./ อาหาร 1 กก.         ในครั้งนี้เราจึงทำทดสอบซ้ำเพื่อติดตามและเฝ้าระวังสารกันบูดในแกงไตปลาแห้ง โดยเก็บจากฐานตัวอย่างเดิมและเพิ่มยี่ห้อใหม่ ซึ่งต้องขอบคุณเครือข่ายผู้บริโภคในภาคใต้ที่ช่วยเก็บตัวอย่างสินค้าให้ เป็นจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 15 ตัวอย่าง ซึ่งขอแจ้งไว้ตรงนี้เลยว่า ผลการทำทดสอบเพื่อการเฝ้าระวังสินค้าชนิดนี้ มีแนวโน้มดีขึ้น ผลการทดสอบ        ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561 (เรื่องวัตถุเจือปนอาหารฉบับที่ 5) ไม่ได้ห้ามการใส่สารกันบูดในผลิตภัณฑ์แกงไตปลาแห้ง* แต่กำหนดให้ใส่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการใช้วัตถุกันเสียที่มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานเป็นประจำได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังในอนาคต        จากการทดสอบผลิตภัณฑ์ 15 ตัวอย่าง พบว่า มี 3 ตัวอย่างที่เกินค่ากำหนดตามกฎหมาย ได้แก่            1.ยี่ห้อ คุณแม่จู้ (จังหวัดภูเก็ต) พบปริมาณกรดซอร์บิก 1190.45 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม            2.ยี่ห้อ แม่กุ่ย (จังหวัดภูเก็ต) พบปริมาณกรดซอร์บิก 1107.64 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม            3.ยี่ห้อ เจ้นา (จังหวัดพังงา) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 971.76 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม            และ 4.ยี่ห้อ ป้าสุ (จังหวัดสุราษฎร์ธานี) พบปริมาณกรดซอร์บิก 697.23 และ กรดเบนโซอิก 332.01 ซึ่งมีปริมาณรวมกันเกิน 1 ตามกฎหมายกำหนด         หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง         *แกงไตปลาแห้ง ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 389 จัดอยู่ในอาหารหมวด 12.2.2 (เครื่องปรุงรส) ซึ่งกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุกันเสีย ประเภทกรดเบนโซอิก(INS 210) 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ วัตถุกันเสียประเภทกรดซอร์บิก(INS 200)  1,000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม สรุปผลการเปรียบเทียบการทดสอบสารกันบูด พ.ศ. 2561 และ 2562

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 ฉลาดซื้อเผยปริมาณโลหะหนัก - สารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลอดภัย แนะผู้บริโภคเลือกยี่ห้อที่ผ่าน อย.

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเผยปริมาณแคดเมียม, ตะกั่วและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลอดภัย สารกันบูดไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด แนะให้ผู้บริโภคอ่านฉลากให้รอบคอบและเลือกรับผลิตภัณฑ์ที่มี อย.ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือดำเนินการทดสอบซ้ำ ในปีนี้ เพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารและสร้างความมั่นใจในการบริโภค โดยในครั้งนี้(  2562 ) เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 15 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างในชื่อผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียม และเพิ่มการทดสอบปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วย ผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม            ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน           ผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด พบว่า น้ำปลาร้าปรุงรสตราไทยอีสาน (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 831.83 มก./กก. และ น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑  (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 404.84 มก./กก.   ซึ่งปริมาณการใช้สารกันบูดใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตราน้องพร คือ พบปริมาณ 641.81 มก./กก. แต่แสดงข้อมูลบนฉลากชัดเจนว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดคือ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.              อย่างไรก็ตามหลายผลิตภัณฑ์พบว่ามีปริมาณกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่มาก(ไม่ถึง 100 มก./กก.) คือ ไม่มากพอที่จะเป็นการตั้งใจใส่เพื่อให้มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลินทรีย์(ปริมาณที่เหมาะต่อการเก็บหรือยืดอายุอาหารคือ 500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ดังนั้นเป็นไปได้ว่ามาจากวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งกรดเบนโซอิกสามารถพบได้จากพืชพรรณหลายชนิดตามธรรมชาติ               โดยก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม พ.ศ.2561  โครงการฯ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งพบว่า ผลทดสอบตะกั่ว ในน้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้าของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. อ่านบทความ  - ฉบับที่ 220 ปริมาณแคดเมียมและตะกั่วและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ    ได้ที่ลิงก์ https://www.chaladsue.com/article/3166 - ฉบับที่ 205 ผลิตภัณฑ์ของฝาก-ของดี จาก 4 ภาค "น้ำพริกหนุ่ม น้ำปลาร้า แกงไตปลาแห้ง และโรตีสายไหม "    ได้ที่ลิงก์ https://chaladsue.com/article/2806/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 220 ปริมาณแคดเมียมและตะกั่วและสารกันบูดในผลิตภัณฑ์น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ

        ฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งพบว่า ผลทดสอบตะกั่ว ในน้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้าของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียมต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน         อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารและสร้างความมั่นใจในการบริโภค ทางฉลาดซื้อจึงดำเนินการทดสอบซ้ำในปีนี้ เช่นเคยทางเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 15 ตัวอย่าง เป็นตัวอย่างในชื่อผลิตภัณฑ์เดิม 9 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ใหม่อีก 6 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์หาสารโลหะหนักตะกั่วและแคดเมียม และเพิ่มการทดสอบปริมาณสารกันบูดกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกด้วยผลทดสอบ·        ผลทดสอบการหาปริมาณโลหะหนัก  พบว่า        ผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม        ส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช. เช่นกัน        ·        ผลทดสอบหาปริมาณสารกันบูด พบว่า        น้ำปลาร้าปรุงรสตราไทยอีสาน (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 831.83 มก./กก. และ น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑  (ฉลากระบุ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย) พบปริมาณกรดเบนโซอิก 404.84 มก./กก.   ซึ่งปริมาณการใช้สารกันบูดใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตราน้องพร คือ พบปริมาณ 641.81 มก./กก. แต่แสดงข้อมูลบนฉลากชัดเจนว่า มีการใช้วัตถุกันเสีย ซึ่งทั้งหมดไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดคือ ไม่เกิน 1,000 มก./กก.           อย่างไรก็ตามหลายผลิตภัณฑ์พบว่ามีปริมาณกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่มาก(ไม่ถึง 100 มก./กก.) คือ ไม่มากพอที่จะเป็นการตั้งใจใส่เพื่อให้มีฤทธิ์ในการต่อต้านจุลินทรีย์(ปริมาณที่เหมาะต่อการเก็บหรือยืดอายุอาหารคือ 500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม) ดังนั้นเป็นไปได้ว่ามาจากวัตถุดิบที่นำมาผลิต ซึ่งกรดเบนโซอิกสามารถพบได้จากพืชพรรณหลายชนิดตามธรรมชาติ    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และ สารกันบูด ในโดนัทช็อกโกแลต ภาค 2

โดนัท (Doughnut หรือ Donut) ขนมแป้งทอดมีรู ที่ตกแต่งหน้าตาจากน้ำตาลเคลือบหลากรส ด้วยกลิ่นหอมหวาน สีสันสวยงาม และรสสัมผัสนุ่มหนุบหนับ โดนัทจึงเป็นที่นิยมบริโภคของคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งแคลอรี่จากโดนัทหนึ่งชิ้นนั้น นับว่าไม่เบาเลยทีเดียว นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงเพิ่มก็คือ ปริมาณไขมันทรานส์ (Trans fat) หรือ กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) ที่อาจแฝงอยู่ในโดนัท ซึ่งหากร่างกายของเราได้รับไขมันทรานส์ในปริมาณมาก ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้        ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ที่พบได้ทั้งในธรรมชาติ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น นม เนย ชีส เนื้อสัตว์ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว ซึ่งพบในอาหารที่มีเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ เช่น โดนัททอด เค้ก พาย พัฟ เพสตรี้ คุกกี้ ซึ่งจะทำให้อาหารหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น        ก่อนหน้านี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบไขมันทรานส์และพลังงานในโดนัทช็อกโกแลต จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 13 ยี่ห้อ ในฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) โดยพบว่ากว่าครึ่ง มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำไว้        เมื่อช่วงต้นปีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยเริ่มตื่นตัว เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oil) และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา        เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และนิตยสารฉลาดซื้อจึงเลือกทดสอบโดนัทช็อกโกแลตซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยได้สุ่มซื้อโดนัทรสช็อกโกแลต จากร้านขายโดนัทและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ยี่ห้อ (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บตัวอย่างก่อนหน้านี้) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ รวมถึงสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้สรุปผลการทดสอบ1. ผลทดสอบสารกันบูด (กรดซอร์บิก และ กรดเบนโซอิก)        จากโดนัทช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบ จำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า                   ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบกรดซอร์บิก แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิกในปริมาณเพียงเล็กน้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่              1. โดนัทรวมรส (ช็อกโกแลต) / เทสโก้ โลตัส          พบกรดเบนโซอิก 4.72 มก./กก.           2. ริงจิ๋ว (ช็อกโกแลต) / เอ็น.เค.โดนัท                     พบกรดเบนโซอิก 10.45 มก./กก.          3. เรนโบว์ โดนัท / เบรดทอล์ค                               พบกรดเบนโซอิก 11.48 มก./กก.           4. โดนัท ดาร์กช็อกโกแลต / ซับไลม์โดนัท              พบกรดเบนโซอิก 19.48 มก./กก.    และ 5. โดนัทช็อกโกแลต / ฟู้ดแลนด์                           พบกรดเบนโซอิก 29.93 มก./กก.        ซึ่งตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม        ซึ่งตามเกณฑ์ดังกล่าว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่ตรวจพบวัตถุกันเสียเกินค่ามาตรฐาน        ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตต่อปริมาณกรดเบนโซอิกที่ตรวจพบ ซึ่งมีเพียงเล็กน้อยว่า อาจไม่ใช่กรดเบนโซอิกที่ใส่เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นสารกันเสีย แต่อาจเป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภท เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซึ่งใช้เป็นสารฟอกสี, สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง เนื่องจากสารตัวนี้มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก 2. ผลทดสอบไขมันทรานส์        เมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ขนมอบ จำพวกเค้กกาแฟ โดนัท และมัฟฟิน ซึ่งเท่ากับ 55 กรัม (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541)           พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก        โดยตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค น้อยที่สุด ได้แก่ โดนัทชอคโกแลต / บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 กรัมต่อน้ำหนักโดนัท 55 กรัมและตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค มากที่สุด ได้แก่ โดนัทรสช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ / คริสปี้ครีม พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.14 กรัม ต่อ น้ำหนักโดนัท 55 กรัมข้อสังเกต          จากผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไขมันทรานส์ ในตัวอย่างโดนัทช็อกโกแลตทั้ง 13 ตัวอย่างในครั้งนี้ ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวกับที่ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบในนิตยสารฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) พบว่า ผู้ผลิตโดนัทช็อกโกแลตเกือบทุกยี่ห้อ พัฒนาปรับปรุงสูตรการผลิต ทำให้ปริมาณไขมันทรานส์ลดน้อยลงจากเดิมมาก ซึ่งบางยี่ห้อเคยมีปริมาณไขมันทรานส์เกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ผลตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้ พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกยี่ห้อ มีปริมาณไขมันทรานส์ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานข้อมูลอ้างอิง- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561- นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 206 เดือน เมษายน 2561- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ข่าวด่วน! ผลิตภัณฑ์ของฝาก-ของดี จาก 4 ภาค พบส่วนใหญ่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐาน!

ฉลาดซื้อสุ่มตรวจของฝาก 4 ภาค พบส่วนใหญ่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานนิตยสารฉลาดซื้อฉบับ 205 เผยผลทดสอบของฝาก-ของดี 4 ประเภท จากภาคกลาง อีสาน เหนือและใต้ พบสินค้าส่วนใหญ่ใส่สารกันบูดเกินเกณฑ์ เว้นอีสานไม่พบการปนเปื้อนนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคสี่ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือและภาคใต้ ร่วมมือเก็บตัวอย่างสินค้าที่จัดเป็นของฝากยอดนิยม จำนวน 4 ประเภท ได้แก่ โรตีสายไหมจากภาคกลาง น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จจากภาคอีสาน น้ำพริกหนุ่มจากภาคเหนือและแกงไตปลาแห้งจากภาคใต้ ทดสอบเพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยและยกระดับมาตรฐานสินค้า ด้านอาหารให้กับผู้บริโภคผลการทดสอบ พบว่า “แผ่นแป้งโรตีสายไหมจากภาคกลาง” ที่นำมาทดสอบจำนวน 10 ตัวอย่าง จาก จ. พระนครศรีอยุธยา มีการตกค้างของสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกทั้งหมด โดย 6 ตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัย ตามที่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดไว้คือ พบปริมาณกรดเบนโซอิกได้ ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. ได้แก่ 1. ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ พบ 23.96 มก./กก.2. ร้านวริศรา โรตีสายไหม พบ 671.45 มก./กก.3. ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ พบ 686.56 มก./กก.4. ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน พบ 708.64 มก./กก.5. ร้านจ๊ะโอ๋ พบ 887.62 มก./กก. และ6. ร้านประวีร์วัณณ์ พบ 985.84 มก./กก.อย่างไรก็ตามพบว่า มีแผ่นแป้งโรตีสายไหม 4 ตัวอย่าง ที่มีกรดเบนโซอิกตกค้างเกินมาตรฐาน ได้แก่ 1.โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า พบ 1910.45  มก./กก. 2. ร้านแม่ชูศรี พบ 1894.05  มก./กก. 3. ร้านเรือนไทย พบ 1502.32  มก./กก. และ4. ร้านเอกชัย (B.AEK) พบ 1147.95  มก./กก. ทั้งนี้สำหรับผลการทดสอบสีสังเคราะห์ในสายไหม พบทุกตัวอย่างใช้สีสังเคราะห์ แต่ไม่เกินมาตรฐาน  ด้านผลการทดสอบโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียมใน “น้ำปลาร้าปรุงสำเร็จจากภาคอีสาน” จำนวน 12 ตัวอย่าง จากพื้นที่ จ. ขอนแก่น กาฬสินธุ์และอุบลราชธานี พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน ที่กำหนดให้ตรวจพบได้ ไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า (มผช. 1346/2557) ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่กำหนดไว้ว่า สารปนเปื้อนแคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ได้แก่1. น้ำปลาร้าต้มสุกเข้มข้น ตรา น้องพร จากท็อปส์ มาร์เก็ต สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า ขอนแก่น ไม่พบการปนเปื้อนแคดเมียม/ ตะกั่ว2. น้ำปลาร้าปรุงสุก 100% ตรา แซ่บไมค์ โดย ไมค์ ภิรมย์พร (น้ำปลาร้าสูตรส้มตำ) จากท็อปส์ มาร์เก็ต สาขาเซ็นทรัลพลาซ่า ขอนแก่น พบแคดเมียมน้อยกว่า 0.03 มก./กก.และไม่พบการปนเปื้อนตะกั่ว3. น้ำปลาร้าต้นตำรับกาฬสินธุ์ ตรา แม่ฝาย จากตลาดสระทอง เทศบาลเมืองร้อยเอ็ด  จ.ร้อยเอ็ด พบแคดเมียม 0.10 มก./กก.และตะกั่ว 0.04 มก./กก.4. น้ำปลาร้าส้มตำ แม่บุญล้ำเจ้าเก่า (สูตรปรุงสำเร็จ) จากตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบแคดเมียมน้อยกว่า 0.03 มก./กก.และไม่พบการปนเปื้อนตะกั่ว5. น้ำปลาร้าปรุงสุก ตรา แซ่บดี (น้ำปลาร้าสูตรส้มตำ) จากตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบแคดเมียม 0.12 มก./กก. และไม่พบการปนเปื้อนตะกั่ว6. น้ำปลาร้าต้มสุกปรุงรส ตราแม่หม่อม สูตรดั้งเดิม จากตลาดสดเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ พบแคดเมียม 0.10 มก./กก. และตะกั่ว 0.04 มก./กก.7. น้ำปลาร้าส้มตำปรุงสำเร็จ ตะวันทอง ๑ จากตลาดบ้านคำไฮ จ.ขอนแก่น พบแคดเมียม 0.04 มก./กก. และตะกั่ว 0.03 มก./กก.8. ปลาร้าส้มตำปรุงรส ตรา เจ้จุ๋ม จากตลาดบ้านคำไฮ จ.ขอนแก่น พบแคดเมียม 0.05 มก./กก. และตะกั่ว 0.06 มก./กก.9. แม่สมัย ปลาร้าส้มตำ จากตลาดบ้านคำไฮ จ.ขอนแก่น พบแคดเมียม 0.04 มก./กก. และตะกั่ว 0.03 มก./กก.10. เศรษฐีแซ่บ น้ำปลาร้าต้มปรุงสำเร็จ สูตรเข้มข้น จากตลาดสดเทศบาลเมืองวารินชำราบ พบแคดเมียม 0.03 มก./กก. และตะกั่ว 0.04 มก./กก.11. น้ำปลาร้าปรุงรสต้มสุก ตรา ภา-ทอง จากตลาดสดเทศบาล 1  เทศบาลนครขอนแก่น พบแคดเมียม 0.06 มก./กก. และตะกั่ว 0.05 มก./กก. และ12. น้ำปลาร้าปรุงสุก 100% ตรา แซ่บไมค์ โดย ไมค์ ภิรมย์พร (น้ำปลาร้าสูตรส้มตำ) จากตลาดสดเทศบาลเมืองวารินชำราบ พบแคดเมียมและตะกั่วน้อยกว่า 0.03 มก./กก.สำหรับผลการทดสอบ “น้ำพริกหนุ่มจากภาคเหนือ” จำนวน 10 ตัวอย่าง จาก จ.เชียงราย พะเยา ลำปาง เชียงใหม่และแพร่ พบว่า ทุกตัวอย่างมีสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้าง โดย 6 ตัวอย่างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่โคเด็กซ์กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทน้ำพริกแบบแห้งและน้ำพริกแบบเปียก คือ ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. ได้แก่1. เรือนไทยขนมไทย จาก จ.ลำปาง พบ 217.73 มก./กก.2. อำพัน จาก จ.ลำปาง พบ 375.22 มก./กก. 3. น้ำพริกหนุ่มอุ้ยแก้ว จาก จ.พะเยา พบ 492.46 มก./กก.4. ดำรงค์ จากตลาดวโรรสเชียงใหม่ พบ 509.82 มก./กก.5. นันทวัน (เจียงฮาย สูตรดั้งเดิม) จาก จ.เชียงราย พบ 585.44 มก./กก. และ6. เจ๊หงษ์ (เชียงใหม่) จากตลาดวโรรสเชียงใหม่ พบ 705.60 มก./กก.ในขณะที่น้ำพริกหนุ่มอีก 4 ยี่ห้อ พบปริมาณกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่มาตรฐานดังกล่าวกำหนดไว้ ได้แก่ 1. แม่ถนอม จาก จ.แพร่ พบ 3476.46 มก./กก.2. ป้านวย จาก จ.ลำปาง พบ 1195.06 มก./กก. 3. ศุภลักษณ์ (รสเผ็ดมาก) จาก จ.พะเยา พบ 1122.06 มก./กก. และ 4. น้ำพริก มารศรี(สูตรดั้งเดิม) จาก จ.พะเยา พบ 1043.80 มก./กก.  นอกจากนี้ผลการทดสอบ “แกงไตปลาแห้งจากภาคใต้” พบว่า จากตัวอย่างแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 10 ยี่ห้อ จาก จ. ชุมพร สุราษฎร์ธานี กระบี่ สงขลาและปัตตานี มี 3 ยี่ห้อ ที่ไม่พบสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้างเลย ได้แก่1. คุณแม่จู้ จาก จ.กระบี่ 2. วังรายา จาก จ.ปัตตานี และ3. วิน (Win) จากสนามบินหาดใหญ่โดยมี 2 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิกตกค้างแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานโคเด็กซ์ที่กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทน้ำพริกแบบแห้งและน้ำพริกแบบเปียก คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ได้แก่1. แม่รุ่ง จาก จ.ชุมพร พบ 269.57 มก./กก. และ2. เจ๊น้อง จากศรีกระบี่ ศูนย์รวมของฝากฯ พบ 411.59 มก./กก.อย่างไรก็ตามมี 5 ยี่ห้อที่พบสารกันบูด (กรดเบนโซอิก/ ซอร์บิก) ตกค้างเกินเกณฑ์ดังกล่าว ได้แก่ 1. ป้าสุ จากตลาดกิมหยง จ.หาดใหญ่ พบเบนโซอิกและซอร์บิก 1318.32 มก./กก. และ 978.88 มก./กก. ตามลำดับ ซึ่งมีผลรวมของสารกันบูดทั้งสองชนิดเท่ากับ 2.297.2 มก./กก. สูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) ที่กำหนดให้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง 2. ชนิดา(CHANIDA) จากสนามบินหาดใหญ่ พบเบนโซอิก 2540.22 มก./กก. 3. RICHMe by lalita จากตลาดกิมหยง พบเบนโซอิก 2429.64 มก./กก. 4. จันทร์เสวย จาก จ.ปัตตานี พบเบนโซอิก 1572.86 มก./กก. และ 5. แม่จิตร จากตลาดสดเทศบาล นครสุราษฎร์ธานี พบเบนโซอิก 1508.32 มก./กก. ทั้งนี้สำหรับผลเสียของการใช้สารกันบูดหรือวัตถุกันเสียที่มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานเป็นประจำได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังในอนาคต  ด้าน นส. สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคกล่าวว่า การทดสอบของนิตยสารฉลาดซื้อครั้งนี้ เป็นการให้ข้อมูลกับผู้ประกอบการ เพื่อพัฒนาหรือปรับปรุงคุณภาพสินค้าของตนเอง เพราะผลิตภัณฑ์ที่นำมาทดสอบจัดเป็นของฝากหรือของดีของแต่ละภูมิภาค ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้บริโภค และสามารถเป็นสินค้าที่นำไปส่งออกได้ ทั้งนี้ทางมูลนิธิฯ จะช่วยส่งจดหมายถึงคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อขอให้มีการแนะนำกับผู้ผลิตเพื่อยกระดับสินค้าต่อไป 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อฉบับที่ 205 ผลิตภัณฑ์ของฝาก-ของดี จาก 4 ภาค "น้ำพริกหนุ่ม น้ำปลาร้า แกงไตปลาแห้ง และโรตีสายไหม"

สารกันบูด ในน้ำพริกหนุ่ม และ แกงไตปลาแห้งฉลาดซื้อฉบับนี้ เราจะพาไปขึ้นเหนือล่องใต้ ออกอีสานและแวะเที่ยวภาคกลาง ด้วยเรื่องราวของ ของฝากสี่ภาค โดยฉลาดซื้อ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และเครือข่ายผู้บริโภคทั้งสี่ภาค  เก็บตัวอย่างสินค้า 4 ชนิด ซึ่งจัดเป็นของฝากยอดนิยม มาทดสอบเพื่อเป็นการเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ขอประเดิมด้วย ผลทดสอบของฝากยอดนิยมจากภาคเหนือ อย่าง “น้ำพริกหนุ่ม” ซึ่งนิยมรับประทานคู่กับแคบหมู เพราะมีรสชาติที่ไม่เผ็ดมากนัก(ลำแต้ๆ เจ้า) และ “แกงไตปลาแห้ง” จากภาคใต้ที่ออกรสชาติเค็มและเผ็ดร้อน เหมาะรับประทานเคียงกับผัก(หรอยจังฮู้) โดยปัจจุบันน้ำพริกทั้งสองชนิดนี้ มักถูกวางจำหน่ายไปยังศูนย์โอทอปหรือศูนย์ของฝากทั่วประเทศ ทำให้ผู้ผลิตหลายรายนิยมใช้วัตถุกันเสีย หรือสารกันบูดมาช่วยถนอมอาหาร เพื่อทำให้สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานขึ้น ซึ่งแม้กฎหมายไม่ได้ห้ามการใส่สารดังกล่าว แต่ก็กำหนดให้ใส่อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม คือ ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามเกณฑ์มาตรฐานของโคเด็กซ์ (CODEX) ที่กำหนดไว้ในหมวดอาหารประเภทน้ำพริกแบบแห้งและน้ำพริกแบบเปียก เพราะการใช้วัตถุกันเสียที่มากเกินไป สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคที่รับประทานเป็นประจำได้ เช่น ทำให้ระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หรือเกิดการสะสมในร่างกายและก่อให้เกิดเป็นพิษเรื้อรังในอนาคต เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ แถบภาคเหนือ และเครือข่ายผู้บริโภคภาคใต้ สุ่มเก็บตัวอย่างแกงไตปลาแห้งพร้อมบริโภค จากจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ เป็นจำนวนภาคละ 10 ยี่ห้อ (เก็บตัวอย่างระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 61) ซึ่งมีการวางจำหน่ายตามท้องตลาดหรือร้านของฝากทั่วไป เพื่อทดสอบหาปริมาณสารกันบูด (กรดเบนโซอิกและซอร์บิก) โดยผลการทดสอบจะเป็นอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยสรุปผลการทดสอบ - น้ำพริกหนุ่ม จากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่มที่นำมาทดสอบทั้งหมด จำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า ทุกตัวอย่างมีสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้าง โดยมีน้ำพริกหนุ่ม 4 ยี่ห้อ ที่มีปริมาณกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือ ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. ได้แก่1. แม่ถนอม มีปริมาณกรดเบนโซอิกมากที่สุด คือ 3476.46 มก./กก. 2. ป้านวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1195.06 มก./กก.3. ศุภลักษณ์(รสเผ็ดมาก) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1122.06 มก./กก. และ4. น้ำพริก มารศรี(สูตรดั้งเดิม) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1043.80 มก./กก. อีก 6 ตัวอย่าง ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน  ปลอดภัยในการบริโภค  โดยน้ำพริกหนุ่มยี่ห้อ เรือนไทยขนมไทย พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด คือ 217.73 มก./กก.สารกันบูด แกงไตปลาแห้งจากตัวอย่างแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 10 ยี่ห้อ พบว่า- มี 3 ยี่ห้อ ที่ไม่พบสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิกตกค้างเลย ได้แก่ 1. คุณแม่จู้ 2. วังรายา และ 3. วิน (Win) - มี 2 ยี่ห้อ พบกรดเบนโซอิก แต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ แม่รุ่ง และ เจ๊น้อง - มี 5 ยี่ห้อ ที่พบสารกันบูด (กรดเบนโซอิก/ ซอร์บิก) ตกค้างเกินกว่าที่มาตรฐานโคเด็กซ์กำหนด คือพบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มก./ อาหาร 1 กก. ได้แก่1. ป้าสุ มีปริมาณกรดเบนโซอิกและซอร์บิก คือ 1318.32 มก./กก. และ 978.88 มก./กก. ตามลำดับ 2. ชนิดา(CHANIDA) มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2540.22 มก./กก.3. RICHMe by lalita มีปริมาณกรดเบนโซอิก 2429.64 มก./กก. 4. จันทร์เสวย มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1572.86 มก./กก.5. แม่จิตร มีปริมาณกรดเบนโซอิก 1508.32 มก./กก.ยี่ห้อ ป้าสุ ซึ่งตรวจพบ ปริมาณกรดเบนโซอิก 1318.32 มก./กก. และกรดซอร์บิก 978.88 มก./กก. นั้น พบว่า มีผลรวมของสารกันบูด หรือกรดเบนโซอิกและซอร์บิกรวมกัน เท่ากับ 2.297.2 มก./กก. ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้  หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ข้อสังเกตเรื่อง ฉลากอาหารตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 237) พ.ศ.2544 เรื่องการแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุง และอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที กำหนดให้อาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคบริโภคทันที หมายถึง อาหารที่ผลิตเรียบร้อยพร้อมบริโภค ที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่ายได้ทันที ซึ่งต้องมีการแสดงฉลากตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ.2543 เรื่องฉลาก ที่กำหนดให้ ต้องมีข้อความเป็นภาษาไทย และมีข้อความแสดงรายละเอียดต่อไปนี้ (ยกเว้นอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที ซึ่งผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง)1. ชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของสถานที่ผลิต หรือแบ่งบรรจุ หรือจัดจำหน่าย แล้วแต่กรณี 4. น้ำหนักสุทธิ 5. ส่วนประกอบที่สำคัญ 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” ถ้ามีการใช้ 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 8. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุปรุงแต่งรสอาหาร” 9. ข้อความว่า “ใช้...เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล” 10. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” ถ้ามีการใช้แล้วแต่กรณี 11.วันเดือนและปีที่หมดอายุ/ ผลิต 12. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี)และจากตัวอย่างน้ำพริกหนุ่ม และแกงไตปลาแห้งที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีหลายตัวอย่างที่แสดงรายละเอียดบนฉลากไม่ครบถ้วน ซึ่งอาจขัดต่อกฎหมายดังกล่าวน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม ในน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จปลาร้า เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่แทบขาดไม่ได้ในครัวคนอีสานหรือร้านอาหารอีสาน โดยเฉพาะส้มตำปลาร้า เมนูสุดแซ่บขวัญใจคนทุกภาค แต่ปลาร้านั้นหากไม่ทำให้สุกก่อนบริโภค ก็อาจก่อปัญหาด้านสุขภาพได้มาก โดยเฉพาะเรื่องพยาธิใบไม้ที่แฝงในตัวปลาหรือจุลินทรีย์ก่อโรคที่อาจส่งผลให้เสาะท้องได้ จึงมีการรณรงค์ในวงกว้างให้ใช้ปลาร้าสุกหรือทำปลาร้าให้สุกก่อนบริโภค ซึ่งก็ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา นั่นคือ น้ำปลาร้าปรุงสุกสำเร็จรูป ออกวางขายทั่วไป เรียกว่า ช่วยสร้างความสะดวกให้แก่ผู้บริโภคได้อร่อยนัวกันอย่างวางใจ ซึ่งแหล่งผลิตใหญ่ก็ไม่พ้นภาคอีสาน และถือเป็นหนึ่งในของฝากที่มีชื่อเสียง ฉลาดซื้อ โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงร่วมมือกับเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เก็บตัวอย่างน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จ จำนวน 12 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2561 เพื่อทดสอบหาปริมาณตะกั่วและแคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไปและมีโอกาสเข้าสู่ตัวปลาที่ใช้ในการทำน้ำปลาร้า ถือเป็นการเฝ้าระวังด้านอาหารเพื่อสร้างความมั่นใจในการบริโภค และเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อน้ำปลาร้าปรุงสำเร็จเป็นของฝากยามเยือนถิ่นอีสานน้ำปลาร้า หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการหมักปลากับเกลือ เติมข้าวคั่วที่บดละเอียด รำข้าว หรือรำข้าวคั่วในอัตราส่วนที่เหมาะสม ก่อนหรือหลังการหมักปลากับเกลือ เพื่อให้ได้กลิ่นรสตามธรรมชาติของปลาร้านำมากรอง ให้ความร้อนก่อนบรรจุ หรือได้จากการนำปลาร้าดิบมาต้มกับนํ้า อาจเติมเกลือ สมุนไพร แล้วกรอง อาจเติมเครื่องปรุงรส เช่น น้ำตาล น้ำมะขาม น้ำกระเทียมดอง และให้ความร้อนก่อนบรรจุที่มา มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มผช.1346/2557ผลทดสอบผลทดสอบตะกั่ว น้ำปลาร้าทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 คือไม่เกิน 1 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมส่วนผลทดสอบแคดเมียม เนื่องจากไม่มีเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศ ฉบับที่ 98 จึงใช้เกณฑ์เทียบเคียงจากของมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า ของสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม คือ แคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ทุกตัวอย่างผ่านเกณฑ์มาตรฐาน มผช.มาตรฐานตะกั่วและแคดเมียมในอาหารประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ.2529 เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน  กำหนดให้ตรวจพบตะกั่วไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนแคดเมียมไม่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 แต่อาจพิจารณาเทียบเคียงจาก มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน น้ำปลาร้า (มผช. 1346/2557) ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งกำหนดไว้ว่า สารปนเปื้อนแคดเมียม ต้องน้อยกว่า 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  ขณะที่ Codex (Codex Standard 193-1995) กำหนดไว้ไม่เกิน 2 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในสัตว์น้ำ (Marine bivalve molluscs) และสหภาพยุโรป (EC) No 1881/2006 กำหนดค่ามาตรฐานแคดเมียมในเนื้อปลาไว้ไม่เกิน 0.05 มิลลิกรัม/กิโลกรัม(0.05 ppm.)  แต่ทั้งนี้ก็มีการแยกย่อยไปตามชนิดของปลาด้วย ตะกั่ว แคดเมียม อยู่ในน้ำปลาร้าได้อย่างไร โลหะหนักถูกใช้ในแวดวงอุตสาหกรรมหลายชนิด แต่ที่หลุดรอดออกสู่แหล่งดิน น้ำธรรมชาติ และถูกกำหนดไว้ในมาตรฐานอาหารส่วนใหญ่ คือ ปรอท ตะกั่ว แคดเมียม เนื่องจากมีพิษรุนแรง การปนเปื้อนเข้าสู่แหล่งน้ำ ก็มีความเสี่ยงที่โลหะหนักจะสะสมในตัวสัตว์น้ำอย่างปลา ที่ใช้เป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำปลาร้า และโลหะหนักไม่อาจทำลายได้ด้วยความร้อน จึงสามารถพบได้ในอาหารที่ผลิตออกจำหน่าย  โรตีสายไหม โรตีสายไหม ของฝากออเจ้า จากกรุงเก่าอยุธยาหากได้มีโอกาสเดินทางไปท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา นอกจากการแวะไปไหว้พระทำบุญในวัดสำคัญ และเยี่ยมชมโบราณสถานที่งดงามในจังหวัดแล้ว คงไม่พลาดต้องซื้อของฝากชื่อดังอยุธยาอย่าง “โรตีสายไหม” หนึ่งในของดีภาคกลางติดไม้ติดมือกลับบ้านไปฝากคนรู้จักรู้ใจอย่างแน่นอน เพราะรสสัมผัสของแผ่นแป้งโรตีที่ละมุนนุ่มลิ้น กับกลิ่นหอมหวานของสายไหมสีสดใส เมื่อได้ชิมชิ้นแรก ก็คงห้ามใจ ไม่ให้หยิบชิ้นต่อไปคงไม่ได้“ขนมโรตีสายไหม” มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ ส่วนของแป้ง และส่วนของเส้นสายไหม แป้งโรตีประกอบไปด้วย แป้งสาลี น้ำ และเกลือ ส่วนของสายไหม มีส่วนผสมของน้ำตาล น้ำมันมะพร้าว และแป้งสาลี ซึ่งขนมที่มีส่วนประกอบของแป้ง อาจต้องใช้สารกันบูด กันรา เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ไม่ให้บูดเสียเร็วหรือขึ้นราได้ง่าย และอาจมีการใช้สีผสมอาหารสังเคราะห์ในแผ่นแป้ง และสายไหม เพื่อสร้างสีสันให้กับแผ่นแป้ง และเส้นสายไหม ให้สดใสดึงดูดใจคนกิน ฉลาดซื้อ ร่วมกับตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จึงอยากเชิญชวนผู้บริโภค มาลองดูกันว่า เมื่อสุ่มเก็บตัวอย่าง โรตีสายไหม ในแบบฉบับที่ผู้บริโภคซื้อกันแล้ว เราพบอะไรบ้างที่น่าสนใจว่ากันว่าโรตีสายไหม ที่โด่งดังของอยุธยานั้น เป็นขนมของชาวไทยมุสลิม มีต้นกำเนิดมาจากการรังสรรค์ของนายบังเปีย แสงอรุณ และครอบครัว ที่ได้คิดค้นขึ้น เมื่อครั้งไปทำงานอยู่ที่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ก่อนจะเดินทางกลับมาประกอบอาชีพที่บ้านเกิดอยุธยาหากเอ่ยถึงตลาดขายโรตีเจ้าดัง คงต้องตรงดิ่งไปที่โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา ไม่ได้พาไปหาหมอหายา แต่ว่าร้านโรตีเจ้าอร่อย เขามารวมตัวกันอยู่ที่นี่ แถวเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา แต่ถ้าใครไม่ได้ผ่านไปแถวนั้น ก็ไม่ต้องเสียใจ ยังมีเส้นทางโรตีสายไหม ที่จอดรถซื้อข้างทางได้ เช่น ถนนบางไทร - บางปะหัน, ถนนอยุธยา - บางปะอิน, ถนนเลี่ยงเมืองสุพรรณ รวมไปถึงถนนสายเอเชียผลทดสอบโรตีสายไหม โรตีสายไหมที่นำมาทดสอบ จำนวน 10 ตัวอย่าง ได้จากการสุ่มซื้อโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง จากร้านโรตีสายไหม 10 แห่ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา ในส่วนของแผ่นแป้งโรตี ฉลาดซื้อเลือกทดสอบวัตถุกันเสีย จำนวน 3 ชนิด ที่อาจถูกใช้เพื่อยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก และกรดโพรพิโอนิก รวมทั้งทดสอบหาสีสังเคราะห์ในแผ่นแป้งด้วย สำหรับสายไหม เลือกทดสอบเฉพาะสีสังเคราะห์ ผลการทดสอบพบว่า• แผ่นแป้งโรตี  ตรวจพบกรดเบนโซอิก(Benzoic Acid) เกินมาตรฐาน (1,000 มก./กก.)   จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่  1) โรตีสายไหม ร้านศิลัคข บังอารีย์ แสงอารุณ เจ้าเก่า ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1910.45  มก./กก.2) ร้านแม่ชูศรี ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1894.05  มก./กก. 3) ร้านเรือนไทย ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1502.32  มก./กก.4) ร้านเอกชัย (B.AEK) ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  1147.95  มก./กก.ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 381 พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) สำหรับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ กำหนดปริมาณกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 1,000 มก./อาหาร 1 กก. อีก 6 ตัวอย่างตรวจพบ กรดเบนโซอิก แต่อยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เกินมาตรฐาน(เรียงลำดับจากน้อยที่สุดไปมากที่สุด ได้แก่1) ร้านอาบีดีน+ประนอม แสงอรุณ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  23.96 มก./กก. 2) ร้านวริศรา โรตีสายไหม  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  671.45 มก./กก. 3) ร้านโรตีสายไหมบังแป๊ะ  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  686.56 มก./กก. 4) ร้านโรตีสายไหม ไคโร น้องชายบังอิมรอน  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  708.64 มก./กก. 5) ร้านจ๊ะโอ๋  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  887.62 มก./กก. 6) ร้านประวีร์วัณณ์  ตรวจพบปริมาณกรดเบนโซอิก  985.84 มก./กก.ด้านสีสังเคราะห์ พบในแผ่นแป้งโรตีทุกตัวอย่างแต่ไม่เกินมาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า ร้านเอกชัย (B.AEK) ซึ่งตรวจพบสีสังเคราะห์ กลุ่มสีเหลือง คือ ตาร์ตราซีน ปริมาณ  49.82 มก./กก. และกลุ่มสีน้ำเงิน คือ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ ปริมาณ  5.94 มก./กก. เมื่อคำนวณแล้วพบว่า ผลรวมสัดส่วนของสีสังเคราะห์ทั้งสองชนิดที่ตรวจพบ เท่ากับ 1.036 ถือว่าเกินเกณฑ์มาตรฐานไปเล็กน้อย เพราะตามกฎหมายระบุว่า เมื่อนำมาคำนวณร่วมกันแล้ว ต้องไม่เกิน 1 (ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381 ข้อ 6 ) สำหรับกรดซอร์บิกและกรดโพรพิโอนิกตรวจไม่พบในทุกตัวอย่าง  •สายไหม  ตรวจพบสีสังเคราะห์ทุกตัวอย่าง แต่ไม่เกินมาตรฐาน โดยสีสังเคราะห์ที่ตรวจพบในแผ่นแป้งและสายไหม อยู่ในกลุ่มสีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน INS122, ตาร์ตราซีน INS102 และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ INS133มาตรฐานการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียและสีสังเคราะห์ สารกันบูด สารกันรา และสีสังเคราะห์ จัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข  (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4)  ที่มีข้อกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้ใช้ได้ ตามหมวดอาหารแต่ละประเภทเอาไว้ ซึ่งแผ่นแป้งโรตีเทียบได้กับอาหารประเภทธัญชาติและผลิตภัณฑ์ธัญชาติ ส่วนสายไหมนั้นเทียบได้กับอาหารในหมวดลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลตปริมาณกรดเบนโซอิกที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ แผ่นแป้งโรตี แผ่นแป้งโรตี เทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มขนมหวานที่มีธัญชาติและสตาร์ชเป็นส่วนประกอบหลัก ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้ปริมาณกรดเบนโซอิกสูงสุดได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วนสีสังเคราะห์ในกลุ่มสีแดง ได้แก่ คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) INS 122 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก., ในกลุ่มสีเหลือง ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 50 มก./กก. และในกลุ่มสีน้ำเงิน ได้แก่ บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 อนุญาตให้ใช้ได้สูงสุดในปริมาณไม่เกิน 150 มก./กก.ปริมาณสีสังเคราะห์อาหารที่อนุญาตให้พบได้ในส่วนของ สายไหม สายไหม อาจเทียบได้ในหมวดอาหารกลุ่มลูกกวาด นูกัตและมาร์ซิแพน ตามข้อกำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์ ในกลุ่มสีเหลือง ตาร์ตราซีน (Tartrazine) INS 102 และในกลุ่มสีน้ำเงิน บริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF) INS 133 ได้ในปริมาณไม่เกิน 300 มก./กก. ทั้งนี้ หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”รู้จักสารกันบูด และ สารกันรา สารกันบูด และสารกันราที่ฉลาดซื้อเลือกสุ่มตรวจ ได้แก่ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200, กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210 และ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280 ซึ่งสารกันเสียแต่ละตัวเป็นวัตถุเจือปนอาหารที่มีลักษณะและวัตถุประสงค์การใช้ในอาหาร ดังนี้ กรดซอร์บิก (Sorbic Acid) INS 200* เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additive) ที่อยู่ในกลุ่มซอร์เบต (sorbate) ที่ใช้เป็นสารกันเสีย (preservative) มีลักษณะเป็นผลึกสีขาว ใช้ป้องกันการเจริญเติบโตของยีสต์ รา และเเบคทีเรีย โดยไม่มีผลต่อกลิ่นและรสชาติของอาหาร กรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) INS 210* เป็นกรดอ่อนในอาหาร เป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อใช้เป็นสารกันเสีย มีลักษณะเป็นผงผลึกหรือเกล็ดสีขาว มีคุณสมบัติสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ได้ กรดโพรพิโอนิก (Propionic Acid) INS 280* เป็นกรดอินทรีย์ที่พบในอาหารที่เกิดจากการหมัก เป็นวัตถุเจือปนอาหาร มีหน้าที่เป็นสารกันเสีย และใช้เป็นสารกันราในอาหาร(ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.foodnetworksolution.com)หมายเหตุ: *INS (International Numbering System) คือ ระบบเลขหมายสากลสำหรับวัตถุเจือปนอาหารสีสังเคราะห์ที่ใช้ในอาหารสีผสมอาหารสังเคราะห์ หมายถึง สีที่เป็นสารอินทรีย์ที่ได้จากการสังเคราะห์ ใช้เป็นวัตถุเจือปนอาหาร จัดอยู่ในกลุ่มสีผสมอาหาร สีสังเคราะห์มีราคาถูกกว่าสีธรรมชาติ อีกทั้งยังสะดวกต่อการเลือกใช้ ผู้ประกอบการจึงมักนิยมใช้สีสังเคราะห์ในอาหารมากกว่าสีธรรมชาติ ทั้งที่สีธรรมชาติมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากกว่า ซึ่งสีสังเคราะห์ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสีต่างๆ ได้แก่ กลุ่มสีแดง, กลุ่มสีเหลือง, กลุ่มสีเขียว และกลุ่มสีน้ำเงินกลุ่มสีแดง มี 3 สี ได้แก่ ปองโซ 4 อาร์ (Ponceau 4 R), คาร์โมอีซีน หรือ เอโซรูบิน (Carmoisine or Azorubine) และ เออริโทรซีน (Erythrosine)กลุ่มสีเหลือง มี 3 สี ได้แก่ ตาร์ตราซีน (Tartrazine), ซันเซ็ต เย็ลโลว์ เอฟซีเอฟ (Sunset Yellow FCF) และ ไรโบฟลาวิน (Riboflavin)กลุ่มสีเขียว มีสีเดียว ได้แก่ ฟาสต์ กรีน เอฟซีเอฟ (Fast Green FCF)และกลุ่มสีน้ำเงิน มี 2 สี ได้แก่ อินดิโกคาร์มีน หรือ อินดิโกติน (Indigocamine or Indigotine) และบริลเลียนท์ บลู เอฟซีเอฟ (Brilliant Blue FCF)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ผู้ประกอบการขนมเปี๊ยะ ปั้นด้วยใจ

เริ่มศักราชใหม่ทุกคนมีสิทธิ์นำเรื่องราวดีๆ จุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2560 นิตยสารฉลาดซื้อได้จัดเวทีเชิญผู้ประกอบการที่ทางนิตยสารฉลาดซื้อเคยนำสินค้ามาทดสอบในเรื่อง สารกันบูด จากกลุ่มขนมและอาหารประเภทต่างๆ จำนวน 9 ราย และตัวแทนจากห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ในเวทีได้เชิญนักวิชาการจากสถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล มาให้ความรู้ในเรื่องของสารกันเสียและการใช้ที่ถูกวิธี และยังได้แลกเปลี่ยนกับผู้เข้าร่วมเสวนา ซึ่งผู้ประกอบการแจ้งว่าจะได้นำข้อมูลจากการทดสอบไปปรับปรุงและควบคุมวัตถุดิบในการผลิตของตน อย่างเช่น ขนมเปี๊ยะครูสมทรง ขนมเปี๊ยะสิงห์เพชร และขนมเปี๊ยะคุณหมู ถือเป็นความร่วมมือที่ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการยกระดับกระบวนการผลิตของผู้ประกอบการ ส่วนทางห้างค้าปลีกเอง ก็รับจะนำข้อเสนอและข้อมูลจากเวทีไปพัฒนาในเรื่องการจัดซื้อสินค้าเพื่อผลิตและจำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคต่อไป ทุกคนมีสิทธิ์ฉบับบนี้จึงพาไปพบกับมุมมองของผู้ประกอบการรายเล็กๆ  3 เจ้า ที่มีมุมมองในการเลือกสรรสิ่งดีๆ ได้ด้วยมือของเราเองท่านแรกคุณวิมล ศิริวณิชย์วงศ์ จากขนมเปี๊ยะร้านหมู ซอยโปโล เล่าว่า “ พื้นเดิมของครอบครัวพี่จะทำอาหารทานเอง พ่อแม่ก็ทำให้ทานเองตั้งแต่ปู่ย่าเขาก็จะทำอาหารให้ทานเอง แล้วเราก็จะรู้วิธีการว่าจะทำอย่างไรให้อาหารอยู่ได้นานและเราก็จะรู้จักวิธีเลือกวัตถุดิบว่าอย่างไรถึงจะดี เขาจะสอนเราหมดเหมือนมันเป็นอะไรที่มันซึมอยู่ในสายเลือดก็ว่าได้ ทั้งครอบครัวเลยไม่ใช่เฉพาะแต่พี่หรอก คนในครอบครัวจะรู้สึกว่าการที่เราจะเป็นคนที่มีสุขภาพที่ดีนั้นต้องเริ่มจากการกิน และบวกกับความที่เราชอบทำอาหารก็คิดว่าถ้าเรารู้สึกอย่างไรก็อยากให้คนอื่นเค้ารู้สึกเหมือนเรา การควบคุมคุณภาพเลือกวัตถุดิบอย่างไรบ้างอย่างหนึ่งที่ต้องซื้อก็คือเรียกว่าต้องมาจากแหล่ง อย่างไข่เค็มที่เราใช้ก็ไม่ได้ซื้อทั่วๆ ไปจากท้องตลาด เราต้องมีเจ้าประจำซึ่งเรียกได้ว่าค้าขายกันมานาน ทุกอย่างเลยแม้กระทั่งแป้งสาลี ต้องผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม ผ่าน อย. ทุกอย่างต้องมีใบกำกับเรียบร้อยซึ่งตรงนั้นก็จะเหมือนกับเรากรองมาแล้วส่วนหนึ่ง แต่ที่สำคัญคือคุณภาพของวัตถุดิบ ต้องมีการผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมมาทุกอย่าง จากข่าวที่ออกไปมีผลกระทบอย่างไรตอนแรกที่นักข่าวเขียนคือการที่พี่ใช้คำว่าไม่มีวัตถุกันเสียนั้นมันผิดนะ ไม่ถูกต้องเพราะว่าถ้าไม่มีแปลว่าต้องไม่เจอเลย แต่จากที่เคยฟังตัวสารเบนโซอิกไม่ได้เกิดจากวัตถุกันเสียแต่มันเกิดจากถั่วด้วยเพราะฉะนั้นอะไรคือข้อสรุปที่ให้เราเขียน พี่เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่แม้กระทั่งผู้ประกอบการแบบพี่เอง หลายๆ คนก็ไม่เข้าใจหรอกว่ามันผิดอย่างไร และถ้าพี่ไม่ไปฟังพี่ก็ยังไม่รู้ว่ามาจากไหน แต่ตอนที่ข่าวออกไปส่วนหนึ่งลูกค้าเขาไม่เข้าใจนะ เขาอ่านข่าวปุ๊บหมดเลย 10 กว่าร้านที่เจอวัตถุกันเสีย เมื่อวันก่อนลูกค้ามาเขาบอกเขาไม่ได้ทานมาเกือบปีเลยเพราะแฟนเขาไม่ให้ซื้อแต่เขาก็มั่นใจว่าพี่ไม่ได้ใส่เพราะเขาซื้อไปถ้าวางทิ้งไว้ 10 วันขึ้นราหมดเลย คือพี่ไม่ได้ทำตรงนี้มาแค่ปีสองปี พี่ทำงานตรงนี้มาจะ 40 ปีแล้ว ถ้าเราไม่ได้ให้ความไว้วางใจกับลูกค้ามันคงยืนมาไม่ถึงตรงนี้ เพราะขายอยู่แต่ในร้านไม่เคยลงเฟสบุคหรืออะไรทั้งนั้น ไม่มีสื่อประชาสัมพันธ์ ตอนที่เป็นข่าวมีนักข่าวบอกว่าทำไมพี่ไม่ตอบโต้ พี่ก็บอกไปว่าไม่จำเป็นหรอกพี่คิดว่าลูกค้าเข้าใจนะ ถูกก็คือถูก วันหนึ่งลูกค้าก็จะกลับมาเหมือนเดิมและก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ คนที่เป็นลูกค้ากลุ่มหนึ่ง ตอนที่เป็นข่าวเขาโทรมาหาเลย บอกว่าเขาเสียความรู้สึกมาก วันนั้นพี่ไม่ได้อยู่บ้านเลยไม่ได้ฟังข่าวก็ถามเขาว่าเสียความรู้สึกเรื่องอะไร เขาก็ถามว่าทำไมพี่ใส่วัตถุกันเสีย วันนั้นลูกค้าโทรมากันใหญ่เลย พี่ก็ถามว่าไปเอามาจากไหน เขาถึงบอกว่าข่าวออก พี่ก็งงและก็ไม่รู้เรื่อง ที่บ้านก็ไม่รู้เรื่อง แล้ววันต่อมาหนังสือพิมพ์ฉบับเล็กลงแล้วคนก็อ่านแค่ว่าพบสารกันเสียในขนมเปี๊ยะ คนอ่านแค่นี้ไม่ได้อ่านข้างในแต่ว่ามันมีแบรนด์ร้านเราอยู่ก็แสดงว่าอ๋อร้านนี้มีแน่นอน คือคนไทยเป็นแบบนี้เขาไม่อ่านทั้งหมด ถ้าเขาอ่านทั้งหมดเขาก็เข้าใจว่าข่าวมันก็เป็นตามเนื้อข่าว แต่พี่ก็ไม่มีอะไรก็ช่างมัน แต่ถามว่ากระทบไหมก็มีผลกระทบนะ ไม่เฉพาะแต่ร้านพี่นะร้านอื่นๆ ก็คงเหมือนกัน แต่พอเรามาคิดว่าเราทำผิดอย่างไร ซึ่งก็มีลูกค้ามาแนะนำนะว่าพี่ต้องเขียนอย่างนี้ๆ สรุปพี่บอกว่าเอาอย่างนี้พี่ไม่เขียนอะไรเลยพี่เขียนแค่ว่าเก็บในตู้เย็นแล้วกัน (หัวเราะ) คนที่เขาทำอาหารให้คนอื่นกินต้องคงคุณภาพของอาหารถูกที่สุดเลย ถ้าคุณเป็นคนรุ่นพี่คุณจะรู้ว่าเคยทานอะไรแล้วมันอร่อยแล้วเดี๋ยวนี้มันจะไม่เหมือนเดิม แต่คำพูดแบบนี้คูณจะไม่ได้ยินจากปากลูกค้าของพี่นะ แต่ถ้าของร้านพี่ทานเมื่อ 30 ปีที่แล้ววันนี้ก็ยังโอเคเหมือนเดิม คุณต้องคิดว่าพี่ต้องทำมันด้วยใจรักขนาดไหนมันถึงอยู่มาได้ ไม่ว่าข่าวจะว่าอย่างไรแต่พี่ก็ยังผ่านมาได้แต่ก็น้อยใจนะเพราะเราไม่สามารถไปบอกลูกค้าทุกคนที่ได้รับข่าวนี้ได้ บางคนเข้าใจแต่บางคนอาจจะเสียความรู้สึกไปเลยก็ได้ ว่าที่กินมาตั้งนานนี่ใส่วัตถุกันเสียเหรออยากฝากอะไรถึงผู้ผลิตวัตถุดิบสำหรับทำขนม เช่น บริษัทผลิตแป้ง,ถั่วกวนสำเร็จรูปเขาก็ต้องมีคุณธรรมนะ หมายถึงว่าเขาต้องไม่เติมวัตถุกันเสีย ต้องมีวิธีรักษาให้มันอยู่ได้นาน ต้องมีความซื่อสัตย์กับลูกค้า อย่างของพี่ก็เลือกตั้งแต่ถั่วเลยต้องเป็นถั่วเกรด 1 ที่ไม่มีกรวด หิน ซึ่งราคาจะแพงกว่า แต่พอล้างน้ำให้สะอาดแช่ไว้แล้วใช้ได้เลย แต่มันก็จะมีถั่วผ่านรังสี ถั่วพอผ่านรังสีแล้วมันจะเก็บได้นาน แต่มันก็จะมีอันตรายกับผู้บริโภค อย่างโรงถั่วที่เขาโม่ให้พี่พอเขากะเทาะเมล็ดออกจากฝักแล้วจะอยู่ได้แค่ 1 เดือนเท่านั้นเอง ไม่นานกว่านี้ซึ่งถั่วที่พี่สั่งมานั้นก็จะเก็บนานไม่ได้ เพราะเดี๋ยวจะมีแมลงอะไรต่ออะไร เราก็การันตีจากความรู้สึกได้ว่ามันไม่ใส่ยา เพราะถ้ามียาผ่านรังสีปุ๊บแมลงไม่มีแน่นอนคุณชุติกานจน์ กิตติสาเรศ และคุณนลพรรณ มั่นนุช พี่ดาและพี่อิ๋ว ร้านขนมเปี๊ยะสิงห์เพชร ซอยชินเขต ถนนงามวงศ์วาน เล่าประวัติก่อนเริ่มมาทำขนมเปี๊ยะขายว่าแต่เดิมนั้นขายน้ำ และขนมอยู่กับเตี่ย รับขนมของคนอื่นมาขายหลายยี่ห้อ จนวันหนึ่งก็มีความคิดว่าจะทำอะไรขายดี จึงได้ไปเรียนทำขนมปังแต่ก็ทำไม่ไหว จึงเปลี่ยนมาเรียนทำขนมเปี๊ยะ ด้วยความที่ชอบทานมาตั้งแต่เด็ก จึงชอบที่จะทำขนมเปี๊ยะ แล้วนำความรู้ที่เรียนมาลองทำทานเองบ้าง ทิ้งบ้าง ให้เพื่อนช่วยชิมบ้าง และปรับปรุงสูตรให้เป็นสูตรของตนเองจนเพื่อนบอกว่าสูตรนี้อร่อยแล้ว จึงมาทำขาย โดยเริ่มไปตั้งบูธขายที่เดอะมอลล์ท่าพระ และเดอะมอลล์บางแค ก็ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี หลังจากข่าวเรื่องพบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะออกไปเป็นอย่างไรบ้างแต่ข่าวที่ออกไปก็ส่งผลให้เราเป็นที่รู้จักมากขึ้น เพราะมีโทรศัพท์เข้ามาสอบถามว่าหาซื้อได้ที่ไหนบ้าง ทราบมาจากข่าวจึงอยากลองชิม เราคิดว่าวัตถุกันเสียน่าจะปนเปื้อนมากับแป้งที่ใช้ทำขนม  แต่แป้งที่เราใช้นั้นมีฉลาก อย. เพราะเราคิดว่าของที่มี อย. กำกับน่าจะสะอาดอยู่แล้ว เราจึงไม่ทราบจริงๆ ว่ามีสารปนเปื้อนอยู่ จากเรื่องนี้ก็ส่งผลกระทบทำให้ยอดขายตกลงไปนิดหน่อย เพราะผู้บริโภคอาจจะยังไม่กล้าซื้อไปทานแล้วมีวิธิแก้ไขอย่างไรเมื่อยอดขายตกลงไปแบบนี้ ได้คุยกับลูกค้าหรือไม่ลูกค้ามีทั้งที่หยุดซื้อขนมเราไปบ้าง และที่ยังซื้ออยู่บ้าง แม้จะซื้อน้อยลง แต่ยังมีลูกค้าที่ยังไว้ใจร้านเรา เพราะขนมเราทำครั้งละน้อยๆ พยายามทำใหม่ทุกวัน เราเน้นที่ความสดใหม่ เพราะร้านเราเพิ่มเริ่มต้น ต้องคงคุณภาพให้ได้  คือเมื่อทำเสร็จแล้วก็จัดส่งให้ลูกค้าทันที เพราะส่วนใหญ่เราจะทำขนมตามออเดอร์ลูกค้า เช่น ลูกค้าโทรมาสั่งจำนวน และนัดเวลาส่งขนมไว้ เราก็จะทำตามนั้น  แต่หากไม่ทันก็ต้องขอเลื่อนเวลาลูกค้าออกไป เพราะขนมของเราจะใช้เวลาในการทำค่อนข้างนานในการทำขนมให้อร่อย และคงคุณภาพไว้ต้องมีความสด ใหม่ เพราะขนมที่นำออกมาจากเตาใหม่ๆ จะกรอบ รสชาติจะหวาน หอม ละมุนในปาก แต่หากพักไว้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง แป้งขนมจะนิ่มและเย็นลิ้น  นี่เป็นคำบอกเล่าจากลูกค้าที่ติดใจในความอร่อยของขนมร้านเรา และขนมทางร้านเราไม่ได้ใส่วัตถุกันเสีย นี่จึงเป็นจุดขายของร้าน นอกจากนี้ที่ร้านเราจะซื้อแป้งทำขนมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แล้วทำขนมให้หมดภายในอาทิตย์นั้นๆเพราะหากซื้อมาเก็บไว้นานแป้งจะไม่สด พี่คิดว่าผู้ประกอบการท่านอื่นควรมีความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคอย่างไรบ้างอย่างร้านเรา ของใหม่ก็คือของใหม่ที่เพิ่มทำออกมา เพราะเราทำตามออเดอร์ลูกค้า จะไม่ทำขนมเก็บไว้นาน และต้องการให้ผู้ประกอบการรายย่อยรักษาเรื่องนี้ไว้ ไม่โกหกลูกค้า ไม่นำของเก่าออกมาขาย แล้วบอกว่าเป็นของใหม่ คือให้เปรียบเหมือนเราทำรับประทานเอง และวัตถุดิบที่ทางร้านใช้ ทั้งแป้งทำขนม เกลือ สีผสมอาหาร จะใช้ยี่ห้อที่มีฉลาก อย. หลังจากที่กลับมาจากการอบรม เราได้กลับมาจัดโต๊ะใหม่ มีการใส่ถุงมือตลอดเวลาที่ทำขนม จากเดิมที่ใส่บ้าง ถอดบ้าง เพราะเราใช้ถุงมือแพทย์จะขาดง่าย  ก็ได้ปรับเปลี่ยนถุงมือใหม่เมื่อลูกค้าเสนอความคิดเห็น หรือมีคำติชมเข้ามา ได้นำมาปรับใช้กับที่ร้านหรือไม่มีค่ะ เช่นเริ่มแรกขนมที่ทำมาเป็นแป้งนิ่ม ซึ่งจะเสียง่าย จึงนำมาปรับสูตรไปเรื่อยๆ ตามที่ลูกค้าต้องการ ขนมก็จะเก็บไว้ได้นานขึ้นจากเดิมเก็บไว้ได้ 2-3 วัน เมื่อปรับปรุงสูตรใหม่จะเก็บไว้ได้ 4 วัน ฉลากที่ร้านจะเขียนแจ้งว่าควรเก็บไว้ในตู้เย็นทันที เพราะขนมเราไม่ได้ใส่วัตถุกันเสีย ขนมอยู่ในตู้เย็นได้ 2 สัปดาห์  รวมทั้งบอกกล่าวกับลูกค้าโดยตรงมากกว่า เช่น เมื่อลูกค้ามาซื้อขนมก็จะบอกกับลูกค้าทันทีว่าควรทานขนมให้หมดภายใน 3 วัน เหตุที่เราไม่ใส่วัตถุกันเสีย เพราะเราต้องการให้ลูกค้าได้ดูแลสุขภาพด้วยคุณครูสมทรง นาคศรีสังข์ ขนมเปี๊ยะครูสมทรง  อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐมสมัยก่อนตอนเริ่มทำขนมก็ช่วยกันทำกับลูกอีก 3 คน ในห้องแถว 1 ห้อง ลูกเรียนที่สาธิตเกษตร ส่วนครูเป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการที่ ร.ร.อนุบาลกำแพงแสน ตอนเช้าก่อนไปส่งลูกเราก็ตั้งเตาถ่านนึ่งถั่วไว้หน้าบ้าน  ไฟก็ดับไปเอง พอกลับมาตอนเย็นก็จะนำถั่วมาบด นวดแป้ง ช่วยกันปั้นขนม ช่วยกันทำจนเสร็จ และนำไปส่งตอนเช้าโดย บรรจุถุงละ   5 ลูก  ขนมลูกจะลูกใหญ่มาก ขายถุงละ 20 บาท ซึ่งถ้าถุงไหนที่ขนมลูกไม่สวยเราก็จะนำไปให้ลูกๆ ทานที่ จะขายเฉพาะลูกสวยๆ จะเห็นว่าเราดูแลเรื่องคุณภาพมาตั้งแต่เริ่มแรก ดังนั้นเมื่อเกิดเรื่องทำนองนี้ขึ้นจึงทำให้เราเครียดมากจากกิจการเล็กๆ มาจนถึงปัจจุบันที่เป็นที่รู้จักในทุกวันนี้ เราค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไปตั้งแต่เริ่มทำมาก็เติบโตมาเรื่อยๆ แต่เมื่อมีคนเชิญให้ไปออกรายการทางช่อง 5 พอรายการออกอากาศก็มีคนโทรเข้ามาสั่งเป็นจำนวนมากจนเราทำไม่ทัน ตอนนั้นเหมือนเป็นการฆ่าตัวเองเลย เพราะทำไม่ทัน พอเราเร่งรีบขนมก็ไม่มีคุณภาพ รวมทั้งมีผู้ผลิตขนมเปี๊ยะเจ้าอื่นเกิดขึ้นมาอีกหลายราย จึงค่อยๆ เติบโตมาจนถึงทุกวันนี้ ขนมของเราเน้นที่ความสดใหม่ จึงไม่คิดที่จะใส่สารกันบูด ครูจะเล่าถึงกลยุทธ์ที่เหตุใดครูจึงทำขนมที่ไม่ใส่สารกันบูด และก็ไม่มีความคิดที่จะใส่ด้วย เพราะหากเราทำขนมที่ขายหมดภายใน 3 วัน เราจะสามารถทำขนมได้ทุกวัน เพราะลูกค้าที่ซื้อไปจะต้องรับประทานให้หมดภายใน 3 วัน เพราะไม่เช่นนั้นขนมจะเสีย แต่หากเราใส่สารกันบูด หรือทำขนมที่อยู่ได้ 7 วัน หรือนานเป็นเดือน เราก็ไม่รู้ว่าขนมเราจะขายได้เมื่อไร แล้วขนมก็จะไม่อร่อยเหมือนขนมที่ทำสดใหม่ด้วย  ตอนที่มีข่าวว่าขนมของคุณครูใส่สารกันบูดมีอะไรเกิดขึ้นบ้างครูก็รู้สึกเสียใจ และโมโหเหมือนกัน เพราะขนมเราไม่ได้ใส่สารกันบูดจริงๆ คิดว่ามีคนกลั่นแกล้งเราหรือเปล่า เพราะช่วงนั้นมีทั้งข่าวโทรทัศน์ และข่าวหนังสือพิมพ์ออกมาจำนวนมาก ทำไมข่าวออกมาแบบไม่นึกถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพนักงานของเรา เพราะโดยตัวเราเองนั้นไม่ทำอาชีพนี้ก็มีอาชีพอื่น แต่พนักงานของเราจะเดือดร้อน ดังนั้นเราจึงคิดหาวิธีแก้ไข เพราะเห็นในตอนท้ายข่าวว่าอาจปนเปื้อนมากับวัตถุดิบ จึงนำเรื่องมาปรึกษากับหลาน โดยให้นำวัตถุดิบทุกชนิด ทั้ง แป้งสาลี   ไข่  เกลือ  ทุกอย่างที่เราใช้ประกอบในการทำขนมไปตรวจหาสารปนเปื้อน ซึ่งผลปรากฏว่าพบอยู่ใน แป้งสาลีที่ใช้ทำขนม จึงติดต่อสอบถามไปที่บริษัทผู้ผลิตแป้ง เขาแจ้งว่าในตัวแป้งสาลีได้ใส่สารฟอกขาว  “ตอนแรกติดต่อขอให้ทางบริษัทผลิตแป้งที่ไม่ใส่สารให้เรา ได้รับคำตอบที่ไม่แน่นอนว่าต้องมีการสั่งซื้อในแต่ละครั้งจำนวนมากน้อยเพียงใด และคิดว่าเราเป็นธุรกิจเล็กๆ เขาจะทำให้เราหรือไม่  จึงติดต่อให้ทางบริษัทออกใบรับรองให้สำหรับวัตถุดิบที่เราใช้ทุกอย่างว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง แต่ต่อไปจะพยายามติดต่อกับทางบริษัทผู้ผลิตแป้งอีกครั้งว่าต้องสั่งผลิตในจำนวนเท่าไรที่จะไม่ต้องใส่สารฟอกขาวให้เราได้ คิดอย่างไรหากจะต้องมีการรวมกลุ่มกันของผู้ผลิตขนมเปี๊ยะในการสั่งแป้งเพื่อให้ได้สินค้าที่ได้มาตรฐานยังไม่เคยคุยเรื่องนี้กับผู้ผลิตรายอื่นเหมือนกัน แต่คิดว่าเรื่องนี้ต้องมีคนกลางช่วยประสานให้ผู้ผลิตขนมเปี๊ยะหลายรายมารวมตัวกันเพื่อสั่งแป้งสาลีกับผู้ผลิตรายเดียว น่าจะมีความเป็นไปได้สูงกว่าให้ครูเป็นผู้ประสานเอง ดังนั้นจึงขอให้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเป็นคนกลางช่วยประสานกับกลุ่มผู้ผลิตขนมที่เขาต้องการแป้งสาลีที่ไม่ใส่สารให้ด้วยค่ะ อยากให้ไปสอบถามผู้ผลิตขนมเจ้าที่ไม่พบสารกันบูดว่าใช้แป้งชนิดใดเป็นส่วนผสม ให้เขาช่วยแนะนำเรา ซึ่งวิธีนี้ครูคิดว่าจะเป็นวิธีที่ง่ายกว่า ต้องลองดูก่อน  แต่อาจไม่ได้รวมกลุ่มเฉพาะผู้ผลิตขนมเปี๊ยะเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ผลิตขนมชนิดอื่นที่ใช้แป้งสาลีเป็นวัตถุดิบในการผลิตขนม หรือให้บริษัทผู้ผลิตแป้งสาลีเสนอมาให้เราว่าบริษัทใดที่สามารถผลิตแป้งแล้วไม่ใส่สารกันเสียได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 สารกันบูด เรื่องจริงบางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้

สารกันบูดคืออะไรสารกันบูดเป็นสารเคมีที่สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติหรือสังเคราะห์ขึ้น ซึ่งมีหน้าที่หลักในการทำลายหรือยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ในอาหาร  เพราะการขยายตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้นดังกล่าวอาจก่อให้เกิดพิษภัยในอาหารหรือทำให้อาหารเน่าเสียได้ จึงเป็นสารที่มีประโยชน์โดยตรงในการยืดอายุการเก็บรักษาของอาหารนั้น บางครั้งสารกันบูดชนิดเดียวกันอาจมีคุณสมบัติในการปรับคุณภาพด้านประสาทสัมผัสให้ดีขึ้นด้วย เช่น สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (สารฟอกขาว) ไม่เพียงช่วยป้องกันจุลินทรีย์หลายชนิดไม่ให้เจริญแล้ว ยังช่วยป้องกันให้อาหารไม่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลคล้ำได้  หรือสารไนไตรท ที่หยุดยั้งการเจริญของสปอร์แบคทีเรียคลอสทริเดียม โบทูลินั่มในไส้กรอก ยังช่วยให้ไส้กรอกมีสีชมพูสวยงามด้วย อย่างไรก็ตามเมื่อจะใช้สารกันบูดก็ควรเน้นในปริมาณที่หยุดยั้งการเจริญของจุลินทรีย์เป็นสำคัญ เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคเป็นหลักอันตรายจากสารกันบูดไม่ค่อยมีโอกาสที่จะเป็นแบบเฉียบพลัน  แต่มักเป็นแบบเรื้อรังที่สะสมเป็นเวลานานและมักจบที่โรคมะเร็งตามอวัยวะต่างๆ ยกเว้น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่มีผลเฉียบพลันที่ทำให้เกิดการหอบหืดจนอาจเสียชีวิตได้ ในผู้บริโภคที่มีอาการแพ้ประเภทของสารกันบูดสารกันบูดมีหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ซึ่งสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ได้แก่ กรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโพรพิโอนิก สารกันบูดที่เป็นกรดอินทรีย์ยังพบในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและยังสามารถสร้างได้โดยจุลินทรีย์บางชนิด เช่น กรดเบนโซอิกมีพบในผลไม้พวกเบอรี่หลายชนิด เครื่องเทศจำพวกอบเชย และนมเปรี้ยว ผลแครนเบอรี่เป็นตัวอย่างของผลไม้ที่มีกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมาก กรดซอร์บิกก็มีพบในผลไม้หลายชนิดเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีกรดโพรพิโอนิกที่ใช้เติมเพื่อยืดอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์เบเกอรี ก็สร้างได้โดยแบคทีเรียที่ใช้ในกระบวนหมักเนยแข็งบางประเภท   ในอุตสาหกรรมอาหารยังมีสารเคมีบางชนิดที่ไม่ได้ทำหน้าที่เป็นสารกันบูดแต่มีโครงสร้างคล้ายสารกันบูด เช่น สารเบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ ที่ใช้ฟอกแป้งให้ขาว มีโครงสร้างเหมือนกรดเบนโซอิก ซึ่งอาจทำให้ถูกวิเคราะห์เป็นสารกันบูดชนิดดังกล่าวได้ จุดนี้จึงอาจเป็นข้อเตือนใจในการวิเคราะห์ผลส่วนสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอนินทรีย์ เช่น สารไนเตรท สารไนไตรท สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์  สารอนินทรีย์เหล่านี้มีสมบัติที่ควรทราบไว้ด้วย เช่น สารไนเตรทและสารไนไตรทสามารถเปลี่ยนกลับไปมาได้ตามปฏิกริยาเคมีที่เกิดจากจุลินทรีย์ในเนื้อสัตว์  สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์สามารถสลายตัวได้ในระหว่างกระบวนการผลิตที่มีการให้ความร้อนและระหว่างการเก็บรักษา  ดังนั้นในการอนุญาตให้ใช้สารกันบูด จึงได้มีการศึกษาถึงปริมาณที่ต่ำสุดที่สามารถก่อให้เกิดผลในการยืดอายุการเก็บรักษาอาหารและปริมาณสูงสุดที่มีโอกาสก่ออันตรายกับสุขภาพ พร้อมกำหนดเป็นเกณฑ์ที่อนุญาตให้เหลืออยู่ในอาหาร เพื่อให้สารเหล่านั้นได้ทำหน้าที่ในการยืดอายุการเก็บรักษาโดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการผู้ประกอบการหากจะใช้สารกันบูดในผลิตภัณฑ์ของตน ต้องเข้าใจข้อความในกฎหมายอย่างถ่องแท้เพื่อให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ปริมาณของสารกันบูดที่กำหนดไว้ในกฏหมายมักระบุปริมาณสารกันบูดให้มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมในอาหารที่มีหน่วยเป็นลิตรหรือกิโลกรัม  ซึ่งหน่วยมิลลิกรัมต่อกิโลกรัมหรือลิตร บางครั้งเรียกว่า พีพีเอ็ม (ppm) ซึ่งก็สามารถคิดกลับมาเป็นค่าเปอร์เซนต์ที่คุ้นเคยกันได้ โดยใช้บัญญัติไตรยางค์ธรรมดา เช่น กฎหมายอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิก 1000 มิลลิกรัมในเครื่องดื่ม 1 ลิตร หมายถึง 0.1%  ทั้งนี้ จะเห็นว่ากรดเบนโซอิก 1000 มิลลิกรัม คือ 1 กรัม ซึ่งเป็นปริมาณที่น้อยมากและไม่สามารถชั่งด้วยตาชั่งตามบ้านได้  ผู้ประกอบการจึงมีทางเลือกเพียง 2 วิธี คือ (1) เตรียมเครื่องดื่มครั้งละอย่างน้อย 25 ลิตร เพื่อให้สามารถใช้ตาชั่งพลาสติกที่ใช้ในร้านเบเกอรีที่มีขีดตัวเลขที่อ่านเห็นเป็น 25 กรัม ตัวละประมาณ 800 บาท หรือ (2) ซื้อตาชั่งไฟฟ้าที่มีความละเอียดเพียงพอให้สามารถใช้ชั่งที่น้ำหนักต่ำขนาด 1 กรัม  ซึ่งมีราคาประมาณ 3,000-5,000 บาท  ทั้งนี้ ห้ามใช้วิธีตวงสารกันบูด(กะเอา) ต้องชั่งเท่านั้น ส่วนอาหารที่เป็นของเหลว อนุโลมให้ตวงได้ แต่อุปกรณ์ที่ใช้ตวงต้องมีความละเอียดเพียงพอ หากอาหารเป็นของแข็งต้องใช้การชั่งเท่านั้น ห้ามตวงเด็ดขาดหลังจากเข้าใจข้อความในกฎหมายที่นำไปสู่การปฏิบัติในการชั่งตวง ซึ่งเป็นการควบคุมให้ปริมาณสารกันบูดที่ใช้ไม่เกินกว่าที่กฏหมายกำหนดแล้ว ก็ยังมีปัจจัยอีกประการหนึ่ง ซึ่งสำคัญมาก คือ ความทั่วถึงของสารกันบูดที่เติมลงในอาหาร หากเติมลงในอาหารเหลว ต้องมั่นใจว่ามีการคนจนละลายหมด ไม่ตกตะกอนและกระจายตัวจนทั่ว ซึ่งสามารถทำและสังเกตเห็นไม่ยากในกรณีที่อาหารมีลักษณะใสและไม่ข้น  แต่หากอาหารมีลักษณะขุ่นข้นหรือเป็นของแข็งที่อาจเป็นผงหรือกึ่งแข็งกึ่งเหลว ต้องมีวิธีการปฏิบัติที่ช่วยให้มั่นใจว่ามีการกระจายตัวของสารกันบูดอย่างทั่วถึง ได้แก่ การผสมสารกันบูดกับส่วนผสมที่เป็นผงซึ่งใช้ในปริมาณมากให้ทั่วถึงก่อน แล้วจึงนำผงที่ผสมกันแล้วเติมลงในอาหาร  เช่น ในสูตรอาจใช้สารกันบูด 10 กรัมและน้ำตาล 500 กรัม ก็นำสารกันบูดทั้งหมดผสมกับน้ำตาล 100 กรัมให้ทั่วถึงก่อน แล้วนำน้ำตาลที่ผสมกับสารกันบูดแล้วดังกล่าว ไปผสมกับน้ำตาลส่วนที่เหลือ 400 กรัม ให้ทั่วถึง  แล้วจึงนำน้ำตาลทั้งหมดที่มีสารกันบูดผสมอยู่ลงไปคลุกเคล้าในอาหารให้ทั่วถึง ตามวิธีการปกติสรุปแล้วการเติมสารกันบูดลงในอาหารต้องมีข้อควรปฏิบัติ 3 ประการ คือ (1) รู้ปริมาณที่เติมได้ตามกฏหมาย (2) ชั่งสารกันบูดและอาหารให้ถูกต้อง และ (3) ผสมให้ทั่วถึงคำถามที่พบได้บ่อยจากคนใช้สารกันบูดQ1. ทำไมใช้สารกันบูดแล้ว บางทีก็บูด ยกชุด  บางทีก็ไม่บูด ยกชุดชั่งน้ำหนักสารกันบูดถูกต้องไหม? ชั่งน้ำหนักอาหารถูกต้องไหม?2. ทำไมใช้สารกันบูดแล้วบางห่อก็บูด  บางห่อก็ไม่บูด ผสมทั่วถึงหรือเปล่านะ3. เราไม่ใช่คนใช้สารกันบูดสักหน่อย แต่มาหาว่าเราใช้ ได้อย่างไรA- ขอรายละเอียดสินค้าจากคนส่งวัตถุดิบหรือส่วนประกอบทุกตัวว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง เพราะอาจมีการใช้ในส่วนประกอบเหล่านั้น ซึ่งภาษาวิชาการ เรียกว่า carry over  ที่หมายความว่าตกค้างมาถึงของเรา- อาจใช้วัตถุดิบจากพืช หรือจากการหมักที่โดยธรรมชาติมีสารกันบูดชนิดนั้นปะปนอยู่- อาจใช้วัตถุดิบที่มีการเติมวัตถุเจือปนอาหารบางชนิด ที่มีโครงสร้างคล้ายสารกันบูดบางชนิด หรือมีการผสมสารกันบูดบางชนิดในวัตถุดิบQเราไม่อยากใช้สารกันบูดแต่อยากให้เก็บรักษาได้นานขึ้น ควรทำอย่างไรA ต้องสังเกตว่าอาหารเน่าเสียจากสาเหตุอะไรแล้วป้องกันตามเหตุนั้น เช่น อาหารกึ่งแห้งพวกขนมเปี๊ยะมักเสียจากเชื้อรา ซึ่งตามธรรมชาติต้องใช้อากาศเพื่อการเจริญ เราก็ใส่ซองสารดูดออกซิเจนลงในถุงที่จำหน่าย ทำให้ในถุงไม่มีออกซิเจนเพียงพอ เชื้อราก็ไม่เจริญ เป็นต้นคำถามจากคนตรวจสารกันบูดQ1. ทำไมสุ่มอาหารชุดเดียวกัน เราตรวจเจอสารกันบูดเกินที่กำหนด  คนขายส่งตรวจเจอต่ำกว่าถามคนขายว่าผสมอย่างไร ทั่วถึงไหม2. ทำไมสุ่มอาหารชุดเดียวกัน คนขายบอกไม่ได้เติมสารกันบูด เราตรวจเจอสารกันบูด  คนขายส่งตรวจไม่เจอ- อาจใช้วัตถุดิบที่มีปนเปื้อนตามธรรมชาติไหม หรือมีการเติมสารกันบูดหรือสารที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายสารกันบูด3. ถ้าพบสารกันบูดปริมาณนิดเดียว ไม่เกินมาตรฐาน แต่ไม่ยอมแจ้งบนฉลาก จะจัดเข้าข่ายฉลากปลอมไหมA- ปริมาณสารกันบูดที่มีผลในการยืดอายุการเก็บรักษา ได้แก่ 500-2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งถ้าพบว่าต่ำกว่า น่าจะไม่จงใจ ซึ่งอาจเกิดจากการปนเปื้อนจากวัตถุดิบหรือการปนเปื้อนข้ามจากอาหารสูตรอื่นที่มีการเติมสารกันบูด จึงต้องมีการสอบสวนเหตุ ซึ่งหากมาจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่น่าจะเข้าข่าย แต่หากเป็นการ carry over จากวัตถุดิบหรือปนเปื้อนข้ามน่าจะเข้าข่าย อย่างไรก็ตาม ต้องระวังผลวิเคราะห์ที่อาจผิดพลาดจากวัตถุเจือปนอาหารชนิดอื่นที่มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกันด้วยข้อเตือนใจงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นงานที่สำคัญ ซึ่งต้องเกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ผลิตอาหารและผู้บริโภคเอง ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยความไว้วางใจและปรารถนาดีต่อกัน ทั้งนี้  เรื่องสารกันบูดที่เล่าสู่กันฟังเป็นตัวอย่างของความร่วมมือของหน่วยงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ทำหน้าที่ของตนในแนวทางที่ควรจะเป็น แต่ก็รับฟังผู้ผลิตอาหารที่ก็มีเจตนาดีเช่นกัน เมื่อพบปัญหาแล้วจึงพูดคุยกัน แสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อหาคำตอบและทางออกร่วมกัน   ความจริงใจเหล่านี้ในที่สุดจะยังประโยชน์ให้กับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริโภค ซึ่งก็คือพวกเราทุกคนนั่นเอง********สรุปการประชุมสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร กรณีวัตถุกันเสีย28 พฤศจิกายน 2560  โรงแรมเซ็นจูรี่พาร์ค   นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ภายใต้โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งสนับสนุนงบประมาณโดย สสส. ผลการประชุมพบว่า ผู้ประกอบการมีความตั้งใจจริงในการที่จะปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยการขอให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบทำใบรับรองสินค้าของตนเอง(Certificate of analysis) ว่าปราศจากสารกันบูด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐาน การประชุมนี้จัดขึ้นเพื่อสร้างความเข้าใจที่ดีร่วมกันระหว่างองค์กรผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และห้างค้าปลีก ซึ่งต่างเป็นผู้เล่นที่สำคัญในการผลิตและจำหน่ายสินค้าด้านอาหาร โดยนิตยสารฉลาดซื้อส่งหนังสือเชิญประชุมถึงผู้ประกอบการทุกราย ที่ทางนิตยสารได้เคยสุ่มสำรวจและทดสอบผลิตภัณฑ์ ในประเด็นที่เกี่ยวกับการใช้สารกันบูด ในช่วงปี 2559-2560 ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีมีผู้ประกอบการเข้าร่วมงานอย่างคึกคัก มีการบรรยายด้านวิชาการจาก ศ.วิสิฐ จะวะสิต นักโภชนาการ จากสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เรื่อง ความสำคัญและการใช้สารกันบูดอย่างเหมาะสม ในหัวข้อใหญ่ๆ ดังนี้  1.สารกันบูดมีความสำคัญเพราะช่วยยืดอายุอาหาร สามารถใช้ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกต้อง คือ ปริมาณถูกต้องตามกฎหมายกำหนด ต้องใช้เครื่องชั่งที่เหมาะสม และผสมให้ถูกวิธี  2.ความสำคัญของการระบุข้อความบนฉลาก เพื่อแจ้งเป็นข้อมูลแก่ผู้บริโภค  3.เรื่องที่ต้องเข้าใจ บางครั้งเมื่อตรวจพบการปนเปื้อนของสารกันบูด ในปริมาณไม่มากทั้งๆ ที่ผู้ประกอบการไม่ได้ใส่ลงไปในกระบวนการผลิต อาจเป็นได้จากตัววัตถุดิบที่นำมาประกอบเป็นอาหาร ซึ่งมีทั้งที่เป็นการตั้งใจใส่ลงไปในวัตถุดิบก่อนถึงมือผู้ประกอบการ หรือเป็นสารกันบูดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งมีอยู่เองในตัววัตถุดิบ  หรือมีสารบางตัวที่อาจมีคุณสมบัติคล้ายกับตัวสารกันบูดทำให้ผลการวิเคราะห์ได้ค่าที่แสดงว่าตรวจพบ(ในปริมาณน้อย)  4.การเก็บรักษาที่ถูกวิธีช่วยยืดอายุสินค้าได้ ด้วยการทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการบูดเสียและแก้ให้ถูกจุด 5.อาหารหลายชนิดจำเป็นจริงๆ ต้องใช้สารกันบูด มิฉะนั้นจะก่อผลเสียในการบริโภคมากกว่าไม่ใส่เช่น การใช้ไนเตรทในไส้กรอก เป็นต้น แต่ต้องอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหลังการบรรยายมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมในบรรยากาศที่ดี ผู้ประกอบการได้นำเสนอให้องค์กรหรือหน่วยงานที่กำกับดูแลสร้างความเข้าใจให้กับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการในขั้นตอนในทางกฎหมายหรือวิธีปฏิบัติที่ง่าย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้จริง ซึ่งทางองค์กรผู้บริโภคยินดีนำข้อเสนอดังกล่าวไปจัดประชุมและเสนอเป็นความเห็นกับทางหน่วยงานต่อไป โดยบทสรุปในครั้งนี้คือ  ผู้ประกอบการได้แสดงเจตนารมณ์ว่าตนเองนั้นมีความตั้งใจจริงในการที่จะปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของตนเอง โดยจะมีการขอให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบทำใบรับรองสินค้าของตนเอง(Certificate of analysis) ว่าปราศจากสารกันบูด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคว่าจะได้รับสินค้าที่มีคุณภาพดี ได้มาตรฐานต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 สารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก

ผลทดสอบ โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการ เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพสารกันบูดในขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือก“ขนมปัง” นั้น ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่เป็นเมนูที่หารับประทานได้ง่าย ซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป อีกทั้งราคาไม่แพงและแถมสะดวกในการพกพาไว้รับประทานระหว่างเดินทางอีกด้วย จึงเป็นทางเลือกที่ทดแทนอาหารหนึ่งมื้อได้เลยทีเดียว  ซึ่งชนิดของขนมปังที่พบได้มากที่สุดตามร้านค้าร้านสะดวกซื้อต่างๆ ก็คือ ขนมปังพร้อมทาน(Snack Bread)  หรือขนมปังที่มีปริมาณบรรจุต่อ 1 ซอง เหมาะสมพอดีต่อการรับประทาน 1 ครั้ง ขนมปังพร้อมทานมีหลายรูปแบบหลายรสชาติ แต่ที่น่าจะได้รับความนิยมมากที่สุดคงหนีไม่พ้น ขนมปังสอดไส้หวาน เช่น ไส้ครีม ครีมสังขยา ช็อกโกแลต  ตลอดจนแยมผลไม้ต่างๆ ฉลาดซื้อฉบับนี้ จึงขอนำเสนอผลวิเคราะห์ปริมาณ “สารกันบูด” ในขนมปังไส้หวาน โดยเราเลือกวิเคราะห์ขนมปังไส้หวาน 2 รสชาติแบบไทยๆ อย่าง ไส้สังขยาและไส้เผือก ซึ่งหลายๆ คนน่าจะชื่นชอบ จำนวน 19 ตัวอย่าง เราลองไปดูกันสิว่า ขนมปังไส้สังขยาและไส้เผือกที่เราเคยรับประทาน หรือบางคนอาจจะรับประทานเป็นมื้อเช้าแทบจะทุกวันมีปริมาณของสารกันบูดมาก-น้อยแค่ไหนกันบ้าง นอกจากนี้เรายังสุ่มทดสอบไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูปที่เป็นวัตถุดิบในการทำขนมปังและเบเกอรี่ต่างๆ อีก 8 ตัวอย่างจากร้านค้าที่ขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการทำขนมอบ เบเกอรี่ เพื่อให้รู้ชัดกันไปเลยว่าขนมปังหรือไส้ อันไหนที่มีสารกันบูดมากกว่ากันหมายเหตุ สารกันเสียที่ระบุบนฉลากอาหารINS 202 (โพแทสเซียมซอร์เบต) กลุ่มซอร์เบตINS 210 (กรดเบนโซอิก) กลุ่มเบนโซเอตINS 211 (โซเดียมเบนโซเอต) กลุ่มเบนโซเอตINS  282 (แคลเซียมโพรพิโอเนต) กลุ่มโพรพิโอเนตผลทดสอบการวิเคราะห์หาปริมาณสารกันบูดในขนมปังใส่ไส้ครั้งนี้ เราเลือกทดสอบสาร 2 ตัว คือ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นสารกันบูดที่นิยมใช้ในอาหาร และมีการกำหนดค่ามาตรฐานไว้ (ส่วนสารแคลเซียมโพรพิโอเนต INS 282 ที่พบในหลายผลิตภัณฑ์ ไม่มีการกำหนดค่ามาตรฐาน ระบุเพียงว่า ปริมาณที่เหมาะสม จึงไม่ได้ทดสอบ) ส่วนตัวอย่างขนมปังสอดไส้ที่ฉลาดซื้อสุ่มนำมาทดสอบครั้งนี้ มีทั้งตัวอย่างที่วางจำหน่ายอยู่ในร้านสะดวกซื้อ ซูเปอร์มาร์เก็ต และห้างสรพพสินค้าทั่วไป รวมทั้งตัวอย่างจากร้านขนมปังสอดไส้เจ้าดัง ที่คนชอบทานขนมปังสอดไส้ต่างๆ น่าจะรู้จักกันดี รวมแล้วทั้งหมด 14 ยี่ห้อ 19 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ที่ได้พบว่า •ขนมปังไส้สังขยา 11 ตัวอย่าง และขนมปังไส้เผือก 8 ตัวอย่าง รวมทั้งหมด 19 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนของสารกันเสีย กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ทุกตัวอย่าง •ข่าวดี ทุกตัวอย่างพบในปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด โดย 3 ตัวอย่างที่พบปริมาณ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก รวมกันน้อยที่สุด คือ1. ยี่ห้อ UFM ขนมปังไส้เผือก พบกรดเบนโซอิก 15.23 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม (มก./กก.) หรือถ้าคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 100 กรัม จะเท่ากับ 1.53 มิลลิกรัม ส่วนกรดซอร์บิก ไม่พบ2. ยี่ห้อ กาโตว์ เฮาส์ ขนมปังไส้เผือก พบกรดเบนโซอิก 15.87 มก./กก. หรือคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 90 ก. จะเท่ากับ 1.42 มก.3.ขนมปังเจ้าดังจากเยาวราช ไส้สังขยา พบกรดเบนโซอิก 15.38 มก./กก. และกรดซอร์บิก 5.54 มก./กก. หรือคิดเฉลี่ยต่อ 1 ชิ้น ที่น้ำหนัก 87 ก. จะเท่ากับกรดเบนโซอิก 1.33 มก. และกรดซอร์บิก 0.48 มก./กก. •ตัวอย่างที่พบปริมาณสารกันเสีย เบนโซอิกและซอร์บิก ร่วมกันสูงที่สุดคือ ยี่ห้อ Victory ขนมปังไส้สังขยา พบกรดเบนโซอิก 389.01  มก./กก.และกรดซอร์บิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.ข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ตัวอย่าง•ตัวอย่างขนมปังไส้สังขยา พบปริมาณสารกันเสีย เบนโซอิกและซอร์บิก มากกว่าตัวอย่างขนมปังไส้เผือก•ตัวอย่างขนมปังไส้สังขยาจากร้านวังหลังเบเกอรี่ พบว่ามีทั้งกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก แต่ถุงใส่ขนมปังของร้าน ซึ่งเป็นแบบทำสดขายวันต่อวัน มีข้อความว่าไม่ใส่วัตถุกันเสีย ปริมาณสารกันบูดที่อนุญาตให้พบได้ในขนมปังประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) อนุญาตให้มีการใช้สารกันเสีย กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบในอาหารในกลุ่มเดียวกันได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมหากมีการใช้ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) “ข้อ 6 การใช้วัตถุเจือปนอาหาร ต้องใช้ตามชื่อวัตถุเจือปนอาหาร หมวดอาหาร หรือชนิดอาหาร หน้าที่ทางด้านเทคโนโลยีการผลิต และปริมาณสูงสุดที่อนุญาตที่กำหนดไว้ตามบัญชีหมายเลข 1 โดยมีคำอธิบายเพิ่มเติมตามบัญชีหมายเลข 2 แนบท้ายประกาศนี้ การใช้วัตถุเจือปนอาหารที่มีการกำหนดปริมาณสูงสุดที่อนุญาตเป็นตัวเลขในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่สองชนิดขึ้นไป จะต้องมีผลรวมของสัดส่วนของปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหารต่อปริมาณสูงสุดที่อนุญาตของวัตถุเจือปนอาหารแต่ละชนิดไม่เกินหนึ่ง”ตามเกณฑ์ดังกล่าวนี้ ฉลาดซื้อคำนวณแล้ว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ามาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด ตารางผลการวิเคราะห์กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกใน ไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูปข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ตัวอย่าง•ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) ไม่ได้มีการกำหนดเรื่องการใช้กรดเบนโซอิก และกรดซอร์บิก ในไส้สังขยาและไส้เผือกสำเร็จรูป ที่ดูแล้วพอจะสามารถอ้างอิงได้ใกล้เคียงที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มไส้ขนมที่ทำจากผลไม้ ซึ่งในประกาศฯกำหนดปริมาณของกรดเบนโซอิก ไว้ที่ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นเดียวกับกรดซอร์บิกที่ก็กำหนดไว้ไม่ให้เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัมเท่ากัน•ถ้ายึดตามเกณฑ์นี้ ก็เท่ากับว่า ไส้สังขยาสำเร็จรูป 4 ตัวอย่าง และไส้เผือกสำเร็จรูป 4 ตัวอย่างที่ฉลาดซื้อสุ่มทดสอบครั้งนี้ พบปริมาณสารกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ทุกตัวอย่าง แต่ทุกตัวอย่างก็พบปริมาณที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมี 1 ตัวอย่างคือ ยี่ห้อยูยี ไส้เผือกสำเร็จรูป ที่พบการปริมาณ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก น้อยมาก คือพบกรดเบนโซอิกแค่ 1.68 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม และไม่พบกรดซอร์บิกเลย 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 196 สารกันบูดในเส้นขนมจีน ภาค 2

ถ้ายังจำกันได้ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 180 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เราเคยนำเสนอ “ผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีน” ซึ่งผลทดสอบที่ออกมาชวนให้ตกใจไม่น้อย เพราะเส้นขนมจีนจำนวน 12 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ พบการปนเปื้อนของสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก ทั้ง 12 ตัวอย่าง แถมมีอยู่ 2 ตัวอย่างที่พบปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ ฉลาดซื้อเล่มนี้ เราจะลองสุ่มทดสอบดูปริมาณสารกันบูดในเส้นขนมจีนอีกครั้ง ลองไปดูกันสิว่าสถานการณ์การใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนมีการปรับเปลี่ยนเคลื่อนไหวมากน้อยแค่ไหน จะลดลงหรือเพิ่มขึ้น อย่างไร และที่น่าสนใจคือ เราเก็บตัวอย่างเส้นขนมจีนที่เราเคยทดสอบเมื่อคราวที่แล้วด้วย จำนวน 8 ตัวอย่าง และเพิ่มเติมตัวอย่างในการสุ่มทดสอบอีก 9 ตัวอย่าง รวมทั้งสิ้น 17 ตัวอย่าง เพื่อดูว่าจากผลการทดสอบครั้งที่แล้วผู้ผลิตเส้นขนมจีนมีการปรับปรุงสินค้าของตัวเองอย่างไรกันบ้างผลทดสอบสารกันบูดในเส้นขนมจีนครั้งที่แล้ว สร้างความตื่นตัวให้กับทั้งผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ และผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุขที่มีการส่งเจ้าหน้าที่ลงไปเก็บตัวอย่างขนมจีนที่พบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานมาตรวจวิเคราะห์ พร้อมกับสั่งให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ เฝ้าระวังสถานที่ผลิตและจำหน่ายเส้นขนมจีนให้เป็นไปตามมาตรฐาน พร้อมทั้งยืนยันว่า ขนมจีนเป็นอาหารในภาชนะบรรจุ ต้องแสดงฉลากตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข ถ้ามีการใช้วัตถุกันเสียก็ต้องแจ้งไว้บนฉลาก หากไม่แสดงมีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท ส่วนหากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารเกินปริมาณที่กำหนดจะจัดเป็นอาหารไม่ได้มาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท(ที่มา: ช่าว “สาธารณสุข ส่ง จนท.ตรวจเข้ม “สถานที่ผลิต-ขายขนมจีน”” มติชนออนไลน์ 12 มีนาคม 2559)ทางด้าน “ตลาดยิ่งเจริญ” ก็ตื่นตัวกับผลทดสอบ หลังพบว่ามีตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐานจำหน่ายอยู่ในตลาด ซึ่งทางผู้บริหารตลาดยิ่งเจริญ รีบแสดงความผิดชอบด้วยการตรวจเข้มสินค้าต่างๆ ที่จะเข้ามาจำหน่าย โดยออกเป็นมาตรการที่ชื่อว่า “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” ซึ่งมีทั้งการเชิญเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เข้าตรวจประเมินมาตรฐานสินค้าในตลาด สุ่มเก็บตัวอย่างสินค้าในตลาดไปทดสอบ รวมทั้งเชิญพ่อค้า-แม่ค้าในตลาดมาทำความเข้าใจเรื่องการเลือกสินค้ามาจำหน่ายต้องมีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และพร้อมจัดการขั้นเด็ดขาดกับสินค้าที่หน่วยงานรัฐออกมาให้ข้อมูลยืนยันว่าเป็นสินค้าไม่ปลอดภัย(ที่มา: ข่าว ““ตลาดยิ่งเจริญ” ออกมาตรการ “สินค้าปลอดภัย ใส่ใจผู้บริโภค” เชิญ อย.ลงพื้นที่ตรวจสอบสินค้าทั้งหมด” กรุงเทพธุรกิจ 16 มิถุนายน 2560)ข้อกำหนดการใช้สารกันบูดในเส้นขนมจีนตามข้อกำหนดในประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร ฉบับล่าสุด (ฉบับที่ 4) ซึ่งประกาศใช้เมื่อปลายปี 2559 ที่ผ่านมา ยังคงอนุญาตให้มีการใช้ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) ซึ่งเป็นกลุ่มสารกันเสีย ในเส้นขนมจีน ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เกณฑ์มาตรฐานยังคงเท่ากับการทดสอบเมื่อครั้งที่แล้วผลการทดสอบ-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบในครั้งนี้มีจำนวน 17 ตัวอย่าง จากผลการทดสอบพบว่ามีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ - มี 2 ตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด คือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อเส้นขนมจีน 1 กิโลกรัม ซึ่งตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนเกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ 1.ยี่ห้อ ชลนิศา เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,114.24 มิลลิกรัมต่อกิโกลกรัม และ 2.ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 1,274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบปริมาณกรดเบนโซอิกน้อยที่สุด 3 ตัวอย่างแรก ได้แก่ 1.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดพระประแดง พบปริมาณกรดเบนโซอิก 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม, 2.ตัวอย่างไม่มียี่ห้อ เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 63.21 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และ 3.ยี่ห้อ นิดา เก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย พบปริมาณกรดเบนโซอิก 91.30 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ที่น่าตั้งข้อสังเกตเป็นพิเศษคือ ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่มีการใช้สารกันบูดน้อยที่สุด 2 อันดับแรก เป็นเส้นขนมจีนที่ไม่มีการแสดงฉลากใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงว่า เส้นขนมจีนทั้ง 2 ตัวอย่าง ผลิตและจำหน่ายทันทีไม่ได้ผลิตเพื่อส่งไปขายต่อที่อื่น ซึ่งตามกฎหมายอนุโลมให้อาหารในลักษณะดังกล่าวไม่ต้องแสดงฉลาก เป็นไปได้ว่าผู้ผลิตตั้งใจที่จะผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ทำให้มีการใช้สารกันบูดในปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งก็สอดคล้องกับผลการทดสอบครั้งที่แล้ว ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบสารกันบูดน้อยที่สุด ก็เป็นตัวอย่างเส้นขนมจีนไม่มียี่ห้อและไม่มีฉลากที่เก็บตัวอย่างจากตลาดพระประแดงข้อสังเกตจากผลทดสอบ-การทดสอบครั้งที่ 2 พบว่า ตัวอย่างเส้นขนมจีนที่พบการปนเปื้อนของกรดเบนโซอิกน้อยที่สุดนั้น  พบเพียงแค่ 45.96 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งน้อยกว่าตัวอย่างเส้นขนมจีนที่ทดสอบครั้งที่แล้วที่พบน้อยสุดที่ปริมาณ 147.43 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม -โดยภาพรวมของผลการทดสอบสารกันบูดชนิดกรดเบนโซอิกในเส้นขนมจีนครั้งนี้ ช่วยตอบคำถามได้ว่า เส้นขนมจีนยังเป็นอาหารที่ตรวจพบว่า มีการปนเปื้อนของสารกันบูด โดยค่าเฉลี่ยของปริมาณสารกันบูดที่พบในการทดสอบครั้งที่ 2 นี้ อยู่ 450.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในการทดสอบครั้งที่แล้ว ซึ่งอยู่ที่ 439.05 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม-พบว่า ตัวอย่าง ยี่ห้อ ดาว ซึ่งเก็บตัวอย่างจากตลาดยิ่งเจริญ ที่ผลการทดสอบครั้งที่แล้ว พบกรดเบนโซอิกสูงเกินค่ามาตรฐานที่ 1121.37 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมนั้น ในการทดสอบครั้งนี้พบปริมาณกรดเบนโซอิกอยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คือ 768.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องขอชื่นชมที่มีการปรับปรุงมาตรฐานของสินค้า-ในขณะที่พบการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ในบางยี่ห้อ แต่บางยี่ห้อ คือ ยี่ห้อ สธจ โรงงานโสธรเจริญ ซึ่งเก็บตัวอย่างที่ตลาดคลองเตย การทดสอบครั้งที่แล้วพบปริมาณกรดเบนโซอิกแค่ 462.36 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ในการทดสอบครั้งนี้พบการปนเปื้อนสูงถึง 1274.55 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ต้องฝากหน่วยงานควบคุมกำกับช่วยติดตามมาตรฐานของสินค้าด้วย)การแสดงฉลากยังมีปัญหาจากผลทดสอบที่ได้พบว่าเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบมีการปนเปื้อนของสารกันบูด เบนโซอิก ทั้ง 17 ตัวอย่าง ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 167) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ มีการกำหนดเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุเจือปนอาหารลงในฉลาก แต่จากตัวอย่างเส้นขนมจีนทั้ง 17 ตัวอย่าง มีเพียงแค่ 1 ตัวอย่างเท่านั้น ที่แสดงข้อมูลการใช้สารกันบูดระบุไว้บนฉลากหรือภาชนะบรรจุ ได้แก่ เส้นขนมจีนยี่ห้อ ฉวีวรรณ เก็บตัวอย่างที่ห้างแมคโคร สาขาลาดพร้าว ที่แจ้งไว้ว่าใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอต (INS NO.211)  (INS = international numbering system for food additives หรือ หมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล)ซึ่งตามกฎหมายกำหนดให้อาหารที่อยู่ในภาชนะบรรจุต้องมีการแสดงฉลาก ยกเว้นอาหารในลักษณะต่อไปนี้ 1.อาหารที่ผู้ผลิตสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับอาหารแก่ผู้บริโภคได้ในขณะจำหน่าย เช่น หาบเร่ แผงลอย เป็นต้น, 2.อาหารสดทั้งที่ผ่านและไม่ผ่านกรรมวิธีการแกะ ชำแหละ ตัดแต่ง หรือวิธีการอื่นใดเพื่อลดขนาด ซึ่งอาจแช่เย็นหรือไม่แช่เย็นก็ได้ และบรรจุในภาชนะที่สามารถมองเห็นสภาพของอาหารนั้น เช่น ผัก ผลไม้ตัดแต่ง เนื้อสัตว์หั่นเป็นชิ้นหรือบด เป็นต้น และ 3.อาหารในภาชนะบรรจุที่ผลิตและจำหน่ายเพื่อบริการเฉพาะภายในร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรม โรงเรียน โรงพยาบาล สายการบิน สถานที่อื่นในลักษณะทำนองเดียวกัน และรวมถึงการบริการจัดส่งอาหารโดยตรงให้กับผู้ซื้อจากการสุ่มเก็บตัวอย่าง เส้นขนมจีนที่ขายอยู่ตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ไม่เข้าข่ายตามข้อยกเว้นของกฎหมาย ต้องมีการแสดงฉลากให้ถูกต้องครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนด เพราะเป็นอาหารที่ผลิตในรูปแบบของโรงงานและส่งออกวางจำหน่ายตามตลาดต่างๆ อาจมีบ้างบางตัวอย่างที่ผลิตและขายเองหน้าร้าน ไม่ได้รับซื้อหรือส่งต่อไปขายที่อื่น ซึ่งถ้าเป็นในลักษณะดังกล่าวก็เข้าข่ายที่ได้รับการยกเว้นดังนั้นอยากฝากไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องกวดขันดูแลให้ผู้ผลิตเส้นขนมจีนปรับปรุงสินค้าของตนเองให้ถูกต้องตามมาตรฐาน

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 194 สารกันบูดในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป

แฟนๆ ฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ เราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในขนมเปี๊ยะ” ที่พบว่ามีตัวอย่างขนมเปี๊ยะเพียง 1 จาก 13 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก โดยพบปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งก็ถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้คือสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่การพบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะ ทั้งที่บางยี่ห้อระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” นั้น ทำให้ฉลาดซื้อมีข้อสงสัยว่า สารกันบูดที่พบมาจากส่วนประกอบใดในขนมเปี๊ยะกันแน่ ฉบับนี้เราเลยเลือกทดสอบไส้ขนมสำเร็จรูป ชนิด “ถั่วกวน” ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์ขนมหลายชนิด ไม่ใช่แค่ขนมเปี๊ยะ แต่ยังมีทั้ง ขนมโมจิ ซาลาเปา ขนมเทียน ขนมถั่วกวน ขนมลูกชุบ ขนมเม็ดขนุน ฯลฯ ซึ่งไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปพร้อมนำไปทำขนมได้ทันทีนี้ มีวางจำหน่ายอยู่ในร้านขายอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับทำขนมและเบเกอรี่เจ้าใหญ่หลายแห่ง เราลองไปดูกันสิว่าในไส้ถั่วกวนสําเร็จรูปมีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก มากน้อยแค่ไหนถั่วกวนสำเร็จรูป ใส่สารกันบูดได้หรือไม่? ใส่ได้มากน้อยแค่ไหน?ถ้าเทียบตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มอาหารประเภท พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น อบแห้ง แคนนิ่ง แช่แข็ง ฯลฯ ตามการแบ่งกลุ่มย่อยของประเภทอาหารที่อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิก ซึ่งตามประกาศไม่มีกำหนดปริมาณที่ใช้เป็นตัวเลขชัดเจน ระบุเพียงว่า ให้ใช้ใน “ปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งเมื่อลองนำไปเทียบกับกลุ่มอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่กฎหมายจะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปดังนั้นเกณฑ์สำหรับเทียบเคียงในการทดสอบ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปครั้งนี้ ขอยึดที่เกณฑ์พบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 192 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 25601 เม.ย.ทำฟันประกันสังคมกับ รพ.รัฐไม่ต้องสำรองจ่าย 1 เมษายน 2560 นี้ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถเข้ารับบริการด้านทันตกรรมที่โรงพยาบาลรัฐ ทั้งโรงพยาบาลสังกัด สธ., สังกัดกระทรวงกลาโหม, สังกัดกทม. และ โรงพยาบาลโรงเรียนแพทย์ ตามสิทธิ 900 บาท โดยไม่ต้องสำรองจ่าย ซึ่งเลื่อนจากเดิมที่วางกำหนดไว้วันที่ 1 ก.พ. เพื่อให้สถานพยาบาลแต่ละแห่งได้เตรียมความพร้อมในการให้บริการในส่วนของโรงพยาบาลเอกชน นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กล่าวว่า ขณะนี้มีคลินิกทันตกรรมเอกชนที่เข้าร่วมแล้วกว่า 530 แห่ง และคาดว่าภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ จะเพิ่มเป็น 800 แห่ง ทั้งนี้ก่อนรับบริการให้สังเกต “สติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม” ที่จะติดไว้ที่คลินิกที่ร่วมโครงการ ซึ่งสามารถรับบริการโดยไม่ต้องสำรองจ่ายผู้ประกันตนที่พบปัญหาจากใช้บริการหรือพบคลินิกหรือสถานพยาบาลที่มีสติกเกอร์สัญลักษณ์ประกันสังคม แต่ยังมีการเรียกเก็บเงิน สามารถโทร.แจ้งเอาผิดได้ที่สวยด่วน สปส. โทร. 1506 คิดดอกเบี้ยเงินกู้โหด เจอโทษตามกฎหมายจากนี้ไปลูกหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ไม่ต้องกังวลเรื่องเจ้าหนี้คิดดอกเบี้ยโหดอีกแล้ว เพราะล่าสุดได้มีการออกพระราชบัญญัติ ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 15 มกราคม 2560 ที่ผ่านมาสาระสำคัญของกฎหมายฉบับนี้คือ กำหนดให้ห้ามเรียกเก็บดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยปัจจุบันกฎหมายกำหนดห้ามคิดอัตราดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี หากกระทำความผิดจะมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมที่กำหนดโทษไว้ว่าจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 3 พันบาทนอกจากนี้ในกฎหมายฉบับนี้ยังมีการระบุว่า ห้ามกำหนดข้อความอันเป็นเท็จในเรื่องจำนวนเงินกู้หรือเรื่องอื่นๆ ไว้ในหลักฐานการกู้ยืมเพื่อปิดบังการเรียกดอกเบี้ยเกินอันตราที่กฎหมายกำหนด หรือมีการระบุว่าจะเรียกรับประโยชน์อย่างอื่นนอกจากดอกเบี้ย ไม่ว่าจะเป็นเงิน สิ่งของ หรือโดยวิธการอื่นใด จนเห็นได้ชัดว่าประโยชน์ที่ได้รับนั้นมากเกินสมควรตามเงื่อนไขแห่งการกู้ยืมเงินเส้นก๋วยเตี๋ยวใช้สารกันบูดน้อยลง แต่ยังเจอเกินค่ามาตรฐานสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศ ได้ร่วมดำเนินงานภายใต้โครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัย โดยหนึ่งในวัตถุประสงค์สำคัญของโครงการคือการควบคุมเรื่องการใช้ปริมาณวัตถุกันเสียโดยมีการสุ่มตรวจวิเคราะห์วัตถุกันเสียในเส้นก๋วยเตี๋ยวด้วยวิธีทางห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2555 - 2559 จากจำนวนตัวอย่างทั้งหมด 370 ตัวอย่าง ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนด 71 ตัวอย่าง หรือร้อยละ 19.2 โดยพบกรดเบนโซอิค ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 10.6 - 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ในเส้นก๋วยจั๊บ เส้นใหญ่ และเส้นผัดไทชนิดแห้ง ซึ่งค่ามาตรฐานที่อนุญาตให้พบคือไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนกรดซอร์บิค พบประมาณร้อยละ 3.1 ปริมาณที่พบอยู่ระหว่าง 102 - 414 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมเมื่อนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบกับข้อมูลจากงานวิจัยในปี 2550 พบว่า จำนวนตัวอย่างที่ตรวจพบการใช้วัตถุกันเสียเกินมาตรฐานกำหนดลดลงจาก ร้อยละ 36 เหลือเพียง ร้อยละ 19.2 และปริมาณวัตถุกันเสียที่ตรวจพบสูงสุดลดลงจาก 17,250 เหลือเพียง 3,995 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่ก็ยังเกินกว่าค่ามาตรฐาน“เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” ชื่อนี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน (กพฉ.) เตรียมเปลี่ยนชื่อโครงการเจ็บป่วยฉุกเฉิน รักษาทุกที่ ดีทุกสิทธิ เป็น “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่” เพื่อให้มีความชัดเจนขึ้น แก้ปัญหาความเข้าใจผิด ของทั้งผู้ป่วย ญาติ และสถานพยาบาล ซึ่งที่ผ่านมามีกรณีร้องเรียนเรื่องสถานพยาบาลเรียกเก็บเงินจากการรักษาพยาบาลฉุกเฉินจำนวนไม่น้อยโดยการใช้คำว่า “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต” ก็เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า หมายถึงอาการเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตระดับสีแดง ซึ่งสามารถเข้ารักษาได้ทุกที่ทุกสิทธิ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในช่วง 72 ชั่วโมงแรก ซึ่งหลักการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสีแดงที่ กพฉ. กำหนด แบ่งเป็น 25 กลุ่มอาการ ดังนี้ 1.ปวดท้องบริเวณหลัง เชิงกราน และขาหนีบ 2.แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้สัตว์ต่อย แอนาฟิแล็กซิส ปฏิกิริยาภูมิแพ้ 3.สัตว์กัด 4.เลือดออกโดยไม่ได้มีสาเหตุมาจากการบาดเจ็บ 5.หายใจลำบาก หายใจติดขัด 6.หัวใจหยุดเต้น 7.เจ็บแน่นทรวงอก หัวใจ มีปัญหาทางด้านหัวใจ 8.สำลัก อุดกั้นทางเดินหายใจ 9.เบาหวาน 10.ภาวะฉุกเฉินเหตุสิ่งแวดล้อม11.ปวดศีรษะ ภาวะผิดปกติทางตา หู คอ จมูก 12.คลุ้มคลั่ง ภาวะทางจิตประสาท อารมณ์ 13.พิษ รับยาเกินขนาด 14.มีครรภ์ คลอด นรีเวช 15.ชัก มีสัญญาณบอกเหตุการชัก 16.ป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง ไม่ทราบสาเหตุจำเพาะ 17.อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง สูญเสียความรู้สึก ยืนหรือเดินไม่ได้เฉียบพลัน 18.ไม่รู้สติ ไม่ตอบสนอง หมดสติชั่ววูบ 19.เด็ก กุมารเวช 20.ถูกทำร้าย 21.ไหม้ ลวกเหตุความร้อน สารเคมี ไฟฟ้าช็อต 22.ตกน้ำ จมน้ำ บาดเจ็บทางน้ำ 23.พลัดตกหกล้ม อุบัติเหตุ เจ็บปวด 24.อุบัติเหตุยานยนต์ และ 25.อื่นๆ หากมีข้อสงสัยสามารถโทรสอบถามกับสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) โทร. 1669ชัดเจน!!! ห้ามใช้ “โคลิสติน” ในฟาร์มสัตว์หลังจากมีข่าวว่ามีการตรวจพบฟาร์มเลี้ยงหมูในหลายจังหวัดมีการใช้ยา “โคลิสติน” (Colistin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะชนิดรุนแรงที่ทั่วโลกกำลังเฝ้าระวัง เพราะทำให้เกิดการดื้อยาทั้งในคนและสัตว์เรื่องดังกล่าวสร้างความวิตกกังวลกับผู้บริโภคไม่น้อย กรมปศุสัตว์ที่มีหน้าที่จัดการดูแลปัญหานี้โดยตรงก็ไม่รอช้าเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหานี้ด้วยความรวดเร็ว โดยได้ออกคำสั่ง “เรื่อง การควบคุมการใช้ยา Colistin ในฟาร์ม” ส่งตรงถึง “นายกสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย” ซึ่งมีสมาชิกทั่วประเทศกว่า 800 คน โดยเนื้อหาสำคัญในประกาศ คือการสั่งห้ามสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสั่งหรือใช้ยาโคลิสตินผสมอาหารหรือละลายน้ำให้สัตว์กินโดยเด็ดขาด พร้อมทั้งให้สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มต้องคัดกรองและตรวจสอบอาหารสัตว์สำเร็จรูปที่ใช้เลี้ยงสัตว์จะต้องไม่มียาโคลิสตินผสมอยู่ โดยให้มีการเก็บตัวอย่างอาหารสัตว์ส่งตรวจเพื่อพิสูจน์ทางห้องปฏิบัติการเป็นระยะแต่ก็ยังผ่อนปรนให้สามารถใช้ยาโคลิสตินได้ ในกรณีที่สัตว์ป่วยแล้วไม่มียาปฏิชีวนะชนิดใดใช้แล้วได้ผล“ยาโคลิสติน” เป็นยาปฏิชีวะที่นิยมใช้รักษาหมูท้องร่วงจากเชื้อแบคทีเรีย “อี.โคไล” แต่เมื่อปีที่แล้วมีข่าวว่าจีนพบหมูและคนดื้อยาโคลิสตินจากฟาร์มหมูชนิดข้ามสายพันธุ์ได้ หรือ “ยีนเอ็มซีอาร์-วัน” ที่สามารถส่งสายพันธุกรรมหรือเชื้อดื้อยาข้ามจากสัตว์มาสู่คน และยังถ่ายทอดไปยังเชื้อโรคตัวอื่นๆ ในร่างกายมนุษย์ได้อีกด้วย ขณะนี้มีรายงานการพบยีนดื้อยาตัวนี้ในมนุษย์ หมู และไก่ ช่วงปี 2010–2015 จำนวนทั้งสิ้น 16 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 129 กระแสในประเทศ

 ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2554 1 ตุลาคม 2554ใช้เครื่องสำอางให้ปลอดภัย ต้องมี “เลขที่ใบรับแจ้ง”สาวๆ ที่ใช้เครื่องสำอางเป็นประจำต้องอ่านข่าวนี้ รู้กันหรือยังว่า? เครื่องสำอางได้กลายเป็นสินค้าควบคุมตามประกาศของ อย. แล้วเรียบร้อย หลังจากที่มีข่าวคราวการตรวจจับเครื่องสำอางปลอมและไม่ได้คุณภาพออกมาอยู่เรื่อยๆ การกำหนดให้เครื่องสำอางเป็นสินค้าควบคุมน่าจะเป็นอีกหนึ่งวิธีในการช่วยให้สาวๆ ปลอดภัยจากเครื่องสำอางที่ไม่ได้คุณภาพ เพราะฉะนั้นจากนี้ไปผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องสำอางจะต้องแจ้งข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์กับทาง อย. ตั้งแต่ชื่อหรือประเภทเครื่องสำอาง สารที่เป็นส่วนผสม ชื่อ – ที่อยู่ผู้ผลิตและนำเข้า จากนั้นจึงจะได้ใบรับแจ้งซึ่งจะมี “เลขที่ใบรับแจ้ง” เป็นหลักฐานว่าเป็นเครื่องสำอางที่ผ่านการจดแจ้งแล้วเรียบร้อย โดย อย. ได้ออกประกาศบังคับให้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางต้องแสดง “เลขที่ใบรับแจ้ง” บนฉลาก ซึ่งผู้ที่ใช้เครื่องสำอางสามารถนำเลขที่ใบรับแจ้งไปสืบค้นข้อมูลเครื่องสำอางก่อนตัดสินใจซื้อ หรือหากพบเครื่องสำอางที่น่าสงสัย ใช้แล้วมีผลข้างเคียง ก็สามารถใช้เลขที่ใบรับแจ้งในการตรวจสอบกับทาง อย. หรือสาธารณสุขจังหวัดได้ หรือตรวจสอบด้วยตัวเอง www.fda.moph.go.th ซึ่งนอกจาก เลขที่ใบรับแจ้งแล้ว ยังสามารถใช้ ชื่อทางการค้า ชื่อผู้ประกอบการ และชื่อเครื่องสำอาง ในการสืบค้นข้อมูลต่างๆ ได้ด้วยเช่นกัน พวกเครื่องสำอางที่หิ้วมาเอง หรือเหมาสายการบิน อันนี้ต้องบอกว่า ผิดกฎหมายไทยนะจ๊ะ------------   11 ตุลาคม 2554กินขนมปังระวังสารกันบูด!!! เรื่องน่าตกใจสำหรับคนชอบทานขนมปัง เมื่อผลทดสอบโดยกลุ่มศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ทั้ง 14 แห่งทั่วประเทศ และสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เบเกอรี่จากทั่วประเทศจำนวน 837 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารกันบูด ซึ่งจากผลการทดสอบพบว่ามีถึง 658 ตัวอย่าง ที่พบว่ามีการใส่สารกันบูด สารกันบูดที่ทดสอบมีด้วยกัน 3 ชนิด คือ กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก และกรดโปรปิโอนิก ซึ่งผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ที่นำมาทดสอบก็มีหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ขนมปังแถว แซนด์วิช เบอร์เกอร์ พิซซ่า ขนมปังสอดไส้ เค้ก แครกเกอร์ ขนมปังกรอบ เวเฟอร์ ขนมปังแท่ง พัฟ พาย ครัวซองท์ โดนัท คุกกี้ และเอแคร์ ซึ่งสารกันบูดที่พบมีทั้งที่พบแบบ 1 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง และแบบที่พบ 2 หรือ 3 ชนิดต่อ 1 ตัวอย่าง โดยจากผลทดสอบพบว่ามีมากกว่า 100 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณสารกันบูดเกินกว่ามาตรฐาน แม้ปริมาณของสารกันบูดที่พบในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ยังไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย แต่ในชีวิตประจำวันเรายังมีโอกาสได้รับสารกันบูดจากการทานอาหารอื่นๆ ซึ่งจากการพบการใช้วัตถุกันเสียมากกว่า 1 ชนิด หน่วยงานภาครัฐจึงควรทบทวนข้อกำหนดการใช้วัตถุกันเสียทั้งปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ และชนิดวัตถุกันเสียที่อนุญาตให้ใช้ เนื่องจากกรดเบนโซอิกและซอร์บิกไม่ใช่วัตถุกันเสียที่ให้ใช้กับผลิตภัณฑ์ขนมอบโดยตรง นอกจากนี้เรื่องการควบคุมการผลิตของเบเกอรี่ทำได้ค่อนข้างยาก เพราะของเบเกอรี่ที่ทำขายหน้าร้านส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องแจ้ง อย.---------------------   19 ตุลาคม 2554น้ำท่วมต้องช่วยกัน ค่าโทรศัพท์-ค่าเน็ตงดเก็บช่วงน้ำท่วมสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ฝากถึงประชาชนผู้ใช้โทรศัพท์บ้านและอินเตอร์เน็ตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม มีสิทธิ์ที่จะขอระงับการใช้บริการชั่วคราวได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย น.พ. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการ กสทช. กล่าวว่า ผู้บริโภคที่ใช้บริการโทรคมนาคมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็น โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือและอินเตอร์เน็ต มีสิทธิ์ในการขอระงับบริการชั่วคราวได้ เนื่องจาก ตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรฐานของสัญญา ให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2543 ข้อ 25 ได้ระบุว่า ผู้ใช้บริการมีสิทธิในการระงับการใช้บริการโทรคมนาคมชั่วคราวได้ โดยบริษัทจะกำหนดระยะเวลาขั้นต่ำสุดหรือสูงสุดที่ยินยอมให้ระงับการใช้บริการชั่วคราวและผู้ให้บริการจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ นอกจากนี้ในกรณีที่ผู้บริโภคขอระงับบริการชั่วคราวแล้ว เมื่อครบกำหนดการขอระงับใช้บริการ บริษัทต้องเปิดบริการให้ผู้บริโภคทันทีโดยผู้ให้บริการ จะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จากผู้ใช้บริการไม่ได้ -------------------- มั่นใจน้ำดื่มปลอดภัยหลังน้ำท่วมในช่วงที่เกิดภาวะน้ำท่วม มีแหล่งน้ำและโรงงานผลิตน้ำดื่มหลายแห่งที่ได้รับผลกระทบ เพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ได้เตรียมพร้อมแผนฟื้นฟูสถานประกอบการผลิตน้ำดื่ม และน้ำแข็งที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยครั้งนี้ หลังจากที่ต้องอยู่ในสภาพน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและสารพิษต่างๆ ที่มาพร้อมกับน้ำ นอกจากนี้ยังอาจปนเปื้อนอยู่ในเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตน้ำดื่มและน้ำแข็ง ซึ่งหากดำเนินการผลิตโดยไม่ได้ตรวจสอบแก้ไข เชื้อโรคต่างๆ ก็อาจปนเปื้อนไปสู่ผู้บริโภค โดยในการช่วยเหลือฟื้นฟูครั้งนี้ อย. จะประสานความร่วมมือกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ในการให้คำแนะนำในการฟื้นฟูสถานประกอบการ อาทิ การทำความสะอาดอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์การผลิตแก่ผู้ประกอบการ ขณะที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จะให้บริการตรวจสอบคุณภาพความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์แก่ผู้ประกอบการโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค การันตีเรื่องความสะอาด ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำดื่ม น้ำใช้ น้ำแข็ง และน้ำประปา จากศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมและบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่ประสบอุกทกภัยในจังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์ พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี ราชบุรี และนครปฐม รวม 78 ตัวอย่าง พบมีที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพรวม 28 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่จะพบเป็นเชื้อที่ก่อโรค โดยตัวอย่างที่พบมากที่สุดคือ น้ำแข็ง สำหรับข้อแนะนำในการเลือกบริโภคน้ำดื่มและน้ำแข็ง ควรเลือกบริโภคน้ำดื่มที่บรรจุในภาชนะที่สะอาด ปิดสนิท ไม่รั่วซึม ไม่มีร่องรอยการเปิดใช้ ลักษณะของน้ำที่บรรจุอยู่ต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีกลิ่น และรสที่ผิดปกติ ส่วนการเลือกบริโภคน้ำแข็ง ควรเลือกน้ำแข็งบรรจุถุงที่มีการแสดงข้อความบนฉลากอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะเครื่องหมาย อย. แต่ถ้าเป็นน้ำแข็งที่ตักแบ่งขายตามร้านค้าทั่วไป ควรสังเกตสถานที่เก็บและภาชนะบรรจุ ต้องไม่มีการใส่น้ำแข็งปนกับอาหารประเภทอื่น และก้อนน้ำแข็งต้องมีความใส สะอาด -------------------------------------   อย. ควอลิตี้ อวอร์ด 2554 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. มอบรางวัล “อย. ควอลิตี้ อวอร์ด ประจำปี 2554” ให้กับผู้ประกอบการผู้ผลิตสินค้าด้านอาหาร ด้านยา ด้านเครื่องสำอาง ด้านเครื่องมือแพทย์ และด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้าน โดยหลักเกณฑ์ผู้ที่ได้รับรางวัลต้องเป็นผู้ประกอบที่ผลิตสินค้าจำหน่ายในประเทศไทย และดำเนินกิจการมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี มีการรักษาคุณภาพและพัฒนามาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์ที่ออกสู่ท้องตลาด และที่สำคัญคือต้องไม่เคยถูกดำเนินคดี ถูกปรับ หรือถูกตักเตือนจาก อย. ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีระบบการดูแลผู้บริโภคและมีการรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องของการมีคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบการที่ดี สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รางวัลในแต่ละประเภทมีดังนี้ ด้านอาหาร จำนวน 11 ราย ได้แก่ 1. บริษัท จอมธนา 2. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด 3. บริษัท ใบชาโชคจำเริญ จำกัด 4. บริษัท เพรซิเดนท์ เบเกอรี่ จำกัด 5. บริษัท แฟชั่นฟู้ด จำกัด 6. บริษัท วันไทยอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด 7. บริษัท ศิริวานิช (เอส แอนด์ ดับเบิ้ลยู) จำกัด 8. บริษัท สุรพลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) 9. บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) 10. บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) และ 11. ห้างหุ้นส่วนจำกัด อิสริยะผล ด้านยา จำนวน 9 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ขายยาเพ็ญภาค จำกัด 2. บริษัท ขาวละออเภสัช จำกัด 3. บริษัท บางกอกแล็ป แอนด์  คอสเมติค จำกัด 4. บริษัท ไบโอแลป จำกัด 5. บริษัท ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย จำกัด 6. บริษัท ฟาร์ม่า อินโนวา จำกัด 7. บริษัท สีลมการแพทย์  จำกัด 8. บริษัท อ้วยอันโอสถ จำกัด และ 9. บริษัท อาร์เอ็กซ์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ด้านเครื่องสำอาง จำนวน 5 ราย ได้แก่ 1. บริษัท คอลเกต – ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด 2. บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด 3. บริษัท แพน ราชเทวี กร๊ป จำกัด 4. บริษัท ยูนิลีเวอร์ไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด และ 5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แลบบอราทอรีส์ จำกัด ด้านเครื่องมือแพทย์ จำนวน 4 ราย ได้แก่ 1. บริษัท ชัวร์เท็กซ์ จำกัด 2. บริษัท เยเนอรัล ฮอสปิตัล ดปรดัคส์ จำกัด (มหาชน) 3. บริษัท สยาม เซมเพอร์เมด จำกัด และ 4. บริษัท เอ็ม.อี. เมดิเทค จำกัด ด้านวัตถุอันตรายที่ใช้ในบ้านเรือน จำนวน 3 ราย ได้แก่ 1. บริษัท เชอร์วู้ด เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 2. บริษัท ลัดดา จำกัด และ 3. บริษัท ไอ.พี. แมนูเฟคเจอริ่ง จำกัด -----------------------

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 อารมณ์บูดกับสารกันบูด

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้แถลงข่าวในเดือนกุมภาพันธ์ปีนี้ว่า ขนมจีนที่ขายในท้องตลาดมีการใส่สารกันบูดชื่อเกลือเบนโซเอตทุกตัวอย่าง งานนี้ทำให้ผู้เขียนเดาว่า การแถลงข่าวแก่สาธารณะชนของมูลนิธินั้นอาจหวังให้มีการทำอะไรสักทีโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านความปลอดภัยของอาหาร เพื่อให้คุณภาพชีวิตของผู้บริโภคอาหารดีขึ้นความจริงข้อมูลเกี่ยวกับขนมจีนในลักษณะที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงนี้ สถาบันอาหารก็ได้แถลงไว้ก่อนแล้วในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐฉบับพิมพ์เมื่อ 24 กรกฎาคม 2558 ซึ่งสามารถค้นข้อมูลได้ในไทยรัฐออนไลน์ภายใต้หัวข้อ สารกันบูดในขนมจีน โดยที่เนื้อหานั้นก็เป็นไปในทำนองเดียวกับที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแถลงข่าวทุกประการ จะเห็นได้ว่าเพียงช่วงเวลาไม่ถึงปี ข่าวเกี่ยวกับขนมจีนมีสารกันบูดนั้นปรากฏขึ้นถึงสองครั้ง (เป็นอย่างน้อย) และถ้าท่านผู้อ่านสนใจอยากทราบว่า มีข่าวลักษณะนี้มากน้อยเท่าใดในสังคมไทย ท่านสามารถอาศัย google โดยใช้คำช่วยในการค้นว่า “สถิติ การตรวจพบ สารกันบูด อาหารไทย” ท่านก็จะได้ข้อมูลที่ดูไม่จืดสำหรับชีวิตการบริโภคอาหารประจำวันข้างถนนหรือศูนย์การค้าของท่านทำไมผู้ผลิตจึงต้องใส่สารกันบูดในอาหาร คำตอบหล่อๆ ง่ายๆ คือ เพื่อลดความเสี่ยงอันตรายเนื่องจากเชื้อโรคที่ปนเปื้อนได้ระหว่างการผลิต เก็บ และขนส่งอาหาร ทั้งนี้เพราะเป็นที่รู้กันว่า สภาพภูมิอากาศของไทยนั้นเป็นสวรรค์ของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ดังนั้นการป้องกันการเจริญของเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุนั้นจึงเป็นขั้นตอนสำคัญ ซึ่งไม่บังควรแก้ปัญหาโง่ๆ ง่ายๆ ด้วยสารกันบูด เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตในการเก็บรักษาและขนส่งเมื่อผู้เขียนยังเด็ก สิ่งที่พบเห็นทั่วไปในการขนส่งอาหารที่บูดเสียง่ายเช่น ลูกชิ้นและผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ต่างๆ คือ การบรรจุสินค้าในภาชนะที่มีน้ำแข็งหล่อเย็น แต่ในระยะหลังที่เรียนจบกลับมาเมืองไทย(พ.ศ. 2525)ได้พบว่า รถกระบะที่ใช้ขนอาหารที่บูดเสียง่ายรวมทั้งลูกชิ้นต่างๆ นั้น ไม่ได้มีการใช้น้ำแข็งในการป้องกันการบูดเสีย แถมยังสามารถปล่อยให้อาหารตากแดดอยู่ในกระบะของรถได้โดยไม่ต้องมีการปกคลุมด้วยผ้าใบกันแสงแดด โดยที่อาหารนั้นยังคงสภาพดีได้ทั้งวัน อีกทั้งยังสังเกตได้จากการที่ร้านขายก๋วยเตี๋ยวปัจจุบันว่า แม้ไม่มีระบบแช่เย็นสำหรับเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างๆ เขาก็สามารถขายสินค้าได้ตั้งแต่เช้าจรดเย็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหน้าร้อนที่อุณหภูมิบนท้องถนนเกิน 37 องศาเซลเซียส ปัญหาอาหารที่ขายตามถนนได้เช้าจรดเย็นโดยไม่เสียนั้น ได้รวมไปถึงอาหารตระกูลเส้นซึ่งมีความชื้นสูง เช่น ก๋วยเตี๋ยวและขนมจีน ดังนั้นข้อมูลเกี่ยวกับสารกันบูดในผลิตภัณฑ์เหล่านี้จึงได้ทยอยเปิดเผยสู่สาธารณะชนเป็นระยะๆ ไม่มีที่สิ้นสุดสารกันบูดจำเป็นไหมสำหรับคำถามว่า สารกันเสียหรือสารกันบูดนั้นจำเป็นแก่ผู้บริโภคหรือไม่นั้น คำตอบง่าย ๆ คือ จำเป็น ตราบใดที่ระบบการบริโภคอาหารของคนไทยหลายส่วนยังอยู่ในลักษณะไม่เป็นที่เป็นทางเช่นปัจจุบัน กล่าวคือหาอาหารกินได้ทุกที่ ที่เป็นแหล่งชุมชน เสมือนหนึ่งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นไม่สนใจ หรือไร้ความรู้ในการบังคับให้มีการจัดการสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นที่เป็นทางแบบถูกสุขลักษณะ ครั้งหนึ่งเมื่อปี 2543 ผู้เขียนเคยได้ยินผู้สมัครเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนหนึ่ง ให้ข่าวทางโทรทัศน์ว่า มีนโยบายที่จะจัดบริเวณสำหรับขายอาหารข้างถนนให้เป็นที่เป็นทาง มีระบบอำนวยความสะดวกเช่น เต้นท์ ระบบน้ำประปาเพื่อล้างภาชนะ ไฟฟ้าเพื่อตู้เย็นเก็บอาหารสด และอื่นๆ(ทำนองเดียวกับสิงค์โปร์) โดยใช้พื้นที่ในส่วนของสถานที่ราชการที่ไม่ได้ทำประโยชน์อะไรเช่น สนามหญ้าหน้าหน่วยงานราชการซึ่งมีแต่เสาธงโด่เด่ โดยหวังว่าเป็นการยกระดับสุขอนามัยของอาหารข้างถนน แต่น่าเสียดายที่นโยบายนี้ไม่ได้นำมากระทำให้เป็นจริง เหตุผลนั้นท่านผู้อ่านต้องหาคำตอบเองจากข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์เก่าๆ ผู้เขียนได้แต่บอกว่า เขาผู้หาเสียงได้ตายไปแล้วพร้อมกับอาหารที่ขายข้างถนน ก็ยังมีคุณสมบัติในการทนอากาศร้อนของเมืองไทยได้โดยไม่บูดเสีย ดังนั้นท่านผู้อ่านคงพอเข้าใจได้ไม่ยากว่า สารกันบูดน่าจะเป็นทางเลือกทางรอดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อโรคที่ผู้ประกอบการมักแถมให้ฟรี ด้วยเหตุนี้ท่านผู้อ่านที่ต้องกินอาหารข้างถนนจึงต้องทำใจยอมรับการกินสารกันบูด ในเมื่อท่านอยู่ในสถานการณ์ที่มีสตางค์ไม่มากนักและต้องหาอะไรใส่ท้อง สำหรับผู้เขียนนั้นมิได้มีความเห็นด้วยต่อการปฏิบัติแก้ปัญหาของผู้ประกอบการดังกล่าว จึงพยายามเลี่ยงการต้องใช้บริการอาหารข้างถนน โดยยอมหิ้วท้องกลับบ้าน(ถ้าทำได้)การใช้สารกันบูดนั้น ผู้ประกอบการสามารถใช้ได้ตามกฎหมายในอาหารเกือบทุกชนิด ไม่ว่าเป็นอาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรม หรือชนิดที่แม่ค้าทำที่บ้านแล้วขายตรงสู่ผู้บริโภค แต่ในความเหมือนนั้นก็มีความต่างกัน อาหารที่ผลิตทางอุตสาหกรรมนั้นต้องทำการขึ้นทะเบียนก่อน จึงต้องใช้สารกันบูดได้ในปริมาณที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาอนุญาตกำหนด ในขณะที่สินค้าชนิดเดียวกันแต่ขายตรงสู่ผู้บริโภคนั้นหน่วยงานที่มีหน้าที่คงไม่ค่อยได้ดูแล ด้วยเหตุผลที่อ้างประจำว่า คนน้อย งานเยอะ ฯลฯในกรณีการใช้สารกันบูด(ซึ่งหมายรวมถึงสารเจือปนในอาหารอื่นๆ ด้วย)นั้น หน่วยงานทางการของทุกประเทศมักกำหนดให้ใช้ได้ในปริมาณที่ไม่(ควร)ก่อปัญหาต่อสุขภาพผู้บริโภค โดยขึ้นกับข้อมูลว่า อาหารชนิดนั้นว่า ถูกกินด้วยปริมาณมากหรือน้อยในหนึ่งครั้งของการกิน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วอาหารชนิดใดถูกกินในปริมาณมากต่อครั้ง ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ก็จะน้อย ในทางกลับกันถ้าอาหารใดถูกกินในปริมาณน้อยต่อครั้งก็อาจได้รับอนุญาตให้ใส่ได้มากขึ้นได้จนถึง 1000 ส่วนในล้านส่วน ตัวเลขที่ใช้ในอาหารแต่ละประเภทนั้นหน่วยงานทางการมักใช้น้อยกว่าหรือเท่ากับที่ Codex(หน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่ผู้ผลิตอาหารจำต้องเชื่อฟัง)เป็นผู้กำหนดปริมาณของสารเจือปนที่ถูกผู้บริโภคกินจากอาหารชนิดต่างๆในหนึ่งวันนั้น ในทางทฤษฎีแล้วต้องไม่เกินค่าซึ่งทางวิชาการเรียกว่า ADI หรือ acceptable daily intake ซึ่งเป็นตัวเลข (จากการคำนวณเมื่อได้ผลการศึกษาในสัตว์ทดลอง) ที่หมายถึง ปริมาณสารเจือปนต่อน้ำหนักตัวผู้บริโภคกินทุกวันจนวันตายก็ไม่เกิดอาการผิดปรกติเอาล่ะ กลับมาพิจารณาถึงเหตุที่ผู้ผลิตมักใส่สารกันบูดในขนมจีน คำตอบนี้ที่ผู้เขียนได้หลังจากการเข้าไปศึกษากระบวนการผลิตขนมจีน ซึ่งมีการอธิบายในอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะใน YouTube นั้นมีการแสดงให้เห็นว่า ถ้าไม่ใส่สารนี้โอกาสที่จะมีคนเป็นโรคทางเดินอาหารเพิ่มนั้นสูงมาก เพราะขั้นต้อนการผลิตนั้นค่อนข้างยุ่งยากเสียเวลาและเอื้ออำนวยต่อการเจริญของเชื้อแบคทีเรียการทำขนมจีน (www.pschsupply.com) โดยสรุปนั้น เริ่มจากการนำข้าวเจ้าไปแช่น้ำข้ามวันข้ามคืน ซึ่งเป็นกระบวนการหมักข้าว ด้วยแลคติคแอซิดแบคทีเรียที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ข้าวหมักที่ได้นั้นถูกนำไปบดให้ละเอียดแล้วนำไปกรองแป้งด้วยผ้าขาวบาง 1 คืน ให้ตกตะกอนจึงนำไป นอนนํ้าแป้ง ในถุงผ้าทิ้งอีก 1 คืน โดยมีวัตถุที่มีน้ำหนักกดทับแป้งเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออก ก่อนนำไปนึ่งให้สุกบางส่วนแล้วจึงตีแป้งให้แป้งดิบและแป้งสุกผสมกันดี ก่อนนำไปผ่านกระบวนการ ครูดแป้ง โดยเทแป้งใส่ในผ้าขาวบางแล้วหมุนผ้าบิดบีบเพื่อให้แป้งไหลผ่านออกมา แป้งที่ได้มีเนื้อละเอียดพร้อมนำไปโรยเส้นด้วยภาชนะเจาะให้มีรูขนาดเหมาะสมลงในหม้อที่มีน้ำเดือดอยู่ ได้เส้นสุกลอยขึ้นมาจึงใช้กระชอนช้อนขึ้นไปแช่น้ำเย็นก่อน จับเส้น ตามต้องการ ขนมจีนแบบนี้เรียกว่า ขนมจีนแป้งหมัก ซึ่งหากินได้ยากแล้วสำหรับขนมจีนประเภทที่ทำได้เร็วกว่าคือ ขนมจีนแป้งสดซึ่ง Arthit ได้โพสต์ในเว็บhttp://farmfriend.blogspot.com อธิบายขั้นตอนการผลิตพร้อมรูปประกอบว่า ให้นำแป้งข้าวเจ้ามานวดกับน้ำให้เหนียวนุ่มแล้วปั้นเป็นก้อน ก่อนนำไปต้มหรือนึ่งให้สุกเพียงด้านนอก จากนั้นจึงนำไปบี้แล้วตำทั้งร้อนๆ ในครกจนเหนียวหนืด แล้วนำไปบีบโดยเครื่องบีบเส้น(ซึ่งอาจเป็นกระป๋องเจาะรูง่ายๆ) ลงไปในหม้อที่มีน้ำเดือด จนได้เส้นลอยขึ้นมาให้ตักไปแช่น้ำเย็นทันที แล้วจับเป็นหัวให้สวยงามน่ากิน โดย Arthit ไม่ได้ระบุว่าทำแล้วก็ต้องกินให้หมดในวันนั้นเลยหรือไม่ ดังนั้นในโลกแห่งความเป็นจริงของการผลิตเพื่อขายให้ลูกค้า ขนมจีนแป้งสดต้องการใช้เบนโซเอทในการผลิตเพื่อป้องกันการบูดเสียขณะเก็บไว้ขายในวันอื่น ถ้าจำไม่ผิด นานมาแล้วเมื่อสถานีโทรทัศน์ที่ดำเนินงานด้วยภาษีบาปในช่วงเพิ่งตั้งสถานีใหม่ๆ ได้เคยเสนอสารคดีวิธีทำขนมจีนแป้งสดระดับโรงงานแถวฉะเชิงเทรา ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังอธิบายข้างบน แต่ขั้นตอนที่ผู้เขียนสนใจมากคือ การใช้น้ำจากแม่น้ำบางประกง ซึ่งผ่านการแกว่งสารส้มให้ใสมาเป็นน้ำสำหรับทำให้เส้นขนมจีนเย็นลง โดยมีผู้ให้เหตุผลในอินเทอร์เน็ตว่า ในการทำขนมจีนนั้นใช้น้ำประปา ซึ่งมีคลอรีนไม่ได้เพราะคลอรีนทำให้ได้เส้นขนมจีนที่ไม่ดี (จึงมักใช้น้ำบ่อหรือน้ำท่าที่ดูสะอาด)  ดังนั้นถ้าปัจจุบันการทำขนมจีนยังใช้น้ำบ่อหรือน้ำท่าเป็นขั้นตอนในการผลิตเหมือนเดิม การใช้สารกันบูดจึงไม่ใช่เรื่องน่าประหลาดใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 สารกันบูดในขนมจีน

“ขนมจีน” อาหารยอดนิยมของคนเกือบทุกภาค เป็นอาหารที่รับประทานสะดวก มีคุณค่าทางสารอาหารจากผักเคียงและมีหลายเมนูให้เลือกสรร ไม่ว่าจะเป็นขนมจีนน้ำยากะทิของคนภาคกลาง ขนมจีนน้ำเงี้ยวของภาคเหนือ ขนมจีนราดแกงไตปลาของคนใต้ หรือขนมจีนในต่ำซั่วของคนอีสาน ซึ่งนอกจากจะอร่อยถูกปากแล้ว บางส่วนยังมีความเชื่อว่าการนำขนมจีนเลี้ยงพระในงานมงคล เช่น งานแต่งงาน จะทำให้ชีวิตคู่อยู่ยืนนานเหมือนเส้นขนมจีนอีกด้วย อย่างไรก็ตามในทุกครั้งที่เรากำลังเพลิดเพลินกับขนมจีนที่เอร็ดอร่อยนั้น รู้หรือไม่ว่าส่วนใหญ่แล้วเราได้รับประทาน “สารกันบูด” เข้าไปด้วย ซึ่งหากเรารับประทานสารดังกล่าวมากเกินไปจนทำให้เกิดการสะสมในร่างกาย อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของตับและไตลดลง หรืออาจส่งผลถึงขั้นพิการได้ กระทรวงสาธารณสุขจึงออกประกาศ (ฉบับที่ 281 พ.ศ. 2547) เรื่อง ค่ามาตรฐานของสารกันบูดหรือกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยอ้างอิงตามมาตรฐานสากลของโคเด็กซ์ (CODEX) สำหรับอาหารจำพวกพาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทำนองเดียวกันว่า ต้องมีปริมาณ ไม่เกิน 1,000 มก./กก. ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาผู้อ่านไปทดสอบสารกันบูด(เบนโซอิก) ตกค้างในขนมจีนทั้งหมด 12 ยี่ห้อจากแหล่งซื้อต่างๆ ว่ามีมากน้อยแค่ไหนกัน ซึ่งผลจะเป็นอย่างไรเราไปดูกันเลย   ผลทดสอบผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐาน                       ไม่ผ่านเกณฑ์ค่ามาตรฐาน    *ผลทดสอบเฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจ เก็บตัวอย่างเดือนมกราคม 2559สรุปผลการทดสอบจากตัวอย่างเส้นขนมจีนที่นำมาทดสอบทั้งหมดพบว่า ทุกยี่ห้อมีการปนเปื้อนของสารกันบูด - 2 ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดตกค้างมากที่สุด และเกินกว่าปริมาณสูงสุดที่ อย . กำหนดไว้คือ ขนมจีนตราดาว จากตลาดยิ่งเจริญสะพานใหม่ จำนวน 1,121.37 มก./กก. รองลงมาคือ ไม่มียี่ห้อ จากตลาดสะพานขาวจำนวน 1,115.32 มก./กก.- ยี่ห้อที่มีปริมาณสารกันบูดตกค้างน้อยที่สุดคือ ขนมจีนจาก ตลาดพระประแดง จำนวน 147.43 มก./กก. เทคนิคการหลีกเลี่ยงสารกันบูดตกค้างในร่างกาย แม้กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) หรือสารกันบูดที่ใส่ในขนมจีน จะมีประโยชน์ในการช่วยยืดอายุของอาหาร ด้วยการยับยั้งหรือทำลายจุลินทรีย์ที่ทำให้อาหารเน่าเสีย และถูกจัดอยู่ในประเภทพิษปานกลาง ซึ่งร่างกายสามารถขจัดออกมาได้เอง แต่ก็สามารถส่งผลอันตรายต่อผู้บริโภคได้ หากมีการตกค้างหรือสะสมในร่างกายมากเกินไปดังที่กล่าวไปข้างต้น เราจึงควรระมัดระวังในการรับประทาน ดังนี้ - บริโภคอาหารให้หลากหลายชนิดหมุนเวียนกัน เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมสารพิษตกค้างในร่างกาย โดยควรทำอาหารรับประทานเองบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าวัตถุดิบที่นำมาปรุงมีความสดใหม่ หรือปลอดภัยจากสารเคมี- เลือกซื้ออาหารที่ระบุ ว/ด/ป ที่ผลิต-หมดอายุ และมี อย เพื่อให้มั่นใจว่าอาหารดังกล่าวไม่ได้ใส่สารกันบูดมากเกินกว่าที่กำหนดไว้- หลีกเลี่ยงอาหารปรุงสำเร็จ หรืออาหารพร้อมบริโภคบรรจุกล่อง เพราะอาหารเหล่านี้หากไม่บรรจุในภาชนะปิดสนิท หรือต้องเก็บรักษาในอุณหภูมิที่กำหนดไว้ อาจมีสารกันบูดเจือปนในปริมาณมาก- นอกจากขนมจีนแล้วก็ยังมีอาหารอีกหลายชนิดที่นิยมใส่สารกันบูด เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว ผลไม้แช่อิ่ม หรือน้ำผลไม้ ซึ่ง อย . ก็ได้กำหนดค่ามาตรฐานไว้ต่างกัน เราจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคในปริมาณมากติดต่อเป็นเวลานานข้อมูลอ้างอิง: http://iodinethailand.fda.moph.go.th/food/data/news/2556/560902/Update%20Food%20Additives.pdf กรดเบนโซอิก (Benzoic acid)กรดเบนโซอิก (benzoic acid) เป็นสารเคมีที่นิยมใช้เป็นวัตถุกันเสียในอุตสาหกรรมอาหารอย่างแพร่หลาย เป็นสารที่พบได้ในธรรมชาติ ได้แก่ ลูกพรุน, อบเชย, แอปเปิล, กานพลู และมะกอกสุก เป็นต้น โดยมีจำหน่ายในท้องตลาดในรูปผงผลึกสีขาวหรือเป็นเกล็ด มักใช้ร่วมกับกรดซอร์บิก และพาราเบนส์สำหรับเป็นวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอตจะต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้ดีในสภาวะเป็นกรดที่ต่ำกว่า 4.5 ดังนั้น อาหารที่ใช้กรดเบนโซอิก และเกลือเบนโซเอตเพื่อช่วยยืดอายุการเก็บ จึงควรเป็นอาหารที่มีความเป็นกรด สูง เช่น เครื่องดื่มชนิดต่างๆ น้ำผลไม้ แยม เยลลี ผักดอง ผลไม้ดอง น้ำสลัด ฟรุตสลัด และเนยเทียม เป็นต้น ปริมาณที่อนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 84

อ่านเพิ่มเติม >