ฉบับที่ 191 “สารฟอกขาว” ใน “วุ้นเส้นสด”

“วุ้นเส้น” อีกหนึ่งอาหารเส้นที่หลายคนชื่นชอบ สามารถนำไปปรุงเป็นเมนูต่างๆ ได้หลากหลาย ทั้ง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไท ยำวุ้นเส้น แกงจืด กุ้งอบวุ้นเส้น และอีกสารพัดเมนู ซึ่งเดี๋ยวนี้มี “วุ้นเส้นสด” ที่ช่วยทำให้ชีวิตของคนชอบกินวุ้นเส้นง่ายขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการนำวุ้นเส้นแบบแห้งมาแช่น้ำให้เส้นนิ่มก่อนถึงจะนำมาปรุงอาหารได้ เพราะวุ้นเส้นสดแค่เกะซองก็พร้อมปรุงได้ทันที ทำให้บรรดาร้านก๋วยเตี๋ยว ร้านผัดไทหลายๆ แห่งเริ่มหันมาใช้วุ้นเส้นสดกันมากขึ้น ส่วนเรื่องรสชาติความอร่อย ความเหนียวนุ่มของเส้น แบบไหนจะโดนใจกว่ากันอันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนบุคคลวุ้นเส้นจัดอยู่ในประเภทของอาหารกึ่งสำเร็จรูป มีมาตรฐานในการควบคุมเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายมีความปลอดภัยในการบริโภค ซึ่งที่ผ่านมาปัญหาที่มักพบในวุ้นเส้นก็คือเรื่องของ “สารซัลเฟอร์ไดออกไซด์” หรือ “สารฟอกขาว” ฉลาดซื้อจึงขออาสาสำรวจดูว่า บรรดาวุ้นเส้นสดยี่ห้อต่างๆ ที่วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด แต่ละยี่ห้อมีการปนเปื้อนของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์มากน้อยแตกต่างแค่ไหนกันบ้างสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ใส่ได้แต่ห้ามเกินที่กฎหมายกำหนดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 281 (พ.ศ.2547) เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร อ้างอิงตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร อนุญาตให้มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในกลุ่มอาหารประเภท วุ้นเส้น เส้นหมี่ และเส้นก๋วยเตี๋ยว ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม***ถ้าลองเทียบกับมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศหรือโคเด็กซ์ (Codex) ซึ่งแน่นอนว่าไม่มีวุ้นเส้นสดอยู่ในข้อกำหนด แต่ก็มีกลุ่มอาหารที่พอจะเทียบเคียงได้คือ กลุ่ม พาสตา ก๋วยเตี๋ยว และผลิตภัณฑ์ทํานองเดียวกัน ชนิดกึ่งสําเร็จรูป (Pre-cooked pastas and noodles and like products) ซึ่งในโคเด็กซ์มีการกำหนดให้พบสารในกลุ่มซัลไฟต์ไว้แค่ไม่เกิน 20 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัมเท่านั้นซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Sulfur dioxide : SO2) หรือที่ชาวบ้านทั่วไปรู้จักกันในชื่อของ “กำมะถัน” เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ แต่มีกลิ่นฉุนรุนแรงทำให้หายใจไม่ออก แต่ละลายน้ำได้ดี ซึ่งสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นสารในกลุ่ม ซัลไฟต์ (Sulfites) เป็นสารที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะเป็นทั้งสารกันเสีย ที่มีประสิทธิภาพสูงในการถนอมอาหาร ราคาถูก ง่ายต่อการใช้งาน ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของ ยีสต์ รา และแบคทีเรีย ช่วยกันหืน รวมทั้งยังใช้ในการยับยั้งปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลเนื่องจากเอนไซม์และที่ไม่ใช่เอ็นไซม์  นิยมใช้กับอาหารหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอาหารที่จำพวกผักและผลไม้ ผักผลไม้แห้ง ผักผลไม้ดอง ผักผลไม้แช่อิ่ม ผลไม้กวน แยม อาหารในกลุ่มน้ำตาล น้ำตาลทราย น้ำตาลปี๊บ น้ำเชื่อม อาหารที่มีการใช้เจลลาติน ถั่วบรรจุกระป๋อง หน่อไม้กระป๋อง เห็ดกระป๋อง อาหารแช่แข็ง เครื่องดื่มบางชนิด และอาหารจำพวกเส้นที่ทำจากแป้ง เช่น เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นหมี่ และ วุ้นเส้นผลทดสอบ- พบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ในตัวอย่างวุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่างที่นำมาทดสอบ- ข่าวดี ปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่พบในวุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่าง ไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนด(ไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม)- ตัวอย่างวุ้นเส้นสดที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ น้อยที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1.ยี่ห้อเถาถั่วเงิน (ถุงแดง) เก็บตัวอย่างที่ตลาดสะพาน 2 พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ที่ปริมาณ 27 มก./กก., 2.ยี่ห้อบิ๊กซี เก็บตัวอย่างจากบิ๊กซี สาขาสะพานควาย พบปริมาณ 28 มก./กก. และ 3.เถาถั่วเงิน (ถุงเขียว) เก็บตัวอย่างที่ตลาดบางกะปิ พบปริมาณ 45 มก./กก.- ตัวอย่างวุ้นเส้นสดที่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มากที่สุด คือ 1.ยี่ห้อชอแชมป์ เก็บตัวอย่างที่ตลดบางกะปิ พบปริมาณ 233 มก./กก., 2.ยี่ห้อส้มทอง เก็บตัวอย่างที่ห้างแม็คโคร บางกะปิ พบปริมาณ 224 มก./กก. และ 3.ยี่ห้อเทสโก้ เก็บตัวอย่างจากห้างเทสโก้ โลตัส สาขาลาดพร้าว พบปริมาณ 196 มก./กก. - มีเพียงแค่ 7 ตัวอย่าง ที่แจ้งข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหารบนฉลาก ซึ่งตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(ฉบับที่ 367) พ.ศ. 2557 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารในภาชนะบรรจุ  กำหนดไว้ว่าอาหารที่มีสารในกลุ่มซัลไฟต์ มากกว่าหรือเท่ากับ 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ต้องมีการแสดงข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร ซึ่งจากการทดสอบครั้งนี้ พบว่า วุ้นเส้นสดทั้ง 16 ตัวอย่าง มีปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์(สารในกลุ่มซัลไฟต์) มากกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม - มีวุ้นเส้นสด 6 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 16 ตัวอย่าง ที่แสดงข้อมูลบนฉลากแจ้งเรื่องการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด และมี 1 ตัวอย่างที่แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย ตามประกาศ อย. ที่กำหนดให้อาหาร ที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารต้องแสดงข้อความ ชื่อ หน้าที่ของวัตถุเจือปนอาหารร่วมกับชื่อเฉพาะ หรือระบุหมายเลขรหัสวัตถุเจือปนอาหารสากล(International Numbering System : INS for Food Additives) ซึ่งหมายเลขสากลของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ คือ INS220 - จากสำรวจครั้งนี้พบว่า ยังมีผลิตภัณฑ์วุ้นเส้นสดหลายยี่ห้อมีปัญหาเรื่องการแสดงฉลาก โดยแสดงข้อความไม่ครบถ้วน หรือไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเฉพาะตัวอย่าง วุ้นเส้นสดยี่ห้อ 1 ซึ่งบนบรรจุภัณฑ์ มีแค่เลข 1 กับข้อมูลวันเดือนปีที่ผลิตและหมดอายุ ฉลาดซื้อแนะนำ-เลือกซื้อวุ้นเส้นสด ที่ขนาดเส้นมีความสม่ำเสมอ เส้นใส ดูออกเป็นสีขาวเล็กน้อย เมื่อต้มแล้วมีความเหนียวยืดหยุ่น เส้นไม่เกาะกัน -ต้องไม่มีกลิ่นอับ ไม่มีเชื้อรา หรือสิ่งแปลกปลอมอื่นๆ ปนเปื้อนมาในบรรจุภัณฑ์-ซื้อจากผู้ผลิตที่เชื่อถือได้-ข้อมูลบนฉลากต้องครบถ้วน มีชื่อผลิตภัณฑ์ ชื่อ และที่ตั้งผู้ผลิต เลข อย.แจ้งปริมาณบรรจุ แสดงส่วนประกอบสำคัญเป็นร้อยละของน้ำหนัก มีวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุอันตรายของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหากร่างกายของเราได้รับในปริมาณที่มากเกินไป แต่โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ สำหรับพิษของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อสูดดมจะมีฤทธิ์กัดกร่อนต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เกิดอาการระคายเคือง หากเข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง เวียนศีรษะ อาเจียน ช็อก หมดสติ และอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ในผู้ที่แพ้มากหรือผู้ที่เป็นหอบหืดโดยองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่าความปลอดภัยต่อการบริโภคในชีวิตประจำวันของซัลเฟอร์ไดออกไซด์ว่าไม่ควรบริโภคเกิน 0.7 มิลลิกรัมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ต่อ 1 วันกินวุ้นเส้นแล้วไม่อ้วนจริงหรือ!?สาวๆ หลายคนเลือกกินเมนูวุ้นเส้นด้วยเหตุผลว่า ทำให้อ้วนน้อยกว่าเมนูเส้นชนิดอื่นๆ ซึ่งตามข้อมูลกรมอนามัยพบว่า วุ้นเส้น ถือเป็นอาหารในกลุ่มข้าวและแป้งที่ให้พลังงานน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับปริมาณที่รับประทาน โดยวุ้นเส้นสุก 1 ทัพพี หรือประมาณ 60 กรัม ให้พลังงาน 40 กิโลแคลอรี ขณะที่ ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่ 1 ทัพพี หรือเท่ากับ 50 กรัม และเส้นหมี่ 2 ทัพพี หรือประมาณ 54 กรัม จะให้พลังงานอยู่ที่ 80 กิโลแคลอรี  หรือถ้าเทียบกับข้าวสุก 1 ทัพพี ประมาณ 60 กรัม ก็จะให้พลังงานเท่ากับ 80 กิโลแคลอรีเช่นกัน แต่ทั้งนี้จะอ้วนหรือไม่อ้วนก็ขึ้นอยู่กับปริมาณที่เรารับประทานหลายคนอาจจะยังเข้าใจผิดว่ากินวุ้นเส้นแล้วร่างกายจะได้โปรตีน ความจริงแล้ววุ้นเส้นก็คือ แป้งเช่นเดียวกับอาหารจำพวกเส้นชนิดอื่นๆ แม้ว่าวุ้นเส้นจะทำจากถั่วเขียว แต่ผ่านกรรมวิธีการทำมาจนเหลือแต่ส่วนที่เป็นแป้ง ทำให้วุ้นเส้นแทบจะไม่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบอยู่เลย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 สารฟอกขาวกับน้ำตาลมะพร้าว

ขอบคุณทุกท่านที่สนใจข้อมูลจากนิตยสารฉลาดซื้อ>>> อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่าน online 300บาท/ ต่อปี  ข้อมูลการสมัครอยู่ด่านล่าง ขอบคุณค่ะ สำหรับขนมไทย อาหารไทย หลายตำรับนั้น น้ำตาลมะพร้าวที่นำมาปรุงประกอบจะให้รสสัมผัสที่นุ่มนวล หวานมันกว่าน้ำตาลทราย และมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหาร โดยในอดีตน้ำตาลมะพร้าวแท้ ต้องได้จากการเคี่ยวน้ำหวานที่ปาดจากดอกมะพร้าว(งวงหรือจั่นมะพร้าว) เคี่ยวไฟจนเกือบแห้งแล้วบรรจุในปี๊บ เรียกกันว่า น้ำตาลปี๊บ หรือใส่ในเบ้าหรือถ้วยหลุมตื้นที่เรียกว่า น้ำตาลปึก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวสวนมะพร้าว แต่ปัจจุบันการผลิตน้ำตาลมะพร้าวแท้อาจไม่คุ้มทุนและเจอปัญหาในการผลิตหลายอย่าง จึงเกิดการใช้น้ำตาลอย่างอื่น เช่น น้ำตาลทราย มาผสมให้มีรูปแบบอย่างน้ำตาลมะพร้าว ทำให้คุณค่าและรสชาติแท้ๆ ลดลงไป รวมถึงการปนเปื้อนของสารตกค้างอย่าง สารฟอกขาว สารกันบูด ยาฆ่าแมลง จนอาจก่อให้เกิดปัญหากับผู้บริโภคได้ ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงลองหยิบจับน้ำตาลมะพร้าวทั้งที่บอกว่า แท้ และชนิดเลียนแบบ ซึ่งวางขายในห้างค้าปลีกและร้านค้าในตลาดสด จำนวน 21 ตัวอย่าง ส่งห้องปฏิบัติการเพื่อทดสอบหาการตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือสารฟอกขาว ซึ่งทางราชการอนุญาตให้ใช้ในการผลิตได้แต่ต้องไม่เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด(ดูท้ายตาราง)ไปดูกันเลยว่าน้ำตาลมะพร้าวของใครไม่มีสารฟอกขาวบ้าง     สารฟอกสีเหล่านี้  เป็นสารเคมีที่อนุญาตให้ใช้เป็นวัตถุเจือปนในอาหารได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่กำหนดตามชนิดของอาหาร ถ้าใช้เกินปริมาณที่กำหนดจะเกิดอันตรายได้ ส่วนสารฟอกขาวที่เป็นอันตราย กระทรวงสาธารณสุขไม่อนุญาตให้ใช้เจือปนในอาหาร คือ สารโซเดียมไฮโดรซัลไฟต์(Sodium hydrosulfite) หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ผงซักมุ้งสารประกอบซัลไฟต์เป็นสารเคมีที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารหลายประเภทโดยใช้ เป็นสารกันเสียเพื่อป้องกันและยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ ใช้เป็นสารกันหืนเพื่อป้องกันการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันของไขมันในอาหารที่ จะทำให้เกิดการเหม็นหืนในผลิตภัณฑ์นั้น และที่สำคัญยังสามารถใช้เป็นสารฟอกขาวอีกด้วย  เนื่องจากมีคุณสมบัติยับยั้งปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงเป็นสีน้ำตาลซึ่งเกิดขึ้นในอาหารประเภท  โดยปกติถ้าได้รับในปริมาณไม่มากร่างกายคนจะมีเอนไซม์ที่สามารถเปลี่ยนสารซัลไฟต์เป็นสารซัลเฟต ซึ่งไม่มีพิษต่อร่างกายและถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะ   อย่างไรก็ตามการได้รับสารกลุ่มนี้ในปริมาณมากก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ อาการความเป็นพิษที่เกิดขึ้นจะมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล กลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการได้รับสารกลุ่มนี้คือ กลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาการที่พบคือ หายใจขัด เจ็บหน้าอก ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง เวียนศีรษะ ความดันเลือดต่ำเป็นลมพิษ โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ที่เป็นโรคหอบหืด อาจเกิดอาการช็อก หมดสติและเสียชีวิตได้ ระดับความรุนแรงของอาการขึ้นกับปริมาณการได้รับว่ามากน้อยแค่ไหนข้อสังเกต ผลิตภัณฑ์ของ Suttiphan (สุทธิภัณฑ์) ที่แบ่งจำหน่ายที่ ท็อปซุปเปอร์มาร์เก็ต ซีคอนบางแคนั้น ไม่พบซัลเฟอร์ไดออกไซด์ แต่ทั้งสองตัวอย่าง มีลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ต่างกัน ในฉลากของผลิตภัณฑ์ที่แบ่งจำหน่ายในห้างท็อปฯ จะให้รายละเอียดที่มากกว่า ซึ่งในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างจากห้างกูร์เมต์ฯ นั้น ไม่มีรายละเอียดส่วนนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่  281  พ.ศ. 2547 และประกาศ อย เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร กำหนดให้ตรวจพบ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ได้ไม่เกิน 40 มิลลิกรัมต่อ 1  กิโลกรัมข้อสังเกต ยังไม่มีการระบุไว้อย่างชัดเจนสำหรับน้ำตาลมะพร้าว จึงใช้ตามมาตรฐานที่กำหนดในน้ำตาลทรายละเอียด   ฉลาดซื้อแนะ1.ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีฉลากแสดงรายละเอียดของส่วนประกอบที่ชัดเจน เพื่อจะได้ทราบว่าเป็นน้ำตาลมะพร้าวแท้ หรือน้ำตาลมะพร้าวแบบผสม นอกจากนี้ควรมีการระบุ วัน เดือน ปีที่ผลิต ขนาดบรรจุ ราคาที่แน่นอน คำแนะนำในการเก็บรักษา การนำไปใช้ประโยชน์ และแหล่งผลิตพร้อมชื่อยี่ห้อสินค้าที่ชัดเจน 2.ไม่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีสีขาวจนผิดธรรมชาติ น้ำตาลมะพร้าวแท้จะมีสีคล้ำเนื่องจากการเคี่ยวไฟเป็นเวลานาน ถ้าเป็นน้ำตาลปึกต้องไม่มีลักษณะแข็งกระด้างจนเกินไป 3.หากพบว่าน้ำตาลมะพร้าวที่ซื้อมา มีกลิ่นเหม็นหรือกลิ่นฉุน รสหวานแหลม เนื้อน้ำตาลแข็งมาก เก็บไว้ได้นานเป็นเดือนที่อุณหภูมิห้องโดยสียังคงขาวนวล ต้องระวัง เพราะอาจเป็นน้ำตาลมะพร้าวที่ผสมสารฟอกขาวในปริมาณมาก      -------------------------------------------------- >>>อ่านแล้วอยากสนับสนุนให้เรามีเงินทุนต่อเนื่อง >>> ร่วมอ่านonline 300 บาท/ ต่อปี >>> โอนเงินแล้วแจ้งมาที่ >> อีเมล์ chaladsue@gmail.com + แนบรูปโอน >> เปิดอ่าน full Version ทันทีจ้าาาาาา>>> ต้องการใบเสร็จ >> พิมพ์ชื่อ - ที่อยู่  ใน อีเมล์ด้วยนะครับ---------------------------------ชื่อ บช. "มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค"กสิกรไทย : 058-2-86735-6ไทยพาณิชย์ : 319-2-62123-1กรุงไทย : 141-1-28408-9ทหารไทย : 026-2-40760-4กรุงเทพ : 088-0-38742-8กรุงศรีอยุธยา : 463-1-10884-6--------------------------------->>> อ่านย้อนหลังได้กว่า 90 ฉบับ ผลทดสอบเพียบ! >>>นิตยสารนี้ไม่มีโฆษณา...เพื่อข้อมูลที่เป็นกลางและตัดสินใจได้ สำหรับผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 179 สารฟอกขาว ในเห็ดหูหนูขาวแห้ง

คราวก่อนฉลาดซื้อพาผู้อ่านไปทดสอบสารกันราในเห็ดหอมแห้ง คราวนี้ก็ยังคงเป็นเรื่องเห็ดเหมือนเดิม แต่เป็นการทดสอบสารฟอกขาว หรือ Sulphur dioxide ในเห็ดหูหนูขาวแห้งแทน “เห็ดหูหนูขาว” เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบสำคัญในเมนูอาหารโปรดของใครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นแกงจืด ยำแซบหรือเย็นตาโฟ ซึ่งชาวจีนได้ยกย่องให้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยบำรุงร่างกาย รวมทั้งป้องกันมะเร็งลำไส้ได้ เพราะมีส่วนช่วยในการระบายท้อง และมีธาตุชิลีเนียมที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามคุณประโยชน์ที่มากมายของเห็ดหูขาวนั้น อาจต้องเจอกับสารฟอกขาวที่ปนเปื้อนอยู่ในเห็ดหูหนูขาวด้วย โดยจากการสุ่มตรวจของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ผ่านมา จะพบปริมาณสารฟอกขาวในอาหารแห้งที่นำมาสุ่มตรวจทุกครั้ง และแน่นอนว่าอยู่ปริมาณที่สูงด้วย     โครงการสร้างความเข้มแข็งกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน จึงร่วมกับฉลาดซื้อ ออกสำรวจและเก็บตัวอย่างเห็ดหูหนูขาวจากตลาดใหญ่ๆ ในภาคต่างๆ และในห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในกรุงเทพฯ เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์เรื่องความไม่ปลอดภัยจากการฟอกขาวที่ปนเปื้อนในเห็ดหูหนูขาว  ผลทดสอบสารฟอกขาว ในเห็ดหูหนูขาวแห้งแต่ละยี่ห้อ                                 สรุปผลการทดสอบ- มีตัวอย่างเห็ดหูหนูขาวแห้งทั้งหมด 4 ยี่ห้อ คือ เอโร่ Aro, Home Fresh Mart, เทสโก้ และ ปลาทอง ที่ไม่พบสารฟอกขาวปนเปื้อนเลย- มีเพียงตัวอย่างเดียว คือเห็ดหูหนูขาวแห้งยี่ห้อ มายช้อยส์ My choice ที่มีปริมาณสารฟอกขาวน้อยกว่า 10 มก./กก.- ตัวอย่างที่เหลืออีก 7 ยี่ห้อ หรือกว่าครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมด คือ AAA และไม่ระบุยี่ห้อ จากตลาดที่เชียงราย, กิมหยง, บางกะปิ, คลองเตย, เยาวราช และ Food land สาขาลาดพร้าว มีปริมาณสารฟอกขาวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขทั้งหมด (กระทรวงสาธารณสุขก็ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานให้พบปริมาณสารฟอกขาว ในอาหารแห้งต่างๆ ได้ไม่เกิน 1,500 มก./กก.) แนะนำวิธีบริโภคเห็ดหูหนูขาวแห้งให้ปลอดภัยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ศึกษาวิธีการ ลดปริมาณสารฟอกขาวในเห็ดหูหนูขาวก่อนนำไปปรุงอาหาร คือ ควรนำมาล้างน้ำและลวกในน้ำเดือด 2 นาที ซึ่งพบว่าสามารถลดปริมาณสารดังกล่าวได้ร้อยละ 90ทั้งนี้สำหรับอาหารแห้งอื่นๆ เช่น ดอกไม้จีน ก็ควรนำมาล้างน้ำ 5 นาทีก่อนนำไปปรุงก็จะช่วยลดการปนเปื้อนได้ หรือใช้วิธีการเลือกซื้ออาหารแห้งที่มีสีใกล้เคียงกับธรรมชาติ ไม่ขาวจนผิดปกติ และหลีกเลี่ยงการซื้อถั่วงอกหรือขิงซอย ที่ไม่มีดำคล้ำแม้สัมผัสอากาศมานานแล้ว-----------------------------------------------------------สารฟอกขาวคืออะไรสารฟอกขาว เป็นสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเปลี่ยนสีของอาหารไม่ให้เป็นสีน้ำตาล ทำให้อาหารแห้งมีสีน่ารับประทานยิ่งขึ้น แต่ภายหลังได้มีการนำสารดังกล่าวมาใช้ในอาหารหลายชนิดในปริมาณสูง ทำให้เกิดการตกค้างและเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สารฟอกขาวมีพิษต่อร่างกายเราอย่างไรแม้ร่างกายของเราสามารถขับสารดังกล่าวผ่านทางปัสสาวะได้ แต่หากอาหารแห้ง เช่น เห็ดหูหนูขาว ขนมจีน เยื่อไผ่หรือผลไม้อบแห้งต่างๆ เหล่านี้ มีการปนเปื้อนสารฟอกขาวมากเกินกว่าที่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO/WHO) กำหนดไว้ คือ 0.7 มิลลิกรัม/วัน/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น น้ำหนัก 60 กิโลกรัม ไม่ควรได้รับสารฟอกขาวเกิน 42 มิลลิกรัมต่อวัน ก็สามารถส่งผลให้ผู้ที่รับประทานเกิดความผิดปกติต่อร่างกายได้ เช่น แน่นหน้าอก อาเจียน ความดันโลหิตลดลง และในกรณีที่ผู้รับประทานมีความไวต่อสารชนิดนี้บริโภคมากเกินไป หรือบริโภคเกิน 30 กรัม/วัน ก็อาจส่งผลให้ไตวาย หรือเสียชีวิตได้  

อ่านเพิ่มเติม >