ฉบับที่ 274 ถูกหลอกจากสินค้าส่งปลายทางไม่ตรงปก

        ปัจจุบันประชาชนตกเป็นเหยื่อขบวนการเปิดเพจส่งพัสดุหลอกเก็บเงินปลายทางทุกวัน ทั้งที่ตำรวจตามจับไม่เว้นวัน และสื่อต่างๆ ก็ได้เผยแพร่ข่าวผู้เสียหายมาตลอด แต่ด้วยมิจฉาชีพก็ปรับเปลี่ยนใช้วิธีการใหม่ๆ ทำให้มีผู้ตกเป็นเหยื่ออยู่เสมอ เช่น กรณีของคุณสุวิมล         ภายในเดือนพฤศจิกายนเดือนเดียว คุณสุวิมลตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพที่เปิดเพจหลอกขายสินค้าไปแล้ว 2 ครั้ง ครั้งแรก คุณสุวิมลสั่งซื้อผ้าห่มนวม ราคาผืนละ 400 บาท แต่เมื่อสินค้ามาส่งจริงกลับเป็นผ้าขนหนูผืนเล็กๆ 1 ผืน และครั้งล่าสุดเมื่อศุกร์ที่ 24 พฤศจิกายน คุณสุวิมลต้องการหารองเท้ามาใส่ทำงานแบบเร่งด่วนฉุกเฉิน จึงหาร้านที่สามารถจัดส่งได้ภายใน 1 วันและราคาไม่เกิน 200 บาท เมื่อค้นหาในเฟสบุ๊ค จู่ๆ ก็มีเพจร้านขายรองเท้ามาให้คุณสุวิมลเห็นเองอยู่บ่อยครั้ง เธออดไม่ได้เลยกดเข้าไปดูและเห็นรองเท้าแบบที่เธอกำลังหาอยู่มากมาย เมื่อดูรายละเอียดแล้วก็เห็นว่า เพจรายงานว่ามีสินค้าที่ขายแล้วจำนวนมากและอัพเดตสินค้าใหม่ๆ มาอย่างต่อเนื่อง คุณสุวิมล ทักไปสอบถามระยะเวลาการจัดส่ง แอดมินเพจก็ได้ถาม “คุณสุวิมลอยู่จังหวัดอะไร”  เมื่อตอบว่า อยู่จังหวัดอยุธยา แอดมินเพจจึงบอกว่า “สามารถจัดส่งให้สินค้าไปถึงได้ภายใน 1 วัน ”  เมื่อประกอบกับสินค้าราคารวมจัดส่งแล้วไม่เกิน 200 บาท คุณสุวิมลคิดว่าราคาสินค้าไม่สูง มิจฉาชีพน่าจะหลอกเอาเงินจำนวนมากกว่านี้จึงหลงเชื่อและสั่งรองเท้าไป 1 คู่          รองเท้าที่คุณสุวิมลสั่งเป็นรองเท้าผ้าใบสีขาว ลายสีฟ้าเบอร์ 38 แต่เมื่อพนักงานส่งของมาส่งวันเสาร์ที่ 25 พ.ย. คุณสุวิมลแกะกล่องออกมา  กลับเป็นรองเท้าหนัง สภาพเก่ามากเบอร์ 44 คุณสุวิมลจึงบันทึกวิดีโอตอนเปิดกล่องส่งให้ทางเพจดูว่าได้รับสินค้าไม่ตรง  แอดมินเพจเข้ามาอ่านแต่ไม่ตอบกลับข้อความใดๆ จึงสุวิมลจึงรู้แน่ว่า เธอถูกหลอกอีกแล้ว       แนวทางการแก้ไขปัญหา        เมื่อผู้บริโภค รู้ว่าซื้อสินค้าและถูกหลอก  ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำให้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้         1.เก็บหลักฐาน ข้อมูล ให้มากที่สุด เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวน เช่น เบอร์โทรศัพท์ผู้ขาย , ภาพหน้าร้านเพจ, โปรไฟล์ของพ่อค้าแม่ค้า,บัญชี, ธนาคารที่โอนเงินไป, สลิป และ การโอนเงินชำระค่าสินค้า         2. โทรแจ้งธนาคารอาญัตบัญชีของมิจฉาชีพทันที  เมื่อรู้ตัวว่าถูกโกง ผู้บริโภคสามารถโทรศัพท์ไปที่ศูนย์รับแจ้งเหตุ ภัยทางการเงิน จากมิจฉาชีพ ของธนาคารต่าง ๆ ได้ทันที ตลอด 24 ชั่วโมง (โดยที่ไม่จำเป็นต้องแจ้งความก่อน) ซึ่งเป็นไปตามพระราชกำหนดมาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี         3. ไปแจ้งความทันที และแจ้งธนาคาร        โดยแจ้งความได้ที่สถานีตำรวจใกล้บ้าน โดยแจ้งกับเจ้าหน้าที่ว่า “ขอให้ดำเนินคดีให้ถึงที่สุด” อย่าทำเพียงลงบันทึกประจำวันเด็ดขาด! หรือแจ้งความออนไลน์ที่  www.thaipoliceonline.com         4. ประสานงาน ติดต่อแพลตฟอร์มผู้ให้บริการ เพื่อนำหลักฐานการแจ้งความ เพื่อแจ้งประสานงานขอข้อมูลมิจฉาชีพ ที่ใช้ทำการสมัคร และเพื่อให้ เพื่อค้นหาข้อมูลต่างๆ ในการตามตัว รวมทั้งเพื่อให้ แพลตฟอร์มผู้ให้บริการยกระดับความปลอดภัยของผู้ขายสินค้าด้วย             5.ส่งข้อมูลที่ได้เพิ่มมาให้กับตำรวจ เพื่อตามตัว  ถ้าได้ข้อมูลทั้งหมดแล้ว ก็นำหลักฐานส่งต่อให้กับทางตำรวจเพื่อประสานงานออกหมายเรียก ตามตัว หรือหมายศาลไปยังมิจฉาชีพ เพื่อดำเนินคดีความในลำดับต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 266 สั่งของได้ไม่ตรงปก “ซื้อไอแพด แต่ได้ถ้วยกระเบื้องแทน”

        การสั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วได้สินค้าไม่ตรงปก ปัจจุบันมีผู้บริโภคหลายคนคงจะเจอปัญหาเหล่านี้กันเยอะ  อาชญากรรมทางออนไลน์ ระหว่างเดือน มีนาคม  2565 – กุมภาพันธ์ 2566 มีสถิติการแจ้งความถึง  192,031 คดี และเสียหายสูงสุด 100 ล้านบาท และกลโกงอาชกรรมที่ติดอันดับแรกๆ คือ การลวงหลอกให้ซื้อสินค้าทางออนไลน์         เรื่องราวของผู้ร้องรายนี้ ก็เช่นกัน เกี่ยวกับการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์แล้วได้ของไม่ตรงปก คุณน้ำตาลเธอได้เล่าให้ทางศูนย์พิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟังว่า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา คุณน้ำตาลได้สนใจที่จะซื้อ “ไอแพดมือสอง” เพื่อที่จะเอามาไว้ใช้งาน จึงได้ลองเข้าไปค้นหาดูในเฟซบุ๊ก ซึ่งมักจะมีหลากหลายรุ่นให้เธอได้เลือกซื้อได้ พอเลือกไป เลือกมา คุณน้ำตาลก็เกิดสนใจในรุ่นไอแพด เจน 9 มือสอง ในราคา 3,600 บาท เธอเลยตกลงซื้อทันทีและเลือกแบบเก็บเงินปลายทางเอา         จากนั้นเธอก็รอวันที่สินค้ามาถึง  ผ่านไปไม่กี่วันสินค้าที่เธอสั่งก็มาถึงที่หมายและได้จ่ายเงินเรียบร้อย พร้อมเปิดพัสดุในกล่องทันที แต่...ก็ต้องตกใจอีกของที่ได้กับไม่ตรงกับที่สั่งเลยสักนิดเดียว เป็นเพียงถ้วยกระเบื้องจำนวน 4 ใบ แพ็คมาในกล่อง ยังไม่พอแถมถ้วยกระเบื้องที่ส่งมายังแตกไปอีก 2 ใบ อย่างไรก็ตาม คุณน้ำตาลยังใจดีสู้เสือ ลองติดต่อไปตามที่อยู่ข้างกล่องเพื่อจะได้เจรจากับผู้ขายได้ แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถติดต่อได้ ทีนี้ล่ะเธอโดนหลอกแน่แท้แล้วสิ จึงได้ติดต่อมาทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อขอแนวทางในการแก้ปัญหา แนวทางการแก้ไขปัญหา         ศูนย์พิทักษ์สิทธิ  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีคำแนะนำตามนี้         1. ซื้อสินค้าทางออนไลน์แล้วชำรุดบกพร่องหรือได้ไม่ตรงปก ให้ทางผู้ร้องลองติดต่อกับผู้ขายให้รับผิดชอบกับสิ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่ การขอเปลี่ยนสินค้าหรือการขอเงินคืน         2. ถ้าได้ดำเนินการตามข้อมูลข้างต้นแล้วพบว่า ไม่สามารถตกลงกันได้หรือติดต่อทางร้านค้าไม่ได้ ผู้ร้องต้องดำเนินการโดยไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในท้องที่ โดยนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปด้วย เช่น            2.1 ใบสั่งซื้อสินค้า            2.2. ข้อมูลร้านค้า ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับร้านค้า            2.3 ถ่ายรูปร้านค้าและเก็บสินค้าไว้เป็นหลักฐาน            2.5 หลักฐานในการโอนเงิน สลิปโอนเงิน เลขที่บัญชีของใคร                 3. หากเป็นการโอนเงินผ่านธนาคาร ผู้ร้องสามารถไปขอใบอายัดบัญชีที่มีรูปตราครุฑเพื่อไปอายัดบัญชีที่ธนาคารเพื่อไม่ให้คู่กรณีสามารถทำธุรกรรมทางการเงินได้         นอกจากนี้ ช่องทางหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถไปร้องเรียนได้โดยตรง มีดังนี้             ·     สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเลคทรอนิกส์ สายด่วน 1212             ·     สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สายด่วน 1599            ·     กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สายด่วน 1195         ทั้งนี้ ยังสามารถฟ้องร้องทางออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ https://efiling3.coj.go.th/citizen/ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 264 อยากยกเลิกการสั่งซื้อ แต่โดนร้านค้าขู่ต้องจ่ายค่าขนส่ง

        คุณกี้ได้ร้องเรียนมายังมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถึงกรณีการสั่งซื้อสินค้าของเธอ         “เนื่องจากเธออยากยกเลิกการสั่งซื้อแต่กลับโดนเก็บเงินค่าขนส่ง แถมโดนขู่จะดำเนินคดีอีกด้วย”  โดยเธอได้เล่าว่าหลายเดือนก่อนที่ผ่านมา เธอได้เห็นโฆษณาสินค้า “เซรั่มทาหน้า” ผ่านช่องทางทีวี เป็นสินค้าของบริษัทชื่อดังแห่งหนึ่งที่ขายผ่านรายการทีวีบ่อยๆ พอได้ยินสรรพคุณของเซรั่มทาหน้าตัวนั้น ก็เกิดสนใจเพราะค่อนข้างตอบโจทย์เธอ เนื่องจากช่วงนี้ผิวหน้าเริ่มมีปัญหาถ้าซื้อมาใช้คงจะดีขึ้น แถมราคาก็พอซื้อได้ ราคา 990 บาท ซื้อ 1 แถม 1 และจัดส่งให้ฟรีอีกด้วย (มีหรอที่เธอจะพลาด) เธอจึงตัดสินใจ Add Line สั่งซื้อทันที และจ่ายแบบเก็บเงินปลายทาง        แต่แล้ว...เวลาผ่านไปยังไม่ทันข้ามวัน เธอคิดได้ว่ามีเหตุต้องใช้เงินเร่งด่วน จึงขอยกเลิกออเดอร์กับทางบริษัท แต่บริษัทกับตอบมาว่า “สามารถยกเลิกได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าขนส่งสินค้าจำนวน 150 บาท และบอกว่าสินค้ามีการจัดส่งแล้ว”  อ้าว...งงสิ ทำไมจัดส่งเร็วจัง แถมยกเลิกสินค้าต้องจ่ายค่าขนส่งด้วย(เธอคิด) ซึ่งเธอก็ได้ยืนยันกับทางบริษัทว่าไม่ขอจ่ายเงินค่าขนส่ง เนื่องจากตอนโฆษณาและตอนที่คุยกันไม่เห็นมีการแจ้งลูกค้าว่า หากต้องการยกเลิกสินค้าต้องจ่ายเงินจำนวนเท่านี้นะ         พูดคุยกับทางบริษัทสักพัก ทางบริษัทยังคงยืนยันให้รับผิดชอบ เลยคิดว่าหากต้องรับผิดชอบก็ขอดูใบเสร็จขนส่งหน่อย ถ้าส่งมาให้ดูจริงๆ เธอก็จ่ายให้ แต่สุดท้ายเธอก็ไม่ได้ใบเสร็จของขนส่ง ได้แต่ใบเสร็จที่ทางบริษัทออกเองเท่านั้น แถมยังโดนพนักงานต่อว่าประมาณว่า “ตั้งแต่ขายของมาไม่เคยเจอลูกค้าแบบเรา ว่าเราเป็นคนที่นิสัยแย่มากไม่มีความรับผิดชอบ” นอกจากนั้น ก็ส่งใบประกาศกฎหมายต่างๆ ของขนส่งสีส้ม สีเหลือง และอื่นๆ มาให้ดู ข้อมูลประมาณว่าถ้าหากซื้อสินค้าแล้วยกเลิกจะเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมบอกกับเราว่าจะไม่ขอคุยต่อ แต่ให้ไปเจอกันในศาลโดยจะให้ทางบริษัทดำเนินคดีกับเราให้ถึงที่สุด ให้เป็นเคสตัวอย่างกับลูกค้าคนอื่นที่จะทำแบบเรา         หลังจากนั้นไม่กี่วันขนส่งก็ได้นำสินค้ามาส่ง แต่เธอปฏิเสธที่จะรับ บริษัทจึงติดต่อมาและขู่ว่า “ให้รอรับหมายศาลได้เลย ทางบริษัทจะดำเนินคดีให้ถึงที่สุด”  หลังจากนั้นเธอก็รอว่าจะมีการดำเนินการใดๆ หรือไม่ ปรากฏว่าทางบริษัทดังกล่าวเงียบหายไปเลย แนวทางการแก้ไขปัญหา         คุณกี้ได้โทรติดต่อไปที่ Call Center ของขนส่งสีส้มเพิ่มเติมเพราะว่ามีการอ้างถึง และเล่าเรื่องราวพร้อมส่งรูปใบประกาศต่างๆ ที่แคปมาให้ทางขนส่งเพื่อสอบถามว่าได้ออกประกาศฉบับนี้หรือไม่ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ได้แจ้งว่า ทางบริษัทขนส่งที่ถูกอ้างถึงบอกว่า ไม่เคยจัดทำประกาศนี้ออกมา คุณกี้จึงได้แจ้งว่าแต่เธอได้รับข้อมูลมาจากทางบริษัทที่เธอได้ทำการสั่งซื้อสินค้า หากทางขนส่งไม่ได้ออกประกาศนี้แสดงว่าเป็นการปลอมแปลงเอกสารใช่หรือไม่ ซึ่งทางบริษัทขนส่งก็ได้บอกว่าจะแจ้งให้หัวหน้ารับทราบ คุณกี้เลยถามต่อว่าจัดการอย่างไร แต่กลับไม่มีคำตอบและได้ทำการบล็อกเธออีกด้วย          ทั้งนี้ เธอได้ไปร้องเรียนกับทางฝ่ายพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทางมูลนิธิฯ จึงได้โทรไปสอบถามเรื่องความคืบหน้าของผลการเจรจาเบื้องต้นระหว่างเธอกับบริษัทผู้จำหน่ายสินค้า และหากว่า บริษัทมีการติดต่อเข้ามาหรือแจ้งดำเนินคดีกับเธอ มูลนิธิฯ พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้ร้องต่อไป         ดังนั้นอยากให้ผู้บริโภคทุกคนก่อนซื้อสินค้าเช็กรายละเอียดให้รอบคอบ หากมีอะไรแปลกๆ เหมือนกรณีนี้อย่ายอมจ่ายเพื่อตัดปัญหาให้มันจบๆ ไป เนื่องจากจะเป็นการทำให้ผู้ประกอบการเอาเปรียบเราได้ไปเรื่อยๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 260 คำหลอกลวงของพ่อค้า...มีอะไรในหมอนข้าง

        ในสังคมออนไลน์มีเรื่องที่ผู้บริโภคโพสต์เล่าประสบการณ์การซื้อสินค้าหรือบริการจำนวนมาก บางครั้งก็เป็นสิ่งน่ารัก และบางครั้งก็น่า...ตกใจ มาลองอ่านประสบการณ์นี้กัน         คุณสุดรักเป็นแฟนนิตยสารฉลาดซื้อได้ทักมาสอบถามในกล่องข้อความของเพจนิตยสารฉลาดซื้อว่า เห็นข่าวสาวคนหนึ่งไปเดินงานสหพัฒน์แฟร์กับแฟน และไปซื้อหมอนข้างราคาใบละ 100 บาท พ่อค้าก็บอกว่าเป็นหมอนข้างเกรดพรีเมี่ยมใช้ในโรงแรม แต่นำมาขายราคาถูกเพียง 100 บาท เธอก็หลงเชื่อคำโฆษณาของพ่อค้าเลยซื้อมาเพราะหมอนข้างสภาพดี ปลอกหมอนขาวสะอาด แต่หลังจากหมอนข้างใบนั้นมาอยู่บนที่นอน เธอถูกมดกัดบนที่นอนบ่อยมาก เก็บกวาดห้องก็แล้ว ซักผ้าปูที่นอนก็แล้ว มดยังราวีเธอไม่เลิกรา เลยเริ่มหาสาเหตุอย่างจริงจัง สุดท้ายพบว่า มดมาจากหมอนข้างที่เธอซื้อมานั่นเอง         คุณสุดรักจึงแกะรื้อหมอนข้างดูด้านใน ก็พบว่าไส้หรือวัสดุด้านในเป็นฟองน้ำและมีเศษอะไรก็ไม่รู้ที่ทำให้หมอนข้างนิ่มๆ พร้อมกับกองทัพมดที่ยั้วเยี้ยผุดโผล่ออกมาจากฟองน้ำ คุณสุดรักสอบถามมาว่าเหตุการณ์แบบมีกฎหมายเอาผิดกับผู้ขายบ้างไหม แนวทางการแก้ไขปัญหา         เมื่อแอดมินเพจนำข้อสอบถามมาสอบถามกับทางฝ่ายพิทักษ์สิทธิ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้คำตอบมว่ากรณีนี้อาจเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 47 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น โฆษณาหรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ” หรือเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 271 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า “ผู้ใดขายของโดยหลอกลวงด้วยประการใด ๆ ให้ผู้ซื้อหลงเชื่อในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพหรือปริมาณแห่งของนั้นอันเป็นเท็จ ถ้าการกระทำนั้นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”         ดังนั้นจึงแนะนำให้ผู้บริโภคที่เจอเหตุการณ์นำหลักฐานการซื้อขายเข้าร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และ/หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้นำดำเนินคดีและลงโทษตามกฎหมาย ไม่ให้พ่อค้าแม่หลอกลวงผู้บริโภค

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 256 ปลอมในปลอม ไม่ยอมจบ

        เมื่อเกือบ 20 ปีที่แล้ว ตลาดการขายสินค้าออนไลน์ยังไม่เกิดขึ้น มีครีมหน้าขาวยี่ห้อหนึ่งขายดิบขายดี ครีมชนิดนั้นถูกเรียกติดปากว่า “ครีมฟ้าขาว โรงพยาบาลเชียงราย” ด้วยรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เป็นตลับเล็กๆ ตัวตลับและฝาจะเป็นคนละสีคือ ฟ้า-ขาว จำหน่ายโดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลเชียงราย ผลลัพธ์ทำให้หน้าขาวจริงและเร็ว จึงขายดิบขายดีผ่านการบอกต่อๆ จากปากต่อปากจากของคนใช้ แต่ภายหลังตรวจพบการปลอมปนสารต้องห้าม         ไม่น่าเชื่อว่าถึงวันนี้ ถ้าเราใช้คำค้นหาว่า “ครีมฟ้าขาว” ค้นดูในอินเทอร์เน็ต เราจะพบว่ายังมีครีมดังกล่าวขายอยู่ โดยเฉพาะในตลาดออนไลน์ มีมากมายหลายเจ้าของ แต่ละเจ้าของก็จะอ้างว่า “ครีมของตนเองคือของแท้” ซึ่งจริงๆ แล้วก็ไม่มีใครรู้ว่าครีมของใครคือของแท้ เพราะจนถึงบัดนี้ก็ยังตามหาผู้ผลิตครีมดังกล่าวไม่ได้ ปล่อยเป็นปริศนาต่อไป (ฮา)         แต่เครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัย ไม่ได้มีแค่ครีมเมื่อยี่สิบปีในอดีต ในเดือนเมษายน ปี 2564 ผมได้ลงพื้นที่พร้อมกับพนักงานสอบสวน เพื่อสืบค้นข้อเท็จจริงกรณีมีผู้ร้องเรียนการผลิตเครื่องสำอางในพื้นที่ว่าถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ผลการตรวจสอบคือ มีการลักลอบผลิตเครื่องสำอางผิดกฎหมายจริง และยังเป็นการผลิตเครื่องสำอางปลอม ที่มีการปลอมปนสารต้องห้าม “ปรอทแอมโมเนีย” มีการจับกุมดำเนินคดี ศาลตัดสินให้ผู้ต้องหาต้องโทษจำคุก 2 ปี         จากการพูดคุยและการสอบสวน ผู้ผลิตที่ถูกดำเนินคดีปลอมครีมยี่ห้อหนึ่ง ที่เป็นยี่ห้อที่มีชื่อติดตลาด เพราะจะทำให้ขายได้เร็ว ซึ่งจากการตรวจสอบกับฐานข้อมูลสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา พบว่าครีมนี้มีการขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย ผู้ผลิตอยู่ในจังหวัดหนึ่งทางภาคกลาง และไม่ได้มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกับผู้ต้องหา เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ เรียกเจ้าของครีมตัวจริงมาสอบสวน ปรากฎว่าเจ้าของตัวจริงกลับไม่ติดใจเอาความผู้ต้องหาที่แอบปลอมครีมของตนเองอีกด้วย เลยชักสับสนว่าแท้จริงแล้วรู้เห็นเป็นใจกัน หรือหวังว่าการปลอมครีมจนขายดี จะเป็นการประชาสัมพันธ์ทางอ้อมให้กับครีมของตนหรือเปล่า ยิ่งคิดยิ่งปวดหัว (ฮา) จนถึงขณะนี้ ครีมยี่ห้อนี้ก็ยังมีขายมากมายในตลาดออนไลน์ แถมยังมีคนขายหลายรายมาก ไม่รู้ครีมใครตัวจริง ครีมใครตัวปลอม เพราะทุกคนอ้างว่าครีมของตนเป็นตัวจริงทุกราย ทุกข์หนักคือผู้บริโภค เพราะคงไม่รู้ว่าครีมที่ตนเองซื้อมาใช้อันไหนจริงอันไหนปลอม หรืออาจซื้อของปลอมมาทั้งนั้น (ฮาไม่ออก)         ในตลาดออนไลน์เป็นเรื่องยากสำหรับผู้บริโภค ที่จะแยกว่าสินค้าตัวไหนจริงตัวไหนปลอม จะให้งดซื้อครีมออนไลน์ก็คงยาก เพราะทุกวันนี้อะไรๆ ก็แทบจะยกขบวนไปขายกันบนตลาดออนไลน์หมด เมื่อกฎหมายและกระบวนการจัดการยังไล่ตามไม่ค่อยทัน ผู้บริโภคจึงควรต้องใช้วิจารณญาณ (ขั้นสูงสุดๆ) ในการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์มาใช้ โดยเฉพาะเครื่องสำอาง ที่ตอนนี้กลายเป็นปัจจัยที่ 6 ในการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันไปแล้ว         หวังว่าผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องคงต้องช่วยกันพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับตลาดกันใหม่ เพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป สามารถควบคุมการค้าขายบนตลาดออนไลน์อย่างจริงจัง และให้เจ้าของตลาดออนไลน์แต่ละเจ้า ต้องรับผิดชอบด้วยหากพบว่าสินค้าที่ตนขายไม่ปลอดภัยหรือโฆษณาไม่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 253 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2565

สังเกตเครื่องหมาย +66 แก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์         นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวงประชาชน โดยให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ทั้ง 6 ราย เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงโดยมีมาตรการดังนี้  1. ให้ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบเบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์สั้น 3 หลัก เบอร์โทรศัพท์สั้น 4 หลัก ที่โทรมายังเลขหมายปลายทางของประเทศไทย 2. ให้ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบเป็นรหัสโทรศัพท์ประจำประเทศที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ยังไม่ได้จัดสรรให้กับประเทศใด 3. ให้ดำเนินการตรวจสอบสายที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย ว่าเลขหมายมีการดัดแปลงหรือไม่ ด้วยระบบ Test Call Generator อย่างต่อเนื่อง 4. กรณีสายที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศไม่มีกำหนดเลขหมายต้นทาง ให้เพิ่มเครื่องหมาย +66 นำหน้าเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ทราบว่าโทรมาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ นายไตรรัตน์ กล่าวต่อว่า มาตรการของ กสทช. นี้เพื่อย้ำให้ผู้ให้บริการระหว่างประเทศดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนแยกแยะได้ว่า สายที่โทรเข้ามาเป็นสายมาจากต่างประเทศจะได้ไม่เผลอรับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จับเครื่องเครื่องสำอางปลอม 18 ยี่ห้อดัง         กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภค ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แถลงผลการทลายแหล่งจำหน่ายเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ดังปลอมหลายยี่ห้อ ซึ่งภายในบ้านได้ดัดแปลงเป็นโกดังสินค้าย่านสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยสามารถจับกุมหญิงชาวเวียดนามผู้ดูแลบ้านได้ และจากการตรวจสอบบ้านได้ยึดของกลางเป็นเครื่องสำอางยี่ห้อดัง 18 รายการ จาก 7 บริษัท มูลค่า 70 ล้านบาท ต่อมาทางหญิงชาวเวียดนามได้สารภาพว่า แฟนหนุ่มคนไทยได้ร่วมมือกับนายทุนชาวเวียดนาม รับจ้างดูแลสินค้าและบรรจุสินค้าส่งให้ลูกค้า ส่วนสินค้าคือสินค้าปลอมที่ผลิตมาจากประเทศจีน และมีการปลอมเว็บไซต์เครื่องสำอางต่างๆ อีกด้วย ด้าน นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการ อย. ได้เปิดเผยว่า ต้นเหตุในการจับกุมมาจากผู้บริโภคซื้อสินค้าเหล่านี้ผ่านช่องทางออนไลน์ และมีราคาถูกกว่าปกติ 50-70% มีโปรโมชัน 1 แถม 1 เมื่อได้รับกลับพบว่าเป็นสินค้า ด้อยคุณภาพ เมื่อใช้เกิดอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น อาการแพ้ ผื่นขึ้นและหน้าพัง จึงขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบให้รอบคอบก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ เสี่ยงอันตรายจากแบคทีเรีย         จากกรณีข้อมูลเผยแพร่เรื่องการใส่หน้ากากอนามัยซ้ำๆ มีโอกาสเสียชีวิต เนื่องจากแบคทีเรียสะสมนั้น เพจ Anti-Fake News Center Thailand ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีนี้ว่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อมูลจริง ซึ่งหน้ากากอนามัยเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ห้ามซักแล้วนำมาใช้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัยจากผู้ป่วย หน้ากากอนามัยจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องวินิจฉัยโรค ฯลฯ เพราะถือว่าเป็นขยะที่ติดเชื้อ ต้องนำไปกำจัดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545  และหน้ากากอนามัยที่ติดเชื้อหากจัดการไม่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นแหล่งเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราบางชนิด ปรสิตบางชนิด ที่จะเจริญเติบโตและก่อโรคให้แก่ผู้ที่ไปสัมผัส ดังนั้น ควรเปลี่ยนทุก 6-8 ชั่วโมง หรือเมื่อหน้ากากเปียกชื้น สกปรก เมื่อออกจากสถานที่เสี่ยง/แออัด และควรทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้ง  พาณิชย์ไม่อนุญาตขึ้นค่าส่งสินค้าออนไลน์         หลังกระทรวงพาณิชย์ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ได้ปรับราคาค่าขนส่ง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้แถลงข่าว ยืนยันว่ายังไม่มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ให้บริการปรับขึ้นค่าขนส่งได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน เนื่องจากแพลตฟอร์มออนไลน์มีส่วนในวิถีชีวิตของประชาชนมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงได้กำชับให้แสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจนตามกฎหมาย ซึ่งการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากค่าสินค้าหรือบริการต้องแสดงค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน หากไม่มีการแสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ หากพบเห็นการกระทำความผิดหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านราคาหรือปริมาณสินค้า แจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ  มพบ.และเครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือค้านเร่งต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว         เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายภาคประชาชน ศูนย์สิทธิผู้บริโภค และชมรมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดค้านจากกรณีที่กระทรวงมหาดไทย พยายามผลักดันประเด็นเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัทในเครือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เข้าสู่วาระการพิจารณาของการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเร่งด่วน ทั้งที่สัมปทานฉบับดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2572 หรืออีก 7 ปี โดยไม่ได้ศึกษาหรือทบทวนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ เพราะการต่อสัญญาสัมปทานอาจจะทำให้ประชาชนขาดประโยชน์ไปอีกถึง 37 ปี         การยื่นหนังสือคัดค้านนี้ มีนางอรกัญญา บุณยมหาศาล ผู้อำนวยการส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มารับหนังสือและแจ้งกับทาง มพบ. และเครือข่ายภาคประชาชนว่า จะเรียนท่านผู้ว่าฯ และรีบดำเนินการตามที่ร้องขอ  ทั้งนี้ ทาง มพบ. เครือข่ายภาคประชาชน ยังขอทราบรายละเอียดสัญญาระหว่าง กทม. กับ BTSC  ตลอดจนขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาเพื่อเป็นข้อมูลเผยแพร่ให้ผู้บริโภคได้รับทราบตามสิทธิอันพึงมีตามกฎหมายด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 สั่งซื้อกางเกงออนไลน์ใส่ไม่ได้เพราะมันคือกางเกงเด็ก

        การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์นั้น แม้จะเลือกซื้อจากเว็บขายสินค้าของบริษัทที่มีชื่อเสียง ก็ยังคงต้องรอบคอบ และอย่ารีบร้อน มิฉะนั้นจะยุ่งยากทั้งการขอเปลี่ยนสินค้าหรือขอเงินคืน        คุณภูผา ท่องเว็บไซต์ขายสินค้าเพราะต้องการหาของขวัญวันเกิดให้พี่สาวคุณบุปผา ทันใดนั้นก็สะดุดตาเข้ากับกางเกงตัวหนึ่ง ที่ปักลายแบบที่คุณพี่สาวชอบ จึงคลิกเข้าไปดูรายละเอียดทันที “แหม ราคาดีมาก” เลยรีบกดสั่งซื้อเนื่องจากทางหน้าเว็บบอกว่า ราคาลดไปถึง 30 %          ภูผาสั่งซื้อด้วยวิธีการเก็บเงินปลายทาง ไม่กี่วันต่อมาเมื่อพนักงานขนส่งนำพัสดุมาให้ ภูผาก็รีบแกะถุงเพื่อเตรียมห่อของขวัญให้คุณพี่สาว “อ้าว นี่มันกางเกงเด็กนี่นา”  จึงรีบโทรศัพท์ไปแจ้งกับคอลเซ็นเตอร์ของเว็บไซต์ที่ขายเสื้อผ้าแห่งนั้น         เขาแจ้งพนักงานว่า การแสดงภาพสินค้าในเว็บไซต์ไม่มีตรงไหนบอกเลยว่า เป็นกางเกงของเด็ก ไซส์ที่ให้เลือกก็เป็นเบอร์อย่างไซส์ฝรั่ง คือ 2 4 6 8 เขาก็เข้าใจว่าเบอร์ที่เลือกให้พี่สาวคือเบอร์ 6 ต้องพอดีกับพี่สาวแน่ๆ เพราะเป็นไซส์กางเกงที่พี่สาวใส่อยู่ เขาอยากขอเปลี่ยนสินค้าได้หรือไม่ แต่พนักงานคอลฯ แจ้งว่า “กางเกงตัวนี้เป็นสินค้าราคาพิเศษไม่สามารถแลกหรือเปลี่ยนคืนเงินได้นะคะ” ภูผาจึงต่อรองขอตนเองลองคุยกับผู้จัดการได้ไหม ตนเองไม่ได้ต้องการเงินคืนแต่อยากขอซื้อสินค้าใหม่แล้วเพิ่มเงินจากยอดเดิมที่จ่ายไปได้ไหม (ก็ชอบกางเกงตัวนี้นะ) พนักงานคอลฯ ก็ตอบเหมือนเดิมว่า เป็นนโยบายของบริษัท ถ้าเป็นสินค้าลดราคา ไม่สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ        ภูผาจึงมาปรึกษากับเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคว่า ตนเองพอจะทำอะไรได้บ้างไหมแนวทางการแก้ไขปัญหา        กรณีคุณภูผา ทางเจ้าหน้าที่ฝ่ายพิทักษ์สิทธิได้แนะนำ ให้ทำหนังสือส่งถึงบริษัทเพื่อแจ้งขอคืนเงินพร้อมส่งสินค้าไปยังบริษัทตามสิทธิผู้บริโภคอ้างอิง  พ.ร.บ. ขายตรงและการตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ซึ่งคุณภูผาก็ได้ดำเนินการตามคำแนะนำของมูลนิธิฯ           ต่อมาทางบริษัทได้ติดต่อกลับมาหาคุณภูผาว่า ทางบริษัทจะให้การชดเชยเป็นส่วนลด และลูกค้าสามารถนำส่วนลดนี้กลับมาซื้อสินค้าที่บริษัทใหม่ได้ ทั้งนี้ยังบอกด้วยว่า กางเกงแบบที่คุณภูผาสั่งซื้อมีแบบของผู้ใหญ่ด้วยนะคะ  ลูกค้าใส่กางเกงเบอร์อะไร คุณภูผาจึงตอบไปว่า เบอร์เอสหรือเอ็ม ซึ่งทางบริษัทวางสายไปสักพักและโทรกลับมาใหม่ว่า ไม่มีขนาดที่บอกสินค้าหมด คุณภูผาจึงยืนยันไปว่า ถ้างั้นขอเงินคืน พนักงานบริษัทแจ้งว่า จะต้องนำเรื่องกลับไปขออนุมัติกับหัวหน้าก่อนว่าจะสามารถทำได้หรือไม่ คุณภูผารู้สึกร้อนใจจึงถามกับทางฝ่ายพิทักษ์สิทธิฯ ว่า ถ้าบริษัทไม่คืนเงินเราจะทำอะไรเพิ่มได้ไหม         ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้โดยใช้สิทธิเลิกสัญญา กล่าวคือให้ส่งสินค้าคืนไปยังผู้ประกอบธุรกิจ หรือเก็บสินค้าไว้ภายในระยะเวลา 21 วันนับแต่วันที่ใช้สิทธิเลิกสัญญา และจะต้องคืนสินค้าให้ผู้ประกอบธุรกิจ โดยให้มารับสินค้าที่ภูมิลำเนาของผู้บริโภค หรือส่งสินค้าคืนทางไปรษณีย์โดยเรียกเก็บเงินปลายทาง ตามคำขอของผู้ประกอบการ และผู้บริโภคมีสิทธิยึดหน่วงสินค้าไว้ได้จนกว่าจะได้รับคืนเงินที่ผู้บริโภคจ่ายไปเพื่อซื้อสินค้านั้น เมื่อผู้บริโภคใช้สิทธิเลิกสัญญาผู้ประกอบธุรกิจจะต้องคืนเงินเต็มจำนวน ภายในกำหนดเวลา 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงเจตนาเลิกสัญญา (พ.ร.บ. ขายตรงและการตลาดแบบตรง)         แต่ยังไม่ทันจะเตรียมตัวฟ้องร้อง บริษัทก็โทรมาแจ้งคุณภูผาว่า บริษัทจะคืนเงินให้ เป็นอันว่าจบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 247 สั่งสินค้าออนไลน์ โดนขโมยของก่อนถึงมือ ใครต้องรับผิดชอบ?

        ยุคนี้ใครๆ ก็เข้าสู่ตลาด e-commerce ผู้บริโภคหลายคนเลือกสั่งซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ จริงอยู่ที่ว่าการสั่งออนไลน์เป็นสิ่งที่ทำให้เราสะดวกสบายมากขึ้น แต่ปัญหาก็มีมาไม่น้อยเช่นกัน  หากใครเคยเจอปัญหาขนส่งส่งช้า คงไม่น่าหนักใจมากนักเพราะยังดีกว่าขนส่งที่ส่งของไม่ถึงมือเรา เนื่องจากของที่เราสั่งซื้อมาโดนขโมยไปเสียก่อน ลองมาดูกรณีนี้กัน           วันหนึ่งคุณน้ำตาลได้เลื่อนดูสินค้าบนแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์ชื่อดังแห่งหนึ่ง เจอเจลล้างหน้าจากแบรนด์ดังลดราคาและมีโปรโมชั่น จึงได้สั่งซื้อผ่านแอปพลิเคชันทันที ทำการจ่ายเงินและรอรับสินค้า จนเมื่อวันก่อนเกิดเหตุมีเบอร์ขนส่งเคอรี่เจ้าประจำโทรเข้ามาแต่คุณน้ำตาลไม่ได้รับสาย ต่อมาเลยเช็คกับทางแอปพลิเคชันตลาดออนไลน์ว่าของส่งถึงไหนแล้ว ปรากฎว่าขึ้นสถานะสินค้าว่าได้จัดส่งแล้ว  คุณน้ำตาลจึงลงไปดูของที่จุดรับของบริเวณชั้นล่างของที่พัก (หอพักเอกชน) ปรากฎว่าไม่มี จึงได้เช็คหมายเลขพัสดุของขนส่งเคอรี่อีกที ซึ่งขึ้นว่า “ส่งของแล้ว” แต่ลายเซ็นผู้รับขึ้นว่า "ไม่เซ็น" อ้าว...ไหงงั้น  คุณน้ำตาลจึงได้โทรกลับไปเช็คกับพนักงานส่งของเพราะไม่มีของที่ซื้อวางไว้ ทางพนักงานส่งยืนยันว่า ส่งแล้วพร้อมกับเอารูปที่ถ่ายว่าส่งแล้วมายืนยันกับคุณน้ำตาล         ส่งแล้วแต่ไม่มีของ แล้วมันหายไปไหน หายไปได้อย่างไร คุณน้ำตาลจึงขอให้เจ้าของหอ ช่วยสอบสวนหน่อยว่า มีใครหยิบผิดหรือไม่?  ซึ่งปรากฎว่าไม่มีใครหยิบไป  ดังนั้นคุณน้ำตาลจึงต้องขอดูกล้องวงจรปิดช่วงวันเวลาที่มีพนักงานขนส่งของเคอรี่มาส่งของ           ในกล้องวงจรปิดพบว่า พนักงานของเคอรี่ได้ส่งของจริงตรงจุดที่หอพักทำเป็นจุดพักวางไว้ (เนื่องจากสถานการณ์โควิดทางหอไม่ให้คนนอกเข้าหอพัก) และเมื่อได้ดูต่อไปว่าใครหยิบของไป เลยเห็นว่ามีคนแต่งตัวเหมือนพนักงานส่งของ (อีกยี่ห้อหนึ่ง) ขี่จักรยานยนต์มาตรงที่วางของแล้วทำท่าเลือกของสักพัก เมื่อได้ของที่ต้องการจึงหยิบไป ขับรถทำเนียนๆ ออกไปเลย ทางคุณน้ำตาลรู้สึกเสียหายอย่างมากที่ไม่ได้รับของและคิดว่าจะอย่างไรดี ใครต้องรับผิดชอบกรณีนี้บ้างแนวทางในการแก้ไขปัญหา         เบื้องต้นคุณน้ำตาลได้ขอคืนเงินจากทางแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์ เพราะแม้ว่า ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 623 ความรับผิดของผู้ขนส่งย่อมสุดสิ้นลง ถ้าผู้รับสินค้าได้รับไว้แล้วโดยไม่อิดเอื้อน และได้ใช้ค่าระวางพาหนะกับทั้งอุปกรณ์เสร็จแล้ว หรือพัสดุที่ถูกส่งไปยังที่อยู่ซึ่งมีพื้นที่รับของส่วนกลางถือว่าสิ้นสุดหน้าที่  แต่ภายในข้อกำหนดของเคอรรี่ข้อ 7 ได้ระบุไว้ว่า “หลักฐานการจัดส่ง” 7.1 จำเป็นต้องมีลายเซ็นจากผู้รับมอบเพื่อเป็นหลักฐานการจัดส่ง 7.2 ในกรณีที่ผู้รับไม่ใช่ผู้รับมอบ ผู้จัดส่งของเราจะพยายามยืนยันตัวตนของผู้รับอย่างสมเหตุสมผล จำเป็นต้องมีลายเซ็นของผู้รับดังกล่าวเพื่อเป็นหลักฐานการจัดส่ง 7.3 ในกรณีพิเศษที่ไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ ผู้จัดส่งของเราจะเขียนเป็นหมายเหตุไว้ บางครั้งไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ด้วยเหตุผลหลายประการ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงผู้รับซึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ การที่ลายเซ็นผู้รับขึ้นว่าไม่เซ็นนั้น เท่ากับว่าผู้ขนส่งไม่ได้ดำเนินการตามข้อกำหนดในข้อ 7         ทั้งนี้  ทางคุณน้ำตาลได้รับเงินคืนจากแอปพลิเคชันร้านค้าออนไลน์แล้ว ทางเจ้าของหอพักได้มีการเปลี่ยนสถานที่วางพัสดุ ส่วนทางขนส่งเคอรี่ได้มีการติดตามและขอหลักฐาน คือ ภาพบันทึกจากกล้องวงจรปิดกับทางคุณน้ำตาลเพื่อดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ลักทรัพย์ต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 การซื้อขายออนไลน์(ทั่วโลก) ต้องเป็นมิตรกับผู้บริโภค

   จากการติดตามดูนโยบายเรื่องการซื้อสินค้าออนไลน์ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี มีการนำเสนอหลักการ 3 ข้อ        ·    การซื้อขายสินค้าออนไลน์ ผู้บริโภคต้องได้รับการคุ้มครองไม่น้อยไปกว่าการซื้อของแบบออฟไลน์        ·    กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคของอียู จำเป็นต้องคงไว้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ เพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้บริโภค        ·    ความปลอดภัยของสินค้า เป็นนโยบายที่สำคัญอันดับแรก ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างชาติ         สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอด ในเวทีการค้า WTO ของสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนจากรัฐบาล 76 ประเทศ ซึ่งมีกลุ่มประเทศ อียู เข้าร่วมเพื่อพิจารณา รอบการเจรจาการค้าระหว่างชาติ ว่าด้วยข้อตกลงการค้า e commerce โดยเป้าประสงค์ของกลุ่มอียู คือ เสริมสร้างสิทธิแก่ผู้บริโภค มีสิทธิในการกำหนดมาตรฐานของตนเองและขยายวงเวทีในการเจรจาต่อรองในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค         ซึ่งผลการเจรจาการค้าในครั้งนี้จะส่งผลต่อผู้บริโภคทั่วโลก เนื่องจากการเจรจาการค้ารอบนี้จะมีกฎเกณฑ์ระเบียบการค้าออนไลน์ เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์ ด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในการทำธุรกรรมออนไลน์ทั่วโลกนั้น มีมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต่ำกว่าเกณฑ์ของมาตรฐาน อียู ยกตัวอย่างผู้บริโภคที่ไม่ได้อยู่ในอียู ซื้อสินค้าออนไลน์และได้รับสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่องหรือเกิดปัญหาในขั้นตอนการส่งมอบสินค้า ส่งผลให้ ผู้บริโภคได้รับความยากลำบากในการเรียกร้องสิทธิ ในการคืนสินค้า หรือสิทธิในการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น และบ่อยครั้งที่ผู้บริโภคประสบปัญหา กรณีได้รับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจากประเทศต้นทางสินค้านอกอียู ผลการศึกษานี้ เผยแพร่โดยวารสารผู้บริโภค Which ? ของประเทศอังกฤษ        ผู้แทนการเจรจาประเด็น e commerce ของ กลุ่มประเทศอียู ได้วางเป้าหมายการเจรจา โดยเน้นไปที่ 4 ประเด็นสำคัญ คือ        ·   มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีกว่า ในการค้าระบบ e commerce ในระดับนานาชาติ        ·   การคงไว้ของมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในอียู        ·   การมีกลไกในการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และ        ·   การต่อสู้กับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ที่โฆษณา Online         อย่างไรก็ตามการเจรจาการค้าในประเด็นนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่เช่นกัน ซึ่งในมุมมองของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคในอียู เห็นว่ายังมีอีกหลายประเด็น ที่ยังไม่ได้มีการบรรจุไว้ในวาระการเจรจาในประเด็นที่สำคัญๆ หลายประเด็น ได้แก่ เรื่อง Artificial Intelligence(ปัญญาประดิษฐ์) Cybersecurity(ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์) Data Protection(การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) Data Transfer(การส่งผ่านข้อมูล) และ Network Neutrality(ความเป็นกลางของระบบเครือข่ายเชื่อมต่อข้อมูล)         ตัวอย่างล่าสุดคือ การตกลงการค้าระหว่าง สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้นำไปสู่การใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการควบคุมและเฝ้าระวังการค้าแบบดิจิทัล(Digital Trade) ซึ่งประเด็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการควบคุมและเฝ้าระวังการค้าในรูปแบบ Digital Trade เพิ่งจะเริ่มต้นอภิปรายสาธารณะในกลุ่มประเทศอียูเท่านั้น และจุดยืนขององค์กรผู้บริโภคอย่างสหพันธองค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีนั้น เห็นว่าข้อตกลงในการเจรจาทางการค้า ไม่ควรที่จะใช้มาเป็นข้ออ้างในการจำกัด หรือละเลยมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีประเทศไทย        เมื่อย้อนกลับมาดูปัญหาของผู้บริโภคในบ้านเราในการซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถูกหลอกลวง และการถูกฉ้อโกง การได้รับสินค้าที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ครบถ้วน ส่งมอบสินค้าผิดจากที่ตกลงสั่งซื้อ ปัญหาบริการหลังการขาย ปัญหาการโฆษณาเกินจริง เป็นเท็จหรือ ผิดกฎหมาย และปัญหาผู้บริโภคขาดความรู้ ฯลฯ ทางคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีข้อเสนอ “การกำกับตลาดออนไลน์ให้เป็นธรรม” ไปยังหน่วยงานภาครัฐ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาธุรกกรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลอดจนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปแล้วนั้น มีความคืบหน้าหลายประการในการร่วมมือกันทำงาน โดยเฉพาะกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีในการคุ้มครองผู้บริโภคของผู้บริโภคชาวไทย         แต่อย่างไรก็ตามการซื้อขายสินค้าออนไลน์ปัจจุบันเป็นการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ติดตามและเฝ้าระวังการเจรจาการค้าเสรีรอบต่างๆ ที่จะมีขึ้นตามมา ดังนั้นผมคิดว่า ทางองค์กรผู้บริโภคโดยเฉพาะ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นภาคประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ ประเด็นต่างๆ ที่จะมีการเจรจาการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการเกิดขึ้นของสภาองค์กรผู้บริโภคขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้   แหล่งข้อมูลเวบไซต์สหพันธองค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (Federation of German Consumer Organizations)https://www.vzbv.de/meldung/online-handel-verbraucherfreundlich-gestaltenวันที่ 24 กันยายน 2562

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 222 กระแสต่างแดน

รถไฟไฉไลกว่า        ผู้คนหันมาเดินทางด้วยรถไฟกันมากขึ้นในภูมิภาคยุโรป ตัวอย่างเช่นในสวีเดน ยอดขายตั๋ว Interrail ในช่วงเจ็ดเดือนแรกของปี เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 85 และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า         นี่อาจเป็นผลจากการรณรงค์ “flight shame” (หรือ flygskam ในภาษาสวีดิช) โดยสาวน้อยนักรณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อม เกรต้า ธันเบิร์ก และคุณแม่ของเธอ ที่เรียกร้องให้ผู้คนเปลี่ยนจากการเดินทางโดยเครื่องบินมาเป็นรถไฟ (ขณะเขียนข่าวนี้ เกรต้ากำลังเดินทางด้วยเรือยอทช์พลังแสงอาทิตย์ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกไปยังนิวยอร์กเพื่อเข้าร่วมการประชุมเรื่องสภาพอากาศ)         องค์กรด้านสิ่งแวดล้อมของยุโรประบุว่า การเดินทางด้วยเครื่องบินสร้างคาร์บอนไดออกไซด์ 285 กรัมต่อหนึ่งกิโลเมตร สำหรับผู้โดยสารหนึ่งคน ในขณะที่ผู้โดยสารรถไฟจะสร้างคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 14 กรัมในระยะทางที่เท่ากัน         ตัวแทนขายตั๋วบอกว่าอีกเหตุผลสำคัญคือนักเดินทางเริ่มตระหนักว่าการเดินทางด้วยรถไฟสามารถเป็นไฮไลท์ของการเดินทางทริปนั้นได้ด้วยมีขยะขึ้นคันนี้         หากคุณจะไปไหนมาไหนในเมืองสุราบายา อย่าลืมพกแก้วหรือขวดพลาสติกที่ใช้แล้วไปด้วย เพราะมันสามารถใช้แลกตั๋วรถได้        รถบัสปรับอากาศเที่ยวพิเศษที่คิดค่าโดยสารราคาเดียวตลอดสายนี้มีให้บริการทั้งสิ้น 20 คัน คุณจะเลือกจ่ายค่าตั๋วเป็นขวดพลาสติกขนาดใหญ่ 3 ขวด หรือขวดขนาดกลาง 5 ขวด หรือแก้วพลาสติก 10 ใบก็ได้         สุราบายา ซึ่งมีประชากรประมาณ 2.9 ล้านคน ทดลองโครงการนี้ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เพื่อลดขยะและแก้ปัญหาการจราจรหนาแน่น ถึงตอนนี้เสียงตอบรับเป็นที่น่าพอใจ แต่ละสัปดาห์มีคนใช้บริการประมาณ 16,000 คน และบริษัทรถก็มีรายได้เป็นขวดพลาสติกเดือนละ 6,000 กิโลกรัม        ก่อนหน้านี้บาหลีได้ประกาศห้ามใช้หลอดพลาสติก ในขณะที่จาการ์ตาก็กำลังเล็งแผนงดใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง นี่คือส่วนหนึ่งของความพยายามของอินโดนีเซียที่จะลดปริมาณพลาสติกในทะเลลงให้ได้ร้อยละ 70 ภายในปี 2025        อินโดนีเซียก่อมลพิษทางทะเลมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีนยังมีความเสี่ยง         ปรากฎการณ์ฟาสต์แฟชั่นยังดำเนินต่อไป บังคลาเทศยังคงเป็นประเทศผู้ผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปส่งออกมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากจีน และร้อยละ 16 ของเศรษฐกิจของประเทศขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมนี้ซึ่งมีการจ้างงานผู้คนไม่ต่ำกว่า 4 ล้านคน         แล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นบ้างหลังเหตุการณ์ตึกรานาพลาซ่าถล่ม เมื่อปี 2013         โศกนาฎกรรมที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,100 คนทำให้บรรดาเจ้าของแบรนด์เสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ผลิตในบังคลาเทศร่วมกันลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการปรับปรุงความปลอดภัยของอาคารโรงงาน และร่วมกันลงขันเพื่อช่วยให้เกิดการปรับปรุงดังกล่าวด้วย โดยมีกำหนดเวลาห้าปี         สมาคมผู้ผลิตและส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปของบังคลาเทศ เปิดเผยว่าขณะนี้มีโรงงานเพียง 200 แห่ง จาก 1,600 แห่ง ที่ผ่านมาตรฐานความปลอดภัย และมีอย่างน้อย 400 โรงงานที่ยังอยู่ในสภาพแย่มากจนต้องถูกสั่งห้ามรับออเดอร์จากต่างประเทศชีวิตติดจอ         ผลการวิจัยล่าสุดโดย The Shift Project องค์กรรณรงค์ด้านการใช้พลังงานทางเลือก พบว่า ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้นจากการดูวิดีโอออนไลน์ในปี 2018 มีมากถึง 300 ล้านตัน(เท่ากับการปล่อยก๊าซนี้จากประเทศขนาดเท่าสเปนในเวลาหนึ่งปี)         เขาคาดการณ์ว่าในอีกสามปีข้างหน้า ร้อยละ 60 ของประชากรโลกจะเข้าสู่สังคมออนไลน์ และร้อยละ 80 ของการใช้อินเทอร์เน็ตของคนเหล่านี้จะเป็นการดูวิดีโอ โดยร้อยละ 60 ของวิดีโอที่ดูจะมาจากบริการสตรีมมิ่ง เช่น ยูทูบ เน็ทฟลิกซ์ และวิมีโอ นั่นเอง         เขาพบว่าการรับ-ส่งข้อมูลไอทีแบบนี้ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าธุรกิจการบินด้วยซ้ำ นักวิจัยแนะนำว่าหากต้องการประหยัดพลังงาน เราควร... 1. ดูหนังจากโทรทัศน์แทนโทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ (ถ้าเป็นไปได้) 2. ดูผ่านเครือข่ายไฟเบอร์ออปติก 3. ดูในจอเล็ก 4. ดูผ่านไวไฟ และ 5. เลือกความคมชัดธรรมดา เพราะความละเอียดที่มากขึ้นหมายถึงการใช้พลังงานมากขึ้นด้วยอย่าถามเยอะ         การใช้เอไอหรือปัญญาประดิษฐ์อย่างกว้างขวางในการเสนอขายสินค้าหรือบริการ รวมถึงการสนับสนุนการจับจ่ายแบบไม่ใช้เงินสดทำให้ผู้บริโภคในประเทศจีนได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น แต่มีคนจำนวนไม่น้อยรู้สึกถูกละเมิดความเป็นส่วนตัว         สมาคมผู้บริโภคแห่งประเทศจีน (CCA) ระบุว่าร้อยละ 91 ของแอปพลิเคชันมือถือ กำหนดให้ผู้บริโภคกรอกข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับบริการนั้นเลย เช่น แอปฯ ซื้อตั๋วหนังที่ขอข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน         เมื่อไม่ให้ข้อมูล ผู้บริโภคก็จะซื้อตั๋ว สั่งอาหาร หรือจ่ายค่าสินค้าไม่ได้ ถ้าเป็นเมืองอื่นก็พอจะทำธุรกรรมแบบออฟไลน์ได้ แต่ในเมืองเทคโนโลยีล้ำอย่างเซินเจิ้น ผู้บริโภคแทบจะไม่มีทางเลือกเพราะต้องทำทุกอย่างผ่านแอปฯ เท่านั้น            การสำรวจระบุว่าร้อยละ 80 ของประชากรเคยมีประสบการณ์เบอร์มือถือหรือเบอร์โทรศัพท์ “รั่วไหล” ไปอยู่ในมือของพวกสแปมหรือโทรศัพท์มารบกวน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 ล่อลวงล่อหลอก

ยุคนี้ใครๆ ก็ใช้อินเทอร์เน็ตกันเป็น ข้อมูลข่าวสารดีๆ เราสามารถค้นหาได้ในเน็ต แต่หลายครั้งก็พบว่าเมื่อเราตามไปอ่านข่าวสารต่างๆที่สนใจเหล่านั้น บางทีเราก็จะพบข้อมูลแปลกๆแทรกในหน้าข่าวต่างๆ โดยชักจูง ล่อลวงให้เราตามไปอ่านอย่างแนบเนียนจนเราไม่รู้สึกตัว        ในช่วงที่ผ่านมา คนกำลังตื่นตัวและหวาดกลัวกับปัญหาฝุ่น 2.5 สื่อโซเชียลหลายเว็บนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับฝุ่น 2.5 แต่เมื่อลองตามเข้าไปอ่าน กลับพบว่าในบางเว็บมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นเครื่องดื่ม แต่ฉวยโอกาสว่า ดื่มแล้วจะมีสารต้านฝุ่น 2.5 ในร่างกาย แทรกในท้ายๆของข่าวสาร หรือในเว็บที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสายตา เมื่อตามไปอ่านกลับพบว่าเป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่อ้างว่าช่วยรักษาสารพัดปัญหาตาได้อีกด้วย        ล่าสุดผมตามไปอ่านเว็บเกี่ยวกับสมุนไพร อ่านไปได้ครึ่งหน้ากลับมี ข้อความแปลกๆ โผล่ขึ้นมา เช่น ย้อนวัยทั้งคืน ทีแรกก็ยังงงๆ กับข้อความกำกวมดังกล่าว แต่พอกดลิงค์ตามเข้าไปดู กลับกลายเป็นข้อความ บรรยายว่า “ผลิตภัณฑ์บำรุงร่างกาย ชนิดนี้ เป็นสินค้าที่นำเอาตำรับยาสมุนไพรจีน มาพัฒนาโดยใช้วิทยาการและเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีส่วนช่วยบำรุงและกระตุ้นการทำงานของตับและไต ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ทำให้ระบบของเหลวในร่างกายมีความสมดุล ช่วยเพิ่มฮอร์โมนในเลือด” มีการอ้างต่อว่า “มีส่วนผสมของ ราชาแห่งสมุนไพร (ถังเช่า) ด้วย” หลังจากนั้นก็ไม่ปิดบังอะไรแล้ว เพราะมีการใช้ข้อความโต้งๆ กันไปเลยว่า “แต่ก่อนเป็นกล้วยไข่  เดี๋ยวนี้เป็นกล้วยหอม อาหารเสริมสำหรับผู้ชาย ใหญ่ อึด ถึก ทน ต่อรอบได้” ตามด้วยการระบุว่าสินค้านี้มีเลข อย. รวมทั้งแจ้งการสั่งซื้อทางไลน์        สอดคล้องกับเรื่องที่ผู้บริโภคร้องเรียนที่มาที่แผนกผมในระยะหลังๆ พบว่ามีผู้บริโภคหลายรายที่สั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์จากเฟซบุ๊ค ไลน์ อินสตราแกรม ฯลฯ พอใช้ไปได้สักระยะหนึ่ง ก็พบว่าไม่ได้ผล หรือมีอาการแปลกๆ จึงมาร้องเรียน หลังจากนั้นไม่นาน ก็จะไปซื้อผลิตภัณฑ์ตัวใหม่มาใช้อีก แล้วก็มาร้องเรียนอีก วนเวียนไปมาเรื่อยๆ        เจ้าของผลิตภัณฑ์หรือผู้ขายที่มีปัญหา มักจะใช้หลากหลายกลวิธีล่อลวงล่อหลอก ผู้บริโภคในยุคนี้จำเป็นต้องพัฒนาให้เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดเท่าทัน Smart Consumer หากจะเลือกซื้อสินค้าออนไลน์จากเน็ต ขอให้ตรวจสอบข้อมูลหลายๆ ทาง หากเป็นผู้ขายหน้าใหม่ เราไม่รู้จัก อย่าเพิ่งรีบซื้อ พยายามศึกษาและตรวจสอบสินค้าในเว็บตลอดจนข้อความโฆษณาว่ามันถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  หากไม่แน่ใจให้สอบถามเจ้าหน้าที่  หรือหากพลาดตัดสินใจซื้อสินค้าไปแล้ว ขอให้เก็บหลักฐานการสั่งซื้อให้ดี เช่น บันทึกภาพหน้าจอหรือข้อความที่ได้พูดคุยโต้ตอบ ใบสร็จรับเงิน หรือใบส่งของ สิ่งเหล่านี้จะมีประโยชน์ตอนมาร้องทุกข์ และจะทำให้ติดตามผู้จำหน่ายได้ง่ายขึ้น        อยากให้นึกไว้เสมอว่าผลิตภัณฑ์เทวดาที่โฆษณาว่ามีสรรพคุณมหัศจรรย์ไม่มีในโลก หากผลิตภัณฑ์ใดโฆษณาโอเวอร์ ถึงจะอ้างว่ามีเลขที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่ดูแลแล้ว ก็อย่าเพิ่งเชื่อ ตรวจสอบให้แน่ใจก่อนดีกว่าครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 สินค้าออนไลน์ สดใหม่แค่ไหน

การสั่งซื้อสินค้าออนไลน์นั้น ไม่เพียงจะช่วยอำนวยความสะดวก ยังได้กลายเป็นเทรนด์สำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ด้วย แต่ผู้บริโภคบางคนอาจเคยพบว่า ในการสั่งซื้อสินค้าประเภทอาหารออนไลน์ กับการเดินทางออกไปเลือกซื้อสินค้าด้วยตัวเองนั้น มีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ทั้งในเรื่องของความสด/ใหม่ของสินค้า หรืออาจพบว่าสินค้าออนไลน์มีวันหมดอายุที่เร็วกว่า ของที่เราไปเลือกเองที่หน้าร้าน เพื่อลองพิสูจน์ประเด็นดังกล่าว พร้อมดูเรื่องเงื่อนไขต่างๆ ของการสั่งซื้อสินค้า ประเภทอาหารทางออนไลน์ กับ หน้าร้านหรือในห้างสรรพสินค้าเดียวกัน ฉลาดซื้อฉบับนี้ได้อาสาทดสอบการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ประเภทอาหารแห้ง/อาหารสด จากห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 5 เว็บไซต์ พร้อมกับไปเดินเลือกซื้อสินค้าที่มียี่ห้อและประเภทเดียวกัน รวมทั้งซื้อภายในวันเดียวกันจากห้างสรรพสินค้าที่สั่งออนไลน์มาอีกด้วยห้างและเว็บไซต์ที่ทดสอบ1. เทสโก้ โลตัสออนไลน์ (Tesco Lotus) ผ่านทางเว็บไซต์ https://shoponline.tescolotus.com และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส2. ท็อปส์ออนไลน์ (Tops) ผ่านทางเว็บไซต์ http://www.tops.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าท็อปส์3. บิ๊กซีออนไลน์ (Big C) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.bigc.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี4. กูร์เมต์ มาร์เก็ตออนไลน์ (Gourmet market) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.happyfresh.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้ากูร์เมต์ มาร์เก็ต5. แม็คโครออนไลน์ (Makro) ผ่านทางเว็บไซต์ https://www.siammakro.co.th และสินค้าจากห้างสรรพสินค้าแม็คโคร วิธีการทดสอบ1.สั่งซื้อสินค้าทางออนไลน์ ในสินค้าอาหาร 6 ประเภท (การซื้อเป็นไปตามเงื่อนไขของทางเว็บไซต์) 2.ในรอบ 24 ชั่วโมง อาสาสมัคร ไปซื้อสินค้าประเภทเดียวกัน ยี่ห้อเดียวกัน ณ ห้างสรรพสินค้าเดียวกับทางเว็บไซต์ โดยเลือกสินค้าที่มีล็อตการผลิตใหม่ที่สุดบนชั้น3.ทำการเปรียบเทียบ ผลการทดสอบ1. เรื่องวันหมดอายุ ไม่มีของหมดอายุนำมาส่ง แต่การเลือกซื้อสินค้าในห้างหรือหน้าร้าน สามารถเลือกของที่ล็อตการผลิตใหม่สุดหรือวันหมดอายุนานกว่าได้ ดังนี้- สินค้าจากเทสโก้ โลตัสออนไลน์และห้างสรรพสินค้าเทสโก้ โลตัส มี 2 ตัวอย่างที่วันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมสดพาสเจอร์ไรซ์ ยี่ห้อเมจิ สูตรน้ำนมโค 100% สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 20/11/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 28/11/17 และ 2. ขนมปัง ยี่ห้อเทสโก้ สูตรโฮลวีต สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 20/11/60 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 21/11/60- สินค้าจากท็อปส์ออนไลน์และห้างสรรพสินค้าท็อปส์ 1 ตัวอย่างที่วันหมดอายุต่างกัน คือ โบโลน่า ยี่ห้อมายช้อยส์ (My Choice) สูตรหมูพริก สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 13/12/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 09/12/17 - สินค้าจากจากบิ๊กซีออนไลน์และห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี เกือบทุกตัวอย่างวันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมยูเอชที ยี่ห้อโฟร์โมสต์ รสจืด สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 070618 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 26/03/18 2. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยี่ห้อออเรียนทัลคิตเชน (Oriental Kitchen) รสออตแอนด์สไปซี่ สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 02/10/17 และ 02/06/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 16/10/17 และ 16/06/18 3. หมูแผ่น ยี่ห้ออองเทร่ (ENTRE'E) สูตรบาร์บีคิว รสคลาสสิค สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 30/10/17 และ 29/06/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 30/09/17 และ 29/05/18 และ 4. น้ำสลัด ยี่ห้อสุขุม สูตรสลัดครีม สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 21/09/17 และ 21/05/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 12/10/17 และ 12/06/18- มีสินค้าจากจากกูร์เมต์ มาร์เก็ตออนไลน์และสินค้าจากห้างสรรพสินค้า 2 ตัวอย่างที่วันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมเปรี้ยว ยี่ห้อยาคูลท์ (Yakult) สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 26/11/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 28/11/17 2. ไข่ไก่ ยี่ห้อโฮม เฟรช มาร์ท (Home Fresh Mart) เบอร์ 0 Jumbo Brown eggs สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 21/11/60 - 06/12/60 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 15/11/60 - 30/11/60- สินค้าจากจากแม็คโครออนไลน์และสินค้าจากห้างสรรพสินค้า ทุกตัวอย่างวันหมดอายุต่างกัน คือ 1. นมยูเอชที ยี่ห้อแมกโนเลีย สูตรผสมกิงโกะรสจืด สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 23/06/2018 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 23/05/20182. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ยี่ห้อ มาม่า บิ๊กแพ็ค รสหมูสับ สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 14/11/17 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 07/11/17 3. หมูแผ่น ยี่ห้ออองเทร่ รสคลาสสิค ร็อค สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 27/09/17 และ 26/05/18 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 26/06/17 และ 25/02/18 4. เยลลี่ ยี่ห้อปีโป้ รวมรสผลไม้ สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 14/08/2018 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 18/07/2018 5. ขนมปังสอดไส้ ยี่ห้อเอลเซ่ เลเยอร์เค้ก กลิ่นวานิลลา สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 25/09/2017 และ 25/09/2018 ในขณะที่ซื้อจากห้างหมดอายุวันที่ 31/10/2017 และ 31/10/2018  6. ข้าวหอมมะลิ ยี่ห้อฉัตร สั่งจากออนไลน์หมดอายุวันที่ 27/09/62 ในขณะที่สั่งจากห้างหมดอายุวันที่ 24/09/60 - 24/09/62 (หยิบสินค้าจากแถวบนสุด) 2. เรื่องราคาสินค้า  ราคาสินค้าส่วนใหญ่เท่ากัน  การซื้อทางออนไลน์ไม่ได้ประหยัดกว่า แต่มีข้อดีเรื่อง ไม่ต้องเดินทางไปซื้อเอง มีสินค้ามาส่งถึงบ้าน และบางเว็บไซต์เมื่อซื้อสินค้าครบจำนวนเงินตามที่บริษัทกำหนด จะมีบริการจัดส่งฟรี  อย่างไรก็ตาม บางรายการพบว่า ซื้อออนไลน์ได้ถูกกว่าเล็กน้อย หรือบางทีก็มีราคาแพงกว่า เช่น โบโลน่า ยี่ห้อมายช้อยส์ ราคาจากออนไลน์ 35 บาท/100 กรัม ในขณะที่สั่งจากห้าง 39 บาท/100 กรัม (ท็อปออนไลน์) หรือ ข้าวหอมมะลิ ยี่ห้อฉัตร ออนไลน์ ราคา 245 บาท/ 5 กิโลกรัม ล็อตผลิต/หมดอายุวันที่ 27/09/62 ส่วนหน้าร้าน 189 บาท/ 5 กิโลกรัม ล็อตผลิต/หมดอายุ 24/09/62 (แมคโครออนไลน์) ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าเรื่องราคาสินค้าไม่เท่ากัน ระหว่างทางออนไลน์กับทางหน้าร้าน น่าจะเกิดจากล็อตการผลิตที่ต่างกัน เช่น ในล็อตการผลิตที่ใหม่กว่าในห้างสรรพสินค้าอาจมีราคาที่แพงกว่า ส่วนในล็อตการผลิตเดียวกันหรือใกล้กัน ราคาสินค้าส่วนใหญ่เท่ากันทั้งทางออนไลน์และในห้าง    สรุปการซื้อสินค้าประเภทอาหารทางออนไลน์ เปรียบเทียบเรื่องวันหมดอายุ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point