ฉบับที่ 276 เจอสิ่งแปลกปลอมในกระปุก “ผิวส้ม” อบแห้ง

        “ผิวส้ม” อบแห้ง ขนมย้อนวัยยุค 90 ยอดฮิต ที่คุณกล้าชื่นชอบเป็นอย่างมากแต่มันกับทำให้คุณกล้าต้องเซ็ง! เพราะดันเจออะไรก็ไม่รู้แปลกๆ ปนมาด้วยนะสิ         คุณกล้าได้มาร้องเรียนและเล่าเรื่องราวให้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคฟังว่า เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา เขาได้ไปซื้อ “ผิวส้ม แมนดาริน” มาจากร้านขายยาแถวบ้าน 1 กระปุก ราคา 25 บาท หลังจากได้มาเขาและครอบครัวก็แบ่งกันรับประทานจนผิวส้มที่อยู่ในกระปุกเริ่มลดลงไปเรื่อยๆ จนเหลืออยู่ 2 ชิ้นสุดท้าย คุณกล้าบอกว่าใน 2 ชิ้น สุดท้ายนี้ละที่ทำให้เขาถึงกับต้องร้องยี้! เพราะได้เจอกับ “ก้นบุหรี่” ในกระปุกแถมเหมือนก้นบุหรี่จะได้ผ่านการใช้งานมาแล้วซะด้วย จึงทำให้เขาและครอบครัวเริ่มเกิดความกังวล เนื่องจากได้รับประทานไปแล้ว อาจจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนและโรคติดต่ออยู่ด้วยหรือไม่ แค่นึกก็ขนลุกขนพอง แล้วถ้ามีอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอนาคตได้ จึงอยากได้ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคให้คำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรดี?              แนวทางการแก้ไขปัญหา                    ก่อนหน้าจะเข้าปรึกษากับมูลนิธิฯ คุณกล้าก็ได้ติดต่อไปที่ทางบริษัทผู้จำหน่ายสินค้า “ผิวส้ม อบแห้ง” แล้วแต่ยังเจรจากันไม่ได้ข้อตกลงอันเป็นที่หน้าพอใจ ซึ่งทางคุณกล้าเองนั้นต้องการขอเรียกค่าเสียหายครั้งนี้เป็นมูลค่า 25,000 บาท         ทางมูลนิธิฯ ได้ติดต่อไปทางบริษัทผู้จำหน่ายสินค้าดังกล่าวเพื่อช่วยเจรจากับทางบริษัท ซึ่งทางบริษัทก็ได้แจ้งว่า “ขออภัยในสิ่งที่เกิดขึ้น และให้เหตุผลว่า สินค้าดังกล่าวเป็นสินค้าที่ทางบริษัทสั่งตัวผิวส้มเข้ามาแล้วดำเนินการบรรจุหีบห่อ ซึ่งไม่สามารถควบคุมการบรรจุหีบห่อได้” และจะชดเชยผู้เสียหายเป็นขนมชุดใหญ่ รวมถึงคืนเงินค่าสินค้าและยกเลิกการจำหน่ายสินค้าดังกล่าวอีกด้วย ถือว่าผู้จำหน่ายมีความรับผิดชอบอยู่พอสมควร         อย่างไรก็ตามทางผู้ร้องคือคุณกล้าได้ปฏิเสธการชดเชยดังกล่าวพร้อมกับได้ทำหนังสือร้องเรียนไปทาง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อให้ดำเนินการตรวจสอบผู้จำหน่ายขนมดังกล่าวอีกด้วย สำหรับคุณกล้าหากประสงค์ในเรื่องการชดเชยค่าเสียหายก็สามารถใช้สิทธิทางศาลได้เช่นกัน         ฝากถึงผู้บริโภคหากพบเจอปัญหาลักษณะเดียวกับคุณกล้า ควรเตรียมเอกสารดังนี้         1. ถ่ายรูปฉลากและตัวสินค้า รวมถึงสิ่งแปลกปลอมที่พบ พร้อมเก็บหลักฐานตัวบรรจุภัณฑ์และใบเสร็จจากร้านที่ซื้อไว้เป็นหลักฐาน         2. นำหลักฐานทั้งหมดเข้าแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ เพื่อเป็นหลักฐาน         3.ติดต่อบริษัทเพื่อเจรจาเรื่องการชดเชยค่าเสียหาย         4.ติดต่อทำหนังสือร้องเรียนต่อหน่วยงานกำกับดูแล ด้านอาหารได้แก่ อย. หรือในต่างจังหวัด ร้องเรียนได้ที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่เกิดเหตุ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 แกงส้มแป๊ะซะเปรี้ยวแซ่บ เมนูปาร์ตี้ปีใหม่ปลอดภัย?

        “เมนูเปรี้ยวแซ่บขนาดนี้ อยู่ในภาชนะอะลูมิเนียม เหล็กหรือสังกะสี  เมื่อถูกกระตุ้นด้วยความร้อนสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานจะมีสารตะกั่วออกมาให้เรากินไปด้วยไหม ?”         แกงส้ม เป็นอาหารไทยที่มีรสชาติครบทั้งเปรี้ยว เค็ม เผ็ดและหวาน ร้านอาหารดังหรือแม้แต่ในครัวบ้านๆ ต้องมี ความอร่อยของเมนูนี้อยู่ที่ “ต้องรับประทานขณะร้อน” ดังนั้นภาชนะที่ใช้เวลาเสิร์ฟจึงต้องสามารถส่งผ่านความร้อนได้เป็นอย่างดี เช่น อะลูมิเนียม  เหล็ก  สังกะสี ทองเหลืองและสแตนเลส แต่ปัจจุบันภาชนะทองเหลืองและสแตนเลส มักไม่ค่อยเป็นที่นิยมเพราะราคาค่อนข้างสูง ที่นิยมและพบได้ทั่วๆ ไปในร้านอาหาร คือ ภาชนะชนิดอะลูมิเนียม  เหล็ก  สังกะสี แต่เราเคยสงสัยบ้างไหมว่า อาหารที่มีรสเปรี้ยวแซ่บขนาดนี้ เมื่ออยู่ในภาชนะดังกล่าวและยังถูกความร้อนสูงๆ อย่างต่อเนื่องจากเชื้อเพลิงเป็นเวลานานจะมีสารตะกั่วหรือโลหะหนักอื่นๆ ปนออกมาให้เรารับประทานโดยไม่รู้ตัวไปด้วยไหม?         ปัจจุบันอาจจะไม่ค่อยพบภาชนะที่ทำจากตะกั่วล้วนๆ แล้วแต่ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจไป เพราะถ้าภาชนะมีการบัดกรี ตามรอยต่อต่างๆ ก็อาจจะมีการปนเปื้อนจากตะกั่วลงมาในอาหารได้ซึ่งเราก็ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ดังนั้นทางเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดหนองบัวลำภู จึงได้เก็บตัวอย่างอาหารจากร้านอาหาร จำนวน 2 ครั้ง (ครั้งที่1 และครั้งที่ 2 ห่างกันประมาณ 3 - 7 วัน) และเก็บตัวอย่างน้ำแกง 3 ลักษณะ (ทั้งน้ำแกงที่เย็น น้ำแกงที่เดือด และน้ำแกงหลังจากเดือดไปแล้ว 5 นาที) จากนั้นส่งตรวจยังห้องปฏิบัติการทดสอบโลหะหนัก ด้วยวิธีมาตรฐาน พบผลตรวจน่าสนใจ คือ          พบว่ามีสารตะกั่วปนเปื้อนอยู่ในอาหาร แต่...ยังมีความปลอดภัยเพราะมีปริมาณต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน (ก. สาธารณสุข กำหนดให้สารตะกั่วต้องไม่เกิน 1 มก.ต่อ อาหาร 1 กก. และอาหารที่จำหน่ายในร้านอาหารนั้นจะต้องมีความปลอดภัยจากโลหะหนัก สารเคมี และเชื้อโรคด้วย)         อย่างไรก็ตาม เพื่อความมั่นใจ เครือข่ายฯ ได้วัดค่าความเป็นกรดของน้ำแกงส้ม พบว่ามีค่าอยู่ระหว่าง 3.67–5.95  (โดยร้อยละ 80 ของตัวอย่างมีค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 4.00–5.00) ซึ่งถือได้ว่าน้ำแกงส้มมีค่าเป็นกรด จึงมีความเสี่ยงมากถ้าใช้ภาชนะที่ไม่ได้มาตรฐานหรือมีการบัดกรีภาชนะที่เป็นโลหะผสมหรือภาชนะที่มีรอยต่อและการที่ยังพบสารตะกั่ว เพราะตะกั่วสามารถสะสมในร่างกายได้เป็นเวลานาน รวมทั้งอาจได้รับสารตะกั่วจากปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น สิ่งแวดล้อม การใช้เครื่องสำอางที่มีสารตะกั่ว ฯลฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อร่างกายได้         การปนเปื้อนของโลหะหนักในอาหารทำให้เกิดอันตรายต่อ สมอง กระดูก  ไตและต่อมไทรอยด์  ถ้าเป็นเด็กเล็ก อาจส่งผลต่อ IQ ทำให้ต่ำกว่าเด็กทั่วไป อาการเป็นได้ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงจากการรับประทานอาหารได้ง่ายที่สุดคือ ในการรับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว ต้องใช้ภาชนะที่มีความปลอดภัย ไร้สารตะกั่ว เพราะจะทำให้ลดปัจจัยเสี่ยง และทำให้เรามีความสุขในการรับประทานอาหารกับครอบครัว มิตรสหายในช่วงเวลาดีๆ นี้ได้อย่างสบายใจ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 255 สำรวจฉลากส่วนประกอบในแยมส้มและมาร์มาเลดส้ม

        ฉลาดซื้อฉบับที่ 234 ได้เคยนำเสนอเรื่องปริมาณเนื้อผลไม้ในแยมสตรอว์เบอร์รีมาแล้ว คราวนี้ขอเอาใจคนที่ชื่นชอบรสชาติของ “แยมส้ม” และ”มาร์มาเลดส้ม” กันบ้าง          “แยมส้ม” จะมีส่วนประกอบหลักคือ เนื้อส้ม น้ำส้ม และน้ำตาล เนื้อเนียนละเอียด รสหวานนำ ส่วน ”มาร์มาเลดส้ม” จะใส่ผิวส้มเพิ่มเข้าไปด้วย จึงเจือรสขมผสมกับรสหวานอมเปรี้ยว เนื้อหยาบกว่ากินแล้วสัมผัสได้ถึงผิวส้มและเนื้อส้ม หอมกลิ่นส้มในปาก         นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสร้างเสริมความเข้มแข็งระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สสส. ได้สุ่มเลือกผลิตภัณฑ์แยมส้มและมาร์มาเลดส้มจำนวน 18 ตัวอย่าง ทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ จากห้างค้าปลีกและร้านค้าทั่วไปในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 โดยสำรวจฉลากเพื่อพิจารณา สัดส่วนของปริมาณส้ม (เนื้อส้ม น้ำส้มและผิวส้ม) และปริมาณน้ำตาล พร้อมกับเปรียบเทียบราคาต่อน้ำหนัก 1 กรัม เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้ผู้บริโภคเลือกว่ายี่ห้อไหนจะมีรสชาติถูกปาก คุ้มค่าและปลอดภัยสำหรับคุณ ผลการสำรวจ         จากการสำรวจฉลากส่วนประกอบของแยมส้มและมาร์มาเลดส้มทั้ง 18 ตัวอย่าง พบว่า         1. สัดส่วนของปริมาณส้มรวม (เนื้อส้ม น้ำส้มและผิวส้ม) => ยี่ห้อดาโบ มีมากที่สุดคือ 70% ส่วนยี่ห้อเบสท์ ฟู้ดส์ มีน้อยที่สุดคือ 20%         2.สัดส่วนของปริมาณน้ำตาลรวม (รวมน้ำตาลที่ให้ความหวานและพลังงานทุกชนิด) => ยี่ห้อแม็คเคย์ มีมากที่สุด คือ 72% ส่วนยี่ห้อทิพทรี มีน้อยที่สุดคือ 10%         3.สัดส่วนของปริมาณน้ำตาลที่ระบุว่าเป็น “น้ำตาล” => ยี่ห้อแม็คเคย์ มีมากที่สุด คือ 72% ส่วนยี่ห้อสตรีมไลน์ มีน้อยที่สุดคือ 9%         4.เมื่อเปรียบเทียบราคาต่อน้ำหนัก 1 กรัม => ยี่ห้อทิพทรี แพงสุดคือ 1.23 บาท ส่วนยี่ห้อเอ็มไพร์ ถูกสุดคือ 0.20 บาท  ข้อสังเกต        - ยี่ห้อเซนต์ดาลฟูร์ ไม่ระบุว่ามีน้ำตาลชนิดใดๆ เพิ่มเข้าไปในส่วนประกอบ แต่เมื่อดูที่ฉลากโภชนาการระบุว่ามีปริมาณน้ำตาลต่อหนึ่งหน่วยบริโภค(1 ช้อนโต๊ะ = 15 กรัม) อยู่ 8 กรัม ซึ่งเป็นน้ำตาลจากน้ำผลไม้        - ยี่ห้อสทิ้ว ระบุว่า ‘no sugar added’ ไม่ใส่น้ำตาล แต่ใช้ซอร์บิทอล(วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล)        - มี 4 ยี่ห้อ เป็นสูตรลดน้ำตาล (Reduce Sugar) ได้แก่ มายช้อยส์, บอนน์ มาม็อง, สตรีมไลน์ และทิพทรี        - ยี่ห้อดอยคำ ปริมาณ 130 กรัม เป็นแบบหลอดบีบที่น่าจะช่วยลดการปนเปื้อน และใส่วัตถุกันเสีย มีคำแนะนำให้เปิดแล้วควรเก็บไว้ในตู้เย็นและบริโภคให้หมดภายใน 2 สัปดาห์        - มี 8 ยี่ห้อระบุว่าใส่วัตถุกันเสีย มี 6 ยี่ห้อแต่งกลิ่น และมี 5 ยี่ห้อแต่งสี ฉลาดซื้อแนะ        - ถ้าใครไม่ชอบรสขม ลองเลือกมาร์มาเลดส้มที่มีผิวส้มน้อยหน่อย        - ใครที่ชอบรสหวานแต่ไม่อยากอ้วน ลองเลือกแยมส้มที่ให้ความหวานจากน้ำผลไม้ น้ำเชื่อมข้าวโพด หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาลอื่น ๆ  ซึ่งมีรสหวานและให้พลังงานน้อยกว่าน้ำตาลปกติ แต่ถ้ากินเพลินจนเยอะเกินก็เสี่ยงน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้        - เปิดขวดแยมแล้วให้แช่ในตู้เย็น ควรใช้ช้อนสะอาดตักแบ่งใส่ถ้วยก่อนทาขนมปัง เพื่อลดการปนเปื้อน        -จดวันที่ที่เปิดขวดแยมส้มครั้งแรกไว้ แยมส่วนใหญ่จะหมดอายุหลังจากเปิด 3 เดือน หรือดูที่ฉลากแนะนำ        - ถ้าใครกินไม่บ่อยและไม่ค่อยเยอะ ซื้อขวดเล็กก็พอ จะได้กินหมดก่อนวันหมดอายุ แต่ถ้าใครกินเป็นประจำทุกวันให้ซื้อขวดใหญ่จะคุ้มค่ากว่า        - หลายคนเลือกซื้อแยมส้มที่รสชาติอร่อยถูกปากและความคุ้มค่า แต่ก็อย่าลืมคำนึกถึงความปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย ลองเลือกที่มีส้มเยอะ มีน้ำตาลน้อยหรือไม่มีเลย ไม่ใส่วัตถุกันเสีย ไม่แต่งกลิ่นแต่งสี ก็น่าจะดี ข้อมูลอ้างอิงhttps://bestreview.asia/best-orange-jams/ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 253 น้ำส้มกล่องหมดอายุ

        มินิมาร์ท หรือร้านสะดวกซื้อ ทำให้เราสามารถหาซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น เราก็สะดวกด้วย อยากได้อะไรก็สามารถเข้าไปซื้อได้เลย แต่บางทีความสะดวก ง่าย รวดเร็ว อาจไม่ได้หมายถึงว่า เราควรจะวางใจจนไม่รอบคอบ ทั้งในฝ่ายของผู้ประกอบการและผู้ซื้อ เรามาดูกรณีนี้กัน         ภูผา อยากดื่มน้ำส้มหวานๆ เย็นๆ ให้ชื่นใจสำหรับหน้าร้อนอันแสนทรมาน จึงแวะเข้าร้านสะดวกซื้อระหว่างเดินไปทำงาน ด้วยความรีบ (เพราะสายแล้ว) เขาเดินปรี่เข้าไปหยิบน้ำส้มในตู้แช่มา 1 กล่อง แล้วรีบไปจ่ายเงินโดยความรวดเร็ว พอถึงสำนักงานหลังจากสแกนนิ้วเข้าสถานที่ทำงานได้เรียบร้อย ก็เจาะกล่องน้ำส้มดูดอย่างว่องไว แต่แล้วก็ต้องหน้าเบ้เพราะพบว่ารสชาติแปลกๆ เขาจึงหมุนกล่องไปดูวันหมดอายุที่นี้แหละรู้เลยว่าทำไม น้ำส้มถึงรสชาติแปลกๆ นั่นก็เพราะว่า น้ำส้มกล่องนี้หมดอายุไปแล้ว 2 วัน “อ้าว หมดอายุแล้วเอามาวางขายได้ไง”  ภูผาไม่เข้าใจว่าทำไมร้านสะดวกซื้อถึงเอาสินค้าหมดอายุมาขายให้เขา ร้านสะดวกซื้อน่าจะตรวจสอบให้ดีกว่านี้นะ ออกจะเป็นร้านมากสาขาใหญ่เสียขนาดนั้น แม้ราคาน้ำส้มกล่องไม่กี่บาท แต่เขาไม่รู้ว่าเขาจะสามารถทำอย่างไรได้บ้างไหม เพราะว่าไม่อยากให้เรื่องนี้กลายเป็นเรื่องธรรมดาๆ ไป จึงมาขอคำปรึกษามูลนิเพื่อผู้บริโภค แนวทางการแก้ไขปัญหา        ศูนย์พิทักษ์สิทธิ แนะนำว่าผู้ร้องสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ดังนี้        1. ถ่ายรูปกล่องน้ำส้ม ถ่ายให้เห็นฉลากสินค้าวันผลิต – วันหมดอายุ ล็อตการผลิต พร้อมเก็บกล่องน้ำส้มและใบเสร็จจากร้านสะดวกซื้อไว้เป็นหลักฐาน (ให้ถ่ายสำเนาใบเสร็จเก็บไว้ด้วยป้องกันใบเสร็จลบเลือน)         2. นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความ ร้องทุกข์กล่าวโทษ ที่สถานีตำรวจบริเวณใกล้ที่ทำงาน เพื่อเป็นหลักฐาน         3. ให้ติดต่อร้านสะดวกซื้อที่ซื้อน้ำส้มมา ขอให้ทางร้านแก้ไขปัญหา พร้อมชดเชย เยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น โดยต้องคิดให้ดีว่าจะให้ร้านสะดวกซื้อรับผิดชอบอย่างไร เช่น ขอเปลี่ยนสินค้า, ขอเงินคืน, จ่ายค่าเสียเวลา, ค่าขาดประโยชน์, ค่าใช้จ่ายในการติดต่อกับผู้ประกอบการ หรือให้ทำหนังสือชี้แจงเหตุของสิ่งผิดปกติและขอโทษต่อผู้เสียหายและสาธารณะ เป็นต้น         4. ถ้าไม่สามารถตกลงกับร้านสะดวกซื้อสาขาที่เกิดเหตุได้ ให้ทำหนังสือยื่นกับบริษัท (สำนักงานใหญ่) โดยบรรยายสรุปปัญหาที่พบ พร้อมข้อเรียกร้อง โดยส่งถึงประธานกรรมการบริหารหรือตำแหน่งอื่นที่เทียบเท่า        กรณีจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 25 (4) ประกอบมาตรา 29 แห่งพระราชบัญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งถือได้ว่าการจำหน่ายอาหารหมดอายุ เป็นอาหารที่ไม่ปลอดภัยในการบริโภค และบทลงโทษอยู่ในมาตรา 61 ระบุให้ระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 252 ผลทดสอบสารตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท

        ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และไทยแพน  จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง           การสุ่มเก็บตัวอย่างส้มทำในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 โดยเก็บจากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์  เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง  ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ แต่ไม่รวมสารกำจัดวัชพืชพาราควอตและไกลโฟเซต ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025   รายละเอียดการเก็บตัวอย่างทดสอบ          ส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile   สรุปผลการทดสอบจากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า        1. ส้มทั้ง 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดกำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 57 ตัวอย่าง หรือ คิดเป็น 95% ของกลุ่มตัวอย่าง  และพบว่า 5% หรือ 3 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากบิ๊กซี บางใหญ่ , Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท จากกูเมต์มาร์เก็ต และ ส้มเช้ง ร้านเจ๊อ้อย 201 ผลไม้ ตลาดไท        2. น้ำส้มในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง มี 5 ตัวอย่างที่ไม่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่  น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco, น้ำส้ม 100% ตรา UFC,  น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน) และน้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh และ Harvey Fresh อีก 5 ตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตราARO , น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ตรา CHABAA, น้ำส้ม 98% ตราดอยคำ, น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% ตรากรีนการ์เด้น และ น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรา SMILE ทั้งนี้จากการตรวจสอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบ ข้อสังเกตจากการทดสอบ         จากรายงานผลการวิเคราะห์ว่า หากจำแนกตามแหล่งผลิต จะพบว่า ตัวอย่างส้มที่มาจากการปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง หรือคิดเป็น 100% ในขณะที่ส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 84.21% อีก 3 ตัวอย่างมีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน         สำหรับกลุ่มตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ สายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง เขียวหวาน 9 ตัวอย่าง โชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มน้ำตาล 1 ตัวอย่าง และส้มเขียวหวาน 1 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  โดยในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่มาจากแปลง GAP (Good Agriculture Practices) ที่ได้รับรองโดยกระทรวงเกษตรฯ 11 ตัวอย่าง เป็นผลผลิตที่มีมาจากแปลงที่มีการรับรอง ThaiGAP โดยสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 ตัวอย่าง และไม่ระบุการรับรองมาตรฐานใดๆ 29 ตัวอย่าง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ แมนดาริน 5 ตัวอย่าง ส้มไต้หวัน 3 ตัวอย่าง เมอร์คอท 2 ตัวอย่าง นาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง เอินชู 1 ตัวอย่าง กัมควอท/กิมจ๊อ 1 ตัวอย่าง ซันคิสต์ 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง สายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง มีเพียงส้มสายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และส้มเมอร์คอท 1 ตัวอย่าง ที่พบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีก 16 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  สำหรับชนิดสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด เป็นสารกำจัดแมลง 31 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด และสารกำจัดไร 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้        1. สารกำจัดแมลงที่พบตกค้างมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Imidacloprid, Ethion และ Profenofos โดยพบในส้ม 56, 52 และ 49 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 93.33%, 86.67% และ 81.67% ตามลำดับ         2. ในขณะที่สามอันดับแรกของสารป้องกันและกำจัดโรคพืชคือ Benomyl/Carbendazim, Hexaconazole และ Prochloraz โดยพบใน 48, 42 และ 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 80.0%, 70.0% และ 51.67% ตามลำดับ         3. สารกำจัดไรที่พบตกค้างมากที่สุด คือ Propargite พบใน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 51.67%         4. พบการตกค้างของ Chlorpyrifos-ethyl ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้แล้ว) 50% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยตกค้างในส้มที่ผลิตในประเทศ 22 ตัวอย่าง และส้มนำเข้า 8 ตัวอย่าง         “กรณีที่พบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอสที่แบนแล้วในตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ อาจเป็นไปได้ที่จะมีสารที่ค้างอยู่เป็นสต็อกของเกษตรกรหลังจากมีการแบนอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดขึ้นจากการลักลอบนำเข้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการ”  รายการวิเคราะห์ ชนิดและปริมาณค่าสารพิษตกค้าง สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ https://thaipan.org/action/2519  และสามารถดาวน์โหลด ผลทดสอบส้มฉลาดซื้อแนะ        • เลือกการสนับสนุนส้มที่ผลิตโดยวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี หรือผลผลิตที่ทราบที่มาและเชื่อถือได้ว่ามาจากกระบวนการผลิตที่ปลอดภัย         • ล้างส้มทุกครั้งที่บริโภค แม้ไม่สามารถลดปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างได้ทั้งหมด เพราะมีสารเคมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ดูดซึมไปสู่เนื้อส้มได้ แต่ก็เป็นการลดปริมาณของสารเคมีได้ระดับหนึ่ง         • ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปการผลิต การจัดจำหน่าย และกลไกการกำกับดูแลสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง

        สภาองค์กรของผู้บริโภค ไทยแพน ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ สำรวจพบส้มไทยมีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง ตอกย้ำปัญหาส้มพิษยังไม่ถูกแก้ไข เสนออาจต้องปรับเปลี่ยนระบบการผลิตใหม่        สภาองค์กรของผู้บริโภค นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (ไทยแพน) เฝ้าระวังสถานการณ์ปัญหาสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท แบ่งเป็นส้มจำนวน 60 ตัวอย่างและน้ำส้ม 10 ตัวอย่าง พบว่า ส้มที่มาจากการปลูกในประเทศจำนวน 41 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ทุกตัวอย่าง (100%) ส่วนส้มที่มาจากการนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง (84.21%) มีเพียง 3 ตัวอย่างที่มีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับน้ำส้มในภาชนะบรรจุปิดสนิท พบ 50% ของกลุ่มตัวอย่างมีการตกค้างของสารพิษ         วันนี้ (10 มีนาคม 2565) ในงานแถลงข่าวผลการตรวจสารเคมีเกษตรตกค้างในส้มและน้ำส้ม นางสาวทัศนีย์ แน่นอุดร รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และบรรณาธิการนิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ส้มเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในการบริโภค แต่ส้มก็เป็นผลไม้ที่มีโรคและศัตรูพืชมาก ทำให้การเพาะปลูกต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพื่อป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชมากชนิดตามไปด้วย ปัญหาที่ตามมาคือ ทุกครั้งที่มีการสำรวจการตกค้างของสารพิษในส้มในหลายปีที่ผ่านมา จะพบการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐานมาโดยตลอด ทั้งจากการติดตามเฝ้าระวังของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ไทยแพน หรือจากผลการทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเอง และทุกครั้งที่มีการสะท้อนสถานการณ์ปัญหาก็จะมีการเคลื่อนไหวหลายอย่างทั้งจากหน่วยงานราชการ เกษตรกร ผู้จำหน่าย ผู้บริโภค ดังนั้นเพื่อจะติดตามว่า ส้มไทยปลอดภัยต่อการบริโภคมากน้อยแค่ไหน มพบ.และไทยแพน  จึงได้รับการสนับสนุนจากสภาองค์กรของผู้บริโภค ให้ทำการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยอีกครั้ง           การสุ่มเก็บตัวอย่างส้ม คณะทำงานเลือกช่วงเวลาระหว่างวันที่ 3-10 มกราคม 2565 จากแหล่งผลิตทั้งในและต่างประเทศ โดยครอบคลุมช่องทางจำหน่ายในปัจจุบัน ได้แก่ ตลาดค้าส่ง ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ และช่องทางออนไลน์  เป็นตัวอย่างส้ม 60 ตัวอย่าง และน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง รวมเป็น 70 ตัวอย่าง   สำหรับส้ม เน้นเก็บตัวอย่างส้มให้ครอบคลุมสายพันธุ์ส้มที่จำหน่ายในช่วงเวลา ซึ่งจำแนกเป็นสายพันธุ์ทางการค้าได้ทั้งสิ้น 13 สายพันธุ์ ได้แก่ ส้มสายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง ส้มเขียวหวาน 12 ตัวอย่าง ส้มโชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มแมนดาริน 8 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มนาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มเมอร์คอท 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง ส้มกัมควอท 1 ตัวอย่าง ส้มซันคิสท์ 1 ตัวอย่าง ส้มเอินชู 1 ตัวอย่าง และส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และหากจำแนกตามแหล่งผลิตจะเป็นส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง ส้มที่ปลูกในประเทศไทย 41 ตัวอย่าง ทั้งนี้ 12 ตัวอย่างใน 41 ตัวอย่างที่ปลูกในประเทศ เป็นตัวอย่างที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) 11 ตัวอย่าง และ ThaiGAP 1 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำส้มบรรจุในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง ได้แก่ Aro, Tipco, Chabaa, UFC, Malee, DoiKham, Sunfresh, Harvey Fresh, Green Garden และ Smile         ทั้ง 70 ตัวอย่าง ส่งวิเคราะห์สารพิษตกค้างแบบ multi-residue analysis ครอบคลุมสารพิษตกค้างจำนวน 567 รายการ ที่ห้องปฏิบัติการ TÜV SÜD ITALY ประเทศอิตาลี ซึ่งได้รับการรับรอง ISO/IEC 17025จากรายงานผลการวิเคราะห์ พบว่า รายการวิเคราะห์ ชนิดและปริมาณค่าสารพิษตกค้าง สามารถเข้าดูรายละเอียดได้ที่ https://thaipan.org/action/2519  และสามารถดาวน์โหลด ผลทดสอบส้ม        1.    ส้มทั้ง 60 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างในทุกตัวอย่าง เมื่อเปรียบเทียบกับค่าปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดกำหนดไว้ใน ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 419) พ.ศ. 2563 ออกตามความในพระราชบัญญัติ อาหาร พ.ศ. 2522 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 3) พบว่า มีสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 57 ตัวอย่าง หรือ คิดเป็น 95% ของกลุ่มตัวอย่าง  และพบว่า 5% หรือ 3 ตัวอย่าง มีสารพิษตกค้างแต่ไม่เกินค่ามาตรฐาน ได้แก่ ส้มเขียวหวาน จากบิ๊กซี บางใหญ่ , Holy Fresh ส้มพันธุ์ เมอร์คอท จากกูเมต์มาร์เก็ต และ เป็นส้มเช้ง ร้านเจ๊อ้อย 201 ผลไม้ ตลาดไท ซึ่งทั้งสามตัวอย่างเป็นส้มนำเข้าจากต่างประเทศ        2.    จากตัวอย่างน้ำส้มในภาชนะปิดสนิท 10 ตัวอย่าง มี 5 ตัวอย่างที่ไม่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่  น้ำส้มโชกุน ตรา Tipco, น้ำส้ม 100% ตรา UFC,  น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรามาลี (ส้มจากแม่สิน) และน้ำส้มนำเข้า ตรา Sunfresh และ Harvey Fresh อีก 5 ตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้าง ได้แก่ น้ำส้มเขียวหวานพร้อมเกล็ดส้ม 100% ตราARO , น้ำส้มสายน้ำผึ้ง 100% ตรา CHABAA, น้ำส้ม 98% ตราดอยคำ, น้ำส้มพร้อมเนื้อส้ม 100% ตรากรีนการ์เด้น และ น้ำส้มเขียวหวาน 100% ตรา SMILE ทั้งนี้จากการตรวจสอบประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 356 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท  พบว่าไม่มีการกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับสารพิษตกค้างไว้ จึงไม่มีค่ามาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบกับปริมาณสารพิษตกค้างที่พบ         ด้านนางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือไทยแพน ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติมจากรายงานผลการวิเคราะห์ว่า หากจำแนกตามแหล่งผลิต จะพบว่า ตัวอย่างส้มที่มาจากการปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐานทุกตัวอย่าง หรือคิดเป็น 100% ในขณะที่ส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน 16 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 84.21% อีก 3 ตัวอย่างมีปริมาณสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน         สำหรับกลุ่มตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ 41 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ สายน้ำผึ้ง 18 ตัวอย่าง เขียวหวาน 9 ตัวอย่าง โชกุน 9 ตัวอย่าง ส้มสีทอง 3 ตัวอย่าง ส้มน้ำตาล 1 ตัวอย่าง และส้มเขียวหวาน 1 ตัวอย่าง ซึ่งทุกตัวอย่างพบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  โดยในจำนวนนี้เป็นผลผลิตที่มาจากแปลง GAP (Good Agriculture Practices) ที่ได้รับรองโดยกระทรวงเกษตรฯ 11 ตัวอย่าง เป็นผลผลิตที่มีมาจากแปลงที่มีการรับรอง ThaiGAP โดยสถาบันส่งเสริมคุณภาพเกษตรไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย 1 ตัวอย่าง และไม่ระบุการรับรองมาตรฐานใดๆ 29 ตัวอย่าง ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างส้มนำเข้า 19 ตัวอย่าง สามารถจำแนกตามชื่อเรียกสายพันธุ์ทางการค้าได้ ดังนี้ แมนดาริน 5 ตัวอย่าง ส้มไต้หวัน 3 ตัวอย่าง เมอร์คอท 2 ตัวอย่าง นาเวล 2 ตัวอย่าง ส้มซาถัง 2 ตัวอย่าง เอินชู 1 ตัวอย่าง กัมควอท/กิมจ๊อ 1 ตัวอย่าง ซันคิสต์ 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง สายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง มีเพียงส้มสายน้ำผึ้ง 1 ตัวอย่าง ส้มเช้ง 1 ตัวอย่าง และส้มเมอร์คอท 1 ตัวอย่าง ที่พบสารพิษตกค้างอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อีก 16 ตัวอย่าง พบสารพิษตกค้างเกินค่ามาตรฐาน         สำหรับชนิดสารพิษตกค้างที่พบจากตัวอย่างส้มทั้งหมดรวม 48 ชนิด เป็นสารกำจัดแมลง 31 ชนิด สารกำจัดโรคพืช 13 ชนิด และสารกำจัดไร 4 ชนิด มีรายละเอียดดังนี้        1. สารกำจัดแมลงที่พบตกค้างมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ Imidacloprid, Ethion และ Profenofos โดยพบในส้ม 56, 52 และ 49 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 93.33%, 86.67% และ 81.67% ตามลำดับ        2. ในขณะที่สามอันดับแรกของสารป้องกันและกำจัดโรคพืชคือ Benomyl/Carbendazim, Hexaconazole และ Prochloraz โดยพบใน 48, 42 และ 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 80.0%, 70.0% และ 51.67% ตามลำดับ        3. สารกำจัดไรที่พบตกค้างมากที่สุด คือ Propargite พบใน 31 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น 51.67%         4. พบการตกค้างของ Chlorpyrifos-ethyl ซึ่งเป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 (ยกเลิกการใช้แล้ว) 50% ของกลุ่มตัวอย่าง โดยตกค้างในส้มที่ผลิตในประเทศ 22 ตัวอย่าง และส้มนำเข้า 8 ตัวอย่าง         “กรณีที่พบการตกค้างของสารคลอร์ไพริฟอสที่แบนแล้วในตัวอย่างส้มที่ปลูกในประเทศ อาจเป็นไปได้ที่จะมีสารที่ค้างอยู่เป็นสต็อกของเกษตรกรหลังจากมีการแบนอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความเป็นไปได้สูงที่เกิดขึ้นจากการลักลอบนำเข้า ซึ่งเรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่จะต้องดำเนินการ” นางสาวปรกชลกล่าว         นางสาวทัศนีย์ กล่าวเสริมว่า หากดูจากรายงานผลการวิเคราะห์ในครั้งนี้ มันยังคงสะท้อนสถานการณ์ปัญหาการตกค้างของสารพิษในส้มว่าไม่ได้ดีขึ้น ส้มเกือบทุกตัวอย่างที่สุ่มมามีการตกค้างของสารพิษเกินค่ามาตรฐาน ดังนั้นคงจะต้องขอให้หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องตลอดจนผู้มีส่วนในห่วงโซ่ของการผลิตส้ม ได้โปรดช่วยกันหาทางเปลี่ยนแปลงอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องถึงขั้นเปลี่ยนระบบการผลิตครั้งใหญ่หรือไม่         นายโสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวว่าการเฝ้าระวัง ทดสอบสินค้าและบริการเป็นอำนาจหนึ่งของสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งกำหนดให้สภาฯ มีฐานะเป็นผู้แทนผู้บริโภค และมีอำนาจดำเนินการเพื่อการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค  การสนับสนุนการทดสอบเรื่องส้มในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคได้มีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจบริโภคสินค้าหรือบริการ และหลีกเลี่ยงสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัยหรืออาจกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค ทั้งนี้ ตนเองมองว่า กระทรวงสาธารณสุขควรดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในน้ำส้มและผลิตภัณฑ์น้ำผักผลไม้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะจนมั่นใจว่าไม่มีการตรวจพบสารตกค้าง และประกาศให้ผู้บริโภครับทราบข้อมูลทุกครั้ง อีกทั้งต้องการเสนอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในการผลิตพืชอาหารอย่างเข้มงวดเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตั้งแต่ต้นทางของการผลิตอาหาร         สรุปข้อเสนอจากรายงานการสำรวจสารพิษตกค้างในส้มและน้ำส้มที่จำหน่ายในประเทศไทยข้อเสนอต่อภาครัฐ        1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์             • ดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ลักลอบนำเข้า ครอบครอง หรือมีไว้จำหน่ายของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ผิดกฎหมาย โดยเฉพาะสารเคมีที่ประเทศไทยยกเลิกการใช้หรือไม่อนุญาตให้มีการขึ้นทะเบียนแล้ว             • ปฏิรูประบบการรับรอง GAP  เพื่อให้มั่นใจว่าผลผลิตหรือสินค้าที่ได้รับการรับรองจะไม่ตรวจพบการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างเกินมาตรฐาน             • ส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรรมอินทรีย์เพื่อให้เป็นทางเลือกในการผลิตของเกษตรกรและผู้บริโภค         2.กระทรวงสาธารณสุข             • เพิ่มประสิทธิภาพการวิเคราะห์สารพิษตกค้างในผักผลไม้ที่ด่านนำเข้า            • พัฒนากลไกเฝ้าระวังสารพิษตกค้างในระดับพื้นที่และประเทศ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน             • ควรยกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีน้ำส้มหรือน้ำผลไม้ในภาชนะบรรจุปิดสนิท รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากการบริโภค โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้ป่วยข้อเสนอต่อภาคเอกชน ผู้จัดจำหน่าย        1. ซูเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีก ตลอดจนร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเป็นแหล่งจัดจำหน่ายส้มขนาดใหญ่ควรสนับสนุนข้อมูลเรื่องที่มาของส้ม ที่นำมาจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability) เพื่อเป็นเครื่องมือให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบแหล่งผลิต สารเคมีที่ใช้ การเก็บเกี่ยว การบรรจุ ฯลฯ ได้อย่างสะดวกด้วยเทคโนโลยีเช่นการสแกนคิวอาร์โค้ด             2. ผู้ผลิตที่นำส้มมาแปรรูป ควรคำนึงถึงแหล่งที่มาตลอดจนการคัดเลือกวัตถุดิบอย่างเป็นระบบเพื่อลดปัญหาการปนเปื้อนสารพิษตกค้างในผลิตภัณฑ์         ทางเลือกและการแก้ปัญหาของผู้บริโภค             • เลือกการสนับสนุนส้มที่ผลิตโดยวิธีการที่ไม่ใช้สารเคมี หรือผลผลิตที่ทราบที่มาและเชื่อถือได้ว่ามาจากระบวนการผลิตที่ปลอดภัย             • ล้างส้มทุกครั้งที่บริโภค แม้ไม่สามารถลดปริมาณของสารเคมีที่ตกค้างได้ทั้งหมด เพราะมีสารเคมีประมาณครึ่งหนึ่งที่ดูดซึมไปสู่เนื้อส้มได้ แต่ก็เป็นการลดปริมาณของสารเคมีได้ระดับหนึ่ง            • ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงเกษตร หน่วยงานของรัฐ และภาคเอกชน ดำเนินการให้มีการปฏิรูปการผลิต การจัดจำหน่าย และกลไกการกำกับดูแลสารเคมีกำจัดศัตรูพืชให้มีความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภคมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 251 ส้มอมพิษ

        แคมเปญ "ส้มอมพิษ" หรือ Orange Spike เป็นกิจกรรมจากความร่วมมือกันของภาคีภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอ็อกแฟมประเทศไทย (Oxfam)  ภายใต้แคมเปญ ‘ผู้บริโภคที่รัก’ (Dear Consumers) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2654 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมหลักคือ การเชิญชวนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่อง “การใช้สารพิษในส้ม” และ “เรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตติดคิวอาร์โค้ด” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตส้มได้         “คนไทยมีโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายได้จากการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเป็นระยะเวลานาน เพราะเกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายมากเกินไปจนเจ็บป่วย จากสถิติพบว่าคนไทยส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องถึง 85,000 รายต่อปี และผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ยจะเกิดขึ้นถึง 122,757 คนต่อปี… สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสารพิษตกค้างจากการบริโภคเป็นภัยเงียบที่พร้อมจะคุกคามผู้บริโภคตลอดเวลา การเสนอให้ซูเปอร์มาร์เก็ตมีการติดคิวอาร์โค้ดแสดงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิต นอกจากเป็นการยืนยันความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยแจกแจงถึงอันตรายของสารเคมีที่เกษตรกรใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ สามารถหลีกเลี่ยง และรักษาสุขภาพไว้ได้” ‘ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น’ กล่าวถึงอันตรายของสารพิษตกค้างที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายไว้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นงานเปิดตัวแคมเปญ         การรู้ถึงแหล่งที่มาของอาหาร เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถนำมาใช้พิจารณาในการซื้อสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการบริโภค แคมเปญนี้จึงเรียกร้องต่อซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ขอให้ดำเนินการติดคิวอาร์โค้ดกำกับสำหรับการสแกนตรวจสอบที่มาของส้มที่วางจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability)  ซึ่งจากภาพรวมที่ปรากฎในช่วงเวลาของการเริ่มต้นแคมเปญ พบว่า การสแกนคิวอาร์โค้ดของซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งโดยรวมยังให้ข้อมูลไม่มากพอ         ดังนั้นเพื่อติดตามสถานการณ์ในรอบหนึ่งปีหลังการเรียกร้องของภาคประชาสังคมต่อความรับผิดชอบของซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ บิ๊กซี โลตัส ท็อปส์ และแม็คโคร ในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน “ส้ม” ทางคณะทำงาน แคมเปญ "ส้มอมพิษ" จึงทำสำรวจ ในระหว่างวันที่ 11 – 30 พ.ย. 2564 พบว่า แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ดำเนินการสำรวจทั้ง 4 แห่ง ยังไม่มีความคืบหน้าหรือการปรับปรุงข้อมูลใน QR Code ได้ตรงตามข้อเรียกร้องของแคมเปญกรอบในการเรียกร้องให้นำเสนอเพื่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับสินค้าในห่วงโซ่อุปทานส้ม    ชื่อสินค้า    รูปสินค้า        1. หมวดที่มาของส้ม ได้แก่ ชื่อสวน จังหวัดที่ตั้งของสวน ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก        2. หมวดกระบวนการปลูกส้ม ได้แก่ กระบวนการเพาะปลูก ระยะเวลาการเพาะปลูก รายการสารเคมีที่ใช้ ข้อมูลการเก็บเกี่ยว วันที่ เก็บเกี่ยว ข้อมูลการเว้นระยะในการเพาะปลูก การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผล        3. หมวดกระบวนการคัดเลือกส้มของซูเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงการตรวจสอบย้อนกลับ การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว ข้อมูลการเก็บรักษา ข้อมูลการขนย้ายผลิตผล มาตรฐานที่ใช้คัดเลือก วิธีการคัดแยก โรงคัดแยก วันที่ในการจัดจำหน่าย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 238 รณรงค์ หยุดวงจร “ส้มอมพิษ” ตั้งแต่ต้นทาง

        เมื่อ 2 ธันวาคม 2563  ภาคี เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอ็อกแฟมประเทศไทย (OXFAM) ชี้คนไทยบริโภคส้มอมพิษตลอดปี สารเคมีอันตรายตกค้างเกินค่ามาตรฐาน  รณรงค์ภาคประชาชนร่วมเรียกร้องหยุดส้มอมพิษตั้งแต่ต้นทาง จัดกิจกรรม “หยุดส้มอมพิษ (Orange Spike)” กระตุ้นผู้บริโภคแสดงสิทธิให้ซูเปอร์มาร์เก็ตใช้ระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) ที่โปร่งใส และมีประสิทธิภาพ ติด QR Code  ส้มทุกประเภท         มร.จูเซปเป บูซินี (Mr.Giuseppe BUSINI) อัครราชทูตที่ปรึกษา-รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย กล่าวว่า การส่งเสริมความยั่งยืนด้านการทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพเป็นหัวข้อสำคัญในนโยบายด้านอาหารของสหภาพยุโรป ทั้งนี้ กลยุทธ์จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร (Farm to Fork Strategy) ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของนโยบายจัดการภาวะโลกร้อนของสหภาพยุโรป หรือ European Green Deal ที่ได้นำมาใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มีเป้าหมายในการส่งเสริมระบบการจัดการอาหารที่เป็นธรรม ดีต่อสุขภาพ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเราเชื่อว่า การลดความเสี่ยงและการลดปริมาณการใช้ผลิตภัณฑ์ป้องกันพืชเคมี ตลอดจนถึงปุ๋ยและยาปฏิชีวนะ และการเพิ่มพื้นที่การทำเกษตรออแกนิคนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง        นางสาวกิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา ตัวแทนจากเครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี (BIOTHAI) กล่าวว่า ส้มเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงและมีห่วงโซ่อุปทานขนาดใหญ่ อยู่คู่กับชีวิตคนไทยในทุกรูปแบบ แต่จากการตรวจสอบของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ ไทยแพน (Thai-PAN) พบว่า ส้ม 1 ผล มีสารเคมีตกค้างมากถึง 55 ชนิด โดยเฉลี่ยถึง *0.364 มิลลิกรัม ซึ่งเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัย (MRL) โดยสารเคมีตกค้างเป็นชนิดดูดซึมที่ไม่สามารถล้างออกได้ถึง 28 ชนิด อาทิ คาร์เบนดาซิม (Carbendazim) ส่งผลให้พิการแต่กำเนิดและภาวะเจริญพันธุ์เสื่อม, สารคาร์โบฟูราน (Carbofuran) เป็นพิษต่อเซลล์สมองและฮอร์โมนเพศ, สารอะเซตามิพริด (Acetamiprid) มีผลกระทบต่อสมองและระบบประสาท เป็นต้น แม้ที่ผ่านมาจะมีการพูดถึงเรื่องสารพิษตกค้างมากมาย แต่จากการสุ่มตรวจส้มจากซูเปอร์มาร์เก็ต พบว่า 100% ของส้มที่นำมาตรวจมีการตกค้างของสารเคมีที่เกินกว่าปริมาณสูงสุดที่กฎหมายกำหนด แม้แต่ในซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำที่อ้างว่ามีระบบตรวจสอบแล้วก็ตาม ทั้งที่เป็นสถานที่ค้าปลีกที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ไว้วางใจในเรื่องของความสะอาดและปลอดภัย         นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ธรรมชาติของส้มจะให้ผลผลิตเพียงปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม – มีนาคม ซึ่งถือเป็นช่วงที่ปลอดภัยที่สุดเพราะเป็นส้มในฤดูกาล แต่ด้วยอุปสงค์ของตลาดที่มีความต้องการส้มตลอดทั้งปี ทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมีมากกว่าปกติเพื่อให้สามารถผลิตส้มได้ตามความต้องการของตลาด ตั้งแต่ระยะติดดอก ระยะติดผลตุ่มเท่าหัวไม้ขีด ช่วงลูกปิงปอง ช่วงเลี้ยงผิวสวยไปถึงช่วงเก็บผลผลิต โดยสารเคมีที่ใช้ตลอดช่วงอายุมักเป็นชนิดดูดซึม (Systemic) ซึ่งจะกระจายในลำต้นไปจนถึงเนื้อในของผลส้ม         อีกหนึ่งกลไกของตลาดที่ทำให้ส้มกลายเป็นผลไม้อันตรายคือค่านิยมในการเลือกซื้อส้มที่มีผลใหญ่ ผิวสวย เรียบเนียน สีทองแวววาว ทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตจึงต้องคัดเกรดส้มสวยเข้ามาจำหน่าย เพื่อให้ส้มมีผิวสวยตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ทำให้ผู้ผลิตต้องฉีดพ่นยาฆ่าแมลงและสารกำจัดศัตรูพืช ถึง 52 ครั้งต่อปี หรือทุกสัปดาห์ ดังนั้นหนึ่งในวิธีที่จะหยุดวงจรส้มอมพิษได้ คือฝั่งผู้บริโภคเองก็ควรปรับเปลี่ยนทัศนคติในการเลือกบริโภค และทำความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเพาะปลูกมากขึ้น อาทิ เลือกรับประทานส้มที่มีผิวลายเพราะเป็นส้มที่ได้รับสารเคมีในปริมาณที่น้อย รวมถึงการทานผลไม้ให้หลากหลายตามฤดูกาล เพื่อลดการใช้สารเคมี         นอกจากนี้ ผู้บริโภคเองก็ควรมีสิทธิที่จะได้รับข้อมูลเกี่ยวกับส้มที่ซื้อผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างถูกต้อง เพียงพอ มีกระบวนการตรวจสอบย้อนกลับ ที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ทราบถึงแหล่งที่มาของส้ม กระบวนการผลิตส้มตลอดปีทั้งในและนอกฤดู รวมถึงกระบวนการตรวจสารเคมีตกค้างของซูเปอร์มาร์เก็ต  เพื่อแสดงถึงความจริงใจและห่วงใยในสวัสดิภาพของผู้บริโภค ซึ่งจากการสำรวจในปัจจุบันพบว่าระบบการตรวจสอบของซูเปอร์มาร์เก็ตบางแห่งยังไม่มีประสิทธิภาพมากพอ        ด้านนางสาวฐานิตา วงศ์ประเสริฐ เจ้าหน้าที่รณรงค์ องค์การอ็อกแฟมประเทศไทย (OXFAM) กล่าวว่า กิจกรรม “หยุดส้มอมพิษ” หรือ Orange Spike เป็นกิจกรรมภายใต้แคมเปญ “ผู้บริโภคที่รัก (Dear Consumers)” โดยมีเป้าหมายเพื่อรณรงค์ให้ผู้บริโภคตระหนักว่าส้มมีกระบวนการผลิตที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงการตกค้างของสารเคมีซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคในระยะยาว และร่วมเรียกร้องให้หยุดส้มพิษตั้งแต่ต้นทาง โดยเน้นการใช้กระบวนการตรวจสอบย้อนกลับที่มีประสิทธิภาพของซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งเปรียบเสมือนตัวกลางในการเชื่อมโยงผู้บริโภคและผู้ผลิต และใช้กลไกข้างต้นกระตุ้นให้ผู้ผลิตที่ปลูกส้มและผลิตอาหารอื่น ๆ มีกระบวนการในการผลิตอาหารที่ปลอดภัยขึ้น         กิจกรรม “หยุดส้มอมพิษ” ดำเนินการโดยภาคี ซึ่งประกอบด้วย เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และองค์การอ็อกแฟมประเทศไทย (OXFAM) โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มสหภาพยุโรป ภายใต้ SWITCH Asia II Programme และสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสวีเดน (Sida) ร่วมแสดงสิทธิของผู้บริโภคเรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำ อาทิ แม็คโคร, บิ๊กซี, เทสโก้ โลตัส และ ท็อปส์ ให้หยุดขายส้มอมพิษ ด้วยการรณรงค์ให้ประชาชนร่วมลงนามผ่านทาง  www.dearconsumers.com/th/petition เพื่อเรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตมีการตรวจสอบแหล่งที่มาของส้มที่นำมาจำหน่ายผ่าน QR Code และเปิดเผยข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสวนส้ม วิธีปลูกส้ม รายการสารเคมีที่ใช้ และกระบวนการคัดกรองของซูเปอร์มาร์เก็ตต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ ยังคาดหวังให้ภาครัฐมีมาตรการควบคุมปริมาณสารเคมีในผลิตภัณฑ์ส้มทุกประเภท         ร่วมกันลงนามหยุดส้มอมพิษในแคมเปญ “ผู้บริโภคที่รัก (Dear Consumers)” ได้ที่  www.dearconsumers.com/th/petition ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ทาง facebook.com/DearConsumers (เพจ ผู้บริโภคที่รัก)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 234 การสำรวจการปนเปื้อนของตะกั่วในแกงส้มแป๊ะซะ

         แกงส้มแป๊ะซะ เป็นทางเลือกที่ร้านอาหารทั่วไปต้องมีไว้ในเมนู ใครๆ ก็ชอบเพราะเป็นอาหารสุขภาพที่มีคุณประโยชน์ทางโภชนาการ ไหนจะได้โปรตีนและไขมันดีจากเนื้อปลาและยังมีผักอีกหลากหลายที่ให้ทั้งวิตามินและไฟเบอร์ แถมรสชาติก็จี๊ดจ๊าดถูกใจ ติดอยู่อย่างเดียวตรงภาชนะที่ทางร้านใช้เสิร์ฟบนเตาร้อนๆ หลายคนสงสัยว่าจานเปล (ที่ส่วนใหญ่เป็นรูปปลา) เหล่านั้นปล่อยโลหะหนักออกมา ปะปนอยู่ในน้ำแกงด้วยหรือเปล่า         ภาชนะที่นิยมใช้เสิร์ฟแกงส้มแป๊ะซะโดยทั่วไปคือ อลูมิเนียม เหล็ก สังกะสี หรือที่มีส่วนผสมของโลหะเหล่านี้ เพราะนำความร้อนได้ดี แต่ทั้งนี้หากการผลิตภาชนะไม่ได้มาตรฐาน ก็จะนำไปสู่การปนเปื้อนของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว (ซึ่งใช้ในการบัดกรี) ได้  โดยเฉพาะเมื่อนำมาใช้ใส่อาหารที่มีความเป็นกรด และการทดลองโดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พบตะกั่วปนเปื้อนในน้ำ เมื่อนำภาชนะดังกล่าวมาต้มที่อุณหภูมิ 80 – 90 องศาเซลเซียส นานต่อเนื่อง 3-9 ชั่วโมง และปริมาณตะกั่วจะมากขึ้นหากมีส่วนผสมของเกลือด้วย         เพื่อตอบข้อกังวลดังกล่าว ทีมงานวิจัยเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งได้รับนโยบายจากคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ที่จะใช้ศักยภาพทางห้องทดลองและห้องปฏิบัติการที่มีอยู่  มาช่วยตอบปัญหาให้แก่สังคม โดยเฉพาะปัญหาที่ไม่อาจสังเกตได้ด้วยตาเปล่า จึงได้สนับสนุนงบประมาณและสนับสนุนให้ทำการศึกษาร่วมกับเภสัชกรที่ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ทำการเก็บตัวอย่างแกงส้มแป๊ะซะจากร้านอาหาร 5 แห่งในจังหวัดหนองบัวลำภู  โดยเก็บร้านละ 2 ครั้ง ห่างกันประมาณ  1 สัปดาห์ ตัวอย่างที่เก็บมีทั้งน้ำแกงขณะเย็น ขณะเดือด และหลังเดือด 5 นาที   จากนั้น นำตัวอย่าง มาบรรจุในภาชนะพลาสติก (polyethylene) ปิดสนิท และนำส่งยังห้องปฏิบัติการทดสอบโลหะหนัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งทำการตรวจวิเคราะห์ตามวิธีมาตรฐานด้วย Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrometer (GFAAS)  สรุปว่าปลอดภัยหรือไม่        นับว่าโชคยังเข้าข้างนักกินอยู่บ้าง การศึกษานี้พบตะกั่วในค่าที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่อนุญาตให้มีได้ การศึกษานี้ยังได้วัดค่าความเป็นกรดของน้ำแกงส้ม ซึ่งมีค่าอยู่ระหว่าง 3.67–5.95  โดยร้อยละ 80 ของตัวอย่างมีค่าความเป็นกรดด่างระหว่าง 4.00–5.00 ซึ่งถือได้ว่าน้ำแกงส้มมีค่าเป็นกรด         อย่างไรก็ตามสายกินอย่างเราก็ควรเพิ่มการระมัดระวังในการเลือกภาชนะเพื่อประกอบอาหาร รวมถึงช่วยกันตรวจสอบ เฝ้าระวัง ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารของร้านอาหารในพื้นที่ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภคและเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และต้องไม่ลืมว่าตะกั่วเป็นโลหะที่สะสมในร่างกายได้นาน และเรายังมีความเสี่ยงที่จะได้รับตะกั่วจากทางอื่น เช่น เครื่องสำอาง เป็นต้น         ทั้งนี้คณะผู้ทำการศึกษาย้ำว่า เพื่อให้ได้ข้อมูลที่แม่นยำมากขึ้น จะต้องมีการสำรวจชนิดของภาชนะที่ใช้ปรุงอาหารของทางร้านก่อนจะนำมาเสิร์ฟให้กับลูกค้า เพื่อนำไปวิเคราะห์ความเสี่ยงของการปนเปื้อน รวมถึงต้องมีการทดลองในห้องปฏิบัติการ ซึ่งสามารถควบคุมตัวแปรอื่นๆ ทำให้ได้ คำตอบที่ชัดเจนมากขึ้น         นอกจากนี้ควรศึกษาปริมาณการบริโภคอาหารจากหม้อไฟ/กระทะร้อน ที่จะนำไปสู่การคาดคะเนปริมาณการปนเปื้อนที่สะสมอยู่ในร่างกายของผู้บริโภค เนื่องจากตะกั่วเป็นโลหะหนักที่สะสมในร่างกายได้ยาวนาน การพิจารณาความปลอดภัยของผู้บริโภค จึงมิอาจใช้อาหารชนิดเดียวมาเป็น ข้อสรุปว่าสุขภาพของผู้บริโภคมีความปลอดภัย  ขอขอบคุณ·  คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.ดร.ไพบูลย์ ดาวสดใส·  ห้องปฏิบัติการกลาง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่ร่วมตรวจวิเคราะห์·  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองบัวลำภู ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกท่านในฝ่ายเภสัชสาธารณสุข

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 ความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2563

สมอ.ปรับแก้มาตรฐานคุมสารทาเลตในของเล่นเด็ก        สมอ. แก้ไขมาตรฐานของเล่น เพิ่มการตรวจหาสารทาเลตและคุมเข้มปริมาณสารโลหะหนัก พร้อมเตรียมกำหนดมาตรฐานเพิ่มอีก เครื่องเล่นสนามสาธารณะ ชิงช้า กระดานลื่น ม้าหมุน และอุปกรณ์โยก         นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า สมอ. ได้ดำเนินการปรับแก้ไขมาตรฐานของเล่นให้มีความทันสมัย ทันต่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบัน  เพื่อป้องกันอันตราย หรือผลกระทบทางสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการเล่น รวมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมของเล่นของไทยให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า เนื่องจากปัจจุบันของเล่นเด็กมีความหลากหลายมากขึ้น ทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ทำ ทั้งนี้ มาตรฐานของเล่น มอก. 685-2540 ได้ปรับแก้ไขในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผู้ใช้งาน เช่น เพิ่มการตรวจสอบหาสารทาเลตซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่ง ใช้ในกระบวนการผลิตพลาสติกในกลุ่มพีวีซีเพื่อให้เนื้อพลาสติกมีความอ่อนตัว สมอ.ต้องควบคุมให้อยู่ในปริมาณที่ไม่เป็นอันตรายตามมาตรฐานสากล ซึ่งเดิมไม่ได้มีการกำหนดไว้ โดยมีเกณฑ์ควบคุมปริมาณของสารทาเลตสำหรับของเล่นเด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบและของเล่นที่สามารถนำเข้าปากได้ ต้องไม่เกิน 0.1% โดยมวล และแก้ไขการตรวจหาสารโลหะหนัก ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ของเล่นที่มีการสัมผัสโดยตรงให้เข้มข้นขึ้น เช่น ฟิงเกอร์เพนต์ ซึ่งเป็นสีน้ำที่เด็กใช้มือสัมผัสโดยตรง ปริมาณสารตะกั่วต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากเดิมต้องไม่เกิน 90 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือสารหนูต้องไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม จากเดิมกำหนดเกณฑ์สูงสุดมีได้ไม่เกิน 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นต้น ซึ่งคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) ได้เห็นชอบมาตรฐานดังกล่าวแล้ว คาดว่าจะประกาศบังคับใช้ประมาณต้นปี 2563          นักวิจัย มช. พบการใช้ยาปฏิชีวนะในสวนส้ม         รศ.ดร.ภญ.บุษบัน ศิริธัญญาลักษณ์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หัวหน้าโครงการผลของยาปฏิชีวนะต่อการตกค้างในผลิตภัณฑ์จากส้มเขียวหวานสำหรับการผลิตอย่างแม่นยำ ลุ่มน้ำฝาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งติดตามปัญหาการใช้ยาปฏิชีวนะแอมพิซิลลินของเกษตรกรสวนส้มเขียวหวาน โดยเกษตรกรใช้เพื่อแก้ปัญหาโรครากโคนเน่า ทั้งนี้แอมพิซิลลินเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในคน แต่เกษตรกรจะหาซื้อตามร้านขายยาในรูปแบบแคปซูล และนำมาผสมน้ำฉีดพ่นเพื่อป้องกันแบคทีเรียในต้นส้ม          โดยผลการศึกษาในสวนส้ม 3 แห่งในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ พบว่า ยังคงตรวจพบปริมาณสารปฏิชีวนะในลำต้นส้มในช่วง 90 วัน หลังฉีดสารปฏิชีวนะ ซึ่งแม้ว่ามีการตกค้างของยาปฏิชีวนะในผลส้มในปริมาณที่ถือว่าน้อยมาก แต่แสดงให้เห็นว่ามีการตกค้างอยู่ในผลส้มจริง นอกจากนี้ยังพบว่า สวนส้มที่ใช้ยาปฏิชีวนะมาเป็นเวลานานมีความหลากหลายของเชื้อแบคทีเรียในดินน้อยมาก และยังพบเชื้อดื้อสารปฏิชีวนะในปริมาณสูงอีกด้วย         ข่าวปลอม ซึมเศร้า NCD เรื่องน่าห่วงสุขภาพคนไทย         สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายจัดเวที Thaihealth Watch จับตาประเด็นพฤติกรรมสุขภาพคนไทย ปี 2563 ในกลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งประเด็นที่น่าจับตาในกลุ่มเด็กและเยาวชน คือ ปัญหาความเครียด ภาวะซึมเศร้า ภัยคุกคามทางออนไลน์ อุบัติเหตุทางคมนาคม และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์        โดยพบว่าสาเหตุที่ทำให้วัยรุ่นเครียดเป็นอันดับ 1 มาจากปัญหาครอบครัว ตามด้วยเรื่องหน้าที่การงาน การถูกกลั่นแกล้ง และความรุนแรง ส่วนปัญหาภัยคุกคามทางออนไลน์ ซึ่งผลวิจัยพบว่า เด็กที่ใช้เวลากับโลกออนไลน์มาก ยิ่งเสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งและเป็นผู้กลั่นแกล้งทางออนไลน์ถึง 3 เท่า ส่วนปัญหาอุบัติเหตุทางคมนาคม พบว่ากลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มใส่หมวกกันน็อกลดลง และพบการบาดเจ็บและเสียชีวิตในกลุ่มเยาวชนจากมอเตอร์ไซค์ และแม้อัตราการคลอดของแม่วัยรุ่นลดลง แต่อัตราการติดโรคทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว โดยเฉพาะโรคซิฟิลิสและหนองใน         สำหรับประเด็นพฤติกรรมสุขภาพที่น่าเป็นห่วงในกลุ่มวัยทำงาน คือ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดจากพฤติกรรมการกิน หรือ โรคในกลุ่ม NCDs เช่น โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด จากผลการสำรวจพบว่ากลุ่มคนวัยทำงานเน้นการบริโภคอาหารรสจัด และเน้นที่รูปลักษณ์ ขณะที่เด็ก คนโสด คนทำงานบริษัทกินผักน้อยที่สุด         นอกจากนี้ยังพบ ปัญหาข่าวปลอม หรือ fake news เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพที่มีการแชร์กันมาก เช่น อังกาบหนูรักษามะเร็ง, น้ำมันกัญชารักษามะเร็ง, หนานเฉาเว่ยสารพัดโรค, บัตรพลังงานรักษาสารพัดโรค และปัญหาฝุ่น PM 2.5 รวมไปถึงปัญหาขยะอาหาร หรือ อาหารส่วนเกินอีกด้วย          ธปท. ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายประชาชน ด้วยมาตรการปรับ “ดอกเบี้ย - ค่าธรรมเนียม”                ธนาคารแห่งประเทศไทยมอบนโยบายให้สถาบันการเงินปรับปรุงการคิดดอกเบี้ยและการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม 3 เรื่อง ได้แก่          1) ค่าปรับการไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด สำหรับสินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด โดยให้คิดค่าปรับบนยอดเงินต้นคงเหลือ จากเดิมที่คิดค่าปรับจากฐานวงเงินสินเชื่อทั้งก้อน และให้กำหนดช่วงระยะเวลาที่จะยกเว้นการเรียกเก็บค่าปรับการไถ่ถอน          2) ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อ SME และสินเชื่อส่วนบุคคล ที่มีลักษณะการผ่อนชำระเป็นงวด โดยกำหนดให้คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้บนค่างวดที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระ เฉพาะส่วนที่เป็นเงินต้นของค่างวดนั้น โดยให้สถาบันการเงินกำหนดช่วงระยะเวลาการผ่อนผันไม่คิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้อาจมีเหตุสุดวิสัยที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด รวมถึงให้ชี้แจงแสดงรายละเอียดดอกเบี้ยผิดนัดชำระ หรือ ค่าธรรมเนียมทวงถามหนี้ ให้ชัดเจน          3) ค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต กรณีผู้ใช้บริการยกเลิกการใช้บัตร ให้คืนค่าธรรมเนียมรายปีตามสัดส่วนระยะเวลาคงเหลือของบัตรให้ผู้ใช้บริการ และการให้ยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมในการออกบัตรหรือรหัสบัตรทดแทน หรือให้พิจารณาจัดเก็บตามความเหมาะสม        นอกจากนี้ ธปท.ยังขอให้ผู้ให้บริการนำหลักการคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม 4 เรื่องไปปรับใช้ ได้แก่ 1) สะท้อนต้นทุนจริงจากการให้บริการ 2) คำนึงถึงความสามารถในการชำระและไม่เป็นภาระต่อผู้ใช้บริการจนเกินสมควร 3) ไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมซ้ำซ้อน และ 4) เปิดเผยอัตราค่าธรรมเนียมอย่างชัดเจน              มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นเรื่อง กมธ.คุ้มครองผู้บริโภค ตรวสอบการต่อสัมปทานทางด่วนให้ BEM         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับ สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค และภาคประชาชน เข้ายื่นหนังสือต่อประธานคณะกรรมาธิการการคุ้มครองผู้บริโภค สภาผู้แทนราษฎร เพื่อขอให้ตรวจสอบการต่ออายุสัญญาสัมปทานระยะที่ 2 ของคณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)  ให้กับ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)         โดยมูลนิธิฯ และเครือข่ายฯ ได้ให้เหตุผลว่า การต่ออายุสัมปทานดังกล่าว อาจก่อให้เกิดความเสียหายมากกว่า 2 แสนล้านบาท และอาจส่งผลให้ผู้บริโภคต้องเสียประโยชน์โดยการจ่ายค่าผ่านทางแพงขึ้นจนถึงปี 2578 อีกทั้งยังพบว่า กระบวนการต่ออายุสัมปทานมีการอ้างอิงมูลค่าความเสียหายจากคดีที่ยังไม่มีการฟ้องร้องขึ้นจริงมาคิดเป็นมูลค่าความเสียหายประกอบการตัดสินใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 225 วิธีลดปัญหาผิวเปลือกส้ม

        นึกภาพผิวเปลือกส้มออกไหม ถ้ามาปรากฎบนผิวกายเรา มันจะดูไม่สวยเพราะมีสภาพเหมือนเป็นรอยตะปุ่มตะป่ำ นูนๆ หรือลอนคลื่นบนผิว ไม่เรียบเนียนสวยงาม ผิวเปลือกส้มนี้ เรียกอีกอย่างว่า เซลลูไลท์(Cellulite)  ซึ่งใครมีโอกาสเป็นได้บ้าง ถ้าเป็นแล้วจะดูแลอย่างไร มาดูกัน         สาเหตุที่ทำให้เกิดผิวเปลือกส้ม ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากการสะสมของไขมันที่มากเกินไปใต้ชั้นผิวหนังตื้นๆ ในบริเวณที่เลือดไหลเวียนไม่ดี จนทำให้ผนังชั้นหุ้มเซลล์เกิดผิวที่ขรุขระแตกลาย ดูไม่สวยงามคล้ายกับผิวเปลือกส้ม          อย่างไรก็ตามหากประมวลจากปัจจัยหลายอย่างที่พบบ่อยว่า น่าจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผิวเปลือกส้ม พอสรุปได้ดังนี้          1.ไม่ค่อยขยับร่างกาย อยู่ในท่าเดียวนานๆ ทำให้ระบบการไหลเวียนเลือดขัดข้อง         2.ขาดการออกกำลังกาย        3.การรับประทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง        4.การอดอาหารอย่างหนักเพื่อให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว        5.การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน        6.ดื่มน้ำน้อยกว่าปกติ        7.ดื่มแอลกอฮอล์ เซลล์จะสูญเสียน้ำ และยังลดประสิทธิภาพของตับ ทำให้ตับขจัดสารพิษได้ไม่ดี        8.ความเครียด ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งตัว        9.ท้องผูก        10.พันธุกรรมและเชื้อชาติ คนยุโรปจะมีเซลลูไลท์มากกว่าคนเอเชีย        ดูแบบนี้เหมือนผิวเปลือกส้มจะเกิดกับคนอ้วนใช่ไหม ซึ่งจริงๆ ไม่ใช่เลย เซลลูไลท์หรือผิวเปลือกส้มไม่ได้เกิดเฉพาะในคนที่มีน้ำหนักตัวมากเท่านั้น คนผอมก็สามารถมีได้เช่นกัน และเกิดขึ้นในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะกับผู้ชายที่อ้วนมาก ๆ         วิธีรักษาเซลลูไลท์ ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่ดูแลได้ด้วยการทำในสิ่งที่ตรงข้ามกับปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การลดน้ำหนักในคนที่อ้วน(แต่ต้องเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป) การออกกำลังกาย(การออกกำลังกายแบบแอโรบิกและการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อการเคลื่อนไหวเพื่อกระชับผิว) ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน ควบคุมอาหารหวาน มัน และการนวดผิวหนังเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 ผลวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีน้ำส้มคั้น

          ในบรรดาเครื่องดื่มที่ทำจากผลไม้ น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดครองใจคนไทยมาโดยตลอด ด้วยรสชาติหวานเข้มอมเปรี้ยวลงตัวและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ทำให้เป็นที่นิยมดื่มกันทุกเพศวัย และไม่เพียงแต่รสชาติถูกใจยังได้รับการยอมรับด้วยว่า มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อุดมด้วยแร่ธาตุและวิตามินซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่จะเป็นความจริงหรือไม่ เรามาลองดูผลวิเคราะห์ตัวอย่าง “น้ำส้มคั้น” ที่นิตยสารฉลาดซื้อ โดยโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ  นำมาทดสอบ ทั้งคุณภาพทางเคมี ได้แก่ วัตถุกันเสีย(กรดซอร์บิกและกรดเบนโซอิก) ปริมาณน้ำตาล การตรวจวิเคราะห์หาการตกค้างของสารเคมีการเกษตร และการวิเคราะห์หาการตกค้างของยาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ซึ่งเก็บตัวอย่างกันแบบสดใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 30 ตัวอย่าง โดยเกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่าง คือ        1.เก็บจากสถานที่จำหน่ายน้ำส้มคั้นสด จำนวน 25 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดเชียงใหม่(1 ตัวอย่าง)  และ        2.น้ำส้มบรรจุกล่องผ่านการพาสเจอร์ไรซ์ ที่ระบุบนฉลากว่าเป็นน้ำส้ม 100 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 5 ตัวอย่าง ผลวิเคราะห์เฉพาะตัวอย่างที่ส่งตรวจเท่านั้นเก็บตัวอย่างสินค้าเดือนสิงหาคม 2562หมายเหตุ 1.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง            2.กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ(น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่าเป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติ   สรุปผลการทดสอบ          1.การวิเคราะห์สารเคมีกำจัดศัตรูพืชแบบ Multi-Pesticide Residues พบว่า มีตัวอย่างน้ำส้มจำนวน 18 ตัวอย่าง มีสารเคมีตกค้าง โดยสรุปในแต่ละตัวอย่างพบสารพิษตกค้างตั้งแต่ 1-7 ชนิด และการทดสอบครั้งนี้พบสารพิษตกค้างทั้งสิ้นจำนวน 14 ชนิด ได้แก่ Acequinocyl, Acetamiprid, Azoxystrobin, Carbendazim, Carbofuran, Carbofuran-3-hydroxy, Chlorpyrifos, Ethion, Fenobucarb, Imazalil, Imidacloprid, Methomyl, Profenofos และ Prothiofos โดยตัวอย่างที่พบสารพิษตกค้างเป็นตัวอย่างที่มาจากการคั้นสดแล้วบรรจุขวดขายโดยตรงแก่ผู้บริโภค รวมทั้งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับเครื่องหมาย อย. และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น Orange Juice Pulp, Tipco Squeeze SHOGUN และ Tipco ส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น          เมื่อเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานเพื่อวิเคราะห์ผล ปรากฎว่าตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 356) พ.ศ. 2556 เรื่อง เครื่องดื่มในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท และประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม (ฉบับที่ 3635) พ.ศ. 2549 กําหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำผลไม้ : น้ำส้ม มาตรฐานเลขที่ มอก. 99 – 2549 ไม่พบการกำหนดค่าสารพิษตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในน้ำส้มในประกาศทั้ง 2 ฉบับ         อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาตามประกาศกระทรวงสารณสุข ฉบับที่ 387 พ.ศ.2560 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง และประกาศฯ ฉบับที่ 393 พ.ศ. 2561 เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) มาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกษ.) กรมวิชาการเกษตร และมาตรฐาน CODEXพบว่าไม่มีตัวอย่างใดเกินค่ากำหนดปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในสินค้าเกษตร           2.การทดสอบหายาปฏิชีวนะ 4 ชนิด ได้แก่ Amoxycillin Ampicillin Benzyl penicillin และ Tetracycline ผลทดสอบไม่พบยาทั้ง 4 ชนิดในทุกตัวอย่าง          3.การทดสอบวัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกผลทดสอบ พบกรดเบนโซอิกใน 3 ตัวอย่าง ได้แก่ ส้มฝากนาย(190 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อุดมพันธุ์(50.8  มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Healthy Plus(66.6 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) พบกรดซอร์บิกใน 2 ตัวอย่าง ได้แก่  Healthy Plus(52.4 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) และ Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง(43.1 มิลลิกรัม/กิโลกรัม)  ซึ่งปริมาณที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 คือ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        อย่างไรก็ตาม น้ำส้มอุดมพันธุ์ Malee และ Healthy Plus ทั้งสามผลิตภัณฑ์ระบุว่า ไม่ใช้วัตถุกันเสีย ดังนั้นเมื่อพิจารณาจากปริมาณกรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิกที่พบในปริมาณต่ำ (น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/กิโลกรัม) อาจเป็นไปได้ในทางทฤษฎีว่า เป็นสารที่ได้จากผลไม้ตามธรรมชาติไม่ได้มีการใส่สารเคมีเจือปนลงไปจากข้อมูลบทความเรื่อง สารกันบูด เรื่องจริงบางอย่างที่คุณอาจยังไม่รู้ ตีพิมพ์ในฉลาดซื้อ ฉบับที่ 203 โดย ดร.วิสิฐ จะวะสิต  กล่าวว่า “สารกันบูดมีหลากหลายชนิด ทั้งที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์  ซึ่งสารกันบูดที่อยู่ในรูปสารอินทรีย์ ได้แก่ กรดอินทรีย์ ชนิดต่างๆ เช่น กรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก กรดโพรพิโอนิก สารกันบูดที่เป็นกรดอินทรีย์ยังพบในพืชหลายชนิดตามธรรมชาติและยังสามารถสร้างได้โดยจุลินทรีย์บางชนิด เช่น กรดเบนโซอิกมีพบในผลไม้พวกเบอรี่หลายชนิด เครื่องเทศจำพวกอบเชย และนมเปรี้ยว ผลแครนเบอรี่เป็นตัวอย่างของผลไม้ที่มีกรดเบนโซอิกในปริมาณที่สูงมาก กรดซอร์บิกก็มีพบในผลไม้หลายชนิดเช่นกัน...”         ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อได้ส่งตรวจยืนยันอีกครั้ง พบว่า มีวัตถุกันเสีย ใน 2 ตัวอย่างเท่านั้น คือ ส้มฝากนาย พบกรดเบนโซอิก 176.11 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และ Healthy Plus พบ เบนโซอิก 53.46 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และกรดซอร์บิก 2 41.51 มิลลิกรัม/กิโลกรัม        4.ปริมาณน้ำตาล ผลทดสอบพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 9.84 กรัม/100 มิลลิลิตร (ใกล้เคียงกับปริมาณน้ำตาลในน้ำส้มคั้นที่เคยมีผู้วิจัยไว้ คือ 8.4 กรัม/หน่วยบริโภค 100 กรัม ที่มา www.CalForLife.com) โดยยี่ห้อที่มีน้ำตาลมากกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่ฉลาดซื้อนำมาทดสอบ ได้แก่                      Orange Juice Healthy Valley                   13.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    C-orange                                                 13.4 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Gourmet Juice by Hai Fresh Juice         13.3 กรัม/100 มิลลิลิตร                    เจ้ทิพย์ จี้ดจ้าด                                          12.8 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Fram Fresh                                             12.5 กรัม/100 มิลลิลิตร                    Kiss Cjuice                                              12.5  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Teddy Zero                                              12     กรัม/100 มิลลิลิตร                    The Orange                                            11.8  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Orangee                                                  11.4  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Beautea                                                   11.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Tipco Squeeze Shogun                           10.3  กรัม/100 มิลลิลิตร                    Malee จากส้มสายน้ำผึ้ง                             10.1  กรัม/100 มิลลิลิตร------------------กินน้ำส้มดีหรือร้ายต่อสุขภาพ          หลายคนมีความเชื่อว่า น้ำส้ม เป็นน้ำผลไม้ที่ดี มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เพราะมีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยเฉพาะพวกวิตามิน ซี แต่ในขณะเดียวกันความเห็นของนักวิชาการทางด้านสุขภาพ ยังคงแสดงความเป็นห่วงว่า น้ำจากผลไม้ ไม่เฉพาะน้ำส้มเท่านั้น อาจทำให้ร่างกายได้รับอันตรายจากปริมาณน้ำตาลที่สูงเกินไป ทำให้ติดหวานและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้          ที่มาของความห่วงใยนี้เกิดจากความกังวลที่นักวิชาการด้านสุขภาพพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เข้าใจว่า การดื่มน้ำผลไม้มีประโยชน์มากกว่าดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำชา กาแฟที่มีการผสมน้ำตาล แต่ความจริงคือ ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลที่มีอยู่ในผลไม้ตามธรรมชาติ หรือน้ำตาลที่มีการผสมเข้าไปในเครื่องดื่มอย่าง น้ำอัดลม ชาเขียว ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพไม่ต่างกัน “เมื่อคุณดื่มน้ำผลไม้ลงไปแล้ว ท้องของคุณไม่รู้หรอกว่านั่นคือน้ำส้มคั้นหรือโคล่า”          การกินผลไม้ตามลักษณะธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่งเราจะได้น้ำตาลในระดับที่ก่ออันตรายต่อสุขภาพน้อยกว่าน้ำผลไม้(หากกินไม่มาก) เพราะปริมาณของน้ำหรือกากใยที่อยู่ในเนื้อผลไม้จะช่วยให้เราอิ่มไว แต่การดื่มน้ำที่คั้นจากเนื้อผลไม้ เช่น น้ำส้ม มันดื่มได้ง่ายและไว ดังนั้นโอกาสที่เราจะได้รับปริมาณน้ำตาลมากเกินไปจึงมีสูง อีกทั้งยังสูญเสียคุณประโยชน์ในส่วนกากใยอาหารไปด้วย หรือบางทีอาจมีการเติมน้ำตาลเพิ่มเข้าไปอีกเพื่อปรับปรุงรสชาติของน้ำผลไม้ยิ่งทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลมากขึ้น(ขอบคุณข้อมูลจาก https://health.kapook.com/view80221.html)  น้ำส้มคั้น เขาทำขายกันอย่างไร          ส้มเขียวหวาน ส้มแมนดาริน ส้มสายน้ำผึ้ง ส้มเช้ง...เมืองไทยเรานี้ก็มีส้มหลากหลายสายพันธุ์จนหลายคนอาจจะงงๆ เหมือนกันว่า อะไรแบบไหนจะดีกว่ากัน หรือน้ำส้มคั้นที่เห็นขายกันทั่วไปนั้น เขาใช้ส้มอะไรมาคั้น แท้ไม่แท้ ผสมน้ำตาลหรือเปล่า ใส่สารกันบูดไหม หรือจริงๆ แล้วเป็นแค่หัวเชื้อ(น้ำส้มเข้มข้น)ผสมกับน้ำ น้ำเชื่อมกันแน่          สำหรับผู้บริโภคถ้าให้มั่นใจว่าคั้นจากผลส้มจริงๆ เราก็คงต้องเห็นกับตาว่าเขาคั้นสดๆ ต่อหน้าจริง แบบนี้ก็จะหวานด้วยน้ำตาลที่มีอยู่ในผลส้มตามธรรมชาติ (ซึ่งถ้ายังหวานไม่พอก็อาจมีการเติมน้ำเชื่อม และเกลือเพื่อปรุงรส) โดยทั่วไปการทำน้ำส้มคั้นบรรจุขวดขายในปัจจุบันนั้นผู้ค้าจะมีสูตรเฉพาะของตนเอง หลักๆคือการผสมน้ำส้มคั้นจากผลส้มหลายสายพันธุ์ด้วยกัน เพื่อให้เกิดรสชาติที่อร่อยลงตัว เช่น น้ำส้มจากส้มเขียวหวานผสมกับส้มสายน้ำผึ้ง เป็นต้น เพราะส้มแต่ละสายพันธุ์จะมีคุณสมบัติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว บางพันธุ์หวานเข้ม บางพันธุ์เปรี้ยวมากกว่าหวานแต่กลิ่นหอม  บางพันธุ์เนื้อส้มเป็นเกล็ดสวย ฯลฯ ซึ่งสูตรพวกนี้จะไม่ค่อยเปิดเผยต่อสาธารณะ มักจะซื้อขายกันเรียกว่าเป็นความลับทางการค้า          อย่างไรก็ตามพอจะรวบรวมมาฝากโดยสรุป ดังนี้          1.น้ำส้มคั้นจากส้มสายพันธุ์เดียว          2.น้ำส้มคั้นจากส้มหลายสายพันธุ์ผสมกัน          3.น้ำส้มคั้นจากการผสมหัวเชื้อน้ำส้ม น้ำ น้ำเชื่อมกับน้ำส้มคั้นธรรมชาติเพื่อปรุงแต่งให้มีกลิ่นและรสสัมผัสคล้ายส้มตามธรรมชาติ           ทั้งนี้บางผู้ผลิตอาจมีการเติมน้ำตาลและเกลือเพื่อปรับรสชาติให้กลมกล่อมขึ้น  และอาจเติมวัตถุกันเสียลงไปด้วย          สำหรับวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ ได้แก่ กรดซอร์บิก กรดเบนโซอิก ซึ่งตามกฎหมายอาหาร อนุญาตให้ผสมได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร(ฉบับที่ 5) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 น้ำส้มสายชู..เพื่อสุขภาพ ?

หลายท่านคงเคยถูกชักชวนให้ดื่มน้ำส้มสายชูเพื่อให้มีสุขภาพดี ประเด็นนี้ก่อความประหลาดใจแก่ผู้เขียนเป็นอย่างยิ่ง(เพราะปรกติเรามักใส่น้ำส้มสายชูใน ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ผัดไทย ราดหน้า หรือนำไปดองผักผลไม้ หรือแม้แต่ใช้ล้างเครื่องซักผ้าตามคำแนะนำของช่างซ่อมเครื่อง) เนื่องจากมองหาเหตุผลไม่ได้ว่า น้ำส้มสายชูช่วยให้สุขภาพดีได้อย่างไร ถ้าไม่กินอาหารให้ครบห้าหมู่ในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมทั้งการออกกำลังกายที่เพียงพอน้ำส้มสายชูนั้นมีคำเรียกในภาษาอังกฤษว่า Vinegar ซึ่งเมื่อดูประวัติที่มาของศัพท์คำนี้ก็พบว่า เป็นคำที่ตั้งขึ้นจากการสังเกตของคนโบราณที่พบว่า ถ้าหมักไวน์เกินเวลาที่เหมาะสม ไวน์นั้นกลับมีรสเปรี้ยวขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์อธิบายว่า จุลชีพหลักที่อยู่ในไวน์ได้เปลี่ยนจากยีสต์ ซึ่งทำหน้าที่เปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลจนสุดท้ายเป็นแอลกอฮอล์ ไปเป็นแบคทีเรียซึ่งเปลี่ยนแอลกอฮอลไปเป็นกรดอะซิติก ทำให้ได้น้ำส้มสายชูธรรมชาติ ซึ่งควรมีความเข้มข้นของกรดไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ตามมาตรฐานของ Codex และสหภาพยุโรป โดยทั่วไปแล้วน้ำส้มสายชูธรรมชาตินั้นแบ่งง่าย ๆ เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ น้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักผลไม้และน้ำส้มสายชูที่ได้จากการหมักพืชอื่น ๆ ด้วยจุลชีพที่มีในธรรมชาติ(หรือที่มีการคัดเลือกพันธุ์เฉพาะไว้เมื่อเป็นการผลิตในโรงงานใหญ่ที่ต้องการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน) ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มักถูกใช้ในการปรุงอาหารหรือผลิตอาหารบางชนิด อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีผู้คิดว่า น้ำส้มสายชูควรมีประโยชน์โดยตรงต่อสุขภาพของผู้บริโภคนอกเหนือไปจากเป็นเครื่องปรุงอาหาร ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำส้มสายชูต่อสุขภาพที่พบในอินเทอร์เน็ต เช่น ฤทธิ์ฆ่าแบคทีเรียและเชื้อรา ต้านพิษแมงกะพรุนและบรรเทาผิวไหม้แดด บำบัดอาการปวดศีรษะ เจ็บกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดท้อง ป้องกันการติดเชื้อที่หูชั้นนอก บำบัดแผลพุพองในปากแห้ง ทำให้ผมเงางาม ผิวพรรณนุ่มนวล ลดโคเลสเตอรอลและป้องกันการเกิดเบาหวานขั้นต้น และที่ผู้เขียนค่อนข้างสนใจมากคือ มีผู้ที่เชื่อว่า นํ้าส้มสายชูผสมน้ำผึ้งกับนํ้าอุ่นช่วยให้หายปวดตะคริวที่ขา ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์ในการเล่นกีฬาที่ใช้กำลังกายสูง อย่างไรก็ดีการพิสูจน์ประโยชน์ต่าง ๆ ของน้ำส้มสายชูนั้นยังมีเจ้าภาพในการพิสูจน์ที่เป็นระบบทางวิทยาศาสตร์ค่อนข้างน้อย อาจเพราะไม่มีใครสามารถจดสิทธิบัตรน้ำส้มสายชูได้นั่นเองอย่างไรก็ตามในวันหนึ่งของเดือนเมษายน 2560 ซึ่งร้อนจนตับแทบสุก ผู้เขียนก็ได้พบข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตในหัวข้อเรื่อง How Apple Cider Vinegar May Help With Weight Loss ซึ่งเขียนโดย Markham Heid ในเว็บ http://time.com/time-health เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2017 โดยกล่าวว่า มีนักวิจัยของบริษัท Mizkan Group Corporation (www.mizkan.net/profile) ซึ่งเป็นบริษัทที่ขายน้ำส้มสายชูและเครื่องปรุงรสต่างๆ ในญี่ปุ่นเคยตีพิมพ์ผลงานวิจัยเรื่อง Vinegar Intake Reduces Body Weight, Body Fat Mass, and Serum Triglyceride Levels in Obese Japanese Subjects ในวารสาร Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry หน้าที่ 1837–1843 ของชุดที่ 73 เมื่อปี 2009 ความโดยย่อจากผลงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้คือ จากการให้อาสาสมัคร(กลุ่มละ 58-59 คน) ซึ่งมีอายุระหว่าง 25-60 ปี (ที่จัดว่าอ้วนเพราะมีดัชนีมวลกาย 25-30 กิโลกรัม/ตารางเมตร) ดื่มน้ำส้มสายชูทำจากแอปเปิ้ล ที่เจือจางด้วยน้ำสะอาดให้มีความเข้มข้นตามกำหนด (ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่ามี กรดอะซิติกเท่ากับ 0, 750 หรือ 1,500 มิลลิกรัม ในน้ำ 500 มิลลิลิตรต่อวัน) นาน 12 สัปดาห์ สามารถช่วยลดน้ำหนัก ดัชนีมวลกาย ไขมัน (visceral and subcutaneous fat) และดัชนีอื่น ๆ ที่ตรวจวัดได้อย่างน่าประทับใจคนทำวิจัย อย่างไรก็ดีสำหรับผู้เขียน เมื่อดูข้อมูลจากบทความที่ตีพิมพ์แล้วกลับรู้สึกว่า มันก็งั้น ๆ ทั้งนี้เพราะค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวเมื่อจบการวิจัย(สัปดาห์ที่ 12) ของอาสาสมัครที่กินน้ำส้มสายชูสูงสุด(1,500 มิลลิกรัม) คือ 71.2 ± 8.3 กิโลกรัม(สัปดาห์ที่ 0 หนัก 73.1 ± 8.6) ในขณะที่กลุ่มที่ไม่ได้กินน้ำส้มสายชู(Placebo group) นั้นมีน้ำหนักเมื่อจบการวิจัยคือ 74.6 ± 11.3 (สัปดาห์ที่ 0 หนัก 74.2 ± 11.0) ซึ่งดูไม่น่ามีความหมายเท่าใด เพราะน้ำหนักตัวผู้เขียนก็เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาในช่วง 2-3 กิโลกรัม โดยไม่ต้องดื่มน้ำส้มสายชูจากบทความของ Markham Heid ซึ่งผู้เขียนได้อ่านนั้น เขาได้สัมภาษณ์ Dr.Carol Johnston ซึ่งเป็นอาจารย์ด้าน โภชนาการและการส่งเสริมสุขภาพ ของมหาวิทยาลัย Arizona State University ผู้ให้ความเห็นว่า น้ำส้มสายชูนั้นคงเข้าไปปรับเปลี่ยนในกระบวนการใช้พลังงานของร่างกาย เช่น การกระตุ้นให้มีการเผาผลาญไขมัน นอกจากนี้ Markham Heid ยังกล่าวว่าเขาพบงานวิจัยอีกชิ้นที่ตั้งสมมุติฐานว่า การดื่มน้ำส้มสายชูช่วยลดน้ำหนักเพราะ ก่อให้ผู้ที่ดื่มเกิดอาการคลื่นไส้จนกินอาหารไม่ลงความรู้สึกที่ดีต่อการดื่มน้ำส้มสายชูของ Dr. Johnston อีกเรื่องนั้น เกี่ยวกับผลการวิจัยของเธอเองซึ่งพบสมมุติฐานว่า น้ำส้มสายชูมีแนวโน้มในการลดระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการไปลดการดูดซึมอาหารกลุ่มที่ทำจากแป้ง เช่น พิซซ่า ซึ่งฟังแล้วดูดีต่อผู้ที่ใกล้จะมีอาการเบาหวาน ที่มักมีระดับน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นทุกครั้งหลังอาหารนอกจากนี้ Dr. Johnston ยังให้ข้อสังเกตว่า อาหารเมดิเตอเรเนียน ซึ่งถูกจัดให้เป็นอาหารสุขภาพนั้นก็มีน้ำส้มสายชูเป็นองค์ประกอบในปริมาณที่น่าสนใจ ซึ่งผู้บริโภคสามารถประยุกต์สู่พฤติกรรมการบริโภคในแต่วันได้ เช่น การใช้น้ำส้มสายชูปริมาณสูงหน่อยกับสลัดผักในมื้ออาหารสำหรับชนิดของน้ำส้มสายชูที่ควรค่าแก่การดื่มหรือปรุงอาหารนั้น Dr. Johnston กล่าวเพียงว่า ขอแค่เป็นน้ำส้มสายชูก็พอ จะผลิตจากพืชอะไรก็ได้ ผลมันก็ดูจะเหมือนกันในประเด็นการลดน้ำหนักที่เธอสนใจ แต่ถ้าเป็นประเด็นอื่นก็ต้องว่ากันเป็นเรื่องๆ ไป เช่น ความสามารถในการลดความดันโลหิตสูงของน้ำส้มสายชู  ซึ่งผู้เขียนค่อนข้างสนใจในเรื่องนี้เช่นกันผลของน้ำส้มสายชูต่อความดันโลหิตนั้น มีงานวิจัย(ที่ใช้หนูทดลอง) ของ Shino Kondo และคณะนักวิจัยของบริษัท Mitsukan Group Corporation (ซึ่งผลิตสินค้าเกี่ยวกับอาหารและมีหน่วยงานวิจัยด้านไบโอเท็คขั้นสูงจนสามารถขอสิทธิบัติเกี่ยวกับยีนทนกรดน้ำส้มของแบคทีเรีย) ชื่อ Antihypertensive Effects of Acetic Acid and Vinegar on Spontaneously Hypertensive Rat ผลงานนี้ตีพิมพ์ในวารสาร Bioscience, Biotechnology, and Biochemistry (ซึ่งเป็น online journal ดังนั้นผู้อ่านจึงต้องใช้ กาลามสูตรกังขานิยฐาน 10 ในการอ่านบทความนี้) เมื่อปี 2001 ซึ่งมีผลการวิจัยโดยสรุปว่า หนูที่ได้กินอาหารเหลวซึ่งมีน้ำส้มสายชูที่ทำจากข้าวเป็นองค์ประกอบ (คำนวณเป็นกรดอะซีติก 46.2 กรัมต่อลิตรของอาหาร) นั้น เมื่อวัดปริมาณ angiotensin II ในเลือดพร้อมกับการทำงานของ reninพบว่าลดลง (ค่าทั้งสองนี้เป็นปัจจัยในการเพิ่มความดันโลหิตมนุษย์) สำหรับความรู้สึกในการดื่มน้ำส้มสายชูทำจากผลไม้นั้น กล่าวบรรยายเป็นตัวอักษรได้ค่อนข้างยาก เลยไม่รู้ว่าควรยกนิ้วอะไรให้ เพราะหลังจากดื่มอึกแรกเข้าไปผู้เขียนรู้สึกว่า คอหอยมันระคายเคืองด้วยฤทธิ์กัดของกรดอะซิติก (ที่มีความเข้มข้นราวร้อยละ 5) ประสบการณ์ครั้งนั้นเกิดเนื่องจากมีนักศึกษาขอทำสัมมนาวิชาการเรื่อง เมื่อน้ำส้มสายชูเป็นมากกว่าเครื่องปรุง โดยนักศึกษาผู้นั้นได้ลงทุนซื้อน้ำส้มสายชูจากแอปเปิ้ลที่บรรจุกล่องแบบเดียวกับน้ำผลไม้ขนาด 150 มิลลิลิตร (ปัจจุบันสินค้านี้ไม่เห็นมีวางตลาดแล้ว) มาให้กรรมการคุมการสัมมนาดื่ม ซึ่งก็เป็นครั้งแรกและคงเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิตผู้เขียนที่ดื่มเครื่องดื่มนี้ดังนั้นผู้บริโภคพึงคำนึงว่า ถ้าต้องการได้ประโยชน์จากสารธรรมชาติที่ถูกกล่าวว่า พบในน้ำส้มสายชูเหล่านี้จริง ทำไมจึงไม่จ่ายเงินซื้อในรูปผลไม้ซึ่งได้ประโยชน์มากมายพร้อมความอร่อย แล้วค่อยตั้งหลักไปกินน้ำส้มสายชูใน ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ ซอสมะเขือเทศ ผักดองน้ำส้มต่าง ซึ่งถูกกว่าและง่ายกว่าต่อการมีชีวิตบนโลกใบนี้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 170 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2558 พบกล่องทีวีดิจิตอลตกมาตรฐาน น.ส.สุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภค เปิดเผยว่า สำนักงาน กสทช.ได้แจ้งมายังบอร์ด กสท.ว่าจากการสุ่มตรวจมาตรฐานทางเทคนิคของกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลในตลาดจำนวน 20 รุ่น พบว่ามีกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลจำนวน 6 รุ่น จาก 4 ยี่ห้อ มีการใช้ระบบเสียงไม่ถูกต้องตามตามที่แจ้งไว้ต่อ กสทช. ซึ่งจากนี้จะมีคำสั่งให้ผู้ประกอบการทั้ง 4 ยี่ห้อที่มีการจำหน่ายสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานเดินทางมาชี้แจงยัง กสทช.โดยด่วน กล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอลที่ไม่ผ่านมาตรฐานทางเทคนิค ได้แก่ ยี่ห้อเอเจ รุ่น SVB-93 และ รุ่น DVB-92, ยี่ห้อครีเอเทค รุ่น CT-1 และ CT4, ยี่ห้อฟินิกซ์ รุ่น T2color และ ยี่ห้อโซเคน รุ่น DB233 สำหรับผู้บริโภคที่ได้นำคูปองไปแลกซื้อกล่องที่การตรวจพบว่าไม่ได้มาตรฐานไปแล้ว หากเกิดปัญหาจากการใช้สินค้า ทาง กสทช.จะหารือกับผู้ประกอบการเพื่อทางแก้ปัญหาให้กับผู้บริโภคที่ได้รับผลกระทบ ----------------------------------------------------------------------------------------   ห้ามใช้แล้ว!!! สาร “บีพีเอ” ในขวดนม จากนี้ไปคุณแม่ที่จะซื้อขวดนมให้ลูกน้อยต้องดูให้ดีว่าขวดนมพลาสติกที่ซื้อทำมาจากพลาสติกชนิดที่ชื่อว่า “พอลิคาร์บอเนต” หรือเปล่า เพราะอาจเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสาร “บีพีเอ” หรือ สารบิสฟีนอลเอ ซึ่งเป็นสารที่ อย.ยืนยันแล้วว่าอาจเป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง โดยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 369) พ.ศ. 2558 เรื่อง ขวดนม และภาชนะบรรจุนมสำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อควบคุมการใช้สารพีบีเอในขวดนมและภาชนะสำหรับทารกอีกหลายประเภท กฎหมายฉบับนี้ควบคุบผลิตภัณฑ์สำหรับทารก ทั้งผลิตภัณฑ์ประเภทขวดนมและภาชนะบรรจุนมสำหรับทารกและเด็กเล็กแบบใช้ซ้ำ เช่น ถ้วยหัดดื่ม ห้ามใช้พอลิคาร์บอเนตโดยเด็ดขาด โดยวัสดุอื่นทดแทน ได้แก่ แก้วชนิดบอโรซิลิเคต และพลาสติกชนิดพอลิพรอพิลีน พอลิอีเทอร์ซัลโฟน ส่วนภาชนะบรรจุนมสำหรับทารกและเด็กเล็กแบบใช้ครั้งเดียว เช่น ถุงพลาสติกที่ใช้เก็บน้ำนมมารดา ถุงพลาสติกบรรจุนมแบบใช้ครั้งเดียวที่ต้องใช้ร่วมกับขวดนม ให้ใช้วัสดุที่อนุญาต ได้แก่ พอลิพรอพิลีน และ พอลิเอทิลีน สำหรับหัวนมยาง ให้ใช้วัสดุที่อนุญาตได้แก่ ยางธรรมชาติ ยางสังเคราะห์ ปัจจุบันแม้องค์การอนามัยโลกยังไม่ได้จัดสารบีพีเอเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ก็มีข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลอง ว่าสารพีบีเออาจมีผลไปขัดขวาง การทำงานของฮอร์โมนเอสโทรเจนในร่างกาย ส่งผลกระทบต่อระบบการสืบพันธุ์และระบบการผลิตฮอร์โมน นอกจากนี้หลายๆ ประเทศมีการห้ามผลิตหรือจำหน่ายขวดนมพอลิคาร์บอเนตแล้ว เช่น สหภาพยุโรป แคนาดา เป็นต้น -------------------------------------------------------------------------------- “คะน้า - ถั่วฝักยาว” เจอสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN ได้แถลงผลการสุ่มทดสอบการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช พบว่ามีผักที่มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุขสูงถึง 22.5% โดยพบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานในกะเพรามากที่สุด 62.5% ถั่วฝักยาวและคะน้าพบ 32.5% ผักบุ้งจีน กวางตุ้ง และมะเขือเปราะพบตกค้าง 25% แตงกวาและพริก12.5% ส่วนผักกาดขาวปลีและกะหล่ำปลีไม่พบการตกค้าง จากผลที่ออกมาทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ต้องออกสุ่มทดสอบผักในท้องตลาดด้วยเช่นกัน เพราะถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งผลที่ได้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ยอมรับว่ามีผักที่พบสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานอยู่ในท้องตลาดจริง แม้จะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วไม่เท่ากับผลของทาง Thai-PAN แต่นั้นก็เป็นการยืนยันชัดเจนว่าคนไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพจากกินผัก โดยผัก 2 ชนิดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่าที่การตกต้างของสารเคมีค่อนข้างสูงคือ คะน้าและถั่วฝักยาว โดยหลังจากนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะส่งเจ้าหน้าที่ไปสุ่มตรวจผักตามตลาดต่างๆ เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง ผู้บริโภคก็ต้องเพิ่มความระมัดระวังในการซื้อผัก เลือกซื้อผักตามฤดูกาล และล้างผักให้สะอาดก่อนรับประทาน ------------------------------------------------------------------------------------ “ผักเม็ด-ส้มเม็ด” หลอกลวงสรรพคุณ คนป่วยกินอาการยิ่งทรุด คนไทยยังคงตกเป็นเหยื่อของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหลอกลวงสรรพคุณ ล่าสุดพบอาหารเสริม “ผักเม็ด” และ “ส้มเม็ด” โฆษณาอวดอ้างว่าสามารถรักษาโรคเบาหวานได้ เมื่อมีผู้ป่วยหลงเชื่อคำโฆษณาหาซื้อมารับประทานกลับพบว่าอาการทรุดลง อาการแผลที่เท้าซ้ายบวมแดงและปวดมากกว่าปกติ อีกทั้งยังพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงถึง 552 mg (ซึ่งค่าปกติควรอยู่ที่ 82 - 110 mg) ผักเม็ดมีลักษณะภายในเป็นของเหลวคล้ายน้ำมันตับปลา ส่วนส้มเม็ดมีลักษณะเป็นผงบรรจุในแคปซูล โดยผู้ขายแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารดังกล่าวชนิดละ 4 เม็ด เช้า - เย็น และให้ใช้ทาแผลด้วย อย.ฝากเตือนถึงที่คิดจะกินอาหารเสริมเพื่อหวังผลในการรักษาโรคนั้น ขอให้คิดไว้เสมอว่าเป็นเรื่องที่โอ้อวดหลอกลวง เพราะอาหารไม่ใช่ยา ไม่มีผลในการรักษาโรค ยิ่งผู้ที่มีโรคประจำตัว ต้องรับประทานอาหารเสริมอย่างระมัดระวังเพราะอาจส่งผลต่อการเจ็บป่วยหนักได้ -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   เคลือบฟันเทียม “วีเนียร์” ระวังได้ไม่คุ้มเสีย การเคลือบสีฟันเทียม หรือ วีเนียร์ (veneers) ซึ่งเป็นวิธีการที่ช่วยทำให้สีฟันขาวขึ้นและปรับรูปฟันให้สวยงาม กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากโดยเฉพาะกับกลุ่มสาวๆ ที่อยากมีฟันขาวสว่างใส พร้อมกับการที่มีสถานเสริมความงามด้านทันตกรรมเปิดให้บริการเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่การทำเคลือบสีฟันมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของฟันและเหงือกทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การทำเคลือบผิวฟันเทียม คือการแปะวัสดุลงบนผิวฟันเพื่อเปลี่ยนสีผิวฟัน ซึ่งเดิมทีมีไว้ใช้แก้ปัญหาผู้ที่มีผิวฟันสีผิดปกติ เช่น ฟันตกกระ ฟันเป็นแถบสีน้ำตาลหรือดำ จากการกินยาแก้อักเสบกลุ่มเตตราไซคลิน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยวิธีการฟอกสีฟันได้ ซึ่งวิธีดังกล่าวจะต้องกรอผิวฟันออกไปเล็กน้อยเพื่อแปะวัสดุใหม่ลงไปให้เท่ากับผิวฟันเดิมไม่ให้นูนขึ้นมามากเกินไป ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่าการกรอฟันเป็นการทำลายผิวเคลือบฟันที่ดีออกไปและจะไม่มีวันขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้การปิดวัสดุนั้นต้องทำด้วยเทคนิคที่ดี วัสดุที่ปิดฟันต้องพอดีกับตัวเนื้อฟันไม่มีส่วนเกินเข้าไปในเหงือก หรือ มีรูรั่ว เพราะอาจทำให้เกิดเหงือกอักเสบ เกิดหินปูน เหงือกร่น ทำให้เกิดพื้นที่ให้เชื้อโรคไปเกาะและเกิดปัญหากลิ่นปากได้ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะทำเคลือบฟันเทียมต้องศึกษาให้ดี เคลือบฟันเทียบย่อมไม่มีแข็งแรงเท่าเคลือบฟันแท้ และการทำให้สีฟันขาวขึ้นยังมีวิธีอย่างการฟอกสีฟันซึ่งไม่ส่งผลเสียต่อเคลือบฟัน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์พฤศจิกายน 2557 ห้ามจำหน่าย “ภาชนะปนเปื้อนสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์” คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (คคบ.) ได้มีคำสั่ง ห้ามจำหน่าย "ภาชนะหรือเครื่องใช้สำหรับบรรจุหรือสัมผัสอาหารที่ผลิตจากสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์" หลังจากพบข้อมูลยืนยันชัดเจนแล้วว่า สารดังกล่าวเป็นสารก่อมะเร็งซึ่งสามารถละลายออกมาปะปนในอาหาร เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ก่อนหน้านี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็เคยทดสอบการแพร่กระจายออกมาของฟอร์มาลดีไฮด์ จากกลุ่มตัวอย่างเมลามีนปลอม ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส 30 นาที ตามมาตรฐานการทดสอบผลิตภัณฑ์เมลามีนแท้ พบสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 37 ตัวอย่าง เมื่อทดสอบตามอุณหภูมิใช้งานที่ 80 องศาเซลเซียส หรือ 100 องศาเซลเซียส ซึ่งแจ้งไว้ในฉลากของผลิตภัณฑ์ พบฟอร์มาลดีไฮด์แพร่กระจายออกมาในน้ำที่ใช้ทดสอบ เกินค่ามาตรฐาน 38 ตัวอย่าง และเมื่อทำการทดสอบ โดยใช้ตัวแทนอาหารที่เป็นสารละลายกรดอะซิติก (acetic acid) หรือกรดน้ำส้ม ความเข้มข้นร้อยละ 4 โดยปริมาตร อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เพื่อเลียนแบบการใส่อาหารประเภทต้มยำหรือแกงส้มร้อนๆ พบฟอร์มาลดีไฮด์ออกมาเกินค่ามาตรฐาน 64 ตัวอย่าง และพบปริมาณที่สูงเกินกว่า 100 มิลลิกรัมต่อลิตร 38 ตัวอย่าง ภาชนะที่ผลิตจากสารยูเรียฟอร์มาลดีไฮด์ส่วนใหญ่จะเป็นภาชนะที่นำเข้าจากต่างประเทศ วางขายตามตลาดนัดมีสีมันฉูดฉาด ไม่มีการแจ้งผู้ผลิตหรือชนิดของพลาสติกที่ใช้ผลิต “น้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา” ฟอกฟันขาวได้จริงหรือ? อะไรที่ถูกแชร์ส่งต่อกันทางโลกออนไลน์ ต้องฟังหูไว้หู อย่าได้เชื่อตามทันที อย่างกรณีล่าสุด ที่มีการส่งต่อกันในสังคมออนไลน์ว่า “น้ำมะนาวผสมเบกกิงโซดา” นำมาฟอกฟันให้ขาวขึ้นได้ งานนี้ ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย จึงต้องออกมาไขข้อข้องใจ ว่าเรื่องนี้จริงเท็จประการใด การทำฟันขาวด้วยมะนาวผสมเบกกิงโซดา หรือโซเดียมไบคาร์บอเนต ถือเป็นคำแนะนำที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากน้ำมะนาวมีความเป็นกรดสูงจะละลายแคลเซียมออกจากผิวฟัน ทำให้ฟันกร่อน และกรดจากมะนาวยังระคายเคืองเหงือกอาจทำให้เหงือกอักเสบได้ เมื่อเคลือบฟันกร่อนทำให้มีอาการเสียวฟันตามมา และการที่เคลือบฟันถูกทำลายจะเพิ่มโอกาสเกิดฟันผุได้ง่ายอีกด้วย ส่วนเบคกิงโซดาเป็นสารที่มีความสามารถในการทำความสะอาด จึงสามารถกำจัดคราบต่างๆ ที่ติดบนผิวฟัน รวมถึงคราบสีจากการดื่มน้ำชา กาแฟ จึงทำให้ฟันขาวสะอาดขึ้น แต่ไม่สามารถทำให้ฟันขาวจากเนื้อฟันข้างในได้ ผู้ที่มีเหงือกอักเสบและเสียวฟันอยู่แล้วไม่ควรนำวิธีนี้มาใช้เพราะอาจเป็นอันตรายได้ นอกจากนี้ ผู้ที่จัดฟันไม่ควรใช้เบคกิงโซดาขัดฟัน เพราะจะทำให้กาวยึดเครื่องมือจัดฟันอ่อนตัวและหลุดได้   อย.เชือด!!! “ครีมมหัศจรรย์” Firmax 3 อย.เตือนผู้บริโภคอย่าหลงเชื่อหลงใช้ผลิตภัณฑ์ Firmax 3 ที่มีการอวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นครีมมหัศจรรย์ ใช้ทาตรงจุดชีพจร สามารถรักษาโรคต่าง ๆ ได้ เช่น โรคไซนัสอักเสบ ไทรอยด์ เบาหวาน ความดัน ริดสีดวงทวารหนัก อัมพฤต-อัมพาต ฯลฯ หลังทำการตรวจสอบแล้วว่าไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนกับทาง อย. หลักจากการตรวจสอบพบว่าผลิตภัณฑ์ Firmax 3 เป็นสินค้าที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ พบมีแหล่งกระจายผลิตภัณฑ์ดังกล่าวแห่งใหญ่อยู่ที่โคราชและหาดใหญ่ มีการจำหน่ายในลักษณะขายตรง ตัวสินค้าเองมีลักษณะเป็นเครื่องสำอางแต่กลับอวดอ้างสรรพคุณเป็นยารักษาโรค อย.จึงได้ดำเนินการทางกฎหมายกับร้านค้าที่จำหน่ายและผู้ที่นำเข้า หากผู้บริโภคคนไหนพบเห็นผลิตภัณฑ์ Firmax 3 หรือผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหรืออาหารเสริมที่โฆษณาอวดอ้างเกินจริงหรือแจ้งสรรพคุณว่ามีผลต่อการรักษาโรค สามารถแจ้งไปยัง อย.ให้ทำการตรวจสอบและเอาผิดได้ทันทีที่ สายด่วย อย. 1556   ส้มจีนมีใบ คือส้มผิดกฎหมาย? รู้หรือมั้ยว่า? ส้มจีนที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด หากมีใบติดมาที่ผลส้มด้วยอาจเป็นส้มที่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย ที่สำคัญอาจปนเปื้อนเชื้อโรค เพราะล่าสุด กรมวิชาการเกษตร ได้ออกมาประกาศชัดเจนว่า ส้มจีนที่มีใบติดมาห้ามนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เพราะเสี่ยงโรคและแมลงศัตรูพืช หากพบมีโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้พบว่ามีการนำส้มจีนที่มีใบติดเข้ามาจำหน่ายในไทยแบบผิดกฎหมาย เพราะขายได้ราคาดีกว่าส้มไม่มีใบ ซึ่งส้มจากจีนจะสามารถนำเข้ามาประเทศไทยได้อย่างถูกกฎหมายต้องมาจากสวนหรือโรงคัดบรรจุที่ผ่านการรับรอง มีใบรับรองสุขอนามัย และต้องไม่มีกิ่ง ก้านใบ ดิน ติดเข้ามาด้วย เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืช ที่สร้างความเสียหายต่อระบบการเกษตร แต่เพราะคนไทยเข้าใจผิด นิยมซื้อส้มที่มีใบติดเพราะเห็นว่าสวยงามกว่า คิดว่าเป็นส้มใหม่ เลยทำให้เกิดการลักลอบนำเข้ามาจำหน่ายแบบผิดกฎหมายเป็นจำนวนมาก     ค้านกฎหมาย จดสิทธิบัตร “กลิ่น-เสียง” สมาคมไทยอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน และภาคประชาชน ค้านกระทรวงพาณิชย์ที่มีการเสนอ ร่าง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่...) พ.ศ.... ที่ขยายความคุ้มครองไปยังเครื่องหมายการค้าที่เป็น “กลิ่นและเสียง” เหตุเพราะจะทำให้ประเทศไทยเสียประโยชน์และยังเป็นการทำร่างกฎหมายที่ขาดการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนอื่นๆ หากมีการประกาศใช้ พ.ร.บ. ฉบับนี้ ผลเสียที่จะเกิดขึ้นก็คือ เครื่องหมายการค้าในเรื่องกลิ่นจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์สุขภาพของประเทศ ซึ่งต้องใช้กลิ่นช่วยกลบและช่วยแต่งรสชาติของผลิตภัณฑ์ หากมีการแก้ไขคำจำกัดความให้มีการจดสิทธิบัตรเรื่องกลิ่น ซึ่งไม่ได้บ่งชี้ถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง หรือกลิ่นที่ไม่เป็นกลิ่นโดยธรรมชาติของสินค้านั้น จะนำไปสู่การละเมิดเครื่องหมายการค้าของผู้ถือสิทธิ์ได้ นำไปสู่ปัญหาเรื่องความไม่มั่นใจในการพัฒนาสูตรตำรับยาของบริษัทผู้ผลิตยาในประเทศ ส่งผลต่อการพัฒนาการผลิตยาชื่อสามัญออกสู่ตลาด ทำให้บริษัทยาข้ามชาติสามารถขายยาผูกขาดยาวนานยิ่งขึ้นโดยไม่จำเป็นต้องลดราคาเลยเพราะไม่มีคู่แข่ง ที่สำคัญการให้กลิ่นและเสียงจดเครื่องหมายการค้าได้ ถือว่าเกินไปกว่าข้อตกลงระหว่างประเทศ TRIPS + อีกทั้ง ไม่ใช่หลักสากล จากข้อมูลพบว่า ประเทศที่อนุญาตให้จดเครื่องหมายการค้าทั้งกลิ่นและเสียงได้นั้น มีอยู่เพียง 3 ประเทศคือ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ส่วนประเทศที่ให้จดได้เฉพาะเสียงมี 5 ประเทศคือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยใน 5 ประเทศนี้ 4 ประเทศแรก ยังไม่มีความชัดเจนในการจดเครื่องหมายการค้าที่เป็นกลิ่น ส่วนไต้หวันไม่มีการอนุญาต ซึ่งหลังจากกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอร่าง พ.ร.บ.เครื่องหมายการ พ.ศ.... ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา แต่มีการท้วงติงจากกระทรวงสาธารณสุข ครม.จึงมีมติให้กระทรวงพาณิชย์กลับไปพิจารณาอีกครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 141 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2555 ระวัง! “ทิ้นท์” ไม่ได้มาตรฐานทำปากพัง คงไม่ใช่เรื่องผิดถ้าสาวๆ จะรักสวยรักงาม เพราะใครๆ ก็อยากดูดี แต่เวลาจะแต่งหน้าทำผมทั้งทีเครื่องสำอางที่จะใช้ก็ต้องใส่ใจเลือกให้ดี เพราะถ้าใช้ของไม่ดีไม่มีคุณภาพไม่ผ่านมาตรฐาน ผลลัพธ์ไม่ใช่แค่แต่งออกมาแล้วไม่สวย แต่อาจต้องเจ็บป่วยด้วยโรคที่แถมมากับเครื่องสำอาง อย่างล่าสุดคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ออกมาเตือนถึงอันตรายของ “ทิ้นท์” เครื่องสำอางที่มีลักษณะเป็นเจลน้ำสีแดง ที่ใช้สำหรับทาบริเวณริมฝีปากเพื่อให้ริมฝีปากมีสีแดงอมชมพู ดูน่ารักสวยงาม ซึ่งกำลังได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มสาวๆ วัยรุ่น โดยส่วนใหญ่จะหาซื้อกันตามร้านค้าแผงลอยตามตลาดนัดทั่วไป ทาง อย. จึงเป็นห่วงผลิตภัณฑ์ที่วางขายตามท้องตลาดทั่วไปนั้น อาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน สีที่ใช้ในทิ้นท์อาจเป็นสีที่ห้ามใช้หรือมีส่วนผสมของสารอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ซึ่งเป็นโลหะหนัก หากสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมากอาจมีผลทำให้รู้สึกระคายเคืองอย่างรุนแรง อาการคลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว หรือถ้าใครที่แพ้อย่างรุนแรงอาจมีอาการปวดแสบปวดร้อนที่ริมฝีปาก เกิดอาการคัน บวม แดง ผิวหนังลอกเป็นขุย   อย. จึงฝากเตือนสาวๆ ที่อยากใช้ทิ้นท์ช่วยเพิ่มสีสันให้ริมฝีปาก ต้องไม่ลืมอ่านฉลากบนผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจ ซึ่งเครื่องสำอางที่ได้รับมาตรฐานจะต้องแสดง ชื่อเครื่องสำอาง ชนิดของเครื่องสำอาง ชื่อของสารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง วิธีใช้เครื่องสำอาง ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า ปริมาณสุทธิ วัน เดือน ปี ที่ผลิตและหมดอายุ ในกรณีที่เครื่องสำอางมีอายุการใช้น้อยกว่า 30 เดือน คำเตือน และที่สำคัญต้องแสดงเลขที่ใบรับแจ้งบนฉลากหรือกล่องผลิตภัณฑ์ -------------------------------------------------------------   เมื่อ “สารส้ม” ปนเปื้อนอลูมิเนียม “สารส้ม” ถือเป็นของคู่บ้านคนไทยเรามาอย่างยาวนาน หลายๆ ครอบครัวใช้สารส้มแกว่งในน้ำกินน้ำใช้เพื่อให้ตกตะกอน โดยเฉพาะในพื้นที่กันดารห่างไกลซึ่งระบบน้ำประปาน้ำสะอาดยังเข้าไม่ถึง แต่สารส้มแม้จะมีคุณประโยชน์ช่วยทำให้น้ำใสน่ากินน่าใช้แต่ก็ต้องรู้จักใช้อย่างพอดี เพราะล่าสุดกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการสุ่มตรวจสารส้มพบว่ามีการปนเปื้อนของอะลูมิเนียมเกินกว่าที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 135 (พ.ศ.2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนดให้มีอะลูมิเนียมได้ไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร แต่จากการที่กลุ่มงานพิษวิทยา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 พิษณุโลก ได้เฝ้าระวังอะลูมิเนียมในน้ำบริโภคหลังจากเกิดอุทกภัยในเขตจังหวัดพิษณุโลก ได้แก่ อำเภอพรหมพิราม อำเภอบางกระทุ่ม อำเภอบางระกำ และอำเภอเมือง พบการปนเปื้อนของอะลูมิเนียมเข้มข้นถึง 0.06 – 0.42 มิลลิกรัมต่อลิตรถึง 7 ตัวอย่าง ซึ่งสาเหตุสำคัญของการปนเปื้อนอาจมาจากการเติมสารส้ม เพื่อทำให้น้ำใสแต่มิได้มีการควบคุมปริมาณให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย อะลูมิเนียมที่เข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกดูดซึมแพร่กระจายผ่านทางระบบเลือดไปยังปอด ตับ กระดูก และสมอง และถูกขับออกจากร่างกายทางปัสสาวะผ่านไต ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกับการทำงานของไต และหากบริโภคน้ำที่มีปริมาณอะลูมิเนียมสูงเป็นเวลานานจะส่งผลต่อการทำงานของระบบประสาท และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำลังเร่งศึกษาถึงปริมาณและวิธีการใช้สารส้มที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ -------------------------------------------------   “ปลาดุกย่าง” แชมป์ของย่างเสี่ยงมะเร็ง ใครที่ชอบทานอาหารปิ้งย่างฟังทางนี้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้รายงานผลการสุ่มสำรวจการปนเปื้อนของสารเคมีในอาหารปิ้งย่าง โดยสารที่ตรวจวิเคราะห์เป็นกลุ่มสารก่อมะเร็ง เช่น สารเบนโซเอไพรีน เป็นสารประกอบในกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน ซึ่งเป็นกลุ่มสารเคมีที่มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์หรือการสลายทางเคมีของสารอินทรีย์โดยความร้อน แต่เป็นสารเคมีที่มีความเป็นพิษเฉียบพลันต่ำ แม้จะมีการทดลองพบว่าสารนี้มีผลก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง แต่ยังไม่พบข้อมูลที่เพียงพอว่าจะทำให้ก่อมะเร็งในคน สำหรับตัวอย่างอาหารที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ ไก่ย่าง ปลาดุกย่าง และหมูปิ้ง โดยเก็บตัวอย่างจากตลาดสดใน กทม.42 แห่ง รวม 101 ตัวอย่าง ซึ่งพบการปนเปื้อนมากที่สุดในตัวอย่างปลาดุกย่าง เฉลี่ยพบการปนเปื้อนอยู่ที่ 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม จากทั้งหมด 36 ตัวอย่าง รองลงมาคือ หมูปิ้ง 30 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน 0.3-1.3 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ตามด้วยไก่ย่าง 35 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนอยู่ที่ 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณสารที่พบยังถือว่ามีค่าต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ประกาศในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่กำหนดไว้ 5 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม แต่เพื่อความปลอดภัยในการทานอาหารปิ้งย่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ฝากถึงผู้จำหน่ายอาหารปิ้งย่างไม่ควรใช้ไฟแรงและใช้เวลาในการปิ้งย่างนานเกินไป ควรตัดแต่งอาหารส่วนที่ไหม้เกรียมออก ส่วนผู้บริโภคก่อนรับประทานควรตัดส่วนที่ไหม้เกรียมออกไป หลีกเลี่ยงส่วนไหม้เกรียมมากๆ เพราะสัมผัสไฟโดยตรง เช่น หนังหรือชิ้นส่วนติดมัน ----------------------------------------------------- คุมเข้มโรงเรียนกวดวิชา ในยุคที่โรงเรียนกวดวิชาถูกประเมินค่าความสำคัญไม่ต่างจากการเรียนในโรงเรียนปกติทั่วไป ทำให้เราได้เห็นโรงเรียนกวดวิชาผุดขึ้นมากมายเป็นดอกเห็ด ซึ่งทำให้มีโรงเรียนกวดวิชาจำนวนมากที่ไม่ได้มาตรฐานของกระทรวงศึกษาธิการ และหลายแห่งใช้การโฆษณาเกินจริงเข้าข่ายหลอกลวงผู้บริโภค สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) จึงต้องออกมาทำหน้าที่ปกป้องผู้บริโภค เร่งจัดระเบียบโรงเรียนกวดวิชา จากการตรวจสอบของทาง สคบ. พบว่าปัจจุบันมีสถาบันกวดวิชาเปิดสอนทั่วประเทศมากกว่า 10,000 แห่ง ซึ่งผู้บริโภคจำนวนมากมักตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาจากชื่อเสียงและคำโฆษณา โดยไม่ได้มีการตรวจสอบข้อมูลอื่นๆ ที่สำคัญ สคบ. จึงฝากแนะนำนักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังมองหาโรงเรียนกวดวิชาต้องไม่ลืมตรวจสอบข้อมูลสำคัญต่อไปนี้ 1.ต้องมีการขออนุญาตจากกระทรวงศึกษา 2.ต้องจัดห้องเรียนให้ครบกับหลักสูตรและรายวิชาตามที่ขออนุญาต 3.สถานที่ต้องไม่แออัด มีความกว้างขวางเพียงพอกับจำนวนนักเรียน คือประมาณ 1.50 เมตร ต่อนักเรียน 1 คน 4.ต้องมีสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย มีการดูแลรักษาความปลอดภัยที่ดี ไม่ต้องอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรมที่อาจเกิดอันตรายใดๆ กับกิจกรรมต่างๆ โรงเรียน 5.ห้ามให้สถานที่ตั้งโรงเรียนเอกชนสามัญศึกษาเป็นสถานที่เปิดสอนกวดวิชา 6.ต้องจัดให้มีสื่อและอุปกรณ์การเรียนการสอนและบริการอื่นๆ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชนกำหนด และ 7.ผู้สอนต้องมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษากำหนด ใครที่ได้รับความเสียหายจากการใช้บริการโรงเรียนกวดวิชาหรือพบเห็นโรงเรียนกวดวิชาที่มีการใช้คำโฆษณาอวดอ้างเกินจริง สามารถแจ้งข้อมูลไปได้ที่สายด่วน สคบ. 1166 --------------------------------------------------------------------------------------------   “กะปิ” มีสีมีเสี่ยง “กะปิ” ถือเป็นส่วนประกอบที่ทำให้อาหารไทยหลากหลายเมนูมีรสชาติอร่อยถูกปากถูกใจ แต่จากนี้ไปต้องระวังให้ดี เพราะกะปิธรรมดาๆ ก็อาจไม่ปลอดภัยกับสุขภาพของเรา เมื่อศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 จ.ตรัง ได้นำเสนอผลการสุ่มตรวจตัวอย่างกะปิจากจังหวัดกระบี่ ตรัง ระนอง รวม 88 ตัวอย่าง พบว่ามีการใส่สีลงไปในกะปิถึง 52 ตัวอย่าง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นสีที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในอาหารถึง 49 ตัวอย่าง โดยพบสีที่เป็นอันตรายอย่าง สีโรดามีน บี ที่หากสะสมในร่างกาย อาจทำให้เกิดผื่นที่ผิวหนัง หน้าบวม อาเจียน และอาจส่งผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการชา อ่อนแรงคล้ายเป็นอัมพาต ตับ ไต และระบบทางเดินอาหาร นอกจากนี้ยังมีการตรวจในเรื่องของคุณภาพด้านจุลินทรีย์ ซึ่งไม่พบการปนเปื้อนเชื้อสเตปโตคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) แต่พบการปนเปื้อนเชื้อคลอสทริเดียม เพอร์ฟิงเจน (Clostridium perfringens) ร้อยละ 3.48 แต่อยู่ในระดับปลอดภัย เพราะฉะนั้นเวลาที่จะไปเลือกซื้อกะปิครั้งต่อไป อย่าลืมเลือกกะปิที่สีสันไม่ฉูดฉาด จะได้ปลอดภัยจากสารเคมี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 แกงส้มมะละกอปลาทู

หายหน้ากันไปนาน ลืมกระผมไปหรือยังครับ  คราวนี้ฤกษ์งามยามดีจึงขอมาบรรเลงอาหารสไตล์ครัวนางฟ้ากันอีกครั้ง  วันนี้จะชวนกันทำแกงส้มมะละกอใส่ปลาทู   และถ้าท่านที่ชอบแกงส้มอยากทานแกงส้มผักอันใด ก็จัดการได้เลยจ้ะ  เพราะความสำคัญน่าจะอยู่ที่น้ำแกงส้มนี้แหละ     ตัวผมเองนั้นมีโอกาสไปแวะเยี่ยมบ้านเพื่อนสมัยเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่อำเภอท่ายาง  จังหวัดเพชรบุรี  แล้วเพื่อนสาวน้ำใจงามเก็บมะละกอสุกและดิบให้ติดไม้ติดมือกลับมาบ้าน พร้อมบอกว่า วันไหนผ่านมาทางนี้แวะมาเอาไปทานได้อีกนะ เพราะบ้านเรามีหลายต้น   ซึ้งใจนัก แถมตัวผมเองยังได้ต้นพริกที่เพาะไว้สำหรับปลูกอีกจำนวนหนึ่ง แหม...ช่างสุขใจเสียจริง  มะละกอสุกก็ทานได้เลย เป็นมื้อเช้าของผม ส่วนมะละกอดิบ 3 ลูกเห็นที่ต้องทำแกงส้มน่าจะดีสุด  และแล้วการโขลกน้ำพริกแกงส้มก็เริ่มขึ้น  เครื่องปรุงมีดังนี้ พริกแห้งตามชอบว่าชอบเผ็ดมากเผ็ดน้อย  เกลือแกงหรือเกลือป่น ครึ่งช้อนโต๊ะ  หัวหอมแดงปลอกเปลือกพร้อม 6-8 หัว  กะปิเคยหรือกุ้ง 1 ช้อน   เครื่องแกงพร้อม ครกพร้อมจะรออะไรอีก เริ่มโขลกน้ำพริกแกงกันเลยครับ  พริกแห้ง หอมแดง เกลือ   โขลกพร้อมกันจนละเอียด จากนั้นตามด้วยกะปิ    แกงส้มมะละกอของเราใส่ปลาทูด้วย   หลังจากแกะเนื้อปลาทูนึ่งที่ซื้อมาจากตลาดจำนวน 5 เข่ง  ขอกันเนื้อปลาทูไว้ 1 เข่งเพื่อนำมาโขลกในพริกแกงส้มที่เราโขลกแล้วเสร็จ  ทำให้ทั้งสองสิ่ง คือพริกแกงส้มและปลาทู กลายเป็นเนื้อเดียวกัน  ถ้าเจอก้างปลาทูก็ควรเก็บออกเพราะอาจมีก้างปลาติดมานะจ้ะ    ลำดับต่อไป นำมะละกอดิบ ปอกเปลือกเขียวออก ล้างยางด้วยน้ำสะอาด และหั่นชิ้นมะละกอ นำไปล้างและแช่น้ำเพื่อให้มะละกอสดเสมอ กะดูแล้วเนื้อมะละกอได้เกือบ 2 กิโลกรัมเป็นแน่   เรามาเริ่มด้วยการเตรียมน้ำแกงส้มกันเลยครับ  ใช้น้ำสะอาดใส่หม้อต้มแกง ตักน้ำพริกที่เราเตรียมไว้ใส่ลงไป หลายท่านคงสงสัยว่าแล้วจะทราบได้อย่างไรมาต้องใช้น้ำเท่าใด ผมก็คงต้องตอบว่าใส่ให้เหมาะสมกับน้ำพริกที่เราเตรียมและมะละกอที่จะใส่ลงไปนะจ้า  ชอบน้ำข้นๆ หรือน้ำจางๆ ก็ว่าไปตามชอบ ตั้งหม้อน้ำแกงจนเดือดบนเตาไฟ จากนั้นใส่มะละกอที่เตรียมไว้ลงไป ปรุงรสตามความชอบของแต่ละบ้านเลยครับ แกงส้มก็ต้องใส่น้ำมะขามเปียกด้วยนะ ซึ่งขาดไม่ได้เลยเพราะรสเปรี้ยวของมะขามเปียกนี้แหละทำให้ความเปรี้ยวช่างนุ่มนวลชวนให้ตุ่มรับรสของลิ้นได้ทำงานได้อย่างลงตัว   ผมคนเมืองเพชรจึงใช้น้ำตาลโตนดแท้ของเมืองเพชรบุรีใส่ลงไป 2 ฝ่ามือ  แกงส้มบ้านผมนิยมใส่น้ำตาลลงไปด้วยเพราะชอบทั้งความหวานความเปรี้ยว  และให้มีความเค็มผสมกันอย่างลงตัว ก็จะเกิดรสชาติถูกลิ้นคนถิ่นนี้นะครับผม  จากนั้นจึงนำปลาทูที่เราแกะแล้วใส่ลงไป    ก็จะได้แกงส้มมะละกอใส่เนื้อปลาทูฉีก รสเลิศแบบฉบับครัวนางฟ้า  จากนั้นตักใส่ถ้วยแก้วใสๆ ให้เห็นสีของน้ำแกง เสิร์ฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ  หรือจะหาไข่เจียว  ปลาเค็มทอด มารับประทานร่วมสำรับด้วยก็จะยิ่งลงตัว  มื้อนี้กินไม่หมด มื้อหน้าอุ่นและเติมไหลบัวที่ซื้อมาจากตลาดเมืองเพชร  20 บาทใส่ลงไปเพิ่ม ก็เท่ากับว่าเราจะมีแกงส้มไหลบัวเพิ่มอีก ก่อนลาไปขอแถมสรรพประโยชน์จากแกงส้มในครานี้ ผมเลยนำเกร็ดเล็กๆ ที่น่ารู้ของมะละกอมาฝากด้วย ผลสุก - มีสรรพคุณป้องกันหรือแก้โรคเลือดออกตามไรฟัน การกินเนื้อมะละกอสุก ช่วยเป็นยาระบายอ่อนๆ เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากใยอาหาร จึงช่วยแก้อาการแก้ท้องผูก เมื่อมีอาการปวดตามข้อและหลัง รับประทานมะละกอสุกเป็นประจำป้องกันและบำบัดโรคปวดข้อปวดหลังได้ ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ไม่มีแรง ส่วนยางจากผลดิบ – เป็นยาช่วยย่อยโปรตีนและฆ่าพยาธิได้ ถ้าเป็นกลาก เกลื้อน ฮ่องกงฟุตหรือเท้าเปื่อย ใช้ยางของลูกมะละกอดิบทาวันละ 3 ครั้งฆ่าเชื้อราได้ข้อมูล https://th.wikipedia.org/wiki/มะละกอ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 151 ยำปลาเกล็ดขาวกับส้มโอ

นับแต่ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา    ฝนเริ่มตกลงมาบ่อยขึ้นกว่าก่อนหน้านี้ที่สภาพอาการณ์ทั้งแล้งและร้อนจัด  แต่ปริมาณฝนที่ตกลงมาหนักๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ ก็สร้างความหวั่นวิตกอย่างมากให้กับคนทำนาเสมอๆ  นี่เป็นสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นได้ชัดเจนถึงความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่เพิ่มมากขึ้น พอย่างเข้าสู่เดือนสิงหาคม  ฝนเริ่มลงเม็ดลงมาบ่อยขึ้น   ฝน – มักถูกนำเป็นสื่อสัญญะที่บอกถึงความเย็นฉ่ำชื้น การมีชีวิตชีวา และการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ธัญญาหาร  แต่ในอีกด้าน มันก็กลายเป็นสัญญะของความทุกข์เศร้าและขมขื่นของการผลิตภาคการเกษตรอยู่ด้วย  โดยเฉพาะกับชาวนาปรังที่อาศัยน้ำในคลองชลประทานมากกว่าน้ำฝน ในช่วงเวลาที่ข้าวออกรวงจนใกล้เกี่ยวขาย  เมฆทะมึนที่ตั้งเค้าก็พาเอาคนปลูกข้าวใจตุ๊มๆ ต่อมๆ ได้เสมอ นอกจากจะต้องเลือกพันธุ์ข้าวที่มีช่วงอายุให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลาการปล่อยน้ำเข้านาแล้ว  ต้นข้าวที่สูงเกินไปจะด้วยเพราะลักษณะประจำพันธุ์ หรืออัดปุ๋ยมากเกินไป ก็มีผลทำให้ต้นข้าวล้มระเนระนาด ยามลมฝนพัดกรรโชกนาทั้งทุ่ง    และหากมีฝนตกในช่วงก่อน ขณะ และหลังเกี่ยวข้าว  นั่นหมายถึงความเสียหายแบบเต็มๆ จากการที่ถูกกดราคารับซื้อข้าวจากโรงสี ที่ผู้ขายไม่มีโอกาสต่อรองหรือหลีกเลี่ยงได้เลย   ชาวนาหลายคนจึงมักอาศัยพิธีการบอกกล่าวเจ้าที่นาและเซ่นไหว้กันด้วยเหล้าขาวบ้าง  หมูชิ้นตอง(หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นใหญ่)   หรือรายไหนที่ทำนาผืนใหญ่ก็อาจจะใจป้ำบนบานเจ้าไว้ด้วยหัวหมูทั้งหัว  เพื่อขอให้การปลูกข้าวตลอดปลอดโปร่งตลอดรอดฝั่ง ให้ได้เกี่ยว ได้ขายพอได้กำไร  - พิธีกรรมที่ยึดเหนี่ยวความสั่นไหวของจิตใจคนปลูกข้าวที่ต้องเพาะเลี้ยงไว้ให้กล้าแกร่งท่ามกลางความเสี่ยงและความเปราะบาง ฉันเคยนึกเล่นๆ ว่า  หากมีระบบการซื้อ-ขาย ข้าว แบบ CSA (Consumer Supporting Agriculture) ขึ้นมาจริงๆ ในประเทศไทย  พิธีไหว้-บนบาน เจ้าที่นาหรือแม่ธรณี จะถูกแปรเป็นพิธีกรรมที่มีราคาและขายได้ให้กับผู้บริโภคไปในรูปแบบไหนอย่างไรบ้าง?  New Social Media อย่าง FB หรือ Line จะมีการเรียกร้องให้ผู้บริโภคช่วยกันกด  like สนับสนุนให้กำลังใจและติดสินบนเจ้าที่นาอย่างแม่ธรณีกันกระหน่ำถึงกี่หมื่นกี่แสนไลค์หนอ?   ยำปลาเกล็ดขาวกับส้มโอ เครื่องปรุง  1.ปลาเกล็ดขาวตากแห้งทอดกรอบ   ½ ถ้วย    2.ส้มโอ รสเปรี้ยวอมหวาน  ½ ถ้วย   3.น้ำพริกเผา  1 – 2 ช้อนโต๊ะ   3.น้ำเปล่า 2 ช้อนโต๊ะ  4.ตะไคร้ซอย  4 – 5 ต้น   5.หอมแดงซอย  4 – 5 หัว  6.ใบมะกรูดซอย  4 – 5 ใบ วิธีทำ  1.ละลายน้ำพริกเผากับน้ำให้เข้ากัน  แล้วคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงที่เหลือให้ทั่ว  จึงจัดลงจานเสิร์ฟ เคล็ดการปรุง ปลาเกล็ดขาวหรือปลาซิว ตากแห้ง  หากซื้อมาจากตลาดสดแล้วมีรสเค็มเกินไป  ให้ลองละลายน้ำเกลือ ½ ช้อนชากับน้ำ 2 - 3 ลิตร ใส่ลงในกะละมัง แล้วนำปลาลงแช่สัก 5 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดหลายๆ เที่ยว จึงนำไปผึ่งแดดในกระชอน  ตากให้แห้ง เครื่องปรุงที่เพิ่มเติมลงไปได้อีกตามความชอบ  เช่น เมล็ดมะม่วงหิมพานต์  หมูแผ่นทอดกรอบ  กุ้งแห้งทอดกรอบ   ถั่วพูลวกซอยหยาบ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 รู้เท่าทันการกินไข่ไก่แช่น้ำส้มสายชู

ในขณะนี้มีการเผยแพร่และส่งต่อในเว็บไซต์มากมายว่า ให้กินไข่ไก่สดแช่ในน้ำส้มสายชู เพราะเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณ  มีคุณค่าต่อร่างกายมากมาย  กระแสความตื่นตัวเรื่องนี้มาจากไหน  เราลองมารู้เท่าทันกันเป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนจริงหรือ    ความเชื่อเรื่องประโยชน์ของน้ำส้มสายชู ไม่เพียงแต่เป็นศาสตร์การแพทย์แผนจีนเท่านั้น  ศาสตร์การแพทย์ดั้งเดิมทุกชาติทุกภาษาล้วนเชื่อว่าน้ำส้มสายชูมีประโยชน์ต่อร่างกาย  ในคัมภีร์เน่ยจิงของจีนกล่าวว่า “น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวมีรสขม เปรี้ยว  และอุ่น  เมื่อรสขมและเปรี้ยวรวมกัน จะทำหน้าที่ระบายหรือลุ  จึงใช้เป็นทั้งอาหารและยาในการบำบัดรักษาโรคต่างๆ ได้แก่ ทำให้การไหลเวียนของเลือดดี ไม่อุดตัน  บำรุงพลังชีวิตของตับ ขับสารพิษ และประโยชน์อื่นๆ     ไข่แช่ในน้ำส้มสายชู ยังใช้เป็นอาหารและเครื่องดื่มที่ให้พลังและความแข็งแรงสำหรับนักรบซามูไรของญี่ปุ่น  โปรตีน วิตามินในไข่ จะถูกดูดซึมได้เป็นอย่างดี  เปลือกไข่ไก่หนึ่งฟองประกอบด้วยแคลเซียม 1,800 มิลลิกรัม   (เทียบเท่ากับนมวัวสดยูเอชที รสจืด 1.6 ลิตร.....ผู้เขียน)  ซึ่งคนไทยควรกินแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม  นอกจากนี้ในไข่ไก่ยังอุดมด้วยวิตามินดี ซึ่งทำให้กระดูกแข็งแรงและอายุยืนยาว  ปัจจุบัน คนญี่ปุ่นก็ยังนิยมดื่มไข่ไก่ที่แช่ในน้ำส้มสายชูจนเปลือกไข่ละลาย และตอกไข่ผสมกับน้ำส้มสายชูที่แช่ไข่นั้น เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มชูกำลัง     ในการแพทย์ดั้งเดิมอื่นๆ ต่างเชื่อว่า น้ำส้มสายชูมีประโยชน์และใช้รักษาอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง ปวดศีรษะ เจ็บคอ อ้วน เป็นต้น   เครื่องดื่มเก่าแก่และยอดนิยมของชาวเวอร์มอนต์ ในอเมริกา ก็ใช้น้ำส้มสายชูหมักจากแอปเปิล 2 ช้อนชา น้ำผึ้ง 1 ช้อนชา ละลายในน้ำ 1 ถ้วย  พบว่าช่วยปรับน้ำปัสสาวะให้กลับมาเป็นภาวะกรด (ค่ากรดด่างของปัสสาวะปกติ เท่ากับ 4.6-8) อะไรเกิดขึ้นเมื่อไข่ไก่แช่ในน้ำส้มสายชู    เมื่อนำไข่ไก่แช่ในน้ำส้มสายชู จะเห็นฟองอากาศเกิดขึ้นที่เปลือกไข่ทั้งฟอง  ฟองอากาศเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาเนื่องจากปฏิกิริยาเคมีระหว่างกรดน้ำส้ม (น้ำส้มสายชู) และแคลเซียมคาร์บอเนตที่เปลือกไข่  กรดน้ำส้มจะละลายแคลเซียมคาร์บอเนตจากเปลือกไข่  กลายเป็นไอออนของแคลเซียมละลายอยู่ในน้ำส้มสายชู  ส่วนคาร์บอเนตจะกลายเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ที่เห็นเป็นฟองอากาศ  เปลือกไข่จะค่อยๆ หายไปภายใน 24-48 ชั่วโมง เหลือแต่เยื่อหุ้มไข่ที่หุ้มไข่ขาวและไข่แดงไว้ข้างใน     ดังนั้นในน้ำส้มสายชูที่แช่ไข่จะมีไอออนของแคลเซียมละลายอยู่  ซึ่งเป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญสำหรับร่างกาย  เมื่อฉีกเยื่อหุ้มไข่ออก ไข่ขาวและไข่แดงก็จะไปผสมกับน้ำส้มสายชูที่มีแคลเซียมของเปลือกไข่ละลายอยู่  เราจึงได้ประโยชน์ไข่ไก่สด  แคลเซียม  และน้ำส้มสายชู ไปพร้อมๆ กัน     นับเป็นความชาญฉลาดของบรรพบุรุษ และการแพทย์ดั้งเดิมที่ได้ค้นพบอาหารบำรุงร่างกาย    ประเทศไทยต้องเสียเงินมากมายในการซื้อยาเม็ดแคลเซียมเพื่อให้กับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์  ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน  และผู้สูงอายุ  นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้มีการกินนมวัวเพื่อให้ได้แคลเซียมจากนมวัว  เท่านี้ยังไม่พอ มีการใส่แคลเซียมลงในนมเพื่อให้เป็นไฮแคลเซียมอีกด้วย  ราคาก็สูงขึ้นตามค่าโฆษณา  แต่เรากลับละเลยภูมิปัญญาดั้งเดิมที่สามารถหาแหล่งแคลเซียมราคาถูก  และสามารถทำเองได้  ไม่ว่าจะจากอาหารพื้นบ้าน  สมุนไพรบางชนิด  รวมถึงแคลเซียมจากเปลือกไข่     เรื่องไข่แช่ในน้ำส้มสายชูเป็นตัวอย่างภูมิปัญญาดั้งเดิมที่ดี   เราสามารถประยุกต์และพัฒนาการดึงแคลเซียมจากเปลือกไข่ในน้ำส้มอื่นๆ  น้ำมะนาว  น้ำมะขาม  และนำมาใช้เป็นน้ำส้มไฮแคลเซียม แข่งกับนมไฮแคลเซียมบ้าง     ที่สำคัญ ต้องล้างทำความสะอาดเปลือกไข่เป็นอย่างดี  เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคปนเปื้อนในน้ำส้มสายชู                                    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 ส้มป่อย ของดีปีใหม่ไทย

  พูดกันจริงๆ ประเพณีสงกรานต์ไม่ได้มีแค่เมืองไทย พี่น้องร่วมอนุภูมิภาคทั้งเขมร ลาว ไปจนถึงจีนตอนใต้ในสิบสองปันนา ต่างร่วมสาดน้ำดับร้อนเพื่อรับขวัญปีใหม่ด้วยกันทั้งสิ้น  และไม่น่าเชื่อว่าสมุนไพรชื่อ ส้มป่อย น่าจะได้เรียกชื่อสมุนไพรทางวัฒนธรรม ที่ให้คุณค่าทางจิตใจและสรรพคุณทางยา ที่นำมาใช้ในเทศกาลสำคัญเช่นนี้ด้วย จากโบราณจนยุค 3G ส้มป่อยกับสงกรานต์ยังคงคู่กัน และเหมือนภูมิปัญญาดั้งเดิมช่างชาญฉลาด ท่านแนะนำให้เก็บฝักส้มป่อยในเดือนห้า โบราณอาจโยงถึงความขลังและศักดิ์สิทธิ์ แต่ในมุมเภสัชของยาไทย เดือนแล้งแบบนี้ฝักส้มป่อยกำลังแก่จัด สรรพคุณทางยาเจ๋ง ! ดังนั้น วิธีที่สืบทอดมาให้นำฝักแก่ปิ้งไฟอ่อนๆ พอสุก มีกลิ่นหอมกอมเปรี้ยวๆ  แล้วนำมาหักเป็นชิ้นเล็กๆ สามารถนำมาต้มเป็นยาหรือมาแช่น้ำ จะได้น้ำส้มป่อยสีเหลืองอ่อน เพื่อประกอบพิธีกรรม โดยเฉพาะที่รดน้ำดำหัวในประเพณีมหาสงกรานต์นั่นเอง   หลายคนนึกไม่ออกมาส้มป่อยหน้าตาเป็นอย่างไร นึกว่าคือ “ส้ม” พันธุ์ใหม่มาจากจีนหรือ? ไม่ใช่แน่นอน ส้มป่อยมีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Acacia concinna (Willd.) D.C. เป็นไม้พุ่มรอเลื้อย  มีหนามตามลำต้น กิ่ง ก้านและใบ  ลักษณะใบมองแล้วคล้ายขนนกสองชั้น เรียงสลับ ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ เป็นช่อกลม กลีบดอกเป็นหลอด สีนวล ผลเป็นฝัก สีน้ำตาลดำ ผิวย่นขรุขระ ส้มป่อยเป็นพืชที่นำมาใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ต้น ใบ ดอก ผล ราก ฝัก เมล็ด และเหมือนธรรมชาติจัดสรร เมื่อฝักส้มป่อยแก่จัดในฤดูร้อน จึงเหมาะมากที่นำมาใช้ประโยชน์ในหน้าร้อนๆ แบบนี้ คือ นำมาใช้อาบน้ำได้ดียิ่งกว่าเข้าร้านสปาห้าดาว เพราะกลิ่นหอมเจือเปรี้ยวของส้มป่อยนั้น นอกจากเป็นอะโรม่าให้ร่างกายและจิตใจรู้สึกคลายเครียดแล้ว ส้มป่อยยังมีสรรพคุณชะล้างผิวพรรณให้สะอาด และช่วยแก้โรคผิวหนัง ผดผื่นคัน ที่ชอบเป็นกันในหน้าร้อน เพราะเหงื่อไหลไคลย้อยได้ง่ายจึงเป็นที่หมักหมมของแบคทีเรียได้ง่าย   ยิ่งกว่านั้นในวัฒนธรรมพื้นบ้านมีการนำเอาฝักส้มป่อยมาต้มบ้าง มาแช่น้ำบ้าง แล้วตีๆกับน้ำจะเกิดฟองแบบธรรมชาติ และน้ำส้มป่อยนี้เอง สาวๆ หนุ่มๆ ที่รักสวยรักงามนำมาใช้เป็นน้ำยาสระผมแก้อาการคันศีรษะ และแก้รังแกได้ดี ที่เป็นแบบนี้นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่อธิบายได้ว่า ฝักส้มป่อยยังมีสารพวกซาโปนิน (saponins) สารซาโปนินในฝักส้มป่อย เขาศึกษาพบว่าช่วยกระตุ้นให้ทีเซลล์ (T cells) ทำงานได้ดี ทีเซลล์มีส่วนช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันดีขึ้น   แต่ถ้าพี่น้องไทยเจอแดดจัด ทำให้มีอาการหวัดแดด มีเสมหะไอ ก็ขอแนะนำฝักส้มป่อยแก่จัดสัก 2 ฝัก มาปิ้งไฟพอหอม แล้วหักหรือหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ  รินน้ำเดือดลงไป 1 แก้ว ทิ้งไว้สักครู่จนน้ำชาส้มป่อยออกเป็นสีเหลืองมีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว นำมาจิบบ่อยๆ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้น้ำลายเหนียวคอได้เลย   จบท้ายแบบความภูมิปัญญาท้องถิ่น เชื่อว่าวันมหาสงกรานต์จะต้องมีพิธีกรรมที่สำคัญเพราะเชื่อว่าวันนั้นเป็นวันที่เศียรของท้าวกบิลพรหมจะขาดตกลงมาสู่พื้นพิภพ จึงต้องป้องกันเหตุร้ายและอัปมงคล โดยมีพิธีรดน้ำดำหัว เพื่อปัดเป่าสิ่งร้ายให้กลายเป็นดี ซึ่งสมุนไพรที่ขาดไม่ได้ คือ “ฝักส้มป่อย” นั้นเอง.

อ่านเพิ่มเติม >