ฉบับที่ 251 ส้มอมพิษ

        แคมเปญ "ส้มอมพิษ" หรือ Orange Spike เป็นกิจกรรมจากความร่วมมือกันของภาคีภาคประชาสังคม ได้แก่ เครือข่ายกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และอ็อกแฟมประเทศไทย (Oxfam)  ภายใต้แคมเปญ ‘ผู้บริโภคที่รัก’ (Dear Consumers) ที่เริ่มต้นตั้งแต่ต้นปี 2654 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมหลักคือ การเชิญชวนให้ผู้บริโภคตระหนักถึงเรื่อง “การใช้สารพิษในส้ม” และ “เรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตติดคิวอาร์โค้ด” เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับไปยังแหล่งที่มาและกระบวนการผลิตส้มได้         “คนไทยมีโอกาสที่จะเกิดโรคร้ายได้จากการบริโภคผักและผลไม้ที่มีสารพิษตกค้างเป็นระยะเวลานาน เพราะเกิดการสะสมของสารพิษในร่างกายมากเกินไปจนเจ็บป่วย จากสถิติพบว่าคนไทยส่วนใหญ่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงเป็นอันดับ 1 ต่อเนื่องถึง 85,000 รายต่อปี และผู้ป่วยใหม่ที่เป็นโรคมะเร็งเฉลี่ยจะเกิดขึ้นถึง 122,757 คนต่อปี… สิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าสารพิษตกค้างจากการบริโภคเป็นภัยเงียบที่พร้อมจะคุกคามผู้บริโภคตลอดเวลา การเสนอให้ซูเปอร์มาร์เก็ตมีการติดคิวอาร์โค้ดแสดงแหล่งที่มาและกระบวนการผลิต นอกจากเป็นการยืนยันความปลอดภัยแล้ว ยังช่วยแจกแจงถึงอันตรายของสารเคมีที่เกษตรกรใช้ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจ สามารถหลีกเลี่ยง และรักษาสุขภาพไว้ได้” ‘ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น’ กล่าวถึงอันตรายของสารพิษตกค้างที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายไว้เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นงานเปิดตัวแคมเปญ         การรู้ถึงแหล่งที่มาของอาหาร เป็นวิธีการหนึ่งที่ผู้บริโภคสามารถนำมาใช้พิจารณาในการซื้อสินค้าเพื่อให้เกิดความมั่นใจในการบริโภค แคมเปญนี้จึงเรียกร้องต่อซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ ขอให้ดำเนินการติดคิวอาร์โค้ดกำกับสำหรับการสแกนตรวจสอบที่มาของส้มที่วางจำหน่ายอย่างโปร่งใส  (Traceability)  ซึ่งจากภาพรวมที่ปรากฎในช่วงเวลาของการเริ่มต้นแคมเปญ พบว่า การสแกนคิวอาร์โค้ดของซูเปอร์มาร์เก็ตหลายแห่งโดยรวมยังให้ข้อมูลไม่มากพอ         ดังนั้นเพื่อติดตามสถานการณ์ในรอบหนึ่งปีหลังการเรียกร้องของภาคประชาสังคมต่อความรับผิดชอบของซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ 4 แห่ง ได้แก่ บิ๊กซี โลตัส ท็อปส์ และแม็คโคร ในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับสินค้าในห่วงโซ่อุปทาน “ส้ม” ทางคณะทำงาน แคมเปญ "ส้มอมพิษ" จึงทำสำรวจ ในระหว่างวันที่ 11 – 30 พ.ย. 2564 พบว่า แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้น ซูเปอร์มาร์เก็ตที่ดำเนินการสำรวจทั้ง 4 แห่ง ยังไม่มีความคืบหน้าหรือการปรับปรุงข้อมูลใน QR Code ได้ตรงตามข้อเรียกร้องของแคมเปญกรอบในการเรียกร้องให้นำเสนอเพื่อการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับสินค้าในห่วงโซ่อุปทานส้ม    ชื่อสินค้า    รูปสินค้า        1. หมวดที่มาของส้ม ได้แก่ ชื่อสวน จังหวัดที่ตั้งของสวน ข้อมูลเกษตรกร ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูก        2. หมวดกระบวนการปลูกส้ม ได้แก่ กระบวนการเพาะปลูก ระยะเวลาการเพาะปลูก รายการสารเคมีที่ใช้ ข้อมูลการเก็บเกี่ยว วันที่ เก็บเกี่ยว ข้อมูลการเว้นระยะในการเพาะปลูก การเก็บรักษาและการขนย้ายผลิตผล        3. หมวดกระบวนการคัดเลือกส้มของซูเปอร์มาร์เก็ต ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึงการตรวจสอบย้อนกลับ การบันทึกข้อมูล ข้อมูลการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว ข้อมูลการเก็บรักษา ข้อมูลการขนย้ายผลิตผล มาตรฐานที่ใช้คัดเลือก วิธีการคัดแยก โรงคัดแยก วันที่ในการจัดจำหน่าย

อ่านเพิ่มเติม >