ฉบับที่ 262 ความเคลื่อนไหวเดือนธันวาคม ปี 2565

เชียงใหม่อันดับ 1 เสี่ยงสารเคมีการเกษตรตกค้างในร่างกาย        สสส.ระบุ เชียงใหม่เป็นจังหวัดที่พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงเป็นอันดับ 1         นางประภาศรี บุญวิเศษ กรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่าเชียงใหม่เป็นจังหวัดที่พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือดสูงเป็นอันดับ 1 จำเป็นต้องเร่งสร้างความรู้ด้านอาหารให้แก่เกษตรกรร่วมมือกับร้านอาหาร ตลาด โรงแรม ช่วยกันพัฒนาแหล่งอาหารที่ปลอดภัยในชุมชน เลือกซื้ออาหารที่มีโภชนาการที่เหมาะสมจากการปลูกผักที่ปลอดภัยด้วยตนเอง         จากข้อมูลของ รศ.ดร.วินิตา บุณโยดม รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระบุภาคเหนือ คือภาคที่มีสารเคมีตกค้างในร่างกายของประชาชนในระดับเสี่ยงและไม่ปลอดภัยมากกว่า 10 ปีแล้ว โดยปี 2565 มีสารเคมีตกค้างกว่า 70.3% ภาคใต้ 58.65%  ภาคกลางและภาคตะวันออก 41.19% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 37.14% และข้อมูลจาก ศ.ดร.พวงรัตน์ ขจิตวิชยานุกูล อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ มช. อีกเช่นกันระบุว่า พืชผักที่มีสารเคมีตกค้างมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ คะน้า ผักกาดขาว มะเขือเทศ กะเพรา พริกขี้หนู และส่งผลให้สารเคมีในเลือดอาสาสมัคร 189 คน อยู่ระดับเสี่ยงถึง 56.25% ระดับไม่ปลอดภัย 28.08% แต่ระดับปลอดภัยและปกติ อยู่เพียง 9.18 และ 6.49 เท่านั้น พบเนื้อสัตว์แช่ฟอร์มาลิน ส่งขายร้านหมูกระทะ         นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2565 จากด่านกักกันสัตว์ชลบุรีว่า เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบสถานประกอบกิจการผลิตภัณฑ์แปรรูปวัตถุดิบเนื้อและเครื่องในสัตว์ จ.ชลบุรี เนื่องจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า มีการลักลอบผลิตเนื้อสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากการเข้าตรวจสอบของเจ้าหน้าที่ พบว่าไม่มีการขออนุญาตผลิตอาหารและใบอนุญาตอื่นๆ ซึ่งมีความผิดตามพระราชบัญญัติโรคระบาด พ.ศ.2558 พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ.2559 นอกจากนี้  วัตถุดิบชิ้นส่วนเครื่องในโค เครื่องในสุกร มีการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ซึ่งประกอบไปด้วย ฟอร์มาลิน โซดาไฟ ไฮโดรเจนเปอร์อ๊อกไซด์ ทางเจ้าหน้าที่จึงได้ยึดของกลางดังกล่าวไว้ เช่น ชิ้นส่วนเนื้อและเครื่องในสุกรและโค จำนวน 25,000 กิโลกรัม พร้อมด้วยแกลลอนบรรจุสารเคมีฟอร์มาลิน 50 แกลลอน และใบเสร็จที่มีการขายให้กับร้านหมูกระทะและร้านอาหารอีสานกว่า 66 ราย    6 แอปพลิเคชันเรียกรถถูกกฎหมาย         นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยว่า ทางรัฐบาลได้ส่งเสริมการผลักดันให้บริการทางเลือกรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยกระทรวงคมนาคมได้ออกกฎกระทรวงรถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2564 ให้ภาครัฐสามารถควบคุมและกำกับการดูแลการให้บริการที่ปลอดภัย รวมทั้งเกิดการแข่งขันในการพัฒนาใต้กติกาเดียวกัน          ทั้งนี้ บริการทางเลือกรถยนต์รับจ้างผ่านแอปพลิเคชันคือการให้บริการผ่านแอปฯ ที่กระทรวงคมนาคมให้การรับรอง มีความปลอดภัย ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ แสดงค่าโดยสารล่างหน้าชัดเจน ตรวจสอบได้ มีประกันครอบคลุมตามกฎหมายคุ้มครองประสบภัยกำหนด ซึ่งปัจจุบันได้ให้การรับรองแอปพลิเคชันแล้ว จำนวน 6 ราย ได้แก่ แกร็บ,โรบินฮู้ด,ฮัลโหลภูเก็ต เซอร์วิส,บอนกุ,เอเชีย แค็บ,และ “Airasia Super App” นอกจากนี้ ผู้ขับรถต้องมีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ สามารถอบรมทางออนไลน์ได้ที่ www.dlt-elearning.com ชาวไอทีแนะอย่าโหลดแอปพลิเคชันแปลกนอก Store ดีสุด         จากโพสต์ของผู้ใช้ทวิตเตอร์  Chanon Ngernthongdee  ซึ่งทดลองเป็นเหยื่อของแกงค์คอลเซนเตอร์เพื่อทดสอบว่าอะไรคือสิ่งที่แกงค์ดังกล่าวใช้เล่นงานผู้บริโภค โดยเขาออกมาเตือนว่า วิธีป้องกันอย่างง่ายที่สุดคือ ไม่โหลด app นอก Store หรือ Block installation of unmanaged mobile apps          ทั้งนี้ผู้ใช้ทวิตเตอร์ท่านนี้บอกว่า ตนเองพยายามตกเป็นเหยื่อ call center อยู่นานมากเพื่อจะได้รู้ว่าเขาหลอกยังไง ให้ลง app (แอปพลิเคชัน) อะไร สุดท้ายในที่สุดก็ได้ app นั้นมา ทำให้ตนเข้าใจแล้วว่าทำไม app นั้นถึงสามารถไปดึงข้อมูลและสั่งให้ app ธนาคารทำธุรกรรมทางการเงินของเหยื่อได้ คนเขียน app นั้นใช้ AccessibilityService เพื่อควบคุมนั่นเอง มพบ.จัดอบรมให้เยาวชนเท่าทันทางการเงินจากโลกออนไลน์                   วันที่ 1-2 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนวัดสุทธาโภชน์ กรุงเทพมหานคร มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้จัดกิจกรรมฝึกอบรมหลักสูตร “เยาวชนเท่าทันการเงิน” เพื่อเสริมทักษะให้การเยาวชนไทยเรื่องการเงิน โดยได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ซึ่งจากข้อมูลที่ทางมูลนิธิฯ ได้รับเรื่องร้องเรียน เช่น บัตรเครดิต การชำระหนี้ การจัดการหนี้ การทวงหนี้ไม่เป็นธรรม มากเป็นลำดับต้นๆ ส่วนใหญ่สาเหตุหลักคือ ประชาชนไทยยังขาดทักษะ ความเข้าใจการใช้บัตรเครดิต การวางแผนทางการเงิน การเท่าทันภัยการเงินทางออนไลน์         ทั้งนี้ นางนฤมล เมฆบริสุทธิ์ รองผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ฝ่ายพิทักษ์สิทธิ์ กล่าวว่า โครงการเยาวชนรู้เท่าทันทางการเงิน เริ่มดำเนินการอบรมมาตั้งแต่ ปี2563  เข้าร่วมกว่า 30 โรงเรียน ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคอีสาน มูลนิธิฯ ยังคงดำเนินการด้วยความเชื่อมั่นว่า ถ้าเด็กและเยาวชนไทยมีความรู้เท่าทันทางการเงิน วางแผนการจัดการรายได้และรายจ่าย ย่อมเป็นทักษะสำคัญที่สร้างชีวิตที่มีคุณภาพได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 แซ่บทั่วไทย ปลอดภัยแค่ไหน

อีสานบ้านเฮา• หมูกระทะ อิ่มเยอะอาจเรื่องแยะ ร้าน หมูกระทะกลายเป็นกระแสนิยมของคนชอบกินมาหลายปี คงเป็นเพราะคนไทยเราชอบอะไรที่เป็นบุฟเฟ่ต์ ประมาณว่าจ่ายไม่ถึงร้อยแต่อร่อยได้ไม่อั้น ซึ่งใครที่ชอบทานอาหารปิ้งๆ ย่างๆ อย่างหมูกระทะก็คงเคยได้ยินคำร่ำลือเรื่องความไม่สะอาดของเนื้อหมูในร้านหมู กระทะกันมาบ้างไม่มากก็น้อย งานนี้ “ฉลาดซื้อ” ได้เครือข่ายเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารในจังหวัดขอนแก่น บุกร้านหมูกระทะภายในจังหวัดจำนวน 8 ร้าน โดยเก็บตัวอย่างในเดือนกันยายน และ เดือน พฤศจิกายน 2552 เพื่อตรวจหาการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ 3 ประเภทคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus), และ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นจุลินทรีย์ที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วงหรืออาหารเป็นพิษผลการตรวจสอบ- มีการปนเปื้อนของแบคทีเรีย ซัลโมเนลล่า จำนวน 4 ตัวอย่างในการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 1 (เดือนกันยายน) คือจากร้าน เพ้งเนื้อย่าง, MT เนื้อกระทะชุมแพ, 2K เนื้อกะทะ, และในสวนเนื้อย่างเกาหลี อย่างไรก็ตาม ไม่พบการปนเปื้อนเลยจากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 ซึ่งทำการเก็บตัวอย่างอีก 4 ตัวอย่าง (เดือนพฤศจิกายน) - พบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (ไม่สูงกว่า 200 โคโลนี ต่อกรัม) จำนวน 2 ตัวอย่างจากการเก็บ ตัวอย่างครั้งที่ 1 ที่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (6,300 โคโลนีต่อกรัม) และในสวนเนื้อย่างเกาหลี (5,300 โคโลนีต่อกรัม) สำหรับการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 พบการปนเปื้อนเกินมาตรฐานทั้ง 4 ตัวอย่างที่ร้าน บ้านสวนเนื้อเกาหลี (1,000 โคโลนี ต่อกรัม) เก็ตเนื้อกระทะ (175,000 โคโลนี ต่อกรัม) โอเนื้อเกาหลี (250,000 โคโลนีต่อกรัม) และเปาหมูกระทะ (10,000 โคโลนีต่อกรัม) - พบการปนเปื้อนของ คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์ (Clostridium perfringens) จากการเก็บตัวอย่างครั้งที่ 2 จำนวน 2 ตัวอย่าง ที่ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี และ โอ เนื้อเกาหลี ข้อสังเกต มีตัวอย่างเนื้อหมูจากร้านค้าจำนวน 4 ร้านที่พบจุลินทรีย์ปนเปื้อน ถึง 2 ประเภทในตัวอย่างเดียว ได้แก่ ร้านเพ้งเนื้อย่าง (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม OMC และเอส ออเรียส) ร้านในสวนเนื้อย่างเกาหลี (ซัลโมเนลล่ากลุ่ม E และเอส ออเรียส) ร้านบ้านสวนเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) และ ร้านโอเนื้อเกาหลี (เอส ออเรียสและ ซี เพอร์พริงเจนส์) เนื้อหมูดิบ (ร้านหมูย่างเกาหลี) Salmonella spp. S. aureus C. perfringens วันที่เก็บตัวอย่าง (in 25 g) (cfu/g) (0.001g) เกณฑ์กรมวิทย์ฯ Not detected < 200 Not detected   เพ้งเนื้อย่าง Detected group OMC 6.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 MT เนื้อกระทะชุมแพ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 2K เนื้อกระทะ Detected group C < 10 ไม่พบ 15-09-52 ในสวนเนื้อย่างเกาหลี Detected group E 5.3 X 103 ไม่พบ 15-09-52 บ้านสวนเนื้อเกาหลี ไม่พบ 1 X 103 Detected 17-11-52 เก็ตเนื้อกะทะ ไม่พบ 1.7 X 105 ไม่พบ 17-11-52 โอเนื้อเกาหลี ไม่พบ 2.5 X 105 Detected 17-11-52 เปาหมูกะทะ ไม่พบ 1 X 104 ไม่พบ 17-11-52 สรุป อย่าได้กินแบบสุกๆ ดิบๆ นะจ๊ะ ปิ้งย่างให้สุกมากๆ จะได้ปลอดภัย   • ไส้กรอกอีสาน ความอร่อยที่ต้องระวัง ไส้กรอกอีสานเป็นอาหารที่หาซื้อได้ง่าย รสชาติก็อร่อย แถมราคาก็ย่อมเยา ไส้กรอกอีสานส่วนใหญ่ทำมาจากเนื้อหมูผสมกับข้าวสุก หนังหมูหรือวุ้นเส้น กระเทียม แล้วหมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมงเพื่อให้เกิดรสเปรี้ยว ก่อนนำไปกรอกใส่ลงในไส้หมูที่ล้างทำความสะอาดมาแล้วเรียบร้อย เสร็จแล้วนำไปแขวนตากลมไว้ให้ไส้หมูแห้ง เป็นอันเรียบร้อยกระบวนการนำมาย่างหรือทอดกินได้ สำหรับไส้กรอกอีสานที่ขายอยู่ทั่วไป มีทั้งแบบที่ผู้ขายผลิตเองและที่ผลิตจากโรงงานซึ่งพ่อค้าซื้อมาปิ้งขายอีกที ซึ่งงานนี้ได้จังหวัดมหาสารคามทำหน้าที่เก็บตัวอย่างไส้กรอกอีสานในพื้นที่จำนวน 4 ตัวอย่าง ได้แก่ ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก โดยตรวจวัตถุเจือปนอาหาร 2 ประเภทคือ ไนเตรท และไนไตรท์ นอกจากนี้ยังตรวจหาจุลินทรีย์ปนเปื้อนอีก 2 ชนิดคือ แบคทีเรียซัลโมเนลร่า (Salmonella spp.), และ แบคทีเรียสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ซึ่งเป็นการเก็บตัวอย่างอาหารครั้งที่ 1 ในช่วงเดือนกันยายน 2552 ผลการทดสอบ-ไม่พบการผสมไนเตรทและไนไตรท์ในไส้กรอกอีสานทุกตัวอย่าง -ตรวจพบการปนเปื้อนของซัลโมเนลล่า (Salmonella spp.) จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดวาปีปทุม และตลาดนาเชือก -ตรวจพบการปนเปื้อนของแบคทีเรีย สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินมาตรฐานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์จำนวน 2 ตัวอย่าง จาก 4 ตัวอย่างที่ทำการสำรวจ คือที่ ตลาดบรบือ (400,000 โคโลนีต่อกรัม) และตลาดนาเชือก (140,000 โคโลนีต่อกรัม) ข้อสังเกต มีตัวอย่างไส้กรอกอีสานจาก 1 พื้นที่ที่พบการปนเปื้อนทางจุลินทรีย์ถึงสองประเภท ในหนึ่งตัวอย่าง คือ ตัวอย่างที่เก็บจาก ตลาดนาเชือกพบการปนเปื้อนทั้งซัลโมเนลล่าและเอสออเรียส ไส้กรอกอีสาน (มหาสารคาม) ส.ขอนแก่น ตลาดบรบือ ตลาดวาปีปทุม ตลาดนาเชือก Standard Nitrate (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected   Nitrite (mg/kg) Not detected Not detected Not detected Not detected   Salmonella spp. (in 25 g) Not detected Not detected Detected group E Detected group E Not detected Staphylococcus aureus (cfu/g) < 10 4 X 105 < 10 1.4 X 105 < 200 สรุป มีเชื้อโรคปนเปื้อนพอสมควร อย่างไรก็ตามอันนี้ส่วนใหญ่เรารับประทานแบบสุก ดังนั้นก็ปลอดภัยพอรับได้   • น้ำปลาร้าบรรจุขวดสำหรับใส่ส้มตำ แซ่บมีเสี่ยง สำรวจอาหารถึงถิ่นอีสานทั้งที จะไม่สำรวจอาหารขึ้นชื่อของที่นี้อย่าง “ปลาร้า” เดี๋ยวจะหาว่าเข้าไม่ถึงอาหารท้องถิ่น “ฉลาดซื้อ” เราจึงเลือกสำรวจน้ำปลาร้า ที่นิยมใส่ในส้มตำปลาร้าเมนูโปรดรสแซ่บของใครหลายๆ คน งานนี้เป็นหน้าที่ของเครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดมหาสารคาม จะพาไปทดสอบความสะอาดของน้ำปลาร้าสำหรับใส่ส้มตำเพื่อดูการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ก่อโรค 2 ชนิด คือ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) กับ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) และค่าจุลินทรีย์รวม (Total Plate Count) การเก็บตัวอย่าง เก็บเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2552 ทั้งสิ้นจำนวน 4 ตัวอย่าง จากร้านค้าส้มตำในตลาดสดจังหวัด มหาสารคาม ผลการทดสอบ- ไม่มีตัวอย่างใดมีค่าจุลินทรีย์รวมเกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ไม่มีตัวอย่างใดที่พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ - ทุกตัวอย่างที่เก็บพบเชื้อ บาซิลลัส ซีเรียส (Bacillus cereus) ที่เป็นสาเหตุของการเกิดอาหารเป็นพิษ (อาเจียน ท้องเสีย) เกินค่ามาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point