เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือร่วมกับฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์หมูยอ

        เครือข่ายผู้บริโภคภาคเหนือร่วมกับฉลาดซื้อ เผยผลทดสอบวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์หมูยอส่วนใหญ่ปลอดภัย เหมาะซื้อเป็นของฝาก         นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ สุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอที่วางจำหน่ายตามตลาดสด ร้านขายของฝากในจังหวัดภาคเหนือ และไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 30 ตัวอย่าง เมื่อเดือนกันยายน 2563 ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic acid)         สรุปผลการทดสอบ พบว่า มีผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวน 3 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดทั้งสองชนิดเลย ได้แก่ 1) บิ๊กซี หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ 2) บ้านไผ่ หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ  และ 3) ส.ขอนแก่น หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ     มีผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวน 4 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบกรดซอร์บิกแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่        1)  เอโร่ aro จาก สยามแม็คโคร สาขาสามเสน กรุงเทพฯ พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ 6.34 มก./กก.        2)  เซฟแพ็ค Savepak จาก สยามแม็คโคร สาขาสามเสน กรุงเทพฯ พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ 6.68 มก./กก.        3)  444 ตองสี่ จาก ร้านตองสี่ ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ 860.23 มก./กก.         4)  ป้าปี๋ (ขนาดใหญ่ ซองสีแดงเหลือง)  พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ  883.96 มก./กก.         และมีผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวน 1 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบกรดซอร์บิกเกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ หมูยอ พญาลอ ตลาดแม่ทองคำ จ.พะเยา พบปริมาณกรดซอร์บิก 1,652.41 มก./กก.        นางสาวพวงทอง ว่องไว ผู้ประสานงานองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวว่า “ การเก็บตัวอย่างหมูยอ ครั้งนี้เราสุ่มเก็บตัวอย่างหมูยอที่วางจำหน่ายตามตลาดสด ร้านขายของฝากในพื้นที่ภาคเหนือ ได้รับความร่วมมือจาก จังหวัด ได้แก่ พะเยา, แพร่, เชียงราย, สำปาง, ลำพูน และเชียงใหม่ และไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมจำนวน 30 ตัวอย่าง มีเพียง 1 ตัวอย่างที่พบปริมาณสารกันบูดเกินเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งทางเครือข่ายภาคเหนือที่เป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่าง หลังจากทราบผลการวิเคราะห์ไม่ได้นิ่งนอนใจ จัดประชุมหารือกับสำนักงานสาธารณสุขภาคเหนือถึงแนวทางการปรับปรุงผลิตภัณฑ์หมูยอให้ปลอดจากสารปนเปื้อน เพื่อความปลอดภัยกับผู้บริโภคในพื้นที่และเป็นของฝากในช่วงวันหยุดสงกรานต์นี้ ”         นอกจากนี้นิตยสารฉลาดซื้อสังเกตว่า โดย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศฯ ได้กำหนดปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภทกรดซอร์บิก ในหมวดอาหารประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดและผ่านกรรมวิธีไว้ โดยอนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม         ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก ในอาหารประเภทหมูยอไก่ยอ ลูกชิ้น (เนื้อวัว,เนื้อหมู,เนื้อไก่) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดทำให้สุกโดยใช้ความร้อนเอาไว้ ดังนั้นตามข้อกำหนดจึงไม่สามารถใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกในผลิตภัณฑ์หมูยอได้         จากการสังเกตเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 27 ตัวอย่างที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย มีเพียง 11 ตัวอย่างเท่านั้น (ร้อยละ 40.74) ที่แสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์         จากการสังเกตข้อมูลวันผลิตและวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 30 ตัวอย่าง มีเพียง 10 ตัวอย่างเท่านั้น (ร้อยละ 33.33) ที่แสดงข้อมูลวันผลิตหรือวันหมดอายุ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หมูยอบางตัวอย่างที่วางจำหน่ายในตลาดสด หรือร้านของฝาก ซึ่งไม่ได้มีการระบุวันผลิต วันหมดอายุ อาจเนื่องมาจากเป็นสินค้าที่ผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง แบบวันต่อวัน         จากการตรวจสอบข้อมูลเลขสารบบอาหาร พบว่า เลข อย.ที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์หมูยอบางตัวอย่าง ตรวจไม่พบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ มีชื่อผลิตภัณฑ์ หรือ สถานที่ผลิต ไม่ตรงกับในระบบฐานข้อมูล        ข้อแนะนำในการบริโภค หากเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากจำพวกหมูยอไก่ยอ ลูกชิ้น ไส้อั่ว ในเบื้องต้นผู้บริโภคอาจสังเกตข้อมูลบนฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อว่ามีข้อความ “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” หรือไม่ โดยหากไม่มีการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลาก อาจเป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ซึ่งแม่ค้าปรุงและนำมาขายเอง ก็ให้สอบถามจากแม่ค้าดูว่ามีการใช้สารกันบูดหรือไม่         นอกจากนี้ การบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่พอเหมาะและไม่บ่อยครั้งจนเกินไป เป็นการหลีกเลี่ยงการสะสมสารกันบูดและวัตถุเจือปนอาหารประเภทอื่นๆ อีกด้วย        อ่านผลทดสอบเพิ่มเติมได้ที่ www.chaladsue.com/article/3555

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 236 ผลทดสอบวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์หมูยอ

นอกจากแคบหมูกับน้ำพริกหนุ่มที่เป็นของฝากยอดฮิตของเมืองเหนือแล้ว หมูยอก็เป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์หนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อเป็นของฝากเช่นกัน โดยก่อนนี้ ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 221 เดือนกรกฎาคม 2562 ได้ทดสอบสารกันบูดในน้ำพริกหนุ่มกันไปแล้ว ฉบับนี้จึงขอเก็บผลิตภัณฑ์หมูยอนำมาทดสอบกันบ้าง หลังจากที่เคยเก็บตัวอย่างหมูยอมาทดสอบเมื่อ 11 ปีที่แล้ว ในฉบับที่ 95 (เดือนมกราคม 2552)        หมูยอเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูปที่พร้อมนำมาปรุงอาหารได้ง่ายๆ เหมือนกับลูกชิ้นและไส้กรอก มีส่วนประกอบสำคัญ ได้แก่ เนื้อหมู, แป้งมันสำปะหลัง, เกลือ, พริกไทย และเครื่องปรุงรส หมูยอนิยมนำไปทำเมนูอาหารได้หลากหลาย จัดเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูปที่ได้รับความนิยมมากอีกชนิดหนึ่งเช่นกัน ผลิตภัณฑ์หมูยอที่วางจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด มีทั้งแบบห่อด้วยใบตองเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม และมีแบบห่อบรรจุภัณฑ์พลาสติกใสที่สามารถเห็นชิ้นหมูยอได้ชัดเจน เรื่องความอร่อยขึ้นอยู่กับรสนิยม แต่ในเรื่องความปลอดภัยจากวัตถุเจือปนอาหารอย่างเช่น สารกันบูดหรือวัตถุกันเสียนั้น ฉลาดซื้ออาสาทดสอบให้ผู้บริโภคได้ทราบกันในฉบับนี้         นิตยสารฉลาดซื้อและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ จึงสุ่มเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอที่วางจำหน่ายตามตลาดสด ร้านขายของฝากในจังหวัดภาคเหนือ และไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 30 ตัวอย่าง ส่งตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic acid) ว่าเป็นไปตามเกณฑ์ข้อกำหนดของทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือไม่ สรุปผลการทดสอบ         จากตารางแสดงผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic acid) และ กรดซอร์บิก (Sorbic acid) ในผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวนทั้งหมด 30 ตัวอย่าง พบว่า         มีผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวน 3 ตัวอย่าง ที่ตรวจไม่พบสารกันบูดทั้งสองชนิดเลย ได้แก่         1) บิ๊กซี หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ        2) บ้านไผ่ หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ         และ     3) ส.ขอนแก่น หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ              มีผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวน 4 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบกรดซอร์บิกแต่ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่        1) เอโร่ aro จาก สยามแม็คโคร สาขาสามเสน กรุงเทพฯ            พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ  6.34  มก./กก.                 2) เซพแพ็ค Savepak จาก สยามแม็คโคร สาขาสามเสน กรุงเทพฯ            พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ  6.68  มก./กก.                 3) 444 ตองสี่ จาก ร้านตองสี่ ต.ต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา            พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ  860.23 มก./กก.          4) ป้าปี๋ (ขนาดใหญ่ ซองสีแดงเหลือง)             พบปริมาณกรดซอร์บิก เท่ากับ  883.96 มก./กก.        และมีผลิตภัณฑ์หมูยอ จำนวน 1 ตัวอย่าง ที่ตรวจพบกรดซอร์บิกเกินเกณฑ์มาตรฐาน ได้แก่ หมูยอ พญาลอ พบปริมาณกรดซอร์บิก 1652.41 มก./กก.         โดย ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ตามบัญชีหมายเลข 1 แนบท้ายประกาศฯ ได้กำหนดปริมาณสูงสุดของวัตถุกันเสียประเภทกรดซอร์บิก ในหมวดอาหารประเภทผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดและผ่านกรรมวิธีไว้ โดยอนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 1500 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม         ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) ไม่ได้กำหนดปริมาณของวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก ในอาหารประเภทหมูยอไก่ยอ ลูกชิ้น (เนื้อวัว,เนื้อหมู,เนื้อไก่) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์บดทำให้สุกโดยใช้ความร้อนเอาไว้ ดังนั้นตามข้อกำหนดจึงไม่สามารถใช้วัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกในผลิตภัณฑ์หมูยอได้         แต่จากการตรวจวิเคราะห์พบว่า หมูยอ ที่ส่งทดสอบจำนวน 30 ตัวอย่าง พบกรดเบนโซอิกในจำนวน 23 ตัวอย่าง ในปริมาณตั้งแต่ 3.18 – 3874.95 มก./กก.        ข้อสังเกตการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสีย         จากการสังเกตเรื่องการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 27 ตัวอย่างที่ตรวจพบวัตถุกันเสีย มีเพียง 11 ตัวอย่างเท่านั้น (ร้อยละ 40.74) ที่แสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลากผลิตภัณฑ์         ข้อสังเกตการแสดงวันผลิตและหมดอายุ         จากการสังเกตข้อมูลวันผลิตและวันหมดอายุบนฉลากผลิตภัณฑ์ พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 30 ตัวอย่าง มีเพียง 10 ตัวอย่างเท่านั้น (ร้อยละ 33.33) ที่แสดงข้อมูลวันผลิตหรือวันหมดอายุ ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์หมูยอบางตัวอย่างที่วางจำหน่ายในตลาดสด หรือร้านของฝาก ซึ่งไม่ได้มีการระบุวันผลิต วันหมดอายุ อาจเนื่องมาจากเป็นสินค้าที่ผู้ปรุงเป็นผู้จำหน่ายแก่ผู้บริโภคโดยตรง แบบวันต่อวัน        เปรียบเทียบราคาต่อกรัม         เมื่อลองเปรียบเทียบราคาต่อกรัมของผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 30 ตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างผลิตภัณฑ์หมูยอที่มีราคาจำหน่ายสูงสุดนั้นอยู่ที่ 0.35 บาท/กรัม ได้แก่ ส.ขอนแก่น หมูยอ (หมูผสมไก่) จาก บิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ จ.สมุทรปราการ และราคาจำหน่ายต่ำสุดนั้นอยู่ที่ 0.06 บาท/กรัม ได้แก่ โกบอม, พานทอง และ หมูยอเส้น เจ๊รดา ทั้งสามตัวอย่างซื้อจากตลาดสดบ้านดู่ ต.บ้านดู่ อ.เมือง จ.เชียงราย ซึ่งหากลองเฉลี่ยราคาจำหน่ายของผลิตภัณฑ์หมูยอทั้ง 30 ตัวอย่าง ราคาเฉลี่ยจะอยู่ที่ 0.17 บาท/กรัม        ข้อสังเกตอื่น ๆ         จากการตรวจสอบข้อมูลเลขสารบบอาหาร พบว่า เลข อย.ที่แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์หมูยอบางตัวอย่าง ตรวจไม่พบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลบนเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ มีชื่อผลิตภัณฑ์ หรือ สถานที่ผลิต ไม่ตรงกับในระบบฐานข้อมูล        ข้อแนะนำในการบริโภค         หากเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ของฝากจำพวกหมูยอไก่ยอ ลูกชิ้น ไส้อั่ว ในเบื้องต้นผู้บริโภคอาจสังเกตข้อมูลบนฉลากสินค้าก่อนตัดสินใจซื้อว่ามีข้อความ “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” หรือไม่ โดยหากไม่มีการแสดงข้อมูลการใช้วัตถุกันเสียบนฉลาก อาจเป็นสินค้าที่ผลิตและจำหน่ายแบบวันต่อวัน ซึ่งแม่ค้าปรุงและนำมาขายเอง ก็ให้สอบถามจากแม่ค้าดูว่ามีการใช้สารกันบูดหรือไม่         นอกจากนี้ การบริโภคผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ในปริมาณที่พอเหมาะและไม่บ่อยครั้งจนเกินไป เป็นการหลีกเลี่ยงการสะสมสารกันบูดและวัตถุเจือปนอาหารประเภทอื่นๆ อีกด้วย  ข้อมูลอ้างอิง- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 237) พ.ศ. 2544 เรื่อง การแสดงฉลากของอาหารพร้อมปรุงและอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมบริโภคทันที - ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 418) พ.ศ. 2563 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 227 กุนเชียงกับสารตรึงสีและสารกันบูด

        ไส้กรอก แฮม แหนม กุนเชียง หมูยอ เป็นเนื้อสัตว์แปรรูปที่คนไทยนิยมทาน นอกจากอร่อยแล้วยังสะดวกในการปรุงด้วย เพราะเพียงแค่อุ่นร้อนไม่กี่นาทีก็รับประทานได้ และยังหาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป รวมถึงการซื้อเป็นของฝากติดไม้ติดมือเมื่อเดินทางท่องเที่ยว นิตยสารฉลาดซื้อ และโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้เคยเก็บตัวอย่างและทดสอบสินค้าในกลุ่มนี้หลายชนิด ทั้งไส้กรอก หมูยอ แหนม  ซึ่งช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการซื้อสินค้าที่ดี ปลอดภัย อีกทั้งในรายที่ตกมาตรฐาน ก็ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ดีขึ้น         ดังนั้นเพื่อเฝ้าระวังสินค้ากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ทางโครงการฯ และนิตยสารฉลาดซื้อ จึงเก็บตัวอย่างสินค้า กุนเชียง ซึ่งเป็นไส้กรอกประเภทหนึ่ง ซึ่งนิยมรับประทานกันมากและจัดเป็นของฝากของภาคอีสานมาทดสอบ ครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนทีมอาสาสมัครจากเครือข่ายผู้บริโภคภาคอีสาน ในการเก็บตัวอย่าง กุนเชียงจำนวน 19 ตัวอย่าง เดือนธันวาคม 2562 โดยเน้นพื้นที่โซนภาคอีสาน ได้แก่ กุนเชียงหมู 9  ตัวอย่าง  กุนเชียงไก่  5  ตัวอย่าง และกุนเชียงปลา 5 ตัวอย่าง เพื่อทดสอบหาสารไนเตรท ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารตรึงสี(ช่วยให้มีสีแดงสวยและป้องกันการเน่าเสีย) และวัตถุกันเสีย สองชนิด ได้แก่ กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก มาดูกันว่า ผลทดสอบเป็นเช่นไร        กุนเชียง ผลิตภัณฑ์พื้นบ้านที่มีต้นกำเนิดมาจากจีน จัดเป็นไส้กรอกประเภทหนึ่ง ภาษาอังกฤษเรียกว่า  Chinese sausage หรือ ไส้กรอกจีน ดั้งเดิมมีส่วนประกอบหลักเป็นเนื้อหมูและมันหมู โดยเนื้อสำหรับทำกุนเชียงจะเป็นเนื้อหมูที่บดหยาบกว่าเนื้อหมูที่ทำไส้กรอก แต่ปัจจุบันอาจผลิตจากเนื้อสัตว์อื่น เช่น ไก่ ปลา ซึ่งในการผลิตกุนเชียงผู้ผลิตบางรายอาจเติมเกลือไนไตรท์และเกลือไนเตรทเข้าไปด้วย เพื่อเป็นสารกันเสียและตรึงสีทำให้กุนเชียงมีสีแดงน่าทาน และอาจเติมวัตถุกันเสียประเภทกรดเบนโซอิกและซอร์บิก เพื่อให้สินค้าคงสภาพได้นานขึ้นเก็บตัวอย่างเดือนธันวาคม 2562สรุปผลทดสอบ                   สรุปผลทดสอบ        จากการทดสอบกุนเชียง จำนวน 19 ตัวอย่าง สรุปได้ดังนี้        -          กุนเชียงทุกตัวอย่างปลอดภัย ไม่มีวัตถุเจือปนอาหาร ไนไตรท์ ไนเตรท กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เกินค่ามาตรฐาน        -          ไม่พบไนไตรท์ใน 18 ตัวอย่าง พบน้อยกว่า 10 มิลลิกรัม/กิโลกรัม 1 ตัวอย่าง          -          พบไนเตรทเล็กน้อย ที่ค่าเฉลี่ย 11.31 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และไม่พบเลย 7 ตัวอย่าง        -          พบกรดเบนโซอิกในปริมาณไม่เกินมาตรฐาน ซึ่งเป็นไปตามที่ผู้ผลิตได้แจ้งไว้บนผลิตภัณฑ์ (การพบปริมาณกรดเบนโซอิกเพียงเล็กน้อย เป็นไปได้ว่าอาจเกิดจากวัตถุดิบที่นำมาเป็นส่วนประกอบ มิได้เกิดจากการตั้งใจใช้เพื่อป้องกันการเน่าเสีย)  วิธีเลือกซื้อกุนเชียง        1.เลือกที่เนื้อแน่น คงรูป ไม่มีโพรงอากาศ เนื้อมีความนุ่มพอเหมาะ เนื้อและมันสัตว์ผสมกันอย่างทั่วถึง ไม่รวมกันเป็นกลุ่มก้อน        2.เลือกสีที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติของส่วนประกอบที่ใช้ และสม่ำเสมอตลอดชิ้น ไม่มีสีผิดปกติ เช่น ซีด เขียวคล้ำ ดำ หรือรอยไหม้        3.ไม่มีกลิ่น ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน         4.ไม่มีสิ่งแปลกปลอม เช่น เส้นผม ดิน กรวด ทราย ชิ้นส่วนหรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์        5.ภาชนะบรรจุสะอาด แห้ง ผนึกได้เรียบร้อย และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้        6.เลือกซื้อจากร้านค้าที่น่าเชื่อถือ วัตถุเจือปนอาหารในผลิตภัณฑ์กุนเชียงกุนเชียงจัดอยู่ในกลุ่ม เนื้อสัตว์บดที่ผ่านกระบวนการหมักหรือไม่ก็ได้แล้วและทำแห้งโดยไม่ใช้ความร้อน ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ.2561 เรื่องวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ใช้ไนไตรท์ ซึ่งเป็นสารคงสภาพของสีและสารกันเสีย ในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ได้ไม่เกิน 80 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและอนุญาตให้ใช้วัตถุกันเสีย กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์ประเภทนี้ ได้ไม่เกิน 1000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ไนไตรท์ คือ อะไร“ไนไตรท์” เป็นวัตถุเจือปนอาหาร (food additives) ในกลุ่มสารกันเสีย (preservative) และสารตรึงสี ในผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก แหนม หมูยอ กุนเชียง ที่มีการอนุญาตให้ใช้ “ไนไตรท์” ได้ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่กำหนด โดย “ไนไตรท์” มีคุณสมบัติในการยับยั้งการเน่าเสีย และยังมีหน้าที่ในการตรึงสีของเนื้อสัตว์แปรรูปให้เป็นสีชมพู ไม่ซีดไม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวคล้ำอันตรายหรือไม่        อันตราย หากใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าที่กำหนด โดยไนไตรท์จะทำให้ร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลง อาจเป็นลม หมดสติได้ แต่จะอันตรายมากกว่า หากไม่ใส่ในอาหารกลุ่มไส้กรอก กุนเชียง ฯลฯ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสิ่งที่อันตรายที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเนื้อสัตว์แปรรูป คือ การเกิดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า “คลอสตริเดียม โบทูลินั่ม” ที่สามารถสร้างสารพิษร้ายแรงที่มีชื่อว่า “โบทูลินั่มท็อกซิน” (Botox) ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาต และถ้าร่างกายได้รับมากเกินไปก็อาจเสียชีวิตได้        การใช้ “ไนไตรท์” ภายใต้ปริมาณที่กำหนด สามารถช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียนี้ จึงช่วยให้มีความปลอดภัยในการบริโภคมากขึ้น ซึ่ง European Food Safety Authority (EFSA) ได้บ่งชี้ว่าการใช้เกลือไนไตรท์ในปริมาณที่พอเหมาะ (50-100 มก./กก.) จะควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียกลุ่มคลอสตริเดียมโบทูลินัม ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถสร้างสารพิษ ชื่อ โบทูลินั่มท็อกซิน        ในแต่ละวันร่างกายเราได้รับสารไนไตรท์ที่มาจากเนื้อสัตว์แปรรูปโดยเฉลี่ยประมาณ 10% อีก 90% เราได้รับมาจากพืชและแหล่งอาหารอื่นๆ ที่เราบริโภค ซึ่งหากรับประทานในปริมาณที่กำหนดก็จะไม่มีอันตรายแต่อย่างใด แต่หากได้รับมากเกินไป จะทำให้ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงผิดปกติ ไม่สามารถนำพาออกซิเจนไปใช้ได้ อาจทำให้หมดสติและเสียชีวิตได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 95 หมูยอ ก็ไม่พ้นสารกันบูด

หมูยอ อาหารพื้นบ้านที่คนส่วนใหญ่นิยมชมชอบรับประทานและนิยมซื้อเป็นของฝากเวลาไปแอ่วเมืองเหนือหรือเยือนถิ่นอีสาน ซึ่งเป็นภูมิภาคที่ได้ชื่อว่า มีผลิตภัณฑ์แหนมและหมูยอ เป็นของดีของฝากประจำจังหวัดเดิมเวลาอยากกินหมูยอ เราอาจต้องรอให้คนซื้อมาฝาก แต่ตอนนี้แค่เดินเข้าร้านสะดวกซื้อก็มีขายแล้ว เพราะเขาพัฒนาให้หมูยอกลายเป็นสินค้าที่สามารถส่งขายได้ทั่วประเทศ แต่ผู้บริโภคก็ต้องระวังไว้นะคะ เพราะหมูยอ จำเป็นมากที่ต้องใส่สารกันบูด เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อหมู ที่เอามาปั่นให้ละเอียดและผสมเครื่องปรุงตามสูตร ตีให้เหนียวหนับจนสามารถปั้นเป็นแท่งกลมๆ ได้ ก่อนจะทำให้สุก  แม้เป็นอาหารที่สุกแล้ว แต่ก็อย่างที่ทราบกันว่า อากาศบ้านเรานั้นเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์สุดๆ ดังนั้นอาหารชนิดนี้หากจะส่งขายทั่วประเทศหรือแม้แต่เจ้าดังที่ขายในท้องถิ่นหรือตลาดสดประจำเมืองท่องเที่ยวทั้งหลาย ก็จำเป็นต้องผสมสารกันบูดกันไว้ก่อน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้กรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก เพื่อถนอมรักษาให้ผลิตภัณฑ์ไม่บูดเน่าเสียก่อนจะเข้าปากผู้บริโภค  ------------------------------------------------------------------------------------------------------- กรดเบนโซอิกหรือเกลือเบนโซเอทมีคุณสมบัติในการละลายน้ำได้ดี เมื่อใส่ลงในอาหาร ทำให้รสชาติไม่เปลี่ยนแปลง และมีราคาถูก ประสิทธิภาพของกรดเบนโซอิก คือสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตและทำลายเชื้อจุลินทรีย์จำพวกยีสต์และแบคทีเรียได้ดี โดยปกติร่างกายของคนเรา สามารถกำจัดกรดเบนโซอิกออกได้โดยขับออกมาทางปัสสาวะ ------------------------------------------------------------------------------------------------------- การผสมสารกันบูดทั้งสองชนิดที่กล่าวมา ไม่ใช่เรื่องต้องห้าม สามารถทำได้ค่ะ ทางกระทรวงสาธารณสุขเขาอนุญาต แต่มีมาตรฐานกำหนดไว้ว่าต้องไม่เกิน 1000 มิลลิกรัม/กิโลกรัม  เพราะถ้ามากกว่านี้เราก็เสี่ยงกับการรับสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายมากเกินไป (ต้องไม่ลืมว่าวันหนึ่งเรากินอะไรสารพัดอย่าง อาจไปเจอเอาสารกันบูดสองตัวนี้เข้าอีกก็ได้)ฉลาดซื้อจึงไปเดินตลาด เดินซูเปอร์มาร์เก็ตในห้างและร้านสะดวกซื้อ แล้วได้หมูยอชนิดที่วางขายทั่วประเทศจำนวน  5 ยี่ห้อ ได้แก่ 1.เจ๊หงษ์  หมูยอ 2.เจ้าสัว เตียหงี่เฮียง 3.เวียงเหนือ หมูยอ 4.บ้านไผ่ หมูยอ  5.ส.ขอนแก่น หมูยอเล็ก แล้วยังได้หมูยอที่จำหน่ายใน กาดวโรรส ตลาดดังเมืองเชียงใหม่ มาอีก 3 ยี่ห้อ คือ ป้าย่น หมูยอตำรับจีนไหหลำ วิมลรัตน์ หมูยอพริกไทยดำและสมพัตร หมูยอ ตำรับอุดร ซึ่ง 3 ตัวหลังนี้ไม่มีวันหมดอายุระบุ เพราะแม่ค้าเขาแจ้งว่า “ขายหมดวันต่อวันจ้า” ตารางทดสอบ สารกันบูด Benzoic and Sorbic acid ;ในผลิตภัณฑ์หมูยอ

อ่านเพิ่มเติม >