ฉบับที่ 248 รู้เท่าทันการหุงข้าวแบบลดน้ำตาลอย่างง่ายๆ

        ฉบับที่แล้วได้กล่าวถึงหม้อหุงข้าวลดน้ำตาลว่า ไม่สามารถลดน้ำตาลได้ร้อยละ 70 ตามโฆษณา ฉบับนี้เราจะบอกถึงวิธีหุงข้าวแบบธรรมดาที่สามารถลดน้ำตาลได้ง่ายๆ เพียงแค่เปลี่ยนวิธีหุงข้าว เรามารู้เท่าทันกันเถอะวิธีการหุงข้าวแบบธรรมดาที่สามารถลดน้ำตาลในข้าวได้        การหุงข้าวแบบที่ช่วยลดน้ำตาลนั้น มีงานวิจัยใน Pubmed ปี ค.ศ. 2015 ว่า ข้าวที่หุงสุกแล้ว เมื่อนำมาทำให้เย็นลง จะทำให้แป้งของข้าวเกิดการคืนตัว (retrogration) ทำให้เพิ่มปริมาณของแป้งและผลิตภัณฑ์ของแป้งที่ทนต่อการย่อยด้วยเอนไซม์หรือแป้งที่ให้พลังงานต่ำ (resistant starch) ซึ่งจะไม่สามารถถูกย่อยด้วยเอนไซม์และถูกดูดซึมในลำไส้เล็กของมนุษย์ แป้งที่ทนต่อการย่อยจึงเป็นเหมือนเส้นใยอาหาร สามารถผ่านเข้าไปถึงลำไส้ใหญ่และถูกย่อยโดยจุลินทรีย์ในลำไส้ใหญ่ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ ที่เอื้อต่อการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อลำไส้ ช่วยสร้างความแข็งแรงให้แก่เซลล์ผนังลำไส้ใหญ่  ผลจากการย่อยที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้ร่างกายได้รับปริมาณพลังงานในระดับต่ำกว่าปกติ หรือทำหน้าที่คล้ายกับใยอาหาร ซึ่งหากบริโภคเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น เบาหวาน อ้วน หัวใจ และมะเร็ง เป็นต้น         งานวิจัยได้ศึกษา ข้าวขาวที่หุงสุกใหม่ๆ (ข้าวควบคุม) ข้าวขาวที่หุงสุกแล้วทิ้งให้เย็นในอุณหภูมิห้องเป็นเวลา 10 ชั่วโมง (ข้าวทดลอง I) และข้าวขาวที่หุงสุกแล้วแช่ตู้เย็นอุณหภูมิ 4 องศาเซนติเกรด เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วนำมาอุ่นใหม่ (ข้าวทดลอง II)  ผลการศึกษาพบว่า แป้งที่ทนต่อการย่อยในข้าวควบคุม ข้าวทดลอง I และข้าวทดลอง II เป็น 0.64 กรัม/100 กรัม, 1.30 กรัม/100 กรัม และ 1.65 กรัม/100 กรัม ตามลำดับ และเมื่อทำการศึกษาผลต่อการขึ้นของระดับน้ำตาลในเลือดได้รวดเร็วเพียงใดภายใน 2-3 ชั่วโมง หลังการบริโภคอาหารชนิดนั้น ในอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 15 คน พบว่า ข้าวทดลอง II จะมีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวควบคุมและข้าวทดลอง I อย่างมีนัยสำคัญ         โดยสรุป การทำให้ข้าวที่หุงสุกเย็นลงจะทำให้เกิดแป้งที่ทนต่อการย่อย การแช่ข้าวที่หุงสุกในตู้เย็น (อุณหภูมิ 4 องศาเซนติเกรด) เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ก่อนนำมาอุ่นให้ร้อน จะช่วยลดดัชนีน้ำตาลของข้าวเมื่อเทียบกับข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ หุงข้าวด้วยน้ำมันมะพร้าวช่วยลดพลังงานจากข้าวได้         นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากสถานีวิทยุบีบีซี ว่า นักวิจัยชาวศรีลังกาสามารถลดแคลอรี่ในข้าวได้ร้อยละ 60 โดยการหุงข้าวในน้ำมันมะพร้าวเป็นเวลา 40 นาที ทิ้งให้เย็นและแช่ข้าวในตู้เย็นเป็นเวลา 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตาม คงต้องรอผลการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่เชื่อถือได้        สรุป     ข้าวที่หุงสุกแล้ว เมื่อนำไปแช่ในตู้เย็นเป็นเวลา 24 ชั่วโมง จะทำให้แป้งของข้าวกลายเป็นแป้งที่ทนต่อการย่อย และถูกดูดซึมน้อยลงในลำไส้เล็ก มีผลทำให้ระดับน้ำตาลในร่างกายลดน้อยลงเมื่อเทียบกับการกินข้าวที่หุงสุกใหม่ๆ ผู้ที่เป็นเบาหวาน อ้วน จึงควรลองเปลี่ยนวิธีเป็นรับประทานข้าวหุงสุกที่แช่ตู้เย็น และนำมาอุ่นร้อนหรือเปลี่ยนวิธีการหุงข้าวเพื่อช่วยลดน้ำตาล

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 247 รู้เท่าทันหม้อหุงข้าวลดน้ำตาล

        ช่วงนี้กระแสโฆษณาหม้อหุงข้าวลดน้ำตาลกำลังมาแรงทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจีน ญี่ปุ่น และประเทศต่างๆ ในเอเชียที่กินข้าวเป็นอาหารหลัก ข้าวเป็นอาหารประเภทแป้ง ซึ่งจะย่อยกลายเป็นน้ำตาล ดังนั้นกลุ่มผู้ที่เป็นเบาหวานและต้องการลดน้ำตาล จึงสนใจหม้อหุงข้าวลดน้ำตาลกันอย่างมากมาย เรามารู้เท่าทันกันเถอะ หม้อหุงข้าวลดน้ำตาลลดน้ำตาลคืออะไร         หม้อหุงข้าวลดน้ำตาลนั้นจะมีกระบวนการในการหุงที่แตกต่างกันกับหม้อหุงข้าวทั่วไป โดยมีการแยกน้ำที่ได้จากการหุงข้าวออกมาจากข้าว ทำให้ระดับน้ำตาลภายในข้าวลดลงได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์หลังจากข้าวสุกแล้ว ทำให้เข้ากับกระแสการต่อต้านน้ำตาล หม้อหุงข้าวลดน้ำตาลจึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศจีน จนสถาบันอาหารปักกิ่งต้องออกมาทำการทดลองว่า หม้อหุงข้าวลดน้ำตาลสามารถลดน้ำตาลได้ 70 เปอร์เซนต์จริงหรือไม่ หม้อหุงข้าวลดน้ำตาลช่วยลดน้ำตาลในข้าวได้จริงหรือไม่         ข้อมูลจากเว็บไซต์ใน Blogdits อ้างอิงข้อมูลจาก https://www.chinanews.com/cj/2020/10-31/9326997.shtml พบว่า กระบวนการทำงานของหม้อหุงข้าวลดน้ำตาลนั้น ไม่สามารถที่จะใช้ในการลดน้ำตาลภายในข้าวได้จริง เนื่องจากว่าภายในเมล็ดข้าวนั้นจะประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรตซึ่งเป็นแป้งถึงร้อยละ 90 ของเมล็ดข้าว และร้อยละ 75 ของข้าวเป็นแป้ง โดยองค์ประกอบของแป้งเป็นพอลิแซคคาไรด์ที่เกิดจากกลูโคสจำนวนหลายพันโมเลกุลมาต่อกัน มีโครงสร้างเป็นทั้งแบบสายยาวและกิ่งก้านสาขา แป้งมีมากในพืชประเภทเมล็ดเช่นเมล็ดข้าวและพืชที่มีหัวหัว เมื่อแป้งถูกความร้อนจะกลายเป็นเด็กซ์ตริน ซึ่งเป็นสารที่มีรสหวานเล็กน้อยและมีสมบัติเหนียวแบบกาว ถ้ากินมากเกินไปจะทำให้อ้วนได้  ดังนั้นไม่ว่าจะโดนความร้อนหรือมีการแยกน้ำที่ใช้ในการต้มข้าวออกจากการหุงข้าวก็ตาม ก็ไม่สามารถที่จะทำการลดปริมาณน้ำตาลที่อยู่ภายในข้าวหรือเมล็ดข้าวได้อย่างมีนัยยะสำคัญและสามารถที่จะช่วยในการลดปริมาณน้ำตาลภายในข้าวได้จริงนั่นเอง         สถานีโทรทัศน์ของจีนยังรายงานผลการทดลองการเปรียบเทียบโดยการวัดระดับน้ำตาลภายในเลือดของอาสาสมัครที่กินข้าวที่หุงด้วยหม้อหุงข้าวธรรมดา กับ ข้าวที่หุงด้วยเครื่องหุงข้าวลดน้ำตาลพบว่า อาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม มีระดับน้ำตาลที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยยะสำคัญการหุงข้าวที่แยกน้ำออกจากข้าว คล้ายกับการเช็ดข้าวแบบสมัยก่อน ซึ่งนำมาใช้กับการหุงข้าวแบบหม้อหุงข้าวลดน้ำตาล ซึ่งน้ำข้าวนั้นจะอุดมไปด้วย โพลิฟีนอล วิตามินบีคอมเพลกซ์ วิตามินอี เป็นต้น  โดยเฉพาะวิตามินบี จะสูญเสียไปได้ง่าย         การกินข้าวที่หุงข้าวแบบทิ้งน้ำข้าวเป็นเวลานาน จะต้องกินวิตามินรวมเสริม หรือกลุ่มวิตามินบี เพื่อทดแทนวิตามินที่สูญเสียไป         ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิผลของการลดน้ำตาลในข้าวที่หุงด้วยหม้อหุงข้าวลดน้ำตาล         สรุป     ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันประสิทธิผลการลดน้ำตาลของข้าวที่หุงด้วยหม้อหุงข้าวลดน้ำตาล              ฉบับหน้า จะพูดถึงการหุงข้าวอีกแบบหนึ่งที่เป็นการลดการดูดซึมแป้งหรือน้ำตาลในข้าวที่มีงานวิจัยรองรับ

อ่านเพิ่มเติม >

ทดสอบ 97 หม้อหุงข้าวรุ่นไหน หุงไว กินไฟน้อย

เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ตัวอย่างหม้อหุงข้าวซื้อมาจากเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีราคาตั้งแต่ 459 บาท ถึง 1830 บาท แบ่งตามขนาดบรรจุได้แก่- หม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร จำนวน 3 รุ่น ได้แก่ TOSHIBA รุ่น RC- T 10 AFS (WS), SHARP รุ่น KS- 11ET และ HITACHI รุ่น RZ -10B- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร จำนวน 1 รุ่น ได้แก่ ยี่ห้อ PHILIPS รุ่น HD 4733- หม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร จำนวน 7 รุ่น ได้แก่ OTTO รุ่น CR-180 T, MITSUMARU รุ่น AP- 618, KASHIWA รุ่น RC-180, TOMEX รุ่น TRC-KR 80, IMAFLEX รุ่น LP-919 A, SKG รุ่น SK- 18 F และ PANASONIC รุ่น SR- TEG 18 A   ในการทดสอบครั้งนี้เราจะพิจารณาการหุงข้าวเต็มหม้อและการอุ่น การทดสอบหุงข้าว ใช้หม้อหุงข้าวขนาดบรรจุ 1.5 และ 1.8 ลิตร หุงข้าว 10 ถ้วยตวง และหม้อหุงข้าวขนาดบรรจุ 1 ลิตร หุงข้าว 5 ถ้วยตวง จับเวลาตั้งแต่เริ่มหุงจนข้าวสุก (สวิตช์หม้อข้าวดีดตัว เปลี่ยนจากการหุง (cooking mode) เป็นการอุ่น (warm mode)) และปล่อยให้ข้าวระอุเป็นเวลา 10 นาที หลังจากนั้นตรวจสอบการใช้พลังงานไฟฟ้าในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวแต่ละรุ่น เวลาและพลังงานในการหุงข้าวหม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตรจากผลการทดสอบหม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร พบว่า TOSHIBA รุ่น RC- T10AFS (WS) ใช้เวลาในการหุงน้อยที่สุดคือ 22 นาที และใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดด้วยคือ 0.186 กิโลวัตต์ชั่วโมง ซึ่งถ้าหากเราหุงข้าววันละ 1 ครั้ง พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการหุงข้าวทั้งปี คือ 68 กิโลวัตต์ชั่วโมง ส่วน HITACHI รุ่น RZ- 10B และ SHARP รุ่น KS-11 ET ใช้เวลาในการหุง 24 นาทีเท่ากัน ใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 0.2 กิโลวัตต์ชั่วโมง (ดูรายละเอียดในตาราง)- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร และ1.8 ลิตร- หม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตรของ PHILIPS รุ่น HD 4733 ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร จะใช้เวลาในการหุง นานที่สุด เมื่อเทียบกับหม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร ที่นำมาทดสอบ คือใช้เวลา 35 นาที แต่ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดคือ 0.265 กิโลวัตต์ชั่วโมง สำหรับหม้อหุงข้าวขนาด 1.8 ลิตร PANASONIC รุ่น SR-TEG 18A ใช้เวลาในการหุงน้อยที่สุดคือ 24 นาที และใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดคือ 0.266 กิโลวัตต์ชั่วโมง (ดูรายละเอียดในตาราง)จากการทดสอบหุงข้าว ทั้ง 11 รุ่น พบว่าได้ข้าวสุกที่สุกอย่างทั่วถึง สามารถรับประทานได้ ความนุ่มของข้าวไม่ต่างกัน พลังงานในการอุ่นข้าวทดสอบโดยหุงข้าวเต็มหม้อ (หม้อขนาดบรรจุ 1 ลิตร ใช้ข้าว 5 ถ้วยตวง และหม้อขนาดบรรจุ 1.8 ลิตร ใช้ข้าว 10 ถ้วยตวง) และอุ่นข้าวที่หุงสุกแล้ว นาน 8 ชั่วโมง ผลการทดสอบเรียงตามการใช้พลังงานจากน้อยไปหามากดังนี้หม้อหุงข้าวขนาด 1 ลิตร- หม้อหุงข้าว HITACHI รุ่น RZ- 10B ใช้พลังงานในการหุงและอุ่น 0.359 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 132 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าวTOSHIBA รุ่น RC- T10AFS (WS) ใช้พลังงาน 0.362 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 133 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว SHARP รุ่น KS-11 ET ใช้พลังงาน 0.435 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 159 กิโลวัตต์ชั่วโมง) สำหรับหม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร และ1.8 ลิตร- หม้อหุงข้าว PHILIPS รุ่น HD 4733 ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร ใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยที่สุดคือ 0.403 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 148 กิโลวัตต์ชั่วโมง) - หม้อหุงข้าว OTTO รุ่น CR- 180 T ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.589 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 215 กิโลวัตต์ชั่วโมง) - หม้อหุงข้าว IMAFLEX รุ่น LP-919 A และหม้อหุงข้าว SKG รุ่น SK-18F ใช้พลังงานไฟฟ้าเท่ากันคือ 0.612 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 224 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว MITSUMARU รุ่น AP- 618 ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.726 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 265 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว TOMEX รุ่น TRC-KR 80 ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.78 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 285 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว PANASONIC รุ่น SR-TEG 18A ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.792 กิโลวัตต์ชั่วโมง (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 290 กิโลวัตต์ชั่วโมง)- หม้อหุงข้าว KASHIWAรุ่น RC- 180 ใช้พลังงานไฟฟ้า 0.805 กิโลวัตต์ชั่วโมง ใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด ในการทดสอบครั้งนี้ (พลังงานไฟฟ้าที่ใช้ทั้งปี คือ 294 กิโลวัตต์ชั่วโมงจากการทดสอบอุ่นข้าวเป็นเวลา 8 ชั่วโมงพบว่า หม้อหุงข้าวทั้ง 11 รุ่น ไม่เกิดการไหม้ติดที่ก้นหม้อ ข้าวที่ผ่านการอุ่นเมล็ดข้าวนุ่ม รับประทานได้ดีหมายเหตุ การคำนวณการใช้พลังงานทั้งปีคิดจาก จำนวนพลังงานที่ใช้ในการหุงและอุ่น 365 วันวัสดุและการเคลือบผิวเราสามารถแบ่งหม้อหุงข้าวด้านในได้เป็น 2 ประเภทตามวัสดุในการผลิต คือ หม้อที่ทำจากเหล็กกล้าไร้สนิม (Stainless Steel) และทำจากอลูมิเนียม วัสดุหม้อหุงข้าวตัวอย่างที่เรานำมาทดสอบเกือบทุกรุ่น จะมีหม้อในที่ผลิตจากวัสดุประเภทเหล็กสแตนเลสสตีล ยกเว้นหม้อในของHITACHI รุ่น RZ- 10B สมบัติของหม้อในที่ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมคือ ผิวมันแวววาว ไม่เป็นสนิม สามารถเก็บความร้อนได้ดี เพราะเหล็กกล้าไร้สนิม เป็นตัวนำความร้อนที่ไม่ดี นอกจากนี้ มีน้ำหนักมาก เมื่อเปรียบเทียบกับอลูมิเนียม หม้อในที่ผลิตจากอลูมิเนียม จะมีน้ำหนักเบา และไม่เป็นสนิม ร้อนเร็ว เนื่องจากอลูมิเนียมเป็นตัวนำความร้อนที่ดี แต่เก็บความร้อนไม่ดีเหมือนเหล็กกล้าไร้สนิม เคลือบเทฟลอนเทฟลอนเป็นสารเคมีสังเคราะห์ชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า Polytetrafluorethylene (PTFE) ซึ่งมีสมบัติที่ดีต่อการเคลือบผิว ป้องกันการเกาะติดแน่นของตะกรันและข้าวที่หุง ทนต่อความร้อน และสารเคมี บางครั้งอาจจะเติมส่วนผสมประเภทวัสดุเซรามิคลงไปผสม เพื่อความความแข็งแรง หรืออาจจะเติมวัสดุประเภทบรอนซ์ซึ่งเป็นโลหะผสม เพื่อเพิ่มสมบัติในการนำความร้อน ข้อควรระวังในการใช้งานไม่ควรให้ความร้อนหรือเสียบปลั๊กไฟทิ้งไว้ จนทำให้หม้อเปล่ามีอุณหภูมิสูง เพราะวัสดุเทฟลอนสามารถปล่อยไอระเหยที่เป็นพิษออกมาได้หากอุณหภูมิเกินกว่า 360 องศาเซลเซียส ซึ่งไอระเหยสารพิษที่ปล่อยมานี้ จะทำให้เกิด อาการที่เหมือนกับคนเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ได้ เราเรียกว่า Teflon fever จากการทดสอบ พบว่าไม่มีหม้อหุงข้าวรุ่นใดให้ความร้อนสูงเกินกว่า 360 องศาเซลเซียส จากการทดสอบด้วยครีมเทียม (ดูรูปภาพประกอบ 1 ก) พบว่าหม้อที่ไม่เคลือบเทฟลอน ครีมเทียมที่ไหม้ติดแน่นที่ก้นหม้อ ทำความสะอาดยาก (รูป 1 ข และ 1 ค) เทียบกับหม้อในที่เคลือบเทฟลอน ครีมเทียมที่ไหม้สามารถหลุดร่อนออกมาได้ง่าย (รูป 1 ง) อุณหภูมิสูงสุดและการกระจายตัวของความร้อนการกระจายตัวของความร้อนของหม้อในที่ดี ต้องสม่ำเสมอ ไม่ควรจะกระจุกตัวอยู่จุดเดียวเพราะ จะทำให้บริเวณนั้นมีอุณหภูมิสูงมาก อาจทำให้ข้าวบริเวณนั้นไหม้ติดก้นหม้อได้ ในขณะที่บริเวณอื่นจะมีอุณหภูมิต่ำกว่า จากการทดสอบโดยการใช้ครีมเทียม และให้ความร้อนหม้อหุงข้าวจนกระทั่งหม้อเปลี่ยนจากฟังค์ชันการหุงเป็นการอุ่น พบว่า - หม้อหุงข้าว OTTO, MITSUMARU, KASHIWA, TOMEX, IMAFLEX, SKG, PANASONIC, SHARP และ มีการกระจายตัวของความร้อนที่สม่ำเสมอ และร้อนเร็ว ที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับหม้อหุงข้าวอื่นๆ และเมื่อวัดอุณหภูมิที่ก้นหม้อจะได้ค่าอุณหภูมิสูงสุด ตั้งแต่ 170- 290 องศาเซลเซียส (ดูรูป 2 ก) - หม้อหุงข้าวที่มีการกระจายตัวของความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ คือ หม้อหุงข้าว PHILIPS รุ่น HD 4733 และหม้อหุงข้าว TOSHIBA (ดูรูป 2 ข) หม้อหุงข้าวที่มีการกระจายตัวของความร้อนได้ช้า คือ หม้อหุงข้าว HITACHI รุ่น RZ- 10B จากรูปจะเห็นว่าอุณหภูมิจะต่ำมากจนครีมเทียมไม่เปลี่ยนสี อุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ คือ 150 องศาเซลเซียส (ดูรูป 2 ค)คู่มือการใช้งาน- หม้อหุงข้าว HITACHI รุ่น RZ- 10B อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย - หม้อหุงข้าวTOSHIBA รุ่น RC- T10AFS (WS) อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก อ่านง่าย สะบายตา มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย- หม้อหุงข้าว SHARP รุ่น KS-11 ET อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่ายหม้อหุงข้าวขนาด 1.5 ลิตร และ1.8 ลิตร- หม้อหุงข้าว PANASONIC รุ่น SR-TEG 18A อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพประกอบมาก มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย และเครือข่ายศูนย์บริการ - หม้อหุงข้าว PHILIPS รุ่น HD 4733 ขนาดบรรจุ 1.5 ลิตร อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว ข้อควรจำ วิธีปฏิบัติก่อนการใช้งานครั้งแรก การใช้งาน การรับประกันและการใช้งาน การแก้ปัญหา ให้ข้อมูลของสินค้าละเอียด แต่ตัวหนังสือมีขนาดเล็กมาก และภาพประกอบแยกไปไว้ด้านหลังของเล่มทำให้ไม่สะดวกในการอ่าน - หม้อหุงข้าว OTTO รุ่น CR- 180 T อธิบายชิ้นส่วนปะกอบของหม้อหุงข้าว การใช้งานแบบง่ายๆ ข้อควรระวังและแนะนำการต่อสายดิน มีข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค - หม้อหุงข้าว MITSUMARU รุ่น AP- 618 อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว การใช้งานเพื่อความปลอดภัย ข้อควรระวังในการใช้งาน วิธีทำความสะอาด และข้อมูลทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่ายพร้อมรูปภาพประกอบ - หม้อหุงข้าว KASHIWAรุ่น RC- 180 สินค้าบางตัวไม่มีคู่มือการใช้งาน และคู่มือการใช้งานที่พบเป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย - หม้อหุงข้าว TOMEX รุ่น TRC-KR 80 อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ไม่มีข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค และที่อยู่ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย แต่มีเบอร์โทรศัพท์ของศูนย์บริการ- หม้อหุงข้าว IMAFLEX รุ่น LP-919 A อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดอุปกรณ์ ข้อควรระวังในการใช้งาน ข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค มีที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และเวปไซต์ของบริษัทที่ผลิตและจำหน่าย- หม้อหุงข้าว SKG รุ่น SK-18F อธิบายชิ้นส่วนประกอบของหม้อหุงข้าว วิธีการใช้งาน วิธีการทำความสะอาดและบำรุงรักษาอุปกรณ์ ข้อแนะนำเรื่องความปลอดภัย และข้อมูลจำเพาะทางเทคนิค ตัวหนังสืออ่านง่าย มีรูปภาพแต่ไม่คมชัด มีที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ ของบริษัทที่ผลิต   ดาวโหลด File ตารางการทดสอบหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของบริษัทที่จัดจำหน่ายหม้อหุงข้าวไฟฟ้าที่เรานำมาทดสอบ Sharp บริษัท ชาร์ปไทย จำกัด952 อาคารรามาแลนด์ ชั้น 12 ถนนพระราม 4 แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500 โทรศัพท์ 0-2638-3500 โทรสาร 0-2638-3900 ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2638-3888www.sharpthai.co.th Toshibaบริษัท โตชิบาไทยแลนด์ จำกัด201 ซ.เผือกจิตร ถ.วิภาวดีรังสิต จตุจักร กรุงเทพฯโทรศัพท์ 0-2512-0270-81โทรสาร 0-2513-0305ศูนย์บริการข้อมูล 0-2939-5611www.toshiba.co.th Panasonic บริษัท พานาโซนิค ซิว เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 75 ถนนเสรีไทย แขวงคันนายาว เขตคันนายาว กรุงเทพฯ 10230โทรศัพท์ 0-2731-8888โทรสาร 0-2731-9976ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2729-9000www.panasonic.co.th Hitachiศูนย์บริการสำนักงานใหญ่ บริษัท ฮิตาชิเซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด 994,996 ซอยทองหล่อ ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 0-2381-8381-98 โทรสาร 0-2381-9520www.hitachi-th.com Philipsบริษัท ฟิลิปส์อิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) จำกัดเลขที่ 1768 ชั้น 26-28 อาคารไทยซัมมิททาวเวอร์ ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320โทรศัพท์ 0-2614-3333 แฟกซ์ 0-2614-3444 ศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคฟิลิปส์ โทรศัพท์ 0-26528652www.philips.co.th Sanyoบริษัท ซันโย (ประเทศไทย) จำกัดอาคารซันโย 795 ถ.พระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310โทรศัพท์ 0-2308-6999 แฟกซ์ 0-2318-6211ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ 0-2308-6900 Hanabishiบริษัท ฮานาบิชิ อิเลคทริค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งอยู่เลขที่ 3/1-2, 3/72 หมู่ 5 ซอยสุขสวัสดิ์ 14 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงจอมทอง เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ (อัตโนมัติ): 0-2468-2244, 0-2476-3888, 0-2877-0285โทรสาร: 0-2877-0288-89www.hanabishi.co.th Imarflexบริษัท อิมาร์เฟล็กซ์ อินดัสเตรียล จำกัด68/13 ม.9 ถนนธนบุรี-ปากท่อ แขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพฯ 10150 โทรศัพท์ 0-2450-0033โทรสาร 0-2452-1277www.imarflex.co.thE-mail : service@imarflex.co.th SKGบริษัท เอส เค จี อีเล็คทริค กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัดซ.เอกชัย 131 แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150โทรศัพท์ 0-2892-2888, 0-2892-5082-87, 0-2894-8623-32www.skgelectric.com Tomexบริษัท คลาสสิค คลาส จำกัด38/80 ม.7 ใกล้แยกบางพลู ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ต.บางรักใหญ่ อ.บางบัวทอง จ.นนทบุรี 11110โทรศัพท์ 0-2926-7550 www.tomex.co.th Mitsumaruบริษัท ที เอ ที (ประเทศไทย) จำกัด 36/11 ม.2 ซ.บางบอน 5 ถ.เอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กรุงเทพฯ 10150โทรศัพท์ 0-2892-5950 โทรสาร 0-2892-5959www.mitsumaru.com Ottoบริษัท ออตโต้ คิงส์กลาส จำกัด88 ม.7 ถ.บรมราชชนนี แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ 10170โทรศัพท์ 0-2888-3555โทรสาร 0-2800-4500-4  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 154 หม้อหุงข้าว

หม้อเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานคู่ครัวมนุษย์มาตั้งแต่ยุคหิน ยิ่งเพื่อการหุงข้าวด้วยแล้วคนเอเชียนี่แหละที่พัฒนาหม้อได้ล้ำยุคมาตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน หม้อในยุคโบราณปั้นจากดินเหนียวแล้วเผาเพื่อเสริมความแข็งแรง ความก้าวหน้าของคนโบราณคือการต่อขาให้กับหม้อ แบบที่เรียกกันว่า หม้อสามขา ขาหม้อจะช่วยยกให้ตัวหม้อสูงขึ้นจากพื้นสามารถยัดฟืนไฟเข้าไปข้างใต้หม้อได้สะดวก พกพาไปไหนก็ไม่ลำบากเหมาะแก่การโยกย้ายถิ่นที่ จนเมื่อเริ่มตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนไม่อพยพแล้ว การมีเตาไฟประจำบ้านทำให้สะดวก ขาหม้อจึงไม่จำเป็นอีก หม้อใช้ทั้งหุงข้าว ต้มอาหาร แต่ชาติที่ว่ากันว่ามีหม้อเฉพาะสำหรับการหุงข้าวคือ ญี่ปุ่น เรียกว่า มูชิ-คามาโดะ และก็เป็นคนญี่ปุ่นอีกเช่นกันที่สร้างหม้อหุงข้าวไฟฟ้าอันแสนสะดวกสบายขึ้นมา ปลายทศวรรษ 1940 บริษัท มิตซูบิชิ อิเลคทริก ได้ผลิตหม้อหุงข้าวที่มีหม้อและขดลวดนำความร้อนอยู่ภายใน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใกล้เคียงที่สุดกับหม้อหุงข้าวในปัจจุบัน จากหม้อของมิตซูบิชิที่ยังไม่เวิร์ก บริษัทที่สร้างความลงตัวให้กับหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามากที่สุดคือ บริษัทโตชิบา จาก 700 ใบเมื่อวันแรกโชว์สินค้า(10 ธันวาคม 1956) โตชิบาต้องผลิตหม้อหุงข้าวอีก 200,000 ใบ ในเวลาเพียง 1 เดือน เพื่อจำหน่ายตามคำสั่งซื้อ และ 4 ปีต่อมาหม้อหุงข้าวไฟฟ้าได้แพร่หลายไปเกือบครึ่งประเทศญี่ปุ่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้ายังได้รับการปรับปรุงอยู่ตลอดเวลา มีทั้งแบบมาตรฐาน แบบอุ่นในตัว แบบดิจิตอลและก้าวหน้าขนาดสั่งให้หุงได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ซึ่งญี่ปุ่นอีกเช่นกันที่คิดเรื่องแบบนี้ขึ้นมาได้   //

อ่านเพิ่มเติม >