ฉบับที่ 105 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2552 21 ต.ค. 52 ระวัง!!! อาหารกระป๋องของ “บ.กิ่งแก้วฟู้ดส์” และ “บ.ไทย เอ ดี ฟู้ดส์ เทรดดิ้ง” นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่าจากการเฝ้าระวังสถานการณ์ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋อง ยังคงพบผลิตภัณฑ์ ลิ้นจี่กระป๋อง ตราชาวดอย เน่าเสียก่อนหมดอายุ และพบผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องลำไยในน้ำเชื่อมตราชาวดอย ผลิตโดย หจก.ไทย เอ ดี ฟู้ดส์เทรดดิ้ง จ.เชียงราย วางจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ซึ่งบริษัทดังกล่าวยกเลิกใบอนุญาตผลิตอาหารไปแล้วตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมทั้งบริษัททองกิ่ง-แก้วฟู้ดส์ จำกัด จ.สมุทรสาคร ได้ขาดการต่ออายุใบอนุญาตไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2552 ซึ่งมีผลให้เลขทะเบียนตำรับอาหารทั้งหมดของบริษัทสิ้นสภาพไปด้วย ดังนั้น อย.จึงประกาศเตือนผู้บริโภคอย่าซื้อผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จากทั้ง 2 บริษัทนี้มารับประทาน เพื่อความปลอดภัยในการบริโภค และหากพบเห็นผลิตภัณฑ์อาหารของบริษัทดังกล่าววางจำหน่าย สามารถร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร.1556 หรือที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ   27 ต.ค. 52ทดสอบ “เน็ต” เร็วแค่ 70% ของโฆษณาหลังจากที่สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม (สบท.) ร่วมกับสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย เปิดตัวโครงการสำรวจและทดสอบคุณภาพความเร็วอินเตอร์เน็ต ปี 2552 หรือ ‘สปีดเทสต์’ ขึ้น ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค. – 25 ต.ค. ที่ผ่านมา เพื่อศึกษาข้อมูลการให้บริการอินเตอร์เน็ตของผู้ประกอบการ (ไอเอสพี) ผ่านเว็บไซต์หลักของโครงการคือ www.speedtest.or.th จากผลการทดสอบที่ความเร็วต่ำกว่า 12 เมกะบิตต่อวินาทีลงมา และเป็นการให้บริการผ่านเทคโนโลยี ADSL คิดเป็นจำนวน 7.5 แสนราย พบว่าความเร็วที่ได้ประมาณ 70% จากที่โฆษณา โดยอินเตอร์เน็ตในเครือสามารถ คอร์ปอเรชั่น ให้บริการได้ดีที่สุด นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสบท.กล่าวว่า หากไอเอสพีต้องการใช้ความเร็วเป็นจุดขาย ก็ควรปรับคุณภาพให้ได้ตามที่โฆษณาจริงๆ แต่หากทำไม่ได้จริงก็ควรลดค่าบริการลงให้เหมาะกับคุณภาพพ.ต.อ.ญาณพล ยั่งยืน นายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย กล่าวว่า สิ่งที่สมาคมฯ กับสบท.เปิดเผยในครั้งนี้ เป็นข้อมูลเชิงสถิติ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องนำไปปรับปรุงแก้ไขซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองผู้บริโภคในภาพรวมด้วย ทั้งนี้ผู้ใช้บริการควรให้ความสำคัญกับการตรวจวัดความเร็ว หมั่นตรวจสอบความเร็วอินเตอร์เน็ตที่ใช้อยู่เป็นประจำ  29 ต.ค. 52มายังไง?! “เศษลวด” ในยาพารานายวิทยา แก้วภราดัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า จากการที่มีผู้บริโภคพบเศษลวดในยาพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งหลังจากตรวจสอบเศษลวดดังกล่าว คาดว่าน่าจะเกิดจากตะแกรงหรือแร่งสำหรับร่อนยา รวมทั้งการตั้งระบบการไหลของยาที่ผลิตเสร็จแล้วเร็วเกินไป จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด อย่างไรก็ตามได้เรียกเก็บยาล็อตดังกล่าวจากทั่วประเทศแล้ว ส่วนจะให้บริษัทเอกชนผลิตยาพาราเซตามอลต่อหรือไม่ อยู่ที่องค์การเภสัชจะพิจารณาต่อไป ขณะเดียวกันหลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)ของสหรัฐอเมริกา ได้มีการทบทวนเพื่อลดปริมาณพาราเซตามอลในตัวยา จากเดิมคือ 500 มล./เม็ด ให้เหลือเพียง 325 มล./เม็ด เพื่อช่วยลดความแรงของฤทธิ์ยาลง ซึ่งมีงานวิจัยยืนยันว่ายังคงประสิทธิภาพในการรักษาอาการปวดได้ ทำให้อย.ของไทยเร่งทบทวนการใช้ยาพาราเซตามอลอย่างเหมาะสม 31 ต.ค. 52อย.เตือนอย่าเชื่อโฆษณากาแฟลดความอ้วนปัจจุบันมีการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟสำเร็จรูปจำนวนมากที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงว่ามีผลในการลดน้ำหนัก ผิวสวย รูปร่างดี ฯลฯ นพ.นรังสันต์ พีรกิจ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า แม้ที่ฉลากจะระบุส่วนประกอบว่า มีไฟเบอร์ คอลลาเจน แอลคาร์นีทีน หรือโครเมียม แต่ยังไม่มีข้อมูลทางการวิจัยยืนยันว่า สารดังกล่าวมีผลในการลดน้ำหนัก ทำให้ผิวสวย หรือเพิ่มความงามแต่อย่างใด ส่วนเลขสารบบอาหารที่แสดงบนฉลากอาหารนั้นเป็นเพียงการประเมินความปลอดภัยเบื้องต้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ สถานที่ผลิต และส่วนประกอบเท่านั้น ไม่ได้รับรองการโฆษณาใดๆ และอย.ก็ไม่อนุญาตให้กล่าวอ้างสรรพคุณลดความอ้วนหากพบเห็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์กาแฟที่โอ้อวดเกินจริง สามารถแจ้งได้ที่สายด่วน อย.โทร.1556  สภาผู้บริโภคฯ ร้องสคบ.คุมบริการมือถือเติมเงินสภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคมและเครือข่ายผู้บริโภค ยื่นข้อเสนอต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ขอให้แก้ไขประกาศคณะกรรมการว่าด้วยสัญญา เรื่องให้ธุรกิจการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา พ.ศ. 2543 เพื่อควบคุมโทรศัพท์แบบเติมเงิน โดยประเด็นหลักๆ ที่เครือข่ายผู้บริโภคต้องการให้แก้ไข ประกอบด้วย การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเติมเงินต้องไม่มีลักษณะบังคับให้ผู้ใช้ใช้ภายในเวลาจำกัด ซึ่งระยะเวลาในการใช้บริการขั้นต่ำต้องไม่น้อยกว่า 180 วัน และต้องมีระบบคืนเงินส่วนที่เหลือที่ไม่ได้ใช้ให้กับผู้ใช้บริการ นอกจากนี้ผู้ให้บริการต้องมีส่วนรับผิดชอบต่อการให้บริการเสริมใดๆ บนเครือข่ายของตัวเอง โดยมีการชี้แจงค่าบริการและข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับบริการอย่างชัดเจนซึ่งเหตุผลที่เครือข่ายผู้บริโภคเข้ามาร้องต่อสคบ. ในครั้งนี้เพราะเห็นว่า สคบ. สามารถเอาผิดกับผู้ให้บริการได้ทั้งทางแพ่งและอาญา ซึ่งดีกว่าประกาศของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เรื่องมาตรฐานสัญญาให้บริการโทรคมนาคม พ.ศ.2549 ที่มีอำนาจเพียงการบอกเลิกสัญญาผู้ประกอบการเท่านั้นด้าน นายพิฆเนศ ต๊ะปวง ผู้อำนวยการกองคุ้มครองผู้บริโภคด้านสัญญา กล่าวว่า สคบ. ยินดีรับข้อเสนอ และนำไปศึกษาต่อว่าอยู่ในส่วนที่ สคบ. สามารถดำเนินการได้หรือไม่ พร้อมแนะให้ สภาผู้บริโภครวบรวมผู้ใช้โทรศัพท์ที่ถูกเอาเปรียบส่งให้ สคบ. ฟ้องผู้ประกอบการ เพื่อให้เห็นผลที่ชัดเจนในทางปฏิบัติ เมื่อศาลตัดสินจะได้นำมายกเป็นกรณีตัวอย่าง แต่ที่ผ่านมาการฟ้องร้องไม่ค่อยจริงจัง เพราะสามารถไกล่เกลี่ยชดเชยค่าเสียหายกันได้ เครือข่ายผู้บริโภคร่วมพลัง! ส่งตรงข้อเสนอถึง กทช. ก่อนประมูล 3Gมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จัดโครงการปฏิบัติการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคขึ้น ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ เมื่อวันที่ 5 พ.ย. ที่ผ่านมา เพื่อประชุมผู้แทนองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศครั้งที่ 1 ในการทำหน้าที่ให้ความเห็นประกอบการพิจารณาของหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมายรวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีการประมูลคลื่น 3G ของคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)นางสาวจุฑา สังคชาติ ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคใต้ กล่าวถึงประเด็นราคาประมูลและจำนวนใบอนุญาตว่า ต้องมีการออกมาตรการเรื่องการแข่งขัน การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการส่งข้อมูลหรือภาพ โดยนำมาตรการดังกล่าวไปเปิดรับฟังความคิดก่อนเปิดประมูล และควรกำหนดคุณสมบัติผู้ประมูลให้ชัดเจน เช่น ต้องเป็นผู้ประกอบการที่เป็นคนไทยเท่านั้น ต้องทำให้เกิดการแข่งขันในการประมูลใบอนุญาตและผู้ให้บริการควรคิดค่าบริการอย่างเป็นธรรมนางสาวบุญยืน ศิริธรรม ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ภาคตะวันตก กล่าวถึงเรื่องเงื่อนไขการประมูลระยะเวลาใบอนุญาตและความครอบคลุมการให้บริการ ในเชิงพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายว่า ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขการประมูลให้ชัดเจน เช่น ต้องจัดบริการให้เข้าถึงอย่างครอบคลุมทุกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ เช่น คนพิการ ต้องแจ้งโครงสร้างต้นทุนการให้บริการ เพื่อกำหนดราคาการให้บริการที่มีมาตรฐาน กทช.ต้องดูแลสัดส่วนของกองทุนบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง โดยเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายย่อยสามารถเข้ามาในตลาดการแข่งขัน และสัมปทานต้องไม่มีข้อกำหนดที่ปิดโอกาสในการขอสัมปทานในระบบอื่นในครั้งต่อไปดร.เรืองชัย ตันติยนนท์ สมาคมคุ้มครองผู้บริโภคสงขลา เสนอประเด็นการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามใบอนุญาตหรือเงื่อนไขการให้บริการว่า จะต้องมีกลไกการติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน ทั้งก่อนและหลังการประมูล อีกทั้งต้องมีกติกากำกับการดำเนินงานของผู้ประกอบการอย่างเข้มแข็งและจริงจัง มีบทลงโทษที่สามารถปฏิบัติได้จริง ทั้งนี้ กทช. ต้องสนับสนุนให้องค์กรผู้บริโภคเป็นกลไกเฝ้าระวังเพื่อติดตามตรวจสอบการดำเนินงาน และรัฐบาลต้องเร่งให้มีองค์การอิสระเพื่อผู้บริโภคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 61ด้านนายสวัสดิ์ เฟื่องฟู ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคเหนือ กล่าวถึงประเด็นกลไกการกำกับเนื้อหาในระบบ 3G ว่า ต้องจัดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลระดับประเทศ มีองค์ประกอบจากทั้ง 3 ฝ่าย คือ ผู้ให้บริการ ผู้กำกับดูแล ผู้บริโภค เข้าไปกำกับดูแลและมีบทบาททั้งเชิงการให้คุณและให้โทษ โดยทำงานร่วมกับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคภาคประชาชน รวมทั้งผู้ได้รับใบอนุญาตต้องกำหนดหรือสร้างเงื่อนไข สำหรับผู้ให้บริการเสริม ทั้งเนื้อหา ภาพ ข้อมูลให้ชัดเจนขณะที่ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเพิ่มเติมว่า จะนำข้อเสนอ ไปยื่นต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อเร่งผลักดันให้มีการออกกฎหมายองค์การอิสระผู้บริโภคตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 61 หลังจากนั้นจะนำเสนอข้อมูลให้กับคณะกรรมการโทรคมนาคมแห่งชาติในวันที่ 12 พ.ย. และจะส่งข้อเสนอต่อคณะกรรมการไอซีที สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรรมาธิการคุ้มครองผู้บริโภค และนักสิทธิมนุษยชนของวุฒิสภา เพื่อตรวจสอบว่าข้อเสนอดังกล่าวจะสามารถดำเนินการได้มากน้อยเพียงใด นอกจากนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของ กทช. เกี่ยวกับกรณี 3G ให้ประชาชนทราบ ทั้งนี้หากข้อเสนอไม่ได้รับการปฏิบัติและดำเนินการ หรือการประมูลเกิดความไม่ชอบมาพากล อาจจะใช้ มาตรา 11 ตามพระราชบัญญัติฮั้วการประมูลมาเป็นเครื่องมือสำคัญในการดำเนินการต่อไป

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 159 อาหารกระป๋อง

อาหารกระป๋องเป็นหนึ่งในความสำเร็จอันน่าทึ่งของการถนอมอาหารที่มนุษย์คิดขึ้นมาได้ ก่อนที่จะรู้ถึงสาเหตุจริงๆ ที่ทำให้อาหารบูดเสีย ประวัติศาสตร์ของอาหารกระป๋องเริ่มต้นที่ขวดแก้ว โดยนาย นิโคลัส ฟรองชัวร์ อัปแปร์ต  ชาวฝรั่งเศส ได้สนองนโยบายด้านการสงครามของกษัตริย์นโปเลียน ที่ประกาศจะให้รางวัลแก่ผู้ที่คิดค้นวิธีการเก็บรักษาอาหารได้นานๆ สำหรับใช้เป็นเสบียงในกองทัพ งานนี้นายนิโคลัส รับเงินไป 12,000 ฟรังส์ กับวิธีการนำอาหารใส่ขวดแก้วแล้วผนึกฝาให้แน่นพร้อมกับต้มขวดบรรจุอาหารในน้ำเดือด วิธีนี้คือการสเตอริไลเซชั่น(Sterilization) หรือกระบวนการใช้ความร้อนเพื่อทำลายจุลินทรีย์อย่างสมบูรณ์ ซึ่งยังคงเป็นวิธีที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน นับเป็นเรื่องน่าทึ่งเพราะขณะนั้นยังไม่มีใครทราบว่า สาเหตุที่ทำให้อาหารบูดเสียมาจากจุลินทรีย์ และการใช้ความร้อนคือการทำลายเจ้าสิ่งมีชีวิตเล็กๆ พวกนี้ จากขวดแก้วได้พัฒนามาเป็นกระป๋องที่ผลิตจากโลหะ และต่อยอดไปสู่การบรรจุอาหารในถุง(pouch) ซึ่งทำจากวัสดุพลาสติกประเภทต่างๆ แต่กระป๋องโลหะยังคงได้เปรียบในเรื่องต้นทุนและการนำวัสดุมารีไซเคิลได้ใหม่ อาหารบรรจุกระป๋องที่ผลิตด้วยกรรมวิธีที่ดี สามารถเก็บรักษาได้นานราว 2 ปี เว้นพวกที่มีความเป็นกรด เช่น ผลไม้กระป๋อง ผลิตภัณฑ์หมักดอง ไม่ควรเก็บเกินกว่า 18 เดือน อาหารกระป๋องควรอยู่ในสภาพดีเมื่อเลือกซื้อ ไม่บุบ บวม และเนื่องจากอาหารกระป๋องอยู่ในสภาพไม่มีอากาศ หากมีลมพุ่งออกมาจากกระป๋องในขณะเปิดควรทิ้งไปทันที ห้ามกิน //

อ่านเพิ่มเติม >