ฉบับที่ 245 กระแสต่างแดน

แบรนด์ที่ไว้ใจ        ขยะอิเลคทรอนิกส์ที่กำลังจะล้นโลกส่วนหนึ่งมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่จากเราไปก่อนเวลาอันควรและไม่คุ้มที่จะซ่อมกลับมาใช้ต่อ สิ่งหนึ่งที่ผู้บริโภคพอจะทำได้คือ เลือกแบรนด์ที่ทำผลิตภัณฑ์ได้มีประสิทธิภาพและใช้งานได้นาน แล้วใครล่ะที่เราเชื่อถือได้         องค์กรผู้บริโภคของสหรัฐอเมริกา Consumer Reports (CR) ได้สำรวจและจัดอันดับ “ความน่าเชื่อถือ” ของแบรนด์เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เช่น ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องล้างจาน เตาไมโครเวฟ เครื่องซักผ้า และเครื่องอบผ้า เป็นต้น โดยใช้คะแนนจากความเห็นของสมาชิก         ในการสำรวจครั้งที่สามนี้มีเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกอ้างอิง 760,000 ชิ้น ที่ผู้บริโภคซื้อในระหว่างปี 2010 และ 2020 และแบรนด์ที่ถูกนำมาจัดอันดับนั้นคือแบรนด์ที่มีเครื่องไฟฟ้าออกมาจำหน่ายอย่างน้อยสองประเภท สิบอันดับแรกได้แก่ Speed Queen  LG  Café’  Ikea  Thermador  Bosch Miele  GE  Roper และ Signature Kitchen Suite ส่วนยี่ห้อที่เรารู้จักกันอย่าง Whirlpool  KitchenAid และ Samsung นั้นเข้ามาที่อันดับ 11, 17 และ 20 ตามลำดับ รู้แต่ไม่เข้าใจ?        การสำรวจความเข้าใจเรื่อง “ยาปฏิชีวนะ” ในหมู่ประชากรยุโรปในปี 2018 พบว่าคนส่วนใหญ่รู้ว่ายาปฏิชีวนะ (ที่หลายคนเรียกติดปากว่า ยาแก้อักเสบ) รักษาโรคหวัดไม่ได้ และรู้ด้วยว่าหากใช้พร่ำเพรื่อจะทำให้ยาใช้ไม่ได้ผล         นอกจากนี้ยังรู้ว่ามีผลข้างเคียง และควรใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น         แต่เมื่อถามถึงประสิทธิภาพของยาปฏิชีวนะในการฆ่าไวรัส ร้อยละ 48 ตอบว่ายาปฏิชีวนะสามารถ “ฆ่าไวรัสได้” ในขณะที่ร้อยละ 43 ตอบว่า “ฆ่าไม่ได้” ที่เหลืออีกร้อยละ 9 ตอบว่า “ไม่รู้”แต่ละปียุโรปมีการติดเชื้อจากแบคทีเรียดื้อยาไม่ต่ำกว่า 670,000 เคส มีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 33,000 คน ส่งผลให้เกิดภาระทางการเงินต่อระบบสุขภาพไม่ต่ำกว่าหนึ่งพันล้านยูโร         มีการคาดการณ์ว่าในปี 2050 ผู้คนจะเสียชีวิตจากแบคทีเรียดื้อยามากกว่าโรคมะเร็ง            ขณะนี้ประเทศที่มีอัตราการตายจากแบคทีเรียดื้อยาสูงที่สุดในยุโรปคืออิตาลี ตามด้วยฝรั่งเศส ในขณะที่กรีซ ไซปรัส และสเปน เป็นประเทศที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะมากที่สุดตามลำดับ   โควิดช่วยเพิ่มยอด        การศึกษาตัวเลขยอดขายยาปฏิชีวนะในอินเดีย โดยคณะวิจัยจากอเมริกาและแคนาดาพบว่ายอดสั่งซื้อยาปฏิชีวนะจากโรงพยาบาลเอกชนเพิ่มขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ในช่วงโควิด-19 ระบาด         ปี 2019 มีการใช้ยาปฏิชีวนะในผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.5 ในขณะที่ปี 2020 มีการเพิ่มขึ้นร้อยละ 76.8         นักวิจัยคาดว่ามีการใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็นไปประมาณ 216 ล้านโดส หรือพูดง่ายๆ ข้อมูลนี้ทำให้ตีความได้ว่าผู้ป่วยทุกคนที่ถูกวินิจฉัยว่าติดเชื้อโควิดจะได้รับยาปฏิชีวนะนั่นเอง         และเมื่อเจาะจงไปที่ยาอซิโตรมัยซิน (ที่ใช้รักษาไทยฟอยด์หรือท้องร่วง) ก็พบว่ามีการใช้ถึง 38 ล้านโดส ในระหว่างเดือนมิถุนายนถึงกันยายน ปี 2019 ซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดหนัก         น่าสังเกตว่าขณะที่การใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มประเทศตะวันตกมีแนวโน้มลดลงเพราะคนไม่ค่อยเป็นหวัด ติดต่อพบปะกันน้อยลง ยกเลิกนัดทำฟันหรือการผ่าตัดเล็กอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น แต่แนวโน้มการใช้ในอินเดียกลับเพิ่มขึ้นทั้งๆ ที่โรคอย่างมาลาเรีย ไข้เลือดออก หรือโรคชิคุนกุนยาก็ลดลงแล้ว  ไหนเล่ามาซิ        สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินของสิงคโปร์ ขอคำอธิบายด่วนหลังพบว่ามีอุปกรณ์ฟิตเนสแทรคเกอร์ 341,208 ชิ้น รวมมูลค่าห้าล้านเหรียญสิงคโปร์หรือประมาณ 120 ล้านบาท ยังไม่ถูกนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนตามโครงการส่งเสริมสุขภาพ National Steps Challenge ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 2015         อุปกรณ์ที่ราคาระหว่าง 10 ถึง 25 เหรียญ เหล่านี้อยู่ในสภาพที่ใช้งานแทบไม่ได้ มีราขึ้นทั้งสายและหน้าปัด และการรับประกันจากผู้ผลิตบางรุ่นก็หมดแล้ว บางรุ่นก็จะหมดสิ้นปีนี้ ยังไม่นับว่าเทคโนโลยีที่ใช้ก็อาจจะเก่าเกินไปแล้ว         หนักไปอีกเมื่อไม่พบว่าใครเป็น “เจ้าภาพ” ทำหน้าที่จัดทำสต็อคหรือบันทึกการแจกจ่ายผ่านทางอีเวนท์ต่างๆ และสตง. ยังพบว่ามีอุปกรณ์ดังกล่าวหายไปจากสต็อคอย่างไร้ร่องรอยถึง 17,909 เครื่อง (คิดเป็นมูลค่า 720,000 เหรียญ)         ผู้เข้าร่วม “โครงการนับก้าว” สามารถเอาคะแนนที่สะสมจากการออกกำลังกายมาแลกเป็นสินค้าหรือบริการจากผู้ประกอบการได้โดยรัฐเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย โครงการเขาช่างจูงใจเหลือเกิน แม้แต่คนที่ตายไปแล้วก็ยังมาสมัครกันถึง 136 คน!!  อยากให้รีบสั่งเลย        ปีนี้คนออสซี่ต้องรีบคิดให้ตกว่าจะซื้อของขวัญอะไรให้เพื่อนหรือญาติในคริสต์มาสที่จะถึง... ในอีกห้าเดือนข้างหน้า คิดได้แล้วก็ต้องลงมือสั่งทันที ผู้ประกอบการเขาออกมาเตือนด้วยความหวังดี         อย่าลืมว่านักช้อปออนไลน์มีจำนวนมหาศาล ในขณะที่การขนส่งระหว่างประเทศมีข้อจำกัดมากขึ้นทำให้ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นจาก 3 เดือนเป็น 6 เดือน บริษัทขนส่งทางเรือที่เคยมีดำเนินการอยู่ 24 เจ้าก็ลดเหลือแค่ 13 เจ้าในช่วงที่มีโรคระบาด         ไหนจะปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ หรือการปิดโรงงานในประเทศต้นทางเพราะพนักงานติดโควิด-19 อีก         ยิ่งถ้าต้องการสินค้าแบบเจาะจงแบรนด์ก็ยิ่งต้องรีบ โดยปกติแล้วร้อยละ 80 ของสินค้าที่ส่งทางเครื่องบินมายังออสเตรเลียนั้นจะนั่งมาสวยๆ ใต้ท้องเครื่องบินโดยสาร (ค่าเฉลี่ยของทั้งโลกอยู่ที่ร้อยละ 50) แน่นอนว่ามีเที่ยวบินโดยสารน้อยลงเพราะปัจจุบันออสเตรเลียยอมให้มีการเดินทางเข้าประเทศได้แค่ 3,035 คนต่อสัปดาห์เท่านั้น (จากเดิม 6,070 คน) สรุปว่ารีบได้รีบ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 Repair café การจัดการทางสังคมในการลดขยะอิเลคทรอนิกส์

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการจากบทความฉบับที่แล้ว นำเสนอปัญหาของผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ที่มีความรู้สึกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน มีอายุการใช้งานที่สั้นมากจนผิดปกติ บางครั้งการชำรุดบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กล่าวมานั้นยังพอใช้งานได้ เพียงแต่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์บางชิ้นชำรุดเสียหาย ต้องการแค่เปลี่ยนอะไหล่ แต่พอติดต่อศูนย์บริการหลังการขาย ก็ประสบปัญหาอะไหล่ไม่มี หรือค่าแรงในการซ่อมแพงกว่าการซื้ออุปกรณ์เครื่องใหม่ ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้นองค์กรผู้บริโภค และหน่วยงานภาครัฐของเยอรมนีที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่างมีความกังวลกับการที่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มสั้นลง ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียและสิ้นเปลืองงบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะอิเลคทรอนิกส์ตามมาอีกด้วยสำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการทางสังคม ที่เข้ามาช่วยจัดการเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดมาจาก การชำรุดบกพร่องของโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ตโฟนก่อนอายุอันสมควรRepair Café Repair Café เป็นการรวมกลุ่มของผู้มีใจรักสิ่งแวดล้อมและต้องการลดปัญหาขยะอิเลคทรอนิกส์ เนื่องจากว่า การซ่อมสมาร์ตโฟนในเยอรมนีมีราคาแพงมาก ไม่ว่าจะซ่อมเล็กหรือซ่อมใหญ่ เนื่องจากค่าแรงของช่างซ่อมนั้นมีราคาสูงตามมาตรฐานช่างฝีมือในประเทศที่พัฒนาแล้ว การรวมกลุ่มในรูปแบบ repair café จึงเป็นการนัดพบปะกันของผู้ใส่ใจในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งการรวมตัวกันของกลุ่มคนเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการช่วยเหลือกัน เพื่อให้คนในกลุ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในกรณีที่สมาร์ตโฟนมีปัญหา โดยในกลุ่มจะมีผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นช่างซ่อมมืออาชีพมาสอน และสนับสนุนทางด้านทักษะและความรู้ ตลอดจนการช่วยหาอะไหล่ ในรูปแบบอาสาสมัคร และหากการซ่อมไม่ประสบความสำเร็จทาง repair café ก็ไม่ได้รับประกันผล เนื่องจากการให้ช่างซ่อมมืออาชีพตามร้านหรือตามศูนย์ซ่อมของสมาร์ตโฟนนั้นๆ บางครั้งก็ไม่ได้ดีไปกว่าการซ่อมเองในรูปแบบ repair café ตัวอย่างการซ่อมเองตามกลุ่ม repair café ที่ผู้บริโภคสามารถซ่อมได้เอง เช่น การเปลี่ยนหน้าจอที่แตกหักชำรุด บางครั้งอาสาสมัครที่มาช่วยเหลือการซ่อม คือ นักศึกษาตามมหาวิทยาลัย การซ่อมสมาร์ตโฟนยิ่งรุ่นใหม่ๆ ก็จะยิ่งซ่อมเองได้ยากกว่า การที่มาพบปะกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาสาสมัคร จึงเป็นวิธีการที่ดีกว่าการซ่อมด้วยตัวเองเพียงคนเดียว สำหรับเวลาที่ใช้ในการซ่อมขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของอาสาสมัครทางเทคนิค จากการสำรวจข้อมูลขององค์กรผู้บริโภคเยอรมนี ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า กรณีตัวอย่างการซ่อม หน้าจอสมาร์ตโฟน ราคาซ่อมที่ศูนย์จะตกประมาณ 166 ยูโร ซึ่งราคานี้รวมค่าแรงและค่าอะไหล่แล้ว แต่ลูกค้าต้องรอนานถึง 10 วัน ในขณะที่การซ่อมตาม repair café จะใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง และราคาค่าซ่อมไม่คิด แต่คิดค่าอะไหล่ 100 ยูโร และค่ากาแฟ อีก 10 ยูโร รวมเป็น 110 ยูโร สามารถประหยัดเงินได้ 56 ยูโร แต่ประหยัดเวลาได้ถึง 10 วันรูปแบบการจัดการทางสังคมแบบนี้ถือได้ว่า เป็นการจัดการเรื่องขยะอิเลคทรอนิกส์ที่ทำให้เกิดความยั่งยืน และทำประโยชน์ให้สังคมส่วนรวม และผู้บริโภคที่สามารถจัดการซ่อมแซมสมาร์ตโฟนของตัวเองได้ ก็ย่อมมีความรู้สึกภาคภูมิใจในความสามารถของตน และมีส่วนร่วมในการลดปัญหาขยะอิเลคทรอนิกส์ไปพร้อมๆ กันด้วยประเทศแรก ที่ให้กำเนิด repair café คือ ประเทศ เนเธอร์แลนด์ โดยเริ่มในปี 2009 โดยดำเนินการในรูปแบบมูลนิธิ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนความยั่งยืนในการผลิตและการใช้ทรัพยากรโลก ปัจจุบันมีจำนวน repair café 1,000 แห่ง ใน 25 ประเทศ ในเมืองใหญ่อย่างกรุงเบอร์ลินมีอัตราการจัด repair café บ่อยครั้งมาก เนื่องจากทางเทศบาลให้การสนับสนุนไม่คิดค่าใช้จ่ายในการใช้พื้นที่สาธารณะเช่น โรงเรียน สมาคมเพื่อการกุศล และศูนย์เยาวชนที่กระจายอยู่ตามชุมชน รูปแบบการจัดการทางสังคมเพื่อสาธารณกุศลลักษณะนี้น่าสนใจมาก ในประเทศไทยโดยเฉพาะในกรุงเทพฯ น่าที่จะมีรูปแบบการจัดการของสังคมเพื่อสิ่งแวดล้อมลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความเข้มแข็งของพลเมืองและจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชน ในการก้าวไปสู่สังคมแห่งสุขภาวะ(ที่มา: Test ฉบับที่ 6/2016)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 185 ปัญหาของการชำรุดเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรของสินค้ากลุ่มอิเลคทรอนิกส์(2)

ความเดิม...ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ต่างมีความรู้สึกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน มีอายุการใช้งานที่สั้นมากจนผิดปกติ องค์กรผู้บริโภคและหน่วยงานภาครัฐของเยอรมนีที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่างมีความกังวลกับการที่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีเแนวโน้มสั้นลง เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอดีต ซึ่งนำไปสู่การศึกษาและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบข้อสงสัย และคลายความกังวลในประเด็น การ(จงใจ ?) ทำให้ชำรุดเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรของผู้ผลิตสินค้า จึงได้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอประเด็นที่น่าสนใจในเรื่องดังกล่าว โดยในเล่มที่ผ่านมา ได้นำเสนอข้อมูลค่าเฉลี่ยอายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเนเธอร์แลนด์เปรียบเทียบกันระหว่าง ปี 2000 กับปี  2005 และ ความยากง่าย ในการถอดและใส่แบตเตอรีในกรณีที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี เมื่อแบตเตอรีเสื่อมสภาพแล้ว ยี่ห้อ IPHONE 6 และ HTC one ซึ่งเป็นกลุ่มสมาร์ตโฟนที่แบตเตอรีติดแน่นกับตัวเครื่องฉบับนี้มาต่อกันด้วย ผลการสำรวจเรื่องช่วงเวลาที่โน้ตบุ๊คเกิดความชำรุดบกพร่อง ซึ่งสำรวจพบว่า จะเกิดหลังจากหมดอายุประกันสินค้าเกิน 50 % ดังแสดงใน ตารางที่ 3 นอกจากนี้พบว่าชิ้นส่วนของโน้ตบุ๊ค ที่เสื่อมสภาพสูงสุดมากสามอันดับแรกคือ แบตเตอรี ฮาร์ตแวร์ และเมนบอร์ด ตามตารางที่ 4ตารางที่ 3 ช่วงเวลาและความถี่ในการซ่อมโน้ตบุ๊คตารางที่ 4 ชิ้นส่วนใดของโน้ตบุ๊คที่เกิดความชำรุดเสียหาย (ผลการศึกษาโดยสอบถามผู้บริโภคจำนวน 305 คน)สำหรับข้อเสนอแนะของผลการศึกษานี้ต่อบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็คทรอนิกส์ ได้แก่ p.p1 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545} p.p2 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px Thonburi; color: #454545} p.p3 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #454545; min-height: 14.0px} p.p4 {margin: 0.0px 0.0px 0.0px 0.0px; text-align: justify; font: 12.0px 'Helvetica Neue'; color: #e4af0a} span.s1 {font: 12.0px Thonburi} span.s2 {font: 12.0px 'Helvetica Neue'} span.s3 {color: #454545} span.s4 {font: 12.0px Thonburi; color: #454545} span.s5 {color: #e4af0a} •    การกำหนดมาตรฐานอายุการใช้งานขั้นต่ำ การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ (minimum product lifetime requirement & standardization) •    มาตรการสมัครใจในการให้ผู้ประกอบการรับผิดชอบการรับคืนสินค้าที่เสื่อมคุณภาพ และการใช้นโยบาย reduce reuse recycling สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและ อิเลคทรอนิกส์ และ•    มาตรการทางกฎหมายโดยให้ผู้ผลิต และผู้ประกอบการรับผิดชอบในการจัดการขยะอิเลคทรอนิกส์ อาทิให้ผู้ผลิตต้องรับคืนสินค้าที่เสื่อมสภาพเพื่อไปกำจัด หรือ การนำชิ้นส่วนกลับมาใช้ใหม่ตามกระบวนที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ และไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมหวังว่าบทความและข้อมูลการศึกษาเบื้องต้นนี้จะช่วยกระตุ้นให้สังคมตระหนักรู้และรณรงค์ให้ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตลอดจนการมีระบบจัดการขยะอิเลคทรอนิกส์ที่มีประสิทธิภาพ และไม่สร้างความยุ่งยากให้กับผู้บริโภคมากจนเกินไป(แหล่งข้อมูล: http://www.umweltbundesamt.de/publikationen/einfluss-der-nutzungsdauer-von-produkten-auf-ihre-1) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 ปัญหาของการชำรุดเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรของสินค้ากลุ่มอิเลคทรอนิกส์(1)

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการผู้บริโภคยุคปัจจุบัน ต่างมีความรู้สึกว่า เครื่องใช้ไฟฟ้า โทรศัพท์ มือถือ คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน มีอายุการใช้งานที่สั้นมากจนผิดปกติ บางครั้งการชำรุดบกพร่องของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่กล่าวมานั้น ยังพอใช้งานได้ เพียงแต่ชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์บางชิ้น ชำรุดเสียหาย ต้องการแค่เปลี่ยนอะไหล่ แต่พอติดต่อศูนย์บริการหลังการขาย ก็ประสบปัญหาอะไหล่ไม่มี หรือค่าแรงในการซ่อมแพงกว่าการซื้ออุปกรณ์เครื่องใหม่ หรือบางครั้งอุปกรณ์การสื่อสาร เช่น สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ค จำเป็นต้อง upgrade โปรแกรม หรือ แอพพลิเคชันใหม่ ซึ่งอุปกรณ์เครื่องเก่าอาจไม่รองรับกับ ซอฟท์แวร์หรือแอพพลิเคชันใหม่ ทำให้ใช้งานได้ไม่เต็มความสามารถของเครื่อง หรือกรณีเลวร้ายที่สุดคือ ไม่สามารถใช้งานได้เลยปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น องค์กรผู้บริโภคและหน่วยงานภาครัฐของเยอรมนีที่ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อม ต่างมีความกังวลกับการที่อายุการใช้งานเฉลี่ยของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีเแนวโน้มสั้นลง เมื่อเทียบกับอายุการใช้งานของเครื่องใช้ไฟฟ้าในอดีต ซึ่งนำไปสู่การศึกษาและเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อตอบข้อสงสัย และคลายความกังวลในประเด็น การ(จงใจ ?) ทำให้ชำรุดเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันควรของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งนอกจากจะเป็นการสูญเสียและสิ้นเปลืองงบค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคแล้ว ยังก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากขยะอิเลคทรอนิกส์ตามมาอีกด้วยสำหรับบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอข้อมูลจากการศึกษาของ กรมควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อมแห่งเยอรมนี ที่เผยแพร่ข้อมูลการศึกษามาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2016 ซึ่งได้แบ่งประเภทของการชำรุดเสื่อมสภาพ(obsolescence) ของผลิตภัณฑ์เป็น 4 ประเภท คือ•    การเสื่อมสภาพของวัสดุ (Materials Obsolescence) •    การเสื่อมสภาพของการใช้งาน (Functional Obsolescence) เช่น การ upgrade software•    การเสื่อมสภาพจากสาเหตุทางจิตวิทยา (Psychological Obsolescence) เช่น ผู้บริโภครู้สึกว่ามือถือที่ใช้อยู่ตกรุ่น และไม่ทันสมัย ความเร็วจากการใช้งานต่ำลง•    การเสื่อมสภาพจากสาเหตุทางเศรษฐศาสตร์ (Economical Obsolescence) เช่นเปลี่ยนเครื่องใหม่คุ้มค่ากว่าซ่อม      ในตารางที่ 1 แสดงให้ทราบว่า ค่าเฉลี่ยอายุการใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศเนเธอร์แลนด์ เปรียบเทียบกันระหว่าง ปี 2000 กับปี  2005 พบว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าเกือบทุกประเภทมีอายุการใช้งานที่สั้นลง โดยเฉพาะเตาไมโครเวฟ มีอายุการใช้งานเฉลี่ยลดลงมากถึง 15 % และอุปกรณ์ในกลุ่ม smart phone smart device มีอายุการใช้งานเฉลี่ยลดลงมากที่สุดถึง 20 %    ตารางที่ 2 ในส่วนของสมาร์ทโฟน หากพิจารณาถึงความยากง่าย ในการถอดและใส่แบตเตอรี ในกรณีที่ต้องเปลี่ยนแบตเตอรี เมื่อแบตเตอรีเสื่อมสภาพแล้ว ยี่ห้อ IPHONE 6 และ HTC one เป็นกลุ่มสมาร์ตโฟนที่แบตเตอรีติดแน่นกับตัวเครื่อง ใช้เวลานานในการถอดแบตเตอรี และต้องใช้เครื่องมือพิเศษ ปัญหาแบตเตอรีประกอบติดแน่นในโทรศัพท์มือถือ คือ ผู้บริโภคไม่สามารถถอดเปลี่ยนได้เอง ต้องเข้าศูนย์บริการและให้ช่างของศูนย์ทำการเปลี่ยนให้ ซึ่งมีราคาค่าบริการสูงมาก แนวโน้มของโทรศัพท์มือถือแบบนี้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากทุกปีสำหรับผลการสำรวจโน้ตบุ๊คโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบการศึกษาได้สอบถามผู้บริโภคทางอินเตอร์เน็ต จำนวน 655 คน ต่อเหตุผลที่ซื้อโน้ตบุ๊คเครื่องใหม่ พบว่าสาเหตุของการซื้อโน้ตบุ๊คใหม่ เนื่องจาก•    โน้ตบุ๊คเดิมชำรุด 46% (Materials Obsolescence)•    ฟังค์ชันการทำงานของเครื่องเดิมไม่เพียงพอต่อการใช้งาน 25% (Functional Obsolescence)•    เหตุผลอื่นในการเปลี่ยน 17%•    ไม่ชอบเครื่องเก่า 6% (Psychological Obsolescence)•    ได้ของขวัญเป็นเครื่องใหม่ 6% (Psychological Obsolescence)สำหรับผลการสำรวจช่วงเวลาที่โน้ตบุ๊คเกิดความชำรุดบกพร่อง ซึ่งมักจะเกิดหลังจากหมดอายุประกันสินค้า ตลอดจนชิ้นส่วนของโน้ตบุ๊ค ที่เสื่อมสภาพสูงสุดมากสามอันดับแรกติดตามได้ในเล่มหน้า       (แหล่งข้อมูล: http://www.umweltbundesamt.de/publikationen/einfluss-der-nutzungsdauer-von-produkten-auf-ihre-1)    

อ่านเพิ่มเติม >