ฉบับที่ 273 ‘วางแผนเกษียณ’ การรับมือกับบั้นปลายชีวิต

        “สิ่งที่น่าเสียดายคือตายไปแล้วใช้เงินไม่หมด สิ่งที่น่าสลดคือใช้เงินหมดแต่ยังไม่ตาย”         เป็นคำพูดขำๆ ขมๆ ที่หลายคนเคยได้ยิน น่าสลดยิ่งกว่าคือคนส่วนใหญ่ในประเทศนี้จัดอยู่ในกลุ่มหลัง คือใช้เงินหมดแต่ยังไม่ตายหรือจนก่อนแก่นั่นเอง ซึ่งถ้าคิดตามสูตรการใช้ชีวิตปัจจุบัน ทำงานมีเงินเดือน เก็บเงิน ตอนเกษียณก็น่าจะมีเงินก้อนพอสมควร ยกเว้นข้าราชการที่มีเงินบำนาญ ยิ่งตำแหน่งสูงยิ่งเยอะ อย่างอนุพงษ์ เผ่าจินดา ได้เงินบำนาญ 60,000 ต่อเดือน (แม่เจ้า!!)         การวางแผนเกษียณจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในประเทศที่ความเหลื่อมล้ำสูงและสวัสดิการไม่ทั่วถึงเท่าเทียมอย่างไทย         เว็บไซต์ของธนาคารกรุงไทยเสนอสูตรคำนวณจำนวนเงินหลังเกษียณที่ควรมีไว้ว่า         จำนวนเงินที่ควรมี = ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปี X จำนวนปีที่คาดว่าจะใช้ชีวิตหลังเกษียณ         ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายหลังเกษียณต่อปีจะประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของค่าใช้จ่ายปัจจุบันหรือคุณจะปรับสัดส่วนตามที่ต้องการก็ได้ แล้วคุณยังต้องคำนึงถึงอัตราเงินเฟ้อในอนาคตเพราะ 100 บาทตอนที่คุณวางแผนเกษียณจะมีมูลค่าน้อยกว่า 100 บาทตอนที่คุณเกษียณแล้วแน่นอน         แล้วก็ต้องคอยปรับพอร์ตเพื่อลดความเสี่ยง ความผันผวนต่างๆ นานาตามอายุที่เพิ่มขึ้น หรือก็คือยิ่งแก่สินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงอย่างหุ้นควรลดสัดส่วนลง พอเกษียณแล้วก็ต้องคอยดูแลพอร์ตอีกเพราะคุณต้องคอยเอาเงินออกมาเป็นค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เขาถึงพูดว่าสำหรับแผนเกษียณใครเริ่มได้เร็วกว่ายิ่งได้เปรียบ เพราะเวลาจะยิ่งเพิ่มพูนมูลค่าสินทรัพย์และลดความเสี่ยงลง (แต่ต้องลงทุนให้ถูกต้องนะ)         แต่พูดก็พูดเถอะ ชีวิตไม่ง่ายดายขนาดนั้น วางแผนไว้ดีแค่ไหนก็ใช่ว่าจะเป็นไปตามแผน ต่อให้คุณกันเงินฉุกเฉินไว้ตามสูตรเป๊ะๆ ก็อาจเหตุฉุกเฉินกว่าได้เสมอ เลยต้องย้ำแล้วย้ำอีกว่าการจัดการการเงินส่วนบุคคลก็ทำไป อีกขาก็ต้องผลักดัน กดดันให้รัฐบาลสร้างระบบดูแลผู้คนที่มีเท่าเทียม ทั่วถึง และมีประสิทธิภาพให้ได้         อย่างนโยบายบำนาญแห่งชาติที่จะจ่ายให้ผู้สูงอายุเดือนละ 3,000 บาทที่ใช้หาเสียง นั่นก็เป็นข้อเสนอของภาคประชาชนที่ขับเคลื่อนจนฝ่ายการเมืองตอบรับ ปัญหาอยู่ที่ว่าจะทำหรือไม่และทำเมื่อไหร่ เพราะผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกวัน         คุณอาจคิดว่าเงิน 3,000 จะพอเหรอ? ไม่พอหรอก แต่มันจะช่วยแบ่งเบาภาระสำหรับคนทำมาหากินทั่วไปที่ต้องแบกรับคน 2 เจเนอเรชั่นคือคนรุ่นพ่อแม่กับคนรุ่นลูก         ส่วนจะวางแผนเกษียณอย่างไร เชิญเสิร์ชหาด้วยคำว่า ‘การวางแผนเกษียณ’

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 249 “ผู้ประกันตนกับบำนาญชราภาพ”

        องค์กรผู้บริโภคเสนอประกันสังคม จ่ายบำนาญชราภาพแบบเดิมและอาจเตรียมเกษียณอายุ 60 ปี สำหรับผู้ประกันตนรายใหม่การริเริ่มของประกันสังคมที่จะยกเลิกการจ่ายบำนาญชราภาพให้กับผู้ประกันตนที่อายุ 55 ปี โดยเลื่อนการจ่าบำนาญชราภาพเมื่ออายุ 60 ปีแทนกลุ่มผู้บริโภคมองว่าเรื่องนี้เมื่อสำนักงานประกันสังคมมีสัญญาที่ตกลงไว้กับผู้ประกันตนว่าจะ        สามารถเกษียณอายุได้ที่อายุ 55 ปีและหากส่งเงินสมทบประกันสังคมไม่น้อยกว่า 180 เดือนหรือ 15 ปีจะได้รับบำนาญชราภาพประมาณ 3,750บาทต่อเดือน หรือหากส่งเงินสมทบในฐานะผู้ประกันตน 20 ปีก็จะได้รับเงินอยู่ที่ประมาณ 4,125 บาท         สิ่งที่สำนักงานประกันสังคมควรจะดำเนินการซึ่งทุกฝ่ายเห็นด้วยก็คือ การขยายเพดานวงเงินสูงสุดของผู้ประกันตนที่สมทบจาก 15,000 บาทเป็น 20,000 บาท แต่หากเปรียบเทียบกับเรื่องนี้จะเห็นได้ว่าสัญญาเดิมที่ทำไว้กับผู้ประกันตนก็ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้ประกันตนเป็นผู้มีสิทธิในการเลือกว่าจะรับบำนาญที่อายุ 55 ปี หรือ 60 ปี ซึ่งควรเป็นการตัดสินใจของผู้ประกันตนที่จะเลือกสิทธิของผู้ประกันตนนั้นด้วยตัวเอง แต่หากประกันสังคมจะปรับให้จ่ายคืนบำนาญที่อายุ 60 ปีก็ควรดำเนินการกับผู้ประกันตนใหม่หรืออาจจะดำเนินการอย่างเป็นระบบสอบถามความสมัครใจในการที่จะเลือกสำหรับผู้ประกันตนรายเดิมส่วนรายใหม่ก็จัดการปรับแก้กฎหมายให้ชัดเจน ให้จ่ายเงินบำนาญชราภาพที่ 60 ปี ซึ่งอาจจะส่งผลดีก็คือทำให้บริษัทเอกชนทั้งหลายอาจจะต้องยืดระยะเวลาการจ้างงานจาก 55 ปีเป็น 60 ปีแทนที่ในปัจจุบันบริษัทเอกชนใช้วิธียุติการจ้างเมื่อครบอายุ 55 ปี แล้วให้ลูกจ้างไปรับเงินประกันสังคมแล้วอาจจะทำสัญญาจ้างใหม่อีกรอบซึ่งทำให้ลูกจ้างเสียสิทธิต่างๆอีกหลายอย่าง         แต่ไม่ว่าจะดำเนินการอย่างไรสำนักงานประกันสังคม ควรจะสอบถามผู้ประกันตนอย่างเป็นระบบเพราะผู้ประกันควรมีสิทธิเลือกและช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ         สิ่งสำคัญในการปฏิรูปประกันสังคมอีกส่วน คือ การปรับลดสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน เรื่องการรักษาพยาบาล เพราะในปัจจุบันรัฐบาลได้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ เช่น งบประมาณในการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคสำนักงานประกันสังคมควรเร่งพัฒนาเพิ่มเติมสิทธิประโยชน์และลดการจ่ายเงินในส่วนบริการสุขภาพหรือยุติการจ่ายเงินในส่วนสุขภาพในที่สุดเพราะรัฐบาลควรรับผิดชอบผู้ประกันตนเช่นเดียวกับผู้ป่วยในระบบบัตรทองหรอระบบสวัสดิการข้าราชการซึ่งจะทำให้ผู้ประกันตนมีโอกาสได้รับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 225 กลไกความช่วยเหลือทางการเงิน สำหรับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย : กรณีศึกษาของระบบประกันสังคมเยอรมัน

        ประเทศเยอรมนีได้จัดว่าเป็นต้นแบบของระบบรัฐสวัสดิการ เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยทำงาน ทุกคนมีสิทธิ และหน้าที่จากการทำงานมีรายได้ จะต้องสมัครเข้าร่วมในกองทุนประกันสังคม ซึ่งผู้มีรายได้รายเดือน จะถูกหักเข้ากองทุน ตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงานจนถึงวันเกษียณอายุการทำงาน แบบอัตโนมัติทันที เงินที่ถูกหักจากรายได้ของคนทำงานรายเดือน ประกอบด้วย        · เงินประกันการตกงาน (Arbeitsloenversicherung: ALV)        · เงินบำนาญ (Deutsche Rentenversicherung: DRV)        · เงินประกันสุขภาพ (ภาคบังคับ Gesetzliche Krankkenverischerung: GKV)        · ประกันอุบัติเหตุ (ภาคบังคับ Gesetzliche Unfallversicherung: GUV)        · ประกันการดูแลคนไร้สมรรถภาพ เมื่อไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในยามพิการ หรือชราภาพ (Pflegeversicherung: PV)         เสาหลักของระบบรัฐสวัสดิการ ของกองทุนดังกล่าวได้ถูกบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายประกันสังคม 5 ชุดในแต่ละประเด็นดังนี้ คือ        · ระบบการช่วยเหลือผู้ตกงาน บรรจุอยู่ใน the 3rd  book of social code  (SGB III)        · ระบบประกันสุขภาพ บรรจุอยู่ใน the 5th book of social code  (SGB V)        · ระบบเงินบำนาญ บรรจุอยู่ the 6th  book of social code  (SGB VI)        · การประกันอุบัติเหตุ อยู่ใน the 7th  book of social code  (SGB VII) และ        · การประกันการดูแลคนไร้สมรรถภาพใน the 11th book of social code  (SGB XI)         ถึงแม้ว่าจะมีกลไกการประกันสังคม ในเรื่องเงินบำนาญหลังเกษียณให้กับประชาชนทุกคนแต่ก็พบว่า ประชาชนวัยชราหลังจากเกษียณแล้ว ได้รับเงินบำนาญในอัตราที่ต่ำกว่าค่าครองชีพอยู่มาก และไม่ได้มีสมบัติเก่าจากมรดกในการใช้ชีวิตให้มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ควรจะเป็น ดังนั้นรัฐบาลจึงมีกลไกการช่วยเหลือ อีกทางหนึ่ง คือ ระบบการประกันคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ (basic life security: Grundsicherung)         สำหรับความช่วยเหลือของรัฐบาลในกรณีนี้ ก่อนที่จะอนุมัติความช่วยเหลือ ผู้ที่มีสิทธิในการยื่นคำขอจะถูกตรวจสอบ รายได้ และทรัพย์สินอย่างละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้มั่นใจว่า เงินช่วยเหลือนี้ ได้ส่งไปถึงผู้ที่ควรได้รับความช่วยเหลือจริงๆ จากสถิติของ สำนักงานสถิติแห่งประเทศเยอรมนี ในปี 2018 มีผู้ได้รับสิทธิในการให้ความช่วยเหลือถึง 550,000 คน         กลุ่มประชาชนที่มีรายได้น้อย ไม่สามารถสะสมเงินประกันสังคมได้เพียงพอ สำหรับชีวิตหลังเกษียณ (ซึ่งสะท้อนรายได้ของประชาชน กลุ่มประชากรที่มีรายได้สูง ก็มักจะได้เงินบำนาญที่เพียงพอในการใช้ชีวิตหลังเกษียณ ในขณะที่กลุ่มประชากรที่มีรายได้น้อย ก็มักจะได้รับเงินไม่เพียงพอ) สาเหตุที่ทำให้ ประชาชนมีรายได้น้อย คือ การเจ็บป่วย การตกงานเป็นระยะเวลานานๆ         ขอยกตัวอย่างคนทำงานที่มีรายได้เฉลี่ย 1,621 ยูโร ส่งเงินประกันสังคม นาน 45 ปี หลังเกษียณจะได้รับเงินบำนาญ เพียงครึ่งเดียว คือเดือนละ 743 ยูโร ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำกว่า ค่าครองชีพตามมาตรฐานขั้นต่ำในการดำรงชีวิตของเงินประกันคุณภาพชีวิต (basic life security) ที่ปัจจุบันอยู่ที่เดือนละ 800 ยูโร         และเนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย เป็นตัวกำหนดคุณภาพชีวิตและจำนวนเงินที่เหลือใช้แต่ละเดือนหลังจากหักค่าใช้จ่ายด้านที่อยู่อาศัย รัฐบาลจึงกำหนดพื้นที่อยู่อาศัยในการกำหนดเงินช่วยเหลือ        สำหรับพื้นที่อาศัยของประชาชนที่สามารถได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลประเภทนี้ ได้กำหนด ไว้ว่า        ห้องสำหรับ ผู้อยู่อาศัย 1 คน ขนาด 45- 50 ตารางเมตร         ห้องสำหรับ 2 คน ขนาดไม่เกิน 60 ตารางเมตร         ห้องสำหรับ 3 คน ขนาด ไม่เกิน 75 ตารางเมตร         ห้องสำหรับ 4 คน ขนาดไม่เกิน 90 ตารางเมตร         แต่อย่างไรก็ตาม การกำหนดสิทธิประโยชน์ และจำนวนเงินที่จะได้รับแต่ละเดือน ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของเจ้าพนักงานประกันสังคม ดังนั้นหากมีกรณีพิพาท ประชาชนสามารถใช้สิทธิในการต่อสู้คดีในศาลประกันสังคมได้ (Sozialgericht: Social Court)        กลไกดังกล่าว จะสามารถทุเลาสภาพยากจนตอนชราภาพได้ แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าจะนำกลไกดังกล่าวมาใช้ในสังคมไทย คงต้องพิจารณ ถึงบริบทครอบครัวไทยตลอดจนสังคมเมือง สังคมชนบท และชุมชนแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีลักษณะที่พิเศษ แตกต่างกันด้วย          (แหล่งข้อมูล วารสาร Test 3/2017 และ ปรับปรุงข้อมูล ฉบับ 11/2019)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 167 กระแสต่างแดน

ธนาคารเอชเอสบีซี (HSBC) ได้สำรวจความพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตวัยเกษียณ ของผู้คนในวัย 25 ปีขึ้นไป และผู้คนในวัยเกษียณ จาก 15 ประเทศ* ทั่วโลกในระหว่างเดือนสิงหาคมและกันยายนปี 2557 และพบสิ่งที่น่าสนใจดังนี้ ... เมื่อแยกดูรายประเทศจะเห็นว่า คนฝรั่งเศสในวัยทำงานที่ไม่มั่นใจว่าจะมีชีวิตสุขสบายหลังเกษียณ มีถึงร้อยละ 60  รองลงมาได้แก่ คนไต้หวัน (ร้อยละ 56) และคนตุรกี (ร้อยละ 54) ส่วนในอินเดียและอินโดนีเซียนั้นมีผู้ตอบแบบสำรวจไม่ถึงร้อยละ 10 ที่รู้สึกไม่มั่นใจว่าตนเองจะสามารถเกษียณอย่างเป็นสุข ถ้าแยกกันระหว่างหญิงชายจะพบว่า ร้อยละ 38 ของผู้หญิงไม่มั่นใจว่าจะได้ใช้ช่วงเวลาเกษียณโดยไม่ลำบากทางการเงิน ในขณะที่ฝ่ายชายนั้นอยู่ที่ร้อยละ 31 ในภาพรวม ประมาณร้อยละ 70 ของคนวัยทำงาน มีความกังวลว่าจะมีเงินไม่พอใช้ในวัยเกษียณ ร้อยละ 66 กลัวว่าจะมีเงินไม่พอกับค่าใช้จ่ายรายวันในอนาคต อย่างไรก็ตาม ร้อยละ 85 ของคนกลุ่มดังกล่าว ไม่ได้จัดให้การเก็บเงินเพื่อใช้ยามเกษียนเป็นเป้าหมายหลักของการออมเงินในปัจจุบัน อุปสรรคสำคัญที่ทำคนวัยทำงานรู้สึกว่าพวกเขายังไม่สามารถเก็บเงินไว้ใช้ยามชราได้ คือภาระผ่อนบ้าน ค่าเล่าเรียนลูก และหนี้อื่นๆ  แนวโน้มดังกล่าวชัดเจนมากในประเทศสหรัฐอเมริกา มาเลเซีย เม็กซิโก และแคนาดา เกือบร้อยละ 30 ของคนในวัยเกษียณที่รู้สึกไม่มีความพร้อมทางการเงินสำหรับชีวิตปัจจุบัน บอกว่า ก่อนหน้านี้พวกเขาไม่ทราบว่าตนเองควรมีเงินเก็บเท่าไร ร้อยละ 37 ของผู้ตอบแบบสำรวจในวัยก่อนเกษียณบอกว่าพวกเขายังเตรียมตัวไม่พร้อมทางการเงินสำหรับการเกษียณอย่างสุขสบาย  โดยประเทศที่คนวัยก่อนเกษียณรู้สึกไม่พร้อมมากที่สุดในการสำรวจนี้ได้แก่ ไต้หวัน และตุรกี สำหรับกลุ่มคนที่เกษียณแล้ว ผู้คนในตุรกี ฝรั่งเศส เม็กซิโก และสิงคโปร์ คือกลุ่มที่รู้สึกว่าตนเองมีความพร้อมน้อยที่สุด เกือบ 2 ใน 3 ของคนในวัยเกษียณที่รู้สึกไม่พร้อมนั้น ไม่รู้เลยว่าตนเอง “ไม่พร้อม” จนกระทั่งเข้าสู่วัยเกษียณแล้ว มากกว่า 1 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในวัยเกษียณบอกว่า ถ้าย้อนเวลากลับไปได้พวกเขาจะเริ่มเก็บเงินให้เร็วกว่านี้ โดยคนวัยเกษียณใน มาเลเซีย เม็กซิโก และอินเดีย เป็นกลุ่มที่อยากกลับไปเปลี่ยนพฤติกรรมการออมของตนเองมากที่สุด ร้อยละ 38 ของคนที่เกษียณแล้วเห็นว่า การเก็บเงินเพื่อชีวิตหลังเกษียณควรเริ่มก่อนอายุ 30 ปี ในขณะที่เพียงร้อยละ 26 ของคนวัยใกล้เกษียณเท่านั้นที่เห็นว่าควรเริ่มเก็บเงินเร็วขนาดนั้น ร้อยละ 38 ของคนวัยทำงาน (ยกเว้น สหรัฐฯ และ ฮ่องกง) ยังไม่เริ่มเก็บเงิน และยังไม่มีแผนที่จะเก็บเงินสำหรับชีวิตหลังเกษียณ ผู้ทำสำรวจ (HSBC) ให้คำแนะนำว่า ถ้าต้องการอยู่สบายในวัยเกษียณ ... -          ควรเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วันนี้ ยิ่งเร็วเท่าไรยิ่งดี -          ประเมินให้ได้ว่าจะต้องใช้เงินเท่าไรสำหรับการใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการ โดยเฉลี่ยแล้วคนเราจะต้องการเงินสำหรับการใช้ชีวิตหลังเกษียณอีก 18 ปี (คิดจากอายุเกษียณที่ 60 ปี และอายุคาดเฉลี่ยที่องค์การอนามัยโลกประเมินไว้ที่ 78 ปี) -          หาทางทำให้เงินที่มีอยู่งอกเงยขึ้น ด้วยการลงทุนอย่างฉลาด -          คิดถึงเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่น อุบัติเหตุ หรืออาการเจ็บป่วย ไว้ด้วย ว่าสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบต่อแผนการใช้เงินของเราอย่างไร   *ออสเตรเลีย บราซิล แคนาดา ฝรั่งเศส ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เม็กซิโก สิงคโปร์ ไต้หวัน ตุรกี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา *การสำรวจดังกล่าวเป็นการตอบแบบสอบถามออนไลน์ โดยในประเทศอินโดนีเซียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการสอบถามแบบตัวต่อตัวเพิ่มด้วย *อ้างอิงจากรายงาน The Future of Retirement: A balancing act ลิขสิทธิ์ HSBC Holdings plc 2015

อ่านเพิ่มเติม >