ฉบับที่ 222 เครื่องชาร์จไฟ มือถือแบบเหนี่ยวนำ (inductive charging device)

การชาร์จไฟยุคปัจจุบันนี้ มีเครื่องชาร์จไฟ โดยเฉพาะการชาร์จไฟของมือถือ หรือ อุปกรณ์สื่อสาร สมาร์ทโฟน แทบเบล็ต ที่ใช้หลักการการเหนี่ยวนำไฟฟ้า แทนการเชื่อมต่อด้วยสายไฟ        ภายใต้หลักการและแนวคิดที่เน้นในเรื่องความสะดวกสบายและปลอดภัย เครื่องชาร์จไฟชนิดนี้ สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคยุค 4.0 ได้เป็นอย่างดี  เนื่องจากสายเชื่อมต่อของระบบชาร์จไฟยุค 2.0 ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีหลายมาตรฐานไม่ว่าจะเชื่อมต่อ ด้วย MicroUSB หรือ USB-C ทำให้การใช้สายไฟชาร์จร่วมกันเป็นปัญหามาก ในขณะที่ มาตรฐานของเครื่องชาร์จไฟแบบเหนี่ยวนำ มีมาตรฐานเดียวคือ มาตรฐาน Qi (อ่านว่า ชี) นอกจากนี้ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของเครื่องชาร์จไฟแบบนี้ คือ มีความปลอดภัยสูงกว่าการชาร์จแบบมีสายไฟ เนื่องจากในกรณีที่เราใช้สายไฟชาร์จของ ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ อาจเกิดการติดโปรแกรมไวรัส ได้ส่งผลต่อการทำงานและความปลอดภัยของโทรศัพท์มือถือ แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องชาร์จไฟแบบเหนี่ยวนำ ก็มีข้อเสีย เช่นกัน คือ ใช้พลังงานไฟฟ้าในการชาร์จไฟสูงกว่าเครื่องชาร์จไฟแบบมีสาย และในกรณีที่ทิ้งเครื่องชาร์จไฟแบบเหนี่ยวนำข้ามคืน เมื่อมีไฟเต็ม 100 % แล้ว ก็จะยิ่งสิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้นไปอีก ทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรีเสื่อมสภาพเร็วขึ้น นอกจากนี้ ตำแหน่งในการชาร์จไฟ ก็มีผลต่อความเร็วในการชาร์จไฟ ในประเด็นนี้ ผู้บริโภคควรวางตำแหน่งของมือถือให้ถูกต้องตามที่บริษัทผู้ผลิตแนะนำ         ผมขอสรุปผลการทดสอบ เครื่องชาร์จไฟแบบเหนี่ยวนำ กับแบบใช้สาย USB ตามข้อมูลของ วารสาร Test ฉบับที่ 7/2562 ดังนี้ เคล็ดลับในการใช้งานและดูแลรักษาแบตเตอรีมือถือ        แบตเตอรีมือถือส่วนใหญ่ เป็นแบบ Lithium Ion แบตเตอรีประเภทนี้ มีน้ำหนักเบา ขนาดเล็ก เมื่อเทียบกับ แบตเตอรีชนิดอื่น ความร้อนส่งผลต่ออายุการใช้งานของแบตเตอรี และ หากแบตเตอรีอยู่ภายใต้ความร้อนสูงก็มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอันตราย (แบตเตอรี ระเบิด) อุณหภูมิที่แนะนำสำหรับสภาพการใช้งานที่เหมาะสม คือ ระหว่าง 20-30 °C         หากอุณหภูมิเกินกว่า 60 °C ก็ยิ่งไม่ปลอดภัย เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาเคมี ภายในแบตเตอรีได้         สำหรับการชาร์จแบตเตอรี เมื่อชาร์จได้ 80 % ก็สามารถหยุดการชาร์จไฟได้ เนื่องจาก การชาร์จไฟ เต็ม 100 % ทำให้แบตเตอรีเสื่อมสภาพเร็ว และควรชาร์จไฟในที่ร่ม ไม่ชาร์จไฟในที่โล่งแจ้งมีแสงแดด เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่า 10 °C แบตเตอรีจะเริ่มให้กระแสไฟฟ้าลดลง เราสามารถเพิ่มอุณหภูมิเพื่อช่วยการทำงานของแบตเตอรี นอกจากนี้แบตเตอรีที่ไม่ได้ใช้งานนานๆ ก็เสื่อมสภาพได้  ดังนั้นควรให้แบตเตอรีทำงานบ้าง และควรชาร์จแบตเตอรีอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง .กรณีที่มือถือตกจากที่สูงหรือได้รับการกระแทกแรงๆ ก็เป็นสาเหตุในการเสื่อมสภาพก่อนเวลาอันสมควรได้เช่นกัน และเพื่อความปลอดภัย กรณีมือถือได้รับการกระแทกรุนแรง ควรเปลี่ยนแบตเตอรีทันทีเพื่อป้องกันระบบไฟฟ้าภายในลัดวงจร และเป็นสาเหตุการเกิดอัคคีภัยได้ หากเราดูแลสภาพการใช้งานของแบตเตอรีมือถือได้ดี ก็สามารถใช้งานได้นาน 3-5 ปี แต่ถ้าเราไม่ดูแลสภาพการใช้งานให้เหมาะสม อายุการใช้งานของแบตเตอรี ก็จะเหลือเพียงแค่ครึ่งเดียว (1- 2 ปี)        (แหล่งข้อมูล วารสาร Test 7/2019)

อ่านเพิ่มเติม >