ฉบับที่ 259 กระแสต่างแดน

รู้เร็วมีสิทธิรอด        ญาติของชายวัย 66 ปีที่ถูกพบเสียชีวิตในห้องน้ำของ MRT ฮ่องกง เตรียมฟ้องบริษัท หลังได้รับแจ้งจากบริษัทว่าปุ่มกดขอความช่วยเหลือฉุกเฉินในห้องน้ำสำหรับผู้พิการไม่ทำงาน          เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ชายคนดังกล่าวซึ่งมากับภรรยาขอตัวไปเข้าห้องน้ำ แต่หายไปนานจนผิดสังเกต ภรรยาจึงแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ช่วยตามหา แต่ก็ไม่มีใครพบตัว ผ่านไปกว่าสี่ชั่วโมง พนักงานทำความสะอาดพบชายคนดังกล่าวเสียชีวิตอยู่ในห้องน้ำผู้พิการ ในฝั่งห้องน้ำหญิง บริษัทแจ้งว่าความล่าช้าดังกล่าวเกิดจากความผิดพลาดในการสื่อสาร         เมื่อห้องน้ำในสถานีดังกล่าวเปิดให้บริการอีกครั้ง ก็พบว่า “ปุ่มฉุกเฉิน” ในห้องน้ำดังกล่าวใช้งานไม่ได้ แต่ไม่มีหลักฐานว่าในวันเกิดเหตุ ผู้เสียชีวิตได้กดปุ่มนั้นหรือไม่ เพราะห้องคอนโทรลไม่พบสัญญาณเรียกเข้า          อย่างไรก็ตามบริษัทเตรียมติดตั้งเครื่องตรวจจับ “ความไม่เคลื่อนไหว” เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ที่อาจหมดสติในห้องน้ำได้ทันเวลา โดยจะเริ่มจากสถานีที่มีจำนวนผู้ใช้บริการมากที่สุดก่อนงบฯ แก้เหงา         เพราะความเหงาไม่เข้าใครออกใคร รัฐบาลเนเธอร์แลนด์จึงอนุมัติงบประมาณ 40 ล้านยูโร (ประมาณ 1,500 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนโครงการหรือการวิจัยใดๆ ก็ตามที่จะช่วย “ต่อต้านความเหงา” ภายใต้หลักความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ที่ต้องการรู้สึกว่าตัวเองมีความหมาย และเป็นส่วนหนึ่งของอะไรสักอย่าง        การสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งเนเธอร์แลนด์ที่ทำขึ้นในปี 2021 กับผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 7,000 คน พบว่า ร้อยละ 40 ของคนอายุ 15 ปีขึ้นไป มีความรู้สึกเหงา ในจำนวนนี้บางส่วนตอบว่าเหงาหนักมาก ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นจากก่อนโควิดระบาดถึงร้อยละ 7         ที่น่าสนใจคือกลุ่มวัยรุ่น ก่อนโควิดมีเพียงร้อยละ 8 แต่หลังจากนั้นเพิ่มเป็นร้อยละ 13.5 ในทางกลับกันจำนวนผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี ที่รู้สึกเหงากลับลดลง (จากร้อยละ 11 เป็นร้อยละ 9)        ที่เขาต้องจริงจังเพราะความเหงาไม่ได้มาเล่นๆ มันอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นอีกมากมาย เช่น โรคซึมเศร้า การคิดฆ่าตัวตาย โรคพิษสุราเรื้อรัง หรือพฤติกรรมก้าวร้าว เป็นต้น เงินเปิดก๊อกไม่ได้         ปีนี้ “แอลเอ” แล้งเป็นประวัติการณ์ เทศบาลจึงต้องออกระเบียบจำกัดการใช้น้ำของครัวเรือน แต่สำหรับ”ชาวบ้าน” บางส่วนที่เป็นเศรษฐีหรือดาราฮอลลิวูด “ค่าปรับ” อย่างเดียวอาจไม่สามารถหยุดพวกเขาได้         บางเขตจึงใช้มาตรการติดตั้ง “อุปกรณ์จำกัดการไหลของน้ำ” ในบ้านที่ใช้น้ำเกินขีดจำกัดมากกว่าร้อยละ 150 เกินสี่ครั้ง (เกณฑ์นี้ประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2021) การประปาท้องถิ่นบอกว่าหลังจากดำเนินการมาสองสัปดาห์ ยังไม่เจอบ้านไหนโวยวายหรือขู่ฟ้อง        ทางออกสำหรับรายที่ไม่ต้องการให้ติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าว เช่น ซิลเวสเตอร์ สตาโลน คือการทำจดหมายยืนยันว่าจะหาวิธีลดการใช้น้ำลงให้ได้ ส่วนมาดอนนานั้น รายงานข่าวระบุว่าเธอรอดไป เพราะสามารถอธิบายได้ว่า มิเตอร์น้ำที่ขึ้นรัวๆ นั้น เป็นเพราะก๊อกรั่ว และเธอได้ดำเนินการซ่อมแล้ว        การทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าว (ซึ่งใช้เวลาติดตั้งไม่กี่นาที) ไม่เป็นอุปสรรคต่อการกดชักโครกตามปกติ เพียงแต่จะอาบน้ำและล้างจานพร้อมกันไม่ได้ ส่วนการรดน้ำต้นไม้นั้นเป็นไปไม่ได้เลยเยอรมันก็ตื่นตูม         ฤดูหนาวใกล้เข้ามาแล้ว สินค้าที่คนเยอรมัน “ต้องมี” นาทีนี้คือเครื่องทำความร้อนชนิดใช้ไฟฟ้า เพราะเครื่องที่แต่ละบ้านมีอยู่ล้วนเป็นแบบใช้ก๊าซ ซึ่งอาจไร้ประโยชน์ทันทีถ้ารัสเซียหยุดส่งก๊าซมาให้        ยอดขายฮีทเตอร์ไฟฟ้าในเยอรมนีจนถึงเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 958,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 76 น่าสนใจว่าเทรนด์ดังกล่าวไม่เกิดขึ้นใน อังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน และอิตาลี ซึ่งต้องพึ่งพาก๊าซจากรัสเซียเหมือนกัน หากเฉลี่ยรวมทั้งห้าประเทศจะพบว่ายอดขายลดลงร้อยละ 5.1 ด้วยซ้ำ        ไม่ใช่แค่ซื้อเยอะขึ้น พวกเขายังซื้อชนิดเบอร์ใหญ่ไฮเอนด์ ซึ่งใช้กำลังไฟสูง ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า โอกาส “โอเวอร์โหลด” จะมีสูงมาก ถ้าทุกบ้านเปิดใช้พร้อมกัน         เจ้าหน้าที่รัฐต้องออกมาให้สติว่าพวกเขากลัวจนลืมไปหรือเปล่าว่า กรณีที่ก๊าซขาดแคลน บ้านเรือน โรงพยาบาล สถานีตำรวจ สถานีดับเพลิง จะต้องได้สิทธิในการใช้ก๊าซก่อนภาคธุรกิจหรือโรงงานอุตสาหกรรมอยู่แล้วตามกฎหมาย          และยังแนะนำว่าถ้าจะซื้อก็ขอให้ซื้อผ้าห่มไฟฟ้า ถูกกว่า อุ่นกว่า แถมประหยัดไฟกว่าด้วยคุมก่อน เคลียร์ทีหลัง        แอปฯ Buy Now Pay Later (BNPL) กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ทั้งในยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เพราะถูกใจนักช้อปที่ไม่มีหรือไม่ต้องการผ่อนบัตรเครดิต เพราะกู้ง่าย ไม่มีค่าธรรมเนียม        ในอเมริกา หลังการระบาดของโควิด แอปฯ ประเภทนี้ (เช่น Klarna Affirm ZipCo Paypal และ After Pay) มีผู้ใช้มากขึ้นถึง 200% มียอดเงินกู้รวมกันมากถึง 24,200 ล้านเหรียญ         แต่แอปฯ BNPL ไม่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดการรายงานเครดิต คนที่จะปล่อยกู้ ไม่ว่าจะเป็นแอปฯ คู่แข่ง หรือบริษัทสินเชื่ออื่นๆ จะไม่มีทางรู้ได้ว่าคนที่จะเป็นลูกหนี้ตัวเองนั้นมีหนี้มาแล้วเท่าไร มีความสามารถในการชำระเงินหรือไม่ และ BNPL ยังกำหนด “ค่าปรับ” การชำระเงินล่าช้าได้ตามใจ อย่างที่เคยเป็นข่าวในออสเตรเลีย        สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินของสหรัฐฯ (Consumer Financial Protection Bureau) จึงเริ่มจับตากิจการนี้  แม้จะไม่มีอำนาจโดยตรงแต่ก็มั่นใจว่าสามารถกำกับดูแลบริษัทเหล่านี้ได้ เพราะทำกิจการไม่ต่างกับบริษัทเงินกู้แบบดั้งเดิม ถ้าใครข้องใจอะไรเดี๋ยวค่อยมาว่ากัน

อ่านเพิ่มเติม >