ฉบับที่ 191 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนมกราคม 2560ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิมภายใน 3 วันไม่เป็นจริงนพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ร้องเรียนปัญหาทางด้านการให้บริการในประเทศไทยปี 2559 ระบุปัญหา เรื่องการย้ายค่ายเบอร์เดิม ถูกร้องเรียนเพิ่มขึ้นมากที่สุด จำนวนเรื่องร้องเรียนด้านโทรคมนาคมปี 2559 ทำลายสถิติเดิม ด้วยจำนวนกว่า 4,200 เรื่อง เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่มีเพียง 2,913 เรื่อง เกือบ 50% โดยประเด็นเรื่องร้องเรียนที่เพิ่มกว่าพันเรื่องนั้นส่วนใหญ่เป็นปัญหาบริการคงสิทธิเลขหมาย (ย้ายค่ายใช้เบอร์เดิม) ซึ่งแม้ว่า กสทช. จะกำหนดให้การย้ายค่ายต้องแล้วเสร็จใน 3 วันทำการก็ตาม แต่ผู้บริโภคเกินกว่าครึ่งก็ไม่สามารถย้ายค่ายได้ใน 3 วัน หรือถูกปฏิเสธการย้ายค่าย ในประเด็นเรื่องการย้ายค่าย สาเหตุมาจากปัญหาการช่วงชิงผู้บริโภคที่ซิมจะดับเมื่อต้นปี 2559 ด้วยช่องทางบริการคงสิทธิเลขหมายนั้น ถือเป็นกลไกการแข่งขันที่สร้างตัวเลือกให้แก่ผู้บริโภคที่ซิมจะดับว่า จะเลือกใช้บริการค่ายไหนดี แต่ปัญหาก็เกิดเพราะมีการเปิดช่องทางย้ายค่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ เพียงรูด หรือเสียบบัตรประชาชนกับเครื่องอ่านบัตร ซึ่งโดยปกติธุรกรรมต่างๆ มักจะต้องมีการเซ็นชื่อพิสูจน์ตัวบุคคลร่วมกับการแสดงบัตรประชาชน จึงเกิดปัญหาความชอบด้วยกฎหมายของช่องทางดังกล่าวตามมา ทำให้เกิดการปฏิเสธการโอนย้ายจำนวนมหาศาล และเกิดกรณีการใช้บัตรประชาชนโอนย้ายโดยเจ้าของไม่ได้ยินยอม ซึ่งขณะนี้ กสทช.ได้ดำเนินการออกแนวปฏิบัติในการย้ายค่ายใหม่ให้สะดวกและรัดกุมยิ่งขึ้น โดยจะเริ่มมีผลในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้กรมแพทย์เตรียมเปิด “สถานดูแลคนแก่” เช้าไปเย็นกลับ พร้อมจัดทำแนวทางมาตรฐานการดูแลผู้สูงอายุกรมการแพทย์เตรียมเปิด “สถานดูแลผู้สูงอายุ” แบบเช้าไปเย็นกลับ ภายในปี 2560 รับดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ชนชั้นกลาง ก่อนถอดบทเรียนจัดทำเป็นแนวทางมาตรฐานสถานดูแลผู้สูงอายุระดับประเทศ ให้เอกชนนำไปเป็นแบบ หากทำได้ออกใบรับรองการันตีทันที              นพ.ธีรพล โตพันธานนท์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านราว 2% ของจำนวนประชากรผู้สูงอายุทั้งประเทศ ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านจะมีอาการป่วยบ้าง แต่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้และในช่วงกลางวันมักต้องอยู่คนเดียว ไม่มีคนดูแล เนื่องจากลูกหลานออกไปทำงาน แต่ผู้สูงอายุกลุ่มนี้ไม่ต้องการที่จะไปอยู่ในสถานสงเคราะห์ ทั้งนี้ กรมฯ เตรียมที่จะจัดตั้งสถานดูแลผู้สูงอายุในเวลากลางวัน (Day Care) โดยใช้พื้นที่บริเวณอาคารของกรมภายในกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เพื่อเป็นสถานที่ต้นแบบในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านดังกล่าว โดยจะเป็นลักษณะการดูแลแบบเช้าไปเย็นกลับ ลูกหลานสามารถมาส่งในตอนเช้าและมารับกลับในตอนเย็นเหมือนกับสถานดูแลเด็กเล็ก บริการนี้จะใช้เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อถอดบทเรียนและจัดทำเป็นมาตรฐานประเทศในเรื่องสถานดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งภาคเอกชนสามารถนำไปดำเนินการต่อได้ “นอกจากนี้ กรมฯ ยังเตรียมที่จะจัดหลักสูตรอบรมผู้ดูแลผู้สูงอายุ เพื่อให้บุคคลทั่วไปที่สนใจเข้ารับการอบรม เพื่อที่จะเป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีการรับรองการผ่านการอบรมที่จะมีใบการันตีจากกรมการแพทย์ด้วย” อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวกรมอนามัยเตรียมปฏิบัติการเพื่อให้เด็กไทยสูง ด้วยนมวันละ 2 แก้วกรมอนามัย ตั้งเป้าเพิ่มความสูง รูปร่างสมส่วน “เด็กวัยเรียน” ชี้ ปี 2579 เพศชายสูงเฉลี่ย 163 ซม. เพศหญิง 164 ซม. เผยดื่มนมคู่อาหารครบ 5 หมู่ ออกกำลังกายแบบมีแรงกระแทก นอนหลับสนิท 8 - 10 ชั่วโมง ช่วยเพิ่มความสูงได้ เล็งเพิ่มการดื่มนมเด็กเป็นวันละ 2 แก้ว “การศึกษาวิจัยในต่างประเทศหลายแหล่ง พบว่า การดื่มนมมีความสัมพันธ์กับความสูงของเด็ก และล่าสุด ในปี 2555 สถาบันประวัติศาสตร์สังคมนานาชาติ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ศึกษาวิจัยเรื่องการดื่มนมที่มีผลต่อความสูงของเด็กวัยเรียนใน 7 ประเทศ พบว่า การดื่มนมวันละ 245 มิลลิลิตร ร่วมกับการกินอาหารในปริมาณที่เหมาะสมกับวัย ทำให้ส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 0.4 เซนติเมตรต่อปี อย่างมีนัยสำคัญ”คอบช.  เสนอรัฐบาลเร่งมีองค์กรคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ตามรัฐธรรมนูญองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน(คอบช.) เสนอรัฐบาลเร่งมีองค์กรคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคที่มีพลัง ตามมาตรา 46 แห่งรัฐธรรมนูญ เผยหนึ่งปีที่ผ่านมามีผู้บริโภคร้องเรียนจำนวน 3,622 เรื่อง เป็นปัญหาด้านบริการสาธารณสุข การเงินการธนาคาร และบริการสาธารณะมากที่สุดจากองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 11 มกราคม ผศ.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองประธาน คอบช. ระบุปีที่ผ่านมา สามารถช่วยเหลือผู้บริโภคได้เป็นจำนวนมาก จากผลงานเรื่อง ตู้น้ำดื่มหยอดเหรียญ การเปลี่ยนบัตรโดยสารรถไฟฟ้าใต้ดิน การควบคุมราคาจำหน่ายก๊าซหุงต้มทั่วประเทศ การเสนอให้มีกฎหมายคุ้มครองสินค้าใหม่ที่ชำรุดบกพร่อง (Lemon Law) และความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย และอื่นๆ ในส่วนของสถิติการร้องเรียนในปี 2559 ที่ผ่านเข้ามาทาง คอบช. นั้น มีกรณีร้องเรียนรวมทั้งสิ้น 3,622 เรื่อง แยกเป็นปัญหาด้านบริการสุขภาพและสาธารณสุขจำนวน 680 เรื่อง ปัญหาด้านการเงินการธนาคาร 626 เรื่อง ปัญหาด้านบริการสาธารณะ 553 เรื่อง ปัญหาด้านสื่อและโทรคมนาคม 54 เรื่อง ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ 450 เรื่อง สินค้าและบริการทั่วไป 372 เรื่อง และปัญหาที่อยู่ที่อาศัยจำนวน 38 เรื่อง ซึ่งทุกเรื่องจะมีทั้งการแก้ไขปัญหาทั้งแบบปัจเจกและถูกยกระดับขึ้นเป็นงานรณรงค์ด้านนโยบายทั้งระดับจังหวัดและระดับประเทศ  ยกตัวอย่างเรื่อง สภาผู้บริโภคจังหวัด เช่น จังหวัดพะเยา สามารถจัดตั้งสภาผู้บริโภคโดยมีรูปแบบคณะทำงานที่เป็นทางการ สามารถขับเคลื่อนงานผู้บริโภคในจังหวัดพะเยา ได้อย่างเป็นระบบ หรือที่จังหวัดเพชรบุรีมีการร่วมกันกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดสภาผู้บริโภคจังหวัดในประเด็นการรู้เท่าทันการโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพเกินจริง จนเกิดเป็นคณะทำงานจัดทำข้อเสนอเพื่อสร้างมาตรการในการจัดการปัญหาดังกล่าวในระดับจังหวัดขึ้นมา  เช่นเดียวกับที่ จังหวัดสมุทรสงคราม ภาคประชาชนสามารถทำงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด จัดสภาผู้บริโภค ในประเด็นอาหารปลอดภัย และมีนโยบายผลักดันการใช้ฉลากโภชนาการอาหารแบบสัญญาณไฟจราจรการมีสภาหรือองค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระ จึงมีความสำคัญเพราะจะช่วยสนับสนุนให้เกิดองค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดที่เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันด้วยการทำงานของ คอบช. สามารถสร้างองค์กรผุ้บริโภคที่เข้มแข็งได้ถึง 44 จังหวัดแล้ว  คอบช. จึงขอเสนอให้รัฐบาลเร่งดำเนินการจัดตั้ง องค์กรผู้บริโภคที่เป็นอิสระตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีสถานะทางกฎหมายให้ได้ในเร็ววัน เพื่อเป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการประสานนโยบายและดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนได้อย่างเต็มที่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 118 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 25539 พฤศจิกายน 2553เรื่อง “ยา” ที่ต้องรู้ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กระทรวงสาธารณสุขมีประกาศคำเตือนเกี่ยวกับใช้ยาที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้มาแจ้งให้ทราบ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือการให้เพิ่มคำเตือนในฉลากยาและเอกสารกำกับยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน “กลุ่มไทอะโซลิดีนไดโอน” (Thiazolidinedione) ว่าห้ามใช้ในผู้ที่มีโรคหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง เพราะยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หากใช้ยาแล้วมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอาการบวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที โดย อย. จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่แพทย์ทั่วประเทศและทำหนังสือแจ้งเวียนให้บริษัทผู้ผลิตยารักษาโรคเบาหวานปฏิบัติตามเรื่องที่ 2 คือ กำหนดมาตรฐานกระบอกฉีดอินซูลินชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เพราะกระบอกฉีดอินซูลินสำหรับผู้ป่วยเบาหวานถือเป็นเครื่องมือแพทย์ ต้องมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. รองรับ โดยกระบอกฉีดอินซูลินที่ดีนั้นจะต้องผ่านกรรมวิธีทำให้ปราศจากเชื้อโรคและใช้งานเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งต้องแสดงรายละเอียดบนฉลากบรรจุกระบอกฉีดอินซูลิน เป็นข้อความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยให้ระบุเลขที่ครั้งที่ผลิต วิธีการฆ่าเชื้อ ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายว่าปราศจากเชื้อ เดือนปีที่ทำการฆ่าเชื้อและวันหมดอายุการฆ่าเชื้อ เพื่อให้ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานและต้องใช้กระบอกฉีดอินซูลิน สามารถอ่านได้ชัดเจน+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++  28 พฤศจิกายน 2553“ปืนอัดลม” ของเล่นทำร้ายเด็กไทย สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนความปลอดภัยในเด็ก ร่วมกับอีกหลายเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับ “สถานการณ์อันตรายจากปืนของเล่น” พบว่ามีเด็กไทยบาดเจ็บจากการเล่นปืนอัดลมเฉลี่ยถึงปีละ 5,000 คนรศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนงานความปลอดภัยในเด็ก สสส. คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่ามีเด็กที่มารักษาตัวตามห้องฉุกเฉินเพราะบาดเจ็บจากการเล่นปืนอัดลมถึง 4,792 คนทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปีนอกจากนี้ บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ยังได้ทำการทดสอบปืนอัดลมทั้งสั้นและยาว ปืนลูกดอก ปืนลูกบอล ในท้องตลาดไทยรวม 27 ชนิด พบว่ามีปืนอัดลมที่ไม่ผ่านการทดสอบถึง 25 รายการ ซึ่งมีความเร็วและความแรงของกระสุนหรือวัตถุที่ยิงออกมาเกินมาตรฐานกำหนด กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) จึงเตรียมสั่งให้ปืนอัดลมเป็นสินค้าอันตราย เพราะถือเป็นสิ่งเทียมอาวุธไม่ใช่ของเล่น ไม่ควรวางขายทั่วไป +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++  30 พฤศจิกายน 2553“เบอร์เดิมย้ายค่าย” จ่าย 99 บาทกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ยืนยันมาแล้วว่าผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้บริการ “เปลี่ยนค่ายใช้เบอร์เดิม” ได้แล้ว แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในราคา 99 บาท ต่อ 1 เลขหมาย พร้อมมีข้อแนะนำก่อนการย้ายเครือข่าย ให้เคลียร์ค่าบริการ ยอดเงินและยอดวันคงเหลือให้เรียบร้อย หากมีเหลืออยู่ควรใช้ให้หมดหรือโอนให้คนอื่น เพราะเมื่อย้ายเครือข่ายแล้วจะไม่สามารถโอนย้ายเงินหรือวันมาด้วยได้ และที่สำคัญคือเลขหมายโทรศัพท์ที่จะย้ายค่ายต้องเป็นเลขหมายที่จดทะเบียนแล้วเรียบร้อย เพื่อความสะดวกและป้องกันการแอบอ้างหรือลักลอบใช้บริการของผู้ไม่หวังดี ใครอยากใช้บริการนี้ต้องติดต่อไปยังค่ายมือถือใหม่ที่ต้องการย้ายไปใช้งาน     หยุดโกงเวลาลูกค้าพรีเพด!!!องค์กรผู้บริโภคส่งตัวแทนจากทั่วประเทศเดินขบวนเรียกร้องค่ายมือถือ "หยุดโกงเวลาลูกค้าพรีเพด" ขอคำตอบภายใน 30 วัน อย่างช้าไม่เกิน 60 วัน หากยังนิ่งเฉยจะรวบรวมผู้ที่เดือดร้อนดำเนินการทางกฎหมายกับทุกค่ายที่ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งได้รวบรวมคนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ละภูมิภาค ภูมิภาคละ 1-2 คนต่อหนึ่งบริษัท กำหนดกลับมาทวงคำตอบอีกครั้งเดือน ม.ค. 2554  ผลการวิจัยระบุ คนไทยใช้เงินค่าโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยเดือนละ 200 บาท แต่กลับถูกบังคับให้ต้องเติมเงินค่ามือถือเดือนละ 300 บาท แม้จะใช้ไม่ถึง เท่ากับผู้ให้บริการมีเงินหมุนเวียนจากการจ่ายล่วงหน้าจากผู้บริโภคทั้งประเทศเดือนละ 6,000 ล้านบาท ซึ่งผู้ให้บริการก็ยินดีรับข้อเรียกร้องกลับไปพิจารณา แต่ผลจะออกมาเป็นอย่างไรนั้น ต้องคอยติดตามกันต่อไป+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++    ถึงเวลาปฏิรูปรถโดยสารเพื่อความปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และตัวแทนเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคร่วมกันจัดสัมมนา “สภาผู้บริโภคเพื่อการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ" เพื่อเป็นการเตือนสติผู้ใช้รถและผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ ให้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งสาเหตุหลักก็ยังคงเป็นเรื่องของความด้อยคุณภาพของตัวรถและความประมาทของพนักงานขับรถ   ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้รถโดยสารสาธารณะในปัจจุบันส่วนใหญ่ด้วยคุณภาพ เนื่องจากทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ต่างก็เปิดให้เอกชนรายย่อยเข้ามาร่วมบริการ ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2551 พบว่าจำนวนผู้ประกอบการเอกชนที่มีใบอนุญาตเดินรถสาธารณะทั่วประเทศมีทั้งสิ้น 800 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 เป็นผู้ถือใบอนุญาตที่ไม่มีรถโดยสารเป็นของตนเอง มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นที่มีรถโดยสารให้บริการ ซึ่งส่งผลการควบคุมคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทำได้ลำบาก และการควบคุมดูแลยากที่จะทั่วถึง  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ยังกล่าวเสริมในเรื่องที่ผู้ประสบอุบัติเหตุที่มักจะไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเข้ามาดูแลแก้ไข ให้สมกับที่รัฐบาลได้ประกาศให้เรื่องอุบัติเหตุเป็นวาระแห่งชาติด้วย ขณะที่ตัวผู้บริโภคเองก็ควรตื่นตัวปกป้องสิทธิตนเอง และหากผู้บริโภคประสบปัญหาสามารถติดต่อให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือได้เช่นกัน  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะเฉพาะที่ปรากฏเป็นข่าวตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคมปี 2553 พบว่ารถประจำทางปรับอากาศ เป็นรถโดยสารที่มีสถิติประสบอุบัติเหตุมากที่สุดถึง 97 ครั้ง บาดเจ็บ 938 ราย เสียชีวิต 78 ราย รองลงมาคือรถนำเที่ยว 42 ครั้ง บาดเจ็บ 582 ราย เสียชีวิต 38 ราย ที่เหลือก็มีทั้ง รถรับจ้างรับส่งพนักงาน รถตู้รับจ้าง รถเมล์ รถโดยสารระหว่างจังหวัด รถสองแถว และรถแท็กซี่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 114 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนกรกฎาคม 2553 6 กรกฎาคม 2553ดื่มน้ำมังคุดไม่หายป่วย อาจซวยได้โรคเพิ่ม จากกรณีที่มีข่าวพบผู้ป่วยวัย 81 ปี ชาว จ.หนองคาย เข้ารักษาในโรงพยาบาลหลังมีอาการไข้ ไอ อ่อนเพลีย และท้องเสียรุนแรงถึงขั้นถ่ายเป็นเลือด เมื่อตรวจตามร่างกายก็พบรอยจ้ำช้ำเลือดทั่วตัว ซึ่งสอบถามหาสาเหตุพบว่าผู้ป่วยได้ดื่มน้ำมังคุดยี่ห้อหนึ่ง ซึ่งอ้างสรรพคุณว่ารักษาอาการปวดขาได้ แต่สุดท้ายดื่มแล้วกลับต้องป่วยหนักจนเข้าโรงพยาบาล ทาง อย. จึงรีบออกมาเตือนประชาชน ยืนยันผลจากรายงานของแพทย์ ว่าน้ำมังคุดรักษาโรคไม่ได้ แถมยังมีผลข้างเคียงต่อร่างกาย   “แม้ในมังคุดจะมีสารแซนโทน (xanthones) ซึ่งมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ แต่ก็ยังขาดข้อมูลสนับสนุนว่าสามารถใช้รักษาโรคได้ นอกจากนี้เคยมีรายงานทางการแพทย์กรณีผู้ป่วยดื่มน้ำมังคุดทุกวัน ตลอด 12 เดือน จนเกิดภาวะเลือดเป็นกรด และพบอาการไม่พึงประสงค์ อาทิ บวม แดง เกิดผื่นคัน ปวดข้อ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ถ่ายเหลว ลำไส้แปรปรวน และท้องผูก และที่ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ คือ ผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างการฉายรังสี ผู้ป่วยที่กำลังใช้ยาต้านมะเร็ง ผู้ป่วยที่มีภาวการณ์สร้างเม็ดเลือดแดงมากเกินไปทำให้เลือดข้น และผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากผลิตภัณฑ์น้ำมังคุดมีการผสมน้ำตาลจำนวนมาก ผู้ป่วยโรคดังที่กล่าวไม่ควรรับประทาน ซึ่งในอเมริกาก็เคยออกคำเตือนกับผู้ผลิตน้ำมังคุดเกี่ยวกับการโฆษณาสรรพคุณด้วยเช่นกัน” นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- 14 กรกฎาคม 2553เตรียมออกกฎหมายมาตรฐานแพทย์แผนจีน กระทรวงสาธารณสุข เตรียมออกกฎหมายควบคุมมาตรฐานคลินิกการแพทย์แผนจีน พร้อมผลักดันการแพทย์แผนจีนเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สืบเนื่องมาจากการประชุมวิชาการการแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 1 กระทรวงสาธารณสุขเห็นว่าควรควบคุมคลินิกการแพทย์แผนจีนให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น โดยการจัดทำร่างมาตรฐานสถานพยาบาลสาขาการแพทย์แผนจีน บังคับให้คลินิกแพทย์แผนจีนต้องมีเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรค ให้เป็นไปตามมาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ ที่ต้องมียา อุปกรณ์และเวชภัณฑ์เพียงพอ ส่วนการนวดและการฝังเข็มนั้น สถานบริการจะต้องมีจำนวนเตียงให้บริการสัดส่วนไม่เกิน 10 เตียง ต่อผู้ให้บริการ 1 คน ซึ่งร่างดังกล่าวจะเสนอต่อคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการแพทย์แผนจีนพิจารณา โดยคาดว่าจะประกาศใช้ได้ในปีหน้านี้   นอกจากนี้กระทรวงสาธารณสุข เตรียมผลักดันการแพทย์แผนจีนเข้าสู่ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มากขึ้น โดยให้คลอบคลุมถึงการใช้สมุนไพรและการนวดแบบจีน ที่นอกเหนือจากการฝังเข็มรักษาโรคเพียงอย่างเดียว รวมทั้งจะเสนอให้ผู้ป่วยเบิกได้ตามจ่ายค่ารักษาพยาบาลจริงได้ เพื่อให้ประชาชนได้มีทางเลือกในการรักษาโรคมากขึ้น -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   22 กรกฎาคม 2553อย.ออกกฎลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม แก้เด็กไทยฟัน "ตกกระ" คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า เด็กที่บริโภคน้ำที่มีฟลูออไรด์มากกว่า 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้มีรายงานไว้ว่า ปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำบริโภคที่แนะนำคือ 1.5 มิลลิกรัมต่อน้ำบริโภค 1 ลิตร ซึ่งการกำหนดเป็นมาตรฐานของแต่ละประเทศนั้น ควรคำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ภูมิอากาศ ปริมาณฟลูออไรด์ที่ได้รับจากการบริโภคน้ำและอาหารอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งทางอย. ห่วงใยเด็กไทยโดยเฉพาะในวัย 1 – 6 ขวบซึ่งอยู่ในระหว่างการสร้างฟัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดฟันตกกระในเด็ก จึงได้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 6) ลงวันที่ 23 เมษายน 2553 โดยปรับข้อกำหนดปริมาณฟลูออไรด์ของน้ำบริโภคจาก “1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร” เป็น “0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร” โดยประกาศดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2553 ส่วนผู้ผลิต / นำเข้าน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุปิดสนิทที่ได้รับการจดทะเบียนรายละเอียดของอาหารไว้แล้วก่อนหน้านี้ ต้องปรับปริมาณฟลูออไรด์ ให้เป็นไปตามประกาศฯ ฉบับนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2553 เป็นต้นไป หากพบน้ำดื่มบรรจุขวดมีคุณภาพหรือมาตรฐานไม่เป็นไปตามประกาศ เข้าข่ายเป็นอาหารผิดมาตรฐาน มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ผู้บริโภคร้อง กทช.เปลี่ยนเครือข่ายใช้เบอร์เดิมต้องไม่เสีย 99 บาท เครือข่ายศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคทั่วประเทศ สภาผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ยื่นหนังสือถึงคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คัดค้านการอนุญาตให้ผู้ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์มือถือสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการโอนย้ายเลขหมายในอัตรา 99 บาท เพราะเป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค และอาจขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคมนายกำชัย น้อยบรรจง ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง กล่าวว่า จุดยืนขององค์กรผู้บริโภคเรื่องการคงสิทธิในเลขหมายได้เสนอไว้อย่างชัดเจนทั้งจากเวทีรับฟังความคิดเห็นของ กทช. ทั่วประเทศ และการรับฟังความคิดเห็นเรื่อง 3G เมื่อวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมาว่า ไม่ควรเรียกเก็บค่าบริการในการโอนย้ายบริการจากผู้ใช้บริการ แต่หากบริษัทมีต้นทุนในการให้บริการโอนย้ายดังกล่าวจริง ผู้ประกอบการควรตกลงรับภาระกันเอง เนื่องจากผู้ประกอบการเป็นผู้ได้รับประโยชน์จากผู้ใช้บริการด้าน นายพนัชทร สุนทราภิมุข ตัวแทนองค์กรเครือข่ายผู้บริโภค กล่าว่า การมีมติของ กทช.ที่ให้เรียกเก็บค่าโอนย้ายเครือข่ายได้นี้ น่าจะเป็นการกระทำที่ขัดต่อ พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ.2544 มาตรา 12 และมาตรา 21 เพราะในมาตรา 12 วรรค 4 กำหนดไว้ว่า ให้คณะกรรมการ กทช.กำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ให้ผู้ใช้บริการมีสิทธิใช้เลขหมายโทรคมนาคมเดิมได้ เมื่อมีความพร้อมทางเทคนิค และที่สำคัญคือเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของผู้ใช้บริการเมื่อผู้ใช้บริการต้องการเปลี่ยนผู้ให้บริการแต่ต้องการคงเลขหมายเดิม โดยไม่มีการให้อำนาจแก่ กทช. ในการกำหนดหลักเกณฑ์ที่จะให้มีการคิดค่าใช้จ่ายการโอนย้ายเลขหมายแต่อย่างใด และในมาตรา 21 ของกฎหมายฉบับเดียวกัน ยังบังคับให้คณะกรรมการ กทช. ต้องกำหนดมาตรการที่มิให้ผู้รับใบอนุญาตหรือผู้ให้บริการกระทำการอย่างใดอันเป็นการผูกขาด หรือลด หรือจำกัดการแข่งขัน ในการให้บริการกิจการโทรคมนาคม แต่การที่ กทช.ไปกำหนดให้มีการเรียกค่าเก็บค่าธรรมเนียมการโอนย้ายกับผู้บริโภค จะทำให้ผู้บริโภคถูกจำกัดสิทธิในการเลือกใช้บริการกับผู้ให้บริการที่ตนเองเห็นว่ามีคุณภาพการบริการที่ดีกว่าผู้ให้บริการรายเดิมได้ การกำหนดให้มีการคิดค่าธรรมเนียมได้นี้จึงไม่เอื้อประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภคอันถือเป็นหน้าที่ที่ กทช. ต้องปฏิบัติตามกฎหมายแต่อย่างใด------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- แพทย์ชนบทย้ำ พ.ร.บ,คุ้มครองผู้เสียหายฯ ช่วยลดการฟ้องหมอ แพทย์ชนบท เภสัชกรชนบท เครือข่ายผู้บริโภคย้ำ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข หมอได้ประโยชน์ พร้อมหนุนให้มีกฎหมาย เครือข่ายผู้เสียหายเดินหน้ายื่นจดหมายต่อแพทยสภาเพื่อขอให้พูดความจริง นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ในฐานะตัวแทนชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึง ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข ว่าร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีประโยชน์ต่อสังคม และตนหวังว่า น่าจะสร้างความสัมพันธ์อันดีทุกฝ่าย และถือว่ามีประโยชน์อย่างมากและครอบคลุมผู้ใช้สิทธิทุกคน   “จากประสบการณ์ที่ผ่านมาถึงแม้ปัจจุบันนี้จะมีการชดเชยและเยียวยาผู้เสียหายซึ่งเป็นเสมือนบททดลอง ตามมาตรา 41 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2545 ซึ่งสามารถเยียวยาผู้ที่ได้รับความเสียหายได้ แต่ก็บรรเทาความเสียหายเฉพาะผู้ใช้สิทธิรักษาบัตรทองเท่านั้น ไม่ครอบคลุมทั้งหมด ซึ่งหากมี กฎหมายตัวนี้ออกมาจะเป็นประโยชน์กับทุกฝ่ายมากขึ้น” นพ.วชิระ กล่าว   ด้าน นพ.วีรพันธ์ สุพรรณไชยมาตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น ที่เคยมีกรณีรักษาผู้ป่วยตาต้อกระจกแล้วผู้ป่วยติดเชื้อระหว่างการผ่าตัด ทำให้เกิดการอักเสบอย่างรุนแรง 11 รายและต้องควักลูกตาทำให้ตาบอดสนิทจำนวน 10 ราย กล่าวว่า “ถ้าหากมีกฎหมายตัวออกมาตั้งแต่ปี 2553 ตนน่าจะเบาหน่อย เพราะหากมี พ.ร.บ. คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขออกมาเราจะมีเวทีในการพูดคุยกันระหว่างหมอกับคนไข้ เพราะไม่มีใครอยากให้ความผิดพลาดเกิดขึ้นอยู่แล้ว แต่ถ้าหากพลาดพลั้งมาก็ต้องคุยกัน ต้องสร้างสัมพันธ์กัน”   ด้าน ภญ. ศิริพร จิตร์ประสิทธิศิริ ชมรมเภสัชชนบท กล่าวถึงพี่น้องที่ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุขที่กังวลว่าหากกฎหมายตัวนี้เกิดขึ้นแล้วจะมีการฟ้องอาญามากขึ้นนั้น การฟ้องอาญา ม.34 หากผู้เสียหายฟ้องอาญาไว้แล้ว จะไม่สามารถใช้กฎหมายนี้ได้ ซึ่งกฎหมายตัวนี้ได้บังคับให้เลือกใช้สิทธิเพียงสิทธิเดียวเท่านั้น และ ม.45 จะมีการบรรเทาโทษ หรือละเว้นโทษให้ หากมีการช่วยเหลือ หรือแสดงความรับผิดชอบภายใต้กฎหมายนี้ไปแล้ว ซึ่งศาลก็ต้องพิจารณาหลายๆส่วน เชื่อว่าความเป็นธรรมยังมีอยู่ เพียงแต่ว่าเราต้องผสานความสัมพันธ์ของหมอกับคนไข้ต่อไปและไม่ต้องกังวลว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม  

อ่านเพิ่มเติม >