ฉบับที่ 197 ข้าวรักษาเบาหวาน

ผู้ป่วยเบาหวานมักจะได้รับคำเตือนให้ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล รวมทั้งจำกัดปริมาณข้าวไม่ให้รับประทานมากเกินไปเพราะแป้งในข้าวมีผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด แต่วันนี้มีผลิตภัณฑ์ข้าวบรรเทาเบาหวาน ... มันคืออะไร? มีผู้บริโภคนำผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งแผ่นพับโฆษณามาให้ผมดู พร้อมทั้งถามว่า “มันรักษาเบาหวานได้จริงหรือ?” โดยให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ตนเป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ วันหนึ่งมีบริษัทมาขายข้าว โดยให้ข้อมูลว่าข้าวชนิดนี้เป็นข้าวที่รักษาเบาหวานได้ ในระหว่างขายสินค้า ก็จะมีผู้คนที่อ้างว่าเป็นเบาหวานและปัจจุบันหายจากโรคนี้แล้ว เพราะกินข้าวชนิดนี้ ราคาขายกิโลกรัมละ 220 บาท ถ้าสมัครเป็นสมาชิกจะเหลือกิโลกรัมละ 175 บาท ตนเองสงสัยว่าข้าวหอมมะลิทั่วไปราคาประมาณกิโลกรัมละ 50 บาทเอง ทำไมข้าวชนิดนี้ถึงราคาแพงมาก แล้วมันดีจริงหรือผมดูผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ก็เหมือนข้าวสารทั่วๆไป แต่ที่น่าสนใจคือรายละเอียดในแผ่นพับ อธิบายว่า ข้าวชนิดนี้เป็นนวัตกรรมโภชนาการบำบัด สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหาน และบุคคลทั่วไป ผลิตโดยกระบวนการพิเศษ ทำให้ลดแป้งในเม็ดข้าว ทำให้การเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาลช้าลง ทำให้ร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ได้หมด ไม่เหลือในระบบเลือด (เบาหวานลด) นอกจากนี้ก็มีเนื้อหาที่อธิบายโรคแทรกซ้อนในเบาหวาน รวมทั้งอธิบายคุณสมบัติของข้าวชนิดนี้ว่า จะมีสารสกัดน้ำมันรำข้าวซึมเข้าไปในเมล็ดข้าว และมีปริมาณคาร์โบไฮเดรตน้อย สามารถช่วยลดโคเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ช่วยลดไตรกลีเซอร์ไรด์ ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง ลดความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม ลดความเสี่ยงโรคสายตา บำรุงผิวพรรณ ทำให้นอนหลับสบาย ทำให้ระบบไหลเวียนโลหิตดีขึ้น ฯลฯ รวมทั้งมีการอ้างอิงวิชาการต่างๆ ด้วย ซึ่งหากดูข้อมูลตรงนี้จะเห็นว่า เป็นการให้ข้อมูลที่ไม่ระบุชัดเจนว่ารักษาโรคได้ โดยพยายามเลี่ยงมาใช้คำว่า “ลด” ความเสี่ยงต่างๆแต่ที่น่าประหลาดใจคือ ข้อความจากรูปถ่าย ป้ายโฆษณาที่ผู้ขายนำมาตั้งไว้ระหว่างขาย กลับแสดงรูปผู้ป่วยหลายคน(บางรายมีแผลลุกลามที่ขา) และมีข้อความโฆษณาสรรพคุณของข้าวชนิดนี้ อย่างเข้มข้นกว่าในแผ่นพับ เช่นระบุว่า ป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดตีบตัน  ป้องกันโรคเบาหวาน  ป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันโรคสมองเสื่อมผู้บริโภคถามว่า ตนควรจะกินข้าวนี้แทนข้าวกล้องที่กินประจำดีไหม ผมจึงแนะนำไปว่า การรับประทานข้าวกล้องก็ได้วิตามินและแร่ธาตุอยู่แล้ว  ข้าวชนิดนี้มีการอ้างกรรมวิธีการผลิต  ซึ่งผมไม่ทราบว่ากรรมวิธีการผลิตที่แท้จริง  มันจะเป็นอย่างที่โฆษณาหรือไม่ มีข้อสังเกตสองสามอย่างคือ  ข้าวชนิดนี้ราคาจะแพงกว่าข้าวทั่วๆ หลายเท่า และข้อความที่โฆษณาหลายอย่าง โดยเฉพาะในป้ายที่ตั้งโฆษณา เป็นข้อความที่เข้าข่ายเสมือนเป็นยารักษาโรค ซึ่งในแง่ผลิตภัณฑ์อาหารจะไม่สามารถโฆษณาแบบนี้ได้ หากจะโฆษณาแบบนี้จะต้องพิสูจน์ให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยายอมรับว่ามีสรรพคุณดังกล่าวจริงและต้องมาขอขึ้นทะเบียนเป็นยาด้วย  นอกจากนี้ฉลากโภชนาการที่แสดงด้านหลังภาชนะบรรจุ ก็ไม่ใช่แบบที่ถูกต้อง แสดงว่ายังไม่ได้ขออนุญาตใช้ฉลากที่แสดงคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นจึงพิสูจน์ไม่ได้ว่าคุณค่าสารอาหารที่อ้างว่ามี ตรงกับที่แสดงในฉลากหรือไม่ เพราะเมื่อไม่ได้มาขออนุญาต จึงไม่มีการตรวจสอบจากหน่วยงานใดๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 118 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 25539 พฤศจิกายน 2553เรื่อง “ยา” ที่ต้องรู้ของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กระทรวงสาธารณสุขมีประกาศคำเตือนเกี่ยวกับใช้ยาที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องรู้มาแจ้งให้ทราบ 2 เรื่อง เรื่องแรกคือการให้เพิ่มคำเตือนในฉลากยาและเอกสารกำกับยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน “กลุ่มไทอะโซลิดีนไดโอน” (Thiazolidinedione) ว่าห้ามใช้ในผู้ที่มีโรคหัวใจล้มเหลวในระดับที่รุนแรง เพราะยานี้อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว หากใช้ยาแล้วมีอาการหายใจลำบาก เหนื่อยง่าย น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว หรือเกิดอาการบวมมากให้รีบปรึกษาแพทย์โดยทันที โดย อย. จะทำหน้าที่ให้ข้อมูลแก่แพทย์ทั่วประเทศและทำหนังสือแจ้งเวียนให้บริษัทผู้ผลิตยารักษาโรคเบาหวานปฏิบัติตามเรื่องที่ 2 คือ กำหนดมาตรฐานกระบอกฉีดอินซูลินชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้งให้เป็นสากลมากยิ่งขึ้น เพราะกระบอกฉีดอินซูลินสำหรับผู้ป่วยเบาหวานถือเป็นเครื่องมือแพทย์ ต้องมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือ มอก. รองรับ โดยกระบอกฉีดอินซูลินที่ดีนั้นจะต้องผ่านกรรมวิธีทำให้ปราศจากเชื้อโรคและใช้งานเพียงครั้งเดียว พร้อมทั้งต้องแสดงรายละเอียดบนฉลากบรรจุกระบอกฉีดอินซูลิน เป็นข้อความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยให้ระบุเลขที่ครั้งที่ผลิต วิธีการฆ่าเชื้อ ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่มีความหมายว่าปราศจากเชื้อ เดือนปีที่ทำการฆ่าเชื้อและวันหมดอายุการฆ่าเชื้อ เพื่อให้ประชาชนที่เป็นโรคเบาหวานและต้องใช้กระบอกฉีดอินซูลิน สามารถอ่านได้ชัดเจน+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++  28 พฤศจิกายน 2553“ปืนอัดลม” ของเล่นทำร้ายเด็กไทย สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) แผนความปลอดภัยในเด็ก ร่วมกับอีกหลายเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้เปิดเผยข้อมูลที่น่าตกใจเกี่ยวกับ “สถานการณ์อันตรายจากปืนของเล่น” พบว่ามีเด็กไทยบาดเจ็บจากการเล่นปืนอัดลมเฉลี่ยถึงปีละ 5,000 คนรศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนงานความปลอดภัยในเด็ก สสส. คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่ามีเด็กที่มารักษาตัวตามห้องฉุกเฉินเพราะบาดเจ็บจากการเล่นปืนอัดลมถึง 4,792 คนทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเด็กที่อายุน้อยกว่า 15 ปีนอกจากนี้ บริษัท อินเตอร์เทค เทสติ้ง เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) ยังได้ทำการทดสอบปืนอัดลมทั้งสั้นและยาว ปืนลูกดอก ปืนลูกบอล ในท้องตลาดไทยรวม 27 ชนิด พบว่ามีปืนอัดลมที่ไม่ผ่านการทดสอบถึง 25 รายการ ซึ่งมีความเร็วและความแรงของกระสุนหรือวัตถุที่ยิงออกมาเกินมาตรฐานกำหนด กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) จึงเตรียมสั่งให้ปืนอัดลมเป็นสินค้าอันตราย เพราะถือเป็นสิ่งเทียมอาวุธไม่ใช่ของเล่น ไม่ควรวางขายทั่วไป +++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++  30 พฤศจิกายน 2553“เบอร์เดิมย้ายค่าย” จ่าย 99 บาทกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ยืนยันมาแล้วว่าผู้ที่ใช้โทรศัพท์มือถือสามารถใช้บริการ “เปลี่ยนค่ายใช้เบอร์เดิม” ได้แล้ว แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในราคา 99 บาท ต่อ 1 เลขหมาย พร้อมมีข้อแนะนำก่อนการย้ายเครือข่าย ให้เคลียร์ค่าบริการ ยอดเงินและยอดวันคงเหลือให้เรียบร้อย หากมีเหลืออยู่ควรใช้ให้หมดหรือโอนให้คนอื่น เพราะเมื่อย้ายเครือข่ายแล้วจะไม่สามารถโอนย้ายเงินหรือวันมาด้วยได้ และที่สำคัญคือเลขหมายโทรศัพท์ที่จะย้ายค่ายต้องเป็นเลขหมายที่จดทะเบียนแล้วเรียบร้อย เพื่อความสะดวกและป้องกันการแอบอ้างหรือลักลอบใช้บริการของผู้ไม่หวังดี ใครอยากใช้บริการนี้ต้องติดต่อไปยังค่ายมือถือใหม่ที่ต้องการย้ายไปใช้งาน     หยุดโกงเวลาลูกค้าพรีเพด!!!องค์กรผู้บริโภคส่งตัวแทนจากทั่วประเทศเดินขบวนเรียกร้องค่ายมือถือ "หยุดโกงเวลาลูกค้าพรีเพด" ขอคำตอบภายใน 30 วัน อย่างช้าไม่เกิน 60 วัน หากยังนิ่งเฉยจะรวบรวมผู้ที่เดือดร้อนดำเนินการทางกฎหมายกับทุกค่ายที่ไม่ปฏิบัติตาม ซึ่งได้รวบรวมคนที่จะฟ้องร้องดำเนินคดีแต่ละภูมิภาค ภูมิภาคละ 1-2 คนต่อหนึ่งบริษัท กำหนดกลับมาทวงคำตอบอีกครั้งเดือน ม.ค. 2554  ผลการวิจัยระบุ คนไทยใช้เงินค่าโทรศัพท์มือถือเฉลี่ยเดือนละ 200 บาท แต่กลับถูกบังคับให้ต้องเติมเงินค่ามือถือเดือนละ 300 บาท แม้จะใช้ไม่ถึง เท่ากับผู้ให้บริการมีเงินหมุนเวียนจากการจ่ายล่วงหน้าจากผู้บริโภคทั้งประเทศเดือนละ 6,000 ล้านบาท ซึ่งผู้ให้บริการก็ยินดีรับข้อเรียกร้องกลับไปพิจารณา แต่ผลจะออกมาเป็นอย่างไรนั้น ต้องคอยติดตามกันต่อไป+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++    ถึงเวลาปฏิรูปรถโดยสารเพื่อความปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และตัวแทนเครือข่ายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคร่วมกันจัดสัมมนา “สภาผู้บริโภคเพื่อการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยรถโดยสารสาธารณะ" เพื่อเป็นการเตือนสติผู้ใช้รถและผู้ประกอบการรถโดยสารสาธารณะ ให้ตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะ ซึ่งสาเหตุหลักก็ยังคงเป็นเรื่องของความด้อยคุณภาพของตัวรถและความประมาทของพนักงานขับรถ   ดร.สุเมธ องกิตติกุล นักวิชาการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) อธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้รถโดยสารสาธารณะในปัจจุบันส่วนใหญ่ด้วยคุณภาพ เนื่องจากทั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ต่างก็เปิดให้เอกชนรายย่อยเข้ามาร่วมบริการ ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2551 พบว่าจำนวนผู้ประกอบการเอกชนที่มีใบอนุญาตเดินรถสาธารณะทั่วประเทศมีทั้งสิ้น 800 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 เป็นผู้ถือใบอนุญาตที่ไม่มีรถโดยสารเป็นของตนเอง มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นที่มีรถโดยสารให้บริการ ซึ่งส่งผลการควบคุมคุณภาพให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทำได้ลำบาก และการควบคุมดูแลยากที่จะทั่วถึง  นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ยังกล่าวเสริมในเรื่องที่ผู้ประสบอุบัติเหตุที่มักจะไม่ได้รับการเยียวยาที่เหมาะสม ดังนั้นจึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐที่รับผิดชอบเข้ามาดูแลแก้ไข ให้สมกับที่รัฐบาลได้ประกาศให้เรื่องอุบัติเหตุเป็นวาระแห่งชาติด้วย ขณะที่ตัวผู้บริโภคเองก็ควรตื่นตัวปกป้องสิทธิตนเอง และหากผู้บริโภคประสบปัญหาสามารถติดต่อให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือได้เช่นกัน  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รวบรวมสถิติการเกิดอุบัติเหตุของรถโดยสารสาธารณะเฉพาะที่ปรากฏเป็นข่าวตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงกรกฎาคมปี 2553 พบว่ารถประจำทางปรับอากาศ เป็นรถโดยสารที่มีสถิติประสบอุบัติเหตุมากที่สุดถึง 97 ครั้ง บาดเจ็บ 938 ราย เสียชีวิต 78 ราย รองลงมาคือรถนำเที่ยว 42 ครั้ง บาดเจ็บ 582 ราย เสียชีวิต 38 ราย ที่เหลือก็มีทั้ง รถรับจ้างรับส่งพนักงาน รถตู้รับจ้าง รถเมล์ รถโดยสารระหว่างจังหวัด รถสองแถว และรถแท็กซี่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 จิบชาเมืองกรุงสะดุ้งถึงอิสาน

“บางครั้งการตัญญู โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็เกือบสังหารแม่ตนเอง” ผมได้รับเรื่องราวจาก ภญ.สุภาวดี เปล่งชัย รพ.เสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด เล่าให้ฟังว่า คุณยายท่านหนึ่งอายุประมาณ 62 ปี ซึ่งเดิมแม้จะป่วยเป็นเบาหวาน แต่แกรับประทานยาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติได้  แต่คราวนี้ แกมารับยาที่โรงพยาบาล ปรากฏว่าระดับน้ำตาลในเลือดของแกสูงขึ้นมาถึงตัวเลข 181 (mg %)  ภญ.สุภาวดี จึงได้ถามคุณยายว่าแกไปรับประทานอะไรมาหรือเปล่า ทำไมคุณยายที่เป็นผู้ป่วยดีเด่นในแง่การปฏิบัติตัวจึงเสียแชมป์กะทันหันแบบนี้  สุดท้ายได้ความว่า นอกจากยาเดิมที่แกรับประทานแล้ว ลูกชายที่ทำงานอยู่ที่กรุงเทพ ยังหวังดี ส่งของดีมาให้แกรับประทานอีก เป็นชาจีนแก้ปวดขา แกเล่าว่า ชานี้น่าจะดี พอรับประทานไปแล้ว อาการปวดเมื่อยขาหายเป็นปลิดทิ้ง กินข้าวได้มาก นอนหลับสบาย ภญ.สุภาวดีเห็นท่าไม่ดี เพราะอาการที่แกเล่ามามันเหมือนอาการของการรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ ซึ่งจะมีผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จึงรีบประสานงานไปยังเจ้าหน้าที่ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองฟ้า ซึ่งห่างจากโรงพยาบาลถึง 25 กิโลเมตร ให้ช่วยไปตรวจสอบ ชาวิเศษ ที่บ้านของคุณยาย ผลการตรวจสอบ พบว่า ชาจีนนี้บรรจุในซองพลาสติกขนาดเล็ก โดยบรรจุรวมในกระป๋องโลหะ ฉลากข้อความที่ซอง และกระปุกมีแต่ตัวอักษรภาษาจีนเกือบทั้งหมด  (ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยว่า ชาดอกโบตั๋น 6 รส)  มีระบุเป็นภาษาอังกฤษอยู่ว่า  Bailin Pharmaceuticals   คุณยายให้ข้อมูลว่า ลูกชายไปซื้อมาจากแถวเยาวราช ในราคา กระปุกละ 700 บาท มีชาจีนบรรจุอยู่ในกระป๋อง จำนวน 30 ซอง  เมื่อเจ้าหน้าที่ ใช้ชุดทดสอบสเตียรอยด์เบื้องต้น ทดสอบชาจีน พบว่าให้ผลบวก (หมายถึงมีส่วนผสมของสารสเตอรอยด์) จึงแนะนำให้คุณยายหยุดรับประทาน แล้วส่งชาจีนมาให้ ภญ.สุภาวดี เพื่อส่งไปตรวจยืนยันในห้องแล็บของ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้งหนึ่ง   ผมนำเรื่องนี้มาเล่าให้ฟัง เพื่อเป็นอุทธาหรณ์ว่า อย่าไว้ใจอะไรง่ายๆ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีข้อมูลฉลากถูกต้อง เพราะ สารสเตียรอยด์ มันแทรกซึมไปหลายผลิตภัณฑ์มาก จนบางทีเราอาจหลงเป็นเหยื่อทำร้ายคนที่เรารักด้วยมือเราเองโดยไม่รู้ตัว  ใครจะคิดว่าในชาจีนหอมชื่นใจ จะใส่สเตียรอยด์ทำร้ายร่างกายได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 น้ำตาลสังเคราะห์

  เมื่อน้ำตาลได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นผู้ร้ายที่ถูกส่งมาทำลายหุ่นอันผอมเพรียวและไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน เลยต้องมีการคิดค้นและพัฒนาสารอะไรสักอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่เราคุ้นเคย สำหรับคนที่ อดหวาน ไม่ได้   ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอพาคุณมารู้จักกับ “ความหวาน” แบบพลังงานต่ำหรือไม่ให้พลังงาน ซึ่งมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล(Sweetener) ซึ่งเทรนด์ตลาดวัตถุให้ความหวานในเมืองไทย เมื่อปีที่ผ่านมามีมูลค่ารวมประมาณ 300-400 ล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตขึ้นเรื่อยๆ เมื่อดูจากปัจจุบันที่มีสินค้ากลุ่มนี้วางจำหน่ายอยู่หลายยี่ห้อและวางบนชั้นวางของห้างค้าปลีกทั่วไป     วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล จากการสำรวจตลาดพบว่า มีผลิตภัณฑ์ที่วางจำหน่ายอยู่ 6 กลุ่ม ได้แก่ 1.น้ำตาลฟรุคโตส(fructose) 2.กลุ่มที่ใช้แอสปาร์แทม 3.กลุ่มที่ใช้ซูคราโลส 4.กลุ่มที่ใช้สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) 5.กลุ่มที่ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม 6.กลุ่มที่ใช้ซูโครสเป็นหลักร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ   1.น้ำตาลฟรุคโตส(Fructose) เป็นน้ำตาลที่พบได้ในผลไม้และน้ำผึ้งตามธรรมชาติ ให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่น้ำตาลฟรุคโตสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึงเท่าตัว ดังนั้นจึงสามารถใช้ในปริมาณที่น้อยลงกว่าครึ่งเมื่อต้องการความหวานที่เท่ากัน    2.แอสปาร์แทม(Aspartame) แอสปาร์แทม เป็นผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่น ให้ความหวานประมาณ 200 เท่าของน้ำตาลทราย แอสปาร์แทมให้พลังงานเท่ากับน้ำตาลทรายคือ 4 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม แต่ใช้เพียงนิดก็หวานมากแล้ว ดังนั้นแอสปาร์แทมจึงให้แคลอรี่ที่น้อยกว่ามากเมื่อผสมลงในอาหาร ตัวอย่างเช่น น้ำอัดลมแคลอรี่ต่ำ ข้อเสียที่สำคัญของแอสปาร์แทมในเรื่องรสชาติคือ แอสปาร์แทมไวต่อความร้อน ดังนั้นเครื่องดื่มที่ผสมแอสปาร์แทมอาจมีรสชาติที่เปลี่ยนไปเมื่อสัมผัสกับความร้อน จึงไม่เหมาะจะนำไปใช้กับเครื่องดื่มหรืออาหารที่ต้องใช้ความร้อนในการปรุง คำเตือนอีกอย่างหนึ่งคือ ไม่เหมาะกับผู้ป่วยเฟนิลคีโตนูเรีย   เพราะว่าใช้แอสปาร์แทมเพียงจำนวนน้อยก็หวานมากแล้ว ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องเติมสารเพิ่มปริมาณ คือ แลคโตส ที่มีความหวานเพียง 0.2 เท่าของน้ำตาลในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่า แต่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่ อให้เป็นตัวหลักแค่ต้องการเพิ่มปริมาณบรรจุเท่านั้น แลคโตสนี้อาจมีปัญหาทำให้ท้องอืดได้สำหรับคนที่ไม่มีเอนไซม์ที่ใช้ย่อยแลคโตส   3.ซูคราโลส(Sucralose) ซูคราโลสนี้หวานกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า ข้อดีของซูคราโลสคือ รสชาติ ที่ใกล้เคียงน้ำตาล ไม่มีรสขม และทนต่อความร้อน จึงมีการนำไปใช้ในอาหารหลากหลายชนิด เช่นเดียวกับแอสปาร์แทม เนื่องจากซูคราโลสมีความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า การนำมาใช้จึงอยู่ในปริมาณที่น้อยมากๆ ดังนั้นเพื่อให้มีน้ำหนักเพิ่มจึงผสมกับน้ำตาลกลุ่มน้ำตาลแอลกอฮอล์ ได้แก่ มอลทิทอลและเออริทริทอล ซึ่งสองตัวนี้มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายและให้พลังงานไม่มาก แต่ถ้ารับประทานมากไปอาจกระทบกับระบบทางเดินอาหารทำให้ท้องเสียได้   4.สเตวิโอไซด์(หญ้าหวาน) หญ้าหวาน หรือ ต้นสตีเวีย(Stevia rebaudiana Bertoni) เป็นพืชพันธุ์ตามธรรมชาติ โดยสารที่สกัดออกมาคือ สเตวิโอไซด์ หวานมากกว่าน้ำตาลทราย 300 เท่า ไม่ให้พลังงาน มีความคงตัวที่อุณหภูมิสูง สเตวิโอไซด์ ยังไม่ได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาของอเมริกาให้ใช้เป็นสารให้ความหวานแต่อนุญาตให้ใช้ผงแห้งและสารสกัดจากใบในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร   5.ใช้อะเซซัลเฟม-เค ร่วมกับแอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค (Acesulfame-K) เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่หวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 200 เท่า ข้อดีคือให้รสหวานที่รับรู้รสได้เร็วแต่บางครั้งก็จะมีรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง ไม่ให้พลังงานและทนความร้อนได้ดี ผู้ผลิตนิยมใช้อะเซซัลเฟม-เคร่วมกับแอสปาร์แทม เพื่อลดจุดด้อยของกันและกัน และเลี่ยงการเกิดรสขมเมื่อใช้ในปริมาณสูง     6.ใช้น้ำตาลทราย(Sucrose) ร่วมกับสารให้ความหวานอื่นๆ กลุ่มนี้เป็นวัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมแคลอรีมากกว่าใช้ในผู้ป่วยเบาหวาน เพราะส่วนประกอบหลักยังคงเป็นน้ำตาลทรายมากกว่า 90% แต่เพิ่มสารให้ความหวานเข้าไปเพื่อลดปริมาณการใช้ลงมา ดังนั้นรสชาติจะเหมือนน้ำตาลปกติและแต่ค่าพลังงานจะต่ำลงมาเพราะปริมาณการใช้ที่น้อยลง     ---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- น้ำตาลเป็นอาหารคาร์โบไฮเดรตชนิดหนึ่ง เป็นหน่วยย่อยที่เล็กที่สุดของคาร์โบไฮเดรต ชื่อของน้ำตาลมักจะใช้คำลงท้ายว่า “โอส” (“ose”) อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตเป็นอาหารที่เราทราบกันดีว่าได้แก่อาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีรากศัพท์มาจากคำว่า “คาร์บอน”รวมกับ”ไฮเดรท” แปลว่าเป็นสารประกอบที่มีโครงสร้างที่มีน้ำจับอยู่กับทุกๆ อะตอมของคาร์บอน   ---------------------------------------------------------------------------------------------------- วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม วัตถุให้ความหวานที่ให้พลังงาน ได้แก่ ฟรุคโตส(น้ำตาลจากผลไม้) มอลทิทอล เออริทริทอลและไซลิทอล สารให้ความหวานกลุ่มนี้ ไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน วัตถุให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำ ได้แก่ ซูคราโลส หญ้าหวาน แอสปาร์แทม อะเซซัลเฟม-เค สารให้ความหวานกลุ่มนี้ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักและผู้ป่วยโรคเบาหวาน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ข้อมูล 1.เป็นเบาหวาน เลือกอะไรใส่กาแฟแทนน้ำตาล. รศ.วิมล ศรีสุข คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=100 2.สารให้ความหวานแทนน้ำตาล ศูนย์วิทยาศาสตร์บริการ http://elib.fda.moph.go.th/library/default.asp?page2=subdetail&id_L1=27&id_L2=15566&id_L3=565

อ่านเพิ่มเติม >