ฉบับที่ 144 Skyscanner บินลัดฟ้าข้ามหาราคาที่พึงพอใจ

  ฉบับนี้มาบินลัดฟ้าท่องเที่ยวกันทั่วโลกดีกว่าค่ะ ใครที่ชอบเดินทางไปโน่นมานี่ โดยใช้บริการเครื่องบินโดยสารสายการบินต่างๆ ไม่ว่าจะเดินทางไปท่องเที่ยว ทำกิจกรรมของบริษัท ติดต่อธุรกิจ แม้กระทั่งเดินทางกลับบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง ไม่มากก็น้อยที่เคยใช้บริการซื้อตั๋วเครื่องบินของสายการบินต่างๆ ในรูปแบบออนไลน์  เพราะสามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบาย อีกทั้งยังสามารถเปรียบเทียบราคา และเลือกเวลาการเดินทางได้ด้วยตนเอง   ด้วยเหตุผลมากมายหลายประการที่กล่าวมาทั้งหมด ผู้เขียนจึงอยากให้ผู้อ่านที่ชอบใช้บริการบนเว็บไซต์ ลองเปลี่ยนมาใช้แอพพลิเคชั่น Skyscanner บนโซเชียลมีเดียกันดูบ้าง เพียงแค่โหลดแอพพลิเคชั่นลงบนมือถือ ที่รองรับได้หลากหลายประเภท ได้แก่ ไอโฟน(iphone) ไอแพด(ipad)  แอนดรอยด์ (Android)  แบล็คเบอร์รี่ (Blackberry) นอกจากนี้ยังมีเวอร์ชั่นสำหรับวินโดวส์ (Windows 8) ที่ผู้อ่านสามารถดาวน์โหลดมาไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ได้เลย หรือถ้าไม่ถนัดแอพพลิเคชั่น ก็สามารถเข้าไปใช้บริการได้ที่ http://th.skyscanner.com  ในเวอร์ชั่นภาษาไทย   แอพพลิเคชั่นนี้ มีประโยชน์ในการใช้ค้นหาและเปรียบเทียบตั๋วเครื่องบินจากสายการบินทั่วโลก ที่มีมากกว่า 1,000 สายการบิน  รองรับภาษาต่างๆ ได้ถึง 28 ภาษา และสามารถเปลี่ยนสกุลเงินได้กว่า 61 สกุลเงิน ซึ่งช่วยให้นักเดินทางสะดวกและรวดเร็ว โดยสามารถระบุวันที่ที่ต้องการเดินทาง ประเภทที่นั่ง เมืองหรือประเทศที่ต้องการเดินทางไป   โปรแกรมจะช่วยประมวลผลราคาและช่วงเวลาในการเดินทางของสายการบินต่างๆ จากนั้นราคาทั้งหมดที่ใช้ในการเดินทางก็จะถูกสรุปออกมาพร้อมกับสายการบินต่างๆ  เพื่อให้เลือกได้ตามความพึงพอใจ เมื่อได้สายการบิน ราคา ช่วงเวลาเดินทางที่ต้องการทั้งหมดแล้ว แอพพลิเคชั่น Skyscanner จะส่งต่อหน้าเว็บไปยังเว็บไซต์ของสายการบินนั้นๆ หรือเว็บไซต์ตัวแทนจำหน่าย เพื่อให้ผู้ใช้บริการติดต่อซื้อตั๋วเครื่องบินได้โดยตรง ตามราคาที่แจ้งมานั้น โดยที่ไม่ต้องเสียค่าบริการผ่าน Skyscanner แต่อย่างใด หรือถ้ายังไม่แน่ใจ คลิกที่ปุ่ม Call โทรหาสายการบินนั้นได้ทันที   แต่ถ้าผู้อ่านยังไม่รู้จุดหมายปลายทางที่แน่ชัด ก็สามารถค้นหาเมืองในประเทศต่างๆ ว่ามีที่ใดบ้าง ในราคาตั๋วเครื่องบินเท่าไร ได้ที่ปุ่ม Explore  และทำขั้นตอนเพื่อใช้บริการตามเดิม หลังจากเลือกตั๋วเครื่องบินที่ต้องการได้แล้ว แอพพลิเคชั่น Skyscanner จะเก็บข้อมูลการค้นหาไว้ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้ในครั้งต่อไป นอกจากค้นหาตั๋วเครื่องบินแล้ว แอพพลิเคชั่นนี้ยังช่วยค้นหาโรงแรม รีสอร์ท บังกะโล ที่พักต่างๆ รถเช่า ได้อีกด้วย และถ้าต้องการแบ่งปันรายละเอียดเที่ยวบินที่น่าสนใจให้กับเพื่อน ขวามือด้านบน จะมีปุ่มเพื่อแบ่งปันข้อมูลไปยัง E-Mail  Facebook หรือ Twitter ได้เลย   Skyscanner ใช้งานฟรีค่ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 Price Grab เปรียบเทียบความคุ้มค่าสินค้า ใน App Box

เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา ผู้เขียนตั้งใจไปช้อปปิ้งสินค้าอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันด้วยความเพลิดเพลิน แต่พอดูราคากับปริมาณสุทธิของสินค้าทำให้ความเพลิดเพลินนั้นหายไปเลยทีเดียว ผู้อ่านสังเกตไหมคะ ว่าสินค้าชนิดเดียวกัน แต่มีขนาดแตกต่างกัน โดยที่ราคาก็ไม่แตกต่างกันเท่าไรนัก หรือบางทีดูภายนอกสินค้ากล่องใหญ่น่าจะคุ้ม แต่พอคำนวณจริงๆแล้วกล่องเล็กคุ้มกว่า ด้วยจิตวิญญาณของผู้บริโภคแบบฉลาดซื้อจึงรู้สึกเพลียกับการคำนวณของตัวเอง ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนจึงค้นพบแอพพลิเคชั่นที่ช่วยคำนวณปริมาณสุทธิของสินค้ากับราคา ของสินค้า 2 ประเภท เพียงแค่กรอกตัวเลข แอพพลิเคชั่นนี้จะคำนวณความคุ้มค่าของสินค้ามาให้อย่างรวดเร็ว แค่นี้ผู้เขียนก็ยิ้มออก ^_^ แอพพลิเคชั่นนี้มีชื่อว่า App Box ซึ่งภายในแอพฯ นี้ จะมีแอพฯ ย่อยอีกมากมาย ผู้อ่านสังเกตไอคอนที่เขียนว่า Price Grab ที่จะช่วยผู้อ่านเปรียบเทียบราคาสินค้าระหว่างสินค้า 2 ชนิด โดยหน้าจอจะแบ่งเป็น 2 ส่วนซ้ายขวา คือ สินค้า A และสินค้า B ซึ่งในสินค้าแต่ละชนิด ผู้อ่านต้องกรอกราคาและปริมาณสุทธิของสินค้า หลังจากกรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว โปรแกรมจะคำนวณความคุ้มค่าของสินค้าระหว่าง 2 ชนิด ถ้าสินค้า B มีความคุ้มค่ามากกว่าสินค้า A จะปรากฏภาพดังนี้  A < B นอกจาก Price Grab ใน App Box แล้ว ยังมี Currency โปรแกรมคำนวณเรื่องสกุลเงินของแต่ละประเทศ Date Calc โปรแกรมคำนวณระยะเวลา  Day Until เป็นสมุดบันทึกรายการนัดหมายที่สามารถใส่รูปได้  Holidays รายละเอียดของรายการวันหยุดประจำปีของแต่ละประเทศที่รวบรวมไว้ Loan โปรแกรมสำหรับคำนวณดอกเบี้ย สำหรับเงินกู้ยืมหรือผ่อนทั้งหลาย  pCalendar โปรแกรมคำนวณสำหรับสาวๆ (คำนวณการมีประจำเดือน) Tip Calc โปรแกรมคำนวณการจ่ายทิป ภาษี คำนวณได้ทั้งสินเครื่องอุปโภคบริโภค Unit โปรแกรมแปลหน่วยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยของพื้นที่ ความยาว ความดัน อุณหภูมิ ปริมาตร น้ำหนัก เช่น กิโลเมตรเป็นเซนติเมตร ลองหาแอพพลิเคชั่น App Box มาเล่นกันดูนะคะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 174 “หม้อหุงข้าวดิจิตอล” เปรียบเทียบประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

เพราะยุคนี้เป็นยุคดิจิตอล อะไรๆ ก็ต้องเป็นดิจิตอล ขนาดหม้อหุงข้าวยังมี “ระบบดิจิตอล” หม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล จะช่วยให้การเข้าครัวไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไป เพราะแม้จะใช้ชื่อว่าหม้อหุงข้าว แต่หม้อหุงข้าวระบบดิจิตอลไม่ได้มีหน้าที่แค่หุงข้าวเหมือนหม้อข้าวไฟฟ้าธรรมดาทั่วไป เพราะหม้อหุงข้าวดิจิตอลทำได้หลากหลายเมนู ไม่ว่าจะ หุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง ไปจนถึงของหวานอย่างขนมเค้ก ที่ทำได้ง่ายๆ แค่ปลายนิ้วสั่ง สรรพคุณฟังดูดีขนาดนี้ แฟนๆ ฉลาดซื้อคงสนใจอยากจะเป็นเจ้าของหม้อหุงข้าวระบบดิจิตอลสักเครื่อง เพราะฉะนั้นก่อนที่จะออกไปหาซื้อมาใช้งาน ต้องไม่พลาดที่จะอ่านบทความผลทดสอบ “ประสิทธิภาพของหม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล” ทดสอบเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าวระบบดิจิตอลฉลาดซื้อได้สุ่มเก็บตัวอย่างหม้อหุงข้าวดิจิตอลจำนวน 7 ยี่ห้อ เพื่อทดสอบเปรียบเทียบดูประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล โดยดู 3 เรื่องสำคัญคือ ระยะเวลาในการหุง พลังงานที่ใช้ และคุณภาพของข้าวที่หุงสุก โดยทีมเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค เป็นผู้ทำหน้าที่ดำเนินการทดสอบในครั้งนี้ สำหรับการทดสอบได้ทำการแบ่งกลุ่มของหม้อหุงข้าวออกเป็น 2 กลุ่ม ตามปริมาณความจุของหม้อ   กลุ่มแรก คือหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่มีความจุสูงสุดของหม้อที่ปริมาณ 1 ลิตร ได้แก่ 1.Tefal รุ่น RK7021 71              ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า2.Panasonic รุ่น SR-MS103       กำลังไฟฟ้า 750 วัตต์3.Philips รุ่น HD 3031                ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า 4.Electrolux รุ่น ERC6503W      ไม่ระบุกำลังไฟฟ้า 5.Toshiba รุ่น RC-10NMF          กำลังไฟฟ้า 560 วัตต์   กลุ่มที่สอง คือหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่มีความจุสูงสุดของหม้อที่ปริมาณ 1.8 ลิตร ได้แก่1.Sharp รุ่น KS-COM18        กำลังไฟฟ้า 830 วัตต์2.Hitachi รุ่น RZ-XMC18       กำลังไฟฟ้า 820 วัตต์ ผลการทดสอบประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล(กลุ่มความจุ 1 ลิตร) ผลการทดสอบคุณภาพของข้าวกล้องทุกหม้อในกลุ่มความจุ 1 ลิตร พบว่า หุงได้สุกทั่วทั้งหม้อโดย หม้อหุงข้าวที่ได้คะแนนรวมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ1.Toshiba รุ่น RC-10NMF        40 คะแนน2.Tefal รุ่น RK7021 71            38 คะแนน 3.Philips รุ่น HD 3031             38 คะแนน•    หม้อหุงข้าวที่หุงเสร็จเร็วที่สุด(ได้คะแนนรวมเท่ากัน 10 คะแนนจาก 15 คะแนน) คือ 1.Tefal รุ่น RK7021 71 2.Panasonic รุ่น SR-MS103 3.Philips รุ่น HD 3031•    หม้อหุงข้าวที่ประหยัดพลังงานที่สุดในการทดสอบ คือToshiba รุ่น RC-10NMF•    หม้อหุงข้าวที่ใช้พลังงานมากที่สุดในการทดสอบ คือPanasonic รุ่น SR-MS103เหตุผล เนื่องจากมีกำลังไฟฟ้าสูงกว่าตัวอย่างหม้อหุงข้าวอื่นในกลุ่มหม้อที่มีความจุ 1 ลิตร ซึ่งมีกำลังไฟสูงเกินความจำเป็น การใช้งานเป็นระยะเวลานานทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมากกว่า ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการใช้หม้อหุงข้าวที่มีกำลังไฟฟ้าสูงเกินความจำเป็นผลการทดสอบประสิทธิภาพในการหุงข้าวของหม้อหุงข้าวดิจิตอล (กลุ่มความจุ 1.8 ลิตร)หม้อหุงข้าวที่หุง เสร็จเร็วกว่า ประหยัดพลังงานมากกว่า และคุณภาพข้าวที่หุงสุกดีกว่า คือ หม้อหุงข้าวดิจิตอลยี่ห้อ Hitachi รุ่น RZ-XMC18 กำลังไฟฟ้า 820 วัตต์ การเลือกซื้อหม้อหุงข้าวไฟฟ้า    •    หม้อหุงข้าวไฟฟ้าและดิจิตอล มีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ด้านความปลอดภัยควบคุมอยู่•    เลือกซื้อที่มีการรับประกัน เมื่อการปัญหาในการใช้งานต้องมีศูนย์ที่พร้อมให้การดูแลซ่อมแซม•    เลือกขนาดความจุของหม้อและกำลังไฟฟ้าให้เหมาะสมกับความต้องการในการใช้งาน เพื่อเป็นการประหยัดไฟฟ้า•    หม้อหุงข้าวระบบดิจิตอล ควรมีข้อความเป็นภาษาไทยกำกับที่ปุ่มควบคุมการใช้งาน เพื่อง่ายต่อการใช้•    ต้องมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายบอกปริมาณในส่วนหม้อหุงข้าวด้านใน ขีดบอกระดับ หรือ สัญลักษณ์อื่นที่แสดงความจุที่กำหนด ซึ่งมองเห็นได้ในขณะเติมน้ำวิธีดูแลรักษา1)    ไม่ควรใส่ข้าวและน้ำไม่เกินขนาดของหม้อ2)    การทำความสะอาด ให้เช็ดด้วยผ้าหมาดชุบน้ายาล้างภาชนะ เช็ดด้วยผ้าชุบน้าสะอาด แล้วเช็ดด้วยผ้าให้แห้ง3)    ส่วนที่เป็นหม้อหุงข้าว ต้องเช็ดด้านนอกของหม้อให้แห้ง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นก้นหม้อ ก่อนทำการหุง4)    ห้ามเปิดฝาขณะน้ำเดือด5)    ห้ามปิดช่องระบายไอน้ำและฝาหม้อในขณะที่หม้อหุงขาวทำงาน6)    ใช้ทัพพีตักข้าวที่ให้มาเท่านั้น ไม่ควรใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีความคม7)    ใส่หม้อในก่อนเสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้ารับ8)    ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้งหลังเลิกใช้งาน 9)    ปล่อยให้เย็นลงก่อนทำความสะอาด          

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 53 ราคาแอร์เปรียบเทียบกับขนาดห้องที่เหมาะสม

ข้อมูลเปรียบเทียบราคาเครื่องปรับอากาศที่นำมาแสดงนี้ เป็นข้อมูลที่เก็บได้จากบริษัท สินสยามอิเล็คทรอนิคส์ จำกัด ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีเครื่องปรับอากาศทั้งหมด 7 ยี่ห้อ ได้แก่  ซัมซุง , เนชั่นแนล , ชาร์ป , เวิร์ลพูล , โตชิบา ,มิตซูบิชิ และไซโจเดนกิ เกณฑ์การจัดอันดับเพื่อการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศนี้ใช้เกณฑ์ในเรื่องของราคา เปรียบเทียบกับขนาดบีทียูของเครื่องปรับอากาศและขนาดของห้องที่เหมาะสมตามข้อแนะนำการประหยัดพลังงานในอาคารของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นหลักในการจัดกลุ่ม และจะแสดงผลโดยยึดราคาขายเป็นหลักโดยเรียงจากเครื่องปรับอากาศที่ราคาต่ำไปหาราคาที่สูงขึ้น ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์เสริม ประสิทธิภาพด้านพลังงานให้ขอดูได้จากใบแนะนำสินค้าและฉลากที่แสดงอยู่ที่ตัวเครื่อง   หลักในการเลือกซื้อคือ ไม่ควรซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดบีทียูสูงเกินความจำเป็นของขนาดห้อง เพราะไม่มีความจำเป็น และจะทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากกว่า อุปกรณ์เสริมพิเศษอื่น ๆ จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาของเครื่องสูงขึ้นในขณะที่ขนาดบีทียูอาจจะต่ำกว่าเครื่องที่ไม่มีอุปกรณ์เสริม ถ้าจะเลือกต้องพิจารณาให้ดีโดยใช้ขนาดของห้อง ขนาดบีทียูของเครื่องปรับอากาศ และเงินในกระเป๋าเป็นสำคัญ การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม (ความสูงของห้องปกติ  ไม่เกิน 3 เมตร ) พื้นที่ห้องตามความสูงปกติ ( ตารางเมตร )                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point