ฉบับที่ 229 สถานการณ์ฉุกเฉินจาก โรคติดต่อร้ายแรง Covid 19 ในเยอรมนี และเทคโนโลยีการพบแพทย์ที่ไม่ต้องเดินทางไปคลินิก

        วันนี้ผมขอนำเสนอสถานการณ์ของประชาชนในเยอรมนี ซึ่งกำลังประสบกับสถานการณ์ภัยพิบัติของ โรคติดต่อร้ายแรง Covid-19 ซึ่งทางเวบไซต์ของมูลนิธิทดสอบสินค้า ( Stiftungswarentest) ได้รวบรวมคำถามและข้อสงสัยที่เกิดขึ้นบ่อยๆ กับผู้บริโภค ในประเด็นต่างๆ โดยเฉพาะแหล่งของข้อมูลทางวิชาการที่เป็นกลาง เชื่อถือได้ และขอแนะนำการให้บริการปรึกษาแพทย์แบบ VDO call ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ช่วยลดความเสี่ยงในการต้องเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นวิธีที่สอดคล้องกับสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดจาก โควิด 19 ดังนี้  เราสามารถหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของ โลก กับการระบาดของ Covid-19 ได้จากไหนบ้าง         สำหรับประชาชนชาวเยอรมันสามารถหาข้อมูล ที่ทันสมัยได้จากเวบไซต์ของสถาบันวิชาการอิสระ Robert Koch Institute(https://www.rki.de/DE/Content/InfAZ/N/Neuartiges_Coronavirus/nCoV.html) ที่เผยแพร่จำนวนของผู้ติดเชื้อ จำนวนผู้เสียชีวิตจากโรค Covid 19 ซึ่งมีการปรับปรุงให้ทันสมัย และทันต่อสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในประเทศ หรือพื้นที่ ที่มีความเสี่ยงต่อการติดโรคนี้ได้ โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับ แผนที่แบบ อินเตอร์แอคทีฟของศูนย์ระบบวิทยาศาสตร์และวิศวกรรม (Center for Systems Science and Engineering: CSSE) ของมหาวิทยาลัย Johns Hopkins University แห่งสหรัฐอเมริกา(https://gisanddata.maps.arcgis.com/apps/opsdashboard/index.html#/bda7594740fd40299423467b48e9ecf6) เราสามารถทราบถึงสถานการณ์ความปลอดภัยของประเทศปลายทางที่จะเดินทางไปได้อย่างไร         กระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกคำเตือนประชาชนที่จะออกเดินทางไปต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2563 แนะนำให้ยกเลิกการเดินทางที่ไม่จำเป็นในช่วงระยะเวลานี้ เพราะมีข้อจำกัดในการเดินทางทางอากาศ และมาตรการการกักตัว เพื่อเฝ้าระวังการติดเชื้อ และการจำกัดการใช้ชีวิตในที่สาธารณะที่เกิดขึ้นกับหลายๆ ประเทศ และบางประเทศกระทรวงต่างประเทศก็ประกาศยกระดับ เป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูง และอาจไม่สามารถเดินทางกลับประเทศได้ ถ้ามีมาตรการปิดประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลเยอรมนีมีมาตรการในการช่วยเหลือประชาชนที่ติดค้างอยู่ในต่างประเทศ โดยจัดลำดับตามความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งสามารถดูข้อมูลที่ทันสมัยเพิ่มเติมจากเวบไซต์ของกระทรวงต่างประเทศได้ เราสามารถยกเลิกการเดินทางไปต่างประเทศ ที่เป็นประเทศเสี่ยงในการติดเชื้อ Covid-19 โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมได้หรือไม่         ผู้โดยสารสามารถใช้เหตุ ความไม่ปรกติของสถานการณ์ในการยกเลิกการเดินทางไปประเทศที่เสี่ยงกับการติดโรค โควิด-19 ได้ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สำหรับความหมายของคำว่า ความไม่ปรกติ ในกรณีของประเทศเยอรมัน คือ การประกาศเตือนของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งผู้โดยสารสามารถใช้เป็นข้ออ้างได้ในการขอยกเลิกการเดินทาง จริงๆ แล้ว มีสภาพบ่งชี้ อื่นๆ ที่สามารถใช้เป็นเหตุผลในการขอยกเลิกการเดินทางได้เช่นกัน เช่น การปิดเมือง การปิดสถานที่ท่องเที่ยวบางจุด การปิดประเทศทีเราอาต้องเดินทางผ่าน         ในกรณีที่เราจองกรุปทัวร์ไว้ และเตรียมตัวจะเดินทางก่อน 1 เดือน หรือ 2-3 สัปดาห์ ในกรณีของ ภัยพิบัติและความเสี่ยงสูงจากการติดโรค Covid-19 ก็เข้าเกณฑ์ในการเกิด เหตุการณ์ไม่ปรกติ บริษัททัวร์ต้องคืนค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้กับนักท่องเที่ยว โดยต้องไม่มีค่าธรรมเนียมในการบอกเลิกการเดินทาง (หมายเหตุ สำหรับกรณีอื่นๆ นั้น ยังไม่มีความชัดเจนทางกฎหมาย แล้วแต่กรณีในการที่จะ ใช้เหตุความไม่ปรกติของสถานการณ์) แพทย์สามารถให้คำปรึกษาผ่านระบบ VDO ได้แล้ว ประชาชนควรต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง         ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์ผ่านทางระบบ VDO call โดยจะเริ่มในเดือนเมษายนนี้ แต่บริการนี้แพทย์ต้องเป็นฝ่ายเสนอการให้บริการลักษณะนี้เอง ปัจจุบันการให้บริการผ่าน VDO call ยังมีข้อจำกัดอยู่ และทำได้เพียง 20 % ของเคสเท่านั้น ในไตรมาสที่ 2 ของ ปี 2020 คาดว่า จะสามารถให้บริการผ่าน VDO call ได้เต็มที่ ไม่มีข้อจำกัด สำหรับแพทย์ที่จะเปิดให้บริการผ่าน VDO call ต้องใช้ระบบ VDO call ที่ผ่านการรองรับมาตรฐานแล้วเท่านั้น         สำหรับการพบแพทย์ด้วยเทคโนโลยี VDO call นี้ เหมาะกับผู้ป่วยที่ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทางนานๆ และต้องรอคิวนานๆ ที่โรงพยาบาล ซึ่งมีความเสี่ยงสูงในการที่จะติดเชื้อระหว่างการรอพบแพทย์ และยังมีอาการเจ็บป่วยไม่มาก หรือการไปพบแพทย์ เพื่อตรวจสอบอาการหลังการรักษา การให้คำปรึกษาของแพทย์ด้วยเทคโนโลยีนี้ได้เริ่มทดลองมาตั้งแต่เดือน ตุลาคม ปีที่แล้ว (2019) การให้คำปรึกษาของแพทย์จะมีค่าธรรมเนียมที่คิดคำนวณจากระบบประกันสุขภาพ และไม่จำเป็นที่แพทย์และผู้ป่วยจะต้องรู้จักหรือพบปะกันมาก่อน นอกจากนี้ ผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สะดวกในการเดินทางไปโรงพยาบาลหรือคลินิคก็สามารถใช้บริการ VDO  Call กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง (Care Giver) ได้อีกด้วย         สำหรับผู้ป่วยที่สนใจบริการผ่าน VDO Call จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเลคโทรนิค ที่ติดตั้ง ไมโครโฟน ลำโพง และเชื่อมต่อกับสัญญาณอินเทอร์เน็ต และต้องผ่านระบบการนัดคิวของผู้ป่วยกับแพทย์ ที่สำคัญระบบ VDO Call ต้องเป็นระบบที่ได้รับมาตรฐานการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับระบบการรักษาความลับของผู้ป่วย และการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล        แนวทางปฏิบัติของเยอรมนีนั้น ผมคิดว่า เยอรมนีได้วางระบบการปรึกษาแพทย์ผ่าน VDO call ซึ่งสามารถลดปัญหาการติดโรค โควิด-19 ได้ดีระดับหนึ่ง และอาจเป็นทางเลือกการให้บริการผู้ป่วยของไทยในอนาคตอันใกล้ หลังจากผ่านวิกฤติ โควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก และเป็นชนวนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตของมนุษยชาติตามมา  แหล่งข้อมูล มูลนิธิทดสอบสินค้า (Stiftungswarentest e.V.) https://www.test.de/Coronavirus-Was-Sie-zum-neuen-Virus-aus-China-wissen-sollten-5570361-0/#question-1

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 224 การซื้อขายออนไลน์(ทั่วโลก) ต้องเป็นมิตรกับผู้บริโภค

   จากการติดตามดูนโยบายเรื่องการซื้อสินค้าออนไลน์ของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี มีการนำเสนอหลักการ 3 ข้อ        ·    การซื้อขายสินค้าออนไลน์ ผู้บริโภคต้องได้รับการคุ้มครองไม่น้อยไปกว่าการซื้อของแบบออฟไลน์        ·    กฎหมายการคุ้มครองผู้บริโภคของอียู จำเป็นต้องคงไว้และสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ เพิ่มความคุ้มครองให้กับผู้บริโภค        ·    ความปลอดภัยของสินค้า เป็นนโยบายที่สำคัญอันดับแรก ในเวทีการเจรจาการค้าระหว่างชาติ         สืบเนื่องจากการประชุมสุดยอด ในเวทีการค้า WTO ของสมาชิกซึ่งเป็นตัวแทนจากรัฐบาล 76 ประเทศ ซึ่งมีกลุ่มประเทศ อียู เข้าร่วมเพื่อพิจารณา รอบการเจรจาการค้าระหว่างชาติ ว่าด้วยข้อตกลงการค้า e commerce โดยเป้าประสงค์ของกลุ่มอียู คือ เสริมสร้างสิทธิแก่ผู้บริโภค มีสิทธิในการกำหนดมาตรฐานของตนเองและขยายวงเวทีในการเจรจาต่อรองในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค         ซึ่งผลการเจรจาการค้าในครั้งนี้จะส่งผลต่อผู้บริโภคทั่วโลก เนื่องจากการเจรจาการค้ารอบนี้จะมีกฎเกณฑ์ระเบียบการค้าออนไลน์ เป็นแนวทางปฏิบัติในการทำธุรกรรมการซื้อขายออนไลน์ ด้วยการคุ้มครองผู้บริโภคในการทำธุรกรรมออนไลน์ทั่วโลกนั้น มีมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคที่ต่ำกว่าเกณฑ์ของมาตรฐาน อียู ยกตัวอย่างผู้บริโภคที่ไม่ได้อยู่ในอียู ซื้อสินค้าออนไลน์และได้รับสินค้าที่มีความชำรุดบกพร่องหรือเกิดปัญหาในขั้นตอนการส่งมอบสินค้า ส่งผลให้ ผู้บริโภคได้รับความยากลำบากในการเรียกร้องสิทธิ ในการคืนสินค้า หรือสิทธิในการชดเชยเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้น และบ่อยครั้งที่ผู้บริโภคประสบปัญหา กรณีได้รับสินค้าที่ไม่ปลอดภัยจากประเทศต้นทางสินค้านอกอียู ผลการศึกษานี้ เผยแพร่โดยวารสารผู้บริโภค Which ? ของประเทศอังกฤษ        ผู้แทนการเจรจาประเด็น e commerce ของ กลุ่มประเทศอียู ได้วางเป้าหมายการเจรจา โดยเน้นไปที่ 4 ประเด็นสำคัญ คือ        ·   มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีกว่า ในการค้าระบบ e commerce ในระดับนานาชาติ        ·   การคงไว้ของมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคในอียู        ·   การมีกลไกในการเพิ่มอำนาจต่อรองให้กับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค และ        ·   การต่อสู้กับสินค้าที่ไม่ปลอดภัย ที่โฆษณา Online         อย่างไรก็ตามการเจรจาการค้าในประเด็นนี้ ก็ยังมีความเสี่ยงที่ซ่อนอยู่เช่นกัน ซึ่งในมุมมองของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคในอียู เห็นว่ายังมีอีกหลายประเด็น ที่ยังไม่ได้มีการบรรจุไว้ในวาระการเจรจาในประเด็นที่สำคัญๆ หลายประเด็น ได้แก่ เรื่อง Artificial Intelligence(ปัญญาประดิษฐ์) Cybersecurity(ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์) Data Protection(การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล) Data Transfer(การส่งผ่านข้อมูล) และ Network Neutrality(ความเป็นกลางของระบบเครือข่ายเชื่อมต่อข้อมูล)         ตัวอย่างล่าสุดคือ การตกลงการค้าระหว่าง สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้นำไปสู่การใช้ปัญญาประดิษฐ์ ในการควบคุมและเฝ้าระวังการค้าแบบดิจิทัล(Digital Trade) ซึ่งประเด็นการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการควบคุมและเฝ้าระวังการค้าในรูปแบบ Digital Trade เพิ่งจะเริ่มต้นอภิปรายสาธารณะในกลุ่มประเทศอียูเท่านั้น และจุดยืนขององค์กรผู้บริโภคอย่างสหพันธองค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีนั้น เห็นว่าข้อตกลงในการเจรจาทางการค้า ไม่ควรที่จะใช้มาเป็นข้ออ้างในการจำกัด หรือละเลยมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีประเทศไทย        เมื่อย้อนกลับมาดูปัญหาของผู้บริโภคในบ้านเราในการซื้อสินค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการถูกหลอกลวง และการถูกฉ้อโกง การได้รับสินค้าที่ชำรุดบกพร่องหรือไม่ครบถ้วน ส่งมอบสินค้าผิดจากที่ตกลงสั่งซื้อ ปัญหาบริการหลังการขาย ปัญหาการโฆษณาเกินจริง เป็นเท็จหรือ ผิดกฎหมาย และปัญหาผู้บริโภคขาดความรู้ ฯลฯ ทางคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้มีข้อเสนอ “การกำกับตลาดออนไลน์ให้เป็นธรรม” ไปยังหน่วยงานภาครัฐ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สำนักงานพัฒนาธุรกกรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ตลอดจนธนาคารแห่งประเทศไทย ไปแล้วนั้น มีความคืบหน้าหลายประการในการร่วมมือกันทำงาน โดยเฉพาะกับสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(สพธอ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย.) ซึ่งเป็นนิมิตหมายที่ดีในการคุ้มครองผู้บริโภคของผู้บริโภคชาวไทย         แต่อย่างไรก็ตามการซื้อขายสินค้าออนไลน์ปัจจุบันเป็นการทำธุรกรรมข้ามพรมแดน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้อง ติดตามและเฝ้าระวังการเจรจาการค้าเสรีรอบต่างๆ ที่จะมีขึ้นตามมา ดังนั้นผมคิดว่า ทางองค์กรผู้บริโภคโดยเฉพาะ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งเป็นภาคประชาชน จำเป็นที่จะต้องมีส่วนร่วมและรับรู้ ประเด็นต่างๆ ที่จะมีการเจรจาการค้าเสรี ซึ่งเป็นสิทธิอันชอบธรรมนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการเกิดขึ้นของสภาองค์กรผู้บริโภคขณะนี้ยังอยู่ในช่วงที่ยังไม่สามารถทำหน้าที่ได้   แหล่งข้อมูลเวบไซต์สหพันธองค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (Federation of German Consumer Organizations)https://www.vzbv.de/meldung/online-handel-verbraucherfreundlich-gestaltenวันที่ 24 กันยายน 2562

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 กระแสต่างแดน

แหล่งน้ำเลอค่า        เมื่อพูดถึงนิวซีแลนด์คนส่วนใหญ่จะนึกถึงภูมิประเทศที่งดงามเขียวสดในสภาพอากาศที่แสนบริสุทธิ์ แต่การท่องเที่ยว “แบบไม่ยั่งยืน” และการเกษตรแบบเข้มข้น กำลังทำลายภาพนี้ไปอย่างรวดเร็วจากรายงานของกระทรวงสิ่งแวดล้อม จำนวนโคนมเพิ่มเป็นสองเท่าจากช่วงปี 90 และการใช้ปุ๋ยไนโตรเจนก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 600 แม่น้ำ ทะเลสาบ และพื้นที่ชุ่มน้ำ ถูกละเลยมานาน การสำรวจในปี 2014 พบว่าร้อยละ 60 ของแหล่งน้ำในนิวซีแลนด์ไม่เหมาะกับการลงว่ายรัฐบาลจึงออกมาตรการควบคุมแนวปฏิบัติของเกษตรกร การเปลี่ยนที่ดินเพื่อทำฟาร์มโคนม รวมถึงการใช้ปุ๋ยไนโตรเจน และกำหนดมาตรฐานความสะอาดของน้ำให้สูงขึ้นในจุดที่มีผู้คนมาท่องเที่ยวพักผ่อนเขาตั้งเป้าว่าต้องเห็นความเปลี่ยนแปลงภายในห้าปี เพราะแหล่งน้ำที่สะอาดเป็นสิ่งจำเป็นต่อเศรษฐกิจ และต่อ “แบรนด์” ของประเทศ เจไม่จริงใจ        จากการเก็บตัวอย่าง “เนื้อเทียม” สำเร็จรูปจำนวน 32 ตัวอย่างมาทดสอบ องค์กรผู้บริโภคฮ่องกงพบว่าผลิตภัณฑ์ทั้งหมดไม่ผ่านมาตรฐานการติดฉลากร้อยละ 60 ของตัวอย่าง มีปริมาณเกลือมากกว่า 600 มิลลิกรัมต่ออาหาร 100 กรัม และมี 3 ตัวอย่างที่พบปริมาณโปรตีนต่ำกว่าที่เคลมไว้บนฉลาก เช่น “กุ้งวีแกน” ยี่ห้อเบตาต้ากรีน ติดฉลากว่ามีโปรตีนร้อยละ 2.3 แต่จริงๆ แล้วไม่มี นอกจากนี้ยังมี 6 ผลิตภัณฑ์ที่ไส่สารกันบูดแต่ไม่แจ้งผู้บริโภคเขายังพบ 4 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมจากสัตว์ปะปนอยู่ด้วย เช่น “ลูกชิ้นปลาเจ” ยี่ห้อ Saturday ที่มีส่วนผสมของหมูและปลา ซึ่งผู้ผลิตชี้แจงว่าใช้สายการผลิตร่วมกับผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ตามปกติ จึงรับประกันไม่ได้ว่าจะมีหรือไม่ และอ้างว่าบริษัทมีข้อความ “หากไม่แน่ใจ โปรดหลีกเลี่ยงการบริโภค” บนฉลากแล้วตามกฎหมาย การโฆษณาที่ทำให้เข้าใจผิดในสาระสำคัญของอาหาร มีค่าปรับ 500,000 เหรียญฮ่องกง หรือ (ประมาณ 1.95 ล้านบาท)   ไม่เสิร์ฟไม่ว่า        สำนักงานการบินพลเรือนประเทศจีน เตรียมเสนอร่างระเบียบใหม่ให้สายการบินมีอิสระในการให้หรือไม่ให้บริการอาหารบนเครื่องคาดกันว่าคงเป็นเหตุผลด้านความปลอดภัย เพราะที่ผ่านมาเกิดเหตุพนักงานต้อนรับและผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บในช่วงที่เครื่องบินตกหลุมอากาศระหว่างการเสริ์ฟอาหารในช่วง 30 นาทีก่อนเครื่องลง  เรื่องนี้ไม่แน่ว่าจะถูกใจผู้โดยสารหลายคนที่เริ่มสงสัยว่าสารการบินแอบลดต้นทุนหรือเปล่า เพราะดูเหมือนอาหารที่จัดให้นั้นจะลดลงทั้งปริมาณและคุณภาพข่าวระบุว่าค่าใช้จ่ายด้านอาหารคิดเป็นร้อยละ 3 – 5 ของต้นทุนสายการบิน และยังยกตัวอย่างข้อมูลการเงินย้อนหลังของสายการบินไชน่าอิสเทิร์น ที่บันทึกว่าค่าใช้จ่ายด้านนี้ของบริษัทลดลงเหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2018 จากร้อยละ 3.42 ในปีก่อนหน้าตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว เทียนจินแอร์ ประกาศยกเลิกบริการอาหารสำหรับที่นั่งชั้นประหยัด พร้อมกับลดราคาตั๋วลงด้วย ร้อนต้องเลิก        จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อผู้คนในเยอรมนีต้องประสบกับอากาศที่ร้อนระอุโดยที่อาคารส่วนใหญ่ไม่มีเครื่องปรับอากาศเยอรมนีมีข้อกำหนดตั้งแต่ปี 1892 ให้โรงเรียนและสถานที่ทำงานอนุญาตให้นักเรียนหรือพนักงานกลับบ้านก่อนเวลาเลิกเรียนหรือเลิกงานได้ถ้าอากาศร้อนเกินไป  กฏหมายแรงงานกำหนดให้อุณหภูมิในสถานที่ทำงานต้องไม่เกิน 26 องศาเซลเซียส หากพนักงานต้องทำงานในที่ร้อนเกิน 30 องศา นายจ้างจะต้องจัดหาวิธีการมาดูแลพนักงานเป็นพิเศษข้อกำหนดทางเทคนิคยังระบุว่านายจ้างต้องติดตั้งอุปกรณ์ปรับอุณหภูมิ ป้องกันความร้อน  หรือลดเวลางานให้ หากสถานที่นั้นร้อนเกิน 35 องศาสำหรับโรงเรียน แต่ละรัฐจะกำหนดมาตรการเอง เช่น ถ้าอุณหภูมิห้องเรียน 25 ถึง 27 องศา โรงเรียนอาจเลิกเร็วขึ้น บางโรงเรียนกำหนดว่าถ้าอุนหภูมิในร่มช่วงก่อน 10 โมงเช้าสูงเกิน 25 องศา ก็ให้คุณครูย้ายที่เรียน พาเด็กไปทัศนศึกษาใกล้ๆ หรือส่งเด็กกลับบ้านได้จิบแล้วหนาว        ชาเป็นเครื่องดื่มยอดนิยมอันดับหนึ่งของโลก และร้อยละ 96 ของชาที่ดื่มเป็นชาบรรจุซองซองหรือถุงเหล่านี้อาจดูเหมือนทำจากกระดาษล้วน แต่ความจริงแล้วมีส่วนผสมของพลาสติกโพลีโพรพิลีนเพื่อซีลและทำให้มันคงรูปร่างด้วยเพื่อตอบคำถามว่าชาที่เราดื่มมีพลาสติกปนอยู่ด้วยหรือไม่ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมคกิล ประเทศแคนาดา จึงทดลองนำถุงชา (ทั้งหมด 4 ยี่ห้อ) มาแช่ลงในภาชนะบรรจุน้ำแล้วให้ความร้อนเหมือนการเตรียมชาทีมวิจัยพบว่าถุงชาหนึ่งถุงสามารถปล่อยไมโครพลาสติกได้ถึง 11,600 ล้านชิ้นและนาโนพลาสติก 3,100 ล้านชิ้นลงในน้ำร้อน ซึ่งสูงกว่าที่เคยพบมาในอาหารประเภทอื่น นอกจากนี้ยังพบความผิดปกติทางกายภาพและพฤติกรรมของไรน้ำที่ได้รับพลาสติกเหล่านี้เช่นกันงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Science & Technology ระบุว่าต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบของพลาสติกเหล่านี้ต่อสุขภาพมนุษย์ด้วย   

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของรัฐบาลเยอรมนี โดย สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนที่ 3)

ตามที่กล่าวไว้ สำหรับตอนที่สามนี้ จะเป็นความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค โดยคราวนี้จะกล่าวถึง ระบบการให้บริการสุขภาพ (Health service and Health care market) ซึ่งสหพันธ์ฯ เป็นผู้จัดทำขึ้น นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น ระบบการให้บริการสุขภาพ (Health service and Health care market)ทางคณะรัฐมนตรีเสนอให้กลับไปใช้ระบบประกันสุขภาพแบบเดิมที่ให้ อัตราการจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสุขภาพภาคบังคับ (Gesetzlich Krankenversicherung) ของนายจ้างและลูกจ้างในอัตราส่วนที่เท่ากัน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2019 แต่ก็เปิดโอกาสให้กับคนที่สนใจ สามารถจ่ายเงินเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความคุ้มครองได้ด้วยเช่นกัน (individual Zusatzversicherung)ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า นโยบายนี้จะช่วยลดภาระของลูกจ้างหรือคนทำงาน ในการที่จะแบกรับอัตราการจ่ายเงินที่จะสูงมากขึ้นในอนาคต นอกจากนี้มาตรการอื่นๆ ที่สำคัญที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะประเด็นความโปร่งใส (Transparency and Governance) การตรวจสอบการบริหารงานของบริษัทที่รับประกันสุขภาพ ซึ่งมีหลายบริษัทในตลาด ก็มีความจำเป็นเพื่อให้นโยบายนี้เป็นจริงในทางปฏิบัติในส่วนของนโยบาย Health care service market .ในสัญญาการจัดตั้งพรรคร่วมรัฐบาล นโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ คือ บทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพ Health care serviceต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การให้ความสำคัญกับนโยบาย Health care service เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมากและเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับมาตรการอื่นๆ ที่จะตามมา เพื่อยกระดับการให้บริการ ทางด้าน Health care service ให้ดีขึ้น แต่อย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกังวลว่า หากไม่มีการบริหารจัดการทางการเงินที่ดี ก็มีความเสี่ยงที่ประชาชน ผู้จ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสุขภาพ อาจเผชิญภาระทางการเงินที่เพิ่มขึ้น โดยสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเสนอว่า ให้แก้กฎหมายประกันสังคม (Sozialen Pflegeversicherung) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับระบบ Health care service นโยบาย การจัดทำแฟ้มบันทึกข้อมูลผู้ป่วยดิจิทัล (Electronic Patient Record) โดยจะเริ่มในปีงบประมาณนี้ เพื่อตอบโจทย์ การรักษาแบบทางไกล (Telemedicine) และแฟ้มบันทึกข้อมูลนี้จะช่วยในเรื่องการวางแผนในการเตรียมความพร้อมสำหรับการให้บริการ Health Care service โดยเฉพาะ ผู้ให้บริการ และผู้รับบริการ Health Care Service สามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาอย่างรวดเร็วต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ในยุคดิจิทัล จะเป็นประโยชน์ต่อระบบการให้บริการทางด้านสุขภาพเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะบริการทางด้าน Health care service“การซื้อขายยาออนไลน์ รัฐบาลต้องการสนับสนุนให้ร้านขายยาในชุมชนมีความเข้มแข็ง ดังนั้นรัฐบาลมีนโยบายจะห้ามการซื้อขายยาที่ต้องการใบสั่งยาจากแพทย์” ต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การห้ามซื้อขายยาออนไลน์ แบบเหมารวม ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว และไม่ได้เพิ่มความเข้มแข็งให้กับร้านขายยา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และไม่ได้เพิ่มบทบาทให้กับเภสัชกรในร้านขายยา ที่มีหน้าที่ในการให้คำแนะนำในการใช้ยาสิทธิของผู้ป่วย เพื่อเพิ่มความสำคัญให้กับสิทธิของผู้ป่วย การตั้งกองทุนเยียวยาความเสียหายให้กับผู้ป่วยที่ได้รับความเสียหายจากการรับบริการทางด้าน Health care service เพื่อที่จะลดปัญหาการดำเนินคดีความ ที่อยู่ภายใต้กฎหมาย การรับผิดจากการละเมิด (Patientenrechtegesetz) ที่ไม่คุ้มครองสิทธิผู้ป่วยในเรื่องภาระการพิสูจน์บทสรุปของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายการให้บริการสุขภาพ คือ รัฐบาลจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการอื่นๆ มาสนับสนุน และรัฐบาลควรที่จะให้ความสำคัญกับมุมมอง และความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะกระบวนการออกแบบนโยบายทางด้านสุขภาพในอนาคต โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องระบบการเงินการคลัง ใน Health care service ทั้งหมดจะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศในยุคดิจิทัล และมองว่าการห้ามการซื้อขายยาออนไลน์ เป็นนโยบายที่ไม่ถูกต้องฉบับนี้ขอจบตรงนี้ก่อน  ครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านอาหาร (Food market policy) ครับ--------------------------------------เอกสารเพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็น ได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving) ดู ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิตัล (Digital  world) ดู ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 205• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market) ดู ฉลาดซื้อ ฉบับที่ 206• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ (International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance)(ที่มา เว็บไซต์สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี https://www.vzbv.de/.../ausfuehrliche_bewertung_koav_vzbv.pdf) 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี (ตอนจบ)

หลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Green Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรค และ ผู้บริหารพรรค นอกจากนี้ หลังการเจราจาจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว ก็ยังมีการทำสัตยาบรรณ(Koalitionsvertrag) ในการเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ พรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม คือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรคเพื่อยอมรับสัตยาบรรณ ดังกล่าว ซึ่งเสียงของสมาชิกส่วนใหญ่ (66.02%) จากสมาชิกพรรคทั้งหมด 463,723 คน เรียกได้ว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ผ่านอุปสรรคด่านแรกไปอย่างหืดขึ้นคอทีเดียวสำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิตัล (Digital  world)• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market)• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ (International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance)นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคต่อประเด็น ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market) ทางคณะรัฐมนตรีเสนอให้มีคณะกรรมการชุดหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการจัดการการประกันเงินบำนาญ ชราภาพแห่งชาติ โดยทำหน้าที่ ศึกษาและจัดทำข้อเสนอ ในการพัฒนารูปแบบการจัดการระบบประกันเงินบำนาญ ชราภาพ ภาคบังคับ (Gesetzliche Renterversicherung) เนื่องจาก ระบบสวัสดิการของประเทศเยอรมันนั้น เมื่อคนทำงานมีรายได้ จะถูกหักเงินรายได้ส่วนหนึ่งเข้ากองทุนเงินบำนาญชราภาพ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับการหักเงินประกันสังคมในบ้านเรานั่นเอง วัตถุประสงค์การจัดตั้งคณะกรรมการชุดนี้คือ เพื่อทำให้กองทุนบำนาญชราภาพ ที่จัดเก็บจากรายได้ประชาชนและเงินสมทบของผู้ประกอบการ ให้เกิดความยั่งยืน ภายในปี 2025 องค์ประกอบของคณะกรรมการประกอบด้วยผู้แทนจาก ภาคประชาสังคม ภาคการเมือง และภาคธุรกิจต่อประเด็นนี้ ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า การตั้งคณะกรรมการชุดนี้ เป็นเรื่องที่สำคัญในการที่จะต้องมีตัวแทนฝ่ายองค์กรผู้บริโภคเข้าไปร่วมเป็นคณะกรรมการด้วย เพราะระบบการประกันบำนาญ ชราภาพ ไม่ได้มีเฉพาะการประกันภาคบังคับเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการประกันเงินบำนาญชราภาพ ภาคสมัครใจ ที่ มีผู้บริโภคอีกเป็นจำนวนมากที่ใช้บริการ การประกันภาคสมัครใจอยู่ และมีผลต่อนโยบายการประกันเงินบำนาญชราภาพในภาพรวมของประเทศ การจัดระบบการประกันเงินบำนาญชราภาพภาคสมัครใจ (Private Altersvorsorge) รัฐบาลมีนโยบายในการจัดการระบบ ประกันเงินบำนาญชราภาพใหม่ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้เอาประกัน โดยมีกระบวนการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น(Dialog) ระหว่าง ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกภาคส่วน และ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงระบบการประกันบำนาญชราภาพ ภาคสมัครใจที่เป็นมาตรฐาน( Riester Rente) ตอนนี้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน(หมายเหตุ Riester Rente เป็นมาตรการ การปฏิรูประบบการประกันเงินบำนาญชราภาพ ที่ จัดเป็นการประกันภาคสมัครใจของผู้ทำงานมีรายได้ เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2000- 2001 ภายใต้การเป็นรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานของนาย Walter Riester สังกัดพรพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสังคมนิยม โดยหักจากเงินรายได้ของผู้เอาประกันและ เงินสมทบที่รัฐบาลช่วยเหลือ) ต่อประเด็นนี้ทางสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสนับสนุนแนวความคิดในการปฏิรูประบบการประกันเงินบำนาญชราภาพใหม่ เพื่อให้คุณภาพของระบบประกันเงินบำนาญชราภาพดียิ่งขึ้น โดยที่เงินที่จ่ายเข้ากองทุนนี้ต้องลดลง แต่ให้ผลตอบแทนที่สูงขึ้น โดยใช้มาตรการ การลดค่าการตลาด ซึ่งในกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น(Dialog) นั้น การมีส่วนร่วมนอกจากภาคตัวแทนภาคธุรกิจแล้ว องค์กรภาคส่วนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการจัดทำ dialog โดยเฉพาะองค์กรคุ้มครองผู้บริโภค การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน รัฐบาลจะจัดให้มีการประเมินกลไก การคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินต่อประเด็นนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมีความเห็นสนับสนุน การประเมินมาตรการที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่ควรให้ความสำคัญกับการเปิดเผยข้อมูลในการทำรายงานผลการประเมินมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคทางการเงินต่อสาธารณะ และควรระบุด้วยว่ามาตรการในการกำกับใดของรัฐ ที่เกินความจำเป็น (Over regulation) ก็ควรจะต้องปรับปรุง หรือ กลไกใดของรัฐที่ การกำกับดูแลแล้ว ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ก็ต้องมีการปรับปรุงเช่นกัน  การปรับปรุงค่าธรรมเนียม Prepayment charge ในการ กู้ยืมเงินซื้ออสังหาริมทรัพย์นโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นนี้ คือ ต้องการให้สัญญา การกู้ยืมเงินเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ ที่อยู่อาศัย ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการ Refinance ที่อยู่อาศัย เนื่องจากอัตราดอกเบี้ย ลดลง แต่จะต้องเสียค่าธรรมเนียมที่เรียกว่า prepayment charge มีความเป็นธรรม และฐานในการคำนวณค่าธรรมเนียมเข้าใจ และเห็นภาพได้ง่ายความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค สนับสนุนนโยบายนี้ของรัฐบาล และได้เรียกร้องประเด็นนี้มาเป็นระยะเวลานานแล้ว การกำกับ ควบคุม และเฝ้าระวัง ระบบการเงินการลงทุน รัฐบาลมีนโยบายในการโอนหน้าที่การกำกับดูแล ผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนทางการเงิน ให้กับ หน่วยงานรัฐคือ Federal Financial Authority (BaFin: Bundesanstalt fÜr Finanzdienstleistungsaufsicht) อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมีแผนที่จะให้หน่วยงานกำกับองค์กรนี้ มีอำนาจในการกำกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินการลงทุน ใน digital platform และทำงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานรัฐที่ดูแลทางด้าน IT-securityเพิ่มขึ้นด้วยความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค เห็นด้วยในหลักการแต่ควรจะมีรายละเอียดในการทำงานขององค์กรกำกับดูแลนี้ให้ชัดเจนขึ้นครั้งหน้าจะนำเสนอ ความเห็นต่อนโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคทางด้านสุขภาพ และบริการสุขภาพครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี

การประเมินนโยบายงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนีหลังจากที่พรรค CDU ของนางแองเจล่าร์ แมร์เคลประสบความสำเร็จได้รับคะแนนเสียงสูงสุดจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อปีที่ผ่านมา แต่ไม่สามารถได้รับคะแนนเสียงข้างมากได้ และคะแนนนิยมตกต่ำลงซึ่งเป็นผลพวงมาจาก นโยบายการรับผู้อพยพลี้ภัย โดยไม่คำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยภายใน ส่งผลให้การเจรจากับพรรคอื่น ไม่ว่าจะเป็น พรรค FDP หรือ พรรค The Greeen Party ประสบความล้มเหลว และในที่สุด ก็สามารถจัดตั้งพรรครัฐบาลผสมโดยพรรคขนาดใหญ่ 3 พรรค คือ พรรค CDU CSU ซึ่งเป็นพรรคการเมืองสายอนุรักษ์นิยม และพรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม การเจรจาจัดตั้งรัฐบาลผสม ได้สั่นคลอนความเป็นปึกแผ่นของพรรค SPD มีการเปลี่ยนผู้นำพรรค และผู้บริหารพรรค นอกจากนี้ หลังการเจราจาจัดตั้งรัฐบาลผสมแล้ว ก็ยังมีการทำสัตยาบรรณ (Koalitionsvertrag) ในการเข้าเป็นพรรคร่วมรัฐบาล โดยสิ่งที่น่าสนใจสำหรับ พรรค SPD ซึ่งเป็นพรรคสายสังคมนิยม คือ การลงคะแนนเสียงของสมาชิกพรรค เพื่อยอมรับ สัตยาบรรณ ดังกล่าว ซึ่งเสียงของสมาชิกส่วนใหญ่ (66.02%) จากสมาชิกพรรคทั้งหมด 463,723 คน เรียกได้ว่า การจัดตั้งรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ผ่านอุปสรรคด่านแรกไปอย่างหืดขึ้นคอทีเดียวสำหรับความเห็นขององค์กรผู้บริโภคต่อนโยบายของรัฐบาลต่อประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี จัดทำเอกสาร เพื่อประเมินนโยบายของรับบาลผสมขนาดใหญ่ของทั้งสามพรรค โดยมีทั้งหมด 12 ประเด็นได้แก่• การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)• การคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล (Digital  world)• ตลาดเงิน ตลาดทุน (Financial market)• การประกันสุขภาพและการดูแลผู้ป่วย (health and care insurance market)• อาหาร (food market)• พลังงาน (Energy market)• อสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (Real estate and accommodation)• การเดินทาง การท่องเที่ยว (Mobility and tourism)• การบริโภคที่ยั่งยืน และการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติ (sustainability consume and resource protection)• การค้าข้ามชาติ ( International commerce)• การรู้เท่าทัน (consumer education)• การเฝ้าระวังกลไกตลาด (market surveillance) นโยบายการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค (Right and Right receiving)นโยบายของรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ คือ การออกกฎหมายสำหรับการฟ้องคดีแบบกลุ่ม (Class action) เพื่อเพิ่มอำนาจและ การบังคับใช้กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งเป็นประเด็นที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี เรียกร้องมาโดยตลอด ในประเด็นนี้ รัฐบาลมีนโยบายให้สิทธิในการฟ้องคดีกับหน่วยงานที่เป็นองค์กรภาคประชาชนที่ ได้มาตรฐาน (qualified organization or institution) เช่น องค์กรผู้บริโภค สมาคมสงเสริมการแข่งขันทางการค้า เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดการ “ค้าความ” ขึ้นในกระบวนการยุติธรรม ความเห็นของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคกับนโยบายดังกล่าว คือ เห็นด้วย แต่ในประเด็นของข้อกฎหมายที่เป็นข้อกังวล คือ การตีความว่า องค์กรหรือ สถาบันใดที่จะได้รับสิทธินั้น ซึ่งไม่ควรจะกำหนดกฎเกณฑ์ จนทำให้มีเพียงไม่กี่องค์กรที่สามารถฟ้องคดีแบบกลุ่มได้นอกจากนี้ ในกรณีของการเยียวยาผู้บริโภค ต่อกรณีการละเมิดสัญญาในการทำธุรกรรมในโลกดิจิทัล เช่นการซื้อตั๋วรถไฟ กรณีการละเมิดสัญญา ควรที่จะมีการเยียวยาโดยอัตโนมัติต่อกรณีของการรับผิดต่อสินค้า โดยเฉพาะการทำธุรกรรมในยุคดิจิทัล จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงกฎหมายเรื่องการรับผิดต่อสินค้าให้ทันสมัยกับยุคดิจิทัล โดยรัฐบาลต้องติดตามสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และ ปรับปรุง มาตรฐาน กฎหมายให้สอดคล้องกับสถานการณ์นโยบายการคุ้มครองผู้บริโภคในโลกยุคดิจิทัล (Digital  world)- การควบคุม Algorithm control ของ Artificial Intelligemce (AI) โดยจะจัดตั้งคณะกรรมการจริยธรรมในด้านการใช้ข้อมูล (Data- Ethic Commission) เพื่อติดตามและเฝ้าระวังการใช้ AI ที่อาจละเมิดสิทธิผู้บริโภคต่อประเด็นดังกล่าว สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วย และสนับสนุนในการมีตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่ในคณะกรรมชุดนี้ และการทำงานของคณะกรรมการชุดดังกล่าวต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างทันท่วงที และไม่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงาน (โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องของ เวลา ที่มักเป็นจุดอ่อนของ Regulator)- ประเด็น Network neutrality ซึ่งสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคเห็นด้วยกับนโยบายรัฐบาลที่จะรักษาหลักการนี้ โดยจะต้องมีการกำกับดูแล ผ่าน กฎหมาย ซึ่งต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายของอียู- นโยบายการขยายโครงข่าย broadband ทั่วประเทศ ภายในปี 2025 สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นเรื่องที่สมควรทำ โดยในปีแรกของรัฐบาลควรที่จะขยายโครงข่ายให้ได้มากกว่า 50 % ของพื้นที่เป้าหมาย และต้องคำนึงถึงประเด็นในเชิงคุณภาพ ของเครือข่าย broadband ด้วย - ข้อมูลส่วนบุคคล (E-privacy- Regulation) รัฐบาลเสนอให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวด และการออกกฎหมายของรัฐบาลต้องสอดคล้องกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของอียู และความสนใจของทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ ซึ่งจะต้องรักษาสมดุลระหว่างกันและกันในขณะที่ประเด็นนี้ สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคมองว่า เป็นนโยบายที่ย้อนแย้งกัน แต่ก็เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะดำเนินนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเข้มงวดฉบับนี้ขออนุญาต นำเสนอ 2 นโยบายที่สหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ได้มีความเห็นและเผยแพร่ต่อสาธารณะหลังจากที่การจัดตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ความน่าสนใจของรัฐบาลชุดนี้ คือ จะสามารถทำงานได้ครบวาระหรือไม่ ภายใต้การขัดแย้งทางการเมืองที่ถาโถมเข้ามาเป็นระยะๆ (ที่มา เว็บไซต์สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคแห่งเยอรมนี https://www.vzbv.de/.../ausfuehrliche_bewertung_koav_vzbv.pdf) ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 กระแสต่างแดน

ดังก็โดนกิจการของ Red Balloon เว็บไซต์ขายประสบการณ์ตื่นเต้นเร้าใจกำลังไปได้สวย  ใครๆ ก็อยากจะลองเหินฟ้าดิ่งพสุธา นั่งบอลลูน ตระเวนชิมไวน์ หรือเรียนทำอาหารแปลกๆ ผู้ก่อตั้งเว็บนี้ก็กลายเป็นคนดังในสังคมออสซี่ เพราะเธอเป็นหนึ่งในผู้ตัดสินประจำรายการ Shark Tank เกมโชว์ปั้นธุรกิจหน้าใหม่  นาโอมิ ซิมสัน ดังยิ่งขึ้นไปอีกเมื่อบริษัทของเธอถูกคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสั่งปรับเป็นเงิน 43,200 เหรียญ(ประมาณ 1.07 ล้านบาท) เพราะคิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตรเดบิตและเครดิตเกินกำหนดกับลูกค้าไป 4 รายเมื่อวันที่ 31 มีนาคม และ 30 มิถุนายนที่ผ่านมา เธอให้สัมภาษณ์ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นไม่ใช่เจตนาของบริษัท ทีมงานของเธอแค่พลาดรายละเอียดเรื่องนี้ไปเท่านั้น กฎหมายห้ามคิดค่าธรรมเนียมเกินควรนี้บังคับใช้กับบริษัทขนาดใหญ่มาได้ประมาณหนึ่งปีแล้ว ส่วนธุรกิจรายย่อยนั้นเริ่มบังคับเมื่อเดือนกันยายน คณะกรรมการฯ บอกว่าผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่รายย่อยไม่สามารถผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้บัตรให้กับผู้บริโภคเกินกำหนดได้กลับเองได้บรรดาครูและผู้บริหารโรงเรียนในอิตาลีต่างพากันโล่งออกเมื่อได้ข่าวว่าจะมีการแก้กฎหมายให้นักเรียนอายุต่ำกว่า 14 ปีสามารถกลับบ้านโดยไม่มีผู้ใหญ่มารับได้   สิ่งที่กระตุ้นให้เกิดการแก้กฎหมายที่ว่าคือการที่รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาออกมาเรียกร้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองไปรับลูกที่โรงเรียนเพราะ “มันเป็นกฎหมาย และทุกคนต้องปฏิบัติตาม” ถ้าไม่ว่างก็ต้องจัดให้ปู่ย่าตายายไปรับแทน(สื่ออิตาลีแอบไปขุดคุ้ยมาได้ว่าตัวเธอเองไม่เคยว่างไปรับหลานสาวที่โรงเรียนเหมือนกัน)  คำพูดดังกล่าวทำให้เกิดความวิตกกังวลว่าจะต้องมีการจัดเวรยามเพิ่มเติมหลังเลิกเรียน การเตรียมตัวถูกฟ้องร้องกรณีที่เกิดอันตรายกับเด็กในระหว่างที่เดินทางกลับบ้านในที่สุดข้อเสนอที่ออกมาคือการให้ทางเลือกแก่ผู้ปกครอง หากเชื่อมั่นในบุตรหลานและต้องการให้เด็กกลับบ้านด้วยตนเองก็สามารถเซ็นใบอนุญาตให้กับทางโรงเรียนไว้ได้เลยดีเซลหมดสิทธิเห็นเงียบๆ แต่เยอรมนีก็มลพิษเพียบนะคะ ล่าสุดคณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมยื่นฟ้องเยอรมนีในวันที่ 7 ธันวาคม โทษฐานที่ไม่ดูแลคุณภาพอากาศในเมืองใหญ่ ซึ่งถือเป็นการฝ่าฝืนข้อตกลงของอียูและหากศาลยุโรปเห็นว่ามีความผิดจริง ก็จะต้องจ่ายค่าปรับมิใช่น้อยการตัดสินใจนี้เป็นไปในทิศทางเดียวกับรัฐบาลท้องถิ่นบางรัฐในเยอรมนี เมืองหลวงของรัฐบาลเดิน เวิร์ทเทมเบิร์กที่ชื่อว่าเมืองชตุทท์การ์ท เป็นหนึ่งในเมืองที่มีค่าไนโตรเจนไดออกไซด์ในอากาศเกินกำหนดถึงสองเท่า กำลังจะออกประกาศห้ามรถดีเซลเข้าเขตเมืองภายในวันที่ 1 มกราคมปีหน้า ตามคำตัดสินของศาลท้องถิ่น Environmental Action Germany ผู้ยืนฟ้องรัฐบาเดิน เวิร์ทเทมเบิร์ก ระบุว่าการห้ามรถดีเซลนี้เป็นวิธีเดียวที่จะแก้ปัญหาได้ เพราะข้อเสนอของบรรดาค่ายรถ(เช่น เดมเลอร์ และปอร์เช่ ซึ่งมีสำนักงานใหญ่อยู่ในเมืองนี้เช่นกัน) เรื่องการอัปเดตซอฟต์แวร์นั้นไม่ช่วยอะไรตามแผนนี้ รถที่จะวิ่งในเขตตัวเมืองได้จะต้องมีสติกเกอร์สีน้ำเงิน ซึ่งจะออกให้เป็นการรับรองรถที่ผ่านมาตรฐานยูโร- 6 เท่านั้น  ข่าวบอกว่ามิวนิคก็เล็งจะแบนรถดีเซลในเมืองเช่นกันต้องไม่หวั่นไหวเหตุการณ์แผ่นดินไหวทางใต้ของเกาหลีเมื่อกลางเดือนพฤศจิกายนสร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนไม่น้อย เพราะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก แต่ที่น่าตกใจกว่าคือผลการสำรวจของเทศบาลกรุงโซลที่ออกมาหลังจากนั้น เทศบาลกรุงโซลพบว่ามีเพียงร้อยละ 30 ของอาคารบ้านช่องในโซลเท่านั้นที่สามารถต้านทานความแรงของแผ่นดินไหวได้   ถ้าแยกเป็นอาคารที่อยู่อาศัยแล้วจะพบว่ามีร้อยละ 46 ที่ถูกออกแบบมารองรับความสั่นสะเทือน ในกรณีของบ้านเดี่ยวแล้วมีเพียงร้อยละ 14.5 เท่านั้น   ส่วนอาคารสำนักงานนั้นดีขึ้นมาอีกนิดเพราะมีถึงร้อยละ 63 ที่พร้อมรับแผ่นดินไหว ในขณะที่ตัวเลขของโรงเรียนอยู่ที่ร้อยละ 33.5     เกาหลีใต้เริ่มจริงจังเรื่องการก่อสร้างอาคารเพื่อรองรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาตั้งแต่ปี 2012 และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้กำหนดให้อาคารทุกชนิดที่สูงเกินสองชั้นและมีพื้นที่รวมกันมากกว่า 500 ตารางเมตร ต้องออกแบบให้รองรับการสั่นสะเทือนด้วยภาระคนโสด มหกรรมจับจ่ายเงินของคนโสดในประเทศจีนเมื่อนวันที่ 11เดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาทำให้เกิดการไหลสะพัดของเงินมากเป็นประวัติการณ์ แต่ละชั่วโมงร้านค้าออนไลน์มีรายได้ถึง 1 พันล้านเหรียญ ด้านผู้ซื้อก็เบิกบานกันทั่วหน้าเพราะได้สั่งซื้อสินค้า(ที่เชื่อว่าเป็น) ราคาโปรฯ มาครอบครอง แต่สิ่งที่มาพร้อมกันกับมหกรรมช้อปกระจายคือ ขยะจำนวนมหาศาล ลองจินตนาการถึงแพคเก็จจำนวน 331 ล้านกล่อง บวกด้วยถุง เทปกาว และเชือก สถิติปีก่อนระบุว่า “วันคนโสด” ปีที่แล้วทำให้เกิดการปล่อยคาร์บอนเพิ่มขึ้นจากช่วงปกติถึง 52,000 ตัน(ในขั้นตอนการผลิต บรรจุหีบห่อ และขนส่งนั่นเอง)  ผู้ประกอบการอย่างเจดี เถาเป่า หรืออาลีบาบา ต่างก็เคยแสดงท่าทีว่าจะรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้แพคเก็จที่ย่อยสลายเร็ว ใช้กล่องพลาสติกแทนกล่องกระดาษ หรือแม้แต่การออกแบบกล่องที่ไม่ต้องใช้เทปใสปิดทับ    แต่องค์กรสิ่งแวดล้อมที่นั่นยืนยันว่าความพยายามนี้ยังไม่เด่นชัดนัก ปีหน้าเราอาจได้เห็นนวัตกรรมเด็ดๆ ในการจัดส่งสินค้าแดนมังกรในวัน “โสดต้องซื้อ” ก็ได้  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 196 การกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลยุติธรรมในเยอรมนี : กรณีศึกษาการฟ้องคดีเรียกค่าเสียหายจากบริษัทโฟล์คสวาเก้นของผู้ถือหุ้นรายย่อย

จากเหตุการณ์ที่กรมควบคุมมลพิษของอเมริกา( EPA) ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ บ. โฟล์คสวาเกน  (VW) ว่า จงใจที่จะหลอกลวงเกี่ยวกับการแสดงข้อมูลการวัดค่าไอเสียจากรถยนต์ดีเซลรุ่น Jetta, Beatle, Passat และ Audi A 3 เนื่องจากซอฟท์แวร์แสดงผลการวัดต่ำกว่าค่าความเป็นจริงถึง 10- 40 เท่า ในสภาวะการขับแบบปรกติ ซึ่งเกินกว่าค่าที่ทางกรมควบคุมมลพิษของอเมริกากำหนด ต่อกรณีดังกล่าวนี้ ตามกฎหมายเยอรมัน ให้สิทธิผู้บริโภคในการจัดการกับเรื่องดังกล่าว หากรถยนต์ที่ซื้อมามีปัญหาชำรุด บกพร่อง นอกจากนี้ ยังให้สิทธิผู้ถือหุ้นรายย่อยของโฟล์คสวาเก้น เป็นผู้บริโภคที่สามารถฟ้องร้องคดีเพื่อขอเงินคืนต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหุ้นที่ตกลงอย่างฮวบฮาบในช่วงเวลาข้ามคืนได้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนในมุมมองของการคุ้มครองผู้บริโภคที่อีกบทบาทหนึ่งคือ เป็นนักลงทุนรายย่อยกรณีของผู้ที่ถือหุ้นตามกฎหมายหลักทรัพย์ของเยอรมัน มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่มูลค่าหุ้นลดต่ำลง โดยที่ทางบริษัทไม่ได้แจ้งถึงผู้ถือหุ้นให้ทันการณ์จากการการฟ้องคดีที่กรมควบคุมมลพิษของอเมริกา( EPA) ที่ได้แจ้งข้อกล่าวหาต่อ บ. โวล์กสวาเกน (VW) และทางโฟล์คสวาเก้นก็ได้ยอมรับต่อข้อกล่าวหาดังกล่าว จากเหตุการณ์นี้ มีความเป็นไปได้สูงที่ทางผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นผู้เสียหายที่จะได้รับเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากมูลค่าหุ้นที่ร่วงลงมา (Schadenersatz fÜr Kursverlust) และ ความเสียหายที่เกิดจาก ผลต่างมูลค่าหุ้น (Kursdifferenzschaden) อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นต้องฟ้องคดีต่อศาลเพื่อพิสูจน์ว่า ทางบริษัทได้ละเมิดต่อผู้ถือหุ้นโดยแจ้งสถานการณ์ล่าช้าต่อสาธารณะในประเทศเยอรมนีการคำนวณความเสียหายสำหรับผู้ถือหุ้นผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายสองประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะมีมูลค่าต่างกัน สำหรับการคิดค่าเสียหายแบบแรก  คือ ความเสียหายจากผลต่างมูลค่าหุ้น(Kursdifferenzschaden) ซึ่งจะคิดคำนวณสำหรับผู้ถือหุ้น ณ วันที่ 20 กันยายน 2015 ซึ่งมูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่าง 56- 60 ยูโรต่อหุ้น แล้วแต่ว่าศาลจะกำหนดให้เป็นมูลค่าเท่าใดสำหรับการคำนวณความเสียหายอีกประเภทหนึ่ง คือ แบบ(Kursverlustschaden) ฐานคิดค่าเสียหายแบบนี้ จะคิดจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งมีมูลค่าความเสียหายสูงกว่าแบบแรก แต่จะคำนวณได้ยากกว่า เพราะต้องใช้การพิสูจน์ และขึ้นอยู่กับคำพิพากษาคดีเป็นรายๆ ไป เนื่องจากในระบบกฎหมายเยอรมันไม่มีการฟ้องคดีแบบกลุ่ม( Class action)ถึงไม่มีการพิจารณาคดีแบบกลุ่มศาลก็อำนวยความสะดวกในการฟ้องคดีเพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายซึ่งมีเป็นจำนวนมาก ทางศาลสูงแห่งเมืองบราวชไวก์ ( Braunschweig)  ได้กำหนดแนวทางการฟ้องคดีโดยใช้กระบวนการ  ดำเนินคดีหุ้น ที่เป็นแบบอย่าง(Kapital Musterverfahren) โดยที่มีบริษัทลูกของธนาคารออมสิน คือ บริษัท Deka Investment ที่เป็นแม่แบบในการฟ้องคดี มีลูกค้าผู้ถือหุ้นที่ประสงค์จะฟ้องคดี 1502 ราย และมีมูลค่าความเสียหายรวมกันกว่า 2000 ล้านยูโร และผู้เสียรายอื่นก็สามารถมาร้องสมทบได้เช่นกัน กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาเป็นคุณ กับผู้ร้อง การชดใช้ค่าเสียหายกับผู้เสียหายราบอื่นก็มีผลผูกพันด้วยเช่นกันผู้เสียหายรายอื่นสามารถยื่นความจำนงในการร้องสอดคดีได้กำหนดเวลาสำหรับการยื่นเรื่องขอฟ้องร้องสอดคดีนี้ คือ 8 กันยายน 2017 การที่ศาลอำนวยความสะดวกด้วยการกำหนด การฟ้องร้องพิจารณาคดีแบบนี้ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการพิจารณาคดีรายบุคคลมากบทสรุปที่ได้จากกรณีการฟ้องร้องคดีแบบนี้ คือ การอำนวยความสะดวกที่ให้อำนาจศาลในการกำหนดพิธีพิจารณาคดี สำหรับมีผู้เสียหายจากการละเมิดเป็นจำนวนมาก แม้ว่า ในระบบกฎหมายของเยอรมันจะไม่มีการพิจารณาคดีแบบกลุ่ม แต่ก็เปิดช่องให้ศาลสามารถใช้กระบวนการพิจารณาคดีความลักษณะนี้ในการอำนวยความสะดวกในกระบวนการยุติธรรมให้กับประชาชน(ที่มา นิตยสาร Finanztest 6/2017)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 178 สถานการณ์ อาหาร GMO ในเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการร่างกฎหมายจีเอ็มโอ (GMO- Genetically Modified Organism) หรือร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่ผลักดันโดยกลุ่มผู้สนับสนุนจีเอ็มโอและใกล้ชิดกับบรรษัทเมล็ดพันธุ์ข้ามชาติผ่านการเห็นชอบโดยคณะรัฐมนตรี แล้ว กำลังถูกเสนอไปสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ภายใต้สถานการณ์ทางการเมืองปัจจุบันเชื่อว่าจะผ่านการพิจารณาโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติโดยเร็ว กฎหมายฉบับนี้จะเป็นใบผ่านเพื่อเปิดทางสะดวกให้กับการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย โดยเปิดช่องโหว่ให้บรรษัทที่ทำการทดลองจีเอ็มโอในภาคสนาม และขายเมล็ดพันธุ์จีเอ็มโอในเชิงพาณิชย์ไม่ต้องรับผิดชอบผลกระทบที่มีต่อความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหาร และผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ ร่างกฎหมายฉบับนี้ยังมีประเด็นที่ควรปรับปรุง เพราะมีหลายข้อที่ไม่สอดคล้องกับหลักการสากลในพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ และพิธีสารเสริมนาโงย่า-กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดใช้ความเสียหาย เช่น กรณีผลกระทบจากกรณีจีเอ็มโอนั้น ในพิธีสารฯ ครอบคลุมถึงการคุ้มครองผลกระทบทางสังคมเศรษฐกิจ และอนุญาตให้ใช้ดุลพินิจตามสมควรได้ แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ แต่ในร่างกฎหมายระบุว่า ต้องใช้ข้อมูลและหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนแล้วเท่านั้น สำหรับประเทศเยอรมนี ที่ประชาชนมากกว่าร้อยละ 80 ไม่ต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์ที่มี GMO ก็ตกอยู่ในฐานะมัดมือชก ซึ่งก็ยังถูกบังคับให้บริโภคทางอ้อมเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามกฎหมายของเยอรมนีเข้มงวดมากในเรื่องการติดฉลากผลิตภัณฑ์ที่มี ส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ และองค์กรผู้บริโภคก็เรียกร้องให้รัฐบาลแบน อาหารที่มี GMO เป็นองค์ประกอบ   เคยมีกรณีที่รัฐบาลท้องถิ่น ซากเซน อันฮาลต์ (Sachsen Anhalt) เป็นโจทก์ ฟ้องร้องรัฐบาลกลางที่ออกกฎหมายการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกพืช GMO และควบคุมอย่างเข้มงวด ในกรณีที่มีการปนเปื้อน การผสมพันธุ์พืชข้ามแปลง เกษตรกรที่ปลูกพืช GMO จะต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ฝ่ายโจทก์อ้างว่า เป็นการจำกัดเสรีภาพในการประกอบอาชีพ คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ยืนยันถึงหลักแห่งความปลอดภัยและคุ้มครองความหลากหลายทางชีวภาพ จึงยกคำร้องของของโจทก์ จนถึงปัจจุบันนี้ พื้นที่การทำการเพาะปลูก พืช GMO ในเยอรมนี เหลือน้อยมาก และไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากถูกต่อต้านจากผู้บริโภคและเกษตรกรที่ให้ความสำคัญกับเกษตรอินทรีย์ เยอรมนีมีคำสั่งประกาศห้ามปลูก ข้าวโพด GMO Mon 810 ถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายห้ามแต่ก็มีช่องทางอื่นที่สามารถหลุดรอดเข้ามาได้ จากการนำเข้าผลผลิตทางเกษตร ไม่ว่าจะเป็น ถั่วเหลือง คาโนลา (พืชสำหรับผลิตน้ำมันพืช) และเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์บางราย ก็ใช้อาหารสัตว์ที่มีส่วนผสมของ GMO เลี้ยงสัตว์ด้วย ในอียูอนุญาตให้ใช้สิ่งมีชีวิตที่ดัดแปลงพันธุกรรม GMO ประมาณ 50 ชนิด ในเยอรมนี รัฐบาลห้ามจำหน่ายพืชผัก เนื้อสัตว์ ที่เป็น GMO ซึ่งเป็นอาหารของมนุษย์ ยกเว้นอาหารบางชนิดเช่น ช็อคโกแลต จาก อเมริกา ซีอิ๊วในร้านอาเซียนช็อป แต่ต้องติดฉลากว่า GMO ให้เห็นอย่างชัดเจนเรื่องการติดฉลาก หากผลิตภัณฑ์ชนิดใดมีส่วนผสมของ ผลิตภัณฑ์ GMO น้อยกว่า 0.9 % ได้รับข้อยกเว้นไม่ต้องติดเครื่องหมาย GMO สำหรับผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ไม่ว่า จะเป็น เนื้อ นม ไข่ ที่ผลิตจาก สัตว์ ที่เลี้ยงด้วยอาหารสัตว์ GMO ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายมาควบคุมเรื่องฉลาก เนื่องจาก การย่อยของกระเพาะสัตว์ ที่เลี้ยงด้วยพืช GMO สามารถย่อยสลาย DNA ของพืชชนิดนี้ได้ แต่จากผลการศึกษาปัจจุบันมีการตรวจพบ ว่า มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในสัตว์ที่เลี้ยงด้วย พืช GMO ในอนาคตอาจมีการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ให้รัดกุมยิ่งขึ้น หน่วยงานเฝ้าระวังทางด้านอาหารของเยอรมนี ทำการสุ่มตรวจผลิตภัณฑ์ทางอาหารมนุษย์เป็นระยะๆ พบว่า หนึ่งในสี่ ของผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง มี GMO ปนอยู่ พบว่าในน้ำผึ้งที่นำเข้ามาจำหน่ายในเยอรมนี มีการปนเปื้อนของ GMO สำหรับข้าวโพดพบมากถึง 6% และ และพบว่า ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง 7 ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์จากข้าวโพด 3 ตัวอย่างมีการปนเปื้อน GMO สูงกว่าที่กฎหมายกำหนด (ยกตัวอย่าง ชิปข้าวโพด (maize chip) ที่นำเข้าจากฟิลิปปินส์) และยังตรวจพบมะละกอนำเข้ามี่มีการปนเปื้อน GMO (โชคดีที่ วารสารสำหรับผู้บริโภคที่มีสมาชิกมากกว่า หนึ่งแสนราย ไม่ได้ใส่ชื่อประเทศที่ส่งออกไปว่า เป็นประเทศไทย) สำหรับผู้บริโภคที่ตระหนักถึงความเสี่ยงจากผลกระทบทางด้านสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมจากGMO สามารถเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ปลอดจาก GMO ภายใต้ฉลาก GMO free ซึ่งเป็นการติดฉลากแบบสมัครใจ ซึ่งเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ที่ตระหนักและให้คุณค่ากับการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากในการผลิตแบบเกษตรอินทรีย์นั้นจะต้องไม่มีการใช้ ส่วนผสมที่เป็น GMO และต้องรักษามาตรฐานความปลอดภัย ไม่ให้มีการปนเปื้อนของ GMO ในฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์ ในกรณีที่เราจะผลักดันนโยบายเกษตรอินทรีย์ นั้น เราคงต้องเลือกระหว่าง GMO กับ เกษตรอินทรีย์ อย่างชัดเจน ว่าจะเอาแบบไหน สำหรับผมเองในฐานะผู้บริโภค ชัดเจนครับว่า “ไม่เอา GMO” ครับ   (ที่มา วารสาร test 2/2014)  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 160 10 คำถามกับนโยบายปฏิรูปพลังงานในเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการแหล่งพลังงานจากฟอสซิลอย่างน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติมีข้อด้อยอยู่สองประการหลักๆ คือ เป็นพลังงานที่มีอยู่อย่างจำกัด และการเผาไหม้ยังปล่อยก๊าซที่เป็นพิษต่อสภาพภูมิอากาศ ทำให้เกิดผลเสียและค่าเสียหายอย่างมหาศาลอีกด้วย ยูเรเนียมเองก็มีอยู่อย่างจำกัดเช่นกัน ดังนั้นการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจึงไม่เพียงแต่สมเหตุสมผลแต่เป็นประโยชน์อย่างมากในแง่เศรษฐกิจโดยรวม ลม น้ำ แสงอาทิตย์ ความร้อนใต้พิภพ และชีวมวล เป็นแหล่งพลังงานที่มีอยู่อย่างไม่สิ้นสุด นอกจากนี้การใช้พลังงานจากแหล่งเหล่านี้ยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความแน่นอนและมั่นคงทางพลังงาน ต่างจากแหล่งพลังงานอย่าง น้ำมันดิบ ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และยูเรเนียม การใช้พลังงานหมุนเวียนช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากนอกประเทศ เพิ่มความมั่นคงในการจ่ายกระแสไฟฟ้า และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ อีกทั้งยังช่วยให้เกิดการให้บริการไฟฟ้าอย่างยั่งยืน ทำให้เกิดนวัตกรรมที่เข้มแข็ง และยังช่วยสร้างงานใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอๆ อีกด้วย 10 คำถาม คำตอบ ต่อนโยบายปฏิรูปพลังงานในเยอรมนีจะช่วยทำให้เราเห็นภาพและทิศทางในการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานของเยอรมนี ที่จะสร้างความมั่นคงและยั่งยืนสำหรับนโยบายพลังงานของประเทศ  1. เยอรมนีเชื่อมั่นต่อนโยบายปฏิรูปพลังงาน (Energiewende) คำถามคือ อะไรคือการปฏิรูปพลังงาน ? การปฏิรูปพลังงาน หมายถึงการปฏิรูประบบสำรองพลังงานที่ ก้าวข้ามการใช้พลังงานจากน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ และพลังงานนิวเคลียร์ แต่ให้ความสำคัญกับการเพิ่มสำรองพลังงานหมุนเวียนแทน ภายในปี 2050 เยอรมนีจะผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 80 % และใช้พลังงานจากพลังงานหมุนเวียนไม่ต่ำกว่า 60 % ของพลังงานทั้งระบบ เป้าหมายสำคัญคือ จะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ภายในปี 20222. เทคโนโลยีประเภทใดที่เป็นหัวใจสำคัญสำหรับ นโยบายการปฏิรูปพลังงาน ? พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญสำหรับเยอรมนี ภายใต้การพัฒนาเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องมาตลอดระยะเวลา 20 ปี ส่งผลให้ราคาไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ มีราคา 6- 9 ยูโรเซนต์ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (2.6 – 3.8 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง) ซึ่งจะมีราคาเทียบเคียงกับการผลิตไฟฟ้าจากก้าซและถ่านหิน และถูกกว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากนิวเคลียร์3. ในฐานะประเทศอุตสาหกรรม เยอรมนีสามารถให้ความเชื่อมั่นกับพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ได้หรือไม่ และจะเกิดปัญการขาดแคลนพลังงานไฟฟ้าได้หรือไม่ ? “เยอรมนีเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดไฟฟ้าดับ น้อยที่สุดในยุโรป และคาดว่าจะคงรักษาอันดับนี้ต่อไป” การใช้พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานหมุนเวียน จะมีเทคโนโลยีระบบสำรองพลังงาน(Backup Technology) ซึ่งสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ในสถานการณ์ที่พลังงานจากลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่เพียงพอ โดยในระยะแรกจะยังคงใช้ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ในระยะยาวพลังานหมุนเวียนอื่นๆ เช่น พลังงานจากน้ำ ไบโอแมส และพลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพ จะเป็นพลังงานสำรองเพิ่มขึ้น4. พลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ไม่ได้นำมาใช้ ในพื้นที่ที่ผลิต มีเทคโนโลยีใดที่จะมาแก้ปัญหานี้ได้ ? โครงข่ายที่จ่ายกระแสไฟฟ้าที่มีอยู่ในตอนนี้มีความทนทานและสามารถส่งกระแสไฟฟ้าเพิ่มได้อีก            มาก ในระยะต่อไป จะมีการสร้างโครงข่ายสำหรับจ่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมบริเวณ            ชายฝั่งทะเลทางตอนเหนือของประเทศ ไปยังบริเวณที่มีกระแสลมไม่แรง หรือจะมีการสร้าง  โครงข่ายกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้นในพื้นที่ที่มีการใช้พลังงานอย่างเข้มข้น5. เยอรมนีจะเป็นตัวอย่าง ที่แสดงถึงความสำคัญของนโยบายปฏิรูปพลังงาน ต่อประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างไร ? การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเป็นคำตอบของความท้าทายการขาดแคลนพลังงานในอนาคต เนื่องจากพลังงานฟอสซิล ได้แก่ ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติจะลดน้อยลง และเป็นสาเหตุของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง การใช้พลังงานหมุนเวียนจะเป็นคำตอบของการแก้ปัญหาทั้งสองเรื่อง ในประเด็นนี้เยอรมนีจะเป็นมิตรต่อประเทศเพื่อนบ้านที่ให้คำปรึกษาในเรื่องการสร้างระบบโครงข่ายกระแสไฟฟ้าที่เหมาะสมกับการผลิตไฟฟ้าจากลมและแสงอาทิตย์6. มีแรงจูงใจอะไรสำหรับนโยบายปฏิรูปพลังงาน เพื่อให้เกิดการแข่งขันในตลาดพลังงานภายใต้การกำกับดูแลของเรกูเลเตอร์ ? พระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียน(Das Erneubare- Energie Gesetz: EEG) ในปี 2000 ได้ทำให้เกิดการแข่งขันของเทคโนโนโลยีการผลิตพลังงาน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็นฝ่ายได้รับประโยชน์จากกฏหมายฉบับนี้ โดยได้รับการสนับสนุนทั้งในเชิงเงินทุนสนับสนุนและ ในเชิงกฎหมาย7. ประเทศเยอรมนีจัดอยู่ในประเทศที่มีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และภายใต้การปฏิรูปพลังงานจะนำพาประเทศไปสู่ การสร้างนวัตกรรมได้หรือไม่? “นโยบายการปฏิรูปพลังงาน เป็น โครงการสำหรับอนาคตของประเทศเยอรมนี ในฐานะที่เป็นประเทศอุตสาหกรรม.พลังงานหมุนเวียนจะกลายเป็นสินค้าสำหรับตลาดทั่วโลก ถ้าราคาพลังงานหมุนเวียนใกล้เคียงกับราคาพลังงานจากโรงไฟฟ้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ ก็จะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ สนใจพลังงานหมุนเวียน โดยเฉพาะประเทศที่อุดมไปด้วยลมและแสงอาทิตย์ และประเทศเยอรมนีก็จะเป็นประเทศผู้นำการผลิตนวัตกรรมไม่เพียงเฉพาะทางด้านพลังงาน(Energy Technology) แต่จะขยายผลไปยังด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and communication technology) และเทคโนโลยีวัสดุ (Material Technology)8. นโยบายปฏิรูปพลังงานเป็นนโยบายที่ต้องใช้งบประมาณสูง(ระดับพันล้านยูโร) จะทำอย่างไรให้การปฏิรูปพลังงานมีต้นทุนไม่สูงสำหรับผู้บริโภคจนเกินไป และมีความคุ้มค่าในการลงทุน ? ประเทศเยอรมนี ต้องจ่ายเงินสำหรับการนำเข้าถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ ปีละกว่า 80,000 ล้านยูโร เงินที่ต้องจ่ายออกไปนอกประเทศแต่ละปีๆ นั้น ถ้าสะสมกันก็จะเป็นเงินจำนวนมหาศาล หากสามารถลดการนำเข้าพลังงานด้วยการผลิตพลังงานหมุนเวียน ก็จะทำให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโต และมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหลักประกันในเรื่องความคุ้มค่าในการลงทุน ถึงแม้นว่าในระยะแรกเริ่มซึ่งเป็นระยะการลงทุน ผู้บริโภคจะต้องจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ค่าพลังงานที่จ่ายสำหรับครัวเรือนคิดเป็นมูลค่าเพียง 3% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในครัวเรือน9. การลดการใช้ไฟฟ้าเป็นเป็นความยั่งยืนสูงสุด การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพจะมีความหมายอย่างไรต่อ การปฏิรูปพลังงาน ? การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นเสาหลักแท่งที่สองของการปฏิรูปพลังงาน รองจากการใช้พลังงานหมุนเวียน การประหยัดพลังงานและใช้พลังงานอย่างมีประสิทธภาพ ทำให้ลดการสร้างโรงไฟฟ้าและโครงข่ายการจ่ายกระแสไฟฟ้าลง การใช้กระแสไฟฟ้าในเยอรมนีลดลงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2007 และเป้าหมายในการลดการใช้ไฟฟ้าลง 10 % ในปี 2020 ยังคงเป็นเป้าหมายที่ยังห่างไกลอยู่ อย่างไรก็ตาม ภาคการเมืองก็ต้องมีมาตรการออกมาสำหรับผลักดันให้เป้าหมายเป็นจริง10. การเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์มีผลต่อการปฏิรูปพลังงานอย่างไร ? หลายๆ คนเข้าใจว่า การประกาศเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ของเยอรมนี เกิดจากปฏิกริยาของ เหตุการณ์ ฟูกูชิมา ที่ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2011 แต่แผนการเลิกการใช้นิวเคลียร์ได้เริ่มมาก่อนนั้นแล้ว การสนับสนุนพลังงานหมุนเวียนได้เริ่มมาตั้งแต่ปี 1990 และออกมาเป็น พระราชบัญญัติพลังงานหมุนเวียน(EEG) ในปี 2000 โดยในปีนี้ รัฐบาลเยอรมนีได้ทำความตกลงกับผู้ประกอบการผลิตพลังงาน ว่าจะเลิกการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในปี 2020 มติของรัฐบาลนายกแองเจลา แมร์เคิล ในปี 2011 คือ ลดการใช้ ถ่านหิน น้ำมัน และ เลิกการใช้นิวเคลียร์ เพิ่มการใช้พลังงานจากลม แสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ ไบโอแมส และความร้อนจากใต้พื้นพิภพ หวังว่าการปฏิรูปพลังงานในไทย จะทำให้คนไทยสามารถมีพลังงานใช้อย่างยั่งยืน ในราคาที่เป็นธรรม และค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงานในครัวเรือนจะลดลงสามารถอยู่ที่ระดับ 3 %  ของค่าใช้จ่ายในครัวเรือน แหล่งข้อมูล DE Magazin Deutschland ฉบับที่ 1/2014 //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 152 หลักการคืนรถใหม่ที่มีข้อบกพร่อง : แนวทางปฏิบัติในประเทศเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการติดตามข่าวปัญหาของผู้ซื้อรถเชพโรเลทครูซ ที่พบว่ารถเกิดข้อบกพร่อง และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ เป็นอันตรายต่อคนขับและผู้โดยสารได้ ผู้บริโภคพยายามที่จะขอให้ทางบริษัทซื้อรถคืน ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนการทดสอบพิสูจน์ ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมก่อนที่จะฟ้องร้องต่อศาล ในกรณีที่ไม่สามารถไกล่เกลี่ยกันได้นั้น ผมมีแนวทางในเรื่องนี้ โดยจะขอเล่าแนวทางปฏิบัติของทางเยอรมันดังต่อไปนี้ครับ ในกรณีที่ซื้อรถใหม่ โดยปกติผู้บริโภคจะได้รับการประกันสองรูปแบบ คือ การรับประกันจากผู้ขาย ที่เรียกว่า Dealer Guarantee และได้รับประกันจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ เรียกว่า Manufacturer Guarantee โดยจะมีระยะเวลาประกันนาน 2 ปี  ในกรณีที่ผู้บริโภคพบว่ารถมีข้อบกพร่อง (Defects) หลังจากส่งมอบรถก่อน 6 เดือนจะใช้สิทธิการประกันรถก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าหลังจาก 6 เดือนไปแล้ว ต้องพิสูจน์ว่ารถตอนส่งมอบนั้นมีข้อบกพร่อง และผู้บริโภคใช้รถอย่างถูกต้อง จึงจะสามารถใช้สิทธิจากการรับประกันของผู้ผลิตได้ ในกรณีที่รถใหม่เป็นรถที่มีข้อบกพร่องหลายจุด (Montagsauto: Monday cars) เบื้องต้นผู้บริโภคไม่สามารถจะคืนรถได้ทันที ต้องปล่อยให้ทางผู้ขาย หรือ ผู้ผลิตทำการซ่อมแซมรถก่อน และหากลองซ่อมแล้ว 2 ครั้งยังไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องได้ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะร้องเรียนต่อผู้ผลิต หรือฟ้องร้องต่อศาลเพื่อยกเลิกสัญญา หรือให้ทางผู้จำหน่ายซื้อรถคืนได้ อย่างไรก็ดี ผู้บริโภคที่จะขายรถคืนให้กับทางบริษัทนั้น โดยทั่วไปจะโดนหักค่าเสื่อมราคา คิดเป็น 0.67% ของราคาเต็มของรถต่อระยะทางที่รถวิ่ง 1000 กิโลเมตร เนื่องจากลักษณะของรถ Monday cars นี้ มักจะมีจุดบกพร่องหลายๆ จุด เพราะฉะนั้นหากรถจอดอยู่ในอู่ซ่อมเป็นระยะเวลานานๆ รวมแล้วมากกว่าระยะเวลาที่รถวิ่ง ผู้บริโภคก็สามารถใช้ประเด็นนี้ ฟ้องร้องต่อศาลเพื่อยกเลิกสัญญาการซื้อขาย โดยเป็นกรณีที่เรียกว่า “สินค้าอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถยอมรับได้” (Unzumutbarkeit: Unacceptability) สามารถขอเปลี่ยนรถใหม่ หรือขอให้ทางบริษัทซื้อรถคืนกลับไปได้เช่นกัน แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่ รถ แสดงอาการว่าผิดปกติและอาจส่งผลต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของคนขับและผู้โดยสาร ก็สามารถที่จะใช้สิทธิผ่าน กฎหมายสินค้าที่ไม่ปลอดภัยได้ (Product Liability Law) โดยบังคับให้ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายเป็นฝ่ายพิสูจน์ ในกรณีที่เป็นคดีฟ้องร้องไม่สามารถตกลงไกล่เกลี่ยกันได้ แต่เนื่องจากในเยอรมันหรือประเทศที่ให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพของผู้บริโภคและประชาชน หากรถยนต์ส่อเค้าว่ามีข้อบกพร่อง ทางบริษัทก็จะทำการแสดงความรับผิดชอบทันที ไม่ต้องใช้กฎหมายมาบีบบังคับ เหมือนในเมืองไทย เพราะทางบริษัทผลิตรถยนต์ เป็นห่วงเรื่องภาพพจน์ของยี่ห้อเขา มากกว่าที่จะใช้สิทธิในการต่อสู้คดีความทางศาลครับ และกรณีรถยนต์เชพโรเลทนี้ คาดว่าผู้บริโภคของไทยยังต้องเหนื่อยกับการเรียกร้องสิทธิให้ผู้ประกอบการมีความรับผิดชอบอีกพอสมควรทีเดียว ตรงนี้เป็นตัวชี้วัดสำหรับการรับผิดชอบต่อสังคมได้เป็นอย่างดีว่าเป็นอย่างไร แหล่งข้อมูล www.adac.de

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 141 การจัดการธุรกิจที่เข้าข่ายการพนันของ เยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการสำหรับเนื้อหาช่วง ฉลาด ช้อปในครั้งนี้ ยังคงอยู่แวดวงโทรคมนาคมครับ เพราะหลังจากการประมูลคลื่น 2.1 GHz  สังคมและเสียงส่วนใหญ่ก็ได้ตั้งข้อสงสัยต่อคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ จนสุดกำลังความสามารถหรือเปล่าในการที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชนตามที่ได้ทุ่มทุนออก spot โฆษณา ว่าเป็นภารกิจเพื่อชาติ แต่เมื่อการประมูลเสร็จสิ้นลง คนที่ยิ้มได้ก่อนกลับเป็นผู้ประกอบการสามราย ซึ่งก็คงต้องเป็นหน้าที่ของ กทค. เองที่จะต้องพิสูจน์ให้สังคมเห็นครับ ว่าการออกแบบการประมูลนั้นสมเหตุสมผลตามหลักวิชาการ และไม่เอื้อประโยชน์เอกชน สำหรับผู้บริโภคนั้นคงต้องจับตาดูการทำงาน ของ กทค. ในประเด็นราคาที่จะถูกลง และการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ท่านประธาน กทค.ให้สัมภาษณ์ว่าจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ องค์กรผู้บริโภคของไทยคงต้องทำหน้าที่ตรวจสอบมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไปครับ   สำหรับมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อประเทศไทยจะก้าวไปสู่ยุค 3 G นั้น การใช้ช่องทางการสื่อสารด้วยเทคโนโลยีแบบใหม่นี้ ภาครัฐและองค์กรกำกับดูแลอย่าง กสทช.ก็ต้องฉลาด และเท่าทันกับ 3ก (เกมส์-กล-โกง) ของธุรกิจเกี่ยวเนื่องด้วย โดยเฉพาะในยุค 3G นั้น มีการกล่าวกันไว้ว่า 3G ที่กล่าวถึงนั้นคือ Girl, Game and Gambling ปัจจุบันนี้เราจะเห็นการโฆษณาชักจูงให้เราต้องเสียสตางค์กับเรื่องเหล่านี้มาก จนเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้ว แต่สำหรับการกำกับดูแลในประเทศเยอรมนีเขาไม่ได้มองว่าเรื่องนี้ธรรมดาครับ องค์กรกำกับดูแลเขาเอาจริง ทำจริงเพราะมองว่า ไม่สมควรที่จะให้ธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภค ล่อลวงเด็กและเยาวชนนั้นใช้เทคโนโลยีนี้เหล่านี้ทำลายคนในชาติของเขาครับ มาดูว่า กสทช.ของเยอรมันให้ความสำคัญอย่างไรกับเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค “ศาลปกครองสูงสุดแห่งมลรัฐนอร์ดไรน์เวสฟาเลน (OVG Nordrheinwestfalen) ได้ตัดสินยืนตามมติของ กสทช. แห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ที่ได้สั่งระงับการคิดค่าบริการ เนื่องจากเป็นบริการที่เข้าข่ายการเล่นพนัน “คำตัดสินของศาลได้ยืนยันถึงอำนาจหน้าที่ของ กสทช*. (die Bundesnetzagentur) ในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเด็นเรื่องการให้บริการที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค (unlautere Geschäftspraktiken) และเป็นธุรกิจที่ผิดกฎหมาย และเราจะติดตามสอดส่องพฤติกรรม และป้องปราม การทำธุรกิจประเภทนี้” มัทเทียส คัวร์ท ประธานกสทช.ได้กล่าวย้ำถึงคำตัดสินของศาลปกครอง ในเดือนธันวาคม 2010 และเดือนมกราคม 2011 กสทช.*(die Bundesnetzagentur)  ได้สั่งห้ามผู้ประกอบการรับเงินจากผลการประกอบการ ภายใต้หมายเลข Artikel-/Leistungsnummer 61404 และ 83917 (product identity 11004 และ 12000 เนื่องจากภายใต้หมายเลขนี้ บริษัท telomax GmbH ได้ให้หลายๆ บริษัทที่เช่าเลขหมายทำการตลาด ที่อยู่ในรูปของการพนัน นอกจากนี้ ภายใต้หมายเลขนี้ หลายๆบริษัทยังได้ทำการตลาดโดยใช้การโฆษณาชักจูงทางโทรศัพท์ที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคด้วย (unerlaubter Werbeanrufen) โดยบริษัทได้โฆษณาชวนเชื่อว่า เป็นผู้ได้รับรางวัลเครื่องสำอางมูลค่า 100 ยูโร ซึ่งหลังจากที่โฆษณาชักจูงผ่านโทรศัพท์แล้ว ผู้บริโภคก็จะตกเป็นเหยื่อคือ หลงสมัครเล่นพนัน ของเวบไซต์ win-finder.com หรือ glücksfinder.net หลังจากที่ กสทช. (die Bundesnetzagentur) ได้ออกคำสั่งการห้ามเรียกเก็บเงินจากการประกอบธุรกิจดังกล่าว ทางบริษัทได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองสูงสุดแห่งมลรัฐ และศาลก็ได้มีคำตัดสินยืนตามคำสั่งของทาง กสทช. บทสรุปจากการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมของประเทศเยอรมนีคือ ไม่ส่งเสริมการทำธุรกิจประเภทหลอกลวง เอาเปรียบ และผิดกฎหมาย จริงๆ องค์กรกำกับดูแลในประเทศที่เจริญแล้ว เขามีอำนาจ และประชาชนไม่เคยสงสัยหรือ ต้องตั้งคำถามเกี่ยวกับอำนาจที่ประชาชนให้มานั้นเลย ถ้าองค์กรกำกับดูแลใช้อำนาจในการกำกับดูแล และให้ความสำคัญกับผลประโยชน์ของประชาชนและสังคม มากกว่าประโยชน์ในการค้าขาย ที่มา Press release of die Bundesnetzagentur 27.05.2011 หมายเหตุ Die Bundesnetzagentur ( Federal Network Agency) ทำหน้าที่ เป็นผู้กำกับดูแลโครงข่าย ขนาดใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ไฟฟ้า ท่อขนส่งก๊าซ โทรคมนาคม รางรถไฟ และไปรษณีย์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 ปัญหาลิขสิทธิ์ เมื่อเข้าสู่ยุคหลอมรวมเทคโนโลยี ในเยอรมนี

โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ด้านสินค้าและบริการ สำหรับบทความในวันนี้ จะขออธิบายสถานการณ์การแพร่ภาพโทรทัศน์ ของประเทศเยอรมนี ที่มีการเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญาณทีวีจากระบบอนาลอก มาเป็นระบบดิจิตอล สมบูรณ์แบบ และมีการหลอมรวมเทคโนโลยี คือประชาชนสามารถเลือกชมรายการโทรทัศน์ผ่านเครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ และรับชมรายการผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงที่เรียกว่า ทีวีออนไลน์ได้ทั้งสองช่องทาง ความสะดวกในการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านทางอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงนั้นเป็นที่นิยมในเยอรมันอย่างมาก เพราะสามารถรับชมรายการโทรทัศน์ได้ทุกที่ และทุกเวลา สามารถเลือกชมรายการที่แพร่ภาพผ่านไปแล้วก็ได้ และที่น่าสนใจยิ่งขึ้นสำหรับการชมรายการผ่านระบบอินเตอร์เน็ตคือ สามารถบันทึกรายการต่างๆ ที่ชื่นชอบ เพื่อนำมาดูกี่ครั้งๆ ก็ได้เช่นกัน สำหรับการนำรายการที่เผยแพร่ออกอากาศมาบันทึกเก็บไว้ เป็นการส่วนตัวนั้น  สมัยก่อนก็เคยเกิดคดีฟ้องร้องระหว่างบริษัทที่สร้างหนังของฮอลลิวูด กับบริษัทโซนี่ เนื่องจากบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ เกรงว่าความสามารถในการบันทึกเนื้อหาลงบนวิดีโอเทปนั้น จะทำให้รายได้ของบริษัทผู้สร้างหนังลดลง เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของตนเอง คดีฟ้องร้องดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ 35 ปีที่แล้วเป็นที่ฮือฮาในประเทศสหรัฐอเมริกา คดีประวัติศาสตร์นี้มีชื่อว่า Betamax-Case และผลของคำตัดสินของศาลฎีกาสูงสุด (US supreme court) ได้ตัดสินให้โซนี่ชนะคดี ทำให้เรา(ผู้ที่ชื่นชอบการดูหนัง) สามารถบันทึกภาพยนตร์ลงบนวิดีโอเทปได้ เพื่อนำมาชมซ้ำเป็นการส่วนตัว 35 ปีให้หลังเกิดคดีลักษณะคล้ายๆ กันในประเทศเยอรมนี เนื่องจากสถานีโทรทัศน์เอกชนยักษ์ใหญ่สองช่อง คือ RTL และ SAT1 กำลังดำเนินคดีฟ้องร้องเวบไซต์ที่ให้บริการ การบันทึกการแพร่ภาพอัตโนมัติผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (Online Recorder) เนื่องจากในเยอรมันมีเวบไซต์ให้บริการการบันทึกรายการอัตโนมัติ คือ Save.tv และ Bong.tv เวบไซต์ดังกล่าวสามารถค้นหารายการโทรทัศน์ และบันทึกรายการแบบอัตโนมัติผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เนื่องจากสถานีโทรทัศน์ทั้งสองช่องมักจะมีรายการดีๆ กีฬาดี และซีรีส์ดีๆ มานำเสนอต่อผู้ชม จึงมีจำนวนเรตติ้งค่อนข้างสูงกว่าช่องทีวีสาธารณะ ใครที่เป็นสมาชิก save.tv หรือ Bong.tv สามารถตั้งโปรแกรมให้บันทึกเนื้อหาได้แบบอัตโนมัติ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเปิดอินเตอร์เน็ตทิ้งไว้เลย เมื่อโปรแกรมทำการบันทึกรายการเสร็จแล้ว ผู้ชมสามารถที่จะชมรายการออนไลน์ โดยการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือสามารถดาวน์โหลดรายการที่ชื่นชอบเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัว แล้วอยากจะชมรายการตอนไหนก็ได้ เนื่องจากทางฝั่งสถานีโทรทัศน์เกรงในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ จึงได้ฟ้องเวบไซต์ที่ให้บริการดังกล่าว แต่ศาลสูงของเยอรมันได้ตัดสินให้เวบไซต์ที่ให้บริการ Online Recorder ชนะคดี โดยให้เหตุผลว่าการบันทึกรายการโทรทัศน์ดังกล่าวเป็นไปเพื่อการใช้งานส่วนบุคคล (BGH, Az. I ZR 215/06 และ I ZR 175/07 ราคาการสมัครเป็นสมาชิกของเวบไซต์ online recorder ดังกล่าวก็ไม่แพง เพียง 10 ยูโรต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าค่าธรรมเนียมบำรุงทีวีสาธารณะ ซึ่งเป็นหน้าที่ ที่ทุกครอบครัวต้องจ่ายสมทบให้กับ สำนักงานจัดเก็บค่าธรรมเนียมการบริโภคสื่อสาธารณะ (Die Gebühreneinzugszentrale GEZ) ในราคา 18 ยูโร ถึงแม้สถานีโทรทัศน์เอกชนทั้งสองช่องจะแพ้คดี แต่ก็ยังไม่ลดละความพยายาม  โดยที่จะปิดช่องว่างทางธุรกิจการบันทึกรายการออนไลน์ ก็ได้มีแผนที่จะสร้าง Mediathek (คลังของรายการโทรทัศน์ที่ได้ออกอากาศไปแล้ว) เนื่องจากรายได้ที่สำคัญของสถานีโทรทัศน์และรายการขึ้นอยู่กับเรตติ้ง การเข้าชมรายการ หากทางสถานีไม่เสนอบริการนี้ ก็จะเสียประโยชน์ตรงส่วนนี้ไป ในประเด็นข้อกฎหมายการบันทึกรายการโทรทัศน์อีกประเด็นหนึ่ง ที่ยังอยู่ในการฟ้องร้องระหว่างเวบไซต์ให้บริการ online recorder กับสถานีโทรทัศน์ ก็คือ เวบไซต์ onlinetvrecorder.com มี option การดึงรายการจากโทรทัศน์ที่ผู้ชมเองไม่ได้ทำการบันทึกเก็บไว้ ตรงนี้เลยกลายเป็นประเด็นว่าอาจละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งคดีนี้ยังอยู่ในการพิจารณาคดีของศาลอยู่ ในอนาคตองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคอาจต้องเข้ามาช่วยเหลือให้คำแนะนำ ในประเด็นนี้ครับ เพราะการละเมิดกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้บริโภคมักจะเสียค่าปรับ หรือค่าเตือนเป็นวงเงินที่สูงมาก ซึ่งเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ผู้บริโภคสื่อในยุโรปประสบปัญหาอยู่ครับ ที่มา (Finanztest 9/2012)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 138 บทเรียนจาก ทีวีอนาลอก สู่ยุคดิจิตอล: บทสรุปของความสำเร็จในประเทศเยอรมนี (ตอนจบ)

สำหรับบทความในวันนี้ จะขอแปลบทสรุปของประเทศเยอรมนี การเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญาณทีวีจากระบบอนาลอก มาเป็นระบบดิจิตอล (Digital Video Broadcasting- Terrestrial: DVB-T)  ซึ่งคาดว่าประเทศไทยน่าจะใช้ระบบการส่งสัญญาณแบบนี้ในอนาคต ตามแผนแม่บทกิจการโทรทัศน์ที่ได้กำหนดให้ประเทศไทยต้องมีการเปลี่ยนการส่งสัญญาณโทรทัศน์เป็นระบบดิจิตอล นอกจาก กสทช.ที่เป็นองค์กรกำกับดูแลแล้ว หน่วยงานอื่นที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องจะต้องเข้ามาทำงานร่วมกัน และต้องทำอย่างจริงจัง ไม่เกี่ยงงอนปัดความรับผิดชอบ ทำงานแบบร่วมไม้ร่วมมือกัน ทั้งฝ่ายรัฐบาลรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง และสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ผลประโยชน์โดยรวมก็จะตกถึงประชาชนคนไทยตามเจตนารมณ์ของแผนแม่บทที่ได้ประกาศไว้   ปี 2003 ทดสอบการส่งสัญญาณระบบดิจิตอล ในเชิงพาณิชย์ เป็นครั้งแรกในเขตพื้นที่ เบอร์ลินและพอรท์สดัม หลังจากทดสอบนานกว่า 6 เดือน ซึ่งการทดสอบครั้งนี้ได้นำไปสู่  โครงการนำร่องในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ของการส่งสัญญาณทั่วประเทศเยอรมนี   ปี 2005 สถานีโทรทัศน์สาธารณะ(ฟรีทีวี) ทั้งสองช่อง คือ ช่อง ARD และ ZDF ได้ทำการตกลงร่วมกันในการติดตั้งและสร้างโครงข่ายสถานีกระจายสัญญาณให้คลอบคลุมการเข้าถึงสัญญาณ ของประชากร 90 %ทั้งประเทศ และตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา ก็ได้มีการขยายการส่งสัญญาณออกไปยังรัฐอื่นตามมา เริ่มจาก รัฐเมคเคลนบวร์ก ทางตะวันออก และสามารถเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญาณเสร็จสมบูรณ์ ในปี 2008 สำหรับความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีครั้งนี้ คือการที่ประชาชนได้ตัดสินใจ ยอมรับการรับสัญญาณในระบบดิจิตอล สืบเนื่องมาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น สถานีโทรทัศน์สาธารณะ หน่วยงานกกำกับดูแลด้านกิจการโทรทัศน์ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ ให้กับภาคประชาชน ภาคธุรกิจ และภาคสื่อสารมวลชน อย่างต่อเนื่อง มีการจัดตั้งหน่วยงานประชาสัมพันธ์ ในระดับภูมิภาค เพื่อให้ข้อมูลกับประชาชน และเตรียมความพร้อมในการรับสัญญาณ เนื่องจากในประเทศเยอรมนีการส่งสัญญาณภาคพื้นดินคลอบคลุมถึง 90% ของจำนวนประชากรทั้งหมด การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลจึงส่งสัญญาณเป็นแบบ DVB-T (Digital Video Broadcasting- Terrestik*) นอกจากนี้ประชากรกว่า 30% ก็สามารถรับสัญญาณด้วยหนวดกุ้งได้ และจากรายงานของสมาคมผู้ประกอบการเครื่องรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ (Gesellschaft für Unterhaltungs- und Kommunikationselektronik) สามารถจำหน่ายเครื่องรับโทรทัศน์ได้มากกว่า 16 ล้านเครื่อง (ข้อมูลวันที่ 21 พฤศจิกายน  2008) ซึ่งเครื่องรับโทรทัศน์ในยุคปัจจุบันนี้ ก็เป็นโทรทัศน์จอแบน ที่ได้ออกแบบมาให้สามารถรับสัญญาณแบบดิจิตอลได้ โดยไม่ต้องไปเพิ่มอุปกรณ์เสริมใดๆ อีก นอกจากนี้การรับสัญญาณโดโทรทัศน์โดยตรงผ่านคอมพิวเตอร์ แล็บทอป ก็สามารถทำได้โดยใช้อุปกรณ์เสริม ในส่วนของอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์รับสัญญาณโทรทัศน์แบบดิจิตอลในรถยนต์มาตั้งแต่ ปี 2002 จากข้อมูลของกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ มีการติดตั้งทีวีดิจิตอลในรถยนต์ไปแล้วกว่า 550,000 คัน ในส่วนของการรับประกันคุณภาพของอุปกรณ์รับสัญญาณแบบดิจิตอลนั้น ก็ได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการทำงานของอุปกรณ์ประเภทนี้ เพื่อให้ประชาชนสามารถมั่นใจในการเลือกซื้ออุปกรณ์ดังกล่าว ว่าจะได้รับอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งอุปกรณ์ใดๆ ผ่านการทดสอบมาตรฐานดังกล่าว ก็จะได้รับเครื่องหมายนี้ แผนการในอนาคต เนื่องจากการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีการส่งสัญญาณจากอนาลอกมาเป็นดิจิตอล จะต้องคำนึงถึงประเด็น Digital Divide เพราะคลื่นที่เคยใช้ส่งสัญญาณในช่วงความถี่ (UHF: Ultra High Frequency) จะว่างลง ซึ่งจะต้องมีการวางแผนและเตรียมการใช้คลื่นความถี่นี้ ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างสูงสุด และประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงการใช้ประโยชน์ได้ นอกจากนี้การเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีจะต้องคำนึงถึง ความเป็นมิตรต่อผู้บริโภค สร้างภาระและข้อจำกัดกับผู้บริโภคให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ -------------- หมายเหตุ : ระบบการส่งสัญญาณแบบดิจิตอลของเยอรมนีจะมี 3 ประเภทได้แก่ DVB-T: Digital Video Broadcast-Terrestrial การส่งสัญญาณดิจิตอลภาคพื้นดิน DVB-S: Digital Video Broadcast-Satellite การส่งสัญญาณดิจิตอลระบบดาวเทียม DVB-C: Digital Video Broadcast- Cable การส่งสัญญาณดิจิตอลระบบเคเบิล

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 137 บทเรียนจาก ทีวีอนาลอก สู่ยุคดิจิตอล : บทสรุปของความสำเร็จในประเทศเยอรมนี

คดีระหว่างองค์กรผู้บริโภคและผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น ช่อง 3, 5 ช่อง 9 อสมท. และกองทัพบกยังไม่จบครับ แม้นจะเป็นที่น่าเสียดายที่ศาลไม่ยอมออกคำสั่งคุ้มครอง โดยศาลให้เหตุผลว่าหากศาลมีคำสั่งให้ทางทีวีสาธารณะเผยแพร่สัญญาณออกอากาศทุกช่องทาง อาจทำให้เจ้าของลิขสิทธิ์ คือ UEFA สั่งระงับสัญญาณการถ่ายทอดสัญญาณได้ทันที ซึ่งอยู่นอกเหนืออำนาจศาล และมีผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่สามารถรับชมบอลยูโรได้ และการที่ศาลไม่มีคำสั่งคุ้มครอง ก็ยังสามารถรับชมการถ่ายทอดสัญญาณผ่านช่องทางอื่นได้ (ถ้ายังจำกรณีวิกฤติระหว่างประเทศทั้งสองที่เครื่องบินส่วนพระองค์ถูกทางเยอรมันอาญัติไว้เป็นการชั่วคราว จนทำให้มีหลายคนในรัฐบาลเดือดร้อนกันไปตามๆ นั้น จะเห็นได้ว่า การตัดสินของศาลเยอรมนี จะคำนึงถึงหลักนิติธรรม เป็นที่ตั้ง ในกรณีนี้ หากเป็นศาลไทยผมยังสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ศาลคงหาเหตุผลมาอธิบายในการที่จะไม่ปฏิบัติตามหลักนิติธรรม ซึ่งประชาชนอย่างเราก็ต้องจับตามองการทำงานขององค์กรศาลด้วยเช่นกัน)   สำหรับประเด็นการทำผิดกฎหมายแล้วอยู่นอกเหนืออำนาจศาลนั้น เคยมีกรณีของศาลอาญาเยอรมนี ได้สั่งให้ทางเฟสบุค ซึ่งเป็นผู้เก็บข้อมูล ไว้ที่ประเทศไอร์แลนด์เหนือ ส่งหลักฐานมาให้ศาลเพื่อประกอบการพิจารณา จริงๆ แล้ว หากศาลของเรามีความตั้งใจจริงในการไต่สวน เพราะในคดีผู้บริโภคก็ได้เปิดช่องไว้เช่นกันนั้น น่าจะลองทำดู โดยการส่งหนังสือเรียก  UEFA มาเป็นพยานให้การ เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดี ที่ในอนาคตจะมีปัญหาเรื่องพรมแดนและขอบเขตอำนาจศาล ในประเด็นการทำผิดหรือละเมิด ในโลกไซเบอร์อย่างแน่นอน สำหรับบทความในวันนี้ จะแปลบทสรุปของประเทศเยอรมนี การเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญาณทีวีจากระบบอนาลอก มาเป็นระบบดิจิตอล (Digital Video Broadcasting- Terrestic: DVB-T) ซึ่งคาดว่าประเทศไทยน่าจะใช้ระบบการส่งสัญญาณแบบนี้ในอนาคต ใครอยากเตรียมความพร้อม ในเรื่องนี้ ผมจะหาข้อมูลมาเล่าให้ฟังเป็นระยะๆ เพราะขณะนี้ไม่มีองค์กรไหนที่ผู้บริโภคสามารถพึ่งพาได้เลย  เป็นเรื่องที่ต้องยึดถือพุทธสุภาษิตว่า ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน รายงานฉบับนี้มีทั้งหมด 21 หน้าครับ สำหรับวันนี้ผมจะสรุปให้ฟังดังนี้ บทสรุปการเปลี่ยนการส่งสัญญาณแพร่ภาพและกระจายเสียงจากอนาลอกมาสู่แบบดิจิตัล (DVB-T) ตั้งแต่ปี ค ศ. 2008 เป็นต้นมาการเปลี่ยนผ่านการส่งสัญญาณการแพร่ภาพจากแบบอนาลอก มาเป็นแบบดิจิตอลนั้น ของโทรทัศน์ภาคพื้นดินนั้นได้เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายทุกประการ  การเปลี่ยนผ่านดังกล่าวนอกจากไม่ใช่จะเป็นไปตามที่ข้อกำหนดของกฎหมายที่ระบุไว้เพียงเท่านั้นแต่ยังดีกว่าที่กำหนดอีกด้วย เพราะ การเปลี่ยนการส่งสัญญาณแต่เดิมนั้น จะต้องทำให้เสร็จสิ้นในปี 2010 แต่การเปลี่ยนการส่งสัญญาณสำเร็จล่วงหน้าก่อน 2 ปี คือ ปี 2008 เนื่องจากการส่งสัญญาณภาคพื้นดินในเยอรมนีนั้น ครอบคลุมประชากรถึง 90 กว่า % ประชากรจำนวน 74 ล้านคนสามารถเข้าถึงการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (DVB-T) ผ่านเสาก้างปลา และประชากรจำนวน 24 ล้านคนสามารถรับสัญญาณด้วยเสาหนวดกุ้งได้เช่นกัน ขณะนี้ (เดือน ธันวาคม 2008) สามารถขายเครื่องแปลงสัญญาณได้มากกว่า 16 ล้านเครื่อง หมายความว่าเรากำลังเข้าสู่ยุค เรเนสซองส์ ของการรับส่งสัญญาณภาคพื้นดิน  Renaissance of the Terrestic) การตัดสินใจในการเปลี่ยนเทคโนโลยีการส่งสัญญาณนั้นนับได้ว่า เป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง และนำพาประเทศไปสู่ความทันสมัย การส่งสัญญาณแบบดิจิตอลนี้ มีส่วนช่วยกระตุ้นการแข่งขันของตลาดการส่งสัญญาณแพร่ภาพ และมีผลต่อตลาดเครื่องรับโทรทัศน์แบบมือถือ (Mobile- TV) และโทรทัศน์แบบเคลื่อนที่ (Portable- TV) อีกด้วย คอนเซปต์ในการเปลี่ยนการส่งสัญญาณ ปี ค.ศ. 1998 ในการประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐการ (Bundeswirtschaftministerium) ได้นำเสนอโครงการ ความคิดริเริ่มในการส่งสัญญาณแบบดิจิตอล (Inititative Digitaler  Rundfunk) โครงการดังกล่าวเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงเศรษฐการ และรัฐบาลท้องถิ่นของเยอรมนี ตลอดจนตัวแทนจากสถานีวิทยุโทรทัศน์สาธารณะ สถานีวิทยุโทรทัศน์เอกชน และองค์กรกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่ (Federal Network Agency) และผู้ประกอบการให้บริการโครงข่ายสัญญาณ ก่อนที่จะได้ข้อสรุป การส่งสัญญาณแพร่ภาพกระจายเสียงมาเป็นระบบดิจิตอลนั้น ได้มีการนำเสนอโมเดลรูปแบบต่างๆ เพื่อทำการทดลอง ปี ค.ศ. 1998- 2004 ได้ติดตั้งและทดสอบโครงข่ายส่งสัญญาณทางตอนเหนือของประเทศเยอรมนี ได้แก่ ระหว่างเมือง โวล์ฟสบวร์ก (Wolfsburg) ถึงเมือง เบรเมนฮาเวน (Bremenhaven) และระหว่างเมืองฮันโนเวอร์ (Hannover) ถึงเมืองฮัมบวร์ก (Hammburg) นอกจากนี้ยังได้ทดลองส่งสัญญาณในกรุงเบอร์ลิน ตามสนธิสัญญาเชสเตอร์ (Chester Agreement) ปี 1997 การทดสอบดังกล่าวมีขึ้นเพื่อหาเงื่อนไข (Parameter) ที่ดีที่สุดในการส่งสัญญาณ ปี 1997-1999 ทดสอบระบบส่งสัญญาณดิจิตอล แบบ DVB-T ในย่านเมืองมิวนิค รัฐบาวาเรียทางตอนใต้ของเยอรมนี ที่เมืองโคโลญจ์ ทดสอบการรับสัญญาณด้วยเครื่องทีวีแบบพกพา ภายใต้การเคลื่อนที่ความเร็วสูง(เรียกว่า การทดสอบ Maserati-Test : เนื่องจากทดสอบภายใต้การรับสัญญาณที่ความเร็วสูง เหมือนกับรถสปอร์ต Maserati) ปี 2000 มีการจัดงานงาน EXPO 2000 ที่เมืองฮันโนเวอร์(มีผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเราหลายคนไปเยี่ยมชมงานนี้กัน) ซึ่งทางเยอรมนีได้จัดเตรียมรถโฟล์กสวาเกน (VW) สำหรับรับแขกบ้านแขกเมืองที่ไปเยี่ยมชมงานนี้ ในรถรับรองแขกบ้านแขกเมืองนั้น ได้ติดตั้งระบบรับสัญญาณ DVB-T จนนำมาสู่การยอมรับของระบบส่งสัญญาณและแพร่ภาพด้วยระบบนี้ วันนี้หมดเนื้อที่สัมปทานครับ ไว้มารายงานต่อคราวหน้า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 117 พระราชบัญญัติความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย : กรณีศึกษาของประเทศเยอรมนี

  คราวนี้อาจจะไม่ได้เกี่ยวกับเรื่อง แนะนำการซื้อสินค้านัก แต่มีเรื่อง น่าสนใจเกี่ยวกับกฎหมาย ที่บ้านเราก็ออกมาได้พักหนึ่งแล้ว คือ พระราชบัญญัติความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย หรือ Product liability law แต่เป็นกรณีของเยอรมันครับ   พระราชบัญญัติความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย : กรณีศึกษาของประเทศเยอรมนี เนื่องจากในบ้านเราเวลามีคดีผู้บริโภค ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ส่วนบุคคล และถึงแม้ว่าเราจะมีกฎหมาย พรบ. วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และ พรบ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แล้วก็ตาม ปรากฏว่ายังมีปัญหาและสร้างปัญหาให้กับผู้บริโภคมาก แม้กฎหมายนี้จะเป็นกฎหมายที่ดีและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งในประเทศเยอรมันเองนั้นไม่ได้มีกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคที่ก้าวหน้าอย่างบ้านเรา แต่สิ่งหนึ่งที่ประเทศเยอรมันมี ก็คือ วิญญาณของระบบกระบวนการยุติธรรมที่ ให้ความเป็นธรรมกับคนเล็กคนน้อย และคนด้อยโอกาส วันนี้ ช่วง ฉลาด ช้อป ขออนุญาตนำคำพิพากษาคดี แอร์แบก ทำงานผิดพลาดมานำเสนอ เพื่อประกอบความรู้ ในเรื่อง Product liability law ครับ   ศาลฎีกาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีพิพากษาวางหลักกฎหมายไว้โดยได้วางหน้าที่ของผู้ผลิตไว้อย่างเคร่งครัด กล่าวคือ ผู้ผลิตใดผลิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายออกสู่ตลาดจำเป็นต้องชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ใช้สอยและอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเคร่งครัด   ข้อเท็จจริงโดยสรุป นาย ก โจทก์ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่รายหนึ่ง (รถยนต์ BMW Serie 3 Limousine) โดยได้บรรยายคำฟ้องไว้ว่า เขาได้ขับรถยนต์ของบริษัทผู้ผลิตหลบหลีกสิ่งกีดขวาง ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนต่อแผงควบคุมระบบนิรภัย และทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานอัตโนมัติ ถุงลมนิรภัยดังกล่าวได้กระแทกศีรษะโจทก์และไปกดทับเส้นเลือดใหญ่เป็นเหตุให้สมองบางส่วนตาย (cerebral infarct: สมองบางส่วนตาย) โจทก์จึงได้ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์   การดำเนินคดีในชั้นศาล นาย ก ได้ยื่นฟ้องครั้งแรกต่อศาลมลรัฐแห่งเมือง Erfurt (Landgericht Erfurt) โดยนาย ก ได้ให้เหตุผลว่า จำเลยเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์คันดังกล่าว จึงต้องรับผิดชอบกรณีถุงลมนิรภัยทำงานผิดพลาด แต่ศาลมลรัฐแห่งเมือง Erfurt ได้ยกฟ้อง หลังจากโจทก์อุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์แห่งเมืองเจนา (Oberlandesgericht Jena) ศาลอุทธรณ์พิจารณาแล้ว เห็นว่า เหตุที่ทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานคือแรงกระแทกใต้ท้องรถอย่างรุนแรง ที่ทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนคล้ายกับการชน อีกทั้งการป้องกันมิให้ถุงลมนิรภัยทำงานดังเช่นกรณีดังกล่าวในสภาพของเทคโนโลยีปัจจุบันไม่สามารถทำได้ และหากจำเป็นต้องมีการติดตั้งตัวเซนเซอร์เพื่อป้องกันการทำงานที่ผิดพลาดจะทำให้ราคาของรถสูงขึ้นมากจึงพิพากษายกฟ้อง   คำพิพากษาศาลฎีกาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี : การชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ใช้สอยและความเสี่ยง ศาลฎีกาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีพิจารณาแล้วเห็นว่า บริษัทผู้ผลิตจำเป็น ต้องมีมาตรการด้านต่างๆที่จำเป็นจำหรับการป้องกันมิให้เกิดอันตรายตั้งแต่การออกแบบและการผลิต ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้ศาลอุทธรณ์แห่งเมืองเจนากลับไปวินิจฉัยใหม่ในประเด็นความเหมาะสม เรื่องการติดตั้งเซนเซอร์แบบอัลตราซาวด์ที่จะทำให้ถุงลมนิรภัยทำงานถูกต้อง เมื่อถุงลมนิรภัยมีการสัมผัสกับตัวถังจริงๆ แม้นว่า วินิจฉัยแล้วว่า ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาแพงเกินไปนาย ก ก็ยังสมควรมีสิทธิได้รับการชดเชยค่าเสียหาย เนื่องจากศาลอุทธรณ์แห่งเมืองเจนา ต้องวินิจฉัยในประเด็นการชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์ใช้สอยและความเสี่ยงของการทำงานของถุงลมนิรภัยใหม่ กล่าวคือการชั่งน้ำหนักระหว่างอันตรายหรือความเสี่ยงที่ถุงลมนิรภัยจะทำงานผิดพลาดกับประโยชน์ใช้สอยของถุงลมนิรภัยว่ายังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการผลิตและติดตั้งถุงลมนิรภัยประเภทนี้หรือไม่   การคุ้มครองผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพผู้บริโภคได้ประโยชน์ และได้รับการเยียวยา: พรบ. ความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Produkthaftungsgesetz- Product Liability Law)ได้มีการบังคับใช้อย่างเคร่งครัดเป็นอย่างมาก หลังจากมีการประกาศใช้ พรบ. ความรับผิดต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัย 1990 ทำให้ผู้ผลิตต้องมีหน้าที่รับผิดชอบมากขึ้น บริษัทผู้ผลิตต้องจ่ายค่าเสียหายแม้ว่าจะไม่ได้มีเจตนากระทำละเมิด ในปี 2002ได้มีการบัญญัติค่าเสียหายทางจิตใจลงไปด้วย และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจะหมดอายุความหลังจากที่ผู้ผลิตได้นำผลิตภัณฑ์จำหน่ายในท้องตลาดไปแล้ว 10 ปี   (Bundesgerichtshof, Urteil vom 16. Juni 2009 Aktenzeichen: VI ZR 107/08) ที่มา: วารสาร Test ฉบับที่ 7 เดือนกรกฎาคม 2009

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 97 ช้อปนม(สด) แบบเยอรมัน

ช่วง ฉลาด ช้อปดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภคบทความในคราวนี้ขอให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับนมสดที่เป็นข่าวอื้อฉาวกรณีนมโรงเรียนที่ด้อยคุณภาพและอาจจะเป็นสินค้าที่ไม่ปลอดภัยด้วยนั้น ซึ่งมีหลายๆ องค์กรเกี่ยวข้องกับกรณีนี้ (แต่ยังหาคนรับผิดชอบไม่ได้) เลยขอเกาะกระแสเรื่องนม หาข้อมูลมาเพิ่มเติมในประเด็นของตัวสินค้าที่น่าจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคในการเลือกซื้อนมสดได้บ้าง  การแบ่งประเภทของนมนมดิบ เป็นนมที่ได้จากการรีดและผ่านกรรมวิธีการกรอง เก็บรักษาไว้ที่อุณหภูมิต่ำ ทำให้สามารถเก็บรักษาวิตามินและกรดไขมันธรรมชาติ ซึ่งจะมีค่าระหว่าง 3.8- 4.2 % นมดิบจะจำหน่ายให้แก่โรงงานเพื่อผลิตเป็นนมสดต่อไป และจะถูกควบคุมคุณภาพและมาตรฐานอย่างเข้มงวด (ของเยอรมันนะครับ) นมดิบเป็นนมที่มีคุณค่าสูงที่สุด แต่นมดิบจะมีจุลินทรีย์ก่อโรคปนเปื้อนอยู่ในนมดิบด้วยเช่นกัน จึงไม่ควรดื่มนมสดจากเต้าหรือนมดิบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะนำนมดิบมาบริโภคได้จึงต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อโดยใช้ความร้อน อย่างไรก็ตามผู้บริโภคควรทราบว่า นมที่ผ่านความร้อนแล้วนั้นคุณค่าจะยิ่งลดลงไป ยิ่งถ้าความร้อนสูงมากเท่าไร คุณค่าของนมจะลดลงมากเท่านั้น ดังนั้นในกระบวนการผลิตนมสด อาจใช้ความร้อนที่สูงมากแต่จะใช้เวลาที่สั้นมากๆ เช่นกัน  ในทางกลับกัน หากใช้ความร้อนที่น้อยเกินไป อาจจะไม่สามารถกำจัดแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดได้ ดังนั้นการใช้ความร้อนที่ต่ำแม้ว่าจะเป็นผลดีต่อคุณภาพของน้ำนม แต่ต้องใช้เวลาต้มที่นานขึ้น นมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ คือนมที่ฆ่าเชื้อแล้วโดยวิธีการผ่านความร้อนที่อุณหภูมิระหว่าง 72- 75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15- 30 วินาที นมประเภทนี้คือนมที่บรรจุในถุงหรือขวดพลาสติก หรือกล่องแบบมีฝาเกลียวปิด กระบวนการพาสเจอร์ไรซ์สามารถกำจัดจุลินทรีย์ที่อาจก่อให้เกิดโรคต่อผู้บริโภคได้ นมสดพาสเจอร์ไรซ์สามารถเก็บรักษาภายใต้อุณหภูมิต่ำได้นานถึง 8 วัน แต่ข้อเสียของกระบวนการนี้คือคุณค่านมจะลดลงไป วิตามินที่อยู่ในน้ำนมจะสูญเสียไปถึง 10 % ส่วนนมสดที่อยู่ในหม้อต้มขายตามรถเข็นหรือ ร้านนมสดต่างๆ นั้น จะมีคุณค่ามากกว่าเนื่องจากจะใช้ความร้อนในระดับที่ต่ำแต่เป็นเวลานาน (ต้มไปเรื่อยๆ)  นมประเภท ESL: Extended Shelf Life เป็นนมที่มีรสชาติเหมือนกับนมพาสเจอร์ไรซ์ และมีคุณค่าทางโภชนาการใกล้เคียงกับนมพลาสเจอร์ไรซ์ แต่สามารถเก็บได้นานกว่าถึง 3 อาทิตย์ กระบวนการผลิตนมชนิดนี้ คือให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 127 องศาเซลเซียสนาน 2-3 วินาที นมประเภทนี้เรียกว่า นมยืนหรือนมยาวก็ได้ เพราะมีอายุในการเก็บรักษายาวนาน (long life fresh milk) นม ยูเอชที (UHT: Ultra High Temperature) เป็นนมที่สามารถเก็บไว้ได้นาน เพราะผ่านความร้อนสูงที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส ใช้เวลาสั้นมากคือ 1-2 วินาทีเท่านั้น นมยูเอชทีเป็นนมที่บรรจุกล่องวางขายทั่วไป ซึ่งจะสามารถเก็บได้โดยไม่ต้องใส่ตู้เย็นเป็นเวลานาน แต่นมประเภทนี้จะมีคุณค่าทางอาหารน้อยกว่านมประเภทอื่นที่ได้กล่าวมาในที่นี้เนื่องจากผ่านความร้อนสูงมากกระบวนการโฮโมจีไนเซชัน (Homogenization) นมสดทุกประเภทที่กล่าวมาแล้วจะผ่านกระบวนการนี้ เพื่อให้ไขมันที่อยู่ในน้ำนมกระจายตัวออกไปทั่วๆ โดยจะอัดน้ำนมผ่านหัวฉีดเล็กๆ จนทำให้ไขมันแตกตัวเป็นก้อนกลมเล็กๆ และด้วยวิธีการนี้ทำให้นมไม่จับตัวเป็นครีมที่ผิว แต่มีสมาคมผู้ค้านมบางรายในประเทศเยอรมันนีที่ตระหนักถึงสุขภาพของผู้บริโภคมักปฏิเสธกระบวนการนี้ เพราะการไปเปลี่ยนสภาพการกระจายตัวของไขมันและโปรตีนในนม ซึ่งอาจไปเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภูมิแพ้จากการบริโภคนม น้ำนมจากวัวในทุ่งหญ้า (Milk form grazing cattle) ถือว่าเป็นนมชั้นดี ตามค่านิยมของชาวยุโรปที่มีวัฒนธรรมการบริโภคนมมายาวนาน เป็นน้ำนมที่รีดได้จากวัวที่เลี้ยงตามทุ่งหญ้าธรรมชาติ และถ้าติดยี่ห้อว่าเป็น Alpen Milk (นมที่ได้จากเทือกเขาแอลป์) ก็จะเป็นนมสดระดับไฮโซทีเดียว (ผมเคยลองดื่มดูแล้วรสชาติก็ใช้ได้ แต่ก็ไม่ได้แตกต่างอะไรมากนักจากนมสดทั่วไปในตลาด) แต่ปัจจุบันนี้วัวส่วนมากไม่ได้กินแต่หญ้าอ่อนอย่างเดียว เกษตรกรมักให้กินอาหารเสริมและข้าวโพด ซึ่งไปกระตุ้นให้แม่วัวผลิตน้ำนมปริมาณมากขึ้น แน่นอนว่าการผลิตนมด้วยวิธีให้อาหารเสริมนี้ มีผลต่อคุณภาพของน้ำนมเช่นกัน นมโรงเรียนกรณีของนมโรงเรียนที่ไม่ได้มาตรฐานและคุณภาพนั้น สมควรที่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องแสดงความรับผิดชอบมากกว่านี้ อย่างน้อยที่สุดเจ้าของหรือผู้ผลิตและจำหน่ายนมจะต้องออกมาแถลงข่าวชี้แจงเรื่องที่เกิดขึ้นให้สังคมรับทราบ เพราะพระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 มีผลบังคับใช้แล้วนะครับ (ที่มา: วารสาร Test ฉบับ 11 ปี 2007)  

อ่านเพิ่มเติม >