ฉบับที่ 195 การเลือกซื้อและใช้กระทะ

กระแสการใช้โฆษณาโน้มน้าวชักจูง โดยการใช้วิธี Fake Original Price ของกระทะยี่ห้อหนึ่งที่กำลังตกเป็นข่าวอยู่ขณะนี้ ยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อประเด็นทางการกฎหมายว่า การตั้งราคาให้สูงเกินจริงมากๆ เพื่อทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดคิดว่า ได้ซื้อของถูกนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ ในหลายประเทศมีกฎหมายมาควบคุมชัดเจนเรื่องนี้ชัดเจน ซึ่งในอนาคตการทำธุรกิจที่เอาเปรียบผู้บริโภคแบบนี้  คงมีมาตรการทางกฎหมายมาคุ้มครองผู้บริโภคอย่างชัดเจนขึ้น ในส่วนของคุณภาพของตัวสินค้า ตัวกระทะนั้น ทางวารสารฉลาดซื้อ ได้เคยร่วมมือทดสอบร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อผู้บริโภค และเปิดเผยผลทดสอบให้ทราบกันแล้วตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งในครั้งนั้น กระทะดังกล่าวยังไม่ได้มีการขายในประเทศไทย โดยที่ในครั้งนั้น ได้สุ่มกระทะจำนวน 13 ยี่ห้อ จากห้างสรรพสินค้า และไฮเปอร์มาร์เก็ตในกรุงเทพมหานคร ราคาตั้งแต่ 500 บาท ถึง 2,000 กว่าบาท โดยทดสอบเปรียบเทียบในเรื่องความเร็วในการถ่ายเทความร้อน การใช้พลังงาน การกระจายตัวของอุณหภูมิที่บริเวณก้นกระทะ และความสะดวกในการทำความสะอาด ตลอดจนความหนาของวัสดุที่เคลือบ ซึ่งเราได้ผลทดสอบสรุปว่า คุณภาพและประสิทธิภาพของกระทะนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคา บทความฉบับนี้ ต้องการให้ข้อมูลพื้นฐานแก่ผู้บริโภคในการเลือกซื้อกระทะ ว่าควรพิจารณาจากอะไรบ้าง เพื่อใช้ในการประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ(หรือไม่ซื้อ) ครั้งต่อไปวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของกระทะนอกจาก การออกแบบที่ต้องคำนึงถึงความสวยงามน่าใช้ และการถ่ายเทความร้อนจากก้นกระทะไปสู่อาหารที่กำลังผัดหรือทอด แล้วก็คือวัสดุที่ใช้ในการผลิตกระทะ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะใช้วัสดุดังต่อไปนี้ในการผลิตอลูมิเนียม จัดเป็นโลหะเบา ที่มีความหนาแน่น 2.7 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร เบากว่าเหล็กมาก (เหล็กมีความหนาแน่น 7.8 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร) ซึ่งกระทะที่ทำจากอลูมิเนียมไม่ควรนำไปใช้งานที่มีอุณหภูมิสูงมากๆ เพราะจะทำให้สีผิวและรูปทรงของกระทะเปลี่ยนไป อาหารที่เหมาะกับการปรุงโดยใช้กระทะอลูมิเนียมคือ อาหารประเภทไข่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นไข่เจียว ไข่ดาว หรือไข่คน หรือใช้ในการปรุงอาหารที่ทำจากปลาก็ได้ เพราะใช้ความร้อนไม่สูงมากนักเหล็กสเตนเลส (Stainless steel) กระทะที่ทำจากวัสดุประเภทนี้ มีข้อดีคือ ดูแลรักษาง่าย ทนทาน แข็งแรง รักษารูปทรงไว้ได้ดีเมื่อใช้งานไปนานๆ แต่ข้อเสียคือ มีน้ำหนักมาก นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งกระทะได้อีก คือ ชนิดเคลือบเทฟลอน กับชนิดไม่เคลือบเทฟลอน ชนิดที่ไม่เคลือบเทฟลอน เหมาะสำหรับการทอดกรอบ ซึ่งถ่ายเทความร้อนได้ดี ให้ความร้อนสูง ข้อควรระวังสำหรับคนที่มีอาการแพ้โลหะนิกเกิล เพราะนิกเกิลเป็นธาตุผสมที่มีอยู่ในเหล็กสเตนเลส ควรจะหันไปใช้กระทะที่ทำจากวัสดุอื่นแทนเหล็กหล่อ (Cast Iron) ให้ความร้อนสูง ทนทาน แข็งแรง แต่มีน้ำหนักมาก การถ่ายเทความร้อนดี เหมาะสำหรับการทอดชิ้นเนื้อหนา เช่น สเต็กเหล็กหล่อเคลือบอีนาเมล ผิวเคลือบปราศจากรูพรุน (Micro Pore) ทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี แต่ต้องระวังการกระแทกที่ผิวเคลือบ เพราะจะทำให้ผิวเคลือบแตกล่อนออกมาได้ทองแดง(Copper) เป็นกระทะระดับพรีเมียม ราคาแพง ถ่ายเทความร้อนได้ดี ความร้อนกระจายตัวสม่ำเสมอ และเย็นตัวได้เร็ว สามารถนำวัสดุอื่นมาเคลือบที่ผิวได้ เช่น เหล็กสเตนเลส สังกะสี และ เทฟลอน เพื่อป้องกันไม่ให้ ทองแดงปนเปื้อนลงไปในอาหาร การดูแลรักษาค่อนข้างยุ่งยาก และต้องทำการขัดผิวละเอียด (Polishing) บ่อยๆ จึงจะดูสวยงามน่าใช้อยู่เสมอ การใช้กระทะเคลือบเทฟลอนกระทะเคลือบเทฟลอน ซึ่งเป็นชื่อเรียกทางการค้าของวัสดุเคลือบ อยู่ในกลุ่มพอลิเมอร์ (Polytetrafluoroethylene: PTFE)         ไม่ควรให้ความร้อนสูงมากเกินไป เพราะจะทำให้วัสดุเคลือบที่ทำมาจากเทฟลอน เสื่อมสลาย ได้ง่าย และอายุการใช้งานสั้นลง ไม่ควรใช้ตะหลิวที่ทำจากโลหะเพราะจะทำให้ผิวเทฟลอนเป็นรอยขีดข่วนได้ง่าย นอกจากนี้ไม่ควรใช้แผ่นโลหะ หรือ สารเคมีที่มีส่วนผสมของผงโลหะทำความสะอาด เพราะจะทำให้กระทะเป็นรอยเช่นกันการทำความสะอาด ใช้น้ำอุ่น หรือ น้ำยาล้างจานล้างกระทะ โดยใช้ฟองน้ำขัดถู คราบสกปรกที่ติดบนผิวกระทะ กระทะบางรุ่นสามารถนำไปล้างในเครื่องล้างจานได้ แต่ถ้าเป็นกระทะที่ทำจากอลูมิเนียม ไม่ควรจะใช้เครื่องล้างจานเพราะจะทำให้ผิวของกระทะหมองลงได้ และถ้าหากบ้านใครมีเครื่องล้างจาน และอยากจะใช้ล้างกระทะ ก็ให้ใช้น้ำมันพืช ทาที่ผิวเคลือบบ้างเพราะจะทำให้เทฟลอนรักษาความมันลื่นได้นานขึ้น กระทะเคลือบเทฟลอน จะมีอายุการใช้งานของมัน หากเราสังเกตเห็นว่าผิวเคลือบมีรอยขีดข่วน หรือหลุดล่อนออกมาควรเปลี่ยนกระทะใหม่หวังว่าสมาชิกวารสารฉลาดซื้อจะสามารถ ใช้ชีวิตในยุคบริโภคนิยมได้อย่างชาญฉลาด และไม่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณาที่เข้าข่ายหลอกลวง ที่ทำให้ผู้บริโภคในยุค 4.0 สูญเสียความเชื่อมั่นและความรู้สึกครับ

อ่านเพิ่มเติม >