ฉบับที่ 200 รู้เท่าทันการใช้เท้าเหยียบรักษาโรค(ตอนที่ 2)

การใช้เท้าเหยียบรักษาโรคเป็นการแพทย์แผนไทย หรือการนวดไทยหรือไม่ เรามารู้เท่ากันกันต่อการนวดไทยมีการใช้เท้าเหยียบหรือไม่ การนวดไทยแท้มีการใช้ทุกส่วนของร่างกายของหมอนวดเพื่อกด บีบ คลึง ลูบ ร่างกายและจุดต่างๆ ของผู้ป่วย เพื่อรักษาอาการต่างๆ โดยเฉพาะ ปวดเมื่อย การติดขัดของข้อ และโรคต่างๆ  ดังนั้นการใช้ศอกและเท้าจึงเป็นวิธีการหนึ่งของการนวดไทย การใช้เท้านิยมใช้ในนวดไทยและนวดพื้นบ้านที่เรียกว่า ย่ำขาง หรือเหยียบเหล็กแดง  โดยการใช้ส้นเท้าเหยียบบนเหล็กผานไถที่เผาบนเตาถ่านให้ร้อนจนแดง หมอนวดจะใช้น้ำมันทาที่ส้นเท้าแล้วเหยียบลงบนเหล็กที่ร้อนแดงอย่างรวดเร็ว แล้วนำส้นเท้าที่มีความร้อนไปกดตามแนวเส้นและจุดต่างๆ ของร่างกายผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อให้เส้นและกล้ามเนื้อของผู้ป่วยที่เกร็ง หดตัว เกิดการคลายตัว และเลือดลมไหลได้สะดวก  การต้องใช้เท้าเหยียบเพราะผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตจะมีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นมาก ดังนั้นการใช้มืออาจให้แรงกดไม่พอ จึงต้องใช้เท้าในการกด ในอินเดียก็มีการใช้เท้าเหยียบเพื่อรักษาเช่นเดียวกัน โดยมีเชือกสำหรับหมอนวดโหน และสามารถขึ้นไปเหยียบนวดบนตัวผู้ป่วยได้ แต่การนวดไทยไม่มีการใช้เท้าเหยียบบนใบหน้า ศีรษะของผู้ป่วย เพราะคนไทยถือว่าศีรษะเป็นของสูงและศักดิ์สิทธิ จึงไม่สมควรที่จะใช้เท้าหมอนวดไปทำกับศีรษะและใบหน้าผู้ป่วย นอกจากนี้บนใบหน้ายังมีเส้นประสาท 12 คู่ ดังนั้นการใช้เท้าเหยียบอาจทำให้เส้นประสาทได้รับบาดเจ็บศาสตร์พลังบำบัดมีการใช้เท้าหรือไม่   ตามหลักโยคะศาสตร์ เชื่อว่า ร่างกายมนุษย์มีศูนย์รวมพลัง ที่เรียกว่า จักระ อยู่ 7 แห่ง บนศีรษะ ใบหน้า และคอ มีจักระ 3 จักระ ได้แก่  วิสุทธิ  ตั้งอยู่บริเวณคอ ตรงกับร่างแหระบบประสาทที่คอ จักระนี้ควบคุมความบริสุทธิ์ ทำให้มีความสุขุม อัชณา ตั้งอยู่บริเวณหน้าผากระหว่างคิ้วทั้งสอง ที่เรียกว่า ตาที่สาม  จักระนี้ควบคุมความหยั่งรู้ทางจิต พลังทางจิตวิญญาณ สหัสสราร ตั้งอยู่ในสมอง กลางศีรษะ เปิดรับพลังจักรวาล เป็นศูนย์แห่งการเรียนรู้  จักระทั้ง 7 เชื่อมต่อกันแนวทางเดินของพลังที่ชื่อว่า อิทะ ปิงคละ และสุสุมนะ  ซึ่งการนวดไทยก็เชื่อว่ามีพลังตามแนวเส้นประธานสิบเช่นเดียวกัน ดังนั้นเมื่อดูตามหลักของศาสตร์เรื่องพลังตามแนวโยคะ จะเห็นว่า ศีรษะ ใบหน้า คอ เป็นตำแหน่งของจักระสำคัญ 3 จักระ และไม่มีการใช้เท้าในการกระตุ้นพลังตามจักระต่างๆ  การบำบัดด้วยพลังตามศาสตร์อื่นๆ ก็ไม่พบว่ามีการใช้เท้าเป็นส่วนหนึ่งในการบำบัดด้วยพลังโดยสรุป  การใช้เท้าเหยียบหัว หน้า หรือตามร่างกายเพื่อบำบัดรักษาโรคจากโรคเวรโรคกรรมที่ต้องอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ด้วยพิธีการสื่อสารพลังจิตจากสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรกนั้น ไม่ได้มาจากพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน และไม่ใช่ศาสตร์การแพทย์แผนไทย การนวดไทยอีกเช่นเดียวกัน  การบำบัดด้วยศาสตร์พลังบำบัดต่างๆ ก็ไม่มีการใช้เท้าในการบำบัดแต่อย่างใด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 รู้เท่าทันการใช้เท้าเหยียบรักษาโรค (ตอนที่ 1)

ระยะนี้มีข่าวดังทั้งในโลกออนไลน์และโทรทัศน์ มีการแชร์ภาพชายที่อ้างตัวว่ามีพลังจิต ใช้เท้าเหยียบหัว หน้า หรือตามร่างกายเพื่อบำบัดรักษาโรคได้  ชายดังกล่าวอ้างว่า ตนมีพลังจิตที่สามารถบำบัดผู้ป่วยให้หายจากโรคได้ ด้วยพิธีการสื่อสารพลังจิตจาก สมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรก โดยการใช้มือ หรือเท้า เป็นสื่อกลางไปที่ผู้ป่วยให้หายจากโรคหรือดีขึ้นในทันที โรคหรือการป่วยไข้ต่างๆ มาจากโรคเวรโรคกรรมที่ต้องอุทิศให้เจ้ากรรมนายเวร ทำให้หายจากโรคได้หลายชนิด เช่น กระดูกหัก เอ็นขาด ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต เมื่อรับบำบัดแล้วก็สามารถลุกขึ้นเดินได้ปกติในทันที เรามารู้เท่าทันการรักษาโรคด้วยการใช้เท้าเหยียบกันเถอะพระพุทธเจ้าโปรดการรักษาโรคด้วยการใช้เท้าเหยียบจริงหรือ  ชายผู้นี้อ้างการรักษานี้ว่าใช้การสื่อสารพลังจิตจากสมเด็จองค์ปฐมพระพุทธเจ้าองค์แรก  เราต้องมาดูหลักฐานกันว่า พระพุทธเจ้าโปรดการใช้เท้าเหยียบเพื่อการรักษาโรคจริงหรือไม่ การแพทย์ดั้งเดิมในอินเดียก่อนกำเนิดพระพุทธศาสนานั้นเป็นการแพทย์ในยุคพระเวทตอนต้น คือ เชื่อว่า โรคเกิดจากภูติผีปีศาจและพิธีกรรมทางไสยศาสตร์  จะมีการท่องคาถาที่มีพลัง รวมทั้งการใช้เครื่องรางของขลังเพื่อขับไล่ภูติผีปีศาจที่ทำให้เจ็บป่วยและป้องกันไม่ให้มารบกวนอีก เมื่อเกิดพระพุทธศาสนาขึ้น ได้มีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพภายในวัดวาอาราม ทำให้ การแพทย์อายุรเวทของฮินดูที่เป็นการแพทย์แบบไสยศาสตร์-ศาสนา เปลี่ยนมาเป็นการแพทย์แบบประจักษ์นิยมและเหตุผล ซึ่งพัฒนามาจากจากปรัชญาคำสอนของพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎก พบหลักฐานสำคัญว่า1) พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุต้องดูแลพระภิกษุที่อาพาธ โดยตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่มีมารดา ไม่มีบิดาผู้คอยพยาบาล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกเธอไม่พยาบาลกันเอง ใครเล่าจะคอยพยาบาลพวกเธอ ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะพยาบาลเราก็จงพยาบาลภิกษุไข้เถิด  สงฆ์ต้องพยาบาลภิกษุไข้นั้น ถ้าไม่พยาบาล ต้องอาบัติทุกกฎ”2) พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา โดยเฉพาะ การแก้บน ร่ายมนต์ขับผี ปรุงยา ทำการผ่าตัด เป็นหมอตา หมอผ่าตัด หมอรักษาเด็ก เป็นต้น  3) พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้การนวดในหมู่ภิกษุณีทั้งหลาย (ใช้ภิกษุณี สิกขมานา สามเณรี คฤหัสถ์ ให้บีบบ้าง ให้นวดบ้าง ฯลฯ) เป็นอาบัติ ยกเว้นการนวดในภิกษุณีที่อาพาธ  จากหลักฐานต่างๆ แสดงว่า • การแพทย์ในสายพระพุทธศาสนาเป็นการแพทย์ที่มีเหตุมีผล ไม่ใช่การแพทย์แบบไสยศาสตร์ เพราะไม่ใช่หนทางสู่ความจริงแท้และเป็นอิทัปปัจจยตา• พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้พระภิกษุดูแลพระภิกษุที่อาพาธ แต่ไม่ส่งเสริมให้ภิกษุประกอบวิชาชีพที่เป็นแพทย์โดยตรง• พระพุทธเจ้าทรงกำหนดให้การนวดในหมู่ภิกษุณีที่ไม่อาพาธเป็นอาบัติ ดังนั้นการใช้เท้าเหยียบเพื่อความงามจึงเป็นอาบัติพุทธศาสนาได้เปลี่ยนแปลงการแพทย์จากไสยศาสตร์ของฮินดูมาสู่การแพทย์แบบประจักษ์นิยมของพุทธศาสตร์ การอ้างพลังจิตของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะองค์ไหนก็ตาม  จึงเป็นมิจฉาทิฎฐิติดตามฉบับหน้าครับ ว่าการใช้เท้าเหยียบนั้นมาจากการการแพทย์แผนไทยหรือไม่ 

อ่านเพิ่มเติม >