ฉบับที่ 183 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหว เดือนพฤษภาคม 2559ไขข้อข้องใจการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มเป็นแบบชิปการ์ดธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ออกมาชี้แจงทำความเข้าใจเรื่องการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นแบบชิป(Chip Card) หลังจากมีกระแสข้อสงสัยหลายเรื่องถูกแชร์ต่อๆ กันในโลกออนไลน์ เช่นว่าการเปลี่ยนบัตรต้องเสียค่าธรรมเนียมหรือไม่ หรือเมื่อเปลี่ยนบัตรพนักงานธนาคารจะเปลี่ยนให้เป็นบัตรที่พ่วงประกันซึ่งมีค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่า ฯลฯโดยข้อเท็จจริงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแถลงออกมามีดังนี้1.ผู้ที่ออกบัตรใหม่ตั้งแต่วันที่ 16 พ.ค. 2559 เป็นต้นไป จะได้รับบัตรเป็นแบบชิป ซึ่งธปท.บอกว่ามีความปลอดภัยในการใช้งานกว่าบัตรแบบเดิม(แถบแม่เหล็ก)2.บัตรแบบเดิมยังใช้งานได้ถึง 31 ธันวาคม 2562 หรือตามกำหนดของธนาคารแต่ละแห่ง3.คนที่อยากเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปสามารถแจ้งกับธนาคารได้ทันที โดยมีค่าธรรมเนียมตามธนาคารแต่ละแห่งจะกำหนด4.ธนาคารบางแห่งอาจยกเว้นค่าธรรมเนียมการเปลี่ยนบัตร เพื่อส่งเสริมการขาย ซึ่งก็เป็นไปตามเงื่อนไขของธนาคารแต่ละแห่ง5.บัตรแบบชิปสามารถใช้ได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้บางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมในการใช้งาน โดยตู้ที่ยังไม่รองรับจะมีการแสดงข้อความให้ผู้ใช้บริการทราบปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตให้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งแต่ละบัตรมีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีแตกต่างกัน ก่อนใช้บริการทุกครั้งควรสอบถามข้อมูลกับพนักงานให้ชัดเจน เพื่อให้ได้บัตรที่ตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด และมีสิทธิปฏิเสธการใช้บริการหากไม่ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน   สั่งปิด “โรงพยาบาลเดชา”กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ(สบส.) ได้มีคำสั่งปิดการให้บริการของโรงพยาบาลเดชา พญาไท ตั้งแต่วันที่ 11 พ.ค.2559 ที่ผ่านมา เนื่องจากได้รับการร้องเรียนว่า รพ.อยู่ในสถานภาพที่ไม่พร้อมให้บริการ ถูกตัดไฟ มีแพทย์เหลือเพียงแค่ 1 คน ซึ่งการสั่งปิดเป็นไปตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541สบส.เชื่อว่าการสั่งปิดโรงพยาบาลเดชา จะไม่กระทบกับผู้ป่วย เพราะทาง รพ.ทราบอยู่ก่อนแล้ว โดยก่อนที่ รพ.จะถูกสั่งปิดมีผู้ป่วยในที่ยังคงรักษาจำนวน 7 คน เป็นผู้ป่วยในระบบประกันสังคม โดยได้ประสานส่งตัวไปรักษายัง รพ.อื่นต่อไป ส่วนผู้ป่วยนอกนั้นมีน้อยอยู่แล้ว จึงไม่น่าเกิดผลกระทบอะไรกับผู้ป่วย รพ.เดชา พญาไท เปิดดำเนินกิจการมายาวนานกว่า 35 ปี ก่อตั้งโดย นพ.เดชา สุขารมณ์ แต่ที่ผ่านมาได้ให้บริษัท ศรีอยุธยา จำกัด เช่าและบริหารงานโรงพยาบาลเป็นเวลากว่า 10 ปี โดยคิดค่าเช่าเดือนละ 1 ล้านบาท แต่ผู้เช่ารายดังกล่าวได้ค้างค่าเช่าเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท ทำให้เป็นคดีความกันอยู่ ส่งผลต่อการบริหารงานใน รพ.ก่อนจะมาถูกสั่งให้ปิดการให้บริการลงในที่สุด ภาคประชาชนค้านนโยบายเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจากการที่มีกระแสข่าวว่ากระทรวงการคลังจะมีนโยบายยกเลิกจ่ายเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงอายุที่มีรายได้เกินเดือนละ 9,000 บาท หรือมีสินทรัพย์สูงเกิน 3 ล้านบาท เพื่อลดภาระงบประมาณด้านสวัสดิการภาครัฐ ทำให้เครือข่ายภาคประชาชนต้องออกมารวมตัวกันแถลงไม่เห็นด้วยกับนโยบายดังกล่าว เพราะเป็นการลดทอนสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนควรได้รับ และเป็นการกระทำโดยไม่ยึดหลักเรื่องความเสมอภาคเครือข่ายประชาชนเพื่อรัฐสวัสดิการ ประกอบด้วยเครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายสลัม 4 ภาค เครือข่ายสวัสดิการชุมชน และกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ร่วมกันแถลงข่าวคัดค้านนโยบายดังกล่าว พร้อมทั้งมีข้อเรียกร้องให้กระทรวงการคลัง เลือกใช้วิธีอื่นในการแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณไม่ใช่การลดสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้จากการเก็บภาษีโดยในการเก็บภาษีก็ไม่ได้แบ่งแยกคนรวยคนจน ดังนั้นเรื่องการจัดสรรสวัสดิการพื้นฐานก็ไม่ควรแบ่งแยกคนรวยหรือคนจนเช่นกัน อย. ยัน “Derma Roller” อันตราย!!! ห้ามใช้เด็ดขาดอย.ได้ออกมายืนยันแล้วว่า เครื่องลูกกลิ้งนวดหน้า (Derma Roller) ที่โอ้อวดว่าช่วยรักษารอยสิว รอยแผลเป็นบนใบหน้า ลบรอยเหี่ยวย่น เป็นสินค้าที่ไม่มีการอนุญาตให้นำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย เนื่องจากยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการที่เพียงพอในการสนับสนุนประสิทธิภาพ หรือข้อบ่งใช้ของผลิตภัณฑ์ดังกล่าว พร้อมฝากเตือนว่าตามที่สินค้าดังกล่าวโฆษณาโอ้อวดไว้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนที่มีปัญหารอยแผลจากสิว มีริ้วรอยเหี่ยวย่นกลับมามีผิวที่มีสุขภาพดีขึ้นได้ ทำให้หน้าเรียบใส โดยการทำให้ผิวเกิดรอยแผล แล้วผิวจะซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างคอลลาเจนขึ้นมาใหม่นั้น เป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบที่ผิวหนัง เกิดการระคายเคืองจากสารที่ทาบนผิวหนัง และอาจเป็นอันตรายต่อดวงตาเมื่อนำไปใช้ใกล้บริเวณรอบๆ ดวงตา หากอุปกรณ์ไม่สะอาดก็อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ เพราะฉะนั้นไม่ควรใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวโดยเด็ดขาด เจอสารเคมีปนเปื้อนในผัก-ผลไม้เพียบ แม้แต่ที่มีตรา “Q” ก็เจอเกินมาตรฐานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือ Thai-PAN เปิดเผยผลการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมรับประทาน เช่น กะหล่ำปลี แตงกวา ผักบุ้งจีน มะเขือเทศ ผักกาดขาวปลี คะน้า ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ กะเพรา และพริกแดง แตงโม มะม่วงน้ำดอกไม้ มะละกอ แก้วมังกร ฝรั่ง และส้มสายน้ำผึ้ง  รวมทั้งหมด 138 ตัวอย่าง พบว่ามีผักและผลไม้ตกค้างเกินมาตรฐานนั้นสูงถึง 46.4% หรือเกือบครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่ตรวจ จากผลการวิเคราะห์พบประเด็นที่น่าสนใจคือ ผักและผลไม้ซึ่งได้รับตรา Q โดยสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) พบสารเคมีตกค้างมากที่สุด  โดยพบสูงถึง 57.1% นอกเหนือจากนั้นผักและผลไม้อินทรีย์ที่ได้รับการรับรอง Organic Thailand ซึ่งไม่ควรตรวจพบการตกค้างของสารเคมีกลับพบการตกค้างสูงเกินมาตรฐานถึง 25% ของจำนวนตัวอย่างโดยหลังจากที่ได้มีการเผยแพร่ผลการวิเคราะห์ออกไป กลับได้รับคำตำหนิจากหน่วยงานรัฐอย่างกรมวิชาการเกษตรที่ออกมาให้ข่าวว่าจะดำเนินการฟ้องร้อง Thai-PAN ที่สร้างความเสียหายต่อหน่วยงานรัฐ สร้างความเข้าใจผิดต่อผู้บริโภคแต่ทั้งนี้ Thai-Pan ก็เตรียมฟ้องกรมวิชาการเกษตรในฐานที่ละเลยการตรวจสอบคุณภาพผัก-ผลไม้ โดย น.ส.กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา นักวิชาการโครงการกินเปลี่ยนโลก มูลนิธิชีววิถี กล่าวว่าประเด็นการฟ้องร้องจะแบ่งเป็น 2 กรณีคือ 1.กรมวิชาการเกษตรละเลยการควบคุมสินค้าที่มีเครื่องหมาย Q เนื่องจากพบปัญหาสารเคมีตกค้างเกินค่ามาตรฐานทั้งที่ผ่านการรับรองแล้ว 2.พบการตกค้างของสารอันตรายชนิดที่ 4 ซึ่งเป็นสารเคมีที่ห้ามจำหน่ายในประเทศไทย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 154 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนพฤศจิกายน 2556 กสทช.เปิดศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท จากนี้ไปปัญหาของคนที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือน่าจะบรรเทาเบาบางลง เมื่อคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. เปิด “ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกิจการโทรคมนาคม” ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาททางจากการใช้บริการโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยศูนย์ฯ จะทำหน้าที่เป็นตัวกลางตกลงหาข้อยุติของปัญหาให้กับฝ่ายผู้บริโภคและผู้ให้บริการ แต่การเข้าสู่ระบบการไกล่เกลี่ยนั้นเป็นไปตามความสมัครใจของทั้ง 2 ฝ่าย หรือหากดำเนินการไกล่เกลี่ยแล้ว ไม่เป็นที่พอใจ ผู้บริโภคที่ได้รับปัญหาก็สามารถนำเรื่องเข้าสู่การฟ้องร้องต่อไปได้ ส่วนผู้ที่จะมาเป็นคนกลางทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย จะเป็นบุคคลที่ได้รับการอบรมหลักสูตรเทคนิคหรือวิธีการไกล่เกลี่ยจากทาง กสทช.   ใครพบปัญหาจากบริการโทรคมนาคมสามารถติดต่อขอรับบริการที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทกิจการโทรคมนาคม ที่สำนักงาน กสทช.   ตู้เอทีเอ็มเปลี่ยนไปใช้ระบบไมโครชิพ ธนาคารแห่งประเทศไทยเตรียมสั่งให้ธนาคารพาณิชย์ทั่วประเทศปรับเปลี่ยนรูปแบบบัตรทั้ง บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต รวมถึงตู้เอทีเอ็ม จากระบบแถมแม่เหล็กเป็นระบบไมโครชิพ เพื่อป้องกันปัญหาการโจรกรรมข้อมูลบัตร หรือการ Skimming ซึ่งที่ผ่านมามีผู้เสียหายจากการโจรกรรมเงินผ่านตู้เอทีเอ็มเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันมีตู้เอทีเอ็มให้บริการอยู่ราว 50,000 เครื่อง มีตู้ที่ได้รับการเปลี่ยนระบบเป็นไมโครชิพแล้ว 30,000 ตู้ ซึ่งที่เหลือทางธนาคารแห่งประเทศไทยเร่งให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการเปลี่ยนตู้ของตัวเองให้เรียบร้อยทั้งหมดภายในสิ้นปี 2557 ที่สำคัญคือทางธนาคารแห่งประเทศไทย กำชับกับทางธนาคารพาณิชย์ว่าห้ามคิดค่าธรรมเนียมใดๆ ที่เกิดจากการเปลี่ยนบัตรเดบิตและบัตรเอทีเอ็มจากระบบเก่าเป็นระบบไมโครชิพ เพราะถือเป็นหน้าที่ของธนาคารพาณิชย์ที่ต้องทำเพื่อยกระดับความปลอดภัยในบริการให้กับลูกค้า ส่วนผู้ใช้เองก็ต้องพยายามระมัดระวังในการใช้บัตร เช่น หมั่นเปลี่ยนรหัสบ่อยๆ และอย่าให้ข้อมูลส่วนตัวที่สำคัญลงในอินเทอร์เน็ตหากไม่มั่นใจในความปลอดภัย   คลอด รพ.ไหน ประกันสังคมก็จ่าย จากนี้ไปคุณแม่ที่ใช้สิทธิประกันสังคม สามารถใช้บริการคลอดบุตรได้กับทุกโรงพยาบาล โดยที่ยังคงได้รับเงินค่ารักษาพยาบาล 13,000 บาท ต่อการคลอดบุตร 1 คน นอกจากนี้ยังได้รับกรณีสงเคราะห์บุตร 400 บาทต่อเดือน คราวละไม่เกิน 2 คน รับสิทธิได้ในช่วงแรกเกิดถึงอายุ 6 ปี สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน แจงสิทธิประกันสังคมกรณีคลอดบุตร ผู้ประกันตนชาย หญิง มีสิทธิได้รับค่าคลอดบุตร คนละ 2 ครั้ง โดยผู้ประกันตนหญิง สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้ แล้วนำสูติบัตรของบุตร สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจากสำนักงานประกันสังคม จำนวน 13,000 บาท นอกจากนี้คุณแม่หมาดๆ ยังได้รับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยเป็นเวลา 90 วัน ส่วนกรณีถ้าเป็นผู้ประกันตนชาย สามารถเบิกค่าคลอดบุตรได้ โดยนำสำเนาสูติบัตรบุตร สำเนาทะเบียนสมรสหรือหนังสือรับรองกรณีมีทะเบียนสมรส มาเบิกเงินที่สำนักงานประกันสังคม จะได้รับเฉพาะเงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท นอกจากนี้ผู้ประกันตนยังสามารถยื่นขอรับเงินทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาทต่อบุตรหนึ่งคน สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปี บริบูรณ์ แต่ผู้ประกันตนจะต้องมีการนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายในระยะเวลา 36 เดือน โดยผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิเบิกเงินสงเคราะห์บุตรได้คราวละไม่เกิน 2 คน   อย. เผยชื่อ 5 ยาสมุนไพร อันตราย สำนักคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ดำเนินการตรวจสอบยาสมุนไพรแผนโบราณหลังจากที่ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคและสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี ซึ่งไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย แถมยังโอ้อวดสรรพคุณเกินจริง โดยมี 5 ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรที่ อย. ฝากเตือนผู้บริโภคให้หลีกไกลอย่าเผลอไปใช้เด็ดขาด ได้แก่ 1.ยาสมุนไพร ZIA TU WAN (เซีย ทู หวัน) 2.ผลิตภัณฑ์ พญาดงชุดชะลอความแก่ 3.ผลิตภัณฑ์ตายสิบปี ดีเหมือนเดิม 4.ผลิตภัณฑ์ฮับบาตุส เซาดาห์ “786” เนื่องจากฉลากแสดงข้อความโอ้อวดสรรพคุณรักษาสารพัดโรค อาทิ แก้หัด อีสุกอีใส ป้องกันและรักษานิ่วในไต นิ่วในถุงน้ำดี ต่อมลูกหมากโต มะเร็ง บํารุงกําหนัด บํารุงหัวใจ รักษาโรคเก๊าต์ อัมพฤกษ์ อัมพาต เบาหวาน ฯลฯ และ 5.ยาสมุนไพร JIE DU DAN ชนิดแคปซูล สรรพคุณไม่ระบุข้อความภาษาไทย อย. ได้ดําเนินการตรวจสอบข้อมูลพบว่า ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรทั้ง 5 รายการดังกล่าวยังไม่ได้ ขึ้นทะเบียนตํารับยา และยังพบว่ายาสมุนไพร JIE DU DAN ได้นําเลขทะเบียนยาผลิตภัณฑ์อื่นมาใส่บนฉลาก เพราะฉะนั้นผู้บริโภคอย่าได้หลงเชื่อและซื้อมาใช้โดยเด็ดขาด เนื่องจากพบว่าผลิตภัณฑ์ที่แสดงสรรพคุณโอ้อวด เกินจริงมักลักลอบใส่ยาหรือสารที่เป็นอันตรายลงไป และการผลิตผลิตภัณฑ์มักไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน จึงอาจทําให้ได้รับอันตรายจากการปนเปื้อน   ฉลาก Smart Fabric รับรองสิ่งทอคุณภาพ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้ออกฉลาก Smart Fabric เพื่อเป็นตรารับรองมาตรฐานสินค้าสิ่งทอ โดยแบ่งระดับฉลากเป็น 4 ระดับ คือ 1.ฉลากคุณภาพสิ่งทอเป็นการรับรองคุณภาพสิ่งทอ เช่น การซัก การยืดหด 2.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ เช่น กันแบคทีเรีย ทนไฟ กันน้ำ 3.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น การประหยัดพลังงานในกระบวนการผลิต 4.ฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษร่วมกับการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่มีคุณภาพ รวมทั้งยังสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค ได้มีโอกาสเลือกซื้อเลือกใช้ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพและปลอดภัย โดยขณะนี้มีบริษัทที่ได้รับเครื่องหมายคุณภาพสิ่งทอไทยเป็นรายแรกแล้ว คือ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้รับรองผลิตภัณฑ์ เสื้อเชิ้ตแบรนด์ กี ลาโรช (Guy Laroche) โดยได้รับมาตรฐานฉลากคุณภาพสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ ประเภทระบายความชื้นและเหงื่อได้ดีและเพิ่มความสบายเวลาสวมใส่ (Dry)   //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนตุลาคม 2556 จับผิดพ่อค้า – แม้ค้าโกงตาชั่ง กรมการค้าภายใน ฝากคำแนะนำถึงคนที่ต้องซื้อสินค้าข้าวของกับร้านค้าที่มีการใช้ตาชั่ง ชั่งตวงสินค้า ป้องกันการถูกโกงน้ำหนัก หลังจากที่กรมการค้าภายในได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคถูกพ่อค้า – แม้ค้าใช้กลโกงตาชั่งเอารัดเอาเปรียบ สำหรับข้อสังเกตในการดูตาชั่งสินค้าที่ได้มาตรฐาน มีอย่างเช่น ต้องตรวจสอบเครื่องหมายรับรองจากกรมฯ ซึ่งเป็นตราครุฑติดไว้, ไม่มีการหักเข็มชี้น้ำหนักเพราะทำให้เครื่องอ่านน้ำหนักไม่ถูกต้อง, ตัวเลขถาดกับตัวเลขเครื่องที่ระบุต้องตรงกัน, ต้องไม่มีวัสดุอื่นหรือนำสีมาพ่นหน้าปัดด้านใดด้านหนึ่งหรือการนำกระดาษมาปิดอีกหน้าหนึ่งของเครื่องชั่ง, การใช้เครื่องที่ทำด้วยพลาสติกหรือเครื่องชั่งที่อยู่ในสภาพชำรุด เป็นต้น เทคนิคที่พ่อค้า-แม้ค้านิยมใช้ในการโกงตาชั่งหลักๆ จะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ การแกะเครื่องและเปลี่ยนสปริง, การเปลี่ยนหน้าปัดและสปริง, การเปลี่ยนถาดที่มีน้ำหนักสูง ซึ่งจะทำให้ผู้ซื้อได้สินค้าไม่เต็มน้ำหนัก จะได้ของเฉลี่ยที่ 8-9 ขีดต่อน้ำหนักที่ซื้อไป 1 กก. เท่านั้น     ใช้ตู้เอทีเอ็มอย่างปลอดภัยเงินไม่ถูกขโมย ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน(ศคง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ออกมาให้คำแนะนำกับผู้ใช้บริการธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม ป้องกันการถูกลักลอบขโมยข้อมูลบนแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรและรหัสประจำบัตร หลังจากเกิดกรณีที่มีกลุ่มมิจฉาชีพแอบดูดเงินจากบัญชีของผู้ใช้เอทีเอ็มกว่า 10 ราย รวมยอดเงินที่ถูกลอบขโมยไปหลายแสนบาท สำหรับคำแนะนำของ ศคง. ในการใช้ตู้เอทีเอ็มอย่างปลอดภัย มีดังนี้ ทุกครั้งที่ใช้ตู้เอทีเอ็ม ควรสังเกตช่องสอดบัตรและแป้นกดตัวเลขอย่าให้มีสิ่งผิดปกติ หากรู้สึกสงสัยก็ไม่ควรใช้เครื่องนั้นและรีบแจ้งให้ธนาคารทราบทันที จุดที่ควรสังเกตก่อนใช้ตู้เอทีเอ็ม คือ กล่องใส่โบชัวร์ ซึ่งไม่ได้เป็นของธนาคาร เพราะอาจเป็นที่ซ่อนกล้องรูเข็มเพื่อแอบดูการกดเลขรหัส ควรใช้มือบังแป้นกดตัวเลขขณะทำรายการ เพื่อไม่ให้กล้องที่มิจฉาชีพแอบติดตั้งไว้หรือคนที่อยู่ด้านหลังเห็นรหัสบัตร ถ้าเป็นไปได้ควรเปลี่ยนรหัสบัตรอยู่เสมอ และควรรีบเปลี่ยนรหัสทันทีเมื่อสงสัยว่าบุคคลอื่นทราบรหัสของเรา   อย.ประกาศลดราคายาผู้ป่วยมะเร็ง -  สมาธิสั้น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ปรับลดราคายากลุ่มจำเป็นต่อคุณภาพชีวิตตามต้นทุนการจัดหาที่ลดลง จำนวน 7 รายการ เช่น ยาเฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ยาเมทิลเฟนิเดต ที่ใช้รักษาโรคสมาธิสั้น และยาโซลพิเดม ทาร์เทรต ซึ่งเป็นยานอนหลับ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของสถานพยาบาลและผู้ป่วยที่ต้องใช้ยา ซึ่งยา 7 รายการที่ประกาศลดราคาประกอบด้วย 1.เฟนทานิล ชนิดฉีด (0.1 มิลลิกรัม/2 มิลลิลิตร/หลอด) 10 หลอด/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 220 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 180 บาท ลดลง 18 % 2.เฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (12 ไมโครกรัม/ชั่วโมง) 5 แผ่น/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 500 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 400 บาท ลดลง 20 % 3.เฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (25 ไมโครกรัม/ชั่วโมง) 5 แผ่น/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 900 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 600 บาท ลดลง 33 % 4.เฟนทานิล ชนิดแผ่นแปะผิวหนัง (50 ไมโครกรัม/ชั่วโมง) 5 แผ่น/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 1,500 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 900 บาท ลดลง 40 % 5.ยาเมทิลเฟนิเดต ชนิดเม็ด (10 มิลลิกรัม/เม็ด) 100 เม็ด/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 350 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 300 บาท ลดลง 14 % 6.ยาเมทิลเฟนิเดต ชนิดเม็ด (10 มิลลิกรัม/เม็ด) 200 เม็ด/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 700 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 600 บาท ลดลง 14 % 7.โซลพิเดม ทาร์เทรต ชนิดเม็ด (10 มิลลิกรัม/เม็ด) 20 เม็ด/กล่อง ราคาเดิมกล่องละ 180 บาท ราคาใหม่ กล่องละ 160 บาท ลดลง 11 % โดยยาทั้ง 7 รายการจะเริ่มปรับลดราคาใหม่ในเดือนตุลาคม 2556 นี้เป็นต้นไป   คณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โวย กสทช. เอาจริงแก้ปัญหา “ซิมดับ” หลังจากที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้ออกประกาศ “มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556” หรือกรณีปัญหาสัญญาโทรศัพท์มือถือคลื่น 1,800 MHz ซึ่งเป็นของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น ที่สิ้นสุดสัญญาณไม่สามารถใช้งานได้ หรือที่มีคนให้คำจำกัดความว่า “ซิมดับ” โดยหลังจาก กสทช. มีคำสั่งตั้งแต่เมื่อวันที่16 ส.ค.56 ที่ผ่านมา พบว่าประกาศดังกล่าวยังไม่สามารถช่วยเหลือผู้บริโภคได้จริง เพราะยังคงมีเรื่องร้องเรียนเข้ามายัง กสทช. เป็นจำนวนมาก ซึ่งเรื่องที่ร้องเรียนมีทั้ง ปัญหาเรื่องการโอนย้ายเลขหมาย ที่ไม่สะดวกอย่างที่ควรจะเป็น แถมมีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้รับการแจ้งเรื่องการโอนย้ายเครือข่าย การถูกย้ายเครือข่ายโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า บางคนถูกปรับสิทธิประโยชน์ลดลงจากการโอนย้ายเครือข่าย รวมถึงปัญหาที่บริษัทไม่ยอมคืนเงินที่ยังคงเหลือในระบบเดิม ไปจนถึงไม่สามารถใช้งานโทรศัพท์ได้ จากปัญหาที่เกิดขึ้น คณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดย ผศ.รุจน์ โกมลบุตร ในฐานะกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อและโทรคมนาคม ร่วมกับสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค และ สมาคมพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคจังหวัดสระบุรี ออกแถลงการณ์เป็นข้อเสมอต่อ กสทช. ให้เร่งจัดการแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคหลังการประกาศใช้มาตรการเยียวยากรณีซิมดับไปแล้วแต่ปัญหายังไม่ถูกแก้ไข โดยข้อเสนอของภาคประชาชนมีดังนี้ 1.ขอให้ กสทช. ติดตามการบังคับใช้ประกาศอย่างเคร่งครัด เพราะยังพบปัญหาเกิดขึ้นกับผู้บริโภค เช่น ผู้ประกอบการยังมีการขยายฐานผู้ใช้บริการคลื่น 1800 MHz ต้องควบคุมคุณภาพการให้บริการ และคืนเงินคงเหลือเมื่อผู้บริโภคยุติการใช้บริการ 2.กสทช. ต้องกำกับดูแลการจัดการคลื่นเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซิมดับซ้ำอีก โดยต้องเร่งให้มีจัดให้มีการประมูลก่อน ถึงวันหมดอายุสัญญาสัมปทานในปี 2558 3.ให้ กสทช. ถอนฟ้องนักวิชาการและสื่อมวล ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ปัญหากรณีคลื่นสัญญา 1800 MHz เพราะเป็นการวิพากษ์วิจารณ์โดยใช้หลักสุจริต เพื่อประโยชน์ของสังคม   “มาตรา 61 ยิ่งใกล้ ยิ่งต้องเชียร์” ฉายหนังสั้นผู้บริโภคที่รัฐสภา แม้สถานการณ์ทางการเมืองยังคงสับสนวุ่นวาย แต่องค์กรผู้บริโภคภาคประชาชนก็ยังมีความมุ่งมั่นแน่วแน่ที่จะผลักดันกฎหมาย “องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค” ให้เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยเราเสียที ล่าสุดสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคภาคกลาง ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมรณรงค์ฉายภาพยนตร์สั้นและเสวนาเรื่อง “มาตรา 61 ยิ่งใกล้ ยิ่งต้องเชียร์” ณ สโมสรรัฐสภา เพื่อปลุกจิตสำนึกและสร้างความเข้าใจกับบรรดานักการเมือง สส. สว. ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงกับการออกกฎหมายฉบับนี้ โดยหลังการฉายภาพยนตร์ ก็ได้มีการผู้คุยกับเหล่าผู้กำกับภาพยนตร์ ได้แก่ นายไพจิตร ศุภวารี, นายชาญ รุ่งเรืองเดชวัฒนา และ นายพัฒนะ จิรวงศ์ โดยมี ศ.ดร.ปาริชาต สถาปิตานนท์ ในฐานนะนักวิชาการที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และ นพ. ชลน่าน ศรีแก้ว สส. พรรคเพื่อไทย ร่วมพูดคุยกันถึงปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภคในบ้านเรา และการเดินทางของกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคว่าตอนนี้อยู่ในระเบียบวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว รอเพียงยกขึ้นมาพิจารณาลงคะแนนเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น ผู้บริโภคยังคงต้องคอยติดตาม เป็นกำลังใจ และลุ้นกันต่อไป ว่ากฎหมายเพื่อผู้บริโภคฉบับนี้ว่าจะถึงฝั่งฝันได้เมื่อไหร่ //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 108 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนมกราคม 255310 ม.ค. 53แฟชั่นขนตาปลอม เสี่ยงตาบอดกระทรวงสาธารณสุข ฝากเตือนถึงสาวๆ ที่นิยมติดขนตาปลอม ให้ระวังเรื่องความสะอาดเป็นสำคัญ เพราะขนตาปลอมที่ดูแลไม่ดีอาจเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค ซึ่งจะมีผลทำให้ตาดำอักเสบ เสี่ยงต่อตาบอด ดังนั้นก่อนใส่ต้องล้างมือให้สะอาด ไม่ควรใช้ขนตาปลอมร่วมกับคนอื่น หรือใส่ต่อเนื่องกันนานๆ และหากมีอาการแพ้หรืออักเสบต้องรีบไปพบจักษุแพทย์ทันที ด้านนายแพทย์ ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า ขนตาปลอมและกาวติดขนตา ที่มีวางจำหน่ายอยู่ขณะนี้ มีราคาตั้งแต่ 10 บาท ถึง 300 บาท มีทั้งที่ผลิตได้ตามมาตรฐานถูกต้องตามหลักวิชาการ และไม่ได้มาตรฐาน ขนตาปลอมมีทั้งอ่อนนุ่มไปจนถึงแข็งมาก มีหลากหลายรูปแบบ เช่น เป็นแผงเส้นตรง เส้นสานกัน แบบเป็นช่อ ฯลฯ ซึ่งกาวที่ใช้ติดขนตาปลอม ต้องมีคุณภาพดี ผลิตถูกต้องตามหลักวิชาการ มีส่วนประกอบสำคัญที่เหมาะกับการใช้เฉพาะที่ และต้องระบุฉลากชัดเจนว่าใช้กับดวงตาเท่านั้น หากใช้กาวอื่นมาติด อาจเป็นอันตรายได้ -------------------------------------------------------------------------------------------------------- 15 ม.ค. 53อย. คุมเข้มข้าวนำเข้านพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เปิดเผยว่า ภายหลังการประกาศลดอัตราภาษีสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีผลให้ผลิตผลทางการเกษตร 23 ชนิด ลดภาษีการนำเข้าลงเหลือร้อยละ 0 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป ซึ่งในเรื่องของข้าวนั้น หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้เตรียมมาตรการรองรับอย่างเต็มที่ โดยได้มีการกำหนดมาตรการกำกับดูแลและติดตามการนำเข้าข้าว 5 มาตรการคือ 1) กำหนดคุณสมบัติของผู้นำเข้าข้าวและพิจารณาชนิดข้าวที่จะนำเข้าเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบ 2) ต้องมีใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า 3) กำหนดด่านนำเข้า 4) กำหนดระยะเวลาการนำเข้า 5) กำหนดมาตรฐานคุณภาพข้าว มาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดตามกติกาสากลและเงื่อนไขปลอด GMOs ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถ้ามีการอนุญาตนำเข้าข้าวเพื่อจำหน่ายผู้บริโภคโดยตรง ต้องได้รับอนุญาตนำเข้าจาก อย.และต้องมีฉลากระบุรายละเอียด เช่น ชื่ออาหาร ชื่อที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้แบ่งบรรจุ ชื่อที่ตั้งของผู้นำเข้าและประเทศผู้ผลิต ปริมาณสุทธิ และส่วนประกอบที่สำคัญ เป็นต้น ----------------------------------------------------------------------------------------------------------- 17 ม.ค. 53เตือนคนชอบฟังเพลงเสียงดัง เสี่ยงหูตึงกระทรวงสาธารณสุขเตือนคนที่ชอบฟังเพลงจากหูฟังเสียงดังๆ ระวังเสี่ยงเกิดอาการหูตึง หูหนวก เนื่องด้วยปัจจุบันประเทศไทยมีวัยรุ่นจำนวนมากนิยมฟังเพลงจากเครื่องเล่นเพลงดิจิตอลพกพาต่างๆ ซึ่งปกติระดับเสียงที่ปลอดภัยต่อประสาทหูของคนเราคือไม่เกิน 80 เดซิเบล หากเกินกว่านี้จะส่งผลเสียต่อหู คือทำให้เกิดอาการหูอื้อ หูตึง หูหนวก แต่จากพฤติกรรมการฟังเพลงของวัยรุ่ยในปัจจุบันมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายกับระบบประสาทหูอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่นิยมฟังเพลงประเภทที่มีจังหวะเร็ว เสียงเบสดังกระแทกหนักๆ และมีความดังเกิน 80 เดซิเบล เป็นเวลานานๆ ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการสำรวจการได้ยินของวัยรุ่นยุโรปที่ปัจจุบันอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตรายจากการใช้หูฟังมากกว่า 10 ล้านคน ด้วยพฤติกรรมที่ชอบฟังเพลงจากหูฟังเสียงดังๆ เช่นกัน ----------------------------------------------------------------------------------------------------------- 28 ม.ค. 53เทรนด์ใหม่มิจฉาชีพ!? หลอกโอนเงินตู้ ATMนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เชิญหน่วยงานต่างๆ รวม 23 หน่วยงาน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สมาคมธนาคารไทย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) กรมสรรพากร สำนักงานประกันสังคม (สปส.) ฯลฯ เพื่อหารือและวางแนวทางแก้ไขปัญหาประชาชนถูกหลอกลวงให้ทำธุรกรรมผ่านตู้เอทีเอ็ม ซึ่งปัจจุบันพบว่า ยังมีมิจฉาชีพหลอกลวงต่อเนื่อง มีการปรับเปลี่ยนและพัฒนารูปแบบให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลของกรมสรรพากรพบว่า ตั้งเดือนมกราคม -ธันวาคม 2551 มีผู้เสียหายร้องเรียนว่าตกเป็นเหยื่อทั้งสิ้น 2,662 ราย ขณะที่ช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2552 มีถึง 5,088 ราย ในส่วนของดีเอสไอ ได้รับเรื่องร้องเรียนและรับเป็นคดีพิเศษ 37 ราย มูลค่าประมาณ 2.6 ล้านบาท ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของคนร้ายที่มีการพัฒนามากขึ้น จากเดิมอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ติดต่อเพื่อคืนภาษี เปลี่ยนเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือเจ้าหน้าที่บัตรเครดิต เพื่อยืนยันการใช้บริการ หรือการบริการคืนเงิน อีกทั้งยังออกอุบายให้มีการสั่งซื้อสินค้า และชักชวนร่วมลงทุน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เราต้องตกเป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ เราจะควรศึกษาและติดตามข้อมูล กลโกงใหม่ๆ ของกลุ่มผู้ไม่หวังดี เพื่อให้เรารู้เท่าทันก่อนภัยมาถึงตัว--------------------------------------------------------------------------------------------------------------- จับหนุ่มรับฉีดยาผิวขาวใช้รถเก๋งเป็นคลินิก อย.เตือนอันตรายอย. ร่วมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ เข้าจับกุมหนุ่มปริญญาตรีลักลอบฉีดสารผิวขาว โดยไม่มีใบประกอบวิชาชีพเวชกรรม อาศัยรถเก๋งของตัวเองเป็นคลินิกเถื่อนเคลื่อนที่ ไปรอรับลูกค้าที่ลานจอดรถในห้างสรรพสินค้า โดยค่าฉีดจะอยู่ที่เข็มละ 1,200 – 1,800 บาท ซึ่งจากการตรวจค้นในกระโปรงท้ายรถ พบของกลางทั้ง เข็มฉีดยา หลอดฉีดยา น้ำเกลือ ยากลูตาไธโอนในหลอดแก้วหลายสิบหลอด วิตามินซีแบบน้ำ วิตามินบีรวมแบบน้ำ รกแบบฉีด อาหารเสริมชนิดเม็ดบรรจุกล่องพลาสติก ประเภทแอลคาเนทีน กลูตาไธโอน และคอลลาซีพลัส รวม 50 กล่อง ซึ่งจากการสอบสวนผู้ต้องหามีความผิดหลายข้อหา ตั้งแต่ขายยาแผนปัจจุบันโดยไม่ได้รับอนุญาต ขายยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา ประกอบวิชาชีพเวชกรรมโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนและรับอนุญาต และประกอบกิจการและดำเนินการสถานพยาบาลโดยไม่ได้รับอนุญาต นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวเตือนว่า ขณะนี้มีการแอบฉีดยาผิวขาวหรือกลูตาไธโอนในสถานเสริมความงามหลายแห่ง เพราะมีความนิยมมากในกลุ่มวัยรุ่นที่อยากมีผิวขาว ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นยาจริงหรือไม่ อีกทั้งวิธีในการฉีดยังไม่มีการศึกษามาก่อนว่าควรได้รับในปริมาณเท่าใด ระยะเวลาในการฉีดควรห่างหรือบ่อยขนาดไหน ดังนั้นการฉีดในขณะนี้จึงเป็นเพียงการคาดเดาทั้งสิ้น ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายอย่างมากต่อผู้ที่รับบริการ โดย อย.จะสุ่มตรวจและจับกุม ซึ่งหากพบว่ามีที่ใดทำผิดกฎหมายมีสิทธิ์ได้รับโทษหนัก “ฉลาดซื้อ” เคยลงบทความเรื่อง “สารกลูตาไธโอน” ในคอลัมน์ “สวยอย่างฉลาด” นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 83 เดือนมกราคม 2551 ที่อธิบายว่าการ “ใช้กลูตาไธโอนเพื่อช่วยให้ผิวขาว อาจเกิดผลข้างเคียงจากการยับยั้งการสร้างเซลล์เม็ดสีให้ผิวหนัง การฉีดเข้าเส้นหรือเข้ากล้ามเนื้อเช่นเดียวกับการรักษาโรคต่างๆนั้น อาการข้างเคียงของผิวขาวจะเป็นเพียงอาการชั่วคราวเท่านั้น นอกจากนี้การที่ร่างกายได้ รับสารกลูตาไธโอนเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้เม็ดสีเมลานิน ทั้งที่ผิวหนังและที่จอตาลดลง ทำให้จอตารับแสงได้น้อยลง เสี่ยงต่อการมองเห็นได้ในอนาคต” --------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ฟ้องกรมทางหลวงและคณะรัฐมนตรีเพิกถอนสัมปทานโทลล์เวย์3 กุมภาพันธ์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สถาบันพัฒนานักกฎหมายสิทธิมนุษยชน นักศึกษา และประชาชนผู้เสียหายจากการขึ้นค่าผ่านทางโทลล์เวย์ ร้องต่อศาลปกครองกลาง ฟ้องอธิบดีกรมทางหลวง ปลัดกระทรวงคมนาคม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะรัฐมนตรี เพิกถอนสัญญาสัมปทาน เอื้อประโยชน์ให้บริษัทเอกชนใช้อำนาจรัฐได้ตามอำเภอใจโดยไม่ต้องขอความเห็น จากรัฐและสาธารณชนในการขึ้นค่าบริการสาธารณะ รวมทั้งขัดรัฐธรรมนูญที่ไม่ขอความเห็นจากองค์การอิสระคุ้มครองผู้บริโภค จากการที่บริษัทดอนเมืองโทลล์เวย์ขึ้นค่าผ่านทางจาก 55 บาทเป็น 85 บาท ในเดือนธันวาคมที่ผ่านมานั้น จนก่อให้เกิดความเสียหายเดือดร้อนต่อสาธารณะชนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและจิตใจที่เกิดจากความเครียดจากค่าใช้จ่ายการจราจร และปัญหาจราจร การฟ้องร้องครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อ ให้ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขึ้นค่าบริการ โดยให้กรมทางหลวงคิดค่าผ่านทางที่กำหนดบนพื้นฐานของต้นทุนการให้บริการจาก ผู้ใช้บริการสาธารณะ และให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมถึงให้เพิกถอนมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้บรรเทาทุกข์ชั่วคราว เพื่อให้จ่ายค่าบริการโทลล์เวย์ในอัตราเดิมจนกว่าคำพิพากษาจะถึงที่สุด ซึ่งในสัญญาสัมปทานนี้ กลุ่มผู้บริโภคและนักวิชาการด้านกฎหมาย พบว่ามีความฉ้อฉล เอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค ไม่รักษาผลประโยชน์สาธารณะ ขัดต่อสิทธิและแนวนโยบายแห่งรัฐตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ขัดหลักกฎหมายมหาชน และทำให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและประชาชนโดยรวม หลายข้อ เช่น การคืนผลตอบแทนกลับสู่รัฐ กำหนดอยู่ในราคาที่ต่ำมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ทรัพย์สินของรัฐตลอดระยะเวลาสัมปทาน 25 ปี คิดเพียงวันละประมาณ 22 บาท หรือ 8,000 บาทต่อปี ขณะที่บริษัทฯมีรายได้โดยเฉลี่ย 4.4 ล้านบาทต่อวัน บริษัทฯ เพิ่มรายได้ให้กับกิจการตนเอง โดยไม่คำนึงถึงปัญหาการจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิต ด้วยการขยายช่องเก็บอัตราค่าผ่านทางยกระดับโทลล์เวย์หลายช่อง ทำให้จำนวนช่องจราจรบนถนนวิภาวดีรังสิตที่ใช้สำหรับการจราจรทางปกติลดลง เพราะต้องแบ่งทางจราจรดังกล่าวไปใช้สำหรับการขยายช่องเก็บอัตราค่าผ่านทางยกระดับข้างต้น และในระหว่างการดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับบริษัทฯ มิได้ใช้ความระมัดระวังและไม่คำนึงถึงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน สาธารณะในระยะยาว ส่งผลให้เกิดความเสียหายบนถนนวิภาวดีรังสิตส่วนช่องจราจรด้านในติดกับเสา ตอม่อ และทำให้เกิดความเสียหายบนพื้นผิวจราจรเป็นลักษณะลูกคลื่นตลอดเส้นทาง ซึ่งเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่รถยนต์บนถนนวิภาวดีรังสิต อีกทั้ง ยังใช้งบประมาณของรัฐในการซ่อมแซมบำรุงพื้นผิวจราจรตลอดเส้นทางอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 153 ทำบัตร ATM แต่ถูกยัดเยียดให้ซื้อประกันพ่วงด้วย

พอดีผู้เขียนได้รับคำปรึกษาของผู้บริโภคท่านหนึ่งจากจังหวัดอยุธยา  กรณีการถูกยัดเยียดขายประกัน  ก็เลยได้พูดคุยรายละเอียดกัน  จึงได้ทราบว่าเหตุเกิดจากคุณ อ๋อ(นามสมมุติ)มีความประสงค์จะทำบัตร ATM เพื่อความสะดวกด้านการเงิน   ก็เลยตัดสินใจเดินเข้าไปที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาอยุธยา   และแจ้งความประสงค์ต่อพนักงานธนาคารพนักงานแจ้งข้อมูลว่า หากคุณอ๋อต้องการทำบัตรATM ในวันนี้  คุณอ๋อ ต้องซื้อประกันอุบัติเหตุพ่วงไปด้วย   คุณอ๋อบอกว่า “อ๋อ งง..มาก” เพราะความตั้งใจคือต้องการแค่บัตรเพื่อความสะดวก ทำไม! ต้องถูกบังคับให้ซื้อประกันด้วย  คุณอ๋อ จึงปฏิเสธพร้อมยืนยันว่าต้องการทำแค่บัตรATM อย่างเดียว   พนักงานจึงแจ้งว่าหากจะทำบัตร ATM   อย่างเดียว วันนี้ทำไม่ได้เพราะบัตรหมด เหลือแต่บัตรที่บวกประกันด้วย  หากยืนยันจะทำแค่ ATM  คุณอ๋อต้องมาใหม่วันหลัง   ตกลงวันนั้นคุณอ๋อต้องกลับบ้านมือเปล่า   แต่คุณอ๋อก็ยังไม่ละความพยายามที่จะทำ    เดินทางไปที่ธนาคารอีกหลายครั้ง  แต่ก็ได้คำตอบเดิม  คือบัตรหมด  ยังไม่มา  มีแต่บัตรที่พ่วงประกัน   สุดท้ายคุณอ๋อก็ไม่ได้ทำบัตรATMคำถามที่ตามมาก็คือ “เกิดอะไรขึ้นที่ธนาคาร” ที่เกิดเหตุนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจุบันธนาคารหันมาทำธุรกิจประกันภัย  และการทำธุรกิจนี้ทำให้เกิดตัวชี้วัดกับพนักงาน  ว่าแต่ละคนต้องขายประกันได้กี่ราย   หรือไม่?  ที่เป็นสาเหตุของปัญหาที่เขียนไว้เบื้องต้น   หากเป็นจริง  คนที่เดือดร้อนคือผู้บริโภค ที่ถูกละเมิดสิทธิตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค  ในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ   การที่ผู้บริโภคถูกผู้ให้บริการใช้เทคนิคยัดเยียดบริการผู้บริโภคโดยมิได้สมัครใจเยี่ยงนี้    คำถามที่ตามมาคือ ปัญหานี้ ใครมีหน้าที่ดูแลและควบคุม  เพราะปรากฏการณ์เช่นนี้   น่าจะไม่ได้เกิดที่ธนาคารใดธนาคารหนึ่ง  แต่เกิดขึ้นเกือบทุกธนาคารในประเทศไทย  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงหนีไม่พ้นธนาคารแห่งประเทศไทย  ที่ต้องออกกฎ ระเบียบมาควบคุมการให้บริการของธนาคาร  ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยให้ผู้บริโภคมาเผชิญชะตากรรมอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ขณะนี้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน  ได้เดินหน้าเรื่องนี้ อย่างเต็มกำลังโดยสรุปสถานการณ์ปัญหาพร้อมเสนอแนะวิธีแก้ไข ต่อธนาคารแห่งประเทศไทยไปเมื่อวันที่ 7  ตุลาคม 2556  ผู้บริโภคอย่างเราๆ คงต้องคอยเฝ้าระวังว่าปัญหาเหล่านี้จะถูกคลี่คลายหรือเพิ่ม  คนที่ให้ข้อมูลที่ดีที่สุดคือผู้บริโภคที่ประสบปัญหานั่นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 139 เสียความรู้สึกเอทีเอ็มเออเรอร์ ไร้รับผิดชอบ

เดือนนี้ 2 รอบแล้วค่ะ คุณพิมพ์พรผู้ใช้บัตรเอทีเอ็มธนาคารกรุงไทยเธอว่างั้นรอบแรกเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2555 เป็นบัตรประเภทรายปี 200 บาท แล้วได้เข้าไปทำใหม่เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2555 เปลี่ยนเป็นประเภท 500 บาท ฟรีรายปี 3 ปี กดได้ทุกธนาคาร ทุกสาขา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการกดแล้วล่าสุด โดนยึดเมื่อ 27 มีนาคม 2555 (วันที่ส่งเรื่องร้องเรียน) ตอนประมาณ 12.00 น. ที่ตู้ธนาคารกรุงเทพ สาขาบิ๊กซี จ.ตากเธอบอกว่า กดเอทีเอ็มใส่รหัสถูกต้อง แต่พอจะไปกดไปที่เมนูบัญชีออมทรัพย์ ทันใดนั้นหน้าจอได้ขึ้นข้อความ งดใช้บริการชั่วคราวและไม่ยอมคายบัตรออกมาพอเข้าไปติดต่อที่ธนาคารกรุงเทพเจ้าของตู้ แจ้งว่าเป็นบัตรเอทีเอ็มของธนาคารทหารไทย ได้รับคำตอบว่า รอไปก่อน ไม่รู้ว่าจะไปเปิดตู้เมื่อไหร่ เพราะไม่รู้ว่าเงินจะหมดเมื่อไหร่คุณพิมพ์พรบอกว่า ตอนนี้ตู้ขึ้นข้อความว่า งดใช้บริการชั่วคราวแล้ว ได้รับคำตอบกลับมาว่า “อืมมม นั่นแหละ ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะไปแก้ไข ให้รอไปก่อน ไม่ก้อไปติดต่อทำบัตรใหม่”ได้รับคำตอบแบบนี้เลยถึงอึ้งกิมกี่ ไม่รู้จะเซ้าซี้ขอความช่วยเหลือจากธนาคารเจ้าของตู้ยังไงต่อไป คุณพิมพ์พรจึงรีบมาแจ้งทางธนาคารทหารไทย ได้รับคำแนะนำว่า ให้ทำบัตรใหม่ อายัดบัตรเดิม เพราะตู้อื่นยึด เราเอาคืนไม่ได้ “แบบนี้แล้วจะให้เราทำบัตรประเภทกดได้ทุกตู้ทำไมล่ะคะ คุณพี่ แล้วยังจะให้เราทำบัตรใหม่เสียค่าบัตร อีก 500 บาท ทั้งๆ ที่เราเพิ่งทำใหม่ไปเมื่อไม่ถึง 2 อาทิตย์ เราถามว่า ไม่มีทางออกทางไหน อีกเหรอคะ เค้าตอบว่าไม่มี ต้องทำใหม่อย่างเดียวและเสีย 500 บาท ถ้าแบบนี้ เดือนหนึ่ง เราไปกดเงินแล้วโดนยึดบัตรทุกครั้งที่กด เราก้อต้องเสียเงินทำบัตรใหม่ทุกครั้งเหรอคะ ถ้ากด 10 ครั้ง เสีย 10 รอบ รอบละเท่าไหร่คะ เสียดายเงินค่ะ รบกวน ขอคำปรึกษา และคำแนะนำหน่อยค่ะ” แนวทางแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ทำนองนี้ต้องเรียกว่า “ผีซ้ำด้ำพลอย” คือโดนกระทำจากผีนอกบ้านแล้วยังโดนผีเรือนในบ้านเหยียบซ้ำอีก (ด้ำ ภาษาอีสานแปลว่า ผีบ้าน ผีเรือน )เท่าที่ติดตามการร้องเรียนในเรื่องนี้ มีปัญหากันเยอะเหมือนกัน บางรายกดเงิน เงินไหลออกมา แต่ตัวบัตรไม่ยอมคืนออกมา บางรายกำลังทำรายการอยู่ อยู่ๆหน้าจอตู้ดับเครื่องรีเซ็ทใหม่ เงินไม่ได้บัตรไม่ออก เดือดร้อนกันเป็นแถวๆ เพราะไม่มีบัตรกดเบิกเงิน พอไปติดต่อกับธนาคารเจ้าของตู้ก็บอกว่าต้องรออีก 10-15 วันถึงจะมาเปิดตู้ให้ แต่บอกไม่ได้ว่าจะมาเมื่อไหร่เพราะต้องเป็นความลับเดี๋ยวโจรมันรู้ สุดท้ายทนรอไม่ไหวก็ต้องเสียเวลาเสียเงินทำบัตรใหม่กันข้อแนะนำ1.ใช้บัตรเอทีเอ็มของธนาคารไหนก็ควรกดของธนาคารนั้นดีที่สุด จำเป็นหรือหาตู้ไม่ได้จริงค่อยไปกดตู้ของธนาคารอื่น เวลาเกิดเรื่องยุ่งยากจะได้ติดต่อแค่ธนาคารเดียว2.ตู้ที่จะกดเงิน ส่ายสายตาหาดูก่อนว่า มีกล้องวงจรปิดที่สามารถใช้งานได้เป็นปกติ ไม่มีสิ่งกีดขวาง อาทิเช่น รังนกมาบังมุมกล้อง เมื่อเกิดปัญหาให้แสดงอาการฟ้องต่อหน้ากล้องทันที เช่น ได้เงินไม่ครบก็ให้นับเงินหน้ากล้องแล้วชูบอกให้เห็นว่าเงินไม่ครบ เพื่อให้ภาพบันทึกไว้เป็นหลักฐาน3.ถ้าเป็นไปได้เลือกกดตู้ที่ตั้งอยู่หน้าธนาคารนั่นแหละดีที่สุด มีทั้งกล้อง มีทั้งเจ้าหน้าที่ พนักงานรักษาความปลอดภัยคอยให้ความช่วยเหลือ4.หากบัตรเอทีเอ็มถูกยึดไม่ว่าจะเกิดที่ตู้ของธนาคารเจ้าของบัตรเองหรือธนาคารอื่น คนที่จะเอาออกมาได้ก็คือธนาคารที่เป็นเจ้าของตู้ ให้เข้าไปแจ้งพร้อมกรอกเอกสารร้องเรียนทันที ระบุตำแหน่งที่ตั้งและหมายเลขของตู้ พร้อมขอชื่อพนักงานและผู้จัดการสาขา พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อเรื่องการติดตามรับบัตร หากพนักงานบริการไม่เอาอ่าวเอาทะเล ให้รีบติดต่อร้องเรียนกับผู้จัดการสาขาโดยตรงทันที โดยขอให้เร่งรัดติดตามเอาบัตรกลับคืนโดยเร็วและให้นัดหมายวันเวลารับบัตรให้ชัดเจน5.ในกรณีที่ไม่ใช่ความผิดพลาดของผู้บริโภค ไม่ควรใจด่วนทำบัตรใหม่ หากธนาคารไม่มีนโยบายยกเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมสำหรับปัญหาเออร์เรอร์ลักษณะนี้ ควรเบิกถอนเงินด้วยสมุดบัญชีก่อน ดังนั้นไม่ควรหลงเชื่อธนาคารง่ายๆ ที่แนะนำให้ทำบัตรเอทีเอ็มโดยไม่มีสมุดบัญชี กันไว้ดีกว่าแก้ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 115 ถูกบังคับให้ทำ เอทีเอ็ม?

เวลาไปเปิดบัญชีธนาคาร เคยรู้สึกกันบ้างไหมว่า พนักงานธนาคารจะพยายามชักชวนให้เราทำโน่นทำนี่อยู่เรื่อย เอทีเอ็มบ้างล่ะ เดบิตบ้างล่ะ ล่าสุดก็ให้ซื้อประกันชีวิตอีก จนผู้บริโภครู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ใช้บริการ ไม่ทำตามแล้วดูเหมือนจะมีความผิดและเป็นลูกค้าที่ไม่สมประกอบ ธนาคารมีสิทธิที่จะทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกแบบนี้หรือไม่ ประสบการณ์จากคุณวัชระน่าจะให้คำตอบในเรื่องนี้ได้คุณวัชระร้องเรียนเข้ามาว่า วันหนึ่งได้พาพ่อตาไปเปิดบัญชีที่ธนาคารทหารไทย สาขาอุดรธานี แล้วรู้สึกเหมือนว่า ถูกพนักงานธนาคารบังคับให้ทำบัตรเอทีเอ็ม พ่อตาของคุณวัชระบอกว่ายังไม่สะดวกที่จะทำ เลยขอร้องพนักงานธนาคารไปว่า ไม่ทำได้มั้ยวันนี้จะขอทำในภายหลัง แต่กลับถูกพนักงานของธนาคารปฏิเสธ อ้างว่าเป็นนโยบายของธนาคาร“ผมเองได้ยินอย่างนั้นแล้วก็ไม่สบายใจ จึงได้โทรไปที่ 1558 (คอลเซนเตอร์ของธนาคารมหารไทย) สอบถามความจริงได้คำตอบว่า ลูกค้าจะไม่ทำเอทีเอ็มก็ได้ ผมเลยให้พนักงานคนนั้นรับสายคุยกับ 1558 จากนั้น ก็มีทีท่าว่าไม่ยอมอ้างว่ายังไงก็ต้องทำเอทีเอ็ม และต้องเปิดบัญชีไม่ต่ำกว่า 2,000 บาท เพื่อจะได้ร่วมลุ้นบอลโลก “ “ผมคิดในใจ (นี่บ้าหรือเปล่า) สุดท้ายก็ต้องยอมทำตาม(ความต้องการ)ของพนักงานธนาคาร เพราะอยากไปทำธุระอย่างอื่น”คุณวัชระจึงฝากคำถามนี้มายังเราเพื่อให้สอบถามไปที่ผู้บริหารของธนาคารธนาคารทหารไทยว่ามีนโยบายเช่นนี้จริงหรือไม่ แนวทางแก้ไขปัญหาเราได้ทำหนังสือสอบถามไปที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารทหารไทย ต่อมาธนาคารทหารไทยได้มีหนังสือตอบจากเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารคุณภาพบริการสาขา แจ้งว่า คุณวัชระและพ่อตามาเปิดบัญชีกับธนาคาร และพนักงานธนาคารได้แนะนำผลิตภัณฑ์และอธิบายสิทธิประโยชน์รวมทั้งความสะดวกของบัตรเอทีเอ็ม โนลิมิต ให้ลูกค้าทราบ ซึ่งเป็นนโยบายที่เจ้าหน้าที่จะต้องหใบริการแนะนำบริการและผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้า แต่ธนาคารไม่มีนโยบายให้ลูกค้าที่เปิดบัญชีต้องทำบัตรเอทีเอ็มด้วย“อย่างไรก็ตามธนาคารได้ขออภัยลูกค้าที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารอาจจะสื่อสารให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งธนาคารได้แจ้งพนักงานแล้วให้ระมัดระวังการสื่อสารไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก”ชัดเจนกันแล้วนะครับว่า ธนาคารจะขายอะไรก็ขายไป แต่ผู้บริโภคนั้นมีสิทธิเต็มร้อย ที่จะเลือกซื้อหรือจะปฏิเสธสินค้าหรือบริการต่างๆ ที่ไม่ต้องการได้ตลอดเวลา สิทธิที่จะซื้อหรือไม่ซื้อนั้นเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่ใครจะมาล่วงละเมิด หรือบีบบังคับให้เราต้องสละสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 เปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและเดบิตเป็น “บัตรชิปการ์ด” แต่ละธนาคารมีเงื่อนไขอะไรบ้าง?

ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งจะมีการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต จากบัตรแบบเดิมที่เป็นแบบแถบแม่เหล็ก มาเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” (chip card) โดยการใช้งานยังคงสามารถใช้ได้ตามปกติเช่นเดียวกับบัตรแบบเดิม ทั้งการกดเงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม รวมทั้งการใช้บัตรเดบิตใช้จ่ายแทนเงินสดผ่านเครื่องรับบัตรโดยผู้ที่ขอทำบัตรใหม่กับทางธนาคารตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นมา ก็จะได้รับบัตรแบบชิปการ์ดทันที ส่วนผู้ที่มีบัตรเดิมแบบแถบแม่เหล็กต้องไปดำเนินการขอเปลี่ยนบัตรเป็นแบบชิปการ์ดได้ที่ธนาคารผู้ให้บริการบัตรนั้นๆ ทั้งนี้บัตรชนิดแถบแม่เหล็กยังสามารถใช้งานได้ปกติ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2562 การขอเปลี่ยนบัตรจากแบบแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดนั้น ธนาคารแต่ละแห่งก็มีเงื่อนไขในการเปลี่ยนแตกต่างกัน บางแห่งก็บริการเปลี่ยนฟรีไม่มีค่าบริการ บางแห่งเปลี่ยนฟรีแต่มีเงื่อนไขเรื่องระยะเวลา บางแห่งก็มีการคิดค่าธรรมเนียมปกติไม่ต่างจากการขอทำบัตรใหม่ “ฉลาดซื้อ” ฉบับนี้จึงได้สำรวจเงื่อนไขในการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดของแต่ละธนาคารว่ามีความแตกต่างอย่างไรบ้าง            ทำไมต้องเปลี่ยนเป็น “ชิปการ์ด”นางทองอุไร ลิ้มปิติ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้พูดถึงเหตุผลในการให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในประเทศดำเนินการเปลี่ยนแปลงบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด ไว้ 2 เหตุผลสำคัญ คือ ข้อที่ 1.เรื่องของความปลอดภัย เนื่องจากช่วงก่อนหน้านี้มีข่าวเกี่ยวปัญหาการโจรกรรมปลอมแปลงข้อมูลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต หรือการ skimming ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง ซึ่งสร้างความเสียหายและมีผลต่อความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยกับผู้ใช้บัตร ซึ่งนางทองอุไรให้ความมั่นใจว่า บัตรแบบชิปการ์ดจะเพิ่มความปลอดภัยให้ผู้ใช้บัตรมากขึ้นกว่าบัตรแบบแถบแม่เหล็ก โดยถือเป็นมาตฐานที่หลายๆ ประเทศทั่วโลกใช้กัน ทั้งในยุโรป และในประเทศแถบภูมิภาคเอเซียอย่าง มาเลเซีย และ สิงคโปร์ ข้อที่ 2.เป็นการดำเนินตามแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ที่รัฐบาลชุดปัจจุบันได้ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปลายปี 2558 ซึ่งนโยบายนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาระบบการชำระเงินของประเทศไทยให้เข้าสู่ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร โดยการปรับเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตจากชนิดแถบแม่เหล็กเป็นแบบชิปการ์ดอยู่ในแผนการดำเนินการโครงการที่ 2 จากทั้งหมด 4 โครงการ เรื่อง “การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์” ที่ต้องการให้ประชาชนเข้าถึงการใช้บัตรและใช้จ่ายทำธุกรรมการเงินต่างๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น โดยภาครัฐจะรับหน้าที่กระจายอุปกรณ์ชำระเงินเพื่อรองรับการใช้จ่ายผ่านบัตร โดยจะเริ่มที่หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งนี้การเปลี่ยนเป็นบัตรแบบชิปการ์ดก็เพื่อสร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตรูดชำระค่าสินค้าและบริการต่างๆ แผนยุทธศาสตร์ National e-Payment เป็นนโยบายที่ภาครัฐใช้เพื่อส่งเสริมการให้ประชาชนในประเทศหันมาทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ โดยแผนยุทธศาสตร์ National e-Payment ประกอบด้วย 4 โครงการหลัก คือโครงการที่ 1 การรับชำระเงินแบบ Any ID ซึ่งเป็นนโยบายที่จะให้ประชาชนนำเลขที่บัตรประชาชนหรือหมายเลขโทรศัพท์มาใช้เป็นรหัสสำหรับทำธุรกรรมทางการเงิน แทนการใช้เลขที่บัญชี ซึ่งจะช่วยให้การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ง่ายมากขึ้น สอดรับไปกับระบบการโอนเงินแบบใหม่ที่มีชื่อว่า “พร้อมเพย์-PromptPay” ซึ่งธนาคารพาณิชย์ต่างๆ จะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียน พร้อมเพย์-PromptPay ด้วย Any ID ตั้งแต่วันที่ 15. ก.ค.59 เป็นต้นไปโครงการที่ 2 การขยายการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ ก็คือการสนับสนุนให้มีการเข้าถึงและใช้จ่ายผ่านบัตรอิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น เริ่มด้วยการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตเป็นบัตรแบบ “ชิปการ์ด” เพื่อเพิ่มความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยให้กับผู้ใช้บัตรโครงการที่ 3 ระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการพัฒนาการจัดทำและนำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) และใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) เพื่อช่วยให้ภาคเอกชนสะดวกสบายในการนำส่งภาษีผ่านระบบออนไลน์ คาดว่าจะพร้อมใช้ในปี 2560โครงการที่ 4 e-Payment ภาครัฐ เป็นแผนที่หน่วยงานภาครัฐจะเลือกใช้วิธีจ่ายค่าสวัสดิการเงินช่วยเหลือต่างๆ ที่จ่ายให้กับภาคประชาชนโดยตรงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยจะเริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคม 2559 สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ด-บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถบแม่เหล็กแบบเดิม ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ จนถึง 31 ธันวาคม 2562-จากการสำรวจค่าธรรมเนียมและเงื่อนไขการเปลี่ยนบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบแถมแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ด จะเห็นว่าธนาคารพาณิชย์เจ้าใหญ่ๆ ที่มีสาขาบริการเยอะๆ ต่างก็ถือโอกาสช่วงปรับเปลี่ยนบัตร ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็ม(ธรรมดา) ไปในเวลาเดียวกัน เท่ากับว่าตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นปีที่บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตทุกใบจะต้องเป็นบัตรแบบชิปการ์ดทั้งหมด บัตรเอทีเอ็มก็จะไม่สามารถใช้งานได้อีก บัตรพื้นฐานที่สุดก็จะเป็นบัตรเดบิตแบบชิปการ์ดฉลาดซื้อ ฉบับที่ 169 เคยได้สำรวจราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีเปรียบเทียบระหว่างบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบพื้นฐานเมื่อเดือน มกราคม 2558 พบว่าราคาค่าธรรมเนียมของบัตรทั้ง 2 ชนิด ธนาคารส่วนใหญ่คิดค่าธรรมเนียมในอัตราเดียวกัน คือแรกเข้า 100 บาท รายปี 200 บาท ซึ่งก็ยังเป็นราคาเดียวกับบัตรเดบิตชิปการ์ดแบบพื้นฐานที่คิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีที่ 100 บาท และ 200 บาท ตามลำดับ-บัตรแบบชิปการ์ด จะเพิ่มรหัสบัตรในการใช้งานกับตู้เอทีเอ็มเป็น 6 ตัว จากเดิมที่มีแค่ 4 ตัว ทั้งนี้อาจจะยังมีบางธนาคารที่ยังใช้ 4 ตัวตามเดิม-ควรนำบัตรเก่าไปยืนยันการขอบัตรใหม่ด้วย เพื่อแสดงให้ธนาคารรู้ว่ามา ขอเปลี่ยนบัตร ไม่ใช่ทำบัตรใหม่-จากการสำรวจพบว่าแม้ธนาคารหลายแห่งจะโฆษณาว่าสามารถเปลี่ยนบัตรแถบแม่เหล็กเป็นบัตรแบบชิปการ์ดได้ฟรีไม่มีค่าธรรมเนียม แต่ส่วนใหญ่ก็มีเงื่อนไขของเวลามากำหนด โดยจะให้เวลาถึงแค่ 31 ธ.ค. 59 นี้เท่านั้น ที่แตกต่างก็คือ ธนาคารกรุงไทย ที่ให้เปลี่ยนได้จนถึง 31 ธ.ค. 62 หรือกำหนดวันสุดท้ายที่ยังสามารถใช้บัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตแบบเดิม-ธนาคารกสิกรไทย แจ้งว่าไม่คิดค่าธรรมเนียมในการเปลี่ยน แต่เมื่อไปขอเปลี่ยนบัตร ธนาคารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมรายปี ซึ่งผู้ใช้บัตรสามารถขอคืนค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเก่าตามระยะเวลาที่ไม่ได้ใช้ได้แต่ยังไม่ทันไรก็มีปัญหาเกิดขึ้นกับการเปลี่ยนบัตรชิปการ์ดของธนาคารกสิกรไทย เมื่อธนาคารมีการตัดค่าธรรมเนียมของผู้เปลี่ยนบัตรโดยไม่มีการแจ้งให้ทราบ ในช่วงเวลา 02.00-05.00 น.ของวันที่ 12 มิถุนายน 59 ซึ่งมีผู้ร้องเรียนผ่านทางโซเชียลมีเดียเป็นจำนวนมาก สุดท้ายธนาคารกสิกรไทยก็ออกมายอมรับว่าเป็นความผิดพลาดของธนาคารเอง โดยทางธนาคารก็ออกมาชี้แจงว่าได้ทำการโอนเงินที่ถูกตัดไปคืนให้กับผู้ใช้บริการที่ได้รับความเสียหายทั้งหมดที่มา: facebook.com/KBankLive-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กรณีขอเปลี่ยนบัตรต่างสาขากับที่ออกบัตรเดิม จะมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น 30 บาท-บัตรแบบชิปการ์ดสามารถใช้งานได้กับตู้เอทีเอ็มได้ตามปกติ แต่ในระยะแรกอาจมีตู้เอทีเอ็มบางตู้ในบางพื้นที่ของบางธนาคารที่ยังไม่พร้อมใช้งาน โดยเครื่องเอทีเอ็มที่ยังไม่พร้อมรองรับการใช้งานจะมีการแสดงข้อความให้ทราบที่หน้าตู้   คนไทยใช้บัตรเอทีเอ็มน้อยลง?ข้อมูลจากรายงานระบบการชำระเงิน 2557 ของธนาคารแห่งประเทศไทย ระบุเอาไว้ว่าการทำธุรกรรมทางการเงินของคนไทยผ่านตู้เอทีเอ็มพบว่า คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มในสัดส่วนที่ลดลงในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2548 คนไทยชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มอยู่ 418.3 พันล้านบาท หรือคิดเป็น 6.3% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินต่างๆ ของคนไทย แต่ในปี 2557 มูลค่าการชำระเงินและโอนเงินด้วยบัตรเอทีเอ็มลดลงมาอยู่ที่ 373.8 พันล้านบาท หรือแค่ 1.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมดโดยวิธีการทำธุรกรรมการชำระเงินที่คนไทยเลือกใช้มากที่สุดก็คือ การใช้จ่ายด้วยเงินสด โดยในปี 2557 คนไทยถอนเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็มทั้งหมด 7,508. พันล้านบาท หรือ 30.5% ของมูลค่าการทำธุรกรรมการชำระเงินทั้งหมด รองลงมาคือ โอนเงินและตัดเงินล่วงหน้าอัตโนมัติ 6,312.4 พันล้านบาท หรือ 25.7% และการชำระเงินและโอนเงินด้วยบริการธนาคารทางอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่ 4,952.8 พันล้านบาท หรือ 20.2% โดยสถิติปัญหาแต่ละเรื่องจะประกอบไปด้วย การขอคำปรึกษา การร้องเรียน และการแจ้งเบาะแส/ให้คำแนะนำ ที่มา: รายงานผลการดำเนินงานของศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในการให้ข้อมูล/คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียน ปี 2558, ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 ATM กับค่าธรรมเนียม

เดี๋ยวนี้การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็ม ถือเป็นช่องทางที่ตอบสนองผู้บริโภคในสังคมเมืองที่ต้องการความรวดเร็วสะดวกสบายได้เป็นอย่างดี การมีบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิตช่วยให้การใช้จ่ายเป็นเรื่องง่ายขึ้น แต่บางครั้งความสะดวกสบายก็ทำให้เราหลงลืมบางเรื่องที่สำคัญ โดยเฉพาะเรื่องของ “ค่าธรรมเนียม” ยิ่งเราใช้บริการบ่อยมากเท่าไหร่ก็ยิ่งเสี่ยงต่อการจ่ายค่าธรรมเนียมมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้นการรู้ข้อมูลเรื่องค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริโภคควรรู้ เงินของเราถ้าเราไม่ใส่ใจดูแล แล้วใครจะมาดูแลให้เรา   เปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมทางการเงินของแต่ละธนาคารผ่านเครื่องเอทีเอ็ม -ค่าธรรมเนียมที่ฉลาดซื้อนำมาสำรวจเปรียบเทียบครั้งนี้ เป็นค่าธรรมเนียมบริการบัตรเดบิตพื้นฐาน (ค่าธรรมเนียมแรกเข้าถูกที่สุด) ของแต่ละธนาคาร ยกเว้นธนาคารซีไอเอ็มบีไทยและธนาคารเกียรตินาคินที่เป็นค่าธรรมเนียมจากบริการบัตรเอทีเอ็ม เนื่องจากธนาคารไม่มีบริการบัตรเดบิต -ธนาคารพาณิชย์ที่นำมาเปรียบเทียบเลือกจากธนาคารที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย 10 อันดับแรก (ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย) บวกกับธนาคารของรัฐอีกหนึ่งแห่งอย่าง ธนาคารออมสิน -ค่าธรรมเนียมที่สำรวจครั้งนี้เป็นการสำรวจภายในวันที่ 15 ต.ค. 55 เท่านั้น ข้อมูลอาจมีการเปลี่ยนแปลง   ธนาคารไทยพาณิชย์ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               200.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารกรุงไทย ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               200.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารกรุงเทพ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               200.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารกสิกรไทย ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               250.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารธนชาติ ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               200.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดเพิ่มรายการละ 10.- โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี ครั้งแรกของเดือน ครั้งที่ 2 เป็นต้นไป คิดครั้งละ 15.- รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดเพิ่มรายการละ 10.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            150.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               300.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         หมื่นละ 10 .- (คิดขั้นต่ำ 10.-) บวกค่าบริการคู่สายอีก 20.- / รายการ โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารทหารไทย ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               250.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        10.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               200.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารยูโอบี ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               200.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        15.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 15.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารเกียรตินาคิน ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            100.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               100.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        ไม่คิดค่าธรรมเนียม ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    ไม่คิดค่าธรรมเนียม ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               ไม่คิดค่าธรรมเนียม โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ไม่คิดค่าธรรมเนียม โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- ธนาคารออมสิน ค่าธรรมเนียมแรกเข้า                                            50.- ค่าธรรมเนียมรายปี                                                               150.- ถอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                        10.- / รายการ ถอนเงินต่างธนาคารในเขตเดียวกัน                    5 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 6 เป็นต้นไป คิดรายการละ 3.- ถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต                                               20.- / รายการ โอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต                         ฟรี รายการแรกของเดือน รายการที่ 2 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10.- โอนเงินต่างธนาคาร                                              วงเงินไม่เกิน 10,000.- คิดรายการละ 25.- เกิน 10,000 แต่ไม่เกิน 30,000.- คิดรายการละ 35.- --------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------   ฉลาดซื้อแนะนำ -บริการบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต ไม่ใช่ข้อบังคับว่าต้องทำเมื่อเปิดบัญชีกับธนาคาร หากเราต้องการแค่ออมเงินหรือสะดวกกับการเบิกถอนโดยตรงกับธนาคาร ก็เลือกไม่สมัครบัตรต่างๆ ได้ ช่วยให้เราประหยัดทั้งค่าบัตรและค่าธรรมเนียมรายปี -เวลาที่เราจะขอใช้บริการบัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มครั้งแรก เราจะต้องเสียทั้งค่าธรรมเนียมแรกเข้าบวกกับค่าธรรมเนียมรายปีพร้อมกัน เช่น ค่าธรรมเนียมแรกเข้า 100 บาท ค่าธรรมเนียมรายปี 200 บาท เท่ากับว่าการที่เราจะมีบัตรเดบิตหรือบัตรเอทีเอ็มไว้ใช้งานก็จะต้องจ่ายทันที 300 บาท (ยังไม่รวมเงินที่จะต้องใช้ในการเปิดบัญชีกับทางธนาคาร) -ค่าธรรมเนียมในส่วนของบริการสอบถามยอดเงินคงเหลือในบัญชีที่เครื่องเอทีเอ็มต่างธนาคารข้ามเขต คิดในอัตราเดียวกับการถอนเงินต่างธนาคารข้ามเขต คือ 4 รายการแรกของเดือน ฟรี รายการที่ 5 เป็นต้นไป คิดรายการละ 10 บาท ซึ่งหากเลือกบริการสอบถามยอดเงินแล้วต่อด้วยการถอนเงิน ถือว่าได้ใช้บริการผ่านเครื่องเอทีเอ็มนั้นไปแล้ว 2 รายการ -การขอทำบัตรใหม่ ไม่ว่าจะทำหายหรือชำรุด ทั้งบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต มีค่าใช้จ่าย อยู่ที่ 100 บาท เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากเสียเงินส่วนนี้ การดูแลบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตของเราให้ดีจึงถือเป็นภารกิจสำคัญ -หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการเลือกใช้บัตรเอทีเอ็มแล้วเลือกปฏิเสธบัตรเดบิตจะช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า เพราะยังคิดว่าบัตรเอทีเอ็มราคาถูกกว่า แต่ปัจจุบันนี้ราคาค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีของบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิตนั้นเท่ากัน แม้ว่าการใช้งานมันต่างกัน เพราะบัตรเดบิตสามารถใช้แทนเงินสดในการซื้อสินค้าได้ ซึ่งบัตรเอทีเอ็มทำไม่ได้ แต่ก็ถือเป็นสิทธิของเราที่จะเลือกว่าจะใช้บัตรประเภทไหน  (หากธนาคารที่เราใช้บริการมีให้เลือกทั้ง 2 แบบ) บางคนอาจอยากใช้บัตรเดบิตเพราะสะดวกในการใช้จ่าย ไม่ต้องถือเงินสดครั้งละมากๆ หรืออยากใช้แค่บัตรเอทีเอ็มก็พอ เพราะกลัวจะเผลอใจใช้จ่ายเกินตัว อยากได้อะไรก็รูด สุดท้ายเงินหมดไม่รู้ตัว -การโอนเงินผ่านเครื่องเอทีเอ็มสูงสุดต่อครั้งจะอยู่ที่ไม่เกิน 30,000 บาท หากต้องการโอนเงินจำนวนมากกว่า 30,000 บาท ก็ต้องใช้วิธีการโอนหลายครั้ง ซึ่งค่าธรรมเนียมก็จะถูกคิดทุกครั้งที่ทำการโอน -หากลองเปรียบเทียบดูอัตราค่าธรรมเนียมบริการต่างๆ ผ่านตู้เอทีเอ็มของแต่ละธนาคาร จะเห็นว่าจะมีการคิดค่าธรรมเนียมอยู่ในเกณฑ์เดียวกัน ซึ่งมาจากข้อกำหนดที่ประกาศโดยธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีที่แตกต่างชัดเจนคือ บัตรเอทีเอ็ม ของธนาคารเกียรตินาคิน ที่ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมในการถอนเงินไม่ว่าจะเป็นต่างธนาคาร ข้ามเขต และการโอนเงินธนาคารเดียวกันข้ามเขต ซึ่งถือเป็นกลยุทธ์ที่ธนาคารนำมาใช้เพื่อปิดจุดอ่อนของธนาคาร ตรงที่ตู้เอทีเอ็มของธนาคารยังมีไม่มาก การที่สามารถเบิกถอนเงินได้จากทุกตู้เอทีเอ็มของทุกธนาคารโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจของผู้บริโภค -อีกธนาคารที่มีความแตกต่างในเรื่องของอัตราค่าธรรมเนียมชัดเจนก็คือ ธนาคารออมสิน ซึ่งเป็นธนาคารของรัฐวิสาหกิจ ค่าธรรมเนียมจะถูกกว่าธนาคารพาณิชย์ -สำหรับใครที่กำลังคิดจะเปิดใช้บริการบัตรเอทีเอ็มหรือบัตรเดบิต นอกจากค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมต่างๆ ที่เราต้องรู้ไว้เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจว่าจะเลือกบัตรแบบไหน ธนาคารอะไร อย่าลืมข้อมูลอื่นๆ ที่ก็สำคัญไม่แพ้กัน เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ความสะดวกในการใช้บริการ และพฤติกรรมการใช้ของตัวเราเอง -ใครที่เกิดทำบัตรเดบิตหายหรือว่าถูกขโมย ต้องรีบทำการโทรแจ้งระงับการใช้งานกับทางธนาคารโดยทันที เพราะบัตรเดบิตของเราอาจถูกผู้ไม่หวังดีนำไปรูดซื้อของจนเงินหมดบัญชี แม้ในบัตรจะมีการเซ็นชื่อกำกับและผู้ถือบัตรต้องเซ็นชื่อยืนยันเมื่อมีการรูดซื้อสินค้า แต่ก็คงป้องกันอะไรไม่ได้ การโทรไประงับการใช้งานบัตรกับทางธนาคารโดยทันทีจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด   บัตรเดบิต เลือกที่ใช่ ใช้แล้วคุ้ม ปัจจุบันมีหลายธนาคารที่มีบริการบัตรเดบิตมากกว่า 1 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทก็มีจุดเด่นจุดขายแตกต่างกัน เช่น บัตรเดบิตที่สามารถใช้ถอนเงินจากเครื่องเอทีเอ็มได้จากทุกธนาคารทุกจังหวัดโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม อย่าง บัตรเดบิต ทีเอ็มบี โนลิมิต ของธนาคารทหารไทย, บัตรเดบิต ยูโอบี อันลิมิต พลัส ของธนาคารยูโอบี หรือ บัตรกรุงศรี เดบิต “ออล เอทีเอ็ม” ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งบัตรประเภทนี้มักจะคิดค่าธรรมเนียมแรกเข้าแพงกว่าบัตรปกติ ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ นอกจากนี้ยังมีบัตรเดบิตที่มาพร้อมประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ อย่าง บัตรเดบิต พลัส ของธนาคารไทยพาณิชย์ หรือ บัตรเค – แม็กซ์ เดบิต ของ ธนาคารกสิกรไทย หรือแม้แต้บัตรเดบิตที่สามารถใช้บริการผ่อนชำระสินค้าและสินเชื่อเงินสดไม่ต่างจากบัตรเครดิต อย่าง บัตรกรุงศรี เดบิต เฟิร์สช้อยส์ ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา   -------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ค่าธรรมเนียมการใช้ตู้เอทีเอ็มในต่างประเทศ ไอร์แลนด์ ธนาคารกลางแห่งไอร์แลนด์ ห้ามการคิดค่าธรรมเนียมทุกประเภทจากการใช้บัตร ATM รัฐบาลเรียกเก็บอากรแสตมป์จากบัตรเดบิต/บัตรเครดิต/บัตร ATM ปีละ 5 ยูโร --- โปรตุเกส ตามข้อกำหนดของสหภาพยุโรป ธนาคารสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตรได้ แต่รัฐบาลโปรตุเกสมีกฎหมายที่ห้ามการคิดค่าธรรมเนียมใดๆ ก็ตามจากการใช้บัตร --- อินโดนีเซีย ไม่มีการคิดค่าธรรมเนียมการใช้บัตร ATM --- อินเดีย ธนาคารกลางประกาศยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้บัตร ATM ตั้งแต่เดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา แต่มีข้อจำกัดให้ใช้บริการได้ 5 ครั้ง (ถ้าเกินจากนั้น ธนาคารเรียกเก็บค่าบริการ 20 รูปี) ก่อนหน้านี้การใช้บริการข้ามธนาคารมีค่าใช้จ่ายครั้งละ 10 – 35 รูปี --- อเมริกา จากการสำรวจของเว็บไซต์ bankrate.com พบว่า ค่าธรรมเนียม ATM ในอเมริกานั้นเพิ่มขึ้นตลอดในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา และพบว่าธนาคารในมลรัฐฟิลาเดเฟียนั้นมีการคิดค่าธรรมเนียมกับลูกค้าของตนเองที่ไปใช้ตู้ ATM ของต่างธนาคารสูงที่สุดในประเทศ เฉลี่ยแล้ว ในการใช้บริการข้ามธนาคารแต่ละครั้ง ลูกค้าจะต้องเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 4.50 เหรียญ (ธนาคารที่ตนเองมีบัญชีอยู่เรียกเก็บ 2 เหรียญ ธนาคารเจ้าของตู้ที่ไปใช้บริการเรียกเก็บอีก 2.50 เหรียญ)

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 169 เอทีเอ็มแบบธรรมดา ธนาคารยังมีบริการไหม

เปิดหัวเรื่องมาแบบนี้ เพราะมีคำถามจากผู้บริโภคจำนวนหนึ่ง ที่จำเป็นต้องเปิดบัญชีธนาคารพร้อมกับทำบัตรเอทีเอ็ม เพื่อไว้อำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมต่างๆ แต่ปัญหาที่เป็นประสบการณ์ร่วมกันคือ ธนาคารมักเสนอบัตรเอทีเอ็มแบบที่มีลักษณะเป็นบัตรเดบิตไปด้วย(สามารถใช้บัตรรูดแทนเงินสดได้ตามจำนวนเงินที่มีในบัญชี) หรือไม่ก็เสนอบัตรที่มีการทำประกันภัยไปด้วย ทำให้ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรพุ่งพรวดไปหลายร้อยบาท เรื่องนี้มิใช่เพิ่งมามีปัญหา แต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานแล้ว เวลามีการโวยวายผ่านสื่อขึ้นมาสักครั้ง ทุกธนาคารก็ให้คำตอบประมาณว่า ธนาคารไม่มีการบังคับ(แบบตรงๆ) ว่าทุกคนต้องทำบัตรเอทีเอ็มชนิดพิเศษ ผู้บริโภคสามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ซึ่งก็จริง แต่ในสถานการณ์จริง ผู้บริโภคมักถูกบังคับกลายๆ ให้ต้องเลือกทำบัตรเอทีเอ็มแบบพิเศษด้วยข้ออ้างประเภท “บัตรเอทีเอ็มธรรมดาหมด ต้องรอหลายอาทิตย์กว่าบัตรจะมา” หรือ “บัตรแบบนี้ดีกว่าเยอะ สามารถเบิกถอนได้คราวละมากๆ” เป็นต้น ผู้บริโภคหลายคนจึงเลือกเอาความสะดวก ไหนๆ ก็มาแล้ว ทำไปให้เสร็จๆ เพื่อไม่ต้องเสียเวลามาอีก จึงจำยอมทำไป ทั้งที่ไม่เต็มใจเท่าไหร่ เสียงบ่นเสียงครวญจึงเกิดขึ้นมากมาย เพราะค่าธรรมเนียมบัตรประเภทพิเศษนี้ จะวนเวียนมาอีกทุกๆ ปี ซึ่งเป็นเรื่องเกินความจำเป็น   ปัญหาการเปิดใช้บริการเอทีเอ็ม ปัญหาการเงินการธนาคารเป็นประเด็นหนึ่งที่ คณะกรรมการองค์การอิสระภาคประชาชน ให้ความสำคัญและในปี2557 ซึ่งเป็นปีแรกที่เริ่มทดลองทำหน้าที่ ได้มีการจัดทำข้อเสนอเพื่อการแก้ไขปัญหาที่ทางคณะกรรมการฯ มองว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน คือ 1.ยกเลิกการขายพ่วง บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม ร่วมกับการขายประกัน ข้อเสนอนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยทำหนังสือตอบว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทย จะขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ และออกประกาศ หรือกำหนดมาตรการบังคับ ห้ามการขายพ่วงบัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม และประกันภัย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย จะให้แยกแบบฟอร์มการสมัคร (แยกโต๊ะสำหรับการขายประกันโดยเฉพาะ) 2.ยกเลิกการบังคับ ทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มธรรมดา ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งว่า ได้ทำหนังสือถึงธนาคารต่างๆ เพื่อจัดการปัญหาการบังคับทำบัตรเดบิตแทนบัตรเอทีเอ็มแล้ว 3.ลดราคาค่าธรรมเนียมการโอนเงินข้ามเขต ข้อเสนอนี้ ในขั้นต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยยกเว้นค่าธรรมเนียมการโอนเงินทางอินเตอร์เน็ตแล้ว(มีเงื่อนไขของแต่ละธนาคาร) อย่างไรก็ตาม แม้มีการตอบรับเรื่องการจัดการแก้ไขปัญหา การบังคับทำบัตรเดบิตแทนเอทีเอ็มธรรมดา โดยธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว ก็ยังมีเสียงร้องเรียนมาจากฟากผู้บริโภคว่า ปัญหายังไม่หมดไป ธนาคารหลายแห่งยังมามุขเดิมๆ คือพยายามบ่ายเบี่ยงการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ของผู้บริโภค ดังนั้นในการประชุมคณะอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนด้านการเงินและการธนาคาร  ครั้งที่ 5/2557 จึงมีมติให้ทดลองติดตามมาตรการการคุ้มครองผู้บริโภคของธนาคารแห่งประเทศไทยว่า มีผลในทางปฏิบัติจริงหรือไม่ ในประเด็น 1) บัตรเอทีเอ็มธรรมดายังทำได้อยู่หรือไม่ 2) ค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็มและบัตรเดบิต ตรงกับที่ทางธนาคารแจ้งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยฉลาดซื้อขออาสาทดสอบเรื่องดังกล่าว   ขั้นตอนการทดสอบ 1.เราเลือกธนาคารเป้าหมาย 5 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ และธนาคารกรุงศรีอยุธยา โดยเลือกจาก 3 สาขาของแต่ละธนาคาร ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล 2.จัดหาอาสาสมัครเพื่อไปทดลองเปิดบัญชีและทำบัตรเอทีเอ็ม โดยในการทดสอบอาสาสมัครจะบอกเพียงขอทำบัตรเอทีเอ็มเท่านั้นเพื่อดูการเสนอบริการของพนักงานว่ามีการให้ข้อมูลแบบใด เมื่อได้ข้อมูลแล้วจึงค่อยยืนยันว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาเท่านั้น เพื่อดูว่าพนักงานจะมีปฏิกิริยาอย่างไร และอาสาสมัครยังสามารถทำเฉพาะบัตรเอทีเอ็มธรรมดาได้หรือไม่ 3.ก่อนจะส่งอาสาสมัครไปเปิดบัญชี เราได้ตรวจสอบข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อดูข้อมูลเรื่องค่าธรรมเนียมการทำบัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต ที่แต่ละธนาคารได้แจ้งไว้กับธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งพบว่า ธนาคารกรุงเทพ ได้ยกเลิกการให้บริการบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาแล้ว มีเพียงบัตรเดบิต “บีเฟิร์ส” เท่านั้น     จากตารางจะเห็นว่า การทำบัตรเอทีเอ็ม 1 ใบ แบบธรรมดาจะเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งมีค่ารายปี 250 บาท+แรกเข้า 100 บาท รวมเป็นเงิน 350 บาท ข้อสังเกตคือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา ของธนาคารกสิกรไทย กรุงศรีฯ และไทยพาณิชย์จะมีค่าธรรมเนียมแรกเข้า+รายปี ไม่แตกต่างจากการทำบัตรเดบิตแบบธรรมดา เว้นของธนาคารกรุงไทยที่ค่าธรรมเนียมบัตรธรรมดาจะถูกกว่าบัตรเดบิต คือ บัตรเอทีเอ็มธรรมดา 230 บาท บัตรเดบิตธรรมดา 300 บาท         จากการทดลองสรุปว่า 12 สาขาของธนาคารเป้าหมาย ที่อาสาสมัครได้ทดลองเปิดบัญชีใหม่พร้อมทำบัตรเอทีเอ็ม พบว่า ไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ ถึง 6 สาขา (50%) โดยธนาคารกสิกรไทยทำไม่ได้เลยทั้ง 3 สาขาที่อาสาสมัครได้ทดลองขอใช้บริการ รองลงมาคือ ธนาคารกรุงไทย ทำไม่ได้ 2 สาขา ไทยพาณิชย์ ทำไม่ได้ 1 สาขา(อ้างบัตรหมดเช่นกัน) ส่วนที่ต้องปรบมือให้ คือธนาคารกรุงศรีฯ อาสาสมัครของเราสามารถเปิดบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ทั้งสามสาขา   ฉลาดซื้อแนะ 1.ถ้าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาจริงๆ ขอให้ยืนยันกับทางพนักงานว่าต้องการทำบัตรเอทีเอ็มธรรมดาเท่านั้น ซึ่งค่าธรรมเนียมจะไม่เกิน 300 บาท เว้นธนาคารไทยพาณิชย์ 350 บาท 2.ระวังพนักงานเล่นกลกับท่าน กรณีที่บัตรเอทีเอ็มธรรมดาของธนาคารอาจมีหลายประเภท ท่านอาจได้ประเภทที่ค่าธรรมเนียมสูงแทนบัตรธรรมดาที่ค่าธรรมเนียมต่ำ  หรือได้เป็นบัตรเดบิตมาแบบงงๆ เพราะค่าธรรมเนียมเท่ากัน 3.โปรดเลือกบริการโดยคำนึงถึงความเสี่ยง ด้วยค่าธรรมเนียมบัตรเอทีเอ็มกับบัตรเดบิต อาจไม่ได้มีราคาต่างกัน ท่านจึงอาจเลือกบัตรเดบิตเพื่อความสะดวก แต่การเลือกใช้บัตรเดบิตต้องคำนึงเรื่องความปลอดภัย เพราะบัตรเดบิตสามารถนำไปรูดซื้อสินค้าได้เช่นเดียวกับบัตรเครดิต เพียงแต่ไม่เกินยอดเงินในบัญชี ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงสูงในการสุญเงิน หากท่านทำบัตรสูญหายหรือถูกขโมยไปใช้ เพราะผู้ไม่หวังดีต่อท่านจะสามารถรูดซื้อสินค้าได้ง่ายๆ เพียงแค่ปลอมลายมือชื่อของท่านเวลาซื้อของเท่านั้น(ร้านค้าส่วนใหญ่จะไม่ค่อยได้พิจารณาเรื่องลายมือชื่อสักเท่าไร) ดังนั้นท่านอาจสูญเงินทั้งหมดในบัญชีไปได้ง่ายๆ 4.ถ้าพบปัญหาว่าไม่สามารถทำบัตรเอทีเอ็มแบบธรรมดาๆ ได้ เพราะการอ้างเรื่องบัตรหมด ท่านควรทำหนังสือร้องเรียนต่อธนาคารดังกล่าว โดยการส่งจดหมายถึงธนาคารแห่งประเทศไทยและสำนักงานใหญ่ของธนาคารนั้น เพื่อให้เกิดการปรับปรุงการให้บริการ ถ้าจะไม่มีบัตรแบบธรรมดาแล้ว ก็ควรประกาศยกเลิกไปอย่างเป็นทางการ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 108 บัตรเดบิตกับเรื่องที่ต้องรู้

“บัตรเดบิต” (Debit Card) คือบัตรที่ทางธนาคารออกให้กับเราเมื่อเราเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคาร เพื่อให้เราสามารถนำไปใช้ทำธุรกรรมทางการเงินด้วยระบบอิเล็กทรอนิคส์ผ่านตู้ ATM ไม่ว่าจะเป็นถอนเงิน โอนเงิน และชำระค่าบริการต่างๆ พูดง่ายๆ ก็คือ “บัตรเดบิต” มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับ “บัตร ATM” แต่บัตรเดบิตจะเพิ่มความพิเศษตรงที่สามารถนำไปจับจ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ได้โดยตรงโดยที่ไม่ต้องใช้เงินสด ซึ่งก็คือการ “รูดปึ๊ด!” ตามสไตล์เงินพลาสติกแบบเดียวกับบัตรเครดิต แต่ว่าการใช้บัตรเดบิตไปรูดซื้อสินค้านั้น เงินจะถูกหักออกจากบัญชีของเราทันที ซึ่งต่างจากบัตรเครดิตที่เหมือนเป็นการนำเงินจากธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำบัตรเครดิตไว้มาใช้ก่อนแล้วค่อยจ่ายทีหลัง ถือเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายมากขึ้นสำหรับคนที่ไม่อยากถือเงินสด ซึ่งบัตร ATM ไม่สามารถทำได้  บัตรเดบิต VS บัตร ATMหลายๆ คนอาจยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้เราหลังจากเปิดบัญชีใหม่เป็นบัตร ATM หรือบัตรเดบิต ด้วยความที่หลายคนยังเข้าใจผิดว่า บัตรกดเงินสดที่ธนาคารออกให้คือบัตร ATM เท่านั้น ซึ่งในช่วงหลายปีมานี้ บัตรเดบิตถือเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ที่ทางธนาคารพยายามผลักดันทำตลาดอย่างหนักให้กับลูกค้าที่ใช้บริการ ซึ่งทุกครั้งที่เราไปเปิดบัญชีใหม่ พนักงานของธนาคารจะแนะนำให้เราเลือกทำบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM ด้วยความที่คุณสมบัติของบัตรเดบิตมีมากกว่า ใช้ได้ครอบคลุมทั้งถอนเงินจากตู้ ATM และใช้จับจ่ายได้แทนเงินสด แถมบัตรเดบิตยังมีเรื่องโปรโมชั่นส่งเสริมการขายจากร้านค้าหรือบริการที่ร่วมรายการเมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต เราอาจได้รับส่วนหรือสิทธิประโยชน์อื่นๆ เล็กๆ น้อยๆ ซึ่งความพิเศษตรงนี้ก็ถือเป็นเงื่อนไขที่จูงใจให้กลายคนหันมาใช้บริการบัตรเดบิตแทนบัตร ATM กันมากขึ้นเมื่อคุณสมบัตรพิเศษมีมากกว่า เรื่องของค่าบริการที่เราต้องเสียให้กับธนาคารก็ต้องสูงตามไปด้วย บัตรเดบิตจะมีค่าธรรมเนียมทั้งในส่วนของค่าธรรมเนียมในการทำบัตรใหม่และค่าธรรมเนียมรายปีสูงกว่าบัตร ATM นี้จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมธนาคารและสถาบันการเงินต่างๆ จึงพยายามจูงใจลูกค้าให้หันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM สำหรับผู้บริโภคอย่างเราก็ต้องลองพิจารณาดูกันเอาเองว่า เจ้าบัตรเดบิตแม้จะมีคุณสมบัติพิเศษเหนือกว่าบัตร ATM แต่ไอ้ความพิเศษของมันนั้นเราได้ใช้ประโยชน์คุ้มค่ากับค่าธรรมเนียมที่เราต้องเสียเพิ่มขึ้นจากบัตร ATM ธรรมดาหรือไม่บัตรเดบิต VS บัตรเครดิต“บัตรเครดิต” (Credit Card) ช่วยให้เราใช้จ่ายได้โดยไม่ต้องเสียเงินจำนวนมากๆ ไปในครั้งเดียว บัตรเครดิตจะทำหน้าที่จ่ายเงินให้เราก่อน หลังจากนั้นเราจึงค่อยจ่ายเงินคืนไปตามเวลาและเครดิตที่เราตกลงไว้กับธนาคารหรือร้านค้าที่เราซื้อสินค้า พูดให้เห็นภาพ บัตรเครดิตก็คือการที่เรานำ “เงินในอนาคต” ออกมาใช้ก่อน ซึ่งหากเราไม่คุมการใช้จ่ายให้ดีหรือใช้จ่ายเกินตัวเกินวงเงินที่เราสามารถหาได้ในแต่ละเดือน ผลที่จะตามมาก็คือการเป็นหนี้บัตรเครดิต เพราะเราไม่สามารถหาเงินมาใช้คืนให้กับธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เราไปทำสัญญาไว้ได้ ส่วนบัตรเดบิต เป็นการใช้จ่ายที่ดึงเอาเงินมาจากบัญชีของเราโดยตรง คือใช้ไปเท่าไรเงินก็จะถูกหักออกไปเท่านั้นเดี๋ยวนั้น ไม่สามารถใช้จ่ายเกินยอดเงินในบัญชีได้ ซึ่งแม้บัตรเดบิตจะไม่สร้างหนี้ให้เรากับธนาคารเหมือนบัตรเครดิต แต่ก็ต้องรู้จักควบคุมการใช้จ่ายและหมั่นเช็คยอดเงินในบัญชีเสมอ เพราะเราอาจเผลอรูดบัตรเดบิตซื้อนู้นซื้อนี้ จนเงินหมดบัญชีโดยไม่รู้ตัวบัตรเดบิต = บัตรอันดับหนึ่งการใช้บัตรเดบิตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งมีสาเหตุจากหลายปัจจัย ทั้งการมุ่งทำการตลาดที่ผลักดันให้บัตรเดบิตเข้ามาแทนที่บัตร ATM ซึ่งตอนนี้ก็มีบางธนาคารที่ยกเลิกการใช้บัตร ATM ไปแล้ว สิ่งที่ธนาคารใช้เป็นกลยุทธ์ดึงดูดให้เราหันมาใช้บัตรเดบิตแทนบัตร ATM ที่เห็นชัดเจนก็คือ การปรับค่าธรรมเนียนทั้งแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้ขึ้นมาเท่ากับบัตรเดบิต ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อผู้ใช้ส่วนใหญ่ได้รับทราบถึงคุณสมบัติที่เหนือกว่าของบัตรเดบิต ก็ต้องย่อมเลือกบัตรเดบิตมากกว่าบัตร ATM นอกจากนี้บัตรเดบิตยังถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่อยากพกเงินสดจำนวนมากๆ และอยากใช้จ่ายซื้อสินค้าต่างๆ ผ่านบัตร ซึ่งแต่ก่อนคุณสมบัติแบบนี้มีเฉพาะในบัตรเครดิต แต่ด้วยเงื่อนไขในเรื่องของรายได้และฐานเงินเดือน ทำให้มีคนจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ก็คือคนที่มีรายได้ไม่สูงพอที่จะสมัครบัตรเครดิตได้ ทำให้บัตรเดบิตจึงกลายมาเป็นคำตอบสำหรับคนกลุ่มนี้***จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เมื่อปี 2551 มีจำนวนบัตรเดบิตที่ใช้ในประเทศไทย 26.3 ล้านใบ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึง 12.8% ขณะที่จำนวนบัตร ATM อยู่ที่ 22.4 ล้านใบ ลดลงจากปี 2550 0.9% ส่วนบัตรเครดิตมี่จำนวน 13 ล้านใบ เพิ่มขึ้น 8.1%บัตรเดบิต VS อุปสรรคแม้ว่าเวลานี้บัตรเดบิตจะถือบัตรอันดับหนึ่งที่มีคนใช้มากที่สุด แต่บัตรเดบิตกลับไม่ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างครบถ้วน เพราะจากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยบัตรเดบิตยังคงถูกใช้เพื่อเบิกถอนเงินผ่านทางตู้ ATM เช่นเดียวกับบัตร ATM เป็นส่วนใหญ่ ขณะที่การใช้เพื่อรูดซื้อสินค้าแทนเงินสดยังมีสัดส่วนที่ต่ำมาก ซึ่งมีที่มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากธนาคารเองที่มุ่งหวังเพิ่มปริมาณจำนวนผู้ใช้บัตรเป็นหลัก แต่ไม่ได้ให้ข้อมูลหรืออธิบายสิทธิการใช้ประโยชน์ของบัตรเดบิตที่มากกว่าการถอนเงินจากตู้ ATM นอกจากนี้ยังมีสาเหตุจากร้านค้าที่รับชำระด้วยบัตรเดบิตยังมีน้อย บางแห่งมีเรื่องเงื่อนไขเงินขั้นต่ำในการใช้บัตร และสาเหตุหลักจากตัวผู้ใช้เองที่ส่วนใหญ่ยังคงไม่ถนัดกับการใช้จ่ายผ่านบัตร ยังคงสะดวกกับการใช้เงินสดมากกว่า***ในปี 2551 มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิตรวมทั้งสิ้น 760 ล้านรายการ คิดเป็นการใช้จ่ายเพื่อชำระสินค้าและบริการเพียง ร้อยละ 1.5 เท่านั้น ขณะที่การเบิกถอนเงินจากตู้ ATM มีมากถึง ร้อยละ 83ตารางเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมแรกเข้าและค่าธรรมเนียมรายปีบัตรเดบิต ธนาคารชื่อประเภทบัตรเดบิตค่าธรรมเนียมแรกเข้า(บาท)ค่าธรรมเนียมรายปี(บาท)สิทธิพิเศษเพิ่มเติมธ.กรุงเทพบัตรเดบิตบีเฟิสต์100 200-บัตรบีเฟิสต์-บีทีเอส100200ใช้เป็นบัตรโดยสารบีทีเอสประเภทเติมเงิน บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท100200มีไมโครชิพ EMV สามารถเก็บได้ทั้งข้อมูลและซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจได้ว่า บัตรของท่านจะยากต่อการปลอมแปลงATM100200กรณีบัตร ATM บัตรชำรุดหรือสูญหายแล้วต้องการบัตรใหม่ ธนาคารจะออกบัตรเดบิตบีเฟิสต์ทดแทนให้ธ.กรุงไทย บัตรเดบิตมาตรฐาน (Classic)ไม่มีรูปถ่าย 100มีรูปถ่าย 150200-บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย150300มีวงเงินความคุ้มครอง การเสียชีวิต หรือทุพพลภาพจากอุบัติเหตุจำนวน 200,000.- บาท / บัตร และได้รับการบริการช่วยเหลือฉุกเฉิน จาก ทิพยประกันภัยATM50 150-ธ.กสิกรไทยK- Debit Card100200-K-My Debit Card  150200ใส่รูปภาพของตัวเองลงบนบัตรได้K-Max Debit Card  (  )100400ให้ความคุ้มครองอุบัติเหตุสูงสุด 200,000 บาท ทันที 24 ชั่วโมงทั่วโลกพร้อมรับสิทธิ์เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงสุดครั้งละ 3,000 บาท เมื่อเข้ารักษาตัวจากอุบัติเหตุ ATM100200-ธนาคารไทยพาณิชย์ SCB Debit Card100200-SCB Debit Plus Card100599 บัตรเงิน1,499 บัตรทองเบิกค่ารักษาจากอุบัติเหตุได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง คุ้มครอง 24 ชั่วโมงทั่วโลก ไม่ต้องสำรองจ่ายเมื่อรักษากับสถานพยาบาลคู่สัญญากว่า 200 แห่งATM 100200-ธนาคารกรุงศรีอยุธยา บัตรกรุงศรี วีซ่า เดบิต100200-ATM100150-ธนาคารทหารไทย บัตรเดบิต Basic100200-บัตรเดบิต No Limit Next200200ฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารบัตรเดบิต No Limit500ฟรีฟรี ค่าธรรมเนียมการถอนเงิน และสอบถามยอดที่เครื่อง ATM ทุกธนาคารATM100200-ธนาคารนครหลวงไทย SCIB D-card100150-ATM50100-ธนาคารออมสิน บัตรออมสินวีซ่า เดบิต50100-ATM50100- *ข้อมูลค่าธรรมเนียมทั้งหมดเป็นการสำรวจภายในวันที่ 1 ม.ค. 53 เท่านั้น-จะเห็นว่าเกือบทุกธนาคารปรับค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปีของบัตร ATM ให้เท่ากับบัตรเดบิตพื้นฐาน ยกเว้น ธนาคารกรุงไทย และ ธนาคารนครหลวงไทย ที่ค่าธรรมเนียมบัตร ATM ยังถูกกว่าบัตรเดบิต-ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM ของบัตรเดบิต ทั้งการถอนเงิน โอนเงิน ชำระค่าบริการต่างๆ คิดค่าธรรมเนียมเท่ากับการทำผ่านบัตร ATM (แต่จะแตกต่างกันไปตามแต่ละธนาคาร)-บัตรเดบิต No Limit Next และ บัตรเดบิต No Limit ของธนาคารทหารไทย ไม่เสียค่าธรรมเนียมในการธุรกรรมการเงินผ่านตู้ ATM-เรื่องความปลอดภัยในการใช้บัตรเดบิตถือเป็นจุดขายที่หลายๆ ธนาคารนำมาใช้ดึงดูดคนที่จะใช้บริการ ที่ชัดเจนที่สุด บัตรบีเฟิสต์ สมาร์ท ของธนาคารกรุงเทพ ที่การฝังมีไมโครชิพ EMV เพื่อเก็บข้อมูลของเจ้าของบัตร ป้องกันการแอบอ้างหรือปลอมแปลง ส่วนการลงรูปของเจ้าของบัตรลงบนหน้าบัตรในบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทยและบัตร K-My Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย ก็ถือเป็นการป้องกันการแอบอ้างใช้บัตร เพราะข้อเสียใหญ่ของบัตรเดบิตก็คือ หากเจ้าของบัตรทำบัตรหาย โอกาสที่จะถูกคนอื่นเอาบัตรไปรูดใช้ซื้อของสามารถเกิดขึ้นได้ง่ายมาก เพราะแม้จะมีการเซ็นลายเซ็นกำกับที่ใบเสร็จเพื่อเปรียบเทียบกับลายเซ็นที่หลังบัตร แต่ก็สามารถปลอมแปลงได้ง่ายมาก การป้องกันที่ดีที่สุดคือเมื่อบัตรหายต้องรีบติดต่อกับธนาคาร เพื่อระงับการใช้บัตรทันที-เรื่องการรักษาพยาบาลและดูแลสุขภาพ ก็ถือเป็นจุดขายที่บัตรเดบิตของหลายธนาคารนำมาใช้ ไม่ว่าจะเป็น บัตรเดบิต-ทิพยประกันภัย ของธนาคารกรุงไทย, บัตร K-Max Debit Card ของธนาคารกสิกรไทย และ SCB Debit Plus Card ของธนาคารไทยพาณิชย์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 124 กระแสต่างแดน

  อย่างนี้มันต้องถอน(ให้หมด) สมาคมบัตร เอทีเอ็มประเทศเวียดนาม  เรียกร้องให้เพิ่มค่าธรรมเนียมถอนเงินสดจากเครื่องเอทีเอ็ม(ATM) ของต่างธนาคารจาก 3, 300 เป็น 5, 500 ด่องเวียดนาม ในแต่ละครั้งที่มีการถอนเงิน พร้อมขออนุญาตให้สามารถเก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินจากตู้ ATM จากธนาคารเจ้าของบัตรในครั้งที่ 4 ซึ่งก่อนหน้านี้การถอนเงินสามครั้งถูกหน่วยงานปฏิเสธไม่ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียม   สมาคมอ้างว่า การเพิ่มค่าธรรมเนียมถอนเงินสดของต่างธนาคารจะช่วยลดภาระการขาดทุนในการลงทุนตู้ ATM และเพื่อหลักประกันและความปลอดภัยของตู้ รวมทั้งจากเดิมที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เก็บค่าธรรมเนียมการถอนเงินสดสำหรับลูกค้าจากตู้ ATM ธนาคารของตนเอง รวมทั้งปัญหาของลูกค้าที่ลูกค้ามักจะถอนเงินทั้งหมดจากบัตรเพื่อฝากในบัญชีออมทรัพย์และได้รับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในขณะที่ธนาคารไม่ได้ประโยชน์จากการเก็บเงินไว้ในตู้ ATM ขณะที่นักวิชาการเวียดนาม ไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของสมาคมธนาคาร “ปัญหาสำคัญคือคุณภาพบริการที่ไม่เหมาะสมกับการขึ้นราคา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาตู้ATM ที่มักจะยึดบัตร ตู้ใช้การไม่ได้ หรือถอนเงินแล้วไม่มีเงินออกมาแต่ถูกหักบัญชีไป หรือแม้แต่ปัจจุบันที่ธนาคารส่วนใหญ่บังคับให้มีเงินขั้นต่ำไว้ ถึงแม้จะน้อยแต่ก็เป็นเงินให้ธนาคารหาประโยชน์โดยไม่มีต้นทุนใด ๆ และที่สำคัญธนาคารไม่ควรลงทุนในการขยายเครือข่าย ATM ให้มากเพราะในอนาคตแนวโน้มการชำระเงินที่ไม่ใช้เงินสดจะถูกพัฒนามากขึ้น   อยากมีทางด่วนแบบนี้บ้าง ประเทศอาเจนตินา มีกติกาที่น่าสนใจเรื่องการใช้ทางด่วน โดยเขาได้ออกเป็นกฎกระทรวงสำหรับให้ผู้ใช้ทางด่วนแห่งชาติ โดยมีการระบุรายละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ใช้ทาง ทั้งเรื่องระยะเวลาในการรอชำระค่าผ่านทาง และจำนวนยานพาหนะในการรอจ่ายเงินในแต่ละช่องทาง   โดยกำหนดให้การรอจ่ายเงินไม่เกินสามนาทีสำหรับเส้นทางพิเศษของรถประเภทเดียวกัน หรือห้านาที สำหรับเส้นทางการจราจรที่มีรถหลายประเภท  หรือจำนวนรถสูงสุดไม่เกิน 20 คัน ของรถที่รอชำระเงินค่าผ่านทางในแถวเดียวกัน และเมื่อไหร่ที่เข้าเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่ง ทางพิเศษต้องเปิดทางให้กับรถทุกคัน นั่นหมายความว่า ไม่สามารถเก็บเงินจากลูกค้าได้เลย   ใครไปประเทศนี้ไม่ต้องแปลกใจหากได้ยินเสียงแตรเมื่ออยู่บนทางด่วนเพราะเป็นสัญญาณให้ไม้กั้นทางด่วนยกขึ้นและใช้ทางด่วนได้ฟรี เพราะไม่ทางด่วนไม่สามารถประกันเรื่องระยะเวลาที่รอหรือจำนวนรถที่มากเกิน 20 คันตามที่กำหนดไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค ------------------------------------------------------------------------------- มหาวิทยาลัยสตรีใหญ่ที่สุดในโลก แม้ว่าโลกมุสลิมจะเคร่งครัดในประเพณีปฏิบัติเรื่องสิทธิ หญิง ชาย ทำให้หญิงมุสลิมจำนวนมากขาดโอกาสทางการศึกษา แต่ที่ซาอุดิอาระเบียที่นี่กลับก้าวหน้าเป็นอย่างมาก เพราะเขาเพิ่งเปิดมหาวิทยาลัยสตรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก กษัตริย์ อับดุลลาห์ แห่งซาอุดิอาระเบีย ได้ทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัยปรินเซสโนรา บินท อับดุลารามัน (Princess Nora bint Abdulrahman University – PNU) อย่างเป็นทางการ ด้วยศักยภาพในการรองรับนักศึกษาถึง 50,000 คน ทำให้ มหาวิทยาลัยปรินเซสโนราฯ นี้ เป็นศูนย์การเรียนรู้ระดับสูงและมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนสำหรับผู้หญิงเพียงอย่างเดียวที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ใช้งบประมาณในการสร้างถึง 200 ล้านเหรียญ ริยาลซาอุ  นาย อิบราฮิม อัล อัสแซบ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของซาอุฯ กล่าวว่า “มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็นถึงระบบการศึกษาสำหรับผู้หญิงและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศนี้ของผู้หญิง”  นอกจากศักยภาพในการรองรับจำนวนมาก และการเปิดสอนในภาควิชาที่ผู้หญิงหาเรียนได้ยากในบางมหาวิทยาลัยที่เข้มงวดในเรื่องการแบ่งเพศชายและหญิงในชั้นเรียนแล้ว ม.ปรินเซส โนรา ยังมีสิ่งปลูกสร้างพร้อมอุปกรณ์การเรียน เครื่องไม้เครื่องมือเพื่อการศึกษาต่างๆ ที่ครบครัน ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์เพื่อการศึกษาทางการแพทย์ ศูนย์วิจัย และห้องสมุดที่มีหนังสือและบทความต่างๆ กว่าห้าล้านเล่ม สิ่งหนึ่งที่ดึงดูดความสนใจเป็นพิเศษของมหาวิทยาลัยนี้คือ ศูนย์กีฬาขนาดใหญ่สำหรับผู้หญิง และพื้นที่พักอาศัยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกที่รองรับนักศึกษาได้ถึง 12,000 คน นาย อับอัสแซบ กล่าวเสริม มหาวิทยาลัยแห่งนี้ ถูกออกแบบให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงาน โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากแผงโซล่าที่มีความกว้าง 40000 ต.ร.เมตร ซึ่งพลังงานที่ได้นั้น 16% ใช้ไปกับการผลิตความร้อน และ 18% ในการทำความเย็นภายในมหาวิทยาลัย อีกหนึ่งความสะดวกและทันสมัยที่ต้องกล่าวถึงของมหาวิทยาลัยปรินเซส โนราคือ ระบบขนส่งภายในที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่มีรถไฟของมหาวิทยาลัยซึ่งเชื่อมต่อกับทุกอาคารและศูนย์ฯ ต่างๆ ให้บริการนักศึกษาตลอด 24 ชม. และไม่ใช่เพียงสาธารณูปโภคที่ทันสมัยเท่านั้น มหาวิทยาลัย ปรินเซสโนรา ยังมี โรงกำจัดขยะ โรงบำบัดน้ำเสีย โกดังเก็บของ และศูนย์ซ่อมบำรุง เพื่อการตอบสนองและการดูแลมหาวิทยาลัยแห่งนี้อย่างครบวงจรอีกด้วย งานนี้เรียกว่าใหญ่ครบวงจรจริงๆ ------------------------------------------------------------------------------- ห้องฉุกเฉิน มีก็เหมือนไม่มี ไม่น่าเชื่อว่าประเทศที่เพิ่งออกกฎหมายประกันสุขภาพถ้วนหน้าอย่างสหรัฐอเมริกากำลังเผชิญกับปัญหาห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมีไม่เพียงพอ โดยเฉพาะในเขตคนจนที่อาศัยอยู่ในเมือง  จากการศึกษาซึ่งตีพิมพ์เป็นบทความของสมาคมการแพทย์อเมริกา พบว่าจำนวนห้องฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยในเขตเมืองในสหรัฐอเมริกาช่วง 20 ปีที่ผ่านมามีอัตราลดลงจาก 2,440 ห้อง ในปี 1990 เหลือ 1,779 ห้องในปี 2009 ถึงแม้ว่าอัตราจำนวนห้องฉุกเฉินจะมีเพิ่มขึ้นประมาณ 35% ทั่วประเทศก็ตาม  โรงพยาบาลส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ต่างพากันปิดแผนกฉุกเฉิน โดยเฉพาะโรงพยาบาลที่ดำเนินการเน้นในเชิงธุรกิจ เนื่องจากห้องฉุกเฉินไม่ทำกำไรให้กับโรงพยาบาล ในรายงานการศึกษาพบว่า เกือบสองเท่าของห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลที่ดำเนินการเชิงธุรกิจและโรงพยาบาลที่ได้ผลกำไรต่ำมักปิดแผนกฉุกเฉินลง เนื่องจาก 40% เป็นการให้บริการแก่ผู้ป่วยยากจน  สำหรับผู้ป่วย “บางคนคิดว่า ตราบเท่าที่ยังมีห้องฉุกเฉินอยู่ พวกเขาก็ยังรู้สึกเหมือนได้รับการปกป้อง” ดร.ฮะเซีย นักวิจัยซึ่งได้รับทุนจากมูลนิธิโรเบิร์ต วูด จอห์นสัน กล่าว แต่ถึงแม้ว่าจะยังมีห้องฉุกเฉินใกล้บ้านให้อุ่นใจ พวกเขาก็ยังได้รับผลกระทบจากการมีห้องฉุกเฉินเพียงไม่กี่ห้องอยู่ดี เพราะจำนวนห้องที่มีน้อยทำให้ผู้ป่วยต้องรอนานขึ้น ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพในการรักษา  สถานการณ์การมีห้องฉุกเฉินน้อยอาจจะยิ่งเลวร้ายกว่านี้ เนื่องจากกฎหมายการดูแลสุขภาพฉบับใหม่ จะมีผลต่อแผนการดูแลสุขภาพสำหรับประชาชนยากจน เพราะบ่อยครั้งที่มีผลประโยชน์เกิดขึ้นจากห้องฉุกเฉินเนื่องจากหมอไม่ยอมรักษาผู้ป่วยภายใต้โครงการประกันสุขภาพของรัฐ  ดร.แซนดร้า เอ็ม ชไนเดอร์ ประธาน วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ตามกฎหมายแล้ว ห้องฉุกเฉินต้องให้การรักษา โดยต้องไม่คำนึงถึงความสามารถในการจ่ายค่ารักษาของผู้ป่วย แต่ประเด็นมันอยู่ที่ว่า ต่อไปอาจจะไม่มีห้องฉุกเฉินที่ไหนให้พวกเขาไปรักษาก็ได้” -------------------------------------------------------------------------------   ฉลากขนมแบบไฟจราจรทำไมจะทำไม่ได้บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านอาหารสุขภาพและอาหารเช้าซีเรียลของประเทศนิวซีแลนด์นามแซนิทาเรียม หัวก้าวหน้าสุดๆ ไม่กังวลว่าผู้บริโภคจะกลัวและไม่กล้าบริโภคผลิตภัณฑ์ หากติดสัญญาณ เขียว เหลือง แดง บนฉลากอาหาร เดินหน้าประกาศใช้ระบบฉลากโภชนาการแบบสัญญาณไฟจราจรของตนเอง เรียกว่า “ระบบการกินเพื่อสุขภาพ” ฉลากของบริษัทนี้ก้าวไปไกลกว่าฉลากโภชนาการแบบสัญญาณไฟจราจรแบบทั่วไป ตรงที่ไม่เพียงแค่มีข้อมูลด้านลบที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ ได้แก่ ปริมาณไขมัน ไขมันอิ่มตัว น้ำตาล และเกลือ แต่ในอาหารบางผลิตภัณฑ์ยังแสดงข้อมูลอาหารด้านบวกที่ดีต่อสุขภาพ ได้แก่ ปริมาณโปรตีน ใยอาหาร (ไฟเบอร์) และอาหารกลุ่มให้กากใย ได้แก่ ผัก ผลไม้ และ ธัญพืช  ที่ใจถึงสุดๆ คือ บริษัทกล้าระบุคำแนะนำความถี่ในการบริโภค โดยแบ่งคำแนะนำออกเป็น 3 ชนิด คือ กินได้บ่อย ๆ กินบ้างบางครั้งบางคราว และ กินเมื่อจำเป็น   ท้ายสุด ยังใจกว้างเป็นแม่น้ำ ด้วยการเปิดรับทุกเสียงสะท้อนจากผู้บริโภคเกี่ยวกับการใช้ระบบฉลากโภชนาการสำหรับการกินเพื่อสุขภาพนี้ของบริษัท และยืนยันจะไม่จดลิขสิทธิ์ทางปัญญาใด ๆ กับระบบฉลากโภชนาการนี้ หากผู้ประกอบการรายใดหรือประเทศใดก็ตามสนใจรูปแบบฉลากนี้ก็สามารถนำไปใช้ได้ทันที   ผู้ประกอบการคนไทย อายเขาไหมล่ะ ตัวอย่างฉลากโภชนาการของบริษัทแซนิทาเรียม

อ่านเพิ่มเติม >