ฉบับที่ 253 แพ้แชมพูสระผมจัดการอย่างไรดี

        การรักษาเส้นผมให้มีสุขภาพที่ดี เงางาม นุ่มสลวย ย่อมช่วยเสริมความมั่นใจให้คุณผู้หญิงหลายคนการเลือกสรรผลิตภัณฑ์ที่สามารถบำรุง รักษาและฟื้นฟูเส้นผมให้ได้มากที่สุดเพื่อมีสุขภาพผมที่ดีนั้น จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะบางผลิตภัณฑ์เลือกมาใช้แล้วผมดูมีสุขภาพดีก็จริง แต่ถ้าทำให้เกิดอาการแพ้ทั้งจากส่วนผสมไม่ว่าจะเป็นสารเคมีหรือน้ำหอมในผลิตภัณฑ์ ก็อาจไม่ใช่แชมพูที่คู่ควรกับเราก็ได้  แพ้ยาสระผมมีอาการอย่างไร        ลักษณะอาการแพ้แชมพูสระผม          1. มีอาการแสบและมีรอยแดงหลังสระผม อาการดังกล่าวอาจเกิดจากแพ้สารเคมีบางชนิดในผลิตภัณฑ์ หากเราไม่มีแผลบริเวณบนหนังศีรษะแต่เกิดอาการแสบและแดงหลังใช้ยาสระผมแสดงว่าเราอาจจะมีภาวะแพ้แชมพูสระผม        2. คันหนังศีรษะและมีผดผื่นขึ้น ในส่วนของอาการทั้งหมดอาจจะเกิดจากสารมีบางชนิด เช่น สาร SLS และพาราเบนที่เป็นสารกันเสีย มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวทั้ง 2 ตัว อาจเข้าไปทำลายความชุ่มชื่นบนหนังศีรษะจนเกิดการระคายเคืองได้        3. สิวอุดตันที่กรอบหน้า หลายคนอาจไม่รู้ว่าบางทีสิวที่เกิดขึ้นบนใบหน้าเรา อาจมาจากการแพ้สารเคมีในแชมพูสระผม โดยเฉพาะสารที่เรียกว่าซิลิโคน ที่นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์เพื่อให้ทำหน้าที่เคลือบเส้นผมให้นุ่มลื่น เมื่อเราล้างทำความสะอาดไม่หมด อาจก่อให้เกิดสิวบริเวณที่มีสารตกค้างได้          4.อาการบวมตามอวัยวะต่างๆ หรือเริ่มมีอาการผิวหนังตกสะเก็ด ผิวลอกเป็นขุยๆ บางคนอาจมีอาการผมร่วง หรืออาการลมพิษทั้งตัว เป็นต้น            อ่านถึงตรงนี้ เริ่มเครียดกันแล้วใช่ไหม เพราะอาการแพ้แชมพูสระผมหากลองอ่านๆ ดู อาจจะดูน่ากลัวไปบ้าง แต่อาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นขึ้นกับสภาพร่างกาย สภาพผิวของแต่ละบุคคลด้วย         วิธีจัดการตัวเองเมื่อมีอาการแพ้แชมพูสระผม        -       หยุดใช้แชมพูสระผมที่สงสัยว่าเราแพ้ทันที แล้วรีบล้างน้ำออกให้สะอาด        -       เมื่อมีอาการหนักขึ้นให้รีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อที่จะได้เข้ารับการรักษาก่อนอาการแพ้จะลุกลามไปมากกว่าเดิม        -       ไม่ใช้ความร้อนกับหนังศีรษะหรือเส้นผม เพื่อให้หนังศีรษะและเส้นผมยังคงมีความชุ่มชื่น        -       เลือกใช้ยาสระผมที่มีค่า PH ที่เหมาะสม        -       รับประทานอาหารที่มีอาหารจำพวกโปรตีน ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว เพื่อฟื้นฟูหนังศีรษะ สารเคมีที่อยู่ในแชมพูสระผม         สารเคมีที่มีอยู่ในแชมพูสระผมมีหลายชนิด แต่ส่วนมากหลักๆ ก็มีสารกันเสียที่มีหน้าที่ไปยับยั้ง แบคทีเรีย เชื้อรา หรือยีสต์ เพื่อให้คงสภาพให้อยู่ได้ยาวนานขึ้น โดยประเภทของสารกันเสีย มีดังนี้ กลุ่มสารพาราเบน เช่น เมทิล พาราเบน, โพรพิลพาราเบน, เอทิลพราราเบน, บิวทิลพาราเบน,ไอโซบิลทิวพาราเบน นอกจากนี้ยังมีสารฟอร์มาลีไฮด์, สารอิมิดาโซลิตินิล ยูเรีย, สารพีน็อกซี่เอทานอล, สารเมทิลไอโซไทอะโซลิโนน อีกด้วย         ในส่วนของซิลิโคน เป็นสารกลุ่มโพลิเมอร์สังเคราะห์ ที่ใช้ในการช่วยให้ผมนุ่มลื่น ดูสุขภาพผมดีซึ่งสารซิลิโคนนี้ล้างออกได้ยาก  จริงๆ สารซิลิโคนไม่ได้เป็นอันตรายเสมอไป  แถมช่วยให้สุขภาพผมดีขึ้นอีกด้วย   แต่หากว่าบางคนมีอาการแพ้สารซิลิโคนก็ควรระวังด้วยการสังเกตฉลากทุกครั้งว่ามีสารซิลิโคนเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยในผลิตภัณฑ์นั้นหรือไม่ ส่วนชื่อสารซิลิโคนที่มักปรากฏบนฉลาก ก็เช่น Dimethicone, Cetyl Dimethicone, Cyclomethicone, Cetearyl Methicone, Dimethiconol, Stearyl Dimethicone, Trimethylsilylamodimethicone Amodimethicone, Cyclopentasilloxane เป็นต้น  และควรอ่านฉลากก่อนใช้ทุกครั้งเพื่อระวังสารเคมีที่ไม่ถูกกับตนเองเพื่อความปลอดภัย       อ้างอิง : https://www.thaihealth.or.th/blog/myblog/topic/https://th.theasianparent.com/shampoo-allergyhttp://www.skinhospital.co.th/article/info/5/54https://www.herbforhair.com/content/7278/ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 223 แชมพู “กู้” ผมเสีย

           ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอเอาใจผู้ที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์เพื่อกอบกู้สภาพเส้นผม เรามีผลการทดสอบแชมพูสำหรับผมเสีย ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ (International Consumer Research and Testing) ได้ทำการทดสอบไว้ แต่เนื่องจากเนื้อที่มีจำกัด เราจึงขอนำเสนอเพียง 26 ผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในบ้านเราทั้งในห้างและร้านค้าออนไลน์ในภาพรวม แชมพูทั้งหมดได้คะแนนการชำระความสกปรกออกจากเส้นผมในระดับห้าดาว แต่คะแนนด้านอื่นๆ ยังแตกต่างกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและฉลากที่อวดอ้างว่าสามารถ “ซ่อมแซม” ผมเสียได้ อยากรู้ว่าผลิตภัณฑ์ไหนน่าซื้อหามาใช้ที่สุด เชิญติดตามรายละเอียดได้ในหน้าถัดไป---   คะแนนเต็ม 100 ในการทดสอบ แบ่งสัดส่วนออกเป็นด้านต่างๆ ดังนี้40 คะแนน       ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่ทดลองสระผมให้อาสาสมัคร แล้วตอบคำถามเกี่ยวกับสภาพผมทั้งขณะแห้งและเปียก รวมถึงปริมาณฟองด้วย            30 คะแนน      ความพึงพอใจของผู้ทดลองใช้ ความรู้สึกสะอาด อาการระคายเคือง และปริมาณฟอง10 คะแนน      การสระผงสีออกจากเส้นผมในห้องปฏิบัติการ เพื่อวัดความสะอาด10 คะแนน      ส่วนประกอบที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม           10 คะแนน       ฉลากที่ไม่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์สามารถ “ซ่อมแซม” ผมเสีย---             · การทดสอบครั้งนี้มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยตัวอย่างละประมาณ 105,000 บาท          มีอาสาสมัครร่วมทดสอบทั้งหมด 375 คน เป็นหญิง/ชาย อายุระหว่าง 18 – 75 ปี ที่มีผมยาวตั้งแต่ 10 เซ็นติเมตรขึ้นไป สภาพผมเสียปานกลางถึงเสียมาก อาสาสมัครเหล่านี้มีกลุ่มที่ผมเส้นเล็กและเส้นใหญ่           และผมตรงถึงผมหยิกปานกลาง          อาสาสมัครหนึ่งคนจะใช้เพียงสองผลิตภัณฑ์เท่านั้น    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 218 แชมพูสมุนไพรแท้ๆ แบบไม่มีสารชำระล้าง

               เล่มที่แล้วเล่าถึงแชมพูสมุนไพร ที่ไม่ได้ห้ามการใส่สารชำระล้างหรือเรียกง่ายๆ ว่าหัวแชมพู ดังนั้นหลายคนเจอสารชำระล้างแรงๆ เข้าผมก็ฟูฟ่อง สากกระด้างได้ คราวนี้จะนำเสนอแชมพูสมุนไพรสูตรไร้สารชำระล้าง แบบทำเองได้ง่ายๆ สำหรับใช้กันในครอบครัว ซึ่งควรทำคราวละน้อยๆ เพราะสูตรแชมพูแบบไร้สารนั้น ตัวพฤกษเคมีจะไม่ค่อยคงตัว เก็บไว้นานประโยชน์จะน้อยลง ขณะเดียวกันอากาศร้อนๆ แบบเมืองไทย โอกาสบูดเสียเกิดได้ง่าย การทำแชมพูสมุนไพรแชมพูสมุนไพรจากมะกรูดช่วยให้ผมสะอาด แก้คันศีรษะ         สูตรที่ 1 วัตถุดิบมะกรูด 1 กิโลกรัม น้ำสะอาด 1 ลิตร         วิธีทำ ล้างมะกรูดให้สะอาด ผ่าเอาเมล็ดออกและฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มกับน้ำด้วยไฟอ่อนสัก 1 ชั่วโมง ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วปั่นด้วยเครื่องปั่นให้ละเอียดกรองเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวไฟซ้ำจนเดือด เมื่อเย็นแล้วบรรจุลงในขวดที่มีฝาปิดสนิท ใช้ได้นานประมาณสองสัปดาห์         สูตรที่ 2 มะกรูด 3-4 ลูก ย่างด้วยเตาถ่านจนมีน้ำมันออกมาที่เปลือก จากนั้นหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ และปั่นด้วยเครื่องปั่น กรองเอาแต่น้ำนำมาสระผม ทำครั้งต่อครั้ง แชมพูสมุนไพรจากมะกรูด อัญชัน ขิงช่วยแก้ปัญหาผมร่วง         วัตถุดิบยังคงใช้มะกรูดเป็นหลัก เพิ่มด้วยอัญชันและขิง ในสัดส่วน 3:1:1 ต้มกับน้ำสะอาดจนเปื่อยยุ่ย(ประมาณ 3 ชั่วโมง) จากนั้นทิ้งให้เย็น กรองด้วยผ้าขาวบางหรือตะแกรง และกรอกแชมพูลงในขวดปิดสนิท เก็บรักษาได้ประมาณ 2 สัปดาห์         สูตรนี้สามารถปรับจากอัญชัน ขิง เป็นขมิ้นชันแทนได้ ในสัดส่วน มะกรูด 5 ขมิ้นชัน 1 และถ้าต้องการเก็บรักษาให้นานขึ้น ในขั้นตอนที่ต้มกับน้ำ เติมเกลือเข้าไปด้วยจะช่วยให้เก็บได้นานขึ้นประมาณ 2-3 เดือน เคล็ดลับในการทำแชมพูสมุนไพร        1.ไม่ใช้ไฟแรง ควรค่อยๆ เคี่ยวด้วยไฟอ่อน        2.วัตถุดิบต้องล้างให้สะอาด        3.หาขวดที่เป็นหัวปั๊มมาใส่แชมพูจะช่วยให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น        4.ในตอนที่จะสระผม บางคนมีเคล็ดลับ นำแชมพูสมุนไพรผสมกับเบคกิ้งโซดาประมาณ 1 ช้อนชา ช่วยให้สระผมได้ง่ายขึ้น บางคนก็หมักแชมพูกับผมประมาณครึ่งชั่วโมง ก่อนล้างออกด้วยน้ำสะอาด ซึ่งการปรับใช้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน และผลที่ได้ส่วนใหญ่น่าพอใจ เว้นแต่ระยะแรกอาจไม่ค่อยชินเพราะแชมพูสมุนไพรแบบนี้จะไม่มีฟอง และเวลาล้างออกต้องล้างออกให้หมดไม่เหลือพวกกากสมุนไพรทิ้งไว้        5.ถ้าเก็บไว้ได้ระยะหนึ่งแล้วพบว่า แชมพูมีการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่นก็ไม่ควรใช้แชมพูผสมสมุนไพร หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลวประกอบด้วยสารลดแรงตึงผิวใช้กับเส้นผมเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะผสมสารสกัดจากสมุนไพรหรือชิ้นส่วนสมุนไพร เช่น ดอกอัญชัน มะคำดีควาย ว่านหางจระเข้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 217 ปัญหาผมสากแห้งจากแชมพูสมุนไพร

                เพื่อนสาวสองคนไปงาน OTOP ได้แชมพูสมุนไพรมาคนละสองขวด(คนละแบรนด์) คนหนึ่งใช้แล้วเชียร์ว่าดี ผมนิ่ม รู้สึกสะอาด ส่วนอีกคนบ่นอุบว่า ผมทั้งแห้ง ทั้งสาก ใช้ครั้งเดียวเข็ดยังเหลืออยู่เต็มขวด รอจะยกให้เพื่อนอีกคนไปใช้ ฟังแล้วจึงขอผลิตภัณฑ์มาดู พร้อมมีคำอธิบายให้เพื่อนไปดังนี้        นิยามของแชมพูผสมสมุนไพร ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม(มอก.) หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นของเหลวประกอบด้วยสารลดแรงตึงผิวใช้กับเส้นผมเพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกจากเส้นผมและหนังศีรษะ ผสมสารสกัดจากสมุนไพรหรือชิ้นส่วนสมุนไพร เช่น ดอกอัญชัน มะคำดีควาย ว่านหางจระเข้        ในการทำแชมพูผสมสมุนไพร โดยทั่วไปจะมีสารเคมีที่เรียกว่า สารลดแรงตึงผิว หรือที่เรียกกันภาษาชาวบ้านว่า หัวแชมพู หรือ N70 ผสมอยู่เป็นส่วนประกอบหลัก N70 มีชื่อทางเคมีว่า Sodium laureth sulfate (SLES) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารชำระล้างช่วยทำให้เส้นผมสะอาด ทำให้เกิดฟองได้เร็ว(ตัว SLES นี้จะอยู่ในผลิตภัณฑ์ชำระล้างเกือบทุกชนิด ทั้งสบู่เหลว ครีมอาบน้ำ น้ำยาล้างจาน ฯลฯ)         คุณสมบัติที่สามารถชำระล้างคราบไขมันหรือน้ำมันต่างๆ บนเส้นผมได้ดี แน่นอนว่าผมหลังการสระจะให้สัมผัสที่แห้งด้าน เพราะน้ำมันส่วนที่เคลือบผมอยู่หลุดออกไปหมด (จึงอาจต้องทดแทนด้วยการใช้ครีมนวดผม) ดังนั้นในบางสูตรของแชมพูผสมสารสมุนไพรจึงต้องเติมพวกสารเคลือบลงไป เช่น ลาโนลีน        ข้อมูลมาถึงตรงนี้ก็ได้ความเข้าใจตรงกันว่า แชมพูผสมสารสมุนไพรไม่ได้ทำให้คุณหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีไปได้ เพราะมีสารชำระล้างเป็นส่วนประกอบหลัก แต่เมื่อได้ลองพิจารณาฉลากของแชมพูอีกแบรนด์หนึ่งที่ผู้ใช้ชื่นชม พบว่า ไม่มีส่วนประกอบของสารชำระล้าง เป็นการนำสมุนไพรมาบดคั้นจนน้ำมันหรือพฤกษเคมีแตกตัวออกมา ผสมเกลือ(โซเดียมคลอไรด์) ลงไปด้วยเพื่อเป็นสารกันบูด แน่นอนว่าแชมพูนี้ไม่มีฟอง การเกิดฟองต้องมีเคมีสังเคราะห์ผสมอยู่ในเนื้อแชมพู ดังนั้นแชมพูขวดนี้จึงเป็นแชมพูสมุนไพรแท้ๆ ข้อดีคือไม่ต้องกังวลเรื่องเคมีสังเคราะห์ แต่ข้อเสียคือ อายุการใช้งานจำกัด ความคงตัวของพฤกษเคมีไม่คงตัว บูดเสียง่าย และเวลาใช้สระผมไม่สะดวกเท่ากับแชมพูที่มีฟอง ฟองทำให้สระและล้างออกง่าย          ทางออกสำหรับผู้ที่ต้องการใช้แชมพูผสมสมุนไพร คือ การทำแชมพูสมุนไพรธรรมชาติใช้เอง ซึ่งไม่ยุ่งยากเท่าไร สวยอย่างฉลาดฉบับหน้าจะนำมาเสนอต่อไป        หรือการใช้แชมพูผสมสมุนไพรอย่างเข้าใจ เลือกที่มีส่วนผสมของสารบำรุงผมหรือใช้ครีมนวดผมเสริม จะช่วยให้รู้สึกผมนุ่มเบาขึ้นไม่แห้งสาก อีกทางเลือกหนึ่งคือ เลือกใช้แบรนด์ที่มีการคิดค้นและนำพืชสมุนไพรไปสกัดจนได้สารเคมีที่คงตัว ผสมกับสารชำระล้างที่ไม่ใช่สารประเภท SLES แต่แน่นอนว่าจะมีราคาที่แพงขึ้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 158 กระแสในประเทศ

ประมวลเหตุการณ์เดือนเมษายน 2557 ระวัง!!! “สบู่-แชมพู” ลักไก่แอบลดปริมาณ กรมการค้าภายใน เตรียมนัดคุยสมาคมผู้ผลิตสบู่ไทยและผลิตภัณฑ์ชำระล้าง กำหนดขนาดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน มีข้อมูลระบุว่าปัจจุบันนี้ในท้องตลาด ผลิตภัณฑ์อุปโภคในกลุ่มชำระล้าง มีอยู่มากมายหลายขนาด เช่น แชมพู มีทั้งหมด 38 ขนาด ผงซักฟอก 36 ขนาด สบู่ก้อน 11 ขนาด สบู่เหลว 9 ขนาด และน้ำยาซักฟอก 8 ขนาด ซึ่งการมีขนาดให้เลือกหลากหลายรูปแบบ มีข้อดีคือทำให้เกิดการแข่งขันในตลาด แต่ก็มีข้อเสียเรื่องมาตรฐานการตั้งราคา เป็นหน้าที่ของผู้บริโภคต้องเลือกให้ดีและรู้จักเปรียบเทียบสินค้า เพื่อให้ได้ของที่มีคุณภาพคุ้มราคามากที่สุด ทั้งนี้สิ่งที่กรมการค้าภายในเป็นห่วงก็คือ เรื่องที่ผู้ผลิตแอบลดปริมาณสินค้า แต่ยังจำหน่ายในราคาเดิม ซึ่งที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค ด้านผู้ผลิตเองก็ออกมาแสดงความเห็นถึงเรื่องนี้ว่า การขึ้นราคาของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องดูเรื่องของต้นทุนวัตถุดิบประกอบด้วย โดยเฉพาะน้ำมันปาล์ม ซึ่งหากผู้บริโภคพบเห็นสินค้าต่างๆ มีการขึ้นราคาอย่างไม่เป็นธรรมเข้าข่ายเอาเปรียบผู้บริโภคสามารถร้องเรียนไปได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569     เปิด “ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุและโทรทัศน์ที่ผิดกฎหมาย” กสทช. เปิด “ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุและโทรทัศน์ที่ผิดกฎหมาย” เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจสอบเนื้อหาที่เผยแพร่ผ่านวิทยุกระจายเสีย งและวิทยุโทรทัศน์ พร้อมบันทึกเก็บเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีกับผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ซึ่งในปีแรกของการดำเนินการครอบคลุมจำนวน 80 สถานี  แบ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ ช่องรายการทีวีเคเบิ้ล รายการทีวีดาวเทียม รวม 40 สถานี  และสถานีวิทยุกระจายเสียงหลักและวิทยุกระจายเสียงชุมชนในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑลอีก 40 สถานี โดยศูนย์ฯ นี้จะทำงานโดยใช้ระบบการตรวจสอบข้อความ เนื้อหาที่ผิดกฎหมาย ซึ่งจะใช้ทั้งระบบซอฟต์แวร์  และการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ ซึ่งจะทำหน้าที่ติดตาม (มอนิเตอร์) สปอตโฆษณา และเนื้อหารายการต่างๆ ทั้ง 80 สถานีตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งทางศูนย์ฯ จะมีการจัดเก็บเนื้อหาโฆษณา เนื้อหารายการ และไฟล์เสียงออกอากาศย้อนหลังเพื่อใช้ในการอ้างอิงเนื้อหาการออกอากาศ โดยมีการแสดงผลการทำงานแบบ Real-time ทั้งนี้ระบบจะเก็บฐานข้อมูลโฆษณาไว้ที่เซิร์ฟเวอร์  เป็นเวลา 60 วัน ศูนย์ตรวจสอบเนื้อหาวิทยุและโทรทัศน์ที่ผิดกฎหมายนี้ จัดตั้งขึ้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไม่ให้ตกเป็นเหยื่อสินค้าหรือบริการที่ไม่มีคุณภาพ ตลอดจนป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคถูกชักจูงให้ดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อประโยชน์ของผู้เผยแพร่โฆษณา เนื่องจากที่ผ่านมาการตรวจสอบข้อมูลที่ผิดกฎหมาย ไม่สามารถดำเนินการได้ทันท่วงที และขาดหลักฐานอย่างเพียงพอที่จะใช้ในการดำเนินการลงโทษตามกฎหมาย   เตรียมออกกฎลดความสูงรถโดยสาร 2 ชั้น กรมการขนส่งทางบกเตรียมยกร่างประกาศแก้ไขปรับปรุงกฎกระทรวง เรื่องความสูงรถโดยสาร 2 ชั้น โดยจะลดความสูงจากปัจจุบัน 4.30 เมตร เหลือ 4 เมตร ตามมาตรฐานสากล หวังช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ คาดมีผลบังคับใช้ได้ในอีก 3-6 เดือนข้างหน้า นอกจากนี้ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้รถโดยสาร 2 ชั้น กรมการขนส่งทางบกจะกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาตขับรถโดยสารสาธารณะ ที่จะขับรถ 2 ชั้น จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการขับรถโดยสาร 2 ชั้น จากกรมการขนส่งทางบกก่อน จึงจะสามารถประกอบอาชีพเป็นพนักงานขับรถโดยสาร 2 ชั้นได้ คาดว่ามาตรการนี้จะเริ่มใน 3 เดือนข้างหน้า ด้าน น.ส.สวนีย์ ฉ่ำเฉลียว ผู้ประสานงานโครงการรถโดยสารสาธารณะปลอดภัย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ยื่นหนังสือข้อเสนอต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางบก ให้ไม่ใช้รถโดยสาร 2 ชั้นในเส้นทางเสี่ยงที่มีผลการศึกษาว่าเกิดอุบัติเหตุบ่อยและรุนแรง เพราะความไม่ปลอดภัยไม่ได้มาจากมาตรฐานของตัวรถเพียงอย่างเดียว ยังมีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องด้วย เช่น ถนน พื้นที่ ความชำนาญเส้นทางของผู้ขับขี่ ฯลฯ     คูปองกล่องดิจิตัลส่อทุจริต จากการที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) มีข้อสรุปเรื่องราคาคูปองเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ทีวีดิจิตัล ที่จะแจกให้กับประชาชน 22 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ ที่ราคาคูปองใบละ 1,000 บาท โดย กสท. อ้างว่าราคานี้เป็นราคากล่องที่ได้คุณภาพมาตรฐาน หากราคาต่ำกว่านี้จะส่งผลให้ได้กล่องและเสาที่มีคุณภาพต่ำเกินไป แต่ทั้งนี้เครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเชื่อว่าราคาคูปอง 1,000 บาทที่ทาง กสท.จะแจกให้กับทุกครัวเรือนนั้น เป็นการตั้งราคาที่สูงเกินไป คาดว่าราคาต้นทุนจริงของกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตัลน่าจะถูกกว่าราคาคูปองที่ทาง กสท. แจก นอกจากนี้การเคาะราคาคูปองที่ 1,000 บาทของ กสท. ส่งผลให้ผู้ประกอบการที่จำหน่ายกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตัลหลายรายตั้งราคาขายสูงกว่าราคาคูปอง กลับกลายเป็นการผลักภาระให้ประชาชนที่ต้องการจะซื้อกล่องรับสัญญาณ ที่สำคัญการแจกคูปอง 1,000 บาท ให้กับ 22 ล้านครัวเรือน เท่ากับว่า กสท. ต้องใช้งบประมาณสูงถึง 22,000 ล้านบาท ซึ่งหาก กสท. เลือกใช้วิธีแจกกล่องรับสัญญาแก่ประชาชนโดยตรง น่าจะลดการใช้งบประมาณของประเทศได้น้อยลงกว่านี้ อีกประเด็นที่เป็นข้อสังเกตในการตั้งราคาคูปอง 1,000 บาท ของ กสท. คือการตั้งราคาที่เอื้อต่อผู้ประกอบการเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม ที่มีบริการช่องรายการที่ต้องจ่ายเงินเพื่อการรับชม ซึ่งแม้ราคากล่องรับสัญญาณจะสูงกว่าราคาคูปองที่แจก แต่ช่องรายการที่เป็นที่ต้องการรับชมของผู้บริโภคมากกว่า จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ผู้ที่ได้รับคูปองจะนำไปใช้เป็นส่วนลดแลกซื้อกล่องของบรรดาผู้ให้บริการเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม มากกว่า ซึ่งหากเป็นแบบนั้นเป้าหมายของ กสท. ที่ต้องการให้เกิดช่องรายการคุณภาพ ช่องรายการเพื่อสังคม สาธารณะประโยชน์ และช่องรายการสำหรับเด็กและเยาวชน อาจไม่เกิดขึ้นจริง เพราะผู้บริโภคเลือกที่จะไปรับชมรายการจากต่างประเทศในเคเบิ้ลทีวี ทีวีดาวเทียม   “ประชุมสมัชชาผู้บริโภค 57” เดินหน้ายกระดับการคุ้มครองผู้บริโภค วันที่ 28 -29 เมษายน 2557  คณะกรรมการองค์กรอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ได้จัดประชุมสมัชชาผู้บริโภค ประจำปี 2557 โดยมีการหารือในหลายประเด็น และได้มีข้อเสนอเชิงนโยบายใน 7 ประเด็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานคุ้มครองผู้บริโภค คือ สินค้าและบริการทั่วไป, อาหารและยา, รถโดยสารสาธารณะ, พลังงาน, การเงินการธนาคาร, โทรคมนาคม, การบริการสุขภาพ โดยในแต่ละประเด็นนั้น ได้มีการสรุปข้อเสนอ เพื่อใช้เป็นแนวทางให้กับหน่วยงานรัฐและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปปฏิบัติ เพื่อสร้างระบบการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดีขึ้นในบ้านเรา เริ่มด้วยข้อเสนอด้านการเงินการธนาคาร ผู้บริโภคต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน ไม่ว่าสถิติ เอกสาร เพื่อที่ผู้บริโภคจะได้รู้เท่าทันผู้ประกอบการ และใช้ข้อมูลต่างๆ เพื่อเลือกใช้บริการที่คุ้มค่าและเป็นประโยชน์กับตัวเองมากที่สุด ในส่วนของประเด็นพลังงานนั้น สมัชชาฯ มีข้อเสนอให้ยกเลิกกองทุนน้ำมัน, ยกเลิกการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม, ให้รัฐมีมาตรการยุติการผูกขาดของ ปตท., จัดตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ ภายใต้การกำกับของสภาพลังงานแห่งชาติ, ปรับแก้ระบบสัมปทานปิโตรเลียมจากระบบสัมปทานเป็นระบบแบ่งปัน, แก้ปัญหาประโยชน์ทับซ้อนของข้าราชการในกระทรวงพลังงาน ประเด็นสินค้าและบริการทั่วไปว่า สมัชชาฯ มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(สคบ.) จัดตั้งคณะทำงานยกร่างกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคกรณีสินค้ามือหนึ่งชำรุดบกพร่อง เหมือน Lemon Law ของต่างประเทศ ปรับปรุงการชดเชยเยียวยาที่เป็นธรรม รวมทั้งให้จัดทำระบบข้อมูลการเตือนสินค้าให้มีภาษาไทยด้วย     ประเด็นที่เกี่ยวพันกับโทรคมนาคม มีข้อเสนอให้ กสทช.เอาจริงเอาจังกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจัง เช่น ค่าบริการระบบ 2G ต้องไม่เกิน 99 สตางค์ นอกจากนี้ยังเรียกร้องให้แก้กฎหมายเพิ่มสัดส่วนของภาคประชาชนในคณะกรรมการ กสทช.ให้มากขึ้น รวมถึงทบทวนการแจกคูปองกล่องทีวีดิจิตัลให้ทั่วถึง ในส่วนของรถสาธารณะ ที่ประชุมสมัชชาฯ มีมติให้ดูแลรถโดยสารสองชั้น โดยเบื้องต้นให้กำหนดเขตห้ามวิ่งในเส้นทางที่อันตราย เช่น ไหล่เขา ส่วนในระยะยาวไม่อนุญาตให้มีการจดทะเบียนเพิ่มอีก, กำหนดมาตรฐานของรถสาธารณะทุกประเภท เช่น ระยะเวลาใช้งาน มาตรฐานการผลิต รวมถึงการออกมาตรการดูแลมาตรฐานคนขับรถโดยสารทุกประเภท ประเด็นอาหารและยา สมัชชาฯ มีข้อเสนอเกี่ยวกับฉลากอาหารให้ดูแลเข้มงวดหลายประการ เช่น การแสดงวันหมดอายุ วันผลิต, ฉลากต้องเป็นภาษาไทย, รวมถึงประกาศมาตรการฉลากโภชนาการแบบสีสัญญาณไฟจราจร นอกจากนี้ยังระบุให้รัฐต้องเปิดเผยเนื้อหาการเจรจาข้อตกลงเขตการค้าเสรีต่างๆ ซึ่งมักมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับมาตรการด้านอาหารและยาเพื่อไม่ให้กระทบต่อการเข้าถึงของประชาชน ด้านประเด็นบริการสุขภาพว่า มีข้อเสนอสำหรับการปรับระบบประกันสุขภาพที่เท่าเทียม โดยให้ปรับความเหลื่อมล้ำของ 3 กองทุนสวัสดิการ โดยให้ยกเลิกการจ่ายเงินสมทบส่วนการรักษาพยาบาลและให้ผู้ประกันไปใช้สิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพ ยกเลิกการร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือหากไม่ยกเลิกการจ่ายสมทบก็อาจนำเงินไปใช้กับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ของผู้ประกันตน เช่น บำเหน็จชราภาพ  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 165 แชมพู ครีมอาบน้ำ บรรจุภัณฑ์ใหญ่ไปไหม??

ต่อจากคราวที่แล้วนะคะ  ที่ว่าด้วยเรื่องการทำแพ็กเก็จให้ใหญ่ไว้ก่อน แต่ของข้างในอาจใส่ลงไปแค่ 60 % หรือ 70 % ของผู้ผลิตสินค้า ซึ่งหน่วยงานรัฐเองก็ไม่ได้กำหนดขนาดมาตรฐานอะไรไว้ในพวกสินค้าทั่วไป  เพราะถือว่าเป็นการค้าเสรีผู้ผลิตมีสิทธิบรรจุน้ำหนักเท่าไรก็ได้ เป็นหน้าที่ของผู้ซื้อที่ต้องพิจารณาฉลากให้ดี และเปรียบเทียบน้ำหนักราคากันเอง  และในหลายครั้งการทำแพ็กเก็จใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ก็เพื่อให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดไปว่ามีการเพิ่มน้ำหนักสินค้าเพื่อถือโอกาสปรับราคาเพิ่ม ทั้งที่จริงๆ แล้วน้ำหนักเท่าเดิม หรือทำเผื่อไว้เพื่อลดน้ำหนักที่บรรจุให้น้อยลงสักหน่อย แต่ยังคงขายในราคาเดิม กรณีต้นทุนสินค้ามันเพิ่ม โดยผู้ซื้อไม่ทันรู้ตัวว่าถูกหลอก ฉลาดซื้อเลยนำตัวอย่างสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันอย่าง แป้งฝุ่น โลชั่น ยาสระผม สบู่เหลว มาทดลองหาน้ำหนักที่กระป๋องหรือขวดที่ผู้ผลิตใช้ในการบรรจุสินค้าแต่ละชนิดนั้น ว่าสามารถบรรจุน้ำหนักเต็มที่ได้เท่าไหร่ เพื่อเทียบกับปริมาณที่บรรจุจริงตามฉลาก แล้วหาสัดส่วนของพื้นที่ว่างในบรรจุภัณฑ์ว่าเหลืออยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ฉบับที่แล้วลงเรื่อง “แป้ง” กับ ”โลชั่น” ฉบับนี้จึงเป็นคิวของ “ยาสระผม” และ “สบู่เหลว”                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point