ฉบับที่ 272 แท็บเล็ต 2023

กลับมาอีกครั้งกับผลทดสอบเปรียบเทียบอุปกรณ์แท็บเล็ตที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศ International Consumer Research & Testing ได้ทำไว้ในปีนี้  คราวนี้มีรุ่นที่ขนาดใหญ่กว่า 9 นิ้ว มานำเสนอให้เลือกกัน 18 รุ่น ในสนนราคาตั้งแต่ประมาณ 7,000 ถึง 50,000 บาท สัดส่วนของการให้คะแนนยังคงเหมือนเดิมคือ-         ความสะดวกในการใช้งาน ร้อยละ 22.5 จากการทดสอบใช้ขณะวางบนโต๊ะ บนตัก หรือถือด้วยมือข้างเดียว รวมถึงการใช้ปุ่มปิดเปิดต่างๆ สั่งงานผ่านหน้าจอแบบสัมผัส คีย์บอร์ด และการใช้งานหลายโปรแกรมพร้อมกัน เป็นต้น-         ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่อง ร้อยละ 22.5เช่น การใช้เพื่อดูหนัง ฟังเพลง ใช้วิดีโอคอล ถ่ายภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงความยากง่ายในการมองเห็นข้อความบนหน้าจอในสภาพแสงที่แตกต่างกัน-         หน้าจอ ร้อยละ 15-         แบตเตอรี ร้อยละ 15-         ตัวอุปกรณ์ ร้อยละ 10 ขนาดเครื่อง หน่วยความจำ ช่องรองรับการเชื่อมต่อ และความสะดวกในการพกพา-         การใช้งานทั่วไป ร้อยละ 7.5เช่น ความเร็วในการรับส่งไฟล์ และการเชื่อมต่อผ่าน wifi -         ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ร้อยละ 7.5 นอกจากนี้เราขอนำเสนอผลคะแนนเปรียบเทียบความปลอดภัยและการแบคอัปข้อมูลไว้ด้วย แม้จะยังไม่ได้นำมาคิดในคะแนนรวม

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า0 Point

ฉบับที่ 254 แท็บเล็ต 2022

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำผลทดสอบแท็บเล็ตขนาดประมาณ 8 นิ้วที่องค์กรสมาชิกขององค์กรทดสอบระหว่างประเทศ ICRT (International Consumer Research & Testing) มาฝากสมาชิก คราวนี้มีให้เลือกกัน 18 รุ่น ในสนนราคาระหว่างประมาณ 1,700 ถึง 29,000 บาท* สำหรับใครที่อยากได้แท็บเล็ตขนาดใหญ่กว่านี้ โปรดติดตามตอนต่อไปจากคะแนนเต็มร้อยคะแนน ทีมทดสอบแบ่งออกเป็น 7 ด้านดังนี้        1.    ความสะดวกในการใช้งาน (ร้อยละ 22.5) เช่น การปิด/เปิด คีย์บอร์ด ปุ่มกด จอสัมผัส รวมถึงการใช้งานบนหน้าตัก บนโต๊ะ หรือถือด้วยมือข้างเดียว การใช้โปรแกรมหลายอย่างพร้อมกัน เป็นต้น        2.    ประสิทธิภาพการทำงาน (ร้อยละ 22.5) เช่น การใช้วิดีโอคอล ดูยูทูป ฟังเพลง (ทั้งผ่านลำโพงและหูฟัง) ถ่ายภาพนิ่ง/ภาพเคลื่อนไหว รวมถึงอ่านตัวอักษรบนหน้าจอ ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง        3.    หน้าจอ (ร้อยละ 15)         4.    แบตเตอรี (ร้อยละ 15)        5.    ตัวเครื่อง (ร้อยละ 10) เช่น ช่องรองรับการเชื่อมต่อ หน่วยความจำ ขนาดเครื่อง และความสะดวกในการพกพา        6.    การใช้งานทั่วไป (ร้อยละ 7.5) เช่น ความเร็วในการรับ/ส่งไฟล์ หรือการเชื่อมต่อ wifi ในระยะต่างๆ        7.    ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (ร้อยละ 7.5)         ในภาพรวมเราพบว่ารุ่นที่ได้คะแนนระดับต้นๆ นั้นมีราคาค่อนข้างสูง แต่ขณะเดียวกันก็พบว่าเราพอจะหาแท็บเล็ตคุณภาพดีเอาไว้ใช้งาน โดยไม่ต้องควักเงินเกิน 5,000 บาทเช่นกัน อย่างไรก็ตามแต่ละรุ่นมีจุดเด่นจุดด้อยที่แตกต่างกันไป พลิกหน้าต่อไปเพื่อดูรายละเอียดของแท็บเล็ตที่เหมาะกับคุณได้เลย*ราคาที่นำเสนอเป็นราคาที่เราพบจากข้อเสนอในอินเทอร์เน็ต โปรดตรวจสอบราคาอีกครั้งก่อนตัดสินใจ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 237 แท็บเล็ต 2020

        ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอนำเสนอผลทดสอบแท็บเล็ตอีกครั้ง คราวนี้เราเลือกมาเฉพาะขนาดเกินแปดนิ้ว ทั้งหมด15 รุ่น ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในปี 2563 สนนราคาในเมืองไทยของอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 5,000 ถึง 53,000 บาท* ในการทดสอบครั้งนี้ ทีมทดสอบได้แบ่งคะแนนเต็ม 100 ออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้        ความสะดวกในการใช้งาน (22.5)          ประสิทธิภาพการทำงาน (22.5)          จอแสดงผล (15)          แบตเตอรี่ (15)          รูปลักษณ์ของตัวเครื่อง (10)          การใช้งานทั่วไป (7.5)          และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (7.5)         ในภาพรวมยังคงพบว่าเราต้องลงทุนมากขึ้นหากต้องการอุปกรณ์ที่สเปคสูงขึ้น และสเปคก็มีผลโดยตรงต่อคะแนนประสิทธิภาพและความสะดวกในการใช้งานของเครื่อง หลายรุ่นได้คะแนนรวมดี ราคาไม่แพง แต่มีหน่วยความจำน้อย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการใช้งานของแต่ละคน ... ใครสนใจแบรนด์ไหน สเปคเท่าไร ในงบประมาณแค่ไหน ลองพลิกดูหน้าถัดไปได้เลย         *ราคาดังกล่าวเป็นราคาในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2563 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 228 ผลทดสอบแท็บเล็ต

        สมาชิกท่านใดที่กำลังมองหาอุปกรณ์แท็บเล็ตไว้ใช้งาน ฉบับนี้เรามีผลทดสอบอุปกรณ์ดังกล่าว 17 รุ่น ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในช่วงพฤศจิกายน 2562 ถึงกุมภาพันธ์ 2563 มาฝาก สนนราคาในเมืองไทยของอุปกรณ์ดังกล่าวอยู่ที่ประมาณ 8,000 ถึง 49,990 บาท*ในการทดสอบครั้งนี้ คะแนนเต็ม 100 แบ่งออกเป็นคะแนนต่างๆ 7 ด้าน ได้แก่ ความสะดวกในการใช้งาน (22.5)  ประสิทธิภาพการทำงาน (22.5)  จอแสดงผล (15)  แบตเตอรี่ (15)  รูปลักษณ์ของตัวเครื่อง (10)  การใช้งานทั่วไป (7.5)  และความน่าเชื่อถือของแบรนด์ (7.5)แท็บเล็ตรุ่นที่เราพบว่ามีคะแนนสูงเป็นอันดับหนึ่ง (Samsung Galaxy Tab A และ HP Envy) ไม่ใช่รุ่นที่แพงที่สุด แต่เราก็พบว่าแท็บเล็ตที่ราคาต่ำกว่า 10,000 บาทส่วนใหญ่มักได้คะแนนค่อนข้างน้อย อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่เรานำเสนอไม่มีรุ่นไหนคะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 เชิญพลิกหน้าถัดไปเพื่อพิจารณาคะแนนแต่ละด้านของแบรนด์ที่คุณชื่นชอบได้เลย           *ราคาดังกล่าวเป็นราคาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 โปรดตรวจสอบอีกครั้งก่อนตัดสินใจ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 223 โอ้ละหนอ ... ดวงตาเอย

        ปัจจุบันเราใช้สายตาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ตกันมาก ทำให้หลายคนอาจเกิดปัญหาต่างๆ ทางสายตามากขึ้น  จึงเป็นโอกาสทองของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จะเข้ามาแทรกตรงนี้เพื่อให้ผู้บริโภคเคลิบเคลิ้มจนเสียเงินอย่างไม่จำเป็น โดยสารสำคัญล่าสุดที่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ยกมาอ้างถึงประโยชน์คือ “ลูทีน”         ในเว็บขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ต พบว่ามีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายชนิด ที่แจ้งว่ามีส่วนผสมของลูทีนและวิตามินต่างๆ แต่ที่เหมือนๆ กันคือ ทุกชนิดจะอ้างว่าตนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารบำรุงรักษาดวงตา บางผลิตภัณฑ์มีการนำผลการวิจัยที่มีตัวเลขต่างๆ มาอ้างอิงเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการรักษา เหมือนว่าเพิ่มความขลัง แรกๆ ก็อ้างว่าสามารถรักษาโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ แต่ลองอ่านไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามีการอ้างว่ารักษาโรคต่างๆ มากขึ้นไปอีก ประหนึ่งว่ามันคือ อาหารเทวดา เช่น ความจำเสื่อมในผู้สูงอายุ  อาการหลอดเลือดแข็ง ลดไขมัน ทำให้ผิวพรรณสดใส ฯลฯ แต่ที่หาไม่เจอคือ ข้อมูลแสดงที่มาของการวิจัยว่าเป็นหน่วยงานทางวิชาการที่ไหนทำ หรือพูดภาษาบ้านๆ คือ ยกเมฆเอาข้อมูลมาอวดอ้าง แต่ไม่บอกแหล่งที่มาว่าใครวิจัย ดีที่ไม่อ้างว่าเทวดาวิจัย(ฮา)         เมื่อตามเข้าไปดูในเฟซบุ๊คของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ยิ่งหนักขึ้นไปอีก มีการนำภาพผ้สูงอายุมาประกอบการโฆษณา โดยมีข้อความชวนตะลึงเข้าไปอีก เช่น “ทานต่อเนื่อง 3 กล่อง ต้อเนื้อหลุด ตาพร่ามัวดีขึ้น มองชัด” ผลิตด้วยเทคโนโลยีนาโน และยังแทคข้อความแฝงสรรพคุณต่างๆ เช่น #แสบตา #เคืองตา #น้ำตาไหล #ตาพร่ามัว #แพ้แสง #แพ้ลม #มองไม่ชัด#ภาพซ้อน #หยากไย่ลอยไปลอยมา #ตาบอดกลางคืน #ต้อลม #ต้อกระจก#ต้อเนื้อ #ต้อหิน ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีภาพกล่องพัสดุที่เตรียมส่งไปรษณีย์กองใหญ่ รวมทั้งโชว์ภาพใบส่งของไปรษณีย์ที่ยาวเหยียดมากมาย เหมือนโชว์ว่าสินค้านี้มีผู้สั่งซื้อจำนวนมาก         อันที่จริง ลูทีน เป็นสารอาหารในกลุ่มเดียวกับ เบต้าแคโรทีนและวิตามินเอ พบได้มากในผักและผลไม้หลายชนิด เช่น ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ คะน้า ข้าวโพด กีวี องุ่น ส้ม ฯลฯ ดังนั้นไม่จำเป็นเลยที่จะต้องไปเสียเงินเสียทองซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแพงๆ มากิน หากใครติดตามข่าวจะพบว่าแม้กระทั่งจักษุแพทย์ เช่น ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ หัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเคยออกมาเตือนผ่านทางสื่อต่างๆ ว่า โรคตาแต่ละชนิดมีแนวทางการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ถ้าเป็นต้อกระจกต้องผ่าตัดต้อกระจก หากเป็นต้อหินก็ต้องให้ยาลดความดันลูกตา ไม่สามารถใช้วิตามินกินแล้วบอกว่ารักษาทุกโรคได้         สารลูทีนและซีแซนทีน เป็นกลุ่มวิตามิน ซึ่งมีการศึกษาที่พิสูจน์ว่าได้ประโยชน์เฉพาะผู้ป่วยจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุบางประเภท “ที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากจักษุแพทย์ก่อน” จึงจะสามารถใช้ยาได้ “ดังนั้นการโฆษณาว่ารักษาโรคตาได้ทุกโรคนั้นไม่เป็นความจริง เป็นการโฆษณาชวนเชื่อ หนำซ้ำจะทำให้เกิดอันตราย ขาดโอกาสในการรักษาที่ถูกต้อง ทำให้โรครุนแรงขึ้นจนถึงขั้นตาบอดได้” เช่น ถ้าเป็นต้อเนื้อ ก็จะลุกลามจนบังการมองเห็น ถ้าเป็นต้อกระจกก็จะทำให้อาการรุนแรงเกิดผลแทรกซ้อนกลายเป็นต้อหินและตาบอดในที่สุด ยิ่งถ้าเป็นต้อหินอยู่เดิมแล้วไม่ได้รับการรักษาด้วยยาลดความดันลูกตาอาจจะทำให้ตาบอดได้ บางคนอาจจะใช้เวลาเพียง 1-2 เดือนก็ทำให้ตาบอดได้        ทราบข้อมูลขนาดนี้แล้ว ช่วยๆ กันเตือนคนที่เรารัก ให้เท่าทัน หากมีปัญหาเรื่องตา ควรไปหาจักษุแพทย์ตรวจรักษาอย่างถูกวิธีดีกว่า อย่าไปหลงเป็นเหยื่อ ให้ผลิตภัณฑ์พวกมา...โอ้ละหนอ หลอกดวงตาจนอาจจะบอดเอย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 แท็บเล็ต 2017

เมื่อสมาร์ตโฟนในมือของคุณดูจะเล็กไปสำหรับการใช้งานซื้อของออนไลน์ ติดตามข่าวสาร หรือส่องความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ และโน้ตบุ๊กก็ดูจะเป็นทางเลือกที่สร้างภาระให้กับหลังและไหล่เกินไป ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงขอชวนสมาชิกมาด้อมๆ มองๆ ผลการทดสอบแท็บเล็ตกันที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศทำไว้ในช่วงปี 2017 เผื่อใครจะซื้อเป็นของขวัญปีใหม่ให้ตัวเอง เขาทดสอบไว้ทั้งรุ่นที่ขนาดเล็กกว่า 8 นิ้วและใหญ่เกิน 8 นิ้ว โดยให้คะแนนด้านต่างๆ เพื่อนำมาประมวลผลเป็นคะแนนเต็ม 100 ตามสัดส่วนดังนี้  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 166 ตามหาความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตแท็บเล็ต

วันนี้แท็บเล็ตหรือกระดานอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตติดไอทีของเราพร้อมๆ กับสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์อื่นๆ อีกสารพัด การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อสนองความต้องการของลูกค้ายังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น และวิกฤตเศรษฐกิจใดๆ ก็ไม่อาจสกัดยอดขายสินค้าเหล่านี้ได้ และสิ่งที่เราได้ยินอยู่บ่อยๆ เกี่ยวกับตลาดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วด้วยผู้เล่นหลักๆ เพียงสิบกว่าเจ้า คือข่าวเรื่องการละเมิดสิทธิแรงงานหรือสภาพการทำงานที่ไม่เป็นมิตร เพราะแรงกดดันที่ทำให้ผู้รับเหมาช่วงต้องผลิตและจัดส่งชิ้นงานให้เร็วขึ้น ในราคาที่ถูกลง และผู้รับเหมาเหล่านี้มักอยู่ในประเทศแถบเอเชียที่มีต้นทุนแรงงานต่ำ จึงทำให้สายการผลิตและจัดส่งมีความซับซ้อนของจนยากแก่การติดตาม ฉลาดซื้อ ฉบับต้อนรับปี 2558 จึงขอพาคุณไปพบกับผลการสำรวจความรับผิดชอบต่อสังคมของผู้ผลิตคอมพิวเตอร์พกพาชนิดแท็บเล็ต ที่องค์กรทดสอบระหว่างประเทศหรือ ICRT และ DanWatch (องค์กรเอกชนที่เฝ้าระวังประเด็นด้านแรงงานของบริษัทขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจระหว่างประเทศ) ได้ทำไว้ การสำรวจครั้งนี้มี Acer  Apple  ASUS  BenQ  Google  HP Lenovo  Microsoft  Samsung  Sony และ Toshiba เข้าร่วม โดยประเด็นที่ให้คะแนนได้แก่พฤติกรรมของแบรนด์ต่างๆ ใน 4 ด้าน ได้แก่ สังคมและแรงงาน สิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสในการดำเนินงาน และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ใครเป็นผู้สนับสนุนแบรนด์ไหน เชิญติดตามกันได้เลย ผลสำรวจในภาพรวม ด้านสังคมและแรงงาน ในภาพรวมของอุตสาหกรรมการผลิตแท็บเล็ตนั้น พบว่ามีการนำหลักการเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมาใช้มากขึ้น แต่ก็ยังถือว่าไม่เพียงพอ ทุกแบรนด์ที่ร่วมการสำรวจ (ยกเว้น BenQ) มีนโยบายหรือมาตรฐานการดูแลสิทธิมนุษยชน แต่ยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าจ้างโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้อย่างเหมาะสมและมีศักดิ์ศรี และยังไม่มีการยอมรับสิทธิในการรวมกลุ่มอย่างเสรี หรือให้เสรีภาพในการต่อรอง ทุกแบรนด์ (ยกเว้น BenQ) มีการพูดถึงประเด็นการจัดหาแร่ธาตุ เช่นดีบุกและแทนทาลัม แต่ไม่ได้พูดถึงแหล่งจัดหาทองคำและทังสเตน เงื่อนไขด้านการค้าและการจัดซื้อมีน้อยมากในภาพรวม แต่ Acer Samsung Toshiba และ Lenovo พอมีอยู่บ้าง เช่น Acer ระบุว่าค่าใช้จ่ายด้านความรับผิดชอบต่อสังคมนั้นรวมอยู่ในต้นทุนแล้ว ในขณะที่ Lenovo ก็ได้กำหนดให้ผู้จัดส่งวัตถุดิบปฏิบัติตามมาตรฐานที่บริษัทกำหนด เช่น ต้องไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ หรือโอโซน เป็นต้น ด้านสิ่งแวดล้อม โดยรวมแล้วความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมยังไม่ทั่วถึงรอบด้าน แบรนด์ต่างๆ มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมในโรงงานของตนเอง แต่ไม่มีในโรงงานที่รับเหมาช่วง โรงงานเหล่านี้ปฏิบัติตามข้อกำหนดในเรื่องที่มีกฎหมายบังคับ (เช่น สารเคมี การจัดการขยะ) แต่ยังไม่ได้ให้ความสนใจกับประเด็นที่เป็นความสมัครใจ เช่น การใช้พลังงานหมุนเวียน หรือการนำกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น การสำรวจพบว่า มีข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมน้อยมากสำหรับอุปกรณ์แทบเล็ต มาตรการส่วนใหญ่เน้นไปที่การเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องและการรีไซเคิล ด้านความโปร่งใสในการดำเนินงาน ในภาพรวมแล้วอุตสาหกรรมดังกล่าวเริ่มมีการรายงานหรือเปิดเผยต่อสาธารณะมากขึ้น เช่น รายงานความรับผิดชอบต่อสังคม/การประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน รายชื่อผู้จัดหาวัตถุดิบ รายงานการตรวจสอบผู้จัดหาวัตถุดิบ รายการสารเคมีที่ใช้ รายงานการปล่อยคาร์บอน และการใช้ทรัพยากรน้ำ เป็นต้น ด้านการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง นั้นมีมากขึ้น แต่ยังอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมด้วยกันเอง เช่น EICC GeSI Public-Private Alliance หรือ Carbon Disclosure Project เป็นต้น แต่การเปิดโอกาสให้กับการมีส่วนร่วมจากภายนอก เช่น สหภาพแรงงานต่างๆ ยังมีไม่มากนัก                                                                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point