ฉบับที่ 253 ความเคลื่อนไหวเดือนมีนาคม 2565

สังเกตเครื่องหมาย +66 แก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์         นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่หลอกลวงประชาชน โดยให้ผู้ให้บริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ (IDD) ทั้ง 6 ราย เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกลวงโดยมีมาตรการดังนี้  1. ให้ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบเบอร์โทรศัพท์บ้านหรือเบอร์โทรศัพท์สั้น 3 หลัก เบอร์โทรศัพท์สั้น 4 หลัก ที่โทรมายังเลขหมายปลายทางของประเทศไทย 2. ให้ระงับสายโทรเข้ามาจากต่างประเทศที่มีรูปแบบเป็นรหัสโทรศัพท์ประจำประเทศที่สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) ยังไม่ได้จัดสรรให้กับประเทศใด 3. ให้ดำเนินการตรวจสอบสายที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย ว่าเลขหมายมีการดัดแปลงหรือไม่ ด้วยระบบ Test Call Generator อย่างต่อเนื่อง 4. กรณีสายที่โทรเข้ามาจากต่างประเทศไม่มีกำหนดเลขหมายต้นทาง ให้เพิ่มเครื่องหมาย +66 นำหน้าเบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ทราบว่าโทรมาจากต่างประเทศ ทั้งนี้ นายไตรรัตน์ กล่าวต่อว่า มาตรการของ กสทช. นี้เพื่อย้ำให้ผู้ให้บริการระหว่างประเทศดำเนินการ ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนแยกแยะได้ว่า สายที่โทรเข้ามาเป็นสายมาจากต่างประเทศจะได้ไม่เผลอรับสายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ จับเครื่องเครื่องสำอางปลอม 18 ยี่ห้อดัง         กองบังคับการปราบปรามกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมเกี่ยวกับคุ้มครองผู้บริโภค ได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา แถลงผลการทลายแหล่งจำหน่ายเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ดังปลอมหลายยี่ห้อ ซึ่งภายในบ้านได้ดัดแปลงเป็นโกดังสินค้าย่านสวนหลวง กรุงเทพมหานคร โดยสามารถจับกุมหญิงชาวเวียดนามผู้ดูแลบ้านได้ และจากการตรวจสอบบ้านได้ยึดของกลางเป็นเครื่องสำอางยี่ห้อดัง 18 รายการ จาก 7 บริษัท มูลค่า 70 ล้านบาท ต่อมาทางหญิงชาวเวียดนามได้สารภาพว่า แฟนหนุ่มคนไทยได้ร่วมมือกับนายทุนชาวเวียดนาม รับจ้างดูแลสินค้าและบรรจุสินค้าส่งให้ลูกค้า ส่วนสินค้าคือสินค้าปลอมที่ผลิตมาจากประเทศจีน และมีการปลอมเว็บไซต์เครื่องสำอางต่างๆ อีกด้วย ด้าน นพ.วิทิต สฤษฎีชัยกุล รองเลขาธิการ อย. ได้เปิดเผยว่า ต้นเหตุในการจับกุมมาจากผู้บริโภคซื้อสินค้าเหล่านี้ผ่านช่องทางออนไลน์ และมีราคาถูกกว่าปกติ 50-70% มีโปรโมชัน 1 แถม 1 เมื่อได้รับกลับพบว่าเป็นสินค้า ด้อยคุณภาพ เมื่อใช้เกิดอาการผิดปกติไปจากเดิม เช่น อาการแพ้ ผื่นขึ้นและหน้าพัง จึงขอให้ผู้บริโภคตรวจสอบให้รอบคอบก่อนซื้อผลิตภัณฑ์ ใส่หน้ากากอนามัยซ้ำ เสี่ยงอันตรายจากแบคทีเรีย         จากกรณีข้อมูลเผยแพร่เรื่องการใส่หน้ากากอนามัยซ้ำๆ มีโอกาสเสียชีวิต เนื่องจากแบคทีเรียสะสมนั้น เพจ Anti-Fake News Center Thailand ได้โพสต์ข้อความถึงกรณีนี้ว่า ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พบว่าประเด็นดังกล่าวเป็นข้อมูลจริง ซึ่งหน้ากากอนามัยเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง ห้ามซักแล้วนำมาใช้ใหม่ ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัยจากผู้ป่วย หน้ากากอนามัยจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องวินิจฉัยโรค ฯลฯ เพราะถือว่าเป็นขยะที่ติดเชื้อ ต้องนำไปกำจัดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ.2545  และหน้ากากอนามัยที่ติดเชื้อหากจัดการไม่ถูกต้องจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมเพราะเป็นแหล่งเชื้อก่อโรค โดยเฉพาะเชื้อโรคที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ได้แก่ แบคทีเรีย ไวรัส เชื้อราบางชนิด ปรสิตบางชนิด ที่จะเจริญเติบโตและก่อโรคให้แก่ผู้ที่ไปสัมผัส ดังนั้น ควรเปลี่ยนทุก 6-8 ชั่วโมง หรือเมื่อหน้ากากเปียกชื้น สกปรก เมื่อออกจากสถานที่เสี่ยง/แออัด และควรทิ้งหน้ากากอนามัยอย่างถูกต้องทุกครั้ง  พาณิชย์ไม่อนุญาตขึ้นค่าส่งสินค้าออนไลน์         หลังกระทรวงพาณิชย์ได้รับเรื่องร้องเรียนว่าแพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์ ได้ปรับราคาค่าขนส่ง นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ได้แถลงข่าว ยืนยันว่ายังไม่มีการอนุญาตให้ผู้ประกอบการ หรือผู้ให้บริการปรับขึ้นค่าขนส่งได้ เพื่อไม่ให้กระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน เนื่องจากแพลตฟอร์มออนไลน์มีส่วนในวิถีชีวิตของประชาชนมากขึ้นในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จึงได้กำชับให้แสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจนตามกฎหมาย ซึ่งการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากค่าสินค้าหรือบริการต้องแสดงค่าใช้จ่ายให้ชัดเจน หากไม่มีการแสดงราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท นอกจากนี้ หากพบเห็นการกระทำความผิดหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมด้านราคาหรือปริมาณสินค้า แจ้งได้ที่สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือสำนักงานพาณิชย์จังหวัดทั่วประเทศ  มพบ.และเครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือค้านเร่งต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว         เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2565 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายภาคประชาชน ศูนย์สิทธิผู้บริโภค และชมรมคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร เข้ายื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อคัดค้านจากกรณีที่กระทรวงมหาดไทย พยายามผลักดันประเด็นเรื่องการต่อสัญญาสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวกับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัทในเครือ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (BTS) เข้าสู่วาระการพิจารณาของการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเร่งด่วน ทั้งที่สัมปทานฉบับดังกล่าวจะหมดอายุในปี 2572 หรืออีก 7 ปี โดยไม่ได้ศึกษาหรือทบทวนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนผู้ใช้บริการ เพราะการต่อสัญญาสัมปทานอาจจะทำให้ประชาชนขาดประโยชน์ไปอีกถึง 37 ปี         การยื่นหนังสือคัดค้านนี้ มีนางอรกัญญา บุณยมหาศาล ผู้อำนวยการส่วนเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มารับหนังสือและแจ้งกับทาง มพบ. และเครือข่ายภาคประชาชนว่า จะเรียนท่านผู้ว่าฯ และรีบดำเนินการตามที่ร้องขอ  ทั้งนี้ ทาง มพบ. เครือข่ายภาคประชาชน ยังขอทราบรายละเอียดสัญญาระหว่าง กทม. กับ BTSC  ตลอดจนขอเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาเพื่อเป็นข้อมูลเผยแพร่ให้ผู้บริโภคได้รับทราบตามสิทธิอันพึงมีตามกฎหมายด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉลาดซื้อเปิดผลทดสอบคุณสมบัติการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ 3 ระบบ

        ฉลาดซื้อ และเครือข่ายผู้บริโภค เปิดเผยผลทดสอบคุณสมบัติการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ 3 ระบบ( RO, UF, UV ) พบว่า เครื่องกรองน้ำบางยี่ห้อ ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพ อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาดต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน พร้อมเสนอ สมอ.ออกมาตรฐานบังคับ                                 วันนี้ ( 30 กรกฎาคม 2564 ) ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภคและโครงการสนับสนุนระบบเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ แถลงผลทดสอบคุณสมบัติการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ 3 ระบบ ( RO, UF, UV ) โดย ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง นักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ผู้แทนศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ  กล่าวว่า  “ ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป การทดสอบของศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ ในครั้งนี้เน้นเลือกเครื่องกรองน้ำที่มีการเปิดเผย หรือเผยแพร่คุณสมบัติจากการโฆษณา จำนวน เครื่อง จาก 3 ระบบการกรอง  โดยสุ่มซื้อเก็บตัวอย่างเครื่องกรองน้ำที่มีจำหน่ายในท้องตลาด และจากเว็ปไซต์ห้างค้าปลีกออนไลน์ ในเดือนธันวาคม  พ.ศ. 2563 การทดสอบครั้งนี้ทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการให้ข้อมูลกับผู้บริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์         1.เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) จำนวน  11 ตัวอย่าง        2.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultrafiltration (UF) จำนวน 8 ตัวอย่าง        3.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultraviolet (UV) จำนวน 7 ตัวอย่าง การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ RO มีรายละเอียด ดังนี้        เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Toshiba รุ่น TWP-N1890UK Stiebel Eltron รุ่นGlacier Filtex รุ่น FT 241 RO Aquatek รุ่น RO 150 GPD และ Mi รุ่น water purifier 1A         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น RO PURE LI และ Pure รุ่น KT RO         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Treatton รุ่น RO 300 GPD และ Turboraรุ่น 5ROC-PRC         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบบทีเรียได้ ได้แก่ Carina รุ่น  CA-5RO และ Pentair รุ่น GRO-50 System การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UF มีผลทดสอบ ดังนี้          เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Stiebel Eltron รุ่น Rain Plus และ Pure รุ่น DM 01         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Unipure รุ่น BLUE 20”(UF)         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Astina รุ่น AP401UF และ Aquatek รุ่น Silver UF         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น BUF-401N Filtex รุ่น FT-220 และ Mazuma  รุ่น AQ 50 UF  การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UV มีรายละเอียด ดังนี้        เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น AQ-5F-UVS และ Amway รุ่น eSpring         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Pure รุ่น DM 01 UV และ Filtex รุ่น FT-229         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น 5PUVPRC Carina รุ่น CA-5UV และ Absolute รุ่น Ultraviolet & Ceramic        ผู้บริโภคสามารถใช้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรียของครื่องกรองน้ำ เพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพอื่นๆ  ของเครื่องกรองน้ำประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกรองโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารพิษอื่นๆ เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำที่เราใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้         ทั้งนี้ ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อมีข้อแนะนำว่า  ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและอนามัย อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานาน                                                                                                         โสภณ หนูรัตน์ หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) กล่าวว่า “ น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภค ควรมีสิทธิเข้าถึงน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาด ปลอดภัยเพื่อสุขภาพที่ดี  การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย ประกอบกับน้ำประปานั้น แม้เป็นน้ำสะอาดที่สามารถนำมาอุปโภค บริโภคได้ตามที่การประปาประกาศ แต่กระบวนการส่งน้ำจากโรงกรองน้ำที่กว่าจะมาถึงท่อน้ำประปาแต่ละบ้านนั้นอาจจะมีสิ่งปลอมปนจากปัญหาท่อน้ำแตก ท่อน้ำบางช่วงเกิดตะกอนสะสมจนสกปรก หรือแม้แต่สิ่งสกปรกจากการซ่อมท่อน้ำได้เช่นกัน ดังนั้น การติดตั้งเครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือนเพื่อสร้างความอุ่นใจในการบริโภคน้ำให้มากขึ้น  แต่ในปัจจุบันนั้น  มาตรฐานของเครื่องกรองน้ำ ที่กำหนดโดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. นั้น เป็นมาตรฐานทั่วไป ไม่ได้เป็นมาตรฐานบังคับ ทำให้มีเครื่องกรองน้ำที่ไม่ได้มาตรฐานวางจำหน่าย และผู้บริโภคก็ต้องเจอความเสี่ยงต่อสินค้าที่ไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพ ผู้บริโภคที่ซื้อเครื่องกรองน้ำก็มุ่งหวังจะได้สินค้าที่ตัวช่วยเพื่อให้ได้บริโภคน้ำที่สะอาด ปลอดภัยมากขึ้น แต่ผู้บริโภคเองก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ขณะซื้อและหลังซื้อ ว่าเครื่องกรองน้ำตัวใดกรองเชื้อแบคทีเรียได้หรือไม่  อีกทั้งเครื่องกรองน้ำทุกวันนี้ เน้นทำโฆษณากับผู้บริโภคชวนเชื่อเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการกรองสิ่งเจือปนต่างๆ  ในเมื่อผู้บริโภคไม่สามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของเครื่องกรองน้ำตามคำโฆษณาได้โดยง่าย จึงควรเป็นหน้าที่รัฐที่ต้องจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ออกมาตรฐานเครื่องกรองน้ำ เป็นมาตรฐานบังคับเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคต่อสินค้าดังกล่าวด้วย  สภาองค์กรของผู้บริโภคในฐานะตัวแทนของผู้บริโภคเห็นว่า เพื่อความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ประเด็นเครื่องกรองน้ำเป็นสินค้าที่จำเป็นที่หน่วยงานรัฐควรมีการกำกับดูแลและยกระดับมาตรฐานของสินค้าให้สูงขึ้น สภาฯจะมีการทำข้อเสนอแนะนโยบายไปยัง สมอ. เพื่อติดตามการกำหนดมาตรฐานบังคับของเครื่องกรองน้ำเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคต่อไป         อ่านรายละเอียดผลทดสอบเพิ่มเติมได้ที่ ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (1) ระบบ RO https://www.chaladsue.com/article/3771 และ ผลการทดสอบประสิทธิภาพ การกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (2) ระบบ UF และ ระบบ UV https://www.chaladsue.com/article/3772        ติดต่อรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  ชนิษฎา โทรศัพท์ 0813563591

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 ผลการทดสอบประสิทธิภาพ การกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (2) ระบบ UF และ ระบบ UV

การกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (2) ระบบ UF และ ระบบ UV      น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภคต้องเลือกน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี  การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย เครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือน         ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป        ต่อไปนี้คือ ผลการทดสอบ เครื่องกรองน้ำระบบ UF และ ระบบ UV  (วิธีการทดสอบเดียวกับการทดสอบเครื่องกรองน้ำระบบ RO ดูบทความก่อนหน้า)        ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ UF         การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UF มีผลทดสอบ ดังนี้               เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Stiebel Eltron รุ่น Rain Plus และ Pure รุ่น DM 01         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Unipure รุ่น BLUE 20”(UF)         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Astina รุ่น AP401UF และ Aquatek รุ่น Silver UF         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น BUF-401N Filtex รุ่น FT-220 และ Mazuma  รุ่น AQ 50 UF          ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ UV        การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ UV มีรายละเอียด ดังนี้         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น AQ-5F-UVS และ Amway รุ่น eSpring         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Pure รุ่น DM 01 UV และ Filtex รุ่น FT-229         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบคทีเรียได้ ได้แก่ Turbora รุ่น 5PUVPRC Carina รุ่น CA-5UV และ Absolute รุ่น Ultraviolet & Ceramic

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 244 ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำ (1) ระบบ RO

        น้ำดื่มเป็นสิ่งจำเป็นต่อร่างกาย โดยผู้บริโภคต้องเลือกน้ำดื่มน้ำใช้ที่มีความสะอาดเพื่อสุขภาพที่ดี  การบริโภคน้ำจากแหล่งธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝน น้ำบาดาล หรือน้ำจากประปาอาจมีจุลินทรีย์เจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกาย เครื่องกรองน้ำจึงกลายเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับใช้ภายในครัวเรือน         ปัจจุบันระบบการกรองน้ำที่ใช้กันแพร่หลาย และวางจำหน่ายในท้องตลาดมีอยู่ 3 ระบบ ได้แก่ ระบบ Reverse Osmosis (RO) ระบบ Ultra-Filter (UF) และ ระบบ UV (Ultra Violet) ซึ่งแต่ละระบบมีการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ใช้งาน รวมถึงความต้องการการใช้น้ำที่แตกต่างกันไป         การทดสอบครั้งนี้ เป็นการนำเครื่องกรองน้ำที่มีจำหน่ายในท้องตลาดมา ทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย เพื่อเป็นแนวทางเบื้องต้นในการให้ข้อมูลกับบริโภคเพื่อประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์โดยทำการสุ่มซื้อเครื่องกรองน้ำจากท้องตลาด และการสั่งซื้อทางออนไลน์ โดยเลือกเครื่องกรองน้ำจาก 3 ระบบ ได้แก่          1.เครื่องกรองน้ำระบบ RO (Reverse Osmosis) จำนวน  11 ตัวอย่าง        2.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultrafiltration (UF) จำนวน 8 ตัวอย่าง        3.เครื่องกรองน้ำระบบ Ultraviolet (UV) จำนวน 7 ตัวอย่าง         ผู้บริโภคสามารถใช้ผลการทดสอบประสิทธิภาพการกรองเชื้อแบคทีเรียของครื่องกรองน้ำ สำหรับประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องกรองน้ำที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตามควรพิจารณาคุณสมบัติและ ประสิทธิภาพอื่นๆ ของเครื่องกรองน้ำประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการกรองโลหะหนัก ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม และสารพิษอื่นๆ เช่น สารตกค้างจากยาฆ่าแมลง สารเคมีกำจัดวัชพืช ที่อาจปนเปื้อนมากับน้ำที่เราใช้สำหรับการบริโภคในครัวเรือนได้        ข้อแนะนำ ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงเครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะอาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพและอนามัย อันจะนำไปสู่การติดเชื้อและเจ็บป่วยจากการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลานานๆ         ผลการทดสอบ : เครื่องกรองน้ำระบบ RO        การทดสอบประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียของเครื่องกรองน้ำระบบ RO มีรายละเอียด ดังนี้         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียมากกว่าร้อยละ 80 ได้แก่ Toshiba รุ่น TWP-N1890UK Stiebel Eltron รุ่น Glacier Filtex รุ่น FT 241 RO Aquatek รุ่น RO 150 GPD และ Mi รุ่น water purifier 1A         เครื่องกรองน้ำที่มีประสทธิภาพในการกรองแบคทีเรีย ร้อยละ 50 – 80 ได้แก่ Mazuma รุ่น RO PURE LI และ Pure รุ่น KT RO         เครื่องกรองน้ำที่มีประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียน้อยกว่าร้อยละ 50 ได้แก่ Treatton รุ่น RO 300 GPD และ Turbora รุ่น 5ROC-PRC         เครื่องกรองน้ำที่ไม่สามารถกรองแบบทีเรียได้ ได้แก่ Carina รุ่น  CA-5RO และ Pentair รุ่น GRO-50 System

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 233 ขาลาย เพราะน้ำเหลืองไม่ดีจริงหรือ

        ผู้ใหญ่หลายคนมักทักเด็กน้อย หรือคนที่ขาเป็นแผลถลอกพุพอง มีน้ำเหลืองเยิ้ม หรือมีรอยแผลเป็นที่ลายพร้อยไปทั้งแขน ขาว่า เป็นโรคน้ำเหลืองไม่ดี ซึ่งก็งงกันไปว่า มันไม่ดียังไง เกิดจากอะไร เป็นกรรมพันธุ์หรือเปล่า เพราะอันที่จริงโรคน้ำเหลืองไม่ดีนั้น ไม่มี มีแต่สิ่งที่เรียกว่า ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง         บ้านเรานั้นอากาศร้อนชื้น มีแมลงรำคาญก็มาก ดิน น้ำ พงหญ้าชื้นแฉะ แมลงชุม เวลาที่ผิวหนังของเรา โดนแมลงต่างๆ กัด หรือระคายเคืองจากพืชบางชนิด หากมีอาการแพ้เกิดผื่นหรือตุ่มคัน บางคนเกาเบาๆ อาการก็ดีขึ้นหรือแค่ป้ายยาหม่องก็หาย แต่หลายคนคันมากก็เกามาก บางคนห้ามใจไม่อยู่เกากันจนเกิดแผลถลอกและติดเชื้อจนกลายเป็นตุ่มหนอง เมื่อแผลหายแล้วก็ยังเกิดเป็นรอยแผลเป็นทิ้งไว้ให้คิดถึงอีก อาการแบบนี้คนสมัยก่อนจะบอกว่า เป็นโรคน้ำเหลืองไม่ดี ต้องกินยานี้ ไม่กินอาหารนี้เพราะมันแสลงโรค รวมทั้งมีสื่อที่โฆษณาขายยาหรืออาหารเสริมหลายชนิดที่มักอวดอ้างสรรพคุณว่า กินแล้วช่วยให้หายจากโรคน้ำเหลืองไม่ดี มาขายในราคาแสนแพงอีกด้วย  สวยอย่างฉลาดคราวนี้จึงขอนำเสนอข้อมูลที่ชัดเจนเพื่อไม่ให้เข้าใจผิดอีกต่อไป และเรียนรู้วิธีที่ถูกต้องในการรักษา            โรคน้ำเหลืองไม่ดี ไม่มีอยู่จริงในวงการแพทย์ ภาวะที่กล่าวข้างต้นเป็นเพียงแค่ ภาวะติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง หรือโรคที่มีแผลเรื้อรังที่ขา แขน หรือผิวหนังของร่างกาย บางที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Impetigo ซึ่งเกิดจากเชื้อแบคที่เรียที่ชื่อว่า Staphylococcus aureus และ Streptococcus pyogenes ที่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ทั้งนั้น เพียงแค่การลุกลามและเรื้อรังของแต่ละคนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับการดูแลและรักษาอาการนั้นมากน้อยแค่ไหน                    การรักษาความสะอาดสำคัญที่สุด        ภาวะนี้หากเกิดกับเด็ก จะดูแลยากหน่อย เพราะห้ามเด็กไม่ให้เกาเมื่อคันนั้นยาก บางทีหลับแล้วก็ยังเผลอเกาจนน้ำเหลืองเยิ้มกลายเป็นแผลติดเชื้อ ดังนั้นต้องเริ่มจากการป้องกัน กล่าวคือ ไม่ควรให้เด็กเล่นดิน ทราย หรือน้ำที่สกปรก ไม่เข้าพงหญ้าที่มีแมลง แต่หากสัมผัสกับสิ่งสกปรกเหล่านี้ต้องรีบล้างทำความสะอาดทันที และควรต้องตัดเล็บเด็กให้สั้นเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อที่ซ่อนอยู่ในเล็บและการเกาจนเกิดบาดแผล         การรักษา หากเกิดตุ่มคัน ผื่นแพ้ บวม แดง ให้รีบล้างแผลให้สะอาด รักษาแผลโดยอาจฟอกด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น chlorhexide หรือทายาฆ่าเชื้อกลุ่ม cloxacillin dioxacillin หรือ Cephalexin แต่หากอาการรุนแรง แผลลุกลาม มีไข้ ต้องรีบไปพบแพทย์ ซึ่งอาจต้องใช้ยาฆ่าเชื้อแบบกินหรือฉีด และอาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล         ในผู้ใหญ่ก็คล้ายกัน ป้องกันก่อนดีที่สุด หากเกิดผื่นแพ้หรือตุ่มคัน ควรหายาทาบรรเทาอาการ หรือรับประทานยาแก้แพ้ สิ่งสำคัญที่สุดในการรักษาโรคนี้คือ การรักษาความสะอาด ตัดเล็บให้สั้น อาบน้ำล้างแผลให้สะอาด ไม่แกะ ไม่เกาแผล เพราะจะทำให้เกิดการอักเสบที่แผล เพราะจะทำให้แผลหายช้า         เรื่องจริงของแผลติดเชื้อ        ·  ไม่มีของแสลง อาหารกินได้ทุกชนิด ไม่ต้องงด เนื้อ นม ไข่        ·  พ่นยา พ่นเหล้า พ่นสมุนไพร อาจจะยิ่งติดเชื้อเพิ่มมากขึ้น        ·  ไม่มีอาหารเสริมเพื่อมารักษา ดีสุดกินอาหารครบ 5 หมู่

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 นี่คือเหตุผลที่เราต้องใส่ใจต่อสวัสดิภาพของสัตว์ในฟาร์ม

        รู้ไหมว่ายิ่งเราปฏิบัติต่อสัตว์เลี้ยงในฟาร์มดีมากเท่าไร มนุษย์เราจะยิ่งปลอดภัยมากขึ้นเท่านั้น ในสถานการณ์ที่มนุษย์ต้องเผชิญความเสี่ยงจากเชื้อโรคที่ดื้อต่อยารักษา(เชื้อแบคทีเรียที่ทนต่อยาต้านจุลชีพ)  ซึ่งทำให้คนทั่วโลกเสียชีวิตถึง 700,000 รายในแต่ละปี และคาดว่าจะเพิ่มสูงถึง 10 ล้านคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2593  หากเรายังป้องกันปัญหาการกระจายของเชื้อดื้อยาในสิ่งแวดล้อมไม่ได้ เนื่องจากมีการพบการตกค้างของยาปฏิชีวนะและเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในแหล่งน้ำรอบบริเวณฟาร์มอุตสาหกรรมทั่วโลก รวมถึงการตกค้างในเนื้อสัตว์จากฟาร์ม        ในปี พ.ศ. 2561 องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้ทำการสำรวจเนื้อหมูที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตจากประเทศออสเตรเลีย บราซิล สเปน และประเทศไทย  การสำรวจพบว่ามีเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ (Superbugs) ในผลิตภัณฑ์เนื้อหมูจาก 3 ใน 4 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ผลการทดสอบดังกล่าวได้ชี้ให้เห็นว่าการเลี้ยงหมูในฟาร์มแบบอุตสาหกรรมที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์ ส่งผลให้ต้องมีการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นกับหมู จนส่งผลให้เกิดวิกฤติแบคทีเรียดื้อยาปฎิชีวนะขึ้น ผลการทดสอบเชื้อดื้อยากรณีประเทศไทย        การทดสอบผลิตภัณฑ์เนื้อหมูที่วางขายในซูเปอร์มาร์เก็ตที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2561 นี้ ก็เพื่อตรวจสอบหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในเนื้อหมูที่มีฤทธิ์ต่อต้านยาปฏิชีวนะในประเภทที่กำหนด เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างฟาร์มที่ขาดการดูแลสวัสดิภาพสัตว์กับการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น โดยมีการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์จาก 4 ประเทศ (ออสเตรเลีย บราซิล สเปน และไทย) เป็นการซื้อเนื้อหมูที่บรรจุอยู่ในแพ็คจากซูเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ โดยผลิตภัณฑ์เหล่านี้ จะถูกเก็บอยู่ในความเย็นและส่งไปยังห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือสำหรับการตรวจสอบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ประกอบไปด้วยหมูบด เนื้อหมูที่ผ่านการตัดขาย เป็นชิ้นและราคาปกติ         ผลการทดสอบของไทย จากจำนวนทั้งหมด 150 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนแบคทีเรีย อีโคไล มากกว่า 97% และซัลโมเนลล่า จำนวน 50% โดยตัวอย่างที่นำมาทดสอบนี้ มาจาก 2 ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทยคือ เทสโก้ โลตัสและท็อปส์ มาร์เก็ต        •  97% ของเชื้ออีโคไล และ 93% ของเชื้อซาลโมเนลล่า ที่พบเป็นแบคทีเรียดื้อยาหลายขนาน        • มีการพบเชื้ออีโคไลที่มีฤทธิ์ต่อต้าน ESBL (จำนวน 10% ของอีไคไลที่พบ) โดยจัดเป็นเชื้ออีโคไลที่มีฤทธิ์ในการต่อต้านยาปฏิชีวนะจำพวกเซฟาโลสปอรินและแอมพิซิลิน โดยยาปฏิชีวนะในกลุ่มเซฟาโลสปอริน รุ่นที่ 3 ขึ้นไปถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุดต่อสุขภาพของคน        • พบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะในกลุ่มที่มีความสำคัญต่อสุขภาพคนสูงสุด โดยพบในตัวอย่างที่นำมาจากเทสโก้ โลตัส พบแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ต่อต้านยาแซโฟแท็กเซี่ยม 15% และแซฟโปดอกเซี่ยม 15% จากตัวอย่างทั้งหมดที่พบเชื้ออีโคไล นอกจากนั้นจากตัวอย่างที่พบอีไคไลและซัลโมเนลล่า ยังพบการดื้อยาต่อเจนต้าไมซิน (19%) เตรปโตไมซิน (96.8%) และแอมพิซิลลิน (100%)         • มีการพบเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่ออกฤทธิ์ต่อต้านยาปฏิชีวนะกลุ่มที่มีความสำคัญสูงสุดต่อสุขภาพของคน โดยตัวอย่างจากเทสโก้ โลตัส ที่พบเชื้ออีโคไลและซัลโมเนลล่านั้นมีการออกฤทธิ์ต่อต้านเตตร้าไซคลิน 96.7% และคลอแรมเฟนิคอล 61%        อนึ่งในการทดสอบนี้เราไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า ผลการทดสอบเชื่อมโยงกับสุขภาวะของผู้บริโภคแบบเจาะจง แต่สำนักงานยายุโรป(European Medicines Agency) ได้ยืนยันว่าเชื้อแบคทีเรียดื้อยาสามารถถ่ายทอดสู่คนได้ทางห่วงโซ่อาหารและสามารถคงอยู่ได้ในลำไส้ของคน ดังนั้นจึงส่งผลให้เด็ก คนชราและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ รวมถึงเกิดการเจ็บป่วยจากอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการทำงานของตับล้มเหลว ฟาร์มอุตสาหกรรมและการใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็น        ปัจจุบันมีการใช้ยาปฏิชีวนะ 131,000 ตันต่อปีในฟาร์ม เพื่อเร่งการเจริญเติบโต ป้องกัน และรักษาโรคต่างๆ ในสัตว์ โดยจำนวน 3 ใน 4 ของยาปฏิชีวนะทั่วโลกถูกใช้กับสัตว์ในฟาร์ม        องค์การอนามัยโลก(WHO) ได้ประกาศถึงอันตรายของยาปฏิชีวนะ ที่มีผลต่อสุขภาพของคน โดยจัดให้เป็นลำดับสำคัญที่สุด และก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพของคนอย่างรุนแรง ยาปฏิชีวนะที่ได้รับการ ประกาศเตือนนี้ รวมถึงยาปฏิชีวนะที่ใช้ในฟาร์มหมู ได้แก่ โคลิสติน ฟลูออโรควิโนโลน เซฟาโลสปอริน รุ่นที่ 3 และเอนโรโฟลซาซิน   ยาปฏิชีวนะเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มใช้รักษาอาการติดเชื้ออย่างรุนแรงในคน โดยองค์การอาหาร และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้แนะนำว่าไม่ควรใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มดังกล่าวนี้ในอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นการคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการรักษาการติดเชื้อในคนอย่างได้ผล        แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงมีการใช้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มนี้ อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ถึงแม้ว่าจะมีหลักฐานที่ชัดเจนที่บ่งชี้ว่า การใช้ยาปฏิชีวนะเกินความจำเป็นนี้ก่อให้เกิดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาที่พบในเนื้อสัตว์ ในฟาร์มตลอดจนในห่วงโซ่อาหาร เราพบว่าอุตสาหกรรมหมูมีการใช้ยาปฏิชีวนะมากกว่าฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ชนิดอื่นๆ เพื่อเร่งการเจริญเติบโตและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากวิธีการเลี้ยงที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพ        ยาปฏิชีวนะประเภทแอมพิซิลลินและเตตราไซคลีนมักนำมาใช้กับลูกหมูในระหว่างขั้นตอนในการตัดหางหรือการตอน  ยาปฏิชีวนะถูกนำมาใช้บ่อยครั้งกับลูกหมูที่ถูกหย่านมเร็วจากแม่เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และยังถูกใช้ผสมกับอาหารสัตว์ให้กับหมูขุนเพื่อลดความเครียด ซึ่งเป็นผลพวงมาจากการอาศัยอยู่อย่างหนาแน่นเกินไปและการเปลี่ยนกลุ่มของหมู ยาปฏิชีวนะที่ถูกนำมาใช้นั้นอาจรวมถึง โคลิสตินแอมพิซิลลิน ฟลูออโรควิโนโลน เซฟาโลสปอริน รุ่นที่ 3 เอนโรโฟลซาซิน เจนต้าไมซิน ไทโลซิน เตตราไซคลีน ซัลฟาไดอะซิน เฟนิคอล และอื่นๆ แม้แต่แม่หมูก็จะได้รับยาปฏิชีวนะเป็นประจำเพื่อป้องกันการเสียชีวิต จากการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ กีบเท้าช่องคลอด และบริเวณหลังเนื่องจากความเครียดและการบาดเจ็บที่เกิดจากการถูกกักขัง และมีสภาพความเป็นอยู่ที่ไม่ดี คุณสามารถช่วยให้ปัญหาเชื้อดื้อยาตกค้างในเนื้อสัตว์ลดลงได้        ลูกหมูต้องถูกพรากจากแม่ตั้งแต่ยังเล็ก ในขณะที่แม่หมูจะถูกใช้เสมือนเป็นเครื่องเพาะพันธุ์เท่านั้น โดยจะถูกขังอยู่ในกรงเหล็กที่ไม่ใหญ่ไปกว่าตู้เย็นขนาดมาตรฐาน ไม่สามารถแม้แต่จะหมุนตัวได้ และทำให้แม่หมูเกิดความเครียด ลูกหมูจะถูกตัดอวัยวะโดยไม่มีการลดความเจ็บปวด เช่นการตัดหาง กรอฟัน ขลิบหู และลูกหมูตัวส่วนใหญ่จะถูกจับตอน หมูจะถูกขังอยู่ในที่มืด คับแคบ และต้องนอนทับมูลของตัวเอง วิธีการในฟาร์มหมูที่โหดร้ายเหล่านี้ ส่งผลให้หมูเกิดความเครียด เชื้อโรคแพร่กระจาย และนำมาซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะเป็นจำนวนมหาศาลเพื่อรักษาชีวิตของสุกรโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น        องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ได้เรียกร้องให้ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วโลกช่วยกันยกระดับคุณภาพสุกรในฟาร์มโดยการคัดเลือกเนื้อหมูจากฟาร์มที่มีการดูแลสวัสดิภาพขั้นสูงเท่านั้นมาจำหน่าย นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการฝ่ายแคมเปญสัตว์ในฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย เปิดเผยว่า “องค์กรฯ ได้ทดสอบผลิตภัณฑ์เนื้อหมูเพื่อสำรวจว่าอุตสาหกรรมฟาร์มหมูที่ไม่ใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์นั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นแบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะอย่างไร และเพื่อนำเสนอหลักฐานการค้นพบนี้ เรียกร้องให้   ซูเปอร์มาร์เก็ตในประเทศไทย แสดงความรับผิดชอบมากขึ้น โดยการประกาศคำมั่นสัญญาต่อสาธารณะในการจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากฟาร์มที่ใส่ใจสวัสดิภาพของหมูเท่านั้น”        นายโชคดี ยังได้ย้ำอย่างหนักแน่นว่า “เราต้องการยกเลิกการเลี้ยงแม่หมูแบบยืนซอง เพื่อให้หมูได้มีโอกาสเข้ากลุ่มสังคมภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และให้หมูได้มีโอกาสแสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติได้ ซูเปอร์มาร์เก็ตควรกำหนดมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ให้สูงขึ้นเพื่อให้มั่นใจว่าสัตว์จากฟาร์มผู้ผลิตนั้นจะมีความเครียดต่ำ และมีการใช้ยาปฏิชีวนะเท่าที่จำเป็นเท่านั้น”        และผู้บริโภคเองสามารถช่วยกันเรียกร้องต่อซูเปอร์มาร์เก็ตให้แสดงจุดยืนด้วยการประกาศคำมั่นว่าจะจำหน่ายเนื้อหมูที่มาจากฟาร์มที่เลี้ยงหมูอย่างมีสวัสดิภาพที่ดีเท่านั้นด้วยเช่นกัน สนใจข้อมูลเพิ่มเติมwww.worldanimalprotection.or.th

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย จำเป็นหรือไม่ ?

ในปัจจุบันคนทั่วไปให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพตนเองเพิ่มขึ้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่กล่าวอ้างว่าเพื่อสุขภาพต่างๆ ได้มีการผลิต โฆษณา จำหน่าย และบริโภคกันอย่างกว้างขวาง เห็นได้จากการนำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางหลายชนิดมาผสมกับสารเคมีหรือสารสกัดสมุนไพรต่างๆ แล้วสร้างความเชื่อว่ามีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น มีสรรพคุณกว้างขวางขึ้น  ซึ่งมักจะเป็นกลยุทธ์การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์นั้น เช่น สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียคุณประโยชน์และหลักการทำงานของสบู่สบู่ เป็นผลิตภัณฑ์ใช้ทำความสะอาดร่างกายในชีวิตประจำวัน มีรูปแบบเป็นสบู่ก้อนหรือสบู่เหลว  ซึ่งสบู่จะช่วยเรื่องชำระล้างได้ดีกว่าการใช้น้ำเพียงอย่างเดียว ส่วนประกอบสำคัญของสบู่ คือ เกลือของกรดไขมัน ได้แก่ เกลือโซเดียม หรือเกลือโปแตสเซียม หรือเกลือแอมโมเนียม หรือเกลือเอมีน ที่ได้จากการใช้ไขมันสัตว์ และ/หรือน้ำมันพืชต่างๆ มาผสมกับด่างชนิดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น เช่น หากต้องการผลิตภัณฑ์สบู่ก้อนก็เลือกใช้ด่างโซเดียม หรือเลือกใช้ด่างโปแตสเซียม  หากต้องการผลิตภัณฑ์สบู่เหลว อาจผสมสารลดแรงตึงผิว สารให้ความชุ่มชื้นเข้าไป  ซึ่งก็แล้วแต่ชนิดของสบู่ที่ผลิต การชำระล้างสิ่งสกปรกต่างๆ ออกจากผิวหนังของสบู่นั้น เนื่องจากกลไกของเกลือของกรดไขมัน ซึ่งมีโครงสร้างโมเลกุลประกอบด้วยส่วนที่ชอบน้ำและส่วนที่ไม่ชอบน้ำ ดังนั้นเมื่อถูกละลายด้วยน้ำ ส่วนที่ไม่ชอบน้ำจะถูกผลักเข้าไปหลบอยู่ด้านใน  และหันส่วนที่ชอบน้ำให้อยู่ด้านนอกเพื่อไปสัมผัสกับสิ่งสกปรกต่างๆ ที่ล้างออกด้วยน้ำไม่ได้(ส่วนมากจะเกาะติดกับไขมันหรือน้ำมัน) ซึ่งสิ่งสกปรกจะเข้าไปเกาะติดกับส่วนที่ไม่ชอบน้ำ กลายเป็นหยดน้ำมัน และจากนั้นจะถูกน้ำชำระล้างออกด้วยน้ำ ทำให้สิ่งสกปรกหลุดออกมาด้วยสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย ผู้ผลิตหลายรายได้มีการผสมสารต้านแบคทีเรียในสบู่ขึ้น  โดยอ้างว่าจะสามารถทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น โดยเชื่อว่าสารต้านแบคทีเรียจะช่วยทำลายเชื้อโรคที่อยู่บนผิวหนัง สารต้านแบคทีเรียที่นิยมนำมาผสมในสบู่ที่นิยมมากชนิดหนึ่ง ได้แก่ ไตรโคลซาน)Triclosan)   ซึ่งเป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งราและแบคทีเรีย จึงนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เพื่อความสะอาดหลายชนิด   เช่น   สบู่    ครีมอาบน้ำ  ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย     ยาสีฟัน   น้ำยาบ้วนปาก   ตลอดจนน้ำยาล้าง  อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีรายงานการวิจัยบ่งชี้ว่า ไตรโคลซาน ทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่ม คือการที่แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ โดยผลจากการได้รับสารเคมีที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อกลุ่มไบโอไซด์ (biocides) เช่น กรณีไตรโคลซาน ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรีย  นิยมนำมาผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยมีรายงานวิจัยว่า เมื่อใช้เป็นเวลานาน สารไตรโคลซานสามารถสะสมในร่างกาย เช่น มีการตรวจพบในปัสสาวะของคนอเมริกันถึง 75%  นอกจากนั้น สารไตรโคลซานที่ผสมในสบู่และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดต่างๆ เมื่อถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม ได้ส่งผลต่อจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์วิทยา ทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะ เพราะไตรโคลซาน มีคุณสมบัติก่อให้แบคทีเรียดื้อยาข้ามกลุ่มได้ โดยสารไตรโคลซานมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงกระบวนการขับยาออกนอกเซลล์  ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ทั้งหมด จึงทำให้เชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุด นอกจากนั้น ยังพบว่า ในสัตว์ทดลอง ไตรโคลซาน ก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผลต่อพัฒนาการ และภาวะการเจริญพันธุ์ ผลต่อต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจและมีความเป็นพิษเรื้อรัง และเป็นสารก่อมะเร็งอีกด้วย  องค์การอาหารและยา สหรัฐอเมริกา และอีกหลายประเทศได้ยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่แล้ว รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด เพราะไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ว่าสามารถชำระล้างได้ดีกว่าการใช้สบู่ธรรมดา ทั้งนี้เพราะกลไกการชำระล้างร่างกายโดยสบู่นั้น ผิวกายสัมผัสกับสบู่ในเวลาสั้นๆ แล้วเราก็ล้างน้ำออกไป ซึ่งระยะเวลาที่ใช้ไม่นานพอที่สารไตรโคลซานจะออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรีย เพราะกลไกการทำลายเชื้อแบคทีเรียนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานกว่ามาก จะต้องอาศัยทั้งสภาวะแวดล้อมและระยะเวลาที่เหมาะสม จะต้องมีเวลาให้สารเข้าสู่เซลล์แบคทีเรียก่อน แล้วสารจึงจะสามารถออกฤทธิ์ทำลายเชื้อแบคทีเรียได้ ในกรณีของไตรโคลซานจะออกฤทธิ์ขัดขวางการสร้างกรดไขมันของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียถูกทำลายไป ซึ่งต้องอาศัยสภาวะที่เหมาะสม ความเข้มข้นของสารต้านแบคทีเรียที่เหมาะสม และระยะเวลาที่เหมาะสมด้วย    แบคทีเรียที่ผิวหนัง ต้องทำลายให้หมดหรือ ? ผิวหนังมีหน้าที่ป้องกันร่างกายจากสิ่งแวดล้อม โดยมีบทบาทในการป้องกันการสูญเสียน้ำ และการซึมผ่าน สกัดกั้นไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกาย โดยการหลั่งกรดอ่อนจากต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรด ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ทำให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายยากขึ้น  ต่อมไขมันจะผลิตสารที่เป็นกรดไขมันและกรดแลคติค มาต่อต้านแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้เองตามธรรมชาติ ผิวหนังปกติมีเชื้อจุลินทรีย์อาศัยอยู่โดยไม่ก่อให้เกิดโรค ในแต่ละส่วนของร่างกายมีเชื้อจุลินทรีย์จำนวนแตกต่างกัน  เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นซึ่งเป็น เชื้อที่อยู่เป็นประจำนี้ทำหน้าที่ป้องกัน 2 อย่างคือ ต่อต้านจุลินทรีย์ แปลกปลอมและทำหน้าที่แย่งอาหารจุลินทรีย์แปลกปลอมบนผิวหนัง ดังนั้นคนปกติทั่วไปจึงมิต้องวิตกกังวลว่า ร่างกายมีเชื้อมากไป จนจะต้องกำจัดเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังให้หมดไปอย่างราบคาบ ดังนั้นการใช้สบู่ธรรมดาในการชำระล้างก็เพียงพอในชีวิตประจำวัน ส่วนการใช้สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียไม่เกิดประโยชน์ และยังเป็นโทษต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม ก่อปัญหาเชื้อดื้อยาต้านแบคทีเรียอีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 197 ส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรีย

สบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียหรือสบู่ฆ่าเชื้อเพื่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคหลายคนนิยมใช้ เพราะเชื่อว่ามีประสิทธิภาพหรือสรรพคุณดีกว่าสบู่ธรรมดา แต่สบู่เหล่านั้นสามารถทำความสะอาดได้ดีกว่าจริงหรือสารต้านแบคทีเรียในสบู่ฆ่าเชื้อที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ คือ ไตรโคลซาน )Triclosan) ซึ่งสามารถเป็นทั้งวัตถุกันเสียและมีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์ ราหรือแบคทีเรียได้ จึงถูกนิยมใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก น้ำยาล้างจาน โดยหากนำมาผสมในสบู่ก็มักมีการโฆษณาว่าสามารถช่วยทำความสะอาดผิวได้ดีขึ้น เพราะช่วยทำลายเชื้อโรคที่อยู่บนผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามงานวิจัยหลายชิ้นกลับระบุว่า ไตรโคลซานสามารถทำให้แบคทีเรียเกิดการดื้อยาข้ามกลุ่ม หรือทำให้แบคทีเรียดื้อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งสารจะไปส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการขับยาออกนอกเซลล์ ทำให้มีปริมาณยาปฏิชีวนะในเซลล์น้อยและไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ ทำให้เชื้อปรับตัวดื้อยาในที่สุดนอกจากนี้เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ไตรโคลซานสามารถสะสมในร่างกายได้เช่นกัน เนื่องจากเคยมีการตรวจพบสารดังกล่าวในปัสสาวะของคนอเมริกันถึงร้อยละ 75 และมากไปกว่านั้นเมื่อสารไตรโคลซานถูกปล่อยออกไปสู่สิ่งแวดล้อมหลังการชะล้าง ยังส่งผลกระทบต่อจุลินทรีย์ในระบบนิเวศน์วิทยาอีกด้วย รวมไปถึงผลกระทบอื่นๆ ที่เคยพบในสัตว์ทดลอง โดยสารดังกล่าวสามารถทำให้เกิดอาการข้างเคียงหลายอย่าง เช่น ผลต่อพัฒนาการและภาวะการเจริญพันธุ์ ผลต่อต่อมไร้ท่อ ไทรอยด์ฮอร์โมน ฮอร์โมนเอสโตรเจนและมีความเป็นพิษเรื้อรัง รวมทั้งยังเป็นสารก่อมะเร็งได้ ในหลายประเทศ เช่น องค์การอาหารและยา (FDA) ของสหรัฐอเมริกา จึงประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด ซึ่งให้มีผลบังคับใช้ทั่วสหรัฐฯ ตั้งแต่เดือนกันยายน 2560  เนื่องจากส่งผลกระทบด้านลบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น รวมถึงยังไม่มีหลักฐานใดๆ บ่งชี้ได้ว่าสบู่ที่ผสมสารไตรโครซาน สามารถชำระล้างได้ดีกว่าการใช้สบู่ธรรมดา ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาส่องฉลากสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียที่วางจำหน่ายตามท้องตลาด จำนวน 18 ตัวอย่าง จาก 12 ยี่ห้อยอดนิยม ซึ่งผลทดสอบจะเป็นอย่างไรเราลองไปดูกันเลย สรุปผลการสำรวจฉลากผลิตภัณฑ์สบู่ฆ่าเชื้อโรคจากตัวอย่างสบู่ผสมสารต้านแบคทีเรียจำนวน 18 ตัวอย่าง 12 ยี่ห้อที่นำมาตรวจสอบฉลาก พบว่า1. มี 11 ตัวอย่างที่ระบุว่ามีส่วนผสมสารต้านแบคทีเรีย แบ่งเป็น - 4 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลซาน ได้แก่ กลุ่มสบู่เหลว 1. Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 2. Deterderm (ดีเทอร์เดอร์ม) สูตร Deo beauty fresh 3. Tea Tree (ที ทรี) สูตรสกินไวท์เทนนิ่ง บาธ ครีม และ 4. Oxe cure (อ๊อกซีเคียว) สูตรระงับกลิ่นกายสำหรับผู้มีปัญหาสิว/ผิวแพ้ง่าย  - 5 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ กลุ่มสบู่ก้อน 1. Dial (ไดอัล) สูตรสปริงวอเตอร์ 2. Dettol (เดทตอล) สูตรออริจินัล 3. Protex (โพรเทคส์) สูตรสดชื่น 4. Protex For Men (โพรเทคส์ ฟอร์เมน) สูตรสปอร์ต และ 5. สบู่เหลว Protex (โพรเทคส์) สูตรไอซ์ซี่ คูล- 2 ตัวอย่างที่มีส่วนผสมของทั้งไตรโคลซานและไตรโคลคาร์บาน ได้แก่ ยี่ห้อ Benice (บีไนซ์) สูตรคลีน&เธอราพี และสูตรแอคทีฟ พลัส2. มี 6 ตัวอย่าง ที่ไม่ได้ระบุว่ามีการผสมสารต้านแบคทีเรียในกลุ่มไตรโคลซาน ได้แก่ 1. สบู่ก้อน Safeguard (เซฟการ์ด) 2. สบู่ก้อน Asepso (อาเซปโซ) สูตรออริจินัล 3. สบู่เหลว ยี่ห้อ Dettol (เดทตอล) สูตรเฟรช 4. สบู่เหลว Dettol (เดทตอล) สูตรแอคทีฟ 5. สบู่เหลว Kirei Kirei (คิเรอิคิเรอิ) สูตรแอนตี้แบคทีเรียกลิ่นองุ่น และ 6. สบู่เหลว Shokubutsu (โชกุบุสซึ) สูตร anti-bacteria body foam rejuvenating & purifyingข้อสังเกตยี่ห้อ Acticex (แอคตี้เว็กซ์) สูตร Bacteria blocking system (ลิควิด โซฟ แอคทีฟ โพรเท็คชั่น) ฉลากภาษาไทยไม่มีรายละเอียดของส่วนผสม สารเคมีในกลุ่มต้านแบคทีเรียที่ถูกประกาศห้ามใช้มีอะไรบ้างตามที่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ประกาศยกเลิกการใช้ไตรโคลซานในผลิตภัณฑ์สบู่ รวมถึงสารเคมีกลุ่มนี้อีก 18 ชนิด เราลองมาดูกันว่าชื่อสารเคมีในกลุ่มดังกล่าวมีอะไรบ้าง1. Cloflucarban 2. flurosalan 3. hexachlorophene 4. hexylresorcinol 5. iodine complex (ammonium ether sulfate and polyoxyethylene sorbitan monolaureate) 6. iodine complex (phosphate ester of alkylaryloxy polyethylene glycol) 7. Nonylphenoxypoly (ethyleneoxy) ethanoliodine 8. poloxamer-iodine complex 9. Povidone- iodine 5-10 % 10. Undecoylium chloride iodine complex 11. Methylbenethonium chloride 12. Phenol (มากกว่า 1.5%) 13. Phenol 16 (น้อยกว่า 1.5%) 14. Secondary amyltricresols 15. Sodium oxychlorosene 16. Tribromsalan 17. Triclocarban, Triclosan และ 18. Tripledyeแนะวิธีปองกันตัวเองจากแบคทีเรียง่ายๆ การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อแบคทีเรีย สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการการล้างมือด้วยสบู่ก้อนหรือสบู่เหลวชนิดธรรมดา โดยไม่จำเป็นต้องกังวลว่าจะทำให้ผิวหนังมีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง เพราะตามธรรมชาติผิวหนังของเราสามารถปกป้องไม่ให้เชื้อจุลินทรีย์เข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ด้วยการหลั่งกรดอ่อนจากต่อมเหงื่อ ทำให้ผิวหนังมีสภาพความเป็นกรด ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราบางชนิดได้อยู่แล้ว ขอบคุณ ข้อมูล รศ.ดร.จันทร์เพ็ญ  วิวัฒน์ 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 191 “ส่องฉลาก” ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรค กลายมาเป็นตัวช่วยเรื่องการกำจัดสิ่งสกปรกที่น่าจะมีติดอยู่แทบทุกบ้าน มาในหลายๆ รูปแบบการใช้งาน ไมว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดห้องน้ำ และผลิตภัณฑ์ทำความเสื้อผ้า ซึ่งเฉพาะผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าก็ไม่ได้มีแค่ ผงซักฟอก เพียงอย่างเดียว ยังมีแยกประเภทเป็นทั้งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าชนิดน้ำ ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบอเนกประสงค์ที่ใช้แช่เสื้อผ้าเพื่อขจัดคราบสกปรกก่อนนำไปซักปกติ ซึ่งลักษณะก็จะคล้ายกับน้ำยาซักผ้าขาว นอกจากนี้ยังมีน้ำยาปรับผ้านุ่มที่หลายๆ บ้านนิยมใช้ ฉลาดจึงจะพามาส่องฉลากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ เพื่อให้สามารถใช้งานกันได้อย่างถูกวิธีผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคต้องใช้อย่างระมัดระวังผลิตภัณฑ์ทุกชนิดที่มีการใช้สารเคมีที่อาจมีฤทธิ์ต่อสุขภาพและเป็นอันอันตรายต่อผู้ใช้ จะอยู่ภายใต้การควบคุมของ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ใช้ภายในบ้านเรือนส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในกลุ่มวัตถุอันตราย ชนิดที่ 1 ซึ่งหมายถึงกลุ่มสารเคมีที่มีอันตรายน้อย สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์สำหรับใช้ในชีวิตประจำวันหรือตามบ้านเรื่องทั่วไปได้ แต่ก็ต้องใช้อย่างระมัดระวัง ตัวผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการแจ้งข้อเท็จจริงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยจะควบคุมเรื่องสารเคมีที่ใช้และการจัดทำฉลากเพื่อประโยชน์กับผู้บริโภคในการใช้งานได้อย่างปลอดภัยวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 เป็นวัตถุอันตรายที่ก่อให้เกิดผลกระทบน้อยกว่ากลุ่มอื่น กฎหมายกำหนดให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้าไม่ต้องขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย แต่ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด เช่น การจัดทำฉลาก การปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตและการเก็บรักษา เป็นต้น การแสดงฉลากจะต้องแสดงเลขที่รับแจ้งไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์ ตัวอย่าง ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มวัตถุอันตรายขนิดที่ 1 มีอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์กำจัดแมลง ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น ฝาผนัง เครื่องสุขภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ซักผ้า (ยกเว้นผงซักฟอก ที่อยู่ในการควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.))  เป็นต้นข้อความที่ไม่อนุญาตให้แสดงบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค-“สูตรพิเศษ” ยกเว้นว่ามีเอกสารที่สามารถสนับสนุนหรือชี้แจงได้ว่ามีลักษณะพิเศษอย่างไร-“ไม่เป็นอันตราย”, “ไม่เป็นพิษ”, “ปลอดภัย”, “ไม่มีสารตกค้าง”, “ไร้สารตกค้างที่เป็นอันตราย”, “ไร้สารตกค้าง”, “ไม่มีผลต่อเด็กสัตว์เลี้ยงและอาหาร”, “สูตรไม่ระคายเคือง”, “ปราศจากการระคายเคือง” เนื่องจากอาจทำให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัย-“นุ่มละมุนใช้ได้ทุกวัน” เนื่องจากผลิตภัณฑ์วัตถุอันตรายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ควรใช้ตามความจำเป็น และต้องระมัดระวังในการใช้ -“ใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ” เนื่องจากเป็นการชักจูงใจเกินความจำเป็น-“น้ำหอมปรับอากาศ”, “สดชื่น” หรือ “กลิ่นสดชื่น” เนื่องจากคำว่า “สดชื่น” มีความหมายในเชิงเกี่ยวกับสุขภาพอาจสื่อให้เกิดความเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นนี้มีผลต่อสุขภาพ ซึ่งไม่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์และสารเคมี-“ปกป้องสุขภาพของคุณและสิ่งแวดล้อม”, “ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม”, “ไม่ทำลายสภาพแวดล้อม”, “ไม่ทำลายชั้นบรรยากาศ”, “จึงช่วยรักษาสภาพแวดล้อม”, “ห่วงใยสิ่งแวดล้อม” เนื่องจากก่อให้เกิดความเข้าใจผิดหรือเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ว่าผลิตภัณฑ์ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม-“ได้ผล 100%”, “ประสิทธิภาพสูง”, “ด้วยสูตรพลังประสิทธิภาพ”, “ประสิทธิภาพเยี่ยม”, “ระบบเดียวที่มีประสิทธิภาพสูงสุด”, “ได้ผลเด็ดขาด”, “ออกฤทธิ์แรง” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-“ไม่ทำลายเนื้อผ้าหรือทำให้ผ้าเป็นสีเหลือง”, “อ่อนโยนต่อทุกเนื้อผ้า”, “อ่อนโยนต่อเส้นใยผ้า”, “ถนอมผ้า”, “ปลอดภัยต่อผ้าสี”, “คงไว้ซึ่งความนุ่มนวลของเนื้อผ้า”, “พลังสลายคราบสกปรก” เนื่องจากเป็นข้อความที่อาจเป็นเท็จหรือโอ้อวดเกินจริง-แม้แต่ชื่อทางการค้าก็ต้องไม่สื่อไปในทำนองโอ้อวดสรรพคุณ หรือทำให้เข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของผลิตภัณฑ์ หรือสื่อให้เข้าใจผิดว่าผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยซึ่งจะทำให้ผู้บริโภคขาดความระมัดระวังในการใช้ที่มา : คู่มือการจัดทำฉลากวัตถุอันตรายชนิดที่ 1 โดยกลุ่มควบคุมอันตราย สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาข้อมูลสำคัญที่ “ต้องมี” บนฉลากผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด1.ชื่อทางการค้า ต้องเป็นภาษาไทย ขนาดเห็นได้ชัด หากมีชื่อเป็นภาษาต่างประเทศต้องตรงกันหรือมีความหมายอย่างเดียวกันกับชื่อการค้าภาษาไทย2.ชื่อและอันตราส่วนของสารสำคัญ ต้องแสดงเป็นหน่วยร้อยละของน้ำหนักต่อน้ำหนัก (% w/w) หรือร้อยละของน้ำหนักต่อปริมาตร (% w/v)3.ประโยชน์4.วิธีใช้5.คำเตือนหรือข้อควรระวัง ต้องใช้อักษรทึบหรือขีดเส้นใต้6.วิธีเก็บรักษา7.ข้อมูลเกี่ยวกับการเกิดพิษ (ถ้ามี) ไมว่าจะเป็น อาการเกิดพิษ วิธีแก้พิษเบื้องต้น คำแนะนำสำหรับแพทย์8.การทำลายภาชนะบรรจุ (ถ้ามี)9.เครื่องหมายและข้อความแสดงระดับความเป็นพิษ และ/หรืออันตรายตามที่กำหนด (ถ้ามี) 10.เลขที่รับแจ้ง 11.ขนาดบรรจุ (ปริมาณสุทธิ) 12.วัน เดือน ปี ที่ผลิต 13.วันหมดอายุการใช้ (ถ้ามี)14.เลขหรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต (Lot Number/ Batch Number)15.ชื่อ ที่อยู่ และเบอร์โทรศัพท์ ของผู้ผลิตในประเทศ หรือนำเข้า พร้อมชื่อและประเทศของผู้ผลิตผลการสำรวจฉลากตัวอย่างผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคส่วนใหญ่ไม่ว่า สำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นหรือทำความสะอาดเสื้อผ้า จะมีการให้ข้อมูลในเรื่องการฆ่าเชื้อโรค เชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีหลายตัวอย่าง ที่อ้างว่า สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ใช้คำว่า 100% เพราะดูเป็นการโอ้อวดเกินจริง แต่ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง การแสดงข้อความบนฉลากผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค อนุญาตให้แสดงค่าความสามารถหรือตัวเลขที่แสดงความสามารถในการฆ่าเชื้อ เมื่อมีข้อมูลผลการทดสอบประสิทธิภาพเชิงปริมาณ แต่ต้องระบุชื่อเชื้อที่ใช้ทดสอบและแสดงข้อความว่าเป็นข้อมูลที่ได้จากผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยตัวอย่างที่สำรวจส่วนใหญ่ก็จะมีการอ้างถึงแหล่งที่มาของการทดสอบ แต่ก็มีบางตัวอย่างที่ใช้คำโฆษณาเรื่องการฆ่าเชื้อโรคได้ถึง 99.99% แต่ไม่ได้อ้างอิงที่มาของคำโฆษณาดังกล่าว เช่น แวนิช ผลิตภัณฑ์ขจัดคราบ เอ๊กซ์ตร้า ไอยีน และ เดทตอล ลอนดรี แซนิไทเซอร์ผลิตภัณฑ์ที่แสดงโฆษณาบนฉลากว่า “สามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรีย” หมายความว่าผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิด คือ Staphylococcus aureus และ Salmonella enterica (choleraesuis)ผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน แม้จะมีสารเคมีที่มีความเป็นพิษต่ำ แต่ก็ถือเป็นสารที่อันตรายหากนำไปใช้ไม่ถูกวิธี เช่น เข้าตา หรือเผลอกลืนกินเข้าสู่ร่างกาย เพราะฉะนั้นต้องเก็บผลิตภัณฑ์เหล่านี้ให้พ้นมือเด็ก ส่วนผู้ที่ใช้แล้วเกิดอาการแพ้ต้องหยุดใช้ทันทีและควรไปพบแพทย์ ปริมาณที่ใช้ก็ควรใช้ในปริมาณที่เหมาะสม ตามคำแนะนำที่ระบุไว้บนฉลากสารเคมีในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรคสารเคมีที่ใช้ในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเสื้อผ้าและพื้นที่ภายในอาคารบ้านเรือนส่วนใหญ่ เป็นสารในกลุ่ม disinfectant ซึ่งสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ได้หลากหลาย ไม่เฉพาะเจาะจง เหมาะสำหรับใช้ทำความสะอาดพื้นผิวของสิ่งของต่างๆ โดยสารเคมีหลักๆ ที่ใช้ก็คือสารที่มีผลในการฆ่าและยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อโรค กับสารที่ทำหน้าที่ลดแรงตึงผิว (surfactant) ซึ่งก็มีคุณสมบัติในการขจัดสิ่งสกปรกและฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะ Ethoxylated alcohol, Sodium Lauryl Sulfate,  Alkyldimethyl benzyl ammonium chloride และ Didecyl dimenthyl ammonium chlorideผลทดสอบ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 189 10 พฤติกรรม ที่มีส่วนทำให้เชื้อดื้อยา

1. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรีย กินตามคนอื่นคนแต่ละคนอาจเจ็บป่วยจากเชื้อโรคต่างชนิดกัน การซื้อยาต้านแบคทีเรีย มารับประทานเอง อาจได้ยาต้านแบคทีเรีย ที่ไม่สามารถฆ่าเชื้อโรคนั้นได้ และยังส่งผลให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้2. เคยหยุดรับประทานยาต้านแบคทีเรีย เมื่ออาการดีขึ้นยาต้านแบคทีเรีย ต้องรับประทานติดต่อหลายวันตามที่กำหนด หากเราหยุดรับประทาน อาจมีเชื้อโรคหลงเหลืออยู่และเชื้อโรคจะพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้3. เคยซื้อยาต้านแบคทีเรีย กินเองตามที่เคยได้รับจากบุคลากรทางการแพทย์ในครั้งก่อนๆยาต้านแบคทีเรีย แต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรคแต่ละชนิดต่างกัน การใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่เลือกให้เหมาะกับชนิดของเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ไม่หายแล้ว อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้4. เคยอมยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย การใช้ยาต้านแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม และต้องใช้ติดต่อให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนด การอมยาอมที่ผสมยาต้านแบคทีเรีย นอกจากจะเป็นการใช้ยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ยังเป็นการใช้ยาที่เกินจำเป็น และอาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้5. เคยเปลี่ยนไปซื้อยาต้านแบคทีเรีย ที่แรงกว่าทานเองเมื่อรับประทานยาต้านแบคทีเรีย ชนิดแรกแล้วอาการไม่ดีขึ้นทันใจการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ฆ่าเชื้อโรค ต้องใช้ในขนาดที่เหมาะสม และใช้ติดต่อให้ครบตามระยะเวลา บางครั้งอาการเจ็บป่วยของเราต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรอาการถึงจะดีขึ้น การเปลี่ยนไปใช้ยาต้านแบคทีเรีย ตัวอื่นๆ ที่แรงกว่า อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้6. เคยแกะแคปซูลเอายาต้านแบคทีเรีย ไปโรยแผลนอกจากจะเป็นการใช้ยาไม่เหมาะสมแล้ว ยังทำให้แผลสกปรกและเสี่ยงต่อการเกิดอาการแผลอักเสบลุกลามได้ เพราะผงในแคปซูลไม่ได้มีแต่ตัวยาเท่านั้น ยังมีผงแป้งผสมอยู่ด้วย และยังอาจทำให้เชื้อโรคที่แผลพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้7. เคยใช้ยาต้านแบคทีเรีย ผสมในอาหารสัตว์ตามคำบอกเล่าเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์เจ็บป่วยเป็นการใช้ยาที่ผิด และอาจไม่ได้ผลด้วย เนื่องจากขนาดยาไม่แน่นอน นอกจากนี้ยังอาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้8. เคยใช้ยาต้านแบคทีเรีย โดยไม่ทราบชื่อสามัญของยานอกจากจะเสี่ยงที่จะได้รับยาที่เคยแพ้แล้ว อาจได้รับยาที่ไม่ตรงกับเชื้อโรค อาจทำให้เชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้9. เคยไปซื้อยาแก้อักเสบกินเองอาการอักเสบตามความเข้าใจของคนทั่วไปมีหลายแบบ เช่น อาการปวดอักเสบ อาการอักเสบจากแผลหนอง อาการอักเสบเจ็บคอ บางครั้งเมื่อเราอักเสบจากการปวดและไปซื้อยาโดยระบุว่าต้องการยาแก้อักเสบกินเอง เราอาจได้ยาต้านแบคทีเรีย มาแทนยาแก้ปวดอักเสบ เป็นการใช้ยาต้านแบคทีเรีย อย่างไม่จำเป็นเพราะไม่ได้อักเสบจากการติดเชื้อ การได้รับยาเกินจำเป็น อาจทำให้เชื้อโรคดีๆ ในตัวเรา พัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยาได้10. ไม่แนะนำคนที่ใช้ยาต้านแบคทีเรีย อย่างผิดให้ใช้อย่างถูกต้องเหมาะสมการเพิกเฉยของเรา เท่ากับปล่อยให้มีการใช้ยาต้านแบคทีเรีย ที่ไม่เหมาะสมขึ้นในสังคม สุดท้ายเมื่อเชื้อโรคพัฒนาตัวมันเองไปสู่การดื้อยา ปัญหานี้ก็จะกลับมาส่งผลต่อตัวเรา ครอบครัว และผู้ป่วยอื่นๆ ในอนาคตได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 157 สบู่ฆ่าแบคทีเรีย อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดี

เมื่อเร็วๆ นี้ สบู่ฆ่าแบคทีเรีย(Antibacterial Soap) ถูกนำมาถกเถียงอีกครั้งว่า มันช่วยลดอัตราการเจ็บป่วยและช่วยให้ร่างกายสะอาดเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่? 17 ธ.ค.2557 สำนักงานอาหารและยาของสหรัฐ (เอฟดีเอ) แถลงว่า กำลังศึกษาถึงผลกระทบทางสุขภาพต่อกรณีที่มีการใช้สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียกันอย่างแพร่หลาย เพื่อหาข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัยเมื่อใช้ต่อเนื่องในระยะยาว โดยผู้ผลิตสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียจะต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าผลิตภัณฑ์ของตน ดีกว่าสบู่ธรรมดาทั่วไปในการป้องกันการเจ็บป่วยและเชื้อโรค อย่างไร หากพิสูจน์ไม่ได้ ต้องถอดไตรโคลซานออกจากส่วนประกอบของสบู่เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค คอลีน โรเจอร์ส หัวหน้าหน่วยจุลชีววิทยาที่เอฟดีเอ กล่าวว่า จากข้อมูลใหม่พบความเสี่ยงของการใช้ผลิตภัณฑ์เป็นเวลานาน การใช้สบู่ต้านเชื้อแบคทีเรียเป็นประจำทุกวันอาจไม่ให้ประโยชน์อีกแล้ว ผลวิจัยของเอฟดีเอยังพบว่าจากการศึกษาในห้องปฏิบัติการทดลองพบ เชื้อแบคทีเรียบวกกับสบู่ฆ่าเชื้อกลายเป็นแบคทีเรียกลายพันธุ์และมีฤทธิ์ดื้อยาเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ผู้ผลิตสินค้ามีเวลาจนถึงสิ้นปี 2557 เพื่อนำเสนอรายงานผลการทดลองทางคลินิกในผลิตภัณฑ์ของตน  และเอฟดีเอจะมีผลสรุปในปี 2559   ก่อนการแถลงของเอฟดีเอครั้งนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีข่าวงานวิจัยหลายชิ้นที่แสดงให้เห็นว่า ไตรโคลซาน ที่นำมาใช้เป็นสารต้านเชื้ออาจก่อให้เกิดความเสี่ยงหลายประการ เช่น กระตุ้นให้เกิดภาวะภูมิแพ้และอาการจมูกอักเสบจากภาวะภูมิแพ้ในเด็ก งานวิจัยของสถาบันวิจัยสาธารณสุขนอร์เวย์ พบความสัมพันธ์ของปริมาณไตรโคลซานที่ตรวจพบในปัสสาวะของเด็กอายุ 10 ปี กับระดับการหลั่งของสารตอบสนองต่อภูมิคุ้มกันที่บ่งชี้ภาวะการเกิดภูมิแพ้ ซึ่งงานวิจัยในอดีตพบว่า 85% ของไตรโคลซานที่อยู่ในร่างกายได้มาจากการใช้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยเฉพาะยาสีฟัน แม้แต่ในลิปสติก หนังสือพิมพ์แทบลอยด์ชื่อดังของอังกฤษ เดลี่เมล์ก็ลงข่าวใหญ่โตว่าผู้หญิงที่ทาลิปสติกมากๆ อาจได้รับผลกระทบจากสารไตรโคลซานที่ออกฤทธิ์รบกวนระบบฮอร์โมน และอาจมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อที่ได้รับคำสั่งจากสมอง รวมถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย โดยอ้างศาสตราจารย์ ไอแซ็ค เพสซาห์ นักวิจัยด้านโมเลกุล ที่ค้นพบในห้องทดลองว่า สารไตรโคซานสามารถลดอัตราการเต้นของหัวใจของหนู ภายในเวลา 20 นาที และมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ด้วย ศูนย์คุ้มครองโรคระบาด (The Centers for Disease Control) ของสหรัฐฯ ประมาณการว่า ประชากรร้อยละ 75 ของอเมริกามีไตรโคลซานสะสมอยู่ในร่างกาย ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในปัสสาวะ เลือด และน้ำนม และจากการทดลองกับสัตว์ ไตรโคลซาน ส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายไม่ต่างจาก Bisphenol-A (BPA) ที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศ (หรือเปลี่ยนเป็นเพศตรงข้าม) รวมไปถึงเป็นปัจจัยที่อาจสะสมจนกลายเป็นสาเหตุของโรคมะเร็ง กลับมาที่สบู่ เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ชำระล้างใกล้ตัวและมีความเสี่ยงในการใช้ต่ำเพราะสัมผัสผิวไม่นาน แต่การนำสารไตรโคลซานมาใช้เพื่อเป็นสบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย กลับจะยิ่งสร้างความเสี่ยงให้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากโดยธรรมชาติผิวของคนเรานั้นจะมีเชื้อจุลินทรีย์หลายชนิด ทั้งตัวดี ตัวร้าย(ก่อโรค) แต่สบู่ฆ่าเชื้อจะฆ่าจุลินทรีย์ทุกชนิด จุลินทรีย์ที่ดีซึ่งคอยปกป้องผิวเราก็พลอยโดนกำจัดไปด้วย ผิวหนังจึงเสียสมดุล ทำให้เกิดการแพ้และแห้งผากได้ง่าย   ไตรโคลซาน คืออะไร ย้อนหลังไปเกือบ 50 ปีที่ผู้คนในสังคมให้ความสำคัญกับเรื่องของความสะอาด ปราศจากเชื้อโรค สารเคมีนานาชนิดที่มุ่งหวังเพื่อการกำจัดเชื้อจึงถูกคิดค้นขึ้นและนำมาผสมลงไปในสินค้าอุปโภคต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งสารที่มีชื่อว่า ไตรโคลซาน(Triclosan) คือสารสังเคราะห์ ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ว่ามีประสิทธิภาพต้านเชื้อแบคทีเรียและปลอดภัยกับมนุษย์ จึงมีการนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก ไตรโคลซานถูกนำไปใช้ทั้งในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดร่างกาย สบู่ ครีมอาบน้ำ ยาสระผม โฟมล้างหน้า ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก ยาสีฟันแก้เหงือกอักเสบ ผลิตภัณฑ์ระงับเหงื่อ หรือเป็นสารกันเสียในอาหาร ยาและเครื่องสำอางหลายชนิด นอกจากนี้ยังพบในผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค เช่น ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เครื่องครัว ของเล่น เครื่องนอน ถุงเท้า ถุงขยะ ของเล่นเด็ก ผ้าและผ้าพลาสติก การที่ทั่วโลกนิยมใช้สารไตรโคลซานอย่างกว้างขวางนี้เอง ทำให้นักวิชาการสิ่งแวดล้อมเป็นห่วงว่าทั้งในอากาศ น้ำเสีย อาจมีการปนเปื้อนสารดังกล่าวตกค้างสะสมได้ ส่วนนักวิชาการทางการแพทย์เป็นห่วงว่า การที่เราใช้สารต้านเชื้อจุลินทรีย์ชนิดนี้มากเกินไป จะก่อให้เกิดปัญหาทางการแพทย์ กล่าวคือ เชื้อโรคมีการพัฒนาสายพันธุ์และดื้อต่อยาปฏิชีวนะที่ใช้สำหรับรักษาโรคติดเชื้อรุนแรง และในอนาคตอาจหายาฆ่าเชื้อที่กลายพันธุ์เหล่านี้ได้ยากยิ่งขึ้น สมาคมการแพทย์แห่งอเมริกา (The American Medical Association) จึงแนะนำว่า ผู้บริโภคควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของไตรโคลซานอย่างรอบคอบ เพราะข้อสมมุติฐานที่ว่า ไตรโคลซานอาจเป็นสาเหตุของโรคภัยและปัญหาสุขภาพได้ เริ่มมีน้ำหนักมากขึ้นเรื่อยๆ   สถานะทางกฎหมาย ผลิตภัณฑ์ที่มีสารฆ่าเชื้อในสหรัฐอเมริกาจัดเป็นยา และเป็นยาที่ขายได้โดยไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ (OTC) กรณีของในประเทศไทย ไตรโคลซาน เป็นวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 24 ส่วนไตรโคลคาร์บาน เป็นวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง ลำดับที่ 22 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 47) พ.ศ.2550 เรื่อง กำหนดวัตถุกันเสียที่อาจใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง นั่นหมายความว่าสบู่หรือครีมล้างมือหรือครีมอาบน้ำที่มีสารไตรโคลซานหรือไตรโคลคาร์บาน ถือว่าเป็นเครื่องสำอางตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอาง พ.ศ.2535       //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 179 ชวนร้านชำมาช่วยชาติ แก้ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา

ข้อมูลจากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ระบุว่าในแต่ละปีจะมีคนไทยติดเชื้อแบคทีเรียที่ดื้อยาประมาณ 88,000 คน และในผู้ป่วยจำนวนนี้จะเสียชีวิตถึง 38,000 คน  ข้อมูลจากโรงพยาบาลรามาธิบดี ยังพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยามีโอกาสเสียชีวิตมากกว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อไม่ดื้อยา 10 - 20 เท่าเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเป็นปัญหาสำคัญเร่งด่วนที่ทั่วโลกกำลังเผชิญ  หากเชื้อแบคทีเรียดื้อยาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพต่างๆ แก่คนทั้งโลก เพราะจะทำให้โรคจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่เคยรักษาได้ผลกลายเป็นโรคที่รักษาไม่ได้ หรืออาจทำให้ผู้ป่วยอื่นๆ มีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อแบคทีเรีย  สุดท้ายผู้ป่วยเหล่านี้ก็จะเสียชีวิตจากการติดเชื้อ หากไม่มียาต้านแบคทีเรียที่ใช้ได้ผลในการรักษาจากการสำรวจข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่จำหน่ายในร้านชำในหลายๆ จังหวัด พบว่า ร้านชำหลายแห่งมีการนำยาอันตรายหลายชนิดมาจำหน่าย และหนึ่งในยายอดนิยมที่สำรวจพบก็คือ ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียนั่นเอง  ซึ่งหากพวกเราไม่ช่วยกันดูแล ปล่อยให้มีการจำหน่ายยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้  ก็เท่ากับเรามีส่วนส่งเสริมให้สถานการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยา ขยายลุกลามขึ้นในพื้นที่ของเราเอง สุดท้ายคนที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาเหล่านี้ ก็คือ ตัวเรา ลูกหลานหรือพ่อแม่พี่น้องของเรานั่นเอง ส่วนใหญ่เจ้าของร้านชำ มักไม่ทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มาซื้อยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียจากร้านไปรับประทาน  ไม่เคยทราบว่ามีผู้ป่วยแพ้ยา หรือผู้ป่วยเสียชีวิตจากเชื้อดื้อยามากมาย ดังนั้นจึงขอเชิญชวนให้พวกเราช่วยกันสอดส่องดูแล ชี้แจง และแนะนำ ร้านชำ ไม่นำยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียมาจำหน่าย ช่วยกันแนะนำต่อๆ กันว่า “ร้านค้าชำ ขายได้แต่ยาสามัญประจำบ้านเท่านั้น” (เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความปลอดภัยจากการใช้ยา  กฎหมายจึงกำหนดให้ผู้ที่จะขายยาต้องมาขออนุญาตสถานที่ขายยา  สถานที่อื่นๆ ที่ไม่ใช่ร้านขายยา จะขายยาไม่ได้ ยกเว้นยาสามัญประจำบ้าน) วิธีง่ายๆ ที่ร้านชำจะรู้ว่ายาชนิดไหนขายได้หรือไม่ ให้ดูที่ฉลาก ยาที่จะขายได้ในร้านชำจะต้องมีข้อความบนฉลากว่า “ยาสามัญประจำบ้าน” เท่านั้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต

โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนมเปรี้ยว(fermented milk) หรือผลิตภัณฑ์นมชนิดที่ได้จากการหมักด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแล็กทิก (lactic acid bacteria, LAB) แบคทีเรียชนิดที่นิยมใช้หมักโยเกิร์ต คือ สเตรพโตค็อกคัส เทอร์โมฟิลัส (Streptococcus thermophilus) และแล็กโทบาซิลลัส บัลการิคัส (Lactoobacillus delbrueckii subsp. bulgaricus) โดยผู้ผลิตมักใช้เชื้อแบคทีเรีย 2 ชนิดนี้ร่วมกันเพื่อให้สามารถผลิตโยเกิร์ตได้เร็วขึ้น มีกลิ่นและรสชาติดีกว่าใช้เชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว อย่างไรก็ตามอัตราส่วนของเชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ชนิดและสายพันธุ์ที่คัดเลือกมาเป็นหัวเชื้อจะมีผลต่อรสชาติและกลิ่นรวมทั้งเนื้อสัมผัสของโยเกิร์ต ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อที่ผลิตออกมาขาย และอาจมีการเติมแบคทีเรีย LAB ชนิดอื่นลงไปด้วย เช่น แบคทีเรียกลุ่มโพรไบโอติก อย่าง บิฟีโดแบคทีเรียม(Bifidobacterium) โยเกิร์ตนั้นโดยทั่วไปจะใช้น้ำนมวัวเป็นวัตถุดิบ แต่ก็สามารถใช้น้ำนมจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น น้ำนมแพะ หรือผลิตภัณฑ์จากพืช เช่น น้ำนมถั่วเหลืองหรือกะทิแทนน้ำนมวัวได้ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) จะเรียกโยเกิร์ตที่ผ่านการปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือเติมผลไม้ลงไปว่า โยเกิร์ตปรุงแต่ง (flavoured yogurt) ทั้งโยเกิร์ตและโยเกิร์ตปรุงแต่งจะต้องมีจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมักที่มีชีวิตคงเหลืออยู่ ในประเทศไทยโยเกิร์ตจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ โยเกิร์ตชนิดแข็งตัว(set yoghurt) ซึ่งจะมีเนื้อแน่น และโยเกิร์ตชนิดคน(stirred yoghurt) ซึ่งเนื้อโยเกิร์ตค่อนข้างเหลวไม่จับเป็นก้อน   การเลือกซื้อโยเกิร์ต จุดเด่นที่เราต้องการจากโยเกิร์ตคือ จุลินทรีย์กลุ่มแลกทิก(LAB) ซึ่งช่วยเรื่องสมดุลในระบบทางเดินอาหารและยังทำให้คนที่ไม่สามารถดื่มนมได้เนื่องจากขาดเอนไซม์ที่จะย่อยแลกโทสในน้ำนมนั้น สามารถกินโยเกิร์ตทดแทนได้ หลักการซื้อจึงควรดูเรื่องอุณหภูมิในการเก็บรักษาโยเกิร์ต เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้หมักและรุ่นการผลิต   1.เลือกที่มีวันผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ เพื่อให้ได้โยเกิร์ตที่สดใหม่ ซึ่งจะยังมีเชื้อจุลินทรีย์ LAB ที่มีชีวิตจำนวนมาก(เชื้อจุลินทรีย์จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่อผ่านไปหลายวัน) 2.ตู้แช่บริเวณชั้นวางผลิตภัณฑ์ควรมีอุณหภูมิในการเก็บรักษาระหว่าง 2 – 5 องศาเซลเซียส คือต้องเย็นพอๆ กับตู้เย็นบ้านหรือเย็นกว่า เนื่องจากจุลินทรีย์ LAB ชอบอากาศเย็น และจะคงสภาพมีจำนวนเชื้อที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน 3.พลิกดูฉลากอ่านชื่อเชื้อจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัสและแล็คโตแบซิลลัส บัลการิคัส เพียงสองชนิดจัดว่าเป็นโยเกิร์ตธรรมดา แต่หากต้องการโยเกิร์ตที่เป็นโพรไบโอติก ต้องเลือกที่มีเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โดยโพรไบโอติกที่มีอยู่ในโยเกิร์ตในท้องตลาดบ้านเราคือ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม (Bifidobacterium bifidum) ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส (Bifidobacterium animalis DN173010) แล็คโตแบซิลลัส คาเซอิ (Lactobacillus casei) แล็คโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส (Lactobacillus acidophilus) เป็นต้น (ทั้งนี้ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยมักใส่โพรไบโอติกเพียง 1 ชนิด ส่วนที่มาจากต่างประเทศจะเติมโพรไบโอติกลงไป 1-3 ชนิด) 4.โยเกิร์ตแบบโพรไบโอติก จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ้าคุณเป็นคนท้องผูกควรลองรับประทานโยเกิร์ตประเภทนี้ แต่ถ้ามีระบบขับถ่ายไว ควรเลือกรับประทานโยเกิร์ตแบบธรรมดา โยเกิร์ตพร้อมดื่มเหมือนหรือแตกต่างจากโยเกิร์ตอย่างไร โยเกิร์ตพร้อมดื่มหรือนมเปรี้ยวพร้อมดื่ม มีกระบวนการหมักเหมือนกับโยเกิร์ต คือใช้วัตถุดิบเป็นนมวัวและเติมเชื้อแบคทีเรียกลุ่มแลกทิกลงไป เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการหมักแล้วจะมีการเจือจางและปรุงแต่งกลิ่น รส สี หรือมีการเติมน้ำผลไม้หรือน้ำเชื่อมเพิ่มลงไป จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเหลว นมเปรี้ยวที่วางขายซึ่งผลิตตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม นมเปรี้ยวพร้อมดื่มพาสเจอไรซ์ และนมเปรี้ยวพร้อมดื่มยูเอชที โพรไบโอติก(Probiotic) หมายถึง แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ได้แก่ แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กทิก(lactic acid bacteria, LAB) เช่น Lactobacillus และ Bifidobacterium แบคทีเรียกลุ่มนี้ พบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก(fermentation) เช่น นมเปรี้ยว แหนม กิมจิ จะช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค(pathogen) ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด ช่วยการดูดซึมของสารอาหาร โคเรสเตอรอล และสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย อาหารที่แบคทีเรีย กลุ่มโพรไบโอติกนำไปใช้ได้ เรียกว่า พรีไบโอติก(prebiotic) เช่น ใยอาหาร(dietary fiber) ข้อมูล1. ดร.สุนัดดา โยมญาติ นักวิชาการสาขาชีววิทยา http://biology.ipst.ac.th/?p=9872. รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล http://www.pharmacy.mahidol.ac.th          

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 125 กระแสต่างแดน

  ทองนี้ได้แต่ใดมา ร้านทองไฮโซในอังกฤษให้ข้อมูลที่ไม่ค่อยจะตรงกับความเป็นจริงนัก เวลาที่ถูกถามเรื่องแหล่งที่มาหรือกระบวนการในการสรรหาวัตถุดิบเพื่อนำมาทำเป็นเครื่องประดับ  คนที่ออกมาเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวได้แก่รายการทีวีแนวสืบสวนสอบสวน Dispatches ที่ใช้วิธีซ่อนกล้องเข้าไปเก็บข้อมูลในประเด็นที่สังคมกำลังสนใจ   คราวนี้เขาส่งทีมงานเข้าไปทำทีเป็นจะซื้อเครื่องประดับทองในร้านหรูอย่าง ร้าน Argos ร้าน Goldsmiths ร้านH. Samuel ร้าน Ernest Jones และ Leslie Davis แต่ก่อนจะซื้อก็ลองยิงคำถามกับพนักงานในร้านว่าทองที่นำมาผลิตเป็นเครื่องประดับแบรนด์ของร้านนั้นมีที่มาอย่างไร   แล้วก็พบว่าพนักงานที่พูดคุยด้วยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องกระบวนการผลิตสินค้าที่ตนเองขายอยู่สักเท่าไร บางคนไม่รู้ว่าร้านของตัวเองสั่งซื้อทองมาจากที่ไหน แต่ก็ยังตอบแบบมึนๆ ว่ามันก็เป็นทองที่ได้มาอย่างถูกจริยธรรมนั่นแหละ (โดยไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมใดๆ ให้) แต่ทั้งนี้ก็ไม่สามารถบอกได้ว่ามาจากไหนอยู่ดี บางรายถึงกับบอกลูกค้าว่าไม่มีทางที่ลูกค้าจะรู้ได้ ถึงแม้จะมีการอ้างว่าได้รับการรับรองจากสถาบันอะไรก็ตาม   สรุปว่าแม้ลูกค้าเมืองผู้ดีจะทุ่มเทซื้อทองจากร้านใหญ่ๆ ก็ยังไม่สามารถจะมั่นใจได้อยู่ดีว่าทางเลือกของตนเองนั้นไปสนับสนุนการใช้แรงงานเด็ก การทำให้ชุมชนใกล้เหมืองทองเต็มไปด้วยสารพิษ หรือการทำลายสภาวะแวดล้อมโดยรวมหรือไม่   เอารูปจาก Clip นี้ได้ป่าวhttp://www.channel4.com/programmes/dispatches/articles/the-real-price-of-gold-video-clip -----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------  กาแฟกับภัยแล้ง คุณรู้หรือไม่ ว่าการปลูกต้นกาแฟเพื่อนำมาชงเป็นกาแฟใน 1 แก้วขนาด 125 มิลลิลิตร นั้นจะต้องใช้น้ำถึง 140 ลิตร หรืออีกนัยหนึ่ง องค์กร Water Footprint Network เขากำลังจะบอกเราว่า อัตราส่วนระหว่างกาแฟกับน้ำที่ใช้นั้น เท่ากับ 1:1100  ขณะนี้ได้เกิดภาวะแห้งแล้งอันสืบเนื่องมาจากการปลูกกาแฟขึ้นแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิลและโคลัมเบียซึ่งเป็นสองประเทศในกลุ่มผู้ผลิตกาแฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้นแล้วคอกาแฟทั้งหลายโปรดรับทราบว่าต่อไปนี้ราคาเมล็ดกาแฟจะต้องแพงขึ้นอย่างแน่นอน  นอกจากนี้ เกษตรกรที่หมู่บ้านฮามา ทางตอนใต้ของกรุงแอดดิส อบาบา เมืองหลวงของเอธิโอเปีย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเมล็ดกาแฟคุณภาพเลิศนั้นกำลังประสบปัญหาหนี้ เพราะผลผลิตกาแฟที่ได้นั้นลดลงกว่าเดิม  ทางออกสุดท้ายที่ต้องหาให้ได้ร่วมกัน คือการกำหนดให้บริษัทที่รับซื้อเมล็ดกาแฟ เลือกซื้อจากแหล่งที่มีการจัดการน้ำในการเพาะปลูกที่ดีเท่านั้น  ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากบรรดาผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปและร้านกาแฟพอสมควรทีเดียว คราฟท์ฟูดส์ ผู้ผลิตกาแฟสำเร็จรูปยี่ห้อแม็กซเวลล์ เฮ้าส์ ได้ให้คำมั่นว่าจะรับซื้อกาแฟจากแหล่งที่ได้รับการรับรองโดย Rainforest Alliance (องค์กรที่ทำหน้าที่คล้ายๆ Fair Trade ที่เรารู้จักกัน แต่เน้นหนักที่ประเด็นสิ่งแวดล้อม) เท่านั้น  หรือเนสท์เล่ ที่อังกฤษ ก็ประกาศให้เงินสนับสนุนการปลูกกาแฟด้วยวิธีที่ยั่งยืน ในประเทศเอธิโอเปีย  สตาร์บัคส์ก็ประกาศลดการใช้น้ำในร้านลงให้ได้ร้อยละ 25 ภายในอีก 4 ปีข้างหน้า ขณะนี้แต่ละสาขาสามารถลดการใช้น้ำลงได้วันละ 100 แกลลอน เท่ากับว่าโดยรวมแล้วสามารถลดการใช้น้ำลงไปได้ร้อยละ 22 แล้ว   กาแฟเป็นหนึ่งในสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงที่สุด ด้วยยอดขายทั่วโลกกว่า 7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป แม้แต่ประชากรในประเทศที่ดื่มชาเป็นหลักอย่างญี่ปุ่นหรือเกาหลีก็ยังหันมาบริโภคกาแฟกันตามยุคสมัย-------------------------------------------------------------------------------------------------- แบคทีเรียอาละวาด วิกฤตใหม่ในยุโรป นอกจากปัญหาเรื่องวิกฤตเศรษฐกิจที่เราได้รับรู้กันอยู่ทุกวันแล้ว ยุโรปยังมีอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วนเช่นกัน  ถึงวันนี้ผู้คนกว่า 25,000 คน ในยุโรปได้เสียชีวิตลงด้วยเชื้อจอมดื้อยาอย่างแบคทีเรีย MRSA ซึ่งเชื้อตัวเดียวกันนี้ทำให้สหรัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาไปกว่า 21,000 ล้านเหรียญเช่นกัน คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมบริษัทยาถึงไม่คิดจะผลิตยาปฏิชีวนะ(หรือที่เราถนัดเรียกว่ายาแก้อักเสบหรือยาฆ่าเชื้อ) ตัวใหม่ๆ ออกมาขายกันบ้าง ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่ามีการดื้อยาเกิดขึ้นมากมาย   นี่เป็นเรื่องที่สหภาพยุโรปกำลังขบคิดหาทางออก   สาเหตุที่บริษัทยาขาดแรงจูงใจในการลงทุนคิดค้นยาตัวใหม่ๆ ออกมาก็เพราะรายได้ที่เกิดจากยาประเภทนี้มีไม่มากนัก เรารับประทานประมาณ 2 – 3 วันก็หาย แถมยังเป็นยาที่เสี่ยงต่อการ “ดื้อ” มากกว่ายาชนิดอื่นๆ นอกจากนั้น ยาฆ่าเชื้อนั้นถือเป็นยาสำคัญที่ต้องทำให้ทุกคนไม่ว่าจะจนหรือรวยสามารถเข้าถึงได้ ยาเหล่านี้จึงถูกกดดันให้มีราคาถูกด้วย  จึงทำให้บริษัทเหล่านี้ทำการตลาดโดยเน้นที่การทำยอดขายปริมาณมาก และนั่นทำให้เกิดการสั่งและการใช้ยาดังกล่าวเกินความจำเป็น ที่นำไปสู่การดื้อยาในที่สุด  สหพันธ์สมาคมยาและอุตสาหกรรมยาแห่งยุโรปหรือ EFPIA มีข้อเสนอให้สร้าง “แรงจูงใจ” ใหม่ๆ ให้กับบริษัทผู้ผลิตยา เช่น การได้รับลดหย่อนภาษีถ้ามีการทำวิจัยยาดังกล่าว การได้รับรางวัล “ยาดีมีประสิทธิภาพ” หรือการขยายเวลาครอบครองสิทธิบัตร เป็นต้น   โอเวอร์โดส โรคระบาดอเมริกันชน ถ้าคุณเป็นคนหนึ่งที่ติดตามข่าวคนดังในฮอลลิวูด คุณคงจะคุ้นเคยกับสาเหตุการตายยอดฮิตของบรรดาผู้มีอันจะกินเหล่านั้นว่าหนีไม่พ้นการใช้ยาเกินขนาด หรือที่เรียกเป็นภาษาฝรั่งว่า โอดี (หรือ Overdosed) นั่นเอง   มีงานวิจัยที่ชี้ชัดว่าอาการโอดีนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับหมู่เซเลบริตี้อเมริกันเท่านั้น ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา “การใช้ยาในทางที่ผิด” ได้กลายเป็น “โรคระบาด” ในสังคมอเมริกันไปแล้ว ปัจจุบันนี้มีจำนวนคนอเมริกันที่เสียชีวิตเพราะการใช้ยาในทางที่ผิดมากกว่าจำนวนคนที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถยนต์ด้วยซ้ำ สาเหตุการตายโดยเฉียบพลันอันดับหนึ่งในกว่าร้อยละ 50 ของรัฐในอเมริกา คือการใช้ยาในทางที่ผิดนั่นเอง ปีที่แล้ว มีคนอเมริกันเกือบ 30,000 คน เสียชีวิตเพราะการใช้ยาเกินขนาด และในฟลอริด้าเพียงรัฐเดียวก็มีผู้เสียชีวิตด้วยสาเหตุดังกล่าวกว่า 3,000 คน  คนอเมริกันนั้นนิยมพึ่งพายาแก้ปวดกันไม่น้อย และคนกลุ่มนี้นี่เองที่บริโภคร้อยละ 80 ของยาแก้ปวดที่มีฝิ่นเป็นส่วนประกอบที่ผลิตได้ทั้งหมดในโลก  คนอเมริกันแต่ละคนใช้ยาประมาณ 74 – 369 มิลลิกรัม เพิ่มขึ้นกว่า 4 เท่า จากช่วงปี ค.ศ. 1997 ถึง ค.ศ. 2007    ทิ้งของสูง   ปีนี้โครงการ Save Everest สามารถเก็บขยะลงมาจากเอเวอเรสต์ได้กว่า 8 ตัน(มากกว่าปีที่แล้ว 3 ตัน) นี่ขนาดเก็บตามเส้นทางระหว่างสนามบินลุคลากับเมืองนัมเชเท่านั้นนะ   ข่าวบอกว่าเส้นทางดังกล่าวเต็มไปด้วยกระป๋องออกซิเจน กระป๋องอาหาร ขวดน้ำดื่ม ซองยา ถุงพลาสติก รวมไปถึงของเสียจากมนุษย์ หรือแม้แต่ซากศพของคนที่เสียชีวิตในระหว่างการเดินทาง   3,210 กิโลกรัมของขยะทั้งหมดที่เก็บมาได้ จะถูกกำจัดที่เมืองนัมเช ซึ่งขณะนี้มีแผนที่จะสร้างโรงกำจัดขยะเพิ่มเป็น 15 แห่ง ขยะที่เหลือนั้นจะถูกนำไปยังเมืองกาฐมาณฑุ เพื่อเข้าสู่กระบวนการแปรสภาพและนำกลับมาใช้ใหม่ต่อไป   ผู้รับผิดชอบโครงการเก็บขยะที่ว่านี้ได้แก่ สมาคมผู้ปีนเขาเอเวอเรสต์และการท่องเที่ยวแห่งเนปาล ด้วยทุนในการทำงาน 780,000 เหรียญสหรัฐ หวังว่าจะพอใช้สำหรับเก็บและจัดการขยะที่ยังหลงเหลืออยู่บนภูเขาอีกประมาณ 20 ตัน   แต่ถ้านักท่องเที่ยวกว่า 35,000 คน รวมกับลูกหาบและไกด์อีกประมาณ 80,000 คนที่มาผจญภัยที่เอเวอเรสต์ในแต่ละปีจะช่วยกันแบกขยะของตัวเองกลับลงมาด้วยก็คงจะดีไม่น้อย

อ่านเพิ่มเติม >