ฉบับที่ 212 ผลทดสอบประสิทธิภาพแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์ระดับสูง

จากบททดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์ จากฉลาดซื้อฉบับที่ 197 เดือนกรกฎาคม 2560 ซึ่งเป็นการทดสอบสำหรับฟิล์มกันร้อนระดับล่าง ราคาอยู่ในช่วง 3,000-5,000 บาท ทั้งนี้ได้มีผู้บริโภคเรียกร้องให้ทดสอบฟิล์มกันร้อนระดับสูงด้วย ดังนั้นการทดสอบในครั้งนี้ จึงใช้ตัวอย่างฟิล์มกันร้อน ระดับช่วงราคา 18,000 – 30,000 บาท จำนวน 7 ตัวอย่าง จากยี่ห้อที่เป็นที่นิยมในตลาด ได้แก่ Vox, Ultimate, Ceramic Original, Smarttec, 3M และ V-kool โดยแสดงค่าคุณสมบัติจำเพาะดัง ตารางที่ 1ตารางที่ 1 แสดงค่าคุณสมบัติจำเพาะต่างๆ ของฟิล์มกันร้อน ซึ่งจะอธิบายความหมายตามหลักทฤษฎีที่กล่าวว่า แสงแดดมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ อินฟราเรด (Infrared IR) ไม่มีสีแต่อยู่ในรูปของรังสีความร้อน ต่อไปคือแสงช่วงที่สายตามองเห็น (Visible light VL) และช่วงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet UV) อยู่ในรูปของพลังงาน ที่มีความสามารถทำลายเซลล์ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้การเกิดความร้อนในรถยนต์ การเกิดความร้อนในรถยนต์เกิดจากการที่กระจกรถยนต์ไม่สามารถกันคลื่นอินฟราเรด ที่เป็นคลื่นความร้อนได้ เมื่อผ่านเข้ามายังตัวรถแล้ว คลื่นอินฟาเรดจะไม่สามารถสะท้อนออกไปได้ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกภายในรถ ความร้อนสะสมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ             สำหรับข้อกำหนดความสามารถของแผ่นฟิล์มติดรถยนต์ แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้ -  VLT (Visible Light Transmission) ความสามารถในการส่องผ่านของแสงในช่วงสายตามองเห็น ค่ายิ่งมากแสงผ่านได้เยอะ ทำให้การมองผ่านชัดเจน - VLR (Visible Light Reflectance) ความสามารถในการสะท้อนแสงในช่วงสายตามองเห็น เป็นค่าแสดงการสะท้อนออกของแสงจากกระจกที่ติดฟิล์ม ค่ามากกระจกที่ติดฟิล์มจะมีลักษณะคล้ายกับกระจกเงา -  Glare Reduction การลดความจ้า เป็นการวัดเปอร์เซ็นเปรียบเทียบค่าการส่องผ่านได้ของแสงช่วงที่มองเห็น ระหว่างกระจกที่ติดฟิล์มกรองแสงกับไม่ติดฟิล์มกรองแสง -  IRR (Infrared Rejection) เป็นค่าที่แสดงความสามารถในการลดความร้อนเนื่องจากคลื่นความร้อน(Infrared) จากแสงแดด -  UVR (Ultraviolet Rejection) ค่าที่แสดงความสามารถในการลดแสงอัลตราไวโอเลต TSER (Total SolarEnergy Rejection) การป้องกัน พลังงานแสงอาทิตย์โดยรวมเครื่องมือ อุปกรณ์ทดสอบ -  ตู้ทดสอบขนาดปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์ฟุต -  แผ่นกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง -  เครื่องวัดอุณหภูมิ -  เครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัม ช่วง ยูวี ถึง อินฟราเรด (200-1000nm) -  เครื่องวัดแสงยูวีเอ หลอดไฟฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์การทดสอบ การทดสอบแบ่งเป็น 2 ส่วนได้แก่ -  ทดสอบความสามารถการกรองแสงช่วงต่างๆ -  ทดสอบเรื่องการป้องกันความร้อน   ทดสอบความสามารถการกรองแสงช่วงต่างๆ     วัดค่าสเปคตรัมของแสง เพื่อตรวจสอบแสงที่ผ่านกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง ผลของแสงและรังสีความร้อน ที่ได้จากหลอดฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์ มีลักษณะครอบคลุมเพียงพอ ช่วงที่ต้องการทดสอบด้วยเครื่องวัดแสงเชิงสเปคตรัมมีความสามารถวัดค่าได้ ที่ความยาวคลื่น 200 – 1000 นาโนเมตร สำหรับค่ารังสีความร้อนช่วง อินฟราเรด ที่มีความยาวคลื่นมากกว่า 1000 นาโนเมตรจะไม่สามารถวัดค่าได้ ด้วยเครื่องวัดนี้ พลังงานความร้อนในรูปแบบนี้ จะใช้วิธีประเมิน ในหัวข้อถัดไป   สำหรับผลของสเปคตรัมของแสงที่วัดได้จากเครื่องมือ เป็นดังนี้ ตารางที่ 2 ผลการทดสอบความสามารถการกรองแสงช่วงต่างๆ ของตัวอย่างฟิล์มกันร้อนระดับสูง  ทดสอบเรื่องการป้องกันความร้อน เป็นการวัดหาประสิทธิภาพการสกัดกั้นความร้อนของฟิล์มกันความร้อน โดยให้ความร้อนด้วยหลอดไฟขนาด 2000 วัตต์ ที่ช่วงเวลาหนึ่ง แล้ววัดค่าความร้อนที่เกิดขึ้นภายในตู้ทดสอบ เปรียบเทียบกับอุณหภูมิ ที่เกิดขึ้นภายนอก โดยประสิทธิภาพของฟิล์มกันความร้อนจะถูกประเมินจาก อุณหภูมิแตกต่างกันระหว่างภายในตู้ทดสอบกับภายนอกตู้ทดสอบ หากมีความแตกต่างกันมาก ฟิล์มชนิดนั้นจะมีประสิทธิภาพสูงกว่า ชนิดที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิน้อย ก่อนทดสอบ จำเป็นต้องหาช่วงเวลาที่ใช้ในการทดสอบ โดยประเมินจากผลของค่าอุณหภูมิภายนอก หลังจากให้แสงความร้อนไป ช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้อุณหภูมิมีค่าคงที่ ดังแสดงในภาพที่ 4 พบว่าในเวลานาทีที่ 15 อุณหภูมิมีความคงที่ดี ดังนั้นจึงกำหนด ให้วัดค่าอุณหภูมิภายนอกและภายในตู้ทดสอบ ที่เวลาเริ่มต้นและ เวลา 15 นาที หลังจากให้แสงและความร้อนหลังจากเปลี่ยนฟิล์มกันความร้อนที่นำทดสอบ ชนิดต่างๆ กันแล้ว ผลที่ได้นำมาเปรียบเทียบกันแสดงในตารางที่ 3สรุป   จากการผลการทดลองที่ได้พบว่าฟิล์มกันความร้อน V Kool VK30 มีความสามารถกันความร้อนได้สูงสุดเหนือกว่ายี่ห้ออื่นอย่างเห็นได้ชัด (ความต่างของอุณหภูมิภายนอกและภายในตู้ทดสอบ 13.86) แต่จากการสืบราคา ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งก็มีราคาสูงกว่ายี่ห้ออื่นๆ เช่นกัน และถึงแม้ว่าฟิล์มกันความร้อน  ยี่ห้อ Vox รุ่น Luxury 60 มีความสามารถในการกันความร้อนด้อยกว่ายี่ห้ออื่น แต่หากดูผลของตารางที่ 2 (ความสามารถการกรองแสงช่วงต่างๆ) เปรียบเทียบด้วยจะเห็นว่า Vox รุ่น Luxury 60 มีความใสกว่าทุกยี่ห้อ  สำหรับในกลุ่มที่ผลของการกันความร้อนใกล้เคียงกันได้แก่ Ultimate, Ceramic Original, Lamina, Smarttec และ 3M แต่หากพิจารณา ตารางที่ 2 และ 3 ควบคู่กัน จะพบว่าฟิล์มกันความร้อนยี่ห้อ Ultimate รุ่น UM15 จะมีความสามารถมากกว่า เนื่องจากแผ่นฟิล์มใสกว่า แสงผ่านมาได้มากกว่า อีกทั้งมีความสามารถในการต้านทานความร้อนได้ดีกว่า อย่างไรก็ตามนอกเหนือจากประสิทธิภาพตามผลทดสอบ ความพึงพอใจของผู้บริโภคก็มีความสำคัญ ก่อนพิจาณาเลือกซื้อควรเปรียบเทียบ ข้อมูลหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น ราคา มุมมอง ทัศนวิสัย และความอับสัญญาณ GPS ด้วย 

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า300 Point

ฉบับที่ 197 การทดสอบแผ่นฟิล์มลดความร้อนติดรถยนต์

แสงแดดมีองค์ประกอบอยู่ 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่อินฟราเรด (Infrared IR) ไม่มีสีแต่อยู่ในรูปของรังสีความร้อน ต่อไปคือแสงช่วงที่สายตามองเห็น (Visible light VL) และช่วงอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet UV)อยู่ในรูปของพลังงาน ที่มีความสามารถทำลายเซลล์ผิวหนัง ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้ การเกิดความร้อนในรถยนต์เกิดจากการที่กระจกรถยนต์ไม่สามารถกันคลื่นอินฟราเรด ที่เป็นคลื่นความร้อนได้ เมื่อผ่านเข้ามายังตัวรถแล้ว คลื่นอินฟาเรดจะไม่สามารถสะท้อนออกไปได้ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกภายในรถ ความร้อนสะสมจึงสูงขึ้นเรื่อยๆ  สำหรับข้อกำหนดความสามารถของแผ่นฟิล์มติดรถยนต์ แบ่งเป็นลักษณะต่างๆ ดังนี้- VLT (Visible Light Transmission) ความสามารถในการส่องผ่านของแสงในช่วงสายตามองเห็น ค่ายิ่งมากแสงผ่านได้เยอะ ทำให้การมองผ่านชัดเจน - VLR (Visible Light Reflectance) ความสามารถในการสะท้อนแสงในช่วงสายตามองเห็น เป็นค่าแสดงการสะท้อนออกของแสงจากกระจกที่ติดฟิล์ม ค่ามากกระจกที่ติดฟิล์มจะมีลักษณะคล้ายกับกระจกเงา- Glare Reduction การลดความจ้า เป็นการวัดเปอร์เซ็นเปรียบเทียบค่าการส่องผ่านได้ของแสงช่วงที่มองเห็น ระหว่างกระจกที่ติดฟิล์มกรองแสงกับไม่ติดฟิล์มกรองแสง- IRR (Infrared Rejection) เป็นค่าที่แสดงความสามารถในการลดความร้อนเนื่องจากคลื่นความร้อน(Infrared) จากแสงแดด- UVR (Ultraviolet Rejection) ค่าที่แสดงความสามารถในการลดแสงอัลตราไวโอเลตเราทดสอบอะไรบ้าง1. ทดสอบการป้องกันรังสียูวี ช่วง  UVA และ UVB ความยาวคลื่น 280-400 นาโนเมตร2. ทดสอบการส่องผ่านของแสงช่วงที่สายตามองเห็น ความยาวคลื่น 380-780 นาโนเมตร3. ทดสอบการลดรังสีอินฟราเรด หรือรังสีความร้อน ความยาวคลื่น 800-1000 นาโนเมตร4. ทดสอบการป้องกันความร้อนสะสมการทดสอบออกแบบให้สามารถวัดความสามารถของฟิล์มติดรถยนต์ในเรื่องการช่วยลดแสงยูวี การช่วยลดแสงสว่างในช่วงที่สายตามองเห็น ความสามารถในการกันรังสีความร้อน (Infrared) และการป้องกันความร้อนสะสมสำหรับการออกแบบการวัด ได้จำลองตู้ทดสอบซึ่งเป็นตัวแทนของรถยนต์ที่มีกระจกที่ติดฟิล์มตัวอย่าง ปิดอยู่ด้านบน รับแสงจากหลอดฮาโลเจน มีเครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัมอยู่ภายใน และหัววัดอุณหภูมิภายนอกและภายใน ซึ่งผลการวัดจะแสดงถึงความสามารถในการกันแสงและความร้อนของฟิล์มตัวอย่าง อุปกรณ์1. ตู้ทดสอบขนาดปริมาตร 0.5 ลูกบาศก์ฟุต 2. แผ่นกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง3. เครื่องวัดอุณหภูมิ4. เครื่องวัดแสงเชิงสเปกตรัม ช่วง ยูวี ถึง อินฟราเรด (200-1000nm)5. หลอดไฟฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์วิธีการทดสอบเลือกฟิล์มที่นิยมใช้กันทั่วไปในตลาดโดยเลือกอยู่ในระดับการกรองแสงเท่าๆ กันประมาณ 60 % (ตามค่าที่แจ้งบนฉลาก) แต่ค่าจำเพาะบางค่าอาจไม่เหมือนกัน แสดงดังตารางดังนี้ทดลองโดยการวัดค่าอุณหภูมิทุกๆ 30 วินาที เป็นเวลา 15 นาที โดยเรียงลำดับดังนี้1. ตู้เปล่า2. แผ่นกระจกไม่ติดฟิล์ม3. แผ่นกระจกติดฟิล์มยี่ห้อต่างๆ4. นำค่าที่ได้มาวิเคราะห์ผลวัดค่าสเปคตรัมของแสงเพื่อตรวจสอบแสง ที่ผ่านกระจกติดฟิล์มตัวอย่าง ผลของแสงที่ได้จากหลอดฮาโลเจนขนาด 2000 วัตต์ มีลักษณะครอบคลุมช่วงที่ต้องการทดสอบ ที่ความยาวคลื่น 200 – 1000 นาโนเมตร เป็นดังนี้ภาพที่ 5 ผลของแสงและรังสีความร้อนภายในตู้ทดสอบ ที่ถูกวัด ขณะไม่มีกระจกกั้น เท่ากับ 100%สรุปผลการทดสอบการทดสอบฟิล์มกรองแสงติดรถยนต์นี้ ผลที่ได้พบว่าทุกๆ ยี่ห้อสามารถป้องกันแสง UV ได้ใกล้เคียงกัน การป้องกันความร้อน ถ้าค่าความแตกต่างของอุณหภูมิด้านนอกกับด้านในมีน้อย แสดงว่าสามารถกันความร้อนได้ดี และพบว่า Hi-Kool มีความสามารถกันความร้อนความร้อนได้ดีกว่าทุกยี่ห้อ แต่ความสามารถของการส่องผ่านแสงช่วงสายตามองเห็น ผ่านเข้ามาได้ค่อนข้างน้อย หากค่าแสงช่วงสายตามองเห็นได้ผ่านเข้ามาได้น้อยเกินไปก็ทำให้การมองเห็นได้ไม่ดีอาจจะลดทัศนวิสัยในการขับรถได้สำหรับในการพิจารณาเรื่อง การส่องผ่านแสงช่วงสายตามองเห็นค่าความสว่างของแสง(Lux) มากจะทำให้การมองเห็นชัดเจนกว่าค่าความสว่างของแสงน้อย ซึ่งจะเห็นผลชัดเจนเวลาขับรถเวลากลางคืน  ทำให้ ฟิล์ม 3M อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเรื่องนี้ จากข้อมูลในตารางที่ 2 ฟิล์มยี่ห้อ Xtra-Cole อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับ ความสามารถในการป้องกันความร้อน และทัศนวิสัยที่ดีในการขับขี่                 การป้องกันความร้อนได้ดีเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในการเลือกฟิล์มกรองแสงไว้ใช้งาน แต่ยังมีตัวแปรอื่นๆ ให้พิจารณาเช่น ความคงทนต่อรอยขีดข่วน การซีดจาง เปลี่ยนสี การหลุดร่อนตามอายุการใช้งาน การรบกวนสัญญาณโทรศัพท์ การรบกวนระบบนำทาง GPS เป็นต้นขอขอบคุณห้องปฏิบัติการมาตรฐานทางแสงและอุณหภูมิ ศูนย์ทดสอบและมาตรวิทยา สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.)

อ่านเพิ่มเติม >