ฉบับที่ 273 ผู้ประกอบการ “ยอดแย่” แห่งปี

        ประมาณช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี องค์กรผู้บริโภคออสเตรเลียหรือเรียกสั้นๆ ว่า CHOICE จะ “มอบ” รางวัลให้กับผู้ประกอบการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภคจนสมควรแก่การพูดถึง ปีนี้เป็นการแจกครั้งที่ 18 แล้ว เจ้าของรางวัล Shonky 2023 มีตั้งแต่ร้านค้าปลีก แพลตฟอร์มหาบ้านเช่า อุปกรณ์ไอที เว็บไซต์ ไปจนถึง “ตู้เย็น”ห้างค้าปลีก Woolworths and Coles ได้รางวัลแชมป์ขูดรีด         ปีนี้คนออสซีเผชิญค่าเช่าแพง ดอกเบี้ยเงินกู้แพง แถมข้าวของยังพากันขึ้นราคาอีกการสำรวจล่าสุดพบว่าร้อยละ 88 ของคนออสเตรเลียกังวลเรื่องราคาอาหารและสินค้าในชีวิตประจำวันเพราะพวกเขาเริ่มรู้สึกว่าได้ของกลับบ้านน้อยทั้งๆ ที่จ่ายเงินมากขึ้น ในขณะที่สองห้างใหญ่โกยกำไรอู้ฟู่         เดือนสิงหาคมที่ผ่านมาห้างวูลเวิร์ธประกาศว่าปีนี้มีกำไร 1,620 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19 จากปีก่อนหน้า ผู้บริหารให้เหตุผลว่าที่กำไรเพิ่มก็เพราะมีค่าใช้จ่ายส่วนที่เกี่ยวกับโควิดน้อยลง หลังทุกอย่างกลับสู่ภาวะปกติ ทางห้างโคลส์ก็มีกำไรถึง 1,100 ล้านเหรียญ เช่นกัน         การสำรวจโดย CHOICE ในเดือนกันยายนที่ผ่านมาพบว่าร้อยละ 60 ของนักช้อปเชื่อว่าสองห้างนี้กำลังกอบโกยกำไรมหาศาลจากการขึ้นราคาสินค้า มีไม่ถึงร้อยละ 20 ที่คิดว่าซูเปอร์มาร์เก็ตทั้งสองแห่ง (ครองตลาดรวมกันถึงร้อยละ 65) ได้พยายามอย่างเต็มที่แล้วที่จะไม่ขึ้นราคาสินค้า RentTech แพลตฟอร์มหาบ้านเช่า ที่ข้อมูลเกินจำเป็น         นอกจากค่าเช่าบ้านที่แพงขึ้นแล้ว คนออสซีจำนวนไม่น้อยยังหาบ้านอยู่ไม่ได้อีกด้วย แพลตฟอร์มหาบ้านเช่า อย่าง Ignite, 2Apply และ Snug จึงกลายเป็นที่พึ่งสุดท้าย พวกเขาต้องยอมให้ข้อมูลมากมาย เพราะอยากมีที่อยู่ ตั้งแต่สเตทเมนท์ธนาคาร ที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ก่อนหน้า บุคคลรับรองจากงานที่ทำล่าสุด 5 งาน หรือแม้แต่รูปถ่ายของลูกๆ และสัตว์เลี้ยง         การสำรวจโดย CHOICE พบว่าร้อยละ 60 ของผู้ใช้แอปฯ เหล่า รู้สึกไม่พอใจกับปริมาณหรือชนิดของข้อมูลที่ต้องให้กับแอปฯ         ในขณะที่ร้อยละ 41 เคยถูกเจ้าของบ้านกดดันให้ทำเรื่องขอเช่าผ่านแอปฯ มีจำนวนไม่น้อย (ร้อยละ 29)ที่ตัดสินใจไม่เช่าเพราะไม่ไว้ใจแพลตฟอร์มเหล่านี้         CHOICE เสนอว่าถึงเวลาที่รัฐบาลจะต้องออกกฎหมายควบคุม เพื่อป้องกันการเรียกขอข้อมูลตามใจชอบโดยไม่มีการแจ้งผู้ใช้ว่าจะส่งให้ใคร นำไปใช้อย่างไร และจะเก็บไว้นานแค่ไหน  Personal alarms อุปกรณ์ฉุกเฉินที่ชิลเกินไป         สินค้ายอดนิยมอย่างหนึ่งที่ลูกหลานนิยมซื้อให้ผู้สูงอายุใส่ติดตัวคืออุปกรณ์แจ้งเตือนฉุกเฉิน เจ้าเครื่องนี้ควรจะช่วยให้ผู้ที่สวมใส่ (ห้อยไว้ที่คอ สวมรอบข้อมือ หรือติดเป็นเข็มขัด) สามารถส่งสัญญาณไปขอความช่วยเหลือจากผู้ดูแลได้อย่างรวดเร็ว         แต่การทดสอบของ CHOICE ที่ทำกับอุปกรณ์นี้จำนวน  40 รุ่น พบว่ามันไม่เป็นเช่นนั้น แม้จะทำหลายปีก็ยังไม่เจออุปกรณ์ที่ดีสักรุ่นเดียว ทั้งตั้งค่ายาก ใช้งานยาก ตัวหนังสือเล็กมาก คู่มือก็ไม่มีให้ ผู้ใช้ต้องดาวน์โหลดเองจากอินเทอร์เน็ต ได้มาแล้วก็ยังอ่านยาก เจ้าหน้าที่ทดสอบ (ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี) อ่านเท่าไรก็ยังไม่เข้าใจ ต้องโทรไปถามฝ่ายบริการลูกค้าของบริษัท แถมต้องชาร์จบ่อย ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเรื่องความจำจะทำอย่างไร แต่ถึงจะจำได้ก็ชาร์จยากอยู่ดี ซ้ำร้ายบางรุ่นสัญญาณจะขาดหายเวลาที่ผู้ใช้งานอยู่บนยานพาหนะ เช่น รถเมล์ รถไฟ บ้างก็ไม่ส่งเสียงเตือนเมื่อผู้สวมใส่อยู่นอกเขตที่โปรแกรมไว้ สรุปว่าผู้ผลิตต้องปรับปรุงด่วน อุปกรณ์เหล่านี้จะตอบโจทย์ความต้องการของผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายได้ก็ต่อเมื่อมันทำงานได้จริง Kogan First ทำเนียนเก็บค่าสมาชิก         การซื้อของออนไลน์ เหมือนการเดินฝ่าดงกับระเบิด หูตาต้องไว บางครั้งอาจไม่ใช่การกด “เลือก” แต่เราต้องมีสติและกด “ไม่เลือก” ไม่เช่นนั้นอาจถูกหักเงินในบัญชีบัตรเครดิตโดยไม่รู้ตัว         ผู้ที่ซื้อของกับร้านออนไลน์ของ Kogan หรือ Dick Smith จะเห็นตัวเลือก “ฟรีช้อปปิ้ง” ที่หน้าเช็คเอาท์ มีเครื่องหมายเหมือนถูกกดเลือกไว้แล้ว พวกเขาก็เข้าใจไปว่ามันฟรีตามนั้น แต่มองไม่เห็นตัวหนังสือเล็กๆ ที่แจ้งข้อความทำนองว่า “คุณได้สมัครเป็นสมาชิกเพื่อทดลองใช้บริการของเรา และสามารถใช้ได้ฟรีเป็นเวลาสองสัปดาห์ หากพ้นกำหนดแล้วคุณจะถูกหักเงิน 99 เหรียญ”         CHOICE ทอลองให้ผู้ใช้ 19 คน ลองเข้าไปใช้งานเว็บไซต์ดังกล่าว และพบว่ามีถึง 9 คนที่ “พลาด” สมัครใช้บริการโดยไม่รู้ตัวว่าอีกสองอาทิตย์จะถูกหักเงิน         ปัจจุบันออสเตรเลียยังไม่มีกฎหมายที่จะสกัดพฤติกรรมแบบนี้ของผู้ประกอบการ ในขณะที่ยุโรป อเมริกาและสิงคโปร์มีแล้ว   Xbox Mini Fridge ตู้เย็นอะไร แช่แล้วไม่เย็น         เครื่องใช้ไฟฟ้านี้เป็นผลงานที่ Microsoft กับ Ukonic ร่วมกันพัฒนาเพื่อตอบโต้เรื่องล้อเลียนบนอินเทอร์เน็ตที่บอกว่าเกมคอนโซล Xbox Series X หน้าตาเหมือนตู้เย็นไม่มีผิด         ไหนๆ ถูกล้อแล้วก็ทำตู้เย็นไปเลย แต่ปัญหาคือมันแช่แล้วไม่เย็นนี่สิ         การทดสอบของ CHOICE ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิ 32 องศา พบว่าตู้นี้ใช้เวลาประมาณ 24 ชั่วโมงกว่าจะทำให้เครื่องดื่มบรรจุกระป๋อง 8 กระป๋อง มีอุณหภูมิ 21 องศา (น้ำเปิดจากก๊อกยังเย็นกว่า) แถมยังกินไฟมากด้วย ถ้าเสียบปลั๊กไว้ทั้งวันทั้งคืนจะกินไฟประมาณ 376 kWh ต่อปี ไม่ต่างกับตู้เย็นขนาด 500 ลิตร ที่ทำความเย็นได้จริงๆ เลย เสียชื่อไมโครซอฟท์ที่เป็นผู้นำด้านการลดการใช้พลังงานของวิดีโอเกม         CHOICE สรุปว่ามันไม่ใช่ตู้เย็น มันเป็นแค่ตู้เก็บความเย็นที่มีความจุ 10 ลิตร เราต้องนำของไปแช่ในตู้เย็นจริงๆ ก่อนแล้วค่อยเอามาใส่ แถมยังแช่เครื่องดื่มได้น้อยกว่าที่ออกแบบและโฆษณาไว้ เพราะกระป๋องเครื่องดื่มในออสเตรเลียมีขนาดใหญ่กว่าในอเมริกา เลยใส่ได้แค่ 8 กระป๋อง แทนที่จะเป็น 12

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 262 โดนเก็บเงินค่ามอเตอร์ไซต์เกินราคา

การใช้บริการรถรับจ้างไม่ว่าจะรถมอเตอร์ไซต์ รถแท็กซี่ ฯลฯ นอกจากจะต้องระวังเรื่องความปลอดภัยแล้ว ก็คงไม่พ้นที่จะต้องระวังเรื่องการฉวยโอกาสคิดเงินเกินราคาของคนขับที่มีข่าวให้เห็นกันบ่อยๆ  ไม่ว่าจะชอบคิดเหมาๆ ไม่ยอมคืนเงินทอน หรือไม่กดมิเตอร์ เหมือนกับที่คุณน้ำตาล ซึ่งชอบนั่งรถมอเตอร์ไซต์รับจ้าง ได้มาเล่าให้ทางมูลนิธิฯ ฟังเพื่อเป็นประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคคนอื่นๆ เรื่องราวมีอยู่ว่าโดยปกตินั้นเธอมักจะนั่งรถมอเตอร์ไซต์ช่วงเย็นตอนกลับบ้านเนื่องจากมันสะดวกและเร็วดี วันเกิดเหตุเธอต้องแวะไปซื้อของที่ห้างใกล้บ้าน เธอจึงเลือกนั่งรถไฟฟ้าโดยให้เลยไปอีกหนึ่งสถานีซึ่งติดกันกับห้างสรรพสินค้า         เมื่อจัดการธุระซื้อข้าวของที่ห้างฯ อย่างสบายใจ ตอนกลับเธอก็เลือกกลับด้วยมอเตอร์ไซต์เพราะไม่อยากหิ้วของขึ้นรถไฟฟ้าย้อนกลับ จึงลงไปเข้าแถวเพื่อต่อรถวินเตอร์ไซต์กลับบ้าน พอถึงคิวก็บอกพี่วินว่าไป อพาร์ทเม้นท์.....ค่ะ  ครั้นพอมาถึงที่หมายปลายทางก็จ่ายพี่วินไป 30 บาท (เธอนั่งประจำ) แต่พี่วินบอก 35 บาทครับ ก็จ่ายไปโดยไม่คิดอะไร (ปกติ 30 บาท) เพราะตอนนั้นนึกว่าอาจจะขึ้นราคาแล้วก็ได้ก็น้ำมันมันแพง แต่...           “คือก็คิดว่าเรื่องราวจะจบลงไปแค่วันนั้นใช่ไหมคะ แต่ไม่ใช่อย่างนั้นพออีกไม่กี่วันก็ไปขึ้นวินที่เดิมอีกแต่คราวนี้ยื่นแบงค์ 50 ไปพี่วินทอนมา 20 บาท”  อ้าว! ก็ 30 บาท เลยถามพี่คนขับ (คนละคนกับวันก่อน) ว่าวินขึ้นราคาแล้วไม่ใช่เหรอคะ พี่เขาก็ตอบว่าครับขึ้นราคาแล้วครับแล้วพี่วินก็ขี่รถไปอย่างรวดเร็ว แต่ไม่เก็บเงินเธอเพิ่ม แม้จะงงๆ อยู่ แต่คุณน้ำตาลเชื่อว่า วันก่อนหน้านี้น่าจะคิดเกินราคาจริงแน่ๆ เพราะไม่ใช่ว่าเธอไม่เคยโดน สมัยตอนเป็นนักศึกษาเธอเคยโดนวินคิดเงินเกินราคาอยู่ แต่ที่ตอนแรกเธอไม่ได้เอะใจเพราะเธอไม่ได้นั่งนานแล้วจึงคิดอาจขึ้นราคาจริงๆ แต่พอมาเจออีกคันคิดแค่ 30 บาท จึงคิดขึ้นได้ว่าคงโดนซะแล้วววว  แถมตอนนี้จะให้ไปร้องเรียนกับใครก็คงไม่ได้เพราะเธอก็จำวินคันนั้นไม่ได้แล้ว จึงได้แต่มาเล่าให้ทางมูลนิธิฯ ฟังเพื่อเป็นประสบการณ์ให้ระมัดระวังกันด้วย แนวทางการแก้ไขปัญหา                                   จริงๆ คุณน้ำตาลมาเล่าให้ฟังเพื่อให้ผู้บริโภคที่เจอประสบการณ์ดังกล่าวนั้น ได้ทราบถึงวิธีการร้องเรียนและแก้ไขปัญหาเพราะไม่อยากให้ปล่อยไปเหมือนคุณน้ำตาล เนื่องจากหากไม่ร้องเรียนวินมอเตอร์ไซต์บางที่ก็จะเอาเปรียบเราไปเรื่อยๆ ดังนั้นควรที่จะร้องเรียนเพื่อสิทธิของตนเอง วิธีการร้องเรียน มีดังนี้        1. จำเบอร์วินมอเตอร์ไซต์คันนั้นไว้ให้แม่น หรือ ชื่อ-นามสกุล        2.บันทึกทะเบียนไว้ หรืออาจจะถ่ายเก็บไว้ยิ่งดี        3.ควรจำเหตุการณ์ว่าเป็นวันไหน เวลาอะไร สถานที่เกิดเหตุที่ไหน        4. โทรไปร้องเรียนกับเบอร์ 1584 (กรมขนส่งทางบก) 24 ชั่วโมง และยังมีช่องทางอื่นๆ ได้แก่                4.1 Line ID “@1584dlt”                  4.2 เว็บไซต์ http://ins.dlt.go.th/cmpweb/                4.3 E-Mail : dlt_1584complain@hotmail.com และ                4.4 เฟซบุ๊ก “1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ”                      อย่างไรก็ตาม ก่อนใช้บริการลองสอบถามราคาก่อนหรืออ่านป้ายแสดงราคา เพื่อไม่ให้พลาดพลั้งค่ะ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 258 8 ปี พลเอกประยุทธ์ 8 ปีแผนพลังงานไฟฟ้า ทำไมค่าไฟฟ้าแพง?

        พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2557 จนถึงวันนี้ก็เกิน 8 ปีไปแล้ว ข้อถกเถียงในประเด็นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมก็ว่ากันไปตามกระบวนการ ในที่นี้ผมจะกล่าวถึงเฉพาะประเด็นพลังงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องค่าไฟฟ้า ว่าในช่วง 8 ปีดังกล่าวได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรและเพราะอะไร โดยจะนำเสนอเพียง 3 ประการต่อไปนี้         ประการที่หนึ่ง สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้าฐานได้เพิ่มขึ้นจาก 2.07 บาทต่อหน่วยในกลางปี 2557 เป็น 2.57 บาทต่อหน่วยในปลายปี 2558 และเป็น 3.25 บาทต่อหน่วยในปัจจุบัน (กันยายน-ธันวาคม 2565)  หรือเพิ่มขึ้น 57% ในช่วง 8 ปี เฉลี่ยร้อยละ 7.13 ต่อปี         โดยปกติครอบครัวคนชั้นกลางจะใช้ไฟฟ้ามากกว่า 150 หน่วยต่อเดือน  โดยอัตราค่าไฟฟ้าเป็นแบบก้าวหน้า คือยิ่งใช้มาก อัตราต่อหน่วยจะยิ่งสูงขึ้น ผมลองใช้เว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อคำนวณค่าไฟฟ้า พบว่า ถ้าใช้เดือนละ 600 หน่วย อัตราเฉลี่ยจะเพิ่มขึ้นเป็น 4.06 บาทต่อหน่วย เห็นไหมครับว่ามันมากกว่า 3.25 บาทซึ่งเป็นอัตราสำหรับผู้ใช้ 150 หน่วย  ถ้าขยับขึ้นเป็น 1,000 หน่วย อัตราก็จะกระโดดไปที่ 4.20 บาทต่อหน่วย         ที่กล่าวมาแล้วเป็นเฉพาะค่าไฟฟ้าฐานเท่านั้น แต่ค่าไฟฟ้าจริงๆที่เราจ่ายประกอบด้วย 3 ส่วนด้วยกัน อีก 2 ส่วนที่เหลือคือ ค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติหรือที่เรารู้จักกันว่า ค่าเอฟที และค่าบริการ 38.22 บาทต่อเดือน จากนั้นก็ตบท้ายด้วยภาษีมูลค่าเพิ่มของทั้งสามส่วนอีก 7%         ปัจจุบัน ค่าเอฟที(ซึ่งมาจาก (1) ค่าเชื้อเพลิงของ กฟผ. (2) ค่าซื้อไฟฟ้าจากเอกชน และ (3) ค่านโยบายของรัฐบาลของงวดใหม่ที่ผันแปรไปจากค่าไฟฟ้าฐาน) เท่ากับ 93.43 บาทต่อหน่วย คิดเบ็ดเสร็จแล้ว ถ้าใช้ไฟฟ้าจำนวน 1,000 หน่วยต่อเดือนจะต้องจ่ายเท่ากับ 5,530.03 บาท เฉลี่ย 5.53 บาทต่อหน่วย แต่ถ้าใช้เพียง 900 หน่วย ค่าเฉลี่ยต่อหน่วยก็จะลดลงมาเหลือ 5.51 บาท         ภาพข้างล่างนี้แสดงสถิติของค่าเอฟทีในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา พร้อมกับข้อสรุปค่าไฟฟ้าฐานที่ผมค้นคว้ามาประกอบครับ           ประการที่สอง กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเพิ่มจาก 29% ในสิ้นปี 2557 เป็น 51% ในสิ้นเดือนพฤษภาคม 2565         นับตั้งแต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า(หรือPDP) มาแล้ว 3 แผน คือ PDP2015 , PDP2018 และ PDP2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 และกำลังจะมี PDP2022 ในเร็วๆ นี้         แผนพีดีพีก็คือแผนที่กำหนดว่าในปีใดจะมีโรงไฟฟ้าจำนวนเท่าใดเข้าสู่ระบบผลิตไฟฟ้า ใช้เชื้ออะไรบ้าง และให้รัฐหรือเอกชนเป็นเจ้าของอย่างละเท่าใด         จากข้อมูลของกระทรวงพลังงานพบว่า ตอนสิ้นปี 2557 กำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งระบบมีจำนวน 34,668 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้เป็นของ กฟผ. 45% แต่พอถึงสิ้นเดือน พฤษภาคม 2565 กำลังการผลิตทั้งระบบมี 50,515 เมกะวัตต์ ในจำนวนนี้เป็นของ กฟผ.เพียง 31% เท่านั้น         นี่คือการคุมกำเนิดหรือจำกัดการเติบโตของ กฟผ. แล้วหันมาส่งเสริมโรงไฟฟ้าเอกชน ส่งผลให้เจ้าของโรงไฟฟ้าเอกชนร่ำรวยมหาศาลอย่างรวดเร็ว         ประการที่สาม  ค่าไฟฟ้าแพงเพราะนโยบายเอื้อกลุ่มทุนให้ใช้ก๊าซฯของรัฐบาล         ไฟฟ้าที่คนไทยใช้ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 2 แสนล้านหน่วยต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 7 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้ประมาณ 60% ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง แต่การจัดหาก๊าซฯมาจาก 4 แหล่ง คือ (1) แหล่งในประเทศไทย (2) นำเข้าจากเมียนมา (3) แหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย และ (4) นำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยที่ LNG นำเข้าจะมีราคาแพงกว่าเมื่อเทียบกับอีก 3 แหล่งที่เหลือ  ปริมาณการจัดหาและการใช้ดังแสดงในภาพถัดไป           เขียนมาถึงตอนนี้ทำให้คิดถึงคำพูดของนักวิชาการชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง (ฮาโรลด์ ลาสเวลล์, 1902-1978) ได้กล่าวอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ ว่า “การเมืองคือการตัดสินใจว่าจะให้ใครได้อะไร เมื่อใดและอย่างไร” (“Politics is who gets what, when, and how.”)         ก๊าซธรรมชาติเหลวเป็นผลผลิตของเทคโนโลยีที่ค่อนข้างใหม่ คือสามารถอัดก๊าซฯให้เป็นของเหลวแล้วบรรจุใส่ถัง สามารถขนส่งทางเรือได้ เริ่มนำเข้ามาเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2553 แต่เริ่มมากขึ้นอย่างชัดเจนในสมัยพลเอกประยุทธ์         สิ่งที่พลเอกประยุทธ์ต้องตัดสินใจคือ เมื่อเรามีก๊าซฯจำนวนจำกัด เราควรจะตัดสินใจให้ใครได้ใช้ก่อน ระหว่างภาคการผลิตไฟฟ้าให้กับประชาชนทั่วประเทศซึ่งส่วนมากเป็นคนยากจน มีหนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้น แถมต้องประสบกับภัยพิบัติจากสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 กับภาคปิโตรเคมีซึ่งสร้างกำไรได้มหาศาลให้กับผู้ถือหุ้นไม่กี่หมื่นราย         ด้วยเหตุทั้ง 3 ประการที่กล่าวมาแล้วนี้ จึงส่งผลให้ค่าไฟฟ้าแพงเป็นประวัติการณ์ของประเทศไทย ขณะเดียวกันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ก็ถูกบอนไซและเป็นหนี้แทนประชาชนกว่า 8 หมื่นล้านบาท แต่ภาคธุรกิจพลังงานไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติได้ร่ำรวยอย่างมหาศาล        ความจริงเรื่องทำนองนี้มีการก่อตัวให้เราเห็นแนวโน้มมานานแล้ว แต่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาเป็นตัวเร่งให้ความหายนะรวดเร็วและรุนแรงขึ้น  ทั้งๆ ที่ ก่อนหน้าที่พลเอกประยุทธ์จะเข้ามา ประชาชนได้เรียกร้องให้มีการประเทศในหลายด้านรวมทั้งการปฏิรูปพลังงานด้วย  แต่แล้วนอกจากจะไม่ได้ปฏิรูปแล้วยังได้ซ้ำเติมให้สถานการณ์สาหัสกว่าเดิมมากๆ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 248 ปัญหาโครงสร้างน้ำมัน ไม่ใช่รถบรรทุกหยุดวิ่ง

        โครงสร้างราคาน้ำมันที่ซับซ้อน หรือทำให้ซับซ้อน ถูกพูดถึงน้อยจากทุกฝ่าย เพราะหากติดตามการรณณงค์ของสมาพันธ์ขนส่งแห่งประเทศไทย แสดงจุดยืนชัดเจน ว่า ทางกลุ่มสมาพันธ์ ฯ ต้องการให้รัฐบาลลดราคาน้ำมัน และไม่ต้องการผลักภาระค่าน้ำมันให้กับผู้ผลิตสินค้า ซึ่งท้ายที่สุดส่งผลต่อราคาสินค้าและค่าบริการของผู้บริโภค ตามที่ประธานสมาพันธ์ ฯ ยืนยันมาโดยตลอด        กลุ่มผู้บริโภคต้องขอบคุณและอยากให้ผู้บริโภค ช่วยสื่อสารทำความเข้าใจเรื่องราคาน้ำมันและโครงสร้างราคาน้ำมันที่เป็นธรรมกับทุกฝ่ายทุกส่วน ทั้งกิจการขนส่ง กิจการการเกษตร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้บริโภค         หากพิจารณาจากโครงสร้างราคาน้ำมัน เห็นความไม่ถูกต้องจากหลายส่วน อาทิเช่น ราคาน้ำมันดิบตั้งต้นที่เป็นปัญหาต้นทาง ที่ใช้ราคาน้ำมันบวกค่าขนส่งเทียมหรือขนส่งทิพย์นำเข้าจากสิงคโปร์ทั้งที่ไม่ได้มีการนำเข้าจากสิงคโปร์จริงซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลไม่เคยแก้ปัญหาทำให้ราคาน้ำมันแพงไปอย่างน้อยอีก 1 บาท         มาพิจารณากันว่า 25 บาทที่องค์กรผู้บริโภคเสนอมาจากอะไร และรัฐบาลสามารถทำได้จริง            +ต้นทุนน้ำมันหน้าโรงกลั่นตามราคาตลาดโลก ราคา 18.45 บาท            +ค่าการตลาด ราคา 1.40 บาท            +ส่วนต่างกำไรที่เป็นเงินเหลืออีก (รายได้ของรัฐบาล) 5.15 บาท หากรวมต้นทุนเทียมเท่ากับรัฐบาลมีกำไรมากถึง 6.15 บาทจากต้นทุนเทียมขนส่งจากสิงคโปร์         โครงสร้างราคาน้ำมันที่บิดเบี้ยวจากข้อมูลข้างต้น และไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง สร้างภาระให้กับทุกส่วนยกเว้นบริษัทน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมันและกิจการพลังงาน ซึ่งควรได้รับการแก้ไข ทางออกคงไม่ใช่จัดหาบริการขนส่ง แทนรถบรรทุก แต่ต้องการการออกแบบโครงสร้างราคาน้ำมันที่เป็นธรรม ซึ่งท้ายที่สุดส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการของประชาชนทั้งระบบ ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องจัดการปัญหาโครงสร้างราคาน้ำมันที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคสักที

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 219 ความเคลื่อนไหวเดือนพฤษภาคม 2562

11 องค์กรร่วมเคลื่อนขบวนผลักดันกัญชาออกจาก พ.ร.บ. ยาเสพติด        เครือข่ายภาคประชาชน 11 องค์กร ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม “เดินเพื่อผู้ป่วย : กัญชารักษาโรค” โดยการเดินเท้าจากวัดป่าวชิรโพธิญาณ จังหวัดพิจิตร ไปถึงวัดบางปลาหมอ จังหวัดสุพรรณบุรี รวมระยะทาง 268 กิโลเมตร ระหว่างวันที่ 20 พฤษภาคม – 9 มิถุนายน โดยระหว่างทางจะมีเวทีบรรยายพิเศษและเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายกัญชารักษาโรค โดยมีวิทยากรและผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ แสดงความจำนงเข้าร่วมอย่างคับคั่ง        อาจารย์เดชา ศิริภัทร ประธานมูลนิธิข้าวขวัญ กล่าวว่า เป้าหมายหลักในการเดินครั้งนี้มีด้วยกันสาม ประการ คือ ประการที่หนึ่ง ต้องการปรับเปลี่ยนกฎหมายปัจจุบันให้ดีขึ้นเพราะกัญชายังเป็นยาเสพติดอยู่ แม้จะผ่อนผันให้ทำยาได้แต่ขอบเขตจำกัดมาก ทำให้การผลิตและแจกจ่ายเข้าถึงผู้ป่วยได้น้อย ประการต่อมา ต้องการให้ข้อมูลที่ถูกต้องต่อสาธารณชนว่ากัญชาไม่ใช่ยาเสพติดแต่เป็นยารักษาโรค การใช้ที่ถูกต้องจะเป็นประโยชน์มากโดยเฉพาะการรักษาและแก้ไขปัญหาสุขภาพซึ่งมีราคาถูก สามารถลดค่าใช้จ่ายได้มากโดยเฉพาะลดการนำเข้ายาจากต่างประเทศ และประการสุดท้าย ระดมทุนบริจาคเพื่อผลิตยาสำหรับแจกฟรี และหากยังทำไม่ได้มากก็ใช้ทุนก้อนนี้ในการรณรงค์ในการปรับกฎหมาย ซึ่งครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่จัดกิจกรรม และจัดครั้งเดียวอาจไม่เพียงพอ เพียงแต่เป็นการเริ่มต้น และมีอีกหลายเรื่องที่ยังต้องให้ความรู้โดยการอบรม จนกว่าจะบรรลุเป้าหมายซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายปี พาณิชย์ ยันค่ายา "รพ.เอกชน" สูงเกินจริงหลายเท่าตัว        12 พ.ค. 62  คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการกำกับดูแลยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ ได้ศึกษาข้อเท็จของค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชน โดยแยกเป็นสามส่วนคือ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการทางการแพทย์ ค่ายาคือฐานข้อมูลที่ศึกษาเสร็จแล้ว ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร กล่าวว่า คณะทำงานได้ขอข้อมูลราคาซื้อ-ขาย ราคานำเข้า และต้นทุนการผลิตยากว่า 30,000 รายการ พบว่าราคายาของโรงพยาบาลเอกชนมีต้นทุนใกล้เคียงกับรายการยาของกรมบัญชีกลาง แต่ราคายาของโรงพยาบาลเอกชนราคาสูงมาก บางรายการสูงเกิน 300 - 500%        “ได้ทราบว่าโรงพยาบาลเอกชนแต่ละที่มีการเรียกเก็บค่ายาที่แตกต่างกัน ยาชนิดเดียวกันมีต้นทุนการซื้อใกล้เคียงกัน แต่ราคาที่จำหน่ายจะต่างกันมาก ระดับกำไรเมื่อเทียบกับต้นทุนที่ซื้อมา มีตั้งแต่ระดับไม่มาก จนสูงขึ้นไปถึง 300 - 900 เปอร์เซ็นต์ ก็มีในบางรายการ" บุณยฤทธิ์ กล่าว        ทั้งนี้ข้อมูลบางส่วนจากคณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการกำกับดูแลยาและเวชภัณฑ์และบริการทางการแพทย์ ระบุผลการเปรียบเทียบราคายาสามรายการ คือ ยาบำรุงเลือด ราคาเบิกจ่ายกรมบัญชีกลาง 0.88 บาท ราคาซื้อ โรงพยาบาลเอกชน 3 บาท ราคาขาย 6 บาท ส่วนยาฆ่าเชื้อไวรัส ราคาเบิกจ่ายกรมบัญชีกลาง 2 บาท 77 สตางค์ ราคาซื้อ โรงพยาบาลเอกชน 4 บาท 84 สตางค์ ราคาขาย 27 บาท 84 สตางค์ ขณะที่ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ราคาเบิกจ่ายกรมบัญชีกลาง 43 บาท 92 สตางค์ ราคาซื้อ โรงพยาบาลเอกชน 68 บาท ราคาขาย 549 บาท 18 สตางค์ เครือข่ายผู้บริโภค ร่วมร้องสอดคดี รพ.เอกชนฟ้อง พณ.ยกเลิกประกาศควบคุมค่ายา-ค่ารักษาแพง        เครือข่ายผู้บริโภค ประกาศร่วมร้องสอดคดี สมาคม รพ.เอกชน และ 41 รพ.ยื่นฟ้องกระทรวงพาณิชย์ ยกเลิกประกาศค่ายา เวชภัณฑ์ ค่ารักษา เป็นสินค้าและบริการควบคุม เหตุได้รับผลกระทบโดยตรงหากยกเลิก หากถูกเอาเปรียบทำ พณ. ตรวจสอบเอาผิด รพ.ไม่ได้ ยัน รพ.เอกชนร่วมออกประกาศ ขณะที่มาตรการควบคุมเป็นของเดิมยังไม่ส่งผลกระทบใดๆ        14 พ.ค. เครือข่ายผู้บริโภคแถลงข่าวเตรียมร้องสอดการฟ้องคดีของสมาคม รพ.เอกชน โดย น.ส.สุภัทรา นาคะผิว ประธานอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) กล่าวว่า จากการที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) มีมติเห็นชอบประกาศให้ยา เวชภัณฑ์ ค่ารักษาพยาบาล ค่าบริการทางการแพทย์ และค่าอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นสินค้าและบริการควบคุม ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 และผ่านความเห็นชอบคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 ม.ค. 2562 กระทั่งปลาย เม.ย. 2562 สมาคม รพ.เอกชน และสมาชิกสมาคมฯ ที่เป็น รพ.เอกชนอีก 41 แห่ง ได้ฟ้องศาลปกครองขอให้มีการยกเลิกการประกาศดังกล่าวไม่เป็นสินค้าและบริการ ซึ่งถ้ามีการยกเลิกประกาศ ผู้บริโภคจะได้รับผลกระทบโดยตรง จากการพูดคุยกับเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงเห็นว่าเครือข่ายผู้บริโภคที่ร่วมผลักดันเรื่องนี้มาตลอดจะต้องร้องสอดเข้าใปในคดี และขอให้กระทรวงพาณิชย์และ กกร.เดินหน้าต่อไป เพื่อให้เกิดผลในการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง        "เครือข่ายฯ ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนทุกอย่าง ในการที่จะมีมาตรการทำให้ค่ารักษาพยาบาลที่แพงลดลง เพราะการออกประกาศและให้ติดราคายังไม่แก้โจทย์เรื่องแพง ที่จะให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมกับผู้บริโภคและโรงพยาบาล” น.ส.สุภัทรา กล่าว        ด้านนายเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) กล่าวว่า คดีนี้สมาคมฯ กับพวกเป็น รพ.เอกชน 41 แห่งเป็นผู้ฟ้องคดี โดยมีผู้ถูกฟ้องคดี 4 คน ได้แก่ 1.กกร. 2.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 3.ปลัดพาณิชย์ และ 4.อธิบดีกรมการค้าภายใน ซึ่งมพบ.และองค์กรผู้บริโภคถือเป็นบุคคลภายนอกคดี ที่ไม่ใช่คู่ความ แต่อาจจะเข้ามาร่วมได้ด้วยการร้องสอดเป็นคู่ความในคดี ซึ่งเครือข่ายผู้บริโภคร้องสอดเข้ามาด้วยความสมัครใจในการเป็นผู้ถูกฟ้องคดีร่วมกับอีก 4 คน เพราะเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในคำพิพากษาในคดีนี้ ถ้าหากมีการยกเลิกเพิกถอนประกาศจะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคทั่วประเทศ จึงร้องสอดเป็นฝ่ายผู้ถูกฟ้องคดีอยู่ฝั่งกระทรวงพาณิชย์ เพี่อเข้าไปร่วมต่อสู้กับสมาคมรพ.เอกชน มพบ. เผยสถานการณ์ผู้บริโภคไตรมาสแรกปี 62 ปัญหาโฆษณาเกินจริงยังคงครองแชมป์อันดับ 1         มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดเผยสถานการณ์ผู้บริโภคในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 โดยตั้งแต่เดือนมกราคม - เดือนมีนาคมที่ผ่านมา มพบ. และเครือข่ายผู้บริโภค 7 ภาค ได้ให้คำปรึกษาและรับเรื่องร้องเรียนทั้งหมด จำนวน 1,147 ราย        ปัญหาที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบและร้องเรียนมากเป็นอันดับหนึ่งและสองยังคงเหมือนกับสถิติปี 2561 คือ เรื่องอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ 511 ราย คิดเป็นร้อยละ 44.55 ของจำนวนผู้ร้องเรียนทั้งหมด และบริการสาธารณะ มีผู้ร้องเรียน 300 ราย  คิดเป็นร้อยละ 26.16 ส่วนอันดับที่สามเป็นเรื่อง การเงินการธนาคาร ที่ขยับขึ้นมา 1 อันดับจากปี 2561 โดยมีผู้ร้องเรียน 147 ราย คิดเป็นร้อยละ 12.82        สำหรับการร้องเรียนหมวดอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (511 ราย) ลักษณะปัญหาที่พบส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องโฆษณาอันเป็นเท็จหลอกลวง ซึ่งมีมากถึง 282 ราย มีทั้งการแสดงสรรพคุณอันเป็นเท็จ แสดงที่ตั้งอันเป็นเท็จทำให้หลงเชื่อ ประเภทของผลิตภัณฑ์ที่มีปัญหามากที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร เนื่องจากผู้บริโภคใช้บริการซื้อขายผ่านร้านค้าออนไลน์หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ และเชื่อคำโฆษณาโดยไม่ได้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ก่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับสินค้าที่ไม่มีคุณภาพและประสิทธิภาพแล้ว ยังมีโอกาสได้รับสินค้าที่มีส่วนผสมของสารที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตอีกด้วย        ส่วนด้านบริการสาธารณะ (300 ราย) ได้รับร้องเรียนเกี่ยวกับการขนส่งทางบกมากที่สุด ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเยียวยาความเสียหายจากอุบัติเหตุรถโดยสาร กลุ่มรถที่ถูกเฝ้าระวังและร้องเรียนมากที่สุดสี่อันดับ ได้แก่ 1. รถทัวร์โดยสาร (107 ราย) ได้รับร้องเรียนเรื่องอุบัติเหตุรถ และพฤติกรรมพนักงานขับรถ อุปกรณ์ความปลอดภัยภายในรถ 2. รถตู้โดยสาร (86 ราย) เป็นเรื่องพฤติกรรมพนักงานขับรถและอุบัติเหตุรถ 3. รถรับส่งนักเรียน (48 ราย) เป็นเรื่องการใช้รถผิดประเภทในการรับส่งนักเรียน และ 4. รถสองแถว เรื่องการบรรทุกผู้โดยสารเกินที่นั่ง        สุดท้าย หมวดการเงินการธนาคาร (147 ราย) เรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่คือ กลุ่มสินเชื่อถึง 96 ราย ปัญหาที่ร้องเรียนจะเป็นลักษณะการทำสัญญาพิสดาร ไม่เป็นธรรม ซึ่งเป็นผลพวงจากคดี ‘สามล้อเอื้ออาทร’ เมื่อช่วงปลายปี 2561        จากสถิติที่กล่าวไปข้างต้น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และองค์กรเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้รับเรื่องและดำเนินการช่วยเหลือผู้บริโภค โดยการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับแต่ละกลุ่มปัญหา เพื่อช่วยกันหาทางออก แต่บางกลุ่มปัญหาเรื้อรังหรือมีเพิ่มมากขึ้น โดยไร้การแก้ไขเยียวยา ตลอดจนไม่มีหน่วยงานที่ดูแลชัดเจน และกระบวนการช่วยเหลือล่าช้า ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการเยียวยา บางรายก็ได้รับความเสียหายมากกว่าเดิม

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 207 แนวทางความเป็นไปได้เพื่อแก้ปัญหาค่ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแพง

11 พ.ค. 2561 คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน หรือ คอบช.โดยคณะอนุกรรมการด้านบริการสุขภาพ พร้อมเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ได้เข้ายื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้กำกับดูแลการกำหนดราคาค่าบริการของโรงพยาบาลเอกชนทั้งค่ายา ค่ารักษา และค่าเวชภัณฑ์ ด้วย 4 ข้อเสนอสำคัญ ค่ารักษา รพ.เอกชนแพง ปัญหาค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนที่แพงจนเป็นที่รู้กันนั้น แสดงออกอย่างเป็นรูปธรรมที่สะท้อนความคับข้องใจของคนไทย เมื่อนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ ได้ชักชวนประชาชนร่วมลงชื่อกับ www.change.org/privatehospitals เมื่อปี 2558 เพื่อนำรายชื่อเข้าเสนอต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา  ขอให้มีการตั้งคณะกรรมการควบคุมค่ารักษาพยาบาล  “ทุกสื่อพร้อมใจกันประโคมข่าวชนิดที่ดิฉันไม่เคยเจอมาก่อน ต้องให้สัมภาษณ์ 3 คืน 4 วันติดกันจนไข้ขึ้น ผลคือประชาชนลงชื่อมากถึง 3.5 หมื่นชื่อในสองสัปดาห์” นางปรียนันท์ กล่าวในการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน ผลจากเสียงสะท้อนของคนไทย รัฐบาล คสช.ที่ขณะนั้นกำลังต้องการสร้างผลงาน ท่านนายกรัฐมนตรีได้บัญชาการให้มีการจัดการปัญหาดังกล่าว จึงเกิดความเคลื่อนไหวทั้งจากกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงพาณิชย์ เพื่อแก้ไขปัญหา โดยแนวทางการแก้ไขที่วางไว้ในปีนั้น คือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขขณะนั้น คือ ศาสตราจารย์นายแพทย์รัชตะ รัชตะนาวิน ได้จัดตั้งคณะทำงาน มุ่งแก้ไข 3 ประเด็นหลัก ได้แก่1. รวบรวมข้อมูลค่ายา ค่าบริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลต่างๆ ประกาศในเว็บไซต์กลางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าตรวจสอบได้ 2. เปิดสายด่วนรับเรื่องจากประชาชน 3 เบอร์ เพื่อให้ข้อมูลประชาชน และรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชน 3. เรื่องบริการการแพทย์ฉุกเฉิน 72 ชั่วโมง ฟรีทุกที ไม่มีการเรียกเก็บเงินจากประชาชน ถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2561 มีเพียงแนวทางที่ 3 คือ การให้บริการการแพทย์ฉุกเฉินที่สำเร็จ  นอกนั้นยังอยู่ในขั้นศึกษาวิจัย ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ในระยะเวลาที่ผ่านมา  เกิดการผลักดันให้มีการควบคุมราคายา โดยกรมการค้าภายในได้กำหนดให้ยาเข้าไปอยู่ในประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2561 เรื่องการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม  ซึ่ง ข้อ 3 (16) กำหนดให้ ยารักษาโรคเป็นสินค้าควบคุม ซึ่งจะมีผลให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจดูแลป้องกันการกำหนดราคาซื้อ ราคาจำหน่ายหรือกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติทางการค้าอันไม่เป็นธรรมได้ อย่างไรก็ตาม ทั้งสองมาตรการที่ได้มา ยังไม่เพียงพอต่อการจัดการกับปัญหา   ความเคลื่อนไหวปี พ.ศ.2561เมื่อมองสภาพการณ์ปัจจุบัน แม้บทบาทของภาครัฐจะเริ่มอ่อนลงไป แต่ภาคประชาชนยังต้องเดินหน้าต่อ ในงานเสวนา “ความเป็นไปได้ในการตรวจสอบและกำกับค่ารักษาพยาบาลแพง” เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2561 ที่ผ่านมา นางสาวสุภัทรา นาคะผิว ประธานอนุกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน ด้านบริการสุขภาพ  ได้กล่าวตอนหนึ่งว่า “เรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเราทุกคน เพราะทุกคนมีโอกาสจะป่วยหรือเป็นผู้บริโภคที่อาจต้องไปใช้บริการของโรงพยาบาลทั้งของรัฐและเอกชน ในช่วงปีที่ผ่านมา มูลนิธิผู้บริโภครวมถึงเครือข่ายตามพื้นที่ต่างๆ พบว่า หนึ่งในห้าอันดับต้นๆ ที่ได้รับการร้องเรียน เป็นเรื่องเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนมีราคาแพง” ดังนั้นภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้จุดประกายมาตั้งแต่ ปี 2558 จึงต้องก้าวต่อไป       ฉลาดซื้อได้ร่วมฟังเสวนาดังกล่าว พบว่า มีสาระที่น่าสนใจและน่าจะพอเป็นแนวทางให้ผู้บริโภคได้เข้าใจร่วมกันว่า มีความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน สำหรับการที่จะทำให้ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนนั้น เหมาะสมและเป็นธรรม จึงขอนำเนื้อหาโดยสรุปมานำเสนอไว้ ณ ที่นี้  พ.ต.อ.รศ.พณาเจือเพชร์ กฤษณะราช อดีตสมาชิกวุฒิสภา จังหวัดระยองกล่าวว่า ประสบการณ์ตรงคือ ญาติเส้นโลหิตในสมองแตก ถูกพาส่งโรงพยาบาลเอกชนตอนเที่ยงคืนในสภาพไม่รู้สึกตัว เข้าข่ายเจ็บป่วยฉุกเฉิน แต่กว่าจะได้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและทำการรักษาคือบ่ายสองโมงของวันถัดมา ประสบการณ์นี้ทำให้ต้องค้นหาข้อมูลว่าเกิดอะไรขึ้นกับระบบรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลเอกชน ซึ่งพบว่า โรงพยาบาลที่เกิดเหตุการณ์ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอยู่ประจำ ต้องตามตัวมาจากโรงพยาบาลรัฐ สิ่งนี้สวนทางกับความคาดหวังของญาติคนป่วย ที่ต้องการรักษาชีวิตคนให้ทันท่วงที จึงรีบพามาโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด ซึ่งเรื่องที่ไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญประจำ คงเป็นเพราะโรงพยาบาลต้องการ “ตัดค่าใช้จ่าย” นั่นเอง  ประเด็นต่อมาคือ กรณีของญาติเข้าข่ายเป็นกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน ตนเองพบว่า ทาง รพ.ไม่ได้แจ้ง สพฉ. ตามระเบียบปฏิบัติ การเข้ารักษาตัวเพียงสองวันต้องจ่ายเงินไปเกือบล้านบาท เพราะทาง รพ.ไม่ทำตามเงื่อนไข และเมื่อตนโพสต์เรื่องราวบนโซเชียล กลับถูกตอบโต้จากแพทย์คนหนึ่ง ที่มีนามสกุลเดียวกันกับกรรมการแพทยสภา นี่เรียกว่า ผลประโยชน์ทับซ้อนของหน่วยงานที่ควรจะเป็นที่พึ่งของประชาชนได้หรือไม่  บทเรียนครั้งนี้ทำให้ได้ข้อสรุปว่า เหตุที่โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลแพง เพราะประเทศไทยเราไม่มีกฎกติกาอะไรที่จัดการปัญหานี้ได้ เคยลองศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา ส่วนใหญ่ก็เป็นประโยชน์ต่อทางโรงพยาบาลทั้งนั้น ภาครัฐเองก็สนับสนุน เช่น นโยบาย Medical Hub, การอนุญาตให้โรงพยาบาลเอกชนเข้าตลาดหุ้น ซึ่งยิ่งส่งเสริมให้เกิดการแสวงหาผลกำไร ทั้งที่เป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับชีวิตคน ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล  ศูนย์เวชศาสตร์ชุมชน โรงพยาบาลรามาธิบดี ทุกสิ่งในโลกเป็นทวิภาวะ คือมีสองด้าน โรงพยาบาลเอกชนมีด้านมืด โรงพยาบาลรัฐก็มีเช่นกัน การมองอะไรด้านเดียวจะทำให้เราถูกบีบให้คิดกว้างไม่ได้ เดิมสังคมมนุษย์อยู่กันด้วยความไว้วางใจ แต่เมื่อสังคมเปลี่ยนผ่านมีคนอยู่ร่วมกันมากมาย ความไว้ใจอาจไม่พอ ต้องมีรัฐเข้ามาเป็นคนจัดการ อย่างไรก็ตามเราก็ไม่อาจวางใจรัฐได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ สังคมวันนี้จึงมาถึงสิ่งที่เรียกว่า เทคโนโลยี ซึ่งไม่มีอารมณ์ความรู้สึก ย่อมถือเป็นกติกาที่วางใจได้  ยกตัวอย่าง “ถ้าตนเองมีเทคโนโลยีที่มีข้อมูลส่วนตัวทุกอย่างอยู่ในนี้และควบคุมมันได้  หมายถึงอนุญาตให้ใครก็ได้เข้าถึงข้อมูลนี้  วันหนึ่งเกิดป่วยต้องไปหาหมอท่านหนึ่ง และเห็นข้อมูลรายการความสามารถในการรักษาโรคของหมอท่านนี้ เช่น ผ่าตัดมา 100 ราย รอด 70 ราย และมีท่านที่ 2,  3,  4  ให้เปรียบเทียบพร้อมกับราคา เมื่อเห็นว่าหมอท่านนี้ท่าทางจะเก็บเงินน้อยที่สุดด้วยฝีมือที่เท่ากัน เพราะฉะนั้นอนุญาตให้หมอเข้ามาหน้ากระดานอิเล็กทรอนิกส์ได้ นั่นแปลว่า หมอสามารถเปิดดูข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับสุขภาพของตนเองได้ และถ้าหากตั้งโจทย์ไปว่า วันนี้มียาอยู่ 5 รายการ  แต่มีอาการมึนๆ ไม่แน่ใจว่าเกิดจากยาหรือไม่ ด้วยความเชี่ยวชาญของแพทย์ท่านนั้นก็จะบอกได้ เช่นให้ตัดยารายการที่ 4 ออกน่าจะดีขึ้น  พอหมอให้ความรู้มาก็จ่ายเงินไปอาจจะเป็น bitcoin หรืออะไรก็แล้วแต่   supply chain ซึ่งเป็นคนให้ยาก็จะรู้เลยว่า รอบหน้ายาขนานนี้ไม่ควรจ่ายให้อีก  นี่คือตัวอย่างของเทคโนโลยีที่ทำให้เราไม่ต้องมาเผชิญหน้ากัน” เรื่องการใช้เทคโนโลยีนี้เกิดการทดลองขึ้นแล้วในหลายประเทศ  อย่างไรก็ตามไม่ได้บอกว่านี่คือคำตอบสำเร็จที่จะให้ความหวังทั้งหมด  ในงานวิจัยของผมการได้ข้อมูลจากโรงพยาบาลเอกชนไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะไม่มีระบบที่จะเข้าถึงได้ ต้องพลิกแพลง สิ่งที่ค้นพบคือ เมื่อจำแนกโรงพยาบาลเอกชนเป็น 3 ประเภท คือ ในตลาดหลักทรัพย์  นอกตลาดหลักทรัพย์ และมูลนิธิ  ค่ารักษาพยาบาลในกลุ่มโรคและวิธีการรักษาที่ใกล้เคียงกัน  ราคาแพงที่สุดคือโรงพยาบาลในตลาดหลักทรัพย์  รองลงมาก็คือโรงพยาบาลนอกตลาดหลักทรัพย์ และถูกที่สุดคือโรงพยาบาลของมูลนิธิ  โรงพยาบาลที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ราคาแพง เพราะถูกกดดันตามกติกาว่าต้องขยายผลกำไรและกิจการทุกๆ ปี คำถามคือ ถ้าฝากความหวังกับกลไกของรัฐ สามารถทำให้โรงพยาบาลเอกชนออกมาจากตลาดหลักทรัพย์ ได้หรือไม่ ถ้าทำได้ราคาจะไม่แพงอย่างที่เป็นอยู่ และเมื่อโรงพยาบาลเอกชนมีอยู่สามประเภท มีราคาขายที่แตกต่างกัน  ทำอย่างไรที่เราจะส่งเสริมให้โรงพยาบาลที่มีราคาขายถูกสุด มีบทบาทและได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นในภาคเอกชน ทพ.อาคม  ประดิษฐ์สุวรรณ  ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการ สุขภาพ สำนักสถานพยาบาลและประกอบโรคศิลปะ ดูแลโรงพยาบาลเอกชนทั่วประเทศ 350 กว่าโรง  และคลินิกเอกชนประมาณ 20,000 กว่าแห่ง โรงพยาบาลเอกชนเองมีหลายประเภท ที่ปิดกิจการไปจำนวนมากก็มี ตนเองเห็นด้วยกับ นพ.ไพบูลย์ ว่าโรงพยาบาลเอกชนไม่ควรเข้าตลาดหุ้น อย่างประเทศญี่ปุ่นบริการทางการแพทย์เข้าตลาดหุ้นไม่ได้ หมอของโรงพยาบาลรัฐบาลจะไปรักษาโรงพยาบาลเอกชน หรือหมอโรงพยาบาลเอกชนจะมารับราชการก็ไม่ได้ เขาห้ามและแยกเป็นสัดส่วนกัน   ในปี 2558 กระทรวงสาธารณสุขได้รับนโยบายให้แก้ไขปัญหาเรื่องราคาค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนที่แพงมาก แนวทางแยกเป็นสองเรื่อง คือ การแก้ไขปัญหายาราคาแพง กับค่ารักษาพยาบาลแพง จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ปัญหาแรกที่แก้ไขคือเรื่องของยาเป็นสินค้าควบคุม ที่ออกจากกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน  ทำอย่างไรจะควบคุมราคายาจากต้นทางได้ กระทรวงพาณิชย์มีกรรมการ เรียกว่า กรรมการควบคุมสินค้าราคากลาง(กกร.) คณะกรรมการนี้มีอำนาจเข้าไปกำหนดราคาสินค้าจากต้นทาง จากโรงงานได้ ตรงนี้เป็นหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์แล้ว กลับมาที่การควบคุมราคาบริการๆ ก็ผลักดันจนเกิดนโยบายเรื่องการแพทย์ฉุกเฉิน ฟรี 72 ชั่วโมง ซึ่งก็ยังมีปัญหาที่ต้องแก้ไขอีกหลายจุด แล้วเรื่องของค่ารักษาแพงได้ทำอะไรไปบ้าง ขณะนี้มีการจัดทำร่างประกาศ ตามมาตรา 3 เรื่องของการประกาศชนิดหรือประเภทของการรักษาพยาบาล  ยาเวชภัณฑ์ การบริการทางการแพทย์ หรือการบริการอื่นของสถานพยาบาล “การประกาศค่ารักษาพยาบาลต่อไปนี้ต้องทำเป็นแพ็คเกจ ถ้าราคาสามพันก็คือสามพัน จบกันแค่นี้ไม่มีอะไรเพิ่มเติม จะมาบอกว่าค่าผ้าก๊อซ ค่าเข็มฉีดยาเหมือนสมัยก่อนไม่ได้ ถ้ามีอะไรเพิ่มเติมต้องแจ้ง  นี่คือสิ่งที่เรากำลังทำอยู่ตอนนี้ และเตรียมเสนอรัฐมนตรีเพื่อให้ประกาศออกมา น่าจะเสร็จในเร็วๆ นี้” อย่างไรก็ตามประกาศฉบับนี้ เราจะไม่สามารถกำหนดเรื่องราคาได้ เพราะบริการทางการแพทย์ไม่ใช่สินค้าควบคุม  ที่ทำได้คือ ต่อไปเมื่อโรงพยาบาลประกาศค่ารักษาพยาบาลแล้ว ต้องไม่เก็บเกินนั้น  ถ้าเกินคือผิดกฎหมายและมีบทลงโทษจำคุกด้วย ถ้าถามว่าแล้วกระทรวงสาธารณสุขจะมีนโยบายเรื่องกำหนดหรือควบคุมราคาไหม มองว่าปัญหาที่จะตามมาคือ เรื่องของมาตรฐานและคุณภาพ  เพราะโรงพยาบาลเอกชนมีหลายระดับ ในเรื่องเดียวกัน การควบคุมอาจต่างกัน ต้องมีการคิดทบทวนพอสมควร เพราะต้องยอมรับว่าตอนนี้ประเทศเราขายบริการทางการแพทย์อยู่ ปีที่แล้วมีคนเข้ารับบริการที่ประเทศเรามากที่สุดในโลกด้วย  และวันนี้ถ้าเราจะคิดเรื่องของการคุมราคา  มีคนเสนอให้คิดคนไทยราคาหนึ่ง คนต่างชาติราคาหนึ่ง แบบนี้ก็มีเรื่องสองมาตรฐานเกิดขึ้นแล้ว นางปรียนันท์  ล้อเสริมวัฒนา  ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ พูดกันตรงๆ ว่า ปัญหาอยู่ที่เวลาหน่วยงานรัฐทำงานไม่ค่อยให้ภาคประชาชนไปมีส่วนร่วม  จริงๆ แล้วเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ไม่อยากแตะเรื่องค่ารักษาเลย  เพราะว่าแค่ทำเรื่องความเสียหายก็ทำไม่ทันแล้ว แต่ว่าบังเอิญได้รับเรื่องร้องเรียนทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน ซึ่งค่ารักษาของโรงพยาบาลเอกชนเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการรักษาด้วย ปัญหาเรื่องการเก็บค่ารักษาแพงมีเข้ามาอยู่เรื่อยๆ มีกรณีโรงพยาบาลเอกชนฟ้องร้องเรียกค่ารักษาจากคนไข้ ขนาดหน่วยงานอย่าง สปสช.บอกว่า คนไข้ไม่ต้องจ่าย แต่ในทางเอกสารหลักฐาน คนไข้จะแพ้คดี เพราะมีการเซ็นลายมือชื่อยินยอมไปแล้วว่า “ยินดีรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น”   ถามว่าเซ็นทำไม เวลาจริงๆ ที่เราหรือญาติเรากำลังจะเป็นจะตาย พนักงานโรงพยาบาลจะเอาเอกสารมากมายมาให้ก็ต้องเซ็นทั้งนั้น ภาพคนแก่หอบโฉนดที่ดินเอาไปมอบให้ทนายของโรงพยาบาลเอกชนเพื่อชดใช้หนี้นั้น  มันเศร้ามาก ต่อมาที่เครือข่ายได้ทำแคมเปญลงลายมือชื่อเสนอนายกฯ ให้แก้ปัญหา ก็มีการสั่งให้ตั้งกรรมการแต่อย่างที่ท่าน ผอ.อาคมพูด ตั้งแล้วก็ทิ้งภาคประชาชนเอาไว้ข้างหลัง  ไม่ให้เราไปมีส่วนร่วมเหมือนเราก็เต้นอยู่ข้างนอก พูดอะไรไปเขาไม่ให้ราคาเราเลย  คุยแต่วงราชการด้วยกัน หน่วยงานนั้นหน่วยงานนี้  ภาคประชาชนถูกละเลยอย่างชัดเจน ปัจจุบันปัญหาก็ยังอยู่จุดเดิม คือเมื่อเกิดเรื่องขึ้นประชาชนยังต้องไปร้องเรียนหลายหน่วยงาน แค่ผู้บริโภคมีปัญหา สงสัยเรื่องบิลใบเดียว ค่าหมอ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ 1-2   รายการ  จำนวนเงินเป็นแสนๆ คืออะไรบ้าง  ต้องวิ่งไปหลายหน่วยงาน ไม่มี  One Stop Service   ทางออกที่ ท่าน อ.ไพบูลย์ กับ ท่าน สว.เสนอ น่าสนใจมาก  แต่ในฐานะประชาชนที่นอนอยู่กับปัญหา วันนี้จึงขอถามว่ามีความเป็นไปได้ไหม ถ้าเราอยากได้กรรมการที่จะเป็นจุดที่ช่วยประชาชนได้ ไม่ต้องวิ่งไปหลายหน่วยงาน แค่ไปที่นี่ที่เดียว   ข้อเสนอและทางออกที่น่าสนใจจากวงเสวนา “ตอนนี้อยากขอให้ช่วยกันลงชื่อใน Change.org ให้ครบห้าหมื่น เพื่อยื่นนายกฯ อีกครั้ง ว่าขอให้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบค่ารักษาพยาบาล  เราเสนอชื่อไปเลยและฟอร์มทีมไปเลย ถ้าเราเอาห้าหมื่นชื่อไปยื่นแล้วรัฐบาลไม่ขยับ เราจะตั้งกันเองเป็น “แพทยสภาเพื่อประชาชน” คู่ขนานกันไป เวลาวินิจฉัยเรื่องอะไรให้ประชาชนร้องเข้ามา เราก็จะมีข้อมูล  โปรโมทกรรมการชุดนี้ให้เต็มที่เลย  หลังจากนั้นค่อยเคลื่อน เอานักวิชาการและผู้รู้เข้ามา” นางปรียนันท์  ล้อเสริมวัฒนา  “เพิ่มอำนาจซื้อของกองทุน ที่สหรัฐอำนาจซื้อของเขามากพอที่จะทำให้โรงพยาบาลเอกชนจำนวนไม่น้อยต้องกังวลที่จะถูกตัดทอนสิทธิ แต่ถามว่ารายได้ของโรงพยาบาลเอกชนไทยส่วนใหญ่มาจากไหน คำตอบคือไม่ได้มาจากกองทุนของรัฐ ถ้าอย่างนั้นก็ต้องคิดกลไกที่ให้รัฐไปส่งเสริมให้โรงพยาบาลเอกชนที่ทำตัวดีได้รับประโยชน์มากกว่าโรงพยาบาลที่มีปัญหา สุดท้าย ข้อเสนอของตนเองก็คือ การใช้เทคโนโลยี ภาษาอังกฤษเรียกว่า Block Chain  ที่ตัดคนกลางออกไปจากวงจรปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนสองคนที่จะมาแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการทุกชนิด จะทำให้การสื่อสาร  การรู้เท่าทันกันดีขึ้นมาก  รวมทั้งจะทำให้สังคมอยู่กันโดยมีกติกา  โดยที่ไม่ต้องฝากความหวังไว้กับคนกลาง”    ศ.นพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล  “ส่งเสริมโรงพยาบาลรัฐให้ประชาชนเข้าไปใช้บริการมากขึ้น แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายเอกชน จ่ายให้รัฐดีกว่า รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องและใช้ประโยชน์จากกฎหมายให้มากที่สุด สุดท้ายประชาชนต้องช่วยกันทำให้แพทยสภาเป็นที่พึ่งของประชาชนได้จริง ไม่สับสนในบทบาทตนเอง” พ.ต.อ.รศ.พณาเจือเพชร์ กฤษณะราช--------------------------------------------4 ข้อเสนอของ คอบช. ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 25611. ให้กระทรวงพาณิชย์เร่งรัดออกประกาศให้ "บริการสาธารณสุข" เป็นบริการควบคุม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยให้ผู้ประกอบการ สถานพยาบาลดำเนินการส่งรายการราคาต้นทุนการรักษา ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลส่งให้ทางกรมการค้า เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดราคาควบคุม2. กำหนดมาตรการระยะสั้น โดยประกาศราคาสูงสุดหรือราคากลาง อาทิ ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ และค่าบริการวิชาชีพ โดยให้นำราคากลางตามที่มีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กองทุนหลักประกันสุขภาพ ทั้ง 3 ระบบ (บัตรทอง ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ) และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน มาใช้ไปพลางก่อน จนกว่าจะมีการประกาศราคาควบคุมตามข้อ 13. พัฒนาระบบรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาค่าบริการรักษาพยาบาล ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ ค่าบริการวิชาชีพ ที่มีราคาแพง เพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคและรับประกันการเข้าถึงบริการสาธารณสุขในกรณีจำเป็น เพื่อการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค4. ทบทวนมาตรการควบคุมราคายาและบริการรักษาพยาบาล ตัวอย่างเช่น "ยารักษาโรคซึ่งกำหนดให้เป็นสินค้าควบคุมตามประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการฉบับที่1 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดสินค้าและบริการควบคุม หมวดยารักษาโรค (16 )" เช่นเดียวกันกับการควบคุมราคาผ้าอนามัย โดยให้มีการแจ้งต้นทุนราคาและรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 ค่าน้ำไฟหอพักแพง

หลายคนที่เช่าหอพักหรืออพาร์ทเมนต์ มักพบปัญหาค่าน้ำค่าไฟแพง ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการถูกเรียกเก็บในอัตราต่อหน่วยที่สูงกว่าปกติ แต่เราจะสามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร ลองไปดูกันคุณพลอยเคยเช่าหอพักอยู่แถวรังสิต และต้องเสียค่าน้ำไฟเฉลี่ยแล้วเดือนละ 1,500 บาท โดยเธอพบว่าถูกเรียกเก็บค่าไฟในอัตรา 6 บาท/ ยูนิตและค่าน้ำเหมา 250 บาท/ เดือน ซึ่งเธอรู้สึกว่าแพงเกินไปจึงย้ายที่อยู่ใหม่มาเช่าอพาร์ทเมนต์แถววิภาวดี อย่างไรก็ตามเธอก็ยังคงต้องเสียค่าน้ำไฟถึง 2,000 บาทต่อเดือน เพราะที่ใหม่เรียกเก็บค่าไฟในอัตรา 8 บาท/ ยูนิต แม้คุณพลอยจะพยายามหาที่อยู่ในพื้นที่อื่นๆ เธอก็ยังคงพบว่าการเรียกเก็บค่าน้ำไฟอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกัน หรือตั้งแต่ 6 – 12 บาท/ ยูนิต เธอจึงต้องการทราบว่าการเรียกเก็บในอัตราดังกล่าวมีความเหมาะสมแล้วหรือไม่ หรือสามารถจัดการปัญหานี้ได้อย่างไรบ้างแนวทางการแก้ไขปัญหาศูนย์พิทักษ์สิทธิ์แนะนำผู้ร้องว่าการเก็บค่าน้ำไฟในอัตราดังกล่าว ถือว่าแพงเกินอัตราเรียกเก็บจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีผู้ร้องหลายรายที่ร้องเรียนปัญหาดังกล่าวเข้ามา และศูนย์ฯ เคยรวบรวมรายชื่อผู้ร้องทั้งหมดส่งไปยัง สคบ. เพื่อขอให้ออกมาตรการหรือประกาศควบคุมการเรียกเก็บค่าน้ำไฟของหอพักแล้วภายหลัง สคบ. ก็ได้มีการหารือร่วมกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และล่าสุดได้ออกประกาศให้ธุรกิจการให้เช่าอาคารเพื่ออยู่อาศัย เป็นธุรกิจที่ควบคุมสัญญา (พ.ศ. 2561) โดยกำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับสัญญาเช่าให้ชัดเจน รวมทั้งข้อสัญญาที่ผู้ประกอบธุรกิจทำกับผู้เช่า ต้องไม่ใช้ข้อสัญญาที่มีลักษณะหรือความหมาย ในลักษณะที่กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถกำหนดอัตราค่าบริการกระแสไฟฟ้าและน้ำประปา เกินกว่าที่ผู้ให้บริการกระแสไฟฟ้าและน้ำประปาเรียกเก็บจากผู้ประกอบธุรกิจได้ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวจะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งหลังการบังคับใช้แล้ว หากผู้บริโภคพบว่าเจ้าของหอพักยังคงเรียกเก็บค่าน้ำค่าไฟเกินกว่าอัตราที่ระบุไว้ก็สามารถฟ้องร้องได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 กาแฟแพงเกินไป

สินค้าหรือบริการใดที่ไม่แสดงราคาหรือรายละเอียดให้ผู้บริโภคทราบก่อน มักสร้างปัญหาน่าปวดหัวตามมาภายหลัง เหมือนอย่างในกรณีนี้ที่ผู้ร้องเป็นคอกาแฟ ซึ่งปกติแล้วเธอยินดีจ่ายค่ากาแฟในราคาสูงเพื่อแลกกับกลิ่นหรือรสชาติของกาแฟแท้ แต่ครั้งนี้กลับต้องตกใจเมื่อพบว่ากาแฟราคาแก้วละ 400 บาท!คุณดวงใจเลือกสั่งมอคค่าเย็น จากร้านกาแฟสดแถวหน้ามหาวิทยาลัยใน จ.พิษณุโลก โดยก่อนชำระค่าสินค้าพนักงานได้สอบถามว่าต้องการกาแฟแบบธรรมดาหรือแท้ เธอจึงตอบกลับไปว่าแท้และไม่คิดว่าราคากาแฟแท้ดังกล่าวจะแพงมากนัก เนื่องจากเห็นป้ายราคาติดไว้ว่า “มอคค่าเย็น 50 บาท” อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับกาแฟเรียบร้อย พนักงานก็แจ้งว่าค่ากาแฟทั้งหมด 400 บาท ซึ่งเธอตกใจมากและเมื่อสอบถามจึงทราบว่าที่ราคาสูงเนื่องจากเป็นมอคค่าแท้ ส่วนราคา 50 บาทนั้นสำหรับมอคค่าแบบธรรมดา แม้คุณดวงใจจะไม่พอใจมาก แต่เธอก็ต้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวไปและต้องการร้องเรียนเพื่อให้ทางร้านมีการปรับปรุงป้ายราคา หรือแจ้งรายละเอียดระหว่างกาแฟแท้กับกาแฟธรรมดาให้ลูกค้าฟังก่อนตัดสินใจ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์เช่นนี้กับผู้บริโภคคนอื่นๆ อีก เธอจึงส่งเรื่องมายังศูนย์พิทักษ์สิทธิ์เพื่อขอคำแนะนำแนวทางการแก้ไขปัญหาสำหรับกรณีนี้หากผู้บริโภคพบว่า การแสดงป้ายราคาสินค้าหรือค่าบริการ ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กรมการค้าภายในได้กำหนดไว้ คือ 1. สามารถเห็นราคาได้อย่างชัดเจน 2. ราคาที่แสดงต้องเป็นราคาต่อหน่วย 3. รายการที่แสดงต้องเป็นภาษาไทย (แต่จะมีภาษาอื่นด้วยก็ได้) 4. แสดงค่าใช้จ่ายอื่นที่เรียกเก็บเพิ่มเติมให้ชัดเจน เช่น ภาษีหรือเซอร์วิสชาร์ท 5. ป้ายราคาสินค้าและบริการต้องแสดงให้ตรงกับราคาที่จำหน่าย (ยกเว้นจำหน่ายต่ำกว่าราคา) สามารถโทรศัพท์ร้องเรียนโดยตรงได้ที่ เบอร์สายด่วนกรมการค้าภายใน 1569 หรือร้องเรียนออนไลน์ผ่านทางเว็บไซต์ของกรมการค้าภายใน http://www.dit.go.th/ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วพบว่าทางร้านค้า/ ร้านอาหารกระทำผิดจริงจะโดนโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 160 เจอค่าอาหารโครตแพง ทำอะไรได้บ้าง

คุณขิ่ม (สุทธินันท์) โทรมาปรึกษาศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า ตนเองและครอบครัวไปฉลองวันเกิดให้คุณพ่อที่ภัตตาคารแถวปิ่นเกล้า ซึ่งเป็นภัตตาคารอาหารจีน  เมื่อไปถึง พบว่าตัวเองเป็นลูกค้าโต๊ะแรก  พนักงานเข้ามาต้อนรับและแนะนำเมนูให้หลายอย่าง เช่น หูฉลามน้ำแดง กระเพาะปลาน้ำแดง  ฯลฯ  แต่ที่ได้ยินเสียงเชียร์ว่า เป็นอาหารขึ้นชื่อมาก ลูกค้าที่เป็นข้าราชการมักจะแวะมาทานกันบ่อยๆ    คืออาหารประเภทก้ามปูและปลากระพง จึงสั่งก้ามปูผัดน้ำพริกเผาจานเล็กมาลองชิมกัน  และปลากะพงนึ่งซีอิ๊ว  หูฉลามน้ำแดง กระเพาะปลาน้ำแดง  ผัดหมี่ ต้มยำกุ้ง  ข้าวผัดปู ปอเปี๊ยะทอด คะน้าผัดน้ำมันหอย  รวมแล้วประมาณ 9  อย่างเพราะไปกันเกือบ 10 คนหลังจากรับประทานอาหารเสร็จเช็คบิล แทบเป็นลมเพราะเจอราคาอาหารเข้าไป 10,150   บาท  สอบถามราคาอาหารทุกจาน ก็พอรับได้ แต่เจอก้ามปูผัดน้ำพริกเผาจานเดียว 3,500  บาท ถามว่าทำไมถึงคิดราคานี้ในเมื่อจานเล็กแค่ 800  บาท  พนักงานก็ตอบว่า เฉพาะเมนูนี้คิดราคาเป็นก้าม  ก้ามละ 400 บาท  เพราะใช้ปูคัดสรรอย่างดี อ้าวเมนูไม่เห็นเขียนบอกไว้ เถียงกันไปมา  สรุปก็ต้องยอมจ่ายเงินไปเพราะกินไปแล้ว เสียทั้งเงินและความรู้สึก  แต่ที่มาร้องเรียนเพราะไม่อยากให้คนที่ไปรับประทานแล้วพบเจอปัญหาแบบตนเองอีก แนวทางการแก้ไขหลังจากรับเรื่องร้องเรียนศูนย์พิทักษ์สิทธิ ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงที่ร้านอาหารดังกล่าว ด้วยการไปสั่งอาหารรับประทานบางอย่าง พบว่าราคาอาหารนั้นมีเขียนบอกไว้ทุกรายการ  เช่น ปลากะพงนึ่งซีอิ๊วนั้น บอกราคาขายเป็นขีด ขีดละ 140 บาท  ส่วนอาหาร ประเภทอื่นจะระบุราคาตามขนาด เล็ก กลาง ใหญ่   โดยเฉพาะเมนูก้ามปู ที่ทีมศูนย์ฯ ไปลองสั่งพบว่า พนักงานจะพยายามเชียร์และอธิบายให้ฟังว่าจานเล็กจะไม่พอทาน เพราะมี 2 ก้าม ควรสั่งให้ครบตามจำนวนคนที่ไปจะได้รับประทานกันทั่วถึง ซึ่งจะคิดก้ามละ 400 บาท  ที่แพงเพราะเป็นปูที่ไปสั่งจากผู้เลี้ยงเฉพาะไม่ได้ซื้อจากตลาดทั่วไปเพราะไม่ได้ขนาดที่ต้องการ  อีกทั้งช่วงเศรษฐกิจขาลง ทำให้ลูกค้าในร้านน้อยเพราะราคาอาหารค่อนข้างสูง เมื่อทราบข้อเท็จจริง ศูนย์ฯ ได้กลับมาสอบถามคุณขิ่มเพิ่มเติม จึงได้รับทราบว่าทางร้านพยายามเชียร์ให้สั่งอาหารแบบเดียวกันและวันนั้นมีลูกค้าอยู่โต๊ะเดียวแต่วิธีการไม่เหมือนกันภายหลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริงทั้งหมด  ศูนย์ฯ ได้ทำหนังสือถึงผู้ประกอบการเพื่อแก้ไขปัญหา เรื่องเมนูที่ไม่ได้แสดงรายละเอียดให้ชัดเจน    ซึ่งทางร้านได้มีหนังสือชี้แจงว่า ได้ปรับเปลี่ยนเมนูใหม่ เพื่อให้ชัดเจนขึ้น //

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 152 จัดฉากไปทำไม??

1  กันยายน  2556   วันที่ผู้บริโภคไทยต้องจดจำเป็นพิเศษ   เพราะเป็นวันของแพงแห่งชาติ  บรรดาสินค้าที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวันตั้งแต่  แก๊ส   ค่าไฟฟ้า  ค่าทางด่วน  นัดกันขึ้นราคาพร้อมๆ กัน จนผู้บริโภคอย่างเรามึนไปตามๆ กัน  และยิ่งมึนไปกว่านั้นคือ ประโยคเด็ด ของท่านปลักกระทรวงพาณิชย์ ที่ว่า  “ของไม่ได้แพงจริง  ที่คิดว่าของแพง มันเป็นแค่ความรู้สึก”  เล่นเอาผู้ฟังอย่างเราๆ สะอึกจนพูดไม่ออกเอ้า..กลับมาเข้าเรื่องกันหน่อย  เรื่องนี้ยังผูกติดอยู่กับ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ที่เขียนย้ำบ่อยๆ เกี่ยวกับกกพ. เพียงต้องการให้ผู้บริโภคทราบว่า  กกพ.นี่แหละ เป็นคนชี้เป็นชี้ตาย  เรื่องการขึ้นราคาไฟฟ้าในประเทศเรา  คราวที่แล้วเขียนเรื่องไฟดับ 14  จังหวัด  ส่งข้อเสนอไป  เงียบ...ไม่มีคำตอบ  (อยู่ระหว่างทวงถาม) คราวนี้มาใหม่ วันที่ 23  สิงหาคม 2556  มีข้อมูลผ่านสื่อว่า กกพ. มีมติขึ้นค่าไฟฟ้า อัตโนมัติ(FT)  สำหรับเดือนกันยายน – ธันวาคม 2556 อีก 7.2  สต.ต่อหน่วย  ผู้เขียนในฐานะคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขต  ได้ท้วงติงการตัดสินใจของกกพ. ที่ไม่ผ่านการรับฟังความคิดเห็น  จากนั้นก็ได้รับข้อมูลจากฝ่ายคุ้มครองสิทธิฯ(กกพ) ให้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกับการขึ้นราคาค่า FTโดยเปิดให้แสดงความคิดเห็นจนถึงวันที่ 30  สิงหาคม  2556   ผู้เขียนจึงนำเรื่องนี้เข้า ที่ประชุมเพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันที่ประชุมได้พิจารณาข้อมูลที่ กกพ. เสนอมา และมีการอภิปรายกันอย่างกว้างขวาง  และได้มีมติเป็นเอกฉันท์  “ไม่เห็นด้วยกับการขึ้นค่าFT ” ที่กกพ. มีมติ เห็นชอบตามข้อเสนอของ กฟผ. ฝ่ายเดียว      ผลสรุปมีข้อเสนอส่งไปถึงกกพ. ดังนี้1. กกพ.  เป็นองค์กรกำกับ  ไม่ควรที่จะด่วนตัดสินใจขึ้นค่า FT   โดยพิจารณาเพียงข้อมูลที่ กฟผ. เสนอมาเพียงฝ่ายเดียว  เพราะขาดความรอบคอบ เกี่ยวกับการตัดสินใจที่ ส่งผลต่อผู้ใช้พลังงานทั้งประเทศ      2. กกพ.    ควรจัดให้มีมีกระบวนการ ศึกษาข้อมูล ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า  เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลจาก กฟผ.  เพื่อให้ได้ข้อมูลรอบด้านในการตัดสินใจ ให้เกิดความเป็นธรรม  ทั้งกับผู้ประกอบการ และผู้ใช้พลังงาน3. กกพ.ควรดำเนินการพัฒนาสูตรคำควณการขึ้นค่าไฟฟ้า อัตโนมัติ(ค่าFT)ขึ้นใหม่      โดยเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย  เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำสูตรคำนวณการขึ้นค่าไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ (FT) ให้เป็นที่ยอมรับ และมีความเป็นธรรมมากขึ้นเมื่อได้ข้อเสนอแล้วก็ส่งไปให้กกพ. ภายในวันที่กำหนดคือ 30 สิงหาคม 2556  ซึ่งเป็นวันศุกร์  เจ้าหน้าที่ตอบรับเรียบร้อย  วันที่ 31 เป็นวันเสาร์  วันที่ 1 กันยายน 2556 วันอาทิตย์  ค่า FT ขึ้นทันที  คำถามคือ เขารับฟังความคิดเห็นทำไม?  รับฟังแล้วนำข้อเสนอไปพิจารณาตอนไหน?  คำถามนี้คงยังไม่มีคำตอบ  แต่คงเป็นภาระที่พวกเราต้องค้นหาคำตอบร่วมกัน  ว่าองค์กรกำกับที่ปฏิบัติหน้าที่เช่นนี้พวกเราจะจัดการกับพวกเขาอย่างไร ?  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 144 ไฟฟ้าตก แต่ต้องจ่ายค่าไฟแพง

พอดีผู้เขียนได้ทำหน้าเป็นประธานคณะกรรมการผู้ใช้พลังงาน(คพข) เขต 10 ราชบุรี  (ตาม พรบ.ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550)  มีจังหวัดในพื้นที่ 6 จังหวัด คือ ระนอง,ชุมพร,ประจวบ,เพชรบุรี,สมุทรสงครามและราชบุรี  ภารกิจที่สำคัญคือการรับและแก้ปัญหาเรื่องร้องเรียน   มีเรื่องร้องเรียนมามากมายหลายเรื่อง ทั้งเรื่องถูกเก็บค่าต่อเชื่อมมิเตอร์ 107 บาท ทั้งที่ไม่ได้ถูกตัดไฟ(ไฟไม่ดับปรับ 107 ไม่ได้) การถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าราคาไม่เป็นธรรม ถูกเรียกเก็บค่าไฟฟ้าแต่ไม่มีใบเสร็จรับเงิน ฯลฯ แต่ที่น่าสนใจคือเรื่องร้องเรียนกรณีไฟฟ้าตก(ตกติดต่อกันเกิน 6 เดือนแล้ว)  เปิดไฟฟ้าไม่ค่อยติดแต่บิลค่าไฟฟ้าแพงกว่าปกติ เกือบ 2 เท่า(หลักฐานจากประวัติการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง 6 เดือน)ผู้ร้องแจ้งว่าไฟฟ้าที่บ้านตกมาก  ตกขนาดไฟฟ้าทุกดวงที่บ้านดับหมด ดูทีวีได้อย่างเดียว  เข้าห้องน้ำก็ต้องใช้เทียน จนอ่างน้ำจะเป็นกระถางน้ำมนต์อยู่แล้วเพราะมีน้ำตาเทียนลอยอยู่เต็ม   หรือไม่ก็ต้องกระเสือกกระสนไปซื้อไฟฟ้าฉุกเฉินมาใช้ในเวลากลางคืน  เครื่องใช้ไฟฟ้า ทั้งตู้เย็น  พัดลม หม้อหุงข้าว  เสียหมดต้องซื้อใหม่ยกชุด  แต่พอบิลค่าไฟฟ้ามาเก็บถึงกับเข่าอ่อน จากเดิมที่เคยเสียอยู่  1,300 บาท  กลับมีตัวเลขถึง 2,700  บาทเมื่อมีเรื่องร้องเรียนเข้ามา  คพข. ได้ประสานไปยังการไฟฟ้าจังหวัด  ไฟฟ้าได้ส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจตัวเลขที่จดว่าตรงกันไหม  ผลัดกันไปหลายชุด  ปรากฏว่าตัวเลขในบิลเรียกเก็บกับมิเตอร์ตรงกัน  ผู้ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ยอมและได้นำคลิปวิดีโอมาให้ดูว่า  เขาเปิดไฟฟ้าทั้งบ้าน  ทุกดวงมีการสตาร์ทไฟแดงๆ แต่ไม่ติด พร้อมคำถาม ไฟฟ้าไม่ได้ใช้ทำไมต้องจ่ายค่าไฟแพงด้วย และยืนยันว่าจะยอมจ่ายค่าไฟฟ้า ตามตัวเลขที่เคยใช้เท่านั้น  ส่วนที่เกินไปไม่ใช่ความผิดของผู้ใช้ไฟ ดังนั้นไม่ควรโยนภาระมาให้ผู้ใช้ไฟฟ้าต้องรับผิดชอบ เรื่องนี้ไฟฟ้าได้นำไปหารือในคณะกรรมการเพราะไม่เคยมีใครมาร้องเรียนในประเด็นอย่างนี้  สรุปมาคร่าวๆ คือกำลังไฟฟ้า โวลต์กับแอมแปร์มาไม่เท่ากันทำให้ไฟฟ้าสตาร์ทตลอดเวลา  แต่ไฟฟ้าไม่ติด  และการที่ไฟฟ้าสตาร์ทตลอด มิเตอร์จะเดินเร็วทำให้ตัวเลขการใช้ไฟฟ้าสูงกว่าปกติ   แต่การไฟฟ้าบอกว่าต้องพิจารณาก่อนเพราะไฟฟ้าจังหวัดไม่มีอำนาจตัดสินใจลดค่าไฟฟ้าให้ใคร   ต้องเก็บตามตัวเลขที่ขึ้นตามมิเตอร์  ซึ่งเรื่องนี้ผู้ใช้ไฟยืนยันว่าไม่ยอมจ่าย  ที่สำคัญในขณะที่มีเรื่องร้องเรียนกันอยู่  ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาเตือนให้ไปจ่ายค่าไฟฟ้า  ไม่อย่างนั้นอาจถูกตัดไฟฟ้า  หรือเจ้าหน้าที่ไฟฟ้าก็โทรมาให้ไปจ่ายค่าไฟก่อนได้ไหมไม่อย่างนั้นฝ่ายบัญชีไม่ผ่านตัวชี้วัดบ้าง  หรือไม่ก็บอกว่าหากผู้ร้องไม่ยอมจ่ายส่วนต่างที่เกินขึ้นมา เจ้าหน้าที่ไฟฟ้าต้องช่วยกันออกเงินแทน(ฟังดูเหมือนผู้ร้องเรียนเป็นมารร้ายยังไงก็ไม่รู้)ขณะเขียนเรื่องนี้ เหตุการณ์ยังไม่จบ แต่ก็นำมาเป็นกรณีศึกษา หากท่านผู้อ่านท่านใดเจอเรื่องแบบนี้สามารถร้องเรียนไปได้ที่ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.)ชั้น 15 ตึกจามจุรีสแควร์ หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานประจำเขต(สกพ.) ซึ่งมีอยู่ 13 เขตทั่วประเทศ ร้องทุกข์ 1 ครั้ง ดีกว่าบ่น 1,000 ครั้ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 140 ซื้อจักรยานราคาแพง ได้ยางแตกลายงา

“จักรยานของพี่ราคาไม่กี่ร้อยบาท...”ยอดรัก สลักใจ สมัยยังหนุ่มเคยร้องเพลง “จักรยานคนจน” บอกราคาไว้ในเนื้อเพลงเสร็จสรรพ  แสดงว่าจักรยานสมัยก่อนราคาไม่แพงมาก แต่ตอนนี้ราคาจักรยานเปลี่ยนไปมากแล้วจักรยานที่คุณสุรัตน์ไปซื้อที่ร้านแห่งหนึ่ง แถวสบตุ๋ย จ.ลำปาง  เป็นจักรยานของ LA  รุ่น ELILE ราคา 7,000 บาท ซึ่งคุณสุรัตน์ไม่ได้ติดใจในเรื่องราคามากนัก แต่ที่เป็นปัญหาคือ หลังซื้อมาได้เพียง 6 เดือน สังเกตเห็นว่าขอบยางล้อจักรยานมีรอยแตกลายงาโดยรอบทั้งสองเส้น ก็ไม่รู้ว่าไปเลียนแบบปัญหาป้ายทะเบียนรถยนต์แตกลายงาด้วยหรือเปล่า คุณสุรัตน์บอกว่า จักรยานถูกใช้งานน้อยมากส่วนใหญ่จอดอยู่ในโรงรถวันต่อมาจึงนำรถจักรยานไปให้เจ้าของร้านที่ขายจักรยานดูเพื่อขอเปลี่ยนยางใหม่ คิดว่ายางไม่น่าจะหมดอายุไวขนาดนี้ ร้านน่าจะช่วยรับผิดชอบได้ แต่เจ้าของร้านกลับพูดว่า รับผิดชอบให้ไม่ได้เพราะเป็นจักรยานรุ่นที่บริษัทโละมาขาย“ตอนที่เราซื้อมา ร้านไม่ได้พูดแบบนี้ และยังท้าให้เราไปฟ้อง สคบ. ใช้กิริยาที่ไม่สมควรหลายอย่าง เช่น บอกว่าจะต่อโทรศัพท์ให้เราคุยกับตัวแทน แต่พอต่อได้ กลับคุยกันเรื่องอื่นหลายเรื่อง เช่น เรื่องเป้าของบริษัท เรื่องการไปเที่ยวต่างประเทศ ไม่สนใจว่าเรารอคำตอบอยู่” สุดท้ายในการเจรจาวันนั้น ร้านตัวแทนจำหน่ายให้ข้อเสนอว่า จะรับผิดชอบด้วยการจ่ายค่ายาง 2 เส้นใหม่ให้ในราคารวมสองร้อยบาท พอคุณสุรัตน์ได้เห็นยางใหม่ที่เจ้าของร้านเอามานำเสนอ ก็ต้องส่ายหน้าเพราะเป็นยางคุณภาพต่ำ คุณสุรัตน์ยืนยันขอเปลี่ยนเป็นยางยี่ห้อเกรดเดียวกับที่ขายมากับรถ แต่ทางร้านบอกจัดให้ไม่ได้ แถมแนะนำให้ไปฟ้อง สคบ. เสียอีกเรื่องนี้คุณสุรัตน์ไม่ได้ไปที่ สคบ. แต่ร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคแทน แนวทางแก้ไขปัญหาปัญหาความรับผิดเกี่ยวกับความชำรุดบกพร่องของสินค้า กฎหมายกำหนดว่าให้ผู้ซื้อเรียกร้องให้ผู้ขายต้องรับผิดได้ภายในหนึ่งปี พ้นจากนี้ไปจะเรียกร้องบังคับกันไม่ได้ นี้คือหลักพื้นฐานของกฎหมายที่ผู้บริโภคสามารถใช้เป็นแนวทางในการเจรจาเรียกร้องต่อผู้ขายให้รับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวสินค้าเราได้แนะนำให้คุณสุรัตน์มีหนังสือไปถึงบริษัท แอลเอ ไบซิเคิ้ล(ประเทศไทย) จำกัด เพื่อเรียกร้องให้บริษัทเปลี่ยนยางเส้นใหม่รุ่นเดิมให้ หลังคุณสุรัตน์ส่งหนังสือไปไม่นานเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิฯ จึงได้ติดตามเรื่องให้อีกทางกับฝ่ายการตลาดของบริษัท ซึ่งได้ขอให้คุณสุรัตน์ช่วยส่งภาพถ่ายรถ และยางที่เกิดปัญหาให้กับบริษัทได้ตรวจสอบเพิ่มเติม ซึ่งในที่สุดบริษัทฯ ได้แสดงความรับผิดชอบตามที่คุณสุรัตน์ร้องขอ ด้วยการส่งยางจักรยานเกรดเดียวกับที่คุณสุรัตน์ต้องการโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายถามว่าเรื่องนี้ทำไมผู้บริโภคถึงสามารถเรียกร้องสิทธิของตัวเองได้ผล พอกลับมาดูเนื้อจดหมายที่คุณสุรัตน์เขียนถึงบริษัทก็เลยถึงบางอ้อ คุณสุรัตน์ทิ้งท้ายไว้ว่า“ขอให้ทางบริษัทอย่าเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กๆ แล้วไม่เอาใจใส่ เพราะอาจกระทบถึงชื่อเสียงของบริษัท หากไม่มีความรับผิดชอบ และขอให้บริษัทพิจารณาคุณภาพการบริการของตัวแทนจำหน่ายด้วย”อย่างนี้ต้องเรียกว่ามีลูกอ้อนลูกประณามลูกฟ้องครบครัน      หากบริษัทไม่รับผิดชอบก็ไม่ไหวแล้ว  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 138 ค่าจอดรถแสนแพงที่ตลาด อ.ต.ก.?

การจอดรถนานไปหน่อย...ถ้าจอดแถวที่บ้านคงไม่เป็นไร แต่ถ้ามาจอดในสถานที่ที่มีการเรียกเก็บค่าจอด ควรตรวจสอบราคาค่าจอดให้แน่ใจเสียก่อน เผลอจอดนานไปมีสิทธิเจอค่าจอดประเภทที่ใช้จัดการคนชอบจอดรถนาน เจ็บกระเป๋าแน่คุณสุเทพ ร้องเรียนมาว่า เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2555 ตนเข้าไปจอดรถที่ตลาด อ.ต.ก.ตรงข้ามสวนจตุจักรตอนเข้าไปพนักงานให้บัตรจอดรถ  ตอกเวลา 11.23 น. คุณสุเทพบอกว่าไปรับประทานอาหาร ทำธุระจนถึงเวลา 17.58 น. จึงได้ขับรถออกแล้วยื่นบัตรจอดรถให้เจ้าหน้าที่เก็บบัตร“พนักงานเก็บบัตรบอกผมว่า ค่าจอดรถ 500 บาท ผมตกใจมาก อะไรจะแพงขนาดนั้น ขนาดสนามบินสุวรรณภูมิ จอดทั้งวันยังไม่ถึง 300 บาทเลย”“เขาบอกเป็นระเบียบที่นี่ ผมเหลือบไปเห็นที่ป้ายข้างป้อมของเจ้าหน้าที่เก็บบัตรก็ตกใจอีก จอด 15 นาที ฟรี , 15 นาที -  ชม. 100 บ. ,1-2 ชม. 200 บ. 2-3 ชม. 300 บ. 3-4 ชม.400 บ. 4-5 ชม. 500 บ. นี้ประเทศไทยหรือเปล่า และที่แห่งนี้ก็เป็นตลาดเพื่อเกษตรกร มาขูดรีดกับประชาชนในการเก็บค่าจอดรถ แต่ยังไงผมก็จ่าย 500 บ.ให้พนักงานเพื่อตัดปัญหา”“ผมลองโทรไปถาม ทาง ผอ.ตลาด อ.ต.ก. ว่าเก็บค่าจอดแพงเกินไป ผมจะร้องเรียน ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เขาบอกเชิญเลย ดังนั้นผมขอร้องเรียนมา ณ ที่นี้เพื่อให้ นำข้อมูลที่ผมแจ้งเผยแพร่ต่อสาธารณชน และเป็นวิทยาทานให้กับผู้ที่ประสบความเดือดร้อนเช่นผม” แนวทางแก้ไขปัญหา จากรายละเอียดที่ได้แจ้งมาพบว่า คุณสุเทพใช้เวลาจอดรถนานถึง 6 ชั่วโมง 35 นาทีการจอดรถยนต์บริเวณตลาดกลาง อ.ต.ก. ย่านพหลโยธิน เราได้ตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์พบว่าองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร(อ.ต.ก.) ได้ออกประกาศเรื่องอัตราค่าบริการจอดรถยนต์บริเวณตลาดกลาง อ.ต.ก. ในวันธรรมดา-วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งใช้เรียกเก็บกับบุคคลทั่วไปตามนี้(1)   30 นาทีแรก ไม่คิดค่าจอด(2)   เกิน 30 นาที แต่ไม่เกิน 1 ชั่วโมง          คิดค่าจอดคันละ 10 บาท(3)   เกิน 1 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 20 บาท(4)   เกิน 2 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 3 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 40 บาท(5)   เกิน 3 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 100 บาท(6)   เกิน 4 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 5 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 200 บาท(7)   เกิน 5 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 6 ชั่วโมง         คิดค่าจอดคันละ 400 บาท(8)   เกินกว่า 6 ชั่วโมง                              คิดค่าจอดคันละ 500 บาทกรณีบัตรหาย คิดค่าปรับใบละ 300 บาท (ไม่รวมค่าจอดรถยนต์)ประกาศดังกล่าว เป็นประกาศที่มีการแก้ไขจากประกาศฉบับเดิม ซึ่งป้ายราคาค่าจอดรถยังคงปรากฏอยู่  ณ ที่ช่องทางเก็บค่าจอดรถของตลาด อ.ต.ก.นั้นยังเป็นอัตราราคาเดิม ซึ่งมีช่วงเวลาจอดรถที่ผู้จอดรถได้เปรียบเสียเปรียบแตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ที่แน่ ๆ หากจอดรถนานเกินกว่า 6 ชั่วโมงขึ้นไปจะถูกเก็บค่าจอดคันละ 500 บาทเรามีหนังสือไปที่ อ.ต.ก. เพื่อสอบถามถึงโครงสร้างราคาค่าจอดรถ ได้รับคำชี้แจงจาก อ.ต.ก.ว่าประการที่หนึ่ง ตามประกาศดังกล่าว จะเห็นว่าค่าจอดรถยนต์ของตลาด อ.ต.ก.คิดราคาไม่สูงเกินกว่า 10-40 บาท หากจอดไม่เกิน 3 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลาที่เพียงพอสำหรับการใช้บริการตลาด อ.ต.ก. และผู้ใช้บริการมากกว่าร้อยละ 95 จอดภายในเวลานี้ประการที่สอง อ.ต.ก.จำเป็นจะต้องกำหนดราคาจอดรถยนต์ให้สูงมากหลังจากช่วงเวลานี้ เนื่องจาก อ.ต.ก.มีที่จอดรถยนต์จำกัดเพียง 580 คัน แต่มีผู้มาใช้บริการวันละ 1,500 – 2,500 คัน เพื่อป้องกันมิให้ผู้มาใช้ลานจอดรถยนต์เพื่อเรื่องอื่นๆ ที่มิใช่การใช้บริการตลาด อ.ต.ก. และทำให้ที่จอดรถยนต์ไม่มีเพียงพอ สำหรับผู้มาใช้บริการตลาดคนอื่นๆประการที่สาม กรณีนี้ผู้ใช้บริการจอดรถยนต์นานกว่า 6 ชั่วโมง โดยอาจจะไม่ทราบว่าจะต้องเสียค่าจอดสูงหากจอดเกินกว่าหกชั่วโมง ซึ่งหากมาใช้บริการตลาด อ.ต.ก.เป็นเวลานานมากเช่นนี้ อาจติดต่อขอให้ อ.ต.ก.พิจารณาลดหย่อนเป็นกรณีๆ ต่อไปใครที่จะจอดรถนานๆ นานแบบปาเข้าไปครึ่งค่อนวันกับตลาด อ.ต.ก. ทราบแล้วเปลี่ยน...เปลี่ยนที่จอดด่วน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 137 ทำไม?? ค่าโอนหน่วยกิตถึงแพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ

และแล้วเราก็ผ่านพ้นช่วงเวลาเปิดภาคเรียนที่แสนจะสับสน    วุ่นวายที่สุดคือเรื่องการหาที่เรียน ของลูกหลาน   และเรื่องที่วุ่นวายไม่แพ้กันคือเรื่องการหาเงินมาจ่ายค่าเทอม และอุปกรณ์การเรียนของลูกหลาน   แต่ไม่ว่าปัญหาจะใหญ่แค่ไหนสุดท้ายเราก็สามารถก้าวผ่านมันไปได้    เหมือนที่เคยผ่านมาทุกปี ถึงแม้ผู้บริหารการศึกษาหลายแห่งอาจจะยังถูกตรวจสอบอยู่ก็ตาม(หวังว่าปัญหาการเรียกเก็บค่าค่าแปะเจี๊ยะที่กำลังโด่งดังคงไม่จบแบบมวยล้มต้มคนดูนะ)พูดถึงการศึกษาผู้เขียนก็มีข้อสงสัยอยู่พอประมาณ   เรื่องมีอยู่ว่าผู้เขียนเนี่ย...เป็นคนทำงานเกี่ยวกับสิทธิผู้บริโภค   จึงมีทั้งผู้มาร้องเรียนหรือมาหารือเกี่ยวกับกฎหมายอยู่บ่อยๆ(บ่อยมาก)    พอพูดถึงกฎหมายก็ต้องยอมรับว่าผู้เขียนมีความรู้เรื่องนี้อยู่ไม่มากเท่าที่ควร   พอมีคนมาหารือเราก็ต้องยกหูหานักกฎหมายอยู่เป็นเนืองนิจ.....ปรึกษาบ่อยๆ ก็เริ่มเกรงอกเกรงใจ  ก็เลยตัดสินใจไปลงเรียนกฎหมายเองเสียเลย..  อายุปาเข้าไปปูนนี้(และกำลังเงินมีจำกัด) ที่เรียนคงที่มหาวิทยาลัยเปิด ที่ราคาพอเรียนไหว  ก็คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยรามคำแหง(คณะนิติศาสตร์) เพื่อจะได้มีพื้นฐานความรู้เรื่องกฎหมาย    เพื่อจะได้ให้คำปรึกษาเบื้องต้นให้กับคนที่มาพึ่งพาได้บ้าง     การลงทะเบียนเรียนที่ม.รามฯ ก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก  ค่าหน่วยกิตก็ถือว่าถูกมากแค่หน่วยกิตละ 15  บาท รวมค่าเทอมและอื่นก็ไม่น่าจะเกิน 2 ,000 บาท (พอเรียนไหว) ผู้เขียนมีพื้นฐานการเรียนที่จบทั้งปริญญาตรีและปริญญาโทแล้ว   นั่นก็หมายความว่าวิชาพื้นฐาน  ได้เรียนมาหมดแล้ว   ซึ่งสามารถเทียบโอนวิชาเหล่านี้ได้   ทางมหาวิยาลัยคิดค่าโอนหน่วยกิตละ 100 บาท(แพงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนเกิน 5 เท่า) โดนค่าโอนไปประมาณ 3,000 กว่าบาท     ผู้เขียนติดใจเรื่องนี้มาก(ถึงแม้จะเป็นเงินไม่มาก)   ที่ติดใจเป็นเพราะ การเทียบโอนทางมหาวิทยาลัยไม่ได้เสียอะไรเลย  ทั้งค่าน้ำ ค่าไฟ  ค่าห้องเรียน และอาจารย์ผู้สอน  แต่กลับเรียกเก็บค่าเทียบโอนสูงกว่าค่าลงทะเบียนเรียนปกติ   เขาเก็บแพงกว่าเพราะอะไร?    เมื่อสงสัยก็ต้องถาม จริงไหม?.....ผู้เขียนจึงได้ถามอาจารย์หลายคนที่อยู่ในบริเวณนั้น  ซึ่งแต่ละท่านน่าจะระดับ ด็อกเตอร์แล้ว น่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน  หากท่านคิดอย่างนั้นเหมือนผู้เขียน....ขอบอกว่า....ท่านน.... “คิดผิด”  เพราะคำตอบที่ได้คือ “ไม่รู้”  ทางมหาวิทยาลัยเขาเขียนระเบียบมาอย่างนี้  ก็ต้องเก็บตามนั้น  อยากรู้ต้องไปถามอธิการบดีเอาเอง  คนอื่นเขาก็จ่ายกัน ไม่เห็นใครเขาจะถามเลย..อื้อหือ....คำตอบมีประโยชน์ต่อผู้ถามจังเล้ยยย...นอกจากไม่ได้คำตอบที่ชัดเจนแล้วยังแถมด้วย สีหน้ารำคาญนิดหน่อย  ประมาณว่าจะเรียนไหม?..อะไรทำนองนี้       และที่ติดใจมากที่สุดคือคำที่บอกว่า  “มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็เก็บอย่างนี้ทั้งนั้น”  อาจเป็นด้วยผู้เขียนเป็นคนทำงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และกำลังจะเรียนกฎหมายด้วย   เมื่อเห็นอะไรแปลกๆ อดสงสัยไม่ได้เป็นธรรมดา   เรื่องนี้คงต้องติดตามตอนต่อไปว่ามหาวิทยาลัย  ออกระเบียบเช่นนี้ผิดกฎหมายหรือไม่(ยังไม่ทันจะเรียนวิญญาณนักกฎหมายเข้าสิงเสียแล้ว)      แล้วท่านผู้อ่านล่ะ..สงสัยเรื่องนี้บ้างหรือไม่หากสงสัย  ...มาช่วยกันหาคำตอบนะจะได้เรียนรู้ร่วมกัน  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 146 จอดที่ไหน? จ่ายเยอะสุด

  หลังจากการมาของนโยบายรถคันแรก รถราบนท้องถนนก็ดูเหมือนจะเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อรถเยอะขึ้นปัญหาที่ตามมาไม่ได้มีแค่รถติด แต่ยังมีอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เป็นความทุกข์ของคนมีรถนั้นก็คือ การหาที่จอด เพราะเดี๋ยวนี้ที่จอดรถไม่ได้หาง่ายๆ แถมที่สำคัญที่จอดรถส่วนใหญ่ไม่ได้มีไว้ให้จอดฟรีๆ ต้องมีการจ่ายค่าบริการ แต่ละที่ก็คิดราคาถูกแพงไม่เท่ากัน ฉลาดซื้อ จึงอยากช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าของคนมีรถที่ต้องเดินทางไปทำธุระตามที่ต่างๆ อยู่เป็นประจำ ด้วยการสำรวจข้อมูลค่าบริการที่จอดรถของอาคารพาณิชย์ชื่อดังที่ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจสำคัญๆ  ในกทม. ว่าแต่ละที่เขาคิดค่าบริการกันยังไง ราคาเท่าไหร่ จะได้เตรียมตังค์ เตรียมใจ ก่อนจะเอารถไปจอด   จอดฟรี แต่แค่ 15 นาทีนะ แม้ว่าในการสำรวจครั้งนี้ฉลาดซื้อได้พบว่า “ของฟรียังมีในโลก” แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่น่าดีใจแต่อย่างใด เพราะแม้ที่จอดรถหลายๆ ที่จะมีเวลาให้จอดฟรี แต่ส่วนใหญ่ก็อนุโลมให้เฉพาะแค่ 10 – 15 นาทีแรกเท่านั้น เต็มที่ก็คือให้จอดฟรีได้ครึ่งชั่วโมง อาคารที่ให้จอดฟรีได้ครึ่งชั่วโมงก็มีอย่างเช่น อาคารบีบี Bangkok Business Building ถ.อโศก, อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร, อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี, อาคารเพลิตจิต ทาวเวอร์ และ อาคารเมืองไทย-ภัทร ถ.รัชดาภิเษก   ซึ่งการมีช่วงเวลาที่รถเข้าไปจอดในอาคารโดยไม่เสียค่าบริการ แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ก็ยังถือเป็นประโยชน์กับคนที่ใช้รถ โดยเฉพาะกับคนที่ไม่ได้จอดที่อาคารนั้นๆ เป็นประจำ คนที่ไม่เคยทราบราคาค่าที่จอดมาก่อน อย่างน้อยๆ ก็จะได้มีโอกาสตัดสินใจเมื่อเห็นราคา ว่าจะเลือกจอดที่นี่หรือย้ายไปจอดที่อื่น เพราะเป็นข้อกำหนดโดยกรมการค้าภายในอยู่แล้วว่า อาคารสถานที่ที่ให้บริการที่จอดรถต้องมีการแจ้งราคากับผู้ใช้บริการ โดยต้องแจงรายละเอียดการคิดราคาค่าบริการทั้งจัดทำเป็นป้ายให้อ่านชัดเจนและทำเป็นข้อมูลลงในบัตรจอดรถที่ต้องได้รับทุกครั้งเมื่อมาใช้บริการ จ่าย 100 ได้จอด 1 ชั่วโมง ใครที่ดีใจที่ได้มีรถไว้ใช้จากนโยบายรถคันแรก ก็อย่าลืมเตรียมใจว่าจากนี้ไปค่าใช้จ่ายต่างๆ กำลังเดินทางมาดูดเงินจากกระเป๋าคุณ ทั้งค่าผ่อนรถ ค่าน้ำมัน ค่าทางด่วน และที่หลายคนอาจลืมคิดไปแต่ถือเป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ไม่น้อยก็คือ รายจ่ายค่าที่จอดรถ อาจจะดูน่าตกใจแต่ว่าเป็นเรื่องจริง ที่เดี๋ยวนี้ค่าบริการที่จอดรถมีราคาสูงถึงชั่วโมงละ 100 บาท ซึ่งจากการสำรวจเราพบหลายอาคารที่คิดค่าบริการจอดรถชั่วโมงละ 100 บาท ไม่ว่าจะเป็น อาคาร Interchange ถ.อโศก-สุขุมวิท, อาคาร Exchange Tower ถ.สุขุมวิท-รัชดาภิเษก, อาคาร Q House ถ.พระราม 4 และ อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร ที่สำคัญคือเศษของชั่วโมงที่เกินมาก็ถือว่าเป็นหนึ่งชั่วโมง บัตรจอดรถเป็นของมีค่า...ต้องรักษาเท่าชีวิต ค่าจอดรถที่ว่าสูงแล้ว ยังไม่เท่าราคาบัตรจอดรถ ทั้งๆ ที่เป็นแค่กระดาษแผ่นเล็กๆ ใบหนึ่งแต่อาจมีค่าสูงถึง 500 บาท ในกรณีถ้าเราทำบัตรจอดรถที่ได้รับมาหายไป ซึ่งการที่บัตรจอดรถมีค่าสูงขนาดนี้เป็นเพราะนี่คือหลักฐานชิ้นสำคัญที่ไว้แสดงว่าได้มีการทำสัญญาร่วมกันระหว่างเจ้าของรถและอาคารที่ให้บริการที่จอดรถ เผื่อหากเกิดกรณีที่รถหายหรือทรัพย์สินที่อยู่ในรถถูกขโมย บัตรจอดรถจะช่วยยืนยันว่าเราในฐานะเจ้าของรถได้มาใช้บริการจริง นำไปใช้เป็นหลักฐานในการเรียกร้องความรับผิดชอบกับเจ้าของอาคารที่เราไปจอดรถ   ไม่ได้ประทับตรา ไม่ได้สิทธิ อาคารต่างๆ ที่ให้บริการที่จอดรถส่วนใหญ่เป็นอาคารพาณิชย์ ที่เป็นที่ตั้งของร้านค้าและสำนักงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งใครที่มาจอดรถแล้วใช้บริการหรือติดต่อธุระต่างๆ ต้องอย่าลืมใช้สิทธิประทับตราลงบนบัตรจอดรถ เพราะมันจะช่วยให้เราสามารถจ่ายค่าที่จอดรถได้ถูกลง บางที่ก็ให้สิทธิจอดฟรีได้นานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมง – 2 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นเวลาไปจอดรถไม่ว่าที่ไหนอย่าลืมมองหาจุดประทับตราเพื่อจะได้ช่วยประหยัดค่าจอดรถ สคบ. ขอความร่วมมือ ให้จอดฟรี 1 ชั่วโมง 15 นาที เรื่องของการคิดราคาค่าบริการที่จอดรถนั้น ในบ้านเราไม่ได้มีกฎหมายใดๆ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานเอาไว้ จึงทำให้แต่ละที่มีการคิดราคาแตกต่างกันไป แต่เมื่อปลายปีที่แล้วมีข่าวว่าทางสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ร่วมกับ กรมการค้าภายใน และ กระทรวงพาณิชย์ ได้มีการขอความร่วมมือไปยังห้างสรรพสินค้าและผู้ให้บริการที่จอดรถของเอกชนทั่วประเทศ ว่าต้องอนุญาตให้ผู้ใช้รถสามารถจอดรถได้ฟรีเป็นเวลา 1 ชั่วโมงกับอีก 15 นาที หลังจากนั้นจึงค่อยมีการคิดค่าบริการ แต่จากผลสำรวจจะเห็นว่าที่จอดรถทุกแห่งที่เราทำการสำรวจ ไม่ได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ สคบ.เรียกร้องเลยแม้แต่แห่งเดียว (นอกเสียจากจะเป็นการคิดค่าบริการจอดรถที่มีการประทับตรา) เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่ออกมานั้นไม่ได้เป็นข้อกฎหมายหรือข้อบังคับ แต่เป็นเพียงแต่ขอกำหนดแบบสมัครใจเท่านั้น   มาตรฐานสถานที่จอดรถ -อาคารจอดรถยนต์ต้องสร้างด้วยวัตถุทนไฟทั้งหมด -อาคารจอดรถยนต์ให้สร้างได้สูงไม่เกินสิบชั้นจากระดับพื้นดิน -อาคารจอดรถยนต์ที่สูงเกินหนึ่งชั้น ต้องมีการเปิดโล่งอย่างน้อยสองด้าน ส่วนเปิดโล่งต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของพื้นที่ผนังด้านนั้น -อาคารจอดรถยนต์ที่อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดิน ต้องจัดให้มีเครื่องระบายอากาศภายในชั้นนั้นๆ -ทุกส่วนของอาคารจอดรถยนต์ต้องให้มีแสงสว่างแลเห็นได้ชัดทั้งกลางวันและกลางคืน -ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่เพียงพอ หนึ่งเครื่องต่อจำนวนที่จอดรถยนต์ทุกๆ ห้าสิบคัน -พื้นที่สำหรับจอดรถ 1 คัน ถ้าเป็นแบบที่จอดขนานกับแนวเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร ส่วนถ้าเป็นแบบพื้นที่จอดที่ขนานกับแนวเดินรถ ต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร และยาวไม่น้อยกว่า 5 เมตร -ที่จอดรถแต่ละคัน ต้องมีเครื่องหมายแสดงลักษณะและขอบเขตของที่จอดรถไว้ให้ปรากฏบนพื้น ที่มา : ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง อาคารจอดรถยนต์ พ.ศ. 2521 และ กฎกระทรวง พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 เมื่อ “รถหาย” สถานที่ที่รับจอดรถต้องรับผิดชอบหรือไม่? ถ้าลองสังเกตในบัตรจอดรถ จะเห็นข้อความประมาณว่า “บัตรนี้ไม่ถือเป็นการรับฝากรถ อาคารไม่รับผิดชอบใดๆ กรณีเกิดการสูญหายหรือเสียของรถและทรัพย์สินใดๆ” ทำให้หลายคนมีข้อกังวลว่าถ้าหากนำรถไปจอดแล้วรถหายหรือทรัพย์สินในรถถูกขโมยจะสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากเจ้าของอาคารได้หรือไม่ ซึ่งแม้เจ้าของอาคารจะมีการระบุข้อความที่ไม่ขอแสดงความรับผิดชอบใดๆ เอาไว้ แต่ในทางกฎหมายเราสามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้ เพียงแต่ต้องมีหลักฐานที่ใช้ยืนยันว่าเราได้นำรถไปจอดที่สถานที่ดังกล่าวจริง เช่น บัตรจอดรถ หรือใบเสร็จจากการซื้อสินค้าหรือใช้บริการภายในอาคารนั้นๆ ซึ่งเราสามารถแจ้งเรื่องไปยัง สคบ. ให้ช่วยดำเนินการเรียกร้องตามกฎหมายได้   ข้อมูลสำรวจอัตราค่าบริการที่จอดรถยนต์ของอาคารพาณิชย์ชื่อดังใน กทม. 1. อาคารจัตุรัสจามจุรี สามย่าน ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 2 ชั่วโมงแรก   2. อาคารเมืองไทย-ภัทร ถ.รัชดาภิเษก 1 ชั่วโมง 10 บาท 2 ชั่วโมง 30 บาท 3 ชั่วโมง 70 บาท ชั่วโมงที่ 4 เป็นต้นไป คิดเพิ่มชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 30 นาทีแรก 3. อาคารเพลินจิต ทาวเวอร์ ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด) 4. อาคารบางกอกทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี เวลา 07.01 – 19.00 น. ชั่วโมงละ 20 บาท เวลา 19.01 – 24.00 น. ชั่วโมงละ 60 บาท เวลา 24.01 – 07.00 น. ชั่วโมงละ 120 บาท   5. อาคารอิตัลไทย ทาวเวอร์ ถ.เพชรบุรี ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ  ชั่วโมงละ 20 บาท ฟรี 2 ชั่วโมงแรก   6. อาคารยูไนเต็ด เซ็นเตอร์ ถ.สีลม ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ ชั่วโมงละ 30 บาท ฟรี 1 ชั่วโมงแรก   7. อาคารสีบุญเรือง ถ.สีลม ชั่วโมงละ 35 บาท ฟรี 10 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด)   8. อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ ถ.อโศก ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 10 นาทีแรก จอดเกิน 8 ชั่วโมง คิดชั่วโมงละ 50 บาท ถ้ามีประทับตรา จอดฟรี   9. อาคารบีบี (Bangkok Business Building) ถ.อโศก ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ลดราคา 50%   10. อาคารลุมพินี ถ.พระราม 4 ชั่วโมงละ 40 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีตราประทับ 1 ครั้ง ชั่วโมงแรกฟรี ชั่วโมงต่อไป 20 บาท ถ้ามีตราประทับ 2 ครั้ง จอดฟรี (บริษัทเจ้าของตราประทับนั้นเป็นผู้จ่าย) *หมายเหตุ ตราประทับ 2 ครั้ง ต้องมาจากบริษัทเดียวกัน 11. ที่จอดรถเท็กซัส เยาวราช ชั่วโมงแรก 40 บาท ทุกๆ ครึ่งชั่วโมง ถัดไป 20 บาท   12. อาคารกาญจนทัต ทาวเวอร์ เยาวราช ชั่วโมงละ 50 บาท ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ไม่มีการแจ้งรายละเอียด)   13. อาคาร Park Ventures ถ.วิทยุ ชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 15 นาทีแรก   14. อาคารสาทรสแควร์ ถ.สาทร ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 30 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ฟรี 1 ชั่วโมงแรก ชั่วโมงต่อไปขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ   15. อาคาร Exchange Tower ถ.สุขุวิท-รัชดาภิเษก ชั่วโมงแรก 100 บาท ทุกๆ ครึ่งชั่วโมงถัดไป 50 บาท ฟรี 15 นาทีแรก   16. อาคาร Interchange ถ.อโศก-สุขุมวิท ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 10 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ชั่วโมงละ 50 บาท ฟรี 1 – 2 ชั่วโมงแรก (ขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ)   17. อาคารQ House ถ.พระราม 4 ชั่วโมงละ 100 บาท ฟรี 15 นาทีแรก ถ้ามีประทับตรา ได้รับส่วนลด (ขึ้นอยู่กับประเภทของตราประทับ)  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 184 กระแสต่างแดน

ของฟรีราคาแพงพาราไดซ์ เจ้าของเครือร้านอาหารชื่อดังของสิงคโปร์ถูกศาลตัดสินว่ามีความผิดจริงถึง 29 ข้อหา (จากทั้งหมด 33 ข้อหา) เนื่องจากลักลอบใช้ก๊าซหุงต้มเป็นมูลค่า 640,000 เหรียญ หรือประมาณ 16.7 ล้านบาทด้วย “เทคนิคพิเศษ”องค์การตลาดพลังงานแห่งสิงคโปร์ (Energy Market Authority) ผู้กำกับดูแลอุตสาหกรรมนี้ระบุว่าทุกครั้งที่มีคนแอบขโมยใช้ก๊าซ นั่นหมายถึงภาระของผู้บริโภค ยิ่งไปกว่านั้นการไปวุ่นวายกับท่อส่งก๊าซยังอาจทำให้การจัดส่งขัดข้องหรือทำให้ก๊าซรั่วและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ว่าแล้วก็เสนอให้รัฐเรียกค่าปรับระหว่าง 10,000 - 610,000 เหรียญสิงคโปร์ต่อข้อหาจากพาราไดซ์บริษัท City Gas ผู้ประกอบการจัดส่งก๊าซเป็นผู้พบความผิดปกติเดือนมีนาคมปีที่แล้ว เพราะพบว่าร้านเทสต์ พาราไดซ์ สาขาในห้างสรรพสินค้าไอออนมียอดการใช้ก๊าซต่ำผิดปกติ เมื่อตรวจสอบจึงพบว่ามีการลักลอบใช้ก๊าซระหว่างเดือนสิงหาคม 2554 ถึงเดือนเมษายนปี 2555   เครือพาราไดซ์มีกิจการร้านอาหารจีนในย่านการค้าทั้งหมด 24 ร้าน รวมถึงสาขาในสนามบินชางงีด้วย    มาตรฐานของเหลือสถาบันทรัพยากรโลก World Resources Institute ได้จัดทำมาตรฐานในการวัดปริมาณของเสียที่ธุรกิจหรือรัฐบาลในแต่ละประเทศสามารถใช้อ้างอิงร่วมกันได้ องค์การอาหารและเกษตรโลก Food and Agriculture Organization (FAO) ประมาณการว่าก่อนที่อาหารจะเดินทางจากสถานที่ผลิตมาถึงโต๊ะอาหารที่บ้านเรานั้น มีถึง 1 ใน 3 ของอาหารดังกล่าวที่เน่าเสียหรือถูกทิ้งไป(อาจเพราะเก็บเกี่ยวไม่ถูกวิธี หรือถูกร้านค้าปลีกหรือตัวผู้บริโภคเองคัดออก) นั่นหมายถึงความสูญเสียมูลค่า 940,000 ล้านเหรียญสหรัฐต่อปี มาตรฐานที่ว่านี้เป็นชุดแรกที่ระบุความหมายของ “ของเสีย” หรือ รูปแบบ “การรายงานของเสีย” โดยภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมในการวัดและจัดการกับอาหารที่ถูกทิ้ง เพราะการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้มีอาหารเพียงพอสำหรับผู้คนที่อดอยากหิวโหยถึง 800 ล้านคน และยังสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการผลิตอาหารที่ไม่มีใครได้กินอีกด้วย ปัจจุบันร้อยละ 8 ของก๊าซที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศก็มาจากอุตสาหกรรมนี้     ต้องซักให้สะอาด    ห้างค้าปลีกวูลเวิร์ธ ของออสเตรเลียถูกคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าและคุ้มครองผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย(Australian Competition and Consumer Commission) สั่งปรับ 9 ล้านเหรียญหรือประมาณ 236 ล้านบาท โทษฐานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการฮั้วราคาผงซักฟอกรายงานข่าวระบุว่า วูลเวิร์ธได้ร่วมกับ 3 บริษัทได้แก่ คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ, พีซี คัสสันส์, และยูนิลิเวอร์ ออสเตรเลีย (3 บริษัทนี้ครองถึงร้อยละ 83 ของตลาดผงซักฟอกที่มีมูลค่าถึง 500 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 13,000 ล้านบาท) ขายผงซักฟอกในราคาแพงเกินจริงผู้ผลิตผงซักฟอกยี่ห้อดังเช่น โอโม่ เซิฟ หรือ เรดียนท์ เลิกผลิตผงซักฟอกแบบ “เข้มข้น” ในปี ค.ศ. 2009 แล้วเปลี่ยนมาผลิตเฉพาะชนิด “เข้มข้นพิเศษ” ซึ่งมีต้นทุนในการผลิต จัดเก็บ และขนส่งถูกกว่าเดิม ...ผู้บริโภคกลับยังต้องจ่ายในราคาเดิมเดือนเมษายนที่ผ่านมา คอลเกต-ปาล์มโอลีฟถูกสั่งปรับ 18 ล้านเหรียญ ในขณะที่พีซี คัสสันส์ และยูนิลิเวอร์ยังอยู่ในระหว่างการต่อสู้คดีในชั้นศาล   ชั่วโมงงานหลังจากได้ยินผลการสำรวจนี้แล้ว คนยุโรป(และชาติอื่นๆ) คงจะตาร้อนผ่าวที่ได้รู้ว่าตามกฎหมายแล้ว คนฝรั่งเศสมีชั่วโมงทำงาน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ พักกลางวันได้ 2 ชั่วโมง แถมยังลาหยุดได้ 5 สัปดาห์ต่อปีถ้าคุณทำงานราชการ ทำงานสอน เป็นบุคลากรด้านการแพทย์ หรือทำงานเพื่อสังคม คุณจะไม่ต้องทำงานถึง 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ด้วยซ้ำในบรรดาเมืองใหญ่ 71 เมืองทั่วโลก ปารีสและลียงยังเป็นสองเมืองที่ผู้คนมีชั่วโมงทำงานน้อยที่สุด ... แต่ข่าวบอกว่าการปฏิรูปแรงงานอาจทำให้ทุกอย่างเปลี่ยนไป เพราะกฎหมายอาจอนุญาตให้ผู้ประกอบการสามารถขยายชั่วโมงทำงานได้ในทางตรงข้าม เขาพบว่าบรรดาผู้ที่ทำงานอิสระมีชั่วโมงการทำงานมากกว่าผู้ที่ทำงานประจำถึงร้อยละ 42 และกลุ่มที่ทำงานพาร์ทไทม์ ก็มีชั่วโมงทำงานมากกว่าคนกลุ่มเดียวกันในประเทศอื่นๆ ในยุโรปประมาณร้อยละ 6   เที่ยวบินเพดานต่ำภายในสามเดือนนี้ กระทรวงการบินพาณิชย์ของอินเดียจะนำการกำหนดเพดานค่าโดยสารมาใช้ในเส้นทางที่ต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวตามแผนการส่งเสริมการบินในภูมิภาค สำหรับเที่ยวบินไม่เกิน 30 นาที ราคาตั๋วจะต้องไม่เกิน 1,250 รูปี (ประมาณ 650 บาท) เที่ยวบินไม่เกิน 45 นาที ราคาตั๋วต้องไม่เกิน 1,800 รูปี (ประมาณ 940 บาท) และ เที่ยวบิน 1 ชั่วโมง ราคาตั๋วต้องไม่เกิน 2,500 รูปี (ประมาณ 1,300 บาท)เนื่องจากราคานี้ต่ำกว่าต้นทุนที่แท้จริง สายการบินที่เข้าร่วมแผนดังกล่าวจะได้รับเงินชดเชยจากรัฐ ได้รับการลดหย่อนภาษีน้ำมันและภาษีสนามบิน เมื่อมีเที่ยวบินไปยังสนามบินที่ยังไม่เคยให้บริการมาก่อน (ข่าวบอกว่าเงินช่วยเหลือจากรัฐจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 20 ของต้นทุน)รัฐบาลอินเดียต้องการส่งเสริมให้ผู้คนเดินทางไปท่องเที่ยวยังเมืองเล็กๆ ด้วยการโดยสารเครื่องบินกันมากขึ้น แต่หลายฝ่ายตั้งข้อสงสัยว่าจะทำได้จริงหรือ ... แล้วมันจะทำให้เที่ยวบินหลักๆ ไปเมืองใหญ่ราคาแพงขึ้นหรือไม่ ... เราต้องรอดูกันต่อไป    

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 กระแสต่างแดน

เราไม่เอารถประจำทาง เราที่ว่านี้ไม่ใช่ใคร เป็นผู้ประกอบการรถตู้โดยสารไม่ประจำทางแบบดั้งเดิมของเมืองโจฮันเนสเบิร์กที่ออกมาชุมนุมต่อต้านการเปิดให้บริการรถโดยสารประจำทางที่รัฐบาลจะจัดให้มีขึ้นก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลกในเดือนมิถุนายนปีนี้คนกลุ่มนี้บอกว่าถ้ามีรถประจำทางขึ้นมาเมื่อไร พวกเขาก็มีแต่เจ๊ง แต่ผู้บริโภคนั้นแสนจะยินดีที่จะได้นั่งรถประจำทางที่เชื่อถือได้ ตรงเวลาและปลอดภัย เพราะทนไม่ไหวแล้วกับบริการรถตู้ที่พวกเขาต้องเสี่ยงกับคนขับที่อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ ขับรถก็หวาดเสียวแถมยังหยาบคายอีกต่างหากเพื่อเป็นการรองรับบรรดาแฟนๆ ที่จะมาเชียร์ทีมของตัวเองในการแข่งขันฟุตบอลโลกครั้งที่ 19 ที่สาธารณรัฐอัฟริกาใต้เป็นเจ้าภาพ รัฐบาลจึงจัดระบบการขนส่งใหม่ที่จะให้บรรดารถตู้และรถบัสที่ต่างคนต่างวิ่งกันอยู่ในขณะนี้มารวมตัวกันตั้งบริษัท โดยเจ้าของรถแต่ละคนก็จะเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทด้วย ค่าตอบแทนก็จะขึ้นอยู่กับระยะทางสะสมที่ทำได้ (ไม่ใช่จำนวนผู้โดยสาร) และชั่วโมงทำงานจะลดลงจากวันละ 12 – 16 ชั่วโมงเหลือเพียงวันละ 8 ชั่วโมงเท่านั้นแม้บริการที่เคยทำมาจะไม่เป็นที่ประทับใจเห็นๆ แต่ธุรกิจรถตู้โดยสารไม่ประจำทางนี้เป็นหนึ่งในไม่กี่ธุรกิจที่อนุญาตให้คนผิวสีสามารถทำได้ ดังนั้นคนเหล่านี้จึงอ่อนไหวกับเรื่องนี้มากและมองว่ารัฐบาลกำลังแย่งสิ่งที่เป็นของพวกเขาไป แม้รัฐบาลจะประกาศยกเลิกนโยบายแบ่งแยกสีผิวไปได้ 15 ปีแล้ว แต่ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกลุ่มรถตู้โดยสารนั้นยังไม่ดีขึ้นเลย  ปัจจุบันร้อยละ 40 ของรถรับจ้างที่วิ่งอยู่ในเมืองโจฮันเนสเบิร์กนั้นเป็นรถเถื่อนด้วย ------------------------------------------------------------------------------------ ผู้ดีซื้อเพลงแพงคนอังกฤษที่ซื้อเพลงผ่านร้านเพลงออนไลน์นั้น อาจพลาดโอกาสในการประหยัดเงินไปถึงปีละ 1,200 ปอนด์ (ประมาณ 64,000 บาท) เลยทีเดียว ไม่ใช่เพราะเพลงออนไลน์ขายแพงกว่าเพลงในแผ่นซีดีตามร้าน แต่เพราะตลาดเพลงออนไลน์ซึ่งมีมูลค่าถึง 120 ล้านปอนด์นั้น ไม่มีการควบคุมราคาที่ชัดเจน จึงทำให้แต่ละร้าน (ซึ่งในที่นี้ก็คือเว็บไซต์) ตั้งราคาขายแตกต่างกันไปเว็บไซต์ www.tunechecker.com ซึ่งเป็นเว็บที่รวมร้านขายเพลงออนไลน์ และเป็นเว็บที่ทำการสำรวจดังกล่าว ยกตัวอย่างกรณีอัลบั้มของไมเคิล บลูเบล ซึ่งขายในราคา 8 ปอนด์ (ประมาณ 425 บาท) ที่เว็บ iTunes แต่สามารถซื้อได้ในราคา 5 ปอนด์ (ประมาณ 265 บาท) ในเว็บอเมซอน อีกตัวอย่างคือถ้าซื้ออัลบัมเพลงฮิต 40 อัลบั้มต่อปี จากร้าน Play เพียงร้านเดียว ผู้ซื้อจะต้องใช้เงินทั้งหมด 3,235 ปอนด์ (170,000 บาท) แต่ถ้าลองใช้เวลาค้นหาราคาที่ถูกที่สุดของแต่ละอัลบั้มนั้น จะใช้เงินเพียงแค่ 1,980 ปอนด์ (105,600 บาท) นอกจากนี้ยังพบว่ามีคนอังกฤษจำนวนไม่น้อยที่เข้าใจว่าต้องซื้อเพลงจากเว็บใดเว็บหนึ่งเท่านั้นจึงจะสามารถนำมาเล่นกับอุปกรณ์เครื่องเสียงของที่ตนมีได้  ทั้งๆ ที่ความจริงแล้วพวกเขาสามารถซื้อเพลงจากร้านออนไลน์ร้านใดก็ได้ผลสำรวจย้ำว่าเพลงยิ่งดังก็ยิ่งมีร้านเสนอขายในราคาที่แตกต่างกันหลายระดับ ถ้าผู้บริโภครักอยู่ร้านเดียวไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ก็ยิ่งมีโอกาสเสียเงินโดยไม่จำเป็นมากขึ้น ------------------------------------------------------------------------------------- สูตรใครก็ได้ แต่ต้องไม่อ้วน ข่าวเรื่องบริษัทยักษ์ใหญ่จากอเมริกาผู้ผลิตขนมหวานรสช็อคโกแลตจะเข้าครอบครองกิจการของบริษัทประเภทเดียวกันที่อังกฤษ ทำให้มีคนออกมาแสดงความวิตกว่ารสชาติแบบดั้งเดิมของช็อคโกแลตอังกฤษนั้นอาจจะต้องจบสิ้นลงเขาว่ากันว่าคนสองประเทศนี้กินช็อคโกแลตกันคนละรส สูตรของทางเมืองผู้ดีนั้นเขากำหนดให้มีปริมาณโกโก้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และใช้เมล็ดโกโก้จากฝั่งตะวันตกของอัฟริกา ส่วนในอเมริกานั้นแม้จะมีส่วนผสมของโกโก้เพียงร้อยละ 10 ก็สามารถเรียกว่าช็อคโกแลตได้แล้ว และวัตถุดิบที่ใช้คือเมล็กโกโก้จากอเมริกาใต้ (แต่คนในภาคพื้นยุโรปฟังแล้วคงเชิดใส่ เพราะเขาชอบช็อคโกแลตเข้มๆ จึงต้องมีโกโก้ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 40 ของส่วนผสม)แต่ไม่ว่าจะผลิตจากสูตรไหน เจ้าช็อคโกแลตเหล่านี้หรือเรียกให้ถูกว่าขนมหวานรสช็อคโกแลต ถูกจับตามานานแล้วว่าเป็นตัวการหนึ่งทำให้เด็กและผู้ใหญ่ยุคนี้มีน้ำหนักเกินสำนักงานมาตรฐานอาหารของอเมริกาจึงกำหนดให้ภายในปีค.ศ. 2012 ขนมที่มีช็อคโกแลตเป็นส่วนประกอบจะต้องลดขนาดลงมาให้เหลือเพียงชิ้นละไม่เกิน 50 กรัม ถ้าเป็นช็อคโกแลตแท่งก็ต้องมีขนาดไม่เกิน 40 กรัมด้วย โลกจะแตกในปี 2012 อย่างในหนังเขาว่าหรือไม่เรายังไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ เราจะได้เห็นขนมหวานที่ขนาดเล็กลงแน่นอน -----------------------------------------------------------------   จากเครดิต สู้เดบิตปัจจุบันคนอเมริกันเป็นหนี้บัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า เก้าแสนเจ็ดหมื่นล้านเหรียญ (จากตัวเลขเมื่อปลายปี พ.ศ. 2551) และแต่ละครัวเรือนที่มีบัตรเครดิตประมาณ 10,679 เหรียญ (ประมาณ 350,000 บาท)ร้อยละ 78 ของครัวเรือนอเมริกัน หรือประมาณ 91 ล้านครัวเรือน มีบัตรเครดิตมากกว่าหนึ่งใบ โจราธาน เลวาฟ อาจารย์ด้านการตลาดแห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย บอกว่าประเทศอเมริกานั้นเป็นสังคมที่เน้นการบริโภคอย่างยิ่ง เรียกว่าเป็นบริโภคนิยมที่ฉีดสเตียรอยด์เข้าไปด้วยเลยทีเดียว แต่ขณะนี้คนอเมริกันหันมาใช้บัตรเดบิตกันมากขึ้น ปี 2007 มีคนใช้บัตรเดบิตประมาณร้อยละ 65 อีกหนึ่งปีถัดมาสถิติการใช้เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 72 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำทำให้คนต้องการออมมากขึ้น และบัตรเดบิตก็ดูเหมือนจะเป็นการจัดการงบประมาณของตนเองได้ดีกว่า และไม่เป็นการนำเอาเงินในอนาคตมาใช้พูดถึงเรื่องบัตรเครดิตก็ต้องยกตัวอย่างพฤติกรรมของบริษัทบัตรเครดิตที่ไม่น่ารัก ที่สหภาพผู้บริโภคหรือ Consumers Union ของอเมริกา เขาประณามไว้เสียหน่อย ขณะนี้บริษัทบัตรเครดิตทั้งหลายกำลังรีบขึ้นอัตราดอกเบี้ยกันยกใหญ่ พูดง่ายๆ คือรีบเก็บซะก่อนที่กฎหมายว่าด้วยบัตรเครดิตของอเมริกาจะมีผลบังคับใช้ในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า บางบริษัทก็ใช้วิธีหลอกล่อให้ลูกค้าต้องยอมรับอัตราดอกเบี้ยใหม่ไปโดยไม่รู้ตัว และหลายบริษัทเพิ่มอัตราขั้นต่ำในการชำระหนี้ขึ้นกว่าร้อยละ 250 นอกจากนี้ยังมีการใช้มุข “คืนดอกเบี้ย” เช่นบางแห่งคิดดอกเบี้ยถึงร้อยละ 29.9 แต่อ้างว่าจะลดดอกเบี้ยให้ร้อยละ 10 ถ้าลูกค้าจ่ายตรงเวลา ซึ่งความจริงนี่ก็คือการแอบขึ้นดอกเบี้ยนั่นเอง หลายๆ แห่งที่อ้างว่าใช้อัตราดอกเบี้ยแบบผันแปร ก็ไม่ได้ใช้ในแบบที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด เพราะพวกเล่นกำหนดอัตราขั้นต่ำเอาไว้ด้วย คือสูงเท่าไรก็จะขอเก็บเท่านั้นแต่ถ้าต่ำมากเกินไปกลับไม่ยินยอม (แล้วนี่มันเป็นอัตราผันแปรตรงไหนเนี่ย) น่าจะบอกกันตรงๆ ว่าผันแปรแต่ขาขึ้นเท่านั้นก็หมดเรื่อง --------------------------------------------------------------------------------- อเมริกันชนยังต้องใช้ยาแพงต่อไปอเมริกากำลังจะออก พรบ. ปฏิรูประบบสุขภาพ ฉบับใหม่เร็วๆ นี้ ซึ่งต้องใช้งบประมาณกว่า 800,000 ล้านเหรียญ(26 ล้านล้านบาท) มาดูกันให้ชัดๆ ว่าอเมริกา “เปลี่ยน” ไปอย่างที่ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ลั่นวาจาไว้หรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คนอเมริกันจะยังคงใช้ยาแพงเหมือนเดิม เพราะวุฒิสภาไม่รับข้อเสนอเรื่องการนำเข้ายาราคาถูกจากเพื่อนบ้านอย่างแคนาดา ยิ่งไปกว่านั้นอเมริกันชนยังต้องรอถึง 12 ปี กว่าจะซื้อยาสามัญประเภทชีววัตถุ (เช่น ยาที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง) ในราคาที่ถูกลงได้ เพราะร่างพรบ.ฉบับนี้ให้สิทธิกับบริษัทผู้ผลิตยาชื่อการค้าประเภทชีววัตถุ ผูกขาดการขายยาดังกล่าวได้ถึง 12 ปี แถมต่อไปนี้ อย.ของสหรัฐจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการตรวจรับรองยาประเภทชีววัตถุจากผู้ผลิตยาชื่อสามัญอีกด้วย แต่เชื่อหรือไม่ว่าร่างฉบับนี้ยกเลิกภาษีร้อยละ 5 ที่เคยเก็บจากบริการเสริมความงามอย่างการฉีดโบท็อกซ์ลบริ้วรอย ผ่าตัดเสริมหน้าอก หรือลดไขมันหน้าท้อง ข่าวบอกว่าผู้ผลิตโบท็อกซ์รายใหญ่อย่าง Allergen Inc และแพทย์ศัลยกรรมได้ร่วมกันล็อบบี้ไม่ให้มีการเก็บภาษีจากบริการดังกล่าวโดยอ้างว่าจะมีผลกระทบต่อผู้หญิงวัยทำงานจำนวนมาก ข่าวบอกว่าเหตุที่รัฐบาลนี้ดูจะเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจยาและสุขภาพเป็นพิเศษนั้น น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการที่นายโอบามาเคยรับเงินบริจาคถึง 20 ล้านเหรียญจากบริษัทเหล่านี้ ในการรณรงค์หาเสียงในเมื่อสองปีก่อน “เปลี่ยน” ที่ว่านี่สงสัยจะหมายถึงโอกาสเข้าถึงยารักษาโรคที่น้อยลง ในขณะที่โอกาสในการเข้าถึงบริการศัลยกรรมความงามเปลี่ยนโฉมเพิ่มขึ้นนี่เอง  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 123 ซอฟท์แวร์ / สื่อบันเทิง: ถูกก็ได้ ทำไมต้องแพง

  สองทศวรรษที่ผ่านมา การรับรู้ของเราในเรื่อง “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่เกิดขึ้นกับสื่อบันเทิงและซอฟท์แวร์นั้น มักผ่านมุมมองและการให้ข้อมูลของอุตสาหกรรมบันเทิงที่ทุ่มทุนมหาศาลเพื่อทำงานวิจัยหรือการสำรวจในเรื่องดังกล่าว หลายคนจึงอาจสงสัยว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นเครื่องมือของธุรกิจในการสร้างความเข้าใจของสังคมให้เป็นไปในแบบที่ธุรกิจเหล่านี้ต้องการ ซึ่งเป็นการคิดคำนวณเฉพาะเรื่องความเสียหายของผู้เป็นเจ้าของสิทธิ์ แต่ไม่เคยมีการประเมินบทบาทหรือผลกระทบของ “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่มีต่อสังคมโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่กำลังพัฒนา ฉลาดซื้อ เล่มนี้จึงขอนำเสนองานวิจัยของสภาวิจัยสังคมศาสตร์ (Social Science Research Council) เรื่อง Media Piracy in Emerging Economies ซึ่งเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่ทำการศึกษาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เพลง ภาพยนตร์ และซอฟท์แวร์ ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่อย่าง บราซิล รัสเซีย อินเดีย อัฟริกาใต้ เม็กซิโก และโบลิเวีย ทีมนักวิจัย 35 คน ใช้เวลากว่า 3 ปี ในการเก็บข้อมูลเรื่องการเติบโตของการละเมิดลิขสิทธิ์ในยุคที่ ใครๆ ก็มีเทคโนโลยีดิจิตัลราคาถูกไว้ใช้ รวมถึงการเคลื่อนไหวของอุตสาหกรรมบันเทิง/ซอฟท์แวร์ เพื่อให้รัฐบาลในแต่ละประเทศปรับแก้กฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายที่ว่าด้วยการละเมิดลิขสิทธิ์ให้มีความเข้มข้นขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์ มีบทบาทอย่างไรในตลาดแต่ละประเทศหรือตลาดโลก มันตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างไร มีการละเมิดมากน้อยแค่ไหน การบังคับใช้กฎหมายได้ผลหรือไม่ การให้การศึกษาช่วยได้หรือไม่ มาเฟียมีบทบาทในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน --------------------------------------------------------------------------------------------------------------งานวิจัยนี้พบว่าความพยายามในการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ในกลุ่มประเทศดังกล่าวนั้นไม่ประสบความสำเร็จ และเสนอว่าปัญหาลิขสิทธิ์นั้นควรถูกมองว่าเป็นความล้มเหลวในการเข้าถึงสื่อบันเทิงที่ถูกกฎหมาย และปัญหาที่เกิดขึ้นก็ควรเรียกว่าปัญหาของการตั้งราคา แทนที่จะมองว่าเป็น ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์   --------------------------------------------------------------------------------------------------------------  HILIGHT จากงานวิจัย• ราคาที่สูงเกินสอยสินค้าประเภทสื่อบันเทิงนั้นถูกตั้งราคาไว้สูง ในขณะที่ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านี้ยังมีรายได้น้อย และเทคโนโลยีดิจิตัลก็มีราคาถูก เมื่อพิจารณารายได้ของคนในบราซิล รัสเซีย หรืออัฟริกาใต้แล้ว จะพบว่าราคาขายปลีกของซีดี ดีวีดี หรือโปรแกรมไมโครซอฟต์ออฟฟิศ แพงกว่าในยุโรปหรืออเมริกา 5 ถึง 10 เท่า   • จะให้ดีต้องมีการแข่งขัน ตัวแปรที่จะทำให้สินค้าลิขสิทธิ์มีราคาที่ถูกลงได้แก่ การแข่งขันกันเองระหว่างผู้ประกอบการในประเทศเพื่อแย่งส่วนแบ่งตลาด เพราะโดยส่วนมากแล้ว ทั้งในธุรกิจภาพยนตร์ เพลง และโปรแกรมซอฟท์แวร์ ในประเทศกำลังพัฒนา มักถูกครองตลาดโดยบริษัทข้ามชาติ   • การศึกษาช่วยอะไรไม่ได้ แม้อุตสาหกรรมบันเทิงจะพยายามบอกกับผู้บริโภคว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์” นั้นเป็นสิ่งที่ไม่พึงกระทำด้วยสาเหตุนานาประการ แต่งานวิจัยชิ้นนี้พบว่าประชากรของกลุ่มประเทศที่เข้าไปทำการสำรวจนั้นไม่ได้มีความรู้สึกรังเกียจพฤติกรรมการละเมิดแต่อย่างใด และที่สำคัญการละเมิดลิขสิทธิ์ยังเป็นสิ่งที่ทำกันเป็นปกติทั่วไปและมีแนวโน้มจะมากขึ้นด้วย   • เปลี่ยนพฤติกรรมไม่ง่ายเหมือนเปลี่ยนกฎหมาย ภาคธุรกิจประสบความสำเร็จในงานล็อบบี้เพื่อทำให้การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย แต่กลับล้มเหลวอย่างสิ้นเชิงในการทำให้รัฐบาลประเทศต่างๆลงมือใช้กฎหมายเหล่านั้นจริงๆ งานวิจัยพบว่าไม่มีวิธีการที่จะปรับให้เกิดสมดุลระหว่างการบังคับใช้กฎหมายและหลักความชอบธรรม • มาเฟียไม่มี แต่ “มาฟรี” นี่สิมาแรงไม่พบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างการละเมิดลิขสิทธิ์กับมาเฟียหรือผู้ก่อการร้ายในประเทศที่เข้าไปทำวิจัย และทุกวันนี้บรรดาพวกที่แอบทำสำเนางานเหล่านี้เพื่อขาย และพวกที่แอบลักลอบนำสินค้าไปขายในประเทศอื่นก็เจอโจทย์เดียวกันกับบรรดาค่ายหนังหรือเพลง นั่นคือปัญหา “ของฟรี” ที่บรรดาคอหนัง คอเพลง เขาแบ่งปันกันผ่านอินเตอร์เน็ตนั่นเอง   • การปราบปรามไม่ได้ผล หลังจากมีการปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างเข้มข้นมากว่าทศวรรษ ทีมวิจัยก็ยังไม่พบว่ามันทำ การค้าเทปผี ซีดีเถื่อนพวกนี้ลดน้อยลงเลย   นโยบาย Global Pricingระบบราคาเดียว เสียวทั่วโลกงานวิจัยฉบับนี้เสนอว่าระบบการตั้งราคาแบบที่เรียกว่า Global Pricing ที่ยึดการตั้งราคาตามบริษัทแม่ (ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐอเมริกา หรือสหภาพยุโรป) เป็นหลัก โดยไม่ได้คำนึงถึงค่าครองชีพของผู้บริโภคในประเทศกำลังพัฒนา น่าจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคใน รัสเซีย บราซิล อัฟริกาใต้ อินเดีย หรือเม็กซิโก (หรืออาจจะประเทศไทยด้วย) พากันหันไปหาทางเลือก “แผ่นผี”  งานวิจัยระบุว่า อุตสาหกรรมบันเทิงเองก็คาดการณ์ไว้ว่าจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ถึงร้อยละ 90 ของตลาดในอินเดีย ในขณะที่จะมีการละเมิดลิขสิทธิ์เพลงประมาณร้อยละ 82 ของตลาดในเม็กซิโก และจะมีการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟท์แวร์ประมาณร้อยละ 68 ในตลาดรัสเซีย  เรามาดูตัวอย่างการเปรียบเทียบราคาดีวีดีภาพยนตร์ เรื่อง The Dark Knight   ราคาขายในแต่ละประเทศ (บาท) ราคาที่คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน ราคา “แผ่นผี” ราคา “แผ่นผี”คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน อเมริกา 720 - - - รัสเซีย 450 2,250 150 750 บราซิล 450 2,565 105 600 อัฟริกาใต้ 420 3,360 84 672 อินเดีย 427.75 19,230 36 1,620 เม็กซิโก 810 4,620 22.5 127.50   ราคาซีดีเพลง อัลบัม Viva La Vida ของวง Coldplay   ราคาขายในแต่ละประเทศ (บาท) ราคาที่คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน ราคา “แผ่นผี” ราคา “แผ่นผี”คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน อเมริกา 510 - - - รัสเซีย 330 1,650 150 750 บราซิล 420 2,400 75 420 อัฟริกาใต้ 615 4,920 81 660 อินเดีย 255 11,550 36 1,620 เม็กซิโก 420 2,415 30 172.50   ราคาโปรแกรม Microsoft Office 2007 Home and Student Edition   ราคาขายในแต่ละประเทศ (บาท) ราคาที่คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน ราคา “แผ่นผี” ราคา “แผ่นผี”คำนวณตามกำลังซื้อของคนอเมริกัน อเมริกา 4,470 - - - รัสเซีย 4,470 22,350 - - บราซิล 3,270 18,630 - - อัฟริกาใต้ 3,420 27,360 - - อินเดีย 3,000 135,000 60 2,700 เม็กซิโก 4,650 26,490 30 120   *ราคา คิดเป็นเงินบาทด้วยอัตรา 30 บาทต่อ 1 เหรียญสหรัฐ   เหตุที่ของแท้ ราคาไม่ถูก งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่าการตั้งราคาของบริษัทข้ามชาติ นั้นมีจุดประสงค์หลักสองประการคือ• เพื่อปกป้องโครงสร้างราคาในประเทศที่ประชากรมีรายได้สูง ซึ่งเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัท• เพื่อรักษาตำแหน่งผู้ครองตลาดในประเทศกำลังพัฒนาไว้ ในขณะที่รายได้ของประชากรกำลังเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ   ทั้งสองอย่างเป็นกลวิธีการสร้างกำไรสูงสุดสำหรับตลาดทั้งโลก ไม่ใช่ตลาดของแต่ละประเทศ ซึ่งสิ่งนี้เองที่เป็นอุปสรรคขัดขวางทำให้ไม่เกิดการแข่งขันทางราคาอย่างแท้จริงในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางและรายได้ต่ำ แต่ข้อบกพร่องของแนวคิดนี้คือ ปัจจุบันเทคโนโลยีนั้นมีราคาถูกลงอย่างรวดเร็ว เร็วกว่าการเพิ่มขึ้นของรายได้หลายเท่า จึงทำให้เกิดการบริโภคสื่อดิจิตัลในรูปแบบใหม่ๆ ที่บริษัทยักษ์ใหญ่บันเทิงเหล่านี้ ยังไม่ได้ให้ความสนใจเท่าที่ควร ซึ่งเรารู้ๆ กันอยู่ว่าเทคโนโลยีนี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดการ “ละเมิดลิขสิทธิ์” งานวิจัยชิ้นนี้ฟันธงว่า ถ้าอุตสาหกรรมบันเทิงไม่ยอมลงมาแข่งขันกันในตลาดล่าง ก็ต้องยอมรับความแตกต่างระหว่างสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ราคาถูกกับฉบับถูกลิขสิทธิ์ที่ราคาแพงต่อไป --------------------------------------------------------------------------------------------------------3 ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ >> ราคาของสินค้าบันเทิงที่สูงเกินไป >> รายได้ของประชากรส่วนใหญ่ยังต่ำอยู่>> ความแพร่หลายของเทคโนโลยีราคาถูก-------------------------------------------------------------------------------------------------------- อย่างไรจึงจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เชื่อหรือไม่ว่า “การละเมิดลิขสิทธิ์” ที่เราได้ยินกันบ่อยๆ นั้น ยังไม่เคยมีใครให้ความหมายหรือขอบเขตที่ชัดเจน งานวิจัยนี้ระบุว่า ความไม่ชัดเจนที่ว่าเกิดขึ้นโดยจงใจ เพราะไม่ต้องการให้เกิดการแยกแยะระหว่างการทำสำเนาด้วยเจตนาต่างๆ กัน ตั้งแต่การกระทำที่ชัดเจนว่าผิดกฎหมาย เช่น การทำสำเนาเพื่อขาย การทำสำเนาภายในขอบเขตของข้อยกเว้นตามกฎหมาย ไปจนถึงการทำสำเนาเพื่อใช้ส่วนตัวซึ่งเมื่อก่อนนี้ถือว่าทำได้ไม่ต้องวิตกว่าจะถูกดำเนินคดี แต่ที่แน่ๆ แม้การการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายต้องสูญเสียรายได้บางส่วนไป แต่ในขณะเดียวกัน มันเป็นช่องทางในการเข้าถึงสินค้าบันเทิงรวมถึงซอฟต์แวร์ของผู้คนในประเทศกำลังพัฒนาด้วย --------------------------------------------------------------------------------------------------------ความเสียหายอันประเมินค่าไม่ได้สมาพันธ์ซอฟท์แวร์ทางธุรกิจ ได้ประเมินมูลค่าความเสียหายอันเกิดจากการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ที่จำนวนมหาศาลถึง 51,000 ล้านเหรียญ (ประมาณ 1.5 แสนล้านบาท) ในปี พ.ศ. 2552 และยังระบุว่าการละเมิดลิขสิทธิ์ทำให้ผู้คนกว่า 750,000 คนต้องตกงาน และทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจถึงปีละ 2 แสนล้านเหรียญ (กว่า 6 ล้านล้านบาท)  ข้อมูลนี้ฟังดูน่าตกใจและได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนอย่างท่วมท้น แต่เอาเข้าจริงไม่มีใครทราบว่าตัวเลขเหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร  บางครั้งก็มีการใช้ข้อมูลยอดขายของสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาแสดงถึงความเสียหายของธุรกิจของตนเอง เช่น สมาคมซอฟท์แวร์เพื่อความบันเทิงของสหรัฐฯ ระบุว่าในปี พ.ศ. 2550 นั้นธุรกิจของตนได้รับความเสียหายเป็นมูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 90,000 ล้านบาท) ซึ่งงานวิจัยเล่มนี้พบว่าเป็นการใช้ตัวเลขจากยอดขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์นั่นเอง  ทั้งนี้ยังเป็นที่ถกเถียงกันว่าการที่เราซื้อดีวีดีภาพยนตร์ละเมิดลิขสิทธิ์มาหนึ่งแผ่น มันหมายถึงการที่ผู้ประกอบการ (ในที่นี้คือเจ้าของลิขสิทธิ์) ขาดโอกาสในการขายดีวีดีลิขสิทธิ์ของตนเองเสมอไปหรือไม่ พูดง่ายๆ มันก็มีความเป็นไปได้ไม่ใช่หรือ ที่แม้ว่าจะไม่มีแผ่นผีให้ซื้อ เราก็จะไม่ซื้อดีวีดีลิขสิทธิ์ที่มีราคาแพงอยู่ดี --------------------------------------------------------------------------------------------------------   ของแท้ ราคาถูก เป็นไปได้ เรามักได้ข้อมูลจากภาคธุรกิจว่า การมีกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มงวดมากขึ้นจะนำไปสู่การเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมบันเทิงหรือซอฟท์แวร์ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เพิ่มอัตราการจ้างงาน ส่งเสริมการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งจะทำให้ผู้คนในประเทศกำลังพัฒนามีโอกาสในการเข้าถึงสินค้าที่มีลิขสิทธิ์ได้มากขึ้นไปเองโดยปริยาย   นี่คือเหตุผลที่ทำให้เรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาเป็นหัวข้อในการเจรจาการค้าระหว่างประเทศตั้งแต่ช่วงปี 1980 เป็นต้นมา   แต่อุตสาหกรรมบันเทิงไม่เคยพูดถึงเรื่องของการแก้ปัญหาเหล่านี้ด้วยระบบการตั้งราคา   งานวิจัยชิ้นนี้เสนอว่าโลว์คอสต์โมเดล น่าจะเป็นไปได้ถ้ามีบริษัทที่แข่งขันกันด้านราคาและบริการในตลาดท้องถิ่น ซึ่งการแข่งขันลักษณะนี้มีอยู่แพร่หลายทั้งในอเมริกาและยุโรป ซึ่งมีการจำหน่ายสื่อบันเทิงราคาถูกผ่านช่องทางดิจิตัล   ในอินเดียก็ค่อนข้างประสบความสำเร็จ เพราะที่นั่นบริษัทภาพยนตร์และค่ายเพลงท้องถิ่นครองตลาด และเป็นผู้ตั้งราคาที่ดึงดูดใจผู้คนทุกระดับรายได้ เรียกว่าราคาของแท้ที่นั่นสามารถแข่งกับฉบับละเมิดลิขสิทธิ์ได้เลย   บางแห่งก็ใช้วิธีสนับสนุนการมีซอฟท์แวร์แบบโอเพ่นซอร์ส ซึ่งช่วยจำกัดอำนาจและการตั้งราคาของซอฟท์แวร์ที่จัดจำหน่ายโดยบริษัทได้   งานวิจัยนี้ย้ำว่าผู้ประกอบการในท้องถิ่นนี้เองที่เป็นตัวแปรสำคัญ เพราะบริษัทเหล่านี้จะยอมลดราคาลงเพื่อจับลูกค้าในตลาดล่างให้มากขึ้น เมื่อมีบริษัทพวกนี้มาลงแข่งเพื่อแย่งชิงตลาดผู้บริโภคในท้องถิ่น การแข่งขันจึงสูงตามไปด้วย   ติดตามตอนต่อไป   “การละเมิดลิขสิทธิ์” นั้นนับวันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ด้วยปัจจัยภายนอกที่กล่าวมาแล้วข้างต้น – ราคาที่แพงเกินรายได้ เทคโนโลยีราคาถูกที่มีแพร่หลาย และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  แต่ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการถกเถียงกันให้ตกว่าทางออกของเรื่องนี้อยู่ที่ไหน การบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้นทั้งในรูปแบบของการปราบปรามทางอินเตอร์เน็ตหรือการตรวจจับอย่างเข้มงวดโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนำไปสู่ผลเช่นใด และยังไม่เห็นความพยายามจากภาคอุตสาหกรรมในการตั้งเป้าว่า อย่างไรจึงจะถือเป็นความสำเร็จ ต้องใช้อำนาจแค่ไหน หรือจะต้องลงทุนต่อสังคมมากน้อยเพียงใด   แม้แต่ความพยายามในการให้การศึกษากับเด็กรุ่นใหม่ในเรื่องวัฒนธรรมของลิขสิทธิ์ทางปัญญา  ก็ยังไม่มีหลักฐานใดจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริโภค ที่บ่งชี้ว่าจะเด็กรุ่นใหม่จะปฏิเสธการทำสำเนาเพื่อใช้ส่วนตัว หรือจะไม่ซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point