ฉบับที่ 271 ความเคลื่อนไหวเดือนกันยายน 2566

เตือน! “อย่าซื้อขนมโรลออน” ที่ลักลอบนำเข้าไทย        3 กันยายน 2566 ภก.เลิศชาย เลิศวุฒิ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้เปิดเผยว่า พบขนมบรรจุขวดที่มีหัวเป็นลูกกลิ้ง ที่เรียกโดยทั่วไปว่า “โรลออน” วางจำหน่ายใกล้โรงเรียน และช่องทางออนไลน์ ซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวนั้น เป็นผลิตภัณฑ์ที่ลักลอบนำเข้าไม่ได้รับอนุญาต สังเกต คือ ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีเลข อย. รวมถึงไม่ทราบส่วนประกอบหรือส่วนผสม และไม่มีผู้นำเข้า         ทางอย.จึงขอเตือนว่าไม่ควรซื้อมาบริโภค ซึ่งอาจทำให้มีความเสี่ยงได้รับอันตราย หรือใช้วัตถุกันเสีย สี วัตถุแต่งกลิ่นที่ไม่ได้รับอนุญาต พร้อมทั้งอาจมีสารปนเปื้อนจากการผลิตจากภาชนะบรรจุที่ไม่ได้มาตรฐาน อย่างไรก็ตาม ขนมที่ได้รับอนุญาตต้องมีฉลากภาษาไทยระบุข้อมูลให้ครบถ้วน  สำหรับ ผู้นำเข้าและจำหน่าย ขนมที่ไม่ขออนุญาตนำเข้ามีโทษปรับไม่เกิน 30,000 บาท  BTS ชี้แจงกรณีประตูรถไฟฟ้าขัดข้องไม่ยอมปิดขณะเดินทาง         จากกรณีที่มีดราม่าระบบรถไฟฟ้า BTS ขัดข้อง โดยได้มีผู้ใช้ติ๊กต๊อกบัญชี @star111042 ได้โพสต์คลิปประตูรถไฟฟ้า BTS เปิดขณะวิ่งอยู่ พร้อมแคปชันระบุว่า "เมื่อคนซวยๆ อย่างฉันมาขึ้นรถไฟฟ้า รถไฟฟ้าเลยซวยไปด้วย” ซึ่งเป็นคลิปวิดีโอที่มีประตูรถไฟฟ้าเปิดค้างไว้ ขณะเดินทางระหว่างสถานีบางจาก-สถานีปุณญวิถี หลังเกิดเหตุ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) จึงได้ออกมาชี้แจงกรณีประตูรถไฟฟ้าบีทีเอสขัดข้อง ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากระบบความปลอดภัยมีสัญญาณแจ้งเตือนประตูรถไฟฟ้าขัดข้อง เจ้าหน้าที่ควบคุมรถไฟฟ้า (TC) จึงรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องศูนย์ควบคุม (CCR) และประสานเจ้าหน้าที่ไปยืนดูแลบริเวณประตูที่ขัดข้อง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้โดยสารเข้าใกล้ประตู พร้อมทั้ง ได้ดำเนินการแก้ไขประตูดังกล่าวที่สถานีถัดไป        อย่างไรก็ตาม ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการตรวจสอบขบวนรถไฟฟ้าดังกล่าว และประตูที่ขัดข้องอย่างละเอียด เพื่อหามาตรการป้องกันเพิ่มเติม ไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวซ้ำขึ้นอีก อย่าซื้อ นมแม่แช่แข็งให้ลูกกิน         20 กันยายน 2566 เพจเฟซบุ๊ก Drama-addict ได้โพสต์เตือนกลุ่มเลี้ยงลูกกลุ่มหนึ่ง ที่มีการโพสต์ ซื้อ-ขาย นมแม่แช่แข็ง โดยมีการระบุข้อความว่า "มีคนไปโพสต์ในกลุ่มเลี้ยงลูกกลุ่มหนึ่ง บอกว่ามีนมแม่แช่แข็งเหลือ จะขาย คนก็แชร์ไปหลายพันละ อันนี้เตือนแม่ๆ ว่า นมแม่นี่ ของใครของมัน ไม่ควรเอานมแม่คนอื่นมาป้อนให้ลูกตัวเอง ถ้าไม่ผ่านการตรวจเชื้อ และผ่านธนาคารนมแม่มาแล้ว เพราะนมแม่ เป็นสารคัดหลั่งชนิดหนึ่งซึ่งมีโอกาสที่จะมีเชื้อต่างๆ จากแม่ที่ผลิตนมนั้น เช่น HIV ไวรัสตับบี ไวรัสตับซี EBV CMV herpes  ซึ่งหากเด็กติดเชื้อขึ้นมาเรื่องใหญ่” นอกจากนี้  ปกติหากนมแม่เหลือและอยากแบ่งปันให้คนอื่น  จะมีธนาคารนมแม่ ที่เขาจะตรวจสอบว่าแม่ติดเชื้อไหม นมปลอดภัย มีการใช้สารเสพติด แอลกอฮอล์ ยาต่างๆ หรือไม่ เพื่อให้เด็กที่กินนั้นปลอดภัย Bangkok Airways ประกาศ “ชั่งน้ำหนักผู้โดยสาร สัมภาระก่อนบิน”         17 กันยายน 2566 หลังจากที่สายการบินต่างชาติ เช่น เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ ได้มีการออกกฎชั่งน้ำหนักและสัมภาระผู้โดยสารก่อนขึ้นเครื่อง เพื่อสำรวจและนำมาคำนวณกำหนดการกระจายน้ำหนักบนเครื่องบิน ลดการใช้เชื้อเพลิงนั้น         ทางบางกอก แอร์เวย์ส สายการบิน ประเทศไทย ก็ได้ออกมาประชาสัมพันธ์ ถึงกรณีดังกล่าวอีกด้วย โดยระบุข้อความดังนี้ “เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานการบินพลเรือนสากล เรื่องการใช้ข้อมูลเกณฑ์น้ำหนักเฉลี่ยมาตรฐานสำหรับคำนวณน้ำหนักผู้โดยสารและสัมภาระถือขึ้นเครื่อง เพื่อให้ปริมาณน้ำหนักของเที่ยวบินอยู่ภายใต้ขอบเขตการกำหนดน้ำหนักอากาศยานสำหรับการวิ่งขึ้นสูงสุด (Maximum Take-Off Weight) และทำการบินได้ด้วยความปลอดภัย ตั้งแต่ 15 ก.ย. ถึง 31 ต.ค. 66 เป็นต้นไป บริษัทขออนุญาตเก็บข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนักผู้โดยสารรวมสัมภาระถือขึ้นเครื่อง ณ บริเวณประตูทางออกขึ้นเครื่อง จึงขอความร่วมมือจากท่านผู้โดยสารชั่งน้ำหนัก นอกจากนี้  บริษัทขอยืนยันว่าข้อมูลจะถูกเก็บไว้เป็นความลับ และจะนำไปใช้เพื่อปรับปรุงข้อมูลเกณฑ์น้ำหนักเฉลี่ยมาตรฐานเท่านั้น มพบ.เผยผู้โดยสารที่ได้รับผลกระทบช่วงโควิดจะได้รับเงินคืนจาก “Thai Air Asia X”         หลังจาก วันที่ 31 สิงหาคม 66 ศาลล้มละลายกลาง มีคำสั่งเห็นชอบให้ฟื้นฟูกิจการ สายการบิน “ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์” รหัสเที่ยวบิน XJ บริการสายการบินราคาประหยัด เส้นทางไปต่างประเทศ หลังได้รับผลกระทบรุนแรงจากวิกฤตโควิด-19 จนเป็นเหตุให้ต้องหยุดทำการบินขนส่งผู้โดยสารมานานกว่า 2 ปี         15 กันยายน 2566 นางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า คำสั่งของศาลล้มละลายกลาง ที่เห็นชอบเเผนฟื้นฟูกิจการ “ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ (XJ)” มีผลครอบคลุมเจ้าหนี้ทุกคนที่เป็นผู้โดยสาร ทั้งผู้ที่ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการ ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และผู้ที่ไม่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่างได้สิทธิรับคืนเงินทั้งหมด โดยไม่มีดอกเบี้ยตามข้อเรียกร้องทั้ง 2กรณี ส่วนที่ก่อนหน้านี้ มีผู้โดยสาร 11 คน พากันมายื่นร้องเรียนกับสภาองค์กรของผู้บริโภคให้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องแทนผู้บริโภค มูลค่าความเสียหายกว่า 4 แสนบาทนั้น ทางมูลนิธิฯ ได้รับมอบหมายเป็นตัวแทนให้ดำเนินการหาทนายฟ้องคดีที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เพื่อเรียกเงินคืนพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งทาง “ไทยแอร์เอเชีย เอ็กซ์ ได้ยื่นคำร้องค้าน เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ขอให้ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ จำหน่ายคดีที่ผู้บริโภคฟ้องเพราะศาลล้มละลายกลางอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการ ดังนั้น คดีอื่นๆ ที่มีการยื่นฟ้องหรือบังคับคดีจึงต้องหยุดชั่วคราวเพื่อรอการฟื้นฟูกิจการ อย่างไรก็ตาม ศาลมีข้อแม้ว่า หากสายการบินไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา ก็จะเดินหน้าในกระบวนการทางศาลต่อไปได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 269 ความเคลื่อนไหวเดือนกรกฎาคม 2566

ย้ายสิทธิบัตรทอง! โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านได้แล้ว        ตามที่ประชาชนผู้มีสิทธิบัตรทองจำนวนมากที่เข้ามาอาศัยอยู่ในกทม. เพื่อทำงาน-เรียนหนังสือ และไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านมาด้วย เดิมนั้นต้องกลับไปรักษายังจังหวัดที่มีทะเบียนบ้าน ดังนั้นเพื่อที่จะทำให้ผู้มีสิทธิบัตรทองเข้าถึงบริการได้สะดวกขึ้นก็คือ การย้ายสิทธิรักษาเข้ามาอยู่ในกทม. โดยทางสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กรุงเทพมหานคร(กทม.) ได้ชวนผู้ที่อาศัยในกทม. แต่สิทธิบัตรทองอยู่ที่ต่างจังหวัด ทำการย้ายสิทธิเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ โดยให้ลงทะเบียนกับหน่วยบริการปฐมภูมิ หน่วยบริการประจำ ใกล้ที่พักอาศัย โดยไม่ต้องย้ายทะเบียนบ้านมาซึ่งสำหรับการย้ายสิทธิสามารถทำได้ผ่านช่องทาง ดังนี้        1. แอปพลิเคชัน สปสช. เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการ        2. Line OA สปสช. (ID@nhso) เลือกเมนูเปลี่ยนหน่วยบริการด้วยตนเอง        3. ติดต่อด้วยตนเอง ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ชั้น 2 ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ (อาคารบี) ถนนแจ้งวัฒนะ ในวันเวลาราชการ        4. สายด่วน 1330  ตรวจยึดไส้กรอกแดงสุดฮิตจากจีน        วันที่ 20 ก.ค. 2566 ตำรวจสอบสวนกลาง ร่วมกับกรมปศุสัตว์(กปศ.) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ขยายผลตรวจสอบแหล่งขายผลิตภัณฑ์อาหารที่นำเข้าจากประเทศจีน โดยได้เข้าตรวจค้นที่อาคารแห่งหนึ่ง ย่านประชาชื่น กรุงเทพฯ พบผลิตภัณฑ์ไส้กรอก ยี่ห้อ “Shuanghui” จำนวน 1,440 แท่ง และผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ ที่ผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ. 2522 รวมกว่า 20 รายการ และทั้งหมดคือ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากประเทศจีนทั้งหมด ทางเจ้าหน้าที่จึงได้มีการยึดสินค้าทั้งหมดส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ. เพื่อดำเนินคดี นอกจากนี้ ของกลางที่ตรวจยึดได้มีการส่งตรวจวิเคราะห์ หาจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค วัตถุกันเสีย และสี ณ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ถ้าพบสารปนเปื้อนที่ทำให้เกิดโรคเป็นอันตรายต่อสุขภาพ จะถือว่าเป็น “อาหารไม่บริสุทธิ์” โดยผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายมีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับห้ามซื้อสมุนไพร ที่ไม่ได้รับอนุญาตจาก อย.         จากกรณีที่ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภคให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยี่ห้อผู้เฒ่าวิ่งปู๊ดแคปซูล ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตโฆษณาขายทางแพลตฟอร์มออนไลน์ ทางอย. จึงได้ตรวจสอบว่ามีการจำหน่ายในพื้นที่ จ.พิษณุโลก  และได้ประสาน สสจ.พิษณุโลก ตรวจสอบสถานที่ดังกล่าว ซึ่งก็พบผลิตภัณฑ์สมุนไพรผู้เฒ่าวิ่งปู๊ดแคปซูล สูตรกระจายเส้น เอ็นยึด ดังกล่าวจริง เป็นจำนวน 26 ซอง พร้อมกับยาผงจินดามณี จำนวน 55 ซอง และสมุนไพรไทยมีรูปรากไม้ จำนวน 39 ซอง นอกจากนี้ ทางอย.ได้มีการตรวจสอบเพิ่มเติม โดยทั้ง 3 รายการ ไม่พบข้อมูลอนุญาตจาก อย. และฉลากผลิตภัณฑ์ไม่มีการแสดงทะเบียน พร้อมกับยังพบสารสเตียรอยด์ปนเปื้อนในยาผงจินดามณี อีกด้วย ทางอย.จึงได้เตือนผู้บริโภคอย่าซื้อสมุนไพรทั้ง 3 รายการ มาใช้ เพราะอาจเกิดผลเสียต่อร่างกาย อันตรายต่อสุขภาพ บางกอกแอร์เวย์ส เตือน! ระวังมิจฉาชีพแอบอ้างชวนลงทุน         30 ก.ค. 2566 ทางสายการบางกอกแอร์เวย์ส ได้โพสต์ข้อความเตือนภัยหน้าเพจเฟซบุ๊ก Bangkok Airways โดยระบุข้อความว่า "แจ้งเตือนกรณีมีการแอบอ้างลงโฆษณาในช่องทางเฟซบุ๊ก (Facebook) โดยใช้ชื่อ นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ภาพเครื่องบิน และโลโก้ของสายการบินฯ ในการเชิญชวนและเปิดโอกาสให้ลงทุนหุ้นกับสายการบินฯ"  ซึ่งทางสายการบิน ได้แจ้งว่า ทางสายการบินไม่มีส่วนรู้เห็นหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง และบุคคลที่แอบอ้างดังกล่าวไม่ใช่สายการบิน อย่างไรก็ตาม ทางสายการบิน แนะนำว่าอย่าหลงเชื่อและระวังกลอุบายจากมิจฉาชีพที่หลอกล่อให้เผยแพร่ข้อมูลส่วนส่วนตัวและเอกสารสำคัญอีกด้วย  มพบ. พาผู้เสียหาย “ออลล์ อินสไปร์ คอนโดสร้างไม่เสร็จ” ยื่นฟ้องศาล         20 ก.ค. 2566 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นำโดยนายธนัช ธรรมิสกุล หัวหน้าฝ่ายพิทักษ์สิทธิบริโภคและนางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมาย มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค พร้อมตัวแทนผู้เสียหายที่ซื้อคอนโดมิเนียมจากโครงการ ออลล์ อินสไปร์ เดินทางไปยื่นฟ้องต่อศาลแพ่งและศาลแขวงพระนครเหนือ เพื่อเรียกเงินคืนตามสัญญาจะซื้อจะขาย เนื่องจากผิดสัญญาก่อสร้างไม่เสร็จตามกำหนด         โดยนางสาวณัฐวดี กล่าวว่า การยื่นฟ้องครั้งนี้ ได้ดำเนินการในนามของผู้เสียหายแต่ละราย มีจำเลย คือ บริษัท ออลล์ อินสไปร์ฯ ที่เป็นคู่สัญญา ซึ่งการยื่นฟ้องแยกตามศาลเนื่องจากเป็นไปตามทุนทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยยื่นฟ้องที่ศาลแพ่ง จำนวน 22 คดี  ยื่นฟ้องศาลแขวงพระนครเหนือ จำนวน 10 คดี ซึ่งการที่ผู้เสียหายตัดสินใจยื่นฟ้อง บริษัท ออลล์ อินสไปร์ เนื่องจากผู้บริหารเข้าข่ายเจตนาฉ้อโกงเจ้าหนี้ เห็นได้ชัดเจนจากที่มูลนิธิฯ ได้ทำหนังสือไปถึงประธานกรรมการ เมื่อ 7 ก.ค. 2565 ขอเชิญประชุมเพื่อไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แต่กับพบว่ามีแต่ความเพิกเฉย ไม่มาพบกับผู้เสียหาย เมื่อไปพบถึงสำนักงานใหญ่ พบแค่เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการและเสนอแผนชดเชยค่าเสียหายผ่อนชำระเป็นรายงวด เมื่อมีบางคนยอมทำตามข้อเสนอของบริษัท แต่ปรากฏว่าบริษัทก็ยังเบี้ยวหนี้ เพราะจ่ายแค่ 1 งวด แล้วหายไปเลย ไร้ช่องทางการติดต่อ         ดังนั้นผู้เสียหายที่จ่ายเงินจอง เงินดาวน์  เงินทำสัญญา เงินผ่อนแต่ละงวดไปแล้ว ต้องการเรียกเงินคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้ ทางมูลนิธิฯ อาจยื่นฟ้องคดีอาญาอีกด้วย เพื่อให้เกิดการลงโทษผู้ประกอบการเนื่องจาก บริษัทฯ มีเจตนาไม่ชำระหนี้คืนให้ผู้เสียหาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 180 กระแสในประเทศ

สรุปความเคลื่อนไหวเดือนกุมภาพันธ์ 2559โฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพโม้สรรพคุณระบาดหนัก เจอเพียบในวิทยุปัญหาโฆษณาผลิตภัณฑ์หลอกลวงผู้บริโภคยังคงเป็นปัญหาที่แก้ยังไงก็ไม่หมดไปจากสังคมไทยสักที ล่าสุดเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้แถลงผลการดำเนินงานเฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายทั้งทางสื่อต่างๆ ในช่วงระยะเวลา 6 เดือน คือ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2558 ที่ผ่านมา พบว่ายังคงมีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายออกอากาศ เป็นจำนวนมาก จากการเฝ้าระวังพบว่ามีโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฎหมายที่เผยแพร่อยู่จำนวน 206 ผลิตภัณฑ์ โดยสื่อวิทยุชุมชนถือเป็นช่องทางหลักที่ผลิตภัณฑ์สุขภาพโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงใช้เป็นทางช่องทางหลอกลวงผู้บริโภค ซึ่งผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่รับฟังรายการเป็นประจำ รองลงมาคือ ดิจิตอลทีวี และโทรทัศน์ดาวเทียม ตัวอย่างที่พบการทำผิดกฎหมายก็มีอย่างเช่น โฆษณาไม่ตรงกับสรรพคุณที่ระบุไว้ ส่วนมากจะเป็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ใช้แล้วผิวขาว รักษาสิว ฝ้า หรือลดริ้วรอย ซึ่งจากข้อมูลการเฝ้าระวังที่ได้ ทางเครือข่ายฯจึงอยากกระตุ้นไปถึงภาครัฐที่มีหน้าที่และอำนาจในการกำกับดูแลปัญหาดังกล่าว อย่าง อย.และ กสทช. ออกมาทำหน้าที่ของตัวเองอย่างจริงจัง รวดเร็ว และเด็ดขาด ใครที่พบเจอโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่เข้าข่ายหลอกลวง สามารถส่งข้อมูลแจ้งเรื่องร้องเรียนไปได้ที่ทั้ง อย.และกสทช. หรือที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค   อย่าหลงเชื่อ “แผ่นหยกความร้อน” อ้างรักษาโรคอย.ออกมาเตือนผู้บริโภค อย่าหลงเชื่อโฆษณาผลิตภัณฑ์ “แผ่นหยกให้ความร้อน” ที่มาในรูปแบบของ แผ่นรองนั่ง หมอน เตียงนอน ฯลฯ ที่อวดอ้างว่าสามารถช่วยเร่งการขับสารพิษหรือของเสียออกจากร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพของระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบหายใจ แถมยังบอกว่าสามารถใช้ได้กับผู้ที่มีโรคประจำตัว ทั้งความคัน เบาหวาน โรคไต โรคหัวใจ และ มะเร็ง ซึ่งข้อความสรรพคุณต่างๆ ที่ว่ามาทั้งหมด อย.ยืนยันแล้วว่าเป็นการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริงทั้งสิ้น โดยผลิตภัณฑ์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบำบัด บรรเทา รักษาโรค หรืออาการบาดเจ็บต่างๆ จัดเป็นเครื่องมือแพทย์ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551 การจะผลิตหรือนำเข้าต้องได้รับอนุญาตจาก อย. เสียก่อน ซึ่งจากการตรวจสอบฐานข้อมูลการขออนุญาตด้านเครื่องมือแพทย์ของ อย. ไม่พบข้อมูลที่เกี่ยวกับแผ่นหยกให้ความร้อนที่มีสรพพคุณตามที่แอบอ้าง นอกจากนี้ อย.ยังฝากเตือนว่าแผ่นหยกให้ความร้อนนอกจากจะไม่ช่วยรักษาโรค ผู้ใช้อาจเกิดอันตรายจากผลของกระแสไฟฟ้า เช่น ถูกไฟดูดจากไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าลัดวงจร รวมทั้งผิวหนังอาจเกิดการแพ้ต่างๆ ได้ด้วย คมนาคมคาดโทษ “นกแอร์” ทำผิดซ้ำเจอถอนใบอนุญาตจากเหตุการณ์ที่สายการบินนกแอร์ยกเลิกเที่ยวบินโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า จากเหตุผลที่นักบินประท้วงสายการบินเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ผู้โดยสารกว่า 3,000 คนได้รับผลกระทบ ทางด้านหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวกับปัญหาดังกว่างอย่าง กระทรวงคมนาคม ได้ออกมาจัดการกับสายบินนกแอร์ เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นการสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค ถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย โดยทางกระทรวงคมนาคมได้ออกคำสั่งเตือนไปยังสายการบินนกแอร์ ถ้าหากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีกเป็นครั้งที่สองจะพักใช้ใบอนุญาต และถ้าซ้ำครั้งที่สามจะถูกเพิกถอนใบอนุญาตด้านการบิน พร้อมกันนี้ได้แจ้งไปยังสายการบินต่างๆ ทั้งหมด ว่าต้องมีแผนฉุกเฉินเพื่อรองรับความเสี่ยงที่สร้างความเสียหายต่อผู้บริโภคในลักษณะแบบเดียวกัน ส่งให้กระทรวงคมนาคมรับทราบ และต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคที่ชัดเจน เสนอติดคำเตือน “ฟ้าทะลายโจร” ช่วยควบคุมมาตรฐานสร้างความตื่นตกใจให้กับผู้บริโภคไม่น้อย หลังจากที่ในสังคมออนไลน์มีการแชร์เอกสารของอย. ซึ่งลงนามโดย นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม รองเลขาธิการ อย.ที่มีเนื้อหาขอให้เพิ่มข้อความ “คำเตือนของยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร” ที่ฉลากและเอกสารกำกับยา เนื่องจาก อย.ได้รับรายงานการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาฟ้าทะลายโจร อาจเกิดภาวะช็อกจากการแพ้ (Anaphylactic shock) แม้ว่าจะมีจำนวนรายงานไม่สูงมากนัก โดยคณะอนุกรรมการศึกษาและเฝ้าระวังอันตรายจากการใช้ยาสำหรับมนุษย์ ได้ทบทวนข้อมูลความปลอดภัย ประเมินประโยชน์และความเสี่ยงของยาฟ้าทะลายโจร เห็นควรกำหนดให้ยาฟ้าทะลายโจรต้องแจ้งคำเตือนการใช้ยาไว้ในฉลากและที่เอกสารกำกับยา เช่น ห้ามใช้ในสตรีมีครรภ์ ห้ามใช้ในผู้มีประวัติแพ้ยา ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 7 วัน หรือมีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยาควรหยุดและพบแพทย์ทันที นพ.ไพศาล จึงต้องออกมาชี้แจงว่า เอกสารดังกล่าวเป็นการขอความคิดเห็นจากผู้รับอนุญาตผลิตยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรเท่านั้น ประชาชนไม่ต้องตกใจหรือเกิดความกังวล ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจรอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ หากมีรายงานพบผลข้างเคียง ตามขั้นตอนต้องมีการพิจารณามาตรการป้องกัน ซึ่งแนวทางหนึ่งก็คือการติดฉลากเตือนเหมือนยาแผนปัจจุบันทั่วไป ทั้งนี้ศูนย์เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนผลิตภัณฑ์สุขภาพ อย. ได้รับข้อมูลอาการไม่พึงประสงค์ หลังใช้ยาฟ้าทะลายโจร ว่าอาจมีอาการ เช่น ผื่น ปากบวม ตาบวม หน้าบวม ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มีตั้งแต่ปี 2544 แต่กลุ่มที่มีอาการข้างเคียงนั้นถือว่าน้อยมาก โดยจะพบได้ประมาณ 2 - 3 คนในหมื่นคน ภาคประชาชนร้องรัฐบาลต้องมี “กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค”คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกว่า 150 คน เข้ายื่นหนังสือคัดค้านมติการประชุมหารือการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค และขอให้สนับสนุนกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยมี นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกฯ เป็นผู้รับหนังสือแทน เนื่องจากกระบวนการหารือร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เมื่อวันที่ 2 ต.ค.58 ไม่มีผู้แทนจากองค์กรผู้บริโภค องค์กรภาคประชาชน และนักวิชาการที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม มีเพียงหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่าง สคบ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ทำให้เกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ทั้งที่ พ.ร.บ.ฉบับนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อเรื่องการคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับ ยิ่ง ณ ปัจจุบันนี้ผู้บริโภคไทยยังคงถูกละเมิดสิทธิในหลายเรื่อง โดยที่หน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ในปัจจุบันยังดำเนินการแก้ไขปัญหาได้ไม่ครอบคลุมทั่วถึง เครือข่ายผู้บริโภคจากทั่วประเทศจึงร่วมกันแสดงพลังเพื่อขอให้ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะผู้มีส่วนในการพิจรณาร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว ให้ช่วยเร่งพลักดันและทำให้เกิดขึ้นกฎหมายฉบับนี้เป็นจริง ตามที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญตลอด 19 ปีที่ผ่าน

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 164 กระเป๋าหาย แอร์เอเชีย หาคืนไม่ได้ ก็จ่ายให้คุ้มหน่อย

ทุกวันนี้สายการบินต้นทุนต่ำทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศนั้น มีการแข่งขันกันสูง ทุกเจ้าต้องต่อสู้กันทางธุรกิจทั้งด้วยราคาและบริการ เพื่อครองใจลูกค้าให้ได้ การลด แลก แจก แถม... ก็มีให้เห็นกันตลอด คุณนันท์นภัส ก็เป็นคนหนึ่งที่มีความจำเป็นต้องเดินทางทั้งในประเทศและต่างประเทศอยู่บ่อยๆ เธอจึงเลือกใช้บริการของ แอร์เอเชีย ซึ่งเป็นสายการบินต้นทุนต่ำ ที่ว่ากันว่าดีที่สุดในโลก(โฆษณาเขาว่ามาแบบนี้นะ)ย้อนกลับไปเมื่อประมาณเดือนมิถุนายน 2556  คุณนันท์นภัส โทรศัพท์เข้ามาร้องเรียนต่อศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคว่า สายการบินแอร์เอเชียทำกระเป๋าเดินทางเธอหาย โดยเธอเล่าว่าเมื่อวันที่ 26  พฤษภาคม 2556  ขณะที่เธอไปทำงานกับสามีที่ประเทศสิงคโปร์ เธอเลือกที่จะใช้บริการสายการบินแอร์เอเชีย โดยเครื่องออกจากท่าอากาศยานซางฮี สิงคโปร์  เพื่อเดินทางกลับมาประเทศไทย เธอนำกระเป๋าโหลดเข้าเครื่องตามปกติ  แต่เมื่อถึงสนามบินดอนเมือง กระเป๋ากลับไม่ได้ตามออกมาด้วยคุณนันท์นภัสยืนรอที่สายพานลำเลียงกระเป๋าอยู่นานจนแน่ใจว่า ไม่มีกระเป๋าเดินทางของเธอแล้ว  เธอจึงสอบถามกับพนักงานของสายการบินทันที ว่าจะจัดการเรื่องนี้อย่างไร เพราะเธอมีกำหนดเดินทางต่อไปจังหวัดอุบลราชธานี  ประเทศลาว  มาเก๊า และอีกหลายที่อย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะเดินทางกลับประเทศมาเลเซีย ซึ่งเป็นที่พักของเธอ“ดิฉันพยายามติดต่อ สอบถามพนักงานของสายการบิน ตั้งแต่วันแรกที่หาย เพื่อขอให้ติดตามกระเป๋าคืนมาให้ได้โดยเร็ว เพราะในกระเป๋าเดินทางมีของใช้ส่วนตัวที่จำเป็นอยู่จำนวนมาก ซึ่งพนักงานก็ได้ยืนยันว่ากระเป๋าไม่หายแน่นอน เพราะยังมีเที่ยวบินจากสิงค์โปร์อีก 2 เที่ยวในวันนั้น โดยอ้างว่าเมื่อพบกระเป๋าเดินทางแล้วจะส่งคืนให้ดิฉันที่จังหวัดอุบลราชธานีในวันรุ่งขึ้นทันที” แต่พอถึงอุบลราชธานีแล้ว ก็ไม่มีการส่งมอบกระเป๋าคืนตามที่ว่าไว้แต่อย่างใด เธอหงุดหงิดมาก เพราะทุกครั้งเธอต้องเป็นฝ่ายพยายามสอบถามแล้วกับทางสายการบินตลอด แต่ไม่มีคำตอบและแทบไม่มีการติดต่อกลับ ต่อมาในวันที่ 19 มิถุนายน 2556  บริษัท แอร์เอเชีย โดยแผนกติดตามสัมภาระ ฝ่ายปฏิบัติการภาคพื้นดิน ได้มีหนังสือแจ้งคุณนันท์นภัสว่า สายการบินหากระเป๋าเดินทางของเธอไม่เจอ จึงขอแสดงความรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างข้อกำหนดและเงื่อนไขการบินของแต่ละสายการบิน ซึ่งในกรณีสัมภาระสูญหายสำหรับเส้นทางการบินระหว่างประเทศ กำหนดไว้ที่ 922 บาท ต่อ 1 กิโลกรัม เมื่อสัมภาระของคุณนันท์นภัส มีน้ำหนัก 15 กิโลกกรัม  คุณนันท์นภัส จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยความเสียหายเป็นเงินจำนวน 13,830 บาทจากจดหมายฉบับดังกล่าว เธอเห็นว่า “ไม่เป็นธรรม” เนื่องจากในกระเป๋าเดินทางมีของใช้ที่จำเป็นและทรัพย์สินหลายอย่างที่มีมูลค่ารวมเกินกว่า 50,000  บาท ในเมื่อบริษัทไม่สามารถติดตามกระเป๋าเดินทางคืนมาได้ การเสนอจะชดใช้โดยอ้างกฎระเบียบที่กำหนดขึ้นเอง จึงเป็นการปฏิเสธความรับผิดชอบและการเอาเปรียบของผู้ประกอบการต่อผู้บริโภค ซึ่งจะเป็นแบบอย่างให้เกิดการเอาเปรียบกับผู้บริโภครายอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากในอนาคต  เธอจึงนำเรื่องเข้าร้องเรียนต่อศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อขอความช่วยเหลือ แนวทางแก้ไขปัญหา ภายหลังรับเรื่องร้องเรียน ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค ได้ออกหนังสือเพื่อขอให้บริษัทแอร์เอเชีย เยียวยาความเสียหายให้กับผู้บริโภค  แต่ก็ได้รับการยืนยันจากบริษัทว่า ได้พิจารณาเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคุณนันท์นภัสแล้วเป็นเงิน 13,830 บาท ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคดังนั้นเมื่อไม่มีทางออกในการเจรจา คุณนันท์นภัส จึงจำเป็นต้องขอนำเรื่องเข้าสู่ศาล ด้วยการยื่นฟ้องบริษัท แอร์เอเชีย จำกัด เป็นคดีผู้บริโภค ต่อศาลแขวงดอนเมืองเมื่อฟ้องคดีแล้ว กระบวนการในคดีผู้บริโภคนั้น ศาลจะเน้นกระบวนการเจรจาไกล่เกลี่ย  สำหรับคดีนี้โดยใช้ชั้นเจรจาไกล่เกลี่ยคู่กรณีทั้งสองฝ่าย พยายามหาข้อยุติร่วมกันในการเจรจาประนีประนอม แต่ก็ไม่สามารถหาจุดร่วมที่ตกลงกันได้เมื่อคดีมีแนวโน้มจะต้องตัดสินให้มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกผิดด้วยคำพิพากษา แต่ผู้ตัดสินเห็นว่ายังมีแนวโน้มที่จะตกลงกันได้ จึงได้พยายามหาทางไกล่เกลี่ยกันอีกครั้ง  โดยในครั้งนี้มีผู้ตัดสินเข้าร่วมการเจรจาด้วย  เบื้องต้นคุณนันท์นภัส ยืนยันถึงข้อเสนอให้บริษัทชดใช้ค่าเสียหายเป็นเงินจำนวน 30,000  บาท พร้อมให้บริษัททำการขอโทษถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้น  แต่เพื่อให้การเจรจาสามารถดำเนินการต่อไปตามคำแนะนำของผู้ตัดสิน            คุณนันท์นภัสและบริษัท แอร์เอเชีย จึงสามารถบรรลุข้อตกลงในการเจรจากันได้ คือ บริษัท แอร์เอเชีย ยินดีชำระค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายเป็นเงินจำนวน 25,000 บาท พร้อมปลอบใจด้วยบัตรโดยสารเส้นทางภายในประเทศไปและกลับจำนวน 1 ที่  และบริษัทยินดีรับจะนำเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดไปปรับปรุงแก้ไขการบริการให้ดีขึ้นต่อไป คุณนันท์นภัส ยินยอมรับข้อเสนอนี้ เรื่องจึงเป็นอันยุติลงในชั้นศาล ด้วยการจบคดีแบบประนีประนอมยอมความแม้ว่าผลของคดีนี้จะไม่ได้จบลงด้วยคำพิพากษาเพื่อให้เป็นคดีตัวอย่าง ตามที่คุณนันท์นภัสคาดหวังไว้ในตอนแรก แต่การจบลงด้วยการเจรจาไกล่เกลี่ย  ก็สามารถชี้ให้เห็นถึงแนวทางการแก้ไขปัญหากรณีลักษณะนี้สำหรับผู้บริโภครายต่อๆ ไปได้ว่า หากใครเจอปัญหาแบบนี้แล้วเจรจาตกลงกันไม่ได้  ให้เตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาฟ้องศาลได้เลย อย่าได้กลัวหรือคิดว่าจะเสียเวลา เพราะการพิทักษ์สิทธิตนเองเป็นสิ่งสำคัญ อย่างน้อยการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ศาล ก็สามารถสร้างแรงกดดัน เพิ่มอำนาจการต่อรองให้กับบริษัทผู้ให้บริการต้องชดเชยความเสียหายคืนได้เหมือนคดีนี้ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 147 แอร์การ์ดทรู เรียกเก็บค่าบริการไม่เป็นธรรม

เรื่องมีอยู่ว่า...เมื่อเดือนธันวาคม 2555 ผมเดินทางไปเชียงใหม่ จำเป็นต้องส่งข่าวกลับ กทม.ผมจึงซื้อแอร์การ์ดของทรูมาใช้ในราคา 990 บาท ตอนซื้อมานึกว่าจะใช้ได้เลย ก็กลับใช้ไม่ได้ทันที โดยต้องสมัครอะไรไม่รู้วุ่นวาย จากนั้น Call Center 1331 แนะนำว่าถ้าจะใช้งานทันที ต้องสมัครแบบคิดค่าบริการรายเดือน..ผมต้องการรีบส่งข่าวก็เลยยอมเวลาผ่านไปการใช้งานแอร์การ์ด ก็ดีบ้างไม่ดีบ้าง..โดยวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ผมโทรไป 1331 อีกครั้ง เพื่อถามว่า..จะขอยกเลิกบริการต้องทำอย่างไร เจ้าหน้าที่บอกว่า..โปรโมชั่นจากยอด 990 ที่ซื้อมาสามารถใช้ได้ถึงเดือนมิถุนายน โดยถ้าไม่ใช้ก็ไม่มีค่าบริการ ซึ่งผมก็คิดว่า..ใกล้ๆ เดือนมิถุนายนค่อยไปยกเลิกก็ยังทันปรากฏว่าเดือนมีนาคมมีบิลมาเรียกเก็บค่าบริการ 4 ร้อยกว่าบาท ทั้งๆ ที่ไม่ได้ใช้แอร์การ์ดเลยตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม ผมโทรไป 1331 สอบถาม ได้คำตอบว่า...ค่าใช้จ่ายมีเดินทุกเดือน แต่ที่ไม่ส่งบิลมาให้ เพราะจะใช้วิธีหักจากยอด 990 บาทให้หมดก่อน เมื่อยอดเกินค่อยส่งใบเรียกเก็บ กรณีนี้..ทรูส่อพฤติกรรมซุ่มเงียบตีกินโดยไม่รู้ตัว เพราะถ้าส่งใบเสร็จมาให้ตั้งแต่เดือนธันวาคมหรือมกราคม ถึงแม้จะเป็นยอดที่หักจาก 990 บาท ก็ควรส่งใบเรียกเก็บทุกเดือนให้ลูกค้าเข้าใจได้ว่ามีค่าใช้บริการเดินอยู่ เพราะอย่างน้อยถ้ามีการเรียกเก็บเงินตั้งแต่แรกผมก็จะได้ไปดำเนินการปิดบริการตั้งแต่เดือนมกราคมแล้วหลังจากนั้น..ผมพยายามติดต่อทั้งทาง 1331 ทั้งทางเว็บไซต์ เพื่อขอฟังเทปสนทนาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ถ้าผมผิดจริงก็ยินดีจ่ายให้ แต่ถ้าพนักงานแนะนำไม่ให้ปิดบริการจริง ทางทรูก็ต้องรับผิดชอบโดยไม่คิดค่าบริการส่วนเกินที่เรียกเก็บ..ก็เท่านั้น ซึ่งระหว่างหาเทปสนทนามายืนยันไม่ได้ ผมก็ขอให้ทรูระงับค่าบริการไม่ให้เดินหน้าต่อไปอีก ซึ่งคำตอบก็คือ..ต้องจ่ายค่าบริการที่ค้างอยู่ก่อนจึงจะปิดบริการได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ตอบได้แค่เบสิกพื้นฐานตามระเบียบอย่างเดียวแล้วถ้าผมยอมจ่ายส่วนเกินที่ไม่เป็นธรรมแล้วให้ปิดบริการ ก็เท่ากับผมยอมรับยอดเงินส่วนเกินอย่างงั้นเหรอ..มันไม่ถูกต้อง ถึงจะไม่กี่ร้อยบาท แต่ถ้าลูกค้าเจอแบบนี้เข้าไปหลายๆ ราย..จะเป็นเงินเท่าไหร่(เคยตัว) จนป่านนี้..ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ระดับตัดสินใจได้หรือแก้ปัญหาเป็น มาแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จ คงปล่อยให้เวลาเนิ่นนานไปเรื่อยๆ..ถ้าเดาไม่ผิด เพื่อจะเอาค่าบริการที่ยังเดินอยู่นั่นเอง แนวทางแก้ไขปัญหาหลักการในการแก้ไขปัญหาสำหรับคนที่เจอปัญหาการบอกเลิกสัญญาบริการโทรคมนาคมในลักษณะเดียวกันนี้...เมื่อผู้บริโภคไม่ประสงค์จะใช้บริการอีกต่อไป และไม่มีค่าบริการติดค้างกันอยู่ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะบอกเลิกการใช้บริการได้ทุกเมื่อ ส่วนใหญ่มักจะถูกสาวคอลเซนเตอร์หรือพนักงานบริการปฏิเสธไว้ก่อนว่าบอกเลิกไม่ได้ ดังนั้น การบอกเลิกสัญญาบริการโทรคมนาคมที่ดีที่สุดคือ การบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรส่งไปถึงกรรมการผู้จัดการใหญ่ของผู้ให้บริการ แล้วเก็บรายละเอียดการบอกเลิกสัญญาไว้เป็นหลักฐาน หากผู้ให้บริการยังมาเรียกเก็บอีก ผู้บริโภคอาจจะเรียกร้องค่าเสียหายกับผู้ให้บริการได้ โทษฐานเบาะๆ คือ การก่อความเดือดร้อนรบกวนรำคาญ แต่หากระหว่างการบอกเลิกสัญญากันนั้น หลังจากที่ได้หักค่าบริการที่ได้ใช้บริการกันไปแล้ว ยังมีค่าบริการเหลืออยู่ ผู้บริโภคสามารถเรียกร้องให้ผู้ให้บริการคืนค่าบริการที่เหลืออยู่ได้อีกด้วยนอกจากปัญหาทำนองนี้แล้ว ปัญหาในบริการของทรูที่มีการร้องเรียนเข้ามาที่มูลนิธิฯ จนเป็นเรื่องร้องเรียนที่ซ้ำซากเอามากๆ คือ ซิมทรูมูฟแจกฟรี แล้วมาลักไก่เก็บค่าบริการรายเดือนในภายหลัง เมื่อผู้บริโภคเจอปัญหาแบบนี้คำตอบเดียวคือ ไม่ต้องจ่ายเงินครับ และให้มีหนังสือแจ้งไปที่ ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของทรูด้วยตัวเองได้เลย ทางจดหมาย (Mail) ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนเลขที่ 1252 ชั้น 14 อาคารทรูทาวเวอร์2 ถนนพัฒนาการ แขวงสวนหลวง เขตสวนหลวง กทม.10250 ทางโทรศัพท์ (Call Center) (ไม่คิดค่าบริการ) ผ่านเลขหมาย 0-2900-8088 เวลาทำการ: ทุกวัน เวลา 08.00น.-20.00น. ไม่มีเวลาพัก ทางโทรสาร (Fax) (คิดอัตราค่าใช้จ่ายตามอัตราปกติ) ผ่านเลขหมาย 0-2699-4338 ทางจดหมายอิเลคทรอนิคส์ (Email) Email Address: voc@truecorp.co.th ทางเว็บไซต์ (Website) www.trueinternet.co.th ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของผู้ให้บริการโทรคมนาคมทุกรายถูกกำหนดขึ้นตาม ประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง “กระบวนการรับเรื่องร้องเรียนและพิจารณาเรื่อง ร้องเรียนของผู้ใช้บริการ” ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2549 ได้กำหนดไว้ในข้อ 20 บทเฉพาะกาลว่า “ ให้ผู้รับใบอนุญาตจัดให้มีหลักเกณฑ์การรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน...” และในข้อ 15 วรรคหนึ่งได้ระบุว่า “ผู้รับใบอนุญาตมีหน้าที่จัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นแยกออกจากหน่วยงาน ตอบคำถามหรือข้อสงสัยทั่วไป เพื่อทำหน้าที่ดูแลการรับเรื่องร้องเรียนและการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียน” และในวรรคที่ 2 ระบุต่อว่า “การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ผู้ได้รับใบอนุญาตอาจดำเนินการด้วยตัวเองหรือจัดจ้างให้บุคคลอื่นดำเนินการ โดยผู้รับใบอนุญาตแต่ละรายอาจร่วมกันจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะขึ้นเพื่อทำหน้าที่ก็ได้…”  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 131 แอร์หรือระเบิดเวลา?

ซื้อแอร์ใหม่ราคา 2 หมื่นเศษ แทนที่จะทำงานเย็นเฉียบเงียบสนิท ให้ความรู้สึกรื่นรมย์ในยามพักผ่อนหลับนอน แอร์เจ้ากรรมกลับมีเสียงดังติ๊กๆ น่ารำคาญหูเล็ดลอดตลอดเวลา พาอารมณ์หงุดหงิด สะกิดหัวใจ ฟังไปเรื่อยๆ ยิ่งหนัก คิดว่ากำลังนอนหลับกับระเบิดเวลา ลุ้นและเครียดเอาเรื่องเรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมา คุณสุรพิเชษฐ์ ได้ซื้อเครื่องปรับอากาศยี่ห้อไดกิ้น รุ่น F13 HV2S ในราคา 21,000 บาท จากบริษัท เจเอสบี แอร์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัดหลังจากให้ช่างมาติดตั้งเสร็จสรรพ เปิดใช้งานกะว่าเย็นฉ่ำสบายอารมณ์แน่ พอแอร์เริ่มทำงาน ความเย็นค่อยๆไหลไล่ความร้อนให้หลบหนี“อืม เย็นจัง” กำลังเคลิ้มๆ กับความเย็นแต่ก็ต้องร้องเอ๊ะ“ติ๊ก ติ๊ก ติ๊กๆๆๆๆ” มันดังไม่หยุด ดังอยู่ตลอดเวลาที่แอร์เปิดทำงานคุณสุรพิเชษฐ์เงี่ยหูฟังเสียงไม่พึงประสงค์แทรกเข้ามาพร้อมความเย็นฉ่ำจากการทำงานของแอร์ที่เพิ่งซื้อมา“เสียงอะไร เสียงจากไหน” คิดในใจพร้อมกับลองปิดแอร์เงียบ...! “ไหนลองเปิดอีกครั้งสิ”“ติ๊ก ติ๊ก ติ๊ก...” เสียงที่น่ารำคาญดังมาทันทีวันนั้นคุณสุรพิเชษฐ์ ลองปิด-เปิดแอร์อยู่หลายครั้ง และทุกครั้งก็มีเสียงดังติ๊กๆ ออกมา เหมือนว่าเป็นมาตรฐานติดมากับแอร์เครื่องนี้เมื่อพบความผิดปกติ จึงได้แจ้งบริษัท เจเอสบี แอร์ แอนด์ เซอร์วิส ให้ส่งช่างมาตรวจสอบ หลังจากที่ช่างมาตรวจสอบอยู่ครู่ใหญ่ จึงได้มีคำตอบที่น่าผิดหวังว่า เสียงติ๊กๆ ที่เกิดขึ้นช่างไม่สามารถซ่อมได้ ต้องให้ช่างของบริษัทไดกิ้นโดยตรงมาซ่อมให้ ซึ่งบริษัทเจเอสบีฯ จะติดต่อกับไดกิ้นให้ส่งช่างมาซ่อมต่อมาช่างของไดกิ้นเข้ามาซ่อมแก้ไขแอร์ โดยสันนิษฐานว่าน่าจะเกิดจากเสียงของแผ่นพลาสติกที่ไปกระทบกันภายในเครื่องแอร์ จึงใช้แผ่นกำมะหยี่เป็นวัสดุแทรกกันการกระแทกสั่นไม่ให้เกิดเสียงดัง ปรากฏว่าเช้าวันต่อมาแอร์ที่เพิ่งซ่อมไปมีน้ำหยดออกมาจากตัวเครื่องคุณสุรพิเชษฐ์รู้สึกว่าเช้านั้นเซ็งอารมณ์สุดๆ“แอร์ซื้อมาใหม่ๆ แท้ๆ ครับ ใช้ไม่กี่วันก็ต้องเรียกให้ช่างมาซ่อมแล้วซ่อมอีก”“ช่างที่มาซ่อมบอกว่าที่บ้านก็ใช้แอร์รุ่นนี้ก็มีเสียงดังเหมือนกัน”เมื่อนำเหตุผลทั้งหมดมารวมกัน ความไม่มั่นใจในผลิตภัณฑ์สินค้าจึงเกิดขึ้น จึงได้ติดต่อไปที่บริษัทไดกิ้นเพื่อจะขอเปลี่ยนแอร์รุ่นใหม่ หลังติดต่อไปบริษัทก็ไม่ได้แสดงท่าทีตอบรับหรือปฏิเสธที่ชัดเจน ทำให้คุณสุรพิเชษฐ์มีความกังวลและคิดว่าบริษัทไดกิ้นอาจจะไม่ยอมเปลี่ยนแอร์รุ่นใหม่ให้ จึงโทรปรึกษามาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนวทางแก้ไขปัญหาหลังรับฟังปัญหาของผู้บริโภคจนได้รายละเอียดเสร็จสิ้น เราจึงแนะนำให้คุณสุรพิเชษฐ์รีบทำจดหมายไปที่บรัทไดกิ้นโดยทันที โดยให้ระบุเนื้อหาในจดหมายว่า ผู้บริโภคได้ซื้อแอร์เครื่องใหม่และเลือกยี่ห้อไดกิ้นก็เพราะว่า เป็นสินค้าที่ดีมีมาตรฐาน แต่เมื่อใช้ไปได้ไม่กี่วัน เครื่องมีอาการผิดปกติ มีเสียงดังเล็ดลอดออกมาตลอดเวลาที่เครื่องเปิดใช้งาน การที่ได้ซื้อแอร์เครื่องนี้ในราคาเป็นหมื่น เพราะประสงค์ที่จะได้แอร์ที่ดีมีคุณภาพพร้อมทั้งมาตรฐานที่ดี เพื่อนำความสุขมาให้ครอบครัว แต่เมื่อแอร์เกิดปัญหาเช่นนี้โดยไม่ใช่ความผิดจากการใช้งานของผู้บริโภค บริษัทที่มีความรับผิดชอบจะต้องทำการเปลี่ยนเครื่องให้ใหม่ เพื่อที่จะรักษาชื่อเสียงและยี่ห้อของสินค้าให้คงอยู่ตลอดไป จึงขอให้ทางบริษัทไดกิ้นฯ ช่วยพิจารณาดำเนินการเปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่ให้ด้วยหลังจากที่ได้ทำจดหมายออกไป ปรากฏว่าบริษัทไดกิ้น ได้แสดงความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการแจ้งว่า บริษัทยินดีที่จะเปลี่ยนแอร์เครื่องใหม่ให้กับคุณสุรพิเชษฐ์โดยไม่มีเงื่อนไขแต่อย่างใดใครที่มีปัญหาซื้อสินค้าใหม่ใช้งานแล้วไม่ได้ผลหรือเกิดปัญหาจนต้องเรียกช่างมาซ่อมแซมแก้ไข หากต้องการจะให้บริษัทเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่ ลองใช้วิธีนี้ดู  ไม่สงวนลิขสิทธิ์

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 122 รถไปไม่ถึงหมอชิต ทำไมไม่บอก

 เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนวันเข้าพรรษาของปี 2553 หนึ่งวัน คือตรงกับวันที่ 26 กรกฎาคม 2553เวลาประมาณ 23.30 น. คุณเทพรักษ์ บุญรักษา ได้เดินทางโดยรถโดยสารปรับอากาศของบริษัท นครชัยแอร์ จำกัด จากขอนแก่นเพื่อเข้ามาทำธุระในกรุงเทพมหานคร โดยตั้งใจว่าจะลงรถที่สถานีขนส่งสายเหนือหมอชิต(ใหม่) ระหว่างเดินทางคุณเทพรักษ์บอกว่าการบริการไม่มีปัญหาอะไร แต่ปัญหามาเกิดเอาเมื่อรถเกือบถึงปลายทางอยู่รอมร่อรถได้เดินทางมาถึงกรุงเทพฯ และเข้าจอดที่ศูนย์บริการของบริษัทนครชัยแอร์ ถ.กำแพงเพชร 2 ในเวลา 05.40 น. มีผู้โดยสารบางส่วนลงที่สถานีแห่งนี้ ส่วนที่เหลือยังนั่งอยู่ในรถโดยสารเพื่อจะเดินทางเข้าสถานีขนส่งสายเหนือหมอชิตคุณเทพรักษ์เล่าว่า ตนเข้าใจว่ารถโดยสารที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดทุกคันจะต้องเข้าไปส่งผู้โดยสารที่หมอชิตด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้โดยสารที่ต้องอาศัยรถโดยสารประจำทาง ขสมก.หรือรถร่วมที่มีท่ารถจอดอยู่ในหมอชิตหลายสิบสาย เพื่อเดินทางต่อในเขตกรุงเทพฯและจังหวัดใกล้เคียง โดยไม่ต้องเสียค่าแท็กซี่ที่มีราคาแพงกว่าหลายสิบเท่าตัว“ผมรออยู่ได้สักพักรถก็ไม่เคลื่อนออกไปไหน แต่มีพนักงานประจำรถมาบอกผู้โดยสารว่า รถจะไม่เข้าไปที่สถานีขนส่งหมอชิต ทำให้ผมแปลกใจมาก เพราะไม่มีการแจ้งข้อมูลนี้มาก่อนออกเดินทางเลย จึงถามเหตุผลกับพนักงานประจำรถว่าทำไมรถไม่เข้าหมอชิต พนักงานประจำรถบอกว่า เป็นช่วงเทศกาลรถติดมากจึงไม่เข้าหมอชิต” “การไม่บอกข้อมูลเรื่องนี้ให้ผู้โดยสารทราบ ผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญมากในการตัดสินใจที่จะใช้บริการรถโดยสารเที่ยวนี้หรือไม่ ผมจึงเดินลงจากรถเข้าไปในศูนย์บริการของบริษัทฯ และหยิบกระดาษขึ้นมาเขียนข้อความร้องเรียนกับบริษัทนครชัยแอร์ว่าพนักงานบริการประจำรถไม่ได้แจ้งข้อมูลล่วงหน้ากับผู้โดยสารว่ารถโดยสารจะไม่เข้าไปที่สถานีหมอชิต ทำให้ตนเสียค่ารถโดยสารเพิ่ม และติดต่องานล่าช้า แล้วจึงส่งลงกล่องรับความคิดเห็นจากผู้ใช้บริการต่อหน้าพนักงานของบริษัท”เมื่อทำเรื่องร้องเรียนเสร็จ คุณเทพรักษ์ก็ต้องเรียกแท็กซี่เพื่อไปทำธุระของตนต่อโดยไม่คาดหวังอะไรมากนักกับการส่งเรื่องร้องเรียนไปแต่ปรากฏว่าในสายวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ของบริษัทนครชัยแอร์ได้ติดต่อกลับมาเพื่อขอโทษและยอมรับในข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น และได้แสดงความรับผิดชอบด้วยการมอบตั๋วเดินทางชั้นไฮคลาสให้ฟรีหนึ่งที่นั่ง โดยให้สิทธิแก่คุณเทพรักษ์ที่จะเลือกเดินทางไปที่ไหนก็ได้ที่บริษัทนครชัยแอร์มีเส้นทางบริการอยู่ “การร้องเรียนครั้งนี้แสดงว่า ผู้บริโภคยังมีสิทธิมีเสียงในการร้องเรียนอยู่ในสังคมไทย และยังมีผู้ประกอบการที่ดีที่ยังรับฟังเสียงเล็กๆ ของผู้บริโภคอยู่” คุณเทพรักษ์กล่าวด้วยความภาคภูมิใจ ข้อแนะนำเพิ่มเติม บทเรียนเรื่องนี้ เป็นข้อพิสูจน์อย่างหนึ่งว่า “ร้องทุกข์หนึ่งครั้ง ดีกว่าบ่นพันครั้ง” อย่างแน่นอนครับ น่าเสียดายสำหรับผู้โดยสารท่านอื่นที่เกิดเหตุการณ์เดียวกันไม่ได้ใช้สิทธิร้องเรียนเหมือนคุณเทพรักษ์ พึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อเกิดการละเมิดสิทธิขึ้น ผู้บริโภคได้รับความเสียหาย เราควรร้องเรียนโดยตรงต่อผู้ประกอบธุรกิจโดยทันที การร้องเรียนด้วยวาจาอาจทำให้เราสะดวกและได้ระบายอารมณ์ แต่มันไม่ค่อยมีผลในการเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น ดังนั้น การร้องเรียนที่ดีจะต้องมีเป้าหมายไม่ใช่เพียงแค่การระบายอารมณ์ครับ แต่ควรจะเรียกร้องให้ผู้ประกอบธุรกิจเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเราด้วย โดยให้เขียนข้อร้องเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรไป แล้วแจ้งว่าเราได้รับความเสียแค่ไหนอย่างไรและขอให้เยียวยาความเสียหายแก่เราเป็นจำนวนเท่าไหร่ด้วยวิธีการใดก็ระบุให้ชัดเจน แต่ถ้าไม่แน่ใจก็เขียนไปว่าขอให้พิจารณาเยียวยาความเสียหายให้แก่เราตามสมควรครับ ถ้าเก็บสำเนาข้อร้องเรียนนี้ได้ก็จะเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องต่อไปได้อย่างชัดเจนที่สุดครับ

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 ผู้โดยสาร “นครชัยขนส่ง” ร้องกระเป๋าตังค์หาย

“ถ้าเป็นเงินของหนูเอง คงไม่ร้องหรอกค่ะ แต่เงินที่หายน่ะเป็นเงินของแม่ที่ขายมันสำปะหลังได้ 15,000 บาท แม่ฝากให้หนูเอาไปเข้าธนาคาร หนูสงสารแม่มาก หนูอยากได้เงินคืนค่ะ” เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในวันที่ 13 ตุลาคม 2552 วาสนาได้บอกลาผู้เป็นแม่เพื่อเดินทางกลับมาทำงานที่กรุงเทพฯ โดยแม่ได้ฝากเงินจำนวน 15,000 บาท ให้วาสนานำไปเข้าธนาคารในตัวเมืองจังหวัดนครราชสีมา วาสนาเก็บเงินจำนวนนั้นไว้ในกระเป๋าสตางค์และเก็บไว้ในกระเป๋าเป้สะพายอีกทีเวลาประมาณเที่ยงครึ่งของวันที่เกิดเหตุ วาสนาขึ้นรถโดยสารปรับอากาศ ป.2 ที่อำเภอพระทองคำบ้านเกิดซึ่งแล่นมาจากอำเภอเชียงคานมุ่งหน้าเข้าตัวจังหวัดนครราชสีมา เป็นรถของบริษัท นครชัยขนส่ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทเดียวที่วิ่งบริการในเส้นทางดังกล่าว“ตอนที่จะขึ้นรถ วาดจะสะพายเป้ขึ้นไปบนรถด้วย แต่พนักงานก็มาหยิบกระเป๋าที่วางอยู่ตรงเก้าอี้ตรงที่รอรถไป แล้วบอกว่าเอาไว้ข้างล่างนี่แหละ ข้างบนคนเยอะ”พูดจบพนักงานของรถก็นำกระเป๋าของวาสนาไปวางแหมะตรงที่เก็บกระเป๋าใต้ท้องรถ วาสนาจึงเอ่ยขอใบรับฝากกระเป๋า แต่พนักงานไม่ให้โดยให้เหตุผลว่าเป็นป้ายรายทางไม่ต้องมี แต่วาสนาจำได้ว่าทุกครั้งที่ขึ้นรถและมีการรับฝากกระเป๋าที่ผ่านมาก็จะได้รับใบรับฝากมาโดยตลอด แต่ต้องขึ้นรถไปเพราะโดนเร่ง และนั่งอยู่ในรถด้วยใจตุ้มต่อมพลางปลอบใจว่าคงไม่มีอะไรเพราะนั่งรถเข้าโคราชใช้เวลาไม่ถึงชั่วโมง พอรถแล่นมาถึง บขส.นครราชสีมา วาสนารีบลงไปรับกระเป๋า ปรากฏว่า “กระเป๋าเป้หายไปแล้ว”“เดินหาจนทั่วก็ไม่มี เลยไปขอให้บริษัทช่วยประชาสัมพันธ์ เขาก็ไม่ประชาสัมพันธ์ให้ จะไปขอดูกล้องวงจรปิดก็มีคนมาบอกว่าเขาคงไม่ให้ดู”วาสนา เดินตามหากระเป๋าของตัวเองจนค่ำมืด ไม่พบกระเป๋า และไม่ได้รับการช่วยเหลือจากบริษัทรถและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใด ๆ ท้ายสุดจึงต้องไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐานที่สถานีตำรวจแนวทางแก้ไขปัญหาถึงแม้ว่าจะมีข้อสันนิษฐานว่า วิญญูชนโดยทั่วไปมักจะเก็บสิ่งของมีค่าหรือกระเป๋าเงินไว้กับตัวไม่ยอมฝากไว้กับใครที่ไม่รู้จัก อย่างไรก็ดีเมื่อสืบค้นข้อมูลไปที่เว็บไซต์ของบริษัทขนส่งจำกัด(บขส.) พบว่ามีผู้โดยสารที่เก็บกระเป๋าสตางค์ไว้ในกระเป๋าเดินทางและฝากไว้ในที่เก็บของใต้ท้องรถอยูหลายรายเช่นกัน และพนักงานประจำรถของ บขส. ได้ให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารติดตามคืนมาได้หลายรายจนมีการประกาศชื่อชมเชยพนักงานท่านเหล่านั้นก็เยอะแต่น่าเสียดายที่พฤติกรรมดี ๆ ของพนักงานเช่นนั้น ไม่ได้เกิดขึ้นกับพนักงานประจำรถในเที่ยวรถคันดังกล่าวของบริษัท นครชัยขนส่ง จำกัด ซึ่งกระทำผิดระเบียบของพนักงานหลายข้อด้วยกัน เช่น ผิดที่หนึ่ง คือ ไปหยิบดึงกระเป๋าของผู้โดยสารโดยที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้โดยสาร ผิดที่สอง คือ รับฝากกระเป๋าผู้โดยสารแล้วไม่ออกใบรับฝากให้ผู้โดยสารเก็บไว้เป็นหลักฐาน ผิดที่สาม คือ ไม่ให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารเมื่อได้รับการร้องขอ ผิดที่สี่ เมื่อผู้โดยสารร้องเรียนแล้วกลับเพิกเฉยทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นจึงเป็นเรื่องที่บริษัทแห่งนี้ต้องรีบปรับปรุงการบริการของตนเองโดยด่วน ส่วนการเรียกร้องความเสียหายนั้นหากบริษัทยังเพิกเฉยต่อไป ผู้โดยสารมีสิทธิฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคได้เช่นกันล่าสุดได้ข่าวแว่วว่า บริษัท นครชัยขนส่ง มีการปรับปรุงบริการในการรับฝากกระเป๋าด้วยการให้ใบรับฝากแก่ผู้โดยสารทุกราย และเวลารับกระเป๋าได้ให้ผู้โดยสารเข้ารับกระเป๋าอย่างมีระเบียบแล้ว เหลืออีกอย่างเดียวคือลองพิจารณาเยียวยาความเสียหายให้น้องวาสนาคนต้นเรื่องตามสมควรด้วยจักเป็นพระคุณยิ่ง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 109 ไทยแอร์เอเซีย ชดใช้ผู้บริโภคเหตุเครื่องบินดีเลย์

เรื่องนี้...เป็นเรื่องยาวข้ามประเทศครับคุณรุจน์ และภรรยา มีกิจธุระที่ต้องเดินทางจากกรุงเทพฯ ไปจาการ์ตา เมืองหลวงของอินโดนีเซีย และเลยไปท่องเที่ยวยังเมืองที่ชื่อว่า ย๊อกยาการ์ตา ซึ่งอยู่ในประเทศอินโดนีเซียเช่นกันทั้งสองสามีภรรยาเลือกใช้บริการสายการบินราคาประหยัดไทยแอร์เอเซีย โดยซื้อตั๋วจากเว็บไซต์ของสายการบินแห่งนี้ ได้ตั๋วขาไปออกเดินทางในวันที่ 21 มีนาคม 2552 ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 20.15 น. และถึงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซียเวลา 23.45 น. และตั๋วขากลับเครื่องบินจะออกจากจาการ์ตาในวันที่ 29 มีนาคม 2552 เวลา 16.20 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 19.45 น. ทั้งนี้เพื่อจะกลับมาทำงานที่กรุงเทพฯ ให้ทันในเช้าวันรุ่งขึ้นอย่างไรก็ดี ในวันที่ 29 มีนาคมซึ่งเป็นวันที่ต้องเดินทางกลับนั้น สองสามีภรรยายังอยู่ที่เมืองย๊อกยาการ์ตา เพื่อไม่ให้พลาดเที่ยวบินขากลับจากจาการ์ตาไปกรุงเทพฯ ทั้งสองจึงได้ซื้อตั๋วจากไทยแอร์เอเซียเที่ยวบินจากย๊อกยาการ์ตามาถึงจาการ์ตาในเวลา 12.45 – 13.45 น. อีกด้วยคุณรุจน์และภรรยาทราบจากโฆษณาว่า สายการบินแอร์เอเซีย เป็นสายการบินที่ให้บริการแบบ “จุดต่อจุด” ไม่ได้ให้บริการเที่ยวบินต่อเนื่อง ผู้โดยสารต้องรับผิดชอบตัวเองในการไปเช็คอินให้ทันเที่ยวบินถัดไป คุณรุจน์จึงไม่ประมาทเพราะกลัวตกเครื่องบิน ก่อนออกเดินทางคุณรุจน์และภรรยาจึงช่วยกันเข้าอินเทอร์เน็ตเพื่อรวบรวมข้อมูลเที่ยวบินของสายการบินอื่นๆ ที่ให้บริการในเส้นทางย๊อกยาการ์ตา – จาการ์ตา ในเวลาใกล้เคียงกันกับเที่ยวบินของไทยแอร์เอเซียไว้เผื่อเหนียว ขาไปไม่มีปัญหาอะไร ทำธุระและท่องเที่ยวอยู่ในอินโดนีเซียจนถึงวันที่ 26 มีนาคม 2552 จึงได้เดินทางมาถึงเมืองย๊อกยาการ์ตา ก่อนออกจากสนามบินย๊อกยาการ์ตาจึงได้นำตั๋วเครื่องบินเส้นทางย๊อกยาการ์ตา – จาการ์ตา และ จาการ์ตา – กรุงเทพฯ ที่ซื้อไว้แล้วไปยืนยันการเดินทางกับพนักงานไทยแอร์เอซีย พนักงานก็จิ้ม ๆ ดูข้อมูลในคอมพิวเตอร์แล้วบอกว่าเที่ยวบินที่สำรองที่นั่งไว้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ คุณรุจน์และภรรยาจึงออกจากสนามบินไปท่องเที่ยวและทำธุระในเมืองย๊อกยาการ์ตาอย่างสบายใจพอถึงวันเดินทางกลับในวันที่ 29 มีนาคม 2552 ซึ่งจะต้องบินออกจากย๊อกยาการ์ตาไปจาการ์ตาในเวลา 12.45 น. คุณรุจน์และภรรยา จึงรีบเก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋า เดินทางมาถึงสนามบินย๊อกยาการ์ตา และเช็คอินในเวลา 10.30 น. ได้ถามพนักงานไทยแอร์เอเซียว่าเที่ยวบิน “ตรงเวลา” หรือเปล่า ได้รับคำตอบจากพนักงานยืนยันว่าเที่ยวบินนี้ตรงเวลาจนถึงเวลา 12.15 น. พนักงานของท่าอากาศยานได้ประกาศเรียกให้ผู้โดยสารของสายการบินไทยแอร์เอเซียเที่ยวบินที่จะไปจาการ์ตาเข้าไปรอที่หน้าประตูทางออก คุณรุจน์และภรรยาก็เบาใจว่าได้ขึ้นเครื่องบินตรงเวลาแน่ จึงได้ผ่านกระบวนการซื้อสิทธิการใช้ท่าอากาศยานและผ่านการตรวจค้นอาวุธเพื่อไปรอที่ประตูทางออกรอกันอยู่ที่ประตูทางออกจนถึงเวลาที่เครื่องบินจะต้องออกคือเวลา 12.45 น. ไม่เห็นวี่แววจะมีเครื่องบินของไทยแอร์เอเซียมารับไปจาการ์ตาเสียที มองไปที่ลานบิน เห็นเครื่องบินของสายการบินอื่นที่ได้เล็งไว้เผื่อเป็นเที่ยวบินสำรองเวลามีเหตุฉุกเฉิน ก็ทยอยโผผินบินไปทีละลำๆโอย...นี่มันเหตุฉุกเฉินแล้วนี่ คุณรุจน์และภรรยามองหน้ากันเลิ่กลั่ก และทำสิ่งที่อาจหาญที่สุดเท่าที่เคยทำในชีวิตที่ผ่านมาด้วยการ ขออนุญาตพนักงานรักษาความปลอดภัยของสนามบินวิ่งย้อนออกไปถามข้อมูลเรื่องความล่าช้าของเที่ยวบินกับพนักงานไทยแอร์เอเซียกระทั่งเวลาบ่ายโมงเศษถึงได้รับข้อมูลว่า เครื่องบินที่จะใช้เดินทางนั้นเกิดความล่าช้าในการบินจากสนามบินสิงคโปร์มาสนามบินย๊อกยาการ์ตา ทำให้ต้องเลื่อนการเดินทางออกจากย๊อกยาการ์ตาเป็นเวลา 15.00 น. และถึงจาการ์ตา เวลา 16.00 น.การที่พนักงานไทยแอร์เอเซียเพิ่งมาบอกข้อมูลการดีเลย์ของเที่ยวบิน ทำให้คุณรุจน์และภรรยาหมดสิทธิที่จะไปเช็คอินเที่ยวบินจาการ์ตา – กรุงเทพฯ ได้ทัน เพราะเครื่องบินจะออกเวลา 16.20 น. แต่ต้องเช็คอินก่อนเครื่องบินออกอย่างน้อย 45 นาที สองสามีภรรยาจึงได้แต่นั่งทำใจหลังจากนั่งทำใจอยู่ในสนามบินย๊อกยาการ์ตาจนเบื่อแล้วเบื่ออีก ท้ายที่สุด คุณรุจน์และภรรยาได้ขึ้นเครื่องจากย๊อกยาการ์ตาในเวลา 15.30 น. ล่าช้าไปกว่ากำหนดการเดิม 2 ชั่วโมงครึ่ง และถึงจาการ์ตาเวลา 16.30 น. ซึ่งเที่ยวบินที่ซื้อจองไว้โบยบินไปกรุงเทพฯ เรียบร้อยแล้วทำให้คุณรุจน์และภรรยาต้องควักเงินซื้อตั๋วเครื่องบินหาทางกลับกรุงเทพฯ ใหม่ทั้งหมด และกลับมาถึงกรุงเทพฯ เกือบเที่ยงคืน นับเป็นการเดินทางที่ต้องใช้ความพยายามอย่างแสนสาหัสและต้องจดจำไปอีกนานแนวทางการแก้ไขปัญหาหลังเกิดปัญหา คุณรุจน์และภรรยา ได้พยายามติดต่อไปที่ไทยแอร์เอเซียเพื่อให้แสดงความรับผิดชอบใช้เวลาไปอีก 26 วัน ถึงจะได้คำตอบว่า ไทยแอร์เอเซีย ไม่จ่ายค่าชดเชยให้ โดยอ้างว่าความล่าช้าของเที่ยวบินที่เกิดขึ้น เป็นความล่าช้าจากระบบของสนามบินสิงคโปร์ที่ขัดข้องอย่างกะทันหัน ทำให้เครื่องบินของไทยแอร์เอเซียจากสิงคโปร์ไม่สามารถบินมารับผู้โดยสารที่ย๊อกยาการ์ตาได้ตรงตามเวลาเมื่อเห็นการปัดความรับผิดชอบเช่นนั้น คุณรุจน์และภรรยาจึงอีเมลล์ไปสอบถามข้อเท็จจริงกับทางท่าอากาศยานสิงคโปร์ ไม่นานได้รับคำตอบกลับมาว่า เหตุล่าช้าของเที่ยวบินเจ้าปัญหานั้น เกิดความบกพร่องของสายการบินไทยแอร์เอเซียเอง ไม่ใช่ความผิดพลาดของสนามบินสิงคโปร์ คำตอบดังกล่าวทำให้ลิมิตความอดทนของคุณรุจน์และภรรยาขาดสะบั้น แบกความชอกช้ำระกำใจจูงมือกันมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยทำเรื่องฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเซียให้หลาบจำเสียทีศูนย์ทนายความอาสาเพื่อผู้บริโภค ของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับมอบอำนาจจากผู้ร้องทั้งสอง ยื่นฟ้องเป็นคดีผู้บริโภคเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเซีย โทษฐานผิดสัญญาการให้บริการ รวมเป็นเงิน 65,000 บาทเศษศาลได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ย ท้ายที่สุดไทยแอร์เอเซีย ยอมชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่เป็นค่าตั๋วเครื่องบิน ค่ารถแท๊กซี่ ในการที่ต้องวิ่งวุ่นไปมา ตามจำนวนที่ถูกเรียกร้องมาทั้งหมดคือ 15,844 บาท และยังยอมชดใช้ค่าเสียความรู้สึกอีกเป็นเงิน 30,000 บาท จากที่เรียกร้องไปในส่วนนี้ 50,000 บาท ทำให้คุณรุจน์ได้รับการเยียวยาความเสียหายจากการเดินทางด้วยความทรมานของสายการบินไทยแอร์เอเซียเป็นเงินทั้งสิ้น 45,844 บาทถือเป็นบรรทัดฐานสำหรับผู้โดยสารอื่นๆ ว่า ปัญหาเที่ยวบินดีเลย์แล้วไม่รับผิดชอบนั้น อย่าปล่อยให้สายการบินลอยนวลโดยเด็ดขาด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 107 โดนน้ำร้อนลวกบนแอร์เอเซีย

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2552 คุณปาริจฉัตร์ ได้เดินทางไปฮ่องกงกับเพื่อนอีก 5 คน ซึ่งทั้งหมดเป็นพนักงานฝ่ายขายของบริษัทขายยาและเวชภัณฑ์แห่งหนึ่ง โดยได้ใช้บริการไป-กลับ กับสายการบินไทยแอร์เอเซีย ขาไปเหตุการณ์ปกติ แต่ในขากลับ วันที่ 6 พ.ย. 2552 ออกจากฮ่องกงเวลา 20.50 น. และถึงกรุงเทพฯ เวลา 22.50 น.นั้น นับเป็นช่วงเวลาการเดินทางที่คุณปาริจฉัตร์ต้องจดจำไปอีกนานคุณปาริจฉัตร์ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในวันนั้นว่า ในขณะที่มีการเสิร์ฟอาหารบนเครื่อง เมื่อถึงที่นั่งแถวเธอ พนักงานต้อนรับบนเครื่องแจ้งว่า อาหารไม่มีให้เลือกแล้ว เหลือแต่สปาเก็ตตี้กับบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เธอเลยสั่งบะหมี่ถ้วยปกติและพี่ที่นั่งติดกันสั่งเป็นบะหมี่เกาหลีถ้วยใหญ่“หลังจากได้รับอาหารแล้วดิฉันก็รับประทานตามปกติ โดยวางกระเป๋าบนขาแล้วเอาถาดที่ใช้วางอาหารลงมา แต่ถ้วยบะหมี่ของพี่ที่นั่งข้างๆ นั้น น้ำที่ใส่ให้ในถ้วยเป็นแค่อุ่นน้อยๆ เอามือสัมผัสที่ถ้วยแล้วแทบจะไม่มีความร้อนเลยทำให้บะหมี่ไม่สุก เส้นแข็ง ไม่สามารถรับประทานได้ ดิฉันจึงได้เรียกพนักงานให้นำอาหารไปอุ่นให้”ไม่นานพนักงานก็เดินถือบะหมี่ถ้วยใหญ่มาเสิร์ฟ เมื่อเดินมาถึงทางด้านข้างเยื้องไปทางด้านหลัง พนักงานแจ้งว่า “ได้แล้วค่ะ” แต่ทันใดนั้นบะหมี่ที่มีน้ำร้อนอยู่เต็มถ้วยได้หกรดใส่ตัวคุณปาริจฉัตร์อย่างไม่ทันตั้งตัวโดยเฉพาะบริเวณต้นขาขวา“ตอนนั้นตกใจมากทั้งแสบทั้งร้อน ร้องออกมาเสียงดังมากด้วยความเจ็บปวดสะดุ้งสุดตัวจนลุกขึ้นยืนแต่ยืนไม่ได้เพราะติดเบลท์(belt) ที่คาดไว้” คุณปาริจฉัตร์ได้เล่าต่อว่า พนักงานได้กล่าวคำขอโทษบอกว่าไม่ได้ตั้งใจ ในจังหวะนั้นคุณปาริจฉัตร์รีบปลดเบลท์ ปัดทุกอย่างออกจากตัวแล้ววิ่งไปทางด้านหลังเครื่องโดยมีพนักงานที่ก่อเหตุวิ่งตามมาด้วย และได้ร้องขอน้ำเปล่า น้ำเย็น น้ำแข็ง จากพนักงานแล้วทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในห้องน้ำ และต้องนั่งอยู่ในนั้นตลอดการเดินทางเพราะต้องถอดเสื้อผ้าออกเกือบทั้งหมดเพื่อทำการปฐมพยาบาล และเมื่อมาถึงสนามบินเพื่อนๆ ที่มาด้วยกันจึงได้พาคุณปาริจฉัตร์ไปรักษาที่โรงพยาบาลทันที และได้มีการร้องเรียนผ่านทางศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชลบุรีและส่งต่อมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อดำเนินการให้ความช่วยเหลืออีกทีแนวทางแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ครั้งนี้มีรายละเอียดอีกเยอะที่คุณปาริจฉัตร์ได้เล่ามา แต่ต้องขอตัดทอนเอาเฉพาะที่สำคัญ ซึ่งโดยสรุปคือเป็นเรื่องที่พนักงานของสายการบินประมาทขาดความระมัดระวังทำให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ แม้จะไม่หนักหนาสาหัสแต่ก็มีความเสียหายทุกข์ทรมานไม่น้อยที่ต้องโดนน้ำร้อนลวกจนเกือบจะถูกจุดสำคัญเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิจึงแนะนำให้ผู้ร้องรายนี้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน และในวันที่ 27 พ.ย.2552 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจึงได้นัดเจรจาไกล่เกลี่ยระหว่างผู้เสียหายคือคุณปาริจฉัตร์และตัวแทนของบริษัทไทยแอร์เอเซียคือคุณระวีวรรณ สุทธิลักษณ์ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ ขึ้น โดยในวันดังกล่าว ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันว่าผู้บริโภคจะไม่ติดใจเอาความทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป โดยไทยแอร์เอเซียได้เสนอเยียวยาความเสียหายดังนี้1. ชดเชยค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง จำนวน 2,160.80 บาท2. ชดเชยความเสียหายของทรัพย์สินคือ กระเป๋าและเสื้อผ้าที่ถูกบะหมี่หกราด จำนวน 5,000 บาท3. ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ กรุงเทพฯ-ฮ่องกง ของสายการบินแอร์เอเซีย จำนวน 6 ที่นั่ง(ไม่ระบุวันเดินทางไป-กลับ)4. ให้บริษัทไทยแอร์เอเซียฯ ออกจดหมายขอโทษผู้บริโภคอย่างเป็นทางการต่อมาในวันที่ 2 ธันวาคม 2552 คุณระวีวรรณ สุทธิลักษณ์ ผู้จัดการฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ บริษัท ไทยแอร์เอเซีย ได้ดำเนินการเยียวยาความเสียหายตามที่ได้ตกลงกันไว้ พร้อมกับจดหมายขอโทษอย่างเป็นทางการถึงคุณปาริจฉัตร์ โดยมีสาระที่น่าสนใจดังนี้ทางสายการบินฯ และพนักงานทุกคนขอแสดงความเสียใจอย่างที่สุดที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นกับท่าน และขอเรียนให้ทราบว่าหลังจากได้ทราบเรื่องราวที่เกิดขึ้น เจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้เข้าร่วมประชุมและหารือถึงสาเหตุและมาตรการต่างๆ ซึ่งทางหลักปฏิบัติโดยทั่วไปนั้น หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น พนักงานต้อนรับจะต้องรีบทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นโดยใช้ชุดอุปกรณ์ตามมาตรฐานความปลอดภัยในอากาศยาน และจะต้องทำการแจ้งกับผู้ควบคุมการบินประจำเที่ยวบินนั้นโดยทันทีผู้ควบคุมการบินจะทำการติดต่อหอบังคับการ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นเพื่อดำเนินการเตรียมอุปกรณ์เพื่อพร้อมรับผู้โดยสารไปยังโรงพยาบาลทันที ณ เครื่องบินลงจอด ซึ่งสายการบินฯ ให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นอันดับหนึ่ง พนักงานทุกภาคส่วนได้รับการฝึกอบรมตามมาตรฐานความปลอดภัยในอากาศยานมาโดยตลอดอย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้มีการแจ้งไปยังหน่วยงาน ผู้เกี่ยวข้องตามระเบียบปฏิบัติแต่อย่างใด ยังผลให้ท่านผู้โดยสารไม่ได้รับการช่วยเหลือที่ถูกต้อง อันเป็นเหตุมาจากการประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด และการไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับที่กำหนดของพนักงานต้อนรับท่านดังกล่าว ทั้งนี้สายการบินฯ ได้มีการเรียกประชุมแผนกพนักงานต้อนรับเพื่อให้มีการรับทราบ และเพื่อให้พนักงานทุกคนได้ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัดเพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวอีกต่อไป....

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 100 เที่ยวเกาะหลีเป๊ะแบบเปลือยๆ กับบริการพิเศษไทยแอร์เอเชีย

“กระเป๋าของฉันอยู่ไหน”คุณอิสริยาเดินจูงมือน้องชายที่บินมาด้วยกันจากสนามบินสุวรรณภูมิเพื่อสอบถามกับพนักงานของบริษัทไทยแอร์เอเชียที่ประจำอยู่ที่สนามบินหาดใหญ่ว่า ทำไมไม่เห็นกระเป๋าเสื้อผ้าของตนและน้องชายที่เตรียมไว้สำหรับไปเที่ยวเกาะหลีเป๊ะที่จังหวัดสตูลจำนวน 5 วันเสียที ทั้งๆ ที่ลงเครื่องมานานแล้วพนักงานให้คำตอบอันสุดแสนประทับใจว่า ทางสายการบินไม่ได้โหลดกระเป๋าขึ้นเครื่องมาด้วย และวันนี้ก็คงจะส่งตามมาไม่ทัน“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย”“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย”“แล้วอย่างงี้จะเที่ยวได้ยังไงเนี่ย” คุณอิสริยารำพึงกับตัวเอง รู้สึกว่าทำไมเช้านี้ชีวิตถึงได้อับโชคขนาดนี้ กะว่าจะเที่ยวเกาะหลีเป๊ะกับน้องชายให้ครึกครื้นเศรษฐกิจไทยคึกคักตามคำคุยของ ททท. เสียหน่อย แต่ต้องมาเจอบริการพิเศษที่ไม่ได้สั่งจองจากไทยแอร์เอเซียที่ให้บินมาได้แต่ตัว แต่กระเป๋าเสื้อผ้าและของใช้จำเป็นอื่นๆ ไม่บินมาด้วยพอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะคุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อนพอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะคุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อนพอสอบถามเพิ่มเติมว่าจะได้เห็นกระเป๋าเมื่อไหร่ พนักงานบอกว่า คงจะได้รับในช่วงบ่ายของวันรุ่งขึ้นโดยทางสายการบินจะฝากกระเป๋าไปกับเรือส่งให้ถึงรีสอร์ตบนเกาะคุณอิสริยากับน้องชายไม่มีทางเลือกเพราะต้องเดินทางไปที่ จ.สตูลให้ทันเรือรอบ 11.30 น. เพื่อไปพักที่เกาะหลีเป๊ะ จึงได้ทำเรื่องทิ้งไว้และไปปักหลักรอกระเป๋าเสื้อผ้าที่เกาะ ซึ่งคืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องแก้ปัญหาด้วยการซื้อเสื้อผ้ามาใส่ประทังไปก่อนพอถึงวันรุ่งขึ้นแทนที่จะได้ออกไปเที่ยวทะเลดำน้ำเหมือนนักท่องเที่ยวคนอื่นๆ คุณอิสริยาต้องมานั่งรอกกระเป๋าอยู่ในที่พัก รอจนถึงบ่ายสองโมงก็ยังไม่เห็นกระเป๋าสุดที่รัก จึงโทรไปถามกับพนักงานไทยแอร์เอเชีย ได้รับแจ้งว่า ได้ทิ้งกระเป๋าไว้ให้กับบริษัทเรือที่จะมาเกาะหลีเป๊ะแล้วแต่บริษัทเรือไม่ได้นำลงเรือไปเกาะด้วย ทำให้คืนนั้นคุณอิสริยาและน้องชายต้องซื้อเสื้อผ้าใส่กันอีกหนึ่งชุดคุณอิสริยามาได้กระเป๋าในวันที่สามของการท่องเที่ยวครั้งนี้ในเวลาประมาณบ่ายสามโมงกว่าๆ สรุปว่ามาเที่ยว 5 วัน ใช้เวลา 3 วันเพื่อรอกระเป๋าและได้เที่ยวจริงๆ เพียงแค่ 2 วัน ด้วยอารมณ์บูดสุดๆ พอถึงวันเดินทางกลับคุณอิสริยาได้ร้องเรียนเรียกค่าเสียหายกับไทยแอร์เอเชียที่ทำกระเป๋าตกทั้งเครื่องบิน ตกทั้งเรือจนไม่มีเสื้อผ้าใส่ ซึ่งไทยแอร์เอเชียแสดงความรับผิดชอบชดใช้เงินให้กับคุณอิสริยาและน้องชายคนละ 300 บาท บวกค่าเรือไปรับกระเป๋าอีก 100 บาทรวมเป็นเงิน 700 บาท พร้อมสำทับว่านี่คือมาตรฐานความรับผิดชอบค่าเสียหายของบริษัท คุณอิสริยาเห็นหลักในการชดใช้ดังกล่าวของไทยแอร์เอเชียแล้วต้องบอกว่า รับไม่ได้“ถ้าดิฉันเป็นคนหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับกระเป๋าจะต้องรอกี่วันก็ไม่เดือดร้อน เพราะรออยู่ที่บ้านตัวเอง แต่นี่ดิฉันและน้องชายเดินทางไปพักผ่อนในเวลาจำกัดและไปพักบนเกาะ ความเดือดร้อนและความเสียหายมันต่างกัน แล้วไม่ใช่แค่วันเดียว แต่เป็น 2 คืน 3วันที่กว่าจะได้รับกระเป๋า...”เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายสุดคุณอิสริยาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหานี้แนวทางแก้ไขปัญหา“ถ้าดิฉันเป็นคนหาดใหญ่แล้วไม่ได้รับกระเป๋าจะต้องรอกี่วันก็ไม่เดือดร้อน เพราะรออยู่ที่บ้านตัวเอง แต่นี่ดิฉันและน้องชายเดินทางไปพักผ่อนในเวลาจำกัดและไปพักบนเกาะ ความเดือดร้อนและความเสียหายมันต่างกัน แล้วไม่ใช่แค่วันเดียว แต่เป็น 2 คืน 3วันที่กว่าจะได้รับกระเป๋า...”เมื่อไม่สามารถตกลงกันได้ท้ายสุดคุณอิสริยาจึงร้องเรียนมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเพื่อให้ช่วยแก้ปัญหานี้มูลนิธิฯ ได้ช่วยทำจดหมายประสานไปยังไทยแอร์เอเชีย ซึ่งในเวลาต่อมาสายการบินราคาประหยัดแห่งนี้ได้มีจดหมายชี้แจงถึงสาเหตุที่กระเป๋าผู้โดยสารมีอันต้องตกเครื่องบินและตกเรือว่า ปัญหาเริ่มต้นมาจากระบบการลำเลียงสัมภาระได้ส่งสัมภาระมาล่าช้า จึงเป็นสาเหตุให้สัมภาระที่ลงทะเบียนไม่ได้ถูกส่งไปพร้อมกับเที่ยวบินที่ผู้เสียหายเดินทาง บริษัทฯ ได้รีบดำเนินการจัดส่งไปในเที่ยวบินถัดไปของวันเดียวกันซึ่งออกจากกรุงเทพฯเวลา 10.40 ถึงหาดใหญ่เวลา 12.05 น. และนำไปส่งบริษัทเรือที่ท่าเรือปากบารา จังหวัดสตูล เพื่อส่งขึ้นเรือและนำไปส่งที่หลีเป๊ะ แต่มาไม่ทันเวลาเรือที่ออกไปหลีเป๊ะ จึงแจ้งให้บริษัทเรือจัดส่งให้ในวันถัดไป จนกระทั่งได้รับการติดต่อจากผู้ร้องว่ายังไม่ได้รับกระเป๋า ไทยแอร์เอเชียจึงติดต่อไปยังบริษัทเรือ ถึงทราบว่าบริษัทเรือลืมนำสัมภาระลงเรือ จึงต้องจัดส่งให้ในวันต่อไปอย่างไรก็ดี ไทยแอร์เอเชียได้พิจารณาให้ผู้ร้องเป็นกรณีพิเศษ โดยชดเชยค่าเสียหายให้เป็นจำนวนเงิน 1,100 บาท เป็นทั้งค่าเสื้อผ้าและค่าเรือที่ผู้ร้องจ่ายเพื่อไปรับกระเป๋า ซึ่งเป็นจุดที่คุณอิสริยาพอที่จะรับได้จึงยินยอมรับเงินชดเชยค่าเสียหายจำนวนดังกล่าวในท้ายที่สุด  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 53 ราคาแอร์เปรียบเทียบกับขนาดห้องที่เหมาะสม

ข้อมูลเปรียบเทียบราคาเครื่องปรับอากาศที่นำมาแสดงนี้ เป็นข้อมูลที่เก็บได้จากบริษัท สินสยามอิเล็คทรอนิคส์ จำกัด ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีเครื่องปรับอากาศทั้งหมด 7 ยี่ห้อ ได้แก่  ซัมซุง , เนชั่นแนล , ชาร์ป , เวิร์ลพูล , โตชิบา ,มิตซูบิชิ และไซโจเดนกิ เกณฑ์การจัดอันดับเพื่อการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศนี้ใช้เกณฑ์ในเรื่องของราคา เปรียบเทียบกับขนาดบีทียูของเครื่องปรับอากาศและขนาดของห้องที่เหมาะสมตามข้อแนะนำการประหยัดพลังงานในอาคารของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นหลักในการจัดกลุ่ม และจะแสดงผลโดยยึดราคาขายเป็นหลักโดยเรียงจากเครื่องปรับอากาศที่ราคาต่ำไปหาราคาที่สูงขึ้น ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอุปกรณ์เสริม ประสิทธิภาพด้านพลังงานให้ขอดูได้จากใบแนะนำสินค้าและฉลากที่แสดงอยู่ที่ตัวเครื่อง   หลักในการเลือกซื้อคือ ไม่ควรซื้อเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดบีทียูสูงเกินความจำเป็นของขนาดห้อง เพราะไม่มีความจำเป็น และจะทำให้สิ้นเปลืองค่าไฟฟ้ามากกว่า อุปกรณ์เสริมพิเศษอื่น ๆ จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ราคาของเครื่องสูงขึ้นในขณะที่ขนาดบีทียูอาจจะต่ำกว่าเครื่องที่ไม่มีอุปกรณ์เสริม ถ้าจะเลือกต้องพิจารณาให้ดีโดยใช้ขนาดของห้อง ขนาดบีทียูของเครื่องปรับอากาศ และเงินในกระเป๋าเป็นสำคัญ การเลือกเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสม (ความสูงของห้องปกติ  ไม่เกิน 3 เมตร ) พื้นที่ห้องตามความสูงปกติ ( ตารางเมตร )                

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า150 Point

ฉบับที่ 110 แอร์ฆ่าเชื้อโรค จำเป็นแค่ไหน

ฟิลเตอร์ที่ติดมากับเครื่องในลักษณะนี้จะไม่สามารถกรองจุลินทรีย์ได้เลย เนื่องจากจุลินทรีย์มีขนาดที่เล็กมากที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็นและจะหลุดรอดฟิลเตอร์ได้ทั้งหมด ฟิลเตอร์ที่จะกรองจุลินทรีย์ได้นั้นจะต้องเป็นฟิลเตอร์เฉพาะที่เรียกว่า HEPA filter (High Efficient Particulate Absorbing filter) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับไส้กรองอากาศในรถยนต์ ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมานี้ ผมได้รับคำถามจากสื่อมวลชนต่างๆ เกี่ยวกับ “แอร์ฆ่าเชื้อ” หลายครั้ง เนื่องจากเครื่องปรับอากาศหลายยี่ห้อได้เสนอทางเลือกใหม่ให้แก่ผู้บริโภคโดยอ้างว่า สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยทั้งแบคทีเรียและไวรัส โดยเฉพาะอย่างยิ่งไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคระบาดต่างๆ เช่น SARS หรือไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 เป็นต้น แอร์ฆ่าเชื้อมีจริงหรือไม่? ทำงานได้จริงหรือไม่? ทำไมมีโฆษณาแอร์ที่มีระบบฆ่าเชื้อด้วย? เลยถือโอกาสมาบอกเล่าให้ชาว ”ฉลาดซื้อ” ทราบ เชื้อโรคกับฟิลเตอร์“เชื้อ” หรือ “เชื้อโรค” ที่ทุกคนเข้าใจกันเป็นส่วนใหญ่คงจะหมายถึงจุลินทรีย์ต่างๆ ที่ให้เกิดโรคได้ ที่เรารู้จักกันดีก็ได้แก่แบคทีเรีย ไวรัส รา ยีสต์ เป็นต้น แต่ในความเป็นจริง จุลินทรีย์นั้นมีอยู่ทั่วไป ทุกที่ทุกเวลาและทุกชนิดที่กล่าวมา ส่วนใหญ่เป็นชนิดที่ไม่ทำอันตรายต่อมนุษย์ คือไม่ก่อให้เกิดโรค เชื้อที่ก่อโรคจริงๆ ก็สามารถพบได้ด้วยแต่จะมีอยู่น้อยมาก และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวกจะพบได้น้อยมากๆ ถ้าถามว่า แอร์ที่ฆ่าเชื้อได้มีจริงหรือ ผมคงต้องตอบว่ามี แต่พวกที่สามารถฆ่าเชื้อหรือกรองเชื้ออย่างละเอียดนั้นจะไม่ได้มีใช้ทั่วไป แต่จะมีใช้เฉพาะแห่งเท่านั้น เช่นในห้องที่ต้องการการปลอดเชื้อปลอดฝุ่นอย่างมาก เช่น ห้องผ่าตัด ห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ห้องวิจัย ห้องทำแผงวงจรต่างๆ เป็นต้น เนื่องจากเครื่องเหล่านี้จะมีราคาแพงมาก บางครั้งเครื่องที่ฆ่าเชื้อหรือดักฝุ่น อาจไม่อยู่รวมกับเครื่องปรับอากาศ แต่จะแยกต่างหากเป็นระบบการกำจัดเชื้อจากอากาศ กลไกในการกำจัดจุลินทรีย์ที่มีในเครื่องปรับอากาศหรือเครื่องฟอกอากาศที่นิยมใช้คือ การกรองด้วยฟิลเตอร์ ฟิลเตอร์ที่ใช้นี้จะไม่ใช่ฟิลเตอร์ที่กรองฝุ่นที่ติดมากับเครื่องปรับอากาศ ลักษณะจะเป็นคล้ายฟองน้ำบางๆ มีรูพรุน หากส่องแสงจะเห็นแสงลอดออกมาได้หรืออาจเป็นฟิลเตอร์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายมุ้งลวดพลาสติก ฟิลเตอร์ที่ติดมากับเครื่องในลักษณะนี้จะไม่สามารถกรองจุลินทรีย์ได้เลย เนื่องจากจุลินทรีย์มีขนาดที่เล็กมากที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น (เฉลี่ยจะมีขนาดประมาณ 1 ไมครอนหรือ 1/1000 มิลลิเมตร) และจะหลุดรอดฟิลเตอร์ได้ทั้งหมด ฟิลเตอร์ที่จะกรองจุลินทรีย์ได้นั้นจะต้องเป็นฟิลเตอร์เฉพาะที่เรียกว่า HEPA filter (High Efficient Particulate Absorbing filter) มีลักษณะคล้ายกับไส้กรองอากาศในรถยนต์ (แบบที่เป็นใยสีขาว) แต่จะมีจำนวนชั้นเรียงทบกันหนากว่า สามารถกรองอนุภาคฝุ่น แบคทีเรีย รา ซึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่า 0.3 ไมครอนได้ อย่างไรก็ตามฟิลเตอร์ชนิดนี้จะไม่สามารถกรองไวรัสได้(ฟิลเตอร์ที่จะกรองไวรัสได้ต้องมีขนาด 0.1 ไมครอน) HEPA filter นั้นจะมีราคาแพง ในประเทศอเมริกา HEPA filter หนึ่งตารางฟุตหรือ 30 ซม x 30 ซม. หนาประมาณ 2 นิ้ว ราคาประมาณ 3,000 บาท และเช่นเดียวกับฟิลเตอร์ต่างๆ HEPA filter ก็มีอายุการใช้งานด้วย แม้เครื่องปรับอากาศมีระบบกรอง HEPA filter นั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้ได้ตลอด จะต้องมีการเปลี่ยนด้วย(ไม่สามารถล้างได้) และถ้าไม่เปลี่ยนก็จะไม่มีประสิทธิภาพในการดักจับจุลินทรีย์ได้อีกต่อไปอีกวิธีการหนึ่งที่มีการโฆษณาว่าใช้ระบบไอออนเพื่อฆ่าเชื้อรวมทั้งกำจัดกลิ่น หลักการทำงานของระบบไอออนนี้ก็คือจะสลายน้ำเพื่อให้ได้อนุมูลออกซิเจนที่มีประจุลบ (O2-) และอนุมูลไฮดรอกซิล (OH-) ซึ่ง อนุมูลทั้งสองชนิดนี้เป็นอนุมูลอิสระ สามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีนหรือพอลิแซ็กคาไรด์ที่เป็นส่วนประกอบของผนังเซลล์หรือผิวของแบคทีเรียหรือไวรัสทำให้เกิดการทำลายแบคทีเรียหรือไวรัสได้ อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบันนี้ ยังไม่มีรายงานคำยืนยันใดๆ จากนักวิชาการอิสระ(ที่ไม่ใช่ผู้ผลิต) ที่ยืนยันคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นจากการใช้เครื่องปรับอากาศแบบนี้ นอกจากนี้ในทางเดินหายใจของมนุษย์เราก็มีโปรตีนเช่นเดียวกัน จึงยังเป็นที่ถกเถียงกันต่อไปอีกว่า จะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนด้วยหรือไม่ (Bolashikov & Melikov, Building and Environment 44(2009), 1378-1385) แอร์ไม่ได้มีไว้ฟอกอากาศผู้บริโภคจำเป็นต้องเข้าใจความจริงอย่างหนึ่งคือ ในทุกที่บนโลกจะมีจุลินทรีย์อยู่แล้ว ในดิน ในน้ำ ในอากาศ มากน้อยต่างกันไป พบได้ทั้งในบ้าน ในห้องทำงาน ห้องประชุม ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องครัว ห้องเลี้ยงเด็กเล็ก จุลินทรีย์ที่พบส่วนใหญ่จะเป็นพวกที่ไม่ก่อโรค ดังนั้น แม้ว่าจะมีแอร์หรือเครื่องฟอกอากาศจะสามารถทำงานได้จริงตามที่กล่าวอ้างก็จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย เพราะเมื่อเปิดประตูห้องออกไป เราก็จะเจอกับจุลินทรีย์สารพัดชนิด และที่สำคัญ เมื่อเราเปิดประตูห้อง จุลินทรีย์จากภายนอกก็จะปะปนเข้ามาในห้องได้ใหม่ และถ้าเป็นห้องที่เปิดเข้าออกบ่อยครั้ง แอร์ฆ่าเชื้อยิ่งไม่มีประโยชน์เลยแม้แต่น้อย หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ ไม่มีวันฆ่าจุลินทรีย์ได้หมดนั่นเอง และต่อให้ในห้องมีแอร์ฆ่าเชื้อโรคได้ หากคนที่นั่งข้างๆ หรือคนในห้องเป็นหวัด 2009 เราก็คงมีโอกาสติดได้มากเช่นเดียวกัน ดังนั้นในการเลือกซื้อแอร์ สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณาคือประโยชน์ที่สำคัญของแอร์นั่นเอง คือเป็นเครื่องทำความเย็นให้แก่ห้อง การเลือกซื้อ จึงควรให้ความสนใจในเรื่องของความสามารถในการทำความเย็น อัตราการใช้ไฟ (ควรเป็นเบอร์ 5) หรือความเงียบในการทำงานมากกว่า ส่วนเรื่องของการฆ่าเชื้อ น่าจะเป็นเรื่องรอง ซึ่งเป็นเรื่องการเพิ่มมูลค่าและความสามารถในการแข่งขันทางการตลาดของผู้ผลิต และจะทำให้เครื่องมีราคาแพงมากขึ้นโดยได้ประโยชน์ไม่คุ้มค่า แต่ถ้าผู้บริโภคยังยืนยันที่จะต้องการการฆ่าเชื้อในอากาศ เครื่องฟอกอากาศน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าครับ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 98 เลือกซื้อแอร์กับฉลาดซื้อ

กองบรรณาธิการ“จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจ ความไม่แน่นอนทางการเมือง และราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัว สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้แนวโน้มของตลาดเครื่องปรับอากาศในปีนี้อาจจะอยู่ในภาวะชะลอตัว” ประโยคข้างต้นอาจดูคล้ายหัวข้อข่าวในหน้าเศรษฐกิจของหนังสือพิมพ์หลายฉบับ และในความเป็นจริง แม้ว่าสภาพอากาศในช่วงฤดูร้อนมีทีท่าจะร้อนระอุกว่าปีที่ผ่านมา และความต้องการเครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้น แต่สภาพทางเศรษฐกิจที่ปรับลดลง สะท้อนให้เห็นว่าผู้บริโภคเริ่มมีการใช้จ่ายที่ระมัดระวังมากยิ่งขึ้น ดังนั้นคาดว่าการแข่งขันของตลาด เครื่องปรับอากาศในปีนี้จะรุนแรง และจะทำให้ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องปรับอากาศต้องพยายามปรับตัว พร้อมจัดรายการส่งเสริมการขายเครื่องปรับอากาศ ตั้งแต่ต้นปีเพื่อกระตุ้นยอดขายให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้   โปรโมชั่นส่วนใหญ่เน้นไปที่การแข่งขันทางด้านเทคโนโลยีของเครื่องปรับอากาศ ที่สร้างความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ ด้วยเทคโนโลยีเฉพาะตัว และหันกลับมาใช้กลยุทธ์ทางด้านราคา โดยเฉพาะกลุ่มผู้ผลิตรายใหญ่ สำหรับตลาดเครื่องปรับอากาศในปีนี้ จะมีมูลค่าประมาณ 740,000 เครื่อง โดยมีอัตราการเติบโตในเชิงปริมาณอยู่ที่ 4% ขณะที่การเติบโตในเชิงมูลค่าจะอยู่ที่ 2% จากปกติจะเติบโตเฉลี่ยประมาณ 5-10% โดยมีแบรนด์มิตซูบิชิ อีเล็คทริคของ ค่ายกันยงวัฒนาเป็นผู้นำตลาด ครองส่วนแบ่ง 29% และจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ทำให้กันยงต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาด ด้วยการเพิ่มกำลังการผลิต และปรับลดคุณสมบัติที่ไม่จำเป็นออกไป เพื่อให้ราคาของเครื่องปรับอากาศลดลง ในฤดูร้อนเช่นนี้อุณหภูมิที่เพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนัก ทำให้ค่าไฟฟ้าสูงมากขึ้น ซึ่งการดูแลเครื่องปรับอากาศให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเพื่อเตรียมรับหน้าร้อนโดยการล้างเครื่องปรับอากาศจะทำให้เครื่องปรับอากาศทำงานได้ดีขึ้น ส่วนใครที่ต้องการซื้อเครื่องปรับอากาศในหน้าร้อนนี้ก็ต้องทำการบ้านกันหน่อยค่ะ เพราะจากการสำรวจพบว่าพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคจะเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีเทคโนโลยีเรื่องของสุขภาพมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาคือช่วยประหยัดไฟ ราคา บริการหลังการขายและรูปลักษณ์ของตัวสินค้า แต่อย่างไรก็ตามฉลาดซื้อเห็นว่า เราควรเลือกเครื่องปรับอากาศแบบที่คุ้มค่าระหว่างเงินที่เสียไปกับเทคโนโลยีที่ได้มา อีกทั้งผู้บริโภคยังต้องคำนึงถึงเรื่องการช่วยประหยัดไฟในระยะยาวด้วยนะคะ แอร์เลือกอย่างไรให้เย็นใจ 1.เลือกเครื่องปรับอากาศให้เหมาะกับขนาดของห้องขนาดการทำความเย็นของเครื่องปรับอากาศ เรียกว่า บีทียู (บีทียู/ชั่วโมง) การเลือกขนาดบีทียูให้เหมาะกับขนาดห้องเป็นเรื่องสำคัญสุด ทำไมต้องเลือกบีทียูให้พอเหมาะกับห้อง เพราะถ้า BTU สูงไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตัดบ่อยเกินไป ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดน้อยลง ทำให้ความชื้นในห้องสูง ไม่สบายตัวและที่สำคัญราคาแพงและสิ้นเปลืองพลังงาน BTU ต่ำไป คอมเพรสเซอร์ทำงานตลอดเวลา เพราะความเย็นห้องไม่ได้ตามอุณหภูมิที่ตั้งไว้ สิ้นเปลืองพลังงานและเครื่องเสียเร็ว   BTU/ ช.ม. ห้องปกติ (ตารางเมตร) ห้องที่โดนแดด (ตารางเมตร) 9000 12-15 11-14 12000 16-20 14-18 18000 24-30 21-27 21000 28-35 25-32 24000 32-40 28-36 26000 35-44 30-39 30000 40-50 35-45 36000 48-60 42-54 48000 64-80 56-72 60000 80-100 70-90 หรือมีสูตรสำหรับคำนวณง่ายๆ คือ BTU = พื้นที่ห้อง ( กว้าง X ยาว ) X ตัวแปรตัวแปรแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ 700 สำหรับห้องที่มีความร้อนน้อยใช้เฉพาะกลางคืน 800 สำหรับห้องที่มีความร้อนสูงใช้กลางวันมาก และกรณีที่ห้องสูงกว่า 2.5 เมตร บวกเพิ่ม 5 % 2.เลือกฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5การเลือกฉลากเบอร์ 5 หมายถึงว่า คุณได้เลือกเครื่องปรับอากาศที่ไม่กินไฟมากแต่ให้ความเย็นได้เท่ากัน หากเครื่องปรับอากาศที่คุณชอบเป็นเบอร์ 5 เหมือนกัน บีทียูเท่ากัน ให้เลือกเครื่องที่มีค่า EER สูงกว่า เพราะกินไฟน้อยกว่าแต่ให้กำลังความเย็นเท่ากัน (ค่า EER หรือ Energy Efficiency Ratio เป็นค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพด้านพลังงาน ซึ่งสามารถคำนวณได้เองหรือดูจากเอกสารแนะนำสินค้าที่ผู้ผลิตนำเสนอไว้ หรือดูได้ทันทีตอนนี้เลยที่เรื่องเด่น 2 ค่ะ) 3.พิจารณาเรื่องอายุการใช้งาน การติดตั้งและบริการหลังการขายความบกพร่องใดๆ ย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าเลือกบริษัทหรือผู้ผลิตที่น่าเชื่อถือ มีการทำตลาดมานาน มีบริการติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญ และบริการหลังการขายที่ดี ตลอดจนการรับประกันต่างๆ ก็คือจุดสำคัญของการพิจารณาเลือกเครื่องปรับอากาศเช่นกัน 4.พิจารณาคุณสมบัติพิเศษและดีไซน์ต่างๆ ว่าใช้คุ้มราคาหรือไม่นอกจากเบอร์ 5 แล้ว เดี๋ยวนี้ยังแข่งขันกันด้านเทคโนโลยีความเย็น ความเงียบ จนกระทั่งก้าวมาสู่กระแสสุขภาพที่หลายๆ แบรนด์ต้องใส่ระบบฟอกอากาศในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งมีทั้ง ซิลเวอร์นาโน นาโนไททาเนียม แผ่นกรองเฮปป้าฟิลเตอร์ พลาสม่าคลัสเตอร์ เป็นต้น ลองพิจารณาดูนะคะว่าคุ้มค่าหรือไม่ เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ ระบบการทำการของเครื่องปรับอากาศก็มีผลต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคเช่นกัน เช่น ระบบฟอกอากาศ (Air Purifier) ซึ่งในปัจจุบันผู้ผลิตนิยมติดตั้งระบบฟอกอากาศไว้ในเครื่องปรับอากาศ เพื่อช่วยทำให้อากาศภายในห้องมีความสะอาดบริสุทธิ์ มากขึ้น ซึ่งระบบฟอกอากาศที่ติดตั้งมาพร้อมเครื่องปรับอากาศมีอยู่ด้วยกันหลายระบบดังนี้(1) การกรอง (Filtration) เป็นการใช้แผ่นกรองอากาศในการดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาคที่มีขนาดใหญ่กว่าช่องว่างระหว่างเส้นใย โดยที่สิ่งสกปรกจะติดค้างอยู่ที่ไส้กรอง และต้องทำการเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งาน ตัวอย่างของระบบนี้ก็คือ HEPA (High Efficiency Particulate Air) ซึ่งเป็นการกรองอากาศที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดอนุภาคขนาดเล็กถึง 0.05 ไมครอน ในกรณีที่ต้องการกำจัดกลิ่นในอากาศ จะนิยมใช้แผ่นคาร์บอน (Activated carbon filters) เพื่อดูดซับกลิ่นเช่น กลิ่นควันบุหรี่ กลิ่นอาหารเป็นต้น    (2) การดักจับด้วยไฟฟ้าสถิต (Electrostatic Precipitator) เป็นการใช้ตะแกรงไฟฟ้า (Electric grids) ในการดักจับฝุ่นละออง หรืออนุภาค โดยการเพิ่มประจุไฟฟ้าให้กับอนุภาคฝุ่นละออง และใช้แผ่นโลหะอีกชุดหนึ่งซึ่งเรียงขนานกันดูดอนุภาคฝุ่นละอองไว้ โดยที่หลังจากใช้งานไประยะหนึ่งต้องหยุดเครื่องเพื่อทำความสะอาดแผ่นโลหะ(3) การปล่อยประจุไฟฟ้า (Ionizer) เป็นการใช้เครื่องผลิตประจุไฟฟ้า และปล่อยออกมาพร้อมกับลมเย็นเพื่อดูดจับอนุภาคฝุ่นละออง และกลิ่น โดยประจุลบที่ปล่อยออกมาจะทำการดูดจับอนุภาคฝุ่นละอองและกลิ่น ซึ่งมีโครงสร้างเป็นประจุบวก จนกระทั่งกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นรวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น และตกลงสู่พื้นห้อง โดยกลุ่มอนุภาคเหล่านั้นจะถูกกำจัดไปพร้อมกับการทำความสะอาดพื้นห้องตามปกติ ดังนั้นระบบนี้จึงไม่จำเป็นต้องมีการทำความสะอาดเพราะไม่มีการดักจับโดยใช้แผ่นกรอง แต่เป็นการใช้ปฏิกิริยาทางเคมี ประจุลบ = ผลิตจากระบบฟอกอากาศประจุบวก = ฝุ่นละออง กลิ่น ควัน เชื้อโรค เครื่องปรับอากาศที่บอกว่ามีระบบฟอกอากาศนั้นเพียงแค่ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปเพาะเชื้อในเครื่องได้ตอนที่ปิดเครื่องไปแล้วมีความชื้น เครื่องปรับอากาศนั้นหน้าที่เดียวคือให้ความเย็นในเมืองร้อน (หรือให้ความอุ่นในเมืองหนาว) การกรองอากาศ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการฟอกอากาศ ซึ่งการกรองอากาศคือการดูดฝุ่นนั่นเอง ในขณะที่การฟอกอากาศที่ดีจะเพิ่มการปล่อยประจุ +/- มาฆ่าเชื้อโรค หรือทำให้เชื้อโรคเป็นหมันและสลายเคมีที่เป็นอันตรายด้วย ดังนั้นการจะเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศหรือฟอกอากาศนั้นควรจะคำนึงเสียก่อนว่าระหว่าง อากาศเย็นสบายกับอากาศที่ปราศจากสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเรา สิ่งใดสำคัญกว่ากันค่ะ 5. เลือกประเภทของเครื่องปรับอากาศให้เหมาะสมเครื่องปรับอากาศ 2 แบบที่ผู้บริโภคมักใช้กันในบ้าน คือ1) แบบติดผนัง (Wall type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่มีรูปแบบเล็กกะทัดรัด เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่น้อย เช่น ห้องนอน ห้องรับแขกขนาดเล็ก ข้อดี: รูปแบบทันสมัย และมีให้เลือกหลากหลาย เงียบ และติดตั้งง่าย ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับงานหนัก เนื่องจากคอยล์เย็นมีขนาดเล็กส่งผลให้คอยล์สกปรก และอุดตันง่ายกว่าคอยล์ที่มีขนาดใหญ่กว่า 2) แบบตั้ง/แขวน (Ceiling/floor type) เป็นเครื่องปรับอากาศที่เหมาะสำหรับห้องที่มีพื้นที่ตั้งแต่เล็กเช่น ห้องนอน ไปจนถึงห้องที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ เช่น สำนักงาน ร้านอาหาร ห้องประชุม ข้อดี: สามารถเลือกการติดตั้งได้ทั้งตั้งพื้น หรือแขวนเพดาน สามารถใช้งานได้หลากหลาย เข้าได้กับทุกสถานที่ และการระบายลมดี ข้อเสีย: ไม่มีรูปแบบให้เลือกมากนักสรุปปัจจัยต่างๆ ในการเลือกซื้อเครื่องปรับอากาศในหน้าร้อนนี้ ได้แก่ ขนาดห้องที่ติดตั้ง โดยการคำนวณขนาดทำความเย็น (BTU) รูปแบบของเครื่องปรับอากาศว่าเป็นแบบติดผนัง ตั้ง แขวน โดยต้องคำนึงถึงพื้นที่ที่จะทำการติดตั้ง และความสะดวกในการดูแลรักษา บริการหลังการขาย เทคโนโลยีพิเศษ และสุดท้ายก็คือวัตถุดิบที่ใช้ทำเครื่องปรับอากาศ เพราะมันจะมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และความคงทนของเครื่องปรับอากาศค่ะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point