อย. ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสถาบันโภชนาการ ม.มหิดล สุ่มตรวจไขมันทรานส์ในอาหารกลุ่มเสี่ยง พบปริมาณลดลง หลังประกาศใช้ กม.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เผยผลตรวจสอบการสุ่มตัวอย่างในผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเสี่ยง พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ลดลง หลังบังคับใช้กฎหมายห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เมื่อ 9 มกราคม 2562 ที่ผ่านมานายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา แถลงว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย โดยกำหนดให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย เพื่อคุ้มครองสุขภาพของคนไทย และเป็นหนึ่งในมาตรการการลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม 2562 เป็นต้นมา นั้น คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล (โดยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร) ได้ติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์อาหารกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ได้แก่ โดนัททอด พาย พัฟ เพสทรี ครัวซองค์ และบัตเตอร์เค้กผลการสุ่มตัวอย่างจำนวน 45 ตัวอย่าง พบว่า ปริมาณไขมันทรานส์เฉลี่ยของทุกผลิตภัณฑ์อยู่ในช่วง 0.09 - 0.31 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ซึ่งอยู่ในปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำให้บริโภคต่อวัน คือ 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค และมีปริมาณลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจผลิตภัณฑ์ก่อนประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ซึ่งอยู่ในช่วง 0.42 - 1.21 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค นอกจากนี้ ปริมาณไขมันทรานส์สูงสุดที่พบในทุกผลิตภัณฑ์มีปริมาณลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับผลการสำรวจผลิตภัณฑ์ก่อนประกาศฯ มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ มีเพียงบางผลิตภัณฑ์มีปริมาณไขมันทรานส์ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคเกินจากปริมาณที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ เนื่องจากมีการใช้วัตถุดิบที่มีไขมันทรานส์ตามธรรมชาติเป็นส่วนประกอบในปริมาณสูง เช่น เนย นม ชีส เป็นต้นนายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ (เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา)เลขาธิการฯ อย. แถลงเพิ่มเติมว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเนยเทียม (มาการีน) และเนยขาว (ซอทเทนนิ่ง) ส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจก่อนหน้าที่ประกาศฯ มีผลใช้บังคับ พบว่า มีปริมาณน้อยมาก โดยอยู่ในช่วง 0.01-0.37 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค เนื่องจากผู้ผลิตน้ำมันและไขมันมีการปรับกระบวนการผลิตไปใช้วิธีการผลิตอื่นแทนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว อย่างไรก็ดี อย. ได้ดำเนินการตรวจสอบ ณ สถานที่ผลิตน้ำมันและไขมัน 3 แห่ง ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่กระจายสินค้าให้แก่ผู้ผลิตอาหารรายย่อยในประเทศ ไม่พบการผลิตน้ำมันและไขมันโดยใช้กระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้วคุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารฉลาดซื้อ กล่าวว่า ในส่วนของการสุ่มตรวจของนิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคผ่าน โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ภายใต้งบประมาณของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เราเก็บตัวอย่างเค้กเนย จำนวน 12 ตัวอย่างจากผู้ผลิตเจ้าดัง และได้เพื่อนเครือข่ายผู้บริโภคเก็บตัวอย่างเค้กชิฟฟ่อน ที่นิยมซื้อเป็นของฝากจำนวน 4 ตัวอย่าง รวม 16 ตัวอย่าง ส่งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์   จากผลการทดสอบพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเค้กเนย 12 ตัวอย่าง และเค้กชิฟฟ่อน 4 ตัวอย่าง มีปริมาณน้อยเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม) คือ 0.2 กรัม/หน่วยบริโภค  ถือว่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภคยกเว้นเค้กเนยของยี่ห้อ PonMaree Bakery (พรมารีย์ เบเกอรี่)  ที่พบปริมาณไขมันทรานส์ที่ 0.61 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม)  ทำให้ทางฉลาดซื้อเกิดคำถามว่า ทำไมผลทดสอบของ พรมารีย์ เบเกอรี่   จึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งเป็นไปได้สองสาเหตุคือ ยังคงใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติคือ เนยแท้ จำนวนมาก ดังนั้นจึงตรวจสอบที่ผลการวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันทรานส์มีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่นมาก ได้แก่ Vaccenic acid (C18:1)-11 ที่พบมากตามธรรมชาติในไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงอนุมานได้ว่า ยี่ห้อนี้ใช้เนยแท้ หรือก็คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ตรวจพบนี้เป็นกรดไขมันทรานส์ธรรมชาติ  จึงไม่ผิดกฎหมายแต่อาจผิดต่อผู้ที่รักสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก หากรับประทานเกิน 1 หน่วยบริโภคสารี อ๋องสมหวัง (เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค)ส่วนการทดสอบโดนัท นิตยสารฉลาดซื้อเลือกทดสอบโดนัทช็อกโกแลตซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยได้สุ่มซื้อโดนัทรสช็อกโกแลต จากร้านขายโดนัทและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ยี่ห้อ (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บตัวอย่าง เมื่อเดือน ก.พ.61) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ รวมถึงสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้ เมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ขนมอบ จำพวกเค้กกาแฟ โดนัท และมัฟฟิน ซึ่งเท่ากับ 55 กรัม (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541) พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก โดยตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค น้อยที่สุด ได้แก่ โดนัทช็อกโกแลต / บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 กรัมต่อน้ำหนักโดนัท 55 กรัม และตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค มากที่สุด ได้แก่ โดนัทรสช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ / คริสปี้ครีม พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.14 กรัม ต่อ น้ำหนักโดนัท 55 กรัมศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต (อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล) ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ความสำเร็จในครั้งนี้นับเป็นตัวอย่างที่ดีในความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และภาควิชาการ กระบวนการดำเนินงาน ที่มีการเร่งรัดภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาส่วนประกอบทดแทน การให้ข้อมูลและความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรม การพัฒนากระบวนการวิเคราะห์ให้ถูกต้องแม่นยำ การใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลในการประเมินและแก้ไขสถานการณ์ ตลอดจนบทบาทของภาคประชาสังคมในเฝ้าระวังอย่างเข้มงวด การร่วมกันระหว่างภาครัฐ วิชาการและประชาสังคมในการให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับประชาชน นับเป็นเบื้องหลังความสำเร็จที่เป็นต้นแบบให้กับประเทศต่างๆได้ทั้งนี้ เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค อย. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล จะติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวัง ณ สถานที่ผลิต สถานที่นำเข้า และสถานที่จำหน่ายทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไปอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่บทความ "ผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และ สารกันบูด ในโดนัทช็อกโกแลต ภาค 2"บทความ "ไขมันทรานส์ในเค้กเนย หลังประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์มีผลบังคับ"

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ไขมันทรานส์ในเค้กเนย หลังประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์มีผลบังคับ

              เค้กและผลิตภัณฑ์เบเกอรี เป็นขนมที่จัดว่ามีมูลค่าทางการตลาดสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท เป็นขนมที่นิยมกันทุกเพศวัย  เค้กนั้นมีส่วนผสมหลักคือแป้ง ไข่ ไขมันและน้ำตาล จึงเป็นอาหารให้พลังงานสูง และเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่เดิมจัดว่าเป็นกลุ่มอาหารที่มีไขมันทรานส์สูง เนื่องจากส่วนผสมนั้นนิยมใช้ไขมันจากน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน ซึ่งทำให้เกิดไขมันทรานส์ แต่เมื่อมีกฎหมายห้ามการใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์แล้ว ทำให้หลายคนอยากทราบว่า เค้กและบรรดาขนมอบทั้งหลาย จะยังเป็นกลุ่มเสี่ยงของไขมันทรานส์หรือไม        ฉลาดซื้อ และโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ จึงอาสาทำหน้าที่แทนผู้บริโภค เราเก็บตัวอย่างเค้กเนย จำนวน 12 ตัวอย่างจากผู้ผลิตเจ้าดัง และได้เพื่อนเครือข่ายผู้บริโภคเก็บตัวอย่างเค้กชิฟฟ่อน ที่นิยมซื้อเป็นของฝากจำนวน 4 ตัวอย่าง รวม 16 ตัวอย่าง ส่งทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และสารกันบูดหรือวัตถุกันเสียกรดเบนโซอิก กรดซอร์บิก โดยผลทดสอบเป็นข่าวดีสำหรับผู้บริโภค เชิญติดตาม       ไขมันทรานส์ คืออะไร                   ไขมันทรานส์ (Trans Fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่บริเวณพันธะคู่มีการจัดเรียงตัวของไฮโดรเจนอะตอมอยู่ตรงข้ามกัน สามารถพบได้ทั้งในธรรมชาติ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมัน       ไขมันทรานส์จากธรรมชาติ พบได้ในเนื้อวัว ควาย ซึ่งเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง และผลิตภัณฑ์ที่ได้จากสัตว์ดังกล่าว เช่น นม เนย ชีส แต่พบในปริมาณเพียงเล็กน้อย       ไขมันทรานส์จากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partial Hydrogenation) ลงไปในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าวจะเรียกว่า Partially Hydrogenated Oil ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว พบในอุตสาหกรรมเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) ซึ่งไขมันดังกล่าวจะหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น ผลทดสอบ        ไขมันทรานส์                                                                                                                                                        จากผลการทดสอบพบว่า ปริมาณไขมันทรานส์ในเค้กเนย 12 ตัวอย่าง และเค้กชิฟฟ่อน 4 ตัวอย่าง มีปริมาณน้อยเฉลี่ยต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม) คือ 0.2 กรัม/หน่วยบริโภค   ถือว่าไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ที่กำหนดไว้ คือ ไม่เกิน 0.5 กรัม/หน่วยบริโภค        ยกเว้นเค้กเนยของยี่ห้อ PonMaree Bakery (พรมารีย์ เบเกอรี่)  ที่พบปริมาณไขมันทรานส์ที่ 0.61 กรัม ต่อ 1 หน่วยบริโภค (55 กรัม)  ทำให้ทางฉลาดซื้อเกิดคำถามว่า ทำไมผลทดสอบของ พรมารีย์ เบเกอรี่   จึงสูงกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ซึ่งเป็นไปได้สองสาเหตุคือ ยังคงใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือใช้ส่วนผสมจากธรรมชาติคือ เนยแท้ จำนวนมาก ดังนั้นจึงตรวจสอบที่ผลการวิเคราะห์ชนิดของกรดไขมันทรานส์มีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่นมาก ได้แก่ Vaccenic acid (C18:1)-11 ที่พบมากตามธรรมชาติในไขมันจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง จึงอนุมานได้ว่า ยี่ห้อนี้เขาจัดหนักจัดเต็มในสูตรเค้กเพราะใช้เนยแท้ หรือก็คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ที่ตรวจพบนี้เป็นกรดไขมันทรานส์ธรรมชาติ  จึงไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจผิดต่อผู้ที่รักสุขภาพและควบคุมน้ำหนัก หากรับประทานเกิน1 หน่วยบริโภค         ปัจจุบัน ผู้ประกอบการน้ำมันและไขมันส่วนใหญ่ได้ปรับใช้กระบวนการอื่นแทนกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และมีการปรับสูตรผลิตภัณฑ์อาหารโดยไม่ใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแล้ว ดังนั้นเมื่อประกาศฯ มีผลใช้บังคับ (9 มกราคม 2562) ผลิตภัณฑ์เบเกอรี เช่น ขนมปังกรอบ เค้ก พาย พัฟ เพสตรี คุกกี้ หรืออาหารที่ผ่านการทอดโดยใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนแบบน้ำมันท่วม (Deep frying) เช่น โดนัททอด ไก่ทอด  จะไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม สามารถตรวจพบปริมาณไขมันทรานส์ในผลิตภัณฑ์ข้างต้นได้ เนื่องจากอาจมีการใช้วัตถุดิบที่มีองค์ประกอบของไขมันทรานส์ตามธรรมชาติ เช่น นม เนย ชีส เป็นต้น ทั้งนี้ ปริมาณที่ตรวจพบน้อยมาก เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนบางส่วน·        วัตถุกันเสีย                ฉลาดซื้อทดสอบหากรดเบนโซอิกและกรดซอร์บิก ซึ่งเป็นวัตถุกันเสียที่นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์เบเกอรี เค้กเนยและเค้กชิฟฟ่อน พบว่า เค้กเนยจำนวน 10 ผลิตภัณฑ์ไม่พบกรดเบนโซอิก และพบปริมาณกรดเบนโซอิกเล็กน้อยใน 2 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจเป็นไปตามข้อสังเกตจากการทดสอบผลิตภัณฑ์ขนมอบที่ผ่านมาคือ มีการใช้แป้งสาลี ซึ่งใช้สารฟอกขาวที่เรียกว่า กรดเบนโซอิ้ว ซึ่งมีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกรดเบนโซอิก ทั้งๆ ที่ในสูตรการผลิตเค้ก ไม่มีการผสมวัตถุกันเสีย ส่วนในเค้กชิฟฟ่อนไม่พบกรดเบนโซอิกจำนวน 3 ผลิตภัณฑ์และพบปริมาณเล็กน้อย 1 ผลิตภัณฑ์        ผลการตรวจหากรดซอร์บิก พบว่าปริมาณของกรดซอร์บิกที่ตรวจพบสูงสุดคือ ผลิตภัณฑ์เค้กเนย ของ KUDSAN Bakery & Coffee พบปริมาณกรดซอร์บิก 244.15 มิลลิกรัม/กิโลกรัม   ซึ่งไม่เกินปริมาณที่กฎหมายกำหนดไว้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5)        ตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และ สารกันบูด ในโดนัทช็อกโกแลต ภาค 2

โดนัท (Doughnut หรือ Donut) ขนมแป้งทอดมีรู ที่ตกแต่งหน้าตาจากน้ำตาลเคลือบหลากรส ด้วยกลิ่นหอมหวาน สีสันสวยงาม และรสสัมผัสนุ่มหนุบหนับ โดนัทจึงเป็นที่นิยมบริโภคของคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งแคลอรี่จากโดนัทหนึ่งชิ้นนั้น นับว่าไม่เบาเลยทีเดียว นอกจากนี้ สิ่งที่ต้องคำนึงเพิ่มก็คือ ปริมาณไขมันทรานส์ (Trans fat) หรือ กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) ที่อาจแฝงอยู่ในโดนัท ซึ่งหากร่างกายของเราได้รับไขมันทรานส์ในปริมาณมาก ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้        ไขมันทรานส์ (Trans fat) เป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว (Unsaturated fatty acid) ที่พบได้ทั้งในธรรมชาติ คือ ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น นม เนย ชีส เนื้อสัตว์ และจากกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่มีสภาพแข็งขึ้นหรือเป็นของกึ่งเหลว ซึ่งพบในอาหารที่มีเนยเทียม (margarine) หรือเนยขาว (shortening) เป็นส่วนประกอบ เช่น โดนัททอด เค้ก พาย พัฟ เพสตรี้ คุกกี้ ซึ่งจะทำให้อาหารหืนช้า และมีอายุการเก็บรักษานานขึ้น        ก่อนหน้านี้ ฉลาดซื้อเคยทดสอบไขมันทรานส์และพลังงานในโดนัทช็อกโกแลต จากร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่างๆ จำนวน 13 ยี่ห้อ ในฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) โดยพบว่ากว่าครึ่ง มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำไว้        เมื่อช่วงต้นปีผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยเริ่มตื่นตัว เมื่อประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oil) และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการดังกล่าว ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ 9 ม.ค.ที่ผ่านมา        เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและคุ้มครองสุขภาพของผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง โครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ และนิตยสารฉลาดซื้อจึงเลือกทดสอบโดนัทช็อกโกแลตซ้ำอีกครั้งหนึ่ง โดยได้สุ่มซื้อโดนัทรสช็อกโกแลต จากร้านขายโดนัทและห้างสรรพสินค้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 13 ยี่ห้อ (ยี่ห้อเดิมที่เคยเก็บตัวอย่างก่อนหน้านี้) นำส่งห้องปฏิบัติการมาตรฐานเพื่อตรวจวิเคราะห์หาปริมาณไขมันทรานส์ รวมถึงสารกันบูดประเภทกรดซอร์บิก (Sorbic acid) และ กรดเบนโซอิก (Benzoic acid) โดยผลการตรวจวิเคราะห์แสดงดังตารางต่อไปนี้สรุปผลการทดสอบ1. ผลทดสอบสารกันบูด (กรดซอร์บิก และ กรดเบนโซอิก)        จากโดนัทช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบ จำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า                   ทุกตัวอย่างตรวจไม่พบกรดซอร์บิก แต่ตรวจพบกรดเบนโซอิกในปริมาณเพียงเล็กน้อย จำนวน 5 ตัวอย่าง ได้แก่              1. โดนัทรวมรส (ช็อกโกแลต) / เทสโก้ โลตัส          พบกรดเบนโซอิก 4.72 มก./กก.           2. ริงจิ๋ว (ช็อกโกแลต) / เอ็น.เค.โดนัท                     พบกรดเบนโซอิก 10.45 มก./กก.          3. เรนโบว์ โดนัท / เบรดทอล์ค                               พบกรดเบนโซอิก 11.48 มก./กก.           4. โดนัท ดาร์กช็อกโกแลต / ซับไลม์โดนัท              พบกรดเบนโซอิก 19.48 มก./กก.    และ 5. โดนัทช็อกโกแลต / ฟู้ดแลนด์                           พบกรดเบนโซอิก 29.93 มก./กก.        ซึ่งตามบัญชีแนบท้าย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 389) พ.ศ. 2561 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 5) อนุญาตให้ตรวจพบปริมาณสารกันเสียประเภท กรดเบนโซอิก ในผลิตภัณฑ์กลุ่มขนมอบที่มีการปรุงแต่งรสชาติ และส่วนผสมสำเร็จรูป ได้สูงสุดไม่เกิน 500 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถพบได้ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่) ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักอาหาร 1 กิโลกรัม        ซึ่งตามเกณฑ์ดังกล่าว พบว่า ไม่มีตัวอย่างใดที่ตรวจพบวัตถุกันเสียเกินค่ามาตรฐาน        ทั้งนี้ ตั้งข้อสังเกตต่อปริมาณกรดเบนโซอิกที่ตรวจพบ ซึ่งมีเพียงเล็กน้อยว่า อาจไม่ใช่กรดเบนโซอิกที่ใส่เพื่อวัตถุประสงค์ให้เป็นสารกันเสีย แต่อาจเป็นวัตถุเจือปนอาหารประเภท เบนโซอิลเพอร์ออกไซด์ (Benzoyl Peroxide) ซึ่งใช้เป็นสารฟอกสี, สารปรับปรุงคุณภาพแป้ง เนื่องจากสารตัวนี้มีโครงสร้างทางเคมีคล้ายกับสารกันเสียประเภทกรดเบนโซอิก 2. ผลทดสอบไขมันทรานส์        เมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคอ้างอิงของผลิตภัณฑ์ขนมอบ จำพวกเค้กกาแฟ โดนัท และมัฟฟิน ซึ่งเท่ากับ 55 กรัม (ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541)           พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกตัวอย่างมีปริมาณไขมันทรานส์ ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก        โดยตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค น้อยที่สุด ได้แก่ โดนัทชอคโกแลต / บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.03 กรัมต่อน้ำหนักโดนัท 55 กรัมและตัวอย่างที่พบปริมาณไขมันทรานส์ต่อหน่วยบริโภค มากที่สุด ได้แก่ โดนัทรสช็อกโกแลต ไอซ์ เกลซ / คริสปี้ครีม พบปริมาณไขมันทรานส์ 0.14 กรัม ต่อ น้ำหนักโดนัท 55 กรัมข้อสังเกต          จากผลการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไขมันทรานส์ ในตัวอย่างโดนัทช็อกโกแลตทั้ง 13 ตัวอย่างในครั้งนี้ ซึ่งเป็นยี่ห้อเดียวกับที่ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อเคยสุ่มทดสอบในนิตยสารฉบับที่ 206 (เมษายน 2561) พบว่า ผู้ผลิตโดนัทช็อกโกแลตเกือบทุกยี่ห้อ พัฒนาปรับปรุงสูตรการผลิต ทำให้ปริมาณไขมันทรานส์ลดน้อยลงจากเดิมมาก ซึ่งบางยี่ห้อเคยมีปริมาณไขมันทรานส์เกินเกณฑ์มาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ผลตรวจวิเคราะห์ในครั้งนี้ พบว่า โดนัทช็อกโกแลตทุกยี่ห้อ มีปริมาณไขมันทรานส์ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานข้อมูลอ้างอิง- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 182 พ.ศ. 2541- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 389 พ.ศ. 2561- นิตยสารฉลาดซื้อ ฉบับที่ 206 เดือน เมษายน 2561- เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ถ้านิสัยเราเปลี่ยน ผู้ผลิตเขาก็เปลี่ยน แต่จะทำยังไงให้ผู้บริโภคเปลี่ยน

        เมื่อวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กําหนดอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่ายไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้ นับว่าเป็นเรื่องดีๆ สำหรับผู้บริโภคไทยเรื่องหนึ่ง ที่จะไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในกระบวนการผลิตอาหารในประเทศไทยเราอีกต่อไป เรื่องราวเหล่านี้แม้จะถือว่าเป็นก้าวแรกของความสำเร็จเรื่องหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้นเลย เพราะกว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ผ่านการทำงานอย่างหนัก ทั้งในเรื่องการศึกษาข้อมูลและแรงผลักดันจากหลายส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และที่ลืมไม่ได้เลยคือ นักวิชาการด้านโภชนาการหลายๆ ท่าน โดยหนึ่งในนั้นคือ ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารศึกษา ในคณะ กรรมการอาหารแห่งชาติ และ เป็นผู้คร่ำหวอดในวงการอาหาร ทั้งงานด้านวิจัย พัฒนาและผลักดันนโยบายเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน  ฉลาดซื้อจึงถือโอกาสนี้พาไปฟังเรื่องราวการทำงานของท่านว่ามีความยาก ความสนุกอย่างไรกับงานด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารของคนไทยนมโรงเรียน เหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย        คำถามที่ว่าประสบการณ์การทำงานที่สร้างความหนักใจที่สุด คำตอบน่าจะเป็นเรื่องนมโรงเรียน งานวิจัยนี้ ได้ดำเนินการในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2541-2546  ถือว่ามีผลสำเร็จมาก เพราะการวิจัยชิ้นนี้ได้มองปัญหาในขณะนั้นอย่างตรงไปตรงมาที่สุด ในช่วงเวลานั้นประเทศไทยเรายังต้องนำเข้านมผงจากต่างประเทศเพราะมีราคาถูกกว่า เนื่องจากประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่า นมกล่องยูเอชทีมีราคาสูง เนื่องจากมีต้นทุนจากค่ากล่องนมยูเอชทีเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ในการดำเนินการวิจัย ก็มีการเลือกใช้นมโรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและค่าใช้จ่าย ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ในโรงเรียนใหญ่ๆที่มีศักยภาพ  สามารถนำนมผงมาเตรียมเป็นนมโรงเรียน เพราะนมผงสมัยใหม่ละลายน้ำธรรมดาได้ง่าย ไม่เป็นภาระ ถ้าให้เด็กดื่มภายใน 30 นาที ก็ปลอดภัย ส่วนโรงเรียนที่อยู่ใกล้โรงงานผลิตนม ผลการวิจัยเสนอว่าขนส่งเป็นนมถังใหญ่ ซึ่งเหมือนกับพวกโรงเรียนฝรั่งใหญ่ๆ ที่เขาก็ใช้นมถังตักให้เด็ก แต่เพื่อป้องกันถังใส่นมสกปรก ก็แนะนำให้ใช้ถุงพลาสติกใบใหญ่ๆ มาใส่นมก่อนวางลงในถัง วันหนึ่งๆ โรงเรียนหนึ่งก็ใช้เพียง 3-4 ถุงเท่านั้น และถุงพลาสติกใบใหญ่ที่ใช้ใส่นมแล้ว ก็สามารถนำมาล้างแล้วทำเป็นเสื้อคลุมกันฝนให้เด็กๆได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้นมกล่องยูเอชที ซึ่งทำให้ต้นทุนนมโรงเรียนสูง เพราะเฉพาะค่ากล่องยังไม่รวมค่านม ก็ตกกล่องหนึ่งตั้ง 1.10 -1.20 บาทแล้ว  ต้นทุนนี้ควรนำมาใช้เป็นค่านมให้เด็กดีกว่า  นมกล่องยูเอชทีควรให้เฉพาะโรงเรียนที่ทุรกันดารจริงๆ เพราะขาดครู และไม่มีน้ำสะอาด แนวคิดนี้  ทีมวิจัยนำเสนอที่จังหวัดเชียงราย ทางจังหวัดตกลง เลยทดลองทำวิจัยทั้งจังหวัดเป็นเวลา 1 ปี  ช่วยแก้ปัญหาขยะกล่องนมล้นเมืองในขณะนั้น เพราะเดิมต้องใช้รถขยะเข้าขน โดยขนครั้งละ 3,000-4,000 กล่อง จึงต้องรอให้ได้จำนวนกล่องนมจนเต็มรถขยะแล้วค่อยขน กล่องนมจึงถูกทิ้งไว้ที่โรงเรียน เนื่องจากนมที่เหลือติดก้นกล่องบูดเน่าง่าย จึงส่งกลิ่นเหม็นไปหมด สร้างปัญหาให้โรงเรียน การเตรียมนมเอง จึงช่วยลดปัญหาดังกล่าว  โรงเรียนใหญ่ๆที่ทดลองใช้นมผง เราเตรียมนมผงแพคถุงละ 1 กิโลกรัม แล้วโรงเรียนไปเติมน้ำ โดยทางโรงเรียนได้ใช้เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 เป็นผู้เตรียมนมเลี้ยงน้องชั้นเล็ก และนักเรียนทุกคนก็หัดล้างแก้วใส่นมกันเอง จนโครงการเข้าที่ ส่งผลให้เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย โรงเรียนมีเงินค่านมโรงเรียนเหลือหัวละ 2 บาท จากที่ขณะนั้นรัฐให้หัวละ 5 บาท เลยสามารถทำการวิจัยโครงการนมโรงเรียนในช่วงปิดเทอมได้อีก ซึ่งก็ได้เห็นผลสำเร็จ เพราะช่วยให้เด็กๆ ได้มีนมดื่มในช่วงปิดเทอม ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพเด็กๆ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้แม้จะได้ผลสำเร็จ และผู้ให้ทุนคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มอบรางวัล 1 ใน 10 การวิจัยที่มีผลงานวิจัยยอดเยี่ยม การวิจัยดังกล่าว ก็จำเป็นต้องหยุด เพราะผลการวิจัยกระทบถึงผลประโยชน์ของผู้อื่น/หน่วยงานอื่น ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้         ตอนเริ่มโครงการ มันดูขุ่นมัวเหมือนอยู่ในน้ำขุ่นๆ มองไม่เห็นอะไรเป็นอะไร แต่ก่อนปิดโครงการ หลังจากเราได้ทำงานร่วมกับทุกฝ่ายจนเกิดแนวร่วมที่เห็นประโยชน์จริงๆ ทั้งเกษตรกร โรงนม โรงเรียนและแม้แต่จังหวัด เมื่อทุกอย่างแจ่มชัดขึ้น เหมือนกับน้ำที่ขุ่นเกิดการตกตะกอน  บทเรียนในครั้งนั้น แสดงให้เห็นว่าเมื่อเราทำงานด้วยกัน คลุกคลีกัน เปิดใจกัน เราก็สามารถตกตะกอนปัญหา ช่วยกันกรองมันออกไป เราจะเจอว่าตะกอนที่ก่อปัญหาอย่างจงใจ มันไม่ได้มีเยอะอย่างที่คิดผูกมิตรดีกว่าสร้างศัตรู        ในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทย นักวิชาการและผู้ผลิตสินค้าซึ่งเป็นภาคเอกชน จะไม่ทำงานร่วมกัน หากนักวิชาการไปทำงานให้ภาคเอกชน จะถูกมองในแง่ลบ ดังนั้น เมื่อผมไปเชิญภาคเอกชนมาร่วมทำโครงการฉลากทางเลือก(Healthier Choice Logo ) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์โภชนาการ ทางเลือกสุขภาพ หลายคนมองว่าผมไปทำดี เป็นมิตรกับภาคเอกชนมากเกินไปหรือเปล่า แต่จริงๆ เวลาเราจะทำอะไรสักอย่าง เราสงสัยเขา เขาก็สงสัยเรา ปัญหาก็จะเกิดน้อยลงหรือไม่เกิดเลย ถ้าเราได้พูดจาอธิบายและรับฟังซึ่งกันและกัน การทำงานในโครงการ Healthier Logo กรรมการบางท่านก็เครียดเรื่องการทำงานร่วมกับเอกชน เนื่องจากเกรงว่าจะโดนคนอื่นมองไม่ดี มีการเอื้อประโยชน์กัน ก็เรียนท่านว่าประเด็นหลักๆ มันก็มีสองทาง ท่านจะมองเรื่องเดียวกันให้เป็นลบหรือบวก        ถ้าเรามองลบ เราต้องหาคนรับผิดชอบและลงโทษผู้ที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งก็คงจะมีหลากหลายไปหมด เพราะอาหารที่เมืองไทยส่วนใหญ่เป็นปัจจัยเสี่ยงกับโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เพราะอาหารส่วนใหญ่มีน้ำตาลสูง โซเดียมสูง และไขมันสูง คนที่จะถูกให้รับผิดชอบก็ต้องเป็นคนขายน้ำตาล คนขายของเค็ม คนขายของมัน  คนปรุงและขายอาหาร คนผลิตอาหาร อุตสาหกรรมอาหาร  สมัยก่อนคนขายวัตถุดิบที่หวาน มัน เค็ม ก็พยายามผลิตมากๆ เพื่อลดต้นทุนและตอบสนองความต้องการความขาดแคลนของผู้บริโภค  พอเศรษฐกิจดีขึ้น ราคายังถูกลงอีก คนก็หาซื้อหากินได้มากขึ้น แถมมีตัวช่วยลดกิจกรรมทางกายลง คนกลุ่มหนึ่งก็พอใจว่าราคาอาหารไม่แพงดี อีกกลุ่มก็โวยวายว่าปล่อยมายังไงให้เต็มตลาด นักวิชาการก็เรียกร้องรัฐว่า หากยังปล่อยคนไทยไว้อย่างนี้ ประเทศต้องวิบัติแน่  ถ้าถามคนขายอาหาร คนขายก็คงอยากขายอาหารที่ดี มีผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค เขาก็คงอยากเปลี่ยนสูตร แต่เปลี่ยนแล้วก็กลัวขายไม่ได้ ถ้าเขาขายไม่ได้หรือได้น้อยลง เราก็ผิดด้วยที่ไม่ได้ให้การศึกษากับผู้บริโภค เช่น เราตั้งเกณฑ์ว่า โซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของอุตสาหกรรม 1 ซองต้องมีโซเดียมไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม แต่ คนทั่วไปกินบะหมี่ ก๋วยเตี๋ยวที่ขายอยู่ทั่วไปกินโดยที่ยังไม่ได้ปรุงก็มีโซเดียมอยู่ที่ชามละ 1,500 - 2,000 มิลลิกรัมแล้ว  แถมก๋วยเตี๋ยวเป็ดบางเจ้าก็มีโซเดียมสูงถึง 4,000 – 5,000 มิลลิกรัม “ถ้านิสัยเราเปลี่ยน ผู้ผลิตมันก็เปลี่ยน แต่เราจะทำยังไงให้ผู้บริโภคเปลี่ยน” ถึงได้มีแนวคิดว่า จำเป็นต้องทำควบคู่กันไป เพราะถ้าไปกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขึ้นมาแล้วไม่ทำอะไรมันก็จบไม่มีประโยชน์ นักวิชาการอยู่ตรงกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมก็ว่าเรา กลุ่มผู้บริโภคก็บ่นเรา ทั้งสองฝ่ายก็รอว่าใครจะเริ่มเปลี่ยนก่อน ถ้าจะดูกันให้ลึกซึ้งจริงๆ การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นเรื่องที่ยากมากมีความเฉพาะตัวตน สังคมและวัฒนธรรมสูงมาก ภาครัฐต้องร่วมมือกัน ทั้งงานส่งเสริม และการบังคับใช้กฎหมาย        การที่เราได้ทำงานในโครงการ Healthier logo ที่เรามุ่งเปลี่ยนผลิตภัณฑ์อาหารอุตสาหกรรมและนิสัยผู้บริโภคให้ลดหวาน มัน เค็ม ยังสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจ คือมักเจอการตีความที่เลยเถิดของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้เครื่องหมายนี้ว่า ผลิตภัณฑ์ดีในเรื่องอื่นด้วย มิใช่น้ำตาลต่ำ โซเดียมต่ำหรือไขมันต่ำ การสร้างความเข้าใจในส่วนนี้ต้องอาศัยทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชน ซึ่งพบว่าการเจรจาและขอร้องกันโดยตรง ได้รับความร่วมมือกว่าที่ไปวางมาตรการอื่นในเชิงลบ        จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การทำงานร่วมกับภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ที่มีทั้งหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ความรู้และหน่วยงานที่ออกกฏหมายปราบปราม หน่วยงานที่ส่งเสริมให้ความรู้ก็ว่าอีกหน่วยงานว่าไม่ยอมออกกฏหมายมาจัดการภาคเอกชน ส่วนหน่วยงานที่ออกกฏหมายปราบปรามก็ต้องรับหน้าภาคเอกชนที่กังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลถึงการยอมรับของผู้บริโภค นั่นหมายถึง ยอดจำหน่ายหรือรายได้ของภาคเอกชน ทั้งที่การทำงานมันต้องขนานกันอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมซึ่งกันและกัน  เมื่อเริ่มทำโครงการ Healthier Logo นี้ เราขอหน่วยงานที่ออกกฏหมายปราบปรามมาช่วย เพื่อให้ Logo มีหน่วยงานรัฐรองรับ ส่วนเกณฑ์ด้านโภชนาการต้องเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ความรู้ร่วมดำเนินการ แต่เนื่องจากงานเกี่ยวกับภาคเอกชน ทำให้เกิดความไม่สนิทใจกัน การไม่สนิทใจกัน ทำให้ไม่รู้ถึงความคาดหวังของอีกฝ่าย เกิดความด้อยประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา ทั้งที่ภาครัฐต้องชี้นำสังคมให้มีศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เช่น การให้ความรู้ที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้จริง การสร้างฐานข้อมูลด้านคุณค่าโภชนาการที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันสมัย เท่าทันปัญหาโภชนาการที่เป็นพลวัตสำหรับทุกภาคส่วนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณค่าโภชนาการของอาหาร แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้นเท่าที่ควร เพราะไปเสียเวลาในการหวาดระแวงกัน ทำงานไม่ประสานกัน ไม่พูดคุยกันอย่างจริงใจ ถ้าร่วมมองปัญหาร่วมกัน การแก้ปัญหาเชิงระบบและพหุภาคีจะเกิดขึ้นพฤติกรรมติดหวานมันเค็มไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อ สาธารณสุขเชิงป้องกันหรือแม้แต่รักษาก็ต้องการโภชนาการที่เหมาะสมทั้งสิ้น พฤติกรรมการบริโภคจึงมีความสำคัญมาก ประสบการณ์เรื่องนี้มีมากมาย ที่ยกตัวอย่างคือเจลลี่ที่สถาบันโภชนาการพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน โดยมีสารอาหารครบ กลืนง่าย รสชาติยอมรับได้ ราคาไม่แพง เราได้พบชาวบ้านขี่มอเตอร์ไซต์รับจ้าง เมียเขาบอกว่าสามีเป็นมะเร็งกินอะไรไม่ได้ หมดแรงนอนอยู่กับบ้าน พอให้กินเจลลี่ที่มีสารอาหารครบ อีก 2-3 วัน มีแรงขี่มอเตอร์ไซต์รับจ้างต่อได้ มันมีแรง นี่คือความมหัศจรรย์ของโภชนาการที่ถูกตามหลักวิชาการ แต่ทำอย่างไรให้ถึงประชาชนได้ เป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่งขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ในการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชุมชนแห่งหนึ่ง มีคุณป้าคนหนึ่งขึ้นเวทีกับลูกสาว ลูกสาวบอกว่าเขาเกือบเสียคุณแม่ของเขาไปเมื่อปีที่แล้ว คุณแม่ป่วยเป็น NCDs แทบทุกโรค  เธอพยายามให้แม่งดอาหารหวาน มัน เค็มทุกอย่าง แม่ทนไม่ไหว ก็เลยด่าลูกเป็นประจำว่า “มึงอกตัญญู ตอนที่กูเลี้ยงมึงมามึงอยากกินอะไรกูก็ให้มึงกิน พอกูจะแ_กอะไรมึงก็ห้ามกูทุกอย่าง” ลูกสาวทนไม่ไหวไปบอกหมอ หมอก็แนะนำว่า “ไม่เป็นไร คุณป้าอายุขนาดนี้ ให้เปลี่ยนพฤติกรรมคงยากแล้ว ให้แกกินไปตามสบาย เราก็ให้กินยารักษาเอา อีกสักปีนึง ก็ต้องล้างไตไป ให้แกมีความสุขเถอะ” แต่ลูกสาวก็รับไม่ได้ วันหนึ่งเธอจึงตัดสินใจคุยกับแม่ว่า “ แม่อยากกินอะไรเดี๋ยวจะไม่ขัดใจแล้ว หนูจะกตัญญู หากแม่ป่วย หนูจะพาไปรักษาอย่างดี หมอดีๆ มีเยอะแยะ หนูยอมเสียตังค์ หากแม่ตายหนูจัดงานให้สมเกียรติ แต่ตอนที่แม่นอนฟอกไต เข็มที่ทิ่มเข้าตัวแม่เองนะ หนูรับให้ไม่ได้ อันอื่นหนูช่วยได้หมด แล้วช่วงที่แม่ทรมานก่อนตายแม่รับเองนะ หนูช่วยไม่ได้จริงๆ” จากที่ฟังลูกสาวพูด  แม่เลยคิดได้ แล้วปรับพฤติกรรมการกินใหม่ ตามที่ลูกสาวแนะนำ คุณป้าบอกว่าลูกสั่งอะไรก็ต้องกินตาม อันที่จริง ลูกสาวก็ไม่ได้มีความรู้อะไรซับซ้อน ก็ลดหวานมันเค็มธรรมดา ให้กินผักผลไม้เยอะขึ้น คุณป้าบอกว่าภายใน 6 เดือน ไปหาหมอ ก็พบว่าอาการดีขึ้นมาก โดยไม่ต้องฟอกไตแล้ว และงดยาได้ในที่สุด คุณป้าเล่าไปก็ร้องไห้ไป ดีใจที่ร่างกายแข็งแรงขึ้น ชีวิตยืนยาวด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี เราจะเห็นความมหัศจรรย์ของโภชนาการและความซับซ้อนของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ แต่ละบ้าน แต่ละคน ต้องใช้เทคนิคแตกต่างกันไป บางบ้านก็ปล่อยคือตายไป แต่บางบ้านที่เขาชนะใจตัวเองได้ก็ดีขึ้น มันเป็นเคล็ดลับที่ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญการมีความตระหนักรู้ทางโภชนาการจำเป็นมาก         ประเด็นเรื่องไขมันทรานส์                           ไขมันทรานส์จะเกิดขึ้นในไขมันไม่อิ่มตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ไขมันทรานส์คือไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีการจับไฮโดรเจนแบบทรานส์ ในธรรมชาติ เมื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องกินไขมันไม่อิ่มตัวที่มีอยู่ในอาหารเข้าไป ไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านั้นก็เปลี่ยนไขมันทรานส์ นั่นคือไขมันทรานส์ชนิดที่ 1 ที่พบได้ในธรรมชาติ ส่วนไขมันทรานส์ชนิดที่สอง พบในน้ำมันพืชที่เราใช้ทำกับข้าว ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ ในขั้นตอนขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออก เช่น น้ำมันถั่วเหลืองที่สกัดได้เริ่มต้น จะมีสารที่ไม่บริสุทธิ์ออกมาจำนวนมากจากเมล็ดถั่วเหลือง วิธีกำจัดสารไม่บริสุทธิ์ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตกตะกอนต่างๆมากมาย และสุดท้ายก็ต้องขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ด้วยการให้ความร้อน จนกลิ่นเหล่านี้ระเหยไป ในน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ เราก็ต้องทำเช่นกัน กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการ deodorization ซึ่งใช้ความร้อน 127-130 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ขั้นตอนนี้ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ แต่เปลี่ยนน้อยมาก ดังนั้น น้ำมันทั่วๆ ไปที่เราใช้ทำอาหารที่บ้าน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ที่ผ่านขั้นตอนการดึงกลิ่นออกไปแล้ว ก็จะมีไขมันทรานส์อยู่ประมาณ 0.8 0 – 2%( ไม่เกินนี้) เพราะฉะนั้นการที่เราบอกว่าห้ามกิน ไขมันทรานส์คงเป็นไปไม่ได้ เพราะมันยังแทรกซึมในอาหารในวัฒนธรรมการกินทั่วไป แต่ที่น่าห่วง คือ พวกไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ ที่ตอนนี้มีกฎหมายห้ามใช้กรรมวิธีนี้แล้ว        หลังกฎหมายมีผลบังคับ ทำไมยังพบว่าอาหารบางประเภทมีไขมันทรานส์สูง เพราะอะไร                หากเป็นไขมันทรานส์ธรรมชาติเราก็ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่ผิดกฎหมาย แต่ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือ PHO (Partially Hydrogenated Oils) ต้องควบคุม จากหลักฐานประกอบเพื่อยืนยัน ได้แก่ หนึ่ง คือ เอกสารรับรองจากโรงงานผลิตน้ำมัน (certificate of analysis)ที่ระบุว่าไม่ใช่หรือไม่ได้ใช้ PHO ในการผลิต สอง คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ในอาหาร  และ สาม คือปริมาณไขมันและโปรไฟล์กรดไขมันในอาหาร ถ้ามีไขมันทรานส์ มากกว่า 20 % ในน้ำมันทั้งหมด ก็เป็น PHO ชัวร์แน่นอน บางทีอาจสูงถึง 60 % เลย  ถ้าในน้ำมันมีไม่เกิน 2 % ไม่ใช่ PHO อย่างแน่นอน นอกจากนี้ เราก็สามารถดูได้จากข้อมูลพื้นฐาน ถ้าไม่ใช้ PHO ส่วนใหญ่จะพบไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดย 0.5 กรัมนี้ถือว่ามากแล้ว ถ้าพบว่าเกิน 0.5 กรัม ต้องดูหลักฐานอื่นประกอบด้วย                หากพบว่าอาหารชนิดใดมีกรดไขมันทรานส์สูงเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ต้องพิจารณาปริมาณไขมันและโปรไฟล์ของกรดไขมันเพิ่มเติม บางทีคนขายใส่เนยเยอะมาก ไขมันทรานส์ก็จะสูงตาม แต่เนยธรรมชาติก็มีไขมันทรานส์เพียง 5% ซึ่งต่างจาก PHO ที่มีไขมันทรานส์มากกว่า 20% ก็จะประมาณได้ว่าควรมีไขมันทรานส์เท่าไร ที่มาจากเนยจริง นอกจากนี้ การดูโปรไฟล์ของกรดไขมันว่าเป็นชนิดไหนก็เป็นเครื่องยืนยัน เพราะไขมันทรานส์ในเนยจะมีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่น หลังจากนั้น ก็ควรไปสอบสวนเพื่อยืนยันที่ร้านหรือโรงงานด้วย (เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ต้องเข้าไปทำ)            ถ้าเป็นทรานส์ธรรมชาติไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจไม่เหมาะที่เราจะบริโภคใช่ไหม                    พูดยากมาก เพราะนักวิชาการยังมองเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน กลุ่มหนึ่งบอกว่าจากธรรมชาติไม่เป็นอะไร แต่อีกกลุ่มหนึ่งบอกว่ามันก็คือทรานส์ (ก็อันตรายสิ) แม้แต่ในการประชุมวิชาการขององค์การอนามัยโลก( WHOX ก็ยังมีการถกเถียงกัน  ดังนั้น ความเสี่ยงของไขมันทรานส์ต่อสุขภาพ เราคงต้องดูตามปริมาณที่บริโภค(หน่วยบริโภค) มิใช่ต่อร้อย เพราะเป็นประเด็นความปลอดภัย ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่าในหนึ่งวัน ไม่ควรกินไขมันทรานส์เกิน 2.2 กรัม ถ้าหารด้วย 5 มื้อ ก็คือ 0.4 – 0.5 กรัมต่อมื้อ องค์การอนามัยโลกบอกว่าไม่ควรจะกินเกินนี้  จากการสำรวจดูทั่วไปๆ พบที่เกินกว่า 0.5 กรัมต่อมื้อ มีน้อยมาก ส่วนที่เจอเกิน 0.5 มันไม่มีกฎหมายกำหนด                   เนื่องจากกฎหมายห้าม PHO ไม่ได้ห้าม trans fat เพราะฉะนั้นการดูว่าผิดกฎหมายหรือเปล่าเราต้องพิสูจน์ก่อนว่าเป็น PHO หรือเปล่า ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ ต้องเอาตัวอย่างที่พบว่ามีไขมันทรานส์เกินกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ส่งไปวิเคราะห์ตามแนวทางที่กล่าวไว้ข้างต้น        นอกจากเรื่องไขมันทรานส์ อาจารย์คิดว่าเรื่องไหนจำเป็นและเร่งด่วนขณะนี้                 เรื่องยาพืชและยาสัตว์ เพราะเราต้องการให้คนกินผักผลไม้เยอะๆ เราก็ไม่อยากให้การปนเปื้อนสารเคมีในเนื้อสัตว์ทั้งหลาย ปัจจุบันนี้คนไทยกินเนื้อสัตว์มากอยู่แล้ว แต่ผักผลไม้คนไทยยังกินน้อย จึงเราก็อยากให้คนไทยกินผักและผลไม้ให้มากขึ้นถึงวันละ 400 กรัม เพราะฉะนั้น จึงต้องมีระบบการดูแลที่ดี ทั้งผักผลไม้นำเข้าและที่ปลูกเองในบ้านเรา เพื่อให้ได้มาตรฐานมากขึ้น และสร้างความมั่นใจในการกิน คือ ต้องดูตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ต้องให้การศึกษากับเกษตรกร ให้เกษตรกรมีความรู้ และเกิดรายได้ที่เพียงพอ ขณะเดียวกัน ต้องสร้างปลายทาง คือ ผู้บริโภคที่มีพลังในการต่อรองเพื่อให้ได้อาหารคุณภาพและปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 จดหมายถึงบอกอ

จดหมายจากบอกอ             เรื่องไขมันทรานส์ ที่ออกเป็นกฎหมายบังคับใช้แล้ว ทำไมยังเห็นขนมและขนมปังหลายยี่ห้อ ยังผสมมาการีน เนยขาว เนยเทียม เนยผสม ให้ผู้บริโภคกินอยู่เลยครับ Phothibut Osaithai          ตอบ            ทีมงานฉลาดซื้อขอบพระคุณสำหรับข้อเสนอนะคะ เราจัดเรื่องนี้เป็นเรื่องทดสอบมาให้อ่านรวดเร็วทันใจกันในฉบับถัดไปเลยค่ะ มาการีน เนยขาว เนยเทียม เนยผสม ผ่านกระบวนการผลิตที่ไม่ต้องเติมไฮโดรเจนบางส่วนได้ค่ะ จาก “ประกาศแบนไขมันทรานส์” มีข้อเท็จจริงที่หลายคนยังไม่ทราบคือ ประกาศนี้ไม่ได้แบนไขมันทรานส์ทั้งหมด แต่เป็นประกาศ “ห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์” ส่วนไขมันทรานส์จากธรรมชาตินั้นไม่ได้ห้าม เห็นได้จากเนื้อหาในประกาศที่ว่า“ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน และอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย”             ซึ่ง “ห้ามใช้ไขมันทรานส์สังเคราะห์” นั้น ก็เพราะว่า ไขมันทรานส์ตามธรรมชาตินั้นไม่เป็นอันตรายเหมือนไขมันทรานส์สังเคราะห์ค่ะ แล้วจะใช้อะไรทดแทนไขมันทรานส์สังเคราะห์ ศ.ดร.วิสิฐ จะวะสิต อธิบายไว้ว่า ยังสามารถใช้ไขมันสังเคราะห์ เนยเทียม ครีมเทียมต่าง ๆ ได้เหมือนเดิม เพียงแต่ผู้ผลิตวัตถุดิบเหล่านี้ต้องปรับกระบวนการผลิตให้เป็นสูตรที่ไม่เกิดไขมันทรานส์            ดังนั้นสิ่งที่จะใช้แทนไขมันที่เติมไฮโดรเจนบางส่วน ก็คือการใช้ไขมันที่เติมไฮโดรเจนเต็มส่วน ที่เรียกว่า fully hydrogenated แล้วนำไปผสมกับน้ำมันเพื่อให้ลดความแข็งลง เรียกวิธีการนี้ว่า “เทคนิคการผสมน้ำมัน” หรือ “oil-blending” ซึ่งอุตสาหกรรมในเมืองไทยทำได้ดีมาก เพราะบ้านเรามีไขมันพืชที่เป็นไขมันอิ่มตัวอยู่แล้ว เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ต่างจากประเทศเมืองหนาวที่ไม่มีไขมันพืชแบบอิ่มตัว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 รู้เท่าทัน ไขมันทรานส์

การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปีนับเป็นความกล้าหาญขององค์การอนามัยโลกอีกครั้งที่ได้ประกาศเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2561 ว่า จะขจัดไขมันทรานส์ให้หมดจากระบบการผลิตอาหารของโลก และได้กำหนดยุทธศาสตร์ทีละขั้นตอนเพื่อให้บรรลุผลในปี พ.ศ. 2566 (ค.ศ. 2023)  การขจัดไขมันทรานส์นี้เป็นกุญแจสำคัญในการปกป้องสุขภาพและช่วยชีวิตผู้คน เรามารู้เท่าทันไขมันทรานส์กันเถอะไขมันทรานส์ คืออะไรไขมันได้กลายเป็นผู้ร้ายในสายตาของผู้รักสุขภาพ ความจริงไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกายและช่วยในการดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค และแคโรทีนอยด์  เมื่อกินไขมันเท่าที่จำเป็นจะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตที่เหมาะสมและช่วยรักษาสุขภาพ  แต่ทุกวันนี้เรากินไขมันมากเกินไป ออกกำลังกายน้อย ทำให้เกิดไขมันส่วนเกินไปสะสมในร่างกาย ไขมันในอาหารมี 3 ชนิดหลัก ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว และ ไขมันทรานส์ไขมันทรานส์ ถูกใช้ในการผลิตอาหารในต้นคริสศตวรรษที่ 20 เพื่อใช้แทนเนย และเป็นที่นิยมอย่างมากในช่วงคริสต์ศักราช 1950-1970  ไขมันทรานส์เกิดจากกระบวนการผลิตโดยทำให้น้ำมันพืชแข็งตัวด้วยการเติมไฮโดรเจน (Partially Hydrogenated Oils, PHOs) ทำให้อาหารที่ใช้ไขมันทรานส์นั้นยืดอายุ (การขาย) ได้นาน เพิ่มความคงตัวของรสชาติ ที่สำคัญคือ มีราคาถูกกว่าไขมันอิ่มตัวและไม่อิ่มตัว  อาหารหลายชนิดที่ใช้ไขมันทรานส์ ได้แก่ เนยขาว เนยเทียมหรือมาการีน คุกกี้ อาหารว่าง อาหารทอด และขนมอบ เป็นต้นไขมันทรานส์มีโทษต่อร่างกายอย่างไรไขมันทรานส์มีผลเหมือนไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลทำให้ระดับ LDL (โคเลสเตอรอลชนิดอันตราย) ในเลือดสูงขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ  นอกจากนี้ ไขมันทรานส์ยังลดระดับ HDL (โคเลสเตอรอลชนิดดี) ในเลือดอีกด้วย ทำให้เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากขึ้นองค์การอนามัยโลกได้ระบุว่า การบริโภคไขมันทรานส์ เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ ร้อยละ 21  และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรร้อยละ 28  ไขมันทรานส์ยังนำไปสู่การแข็งตัวและการอุดตันของหลอดเลือด ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือดจากไขมันทรานส์กว่า 500,000 รายในแต่ละปี การลดการบริโภคไขมันทรานส์จะช่วยลดการเกิดหัวใจวายและการเสียชีวิตได้องค์การอนามัยโลกใช้ปฏิบัติการ REPLACE   องค์การอนามัยโลกเรียกร้องให้รัฐบาลของทุกประเทศใช้ปฏิบัติการ REPLACE เพื่อขจัดไขมันทรานส์ออกจากอุตสาหกรรมอาหาร  Dr Tedros Adhanom Ghebreyesus ผู้อำนวยการคนใหม่ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า “การใช้ REPLACE จะช่วยในการขจัดไขมันทรานส์ และจะเป็นชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของโลกในการต่อสู้เอาชนะกับโรคหลอดเลือดและหัวใจ”REPLACE ได้แก่Review  ทบทวนแหล่งอุตสาหกรรมการผลิตไขมันทรานส์ และฉากทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงนโยบายPromote  ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมการผลิตไขมันทรานส์ใช้ไขมันและน้ำมันที่ดีต่อสุขภาพแทนไขมันทรานส์Legislate  การออกกฎหมายเพื่อขจัดไขมันทรานส์จากการผลิตแบบอุตสาหกรรมAssess  การประเมินและกำกับดูแลการใช้ไขมันทรานส์ในการผลิตอาหารและการเปลี่ยนแปลงการบริโภคไขมันทรานส์ของประชากรCreate การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบในทางลบของไขมันทรานส์ในผู้กำหนดนโยบาย ผู้ผลิต ผู้ขาย และสังคม Enforce  การบังคับใช้กฎหมายและระเบียบต่างๆขณะนี้หลายประเทศได้ขจัดการใช้ไขมันทรานส์ จากอุตสาหกรรมเกือบสิ้นเชิง เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่จำกัดการใช้ไขมันทรานส์จากอุตสาหกรรม ทำให้ปริมาณของไขมันทรานส์ในอาหารลดลงอย่างชัดเจน และอัตราการตายจากโรคหลอดเลือดหัวใจลดลงอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศ OECD (สมาชิกประเทศยุโรปตะวันตก 19 ประเทศ)ประเทศไทยต้องมีความตื่นตัวเรื่องนี้ และร่วมกันขจัดการใช้ไขมันทรานส์ในอุตสาหกรรมอาหารโดยเร็ว เพื่อให้ลูกหลานของเราไม่ต้องเสี่ยงกับโรคหัวใจและหลอดเลือด

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต

ไขมันทรานส์และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลตแม้หลายคนจะยกให้โดนัทจะเป็นของว่างแสนอร่อย จนบางครั้งก็กินเพลินจนลืมไปว่าในความอร่อยที่แสนหวานนั้น ให้พลังงานสูงไม่แพ้การรับประทานอาหารจานหลักเลยทีเดียว และที่มากไปกว่านั้นยังทำให้เราเสี่ยงต่อการได้รับไขมันทรานส์อีกด้วย โดยสำหรับเจ้าไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty acid) นั้น เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารทอด ครีมเทียม หรือพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำ อย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นถูกจัดให้เป็นไขมันตัวร้าย เนื่องจากสามารถเพิ่มระดับระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL: low-density lipoprotein) ที่มีผลต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้นเหตุของโรคหัวใจและความดัน รวมทั้งสามารถทำให้มีการอักเสบของผนังหลอดเลือด ซึ่งทำให้หลอดเลือดตีบง่ายขึ้น ส่งผลให้องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันทรานส์ หรือไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน และควรพบความเข้มข้นในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภคฉลาดซื้อฉบับนี้จึงกลับมาเอาใจคนชอบกินโดนัทกันอีกครั้ง ด้วยการทดสอบปริมาณไขมันทรานส์ และพลังงานในโดนัทรสช็อกโกแลต จากยี่ห้อยอดนิยมตามท้องตลาดจำนวน 13 ตัวอย่าง ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันเลยประเทศไทยอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่กำหนดห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือ ห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถบังคับใช้ได้ภายในเดือนเมษายน 2561 อ้างอิงบทความข่าวจาก https://www.matichon.co.th/news/781033สรุปผลการทดสอบจากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่าง พบว่า1. พลังงาน- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ 100 กรัม มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 471 kcal./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ ดังกิ้น โดนัท ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 381 kcal./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่ให้พลังงาน/ ชิ้น มากที่สุด คือ แซง-เอ-ตัวล (Saint ETOILE) ให้พลังงาน 320 kcal./ ชิ้น (68 กรัม)ส่วนยี่ห้อ เอ็น.เค.โดนัท (NK Donut) ให้พลังงานน้อยที่สุด คือ 85 kcal./ชิ้น (19 กรัม)2. ไขมันทรานส์ผลการทดสอบพบว่า ทุกยี่ห้อมีส่วนประกอบของไขมันทรานส์ โดยแบ่งเป็น - ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ 100 กรัม มากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 6.65 กรัม./ 100 กรัมในขณะที่ยี่ห้อ เฟลเวอร์ ฟิลด์ (Flavor Field) มีปริมาณไขมันทรานส์น้อยที่สุด คือ 0.12 กรัม./ 100 กรัม- ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นมากที่สุด คือ ซับไลม์โดนัท (Sublime Doughnuts) มีปริมาณไขมันทรานส์ 4.5913 กรัม./ ชิ้น (69 กรัม)ส่วนยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์/ ชิ้นน้อยที่สุด คือ แด๊ดดี้ โด (Daddy Dough) มีปริมาณไขมันทรานส์ 0.0729 กรัม./ ชิ้น (51 กรัม)ข้อสังเกต- ไขมันทรานส์ จากโดนัทที่นำมาทดสอบทั้งหมด พบว่า มีปริมาณไขมันทรานส์ เฉลี่ย 1.25 ต่อหน่วยบริโภค ซึ่งสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ คือไม่ควรเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดยหากเราบริโภคหลายชิ้น อาจได้รับปริมาณไขมันทรานส์มากกว่าเกินกว่า 2.2 กรัม/วันได้ ทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพ - โดนัทส่วนใหญ่มีน้ำหนักประมาณ 60 กรัม/ ชิ้น และให้พลังงานเฉลี่ยที่ประมาณ 256 กิโลแคลอรี่ ซึ่งหากเราอร่อยเพลิน อาจทำให้ได้รับพลังงานสูงเกินกว่าที่ต้องการต้องการได้ เพราะอย่าลืมว่าโดนัท เป็นเพียงของหวานรับประทานเล่นเท่านั้น ยังมีอีก 3 มื้อหลัก/ วันรออยู่ (ปริมาณพลังงานที่เหมาะสมที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วันคือ 2,000 กิโลแคลอรี่)**** อัพเดท***เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า1000 Point

ฉบับที่ 204 ไขมันทรานส์ ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง

ตามที่สัญญากันไว้ว่าเราจะกลับมาพบกันอีกครั้ง กับผลการทดสอบไขมันทรานส์ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง หลังจากเล่มที่ผ่านมาเราได้เสนอผลการตรวจสอบ ปริมาณพลังงานและน้ำตาลในเครื่องดื่มดังกล่าวไปแล้ว ไขมันทรานส์(Trans fat) หรือกรดไขมันทรานส์(Trans Fatty acid) เป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่เกิดจากกระบวนการแปรรูป พบมากในการผลิตอาหารจำพวกขนมอบ เบเกอรี่ที่มีมาการีน/เนยขาว อาหารทอดหรือครีมเทียม เพราะสามารถทำให้อาหารเก็บได้นาน ทนความร้อน ไม่มีกลิ่นหืนและต้นทุนการผลิตต่ำอย่างไรก็ตามไขมันทรานส์กลับเป็นสิ่งที่ทั่วโลกต่างเฝ้าระวัง เพราะสามารถส่งผลร้ายเช่นเดียวกับกรดไขมันอิ่มตัว โดยทำให้ระดับโคเลสเตอรอลชนิดไม่ดี(LDL: low-density lipoprotein) เพิ่มสูงขึ้น และลดระดับโคเลสเตอรอลชนิดดี(HDL: high-density lipoprotein) ในเลือดลง ซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งยังเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคอัลไซเมอร์ จอประสาทตาเสื่อม โรคนิ่วในถุงน้ำดีและการอักเสบ อันเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคติดต่อไม่เรื้อรังทั้งหลายดังนั้นหลายประเทศจึงออกกฎหมายกำกับปริมาณไขมันทรานส์ในอาหาร เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา(USFDA) กำหนดให้อาหารทุกประเภทที่วางจำหน่ายและมีส่วนประกอบของกรดไขมันดังกล่าว ต้องระบุการใช้กรดไขมันทรานส์ไว้บนฉลากโภชนาการ รวมทั้งต้องมีปริมาณไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ทั้งนี้ภายหลังก็ได้ออกกฎหมายใหม่ให้เข้มงวดขึ้น โดยควบคุมการผลิตอาหารให้มีไขมันทรานส์เป็น 0% หรือห้ามไม่ให้มีไขมันทรานส์ในอาหารอีกเลย(หลังวันที่ 16 มิถุนายน 2561) เนื่องจากตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงข้างต้น ซึ่งถือเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับแรกๆ ของประชากรโลก องค์การอาหารและยา(อย.) บ้านเราตระหนักในผลร้ายของไขมันทรานส์เช่นกัน โดยล่าสุดทาง อย. ได้ออกประกาศว่ากำลังอยู่ในระหว่างการยกร่างกฎหมาย ที่ห้ามนำส่วนประกอบอาหารที่มีไขมันทรานส์มาผลิตอาหาร หรือห้ามเติมสารไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมัน โดยคาดว่าจะสามารถใช้กฎหมายดังกล่าวได้ภายในเดือนเมษายน 2561 (ที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-90978)ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงอาสาช่วยตรวจสอบปริมาณไขมันทรานส์ในเครื่องดื่มปรุงสำเร็จชนิดผง 15 ยี่ห้อ 22 ตัวอย่าง โดยอ้างอิงตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่แนะนำให้หลีกเลี่ยงการบริโภคกรดไขมันทรานส์ คือ ไม่ควรบริโภคเกินกว่า 2.2 กรัม/วัน หรือควรพบความเข้มข้นสูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ซึ่งผลการทดสอบจะเป็นอย่างไร เราลองไปดูกันผลการทดสอบไขมันทรานส์ในทั้ง 15 ยี่ห้อ 22 ตัวอย่างที่สุ่มตรวจพบว่า มีปริมาณกรดไขมันทรานส์อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตามมีเพียง 1 ยี่ห้อที่มีปริมาณกรดไขมันดังกล่าวสูง คือ เครื่องดื่มข้าวกล้องงอก ผสมธัญพืช 7 ชนิด สูตรไม่ผสมน้ำตาล ยี่ห้อ โกเด้นท์ มีปริมาณไขมันทรานส์มากที่สุดคือ 2.43 กรัม/ 100 กรัม(0.7 ต่อหน่วยบริโภค)  ส่วนตัวอย่างที่เหลือพบว่ามีไขมันทรานส์อยู่ในปริมาณน้อย ซึ่งอาจพบได้ในธรรมชาติและไม่เกินคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก  ตารางแสดงผลการทดสอบอย.เตรียมประกาศห้ามใช้ไขมันทรานส์น.ส.ทิพย์วรรณ ปริญญาศิริ ผู้อำนวยการสำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า อย.ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. …. เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร (ฉบับที่ 3) อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 (1) และมาตรา 6 (5) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 โดยให้เพิ่มความลงในข้อ 2 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 151 (พ.ศ. 2536) เรื่องกำหนดวัตถุที่ห้ามใช้ในอาหาร ลงวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2536 ในข้อ 2.13 “ห้ามใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (ไขมันทรานส์) “ยกเว้น” การใช้ในการผลิตอาหารเพื่อการส่งออก”การออกประกาศฉบับดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า “ไขมันทรานส์ (trans fatty acids)” จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (partially hydrogenated oil) จะเพิ่ม “ความเสี่ยง” ของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น อย.จึงได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับดังกล่าวขึ้น โดยขณะนี้ตัวร่างอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ โรงงานผลิตวัตถุดิบอาหาร, โรงงานผลิตน้ำมันพืช, โรงงานผลิตนม-เนย-เบเกอรี่ และโดนัท ฯลฯ ที่ใช้กระบวนการผลิตที่มีไขมันทรานส์เกิดขึ้น“เราเปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักอาหาร อย. รวมถึงการส่งหนังสือไปยังองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย และให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียส่งความคิดเห็นกลับมายัง อย. ภายในวันที่ 31 ธันวาคมนี้ หลังจากนั้น อย.จะรวบรวมความคิดเห็นทั้งหมดสรุปเสนอคณะกรรมการอาหาร ที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน หากความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อย.จะเร่งประกาศฉบับนี้ให้มีผลใช้บังคับโดยเร็ว หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา” น.ส.ทิพย์วรรณกล่าวที่มา https://www.prachachat.net/economy/news-90978**อัพเดท**เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2561 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ระบุว่า โดยปรากฏหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ชัดเจนว่า กรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids) จากน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วน (Partially Hydrogenated Oils) ส่งผลเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (8) แห่งพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ข้อ 1 ให้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนและอาหารที่มีน้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนเป็นส่วนประกอบ เป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายข้อ 2 ประกาศฉบับนี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน 2561ปิยะสกล สกลสัตยาทรรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า500 Point

ฉบับที่ 121 กระแสต่างแดน

โวดาโฟน VS โวดาเฟล โวดาโฟน (Vodafone) ผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่อันดับสามของออสเตรเลีย ได้พบกับคู่ปรับรายใหม่ซึ่งได้แก่เว็บไซต์โวดาเฟลดอทคอม (www.vodafail.com) เข้าแล้ว  เว็บไซต์ที่ว่านั้นเป็นฝีมือของผู้บริโภครายหนึ่งที่สุดจะทนกับบริการอันยอดแย่ของบริษัทโวดาโฟนนั่นเอง  ปลายปีที่แล้ว อดัม บรีโม บัณฑิตหมาดๆ ด้านวิศวกรรมซอฟท์แวร์ จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ ได้เซ็นสัญญาเป็นลูกค้าบริการ 3จี ของบริษัทโวดาโฟนเป็นเวลา 2 ปี แต่หลังจากใช้บริการไปได้เพียง 6 สัปดาห์ก็ต้องเซ็งจิตเพราะสัญญาณขาดๆ หาย เมื่อโทรไปร้องเรียนก็ได้รับคำตอบที่ไม่น่าประทับใจอีกด้วย  อดัมรู้สึกว่าเขาต้องทำอะไรสักอย่าง ว่าแล้วก็ลงมือทำเว็บไซต์หนึ่งขึ้นมา และตั้งชื่อว่าโวดาเฟล (www.vodafail.com) เพื่อแอบประณามบริการที่ล้มเหลว (fail) ของโวดาโฟน และเขาก็พบว่าเขาไม่ใช่คนเดียวที่เดือดร้อน ตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้วเป็นต้นมา มีผู้เข้าไปดูเว็บดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 150,000 คน และมีไม่น้อยที่ร่วมบันทึกข้อมูลความเดือดร้อนของตนเองจากการโทรเข้าไปยังศูนย์รับเรื่องร้องเรียนของโวดาโฟน เช่นวัน เวลา ที่โทรเข้า ระยะเวลาที่ต้องถือสายรอ ลงในหน้าเว็บดังกล่าวด้วย ผู้บริโภคมักถูกทิ้งให้รอสายนานมากเมื่อโทรเข้าไปร้องเรียนเรื่องบริการ 3 จี ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสัญญาณขาดหาย การได้รับข้อความหรือวอยส์เมล์ล่าช้า ที่สำคัญผู้บริโภคมักได้รับข้อมูลว่าเป็นปัญหาที่ตัวเครื่องมือถือหรือไม่ก็ซิมการ์ด และแนะนำให้ปิดเครื่องแล้วเปิดใหม่หรือเปลี่ยนซิมการ์ด (ซึ่งทำแล้วก็ไม่ได้ผล) ที่สำคัญรายงานนี้มีข้อมูลโดยละเอียดที่ระบุว่า บริษัทเพิกเฉยต่อข้อร้องเรียนจากลูกค้า และไม่มีการจัดการที่ดีพอ  ข้อมูลเหล่านี้ถูกจัดการและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ผลที่ได้คือรายงานสรุปกรณีปัญหาความเดือดร้อนของผู้ใช้บริการ 3 จีของโวดาโฟนทั้งหมด 12,000 กรณี ที่นำเสนอต่อองค์กรที่ดูแลผู้บริโภคด้านบริการโทรคมนาคมของออสเตรเลีย ต้องติดตามกันต่อไป ว่าเขาจะจัดการกับบริษัทดังกล่าวอย่างไร  โวดาโฟนซึ่งควบรวมกิจการกับฮัทชิสันมีลูกค้ากว่า 6.3 ล้านคนทั่วออสเตรเลีย    “เพื่อนสาว” แน่นอนกว่าหมดสมัยแล้วกับการต้องเตรียมช็อคโกแลตเอาไว้ให้ผู้ชายในวันวาเลนไทน์ สาวญี่ปุ่นยุคนี้เขาคิดใหม่ทำใหม่ หันมาซื้อช็อกโกแลตให้เพื่อนสาวดีกว่า  ข้อมูลจากการสำรวจของบริษัทกูลิโกะระบุว่า สามในสี่ของสาวญี่ปุ่นในวัยรุ่นและวัยยี่สิบต้นๆ บอกว่าปีนี้พวกเธอจะให้ “โทโมช็อกโก” หรือช็อกโกแลตเพื่อมิตรภาพกับเพื่อนผู้หญิงของตนเองในวันวาเลนไทน์ ในขณะที่มีเพียงร้อยละ 40 เท่านั้นที่จะให้ขนมหวานกับแฟนหนุ่มหรือผู้ชายที่ตนเองแอบปลื้ม  เหตุผลหลักๆ คือผู้หญิงนั้นจะชื่นชมกับช็อกโกแลตที่ได้รับมากกว่า ฝ่ายที่ให้จึงรู้สึกเป็นปลื้มมากกว่า  บ้างก็ว่าสาวๆ เหล่านี้หมดความสนใจในตัวผู้ชายญี่ปุ่นแล้ว เพราะหาคุณสมบัติความเป็นแมนได้ยากเหลือเกิน โดยกลุ่มนี้อ้างว่ามันเป็นเหตุผลเดียวกันที่ทำให้อัตราการเกิดของญี่ปุ่นลดลงเป็นประวัติการณ์  ส่วนบรรดาห้างร้านต่างๆ ก็พร้อมปรับตัวเพื่อรับเทรนด์ใหม่นี้ ด้วยการจัดแผนกช็อกโกแลตสำหรับผู้หญิง ที่เน้นช็อกโกแลตสีสวยๆ รูปร่างน่ารักๆ ไว้บริการลูกค้าสาวๆ โดยเฉพาะ คุณผู้ชายไทยฟังไว้เป็นอุทาหรณ์ อย่าได้มั่นใจเกินไปว่าคุณหล่อเลือกได้   กุหลาบต้นทุนสูงเชื่อหรือไม่ แม้เคนยาจะขาดแคลนน้ำเข้าขั้นวิกฤตแต่ก็ยังเป็นผู้ส่งออกกุหลาบรายใหญ่ที่สุดไปยังยุโรป ร้อยละ 70 ของดอกกุหลาบที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปนั้นมาจากบริเวณรอบๆทะเลสาบไนวาชาในประเทศเคนยานั่นเอง  นักนิเวศน์วิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในอังกฤษ ซึ่งทำการศึกษาพื้นที่ชุ่มน้ำในเขตทะเลสาบไนวาชา มากว่า 30 ปี บอกว่าการปลูกกุหลาบเพื่อส่งออกนั้นได้สร้างปัญหาให้กับระบบนิเวศน์ของท้องถิ่นไม่น้อย   การใช้ทรัพยากรของคนในท้องถิ่นไปเพื่อรองรับความต้องการของผู้คนในยุโรปนั้นไม่ต่างอะไรกับการเอาน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดไปบรรจุขายในบรรจุภัณฑ์ที่รูปร่างหน้าตาเป็นดอกกุหลาบนั่นเอง  ความจริงแล้วในซูเปอร์มาร์เก็ตในยุโรปก็มีดอกกุหลาบแฟร์เทรด หรือกุหลาบที่ปลูกด้วยกระบวนการที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสภาพความเป็นอยู่ของเกษตรกรและได้รับการรับรองเรื่องความเป็นมิตรต่อระบบนิเวศน์ซึ่งอาจจะมีราคาแพงกว่าดอกกุหลาบทั่วไปให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อกัน  เพียงแต่เมื่อถึงวันที่ต้องสู้รบกันในสงครามราคาในช่วงวันวาเลนไทน์และวันแม่ ซูเปอร์มาร์เก็ตเหล่านี้จะอดใจไม่ไหว ต้องหันไปหากุหลาบ “ต้นทุนต่ำ” ที่กล่าวมา  การประมูลซื้อดอกกุหลาบเป็นล็อตใหญ่ๆ นั้นจะมีขึ้นในเมืองอัมสเตอร์ดัม จึงทำให้ผู้ซื้อเข้าใจว่ากุหลาบเหล่านั้นมาจากประเทศฮอลแลนด์ (เพราะฉะนั้นก็ไม่แน่ว่า กุหลาบดอกใหญ่ที่เรียก กุหลาบฮอลแลนด์ อาจเดินทางมาไกลจากเคนยาก็ได้)   กินผิด ระวังจิตตกการกินอาหารที่มีไขมันทรานส์ หรือไขมันอิ่มตัวสูงนั้นไม่ได้ทำให้เราอ้วนขึ้นเท่านั้น งานวิจัยของสเปนบอกว่ามันเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าด้วย  ข้อมูลได้จากการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหารของอาสาสมัครกว่า 12,000 คน เป็นเวลา 6 ปี พบว่าในตอนเริ่มงานวิจัยไม่มีใครเป็นโรคซึมเศร้าเลย แต่เมื่อจบการเก็บข้อมูล พบคนที่มีอาการดังกล่าว 657 คน โดยคนที่รับประทานอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ดหรือแพสตรี้บรรจุกล่องที่ขายตามซูเปอร์มาร์เก็ตเป็นประจำ มีอัตราความเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 50 และยิ่งรับประทานอาหารที่มีไขมันมากขึ้นเท่าไร ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย  ที่สำคัญอาสาสมัครกลุ่มนี้คือคนยุโรปที่บริโภคไขมันทรานส์ในปริมาณค่อนข้างต่ำเป็นนิสัย คนเหล่านี้ได้พลังงานจากไขมันดังกล่าวเพียงร้อยละ 0.4 ของพลังงานที่ได้รับ  ลองนึกดูว่าในกลุ่มคนอเมริกันที่ได้พลังงานถึงร้อยละ 2.5 จากไขมันทรานส์นั้นจะมีความเสี่ยงต่ออาการซึมเศร้ามากกว่านี้สักกี่เท่า  แต่งานวิจัยนี้ก็ยังมีข่าวดีมาบอกกันอยู่บ้าง เขาบอกว่าน้ำมันมะกอก ซึ่งมีโอเมก้า-9 สามารถช่วยป้องกันอาการเจ็บป่วยทางจิตได้ด้วย  ปัจจุบันโลกเรามีผู้ป่วยด้วยอาการดังกล่าวอยู่ประมาณ 150 ล้านคน     สนับสนุนคนไกลเกือบหนึ่งในสี่ของอาหารที่ระบุว่าเป็นของ “ผลิตในท้องถิ่น” ในอังกฤษและเวลส์นั้น ไม่ได้เป็นดังที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด เมื่อผู้บริโภคเริ่มตระหนักถึงหน้าที่ของตนเองในการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น และต้องการสนับสนุนผู้ผลิตในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อการสร้างงาน และลดมลภาวะที่เกิดขึ้นจากการขนส่ง ก็มีผู้ประกอบการหัวใส ที่หาทางใช้ประโยชน์จากเทรนด์ที่ว่า ในประเทศอังกฤษก็มีผู้ประกอบการประเภทที่ว่าอยู่ไม่น้อย ถึงขั้นที่หน่วยงานรัฐต้องลงมือสำรวจว่ามีผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่ในท้องตลาดมากน้อยเท่าไร  จากการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์ 558 ชิ้น ในร้านค้า ร้านอาหาร ตลาด กว่า 300 แห่ง หน่วยงานดังกล่าวพบว่าร้อยละ 32 ของสินค้าที่ชูจุดขายเรื่องความเป็น “ผลิตในท้องถิ่น” เข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภค  ในนั้นมีผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าเป็น “เนื้อแกะจากเวลส์” ที่ผลิตในนิวซีแลนด์ หรือ “แฮมจากเดวอน” ทั้งๆ ที่นำเข้ามาจากเดนมาร์ก เป็นต้น นี่ยังไม่นับผลิตภัณฑ์ที่อาจจะใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น แต่ส่งออกไปแปรรูปที่ประเทศจีนแล้วนำกลับเข้ามาขายในอังกฤษใหม่อีกครั้ง ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าสามารถจัดเข้าเป็นสินค้าท้องถิ่นได้ด้วยหรือไม่  

อ่านเพิ่มเติม >