ฉบับที่ 194 สารกันบูดในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป

แฟนๆ ฉลาดซื้อคงยังจำกันได้ว่าเมื่อไม่นานนี้ เราเพิ่งนำเสนอผลทดสอบ “สารกันบูดในขนมเปี๊ยะ” ที่พบว่ามีตัวอย่างขนมเปี๊ยะเพียง 1 จาก 13 ตัวอย่างที่ไม่พบการปนเปื้อนของสารกันบูดชนิด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก โดยพบปริมาณเฉลี่ยอยู่ที่ 20.47 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม  ซึ่งก็ถือว่าเป็นปริมาณที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้คือสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม แต่การพบสารกันบูดในขนมเปี๊ยะ ทั้งที่บางยี่ห้อระบุว่า “ไม่ใช้วัตถุกันเสีย” นั้น ทำให้ฉลาดซื้อมีข้อสงสัยว่า สารกันบูดที่พบมาจากส่วนประกอบใดในขนมเปี๊ยะกันแน่ ฉบับนี้เราเลยเลือกทดสอบไส้ขนมสำเร็จรูป ชนิด “ถั่วกวน” ซึ่งถือเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตภัณฑ์ขนมหลายชนิด ไม่ใช่แค่ขนมเปี๊ยะ แต่ยังมีทั้ง ขนมโมจิ ซาลาเปา ขนมเทียน ขนมถั่วกวน ขนมลูกชุบ ขนมเม็ดขนุน ฯลฯ ซึ่งไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปพร้อมนำไปทำขนมได้ทันทีนี้ มีวางจำหน่ายอยู่ในร้านขายอุปกรณ์และวัตถุดิบสำหรับทำขนมและเบเกอรี่เจ้าใหญ่หลายแห่ง เราลองไปดูกันสิว่าในไส้ถั่วกวนสําเร็จรูปมีการปนเปื้อนของสารกันบูด กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก มากน้อยแค่ไหนถั่วกวนสำเร็จรูป ใส่สารกันบูดได้หรือไม่? ใส่ได้มากน้อยแค่ไหน?ถ้าเทียบตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่อง ข้อกำหนดการใช้วัตถุเจือปนอาหาร ไส้ถั่วกวนสำเร็จรูป น่าจะจัดอยู่ในกลุ่มอาหารประเภท พืชผัก สาหร่าย ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ ที่ผ่านกรรมวิธี เช่น อบแห้ง แคนนิ่ง แช่แข็ง ฯลฯ ตามการแบ่งกลุ่มย่อยของประเภทอาหารที่อนุญาตให้ใช้ กรดเบนโซอิก ซึ่งตามประกาศไม่มีกำหนดปริมาณที่ใช้เป็นตัวเลขชัดเจน ระบุเพียงว่า ให้ใช้ใน “ปริมาณที่เหมาะสม” ซึ่งเมื่อลองนำไปเทียบกับกลุ่มอาหารชนิดอื่นๆ ส่วนใหญ่กฎหมายจะอนุญาตให้ใช้กรดเบนโซอิกได้ไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก ไม่มีการกำหนดปริมาณการใช้ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปดังนั้นเกณฑ์สำหรับเทียบเคียงในการทดสอบ กรดเบนโซอิก และ กรดซอร์บิก ในไส้ถั่วกวนสำเร็จรูปครั้งนี้ ขอยึดที่เกณฑ์พบได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

อ่านเพิ่มเติม >