ฉบับที่ 207 เหตุใดมีเลข อย.จึงยังอันตราย

ช่วงนี้เกิดคำถามสำคัญขึ้นกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแล กฎหมายอาหาร ยา เครื่องสำอาง ว่าเหตุใด สินค้ามี อย.ถึงยังเป็นอันตรายสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ประชาชนมีความสับสนในส่วนของเครื่องหมายที่ สำนักงาน อย. นำมาใช้ในผลิตภัณฑ์สุขภาพแต่ละประเภท รวมกับความเข้าใจผิดของคนกลุ่มใหญ่ว่า “เครื่องหมาย อย.” มีค่าเท่ากับ “ปลอดภัย” (ซึ่งการสื่อสารผิดพลาดนี้ต้องวิเคราะห์กันต่อไปว่ามาได้อย่างไร) เพราะความจริงคือ เครื่องหมาย อย. นั้น  ไม่ได้รับรองว่า สินค้าปลอดภัย เครื่องหมายนี้มีความสำคัญเพียงแค่ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีที่มาที่ไปจากผู้ผลิตไหน หากมีปัญหาในภายหลัง สำนักงาน อย.สามารถติดตามไปจัดการได้  ความจริงคือ เครื่องหมาย อย. นั้น  ไม่ได้รับรองว่า สินค้าปลอดภัย เครื่องหมายนี้มีความสำคัญเพียงแค่ให้รู้ว่าผลิตภัณฑ์ตัวนั้นมีที่มาที่ไปจากผู้ผลิตไหน หากมีปัญหาในภายหลัง สำนักงาน อย.สามารถติดตามไปจัดการได้  และในเรื่องของความสับสนจากเครื่องหมายที่ถูกนำมาใช้ ก็มีที่มาจากความไม่เข้าใจในสาระที่ถูกต้องของเครื่องหมายแต่ละประเภท ได้แก่   เครื่องหมาย อย. จะใช้กับอาหารเท่านั้น เรียกว่า “เลขสารบบอาหาร” ซึ่ง เลขสารบบอาหาร จะเป็นตัวเลข 13 หลัก แสดงอยู่ภายในกรอบเครื่องหมาย อย. หากเป็น ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จะไม่มี เลข อย. แต่ฉลากต้องแสดง“เลขที่ใบรับแจ้ง” (เลขจดแจ้ง)โดยกำหนดให้เป็นเลข 10 หลัก เช่น 10-1-61xxxxx เป็นต้นขณะที่ ยา จะแสดงเลขทะเบียนตำรับยา โดยลักษณะของกลุ่มตัวเลขแรกคือ ประเภทของทะเบียนตำรับยาจะเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ แล้วตามด้วยเลขทะเบียนตำรับยา(ของแต่ละตำรับยา) /ปี พ.ศ. เช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1A 324/50 เป็นต้น ช่องโหว่จากความที่ผู้บริโภคทั่วไปไม่เข้าใจเรื่องนี้ ได้กลายเป็นจุดขายให้แม่ค้าพ่อค้าสินค้าสุขภาพลวงโลก เอาไปยำข้อมูลจนผู้บริโภคสับสน เช่น เอาเครื่องหมาย อย.ไปใส่ในฉลากเครื่องสำอาง  เอาเครื่องหมาย อย.ไปใช้ในตัวสินค้าที่เป็นแค่อาหาร แต่อ้างสรรพคุณในทางรักษา หรือไม่ก็ข้างในผลิตภัณฑ์เป็นยา แต่ระบุฉลากด้วยเครื่องหมาย อย.  และโฆษณาว่า “ผลิตภัณฑ์เรามี อย. ผลิตภัณฑ์เราปลอดภัย” จนกลายเป็นที่มาของคำถามว่า ทำไมมี อย.แล้วยังไม่ปลอดภัย ปรับความรู้กันใหม่ สู้ภัยสินค้าสุขภาพผิดกฎหมาย 1.เข้าใจให้ถูกต้องเรื่องเครื่องหมาย เลขสารบบอาหาร ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหารเท่านั้น และห้ามฉลากหรือโฆษณาบอกว่า รักษาหรือบำบัดโรค ส่วนฉลากเครื่องสำอาง ต้องไม่มีเลข อย. แต่มีเลขจดแจ้ง ระบุไว้ ซึ่งเครื่องหมายเหล่านี้สามารถนำไปตรวจสอบได้ว่า เป็นเครื่องหมายจริงหรือปลอม  2.ผลิตภัณฑ์ต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ ผู้ผลิตที่ชัดเจน จะได้ตรวจสอบได้ หาคนรับผิดชอบได้ หากเกิดปัญหา  3.เลิกเชื่อโฆษณาอวดอ้าง ผลลัพธ์มหัศจรรย์ทั้งหลาย  เพราะมันไม่เป็นจริง  4.หากใช้แล้วมีความผิดปกติแม้เพียงเล็กน้อย ต้องหยุดใช้ทันที คำอ้างที่ว่า ขับพิษหรือรออีกสักพักจะดีขึ้น มันคือคำลวง  5.ติดตามข่าวสารการแจ้งเตือนภัยสินค้า เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อสินค้าผิดกฎหมาย  6.เจอผลิตภัณฑ์เข้าข่ายผิดกฎหมาย แจ้งสายด่วน อย. 1556 อีเมล์ 1556@fda.moph.go.th หรือต่างจังหวัดที่ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด หรือแจ้งตำรวจ ปคบ. สายด่วน 1135 -----------------------------------สามารถติดตามการแจ้งเตือนภัยสินค้าได้ที่www.tumdee.org  ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์5 แพลตฟอร์มของ อย. facebook.com/fdathai twitter.com/fdathai Instagram.com/fdathai YouTube.com/fdathai Line@fdathai

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 206 ฉีดเลือด เพื่อผิวอ่อนเยาว์

ไม่ว่าใครก็ไม่อยากให้กาลเวลาพรากความอ่อนเยาว์ของผิวหน้าไป จึงสรรหาสารพัดวิธีมาเอาชนะปัญหาดังกล่าว โดยหนึ่งในวิธีที่ยังได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลายก็หนีไม่พ้น “การฉีดเลือดเพื่อผิวอ่อนเยาว์” ซึ่งจะมีข้อมูลน่าสนใจหรือให้ผลลัพธ์ได้อย่างที่หลายคนปรารถนาหรือไม่นั้น เราลองไปหาคำตอบกันฉีดเลือดเพื่อผิวอ่อนเยาว์ คืออะไรหลักการฉีดเลือดเพื่อให้ผิวอ่อนเยาว์ขึ้นนั้น คือการนำเลือดตัวเองมาปั่นเพื่อให้ได้เกล็ดเลือด ที่เรียกว่า Growth Factors (โกรท แฟคเตอร์) ซึ่งเป็นสารที่สามารถเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในร่างกายของสิ่งมีชีวิต และมีความสามารถกระตุ้นให้เซลล์มีการเพิ่มจำนวนหรือเจริญเติบโตได้ โดยหลังจากได้เกล็ดเลือดดังกล่าวแล้ว ก็จะฉีดกลับเข้าไปที่ผิวหน้าในบริเวณที่ต้องการ เช่น ริ้วรอยเหี่ยวย่นต่างๆ บนผิวหน้า ทั้งนี้สถาบันเสริมความงามหลายแห่งที่นำวิธีการนี้มาบริการ อาจใช้ชื่อที่แตกต่างกันไป เช่น PRP (Platelet-Rich Plasma) หรือ Vampire Facelift เป็นต้น รวมทั้งบางแห่งอาจมีการผสมสารอื่นๆ เช่น คอลลาเจน/ อีลาสติน หรือใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งมักโฆษณาว่าการฉีดเลือดกลับเข้าไปที่ผิวนั้นสามารถทำให้ผิวกระจ่างใส ดูอ่อนวัย และสามารถให้ผลลัพธ์ได้ 1 – 2 ปี นอกจากนี้ยังมีความปลอดภัยสูงอีกด้วยฉีดเลือด ปลอดภัยสูงจริงหรือแม้การฉีดเลือดด้วยโกรท แฟคเตอร์ เพื่อการเสริมความงาม จะถูกโฆษณาถึงผลดีมากมายตามที่กล่าวไว้แล้วข้างต้น แต่ในทางกลับกันกลับพบว่าวิธีการดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยอมรับทางการแพทย์และยังถือว่าไม่ใช่วิธีการรักษาที่เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรีย ภาวะแทรกซ้อนหรือการติดเชื้อได้ โดยสามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ผิวหนังอักเสบบริเวณ ข้อบวมอักเสบ เกิดสิวหรือหนอง รวมทั้งยังทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งโลหิตได้ ส่งผลให้วิธีการดังกล่าวมักถูกใช้เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะร่างกายขาดเกล็ดเลือด เกล็ดเลือดต่ำหรือโรคไข้เลือดออกเท่านั้นตรวจสอบ ก่อนรับบริการแน่นอนว่าการฉีดเลือด เพื่อหวังผลให้ผิวอ่อนเยาว์นั้นจะยังคงมีอยู่ และอาจเปลี่ยนชื่อเรียกไปเรื่อยๆ ดังนั้นผู้บริโภคอย่างเรา จึงควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าสถาบันเสริมความงามที่เรากำลังจะเข้ารับบริการนั้น มีความปลอดภัยจริง โดยที่ผ่านมากรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ออกประกาศ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและค่าใช้จ่ายในการโฆษณาหรือประกาศเกี่ยวกับสถานพยาบาล เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคให้ได้รับบริการในด้านระบบบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ มาตรฐาน ปลอดภัยและไม่โฆษณาโอ้อวดเกินจริง ซึ่งผู้บริโภคสามารถสอบถามไปยังกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ว่าสถานบริการเสริมความงามดังกล่าว ได้รับอนุญาตให้โฆษณาข้อมูลหรือโปรโมชั่นต่างๆ หรือไม่ ผ่านทางเบอร์โทรศัพท์ 02-1397041 หรือที่เว็บไซต์ http://hss.moph.go.th/index2.phpทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าว หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชน เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความ เสียง หรือภาพ เพื่อประโยชนทางการค้า ซึ่งต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะเผยแพร่ได้ทั้งนี้การโฆษณาดังกล่าว หมายถึง การกระทำไม่ว่าโดยวิธีใดๆ ให้ประชาชน เห็น ได้ยิน หรือทราบ ข้อความ เสียง หรือภาพ เพื่อประโยชนทางการค้า ซึ่งต้องขออนุมัติจากผู้อนุญาตก่อนจึงจะเผยแพร่ได้ (รวมทั้งการติดประกาศในลิฟต์ เสียงตามสาย สื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ) และหากพบว่าการโฆษณาดังกล่าวไม่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ หรือเข้าข่ายเป็นเท็จ หรือโอ้อวดเกินจริง หรือน่าจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญ เกี่ยวกับการประกอบกิจการของสถานพยาบาล จะถือว่ามีความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 4 พ.ศ.2559 ซึ่งมีโทษปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทและให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะระงับการโฆษณา หรือหากมีการโฆษณาโอ้อวดเกินจริง จะมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาทจนกว่าจะระงับการโฆษณา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 205 ครีมทาสิวยุบทันใจ

ขึ้นชื่อว่าเป็น “สิว” แล้ว ไม่ว่าจะตุ่มเล็ก ตุ่มใหญ่ มากหรือน้อยแค่ไหนก็สร้างความกังวลใจได้เสมอ หลายคนจึงต้องสรรหาสารพัดวิธีเพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าว และหนึ่งในวิธียอดฮิตก็หนีไม่พ้นการซื้อครีมทาสิวมารักษาด้วยตนเอง ซึ่งเรามักพบว่าครีมที่ช่วยทำให้สิวยุบทันใจมีวางขายกันเกลื่อนกลาด แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านั้นจะมีความปลอดภัยต่อผิวหน้าของเรามากแค่ไหน ลองไปดูกัน มารู้จักสิวกันสักนิดไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงเมื่อเราเข้าสู่วัยรุ่น การแพ้สารเคมีในเครื่องสำอาง กรรมพันธุ์ การติดเชื้อแบคทีเรีย (Propionibacterium acnes) หรือการผลิตไขมันที่มากเกินไปของต่อมไขมัน รวมทั้งความผิดปกติหรือการอักเสบของรูขุมขน ล้วนเป็นปัจจัยที่สามารถทำให้เกิดสิวได้ทั้งสิ้นรักษาสิวด้วยครีมทาสิว ดีอย่างไรแน่นอนว่าสิวสามารถยุบไปเองได้ตามธรรมชาติ แต่ต้องใช้เวลานาน ทำให้ครีมรักษาสิวได้รับความนิยมไม่เสื่อมคลาย โดยเราสามารถเลือกซื้อเองได้ตามร้านขายยาหรือท้องตลาดทั่วไป ซึ่งนอกจากจะทำให้สิวยุบเร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว ยังมีราคาไม่แพงมากอีกด้วยอย่างไรก็ตามการเลือกซื้อครีมทาสิวที่มักโฆษณาว่า “เห็นผลเร็วทันใจ” “สิวหายภายใน 24 ชั่วโมง” ถือเป็นทางเลือกที่เราต้องระมัดระวังให้มาก เพราะผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอาจมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ที่สามารถส่งผลเสียระยะยาวให้ผิวหน้าเราพังได้อย่างไม่รู้ตัวสเตียรอยด์ในครีมทาสิว ทำหน้าพังได้อย่างไรแม้สเตียรอยด์ (steroid) จะเป็นตัวยาสำคัญที่ใช้ในการรักษาโรค และพบมากในยาแต้มสิวหรือยาฉีดสิว เพราะช่วยต้านการอักเสบหรือลดอาการปวดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว แต่กลับต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น เพราะการใช้สารดังกล่าวติดต่อกัน สามารถทำให้ผิวหนังบาง แดง อักเสบ แพ้ง่ายหรือบางรายอาจเป็นสิวผดเห่อขึ้นทั่วหน้า รวมทั้งหลังหยุดใช้ยาผิวจะดูเหี่ยวเร็วหรือเส้นเลือดใต้ผิวหนังแตก ซึ่งรักษายากและใช้เวลานานกว่าผิวจะกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิมสังเกตครีมทาสิวที่ไม่ปลอดภัยเพราะสเตียรอยด์สามารถทำร้ายผิวได้อย่างร้ายแรงตามที่กล่าวไว้ข้างต้น ส่งผลให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดวัตถุที่ห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง โดยห้ามไม่ให้มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ในเครื่องสำอางอย่างไรก็ตามครีมทาสิวหลายยี่ห้อกลับลักลอบใส่สารดังกล่าวลงไป พร้อมโฆษณาว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ช่วยรักษาสิวได้อย่างรวดเร็ว และผู้บริโภคหลายคนอาจเผลอใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะคิดว่าเป็นเพียงเครื่องสำอางชนิดหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้เราสามารถมีวิธีสังเกตครีมทาสิวที่ไม่ปลอดภัยได้ง่ายๆ ดังนี้- แยกความแตกต่างระหว่างเครื่องสำอางและยาวิธีการง่ายๆ เพื่อตรวจสอบว่าผลิตภัณฑ์ที่เรากำลังจะใช้ สามารถรักษาสิวได้จริงหรือไม่นั้น คือผลิตภัณฑ์ดังกล่าวต้องเป็น “ยา” ที่มีผลในการบำบัด บรรเทา รักษาหรือป้องกันโรค ซึ่งดูได้จากเลขทะเบียนยา เช่น ยาที่ผลิตในประเทศ และมีตัวยาออกฤทธิ์เพียงตัวเดียวต้องระบุ (Reg.No.) 1A…/… หรือ ๒A …/… พร้อมมีฉลากภาษาไทย และเอกสารกำกับยาติดอยู่ในขวดหรือในกล่องยาที่ระบุรายละเอียดสำคัญ ดังนี้ 1. ชื่อยา 2. ปริมาณหรือขนาดบรรจุของยา 3. เลขที่หรืออักษรแสดงครั้งที่ผลิต เช่น Lot No… 4. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า 5.วันเดือนปีที่ผลิตหรือวันหมดอายุ เช่น Mfd. / Exp. Date 6. ตัวอักษรสีแดงคำว่า ยาอันตราย/ ยาควบคุมพิเศษ/ ยาใช้เฉพาะที่ หรือยาใช้ภายนอก (แล้วแต่กรณี) 7. วิธีใช้และคำเตือนโดยหากพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไม่มีรายละเอียดดังกล่าว แต่มีเลขที่จดแจ้งจำนวน 10 หรือ 13 หลัก โดยไม่มีกรอบเครื่องหมาย อย. ก็แสดงเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ที่มีจุดประสงค์เพื่อความสะอาดหรือความสวยงามเท่านั้น ซึ่งไม่สามารถใช้รักษาสิวหรือโรคใดๆ ได้ นอกจากนี้เรายังสามารถนำเลขทะเบียนยาที่พบ ไปตรวจสอบความถูกต้องได้ที่เว็บไซต์ของ อย.(http://porta.fda.moph.go.th/FDA_SEARCH_ALL/MAIN/SEARCH_CENTER_MAIN.aspx) เพราะบางยี่ห้ออาจมีการใช้เลขทะเบียนตำรับยาปลอม รวมทั้งในการใช้ยารักษาสิวดังกล่าว ควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของเภสัชกรและไม่ควรใช้นานเกินกว่า 2 สัปดาห์ 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 204 เลือกใช้ยารักษาฝ้า อย่างถูกวิธี

เลือกใช้ยารักษาฝ้า อย่างถูกวิธีแม้ความขาวใสจะเป็นสิ่งที่สาวๆ ส่วนใหญ่ปรารถนา แต่บางครั้งเราอาจเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม อย่างการใช้ยารักษาฝ้าที่มีส่วนประกอบขอสารไฮโดรควิโนนมาทำให้หน้าขาวขึ้น ซึ่งสามารถส่งผลเสียร้ายแรงต่อผิวได้ หรือเผลอใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของสารดังกล่าวไปอย่างไม่รู้ตัว โดยเราจะมีวิธีเลือกอย่างไรให้ปลอดภัย ลองไปดูกันมารู้จักยารักษาฝ้ากันสักนิด หนึ่งในวิธีการรักษาฝ้าหรือกระที่แพร่หลาย คือการใช้ยาในกลุ่มที่มีส่วนประกอบของไฮโดรควิโนน(Hydroquinone) ซึ่งมักอยู่ในรูปแบบครีมและเจล เพราะไฮโดรควิโนนเป็นสารมาตรฐานสำคัญ ที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง และส่งผลให้ผิวขาวขึ้นได้ภายในเวลาที่รวดเร็วหรือประมาณ 4-6 สัปดาห์ อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ยาดังกล่าว จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ความดูแลของแพทย์หรือเภสัชกร เพราะจัดอยู่ในประเภทยาอันตรายที่อาจทำให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้ได้ง่าย หรือสามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง รวมทั้งส่งผลเสียต่อผิวพรรณได้ในระยะยาว สารไฮโดรควิโนนส่งผลเสียอย่างไรแม้สารไฮโดรควิโนนจะมีคุณสมบัติทำให้ผิวขาวขึ้นได้ แต่ต้องใช้ภายใต้ความดูแลของแพทย์ และยังถูกสั่งห้ามใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง เนื่องจากหากใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน สามารถทำให้ผิวไวต่อแสงแดดมากขึ้น ส่งผลต่อการเกิดฝ้าที่มากกว่าเดิม หรือทำให้เกิดอาการผื่นแพ้สัมผัสและการระคายเคือง รวมทั้งอาจทำให้เกิดจุดด่างขาวที่หน้า ผิวหน้าดำ เป็นฝ้าถาวรหรือฝ้าเส้นเลือดได้ แต่ที่มากไปกว่านั้นคือสามารถทำให้เกิดโรคผิวหนังอื่นๆ หรือเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งผิวหนังได้แนะวิธีการเลือกใช้อย่างปลอดภัยด้วยคุณสมบัติที่จำเป็นต่อการรักษาฝ้า ทำให้ยาที่มีส่วนประกอบของไฮโดรควิโนนยังสามารถใช้ได้ แต่ในกรณีนี้ผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการซื้อยาดังกล่าวมาใช้เอง โดยควรเลือกซื้อตามร้านขายยาแผนปัจจุบันที่มีเภสัชกรประจำ เพื่อให้คำแนะนำการใช้ยาอย่างถูกวิธี ต่างจากยาทั่วไปเช่น ยาแก้ปวดหัว ยาแก้ไอหรือยาแก้โรคหวัดบางชนิดที่ผู้บริโภคสามารถหาซื้อเองได้ทั้งนี้เราควรตรวจสอบข้อมูลสำคัญทางยาบนฉลากยา ได้แก่ ชื่อตัวยาสำคัญ วัตถุประสงค์หรือข้อบ่งใช้ คำเตือนหรือคำแนะนำ หรือเปอร์เซ็นต์ของยาให้อยู่ในปริมาณที่ อย.กำหนด (ไม่เกิน 2%) รวมทั้งควรใช้ในระยะเวลาที่จำกัด และทาเฉพาะจุดที่เป็นฝ้าเท่านั้น โดยหลังจากหยุดการใช้ยาที่มีส่วนผสมของไฮโดรควิโนนแล้ว ควรทาครีมกันแดดเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องการอาการไวต่อแสงแดดสำหรับในส่วนของเครื่องสำอางบางยี่ห้อที่แอบลักลอบใส่สารไฮโดรควิโนน ซึ่งผู้บริโภคอาจเผลอใช้โดยไม่รู้ตัว โดยจะทำให้ผิวขาวขึ้นเร็วผิดปกติ เพราะมักใส่สารดังกล่าวในปริมาณสูงนั้น ผู้บริโภคควรตรวจสอบให้ดีก่อนตัดสินใจ ด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการตรวจสอบฉลากว่ามีฉลากภาษาไทยหรือไม่ โดยอย่างน้อยต้องระบุชื่อเครื่องสำอาง ส่วนผสม ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต ว/ด/ป ผลิตหรือหมดอายุ และเลขที่จดแจ้ง ซึ่งผู้บริโภคสามารถนำเลขที่จดแจ้งหรือชื่อเครื่องสำอางดังกล่าว เข้าไปสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์ว่าตรงกับที่ระบุไว้ฉลากหรือไม่ ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. ที่ http://porta.fda.moph.go.th ได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 203 ผิวเต่งตึงด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (ตอนที่ 2)

มาต่อกันกับเรื่อง ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิก ซึ่งเป็นสารสำคัญสำหรับเซลล์ผิวหนัง ในการช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นทำให้ผิวไม่แห้งตึง โดยฉบับที่ผ่านมาเราได้พูดถึงกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางกันไปแล้ว คราวนี้เราลองมาดูกรดไฮยาลูโรนิกในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันบ้าง มารู้จักผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกันสักนิดผู้บริโภคส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและอาหารเสริมมีความหมายเดียวกัน แต่จริงๆ แล้วอาหารทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันอยู่เล็กน้อยตรงที่ “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” คือผลิตภัณฑ์ที่ใช้รับประทานนอกเหนือจากการรับประทานอาหารตามปกติ และไม่สามารถใช้รับประทานแทนอาหารหลักได้ โดยมีสารอาหารหรือสารอื่นเป็นองค์ประกอบ และอยู่ในรูปแบบเม็ด แคปซูล ผง เกล็ด ของเหลวหรือลักษณะอื่น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายให้บุคคลทั่วไปที่มีสุขภาพปกติรับประทาน ในขณะที่ “อาหารเสริม” จะหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากอาหารจริงๆ เช่น ฟักทองบด ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กเล็ก หรือ โจ๊กปั่น ที่เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการกินอาหาร ซึ่งมีจุดมุ่งหมายสำหรับใช้กินเป็นมื้อเสริมเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีวิตามินบางชนิดที่จัดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอีกด้วย โดยผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อเองได้ตามท้องตลาดทั่วไป อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ต้องมีการควบคุมคุณภาพและได้รับการรับรองจาก อย. ซึ่งผู้บริโภคควรตรวจสอบก่อนซื้อมารับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกแม้ปัจจุบันจะมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกจำนวนมาก ซึ่งผู้บริโภคหลายคนรับประทานกันเป็นประจำอยู่แล้ว และเชื่อมั่นว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวสามารถช่วยชะลอความเหี่ยวย่นได้จริง แต่เราไม่ควรลืมว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก็ถือว่าเป็นอาหารประเภทหนึ่ง ซึ่งช่วยเสริมสารอาหารบางอย่างให้กับร่างกายตามที่กล่าวไว้ข้างต้น และไม่ควรถูกโฆษณาอวดอ้างในลักษณะสรรพคุณทางยาหรือเครื่องสำอาง เช่น เสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย บำรุงหัวใจ ลดการดูดซึมไขมัน ทำให้ผิวขาวเปล่งปลั่ง กระชับรูขุมขนหรือลดรอยเหี่ยวย่น เป็นต้น อย่างไรก็ตามเรามักพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหลายยี่ห้อตามท้องตลาด มักโฆษณาว่ามีฤทธิ์หรือให้สรรพคุณคล้ายกับยารักษาโรค จนทำให้ผู้บริโภคส่วนใหญ่เกิดความสับสนหรือเข้าใจผิดได้เราจึงควรสำรวจผลิตภัณฑ์ดังกล่าวก่อนตัดสินใจซื้อด้วยวิธีการง่ายๆ อย่างการอ่านฉลาก ซึ่งหากพบว่ามีเลขสารบบอาหาร 13 หลักก็แสดงให้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นอาหารและไม่มีสรรพคุณทางยาใดๆ แต่หากพบว่ามีเลขทะเบียนยา เช่น Reg. No. …/.. ก็หมายถึงผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็นยารักษาโรค ซึ่งเราสามารถคาดหวังสรรพคุณหรือการออกฤทธิ์ต่อร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นป้องกันโรค ส่งเสริมสุขภาพ บำบัด บรรเทา รักษาโรค หรือให้ออกฤทธิ์ในการเติมเต็มร่องลึกและทำให้ผิวหนังเต่งตึงขึ้น แต่ทั้งนี้ประสิทธิผลก็ขึ้นอยู่กับการดูดซึมของร่างกายแต่ละคนด้วยวิธีการง่ายๆ ในการตรวจสอบฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนอกจากเราควรตรวจสอบเลขสารบบอาหาร 13 หลักแล้ว ยังมีรายละเอียดอื่นๆ ที่กฎหมายกำหนดให้ฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่จำหน่ายต่อผู้บริโภคต้องระบุ ดังนี้1. ชื่ออาหาร โดยมีคำว่า “ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร” เป็นส่วนหนึ่งของชื่ออาหารหรือกำกับชื่ออาหาร 2. เลขสารบบอาหาร 3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า (แล้วแต่กรณี) 4. ปริมาณของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่บรรจุ 5. ชื่อและปริมาณของส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และส่วนประกอบที่มีการกล่าวอ้างสรรพคุณ คุณประโยชน์ ในฉลากของผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 6. ข้อความว่า “ใช้วัตถุกันเสีย” (ถ้ามี) 7. ข้อความว่า “เจือสีธรรมชาติ” หรือ “เจือสีสังเคราะห์” (ถ้ามี) 8. ข้อความว่า “แต่งกลิ่นธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นเลียนธรรมชาติ” “แต่งกลิ่นสังเคราะห์” “แต่งรสธรรมชาติ” หรือ “แต่งรสเลียนธรรมชาติ” (ถ้ามี) 9. ข้อความชัดเจนว่า “การได้รับสารอาหารต่างๆ นั้น ควรได้จากการบริโภคอาหารหลักที่หลากชนิดครบทั้ง 5 หมู่ และเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ” 10. คำแนะนำในการใช้ 11. คำแนะนำในการเก็บรักษา (ถ้ามี) 12. วันเดือนและปีที่ผลิต/ หมดอายุการบริโภค ทั้งนี้การแสดงข้อความตามข้อ (12) ต้องมีข้อความที่ฉลากระบุตำแหน่งที่แสดงข้อความดังกล่าวด้วย 13. คำเตือนการบริโภคผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเรื่อง การกล่าวอ้างทางสุขภาพ (Health claim) และคำเตือนการบริโภคอาหาร 14. ข้อมูลเฉพาะอื่นๆ ถ้าเข้าข่ายตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ใช้ หรือฉลากโภชนาการ เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 202 ผิวเต่งตึงด้วยกรดไฮยาลูโรนิก (ตอนที่ 1)

ผลิตภัณฑ์ที่ช่วยชะลอความแก่ หรือทำให้ผิวแลดูอ่อนเยาว์เต่งตึงขึ้นนั้น ถือเป็นกลุ่มสินค้าที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเสมอมา เพราะสามารถจับต้องได้ง่าย เจ็บตัวน้อยและไม่ต้องพึ่งมีดหมอ อย่างไรก็ตามสารประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ที่กำลังมาแรงอย่างกรดไฮยาลูโรนิก จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับผิวหน้าที่เหี่ยวย่นได้จริงหรือ เราลองไปดูกันรู้จักกรดไฮยาลูโรนิกสักนิดกรดไฮยาลูโรนิก (Hyaluronic Acid) คือ สารที่มีอยู่ในร่างกายของเราโดยธรรมชาติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของเซลล์ผิวหนัง เพราะช่วยกักเก็บความชุ่มชื้น ทำให้ผิวไม่แห้งตึง แต่เมื่อเราอายุมากขึ้น สารดังกล่าวจะค่อยๆ ลดปริมาณลง ส่งผลให้ผิวหนังเริ่มเหี่ยวย่น หลายคนจึงต้องการเสริมจากภายนอกเข้าไป เพื่อทำให้ผิวยังคงความเต่งตึงการเสริมจากภายนอกเข้าไปนั้น หากต้องการให้เห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็ว มักเป็นการฉีดสารสังเคราะห์ดังกล่าวเข้าไป ซึ่งเรียกว่า “การฉีดฟิลเลอร์” นั่นเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขการยุบตัวของเนื้อเยื่อผิวหน้า หรือเติมร่องลึกบนผิวหน้าให้กลับมาเต่งตึงเช่นเดิม อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีการนำกรดไฮยาลูโรนิก มาใช้เป็นส่วนผสมหลักในเครื่องสำอางหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ไม่ต้องการพึ่งมือหมอหรืออยากประหยัดค่าใช้จ่ายมาดูผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกคราวนี้เราลองมาดูผลิตภัณฑ์ 2 กลุ่มใหญ่อย่างเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่มีการผสมกรดไฮยาลูโรนิกเข้าไปว่าจะได้ผลมากน้อยหรือมีข้อควรระวังการใช้อย่างไรบ้าง1. เครื่องสำอางไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกในรูปแบบครีม เจล น้ำ หรือเครื่องสำอางที่โฆษณาว่าเป็นกรดไฮยาลูโรนิกเพียวๆ ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปผสมเองกับครีมหรือเครื่องสำอางอื่นๆ ของตัวเองได้นั้น ล้วนมีสิ่งสำคัญที่ผู้บริโภคไม่ควรมองข้ามเลยก็คือเรื่องของฉลาก เพราะนอกจากผลลัพธ์ที่เราต่างคาดหวังแล้ว เรื่องความปลอดภัยก็เป็นสิ่งสำคัญขาดไม่ได้ เนื่องจากเราจะพบว่ามีเครื่องสำอางหลายยี่ห้อที่มักโฆษณาว่านำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ไม่มีฉลากภาษาไทย แต่หากใช้แล้วเกิดอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่างๆ อาจเป็นการเจ็บตัวฟรีหรือหาคนรับผิดชอบได้ยากเบื้องต้นนั้นต้องตรวจสอบให้ดีว่า เครื่องสำอางที่เรากำลังจะใช้มีฉลากภาษาไทย ที่อย่างน้อยต้องระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้ 1. ชื่อการค้าและชื่อเครื่องสำอาง 2. ประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง 3. สารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง โดยเรียงลำดับตามปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย 4. วิธีใช้เครื่องสำอาง/ คำเตือน 5. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต หรือในกรณีเป็นเครื่องสำอางนำเข้า ต้องระบุชื่อและที่ตั้งของผู้นำเข้า รวมทั้งชื่อผู้ผลิตและประเทศที่ผลิต 6. ปริมาณสุทธิ 7. เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต และเดือน ปีที่ผลิตหรือเดือน ปีที่หมดอายุ และ 8. เลขที่ใบรับแจ้ง 10 หลัก (โดยต้องไม่อยู่ในกรอบเครื่องหมาย อย.)ส่วนของผลลัพธ์ที่คาดหวังว่า การใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกจะทำให้หน้าเต่งตึงขึ้นได้นั้น พบว่า มักทำให้ผิวหน้าดูชุ่มชื้นหรือเต่งตึงขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะสารดังกล่าวมักมีขนาดโมโลกุลใหญ่เกินกว่าจะซึมเข้าไปฟื้นฟูร่องลึกของผิวได้ 100 เปอร์เซ็นต์แต่ในกรณีที่มีเครื่องสำอางชนิดใด โฆษณามีขนาดโมโลกุลของกรดไฮยาลูโรนิกเล็กมากจนซึมเข้าสู่ชั้นเซลล์ผิวได้ ต้องมีการตรวจพิสูจน์จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และหากไม่เป็นจริงตามที่กล่าวอ้างก็จะเข้าข่ายการโฆษณาเกินจริง ซึ่งผู้บริโภคอย่างเราต้องไม่ลืมว่าเครื่องสำอางไม่ใช่ยา ที่สามารถช่วยบำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค มีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายได้ ทั้งนี้กลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิกยังไม่จบเพียงเท่านี้ พบกันในฉบับถัดไป ในส่วนของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของกรดไฮยาลูโรนิก 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 201 เร่งผมยาว ได้จริงหรือ

ใครที่กำลังขาดความมั่นใจจากความสั้นเต่อของเส้นผม มักมองหาสารพัดวิธีเพื่อช่วยเร่งให้ผมยาวขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการใช้ผลิตภัณฑ์เร่งผมยาวอย่างแชมพู สเปรย์หรือเซรั่ม แต่วิธีเหล่านี้จะได้ผลมากน้อยแค่ไหน เราลองไปหาคำตอบกันมารู้จักเส้นผมของเรากันสักนิดเส้นผม เป็นส่วนที่เจริญเติบโตจากต่อมรากผม มีโปรตีนเคราติน(Keratin) เป็นส่วนประกอบหลัก แต่ถือว่าเป็นส่วนของเซลล์ที่ตายแล้ว จึงทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บหรือมีเลือดเมื่อหลุดร่วงหรือถูกตัดออก ซึ่งตามปกติเส้นผมจะหลุดร่วงประมาณ 100 เส้น/วัน และมีวงจรการเจริญเติบโตเป็นระยะที่แน่นอน คือ เมื่อเส้นผมงอกไปจนยาวได้ประมาณหนึ่งแล้ว ต่อมผมก็จะหยุดสร้างเส้นผมเพื่อให้เกิดการหลุดร่วง จากนั้นก็จะมีผมงอกใหม่ขึ้นมาแทนที่ ทั้งนี้จำนวนเส้นผมตามปกติบนศีรษะของเราจะมีประมาณ 100,000-150,000 เส้น ผมยาวขึ้นได้ อย่างไรอย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เส้นผมมีวงจรการเจริญเติบโตเป็นระยะที่แน่นอน แตกต่างจากการงอกของเล็บ ซึ่งแบ่งออกป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1. ระยะเจริญเติบโต(Anagen) เป็นช่วงที่เส้นผมมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้สังเกตได้ว่าผมยาวขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอัตราการเจริญของเส้นผมประมาณ 1/2 นิ้ว/เดือน 2. ระยะหยุดเจริญเติบโต(Catagen) เป็นช่วงที่เส้นจะหยุดการเจริญเติบโตและหลุดร่วงไป และ 3. ระยะหลุดร่วง (Telogen) เป็นช่วงเวลาพักตัวของเส้นผม ซึ่งหลังจากนี้จะเกิดการสร้างรากผมใหม่และเข้าสู่ระยะที่หนึ่งอีกครั้งอย่างไรก็ตามวงจรการงอกของเส้นผมทั้ง 3 ระยะนี้เกิดขึ้นพร้อมกันทั่วทั้งหนังศีรษะ ผมเส้นหนึ่งอาจอยู่ในระยะเจริญเติบโตในขณะที่บริเวณผมด้านข้างอยู่ในระยะหยุดการเจริญเติบโต ทำให้เรายังรู้สึกว่าผมยังดูยาวหรือหนาแน่นเต็มศีรษะอยู่ นอกจากนี้กระบวนการเติบโตเหล่านี้ล้วนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น พันธุกรรม อายุหรือโรคประจำตัว ส่งผลให้แต่ละคนมีความยาวของเส้นผมที่แตกต่างกันไปแล้วเราสามารถเร่งผมยาวได้ จริงหรือแม้การเจริญเติบโตของเส้นผมจะมีวงจรที่แน่นอน และมีระยะเวลาการเจริญเติบโตที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน แต่หลายคนยังต้องการที่จะเร่งกระบวนการดังกล่าว ด้วยการใช้แชมพู สเปรย์หรือเซรั่มต่างๆ ซึ่งหากเราลองตรวจสอบหน้าที่หลักของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ดูจริงๆ ก็จะพบว่า แชมพูมีหน้าที่หลักในการชำระล้างสิ่งสกปรกบนหนังศีรษะ จึงอาจช่วยชำระล้างความมันที่อุดตันที่รากผมและทำให้เส้นผมเจริญเติบโตได้ดีขึ้น แต่ไม่สามารถส่งผลให้เส้นผมยาวไปมากกว่าอัตราการเจริญเติบโตตามปกติของมันได้ ส่วนสเปรย์หรือเซรั่มต่างๆ ที่มักโฆษณาว่ามีส่วนประกอบของอาหารผมนั้น พบว่าสามารถช่วยทำให้ผมแข็งแรงขึ้นได้ เพราะช่วยปิดเกล็ดผมที่ถูกทำร้ายจากความร้อน จึงอาจทำให้ดูเหมือนผมสุขภาพดีและหนาขึ้น แต่ก็ไม่สามารถส่งผลให้เส้นผมยาวไปมากกว่าอัตราการเจริญเติบโตตามปกติของมันได้เช่นกันแนะวิธีดูแลเส้นผมเพื่อให้เส้นผมมีการเจริญเติบโตตามวงจรปกติของมัน เราควรมีการดูแลเส้นผมอย่างถูกวิธี ดังนี้1. การสระผม แน่นอนว่าจำนวนครั้งการสระผมไม่ได้ส่งผลต่อความยาวของเส้นผม แต่ส่งผลต่อความสะอาดของหนังศีรษะ ซึ่งทำให้รูขุมขนไม่อุตตันและผมงอกได้ตามปกติ ระยะเวลาในการสระจึงขึ้นกับลักษณะการใช้ชีวิตของเรา และเลือกใช้แชมพูที่เหมาะสมกับสภาพหนังศีรษะ เช่น ถ้าหนังศีรษะมันอาจจะสระผมบ่อยได้ แต่ถ้าหนังศีรษะแห้งหรือผมแห้งมาก การสระผมบ่อยมากเกินไปอาจจะไม่เหมาะ รวมทั้งหลังการสระผมทุกครั้ง เราควรบำรุงผมให้มีความนุ่มลื่นขึ้นด้วยครีมนวดผม เพื่อป้องกันเส้นผมพันกัน ซึ่งยากต่อการจัดแต่งทรงภายหลัง2. เลี่ยงความร้อนและการใช้สารเคมี เพราะจะทำให้เกล็ดผมเปิด และเส้นผมขาดหรือแตกปลายได้ง่าย 3. รับประทานอาหารให้เหมาะสม เช่น อาหารที่มีโปรตีน เพราะเป็นส่วนสำคัญในการเจริญเติบโตของเส้นผม หรือวิตามินต่างๆ เช่น วิตามินบีรวม ซึ่งมีมากในยีสต์และโยเกิร์ต 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 200 ดัดขนตาถาวร ปลอดภัยแค่ไหน

ขนตาโค้งงอน เป็นสิ่งที่สาวๆ หลายคนปรารถนา จึงสรรหาสารพัดวิธีมาทำให้สวยสมใจ ซึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็หนีไม่พ้นการใช้ที่ดัดขนตา แต่ก็มักจะได้ยินเสียงบ่นตามมาเสมอว่าดัดแล้ว ขนตาไม่โค้งงอนอย่างที่ต้องการ ทำให้ปัจจุบันได้มีอีกหนึ่งวิธีการเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าวนั่นก็คือ การดัดขนตาถาวร ซึ่งจะมีความปลอดภัยมากน้อยแค่ไหน เราลองไปดูกันมาดูความโค้งงอนตามธรรมชาติของขนตากันก่อนหลายคนอาจคิดว่า ขนตามีไว้เพื่อเป็นความสวยงามให้กับดวงตา แต่จริงๆ แล้ว ขนตาทำหน้าที่คอยป้องกันดวงตาของเราจากสิ่งแปลกปลอม ซึ่งตามธรรมชาติขนตาจะมีลักษณะชี้ตรง แต่บางคนขนตาอาจจะงอนขึ้นด้านบนในหนังตาบน และงอนลงล่างในหนังตาล่าง รวมทั้งมีความยาวแตกต่างกันไปตามลักษณะพันธุกรรม ขนตางอนด้วยการดัดถาวร ปลอดภัยแค่ไหนการดัดขนตาถาวร เป็นการใช้น้ำยาดัดหรือกาว เพื่อยกโคนขนตาขึ้นให้มีความโค้งงอนตลอดเวลา ซึ่งสามารถอยู่ได้ประมาณ 1-2 เดือน เหมาะสำหรับผู้ที่มีขนตายาวชี้ตรง ดูไม่สวยงามและต้องการประหยัดเวลาในการแต่งหน้า ทั้งนี้ปัจจุบันบางร้านอาจเรียกวิธีการดังกล่าวว่า Lash lifting (ลิฟติ้ง ขนตา) ซึ่งโฆษณาว่าใช้เซรั่มหรือน้ำยา ที่มีความอ่อนโยนกว่าการดัดขนตาถาวรอย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่า บริเวณดวงตาเป็นอวัยวะที่บอบบาง สามารถเกิดการระคายเคืองได้ง่าย ดังนั้นการใช้สารเคมีใดๆ ในบริเวณดังกล่าว อาจทำให้เกิดการแพ้ ระคายเคืองได้ทั้งนั้น เช่น เปลือกตาบวมแดง อักเสบหรือเกิดโรคที่เปลือกตา ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของขนตา เช่น ขนตาร่วงผิดปกติ ขนตาเก หักหงิกงอหรือหยุดการเจริญเติบโตได้ ดัดขนตาถาวรอย่างไรให้ปลอดภัยหลายคนอาจเลือกรับบริการดัดขนตาถาวรหรือลิฟติ้ง ขนตาที่สถานบริการความงาม และบางคนก็ที่จะซื้อน้ำยาดัดขนตามาทำเองที่บ้าน ผ่านการซื้อสินค้าจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักโฆษณาว่าเป็นน้ำยาที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีความอ่อนโยน ได้รับมาตรฐานจากหลายองค์กร แต่เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าสินค้าที่นำมาใช้กับดวงตาของเรานั้นมีมาตรฐานจริง ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย เราจึงควรตรวจสอบรายละเอียดเบื้องต้นก่อนว่า เป็นสินค้าที่ได้รับมาตรฐาน อย. หรือไม่ ดังนี้1. มีเลขที่จดแจ้งเราต้องไม่ลืมว่า น้ำยา เซรั่ม กาวหรือทรีตเมนท์ ใดๆ ที่ใช้สำหรับดัดหรือยกขนตาให้โค้งงอนในช่วงระยะเวลาหนึ่งได้นั้น จัดเป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่งเช่นกัน ซึ่งต้องได้รับเลขที่จดแจ้งจาก อย. เพื่อแสดงว่าไม่มีส่วนประกอบที่เป็นสารต้องห้าม แต่ไม่ได้หมายความว่าหากผู้บริโภคใช้แล้วจะไม่เกิดอาการแพ้ นอกจากนี้ยังมีผู้ผลิตหลายรายที่แอบลักลอบเติมสารอันตราย ภายหลังการขอเลขที่จดแจ้งแล้วอีกด้วย อย่างไรก็ตามหากมีเลขที่จดแจ้ง เราก็จะสามารถตามตัวผู้ผลิตมารับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ปัจจุบันเลขที่จดแจ้งจะมีจำนวน 10 หลักและ 13 หลัก โดยไม่อยู่ภายใต้กรอบอย. เช่น XX-X-XXXXXXX ซึ่งวิธีตรวจสอบว่าเป็นสินค้าที่มาจากประเทศใด สามารถดูได้จากตัวเลขหลักที่ 2 โดยหากเป็นเลข 1 แสดงว่าเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ และหากเป็นเลข 2 แสดงว่าเป็นสินค้านำเข้า รวมทั้งเราควรเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของเลขที่จดแจ้ง ผ่านทางเว็บไซต์ของ อย. ที่ www.fda.moph.go.th และสามารถโทรศัพท์ร้องเรียนสินค้าที่คาดว่าจะไม่ปลอดภัยได้อีกด้วย ผ่านทางสายด่วน อย. 1556 (วันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.)2. มีฉลากภาษาไทย ไม่ว่าจะเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ หรือสินค้านำเข้าก็ต้องมีฉลากภาษาไทย ซึ่งต้องระบุข้อความให้ครบถ้วน ดังนี้ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง, เลขที่ใบรับแจ้ง, สารทุกชนิดที่ใช้เป็นส่วนผสม, วิธีการใช้, ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า, ปริมาณสุทธิ, เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, เดือนปีที่ผลิตและคำเตือน (ถ้ามี)หากเราพบว่าเครื่องสำอางที่เราซื้อมานั้น ไม่มีฉลากภาษาไทย ควรตั้งข้อสังเกตเบื้องต้นไว้ก่อนว่า อาจเป็นเครื่องสำอางที่ไม่ปลอดภัยและไม่ควรเสี่ยงใช้เครื่องสำอางนั้น โดยเฉพาะน้ำยาดัดขนตาที่กฎหมายกำหนดกำหนดไว้ว่า ห้ามนำสารเคมีบางชนิดที่มีความเสี่ยงสูง หรือสามารถก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคมาผสม เช่น Thioglycolic acid esters ซึ่งเป็นสารที่อนุญาตให้ใช้เฉพาะในผลิตภัณฑ์สำหรับดัดผมหรือยืดผมเท่านั้น โดยหากนำไปใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์สำหรับดัดขนตา จะถือว่าเป็นเครื่องสำอางที่มีวัตถุที่ห้ามใช้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 199 ครีมสลายไขมัน มีประโยชน์จริงหรือ

หลายคนที่มีความกังวลเรื่องไขมันส่วนเกิน มักมองหาสารพัดวิธีเพื่อกำจัดปัญหาดังกล่าว ซึ่งหนึ่งในวิธีที่เชื่อว่าเป็นทางลัดก็หนีไม่พ้นการใช้ครีมหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่โฆษณาว่าสามารถช่วยสลาย ละลายหรือดูดไขมันได้ แต่ผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีประสิทธิภาพตามที่กล่าวอ้างจริงหรือ ทำไมต้องกำจัดไขมันส่วนเกินเหตุผลที่หลายคนมักกังวลกับไขมันส่วนเกิน มักมีสาเหตุหลักจากเรื่องความสวยงามและสุขภาพ เพราะนอกจากไขมันส่วนเกินจะทำให้ขาดความมั่นใจ เนื่องจากมักพบมากที่บริเวณหน้าท้อง ต้นขาหรือต้นแขนจนทำให้ใส่เสื้อผ้าไม่สวยหรือดูอ้วนแล้ว ยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจหรือไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้อีกด้วยผลิตภัณฑ์เพื่อกำจัดไขมันแม้คนส่วนใหญ่จะทราบว่าวิธีการกำจัดไขมันส่วนเกินนั้น ไม่มีอะไรมาก แค่ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมอาหารและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ แต่เนื่องจากวิธีเหล่านั้นต้องทำเป็นประจำและใช้เวลาสักพักจึงจะเห็นผล ทำให้หลายคนต้องหาวิธีลัดในการกำจัดปัญหาดังกล่าว ปัจจุบันจึงมีผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น ทรีตเมนท์ละลายไขมัน เจลและมาส์กสลายไขมัน หรือสบู่ระเบิดไขมัน ออกมาโฆษณาว่าสามารถช่วยสลาย ละลายหรือดูดไขมันได้ โดยจะทำให้แขนขาเรียวเล็กหรือหน้าท้องแบนขึ้น เนื่องจากเต็มไปด้วยส่วนผสมที่มีประสิทธิภาพในการสลายไขมันที่อยู่ภายใต้ชั้นผิว ทั้งยังปลอดภัยเพราะเป็นสารสกัดจากธรรมชาติและมี อย. อย่างไรก็ตามผู้บริโภคอย่างเราต้องไม่ลืมว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้นไม่ใช่ยารักษาโรค แต่เป็นเครื่องสำอางประเภทหนึ่ง ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้สำหรับทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ ต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อความสะอาด ความสวยงามเท่านั้น โดยไม่สามารถอ้างว่า บำบัด บรรเทา รักษา ป้องกันโรค ความเจ็บป่วย มีผลต่อโครงสร้างหรือการกระทำหน้าที่ต่างๆ ของร่างกายได้ เพราะหากทำได้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะกลายเป็นยารักษาโรคแทน ซึ่งต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นยาและแสดงไว้บนฉลาก เป็นอักษรและตัวเลข เช่น Reg. No. 2C 93/52 โดยไม่ต้องมีกรอบ อย. ล้อมรอบ แตกต่างจากการจดแจ้งว่าเป็นเครื่องสำอางและใช้เลขที่จดแจ้ง 10 หลัก ซึ่งที่ผ่านมาองค์การอาหารและยา (อย.) ได้พบว่ามีผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่จัดเป็นเครื่องสำอาง แต่อวดอ้างสรรพคุณว่าเป็นยา เช่น โลชั่นปลูกผม ครีมเสริมสร้างทรวงอก ครีมลดไขมัน สบู่ลดความอ้วน โลชั่นกระชับจุดซ่อนเร้น หรือครีมฆ่าเชื้อโรค เป็นต้นแสดงให้เห็นว่าหากเราหวังผลในการลดไขมันส่วนเกิน แต่ดันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นเครื่องสำอาง ซึ่งมีประสิทธิภาพเพื่อความสะอาดหรือความสวยงาม ก็ไม่อาจช่วยรักษาหรือทำให้เกิดผลต่อโครงสร้างใดๆ ของร่างกายได้นั่นเอง นอกจากนี้หากเราเลือกใช้เครื่องสำอางดังกล่าวโดยไม่ตรวจสอบให้ดีก่อน อาจพบว่าผลิตภัณฑ์เหล่านั้น เข้าข่ายเครื่องสำอางอันตรายที่มีการใส่สารห้ามใช้หรือกระบวนการผลิตไม่ได้มาตรฐานอีกด้วย ซึ่งหลักการง่ายๆ ในการเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัยนั้น สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบฉลากภาษาไทย ที่อย่างน้อยต้องระบุชื่อเครื่องสำอาง, ส่วนผสม, ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า, ปริมาณสุทธิ, เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, ว/ด/ป ผลิตหรือหมดอายุ รวมทั้งเลขที่จดแจ้งด้วย สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบฉลากภาษาไทย ที่อย่างน้อยต้องระบุชื่อเครื่องสำอาง, ส่วนผสม, ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า, ปริมาณสุทธิ, เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, ว/ด/ป ผลิตหรือหมดอายุ รวมทั้งเลขที่จดแจ้งด้วยแนะวิธีกำจัดไขมันส่วนเกินอย่างมีประสิทธิภาพ1. ออกกำลังกาย ด้วยการคาร์ดิโอ เช่น ว่ายน้ำ วิ่ง ปั่นจักรยานหรือแอโรบิก อย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที สามารถช่วยลดไขมันได้อย่างดี แต่ต้องควบคู่ไปกับการควบคุมอาหาร และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เพราะการที่ร่างกายจะเผาผลาญไขมันส่วนเกินได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับสารอาหารและพลังงานที่ร่างกายได้รับด้วย2. ใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ เนื่องจากเครื่องมือเพื่อการสลายหรือดูดไขมันมีมากมาย เช่น เลเซอร์ คลื่นวิทยุ คลื่นเสียงความถี่สูงหรือความเย็นสลายไขมัน ซึ่งให้ประสิทธิผลที่ดี แต่ต้องเลือกสถานพยาบาลที่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับอนุญาตในการประกอบกิจการสถานพยาบาลเท่านั้น เพื่อความปลอดภัยหรือป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายต่างๆ นอกจากนี้ไม่ควรใช้ยาเพื่อฉีดสลายไขมัน เพราะปัจจุบัน อย. ยังไม่เคยขึ้นทะเบียนยาใดๆ ที่มีคุณสมบัติเพื่อสลายไขมัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ที่ฉีดยาดังกล่าวเข้าไปเกิดอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้***ร่วมแชร์กันนะครับ***

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 198 เลือกยาสีฟันให้เหมาะกับช่องปาก

ยาสีฟัน เป็นเครื่องสำอางอีกประเภทหนึ่งที่วางจำหน่ายมากมายหลายสูตรในท้องตลาดบ้านเรา ไม่ว่าจะเป็นสูตรสมุนไพร สูตรฟันขาวหรือสูตรป้องกันฟันผุ ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าควรเลือกซื้ออย่างไรให้เหมาะกับตนเอง รวมทั้งอาจเชื่อว่าการเลือกยาสีฟันที่ทำจากสมุนไพรจะดีกับช่องปากมากที่สุด แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงหรือรู้จักหน้าที่ของยาสีฟันกันก่อนยาสีฟันเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดร่วมกับแปรงสีฟัน มีลักษณะเป็นผง ของเหลวหรือของเหลวข้น ซึ่งแม้จะมีมากมายหลายยี่ห้อหรือหลายสูตร แต่หน้าที่หลักของยาสีฟันคือการช่วยทำให้ฟันสะอาด หรือเสริมประสิทธิภาพการแปรงฟัน เพื่อให้มีการกำจัดเอาแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกได้ง่ายขึ้น โดยทุกยี่ห้อจะมีส่วนประกอบหลัก ดังนี้ 1. สารที่ใช้ทำความสะอาดหรือขัดฟัน ทำหน้าที่ขจัดคราบที่ติดบนผิวฟัน 2. สารลดแรงตึงผิว ทำหน้าที่ช่วยทำให้เกิดฟอง 3. สารทำให้ข้น ทำหน้าที่ป้องกันการแยกตัวของเนื้อยาสีฟัน 4. สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง 5. สารปรุงแต่งกลิ่นรส ทำหน้าที่ให้กลิ่นและรสของยาสีฟัน 6. สารกันเสีย ช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งยาสีฟันจะมีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปีนับจากวันผลิตไปรู้จักยาสีฟันแต่ละสูตรกันแม้ยาสีฟันจะมีหลายสูตร แต่หากพิจารณาจากส่วนผสมจะสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ได้ ดังนี้1. สูตรผสมฟลูออไรด์ ยาสีฟันกลุ่มนี้มีข้อดีคือ สามารถช่วยป้องกันฟันผุได้เมื่อใช้เป็นประจำ ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ประชาชนใช้ยาสีฟันกลุ่มฟลูออไรด์เป็นหลัก และควรแปรงฟันแบบ 2 – 2 – 2 คือ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ครั้งละนาน 2 นาที และภายใน 2 ชั่วโมงหลังแปรงฟันควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสม 2. กลุ่มผสมสารฆ่าเชื้อโรค ยาสีฟันกลุ่มนี้ผสมสารฆ่าเชื้อโรคที่เป็นสารเคมีหรือสมุนไพร เช่น ไตรโคลซาน น้ำมันกานพลู คาโมไมล์ พิมเสน การบูร ชะเอมเทศ ซึ่งมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ลดการอักเสบ สมานแผลและช่วยให้เหงือกแข็งแรงได้3. กลุ่มลดอาการเสียวฟัน ยาสีฟันกลุ่มนี้จะมีการใส่สารเคมีบางตัว เช่น สตอนเทียมคลอไรด์หรือโพแทสเซียมไนเตรท ซึ่งเมื่อแปรงแล้วจะสามารถช่วยลดอาการเสียวฟันได้ชั่วคราว4. กลุ่มช่วยให้ฟันขาว ยาสีฟันกลุ่มนี้มีส่วนผสมสารขัดฟัน และอาจมีการใช้สารเคมีที่มีฤทธิ์ฟอกสีฟันอ่อนๆ ร่วมด้วย ซึ่งสามารถช่วยขจัดคราบสีต่างๆ ที่ติดอยู่บนตัวฟันออก ทำให้ฟันดูขาวขึ้น แต่จะไม่ขาวไปกว่าสีธรรมชาติเดิมของฟันอย่างไรก็ตามหากใช้เป็นประจำจะทำให้สารเคลือบฟันบางลง จนฟันเหลืองขึ้นกว่าเดิมหรือมีอาการเสียวฟันมากขึ้น รวมทั้งอาจเกินอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในช่องปากได้ แนะวิธีการเลือกซื้อยาสีฟันหลักพิจารณาง่ายๆ ในเลือกซื้อยาสีฟันสามารถทำได้จาก 3 ข้อดังนี้1. ควรเลือกให้เหมาะสมกับปัญหาช่องปากของเรา เพราะแต่ละคนมีปัญหาสุขภาพช่องปากที่แตกต่างกัน เช่น หากมีอาการเสียวฟันก็ควรใช้สูตรลดอาการเสียวฟัน อย่างไรก็ตามหากใช้งานแล้วผู้บริโภคบางคนอาจมีอาการแพ้ยาสีฟันได้เช่นกัน เช่น อาการปวดแสบปวดร้อนในขณะที่ยาสีฟันอยู่ในปาก หรือหลังใช้งานแล้วพบว่าริมฝีปากดำคล้ำจากอาการแพ้ หรือเนื้อเยื่อบุผิวในปากหลุดลอกออกมาก็ควรเปลี่ยนสูตรใหม่ให้มีความอ่อนโยนมากขึ้น 2. เลือกยี่ห้อที่มีฉลากครบถ้วน ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยาสีฟัน (พ.ศ. 2552) กำหนดให้ที่กล่องและภาชนะบรรจุยาสีฟันต้องมีรายละเอียด ดังนี้ 1. ชื่อผลิตภัณฑ์ 2. ชนิด 3. ชื่อสารที่เป็นส่วนผสมทั้งหมด 4. ปริมาณสุทธิ แสดงเป็นกรัมหรือลูกบาศก์เซนติเมตร 5. วัน เดือน ปี ที่ผลิตและรหัสรุ่นที่ทำ 6. คำเตือนหรือข้อความตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด 7. วิธีใช้และข้อควรระวัง 8. ชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้าจดทะเบียน3. มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ เพราะฟันผุเป็นปัญหาใหญ่ของผู้บริโภค ซึ่งหนึ่งในวิธีที่ดีและง่ายที่สุดในการยับยั้งปัญหาดังกล่าว คือ การเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์แปรงฟันเป็นประจำ โดยผู้บริโภคสามารถดูได้จากรายละเอียดส่วนผสม นอกจากนี้หากเราต้องการให้สุขภาพช่องปากดีอยู่เสมอนั้น ควรแปรงฟันและเหงือกให้ถูกวิธี เพราะสามารถช่วยให้เหงือกและฟันสะอาดแข็งแรงได้จริง รวมทั้งควรพบทันตแพทย์เป็นประจำทุกๆ 6 เดือนอีกด้วย 

อ่านเพิ่มเติม >