ฉบับที่ 166 อิฐบูรณ์ อ้นวงษา “พลังงานเป็นเรื่องของทุกคน” ตอน2

เนื้อหาที่เราสัมภาษณ์คุณอิฐบูรณ์ อ้นวงษา ค้างไว้ตรงเรื่องที่เกี่ยวกับการสัมปทาน ซึ่งเราขอนำลงต่อเนื่องในฉบับนี้นะคะ...ตอนนี้เลยมีการแก้ไข และยกเลิกกฎหมาย พรบ.ปิโตรเลียมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ออกไปแล้วเปลี่ยนเป็นระบบการให้ติดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศต่อประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่ ที่เรียกว่าระบบแบ่งปันผลผลิต ใช้สำหรับแหล่งสำรวจแหล่งใหม่ แต่หากแหล่งไหนที่เป็นแหล่งใกล้จะหมดอายุแล้วหรือจะหมดสัญญาแล้วนั้น ก็เตรียมให้ใช้ระบบรับจ้างบริการ ซึ่ง 2 ระบบนี้จะทำให้รัฐกลับไปเป็นเจ้าของปิโตรเลียมนั้น และจะได้มีส่วนแบ่งที่เรียกว่าเนื้อปิโตรเลียมมากกว่าส่วนแบ่งในรูปของตัวเงิน การที่มีส่วนแบ่งในรูปของปิโตรเลียมก็ดี หรือมีประโยชน์ในส่วนที่ไม่ใช่ตัวเงินอื่นๆ เช่นสิทธิในการเป็นกรรมสิทธิ์ การได้เข้าถึงข้อมูลนั้นก็เชื่อว่าจะทำให้แหล่งปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันดิบของประเทศไทยจะมีอัตราที่สูงมากกว่าที่มีการรายงานในปัจจุบันภายใต้ระบบสัมปทาน...เนื้อปิโตรเลียมที่ขุดเจออันใหม่นี้จะไม่ถูกแบ่งผลประโยชน์หรือถ้าอยู่ภายใต้สัมปทาน ระบบสัมปทานก็คือ การให้สิทธิกับผู้รับสัมปทานกับเอกชนที่ได้รับสัมปทานตลอดอายุสัญญาสัมปทาน ซึ่งมีอายุถึง 39 ปี ถ้ามีการค้นพบแหล่งปิโตรเลียมนั้น ปิโตรเลียมทั้งหมดที่มีการค้นพบเป็นของผู้รับสัมปทาน 100% เต็ม แล้วจะเป็นของรัฐฯ ได้อย่างไร ก็คือต่อเมื่อ ถ้า ปตท.ไปทำเป็นสัญญาซื้อขายกับเอกชนนั้น แล้วถึงจะบอกว่า อันนี้คือแหล่งปริมาณสำรองของรัฐฯ แล้ว เพราะฉะนั้นคำว่า ปริมาณสำรองที่มีการรายงานต่อประชาชน จึงไม่ใช่ปริมาณสำรองที่แท้จริงทั้งหมด แต่มีการเซ็นสัญญากับรัฐฯ แล้ว เพราะฉะนั้นหมายถึงเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐฯ แค่ส่วนนี้เท่านั้น จะเห็นว่าระบบสัมปทานเป็นการยกกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมที่ค้นพบให้เอกชนไป แล้วรัฐฯ อยากจะได้มาก็ต้องไปทำสัญญาซื้อขายระยะยาว ซึ่งคนจ่ายไม่ใช่รัฐฯ แต่เป็นประชาชนทั้งประเทศที่เป็นคนจ่าย เพื่อให้ได้สิ่งที่เคยเป็นของตัวเองกลับมา นี้คือสิ่งที่เรียกว่าระบบสัมปทานแล้วมีเยอะแค่ไหนไม่มีใครบอกได้ในประเทศเพื่อนบ้านของเราใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต กระทั่งประเทศกัมพูชาซึ่งยังไม่มีการขุดเจาะ หรือผลิตปิโตรเลียมเลยก็เลือกที่จะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต เพราะฉะนั้นการจะเลือกใช้ระบบสัมปทานหรือแบ่งปันผลผลิตไม่เกี่ยวว่าประเทศนั้น จะเป็นแหล่งเล็กหรือกระเปาะอย่างที่กล่าวอ้าง ไม่เกี่ยวกัน เป็นทางเลือกของรัฐฯ ที่อยากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในปิโตรเลียมหรือไม่ ถ้าหากดำเนินการขุดเจาะหรือผลิต อันนี้คือประเด็นที่หนึ่ง จะเห็นว่าประเทศเพื่อนบ้านที่เคยเป็นเมืองขึ้นแต่เก่าก่อนนั้น ไม่ปฏิเสธระบบสัมปทาน มาเลเซียก็เคยใช้ระบบสัมปทาน อินโดนีเซียก็เคยเพราะเขาเคยเป็นเมืองขึ้น ระบบสัมปทานมาจากยุโรป  อังกฤษ อเมริกาก็ใช้ แต่ของเขากฎหมายมันต่างกัน แต่ว่าประเทศเล็กๆ เหล่านี้ก็มีหลายๆ ประเทศแห่กันมาใช้ระบบแบ่งปัน ดังนั้นไม่ใช่ข้ออ้างที่ว่าการเปลี่ยนแปลงระบบแบ่งปันผลผลิตจะไม่มีใครมาลงทุน เพราะประเทศต่างๆ เหล่านี้ก็เคยไปลงทุนกับประเทศที่ใช้ระบบแบ่งปันมาแล้วหรือแม้กระทั่งบริษัทลูกของ ปตท. เองก็ไปทำระบบแบ่งปันผลผลิตกับมาเลเซีย กับเวียดนาม พม่า แต่ปรากฏว่าของเรากลับไม่ยอมยกระดับเจ้าของแหล่งปิโตรเลียมกลับคืนมา อันนี้ก็เป็นประเด็นมากที่ต้องให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลที่ไม่เป็นธรรมเหล่านี้ให้มากที่สุด ถ้ามันถึงจุดที่มีการรับรู้ที่มีความอิ่มตัวการเปลี่ยนแปลงมันก็จะเกิดขึ้นและการเคลื่อนไหวของประชาชนในขณะนี้ คือมีสภาปฏิรูปก็จะมีการผลักดันกฎหมายที่จะเสนอเข้าไปเป็นคู่แข่งของกฎหมายหรือแนวทางการปฏิรูปด้านพลังงานของสภาปฏิรูป ซึ่งทราบว่าสัดส่วนกรรมการที่มาจากสายพลังงานสายฟอสซิลนั้นเกือบ 99% ดังนั้นจำเป็นที่ประชาชนจะมีการผลักดันมาจากข้างนอกเพิ่มอีกทางหนึ่ง ที่มองไว้ก็คือ ประชาชนต้องมีความรู้มากขึ้น เกิดการตื่นรู้ที่จะเลือกทิศทางของตนเองในการจัดสรรทรัพยากรด้วยตนเอง เพราะฉะนั้นโมเดลของการต่อสู้เรื่องพลังงานนั้นกำลังจะถูกใช้ไปยังโมเดลการจัดสรรทรัพยากรเรื่องอื่น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเหมืองแร่ หินแร่ต่างๆ ทองคำที่กระจัดกระจายและสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนทั่วประเทศ เพราะว่าคนในท้องถิ่นที่ขุดเจาะในแหล่งสัมปทานต่างๆ ไม่ได้รับประโยชน์โดยตรงจากผลประโยชน์ที่ได้รับ และยังรับเคราะห์ด้านสุขภาพ ด้านสังคม เรื่องของเศรษฐกิจ เรื่องของที่นาไม่สามารถทำการได้ปกติมีเยอะมากเรื่องที่ทำต่อคือการให้ความรู้เกี่ยวกับทางออกว่ามีแบบผลประโยชน์ร่วมข้อมูลความรู้เป็นสิ่งที่จำเป็นมากที่จะสร้างทางเลือก สร้างวิสัยทัศน์ให้ประชาชนเห็นได้มากกว่าข้อมูลที่มันถูกครอบไว้อยู่ ทำให้เรารู้สึกว่าไม่มีหนทางออก จริงๆ มันมีทางออกอยู่ ส่วนการจะเลือกหรือไม่เลือกนั้นก็อยู่ที่ตัวประชาชนในการให้อำนาจของประชาชน ซึ่งแน่นอนก็มีกลุ่มของประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบเพราะว่าตัวเองก็ได้รับผลประโยชน์ มีส่วนได้เสียเรื่องของหุ้นในธุรกิจพลังงานแบบเดิม แต่เราก็ต้องบอกว่ามิติแบบนี้สักวันมันต้องมีการเปิดกว้างมากขึ้นในหลายๆ ประเทศที่ผ่านการต่อสู้ การปะทะในทางเลือกแบบนี้ตลอดเวลาตัวอย่างจากประเทศเพื่อนบ้านมาเลเซียประสบความสำเร็จมาก เขาให้บริษัท ปิโตนาส เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ มียอดขายใกล้เคียงกับ ปตท. เล็กน้อย แต่เมื่อหักต้นทุนจิปาถะต่างๆ แล้วปรากฏว่ามาเลเซียมีกำไรมากกว่า ปตท. หลายแสนล้านบาทเลย แล้วมันเกิดอะไรขึ้นกับ ปตท. ก็มีจดหมายชี้แจงหน้าเว็บไซต์ออกมาว่า เพราะมาเลเซียใช้ระบบแบบแบ่งปันผลผลิตทำให้เขาได้เป็นเจ้าของ และได้ส่วนแบ่งปิโตรเลียมโดยไม่ต้องจ่ายเงินซื้อคืนมา ในขณะที่ ปตท.นั้นใช้ระบบสัมปทาน ปิโตรเลียมที่ได้มาต้องจ่ายเงินซื้อไปจึงกลายเป็นเพิ่มต้นทุน พอปิโตรนาสได้กำไรเขาก็เอากำไรนั้นไปส่งเข้ารัฐ  รัฐก็เอาเงินบางส่วนมาอุดหนุนเป็นค่ารถ ค่าน้ำมันให้กับประชาชน ทำให้น้ำมันในมาเลเซียอยู่ที่ 20 กว่าบาทต่อลิตร เรื่องนี้ก็ถูกพวก ปตท. มาอ้างว่า ของมาเลเซียเขาก็ต้องใช้เงินอุดหนุน แต่เงินอุดหนุนดังกล่าวมาจากผลประกอบการที่ได้จากการใช้ทรัพยากรร่วมกันของประเทศชาติแต่ในขณะเดียวกันกำไรของ ปตท. ไม่เคยมาจัดการโดยตรงแบบรูปแบบของมาเลเซียเลย เงินอุดหนุนก็คือ ประชาชนควักกระเป๋าจ่ายกันเอง ดูแลกันเอง ซ้ำยังมากล่าวอ้างว่าเป็นบุญคุณของ ปตท. อย่างนี้มันต่างกันเยอะ ข้อมูลแบบนี้มันมีการกล่าวไม่ครบ ขนาดบอกว่า มาเลเซียมีการอุดหนุนแต่ไม่ได้บอกว่าเงินอุดหนุนนั้นมาจากไหน อันนี้เป็นตัวอย่างชัดเจนว่า ระบบแบ่งปันผลผลิตนั้น สามารถนำมาพัฒนาให้กับประเทศชาติได้ สามารถออกแบบได้อีกหลายอย่าง เช่น ประเทศนอร์เวย์ อาจจะใช้อีกระบบหนึ่งมันเป็นระบบสัมปทานของเขาแต่การออกแบบของเขาคือ รายได้จากปิโตรเลียมของเขานั้น ตั้งเป็นกองทุนเรียกว่า กองทุนมั่นคงแห่งชาติ เนื่องจากว่านอร์เวย์มีประชากรน้อยมาก แต่เขารวยน้ำมันขุดเจาะจากทะเลเหนือได้มาก เขาก็เลยเอาไปใส่เป็นกองทุน และไม่ใช้ เลยเรียกว่ากองทุนมั่งคั่ง เอาไว้ใช้ในยามวิกฤตอย่างเดียว เช่นถ้าหากเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้นมา เขาถึงจะเอามาใช้เพราะคนนอร์เวย์ก็รวยอยู่แล้ว อันนี้ก็เป็นอีกแบบหนึ่งไปแต่จริงๆ เราก็สามารถออกแบบผสมผสานได้ อย่างจะเป็นแบบมาเลเซีย ถ้าเห็นว่ามาเลเซียเอาเงินมาอุดหนุนโดยตรงเป็นค่าน้ำมันอาจจะไม่ดีในแง่ของการใช้ฟุ่มเฟือย ก็อาจจะมาเป็นเงินกองทุน เราก็เอามาประยุกต์ได้ อย่างของมาเลย์ เขาก็มีจุดอ่อน แต่ละประเทศก็จะมีจุดอ่อน อย่างอินโดนีเซียนั้นได้เงินจากน้ำมันมาก แต่ก็เกิดทุจริตคอรัปชั่น ทั้งที่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตเหมือนกัน เงินไม่ถึงประชาชน เพราะนั่นคือรูปแบบประเทศของเขา มาเลเซียก็เอาแบบอย่างมาแต่มาเลเซียอยู่ภายใต้สหพันธรัฐ 3 รัฐ และปิโตนาสมีหน้าที่ต้องแบ่งสันปันส่วนจากทรัพยากรของเขา เพราะตัวเองเป็นคนดูแลและแบ่งปันค่าใช้จ่ายไปให้รัฐ เพราะฉะนั้นเขาก็จะออกแบบเป็นเก็บเป็นกองกลางไม่ได้ เดี๋ยวรัฐจะโวยวายเอา เลยต้องจัดการออกมาแบบนี้ ให้คนที่เป็นดั้งเดิมของมาเลเซียเท่านั้นที่จะได้ผลประโยชน์จากราคาน้ำมันโดยตรงแบบนี้ถ้าเราเห็นว่าแบบนี้อาจจะไม่เหมาะกับเมืองไทย อาจจะเอาโมเดลบางส่วนของนอร์เวย์ คือการจัดตั้งเป็นกองทุนขึ้นมาก็ได้ เพราะตอนนี้เราก็มีกองทุน อย่างเช่น ทรัพยากรด้านสื่อสารก็มีการตั้งกองทุนขึ้นมา ได้เงินมาจากค่าใบอนุญาต ค่าประกอบการต่างๆ ก็กันส่วนหนึ่งมาเป็นกองทุน และวางกองทุนให้อยู่ภายใต้กฎหมายชัดเจนป้องกันการทุจริต แล้วก็บริหารกองทุนนั้นไป เป็นต้น ซึ่ง10 กองทุนแบบนี้ก็คล้ายกองทุนของสสส. ซึ่งหักจากภาษีเหล้า ก็มีคนช่วยกันคิดเหมือนกันว่า ถ้าได้เงินมาจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมนั้นได้มาจากแหล่งเดียว คือ แหล่งภาพทัพหลวง ซึ่งมันก็น้อยนิดมากเมื่อเทียบกับมูลค่าของมัน 30 กว่าปีที่ผ่านมาได้เพียงแค่ ? กว่าเปอร์เซ็นเท่านั้นเอง ก็คิดกันว่า หนึ่ง ถ้าเปลี่ยนเป็นระบบแบ่งปันผลผลิต สอง นำรายได้ส่วนหนึ่งตั้งเป็นกองทุนขึ้นมาเรียกว่ากองทุนปิโตรเลียมเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ก็ออกแบบเลยว่า จะนำไปบำรุงดูแลท้องถิ่นโดยตรง หรือจะนำไปใช้ในเรื่องการศึกษา การให้ความรู้ในเรื่องของเรื่องพลังงานไม่ว่าจะเป็นพลังงานฟอสซิลหรือพลังงานหมุนเวียน หรือจะนำมาส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนหรือเกี่ยวกับเรื่องของระบบขนส่งสาธารณะที่จะทำให้ลดการใช้พลังงานลงได้ ก็ออกแบบกันได้เป็นต้น แต่ ณ วันนี้มันไม่มีจินตนาการใดๆ สำหรับประเทศไทยในการออกแบบ เพราะทุกอย่างอยู่ภายใต้อำนาจของสายธุรกิจฟอสซิลหมดเลย ภายใต้การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทับซ้อนอย่างที่ว่าไว้ การจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์พลังงานก็ไม่ได้เกี่ยวพันอะไรกับการลดใช้ฟอสซิล ทำให้เรารู้สึกว่าเลิกยา(เสพติด) ไม่ได้แล้วถ้าเปรียบเทียบนะถ้าพูดถึงพลังงานฟอสซิลเป็นยาเสพติดนั้น คนไทยก็เหมือนมีคนจ่ายยาให้ตลอดเวลา แล้วก็เลิกยาไม่ได้ ถ้าเลิกคุณก็ลงแดงตาย สภาพก็คล้ายๆ ถ้าไม่ขุดเจาะปิโตรเลียม เราก็จะตายทั้งประเทศ ปิโตรเลียมเหมือนการหยอดยาบ้าให้คนไทยถ้ามีพลังงานไฟฟ้ามาใช้ได้จริง จะช่วยลดปัญหานี้ไหมเราอย่าเพิ่งคิดไกล ต้องรู้ว่าการใช้น้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยกับรถยนต์นั้น อันที่ใช้เยอะที่สุดคือน้ำมันดีเซล วันละ 60 ล้านลิตร เบนซินรวมทุกประเภทไม่ว่าจะ 91 หรือ 95 วันละ 20 ล้านลิตร เราจะออกแบบลดการใช้พลังงานแล้วไปออกแบบเป็นพลังงานไฟฟ้าสำหรับรถที่ใช้น้ำมันเบนซิน ซึ่งมีผลบวกเพียงส่วนน้อยที่ 20 ล้านลิตรเท่านั้น ทำไมเราไม่ไปออกแบบดีเซลที่ใช้ 60 ล้านลิตรแทน เราก็ออกแบบได้ว่า ดีเซลส่วนใหญ่เป็นรถเพื่อการขนส่งในเชิงพาณิชย์ ถ้าอยากลดระบบที่ส่วนใหญ่เป็นระบบล้อ คุณก็เปลี่ยนเป็นระบบราง เริ่มต้นจากระบบรางคู่ก่อน ซึ่งเห็นด้วยที่รัฐบาลเริ่มคิดที่จะพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ ก็จะทำให้การขนส่งทางรถไฟนั้นมีศักยภาพมากขึ้น พอรถไฟรางคู่เกิดขึ้น การใช้ระบบทางล้อก็จะลดลงก็จะลดการใช้น้ำมันดีเซลเพื่อการขนส่งทางล้อไปโดยปริยายแต่เพราะอะไรถึงยังมีการปล่อยให้ใช้ดีเซลที่วันละ 60 ล้านลิตรอยู่ เพราะว่าราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศไทยขายได้ราคาสูงกว่าการส่งออกไปขายที่ตลาดสิงคโปร์ เพราะการส่งออกไม่ได้รับค่าจูงใจเหมือนที่ขายในประเทศ เลยมีการเบี่ยงเบนประเด็นว่าใช้รถไฟฟ้าไหม ซึ่งต้นทุนยังไงมันก็ต้องใช้พลังงานเพื่อปั่นกระแสไฟฟ้าอยู่ดี แล้วมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และก็ผิดกลุ่มเป้าหมาย ในทางยุทธศาสตร์คุณต้องวางว่าใครที่มันกินมากที่สุดก็ทำงานตรงนั้น ซึ่งรัฐก็กำลังออกแบบมาเพื่อทำตรงนั้นแสดงว่าเริ่มมาถูกทางแล้วก็ปรับมาจากการใช้รถไฟความเร็วสูงเพื่อส่งคนในเชิงการท่องเที่ยวก็อาจจะโยงกับสายจีน ทำให้ไม่ได้เพื่อการท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวแต่อาจเป็นเพื่อการขนส่งสินค้าด้วย เพราะเรามีสินค้าเยอะ และไทยเราเป็นประเทศที่เป็นตัวเชื่อมระหว่าง 2 ทะเล ก็มีสินค้าจากอินเดีย ตะวันออกกลางข้ามมหาสมุทรอินเดียมา ก็มาชนที่แหลมมลายู ขณะเดียวกันมหาสมุทรแปซิฟิกจากญี่ปุ่น จากจีน ก็มาชนที่ทะเลอ่าวไทย แต่ถ้าเราทำขนส่งทางรถ การดึงสินค้าจากจีนก็จะทำได้ดีขึ้น ตอนนี้มันมีการขนส่งทางเดียวคือทางแม่น้ำโขงก็คือทางเรือ ซึ่งจีนได้ไปหมดเพราะจีนล่องขึ้น แต่ไทยล่องลง เพราะฉะนั้นทางบกจึงยังเป็นสิ่งสำคัญ และสามารถเปิดเส้นทางได้อีกหลายประเทศ โดยเฉพาะเส้นทางขวางทุกทวีป คือจากเวียดนามไปพม่า เรียกเส้นทางขวางกลางประเทศไทย เพราะฉะนั้นเรื่องการท่องเที่ยวนั้นก็สบายแล้วเพราะไม่ต้องใช้รถยนต์ ซึ่งแต่ก่อนเราก็เคยมีเส้นทางขวาง อย่างเช่น เส้นเขมร คือเวียดนาม เขมร ไทย แต่เราไม่เคยทำเสร็จสักที ทีนี้เมื่อระบบรางเกิดขึ้นมันจะทำให้ระบบล้อลดการใช้โดยอัตโนมัติเพราะมันจะถูกกว่า ขนได้มากกว่า และปลอดภัยกว่า ความสูญเสียจะน้อยกว่า ก็อาจจะต้องรออีกสักหน่อยแต่ก็ถือว่าเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า แต่น่าเสียดายที่ว่าการลงทุนด้านขนส่งสาธารณะนี้ใช้วิธีกู้เงินมาลงทุน แทนที่จะเอารายได้จากการประกอบการกิจการปิโตรเลียมโดยตรงมาเป็นส่วนร่วมลงทุนก็ไม่ได้ จะเห็นว่าปิโตรเลียมไม่ได้มีความสัมพันธ์ในการพัฒนาเศรษฐกิจในภาพประโยชน์โดยรวมเท่าไร แต่เป็นผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มอย่างเอาปิโตรเลียมมาทำปิโตรเคมีก็เป็นเฉพาะกลุ่มของเขาไป และจะเห็นว่าสินค้าเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและเป็นสินค้าขยะ ไม่ว่าจะรถยนต์ 5 ปีก็หมดสภาพแล้วกลายเป็นขยะ เป็นเงินไหลออก หรือสินค้าพลาสติกทั้งหมดนั้นมีปัญหาอยู่ 2 อย่างคือเป็นขยะนี่แน่นอน และเป็นไหลออก และไม่ได้ส่งเสริมในเรื่องของสิ่งแวดล้อมเลย เขาก็เลยจะแก้ปัญหาด้วยการสร้างโรงงานไฟฟ้าขยะขึ้นมาให้ครบวงจร คือแทนที่จะลกการใช้ เขาคงไม่แฮปปี้ในด้านที่เราจะเอาขยะกลับมาใช้ใหม่ มารีไซเคิล เพราะมันจะลดปริมาณการใช้เม็ดพลาสติก เพราะฉะนั้นถ้าเขาสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาดักการรีไซเคิลของคุณเสีย มันก็ตัดทอนพลาสติกบางส่วนออกไปแล้วเติมพลาสติกใหม่ใส่เข้าไปในระบบ มองในระบบก็คงเกิดการหมุนเวียนเงินทุนเกิดขึ้นได้ ก็เป็นกลุ่มผู้ประกอบการกลุ่มเดียวกันเกิดขึ้นรู้สึกท้อบ้างไหมที่ต้องต่อสู้กับเรื่องใหญ่ขนาดนี้ไม่เลย ทุกวันนี้เห็นเป็นเชิงระบบมากขึ้น คือมันมีพัฒนาการทางการมองเห็นในโลกทัศน์ที่เพิ่มมากขึ้น อีกอย่างคือแต่ก่อนคนไทยก็ไม่ได้สนใจเรื่องพลังงาน แต่วันนี้กลายเป็นเรื่อง Talk of the town ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องที่ซับซ้อนมาก แต่ปรากฏว่ามีคนไม่น้อยที่ให้ความสำคัญ และเห็นว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องที่ไม่คุยกันไม่ได้ และอยู่ในหนึ่งเรื่องของการปฏิรูปประเทศ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 165 อิฐบูรณ์ อ้นวงษา “พลังงานเป็นเรื่องของทุกคน”

อิฐบูรณ์  อ้นวงษา หัวหน้าศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งปัจจุบันกำลังคร่ำเคร่งอยู่กับประเด็นเรื่องพลังงานอย่างจริงจัง ด้วยเขามองว่าพลังงาน เป็นเรื่องใหญ่ระดับชาติ แต่คนยังขาดความเข้าใจอยู่มาก เพราะอาจดูเหมือนเข้าใจยาก แต่จริงๆ เรื่องนี้ไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัวแต่อย่างใด  ทุกๆ คน สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ ทั้งการกำหนดนโยบายและการแสวงหาทางออกร่วมกัน   ทำไมถึงสนใจทำเรื่องพลังงาน เพราะว่ามันเป็นเรื่องวิกฤตที่สุดหรือ เพราะตอนทำกิจกรรมสมัยเป็นนักศึกษาก็เรียนรู้ว่าผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการสร้างโรงไฟฟ้า ก็พัฒนาจากโรงไฟฟ้าค่า FT มาเป็นเรื่องของสายปิโตรเลียม เพราะมันเป็นสายเดียวกัน ก็ศึกษามาเรื่อยๆ   ช่วยเล่าสถานการณ์พลังงานในขณะนี้สำหรับคนที่ไม่ค่อยได้ติดตามข่าวอย่างง่ายๆ ระบบพลังงานประเทศไทยนั้น ไม่ว่ากลุ่มทุนด้านพลังงานประเภทฟอสซิล หรือพลังงานกลุ่มปิโตรเลียม น้ำมันดิบหรือก๊าซธรรมชาติ มีอิทธิพลสูงมากในการกำหนดนโยบายการใช้ การบริโภค การผลิตพลังงานของประเทศไทย และที่สำคัญมีการให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ไม่ตรงกับความเป็นจริงให้ประชาชนอยู่มาก เช่น บอกว่า คนไทยมีการบริโภคพลังงานมากกว่าที่เราผลิตได้ในประเทศหลายเท่าตัว ต้องเสียเงินนำเข้าพลังงานมาปีละหนึ่งล้านล้านบาท เป็นต้น หรือวันละแปดถึงเก้าแสนบาร์เรลต่อวัน แต่ข้อเท็จจริงคือ น้ำมันดิบที่นำเข้ามานั้นทั้งเพื่อการบริโภคภายในประเทศและเพื่อการส่งออกไปขายยังต่างประเทศด้วย ในขณะเดียวกันก็มีการนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปในรูปของน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล ซึ่งการผลิตในประเทศไทยนั้นมันมากเกินกว่าความต้องการอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีการนำเข้าน้ำมันในรูปแบบนี้มา แล้วรวมเป็นเม็ดเงินที่นำมาบอกกับประชาชนว่านำเข้าเป็นเงินจำนวนมหาศาล เพราะฉะนั้นการให้ข้อมูลในภาพรวมแบบนี้ถือว่าไม่มีความเป็นธรรมกับประชาชน เมื่อแสดงข้อมูลแบบนี้ทำให้การกำหนดนโยบาย การวางทิศทาง การจัดหาพลังงานของประเทศนั้นมันผิดเพี้ยนได้ และด้วยอิทธิพลของกลุ่มทุนพลังงานที่มันมีมูลค่าในทางธุรกิจของเขา ในรูปแบบการจัดหาพลังงานมันมีตัวเลขหนึ่งล้านล้านบาททำให้เขามีอิทธิพลกับธุรกิจหลายๆ ตัว มีความสัมพันธ์กัน อย่างเช่น การใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาป้อนกับธุรกิจปิโตรเคมี ซึ่งใช้ทำพลาสติก ซึ่งเม็ดพลาสติกก็ไปเกี่ยวโยงกับธุรกิจขนาดใหญ่อีก 2 - 3 ตัว อย่างเช่น ธุรกิจประกอบรถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าที่ส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศไทย ธุรกิจทำสินค้าไอที เครื่องคอมพิวเตอร์ มือถือ สมาร์ทโฟนต่างๆ ก็จะเห็นว่ามันมีความสัมพันธ์กัน แล้วก็ไปเกี่ยวร้อยกับธุรกิจอีกอันหนึ่งในรูปแบบของการเงินสนับสนุนภาคโฆษณา ก็ทำให้ประชาชนนั้นรับรู้ข่าวสารในเรื่องพลังงานที่ตรวจสอบโปร่งใสได้มันไม่เป็นอย่างที่ควรจะเป็นนักวิชาการบางท่านกล่าวว่า “แบบนี้ถือว่าเป็นอันตรายมากทั้งต่อตัวประชาชนในฐานะผู้บริโภค ทั้งต่อตัวประเทศในรูปสังคมโดยรวม การถูกเอารัดเอาเปรียบ การจัดสรรทรัพยากรที่ไม่มีความเป็นธรรม นี่คือสถานการณ์โดยภาพรวมที่เป็นอยู่”   ประเด็นคือประชาชนไม่รู้ความจริง ใช่ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดนั้นคือ การกำหนดนโยบายทิศทางพลังงานของประเทศนั้น หากมันไปอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของกลุ่มคนเล็กๆ แค่นั้นอย่างที่บอกไป มันก็พัง ซึ่งมันไม่ควรจะเป็นแบบนั้น เรื่องของพลังงานนั้นเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรทั้งรูปแบบสิ้นเปลืองใช้แล้วหมดไป และแบบน้ำมันดิบ หรือทรัพยากรที่ส่วนใหญ่ใช้ ก็คือรูปของก๊าซธรรมชาติเอามาผลิตไฟฟ้าก็ดี อีกส่วนหนึ่งคือ ทรัพยากรที่ไม่มีวันหมด ทรัพยากรหมุนเวียน อย่างเช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวลต่างๆ แต่ทีนี้ภาคสายฟอสซิลมันมีอิทธิพลอย่างที่ว่ามา มันก็จะทำให้เห็นว่าภาคฝั่งของพลังงานหมุนเวียนมันอ่อนเปลี้ย ไม่สามารถจะนำมาเป็นพลังงานหลักของประเทศได้ และก็มีการใส่ข้อมูลให้กับประชาชนว่าพลังงานแบบนี้เป็นพลังงานมวยรอง แต่ถ้าเปิดโลกให้ประชาชนในประเทศได้เห็นตัวอย่างจากประเทศใหญ่ๆ อย่าง เยอรมนี ซึ่งมีแสงแดดอ่อนกว่าประเทศไทยเยอะ ก็ยังวางทิศทางนโยบายในประเทศที่จะลดพลังงานนิวเคลียร์ ลดพลังงานที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมของเขา คือเขาไม่ได้มองแต่เรื่องความมั่นคง เขามองเรื่องของผู้บริโภค สุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อม เขามองแบบนั้น ส่วนเรื่องไปรองรับเศรษฐกิจนั้นเขามองเป็นเรื่องรองมากกว่า นั่นคือแนวคิดของประเทศที่พัฒนาแล้วในระบบพลังงาน เพราะฉะนั้นเขาจึงกล้าวางทิศทางว่าจะเพิ่มพลังงานแสงอาทิตย์ในสัดส่วนกี่เปอร์เซ็นต์เพื่อที่จะลดน้ำหนักของพลังงานสายนิวเคลียร์ หรือพลังงานสายฟอสซิลที่มีผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของโลก อย่างนี้เป็นต้น จะเห็นทิศทางของประเทศในยุโรปหรือประเทศใหญ่ๆ ที่ได้กำหนดแนวนโยบายพลังงานไว้ หรือแม้กระทั่งประเทศญี่ปุ่น ล่าสุดการประชุมของ UN เปิดโอกาสให้ประเทศต่างๆ ลดการใช้พลังงานที่มาจากฟอสซิล เพราะมองว่าพลังงานฟอสซิลเป็นพลังงานที่ทำลายสภาพภูมิอากาศของโลกก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ไม่ว่าจะการปล่อยก๊าซมีเทนหรือคาร์บอนไดออกไซด์ต่างๆ ออกมา หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินเป็นต้น อันนี้ก็จะมีผลโดยตรงของมัน การใช้น้ำมันของเราก็ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า UN จะมีการประกาศทิศทางที่ชัดเจน หรือประเทศใหญ่ๆ ที่พัฒนาแล้วก็จะมีนโยบายที่ลดพลังงานสายฟอสซิลลงไปด้วยเหตุผลสำคัญ คือ 1) เป็นทรัพยากรที่สิ้นเปลือง 2) เป็นทรัพยากรที่ไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมหรือทำลายสิ่งแวดล้อม เขามองว่าพลังงานกลุ่มนี้ไม่มั่นคง แต่มองว่าพลังงานหมุนเวียน คือพลังงานที่มั่นคง นำมาดูแลได้และมีแนวโน้มที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นพลังงานหลักของประเทศนั้นๆ ได้   ประเทศไทยมีช่วงหนึ่งที่มีเรื่องพลังงานทดแทน แต่เหมือนไม่มีการรณรงค์จริงจังเท่าไหร่ การออกแบบนโยบายด้านพลังงานของเราเป็นการออกแบบที่ไม่เต็มรูปแบบ มันทำให้ถูกตอน ทำให้ไม่สามารถขยายตัวในทางธุรกิจของมันได้ หลักการของพลังงานหมุนเวียนที่ทำให้ประเทศเยอรมนีประสบความสำเร็จมีอยู่ 3 หลักการใหญ่ๆ คือ 1) พลังงานหมุนเวียนต้องขายพลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบให้ได้เป็นลำดับแรกก่อน พอพลังงานหมุนเวียนช่วงนี้หมดเราถึงจะเอาพลังงานถ่านหิน พลังงานจากก๊าซเข้ามาเป็นลำดับต่อไปแต่ของบ้านเรานั้นลำดับแรกกลับทำเรื่อง โรงไฟฟ้าก๊าซ โรงไฟฟ้าถ่านหิน โรงไฟฟ้าของ กฟผ. โรงไฟฟ้าต้องเข้าสู่ระบบก่อน ส่วนที่เหลือ ซึ่งมันไม่เคยเหลือจึงเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ แสงอาทิตย์บ้านเราจึงเป็นพลังงานเหลือต่อท้าย กลายเป็นพลังงานที่ไม่จำเป็นต่อระบบถ้าหากชั่วโมงนั้นพลังงานก๊าซ พลังงานถ่านหินยังทำงานของมันได้เต็มที่ ไม่มีการซ่อมแซม เพราะฉะนั้นพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานชีวมวลก็ต้องรอคิวไป การต้องรอคิวไปเรื่อยก็ส่งผลให้ไม่เกิดแรงจูงใจให้เกิดการลงทุน ธนาคารก็ไม่ปล่อยกู้ อันนี้เป็นประเด็นที่สำคัญ ต่างประเทศเขากลับด้านกัน เป็นสัญญาระยะยาว คือ 20 – 25 ปี อย่างพลังงานแก๊ส พลังงานถ่านหินก็เป็นสัญญา 25 – 30 ปี ก็เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน อันนี้คือความมั่นคงทางด้านการลงทุนทำให้เกิดการขยายตัว ทำให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทำให้พลังงานหมุนเวียนลด cost ของมันเองได้ เพราะว่าถ้าอุตสาหกรรมมันขยายตัวได้ มันก็ลด cost ได้ มันมีตัวเปรียบเทียบ พลังงานจากแสงอาทิตย์บางตัวนั้นส่งมาจากเยอรมันถูกกว่าส่งมาจากจีน ไม่ได้เกี่ยวว่ามันเดินทางมาไกลกว่า มันอยู่ที่ค่าการผลิต การส่งเสริมสนับสนุนของรัฐบาลนั้นๆ เช่น มีผู้ประกอบการพลังงานแสงอาทิตย์ในเมืองไทยนั้นเขาต้องย้ายฐานการผลิตของตัวเองไปอยู่ประเทศเยอรมัน เพราะว่านโยบายของภาครัฐไทยนั้นไม่มีความแน่นอน ทั้งเรื่องของกรอบระยะเวลาของการลงทุน ทำให้เขาไม่มั่นใจ ไม่ชัวร์ พอไม่ชัวร์หรือไม่จูงใจเขาก็ไปลงทุนที่เยอรมันแทน อย่างนี้เป็นต้น คนเก่งๆ ในประเทศไทยก็ไปลงทุนที่อื่น 2) คือว่ามีการสกัดกั้น มีคอรัปชั่น มีเส้นสาย ทีนี้ไอ้ 2 ตัวแรกมันก็โยงกับไอ้ที่ตัวสุดท้ายคือเรื่องของการสนับสนุนค่าไฟฟ้า แต่เดิมบ้านเราใช้ระบบแอดเดอร์ ก็คือไม่ว่าเราจะผลิตมากแค่ไหนคุณก็ได้ตามหน่วยไปแพงๆ ทีนี้มันก็มีช่องโหว่ในการที่จะมีการทุจริตคอรัปชั่นเกิดขึ้นได้ ในตอนหลังเขาเลยมาแก้เป็น Feed-in Tariff ขึ้นมา ขึ้นอยู่กับประเภทเชื้อเพลิงประมาณนี้เป็นต้น นี่คือข้อใหญ่ๆ ที่เป็นโครงสร้างที่ทำให้เยอรมันและประเทศในตะวันตกหรืออีกหลายๆ มลรัฐในอเมริกาประสบความสำเร็จ คือขายแข่งกับเขาได้ แต่ไม่ใช่ให้เราไปเริ่มต้นแข่งกับเขาเลยนะ พลังงานหมุนเวียนของไทยยังเป็นวุ้น รัฐฯ ต้องส่งเสริมอย่างมาก ข้อแรกที่สำคัญเลยคือว่า คิดกลับด้านเสีย พลังงานหมุนเวียน พลังงานชีวมวลขายเข้าโรงไฟฟ้าได้ก่อนจนคุณหมดเชื้อเพลิง คือพลังงานแสงอาทิตย์มันเหมาะสมกับเมืองไทยมาก เพราะว่าการใช้ไฟฟ้าช่วงพีคที่เกิดขึ้นทุกปีมักจะเกิดขึ้นในหน้าร้อนช่วงกลางวัน ตั้งแต่ประมาณบ่ายโมงถึงบ่ายสอง หน้าร้อนของเมืองไทยก็แดดดี อากาศก็แจ่มใสเพราะฉะนั้นก็เป็นหน้าที่ของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ทำหน้าที่ได้เต็มที่อยู่แล้วในเวลากลางวัน ก็เป็นการอุดช่องโหว่ของข้อกล่าวหาที่ว่าเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถทำงานกลางคืนได้ เพราะว่ากลางคืนก็ปล่อยให้พลังงานสายฟอสซิลทำงานไป ไม่เห็นจำเป็นต้องรัน(run) ฟอสซิลตลอดทั้งวัน คุณก็จะได้ลดการนำเข้า การซื้อเชื้อเพลิงที่คุณอ้างว่าเป็นล้านล้านบาทได้ คำถามคือว่านี่คือความจริงใจหรือไม่จริงใจ และท้ายที่สุดนั้น ด้วยพลังงานสายฟอสซิลมีอิทธิพลมากอยู่เบื้องหลังและมีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ทับซ้อนที่มีการช่วยกันเขียนให้เป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย ซึ่งในหลักสากลนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะมันนำไปสู่ปัญหาการทุจริตได้ แต่ของเราทำข้อทุจริตให้เป็นข้อถูกด้วยการเขียนกฎหมายให้ข้าราชการระดับสูงไปนั่งอยู่ในบริษัทน้ำมัน ไปนั่งอยู่ในกิจการโรงไฟฟ้าและก็รับผลประโยชน์กันที่มากกว่าอัตราเงินราชการที่ตัวเองรับ ก็ทำให้เกิดการบิดเบือนในการวางกรอบนโยบายได้ ทำให้ข้าราชการเหล่านั้นไม่มีความคิดที่อิสระในการกำหนดทิศทางนโยบายที่เอื้อประโยชน์โดยรวมของประเทศชาติ มันก็ทำให้ประเทศชาติวนเวียนอยู่กับปัญหาเดิมๆ ว่า ประเทศเรานำเข้าพลังงานฟอสซิลเยอะ เราต้องเร่งขุดเจาะหาปิโตรเลียม ถ้าไม่เร่งขุดเจาะหาปิโตรเลียมโรงงานไฟฟ้าที่มีสัญญาอยู่กับแหล่งแก๊สต่างๆ นั้นพอสัญญาหมดก็จะขาดสัญญา ทำให้ขาดวัตถุดิบในการปั่นไฟ มันก็วนเวียนอยู่อย่างนี้ไม่มีทางออก สุดท้ายคนไทยในฐานะผู้บริโภคก็อยู่ในสถานะของภาคที่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าพลังงานในราคาที่สูงขึ้นๆ เรื่อยๆ เพราะว่าอัตราค่าพลังงานของประเทศไทยนั้นมันถูกโยง แม้ว่าก๊าซจะขุดในประเทศไทยแต่ก็ถูกโยงอยู่กับราคาน้ำมันดิบของตลาดโลก อันนี้ในส่วนของก๊าซนะ และมีค่าตอบแทนการลงทุนน่าจะสูงเกินควรมากๆ  ทำให้ผู้ประกอบการได้ผลกำไรที่ผู้บริโภคจ่ายไปสูงเกินควรมาก ไม่มีการกำกับดูแลในส่วนนี้ที่เหมาะสม เพราะอำนาจการกำกับดูแลการซื้อของก๊าซจากหลุมต้นทางนั้นไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ราคาน้ำมันดิบแม้ว่าน้ำมันดิบจะมาจากแหล่งเศรษฐกิจก็ถูกกำหนดไว้ว่า ถ้าจะซื้อน้ำมันดิบเอามาเข้าโรงกลั่นน้ำมันไทย ให้ไปอิงเหมือนเป็นราคานำเข้าจากตลาดโลก อย่างนี้เป็นต้น พอมาเป็นน้ำมันสำเร็จรูปก็มาบวกค่าขนส่งจากสิงคโปร์มาไทยทั้งๆ ที่ไม่มีการขนส่งจริง เป็นอย่างนี้เป็นทอดๆ ไป เพราะฉะนั้นผู้บริโภคก็อยู่ในสภาพของทาสที่ไม่สามารถมีข้อต่อสู้ใดๆ  เพราะทุกอย่างการปรับขึ้นราคาก็อ้างว่าทำตามระเบียบกฎหมายธุรกิจพลังงานที่วางกรอบเอาไว้   แล้วผู้บริโภคจะทำอย่างไรได้บ้าง ข้อมูลแบบนี้ผู้บริโภคจะต้องรู้ พอรู้จะได้เกิดปัญญา การกำหนดหาทิศทางของนโยบายที่เหมาะสม ซึ่งตอนนี้ก็มีประชาชนส่วนหนึ่ง ได้มองเห็นถึงปัญหาว่า ถ้าการจัดการปัญหาพลังงานของประเทศไทยก็ต้องลดอำนาจของพลังงานฟอสซิลลงหน่อย ให้มันมาอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐฯ ให้ได้ ตอนนี้เขาพยายามจะฉีกให้เป็นอิสระของเขาเต็มที่ เพราะรัฐฯ คือตัวแทนของประชาชน ถ้าเขาฉีกเป็นอิสระได้ ประชาชนก็ไม่สามารถไปควบคุมอะไรได้ ดังนั้นตอนนี้เลยมีการแก้ไข และยกเลิกกฎหมาย พ.ร.บ.ปิโตรเลียมที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ออกไปแล้วเปลี่ยนเป็นระบบการให้ติดสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่มีความเป็นธรรมต่อประเทศต่อประชาชนมากกว่าที่เป็นอยู่ ที่เรียกว่าระบบแบ่งปันผลผลิต ใช้สำหรับแหล่งสำรวจแหล่งใหม่ แต่หากแหล่งไหนที่เป็นแหล่งใกล้จะหมดอายุแล้วหรือจะหมดสัญญาแล้วนั้น ก็เตรียมให้ใช้ระบบรับจ้างบริการ ซึ่ง 2 ระบบนี้จะทำให้รัฐกลับไปเป็นเจ้าของปิโตรเลียมนั้น และจะได้มีส่วนแบ่งที่เรียกว่า “เนื้อปิโตรเลียม” มากกว่าส่วนแบ่งในรูปของตัวเงิน การที่มีส่วนแบ่งในรูปของปิโตรเลียมก็ดี หรือมีประโยชน์ในส่วนที่ไม่ใช่ตัวเงินอื่นๆ เช่น สิทธิในการเป็นกรรมสิทธิ์ การได้เข้าถึงข้อมูลนั้น ก็เชื่อว่าจะทำให้แหล่งปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติ หรือน้ำมันดิบของประเทศไทยจะมีอัตราที่สูงมากกว่า ที่มีการรายงานในปัจจุบันภายใต้ระบบสัมปทาน   ...กำลังสนุกใช่ไหมคะ เผอิญว่าจำนวนหน้าค่อนข้างจำกัด แต่เราไม่อยากให้เนื้อหาจำกัด จึงขออนุญาตนำบทสัมภาษณ์ของคุณอิฐบูรณ์ลงต่อเนื่องในฉบับหน้า ซึ่งจะว่าด้วยเรื่อง ระบบสัมปทานที่กำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันมากในขณะนี้ อย่าพลาดนะคะ

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 164 รับมือสารตะกั่วในบ้านกับอาจารย์ ชาญณรงค์ ไวยพจน์

นอกจากเดือนตุลาคมจะเป็นเดือนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของเราในหลายๆ เหตุการณ์ให้ได้ระลึกถึงแล้ว  เดือนนี้ยังเป็นเดือนที่มีการรณรงค์เกี่ยวกับความปลอดภัยจากสารตะกั่ว ชื่องานงานสัปดาห์ป้องกันภัยจากพิษตะกั่ว ปี 2557 ซึ่งในปีนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2557 นิตยสารฉลาดซื้อจึงขออินเทรนกับสารตะกั่ว หลังจากได้ลงข้อมูลเกี่ยวกับสารตะกั่วในสีอัพเดทไปเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว ถ้าจะกล่าวถึงเรื่องความปลอดภัยจากสารตะกั่ว รายชื่ออันดับต้นๆ ของนักวิชาการที่เคลื่อนไหวในเรื่องนี้คงนี้ไม่พ้น ชื่อ อ.ชาญณรงค์ ไวยพจน์ ประธานอนุกรรมการวิศวกรรมความปลอดภัย สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมความปลอดภัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่นอกจากท่านจะเฝ้าระวังเรื่องสารตะกั่วในสีแล้ว  อาจารย์ยังทำงานด้านที่เกี่ยวกับวิศวกรรมความปลอดภัย “ก็มีเรื่องสวนสนุก ตอนนี้ก็มีเรื่อง มอก. ความปลอดภัยในมาตรฐานเครื่องเล่นของเด็ก แล้วก็ที่ วสท. ก็เป็นประธานคณะอนุกรรมการวิชาการวิศวกรรมความปลอดภัย ก็ทำเรื่องมาตรฐานด้วยส่งให้ทาง สมอ. เรื่องสนามเด็กเล่นปลอดภัย ล่าสุดก็เครื่องเล่นปลอดภัยด้วย พวกเครื่องเล่นในสวนสนุก” แต่ถ้าเป็นงานในส่วนของการเลือกสีทาบ้านให้ปลอดภัยจากสารตะกั่ว อ.ชาญณรงค์  มีคำแนะนำสำหรับผู้บริโภคดังนี้ค่ะ ในบ้านของเรามีส่วนที่ต้องใช้สีทำไมถึงต้องใช้ตะกั่วเป็นส่วนผสม จำเป็นต้องใช้ไหมและเรามีวิธีป้องกันอย่างไร มันมี 2 แบบ แบบที่ตั้งใจกับแบบที่ปนเปื้อนมาในส่วนต่างๆ ข้อดีของมัน(สีผสมสารตะกั่ว) คือ ปกปิดผิวได้เรียบร้อยและทำให้สีอยู่ทนนาน รวมทั้งสะท้อนสีออกมาได้สว่างขึ้น สดใสขึ้น นี่คือข้อดีของเขา ถ้าเป็นลักษณะจงใจก็จะมีแค่นี้ คงทน สีสดใส ปกปิดผิวได้ดี แต่ข้อเสียคือมันมีผลต่อร่างกายของคนเรา ผู้ทาที่ได้รับโดยตรง จากไอที่ระเหยออกมา และที่ปนเปื้อนอยู่ที่มือถ้าไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกัน และผู้ใช้ที่อยู่บ้าน สีที่ผนังถ้าวันหนึ่งสีมันหลุดออกมาแล้วลูกหลานเผลอกินเข้าไปก็เป็นอันตรายต่อร่างกาย สาเหตุอีกข้อหนึ่งที่ว่าทำไมต้องใช้สารตะกั่ว จริงๆ มีมานานแล้วโดยเฉพาะสีน้ำมัน ช่วยให้มีความคงทนในเรื่องการทำสี ทำให้สีนั้นอยู่ได้นาน ทำให้สีสะท้อนออกมาได้ดี ช่วยในเรื่องการเกาะแน่น สีน้ำมันที่ทาในบ้านเราเจอจากพวกอะไรบ้าง เจอในพวกโลหะ รั้วกันตก ประตูหน้าต่าง และขอบวงกบที่ยังใช้สีน้ำมัน ซึ่งความจริงทาแค่นี้มันก็ไม่เยอะแต่ที่เยอะๆ คือเขาเอาไปทาภายใน แบบนี้ถึงจะอันตราย ซึ่งเกิดจากความเข้าใจผิด ที่ถูกคือการทาผิวปูนก็ควรเป็นสีน้ำ แต่ถ้าทาพวกพื้นไม้ หรือโลหะก็ยังนิยมใช้เป็นสีน้ำมันอยู่ ความเข้าใจที่ว่าถ้าทาสีน้ำมันจะทำให้ลบรอยเปื้อนได้ง่าย อย่างกรณีโรงเรียนหรือศูนย์เด็กเล็ก นั้นคือเขามองด้านเดียว มองด้านที่ว่าทาแล้วมันลื่น แล้วก็ลบได้ ขีดเขียนแล้วลบง่าย ถ้าอยู่กลางแจ้งสีน้ำมันที่ทากับคอนกรีตนั้นเวลาโดนน้ำจะพองตัวออกมา ควรมีคำแนะนำในการใช้ไหม เรื่องสีทาภายนอก ภายใน เห็นควรว่าที่กระป๋องสีนั้นควรจะเขียนให้ชัดเจน ว่าเป็นสีที่ทาภายนอก บางยี่ห้อเขามีนะแต่ตัวมันเล็กไปหน่อย ควรเน้นสีให้ชัดเจนว่าใช้ทาภายนอก( แต่สีน้ำมันแพงกว่าสีน้ำ ) แพงกว่า สีน้ำที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับสีน้ำมันก็จะแพงกว่าอีก แกลลอนหนึ่งประมาณสองพันกว่าบาท แต่ถ้า 18 ลิตรก็พันกว่าบาท ถ้าเป็นสีเกรดพีเมียมนั้นก็สองพันขึ้นไป ถ้าเราจ้างผู้รับเหมาแล้วกำหนดยี่ห้อไปเลยแต่สีมันก็มีหลายเกรดอีก ต้องระบุไปเลยว่าขอสีเกรด A มันถึงจะมีความคงทน เกรด B นี่ทนทานประมาณ 5 ปี ถ้าเกรด A ก็อยู่ได้ 10 ปีขึ้นไป เวลาสีมันหมดอายุก็จะเป็นผงแป้ง ในโลกนี้มีไหมบริษัทสีที่ไม่ใช้สารตะกั่ว มีบ้างแต่น้อย ในทางปฏิบัติมันก็มีสอดแทรกไปบ้าง คือเราต้องทำให้คนมีความรู้ว่าสีที่มีสารตะกั่วนั้นมันมีประโยชน์และมีโทษอย่างไร เขาจะได้มีสิทธิเลือก  เวลาคนเลือกซื้อจะไม่ได้คำนึงถึงเรื่องสารตะกั่วแต่จะคิดถึงความสวยงามของสี คนซื้อขั้นแรกต้องนึกถึงสีก่อน สีอะไรสวย หลังจากนั้นก็มาดูยี่ห้อโดยไม่ได้ดูเกรด ไม่ดูคุณภาพเลย เราต้องดูควบคู่กันไปแต่บางทีมันก็ติดเรื่องราคาอีก มันต้องช่วยๆ กันในหลายๆ ฝ่าย แม้กระทั่งราชการก็ควรกำหนดให้ใช้สีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และไม่มีสารตะกั่ว ซึ่ง ณ ตอนนี้ก็เริ่มตื่นตัวกันแล้ว เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนี่ต้องอย่างไรบ้างถึงจะเรียกว่าเป็นมิตร 1.ต้องไม่ทำลาย 2. ต้องไม่เป็นอันตรายต่อสภาพทั่วๆ ไป ถ้าพูดให้ชัดคืออยากให้ปลอดสารตะกั่ว  ซึ่งก็มีบางบริษัทมาบอกว่าสีคุณภาพนี้รุ่นนี้ยังไม่มีขอเปลี่ยนในรุ่นใหม่ เพราะว่าทั้งนี้ทั้งนั้นมีเฉพาะสีน้ำมันเท่านั้นที่มีสารตะกั่ว แต่ถ้าหากเราจะเลือกซื้อสีเบื้องต้นนั้น โดยทั่วไปก็ดูสีสันก่อน ต่อมาก็เลือกยี่ห้อ ยี่ห้อที่หลักๆ จากนั้นก็ดูที่คุณภาพแล้วก็เรื่องปลอดสาร เพราะฉะนั้นเรื่องที่เราอยากรณรงค์คือ ให้บริษัทสีทำให้ปลอดสารตะกั่ว และกำหนดให้ไม่เกิน 90 ppm แล้วติดฉลากให้ชัดเจนไปเลยว่ามีค่าสารตะกั่วเท่านี้ ผู้ซื้อจะได้เลือกได้ว่าค่าเท่านี้ควรจะใช้กับอะไร รวมทั้งประเภทของสีนั้นต้องทำให้ตัวใหญ่ขึ้น พวกของเล่นในสนามเด็กเล่นเป็นสีน้ำมันใช่ไหม สีน้ำมันทั้งนั้นเลย แล้วเวลาเด็กเล่นก็จะอม แทะ ต้องรณรงค์บริษัทผลิตเครื่องเล่นขายให้เขาไม่ใช้สีน้ำมัน ให้ใช้สีปลอดสาร ส่วนที่ยังวางอยู่ต้องทำให้หมดไปภายใน 2 ปี แล้วต่อไปก็ไม่ผลิตเครื่องเล่นที่ใช้สีน้ำมันออกมาขาย ต่อไปมันก็จะไม่มี อย่างนี้เวลาคนสร้างบ้านแล้วใช้สีน้ำมันมาทาภายในจะทำอย่างไร ด้วยความที่เข้าใจว่าสีน้ำมันลบง่าย มันลบง่ายก็จริง และไม่โดนน้ำก็อยู่ได้นาน แต่อีกด้านหนึ่งมันมีสารตะกั่ว ต้องลอกออกแล้วทาสีที่ปลอดสารเข้าไปใหม่ แต่ไม่ควรทำเองนะ ควรให้ช่างทำเพราะมันมีขั้นตอน และต้องรวบรวมเอาไปให้ กทม.ทิ้ง แต่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ก็เอาไปทิ้งตามกองขยะเลย ขยะพิษก็ไม่แยกกันให้ชัดเจน บางที่แยกไปแล้วก็โดนเอาไปทิ้งรวมกัน ทางที่ดีก็ใส่ถุงแยกไว้แล้วติดป้ายเลยว่าขยะเป็นพิษ ถ้าพูดเป็นทฤษฎีก็พูดได้นะแต่ส่วนใหญ่คนก็ไม่ค่อยทำ นี่คือวิธีการลอกด้วยการใช้น้ำฉีดแล้วปล่อยให้มันพองออกมา อีกวิธีคือใช้ความร้อนเป่า แต่วิธีนี้มันทำให้ผนังไม่ดี ต้องใช้กับพวกโลหะ แต่สีมันก็จะโดนเผาไปในตัว กลิ่นก็ออกมาด้วย ไม่ดีๆ หลังจากลอกแล้วก็ทำความสะอาด และตามด้วยการขัด ขัดเพื่อให้พื้นผิวมันเนียน แล้วจึงปรับสภาพปูนนิดหนึ่ง ความชื้นต้องไม่มาก ไม่เกิน 11 – 12 %  การใช้สารเคมีทาไปให้ร่อนก็เป็นการใช้ความร้อนอีกวิธีเหมือนกัน ทาไปแล้วมันจะร้อนแล้วก็ค่อยๆ ร่อนออกมา หลังจากปรับสภาพปูนแล้วค่อยทาสีใหม่ ทั้งนี้เจ้าของบ้านก็ควรมีความรู้เรื่องสีด้วย สีไม่ควรมีค่าเกิน 90 ppm ถึงจะดี ตอนนี้บริษัทผู้ผลิตรู้ คนใช้ก็รู้บ้างไม่รู้บ้าง อย่างนี้คนที่อาศัยอาคารเช่า แฟลต คอนโดจะทำอย่างไร อันนี้คือของเก่า ต้องของใหม่ที่เรารณรงค์ให้ใช้สีที่ปลอดสาร แต่วิธีแก้บางที่เขาไม่ใช้เลยก็มี ใช้วอลเปเปอร์แทน อาจารย์เคยรณรงค์กับบริษัทก่อสร้างใหญ่ๆ ไหม เคยแนะนำ แล้วมันต้องช่วยกันหลายทาง คุยกับสมาคมสีด้วยให้ช่วยกำหนดไม่ให้มีสารตะกั่ว อยากให้ช่วยแนะนำคนที่อาศัยอยู่ในอาคารเก่าที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรืออาจจะไม่รู้ว่ามันมีอันตรายว่าเขาควรทำอย่างไร ก็เหมือนตัวเรา ถ้าเราเพิ่งรู้ว่าสีที่ทามันมีสารตะกั่ว ก็ให้ใช้ชีวิตไปแบบปกติอย่าไปยุ่งกับผนัง อย่าไปลอกมัน แต่ตรวจสอบหน่อยว่าสีมันลอกออกมาไหม แล้วอย่าลืมใส่ถุงมือก่อนสัมผัส ถ้าสีลอกให้ทำการเปลี่ยนทันทีตามขั้นตอน เพราะถ้าสีลอกร่อนออกมานั่นคือสีหมดอายุแล้ว ต้องแจ้งผู้ดูแลอาคารให้ดำเนินการเลย ก็คือใช้ชีวิตไปตามปกติอย่าไปกังวลกับมัน แต่ต้องแจ้งคนในบ้านว่าอย่าไปลอกสี อย่าเอามือไปถูสี หรือลอกเอามาตรวจคุณภาพสีเลยก็ได้ แกะมาแค่ประมาณ 1 นิ้วก็พอ ถ้าหลีกเลี่ยงมาทาผนังด้วยสีขาส สีขาวมีสารตะกั่วน้อยกว่าสีอื่นๆ ไหม ก็น้อยกว่าสีอื่นแต่ก็เกินมาตรฐานเหมือนกัน และส่วนใหญ่คนที่ใช้สีน้ำมันจะชอบใช้สีสดๆ ยิ่งเจอ 2 อย่างเลยทั้งสารตะกั่วและปรอท ถ้าใช้สีอ่อนสารก็น้อยกว่าแต่ก็ยังเกินเกณฑ์ที่กำหนดอยู่ดี สีที่ผสมมาแล้วในปูนมอร์ต้าร์ ( ปูนซีเมนต์ผสมสำเร็จ สำหรับฉาบผนัง )ใช้ได้ไหม ได้ แบบนั้นไม่มีสารตะกั่ว เป็นสีฝุ่นผสมลงไปเลย ฉาบแล้วเป็นสีสันสวย แต่ราคามันค่อนข้างแพง อยากให้แนะนำว่าทำผนังบ้านอย่างไรให้ปลอดภัยจากสารตะกั่ว อย่างแรกเลย ใช้สีที่ปลอดสาร ข้อ 2 ถ้าทำไม่ได้ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้วอลเปเปอร์แทนหรือไม่ใช้สี ใช้ปูนขัดมันแทน ข้อ 3 ใช้ปูนเปลือยหรืออิฐเปลือย พวกปูนสีก็มี แล้วก่อผนังอิฐโชว์ลายเสีย นี่ก็เป็นทางออกได้ชัดเจนเลย ถ้าเป็นไม้ก็ทาแค่พวกน้ำยารักษาเนื้อไม้ที่ปลอดสารก็พอ อยากให้ อ.พูดถึงการที่จะหลุดจากกรอบเดิมๆ ที่ว่าบ้านต้องทาสีสดๆ ถึงจะสวย ไม่ต้องไปคำนึงถึงความนิยมให้นึกถึงความปลอดภัยเป็นหลักๆ ง่ายๆ เราจะฉลาดอยู่อย่างไร มันพูดยากนะ คนเรามันมีความเป็นศิลปะ มีความสุนทรีย์ แต่ทั้งนี้ก็ต้องไม่ไปเอาอย่างคนอื่นเขา เราต้องนึกถึงความปลอดภัยเป็นหลัก เพราะเราสามารถเลือกอย่างอื่นแทนได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สีก็ได้ ในระหว่างที่เรายังไม่มีสีที่ปลอดสารทั้งหมดก็ใช้ทางเลือกอื่นไป

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 163 วาสนา ธนมิตรามณี สมาชิกฉลาดซื้อจากแดนใต้

...ก็เขียนย่อเอาไว้เกือบทุกเล่มเลย เพราะว่าเราอายุมากแล้วบางทีก็จำไม่ได้ ก็จะย่อๆ เอาไว้ จดเนื้อหา ก็จดทุกคอลัมน์นะ ฉลาดช้อป เรื่องอาหาร ข้อคิดในละคร อ่านทุกคอลัมน์ ทำให้เราเขียนหนังสือได้เร็วด้วย แต่ถ้าเรื่องไหนยาวมากๆ ก็ฉีกเก็บไว้เลย ขี้เกียจจด แต่เนื้อหามันดี ชอบก็ฉีกเก็บไว้ ฉลาดซื้อ ฉบับนี้ล่องใต้กันมาที่ เมืองแห่งดินแดนร้อยเกาะ  แค่ประโยคเดียวหลายๆ คนคงจะร้องอ๋อ และพูดประโยคต่อไปกันได้เลย  ถูกแล้วค่ะ  ฉลาดซื้อพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับสมาชิกที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี วาสนา ธนมิตรามณี สมาชิกนัมเบอร์ต้นๆ ของเรา  คุณวาสนาอ่านฉลาดซื้อ ตั้งแต่ทำงานเป็นพยาบาล ที่โรงพยาบาลศิริราช ที่เธอบอกกับเราว่า เวลาทำงานยุ่งมากๆ  จนเมื่อหนังสือมาส่งแล้ววางกองๆ ไว้ก่อน เมื่อพอมีเวลาจึงหยิบมาอ่านทีละเล่มๆ จนปัจจุบันเกษียณอายุราชการแล้วจึงย้ายกลับมาอยู่ที่บ้านใน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีก็ยังคงติดตามฉลาดซื้อไม่ขาด รู้จักฉลาดซื้อได้อย่างไร จำไม่ได้แล้วว่ารับฉลาดซื้อมาตั้งแต่ฉบับไหน ไม่รู้ไปซื้อมาได้อย่างไรด้วย นานมาก ซื้อคู่กับหมอชาวบ้านเลย ชอบอ่าน อ่านทุกหน้า เมื่อก่อนเป็นพยาบาลอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชก็ไม่ค่อยมีเวลา แต่ตอนนี้เกษียณแล้วพอมีเวลาบ้างก็อ่านเป็นความรู้ ชอบคอลัมน์ไหนบ้างคะ ชอบเสียงผู้บริโภค อ่านเอาไว้เป็นตัวอย่าง แต่ยังไม่เคยเจอเรื่องไหนกับตัวเองนะ เคยเอาเนื้อหาอะไรจากหนังสือไปใช้บ้างไหม มีพวกเรื่องทดสอบต่างๆ บางทีก็บอกพี่สาวว่าอันนี้ๆ ดี แล้วก็เขียนย่อเอาไว้เกือบทุกเล่มเลย เพราะว่าเราอายุมากแล้วบางทีก็จำไม่ได้ ก็จะย่อๆ เอาไว้ จดเนื้อหา ก็จดทุกคอลัมน์นะ ฉลาดช้อป เรื่องอาหาร ข้อคิดในละคร อ่านทุกคอลัมน์ ทำให้เราเขียนหนังสือได้เร็วด้วย แต่ถ้าเรื่องไหนยาวมากๆ ก็ฉีกเก็บไว้เลย ขี้เกียจจด แต่เนื้อหามันดี ชอบก็ฉีกเก็บไว้ เมื่อก่อนเป็นพยาบาลก็ไม่มีเวลา บางเดือนก็ไม่ได้อ่าน ตอนนี้ได้อ่านทุกเล่ม บางทีลูกเขยก็เอาไปอ่าน อ่านทั้งครอบครัว พอไปกรุงเทพฯ ก็ไปสมัครสมาชิกไว้ทีละ 2 ปีเลย เพราะอยู่แถวนี้จะออกไปไปรษณีย์หรือธนาคารก็ยาก อาศัยตอนเข้ากรุงเทพฯ ก็สมัครไว้ สมัครคู่กับหมอชาวบ้าน แต่ฉลาดซื้อมาช้ากว่านะ บางทีหมอชาวบ้านมาแล้วแต่ฉลาดซื้อกลางเดือนแล้วยังไม่มา ก็ลองโทรไปสอบถาม ตอนนี้รู้แล้วว่าออกช้า คือกลัวว่ามันจะไปตกหล่นอยู่ที่ไปรษณีย์(แต่ก็ได้รับครบทุกเล่ม) สนใจอยากให้ทำเรื่องเป็นพิเศษบ้างไหม ก็ดีอยู่แล้วนะ คอลัมน์มีอะไรในละคร การวิจารณ์ตัวละครคนเขียนเขาช่างเขียนวิจารณ์เก่งจริงๆ เลย ส่วนเรื่องทดสอบก็มีพวกสินค้าบางอย่าง ราคาเดิมแต่ปริมาณมันลดลง แล้วก็มีเรื่องน้ำมันทอดซ้ำ มีร้านแถวๆ นี้ที่เวลาทอดไปแล้วก็เติมๆ น้ำมันลงไป แล้วขายดีมากเลยนะปาท่องโก๋ร้านเขา มันก็อยู่ที่สาธารณสุขจังหวัดด้วย เพราะถ้ามาตรวจมันก็ทำไม่ได้ทั่วทั้งหมด มีเรื่องพวกสารเคมีในผักผลไม้ ปกติซื้อในตลาด แม่ค้าเขาบอกเหมือนกันทั้งนั้น หาที่ไม่ฉีดยาไม่ได้แล้วสมัยนี้ เราก็ต้องซื้อมาล้างหลายน้ำแล้วก็ลวกเอา แต่อาหารทะเลไม่มีปัญหานะเพราะมาตรงเลยไม่ได้แช่แข็ง หนังสือที่อ่านเก็บไว้ทั้งหมดเลยไหม เมื่อก่อนตอนอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชพออ่านเสร็จแล้วก็เอาไปวางไว้ตามตึกต่างๆ ในโรงพยาบาล เพื่อให้คนอื่นๆ ได้อ่าน แต่หนังสือก็ไม่สมบูรณ์นะเพราะบางเล่มก็โดนเราฉีกบางหน้าไปเก็บ แต่ตอนนี้ก็เก็บไว้ หนังสือที่เก็บก็ตั้งๆ เรียงไว้ตาม พ.ศ. เอาไว้ คู่กับหมอชาวบ้าน  ส่วนเรื่องที่บันทึกเก็บเอาไว้เตือนความจำนั้น  เราเลือกเอาจากความสนใจ  คือ  อันไหนที่เราสนใจ  เราก็จะจดเอาไว้   วันนั้นทีมงานกับสมาชิกพูดคุยกันสนุกสนานมาก พวกเรารู้สึกปลื้มใจที่ฉลาดซื้อมีแฟนพันธุ์แท้ระดับตำนานมากมาย มีโอกาสจะไปเยี่ยมเยียนให้ทั่วถึงทุกภาคนะคะ  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 162 รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ

ฉลาดซื้อฉบับที่ผ่านมา เราพาไปรู้จักกับบุคลากรด้านสาธารณสุขในหลายวิชาชีพ ในฉบับนี้จึงขอส่งท้ายอีกสักเล่ม เพราะหลายๆ ครั้งที่ชาวฉลาดซื้อไปออกบูธตามงานหนังสือ มักมีสมาชิกจำนวนไม่น้อยเลยที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพสายตา ยิ่งเดี๋ยวนี้มีข่าวอันตรายจากบิ๊กอายส์ เลนส์สี หรือบางคนก็ใส่คอนแทคเลนส์แบบไม่ถูกวิธี วันนี้จึงขอพาไปพูดคุยกับคุณหมอ รศ.พญ.งามจิตต์ เกษตรสุวรรณ รองหัวหน้าภาควิชาจักษุวิทยา ฝ่ายบัณฑิตศึกษา  คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณหมอท่านเป็นจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขากระจกตา  ซึ่งท่านเล่าให้ฟังว่า ที่เลือกเรียนในสาขานี้ เพราะเป็นความสนใจส่วนตัว  เนื่องจากคนเราต้องรับรู้เกือบทุกอย่างผ่าน หู ตา คอ จมูก แต่คุณหมอพบว่าตามันเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อนมาก เลยรู้สึกสนใจเป็นพิเศษ และเทคโนโลยีเรื่องการรักษาตามันไปไกลมากเมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ ก็เลยรู้สึกสนุกและติดตามด้านนี้อย่างต่อเนื่อง เรื่องตามันช่วยบ่งบอกเรื่องสุขภาพในด้านอื่นๆ ด้วยไหม โรคบางอย่างของร่างกายมันโชว์ที่ตานะ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือการได้รับยาบางอย่าง โรคเนื้องอกที่แพร่กระจายบางอย่างเราสามารถหาหลักฐานทางตาเอาไปช่วยสนับสนุนได้ อย่างเช่น เราเห็นว่ามีไขมันฝังอยู่ในตาของเด็กที่อายุน้อยเกินไป เพราะปกติอาการแบบนี้จะพบในคนอายุประมาณ 35 – 40 ปีขึ้นไป ถ้าตรวจเจอในอายุน้อยกว่านั้นเรารู้แล้วว่าคนนั้นมีภาวะไขมันในเลือดสูง หรือบางคนตาแห้ง ตาพอง ก็ส่งไปตรวจว่าเป็นไทรอยด์หรือเปล่า สถานการณ์เด่นๆ ของการเจ็บป่วยเกี่ยวกับดวงตา ในระยะ 2 – 3 ปีที่ผ่านมามีอะไรบ้าง ในช่วง 2 – 3 ปีที่ผ่านมาเรื่องที่จะเจอบ่อยๆ มีอยู่ 2 เรื่อง คือการใช้คอนแทคเลนส์ การใช้ Mobile Device หรือที่มีการเล่นไลน์กัน  2 ส่วนนี้ทำให้มีคนไข้มาหาเราเยอะมาก ในส่วนแรกเรื่องของคอนแทคเลนส์นั้น จริงๆ การใส่คอนแทคเลนส์เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมานานแล้วส่วนใหญ่เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องการมองเห็น  แต่เนื่องจากว่ามีเรื่องของแฟชั่นเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น หรือการเลียนแบบดาราต่างประเทศ ทำให้หลายคนคิดว่าต้องมีตาดำที่โต ตาดำที่แหวกแนวแบบพวกดาราเหล่านั้น เพราะฉะนั้นคอนแทคเลนส์ก็เลยมีแบบสวยงามเพื่อใส่ตอนกลางวันทำงานออกมา แล้วก็มีแบบปาร์ตี้ แล้วการใช้คอนแทคเลนส์นั้น  เลนส์ยิ่งใหญ่มันจะทำให้ไปบดบังออกซิเจนไม่ให้เข้าตา ซึ่งลูกตาก็จะขาดออกซิเจนได้ แล้วก็จะทำให้เส้นเลือดเพิ่มมากขึ้น ทำให้ตาแดงได้ คนไข้ก็มาเพราะไม่สบายตา อันนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นทั่วๆ ไป   แต่สิ่งที่สำคัญที่ลงหนังสือพิมพ์ในช่วง 1 – 2 ปีนี้คือ ตัวคอนแทคเลนส์นั้นกลับมาถูกเด็กเล็กในอายุสิบกว่าๆ ซึ่งอายุเท่านี้เป็นวัยที่สมัยก่อนต้องให้พ่อแม่พามาซื้อ แต่เดี๋ยวนี้มีขายเกลื่อนในท้องตลาดซึ่งทำให้ซื้อหาง่าย พอซื้อหาง่ายดูในทีวีสวยก็ซื้อมาใส่ แต่ด้วยปัจจัยของเด็กที่มีไม่ได้เยอะ ทำให้มีการเอามาแลกกันใส่โดยไม่ได้คำนึงถึงการที่มันพอดีกับสายตาของตนเอง เพราะลูกตาคนเราไม่เท่ากัน ไม่มีการเคิร์ฟของลูกตาดำว่าเท่าไร แล้วพอซื้อตามร้านก็ซื้ออะไรก็ไม่รู้ ทำให้เกิดความไม่คงที่ ทำให้ปวดตาได้ หรือความที่ไม่รู้ทำให้มาแลกกันใช้ ไม่มีการให้ความรู้ในเรื่องความสะอาด ปกติคอนแทคเลนส์ต้องล้างทุกวัน ด้วยล้างน้ำยา แต่เด็กพวกนี้ไม่ได้ทำเลย เพราะฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเกิดการติดเชื้อที่ดุมาก คือเชื้อนี้เป็นเชื้อที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อกระจกตา ทำให้กระจกตาทะลุ และอาจทำให้ตาบอดได้ เป็นอันตรายที่คิดว่าต้องหาทางป้องกัน การป้องกันต้องป้องกันในสองลักษณะคือ หนึ่ง เกิดจากเด็กที่ไม่มีความรู้ และสอง คือมีขายเกลื่อนตามท้องตลาด มันเข้าถึงง่ายเกินไป  ซึ่งอาจจะเป็นของที่ไม่ได้มาตรฐานด้วยซ้ำ การที่เด็กใช้คอนแทคเลนส์ไม่ถูกวิธี เพราะฉะนั้นเวลาติดเชื้อขึ้นมา การรักษาเนื่องจากเด็กเคืองตาแล้วปล่อยทิ้งไว้  ไม่ได้มาหาหมอทันที การรักษาก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง แล้วเรื่องที่เกี่ยวกับแสงจากโทรศัพท์มือถือ คนไข้ที่มาหาที่ห้องผู้ป่วยนอกมีเยอะมากเลย คือ เคืองตา ไม่สบายตา แสบตา ซักถามไปมาก็คือมันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยในปัจจุบันเพราะเราทุกคนต้องใช้ เด็กก็ใช้ คุณครูก็ใช้สั่งงานผ่านทาง Facebook แล้ว และเวลาเด็กเข้าไปทำงานเขาก็ไม่ได้เข้าผ่านจอคอมพิวเตอร์แล้วเขาใช้ผ่านมือถือ เพราะฉะนั้นมันเป็นสิ่งที่เราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว ที่สหรัฐอเมริกา เขาทำการศึกษาเลยว่า การใช้โทรศัพท์มือถือ ไอแพด รวมทั้งคอมพิวเตอร์นั้น มีกี่เปอร์เซ็นต์ใช้เกิน 10 ชั่วโมง กี่เปอร์เซ็นต์ใช้เกิน 6 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นการใช้ของพวกนี้พบเลยว่า แสงจากหน้าจอทำให้แสบตา อันที่ 2 คือหน้าจอเครื่องพวกนี้มันมีความ Bright มาก คือ เวลาเราดูภาพอะไรเล็กๆ เราจะจ้องเขม็งไม่ได้กะพริบตา เคยมีการศึกษาโดยเอาเครื่องมือมาจับการกะพริบตาพบว่า การกะพริบตาของคนเราลดลงได้ 2 – 10 เท่าเลยทีเดียวในขณะจ้องอยู่หน้าจอพวกนี้ ยิ่งเวลาเล่นเกมยิ่งไม่กะพริบตาเลย กะพริบก็กะพริบเร็วๆ ไม่สุด เพราะฉะนั้นเมื่อตาอยู่อย่างนั้นน้ำตาก็ระเหย ตาก็จะแห้ง แล้วก็แสบตา การจ้องนานๆ กล้ามเนื้อทำงานเยอะนอกจากแสบตาและตาแห้งแล้ว การจ้องนานๆ กล้ามเนื้อไม่คลายทำให้ปวดตาและเห็นเป็นภาพซ้อน มองภาพแล้วเบลอ และถ้าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้เราต้องให้ความรู้ในการที่จะใช้เครื่องมือพวกนี้ ต้องให้ทุกคตระหนักว่าการใช้เครื่องมือพวกนี้ทำอย่างไร มันก็มีเทคนิคการใช้เครื่องมือพวกนี้เหมือนกัน เวลาที่ใช้คอมพิวเตอร์เราไม่ควรใช้ติดต่อกันอย่างยาวนาน เพราะพบว่าการใช้ติดต่อกันยาวๆ นั้นก่อโรคแน่นอนเรียกว่า คอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม(Computer vision syndrome) ซึ่งโรคพวกนี้เป็นกันอยู่แล้วคนทำงานออฟฟิศ นักเรียนหรือคนที่ทำงานต้องใช้คอมพิวเตอร์อยู่ตลอดเวลา จริงๆ เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์วันละ 6 ชั่วโมง ได้ถ้าเราใช้ถูกต้อง ถูกต้องคือ เริ่มจากเลือกคอมพิวเตอร์ เลือกเก้าอี้ มือต้องวางระนาบ ตัวต้องสูงขึ้นมา ตาต้องหลุบมองแนวต่ำถ้าตาเบิกขึ้นไปน้ำตาจะระเหย คอมพิวเตอร์ต้องอยู่ต่ำกว่าสายตานิดหน่อย แล้วประมาณ 20 – 30 นาทีให้เบรกหรือพัก เบรกหมายถึง เบรกจากการมองคอมพิวเตอร์หรือการมองที่ใกล้ๆ ให้มองไปที่ไกลๆ เป็นระยะอนันต์เพื่อให้กล้ามเนื้อคลายตัว เมื่อกล้ามเนื้อคลายตัวประมาณ 5 – 10 นาที เช่นพักไปห้องน้ำ ไปชงกาแฟดื่ม อย่างนั้นจะทำงาน 6 หรือ 8 ชั่วโมง ก็ทำได้ และระหว่างนั้นแสงสว่างในห้องต้องดีด้วย ไม่อยู่ในที่มืดเวลาทำงาน หรือดูหนังในห้องแล้วปิดไฟ สำหรับตำแหน่งที่ตั้งของไฟไม่ตั้งให้ส่องไปที่คอมพิวเตอร์เพราะจะทำให้แสงสะท้อน ตั้งคอมพิวเตอร์ไว้ใกล้หน้าต่างแสงก็สะท้อนเข้ามาเหมือนกัน เรื่องความสว่าง(Bright) นี่ก็สำคัญ Resolution ความคม ตัวหนังสือ  Font เป็นอย่างไร แนะนำคือ ต้อง 3 เท่าของตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่เราพอมองเห็นได้ ระหว่างทำตำแหน่งเก้าอี้เราต้องพอดีกับตัวคีย์บอร์ด นิสัยของการใช้คอมพิวเตอร์ที่ดีคือ ต้องพยายามเบรกให้ได้ และกะพริบตาบ่อยๆ หมอต้องบังคับให้คนไข้กะพริบตาบ่อยๆ กะพริบตาอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ยังไงก็ยังมีอาการตาแห้งมาหาเรื่อยๆ  สิ่งที่หมอช่วยได้ ก็คือเติมน้ำตาเทียมเข้าไปเวลาที่รู้สึกล้าที่ดวงตา ไม่สบายตา เบรก เติมน้ำตาเทียม กะพริบตาบ่อยๆ ก็จะช่วยได้ ซึ่งการให้ความรู้พวกนี้ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ปัญหาแบบเด็กสายตาสั้นก่อนวัยอันควรมีบ้างไหมคะ คนไข้ส่วนใหญ่ที่หมอพบ จะพบว่าคนมาหาเนื่องจากเคืองตา ไม่สบายตา ค่อนข้างเยอะ ทำให้สูญเสียเงินในการที่จะดูแล ต้องใช้ยา ส่วนปัญหาในเด็กที่พบคือ วุ้นตาเสื่อม ซึ่งอาการแบบนี้สมัยก่อนต้องอายุประมาณ 40 ปีขึ้นไป ถึงจะพบวุ้นตาเสื่อม ปัจจุบันในอายุ 20 – 30 ปีก็พบว่าเริ่มมีวุ้นตาเสื่อม แต่ยังไม่สามารถตอบได้ 100 เปอร์เซ็นต์ว่าเกิดขึ้นเพราะอะไร เพราะไม่ได้ทำการศึกษาเป็นตัวเลขไว้ แต่จากประสบการณ์คือมันเยอะกว่าในทฤษฎีที่เคยเรียนมา เป็นปรากฏการณ์ที่พบในปัจจุบัน มีข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคที่จะทำอย่างไรให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เข้ามาเกี่ยวกับเรื่องสายตา ต้องบอกว่าถ้าเราจะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เราก็ต้องไล่ตามว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ให้รู้เท่าทัน เพราะมันมีทั้งคุณ และโทษ เราต้องรู้ว่า อะไรบ้างที่อาจจะเป็นปัญหากับสุขภาพเรา เช่น คอมพิวเตอร์ดีมากเลยเราจำเป็นต้องใช้ แต่เราต้องรู้ว่ามันจะส่งผลเสียกับตานะ ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมได้นะ และยังมีผลกับร่างกายได้ด้วย เช่น ถ้าเราตั้งมือขึ้นมาพิมพ์คีย์บอร์ดเราก็จะปวดข้อมือ เพราะฉะนั้นมือเราต้องอยู่ในระดับระนาบ บางทีคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมมันทำให้เรารู้สึกเมื่อย เพลีย เหมือนเป็นคนป่วยเลยนะ เพราะฉะนั้นเราต้องทำให้ร่างกายเราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ต้องติดตามว่าประสิทธิภาพในการใช้เครื่องมือพวกนี้เป็นอย่างไร ได้มาตรฐานไหม เพราะฉะนั้นเวลาจะซื้อมาใช้ก็ต้องคิดเหมือนกันว่า รุ่นนี้เมื่อก่อนจอคอมพิวเตอร์เป็นจอนูน ซึ่งมันปล่อยรังสีได้ แต่เดี๋ยวนี้เป็นจอแอลซีดีไม่มีใครใช้จอนูนแล้ว เรื่องของรังสีก็ปลอดภัยในระดับหนึ่ง   เรื่องแสงจ้านี้พวกฟิล์มกรองแสงช่วยได้บ้างไหม มันจะช่วยให้สบายตา ก็จะมีแว่นที่ช่วยกรองแสงจากคอมพิวเตอร์สำหรับคนที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์นานๆ ก็มีแว่นที่ช่วยป้องกันไม่ให้มัน Brightness เกินไป อาจจะเป็นสีเทา กรองแสงสีฟ้าไปด้วยในตัว ก็จะมีแว่นเฉพาะเพิ่มความสบายตาให้คนไข้ เพราะฉะนั้นผู้บริโภคที่ต้องใช้ของพวกนี้ก็ต้องไปสืบหาว่าใช้คอมพิวเตอร์วิธีที่ถูกต้องคืออะไร ซึ่งจริงๆ แล้วก็หาอ่านได้ทั่วๆ ไปทั้งในอินเตอร์เน็ตและหนังสือ ปัญหาเกี่ยวกับตาที่พูดมาจะนำไปสู่ปัญหาเรื่องตาอื่นๆ หรือไม่ เช่น พวกต้อหิน ต้อกระจก ไม่เกี่ยวกับต้อหิน แต่จะเกี่ยวกับกระจกตา ผิวตา คือปัญหาเรื่องตาแห้ง ตาออกแดงๆ ตลอดเวลา ต้องเติมน้ำตาเทียมตลอดเวลา ความไม่สบายตา ผิวตานั้นถ้าเป็นมากผิวตาจะร่อน และโอกาสที่จะติดเชื้อก็เพิ่มมากกว่าปกติ ในผู้สูงอายุปัญหาด้านสายตาที่มาจากเทคโนโลยีมีบ้างไหมคะ ก็มีคนไข้ที่อายุมากแล้วเหมือนกัน คือเขาทำงานประเภทเล่นหุ้นไง จ้องกันทั้งวัน ตาก็แดงก่ำ พอใส่คอนแทคเลนส์ ซึ่งคอนแทคเลนส์มันทำให้ตาแห้งได้ง่ายอยู่แล้ว แล้วใช้คอมพิวเตอร์ด้วยอันนี้เลยเหมือน 2 เด้ง และพวกผู้สูงอายุที่ใช้ไอแพด ซึ่งจริงๆ มันก็ช่วยพัฒนาสมองส่วนหนึ่งนะ แต่ด้วยการใช้ที่ไม่ถูกต้องก็เกิดปัญหาได้ มันจึงต้องทำให้ความรู้ตรงนี้มากขึ้น   การบริจาคดวงตา ยังมีความสำคัญไหม สถานการณ์เป็นอย่างไรบ้าง การบริจาคตามีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่กระจกตาพิการ กระจกตาเป็นส่วนใสๆ ที่อยู่ชั้นนอกสุดที่หักเหของแสง เป็นส่วนที่สำคัญมากเปรียบเทียบเหมือนเป็นจอทีวีเลย เมื่อแสงผ่านกระจกที่ไม่ใสเข้าไปได้คนไข้ตาก็มัว มองไม่เห็น เพราะฉะนั้นเราแก้ด้วยการเปลี่ยนกระจกใสๆ ก็สามารถช่วยได้ แต่ประเด็นคือทำไมถึงมีโรคพวกนี้เยอะ เพราะเป็นตั้งแต่เด็ก ทั้งเกิดอุบัติเหตุ และเมืองไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ชาวนา ชาวไร่โดนใบไม้ ใบหญ้าบาดเยอะมาก พอกระจกตาเสียไปจะกลายเป็นฝ้า แสงก็จะผ่านไม่ได้ พอแสงผ่านไม่ได้ภาพจะเบลอ แล้วการเปลี่ยนกระจกตานั้น มีคิวประมาณเจ็ดพันถ้าหมอจำไม่ผิด แล้วปีหนึ่งเราก็ผ่าตาได้ไม่เยอะ ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้ก็มีการรับบริจาคกับสภากาชาดไทย แต่ว่าประเทศไทยก็มีการยึดติดเรื่องการบริจาคตาว่าถ้าตายไปแล้วจะกลับบ้านไม่ถูก ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง หรือถ้าแม่จะบริจาคแต่ลูกไม่ให้ก็ไม่มีสิทธิ ต้องบอกว่าปัจจุบันดวงตา 1 ดวงนั้นทำประโยชน์ให้กับคนไข้ได้หลายคนเลย กระจกตาชั้นนอกทำอย่าง ชั้นในทำอย่าง ตาขาวใช้ได้อีก แต่ก็ขาดแคลนอีกเยอะเลย

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 161 ทันตแพทย์หญิงสถาพร ถิ่นบูรณะกุล

ยังอยู่ในช่วงเปิดใจสมาชิกฉลาดซื้อค่ะ เมื่อครั้งที่แล้วไปเยี่ยมพี่เภสัชกรมา ครั้งนี้ชวนมาพูดคุยสบายๆ กับหมอฟันบ้าง คุณหมอสถาพรหรือทันตแพทย์หญิงสถาพร ถิ่นบูรณะกุล สมาชิกรุ่นบุกเบิกเช่นกัน ในเย็นของวันฝนพรำ พวกเราหยุดยืนหน้าคลินิกทันตแพทย์แห่งหนึ่ง ย่านวงเวียนน้ำพุ บริเวณใกล้ๆ กับสถานีรถไฟนครลำปาง คุณหมอสถาพร ออกมาต้อนรับพร้อมใบหน้าเปื้อนยิ้ม คุณหมอเล่าว่านอกจากจะทำงานเป็นหมอฟัน(ปัจจุบันเป็นคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ทันตแพทยสภา) โดยเปิดคลินิกให้บริการในช่วงเย็นของทุกวันแล้ว  งานหลักของเธอยังทำงานที่โรงไฟฟ้าแม่เมาะด้วย “อยู่ที่การไฟฟ้าแม่เมาะค่ะ เป็นลูกจ้างที่เข้าไปทำงานเป็นบางวัน เวลาไปทำงานก็จะถือฉลาดซื้อไปด้วย ไปให้คนอื่นได้อ่าน แต่รุ่นเก่าๆ ก็บริจาคไปเยอะแล้ว บริจาคให้ห้องสมุด แต่เล่มใหม่ๆ ก็ยังเก็บไว้เผื่อว่าจะซื้ออะไรก็จะไปค้นมา” คุณหมอช่างเป็นแฟนพันธุ์แท้ฉลาดซื้อตัวแม่จริงๆ  ไม่แค่อ่านฉลาดซื้อเท่านั้น ยังช่วยเป็นพรีเซนเตอร์ให้ด้วย   เข้าใจว่าบางอย่างเราไม่สามารถทำเองได้ โดยเราอาจจะไม่มีสถาบันที่ทำได้เท่าเขา ทำให้การทดสอบบางอย่าง สมมติว่าทดสอบผงซักฟอก ซึ่งบางยี่ห้อก็ไม่มีในบ้านเรานะ ที่บ้านเรามีขายเขาก็ไม่ได้มาทดสอบ ก็ไม่รู้จะอ่านไปทำไม ก็อยากให้พัฒนา อย่างเรื่องผงซักฟอกถ้าเรามีเครือข่ายอยู่ต่างประเทศ ก็ขอส่งผงซักฟอกของไทยสัก 2 ยี่ห้อไปทดสอบด้วยได้ไหม รู้จักฉลาดซื้อได้อย่างไร และชอบอ่านคอลัมน์ไหนบ้าง รู้จักมานานมาก และก็เป็นสมาชิกมาตลอด ชอบคอลัมน์เปรียบเทียบที่ทำเป็นตารางๆ จะชอบอ่านแบบนั้น ชอบอ่านผลิตภัณฑ์ที่เอามาทดสอบ แล้วก็ชอบเล่นเกมค่ะ เกมอักษรไขว้ด้านท้ายเล่ม   ฉลาดซื้อช่วยอะไรคุณหมอได้บ้างคะ ของบางอย่าง บางทีเรายังไม่สนใจไง ตรงไหนที่เรารู้สึกว่าเราสนใจก็จะรู้สึกว่ามันเป็นประโยชน์มาก แต่อย่างของบางอย่างอ่านผ่านๆ อาจยังไม่สนใจ แต่พอเราอยากได้เราก็จะไปคุ้ยๆ หนังสือมาดู(เพราะฉลาดซื้อทำทดสอบหลายเรื่อง) ก็จะได้ข้อมูลที่เคยทดสอบว่าอันไหนดี อันไหนไม่ดี เป็นเหมือนหนังสือคู่มือการเลือกซื้อของ  และชอบเรื่องที่ร้องเรียน “เสียงผู้บริโภค” อันนี้ทำให้เรารู้กว้าง และระมัดระวังว่าเคยมีคนเจอเรื่องแบบนี้มา ทำให้เราระมัดระวังมากขึ้น   อยากให้ปรับปรุงส่วนไหนบ้าง เนื้อหาที่อยากให้ปรับปรุงมีส่วนที่เอาข้อมูลจากเมืองนอกมา (การทดสอบจาก ICRT) ซึ่งก็เข้าใจว่าบางอย่างเราไม่สามารถทำเองได้ โดยเราอาจจะไม่มีสถาบันที่ทำได้เท่าเขา ทำให้การทดสอบบางอย่าง สมมติว่าทดสอบผงซักฟอก ซึ่งบางยี่ห้อก็ไม่มีในบ้านเรานะ ที่บ้านเรามีขายเขาก็ไม่ได้มาทดสอบ ก็ไม่รู้จะอ่านไปทำไม ก็อยากให้พัฒนา อย่างเรื่องผงซักฟอกถ้าเรามีเครือข่ายอยู่ต่างประเทศ ก็ขอส่งผงซักฟอกของไทยสัก 2 ยี่ห้อไปทดสอบด้วยได้ไหม เป็นลักษณะเครือข่ายไม่รู้จะเป็นไปได้ไหม   คุณหมอเคยมีประสบการณ์เรื่องการใช้สิทธิอะไรบ้างไหม เคยไปร้องเรียนทีหนึ่งนะ นานมากแล้ว ตอนนั้นเคยไปซื้อทัวร์แล้วโดนโกง เราก็ไม่รู้จะไปพึ่งใครก็ไปแจ้งความเพราะไม่รู้กระบวนการว่าควรต้องทำอย่างไร แล้วพอดีบริษัททัวร์เขาไปทำผิดซ้ำ เราก็ล่อซื้อแล้วก็จับได้ เพราะว่าเราไม่ได้โดนคนเดียว มีเพื่อน และเพื่อนของเพื่อนโดนด้วย ก็จับเข้าคุกไปแล้ว เรื่องอื่นๆ ก็มีเรื่องที่แนะนำเด็กๆ ไปคือ เด็กที่ไปโครงการ Work and travel ก็บอกให้น้องไปติดต่อเองเพราะเขาเป็นผู้เสียหาย ไม่รู้มีใครไปร้องเรียนหรือยัง น้องๆ เขาโดนโกงก็ให้เบอร์ติดต่อมูลนิธิฯ ไปแต่ไม่ได้ติดตาม ได้แต่ให้คำแนะนำเขาอย่างเดียว ในฐานะหมอฟันที่นี่มีปัญหาเรื่องหลอกลวง อย่างการจัดฟันแฟชั่นบ้างไหม ถ้ามีคนไข้ที่มาจากการจัดฟันแฟชั่นที่เกิดปัญหา หรือต้องการที่จะจัดฟันแฟชั่น  เราก็จะอธิบายถึง ข้อเสียให้เขาฟังว่า  มันเป็นอย่างไร  มันคืออะไร  มีผลกระทบอย่างไร  เช่น อาจจะทำให้ฟันผุ  เพราะว่ามันไม่มีประโยชน์อะไรเลย อันนี้คือคนที่อยากจะทำ  แต่ว่ายังไม่ได้ทำ  แล้วในคนที่ทำแล้ว  แล้วเกิดปัญหา เราก็จะแนะนำให้เขาเอาออก  แต่บางคนยังอยากสวยอยู่   ไม่อยากเอาออก เราก็จะอธิบายให้เขาฟังว่า  ถ้ายังไม่เอาออก ก็จะทำให้ฟันผุ และเครื่องมือที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจจะเป็นอันตรายเพิ่มได้ ส่วนการเลือกการให้บริการที่คลินิกนั้น อย่างแรกที่เรามองคือ จะเหมาะกับร้านเราไหม อย่างเช่นร้านเราตั้งอยู่ต่างจังหวัด การทำรากฟันเทียม  แม้ว่าเราอยากจะทำ ก็ทำไม่ได้ เพราะว่าคนไข้ ซับพอร์ตราคาไม่ได้   เราต้องมองหลายๆ อย่าง  บางอย่างเราเลือกมันมาแล้ว  จะมีคนไข้ทำหรือไม่  อย่างที่กรุงเทพ ฯ จะโอเค  คนอาจจะไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย   ฉะนั้นการที่เราจะเลือกอะไรมาให้บริการที่ร้านเราจะต้องคำนึงถึงคนไข้ในพื้นที่ของเราด้วย ว่าเขาพร้อมหรือไม่ ในส่วนของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำฟันที่เรานำมาใช้นั้นเราจะเลือกเฉพาะที่ผ่านการรับรองและได้มาตรฐานตามที่มหาวิทยาลัยทำการทดสอบและเชื่อถือได้อยู่แล้ว  ในส่วนของที่ร้านจะรับปัญหาปลายทางมากกว่า  อย่างเรื่องจัดฟันแฟชั่นก็มีมากเป็นบางช่วงๆ ที่ฮิตๆ หรือมีการโปรโมทกัน ก็จะมีคนเข้ามามากหน่อย   ช่วงนี้ไม่ค่อยมีมาเท่าไร ก็จางๆ ไป   คุณหมอมีวิธีชักชวนคนมาอ่านฉลาดซื้ออย่างไร เอาหนังสือไปให้เขาอ่าน บางทีก็ถือไปที่ทำงานแล้วก็วางไว้ ก็มีคนเห็นแล้วสนใจก็ไปสมัครสมาชิกก็มีนะ  ส่วนเรื่องของสมนาคุณเมื่อสมัครเป็นสมาชิกฉลาดซื้อ  ชั้นวางของสมาชิก 5 ปีก็ดีนะ ตอนนี้ก็เอามาใช้แล้ว พวกกระเป๋าผ้ามันมีเยอะแล้วไง ถ้าไม่ใช่กระเป๋าก็ทำเป็นพวกพวงกุญแจ ทำให้น่ารักๆ หรือร่มก็ดี  ถ้าทำเป็นหนังสือแจแนวสุขภาพก็จะดีค่ะ   ท้ายนี้อยากจะฝากเรื่องอะไร ขอฝากเรื่องหนึ่งเพราะเป็นคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ทันตแพทยสภา บางทีมันมีข่าวที่เราอยากหาช่องทางประชาสัมพันธ์ เช่น ข่าวจัดฟันแฟชั่น ซึ่งบางข่าวเราแก้ตัวไม่ทันเลย อย่างที่มีข่าวสรยุทธออกมาว่ามีแมงในปาก เราก็อยากจะประชาสัมพันธ์ว่ามันไม่ใช่นะ ก็อยากให้ช่วยประชาสัมพันธ์เรื่องพวกนี้ จะแทรกหรือฝากแปะในเว็บไซต์ก็ได้ ตรงนี้น่าจะช่วยกันได้เร็วขึ้น //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 160 คนฉลาดซื้อ...ภญ.วารุณี เจือสันติกุลชัย

ทุกคนมีสิทธิฉบับขึ้นปีที่ 21 นี้เราจะพาท่านไปพบกับสมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อที่อุดหนุนกันมาตั้งแต่ฉบับแรกๆ   ติดตามเป็นแฟนพันธุ์แท้กันมาตั้งแต่ปี 2537 มาจนปัจจุบัน   เป็นเภสัชกรหญิงที่เรียกได้ว่าทำงานเชิงพาณิชย์ผสมผสานกับงานชุมชนได้อย่างลงตัว เป็นทั้งคนขายยา ไปจนกระทั่งเสมือนญาติ พี่น้องของชาวบ้านร้านตลาดในบริเวณนั้น  เราเดินทางไปหา ภญ.วารุณี เจือสันติกุลชัย   ที่ร้านขายยาใจกลางกาดหลวง หรือตลาดวโรรส  ตลาดที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ ในบ่ายของเดือนที่เกือบร้อนที่สุดของปี งานที่ร้านยาของพี่เป็นอย่างไรบ้าง ร้านยาของเราเป็นประเภทที่เรียกว่า Stand alone คือ เจ้าของคนเดียว ไม่ใช่รูปแบบบริษัท ไม่ได้จ้างเภสัชกร เราเปิดร้านเอง ขายเอง มีธุระก็ปิดร้าน เลยไม่มีปัญหาที่ตอนนี้มีปัญหาว่าร้านยาไม่มีเภสัชฯ อยู่ แต่ข้อเสียก็มีบ้าง เช่นบางครั้งลูกค้าประจำอยากมาหาก็จะไม่เจอ เราก็ติดเบอร์โทรไว้ให้ลูกค้าสามารถติดต่อได้ อาชีพเภสัชฯ ก็เหมือนเป็นที่ปรึกษา สามารถปรึกษาได้ทุกเรื่อง บางคนไปหาหมอมาแล้วมีปัญหาคาใจ บางคนไปซื้อยามาหลายที่แล้วไม่หาย ก็หอบหิ้วยามาถามก็มี หลายๆ ครั้งก็พยายามไม่จ่ายยาเอง แต่จะแนะนำที่ๆ เรารู้จักหรือที่ๆ เขาควรจะได้รับการรักษาที่ถูกต้อง   การเลือกยาเข้าร้านมีหลักการในการเลือกอย่างไร ก่อนจะเปิดร้านยาเคยอยู่โรงพยาบาลและสาธารณสุขจังหวัด เพราะฉะนั้นค่อนข้างจะรู้ส่วนหนึ่งว่าการคัดเลือกยาเข้าโรงพยาบาล เขามีเกณฑ์ตั้งอะไรบ้าง ตัวไหนมี GMP ตัวไหนมีโรงงานเก่าแก่ รวมทั้งดูรูปลักษณ์ของยา appearance เม็ดยาสวยไหม บรรจุหีบห่อดีไหม แพ็กเกจให้ข้อมูลดีไหม บางอย่างดีหมดแต่ต้องให้เราสั่งมาทีละเยอะๆ สต็อกเก็บไว้ก็ไม่ไหว บางอันเขาตัดเป็นปริมาณเล็กๆ ให้เราสั่งมาขายได้เรื่อยๆ มันเสื่อมสภาพ หมดอายุไป เราสามารถเปลี่ยนได้ ก็จะค่อนข้างโอเคกับบริษัทพวกนี้มากกว่า   การให้ความรู้เรื่องยากับคนที่มาซื้อ เช่นเรื่องยาชื่อสามัญมีบ้างไหม ให้ข้อมูลทั้ง 2 อย่าง คือเขาควรรู้จักชื่อทางการค้าและชื่อสามัญด้วย เราก็พยายามให้ความรู้ไป แต่เวลาเขียนบนซองยาเราต้องเขียนเป็นชื่อการค้าด้วย เพราะถ้าเขียนเป็นชื่อสามัญเวลาลูกค้าหยิบไปซื้อที่อื่นก็จะกลายเป็นชื่อสามัญอะไรก็ไม่รู้ แล้วลูกค้าก็จะตอบไม่ได้ว่ายาที่เขาใช้อยู่คือยาอะไร แต่ถ้าเราเขียนชื่อการค้าด้วย ชื่อสามัญด้วย และเราแนะนำเขาไปด้วยนั้น เวลาเขาไปซื้อเขาจะเข้าใจว่า ยาไดโคลฟีแนคนะ ยี่ห้ออะไรก็ได้ เป็นต้น เภสัชกรเวลาแนะนำยาต้องอย่าไปดูที่ตัวยาอย่างเดียว เราต้องดูที่องค์รวมของคนไข้ด้วย  ทำให้เขาหายจากโรค บางครั้งต้องให้คำแนะนำเหมือนครูสอนสุขศึกษาว่า โรคที่เขาเป็นเกิดจากเชื้อโรค หรือเกิดจากความประพฤติที่ไม่ถูกต้อง และเราจะต้องแก้ไขตรงปัจจัยตรงไหนบ้าง เพื่อรักษาโรคที่เป็นอยู่ให้หายและป้องกันไม่ให้เป็นอีก อย่างเช่นโรคเชื้อราที่ผิวหนังต้องแก้จากชีวิตประจำวัน ประมาณนี้ เพราะหลายๆ ครั้งลูกค้าประจำที่เป็นพ่อค้า แม่ค้าอยู่ในตลาด ส่วนใหญ่ที่เป็นคือ ปวดหลัง ปวดเอว จากการยกของ มันเป็นเรื่องที่ต้องพักนะ กินยาแล้วก็ต้องหยุดพัก แต่พ่อค้า แม่ค้าเขาหยุดไม่ได้ เหมือนกับว่ากินยาบรรเทาแล้วก็ต้องทำงาน เราก็ต้องบอกว่าถ้ากินยาแล้วทำงานต่อคุณจะหายช้า มันจะเรื้อรัง เราต้องหาทางเลือกให้เขา เช่น ถ้าต้องยกของต้องช่วยกันยก 2 คน หรือบางคนอาการไม่ดีก็ต้องแนะนำให้ไปหาหมอ มีคนเข้ามาซื้อยาหรือขอความรู้จากที่เขาได้ฟังโฆษณาเกินจริงตามสื่อต่างๆ บ้างไหม จริงๆ บางอย่างเราก็เอามาขายนะ เพราะถ้าเราไม่ขายลูกค้ามาถามหาแล้วไม่มีเขาก็ไป เขาไม่ได้เปิดโอกาสในการคุย และบางครั้งถ้าของมันมีขายตามโฆษณาวิทยุ ตามสื่อท้องถิ่น เราเรียกอยู่ 2 อย่าง คือ หนึ่งมันถูกต้องไหม มันผิดที่ผลิตภัณฑ์ผิดหรือผิดที่วิธีการใช้ กับอีกอันคือผลิตภัณฑ์มันผิด ถ้าผลิตภัณฑ์มันผิดไม่เอามาขายแน่นอน แต่ถ้าสมมติว่าตัวยามันไม่ได้ผิด เช่น กาโน่ ตัวผลิตภัณฑ์มันไม่ผิดแต่วิธีใช้มันผิดหมดเลยตามโฆษณา การที่เราไม่มีขายเลยเราไม่มีโอกาสให้ความรู้ที่ถูกต้องในการใช้ยา แต่ถ้าเรามีมันเหมือนเราได้สอนเขาบ้าง ถ้าลูกค้าจะซื้อนั่นคือสิทธิของเขาแล้ว แต่ถ้าไม่มีขายเลยลูกค้าออกจากร้านเราเขาก็ไปซื้อร้านอื่น แต่การใช้ยาที่ผิดมันก็ยังคงอยู่ เมื่อลูกค้าเข้ามาแต่ไม่ได้ยากลับไป ทางร้านได้ให้คำแนะนำเขาไปอย่างไรบ้าง เยอะเลย ล่าสุดมีคุณป้าน้ำหนักตัวประมาณ 70 กก. มีอาการปวดเข่า ก็ซักถามข้อมูลเคยรับการรักษาจากคุณหมอ เคยกินยาแล้วแต่ไม่หาย เราดูก็รู้ว่าเกิดจากข้อเข่าเสื่อม ซึ่งคุณป้าก็รู้และรักษาโรงพยาบาลประจำอยู่ คุณหมอให้คุณป้าควบคุมน้ำหนักแต่คุณป้าคุมไม่ได้ กินยามาเยอะแล้วไม่อยากกินยาอีกจึงอยากได้ยาทา เราต้องบอกไปว่าคุณป้าอายุขนาดนี้ ทำงานแบบนี้ สาเหตุมันคือข้อเข่าเสื่อม ถ้ารักษากับหมอแล้วหมอให้ยา กินยาไม่หายต้องฉีด ถ้าฉีดไม่หายสุดท้ายต้องเปลี่ยนข้อเข่า คุณป้าก็ไม่ยอม ต้องบอกคุณป้าไปว่าถ้าปิดทางออกของตัวเองก็ต้องปวดต่อไป แล้วอีกหน่อยก็จะไปหายาแก้ปวดแรงๆ ยาสมุนไพรผสมสเตียรอยด์ เพราะฉะนั้นต้องทำความเข้าใจกับเขาว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นเกิดจากพฤติกรรมการยืน การนั่ง การมีน้ำหนักตัวเยอะ การกินยามันจะช่วยบรรเทาชั่วครั้งคราว การแก้ไขปัญหาคือ จะต้องตั้งเป้าหมายร่วมกันว่า ต้องลดน้ำหนักได้ไหม ให้เขาตั้งเป้าหมาย ไม่อย่างนั้นปล่อยให้โรคมันเสื่อมไปเรื่อยๆ สุดท้ายก็จะเดินไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้ามันจะเจ็บปวดกว่าตอนนี้ คุณป้าก็นั่งคิดนานมาก ก็จะให้คำปรึกษาประมาณนี้ แล้วก็มีเรื่องพวกผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสมรรถภาพทางเพศ เพราะบางทีเราให้ข้อมูลไปแต่ใจเขาคิดอีกอย่าง ซึ่งมันจะไม่ตรงกัน แล้วพวกที่มันเป็นผลิตภัณฑ์ไม่ถูกกฎหมายค่อนข้างจะมีเยอะ เราต้องอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจเพราะโรคพวกนี้เกี่ยวข้องกับจิตใจ บางคนมีโรคประจำตัวซึ่งต้องปรึกษาคุณหมอด้วย   เป็นสมาชิกฉลาดซื้อมาตั้งแต่ฉบับแรกๆ แสดงว่าฉลาดซื้อต้องมีประโยชน์กับพี่บ้าง เป็นสมาชิกมาเกือบ 10 ปีแล้ว กับอาชีพเภสัชกรนั้นมันทำให้เรารู้กว้างขึ้น เพราะไม่ค่อยได้เปิดวิทยุ หรือโทรทัศน์มาก เพราะว่าเปิดมาแล้วเจอแต่โฆษณาน่าเบื่อ แต่ฉลาดซื้อจะคัดกรองและเปรียบเทียบให้ ที่ชอบมากคือ เรื่องน้ำยาขัดห้องน้ำ เพราะชีวิตประจำวันเราก็ต้องใช้น้ำยาขัดห้องน้ำมาตั้งแต่เล็กจนโต เราก็รู้แค่ว่าอันนี้ฟู่หรือไม่ฟู่ อันนี้สะอาดหรือไม่สะอาด แต่เราไม่เคยมา differentiate อันไหนเป็นกรด เป็นด่าง อันไหนมีอันตรายมากน้อยแค่ไหน เพราะว่าในท้องตลาดก็จะแบ่งแค่สีขาว สีชมพู สีม่วง เราก็ซื้อตามโฆษณาไป ซึ่งที่ทำเรื่องนี้ดีมากๆ อีกเรื่องคือรางปลั๊กไฟเป็นเรื่องใกล้ตัวที่อันตรายมากๆ เพราะการที่เราเสียบแช่ไว้นานๆ ความร้อนที่มันเกิดขึ้นสามารถทำให้เกิดไฟไหม้ได้ แต่ที่ไม่เข้าใจก็มีอย่างพวกเรื่องกล้อง เพราะเราไม่ใช่คนเล่นกล้องก็จะไม่รู้ แต่เรื่องอื่นๆ เราก็ยังเปรียบเทียบได้ โดยรวมแล้วชอบตรงที่ไม่มีโฆษณาด้วย เพราะตอนนี้หนังสือดีๆ หลายเล่มแทรกโฆษณาไป 50 % เรารู้สึกว่าต้องจ่ายเงินไปกับสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เปลืองทรัพยากรโดยไม่ใช่เหตุ หลังๆ ก็อ่านแล้วพยายามเก็บข้อมูลให้ได้แล้วนำหนังสือไปแจกตามห้องสมุดบ้าง กาชาดบ้าง ไม่อยากอ่านแล้วเก็บไว้คนเดียวมันไม่มีประโยชน์ เพราะว่าเราจะได้ใช้ก็คือการจุดประกายเป็นภูมิต้านทานให้กับลูกค้าเรา หรือว่านำมาสอนน้องๆ ได้เสริมให้คนอื่นที่ได้อ่านก็จะดี รู้จักฉลาดซื้อครั้งแรกที่ไหน จบเภสัชฯ แล้วไปใช้ทุนที่สาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอนปี 2537 เป็นปีที่เริ่มฉลาดซื้อพอดี (หัวเราะ) ก็ได้เป็นข้อมูลเยอะแยะมากที่จะเอามาสอนงานคุ้มครองผู้บริโภค เพราะว่าตอนนั้นปัญหาค่อนข้างจะเยอะ ก็เลยรู้สึกว่าถึงแม้เราจะเป็นเภสัชกรนั้นแต่เรื่องอาหาร เรื่องยา เรื่องเครื่องสำอาง พวกเรื่อง DDT เรื่องวัตถุอันตรายในสาธารณสุขในบ้านที่เป็นเรื่องใกล้ตัวที่เราไม่ค่อยจะรู้ อย่างเช่น เรื่องขนมปังที่ไม่มีวันขึ้นรา เป็นเรื่องที่น่ากลัวมาก ซึ่งถ้าเรารู้ 1 คนเราสามารถจะสอนคนรอบข้างเราได้ มันช่วยให้ในอนาคตนั้นการเจ็บป่วยมันลดน้อยลง มากกว่าการที่เราไปหายาที่ดีๆ แรงๆ เทคโนโลยีทางการแพทย์ แล้วมาตามรักษาไม่ทัน   คอลัมน์โปรด ชอบคอลัมน์เปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ อย่างเช่นสุ่มตรวจแหนม สุ่มตรวจผัก เพราะบางทีเราสงสัยอะไรเราไม่มีกำลังจะไปสุ่มตรวจส่งกรมวิทยาศาสตร์ฯ พวกครีมทาผิว ครีมทาฝ้า ครีมกันแดดแต่ละตัวเป็นอย่างไรบ้าง แม้กระทั่งการเปรียบเทียบราคาต่อซีซีเรื่องนี้เยี่ยมมาก และที่ได้ประโยชน์มากคือข้อร้องเรียน หลายครั้งที่เราเจอปัญหากับตัวเอง จะเป็นคนประเภทที่ ช่างมัน ไม่ค่อยร้องเรียนเรื่องอะไรเลย แต่จะเรียนรู้จากบทเรียนทำให้เรารัดกุมมากขึ้น แต่ถ้ามองอีกแบบหนึ่ง คนที่ช่างมันแบบเรานั้นมีเป็นล้านคน เพราะฉะนั้นมูลค่าของการเสียประโยชน์ และถูกบริษัทเอาเปรียบจากตรงนี้มันเยอะ ก็จะได้เรียนรู้ข้อกฎหมายจากตรงนี้ด้วย อย่างเช่นเรื่องบ้าน เรื่องคอนโดฯ ร้องเรียนเรื่องรถ เรื่องโทรศัพท์มือถือ ที่มีประโยชน์มากๆ ถ้าให้แนะนำคนอื่นเรื่องนิตยสารฉลาดซื้อ คือตัวเรามีลูก เรื่องสำคัญที่สุดสำหรับเด็กก็เรื่องอาหารการกิน เรื่องโภชนาการ สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนข้อมูลที่เราจะเลือกประเภทอาหารกับขนมให้ลูกได้ พอเราเลือกได้เราก็จะสร้างนิสัยให้ลูกได้และมันก็จะติดกับตัวเขาไปจนโต โอกาสที่ลูกจะได้รับสารปรุงแต่งจากอาหารก็จะน้อย และรู้สึกว่าเขาจะไม่ชอบใช้ภาชนะที่ใช้แล้วทิ้ง รู้สึกว่าลูกมีความรักษ์โลกมากขึ้น ขยะตรงนี้เอามาใช้ได้อีก ขยะอันนี้กี่ปีถึงจะย่อยสลาย เขาก็มีความเข้าใจตรงนี้ได้ดี ถ้าเราสร้างพื้นฐานให้กับคนรุ่นใหม่ได้เราก็จะไม่ต้องห่วงสิ่งแวดล้อม เวลาดูโทรทัศน์ลูกแยกได้ว่าอันไหนจริง อันไหนไม่จริง ก็ขอแค่นี้ก็พอ เพราะว่าอย่าไปหวังพึ่งนโยบายอะไรใหญ่ๆ มาก บางครั้งมันช้า และสื่อที่มันเป็นโซเชียลเราไม่สามารถไปบังคับมันได้ อย่างเช่นการโฆษณาอาหารเสริมต่างๆ บน Facebook มันอันตรายเกินไป เด็กสมัยนี้จะไม่มีข้อมูลว่าที่โฆษณาว่าขาวไวภายใน 7 วัน มันเป็นไปไม่ได้ ตามหลักแล้วมันไม่เป็นจริง อย่างน้อยเด็กต้องได้รู้ว่าอันไหนมันสมเหตุสมผลก็จะช่วยกรองไม่ให้ถูกหลอก ตรงนี้ “ฉลาดซื้อ” ช่วยได้   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 159 ความมั่นคงด้านอาหารเป็นเรื่องของทุกคน

ฉลาดซื้อ ฉบับนี้จะพาไปพบกับนักกิจกรรมทางสังคมด้านการเกษตร แถวหน้าของประเทศไทย วิฑูรย์  เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี ( BioThai ) ที่มีความฝันว่าวันหนึ่งเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบต่างๆ จะเกิดขึ้นในสังคมบ้านเรา ประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพอันดับต้น ๆ ของโลก แต่มีปัญหามากมายเหลือเกินที่ยังไม่มีการแก้ไข และทำให้ผู้ชายคนนี้ตัดสินใจเลือกจะเดินทางเพื่อเป็นนักกิจกรรมทางสังคมตั้งแต่ยังเรียนอยู่ในระดับมหาวิทยาลัยจนเมื่อเรียนจบจึงตัดสินใจทำงานรณรงค์เป็นอาชีพ  และทำงานรณรงค์เรื่อยมาจนกระทั่งมีผลงานเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ต่อเนื่อง ยาวนาน  ผลงานที่ทำมาอย่างต่อเนื่อง คือ เกาะติดการเจรจาเขตการค้าเสรี  หรือ FTA , การรณรงค์ไม่ใช้สารเคมีในพืชผัก และที่เป็นข่าวฮือฮาเมื่อกลางปี 2556 ที่ผ่านมาคือ การตรวจข้าวหอมมะลิ ในปีนี้มูลนิธิชีววิถีทำกิจกรรมหลักอะไรบ้าง ก็มี 3 เรื่องใหญ่ๆ เรื่องแรกสุดคือ ฟื้นฟูทรัพยากรอาหาร เช่น พวกเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ เราใช้คำว่า ทรัพยากรชีวภาพ ซึ่งถือว่าเป็นรากฐานของเรื่องอาหาร คือระบบอาหารสมัยใหม่นั้น ถ้าใครสามารถยึดตัวพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ในทางชีวะได้ เขาจะสามารถกำหนดระบบการผลิตอาหารได้เลย เราเคยได้ยินเรื่องการตัดแต่งพันธุ์พืช ตัดแต่งพันธุกรรมใช่ไหม มันกำหนดได้ว่าจะต้องใช้สารเคมีปราบศัตรูพืชยี่ห้ออะไร เป็นต้น เช่นเดียวกัน เราเปลี่ยนมาเป็นพันธุ์สัตว์ หรือพันธุ์ไก่สมัยใหม่ นอกเหนือจากซื้อพันธุ์มาแล้วเราต้องซื้ออาหาร อย่างเรื่องอาหาร มูลนิธิฯ จะเน้นทรัพยากรชีวภาพ พวกเราก็พยายามสนับสนุนเกษตรกรท้องถิ่นให้ฟื้นฟูและพัฒนาพวกสายพันธุ์พืช สายพันธุ์สัตว์ต่างๆ ก็ทำครอบคลุมหลายพืช ตั้งแต่ข้าวไปจนถึงไก่พื้นเมือง แม้กระทั่งข้าวโพดที่ใช้เป็นอาหารสัตว์ด้วย เราก็ไปสนับสนุนให้เกษตรกรรายย่อยนั้นสามารถปรับปรุงพัฒนา และผลิตพันธุ์พืชเหล่านี้ได้เอง ก็ทำร่วมกับเครือข่ายเกษตรกรในท้องถิ่นนะ อันนี้เป็นงานพื้นฐานสำคัญ   งานที่สองนั้น เป็นงานที่ว่าด้วยเรื่อง การผลิตที่ยั่งยืน หมายความว่าเกษตรกรรมที่ใช้ในปัจจุบันนั้นเป็นการเกษตรที่ใช้สารเคมีเยอะ การผลิตที่เกษตรกรรายย่อยในชุมชนนั้นไม่ได้ประโยชน์ และมีแนวโน้มจะถูกแทนที่โดยระบบเกษตรอุตสาหกรรม เกษตรกรรมแบบนี้นั้นต้องใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอก ประเด็นนี้เราก็พยายามเสนอแนวทางในการปรับเปลี่ยนการผลิตที่ไม่ยั่งยืน อย่างเช่น เกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบต่างๆ  เกษตรอินทรีย์เป็นต้น ก็ทำมาตั้งแต่ปี 2530 จุดเริ่มต้นคือปี 2527 ก็เกือบ 30 ปีแล้วที่ทำงานพวกนี้มาตลอด ปัจจุบันก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเกษตรยั่งยืน แต่เดี๋ยวนี้คนเขาอาจจะฮิตเกษตรอินทรีย์กันซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งของเกษตรยั่งยืนที่เป็นงานของเรานะ ส่วนอันที่สามนั้น คือเกี่ยวข้องกับ วิธีการจัดการอาหารเพื่อสุขภาพวิถีไทย งานที่ว่าด้วยเรื่องของการส่งเสริมการบริโภค การตลาดที่เกื้อกูล เอื้ออำนวยให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อชุมชนและสุขภาพของผู้บริโภค ก็เป็นแนวความคิดว่าเรื่อง กินเปลี่ยนโลก ส่งเสริมวิถีการบริโภคที่ดี เกื้อกูลต่อความยั่งยืน คำนึงถึงความเป็นธรรมทางสังคม และงานบริโภคนั้นมันจะเกี่ยวข้องกับการตลาด การตลาดเป็นกลไกสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคเข้าด้วยกัน เราเองก็พยายามส่งเสริมตลาดท้องถิ่น หรือตลาดเกษตรกรนะ (Farmer Market) เพราะเล็งเห็นว่าระบบตลาดสมัยใหม่นั้นมีแนวโน้มที่อาหารการกินจะมาจากระบบอุตสาหกรรม เน้นการผลิตที่ใช้สารเคมีจำนวนมาก รวมไปถึงระบบอาหารมันจะไม่หลากหลายอีกต่อไป ซึ่งปัญหาแบบนี้ในตะวันตกก็มี แต่จริงๆ มีงานส่วนที่สี่ด้วยนะ ว่าด้วยเรื่องนโยบาย ติดตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับเกษตรและอาหารต่อเนื่องตั้งแต่ประมาณปี 2540 ประมาณ 17 ปี ที่ทำงานด้านนโยบายมาต่อเนื่อง เช่นเราก็ติดตามประเด็นเรื่องจำนำข้าว เป็นต้นนะ ก็ร่วมกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคตามดูว่ามันเกิดอะไรขึ้น เมื่อข้าวถูกสต๊อกไว้จนมันเน่า ประเด็นเรื่องสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เรามีเครือข่ายชื่อว่าไทยแพน ( Thai-Pan)  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็เป็นพาร์ทเนอร์ที่สำคัญในส่วนที่เป็นการเฝ้าระวัง การตรวจสอบข้าวสาร เรื่องผัก ไปจนถึงเรื่อง FTA ที่เราทำไปกับ EU นั้นประเด็นที่มีผลกระทบกับเกษตรและอาหาร หรือทรัพยากรชีวภาพ ก็มีการทำงานร่วมกับนักวิชาการ เครือข่ายเกษตรกร และรวบรวมปัจจัยต่างๆ ในการเคลื่อนไหวเรื่องนี้เพื่อให้รัฐบาลมีจุดยืนที่ถูกต้องในการเจรจา FTA ในภาพรวม งานก็ค่อนข้างเยอะแต่คนทำงานเราก็ไม่ได้มากมายนะ อาศัยที่ว่าเครือข่ายที่ทำง่านกับพวกเรานั้นมันมีมิตร มีเพื่อนที่เป็นเครือข่ายกัน งานมันก็เลยทำออกไปร่วมกันได้ อีกเรื่องเราพบความจริงว่าผักและผลไม้ที่ขายอยู่ในตลาดทุกระดับ ที่โฆษณาว่าเป็นผักผลไม้ปลอดสารได้มาตรฐาน GAP มันไม่ได้ปลอดภัยมากไปกว่าผักผลไม้ที่ขายอยู่ในตลาดสด ในหลายกรณีเราพบว่ามันแย่กว่าด้วยซ้ำ ขณะนี้ สาธารณการณ์ด้าน FTA , สารเคมีในผัก อยู่ ณ จุดไหน ประเด็นเรื่อง FTA นั้นเป็นนโยบายระดับประเทศ ซึ่งคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว การที่รัฐบาลจะไปเจรจากับ FTA กับใครอย่างไง คนคิดว่าไม่ใช่หน้าที่ของประชาชน ไม่ใช่หน้าที่ของผู้บริโภคที่จะไปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ หลังจากที่เราติดตามเรื่อง FTA เราพบว่ากระทบโดยตรงกับเกษตรกรและผู้บริโภค ยกตัวอย่างที่ง่ายที่สุด คือว่า กรณีการเจรจา FTA แรกๆ ที่ประเทศไทยมีการเจรจา เช่น ในปี 2546 เราเจรจากับไทยและจีน ซึ่งมีการตกลงให้มีการเปิดเสรีผักและผลไม้ ปรากฏว่าเมื่อมีการลดภาษีเป็นศูนย์ ผักและผลไม้ที่มาจากจีนก็จะทะลักเข้ามาในประเทศ เกษตรกรที่ปลูกกระเทียม เป็นต้น ที่ได้รับผลกระทบ พื้นที่การผลิตลดลงฮวบฮาบ เหลือประมาณ 60 % เพราะกระเทียมจีนราคาถูกกว่า แต่ว่าเมื่อผ่านไประยะหนึ่งเมื่อเกษตรกรเลิกผลิตและไม่หวนกลับมาผลิตแล้ว กระเทียมจีนก็ราคาสูงพอๆ กับกระเทียมไทย ซึ่งจะว่าไปแล้วกระเทียมไทยมีคุณภาพมากกว่าด้วยซ้ำ ที่เราเคยคิดว่าการทำ FTA มีผลกระทบใบเชิงบวกต่อผู้บริโภคได้ในราคาที่ถูกลงก็ไม่ใช่ อีกกรณีที่เห็นชัดเจนตอนนี้ คือเรื่องส้ม เมื่อก่อนเรามีส้มไทยเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันส้มจีนทะลักเข้ามา แต่มันมีสาเหตุอื่นด้วยนะ คือ มีการเปลี่ยนพื้นที่การปลูกผลไม้ไปเป็นยางพาราก็มีผลต่อราคาผลไม้ แต่ว่าสาเหตุอีกอันก็คือเรื่อง FTA ส้มจีนราคาถูกกว่า ที่นี่ส้มไทยก็กลับมีราคาแพง แล้วถ้าไปดูการบริโภคผลไม้ท้องถิ่นของคนไทยนั้นเริ่มลดลงไปบริโภคผัก และผลไม้เมืองหนาวมากขึ้น ยกตัวอย่าง ตอนนี้ในขณะที่เราส่งออกทุเรียนหรือมังคุดนั้นได้ตัวเลขไปดูข้อมูลจากเฟซบุค ของมูลนิธิชีววิถี  ไบโอไทย ( BioThai ) แต่เรานำเข้าส้ม แอปเปิ้ล องุ่น จากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่เรานำเข้ามานั้นก็ผ่านเรื่อง FTA ด้วย ไม่ว่าจะเป็นส้มมาจากจีน แอปเปิ้ลจากจีนบ้าง จากออสเตรเลียบ้าง คนไทยแทนที่จะกินผลไม้ได้หลากหลายก็ต้องกินผลไม้ที่ไม่หลากหลาย มิหนำซ้ำยังไม่ถูกอย่างที่เราเคยตั้งใจ แล้วผักและผลไม้พวกนี้เราพบว่ามันมีปัญหาเรื่องมาตรฐานความไม่ปลอดภัยด้วย เพราะว่ากลไกการนำเข้ามานั้นมันมีการผลิตอยู่ในต่างประเทศ เรายิ่งไม่สามารถไปควบคุมได้ นี่เป็นปัญหาที่ยกตัวอย่างให้ฟังเรื่องการเจรจา FTA แต่ที่จริงมีอีกหลายเรื่องที่น่าห่วงใยมากกว่านี้ เช่น ไก่ รัฐบาลที่ผ่านมาเริ่มเจรจากับทาง EU ซึ่งมีการเจรจาเป็นรอบที่ 3 ทาง EU เรียกร้องให้ไทยยอมรับกฎหมายสิทธิบัตรพันธุ์พืช การใช้ระบบกฎหมายที่เรียกว่า ยูปอฟ (UPOV) 1991เข้ามาบังคับใช้ ซึ่งในระยะยาวจะมีผลทำให้ไม่สามารถเก็บพันธุ์ไปปลูกต่อได้ ต่างประเทศสามารถเข้ามาใช้ทรัพยากรชีวภาพในประเทศ และในที่สุดจะส่งผลให้ผักนั้นราคาแพง ถูกผูกขาดยิ่งขึ้น อันนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก ก็เบาใจที่ว่าการเจรจานี้เดินหน้าต่อไปไม่ได้เพราะปัญหาทางการเมือง ก็น่าเป็นห่วงว่าการเจรจาต่อจากนี้จะไปในทิศทางไหน ทีนี้เรื่องที่เราตามเรื่องสถานการณ์การใช้สารเคมีเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องมาจากนโยบายของรัฐบาล เกี่ยวเนื่องกับบทบาทของบริษัทสารเคมี เกี่ยวเนื่องกับกลไกของระบบราชการที่ว่าด้วยการจัดการสารเคมี เกี่ยวเนื่องกับผู้ประกอบการที่จำหน่ายผลผลิตอาหาร และแน่นอนเกี่ยวข้องกับเกษตรกรด้วย สารเคมีเป็นเรื่องใหญ่ที่พบว่าหลังจากที่เราทำเรื่องนี้อย่างจริงจังเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้วนั้น สถานการณ์ในประเทศเราย่ำแย่มากๆ  เราติดตามเฝ้าระวัง 2 ระดับ ระดับ 1 นี่คือดูปัญหาผัก ผลไม้ที่เราส่งออกว่ามันมีปัญหาอย่างไร คือประเทศไทยนั้นส่งออกผลไม้ซึ่งถือว่าเยอะพอสมควร แต่ว่าน้อยกว่าหลายประเทศ อย่างเช่น ตุรกี จีน แต่เรากลับพบว่าในหลายปีทางฝั่งยุโรปพบว่าสารตกค้างของไทยนั้นมันมากกว่าของประเทศที่เขาส่งออกมากกว่าเราหลายสิบเท่าตัว อันที่ 2 คือเรามาดูเรื่องของการตรวจสอบเฝ้าระวังตลาดในประเทศ ซึ่งทำงานร่วมกับฉลาดซื้อ สถานการณ์นี้ก็น่าสนใจมาก เราพยายามทำข้อมูลให้ต่อเนื่องเพื่อที่เราจะสามารถเปรียบเทียบได้ว่า ผักและผลไม้ที่ขายอยู่ในประเทศที่เราซื้ออยู่ในปัจจุบันนั้นประมาณ 30 % ขึ้นไปที่มีสารเคมีตกค้างเกินมาตรฐาน อีกเรื่องเราพบความจริงว่าผักและผลไม้ที่ขายอยู่ในตลาดทุกระดับ ที่โฆษณาว่าเป็นผักผลไม้ปลอดสารได้มาตรฐาน GAP มันไม่ได้ปลอดภัยมากไปกว่าผักผลไม้ที่ขายอยู่ในตลาดสด ในหลายกรณีเราพบว่ามันแย่กว่าด้วยซ้ำ ที่ผู้บริโภคหลงเชื่อว่าการไปซื้อผักผลไม้ในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ผักที่ติดตรา GAP จะได้รับความปลอดภัยมากกว่าแต่ผลการตรวจสอบมันไม่ใช่ นี่คือความจริงที่โหดร้ายนะที่สาธารณูปโภคทุกระดับมีความเสี่ยงภัยพอๆ กัน มันน่าจะเป็นสัญญาณให้เราจัดการกับการใช้เรื่องสารเคมีกันได้เสียที เพราะฉะนั้นนอกจากการตรวจสอบเฝ้าระวังเรายังทำงานอีก 2 อย่างควบคู่ไปด้วย อันที่ 1 คือ การควบคุมต้นทาง คือ รณรงค์ยกเลิกการใช้สารเคมี 4 ชนิด ซึ่งเมื่อ 2 ปีที่แล้วประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง เมื่อรัฐบาลมีมติให้ยกเลิกสารเคมี 2 ชนิด คือ อีพีเอ็นและ ไดโครโตฟอส ส่วนอีก 2 ชนิดนั้นยังไม่มีการยกเลิกแต่กรมวิชาการเกษตรไม่อนุญาตให้ขึ้นทะเบียน คือคาร์โบฟูรานและ เมโทมิล ถือว่าการทำงานของพวกเราก็บรรลุเป้าหมายระดับหนึ่ง แต่แน่นอนมันยังไม่พอแน่ๆ เพราะเราเคยประมวลว่าถ้าต้องมีการปฏิรูประบบการจัดการสารเคมีมันควรจะต้องแบสารเคมีมากกว่านี้ เพราะว่าทั้งในอเมริกาและยุโรปบางประเทศหลังจากปฏิรูประบบนั้น เขากวาดล้างสารเคมีที่เป็นอันตรายออกไปประมาณ 40 – 60 ชนิด ทางไทยแพนก็เลยทำงานร่วมกับนักวิชาการในหน่วยงานราชการ เช่น กรมการข้าว ,กรมควบคุมมลพิษ ,อย. และสำนักโรคจากการประกอบอาชีพ เราพยายามดึงนักวิชาการการเกษตรให้เข้ามาทำงานตรงนี้ ล่าสุดคณะทำงานมีข้อเสนอให้มีการแบนสารเคมีเพิ่มเติม ซึ่งภายใน 2 – 3 ปีนี้เราจะเสนอการยกเลิกอีก 15 ตัว แต่ว่าในช่วง 7 – 10 ปี ข้างหน้านั้นเราจะเสนอให้ยกเลิก 70 – 90 ตัว ซึ่งจะมีการศึกษาข้อมูลโดยละเอียดอีกครั้งหนึ่ง พลังของผู้บริโภคสำคัญกับการขับเคลื่อนงานอย่างไร พลังผู้บริโภคนั้นสำคัญมาก อาจจะสำคัญที่สุดก็ว่าได้ที่จะทำให้ระบบอาหารของเรามีความยั่งยืน ปลอดภัย และมีความเป็นธรรม เราพบว่าการทำงานร่วมกับที่สำนักงานเชิงนโยบายนั้นมันได้ผลส่วนหนึ่งแต่ว่าในปัจจุบันถ้าผู้บริโภคซึ่ง จะว่าไปแล้วผู้บริโภคทุกคนแม้กระทั่งผู้กำหนดนโยบาย เกษตรกรต่าง แม้แต่ผู้ประกอบการต่างๆ ก็ต่างใช้สารเคมีนะ คนเหล่านี้คือผู้บริโภค เราเล็งเห็นว่าถ้าผู้บริโภคได้รับรู้ว่ามีปัญหาแบบนี้เกิดขึ้น แล้วมันจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพต่อตัวเอง ต่อคนในครอบครัว เราเชื่อว่าผู้บริโภคนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ข้อจำกัดของผู้บริโภคที่ผ่านมาเราจะเห็นว่าผู้บริโภคอาจจะไม่ได้ข้อมูลที่เป็นจริงว่าเกิดปัญหาอะไรขึ้น การเลือกบริโภคของตัวผู้บริโภคเองนั้นจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่ผักและผลไม้ แม้กระทั่งข้าวที่เห็นว่ามันไม่ปลอดภัยนั้น เราก็ไปเลือกซื้อไอ้ที่มันปลอดภัย อย่างที่เรารู้แล้วว่า GAP ที่เราคิดว่ามันปลอดภัยนั้นมันไม่ปลอดภัย สิ่งที่เราทำได้คือ ไปเลือกซื้อเกษตรระบบอินทรีย์เสีย ซึ่งตอนนี้ตลาดพวกนี้กำลังเติบโตมากขึ้นๆ ทุกที และการเติบโตนั้นก็มาจากการเลือกซื้อของเราด้วย การเลือกพวกนี้อาจจะไม่ง่ายเหมือนเลือกซื้อผลผลิตทั่วไป แต่ว่ามันก็จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อันที่ 2 คือว่าเราเองสามารถผลักดันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตัวระบบ เช่น เราพบว่าผักชี พริก ถั่วฝักยาว มะเขือที่เราซื้อจากห้างขนาดใหญ่ ราคามันแพงมากแต่คุณภาพเลวกว่า เรามีสิทธิที่จะไปเรียกร้องให้ห้างเหล่านี้เขาปรับปรุงต่อการผลิต การตรวจสอบคุณภาพได้ ยกตัวอย่างล่าสุดเราตรวจผักแต่ยังไม่แถลงข่าว แต่ก็ได้เชิญห้างค้าปลีก ตลาดสดมาคุยกันให้แก้ปัญหาตรงนี้ ซึ่งเขาก็รับรองกับเราว่าจะมีการปรับปรุง จะเห็นว่าถ้าผู้บริโภคมารวมตัวกันเคลื่อนไหวรณรงค์เรื่องนี้ร่วมกัน เราก็จะมีระบบที่ดีได้ ซึ่งเรามองการบริโภคคือความปลอดภัย แต่ที่เราเห็นทุกวันนี้มันไม่ใช่แค่ความปลอดภัยอย่างเดียวมันมีความมั่นคงด้านอาหาร ระบบอาหารที่จะทำให้ระบบเศรษฐกิจนี้มันยั่งยืน มีความเป็นธรรมเกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมมันมีอีกหลายประเด็น เช่น ความไม่หลากหลายของอาหาร บางทีเราอาจลืมนึกไป เห็นว่าสะดวกสบายเข้าไปซื้อในห้าง แต่จะเห็นว่าอาหารพวกนี้มันไม่หลากหลายนะ เพราะฉะนั้นเราต้องผลักดันไปมากกว่านี้ คือมองไปที่ว่าทำอย่างไรจะสร้างระบบที่มันสามารถมีการผลิตที่หลากหลายขึ้นมาได้ ในต่างประเทศมันมีการขับเคลื่อนโดยผู้บริโภคและเกษตรกรบางราย บางกลุ่มร่วมกันทำตลาดที่เป็น Farmer Market ขึ้นมา โดยการเอาผลผลิตจากเกษตรกรที่มีความหลากหลาย มีความสด เอามาจัดจำหน่าย แล้วเกิดกระจายขึ้นมาหัวเมือง ชุมชนต่างๆ ระยะทางการขนส่งอาหารก็ใกล้ขึ้น มันก็จะสด เกษตรกรได้สัมพันธ์กับผู้บริโภคโดยตรง บางอย่างเราไม่เคยกิน เกษตรกรจะแนะนำได้ว่าผักเหลียงนั้นมันต้องปรุงอย่างไร คนในเมืองไม่เคยกิน กินแต่ผักบุ้งก็ได้กินผักเหลียงต้มกะทิ ผักเหลียงผัดไข่ มันเป็นอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการด้วย และยังปลอดภัยเพราะไม่มีการใช้สารเคมีเลย เป็นต้น เพราะฉะนั้นการที่ผู้บริโภคมาอุดหนุนตรงนี้นั้นมันจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นี่คือจะทำให้เห็นว่าการกินเปลี่ยนโลก การกินของเรามันคือการตัดสินใจของเรา การเปลี่ยนแปลงของเรา  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 158 ภก.วรวิทย์ กิตติวงศ์สุนทร ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี

ข้าวที่ชาวบ้านปลูกนั้น เขาไม่กล้ากินเองเพราะกังวลเรื่องการปนเปื้อนสารเคมีที่ปนมาจากเหมืองอะไรพวกนี้ น้ำดื่มก็ไม่กล้าดื่มน้ำบ่อ น้ำประปาในชุมชนของเขาเอง เพราะเขาก็เกรงว่าน้ำนั้นมันถูกปนเปื้อนด้วย เลยกลายเป็นว่าต้องไปซื้อน้ำขวดมากิน นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้านนะที่จะดำรงชีวิตได้ จะเห็นว่าพอมันมีเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามามันก็กระทบการเป็นอยู่ของประชาชน เภสัชกรบุคลิกสุภาพ อ่อนโยน ใจดียิ้มแย้ม พร้อมท่าทีเกรงอกเกรงใจแม้กระทั่งกับผู้อ่อนวัยกว่า  คือลักษณะเด่น ของผู้ชายวัยห้าสิบกว่า มองผ่านๆ อาจไม่เชื่อว่า  หมอยาท่านนี้คือ  ผู้ผลักดันและขับเคลื่อนกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสาธารณสุขคนสำคัญของไทย ท่านเป็นหนึ่งในทีมงานที่โค่นระบบทุจริตยา(คดีคอร์รัปชั่นในตำนาน ปี 2540) เป็นผู้นำที่ลุกขึ้นมาปฏิวัติเรื่องสารตะกั่วในตู้น้ำเย็นโรงเรียนจนขยับไปสู่การปลดแอกสารตะกั่วจากหม้อก๋วยเตี๋ยว  ทั้งยังผลักดันให้เกิดสารทดสอบค่าโพลาร์ในน้ำมันทอดซ้ำที่ได้ผลค่อนข้างดีในราคาไม่แพง ซึ่งช่วยให้การรณรงค์เรื่องน้ำมันทอดซ้ำง่ายขึ้นมาก นอกจากนี้ยังเฝ้าระวัง ดูแลความปลอดภัย ตลอดจนให้ความรู้ ในเรื่องปากท้องของชาวบ้าน อย่าง อาหารการกินประจำท้องถิ่น เช่น น้ำปลา หน่อไม้ปี๊บ จนล่วงเลยไปถึงถึงสินค้าข้ามพรมแดนจากประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของเราที่ผ่านเข้ามาทางด่านชายแดนต้อนรับ AEC พื้นที่การทำงานในบทบาทของผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุดรธานี  ที่ท่านเพิ่งจะมารับตำแหน่ง  หลังจากที่ทำงานในจังหวัดอุบลราชธานีและพื้นที่ใกล้เคียงมากกว่า 1 ทศวรรษ  “ ฉลาดซื้อ “ ฉบับนี้จึงขอนำแนวคิดที่น่าสนใจและมุมมองในการทำงานของ ภก.วรวิทย์  กิตติวงศ์สุนทร   ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาตร์การแพทย์ที่ 8 อุดรธานี มาเล่าสู่กันฟัง   พอย้ายที่ทำงานใหม่มีปัญหาเหมือนที่เดิมไหมคะ ปัญหาที่พบแตกต่างนะพอย้ายจากอุบลฯ มาอุดรฯ ที่นี่มีการทำเหมืองแร่ทองคำ มีเรื่องแก๊ส ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมก็จะมากกว่าตอนอยู่อุบลฯ เพราะอุบลฯ นั้นไม่มีนิคมอุตสาหกรรม ไม่มีกิจการพวกนี้   ปัญหาเกี่ยวกับผู้บริโภคที่พบมีเรื่องอะไรบ้าง ดูแล้วมีปัญหากว่าภาคอีสานตอนใต้นะ เพราะว่าทางอุดรฯ มันต่อเชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน และมีการเข้า-ออกกันเยอะ สามารถเชื่อมไปถึงเวียดนามได้โดยสะดวก เพราะฉะนั้นเรื่องผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องสุขภาพนั้นมีแนวโน้มอะไรที่ซับซ้อน นี่เป็น 1 เรื่อง เรื่องที่ 2 คือสิทธิของผู้บริโภคที่เขาควรจะมีหลักประกันว่าปัจจัย 4 ที่ประชาชนควรจะได้รับความปลอดภัย เนื่องจากเมื่อสักครู่พูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม ก็จะพบว่าข้าวที่ชาวบ้านปลูกนั้น เขาไม่กล้ากินเองเพราะกังวลเรื่องการปนเปื้อนสารเคมีที่ปนมาจากเหมืองอะไรพวกนี้ น้ำดื่มก็ไม่กล้าดื่มน้ำบ่อ น้ำประปาในชุมชนของเขาเอง เพราะเขาก็เกรงว่าน้ำนั้นมันถูกปนเปื้อนด้วย เลยกลายเป็นว่าต้องไปซื้อน้ำขวดมากิน นี่คือสิทธิขั้นพื้นฐานของชาวบ้านนะที่จะดำรงชีวิตได้ จะเห็นว่าพอมันมีเรื่องสิ่งแวดล้อมเข้ามามันก็กระทบการเป็นอยู่ของประชาชน นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องอากาศนะ แต่ที่แน่ๆ มันมีปรากฏการณ์แล้วว่าชาวบ้านปลูกข้าวแล้วไม่กล้ากินข้าวที่ตัวเองปลูก น้ำดื่มต้องไปซื้อเขากินจากเมือง ซื้อเป็นน้ำขวดมาดื่ม   จากการที่เจอปัญหาในพื้นที่มามากนั้น  การทำงานในเชิงนโยบาย เช่นการบริหารในส่วนกลางจะช่วยแก้ปัญหาได้ดีกว่าหรือไม่ เป็นเรื่องความรู้สึกส่วนตัวและโดยความเชื่อด้วย ความรู้สึกส่วนตัวคือ ไม่ชอบกรุงเทพฯ รู้สึกว่าเป็นเมืองที่คุณภาพชีวิตมันแย่ และคิดว่าการที่เรามีฐานชนบทนั้นคิดว่าลักษณะที่ชาวบ้านอยู่จริงนั้น คิดว่าการที่เราอยู่ตรงโน้นนั้นมันช่วยให้เกิดนโยบายสาธารณะที่ดีทั้งในระดับพื้นที่ และในระดับประเทศได้ เลยคิดว่าอยู่ตรงโน้นถูกจริตตัวเองมากกว่านะ อันที่ 2 คิดว่าการที่เราอยู่กับฐานล่างนั้นที่มันจะส่งผลกับนโยบายสาธารณะในระดับประเทศ เลยไม่ได้สนใจที่จะอยู่ส่วนกลาง หรือกระทรวง ปัจจุบันก็เข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลแล้ว สื่อมันมีช่องทางมากขึ้น ตรงนี้คิดว่าเราจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านมีภูมิป้องกันจากเรื่องที่เข้ามาจากสื่อเหล่านี้ โดยส่วนตัวคิดว่าฐานชุมชนน่าจะเป็นคำตอบ เนื่องจากว่าสังคมทางอีสานนั้นถ้าเกิดระดับหมู่บ้านมันก็ยังมีความเป็นชนบทอยู่นะ แม้ว่าจะถูกพฤติกรรมการบริโภค การเข้าถึงสื่อ การคมนาคมที่คนจะเข้ามาปรึกษาหารืออะไรพวกนี้มันยังมีอยู่ เพราะฉะนั้นถ้าเราทำให้ชุมชนเข้มแข็งรู้เท่าทัน ตระหนักว่ามันคือปัญหา และลุกขึ้นมาปรึกษาหารือกันได้ว่าจะจัดการอย่างไรไม่ให้คนในชุมชนถูกหลอกลวง คนในชุมชนนั้นส่วนหนึ่งก็เป็นคนที่ไปเอาของมาขาย มาบอกกล่าวในเรื่องที่ตัวเองก็อาจจะไม่รู้ว่ามันเป็นเท็จเพื่อจะขายของอะไรแบบนี้ โดยส่วนตัวก็คิดว่าฐานชุมชนเป็นจุดที่น่าสนใจ และชุมชนสมัยนี้ก็ไม่เหมือนสมัยก่อน คือทรัพยากรทั้งหลายก็ไปพอสมควร เช่นไปทางองค์กรปกครองท้องถิ่น และทางกระทรวงสาธารณสุขเราก็มีมีฐาน รพสต. อสม. เพราะฉะนั้นถ้าเราจะผสมผสานอะไรเหล่านี้ในชุมชนมันก็จะยั่งยืนในระยะยาว รัฐกลางนั้นเราก็สนับสนุนให้เขาทำในสิ่งดีนะแต่ว่าดูแล้วเงื่อนไขเขาเยอะมาก สถานีโทรทัศน์ 1,000 ช่อง วิทยุชุมชนอีก 1,000 กว่านั้น ถ้ามีปัญหาแค่ 10 % เขาก็แก้ไม่ไหวแล้ว ที่เราเห็นๆ กันอยู่ นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องอินเตอร์เน็ต เรื่องอะไรต่อมิอะไรอีก ก็คิดว่ารัฐกลางคงไม่สามารถทำอะไรได้รวดเร็วนะ ส่วนใหญ่ก็ทำในหน้าที่ของเขาให้ดี เพราะว่าถ้าเขาทำได้ดีมันจะส่งผลในวงกว้าง   อย่างนี้การให้ความรู้ในชุมชนก็เป็นส่วนหนึ่งด้วยใช่ไหม ครับ  คือถ้าเรากระตุ้นให้ชุมชนเขารู้ก่อนว่าปัญหาอะไรบ้างที่เขาเจอมันคือปัญหา เพราะบางทีเขาก็ไม่รู้ที่ไปหลอกขายยา อาหารเสริมอะไรพวกนี้ ถ้าเราอาศัยพลังคือท้องถิ่น องค์กรท้องถิ่น รพสต. พี่น้อง อสม. และอาจจะมีปราชญ์ชาวบ้านมาเป็นแกนในการทำให้คนในชุมชนมาปรึกษาหารือกัน และตระหนักว่าเรื่องพวกนี้เราโดนหลอกนะ แล้วเราจะมีทางเลือกทางออกว่าจะจัดการอย่างไร น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี และถ้าถามว่าถ้าเขาจะดูแลกันเองนั้นมันก็ต้องมีรัฐกลางที่มีหน้าที่บอกข้อมูลว่า ของพวกนี้ไม่ดี ชุมชนเรามีไหม ก็ไม่ต้องไปเสียเวลาไปหาไปค้น เขาก็เข้าใจได้ง่าย เพราะร้านในชุมชนก็ญาติพี่น้องกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นของพวกนี้เราต้องไม่เอามาขาย ครีมยี่ห้อนั้น ยี่ห้อนี่นะ ก็เรียกว่าเป็นเรื่องความพร้อมใจกันที่จะทำดีให้กับสังคมตัวเอง มันก็ยากนะเพราะเหมือนเราฝืนกระแสโลก เพราะกระแสโลกคือ กระตุ้นให้มีการบริโภค แต่เราให้เลือกบริโภคที่ดี และอะไรที่เราจะไม่บริโภค มันก็เป็นเรื่องที่ยากเป็นธรรมดา ถ้าเสนอก็มีว่า ได้มีโอกาสไปทำในหลายๆ ชุมชนนั้น มันมีตัวอย่างที่เป็นไปได้ และเขาลุกขึ้นมาจัดการกันเอง รถเร่ หนังขายยาไม่มีสิทธิได้เข้ามาพื้นที่เขาเลย เพราะฉะนั้นถ้าเขารู้ว่ามีเขาจะมีระบบของเขาเอง กำนัน ผู้ใหญ่บ้านรู้ก็จะบอกตำรวจ หรือไปคุยกับเขาดีๆ ว่าพื้นที่นี้ไม่ได้นะ ถ้ามันแข็งแรงเฉพาะบางพื้นที่ บางพื้นที่ไม่แข็งแรงนั้น ไอ้พวกที่จะหากินแบบนี้มันก็จะไปพื้นที่ที่ไม่แข็งแรง ซึ่งมันก็ไม่ดีหรอก ก็ไปสร้างภาระให้ประชาชนคนอื่นอีก   แล้วการเป็นพลเมืองธรรมดา ก็สามารถช่วยกันสร้างความเข้มแข็งให้การคุ้มครองผู้บริโภคแข็งแรงได้เหมือนกันใช่ไหมคะ ที่เราพูดถึงเรื่องชุมชน บางชุมชนที่ยกตัวอย่างซึ่งไม่ใช่ระดับสิบนะ หลักร้อยขึ้นเท่าที่เรารู้จักนะ แต่มันอาจจะมากกว่านี้ แต่เราไม่มีโอกาสได้เจอ จะเห็นว่าที่เขาดูแลกันเองได้นั้นก็ด้วยพลังของคนของเขาเอง ที่เราเรียกว่าพลเมืองเพราะหน้าที่ของพลเมืองนอกจากจะดูแลสิทธิตัวเอง ยังต้องดูแลสังคมที่ตัวเองอยู่ด้วย //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 157 คนไทยไร้พุงกับสง่า ดามาพงษ์

ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มีคนไทยมีพุงเยอะรวมทั้งกองบรรณาธิการฉลาดซื้อด้วย เกิดอยากจะเป็นคนไทยไร้พุงบ้าง จึงไปรบกวนสัมภาษณ์ อาจารย์สง่า ดามาพงษ์  ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการ  /ที่ปรึกษาสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย/กรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง ซึ่งถ้าเห็นรูปร่างหน้าตาท่านแล้วจะดูไม่ออกเลยว่าอาจารย์อายุเลยวัยเกษียณมาหลายปีแล้ว “ กินเกิน ( อาหาร) เพลินไม่ขยับ (ออกกำลัง ) บังคับสติตัวเองไม่ได้ ( อารมณ์ ) ” ฉลาดซื้อ : ช่วงนี้คนสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้น อย่างห้องพันทิปก็มีห้องรักสวยรักงาม มีคนโพสต์ว่าลดความอ้วนสำเร็จ ใช้วิธีกินอาหารคลีน ใช้การออกกำลังกายคาร์ดิโอ แต่บางคนก็มาแบบจำกัดแคลอรี่ อย่างดาราท่านหนึ่ง เขาแนะนำว่าเขากินวันละ 500 แคลลอรี่ ซึ่งบางคนเขาก็เชื่อ แต่บางคนที่เขาคิดว่ามันไม่เป็นจริงนะ ถ้ากินแค่ 500 แคลอรี่มันจะเกิดผลกระทบ แต่ก็มีคนเชื่อเยอะเพราะเป็นวิธีที่ง่าย กินน้อยลงแต่ไม่ได้ดูว่าเรากินอะไรบ้าง อ.สง่า : จะมีอยู่ 3 ประเด็นนะ อันที่ 1 หลักการลดน้ำหนักที่ถูกวิธี อันที่ 2 การลดน้ำหนักให้อยู่ในวิถีชีวิตคนเมือง คนที่เร่งรีบ อันที่ 3 ต้องยกตัวอย่างให้เห็นว่าวิถีชีวิตของคนแบบนี้ถ้าจะลดน้ำหนักจะลดอย่างไร  พูดถึงประเด็นแรกจนถึงประเด็นสุดท้าย  ไม่จำเป็นต้องเป็นคนเมืองหรือใครก็แล้วแต่ที่อ้วนแล้วต้องการลดน้ำหนักนั้นมันมีหลักการอยู่ว่า ข้อที่ 1 การลดน้ำหนักต้องไปหาต้นเหตุแห่งความอ้วนให้เจอแล้วไปแก้ไขที่ต้นเหตุ ข้อที่ 2 เมื่อหาเหตุได้แล้วการลดน้ำหนักจะต้องถาวรและยั่งยืน  ไม่กลับไปอ้วนใหม่ ไม่ใช่ลดน้ำหนักแค่ชั่วครั้งชั่วคราว   ข้อที่ 3 การลดน้ำหนักนั้นต้องอยู่ในวิถีชีวิตของทุกคน ไม่ใช่หักดิบไปลดน้ำหนักแบบที่แปลกๆ อดอาหาร กินข้าวน้อยลง ไปกินอะไรที่มันไม่อยู่ในวิถีชีวิต กินพวกกาแฟลดน้ำหนัก อาหารเสริม ถ้าลดน้ำหนักต้องอยู่ในวิถีชีวิต ข้อที่ 4 การลดน้ำหนักต้องค่อยเป็นค่อยไป อย่าลดมากจนเกินไปมันจะกลับมาโยโย่ใหม่ การลดน้ำหนักมันต้องทำให้พฤติกรรมคุณเปลี่ยน จากเมื่อก่อนเคยกินอาหารหวานมัน กินข้าวเยอะกินผักน้อย ต้องเปลี่ยนนิสัยการกินของคุณให้ได้ เมื่อก่อนขี้เกียจออกกำลังกาย คราวนี้คุณกลายเป็นคนออกกำลังกายอยู่ในวิถีชีวิต บางคนที่ลดน้ำหนักได้ 17 กิโลกรัมแล้ว  แต่พฤติกรรมเหล่านี้ยังไม่อยู่ในวิถีชีวิตจะกลับมาอ้วนใหม่หมดเลย เพราะฉะนั้นเป้าหมายในการลดน้ำหนัก คือ พฤติกรรม 3 อ. (อาหาร , ออกกำลังกาย , อารมณ์ ) ย้อนไปดูที่ต้นเหตุแห่งความอ้วน ก็คือ กินเกิน ( อาหาร) เพลินไม่ขยับ (ออกกำลัง ) บังคับสติตัวเองไม่ได้ ( อารมณ์ ) ไขมันในช่องท้องจึงเกิน  สาธารณสุขจากเมื่อ 5 ปีที่แล้วจนถึงปัจจุบันก็ยังยึดหลัก 3 อ. ในการลดน้ำหนักอยู่ เพราะมันเป็นต้นเหตุแห่งการทำให้อ้วน พอเราคุมอาหารได้ ออกกำลังกายได้ คุมอารมณ์ได้ แน่นอนลดได้ 100 % แต่ทุกวันนี้คนคิดว่าการลดน้ำหนักต้องหาทางลัด ไปกินยา แล้วอดอาหาร การลดน้ำหนักผิดๆ ที่เห็นชัดตอนนี้ มี 4 เรื่อง คือ กินยา อาหารเสริม อันนี้จัดเป็นประเภทที่ 1 ประเภทที่ 2 การอดอาหารมื้อใดมื้อหนึ่ง หรือ 2 มื้อ ประเภทที่ 3 ที่เจอมากๆ เลยก็คือ กาแฟลดน้ำหนักซึ่งขอเอามากล่าวในข้อนี้ เพราะยาลดน้ำหนัก หรืออาหารเสริมมันเป็นการลดน้ำหนักที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ เพราะยาบางอย่างมันมีผลข้างเคียง ยาลดน้ำหนักที่กินเข้าไปมันมีกลไกทำให้ประสาทส่วนกลางไม่ทำงาน ทำให้ไม่เกิดความหิว พอไม่หิวก็ไม่กิน ไม่กินก็เลยผอม ทีนี้พอกินยาทุกวันๆ การทำงานประสาทส่วนกลางก็เพี้ยนไป เบลอ ปวดหัว ไม่มีแรง หัวใจเต้นเร็ว หน้ามืด เป็นลม ในที่สุดเสียชีวิต เยอะมาก นี่คือผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น แล้วพอหยุดกินประสาทส่วนกลางทำงานใหม่มากกว่าเดิม หิวมากกว่าเดิม กินมากกว่าเดิม อ้วนมากกว่าเดิม โยโย่เอ็ฟเฟ็กต์ แล้วน้ำหนักที่มันขึ้นมาหลังจากเลิกกินยามันเป็นไขมัน ลดยากมาก พอเกิดโยโย่แล้วร่างกายต้องใช้เวลานานมากในการปรับตัวที่จะกลับมาลดอีกรอบหนึ่ง พูดถึงกาแฟ ลำพังตัวกาแฟเองกล่าวอ้างว่าลดน้ำหนักได้นั้น ส่วนมาก อย.ไปไล่จับเจอสารไซบูทามีน สารตัวนี้เป็นสารที่ใช้ในการแพทย์ ซึ่งก่อนที่คุณจะใส่ลงไปในอาหารใดๆ นั้น คุณต้องขออนุญาต อย. ก่อน เพราะมันเป็นสารอันตราย พอใส่ในกาแฟ หรืออาหารลดน้ำหนัก มันจะทำให้คนเกิดความหิวน้อยลง ถ้ากินสารพวกนี้นานๆ เข้า มันก็เหมือนกับที่อธิบายเรื่องยาลดน้ำหนัก พอหยุดกินกาแฟก็กลับมาอ้วนใหม่ โยโย่ก็ตามมา ยาลดน้ำหนักกับกาแฟกลไกคล้ายกัน ตัวกาแฟจริงๆ แล้วมีคาเฟอีน ตัวคาเฟอีนช่วยลดน้ำหนักได้แต่ต้องกินกาแฟในปริมาณที่เยอะมากถึงจะลดน้ำหนักได้ด้วยคาเฟอีน วันหนึ่งต้องกินหลายสิบแก้ว ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ คนก็เลยแอบเอาสารสารไซบูทามีน ใส่เข้าไป อย. ก็ไล่จับ เจอเยอะไปหมดเลย เพราะฉะนั้นอย่าไปเชื่อว่ากาแฟลดน้ำหนักได้ ยกเว้นกาแฟที่ใส่สารลดน้ำหนักเข้าไป มันจึงลดได้แต่อันตราย ข้อสุดท้ายที่นิยมมากคือ อดอาหาร การอดอาหารเพื่อลดน้ำหนักมื้อใดมื้อหนึ่งนั้นเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง การลดที่ถูกต้องคือ ต้องกินอาหารให้ครบทั้ง 3 มื้อ จะไม่ทำอะไรที่เพี้ยนไปจากวิถีชีวิต   ฉลาดซื้อ : บางคนทานอาหารไม่ครบ 3 มื้อ เช่น งดมื้อเช้าหรือมื้อเย็น  อาหารแต่ละมื้อมีความสำคัญอย่างไรคะ อ.สง่า : คนที่ไม่กินมื้อเช้ามักจะอ้วนด้วย 3 เหตุผล ข้อ 1 พลังงานที่สะสมไว้ตั้งแต่ตอนเย็นจนถึง 10 โมงหมด พอหมดก็โหย ตาลาย แล้วหากาแฟ ขนมหวานมากิน มันคือน้ำหวาน แป้ง น้ำตาล ที่เราเติมเข้าไปให้ร่างกายตอน 10 โมง – 11 โมง แต่ถ้าคุณกินข้าวราดแกงหรือก๋วยเตี๋ยว โจ๊ก ข้าวต้มตอน 7 โมง – 8 โมง ก่อนเข้าทำงาน คุณจะไม่หิวเลยตอน 10 โมง เพราะฉะนั้นคนที่ไม่กินมื้อเช้าจะไปกินจุบจิบเลยทำให้อ้วน ข้อที่ 2 ไม่กินมื้อเช้าแล้วกินชดเชยตอนมื้อเที่ยงและมื้อเย็น โดยเฉพาะมื้อเย็น กินแล้วนอนพลังงานไม่ได้ใช้เลยทำให้อ้วน ข้อสุดท้าย คนที่ไม่กินมื้อเช้าระบบการเผาผลาญในร่างกายจะลดลง 30 % เพราะฉะนั้นการอดมื้อเช้าไม่ใช่การลดน้ำหนักที่ถูกต้องลดได้ช่วงระหว่างคุณอด แต่คุณจะกลับมาโยโย่ใหม่ การลดน้ำหนักคือ ลดอาหารที่มีพลังงานสูง กินให้น้อยลง แล้วควบคุมปริมาณ และชนิดอาหาร ชนิดอาหารที่ต้องควบคุมคืออาหารประเภททอด ผัด อาหารที่มีไขมันสูง มีน้ำตาลมาก แป้งเยอะ เพราะฉะนั้นเราต้องควบคุม กินให้น้อยลง โปรตีนให้กินเท่าเดิม แต่ต้องเป็นเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้ต้องกินมากขึ้น แต่สิ่งที่ต้องกินลดลง คือคาร์โบไฮเดรต กินแป้งให้น้อยลง คนที่ลดน้ำหนักต้อง Low Carb ( Low-carbohydrate ) แต่ต้องกินเพราะมันให้พลังงาน ไม่กินไม่ได้ คุณจะไปเอาพลังงานจากโปรตีนที่เป็นเนื้อสัตว์ไม่ได้ เอาพลังงานจากผักมันไม่พอ เมื่อก่อนเคยกินข้าวเย็น 3 ทัพพี ค่อยๆ ลดเหลือ 2 จาก 2 เหลือทัพพีครึ่ง ค่อยๆ ลดจนเหลือทัพพีเดียว ผู้หญิงมื้อเย็นกินทัพพีเดียวก็พอ เน้นกินผัก   ฉลาดซื้อ : โครงการคนไทยไร้พุงตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างคะ อ.สง่า : ตอนนี้โครงการฯ กำลังจะทำให้องค์กรต่าง ๆ มาร่วมลดน้ำหนัก ลดอ้วน ลดพุง คำว่าองค์กรคือ หน่วยงานราชการ บริษัท ห้างร้าน  โรงเรียน คือให้มีการลดน้ำหนักผ่านองค์กร  เป็นโครงการร่วมกับ สสส. การลดน้ำหนักผ่านองค์กร คือ ให้คนในองค์กรมาปฎิบัติตามหลัก 3 อ. คือ....อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ “ กินเกิน ( อาหาร) เพลินไม่ขยับ (ออกกำลัง ) บังคับสติตัวเองไม่ได้ ( อารมณ์ ) ” โดยเราจะไปให้ความรู้เรื่องการลดน้ำหนัก  นอกจากเราจะไปให้ความรู้เรื่องการลดน้ำหนักแล้ว  เราจะไปช่วยในการปรับพฤติกรรม  หรือเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น ให้โรงอาหารมีเมนูลดน้ำหนัก  เราไปอบรมแม่ครัว  และที่สำคัญอีกอย่างคือ เราพยายามให้ทุกองค์กรเปลี่ยนการจัดเบรก  หรือ อาหารว่างเวลาประชุม  ให้เป็น  เฮลท์ตี้ เบรก  เป็นเบรกที่ดีต่อสุขภาพ  เช่น   เรามีผลไม้  พวกขนมหวานต้องพยายามให้มีน้อยมาก ๆ  แล้วก็ใช้น้ำเป่าแทนน้ำหวาน  อะไรอย่างนี้เป็นต้น   และนี่เป็นสิ่งที่เราทำร่วมกับ  สสส.  อยู่ในขณะนี้    นอกจากนี้  โครงการคนไทยไร้พุง กำลังออกมารณรงค์กับสื่อแนวกว้าง คือ ให้คนทั่วประเทศออกมาตื่นตัวกันอีกครั้ง  โดยการทำรายการผ่านทางช่อง ไทยพีบีเอส  ช่อง 9 และช่อง 11  เป็นรายการเรียลลิตี้  ชื่อ องค์กรซ่อนอ้วน 2  จะเริ่มออนแอร์ประมาณเดือนเมษายนนี้ จนกระทั่งถึงสิ้นปีเลย ส่วนองค์กรใดที่มีความสนใจโปรเจ็กนี้สามารถติดต่อสอบถาม ขอข้อมูลได้ที่ กรมอนามัย   กระทรวงสาธารณสุข , สสส.หรือ ที่เครือข่ายคนไทยไร้พุง   http://www.raipoong.com   //

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point