Who 99สุมาลี พะสิม /เรียบเรียง งานคุ้มครองผู้บริโภคที่ใครๆ อยากเห็นวันที่ 26 เมษายน 2552 ที่ผ่านมามูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทุกคนมีสิทธิเล่มนี้จึงขอเก็บบรรยากาศมาฝากสมาชิกค่ะ พร้อมนำเสนอทรรศนะต่างๆ ของกัลยาณมิตรทั้งหลายมาฝากค่ะ รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร“สิ่งที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำนั้นก็คือว่าทำเรื่องคุณประโยชน์มาพอสมควร สิ่งที่จะต้องทำต่อไปก็คือต้องพยายามสร้างเครือข่ายคนที่จะมาคุ้มครองผู้บริโภคด้วยตัวเขาเองให้มากขึ้น กระจายตัวมากขึ้น แล้วก็จะมีความหลากหลายมากขึ้น ซึ่งอาศัยมูลนิธิฯ อย่างเดียวก็ค่อนข้างลำบากที่ต้องทำทุกเรื่องสำหรับการเปิดบ้านใหม่หลังนี้ก็ขอแสดงความยินดีด้วย อย่างน้อยก็คือว่าเราก็มีส่วนร่วมเล็กน้อยที่ร่วมระดมทุน “เดี่ยวไมโครโฟน” หาทุนให้มูลนิธิฯ ซึ่งจะทำให้เป็นที่ทำงานที่กว้างขวางต่อไป” บุญยืน ศิริธรรม เครือข่ายผู้บริโภคจังหวัดสมุทรสงคราม“เราอยากให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคขับเคลื่อนเรื่องการสนับสนุนเครือข่ายผู้บริโภคให้เข้มแข็งมากขึ้น สนับสนุนด้านข้อมูลและด้านอื่นๆ เพื่อที่จะทำให้ผู้บริโภคลุกขึ้นมาปกป้องสิทธิของตัวเองได้ และผู้บริโภคจะเป็นอิสระมากขึ้น พ้นจากอุ้งมือของทุนนิยม ซึ่งเราเชื่อว่าการคุ้มครองผู้บริโภคนั้นไม่มีใครคุ้มครองผู้บริโภคได้ดีเท่ากับตัวของผู้บริโภค ต้องทำให้ตัวผู้บริโภคลุกขึ้นมาสู้ให้ได้มูลนิธิฯ ควรจะเป็นพี่เลี้ยงและเป็นสื่อกลางไม่ว่าเครือข่ายต้องการอะไรก็น่าจะให้ได้ และอยากให้ทำงานเชิงรุกไม่ใช่แค่ตั้งรับอยู่ในกรุงเทพฯ แต่อยากให้ลงไปที่พื้นที่และเชื่อมร้อยในพื้นที่ต่างๆ ด้วย โดยเฉพาะศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคส่วนหนึ่งรับเรื่องร้องเรียนก็จริง แต่ก็อีกด้านหนึ่งก็คือจะทำอย่างไรให้เกิดศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในทุกภูมิภาค เมื่อผู้บริโภคเดือดร้อนก็ประสานงานกับจังหวัดนั้นได้เลยโดยมีมูลนิธิเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล” นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผอ.สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม“สิ่งที่อยากให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคทำต่อไปก็คือการประสานเครือข่าย นอกจากประสานงานเครือข่ายผู้บิรโภคแล้วก็อยากให้ประสานงานเครือข่ายข้อมูลที่ติดตามเรื่องเหล่านั้น ดังนั้นไม่ว่าเรื่องยากแค่ไหนเมื่อมีผู้เชี่ยวชาญแล้วก็จะสามารถแก้ไขได้ เพราะถ้ามีผู้เชี่ยวชาญ 1 คนเข้าใจ ประชาชนที่เหลือก็จะเข้าใจได้ และก็จะรวมเป็นพลังเพื่อการขับเคลื่อนต่อไปได้การเปิดบ้านใหม่ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ จะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงได้ง่ายขึ้นเพราะเป็นจุดศูนย์กลางของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมูลนิธิฯ จะต้องทำหน้าที่ในการประสานงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคที่มากขึ้นทั้งให้ภาคประชาชน ภาครัฐ นักวิชาการ ให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น แล้วก็มีส่วนร่วมเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน” ณาตยา แวววีรคุปต์ สื่อมวลชน“มองในฐานะของความเป็นสื่อมวลชน มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคถือว่าเป็นศูนย์กลางของข้อมูลในเรื่องสิทธิผู้บริโภคและการใช้สิทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นประโยชน์มากในการนำมาย่อยและเผยแพร่ต่อ ในการนำเสนอสิ่งต่างๆ ที่ถูกมองว่าเป็นปัญหาให้เห็นออกมาเป็นรูปธรรม และง่ายที่สื่อจะนำมาเผยแพร่ต่อ แต่ก็ไม่ใช่แค่ว่าจะนำเอาแค่เรื่องร้องเรียนมาเท่านั้น ยังมีความรู้ด้วย ยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความคิดในการคุ้มครองสิทธิต่อผู้บริโภคได้ด้วยตัววารสารฉลาดซื้อก็มีประโยชน์ค่ะ อ่านทุกเล่ม ต้องบอกว่าอ่านเกือบทุกหน้า ซึ่งหนังสือพยายามสะท้อนให้เราเห็นว่าการใช้สิทธิของผู้บริโภคไม่ใช่เรื่องไกลตัว จริงๆ แล้วมันเกี่ยวกับทุกคน แต่จะมีสักกี่คนที่ใช้สิทธิ พอเราได้เห็นเรื่องราวๆ ต่างๆ ที่ฉลาดซื้อนำมาเผยแพร่ ทำให้เราได้เห็นว่ายังมีคนลุกขึ้นมาทำเรื่องพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคไม่ใช่แค่กับตัวเองเท่านั้น แต่สิ่งที่เขาทำแล้วถูกนำมาเผยแพร่ต่อมันส่งผลต่อผู้บริโภคคนอื่นๆ ให้เกิดความเชื่อมั่นด้วยว่ามาใช้สิทธิเถอะนะถ้าหากว่าถูกละเมิด ไม่ต้องไปบ่นอย่างเดียวซึ่งฉลาดซื้อก็สื่อออกมาได้และง่ายในการทำความเข้าใจ แล้วก็เป็นฐานในการที่จะหยิบมาทำงานด้านสื่อต่อไปได้” ดำรง พุฒตาล อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร“ขอแสดงความยินดีกับมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคด้วยที่เปิดบ้านใหม่ใจกลางเมือง ผู้บริโภคจะได้มาร้องเรียนได้ง่ายขึ้น แต่ค่าใช้จ่ายก็คงเพิ่มขึ้นแน่นอน สำหรับใครที่จะร่วมบริจาคให้กับมูลนิธินี้ก็เชิญได้ครับ แนวทางในการทำงานที่ทำอยู่ถือว่าถูกทางแล้วที่เปิดรับเรื่องร้องทุกข์ ทำหนังสือฉลาดซื้อซึ่งก็เป็นสื่อตัวหนึ่งที่มีประโยชน์ ผมเองก็เป็นแฟนคลับคนหนึ่งที่อ่าน แล้วก็ดึงบางส่วนไปเป็นข้อมูลให้กับหนังสือคู่สร้างคู่สมของผมด้วย ก็ฝากไว้ว่าให้ตามเรื่อง พ.ร.บ.องค์การอิสระผู้บริโภคต่อไป พอมี พ.ร.บ.ตัวนี้แล้วก็คิดว่าคงจะทำงานสะดวกขึ้น ช่วยเหลือคนได้เยอะขึ้น ขอให้กำลังใจทุกคนครับ” จอน อึ๊งภากรณ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร“มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเดินมาไกลแล้วนะ แต่ก็ต้องเดินต่อไปในการสร้างสังคมที่เป็นธรรมสำหรับประชาชนทุกส่วน และขอให้มูลนิธิฯ ทำงานต่อไปในการสร้างและเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ในการปฏิรูปสังคม ในการสร้างระบบความเป็นธรรมให้กับผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิบัตรยาที่ทำไปแล้ว ก็ขอให้ทำเพื่อความเป็นธรรมของผู้บริโภคต่อไม่ว่าจะเป็นเรื่องบัตรเครดิต เรื่องสิทธิต่างๆ ให้กับประเทศของเราต่อไป” ปรีดา เตียสุวรรณ์ นักธุรกิจ“ทุกวันนี้เราอยู่ภายใต้ระบบทุนนิยมก็จำเป็นต้องมีองค์กรที่จะต้องคอยดูแล แต่ก็ไม่แปลกที่เราจะใช้กลไกของทุนนิยมเพื่อกำหนดผลงาน แต่ผลสุดท้ายของงานเราต้องหักตัวเองออกจากทุนนิยมเข้าสู่สังคมนิยมได้ก็โดยการนำเงินที่ได้มาบางส่วนให้องค์กรสาธารณะกุศลแบบผมทำ ที่เราจำเป็นต้องทำแบบนี้ก็เพราะเราอยู่ในระบบทุนนิยม อยากให้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคลองพิจารณาสร้างผลกำไรขึ้นจากการปฏิบัติงานเพราะดูแล้วกำไรไม่ใช่สิ่งที่น่าเกลียดเพราะว่าถ้ามูลนิธิฯ สามารถลงไว้เป็นความเห็นขององค์กรว่า กำไรที่ได้มาจะมอบให้กับกิจการสาธารณะกุศล ไม่ได้แจกจ่ายให้พนักงาน เพราะว่าอะไรรู้ไหม เพราะว่าพอมีกำไรขึ้นก็จะมีการสร้างการวัดผลของการทำงานของแต่ละฝ่ายขึ้นมา ทำให้เกิดมีเป้าหมายขึ้นมา แต่ต้องกำหนดระยะกำไรที่เหมาะสมขึ้นมา แล้วกำไรที่ได้ก็ไม่ได้ไปไหนจะคืนกลับให้กับสังคมต่อไป
อ่านเพิ่มเติม >ทุกคนมีสิทธิ์ สุมาลี พะสิม สัมภาษณ์ / ถ่ายภาพ มูลนิธิชีววิถี หรือหลายๆ คนรู้จักในนาม Biothai เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก ชุมชนคนรักป่า และสถาบันต้นกล้า เปิดตัวโครงการรณรงค์กินเปลี่ยนโลก ไปเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ซึ่งฉลาดซื้อเห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่ดี และเป็นประโยชน์กับสมาชิกและท่านผู้อ่านค่ะ จึงไปจับเขาคุยกับ กิ่งกร นรินทรกุล ณ อยุธยา รองผู้อำนวยการ มูลนิธิชีววิถี ถึงที่ไปที่มา และการเข้าร่วมโครงการ ว่าจะต้องทำอย่างไรมาให้ท่านผู้อ่านได้ทราบกันค่ะ จุดเริ่มของโครงการกินเปลี่ยนโลกกินเปลี่ยนโลกเป็นการรณรงค์เพื่อที่จะให้ผู้บริโภคเข้าใจเรื่องวิกฤตของอาหาร แต่โครงการกินเปลี่ยนโลกไม่ใช่โครงการแรก หากแต่มีหลายองค์กรที่พยายามทำกันมานานไม่ว่าจะเป็นการรณรงค์ตลาดสีเขียว ของเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก หรือมหกรรมสมุนไพรต่างๆ แต่ว่ายังไม่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นสาธารณะ โครงการกินเปลี่ยนโลกจึงปรับเปลี่ยนกระบวนการรณรงค์ในเชิงรุกเพื่อให้ผู้บริโภคเข้าใจ และเข้ามามีส่วนร่วม“ดูเหมือนการสื่อสารผ่านงานมหกรรมหรือจัดเวทีสาธารณะก็ดูจะเป็นเรื่องเครียดๆ ที่ถูกนำเสนอออกมาซะมากกว่า ก็อยากจะปรับให้เครียดน้อยลงเพื่อที่จะให้คนได้เข้าใจมากขึ้น ก็เลยเลือกที่จะสื่อผ่านอาหาร และใช้อาหารนี่ล่ะเป็นสื่อในการรณรงค์เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวและอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่สำคัญก็คืออาหารเป็นเรื่องใหญ่ของคนไทย ดูง่ายๆ อย่างเราไปเที่ยวก็จะเตรียมอาหารตุนไปกินระหว่างทาง หรือไม่ก็แวะกินตามร้านรวงที่เปิดขายกันรายทาง ทั้งซื้อฝากและซื้อกันกิน จนกลายเป็น วัฒนธรรมกินตลอดทาง ด้วยความที่เมืองไทยเราค่อนข้างจะอุดมสมบูรณ์และเป็นประเทศที่ส่งออกธัญญาหารเป็นอันดับต้นๆ ของโลกมีทั้ง ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา เนื้อสัตว์ก็จะเป็นกุ้ง ไก่ คนจึงมองไม่ออกว่าเมืองจะเกิดวิกฤตหรือเกิดปัญหา จนเมื่อราคาข้าวสูงขึ้นเพราะข้าวขาดแคลนในตลาดโลก ก็ดึงราคาข้าวของไทยให้สูงขึ้นตามลำดับ คนจึงเริ่มแตกตื่นว่าวิกฤตมาแล้ว ที่ผ่านมาเวลาเราจะสื่อสารกับสาธารณะก็มักจะหยิบยก ปัญหาขึ้นมาก่อนว่า ปัญหามันคืออะไร แต่กินเปลี่ยนโลกเราจะเปลี่ยน คือแทนที่จะหยิบยกว่าปัญหาทางด้านอาหารคืออะไร มีสารเคมี มีจีเอ็มโอ เราก็จะเปลี่ยนเป็น ‘เราจะกินอย่างไรให้มีคุณภาพ แล้วการกินอย่างมีคุณภาพของคนเราช่วยเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง’ ประเด็นเหล่านี้ก็น่าจะนำไปสู่ประเด็นวิกฤตของอาหารได้ โดยให้คนตั้งคำถามกับตัวเองว่าอาหารมาจากไหน อาหารที่เรากินเป็นอย่างไรโดยให้ศึกษาด้วยตัวเอง” เมืองไทยกับวิกฤตด้านอาหารกิ่งกรบอกกับฉลาดซื้อว่า เราอยู่กับวิกฤตอาหารกันมานานแล้ว แต่ไม่ค่อยรู้สึกกัน สิ่งที่แสดงให้เห็นชัดว่าเราก็มีวิกฤตด้านอาหาร คือเรื่องข้าว ด้วยความที่เมืองไทยเราค่อนข้างจะอุดมสมบูรณ์และเป็นประเทศที่ส่งออกธัญญาหารเป็นอันดับต้นๆ ของโลกมีทั้ง ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา เนื้อสัตว์ก็จะเป็นกุ้ง ไก่ คนจึงมองไม่ออกว่าเมืองจะเกิดวิกฤตหรือเกิดปัญหา จนเมื่อราคาข้าวสูงขึ้นเพราะข้าวขาดแคลนในตลาดโลก ก็ดึงราคาข้าวของไทยให้สูงขึ้นตามลำดับ คนจึงเริ่มแตกตื่นว่าวิกฤตมาแล้ว “เวลาเราพูดถึงวิกฤตอาหาร กินเปลี่ยนโลกของเราจะมองเรื่องความหลากหลายของอาหารว่าความหลากหลายมันน้อยลง อาหารอย่างพวกเนื้อสัตว์อาจจะมีราคาถูกขึ้นแต่คุณภาพของอาหารแย่ลง พอมีการผลิตมากขึ้นก็เลี้ยงกันเป็น ‘ฟาร์มปิด’ เลี้ยงกันเป็นอุตสาหกรรม มีการฉีดฮอร์โมน เร่งโต กินอาหารเม็ด วันๆ สัตว์ถูกขังอยู่แต่ในโรงเลี้ยง พอถึงระยะเวลาก็นำมาให้พวกเรากิน ยกตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือ ‘ไก่’ ปัจจุบันเรากินไก่รสชาติเหมือนทิชชู่ แต่เราก็ยังกินกันเพราะมันถูก แต่คุณภาพมันน้อยลง มองให้ง่ายขึ้นมาอีกว่าเราอยู่ในวิกฤตอาหารที่ความหลากหลายมันน้อยลง ก็ให้มองไปที่ตลาดสดที่มีผักแค่แตงกวา กะหล่ำปลี ผักกาดขาว คะน้า แครอท ผักชี ต้นหอม ผักพวกนี้ไปทีไรก็มีตลอดปี และเมื่อปลูกทั้งปีก็ต้องใส่สารเคมี เคยลงไปเยี่ยมชาวบ้านที่ปลูก เขาบอกเลยว่าแปลงนี้อย่ากินนะ แปลงนี้กินได้ แล้วคิดดูสิแล้วผักเหล่านั้นก็มาสู่ตลาดในที่สุด แล้วใครกิน ก็พวกเราๆ นี่หละกินเข้าไป แบบนี้ก็วิกฤตอีกเช่นกัน จะไปโทษใครได้ เพราะมันเป็นระบบกลไกการค้า ระบบกลไกการกระจายอาหารที่พาให้เกิดขึ้นเพราะทุกคนกินกันแบบไม่ดูฤดูกาล อยากกินอะไรก็จะได้กิน มีตอบสนองทุกอย่าง มะม่วง ทุเรียน ส้ม มีทั้งปี ผัก ผลไม้พื้นบ้านที่ออกตามฤดูกาลหายไปจากตลาดหมด เด็กๆ รุ่นใหม่ก็ไม่รู้จัก ซึ่งมันก็จะมีความหลากหลายของมันเองตามฤดูกาล แต่ว่ามันถูกเปลี่ยนแปลงการผลิตให้เป็นระบบอุตสาหกรรม มีให้กินกันได้ทั้งปี” และนั่นเป็นวิกฤตด้านอาหารในมุมมองของกินเปลี่ยนโลก เหตุแห่งปัญหาใครบ้างที่มีส่วนทำให้เกิดวิกฤตอาหาร กิ่งกรบอกว่าทั้งระบบตลาดและรัฐเองก็มีส่วนเพราะรัฐส่งเสริมให้มีการผลิตอาหารแบบอุตสาหกรรมมานานกว่า 20 ปี จนทำให้ผู้ผลิตรายย่อยอยู่ลำบาก “ที่บอกว่าลำบากก็คือ ต้องเปลี่ยนไปผลิตแบบอุตสาหกรรมในที่สุด ทั้งใส่ปุ๋ย ใส่ยาฆ่าแมลง ยาเร่งให้มันหัวใหญ่ ให้ฝักใหญ่ บางรายอยู่ไม่ได้ก็ล้มไป ตกไปอยู่ในวงจรของ ‘เกษตรพันธสัญญา’ เป็นหนี้พอมีลูกก็ไม่อยากให้ลูกต้องเป็นเกษตรกร จนเกิดปัญหา ‘วิกฤตเกษตรกรรายย่อย’ ไม่มีใครยอมทำเกษตร ไปเป็นแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรมแทน แล้วใครจะลงมาทำเกษตร ในเมื่อทำแล้วยิ่งมีหนี้ท่วมหัว นายทุนที่มีเงินก็จะใช้เกษตรพันธสัญญานี่ละ มาบังคับให้ชาวบ้านทำ” “เกษตรพันธสัญญา ก็คือ บริษัทจะนำปัจจัยการผลิตไปให้ชาวบ้าน ซึ่งจะมีทั้งพืชผัก และเนื้อสัตว์ แล้วก็มีสัญญาว่าจะรับซื้อในราคาเท่านั้น เท่านี้ และจะต้องขายให้บริษัทนั้นเพียงบริษัทเดียวเท่านั้น ซึ่งระบบพันธสัญญาที่เก่าแก่ที่สุดก็คืออ้อย ตามมาด้วยไก่ซีพี ไก่สหฟาร์ม ไก่ก้าวหน้า ส่วนหนึ่งทางบริษัทก็จะเลี้ยงเอง แต่อีกส่วนก็จะนำลูกไก่ อาหาร ฮอร์โมน ไปให้ชาวบ้านเลี้ยง โดยให้ชาวบ้านทำโรงเรือนเลี้ยงไว้รอ ถึงเวลาก็มาชั่งน้ำหนักขาย หักลบกลบหนี้กันไป ชาวบ้านก็เป็นเพียงคนรับจ้างเลี้ยง ซึ่งค่าจ้างก็คิดตามอัตราแลกเนื้อ ซึ่งจะเป็นสูตรคิดคำนวณออกมา ได้เท่าไรก็ให้ชาวบ้านไป ซึ่งไม่มีสิทธิต่อรอง แล้วก็จบกันไป เรียกได้ว่าเป็นแรงงานรับจ้างก็ได้ ที่สำคัญคือบริษัทไม่ต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินด้วยนะ แล้วความเสี่ยงก็อยู่กับชาวบ้าน ไก่ตายกี่ตัวก็จะถูกคิดคำนวณเป็นราคาไก่หมด การเป็นแรงงานแบบนี้ชาวบ้านจะมีความสุขหรือเปล่าไม่รู้นะ แต่ที่แน่ๆ ก็คือมันมีตลาดรองรับก็ยังดีกว่าทำมาแล้วไม่มีที่ขาย เพราะชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ที่กู้มาทำโรงเรือนนั่นล่ะ ก็ต้องทำต่อไป เพราะเขาไม่มีทางเลือก ภาคเหนือก็จะเป็นพวกพืชผลการเกษตรเช่น ฝักข้าวโพดอ่อน ข้าวโพดหวาน ถั่วลันเตา พอได้มาก็จะนำไปอัดกระป๋อง ส่งออกนอก จ่ายค่าจ้างให้เกษตรกรแล้วก็จบ มันเป็นมาแบบนี้จนมาถึงจุดนี้ แต่คนส่วนใหญ่อาจจะยังไม่รู้สึกว่าตกอยู่ในวิกฤต เพราะยังมีอาหารให้กินอยู่ แต่โครงการกินเปลี่ยนโลกมองว่าปัจจุบันนี้ พวกเราตกอยู่ในวิกฤตแล้ว วิกฤตด้านเลือก วิกฤตด้านคุณภาพของอาหาร วิกฤตด้านความปลอดภัย วิกฤตของผู้ผลิต และวิกฤตของผู้บริโภค ความวิกฤตของผู้บริโภคก็คือคนเรามีกำลังซื้อที่ต่างกันทำให้การเข้าถึงการเลือกซื้ออาหารที่มีคุณภาพหรือปริมาณที่ต่างกัน ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขึ้น เรื่องเหล่านี้ก็พยายามจะหาวิธีบอกกับทุกคนอยู่ จะเดินเข้าไปบอกว่า ‘เฮ้ย…นี่คุณกำลังกินขยะอยู่นะ’ นั่นก็ใช่ที่ จริงไหม” เธอกลั้วหัวเราะขณะหาวิธีบอกกับผู้คน “อาหารที่คุณกินมันสามารถเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ได้ และก็เชื่อมโยงกับผู้ผลิตรายย่อยด้วย เมื่อผู้ผลิตรายย่อยฟื้น การฟื้นฟูด้านระบบนิเวศน์ก็จะตามมา ไม่ต้องไปใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้และผลิตด้วยวิธีตามธรรมชาติ คืนความหลากหลาย คืนระบบการผลิต คืนระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมให้กับผู้บริโภค คืนสุขภาพสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเพราะมันเชื่อมโยงกันไปหมดนั่นเอง” กิน เปลี่ยนโลก ได้อย่างไรสารพัดวิกฤตที่กำลังเผชิญอยู่นี้ กิ่งกรกำหนดตัวแปรสำคัญที่จะช่วยกู้วิกฤตก็คือ ผู้บริโภค เพราะไม่ว่าจะอยากกินอะไร คนผลิตก็ทำออกมารองรับได้หมด และนอกจากผู้บริโภค ตัวแปรอีกตัวก็คือผู้ผลิตรายย่อย อย่างเกษตรกรต่างๆ เพราะเมื่อได้รับการส่งเสริมแล้วก็จะสามารถผลิตอาหารที่มีความหลากหลายตามมา ไม่ต้องพึ่งต้นทุนจากผู้ผลิตรายใหญ่ “อาหารที่คุณกินมันสามารถเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์ได้ และก็เชื่อมโยงกับผู้ผลิตรายย่อยด้วย เมื่อผู้ผลิตรายย่อยฟื้น การฟื้นฟูด้านระบบนิเวศน์ก็จะตามมา ไม่ต้องไปใช้ปุ๋ยเคมี หันมาใช้และผลิตด้วยวิธีตามธรรมชาติ คืนความหลากหลาย คืนระบบการผลิต คืนระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรมให้กับผู้บริโภค คืนสุขภาพสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยเพราะมันเชื่อมโยงกันไปหมดนั่นเอง” กิ่งกรอธิบายถึงความสัมพันธ์ที่ไม่อาจแยกออกได้ การทำงานของกินเปลี่ยนโลกนั้นมุ่งรณรงค์ไปที่ 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มผู้บริโภคและสื่อมวลชน ซึ่งขณะนี้พยายามติดต่อประสานงานกับสื่อโดยการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อให้สื่อช่วยขยายต่อ และเปิดรับอาสาสมัคร กินเปลี่ยนโลกผ่านเว็บไซต์ www.food4change.in.th ขึ้นมา “อาสาสมัครของเราจะได้ร่วมกันคิดและวางแผนในการรณรงค์และเผยแพร่แนวคิดให้เป็นที่รับรู้กับสังคมภายนอก โดยอาสาสมัครของเราก็จะเปิดรับคนทั่วไปที่สนใจกิจกรรมและแนวคิดแบบนี้ ซึ่งอาสาสมัครสามารถเริ่มต้นง่ายๆ ด้วยตัวคุณเอง เริ่มต้นจากการตั้งคำถาม สร้างความเปลี่ยนแปลงด้วยพฤติกรรมส่วนบุคคล แล้วก็ให้ไปคุยกับคุยกับคนรอบข้าง ทั้งที่บ้าน และที่ทำงาน เพื่อที่จะกระจายความคิดนี้ออกไป เป็นแรงกระเพื่อมเล็กๆ ที่ค่อยๆ รณรงค์และน่าจะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นได้ ส่วนกิจกรรมที่ทางกินเปลี่ยนโลกจัดก็คือการจัดสาธิตการทำหลายๆ อย่างด้วยตัวคุณเอง เช่นทำสบู่ ปลูกผักกินเอง กระแสก็น่าจะไปได้ เพราะคนเราเมื่อพูดถึงการกินก็จะนึกถึงสุขภาพของตัวเองเป็นหลัก แต่เราก็อยากให้คิดไปให้ไกลอีกนิดนึง อยากให้คิดถึงสิ่งแวดล้อมแล้วก็คิดถึงคนปลูกด้วย” เป้าหมายสูงสุดของโครงการกินเปลี่ยนโลก คือเพื่อรักษาฐานทรัพยากรอาหารไว้ให้ได้ นั่นก็คือที่ดินต้องอยู่ในมือของเกษตรกร ไม่เป็นที่ดินให้เช่าหรือของบริษัทใหญ่ มีน้ำ มีป่าไม้ สามารถรักษาฐานทรัพยากรชายฝั่งอย่างป่าชายเลนไว้ได้ และเธอเชื่อว่าผู้ที่จะรักษาทรัพยากรเหล่านี้ได้ก็คือผู้ผลิตรายย่อย ถ้าหากปล่อยให้ตกอยู่ในบรรษัทใหญ่ทุกอย่างก็จะไม่เหลือ เพราะฉะนั้นทั้งเกษตรกรรายย่อยและฐานทรัพยากรต้องอยู่คู่กัน “เราอยากเห็นว่าการเดินเข้าซูเปอร์มาเก็ตต่างประเทศ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง อยากเห็นคนหันไปจ่ายตลาดสด ไปสนับสนุนแผงผักเล็กๆ แต่ถ้าไม่มั่นใจว่าแผงผักจะปลอดภัยคุณก็ต้องบอกเขาให้หาของดีๆ มาให้คุณกิน ซึ่งแม่ค้าก็ไปหามาได้ ชาวบ้านทำได้ เราเชื่อว่าการตลาดจะส่งผลกระตุ้นระบบการผลิตให้กว้างขวางขึ้น แล้วฐานการผลิตเกษตรกรรมยั่งยืนก็จะขยายตัวไม่ใช่ไปทำมุมเล็กๆ ในห้างสรรพสินค้า ที่มีเพียงกลุ่มคนเล็กๆ เท่านั้นที่เข้าถึง ก็น่าจะเริ่มต้นที่อาสาสมัคร เริ่มที่ตัวเรา จะเริ่มได้ยังไง ง่ายนิดเดียวที่ตลาดสดใกล้บ้านคุณไงก็ไปดูว่ามีวันไหน มีผักอะไรขายบ้าง แม่ค้าเอาผักมาจากไหน แล้วก็ต้องเลือกกินให้เป็นต้องดูว่าผักไหนผักพื้นบ้าน ก็น่าจะเชื่อได้ว่าถูกดูแลมาแบบธรรมชาติมากหน่อย แล้วก็มาทำกับข้าวกินเองไม่ต้องบ่อยก็ได้อาทิตย์ละวัน ปรับชีวิตให้ช้าลงบ้างก็ได้ไม่ต้องให้มันรวดเร็วตลอดเวลาให้เวลากับการกินหน่อย ทำไมจะทำไม่ได้ เวลาคุณซื้อของอย่างซื้อกล้อง หาข้อมูลเช็คสเป็กอยู่นั่นล่ะแต่ว่าเวลาคุณหยิบอะไรเข้าปากเนี่ยคุณไม่เคยเช็คสเป็กของกินของคุณเลย ว่าสเป็กที่คุณอยากได้มันเป็นยังไง เวลาคุณซื้อของคุณเลือกได้แต่ว่าทุกวันนี้คุณซื้อของกิน คุณกลับเลือกไม่ได้ คุณกำหนดสเป็กการกินของคุณไม่ได้ นั่นล่ะเราจึงต้องเปลี่ยนพอเราเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราก็จะค่อยๆ เปลี่ยน แล้วก็จะเปลี่ยนสู่สังคมกว้างในที่สุด แต่อาจใช้เวลาสักหน่อย” ทำไมจะทำไม่ได้ เวลาคุณซื้อของอย่างซื้อกล้อง หาข้อมูลเช็คสเป็กอยู่นั่นล่ะแต่ว่าเวลาคุณหยิบอะไรเข้าปากเนี่ยคุณไม่เคยเช็คสเป็กของกินของคุณเลย ว่าสเป็กที่คุณอยากได้มันเป็นยังไง เวลาคุณซื้อของคุณเลือกได้แต่ว่าทุกวันนี้คุณซื้อของกิน คุณกลับเลือกไม่ได้ คุณกำหนดสเป็กการกินของคุณไม่ได้ นั่นล่ะเราจึงต้องเปลี่ยนพอเราเริ่มเปลี่ยนวิถีชีวิตของเราก็จะค่อยๆ เปลี่ยน แล้วก็จะเปลี่ยนสู่สังคมกว้างในที่สุด แต่อาจใช้เวลาสักหน่อย” กิ่งกรเชื่ออย่างนั้น
อ่านเพิ่มเติม >ทุกคนมีสิทธิชนิษฎา วิริยะประสาท สัมภาษณ์ / สุมาลี พะสิม ถ่ายภาพ – เรียบเรียง ทุกวันที่ 15 มีนาคมของทุกปี จะเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล (World Consumer Rights Day) และวันที่ 30 เมษายน ก็จะเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคไทย เพื่อต้อนรับวันสำคัญทั้งสองนี้ ฉลาดซื้อจึงไป “จับเข่าคุย” เรื่องขบวนการคุ้มครองผู้บริโภคของไทย กับ ดร.วิทยา กุลสมบูรณ์ ผู้จัดการแผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ(คคส.) ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยมานาน เพื่อทบทวนขบวนการผู้บริโภคในปี 2551 และการจัดตั้งวิทยาลัยผู้บริโภค โดยผู้บริโภค สถานการณ์ผู้บริโภคในช่วงปีที่ผ่านมาเป็นอย่างไรผมย้อนไปดูสถานการณ์เมื่อต้นปี 2551 รู้ไหมเรื่องอะไร เรื่องสวนสยาม ผมนั่งคิดดูแล้วมันก็ไม่ใช่ครั้งแรกนะ แต่มันก็ยังเกิดขึ้นอีก มีข่าวออกมาว่าจะปิดแต่สุดท้ายก็ยังเปิดอยู่ พอมากลางปีประเด็นก็จะอยู่ที่การต่อสู้เพื่อให้เกิดการเข้าถึงยาในประเทศไทย ปลายปีก็จะเป็นเรื่องของนมเมลามีนซึ่งเกิดขึ้นในประเทศจีน พอเราดูสถานการณ์ตรงนี้แล้วก็ต้องมาดูว่าผู้บริโภคเรามีทางเลือกไหม แต่พอให้นึกดูก็นึกไม่ออกว่าคืออะไร ผมก็มานึกว่าวันนี้ผมกินข้าวอยู่ ผมก็มีทางเลือก ดูหนังก็มีทางเลือก คือมันมีทางเลือกเยอะ และสิทธิที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือสิทธิที่จะเข้าถึงยา ซึ่งมันเป็นสิทธิที่พวกเราต่อสู้ในเรื่องนี้กันอย่างมาก (การบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร Compulsory Lisensing หรือ CL) และเห็นเป็นรูปธรรม กรณีสวนสยามและเมลามีน ผมคิดว่าเป็นเรื่องสิทธิที่การปกป้องความปลอดภัยยังมีปัญหาอยู่ ส่วนเรื่องผลผลิตที่ดีอย่างมีการผลิตถังน้ำเย็นที่ปลอดสารตะกั่ว การผลิตหม้อก๋วยเตี๋ยว หรือชุดทดสอบน้ำมันทอดซ้ำ ก็ถือว่าเป็นผลที่ดี ตัวที่มีปัญหาเมื่อเกิดปัญหาแล้วกลไกที่จะปกป้องความปลอดภัยยังไม่ดีพอ ซึ่งระบบการปกป้องความปลอดภัย ข้อมูลข่าวสาร การชดเชยความเสียหาย ก็ถือว่ามีกฎหมายที่ออกมาช่วยจัดการ ในความเห็นของผมคือมันจะวิ่งไปด้วยกัน ยกตัวอย่างก็คือ กฎหมายที่บ้านเราออกมาเพื่อผู้บริโภคที่ผ่านมาทั้ง พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคกับพ.ร.บ.ความรับต่อความเสียหายฯ ซึ่งทั้ง 2 ตัว จะช่วยชดเชยความเสียหายให้ผู้บริโภค ลดภาระการพิสูจน์ที่เดิมผู้บริโภคต้องไปพิสูจน์เองให้ศาลเห็นเมื่อจะฟ้องใคร กฎหมายสองตัวนี้ช่วยให้ผู้บริโภคไม่ต้องมีภาระเรื่องการพิสูจน์อีก ภาระจะกลับไปที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือผู้ผลิต คราวนี้ถ้าเกิดปัญหาผู้บริโภคก็ไปฟ้องศาล ไม่ต้องเสียค่าทนาย คือการชดเชยความเสียหายทำได้ง่ายขึ้น ส่วน พ.ร.บ.ความรับต่อความเสียหายฯ ซึ่งโดยเบื้องหลังแล้วกฎหมาย มุ่งที่จะป้องกันความปลอดภัยเป็นหลัก นั่นก็คือผู้ประกอบการก็มุ่งที่จะป้องกันตัวเองเช่นกัน มีการพัฒนาสินค้าตัวเองให้ดีขึ้น มีการทำประกัน จัดการระบบผลิตให้ดีขึ้น จะทำอะไรก็คิดถึงผู้บริโภค บางรายก็บอกว่าต้นทุนเขาต้องสูงขึ้น เมื่อกฎหมายตัวนี้ออกมา แต่มันก็เพื่อความปลอดภัยทั้งต่อตัวผู้บริโภคและตัวของบริษัทเอง ที่บอกว่าจะมีการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค อยากมีองค์การอิสระผู้บริโภค ก็ผลักดันกันเรื่อยมา จนปีนี้ 2552 ก็ได้เสนอกฎหมายตัวนี้เข้าไปอีกจะได้หรือเปล่าก็ค่อยว่ากันอีกที แต่ที่มีเกิดขึ้นก็คือขบวนการผู้บริโภค ที่เคยว่าอยากได้ศาลผู้บริโภค ตอนนี้ก็มีศาลผู้บริโภคจริงๆ แล้ว ส่วนจะมีการใช้กันจริงๆ หรือเปล่าก็มาว่ากันอีกที ทิศทางการพัฒนาระบบกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคไทยจะเป็นอย่างไรปี 2551 เราได้กฎหมายมา 2 ตัวคือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 23 สิงหาคม 2551 และ พ.ร.บ.ความรับต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 หรือ Product Liability (PL Law) มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 พอกฎหมาย 2 ตัวนี้ออกมา ก็มีการออกมาคัดค้านกัน และเป็นที่น่าสังเกตว่ากลุ่มที่ออกมาคัดค้านก็คือหมอ พวกหมอก็ตื่นตัวกันให้วุ่น เพราะเกรงว่าจะกระทบตัวเอง ถ้าหากจะมองคดีทางการแพทย์ ผมก็มองไม่เห็นเท่าไรนะ ปีหนึ่งมีแค่ 3 – 4 ราย แต่ก็ถูกยกขึ้นมาเป็นประเด็นกลายเป็นว่าผู้บริโภคฟ้องร้องหมอมากขึ้น ภาพเลยออกมาแบบนั้น อย่างกฎหมาย วิฯ ผู้บริโภค นอกจากผู้บริโภคจะฟ้องผู้ประกอบการแล้ว ผู้บริโภคเองก็ถูกฟ้องด้วยเช่นกัน ตามหลักคิดนั้นผมว่ากฎหมายนั้นดีนะ แต่หลักปฏิบัติยังไม่ค่อยดี ตั้งแต่ผู้บริโภคถูกฟ้อง อีกอย่างก็คือเพิ่งเป็นการเริ่มต้นยังไม่ตื่นตัวและยังไม่เข้าใจเรื่องกฎหมายมากนัก ยังกล้าๆ กลัวๆ กันอยู่ ก็ต้องรอการปรับตัวกันสักพัก ผมคิดว่ากฎหมายทั้ง 2 ตัวที่ออกมาถือว่าดีแล้วเพราะมันทำให้เกิดระบบ และถ้าหากมี องค์การอิสระผู้บริโภคเกิดขึ้นจริงอีกก็จะเป็นตัวเสริมให้ดียิ่งขึ้น เมื่อมองในเรื่องของพัฒนาการว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ก็ให้ดูหลักของอาจารย์ประเวศ วะสีในเรื่อง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา ภาควิชาการ เรายังไม่มีระบบที่เชื่อมร้อยกันไปได้ ยังกระจายกันอยู่ อย่างเช่น การดึงหน่วยงานต่างๆ เช่น สถาบันวิจัยโภชนาการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เข้ามาเพื่อดึงข้อมูลความรู้ออกมาใช้ มันก็ยังไม่ถึงที่สุด กลุ่มนักวิชาการก็ยังไม่เกิดกลุ่มและยังไม่มีการจัดระบบกันเอง ภาครัฐ ก็เริ่มที่จะเห็นถึงพลังผู้บริโภคบ้างแล้ว ก็เริ่มที่จะมีการพัฒนากลไกเกิดขึ้น แต่ภาครัฐก็ยังเป็นภาครัฐอยู่นั่นเอง ภาคผู้บริโภค ผมมองว่าขณะนี้กลุ่มผู้บริโภคเกิดความเคลื่อนไหวและเติบโตอย่างมาก เพราะมีการเติบโตจากประสบการณ์และการเรียนรู้จริงทั้งจากเวทีต่างๆ และจากเครือข่ายด้วยกันเอง เครือข่ายต่างๆ ของผู้บริโภคก็เติบโตอย่างมาก อย่างเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ถือว่ามีการเติบโตอย่างมาก คือเราทำงานกันแบบมีขบวนการการเคลื่อนไหว เรียนรู้จริงไม่ใช่จับคนมานั่งในห้องแล้วก็อัดข้อมูลเข้าไป ไม่ใช่…เราเรียนรู้จักประสบการณ์และการทำงาน ผมขอชมเลยนะว่า ขบวนการผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถือว่าค่อนข้างสำเร็จกลุ่มอื่นๆ ก็จับตามองว่ามีการเคลื่อนไหวเรื่องนี้ทำไมไม่จับเรื่องอาหารหรือเรื่องสุขภาพอื่นๆ แต่ก็สามารถพัฒนาจนมีเครือข่ายผู้บริโภคได้ในที่สุด ถ้ามองถึงพัฒนาการที่ผ่านมา ขณะนี้ก็ถือว่าดีขึ้นเยอะมีกลไกต่างๆ เกิดขึ้นเยอะมองย้อนไปตั้งแต่ปี 2547 ที่มีการจัดเวทีสภาผู้บริโภคขึ้นที่ ม.ธรรมศาสตร์ ที่บอกว่าจะมีการปฏิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค อยากมีองค์การอิสระผู้บริโภค ก็ผลักดันกันเรื่อยมา จนปีนี้ 2552 ก็ได้เสนอกฎหมายตัวนี้เข้าไปอีก จะได้หรือเปล่าก็ค่อยว่ากันอีกที แต่ที่มีเกิดขึ้นก็คือขบวนการผู้บริโภค ที่เคยว่าอยากได้ศาลผู้บริโภค ตอนนี้ก็มีศาลผู้บริโภคจริงๆ แล้ว ส่วนจะมีการใช้กันจริงๆ หรือเปล่าก็มาว่ากันอีกทีอยู่ที่การทำความเข้าใจและการนำไปใช้ เราจะเอาไปขยายอย่างไรนั่นก็เป็นสิ่งที่เราต้องทำ ว่าเราจะใช้วิธีการอย่างไร จะใช้วิธีการเดิมก็ได้ เราใช้ฉลาดซื้อ ใช้รายการโทรทัศน์ที่มูลนิธิทำอยู่ก็ได้นะ แล้วเรื่องที่จะมีวิทยาลัยผู้บริโภค การเคลื่อนเรื่องผู้บริโภคในสภาวิชาชีพเองก็มีการพูดคุยกันอยู่เหมือนกัน และขณะนี้สถาบันผู้เชี่ยวชาญอย่าง ด้านเด็ก ด้านรังสี ก็จะมีเยอะมาก แล้วก็มีวิทยาลัยเภสัชกรรมบำบัด ก็เป็นส่วนที่จะบำบัดดูแลเด็ก เราก็ไปสร้างวิทยาลัยคุ้มครองผู้บริโภคขึ้นมาบ้าง ระเบียบข้อบังคับทำเสร็จหมดแล้วนะ ก็รออยู่ ก็มีการยอมรับจากหลายเครือข่ายแต่มีปัญหากับแพทยสภาอย่างเดียว เราก็พยายามเลี่ยงๆ ถ้าหากว่ามีตรงนี้ออกมาจริงๆ ก็จะดีมาก ตอนนี้ที่มองอยู่ทั้งฝั่งสภาวิชาชีพและฝั่งผู้บริโภคก็คือ “ขาดคน” แต่เราก็มีกำลังคนที่มีคุณภาพอยู่ ทำอย่างไรเราถึงจะได้คนที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น จะต้องทำอย่างไร จะมีวิธีการทำวิทยาลัยผู้บริโภคอย่างไร จะใช้เวทีจัดประชุมวิชาการ มีเวทีพูดคุยกันอย่างไร อย่างตอนนี้เขาก็มีเยอะไปอย่างด้านการเมืองก็จะมีมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน สถาบันขวัญเมือง วิทยาลัยผู้บริโภคของเราก็น่าจะเกิดขึ้นได้ แต่รูปแบบเป็นอย่างไร ต้องมาคุยกันอีกที จะตั้งอยู่ที่ไหน หรือควรจะเป็นอย่างไร มันก็ยังเป็นฝันอยู่นะ ที่ต้องการทำแบบนี้ก็เพราะต้องการทรัพยากรบุคคลอย่างวันนี้มีเรื่องซานติก้า เรื่องสิทธิบัตรยา เรื่อง FTA นั่นก็เป็นบทเรียนได้เลยนะ แต่ละบทก็ว่ากันไป คือในช่วงชีวิต มันก็จะมีเหตุการณ์การเข้ามาให้เราเรียนรู้แต่ละบทไปเรื่อยๆ ทีนี้ละเราจะมีวิธีการอย่างไรที่จะหยิบเหตุการณ์เหล่านี้มาใช้อย่างไร ซึ่งในภาควิชาชีพทำง่ายเพราะมีสถาบันมีบุคคลอยู่แล้ว แต่ว่าภาคประชาชนจะเป็นอย่างไร ก็ต้องมาช่วยกันคิดว่าจะเป็นอย่างไร ส่วนเรื่ององค์การอิสระผู้บริโภคหากมีการเกิดขึ้นมาจริงๆ ก็สามารถนำมาไว้ในวิทยาลัยผู้บริโภคได้ ก่อนจะปิดการสัมภาษณ์ อ.วิทยา ตั้งข้อสังเกตว่า ถ้าหากองค์การอิสระผู้บริโภคขึ้นมาจริงๆ ก็คงต้องมาดูกันว่าจะเป็นอย่างไร ใครจะเข้าไปในส่วนบริหาร บุคลากรของเรามีพอไหม นั่นเป็นโจทย์ที่ คนทำงานผู้บริโภคอย่างฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายผู้บริโภค และส่วนที่ทำงานด้านผู้บริโภคต้องขบให้แตกกันต่อไป
อ่านเพิ่มเติม >ทุกคนมีสิทธิ สุมาลี พะสิม สัมภาษณ์ / ถ่ายภาพประกอบ ผมว่า...คนที่คิดที่จะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนสังคม หรือเพื่อสร้างบรรทัดฐานให้กับคนด้อยโอกาสยังมีน้อย อีกอย่างก็คือมันไม่ใช่ค่านิยมของคนในสังคมเราด้วย ถ้าคิดจะทำบุญทีก็เลือกไปทำบุญโดยการสงเคราะห์มากกว่า ไม่ค่อยมีใครคิดว่า การทำแบบผมนี่ก็เป็นการทำบุญอีกแบบหนึ่ง เมื่อคุณซื้อรถกับบริษัทไฟแนนซ์ พอผ่อนจนครบติดต่อขอโอนรถแต่กลับถูกปฏิเสธการโอน พร้อมทั้งบอกว่าคุณยังจ่ายไม่หมด ต้องจ่ายให้ครบก่อนทั้งที่คุณจ่ายครบไปแล้ว คุณจะทำอย่างไร… ทินกร ดาราสูรย์ เขาเลือกที่จะใช้กระบวนการทางกฎหมาย ตามสิทธิที่เขามี โดยการใช้ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2551 เป็นตัวสร้างให้เกิดบรรทัดฐานขึ้นในสังคมฟ้องเพื่อสร้างสิ่งดี ดี“ใครๆ ก็ไม่เห็นด้วยกับผมที่ฟ้องบริษัทไฟแนนซ์ เพราะเขามองว่าจะเป็นการเสียเวลาเปล่าๆ ไหนเรื่องจะกินเวลานานอีก กับเงินแค่หมื่นกว่าบาท แค่ผมยอมจ่าย ทางบริษัทก็จะทำเรื่องโอนรถให้ผมแล้ว แต่ผมทนไม่ได้เลยอยากจะสร้างบรรทัดฐานทางสังคมขึ้นมา” คุณทินกร เล่าถึงเหตุผลที่เขาตัดสินใจฟ้อง บริษัทไฟแนนซ์คู่กรณี คุณทินกรตกลงทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์กับบริษัทไฟแนนซ์คู่กรณี ไปเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2548 โดยตกลงจ่ายเงินเป็นงวด งวดละ4,823.36 บาท โดยไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มเป็น จำนวนทั้งหมด 36 งวด และจะชำระเงินทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน “หลังจากผมชำระเงินครบ 36 งวดแล้ว ก็ติดต่อขอโอนรถ แต่ทางบริษัทไม่ยอมโอนให้ เขาบอกว่าผมยังค้างเขาอยู่อีก 3 งวด เพราะทางบริษัทนำเงินค่างวดของผมที่ชำระล่าช้า ไปหักเป็นค่าปรับ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการทวงถามโดยไม่ได้คิดว่า เป็นค่างวดที่ชำระไป พอผมไปดูในสัญญาก็ไม่มีข้อความใดระบุว่าทำแบบนี้ได้ ซึ่งการจะหักค่างวดไปชำระเป็นค่าปรับนั้น ทางบริษัทก็ต้องมีหนังสือแจ้งไปถึงผมภายใน 7 วัน ซึ่งก็ไม่เห็นจะมีจดหมายทวงถามมา พอผมทวงถามไปทางบริษัทก็ตอบผมไม่ได้ ผมจึงให้เขาทำเรื่องโอนรถให้ผม แต่ทางบริษัทก็ยืนยันว่าต้องให้ผมจ่ายเงินจำนวน 14,511.79 ที่ระบุว่าผมค้างค่างวด 3 งวดก่อน จึงจะทำเรื่องโอนรถให้ ผมก็อ้าว แบบนี้ก็มีด้วย ผมก็หาข้อมูลว่าจะร้องเรียนกับหน่วยงานไหนได้บ้าง ตอนแรกโทรศัพท์ไปปรึกษาที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค แต่ก็ไม่ได้ร้องเรียนที่นั่น หลังจากนั้นก็โทรศัพท์มาปรึกษาที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค จนได้ยื่นฟ้องบริษัท ให้โอนรถให้ตามสัญญา” คุณทินกร เข้ายื่นเรื่องฟ้องศาลโดยฟ้องด้วยวาจาต่อศาลแพ่ง รัชดา ขอให้บริษัทโอนรถให้ เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551 หลังการยื่นฟ้องของคุณทินกร วันที่ 27 ตุลาคม 2551 ทางบริษัทดังกล่าวได้ยื่นฟ้องแย้งคุณทินกรกลับมา ซึ่งภายหลังคุณทินกรก็ได้ให้คำให้การแก้ฟ้องแย้งไปในวันที่ 31 ตุลาคม 2551 และขณะนี้คดีของคุณทินกร อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีของศาลแพ่ง และศาลได้นัดสืบอีกครั้งในวันที่ 5 มิถุนายน 2552 นี้ ความคืบหน้าเป็นอย่างไร ฉลาดซื้อ จะนำเสนอให้ท่านผู้อ่านทราบในภายหลัง ศาลไคฟง : ศาลผู้บริโภคการตัดสินใจใช้สิทธิของคุณทินกรครั้งนี้ มีกฎหมาย “วิผู้บริโภค” (พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค) เป็นตัวแปรหลักในการตัดสินใจ เพราะคุณทินกรมองว่ากฎหมายนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริโภค มาก ช่วยเพิ่มช่องทางการใช้สิทธิให้กับผู้บริโภค นั่นคือทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก ไม่ต้องเสียค่าทนาย ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้อง “ช่วงแรกๆ ดูศาลยังไม่ค่อยพร้อมนะครับ แต่ผมก็คิดว่าเป็นการดีที่มีกฎหมายแบบนี้ ตอนเข้าไปผมไปแบบตาสีตาสา เข้าไปก็ไปเขียนแบบฟอร์ม แล้วก็เล่าเรื่องต่างๆให้กับเจ้าหน้าที่ศาลฟัง เขาก็พิมพ์คำฟ้องให้เรา โดยเราไม่ต้องไปจ้างทนายให้มาเขียนคำฟ้องให้เรา การตัดสินใจฟ้องบริษัท ผมคิดไม่นาน พอเห็นช่องทางการใช้สิทธิ ก็ตัดสินใจได้ทันทีว่าจะฟ้อง แต่เมื่อเทียบผลทางด้านเศรษฐศาสตร์แล้ว ผลมันไม่คุ้มกันเลยนะ กับการที่เรายอมจ่ายเงินอีก 10,000 กว่าบาท และการที่เราต้องใช้เวลามาทำเรื่องฟ้อง เสียค่ารถมาศาล ยิ่งคนที่เขาทำงานเป็นเวลา อย่างคนที่ทำงานโรงงานแบบนี้หมดสิทธิเลยนะที่จะเสียเวลามาทำเรื่องแบบนี้ เพราะต้องทำเรื่องลางานมาดำเนินการเรื่อง ซึ่งก็อาจส่งผลกับงานที่ทำอยู่ได้ ถ้าถามว่าทำไมผมทำแบบนี้ ผมอยากสร้างบรรทัดฐาน คือผมมองว่าในสังคมนี้มีการเอาเปรียบทุกอย่าง ปลาใหญ่กินปลาเล็ก ผู้ประกอบการตั้งใจเอาเปรียบผู้บริโภคอยู่แล้ว อย่างโทรศัทพ์มือถือ เรื่อง 107 บาท ที่ผู้บริโภคถูกเรียกเก็บ ซึ่งตามกฎหมาย กทช.ระบุแล้วว่าจะเก็บกับผู้บริโภคไม่ได้ แต่เขาก็ยังเรียกเก็บ พอเราไม่ยอมจ่ายก็ตัดสัญญาณเรา คนทั่วไปก็เลือกที่จะตัดปัญหาด้วยการยอมจ่ายไป ระยะเว้นวรรคระหว่างรอศาลพิจารณาคดี“ช่วงที่รอศาลอยู่ รถก็ใช้อยู่นะครับ จะเก็บเอกสารที่เราฟ้องศาล ใบแจ้งความไว้ในรถ เผื่อทางบริษัทจะมายึดรถ แต่ผมก็มั่นใจนะว่าศาลจะให้ความยุติธรรมกับเรา เพราะถ้ามองในแง่ของสัญญาแล้ว ทางทนายอาสามูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ก็ให้ความเห็นว่าเข้าข่ายสัญญาไม่เป็นธรรม ซึ่งผมก็มั่นใจว่าศาลจะให้ความเป็นธรรมอยากบอกต่อการลุกขึ้นมาใช้สิทธิของคุณทินกร ถูกมองว่าเป็นเรื่องแปลกในสายตาของคนแวดล้อมของคุณทินกร “ผมมองว่าทุกวันนี้ คนที่คิดและทำแบบผมนี้มีน้อย บางคนคิดว่าผมบ้าไปแล้ว มีคนรอบตัวไม่เห็นด้วยเยอะ มองว่าเสียเวลา แค่เราจ่ายไปก็จบแล้ว แต่เราต้องมาวิ่งให้เสียเวลางาน เสียเงิน ไหนจะค่ารถ ค่าเสียเวลา ซึ่งมันไม่คุ้มกันแล้ว ผมว่าคนคิดแบบนี้เยอะ แต่คนที่คิดที่จะทำอะไรเพื่อเปลี่ยนสังคม หรือเพื่อสร้างบรรทัดฐานให้กับคนด้อยโอกาสยังมีน้อย อีกอย่างก็คือมันไม่ใช่ค่านิยมของคนในสังคมเราด้วย ถ้าคิดจะทำบุญทีก็เลือกไปทำบุญโดยการสงเคราะห์มากกว่า ไม่ค่อยมีใครคิดว่า การทำแบบผมนี่ก็เป็นการทำบุญอีกแบบหนึ่ง อย่างกรณีของผม ถ้าหากคดีเกิดชนะขึ้นมาคนที่ผ่อนรถยนต์ ผ่อนมอเตอร์ไซค์แล้วถูกปรับโน้นนี่ แล้วไม่รู้เรื่องอะไร ไม่กล้าท้วงติง ผมว่าก็มีเป็นแสนคนนะ ก็จะใช้คดีของผมเป็นบรรทัดฐานในการเรียกร้องสิทธิ จะช่วยเรื่องเงินได้เยอะทีเดียว พอผมมองตรงนี้ผมก็มีกำลังสู้ เพราะว่าผลไม่ใช่ได้แค่ผมคนเดียว”
อ่านเพิ่มเติม >