ฉบับที่ 217 คู่มือบริโภคศึกษา

15 มีนาคมของทุกปี ถือเป็น “วันสิทธิผู้บริโภคสากล ซึ่งในปีนี้มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรสมาชิกของ สหพันธ์ผู้บริโภคสากล (Consumers International) ร่วมกับเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ จัดสมัชชาผู้บริโภคประจำปี 2562 ขึ้นเมื่อวันที่ 14-15 มีนาคม ที่ผ่านมา โดยปีนี้เป็นการรณรงค์ต่อเนื่องจากปี 2561 ในประเด็นการสร้างความมั่นใจและความยุติธรรมแก่ผู้บริโภคในยุคดิจิทัล ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อผลิตภัณฑ์อัจฉริยะในยุคดิจิทัล “Trusted Smart Product” นั้น เป็นความจำเป็นสำหรับผู้บริโภคในปัจจุบัน โดยเฉพาะเยาวชนที่จะเป็นพลังที่สำคัญของผู้บริโภคในวันข้างหน้า ฉลาดซื้อฉบับนี้ขอพาไปรู้จักกับคู่มือบริโภคศึกษา คู่มือสำหรับผู้บริโภควัยเยาว์ ผ่านมุมมองของนักสิทธิผู้บริโภครุ่นใหม่          รศ.รุจน์ โกมลบุตร ประธานคณะทำงานคู่มือบริโภคศึกษา รองประธานคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน เล่าถึงความสำคัญและความจำเป็นของวิชาบริโภคศึกษาว่า เป็นกิจกรรมที่ริเริ่มขึ้นเพื่อส่งเสริมผู้บริโภคและมีความพยายามที่จะผลักดันเรื่องนี้เข้าไปสู่โรงเรียน โดยเริ่มจากการชวนเครือข่ายภาคประชาสังคมมาร่วมด้วยช่วยคิด ตั้งเป้าหมายว่าอยากจะเริ่มสอนในโรงเรียนก่อน จึงเริ่มทำร่างขึ้นมาประมาณ 16 หัวข้อ ต่อมาจึงชวนนักเรียนมาเข้าค่ายเป็นเวลา 3 วัน 2 คืนผ่านการทำกิจกรรม และนำมาสรุปผล หาจุดอ่อนจุดแข็งของร่างหลักสูตรนี้ เมื่อนำมาปรับให้เป็นหลักสูตรการสอนแล้วจึงนำร่องไปลองใช้สอนใน 7 โรงเรียน ซึ่งได้รับผลตอบรับที่ดีจากทั้งคุณครูและนักเรียน แต่อาจมีเรื่องที่คุณครูจะต้องเตรียมการสอนเพิ่มขึ้นอีก ส่วนนี้ก็นำคำติชมมาปรับปรุงแก้ไข และส่งให้โรงเรียนไปทดลองใช้จริงอีกครั้ง        “คล้ายๆ กับว่าเราทำงานผู้บริโภคในเชิงควบคุม ดูแลกำกับปรับปรุงนโยบายแบบนี้มันก็ทำแล้ว มันก็เหนื่อย เราก็ทำกับคนที่เป็นผู้ใหญ่แล้ว  ซึ่งก็ไม่ได้ผิดอะไร เพียงแต่ว่าฟังแล้วมันเหนื่อยจัง ผมก็รู้สึกว่าที่พวกเราช่วยกันคิด ก็คือเรื่องที่ทำจากตัวเยาวชนมาเลย ทำให้เขาเป็นผู้บริโภคที่ แข็งแรงสักวันเขาก็จะเป็นผู้ประกอบการ เป็นผู้ออกกฎระเบียบ  เป็นผู้ออกนโยบาย เป็นผู้กำกับ ดูแล เป็นอะไรแบบนี้ เขาก็จะมีเรื่องนี้เข้าไปอยู่ใความคิดของเขา  แล้วมันก็จะขยับได้ แต่มันไม่เร็วนะ มันก็ต้องนาน เพียงแต่เริ่มรู้สึกว่ามันจะเป็นทางในอนาคตแน่ๆ สักวันนึงมันก็จะออกดอกออกผลไง” การเรียนการสอนนี้จะพัฒนาต่อไปอย่างไร        ตอบแบบความจริงคือไม่รู้ ยังไม่ทราบแต่มีความหวัง จริงๆแล้วตอนที่ไปดูกับโรงเรียน ก็ชัดเจนว่า คุณครูก็ไม่ได้เห็นว่าเป็นเรื่องหนักหนาสำหรับเขา สังเกตเลยว่าบนเวที(วันที่ 14 มีนาคม) ฝากให้ทำอันโน้นทำอันนี้กัน แต่ผมรู้สึกว่าอันนี้เป็นสิ่งคุณครูรู้สึกว่าเป็นการรับฝากที่เขาไม่ได้รังเกียจอะไร แล้วก็อาจเป็นเพราะ เป็นเรื่องใกล้ตัว เป็นเรื่องที่ทุกคนประสบในชีวิตประจำวัน อาจเคยโดนโกงค่าโทรศัพท์ ค่าตั๋วเครื่องบิน รู้สึกว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนก็ไม่ขัดข้องที่จะสอน        เรื่องนี้มันก็เลยทำให้เป็นเรื่องมีความหวังว่า มันควรที่จะทำต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อยๆ เช่น มันควรทำให้ได้เรียนทุกปีไหม  ปีหนึ่งมีสองเทอมใช่ไหม ถ้าได้เรียนสักเทอมก็ยังดี  แต่ปัญหาตอนนี้คือ พวกเราคณะทำงานก็ต้องระดมหาทรัพยากรกัน ถ้าจะทำจริงก็แปลว่า ม.1 ต้องมีคู่มือหนึ่งเล่ม ม.2 ต้องมีหนึ่งเล่ม ม.3 ต้องมีหนึ่งเล่มจนถึง ม.6 เพราะว่าทุกปีต้องได้เรียนอะไรใหม่ๆ เป็นอันเดิมไม่ได้ แต่ตอนนี้เรามีแค่มัธยมต้น ซึ่งก็เอาคู่มือเดิมไปเรียนอีก อันนี้ก็เป็นความท้าทายของคณะทำงาน แล้วก็ภาคประชาสังคมจะว่ายังไงกันต่อ        ส่วนในเรื่องกลยุทธ์ ผมว่ากลยุทธ์ของเราคือ ใช้เครือข่าย เรามีเครือข่ายเกือบจะทุกจังหวัดแล้ว ณ ตอนนี้ หน้าที่เรา(คอบช.) คือทำหน้าที่เป็นส่วนกลางต้องสร้างแรงกระเพื่อม ทำให้เห็นว่านี่คืองานอย่างหนึ่ง การนำวิชาบริโภคศึกษานี้เข้าโรงเรียนคือ งาน ไม่ได้แปลว่าเรื่องรับร้องทุกข์ คืองาน มอนิเตอร์คืองาน การให้การศึกษา ก็คือ งาน  เช่นเดียวกัน ดังนั้นเดินเข้าไปในโรงเรียน  ในอำเภอในตำบล ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน หาคนช่วยทำงานเพิ่ม อันนี้ก็เรื่องของเครือข่ายว่ามีค่าตอบแทนอะไรไป ก็เหมือนทำงานออฟฟิศอันหนึ่งใช่ไหม รับเรื่องราวร้องทุกข์ก็ได้รายได้ เข้าโรงเรียนก็ได้รายได้ แล้วเราก็จะได้คนที่จะมาช่วยทำงาน ช่วยเราที่เป็นเด็กรุ่นใหม่ ที่เข้าใจประเด็นนี้ไปเรื่อยๆ        งานเรามีอันเดียว คือพาเรื่องนี้เข้าโรงเรียนแค่นั้นเอง และส่วนกลางก็อัปเดตคู่มือให้ทันสมัย มีให้ครบทุกชั้นปี อันนี้ก็เป็นงานใหม่ๆ ที่จะต้องทำอีกงานหนึ่งเลย ถ้าทำก็หัวโต แต่ควรต้องทำ สอนเด็กรุ่นใหม่เพื่อให้เด็กตระหนักถึงเรื่องที่จำเป็นต่อชีวิตเขาที่จะให้มีคุณภาพ แล้วเขาก็ขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ที่มีความกระตือรือร้นต่อเรื่องผู้บริโภคแบบนี้มันก็ช่วยได้ ทีนี้เวลาทำคู่มือแบบนี้ มองถึงเรื่องบูรณาการไหม ว่าทำไมมันไม่เป็นเล่มแบบนั้น ทำไมไม่บูรณาการแบบนี้ บูรณาการเป็นการเรียนรู้ที่น่าจะดีนะ  เพราะว่าจริงๆ มันไม่ได้จะให้ตั้งหน้าตั้งตาเรียนเป็นวิชาเดี่ยวๆ จะว่าไป อยู่กับวิชาเลขก็เจอ ไปอยู่กับวิชาภาษาอังกฤษก็เจอ  อยู่ภาษาไทยก็เจอเรื่องผู้บริโภค แต่วันนี้ เราในแง่ของการจัดการ เราจัดการแทบไม่ได้เลย เพราะเราไม่มีปัญญาไปตามคุณครูคณิตศาสตร์ว่าสอนให้เราหรือยัง คุณครูภาษาอังกฤษว่าสอนบทนี้ให้เราหรือยัง        เพราะฉะนั้น เราก็ทำวิธีที่เล่นท่าง่ายที่สุดคือ ทำให้เป็นหนึ่งวิชา แล้วให้คุณครูหนึ่งคน หรือกี่คนก็ไม่รู้ช่วยสอน  สอนให้ครบ 18 คาบ ตลอดหนึ่งเทอม แล้วเราตามไปดู ซึ่งเราจัดการง่ายสุด  แต่เมื่อกี้ที่บนเวทีบอกว่าเป็นการบูรณาการนี่ถือว่าเป็นสุดยอดเลยที่จะทำได้ แต่ว่าเราไม่มีความสามารถที่จะเอาไปขายให้คุณครูทุกคนเอาเข้าไปอยู่ในวิชาของท่าน แล้วสอนให้ด้วยนะ อย่าลืมสอนนะ แล้วเราก็ตามไปดูว่าสอนให้จริงหรือเปล่า แล้วก็ประเมินผลอีก อันนี้เรารับเงิน สสส.ใช่มั้ย เราก็ต้องสนใจเรื่องการประเมินผลว่าเราประเมินยังไง ซึ่งสอนเป็นหนึ่งเล่มเป็นหนึ่งวิชา ประเมินผลง่ายกว่าสำหรับเรา อันนี้คือท้ายที่สุดของชีวิตแต่ใส่ดอกจันทร์ ในความเป็นจริงคือ บูรณาการสำหรับกระทรวงศึกษาธิการไทย ก็ยังมีปัญหานะ เอาเข้าจริง คือมันสอนได้จริงหรือเปล่า ทำเสียสวยงาม         อาจารย์ดวงพร สมจันทร์ตา อาจารย์ผู้สอนวิชาบริโภคศึกษา โรงเรียนเสด็จวนชยางค์กูล จังหวัดลำปาง เป็นอีกหนึ่งท่านที่มาถ่ายทอดประสบการณ์การสอน        เดิมเป็นครูสอนวิชาวิทยาศาสตร์ ชีววิทยา สนใจเรื่องผู้บริโภคอยู่แล้ว เป็นเรื่องอาหารและสารอาหารที่เราสอนอยู่แล้ว เรื่องสารเคมี สารปนเปื้อนในอาหาร ที่เราสอนในบทนี้  ในบทเรื่องอาหารและสารอาหารตรงเลย เน้นเรื่องไขมัน  โรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราสอนเรื่องระบบย่อยอาหารด้วย มันจะมีพวกนี้เข้ามาเกี่ยงข้องด้วย ถ้าเราสอนให้เด็กตื่นรู้เรื่องนี้ เรื่องการบริโภค เรื่องการอ่านฉลาก มันก็จะช่วยเรื่องสุขภาพของเขาด้วย เราก็พยายามยกตัวอย่างที่เจอในปัจจุบันยกผลงานวิจัย  การสำรวจโรคต่างๆ ที่เกิดขึ้นและในโรงเรียนนี่คือการสอนจะมีไปเรื่อยๆ ค่ะ ก็ปรับเปลี่ยนไปตามเด็กในแต่ละรุ่น แต่ละปัญหาที่เกิดขึ้น โครงการนี้น่าสนใจ คือเด็กถ้าเราให้ความรู้เขาตั้งแต่เด็ก มันก็เหมือนปลูกฝัง แล้วก็ได้ใช้งานต่อไปได้เรื่อยๆ มันสำคัญยังไง ที่เลือกเด็กเป็นกลุ่มเป้าหมายในการเรียนรู้เรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค        จริงๆ ในการที่เราจะให้เด็ก  จะให้มันมีความยั่งยืนเราต้องมีการสร้างจิตสำนึก แล้วก็มีการสร้างความยั่งยืน คือ ด้วยความที่ตัวเด็กเเป็นเหมือนผ้าขาว คือถ้าเกิดเรามีการเรียนรู้แต่เด็กทำเป็นกิจวัตรประจำวัน หรือมีข้อมูลในการเรียกร้องสิทธิตั้งแต่เด็กๆ เนิ่นๆ มันทำให้เรามีความยั่งยืนในการจดจำ แล้วเด็กก็สามารถเอาบทเรียนที่เราสอนให้ไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต        ตั้งแต่เริ่มโครงการสอนมา ก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ เด็กมีความกล้า กล้าที่จะเรียกร้องสิทธิ เพราะว่าเดิมเด็กเขากลัวด้วย ก็จะมีการเรียนรู้ถึงสถานที่ หรือหน่วยงานที่ใช้เรียกร้องสิทธิ โดยบางครั้งเด็กเขาไม่รู้ว่าสิ่งที่เขาโดนอยู่นั้นเป็นเรื่องของการถูกละเมิด ต่อไปเด็กก็จะได้รู้ว่า อ้อแบบนี้ ครูหนูโดนละเมิดสิทธิ เดิมที่บอกว่า เด็กกลัว ไม่ใช่กลัวคนที่มาละเมิด แต่กลัวที่จะไม่ฟ้อง หมายถึงมีความกล้าที่จะฟ้องมากกว่า มีความกล้าที่จะปกป้องสิทธิตัวเองมากขึ้น จากเดิมที่คิดว่าเรื่องนี้เกี่ยวกับเราไหมไม่มีความมั่นใจ เหมือนเราจะโดนหลอกนะ เพราะเด็กหลายๆ คนก็เป็นอย่างนั้น ส่วนใหญ่ปัญหาการโดนละเมิดสิทธิของเด็กวัยนี้คืออะไร        ก็จะเป็นในเรื่องการซื้อของออนไลน์เป็นหลักเลย เด็กสมัยนี้ซื้อของเป็นแล้วนะคะ ม. 2 อย่าง เด็กผู้หญิงอาจจะซื้อเป็นเรื่องความสวยความงามของเขาก็โดนละเมิด ได้สินค้าไม่ตรงตามที่บอกไว้  เขาก็บอกว่าหนูจะไม่คุยกับร้านแล้ว หนูจะไม่เอาแล้ว  คือเด็กเขาก็จะมีความตระหนักมากขึ้น  ซึ่งเราเห็นก็โอเค         หรือเรื่องอื่นๆ ที่เห็นว่าได้ผลอีกอย่างคือ เด็กก็จะพูดในกลุ่มของเขาว่า ไปบอกแม่ก่อนว่าอย่าขึ้นรถโดยสารประจำทางที่ทำผิดนะ  เพราะมีกรณีหนึ่งที่เกิดกับเด็กคือ เขาถูกรถโดยสารประจำทางให้ลงก่อนถึงป้ายหรือปลายทางที่จะลง ก็รู้ว่าเดี๋ยวไปบอกแม่ก่อนไปฟ้องก่อน เด็กก็พูดในกลุ่มของเพื่อนๆ เขา ก็สอนเรื่องสิทธิ แต่ feedback ว่าพ่อแม่เขารู้ไหม ยังไม่ทราบจากเด็กเหมือนกันว่าเป็นอย่างไร มีการวางแผนการสอนอย่างไรในเทอมถัดไป        อันดับแรกเลยคือ จะเป็นการดูภูมิหลังของเด็กก่อนว่า เด็กปีนี้ที่เราเจอ  มีความคิดความอ่านประมาณไหน  เพราะว่าแต่ละปีไม่เหมือนกันแน่นอน  แล้วเราก็ปรับไปตามบริบทของนักเรียนในแต่ละห้อง  บางทีชั้นเดียวกันแต่คนละห้อง เรายังสอนไม่เหมือนกัน แต่เราก็ยังไม่ทิ้งสาระสำคัญที่มีในแต่ละบท  แต่เทคนิคการสอนมันต้องปรับเปลี่ยนไป  ก็อาจต้องศึกษาจากพฤติกรรมของนักเรียนก่อนจะมีการสอนในแต่ละห้อง  จากนั้นก็พยายามปรับบทเรียนโดยยังคงสาระสำคัญของบทเรียนนั้นๆ ไว้เนื้อหาในคู่มือมีการปรับเปลี่ยนบ้างไหม        เปลี่ยนบ้างค่ะ อย่างเช่นที่แนะนำไปไม่ว่าจะเป็นสิทธิ หรือการรักษาพยาบาลที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา กฎหมายที่มันเปลี่ยนไปตลอดเวลา  ซึ่งตอนนี้ก็เปลี่ยน ไม่รู้ว่าเปลี่ยนรัฐบาลอะไรจะเปลี่ยนอีก คุณครูผู้สอนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตลอดเวลาด้วย         อาจารย์พรศิริ เทียนอุดม จากโรงเรียนมักกะสันพิทยา กรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เดิมสอนพิมพ์ดีดไทยด้วยคอมพิวเตอร์ในหมวดวิชาการงานอาชีพ และเมื่อมีคนแนะนำคู่มือฯ นี้มาให้ศึกษาก็ลองมานั่งอ่านด้วยตัวเองและพยายามคิดตามว่าคนเขียนหลักสูตรนี้ขึ้น เขาเขียนขึ้นมาเพื่ออะไร เมื่อเราเริ่มรู้แนวคิดนั้น อีกทั้งก็คิดว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นกับการดำเนินชีวิต จึงเลือกนำคู่มือฯ นี้เข้ามาบูรณาการกับวิชาที่สอนอยู่ในตอนนั้นและเพื่อที่จะเปิดโลกทัศน์ให้กับนักเรียนด้วย เช่น จะสอนนักเรียนว่าขนมชิ้นหนึ่งไม่ใช่ดูแค่ราคาหรือสีสัน แต่จะให้ประเมินผลตามสภาพจริง รวมกับการนำเนื้อหามาปรับให้ทันสมัยมากขึ้น โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยด้วย เช่น เว็บไซต์คาฮูท (Kahoot) ซึ่งเป็นเกมการเรียนรู้ซึ่งประกอบด้วย คำถามปรนัย เช่น การตอบคำถาม การอภิปราย หรือการสำรวจ โดยคำถามจะแสดงที่จอหน้าคอมพิวเตอร์และให้นักเรียนตอบคำถามผ่านเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน ช่วยให้นักเรียนสนุกกับการเรียนได้มีปัญหาอะไรบ้างในการนำไปสอนจริงและผ่านไปได้อย่างไร        คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เพิ่งจะพ้นจากชั้นประถมมา ในบางบทเป็นเนื้อหาที่เข้าใจยาก เด็กจะไม่เข้าใจ เราต้องปรับเนื้อหาให้เหมาะสมกับนักเรียน ซึ่งก็จะปรับเป็นการทำกิจกรรมหรือสื่อที่น่าสนใจแทนการสอนแบบเน้นเนื้อหาหนักๆ นอกจากนี้จะเลือกสอนเฉพาะบทที่คิดว่าเขาจะสามารถเข้าใจได้ แต่หากบทไหนที่นักเรียนไม่เข้าใจ หรือไม่สามารถไปถึงจริงๆ ก็อาจจะตัดออก เพราะการพยายามบังคับ หรือสอนไปแบบนั้นอาจจะทำให้เขาเครียดและอาจจะไม่ชอบวิชานี้ได้        ส่วนคำแนะนำหรือการทำให้ยั่งยืน หรือเป็นที่แพร่หลายในโรงเรียนต่างๆ มากขึ้นนั้น โดยส่วนตัวมองว่าอาจจะไม่ต้องมีวิชาบริโภคศึกษาขึ้นเป็นหนึ่งวิชาก็ได้ แต่อาจจะนำเนื้อหาสาระจากวิชานี้ ที่เราอยากให้เด็กเรียนรู้มาบูรณาการกับวิชาต่างๆ ได้

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 216 ถ้านิสัยเราเปลี่ยน ผู้ผลิตเขาก็เปลี่ยน แต่จะทำยังไงให้ผู้บริโภคเปลี่ยน

        เมื่อวันที่ 9 เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่อง กําหนดอาหารที่ห้ามผลิต นําเข้า หรือจําหน่ายไขมันทรานส์ มีผลบังคับใช้ นับว่าเป็นเรื่องดีๆ สำหรับผู้บริโภคไทยเรื่องหนึ่ง ที่จะไม่มีการใช้น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจนบางส่วนในกระบวนการผลิตอาหารในประเทศไทยเราอีกต่อไป เรื่องราวเหล่านี้แม้จะถือว่าเป็นก้าวแรกของความสำเร็จเรื่องหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้สำเร็จในระยะเวลาอันสั้นเลย เพราะกว่าจะเดินทางมาถึงวันนี้ได้ผ่านการทำงานอย่างหนัก ทั้งในเรื่องการศึกษาข้อมูลและแรงผลักดันจากหลายส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และที่ลืมไม่ได้เลยคือ นักวิชาการด้านโภชนาการหลายๆ ท่าน โดยหนึ่งในนั้นคือ ศาสตราจารย์ ดร.วิสิฐ จะวะสิต อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล  ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารศึกษา ในคณะ กรรมการอาหารแห่งชาติ และ เป็นผู้คร่ำหวอดในวงการอาหาร ทั้งงานด้านวิจัย พัฒนาและผลักดันนโยบายเกี่ยวกับอาหารในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน  ฉลาดซื้อจึงถือโอกาสนี้พาไปฟังเรื่องราวการทำงานของท่านว่ามีความยาก ความสนุกอย่างไรกับงานด้านการเฝ้าระวังความปลอดภัยเกี่ยวกับอาหารของคนไทยนมโรงเรียน เหมือนง่ายแต่ไม่ง่าย        คำถามที่ว่าประสบการณ์การทำงานที่สร้างความหนักใจที่สุด คำตอบน่าจะเป็นเรื่องนมโรงเรียน งานวิจัยนี้ ได้ดำเนินการในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2541-2546  ถือว่ามีผลสำเร็จมาก เพราะการวิจัยชิ้นนี้ได้มองปัญหาในขณะนั้นอย่างตรงไปตรงมาที่สุด ในช่วงเวลานั้นประเทศไทยเรายังต้องนำเข้านมผงจากต่างประเทศเพราะมีราคาถูกกว่า เนื่องจากประเทศไทยเราไม่สามารถผลิตได้เพียงพอกับการบริโภคในประเทศ นอกจากนี้ ยังพบว่า นมกล่องยูเอชทีมีราคาสูง เนื่องจากมีต้นทุนจากค่ากล่องนมยูเอชทีเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ในการดำเนินการวิจัย ก็มีการเลือกใช้นมโรงเรียนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและค่าใช้จ่าย ผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ในโรงเรียนใหญ่ๆที่มีศักยภาพ  สามารถนำนมผงมาเตรียมเป็นนมโรงเรียน เพราะนมผงสมัยใหม่ละลายน้ำธรรมดาได้ง่าย ไม่เป็นภาระ ถ้าให้เด็กดื่มภายใน 30 นาที ก็ปลอดภัย ส่วนโรงเรียนที่อยู่ใกล้โรงงานผลิตนม ผลการวิจัยเสนอว่าขนส่งเป็นนมถังใหญ่ ซึ่งเหมือนกับพวกโรงเรียนฝรั่งใหญ่ๆ ที่เขาก็ใช้นมถังตักให้เด็ก แต่เพื่อป้องกันถังใส่นมสกปรก ก็แนะนำให้ใช้ถุงพลาสติกใบใหญ่ๆ มาใส่นมก่อนวางลงในถัง วันหนึ่งๆ โรงเรียนหนึ่งก็ใช้เพียง 3-4 ถุงเท่านั้น และถุงพลาสติกใบใหญ่ที่ใช้ใส่นมแล้ว ก็สามารถนำมาล้างแล้วทำเป็นเสื้อคลุมกันฝนให้เด็กๆได้ด้วย ไม่จำเป็นต้องใช้นมกล่องยูเอชที ซึ่งทำให้ต้นทุนนมโรงเรียนสูง เพราะเฉพาะค่ากล่องยังไม่รวมค่านม ก็ตกกล่องหนึ่งตั้ง 1.10 -1.20 บาทแล้ว  ต้นทุนนี้ควรนำมาใช้เป็นค่านมให้เด็กดีกว่า  นมกล่องยูเอชทีควรให้เฉพาะโรงเรียนที่ทุรกันดารจริงๆ เพราะขาดครู และไม่มีน้ำสะอาด แนวคิดนี้  ทีมวิจัยนำเสนอที่จังหวัดเชียงราย ทางจังหวัดตกลง เลยทดลองทำวิจัยทั้งจังหวัดเป็นเวลา 1 ปี  ช่วยแก้ปัญหาขยะกล่องนมล้นเมืองในขณะนั้น เพราะเดิมต้องใช้รถขยะเข้าขน โดยขนครั้งละ 3,000-4,000 กล่อง จึงต้องรอให้ได้จำนวนกล่องนมจนเต็มรถขยะแล้วค่อยขน กล่องนมจึงถูกทิ้งไว้ที่โรงเรียน เนื่องจากนมที่เหลือติดก้นกล่องบูดเน่าง่าย จึงส่งกลิ่นเหม็นไปหมด สร้างปัญหาให้โรงเรียน การเตรียมนมเอง จึงช่วยลดปัญหาดังกล่าว  โรงเรียนใหญ่ๆที่ทดลองใช้นมผง เราเตรียมนมผงแพคถุงละ 1 กิโลกรัม แล้วโรงเรียนไปเติมน้ำ โดยทางโรงเรียนได้ใช้เด็กนักเรียนชั้นประถมปีที่ 6 เป็นผู้เตรียมนมเลี้ยงน้องชั้นเล็ก และนักเรียนทุกคนก็หัดล้างแก้วใส่นมกันเอง จนโครงการเข้าที่ ส่งผลให้เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย โรงเรียนมีเงินค่านมโรงเรียนเหลือหัวละ 2 บาท จากที่ขณะนั้นรัฐให้หัวละ 5 บาท เลยสามารถทำการวิจัยโครงการนมโรงเรียนในช่วงปิดเทอมได้อีก ซึ่งก็ได้เห็นผลสำเร็จ เพราะช่วยให้เด็กๆ ได้มีนมดื่มในช่วงปิดเทอม ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพเด็กๆ อย่างไรก็ตาม โครงการนี้แม้จะได้ผลสำเร็จ และผู้ให้ทุนคือ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มอบรางวัล 1 ใน 10 การวิจัยที่มีผลงานวิจัยยอดเยี่ยม การวิจัยดังกล่าว ก็จำเป็นต้องหยุด เพราะผลการวิจัยกระทบถึงผลประโยชน์ของผู้อื่น/หน่วยงานอื่น ส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินการต่อได้         ตอนเริ่มโครงการ มันดูขุ่นมัวเหมือนอยู่ในน้ำขุ่นๆ มองไม่เห็นอะไรเป็นอะไร แต่ก่อนปิดโครงการ หลังจากเราได้ทำงานร่วมกับทุกฝ่ายจนเกิดแนวร่วมที่เห็นประโยชน์จริงๆ ทั้งเกษตรกร โรงนม โรงเรียนและแม้แต่จังหวัด เมื่อทุกอย่างแจ่มชัดขึ้น เหมือนกับน้ำที่ขุ่นเกิดการตกตะกอน  บทเรียนในครั้งนั้น แสดงให้เห็นว่าเมื่อเราทำงานด้วยกัน คลุกคลีกัน เปิดใจกัน เราก็สามารถตกตะกอนปัญหา ช่วยกันกรองมันออกไป เราจะเจอว่าตะกอนที่ก่อปัญหาอย่างจงใจ มันไม่ได้มีเยอะอย่างที่คิดผูกมิตรดีกว่าสร้างศัตรู        ในอดีตที่ผ่านมา สังคมไทย นักวิชาการและผู้ผลิตสินค้าซึ่งเป็นภาคเอกชน จะไม่ทำงานร่วมกัน หากนักวิชาการไปทำงานให้ภาคเอกชน จะถูกมองในแง่ลบ ดังนั้น เมื่อผมไปเชิญภาคเอกชนมาร่วมทำโครงการฉลากทางเลือก(Healthier Choice Logo ) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์โภชนาการ ทางเลือกสุขภาพ หลายคนมองว่าผมไปทำดี เป็นมิตรกับภาคเอกชนมากเกินไปหรือเปล่า แต่จริงๆ เวลาเราจะทำอะไรสักอย่าง เราสงสัยเขา เขาก็สงสัยเรา ปัญหาก็จะเกิดน้อยลงหรือไม่เกิดเลย ถ้าเราได้พูดจาอธิบายและรับฟังซึ่งกันและกัน การทำงานในโครงการ Healthier Logo กรรมการบางท่านก็เครียดเรื่องการทำงานร่วมกับเอกชน เนื่องจากเกรงว่าจะโดนคนอื่นมองไม่ดี มีการเอื้อประโยชน์กัน ก็เรียนท่านว่าประเด็นหลักๆ มันก็มีสองทาง ท่านจะมองเรื่องเดียวกันให้เป็นลบหรือบวก        ถ้าเรามองลบ เราต้องหาคนรับผิดชอบและลงโทษผู้ที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งก็คงจะมีหลากหลายไปหมด เพราะอาหารที่เมืองไทยส่วนใหญ่เป็นปัจจัยเสี่ยงกับโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ เพราะอาหารส่วนใหญ่มีน้ำตาลสูง โซเดียมสูง และไขมันสูง คนที่จะถูกให้รับผิดชอบก็ต้องเป็นคนขายน้ำตาล คนขายของเค็ม คนขายของมัน  คนปรุงและขายอาหาร คนผลิตอาหาร อุตสาหกรรมอาหาร  สมัยก่อนคนขายวัตถุดิบที่หวาน มัน เค็ม ก็พยายามผลิตมากๆ เพื่อลดต้นทุนและตอบสนองความต้องการความขาดแคลนของผู้บริโภค  พอเศรษฐกิจดีขึ้น ราคายังถูกลงอีก คนก็หาซื้อหากินได้มากขึ้น แถมมีตัวช่วยลดกิจกรรมทางกายลง คนกลุ่มหนึ่งก็พอใจว่าราคาอาหารไม่แพงดี อีกกลุ่มก็โวยวายว่าปล่อยมายังไงให้เต็มตลาด นักวิชาการก็เรียกร้องรัฐว่า หากยังปล่อยคนไทยไว้อย่างนี้ ประเทศต้องวิบัติแน่  ถ้าถามคนขายอาหาร คนขายก็คงอยากขายอาหารที่ดี มีผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค เขาก็คงอยากเปลี่ยนสูตร แต่เปลี่ยนแล้วก็กลัวขายไม่ได้ ถ้าเขาขายไม่ได้หรือได้น้อยลง เราก็ผิดด้วยที่ไม่ได้ให้การศึกษากับผู้บริโภค เช่น เราตั้งเกณฑ์ว่า โซเดียมในบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปของอุตสาหกรรม 1 ซองต้องมีโซเดียมไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัม แต่ คนทั่วไปกินบะหมี่ ก๋วยเตี๋ยวที่ขายอยู่ทั่วไปกินโดยที่ยังไม่ได้ปรุงก็มีโซเดียมอยู่ที่ชามละ 1,500 - 2,000 มิลลิกรัมแล้ว  แถมก๋วยเตี๋ยวเป็ดบางเจ้าก็มีโซเดียมสูงถึง 4,000 – 5,000 มิลลิกรัม “ถ้านิสัยเราเปลี่ยน ผู้ผลิตมันก็เปลี่ยน แต่เราจะทำยังไงให้ผู้บริโภคเปลี่ยน” ถึงได้มีแนวคิดว่า จำเป็นต้องทำควบคู่กันไป เพราะถ้าไปกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขึ้นมาแล้วไม่ทำอะไรมันก็จบไม่มีประโยชน์ นักวิชาการอยู่ตรงกลาง กลุ่มอุตสาหกรรมก็ว่าเรา กลุ่มผู้บริโภคก็บ่นเรา ทั้งสองฝ่ายก็รอว่าใครจะเริ่มเปลี่ยนก่อน ถ้าจะดูกันให้ลึกซึ้งจริงๆ การเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคเป็นเรื่องที่ยากมากมีความเฉพาะตัวตน สังคมและวัฒนธรรมสูงมาก ภาครัฐต้องร่วมมือกัน ทั้งงานส่งเสริม และการบังคับใช้กฎหมาย        การที่เราได้ทำงานในโครงการ Healthier logo ที่เรามุ่งเปลี่ยนผลิตภัณฑ์อาหารอุตสาหกรรมและนิสัยผู้บริโภคให้ลดหวาน มัน เค็ม ยังสร้างประสบการณ์ที่น่าสนใจ คือมักเจอการตีความที่เลยเถิดของผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์ที่ได้เครื่องหมายนี้ว่า ผลิตภัณฑ์ดีในเรื่องอื่นด้วย มิใช่น้ำตาลต่ำ โซเดียมต่ำหรือไขมันต่ำ การสร้างความเข้าใจในส่วนนี้ต้องอาศัยทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาคเอกชน ซึ่งพบว่าการเจรจาและขอร้องกันโดยตรง ได้รับความร่วมมือกว่าที่ไปวางมาตรการอื่นในเชิงลบ        จากประสบการณ์ที่ผ่านมา การทำงานร่วมกับภาครัฐ เช่น กระทรวงสาธารณสุข ที่มีทั้งหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ความรู้และหน่วยงานที่ออกกฏหมายปราบปราม หน่วยงานที่ส่งเสริมให้ความรู้ก็ว่าอีกหน่วยงานว่าไม่ยอมออกกฏหมายมาจัดการภาคเอกชน ส่วนหน่วยงานที่ออกกฏหมายปราบปรามก็ต้องรับหน้าภาคเอกชนที่กังวลกับการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลถึงการยอมรับของผู้บริโภค นั่นหมายถึง ยอดจำหน่ายหรือรายได้ของภาคเอกชน ทั้งที่การทำงานมันต้องขนานกันอย่างมีประสิทธิภาพและเสริมซึ่งกันและกัน  เมื่อเริ่มทำโครงการ Healthier Logo นี้ เราขอหน่วยงานที่ออกกฏหมายปราบปรามมาช่วย เพื่อให้ Logo มีหน่วยงานรัฐรองรับ ส่วนเกณฑ์ด้านโภชนาการต้องเป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมให้ความรู้ร่วมดำเนินการ แต่เนื่องจากงานเกี่ยวกับภาคเอกชน ทำให้เกิดความไม่สนิทใจกัน การไม่สนิทใจกัน ทำให้ไม่รู้ถึงความคาดหวังของอีกฝ่าย เกิดความด้อยประสิทธิภาพในการแก้ปัญหา ทั้งที่ภาครัฐต้องชี้นำสังคมให้มีศักยภาพในการพึ่งตนเองด้านสุขภาพ เช่น การให้ความรู้ที่เข้าใจง่ายและปฏิบัติได้จริง การสร้างฐานข้อมูลด้านคุณค่าโภชนาการที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันสมัย เท่าทันปัญหาโภชนาการที่เป็นพลวัตสำหรับทุกภาคส่วนต่างๆ สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุงคุณค่าโภชนาการของอาหาร แต่ก็ยังไม่เกิดขึ้นเท่าที่ควร เพราะไปเสียเวลาในการหวาดระแวงกัน ทำงานไม่ประสานกัน ไม่พูดคุยกันอย่างจริงใจ ถ้าร่วมมองปัญหาร่วมกัน การแก้ปัญหาเชิงระบบและพหุภาคีจะเกิดขึ้นพฤติกรรมติดหวานมันเค็มไม่อยากเชื่อก็ต้องเชื่อ สาธารณสุขเชิงป้องกันหรือแม้แต่รักษาก็ต้องการโภชนาการที่เหมาะสมทั้งสิ้น พฤติกรรมการบริโภคจึงมีความสำคัญมาก ประสบการณ์เรื่องนี้มีมากมาย ที่ยกตัวอย่างคือเจลลี่ที่สถาบันโภชนาการพัฒนาขึ้นสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการกลืน โดยมีสารอาหารครบ กลืนง่าย รสชาติยอมรับได้ ราคาไม่แพง เราได้พบชาวบ้านขี่มอเตอร์ไซต์รับจ้าง เมียเขาบอกว่าสามีเป็นมะเร็งกินอะไรไม่ได้ หมดแรงนอนอยู่กับบ้าน พอให้กินเจลลี่ที่มีสารอาหารครบ อีก 2-3 วัน มีแรงขี่มอเตอร์ไซต์รับจ้างต่อได้ มันมีแรง นี่คือความมหัศจรรย์ของโภชนาการที่ถูกตามหลักวิชาการ แต่ทำอย่างไรให้ถึงประชาชนได้ เป็นโจทย์ที่สำคัญยิ่งขอยกอีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ในการประชุมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในชุมชนแห่งหนึ่ง มีคุณป้าคนหนึ่งขึ้นเวทีกับลูกสาว ลูกสาวบอกว่าเขาเกือบเสียคุณแม่ของเขาไปเมื่อปีที่แล้ว คุณแม่ป่วยเป็น NCDs แทบทุกโรค  เธอพยายามให้แม่งดอาหารหวาน มัน เค็มทุกอย่าง แม่ทนไม่ไหว ก็เลยด่าลูกเป็นประจำว่า “มึงอกตัญญู ตอนที่กูเลี้ยงมึงมามึงอยากกินอะไรกูก็ให้มึงกิน พอกูจะแ_กอะไรมึงก็ห้ามกูทุกอย่าง” ลูกสาวทนไม่ไหวไปบอกหมอ หมอก็แนะนำว่า “ไม่เป็นไร คุณป้าอายุขนาดนี้ ให้เปลี่ยนพฤติกรรมคงยากแล้ว ให้แกกินไปตามสบาย เราก็ให้กินยารักษาเอา อีกสักปีนึง ก็ต้องล้างไตไป ให้แกมีความสุขเถอะ” แต่ลูกสาวก็รับไม่ได้ วันหนึ่งเธอจึงตัดสินใจคุยกับแม่ว่า “ แม่อยากกินอะไรเดี๋ยวจะไม่ขัดใจแล้ว หนูจะกตัญญู หากแม่ป่วย หนูจะพาไปรักษาอย่างดี หมอดีๆ มีเยอะแยะ หนูยอมเสียตังค์ หากแม่ตายหนูจัดงานให้สมเกียรติ แต่ตอนที่แม่นอนฟอกไต เข็มที่ทิ่มเข้าตัวแม่เองนะ หนูรับให้ไม่ได้ อันอื่นหนูช่วยได้หมด แล้วช่วงที่แม่ทรมานก่อนตายแม่รับเองนะ หนูช่วยไม่ได้จริงๆ” จากที่ฟังลูกสาวพูด  แม่เลยคิดได้ แล้วปรับพฤติกรรมการกินใหม่ ตามที่ลูกสาวแนะนำ คุณป้าบอกว่าลูกสั่งอะไรก็ต้องกินตาม อันที่จริง ลูกสาวก็ไม่ได้มีความรู้อะไรซับซ้อน ก็ลดหวานมันเค็มธรรมดา ให้กินผักผลไม้เยอะขึ้น คุณป้าบอกว่าภายใน 6 เดือน ไปหาหมอ ก็พบว่าอาการดีขึ้นมาก โดยไม่ต้องฟอกไตแล้ว และงดยาได้ในที่สุด คุณป้าเล่าไปก็ร้องไห้ไป ดีใจที่ร่างกายแข็งแรงขึ้น ชีวิตยืนยาวด้วยคุณภาพชีวิตที่ดี เราจะเห็นความมหัศจรรย์ของโภชนาการและความซับซ้อนของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมนุษย์ แต่ละบ้าน แต่ละคน ต้องใช้เทคนิคแตกต่างกันไป บางบ้านก็ปล่อยคือตายไป แต่บางบ้านที่เขาชนะใจตัวเองได้ก็ดีขึ้น มันเป็นเคล็ดลับที่ไม่เหมือนกัน ที่สำคัญการมีความตระหนักรู้ทางโภชนาการจำเป็นมาก         ประเด็นเรื่องไขมันทรานส์                           ไขมันทรานส์จะเกิดขึ้นในไขมันไม่อิ่มตัวเท่านั้น เพราะฉะนั้น ไขมันทรานส์คือไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีการจับไฮโดรเจนแบบทรานส์ ในธรรมชาติ เมื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องกินไขมันไม่อิ่มตัวที่มีอยู่ในอาหารเข้าไป ไขมันไม่อิ่มตัวเหล่านั้นก็เปลี่ยนไขมันทรานส์ นั่นคือไขมันทรานส์ชนิดที่ 1 ที่พบได้ในธรรมชาติ ส่วนไขมันทรานส์ชนิดที่สอง พบในน้ำมันพืชที่เราใช้ทำกับข้าว ซึ่งเกิดขึ้นในกระบวนการทำให้บริสุทธิ์ ในขั้นตอนขจัดกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ออก เช่น น้ำมันถั่วเหลืองที่สกัดได้เริ่มต้น จะมีสารที่ไม่บริสุทธิ์ออกมาจำนวนมากจากเมล็ดถั่วเหลือง วิธีกำจัดสารไม่บริสุทธิ์ก็ต้องผ่านขั้นตอนการตกตะกอนต่างๆมากมาย และสุดท้ายก็ต้องขจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์ ด้วยการให้ความร้อน จนกลิ่นเหล่านี้ระเหยไป ในน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ เราก็ต้องทำเช่นกัน กระบวนการนี้เรียกว่ากระบวนการ deodorization ซึ่งใช้ความร้อน 127-130 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานกว่า 1 ชั่วโมง ขั้นตอนนี้ทำให้ไขมันไม่อิ่มตัวส่วนหนึ่งเปลี่ยนเป็นไขมันทรานส์ แต่เปลี่ยนน้อยมาก ดังนั้น น้ำมันทั่วๆ ไปที่เราใช้ทำอาหารที่บ้าน เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ที่ผ่านขั้นตอนการดึงกลิ่นออกไปแล้ว ก็จะมีไขมันทรานส์อยู่ประมาณ 0.8 0 – 2%( ไม่เกินนี้) เพราะฉะนั้นการที่เราบอกว่าห้ามกิน ไขมันทรานส์คงเป็นไปไม่ได้ เพราะมันยังแทรกซึมในอาหารในวัฒนธรรมการกินทั่วไป แต่ที่น่าห่วง คือ พวกไขมันทรานส์ที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ ที่ตอนนี้มีกฎหมายห้ามใช้กรรมวิธีนี้แล้ว        หลังกฎหมายมีผลบังคับ ทำไมยังพบว่าอาหารบางประเภทมีไขมันทรานส์สูง เพราะอะไร                หากเป็นไขมันทรานส์ธรรมชาติเราก็ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่ผิดกฎหมาย แต่ไขมันทรานส์สังเคราะห์ หรือ PHO (Partially Hydrogenated Oils) ต้องควบคุม จากหลักฐานประกอบเพื่อยืนยัน ได้แก่ หนึ่ง คือ เอกสารรับรองจากโรงงานผลิตน้ำมัน (certificate of analysis)ที่ระบุว่าไม่ใช่หรือไม่ได้ใช้ PHO ในการผลิต สอง คือ ปริมาณกรดไขมันทรานส์ในอาหาร  และ สาม คือปริมาณไขมันและโปรไฟล์กรดไขมันในอาหาร ถ้ามีไขมันทรานส์ มากกว่า 20 % ในน้ำมันทั้งหมด ก็เป็น PHO ชัวร์แน่นอน บางทีอาจสูงถึง 60 % เลย  ถ้าในน้ำมันมีไม่เกิน 2 % ไม่ใช่ PHO อย่างแน่นอน นอกจากนี้ เราก็สามารถดูได้จากข้อมูลพื้นฐาน ถ้าไม่ใช้ PHO ส่วนใหญ่จะพบไขมันทรานส์ไม่เกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค โดย 0.5 กรัมนี้ถือว่ามากแล้ว ถ้าพบว่าเกิน 0.5 กรัม ต้องดูหลักฐานอื่นประกอบด้วย                หากพบว่าอาหารชนิดใดมีกรดไขมันทรานส์สูงเกิน 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ต้องพิจารณาปริมาณไขมันและโปรไฟล์ของกรดไขมันเพิ่มเติม บางทีคนขายใส่เนยเยอะมาก ไขมันทรานส์ก็จะสูงตาม แต่เนยธรรมชาติก็มีไขมันทรานส์เพียง 5% ซึ่งต่างจาก PHO ที่มีไขมันทรานส์มากกว่า 20% ก็จะประมาณได้ว่าควรมีไขมันทรานส์เท่าไร ที่มาจากเนยจริง นอกจากนี้ การดูโปรไฟล์ของกรดไขมันว่าเป็นชนิดไหนก็เป็นเครื่องยืนยัน เพราะไขมันทรานส์ในเนยจะมีเพียงชนิดเดียวที่สูงเด่น หลังจากนั้น ก็ควรไปสอบสวนเพื่อยืนยันที่ร้านหรือโรงงานด้วย (เรื่องนี้เป็นหน้าที่ของหน่วยงานรัฐที่ต้องเข้าไปทำ)            ถ้าเป็นทรานส์ธรรมชาติไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจไม่เหมาะที่เราจะบริโภคใช่ไหม                    พูดยากมาก เพราะนักวิชาการยังมองเรื่องนี้ไม่เหมือนกัน กลุ่มหนึ่งบอกว่าจากธรรมชาติไม่เป็นอะไร แต่อีกกลุ่มหนึ่งบอกว่ามันก็คือทรานส์ (ก็อันตรายสิ) แม้แต่ในการประชุมวิชาการขององค์การอนามัยโลก( WHOX ก็ยังมีการถกเถียงกัน  ดังนั้น ความเสี่ยงของไขมันทรานส์ต่อสุขภาพ เราคงต้องดูตามปริมาณที่บริโภค(หน่วยบริโภค) มิใช่ต่อร้อย เพราะเป็นประเด็นความปลอดภัย ตามเกณฑ์องค์การอนามัยโลก ที่ระบุว่าในหนึ่งวัน ไม่ควรกินไขมันทรานส์เกิน 2.2 กรัม ถ้าหารด้วย 5 มื้อ ก็คือ 0.4 – 0.5 กรัมต่อมื้อ องค์การอนามัยโลกบอกว่าไม่ควรจะกินเกินนี้  จากการสำรวจดูทั่วไปๆ พบที่เกินกว่า 0.5 กรัมต่อมื้อ มีน้อยมาก ส่วนที่เจอเกิน 0.5 มันไม่มีกฎหมายกำหนด                   เนื่องจากกฎหมายห้าม PHO ไม่ได้ห้าม trans fat เพราะฉะนั้นการดูว่าผิดกฎหมายหรือเปล่าเราต้องพิสูจน์ก่อนว่าเป็น PHO หรือเปล่า ซึ่งวิธีการที่ง่ายที่สุดก็คือ ต้องเอาตัวอย่างที่พบว่ามีไขมันทรานส์เกินกว่า 0.5 กรัมต่อหน่วยบริโภค ส่งไปวิเคราะห์ตามแนวทางที่กล่าวไว้ข้างต้น        นอกจากเรื่องไขมันทรานส์ อาจารย์คิดว่าเรื่องไหนจำเป็นและเร่งด่วนขณะนี้                 เรื่องยาพืชและยาสัตว์ เพราะเราต้องการให้คนกินผักผลไม้เยอะๆ เราก็ไม่อยากให้การปนเปื้อนสารเคมีในเนื้อสัตว์ทั้งหลาย ปัจจุบันนี้คนไทยกินเนื้อสัตว์มากอยู่แล้ว แต่ผักผลไม้คนไทยยังกินน้อย จึงเราก็อยากให้คนไทยกินผักและผลไม้ให้มากขึ้นถึงวันละ 400 กรัม เพราะฉะนั้น จึงต้องมีระบบการดูแลที่ดี ทั้งผักผลไม้นำเข้าและที่ปลูกเองในบ้านเรา เพื่อให้ได้มาตรฐานมากขึ้น และสร้างความมั่นใจในการกิน คือ ต้องดูตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ต้องให้การศึกษากับเกษตรกร ให้เกษตรกรมีความรู้ และเกิดรายได้ที่เพียงพอ ขณะเดียวกัน ต้องสร้างปลายทาง คือ ผู้บริโภคที่มีพลังในการต่อรองเพื่อให้ได้อาหารคุณภาพและปลอดภัย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 215 ค่ารักษาพยาบาลแพง? ใครรับผิดชอบ

            เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 ที่ผ่านมาคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน(คอบช.) ในฐานะเครือข่ายผู้บริโภค กล่าวชื่นชมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่เดินหน้าทำการกำกับราคาค่ารักษาพยาบาล ทั้งที่ถูกกดดันอย่างหนักจากกลุ่มผู้เสียผลประโยชน์ และเสนอเร่งตั้งคณะอนุกรรมการที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายในสัดส่วนที่เป็นธรรม พร้อมเตรียมรายชื่อตัวแทนจากฝั่งผู้บริโภคและนักวิชาการ โดยคาดหวังว่าคณะอนุกรรมการชุดดังกล่าว จะสามารถเดินหน้า เสนอมาตรการในการกำกับค่ายา วัสดุทางการแพทย์ และค่ารักษาพยาบาลได้ทันที และคาดหวังว่าการกำกับครั้งนี้จะต้องมีมาตรการมากกว่าการขายไม่เกินราคาที่แจ้งข้างกล่อง (Sticker Price) ที่เคยดำเนินการมาแล้วในอดีต แต่ไม่สามารถควบคุมค่ายา และค่ารักษาพยาบาลได้ จนเป็นปัญหาค่ารักษาพยาบาลแพงไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภคในปัจจุบันซึ่งในประเทศสิงคโปร์ประสบความสำเร็จจากการตั้งคณะทำงานช่วยดำเนินการในเรื่องดังกล่าว ส่วนประเทศไอร์แลนด์ใช้เวลาดำเนินการเพียง 9 เดือนเท่านั้น            แนวทางในการกำกับค่ารักษาพยาบาลแพงของประเทศสิงคโปร์ เป็นการกำหนดแนวทางราคาสูงสุดในการให้บริการที่มีมาตรฐาน(Medical Fee Benchmark Guidelines) เช่นเดียวกับประเทศแคนาดาที่มีการทำบัญชีราคาค่ารักษาพยาบาลใช้กับทุกโรงพยาบาล หรือประเทศญี่ปุ่นที่มีการจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้กับโรงพยาบาลรัฐและเอกชนในอัตราเดียวกัน หรือแม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกาในหลายรัฐมีการออกกฎหมายให้มีการคิดค่ารักษาพยาบาลที่เป็นธรรม(Fair Pricing Law) กำหนดให้โรงพยาบาลเอกชนคิดค่ารักษาพยาบาลกับประชาชนที่ไม่มีประกันสุขภาพในอัตราไม่เกินเพดานราคาที่เรียกเก็บจากประกันเอกชนหรือรัฐบาล หรือรักษาพยาบาลฟรีสำหรับคนยากจนที่ไม่มีประกันสุขภาพ            ฉลาดซื้อฉบับเดือนแรกของปีหมู 2562 จึงขอเสนอเรื่องราวซึ่งเข้ากับสถานการณ์ร้อนระดับประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องราวตอนจบของ “ แพ้ยา ใครรับผิดชอบ ” จากคอลัมน์เสียงผู้บริโภค ฉบับเดือนกุมภาพันธ์  เมื่อปีกลาย            คุณคมเดช โพธิสุพรรณ มาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเนื่องจากเขาถูกเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเพิ่มเติมจากการแพ้ยาของโรงพยาบาลทั้งที่เขาเข้ารับการรักษาการผ่าตัดหมอนรองกระดูก  คุณคมเดช เล่าให้เราฟังว่า            “ผมได้รับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งเนื่องจาก ปวด คอและหัวไหล่ ซึ่งแพทย์แจ้งว่ากระดูกต้นคอแตกและเริ่มทับเส้นประสาท แพทย์จึงแนะนำให้ผ่าตัดซึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 470,000 บาท ผมจึงได้เช็คราคาค่าผ่าตัดจากข้อมูลของโรงพยาบาลเอกชนแห่งอื่นๆ หลายๆ แห่ง เพื่อหาข้อมูลในการรักษา พบว่าที่โรงพยาบาลอีกแห่งหนึ่งมีค่าใช้จ่ายประมาณ 300,000 - 400,000 บาท ประกอบกับมีเพื่อนแนะนำว่าที่โรงพยาบาลนี้มีคนรู้จักซึ่งอาจจะทำให้ลดค่ารักษาได้อีก ผมจึงตัดสินใจเลือกที่นี่            ในวันที่ 11 เมษายน 2560 ผมจึงเข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกคอ หลังจากเข้ารับการผ่าตัดเรียบร้อย แล้วหลังจากผ่าตัดก็สามารถทานอาหารได้เป็นปกติดี ขณะที่เข้าพักฟื้นที่ห้องพักผู้ป่วย พยาบาลแจ้งว่าหากมีอาการปวดสามารถขอยาแก้ปวดจากโรงพยาบาลได้นะ จนเมื่อเวลาประมาณ 20.15 น. ผมมีอาการปวดแผลจึงแจ้งพยาบาล พยาบาลจึงสอบถามว่าจะรับเป็นยาทานหรือยาฉีด ผมขอเป็นยาฉีด โดยเขาฉีดที่บริเวณกล้ามเนื้อสะโพก ต่อมาประมาณ 5 นาที จึงมีอาการแน่นหน้าอก ไอ กระสับกระส่าย หายใจลำบากเหมือนมีอะไรติดในคอ พยาบาลจึงชงน้ำขิงให้ดื่มเพื่อบรรเทาอาการ อาการผมก็ไม่ดีขึ้นจึงบอกให้เขาช่วยดูดเสมหะให้พยาบาลจึงโทรศัพท์ไปสอบถามแพทย์ซึ่งแพทย์แจ้งว่าไม่สามารถดูดเสมหะได้ เนื่องจากจะกระทบกระเทือนแผล พยาบาลจึงหยดยาชาบริเวณคอเพิ่มให้ แต่อาการไม่ดีขึ้นแถมยังแย่ลงเรื่อยๆ ผมมีอาการหายใจลำบากมากขึ้น พยาบาลจึงได้เอาสายออกซิเจนมาให้ใส่ แต่ผมก็หายใจไม่ออกจนหน้าและลิ้นกลายเป็นสีม่วงและปัสสาวะราด จนกระทั่งเวลาประมาณ 22.30 น.พยาบาลจึงรีบนำผมเข้าห้องไอซียู จนเวลาประมาณตี 2 ภายหลังพ้นจากภาวะวิกฤติ แพทย์ได้วินิจฉัยว่า อาการที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการแพ้ยา Tramadol (ทรามอล)  ที่ถูกฉีดให้เพื่อบรรเทาอาการปวดแผล อาการแพ้ยาชนิดนี้ให้ทำกล่องเสียงบวม ตาบวม จมูกบวม หายใจลำบากต้องสอดท่อช่วยหายใจเส้นเลือดฝอยที่หน้าและที่บริเวณดวงตาแตกในช่วงที่ร่างกายขาดออกซิเจน             ผมพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลอีก 3-4 คืน ในวันที่ 15 เมษายน 2560 พยาบาลได้แจ้งว่ายอดค่ารักษาพยาบาลเป็นเงินจำนวน 571,087 บาท หลังนอนพักรักษาตัวได้จนครบกำหนดออกจากโรงพยาบาล ในวันที่ 18 เมษายน 2560 ฝ่ายการเงินของโรงพยาบาลฯ ได้โทรแจ้งค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลทั้งหมดว่ามียอดรวมประมาณ 690,000 บาท ซึ่งพยาบาลได้ชี้แจงว่าเป็นค่าผ่าตัดรวมกับค่ารักษาอาการแพ้ยาที่เกิดขึ้น ผมจึงทักท้วงไปว่าโรงพยาบาลไม่ควรเรียกเก็บค่ารักษาอาการแพ้ยา เพราะเกิดจากมาตรการดูแลผู้ป่วยที่ผิดพลาดของโรงพยาบาลเอง ทางโรงพยาบาลต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ทางโรงพยาบาลเสนอว่าจะลดค่าใช้จ่ายให้ โดยให้ผมชำระเฉพาะยอดค่าผ่าตัดหมอนรองกระดูก 430,000 บาท ตามที่ตกลงกันไว้ (ซึ่งสามารถเบิกจากประกัน ได้ 280,000 บาท) ส่วนยอดค่ารักษาอาการแพ้ยา 150,000 บาท จะยังไม่จ่ายก็ได้ แต่ต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้ก่อน จึงจะสามารถออกจากโรงพยาบาลได้ ทำให้ผมไม่มีทางเลือกต้องทำหนังสือรับสภาพหนี้ โดยในวันนั้นมีบุรุษพยาบาลพาผมนั่งรถเข็นไปที่ฝ่ายการเงินเพื่อทำหนังสือรับสภาพหนี้ จึงมาร้องเรียนที่มูลนิธิ            สิ่งที่รู้สึกว่าไม่เป็นธรรมคือเรื่องคุณภาพการให้บริการ มาตรฐานของบุคลากรที่ให้บริการ เพราะถ้าคุณคิดแพงแล้วแต่บุคลากรไม่ใช่มืออาชีพพอ ผมก็อยากให้มีหน่วยงานที่ควบคุมและดูแลมาตรฐานตรงนี้ เช่นโรงพยาบาลเดียวกันถ้าเราเจอคนดีก็ดีไป แต่ถ้าเราเจอคนไม่ดีก็ซวยไป             ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลนั้น ผมก็อยากให้มีการชี้แจงรายละเอียดให้แกผู้จะเข้ารับบริการให้ละเอียดก่อนมีการตัดสินใจ เพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และจะได้มีความเข้าใจที่ตรงกันด้วย เพราะในส่วนตัวของผมเอง ที่เจอมามีค่าใช้จ่ายที่เกินมาโดยที่เขาไม่ได้แจ้งไว้ก่อน เขาแจงไม่ได้เราก็ไม่โอเค ถ้าแจงได้สมเหตุสมผลมันก็ไม่น่าจะถึงขั้นฟ้องร้องกันนะครับ อย่างที่ผมเจอตัวผมซึ่งเป็นผู้ป่วยเอง ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น กลายเป็นว่าที่จะต้องมารับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ทางโรงพยาบาลเองจะต้องไปไล่บี้กับบุคลากรของโรงพยาบาลเองถึงความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเจออย่างไรบ้าง            สิ่งที่ผมเจอในเรื่องของบุคลากรก็คือ ในเรื่องของพยาบาลที่ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ขาดพอ คือ การอาการแพ้ยาของผมกลับกลายเป็นว่าเป็นการประวิงเวลาเอาไว้ เพราะอาการแพ้ยาจะมีลำดับความรุนแรงตามเวลาที่เกิด ในช่วงเวลาที่นานขึ้นใช่ไหมครับ คือถ้าคุณแก้ไขตั้งแต่เริ่มต้น คือเขารู้อยู่แล้วว่าเราได้รับยาตัวไหน เขารู้อยู่แล้วว่าถ้าเกิดอาการแพ้ยาตัวนี้ต้องทำการแก้ไขอย่างไร แต่เขากลับมองว่าไม่ได้เป็นการแพ้ยา ที่ผมเจอ กลับเป็นการมองว่าเป็นการผ่าตัดมีปัญหา เลยทำให้ต้องไปตามหมอที่ผ่าตัดมาดู หมอเวรก็ไม่ขึ้นมาดู ให้พยาบาลวินิจฉัยกันเองก็โทรคุยกันแบบนี้ว่า ว่าเดี๋ยวเราลองให้ยาชาดูก่อน เดี๋ยวลองอะไรแบบนี้จนแบบว่ามันหนัก จริงๆ ถ้ามาตรฐานเพียงพอ เรื่องการแพ้ยาตัวนี้ผมว่าไม่ต้องเปิดตำราแค่เปิดกูเกิ้ลก็รู้แล้วว่ายาตัวนี้ถ้าให้แล้วเกิดอาการแพ้แล้วจะเป็นอย่างไร จะแก้ไขอย่างไรน่ะครับ ถ้าเราให้บริการแก้ปัญหาให้ทันท่วงที มีความมืออาชีพพอ ปัญหาจะไม่บานปลาย ถูกไหมครับอันนี้คืออาการจะค่อยๆ หนักขึ้นตามระยะเวลาที่รอ กว่าผมจะได้รับการแก้ไขก็ต้องเข้าไอซียูเลยนะ ตั้ง 3 ชั่วโมง นานมาก แล้วถามว่า 3 ชั่วโมงที่ผมรอมันทรมานมากแค่ไหน มันเล่าออกมาเป็นความรู้สึกไม่ได้หรอก ไม่เจอไม่รู้หรอก มันทรมานน่ะครับมันตายเลยยังง่ายกว่า มันหายใจเองไม่ได้ ต้องมานั่งประคองตัวเองให้รอด มันทรมานมาก            สิ่งที่ผมต้องการคือมาตรฐานในการบริการที่ควรจะต้องเน้นย้ำ ราคาก็ควรจะต้องชัดเจนประสบการณ์จากการฟ้องร้องกับโรงพยาบาล            เวลาเรามีเรื่องฟ้องร้องกับโรงพยาบาล ยังไงเราก็เสียเปรียบโรงพยาบาลอยู่แล้ว เขามีทีมทนายตัวผู้ป่วยที่เกิดปัญหาอย่างผม ไม่ได้เกิดมาเพื่อฟ้องร้องโรงพยาบาลอยู่แล้ว ผมไม่ได้ศึกษาข้อมูลว่าผมจะฟ้อง รพ.อย่างไรแน่ๆ เราก็ต้องไปหามูลนิธิฯ เพื่อปรึกษา ซึ่งส่วนใหญ่เขาก็ไม่ได้เก่ง หรือมีความชำนาญในเรื่องทางการแพทย์อยู่แล้ว สุดท้ายผู้ป่วยหรือผู้เสียหายก็เสียเปรียบโรงพยาบาล มันไม่ใช่การสู้กันแบบ 1 ต่อ 1 แล้วน่ะ เพราะอย่างไรทางโรงพยาบาลก็ได้เปรียบ มันก็ไม่ควรให้เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นจบอย่างไร                                เรายอมจ่ายตั้งแต่แรกอยู่แล้วนะครับ ถามว่าในใจผมถึงที่สุดไหม เราไม่อยากจ่ายเลยเพราะว่าเป็นความผิดพลาดของเขา เพราะมันเกิดขึ้นจากเขา แม้กระทั่งในใจลึกๆ เองอยากได้เขาเรียกว่าค่าอะไรล่ะ ค่าเยียวยาในสิ่งที่เกิดขึ้นกับเรา เพราะจริงๆ มันไม่ควรเกิด แต่ในทางปฏิบัติมันไม่สามารถไปถึงตรงนั้นได้ เพราะว่าการฟ้องร้องมันเสียเวลา เรื่องนี้กินระยะเวลารวมประมาณ 2 ปี ผมไปศาลมา 4 ครั้ง แล้วมันเสียเวลาทำงานเรา แล้วสุดท้ายเราก็ตัดรำคาญนะครับ แล้วเราไม่คุ้มไงกับการเสียเวลาที่เกิดขึ้น เพราะเราต้องมานั่งเสียเวลาฟ้องร้องอีกนะครับ ผมก็เลยยอมจ่ายไปประมาณนั้นครับ เพราะสุดท้ายโรงพยาบาลก็ได้เปรียบอยู่ดีนะครับเขาไม่มีทางที่จะเสีย 100 เปอร์เซ็นต์หรอก ก็มีผู้เสียหายนี่ละที่จะทนเสียเวลาได้มากแค่ไหน ถ้าทนไม่ได้ก็ต้องยอมจ่ายไป..แค่นั้นเอง

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 214 พระอาทิตย์เป็นของเรา “กองทุนแสงอาทิตย์” เพื่อคุณภาพชีวิตทุกคน

ฉลาดซื้อ ฉบับส่งท้ายปีกับเรื่องราวดีๆ ของโครงการกองทุนแสงอาทิตย์ และอัพเดทสถานการณ์พลังงานของบ้านเรา กับผศ.ประสาท มีแต้ม กรรมการผู้เชี่ยวชาญ ด้านการบริการสาธารณะ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน นักวิชาการอิสระที่ติดตามและเสนอความเห็นเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงานทางเลือก ปัจจุบันเป็นอนุกรรมาธิการเสริมสร้างธรรมาภิบาลด้านพลังงาน ในคณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภาพลังงานของประเทศไทยทั้งระบบประมาณ 2 ล้านล้านบาทต่อปี ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP ประมาณ15-16 เปอร์เซ็นต์ แล้วแต่ปีไหนน้ำมันถูกหรือน้ำมันแพง ซึ่งบางปีขึ้นไปถึง 19 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันสูงมาก ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่าใน 2 ล้านล้านนั้นมันนำเข้า เราพึ่งตัวเองได้ประมาณไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เกือบๆ 50 เปอร์เซ็นต์ เพราะฉะนั้นเราต้องนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิลเข้ามา ในจำนวน 2 ล้านล้านนี้ ก็จะเป็นค่าไฟฟ้าประมาณ 6-7 แสนล้านบาทต่อปี ทีนี้โดยรูปการแล้วพลังงานนี้ก็ถูกผูกขาด พลังงานฟอสซิลมันถูกผูกขาดและรวมศูนย์ และมีผู้ลงทุนอยู่ไม่กี่ราย ในขณะที่บริการให้กับคนทั้งประเทศ ผู้ซื้อมีจำนวนมาก แต่ผู้ผลิตมีน้อยนิดเดียว ผูกขาดก็ส่งผลกระทบหลายเรื่อง เรื่องสำคัญก็คือเรื่องโลกร้อน ซึ่งเราไปตกลงที่ปารีสเอาไว้จนต้องลด 15 เปอร์เซ็นต์ 20 เปอร์เซ็นต์ ก็ว่าไป หนึ่งโลกร้อน สองสร้างความเหลื่อมล้ำเพราะว่าคนส่วนใหญ่ถูกบังคับให้ซื้ออย่างเดียว ผลิตไม่ได้ ผู้ผลิตก็ผูกขาด ผู้ซื้อกระจายทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่เรามีแหล่งพลังงานของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นแดด ลม และชีวมวล ทีนี้แดดกับลมเมื่อก่อนมันแพง โดยเฉพาะแสงแดด พลังงานโซลาร์นี้มันแพงมาก หน่วยหนึ่งเราเรียกว่าสู้ไม่ไหว ส่วนชีวมวลก็เรามีเองของเหลือจากการเกษตร เช่น ปาล์ม ซึ่งมีทะลายปาล์มหรือน้ำเสียจากจำนวนการสกัดน้ำมันปาล์ม ซึ่งตัวนี้เราเอาทำเป็นก๊าซชีวภาพได้ มีคุณสมบัติเหมือนแก๊สที่เขาขุดจากใต้ดิน เหมือนกันเลย เพียงแต่ว่ามันกระจายอยู่ตามท้องถิ่น จังหวัด ใกล้ๆ โรงผลิตน้ำมัน เสร็จแล้วสิ่งเหล่านี้มันก็ถูก ใช้คำว่าถูกกีดกันจากรัฐ เช่น อ้างว่าไม่เสถียรบ้าง ไม่มั่นคงบ้าง ซึ่งมันก็จริงบ้างไม่จริงบ้าง สายส่งเต็ม ที่เราได้ยินกันอยู่นะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว บางทีผมใช้คำว่าจริงบ้างไม่จริงบ้าง เช่นคำว่า “ไม่เสถียร” น้ำมันปาล์มซึ่งตอนนี้ออกมาล่าสุด คลิปไม่บอกชื่อผู้ผลิตด้วย ที่บอกมานี้ บอกว่าน้ำมันปาล์มนี้ ของเสียจากน้ำมันปาล์มมันเป็นฤดูกาล แล้วบางฤดูกาลก็ขาด แปลว่าอย่างไง ซึ่งถ้าคุณอนุญาตให้เขาทำ เขาก็สามารถเก็บเชื้อเพลิงไว้ใช้ทั้งปีได้ ปาล์มนี้มันมีฤดูเหมือนกัน แต่ว่านิดเดียวเอง ต่ำสุดกับสูงสุดกระจายกันอยู่ทั้งปีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นเขาก็สามารถสต็อกเชื้อเพลิงเอาไว้ได้ พื้นที่เยอะแยะไป แล้วที่ผมไปดูในโรงน้ำมันปาล์มที่กระบี่ พวกทหารพาไปดู ตอนนั้นมีปัญหาเรื่องกรรมการสามฝ่าย ก็มีฝ่ายทหาร ฝ่ายชาวบ้าน และฝ่ายทุน ที่จะสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและชาวบ้านค้าน พึ่งไปดูข้อมูลเขาบอกว่าเขาสามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างต่อเนื่อง 24 ชม. 300 วันติดต่อกันไม่มีปัญหา เพราะฉะนั้นถ้าคุณจะเอาทั้งปีเหรอ เขาก็จัดการได้ ใช่ไหม จัดการได้ มีหลายโรงที่ขออนุญาตอยู่ ถ้าเขายังไม่ได้รับอนุญาต แล้วเขาอ้างว่าสายส่งเต็ม ที่จริงคำว่าสายส่งเต็มนี้มันเป็นการบิดเบือน ในต่างประเทศอย่างเยอรมันเขาจะมีกฎหมายเป็นระเบียบเลย เขาบอกว่ามันอยู่ที่การจัดลำดับความสำคัญว่าจะใช้ใครใช้ก่อน สายส่งก็เหมือนกับถนนจะให้ใครวิ่งก่อน อย่างในกรุงเทพฯ ห้ามรถสิบล้อวิ่งเวลานั้นเวลานี้ มันห้ามได้ สายส่งก็เหมือนกัน เขาจะให้ผู้ที่ผลิตจากเชื้อเพลิงที่เป็นมิตร พลังงานหมุนเวียนนี้ส่งได้ก่อน ข้อที่หนึ่งให้พวกนี้ส่งได้ก่อนโดยที่ไม่จำกัดจำนวน สองค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นภาระของคนทั้งประเทศ ข้อหนึ่งส่งได้ก่อน ข้อสองไม่จำกัดจำนวน และข้อสามก็คือว่าถ้าค่าใช้จ่ายสูงขึ้นก็เป็นภาระของผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งประเทศ ทีนี้เราก็มาบอกว่ามันเต็ม ที่มันเต็มเพราะว่าอะไร เพราะว่าเราไปให้พลังงานฟอสซิลส่งก่อน ขายได้ก่อน เพราะการบิดเบือนความจริง ที่จริงจัดลำดับความสำคัญอย่างนี้ ทำไมต้องจัดลำดับความสำคัญอย่างนี้ เพราะว่าเชื้อเพลิง พลังงานหมุนเวียน พลังงานแสงแดด พลังงานลม หรือชีวมวลนี้มันกระจายอยู่กับคนทั่วไปๆ ก็ให้เขาผลิตไปก่อน และมันไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แล้วมันก็กระจายรายได้ แล้วมันก็ไปเพิ่มผลิตจากปาล์ม ใช่ไหม มันไปทำให้ราคาปาล์มสูงขึ้นได้ เพราะว่าเขาขายไฟฟ้าได้ เอากำไรจากไฟฟ้าไปหมุนปาล์มได้ ราคาอาจจะสูงขึ้น มีตัวเลขอยู่ แต่ผมจำตัวเลขไม่ได้ เรื่องพลังงานต้องคิดให้เป็นระบบเรื่องของพลังงานมันต้องคิดทั้งระบบ จะคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้ เรื่องกำไรขาดทุนอย่างเดียวไม่ได้ ต้องคิดถึงสิ่งแวดล้อม น้ำเสียคุณปล่อยไป คุณไปทำลายลูกหอยลูกปู ซึ่งเป็นอาหารของชาวบ้านอีก อาหารของคนทั้งประเทศอีก ต้องคิดเป็นทั้งระบบเลย  พลังงานทดแทน พลังงานหมุนเวียนสถานะตอนนี้อยู่ตรงไหน พลังงานทดแทน คำว่าทดแทนนี้ผมค้าน คือคำว่า “ทดแทน” มันไม่มีศัพท์นี้ ที่ถูกต้องใช้ “พลังงานหมุนเวียน” เพราะคำว่า “ทดแทน” ไม่มีนิยาม เอาอะไรไปทดแทนอะไร เอาถ่านหินไปทดแทนนิวเคลียร์ หรือ เอานิวเคลียร์มาแทนก๊าซธรรมชาติ มันก็ทดแทนกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นมันทำให้เบลอหมด ความหมายมันก็เบลอหมด แท้ที่จริงแล้วก็คือ พลังงานหมุนเวียนกับพลังงานฟอสซิล พลังงานจะมีสองตัวเท่านั้น คือ หมุนเวียน กับ ฟอสซิล ส่วนนิวเคลียร์นี้มันตีความยากนิดหนึ่ง มันจะเป็นนิวเคลียร์ก็ไม่ใช่ มันจะเป็นหมุนเวียนก็ไม่ใช่ แต่รวมแล้วมันรวมศูนย์มันผูกขาด แล้วมันก็มีน้อยอยู่ เพราะฉะนั้นเราก็พูดสองอย่างคือ ฟอสซิล กับ หมุนเวียน renewable  แปลว่าเอามาใช้ใหม่ได้ มันไม่หมด renew แปลว่า มันเหมือนหางจิ้งจก พอขาดไปมันก็สร้างใหม่ มันไม่หมด        พลังงานหมุนเวียนที่สำคัญ คือโซลาร์หรือแสงแดด ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ เพราะว่าแดดอยู่ที่หัวเรา เราเข้าถึงได้ง่ายมากเลย มีเยอะมาก แต่ฟอสซิลอยู่ใต้ดิน 4-5 พันเมตร มีคนไม่กี่คนในโลกนี้ที่จะใช้ได้ เพราะฉะนั้นเราก็ต้องมาส่งเสริมตรงนี้ว่า ผู้บริโภคที่เคยถูกบังคับให้ซื้ออย่างเดียว เราก็เลยสามารถที่จะผลิตเองได้ด้วย ขายได้ด้วย ผู้บริโภคก็จะกลายมาเป็นเรียกว่าเป็น Pro-Sumer ก็คือ Production บวกกับ Consumer เป็นศัพท์เกิดมา 30-40 ปีแล้ว ของ ท็อปปา ถ้าผมจำไม่ผิดนะ เดวิล ทอปปา เพราะฉะนั้นไฟฟ้านี้ในความเป็นจริงมันสามารถเดินได้สองทาง ภายในสายส่งไฟฟ้าเดินได้สองทาง ไปก็ได้กลับก็ได้ แต่พอเรามาใช้ในบ้านเรา มันแค่ไหลเข้าบ้านเราอย่างเดียว มันไม่ได้ไหลออกจากบ้านเรา แล้วขณะเดียวกันเงินของเราก็ไหลสวนกับไฟฟ้า เงินไหลออกจากกระเป๋าเราไปที่ต้นทาง แต่ไฟฟ้ามาจากต้นทางเป็นพันพันกิโลเมตร จากแม่เมาะเข้ามาถึงกรุงเทพฯ แล้วเงินเราก็ไหลจากกรุงเทพฯ ไปสู่บริษัทไฟฟ้า ซึ่งมันผิดหลัง ทั้งๆ ที่เขาให้เดินสองทางได้ เราเดินสองทางก็คือว่า ทันทีที่เราผลิตเองได้ก็ส่งออก ส่งออกจากหลังคาบ้านเรา พอกลางวันเราผลิตจากโซลาร์เซลล์ ปกติคนส่วนใหญ่เขาไม่อยู่บ้านกัน เราก็ไม่ได้ใช้ไฟในบ้าน เพราะฉะนั้นพอเราผลิตได้มันก็นี้มันก็ต้องส่งไปสาย ตอนกลับบ้าน พระอาทิตย์ก็กลับบ้านเหมือนกัน พอพระอาทิตย์กลับบ้านเราไม่มีไฟฟ้าใช้ เมื่อเราไม่มีไฟฟ้าใช้เราก็เอาไฟฟ้าจากสายส่งเข้ามาใช้ แล้วพอสิ้นเดือนก็หักลบกลบหนี้กัน ที่เราส่งออกไปกับที่เรานำเข้ามาใช้มากกว่ากัน คิดบัญชีกัน เรียกว่าเป็น net metering ซึ่งตรงนี้เขาใช้กันทั่วโลก ไม่ว่าประเทศเคนยา ปากีสถาน อินเดีย อเมริกา ออสเตรเลีย เยอรมัน ฯลฯ เขาก็ใช้ตัวนี้กันทั้งนั้น ทั่วโลกเขาก็ใช้ตัวนี้กัน แต่บ้านเรานี้ไม่ยอมให้ใช้ เนื่องจากอ้างเหตุผลสารพัด เช่น ไม่เสถียร สายส่งเต็ม ต้องเสียค่าแบ็คอัพไฟฟ้าไว้ให้กับกลางคืน เขาเรียกแบ็คอัพ เพราะว่า พอเราจะใช้ พระอาทิตย์ก็กลับบ้านแล้ว ใช่ไหม ก็ดึงเข้ามาตอนค่ำ ไฟฟ้าเก็บไว้ได้ดึงเข้ามาใช้ ตรงนี้เขาไปอ้างว่าเป็นค่าแบ็คอัพ ซึ่งผมเรียกว่าเป็น ภาษีแดด ตอนนี้รัฐไทยเก็บจากบริษัทใหญ่ๆ อยู่ แต่ในหลังคาบ้านเขาไม่ยอมให้ติด ถ้าติดแล้วไฟย้อนกลับเขาก็จะมาเปลี่ยนมิเตอร์เป็นดิจิทัล ซึ่งทำให้แรงดึงดูดในการที่เราจะติดตั้งโซลาร์เซลล์นี้มันไม่มี มันก็เลยไม่เกิด ที่เรากำลังทำเรื่องโครงการโซลาร์ กองทุนแสงอาทิตย์นี้ ก็เกิดขึ้นจากตรงนี้ ซึ่งเขาทำกันทั่วโลกแล้ว แต่บ้านเราไม่ทำกองทุนโซลาร์แท้จริงคืออะไรกองทุนโซลาร์นี้เราเริ่มต้นด้วยการหาทุนเพื่อที่จะไปติดโซลาร์เซลล์ให้โรงพยาบาล เริ่มต้นโรงพยาบาลก่อน ต่อไปจะเป็นโรงเรียนและเป็นชุมชนต่างๆ ก็ว่าไป ทำไมเราถึงเลือกโรงพยาบาล เพราะว่าตอนนี้โรงพยาบาลขาดทุนอยู่ ต้องจ่ายเงินโรงพยาบาลเดือนละเป็นหลายแสน บางทีก็หลายล้าน เพื่อที่จะเสียค่าไฟฟ้า ทั้งๆ ที่หลังคาก็ว่างอยู่ โรงพยาบาลนี่กลางวันก็ใช้ไฟ เสาร์อาทิตย์ก็ใช้ไฟ ใช่ไหม เพราะฉะนั้นเรื่องอะไรเราจะปล่อยให้พลังงานมันหายไป เราก็มาผลิต ทีนี้เหมือนที่หมอสุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา พูด เราผลิตไฟฟ้าจากหลังคานี้มันไม่ใช่ได้แค่ไฟฟ้าอย่างเดียว มันได้จิตสำนึกมาด้วย จิตสำนึกของคน ของพยาบาล ของเจ้าหน้าที่ ซึ่งตรงนี้จิตสำนึกมันสร้างได้ แต่ว่ามันค่อยๆ เกิดจากโครงการเหล่านี้ เพราะฉะนั้น เราหวังว่า “โครงการพลังงานกองทุนแสงอาทิตย์” เริ่มจากจุดเล็กๆ เอาเงินที่คนบริจาค ซึ่งเมื่อก่อนนี้ก็บริจาคให้วัด ส่วนใหญ่นะ ต่อไปนี้ถ้าคิดถึงเรื่องคนยากคนจนทางโรงพยาบาล เราก็มาที่ชุมชนในโรงพยาบาลเขา ให้เขาลดค่าไฟแล้วเอาเงินที่ลดได้ไปซื้อยาซื้อแพมเพิสให้คนไข้ ซึ่งยากไร้อยู่ ก็เป็นการทำบุญที่อยู่ได้นาน โซลาร์เซลลล์นี้จะอยู่ได้ประมาณ 25 ปี เพราะฉะนั้นถ้าวันนี้เราคิดว่า 1 กิโลวัตต์นี้ประมาณ 35,000 บาท แต่มันอยู่ได้ 25 ปี มันจะได้ 5 เท่า สมมติเราทำบุญไป 100 บาท มันจะทวีคูณไปเป็น 500 บาท เพราะว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้นั้นมันสูงกว่าการลงทุน การลงทุนนี้คุ้มทุนนี้เขาเรียกว่าประมาณ 5-6 ปีเท่านั้น นี่เป็นการทำบุญในมิติใหม่ เงินเราจะหมุนไปๆ อย่างรวดเร็ว 5 เท่า ซึ่งตอนนี้เราก็มีโครงการที่จะติดอยู่ 7 โรงพยาบาล 30 กิโลวัตต์ ก็คิดๆ ประมาณ 1.1 ล้านต่อโรง 7 โรงก็ประมาณ 7.7 ล้าน ซึ่งตอนนี้เมื่อกี้ดูตัวเลขล่าสุด เปิดตัวมาตั้งแต่วันที่ 29 วันนี้ก็ประมาณ 4-5 วัน ตอนนี้เราได้ 6 หมื่นแล้ว ก็ทยอยเข้ามา ที่สำคัญเงินบริจาคหักภาษีได้ เงินบริจาคหากบริจาคตอนนี้ถึงสิ้นเดือนธันวาฯ หักของปีนี้ได้ บริจาคปีหน้าก็หักภาษีของปีหน้า ดังนั้นก็ขอเชิญชวนช่วยกันบริจาค เพราะว่าบางโรงพยาบาล เมื่อก่อนที่เชิญหมอมา ผอ.โรงพยาบาลชุมพร บอกว่าโรงพยาบาลเขาถูกจัดระดับเป็นระดับ 7 ถ้าเป็นเอกชนก็ล้มละลายแล้ว เป็นหนี้เยอะ เป็นหนี้อยู่ 85 ล้านจากเงินได้ต่อหัวที่ สปสช.เขาให้มา แล้วหมอเขาก็จะทำให้ลดลงมาแล้วเหลือ 65 เป็นหนี้อยู่ 65 ล้าน แต่บางโรงก็ไม่ถึง แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นหนี้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นการช่วยโรงพยาบาล ซึ่งเป็นการช่วยเชิงโครงสร้างเชิงระยะยาวให้เขาพึ่งตัวเองได้ระดับหนึ่ง แล้วก็ไปสร้างจิตสำนึกให้กับคนของโรงพยาบาลเองด้วยพลังงานโซลาร์จะช่วยโรงพยาบาลประหยัดเดือนหนึ่งกี่เปอร์เซ็นต์30 กิโลวัตต์นี้ก็ประมาณ เอา 30 กิโลวัตต์คูณด้วย 135 ก็จะได้เป็นหน่วยต่อปี แล้วคูณด้วย 4.5 บาท เท่ากับ 18,000 ต่อเดือน แล้วคูณด้วย 12 เท่ากับ 210,000 นี่คือประหยัด 2 แสนต่อปี เอาตัวเลขกลมๆ แล้วมันอยู่ได้ถึง 25 ปี ก็เอา 25 คูณ เท่ากับ 5 ล้าน(จากที่เขาขาดทุนก็จะช่วยตรงนี้) เราลงทุน 1.1 ล้าน ใน 25 ปี เราจะได้ 5.5 ล้าน นี่คือพลังบุญที่มันทวีคูณขึ้นไป(คิดที่ค่าไฟฟ้าราคาอยู่ที่ 4.5 บาทต่อหน่วย)        สถานการณ์ต่างๆ เราจะอัพเดทตลอด สามารถเข้าไปดูที่เว็บไซต์ได้ thailandsolarfund.org บริจาคที่นั่นแล้วก็มีใบเสร็จออกมาให้ได้เลย ซึ่งออนไลน์ ไม่ต้องมาบริจาคที่มูลนิธิก็ได้ ทั้งโครงการทั้งหมดนี้อยู่ในนามของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทันทีที่เราได้ 1.1 ล้าน เราก็จะทำที่โรงพยาบาลแรก ซึ่งยังไม่รู้ว่าโรงพยาบาลไหน  ก็คัดเลือกกันไว้แล้ว ดูความเหมาะสม ดูความกระตือรือร้นของแต่ละโรงพยาบาลด้วย เขาก็เงินเข้ามาสมทบ คนของเขาตื่นตัวไหม เสร็จโรงที่หนึ่งก็ดำเนินการโรงที่สอง ระหว่างนั้นเราก็รับบริจาคไปเรื่อยๆ ไม่ได้กำหนด แต่ว่าเดือนมกราฯ นี้เราคาดหวังว่าควรจะได้โรงแรก พี่ตูนวิ่งได้เยอะแยะ แล้วเราเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการนี้ประมาณ 15 องค์กร ซึ่งแต่ละองค์กรก็จะมีเครือข่ายของตัวเองอยู่ ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณเป็นประธาน ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่าเราจะได้จิตสำนึกของคนเพื่อมาลดโลกร้อน ขณะเดียวกันเราจะส่งแรงให้รัฐขับเคลื่อนเชิงนโยบาย เพราะรัฐกีดกัน net metering อยู่ แต่ถ้ามีกระแสแบบนี้ สร้างกระแสแบบนี้ มีข้อแนะนำอย่างไรสำหรับการเริ่มติดตั้งโซลาร์เซลล์คือตัวบ้านผมนี้ยังไม่ติดเลย เพราะว่าคนที่เขาติดแล้ว คนที่ค้านโรงไฟฟ้า สมมติค้านรัฐหน่อยก็จะถูกกลั่นแกล้ง เป็นที่หมายปอง ถ้าไปติดปุ๊บเขาจะมาถอดมิเตอร์ออกไป ทำให้ไฟฟ้าออกไปไม่ได้ หรือตอนนี้ก็ต้องติดอุปกรณ์ตัวหนึ่งเพื่อไม่ให้ไฟออก มันก็เลยลงทุนไปเปล่าประโยชน์ ฉะนั้นไม่คุ้มทุน คือคนติดแล้วนี่ลงทุน 1 กิโลวัตต์ ประมาณ 35,000 บาทใช่ไหม ถ้า 600 มันก็ประมาณ 2-25,000 บาท ประมาณนั้น พอติดแล้วมันจะจัดการกันเอง ไฟฟ้าไม่ต้องไปยุ่งมัน จะกระติกน้ำร้อนหรือว่าดูทีวีมันจัดการกันเอง (ลงทุนเล็กๆ อย่างนี้ก่อน) ใช่ แล้วมันจะคุ้มทุนประมาณ 4-5 ปีคือรอเวลาที่จะมีโครงการรับซื้อไฟใช่ ที่ออสเตรเลียเขาประกาศเป็นนโยบายแล้ว ติดแบตเตอรี่ 1 แสนหลัง ภายในกี่ปีผมจำตัวเลขไม่ได้ บ้านละ 2,000 เหรียญที่รัฐจะอุดหนุน  แต่สำหรับประเทศไทยเราไม่รอแล้ว เรารณรงค์แล้ว รณรงค์เรื่องติดโซลาร์เซลล์ในโรงพยาบาล ในขณะเดียวกันก็สร้างจิตสำนึกสร้างการเรียนรู้ของสังคมไทยว่า เราสามารถพึ่งตัวเองได้ว่าแสงอาทิตย์มีประโยชน์แล้วคนเหล่านี้ คนเล็กๆ เหล่านี้มารวมตัวกันบริจาคคนละร้อยสองร้อยเพื่อไปให้กับโรงพยาบาล ให้เขาเห็นสิ่งนั้น ในขณะเดียวกันเขาก็เรียนรู้ เมื่อเขาเรียนรู้เขาก็ไปคิดเองได้ว่าเขาควรจะทำอย่างไรกับเรื่องเหล่านี้ เขาควรจะไปผลักนโยบายในระดับรัฐยังไง เขาควรจะปรับปรุงตัวเองยังไง         ผมเคยพูดไว้วันที่แถลงข่าวว่าคนเล็กๆ เหมือนกับผีเสื้อขยับปีก บางจังหวัดสามารถทำให้เกิดพายุทอนาโดได้ แต่มันไม่ได้เกิดทันทีหรอกนะ ขยับปีก ทฤษฎีเขาว่า ใช้หลักผีเสื้อขยับปีกที่ฮองกงวันนี้ อาจจะส่งผลให้เกิดพายุทอนาโดในสหรัฐอเมริกาในอีก 3 เดือนต่อไป เพราะฉะนั้นของเราไม่ใช่ขยับปุ๊บได้ปั๊บ แต่ตรงนี้มันเป็นการสะสมพลังไปในสังคมว่าคนเล็กๆ อย่างเราก็มีอำนาจ ก็มีพลังที่จะสามารถแสดงพลังออกมาให้สังคมได้เห็น และร่วมกันสร้างโลกใหม่ที่เราอยากจะเห็น ที่ไม่ร้อน ที่จะแก้ปัญหาโลกร้อน โลกร้อนเป็นเรื่องที่ซีเรียสมาก

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 213 แผ่นดินอาบยาพิษ เรื่องจริงของ “พาราควอต” จากหนองบัวลำภู

     ความพยายามในการผลักดันการห้ามใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด(พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต) ในบ้านเรายืดเยื้อมามากกว่าหนึ่งปี ท่ามกลางข้อถกเถียงของฝ่ายที่เป็นห่วงเรื่อง สุขภาพและสิ่งแวดล้อม กับฝ่ายธุรกิจเคมีและภาคเกษตรบางส่วนที่เห็นว่า การใช้สารเคมียังมีความจำเป็นเพราะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561 ความเคลื่อนไหวล่าสุดที่หน้าเพจของเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ให้ข้อมูลว่า คณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 3 ชุด ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของรัฐบาลเอง แสดงจุดยืนชัดเจนในการแบนสารพิษร้ายแรง 3 ชนิด(พาราควอต คลอร์ไพริฟอสและไกลโฟเซต) หลังจากก่อนหน้านี้ คณะกรรมการปฏิรูปด้านสาธารณสุข และคณะกรรมการปฏิรูปด้านสังคมได้แถลงจุดยืนดังกล่าวก่อนแล้วและในวันที่ 10-11 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ศูนย์พิทักษ์สิทธิ์ผู้บริโภคและทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ได้รับความเสียหายจากสารเคมีทางการเกษตรในพื้นที่อำเภอสุวรรณคูหา จังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อรวบรวมข้อมูลความเสียหายจากการใช้ยาฆ่าหญ้า 2 พื้นที่ คือที่ รพสต.หนองเรือ อ.โนนสัง และรพสต.บ้านพนาวัลย์ อ.นากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู รวมผู้ได้รับผลกระทบที่ให้ข้อมูลจำนวน 7 ราย โดย 4 รายจาก อ.โนนสัง นั้น ไม่ได้เป็นผู้ที่ใช้สารเคมีหรือสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง แต่ผู้เสียหายจะได้รับบาดแผลจาก ตอข้าว หนาม คมจากใบอ้อยบาด แผลที่ได้รับส่วนใหญ่เกิดบริเวณ มือ ข้อมือ ลำแข้งถึงเท้า ลักษณะบาดแผลที่ได้รับมีลักษณะผิวหนังคล้ำคล้ายช้ำในและภายหลังจากนั้นไม่เกิด 48 ชั่วโมงจะมีอาการปวดและบวมร่วมด้วย แพทย์ประจำโรงพยาบาลวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ (แต่ไม่ได้ระบุว่าเกิดจากสารเคมี) ส่วนอีก 3 รายจาก อ.นากลาง เป็นผู้ที่ใช้สารเคมีหรือสัมผัสกับสารเคมีโดยตรง โดยได้รับบาดแผลจาก ตอข้าว หนาม คมจากใบอ้อยบาด มีผู้เสียหายใช้สารเคมียี่ห้อพาราควอต 2 ราย ใช้ เอชโซนัด 95 ตราหมาแดง 1 ราย บาดแผลที่ได้รับมีลักษณะผิวหนังคล้ำคล้ายช้ำในและภายหลังจากนั้นไม่เกิน 48 ชั่วโมงจะมีอาการปวดและบวมร่วมด้วย แพทย์ประจำโรงพยาบาลวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อ (แต่ไม่ระบุว่าเกิดจากสารเคมี) แผลที่ได้รับส่วนใหญ่เกิดบริเวณ มือ ข้อมือ ลำแข้งถึงเท้าทางทีมงานจึงได้พูดคุยกับ ทญ.วรางคณา  อินทโลหิต หรือหมอฝน ผู้ประสานงานสมัชชาสุขภาพจังหวัดหนองบัวลำภู และหัวหน้ากลุ่มงานทันตสาธารณสุข ทันตแพทย์ชำนาญการพิเศษ ซึ่งได้เล่าเรื่องสารเคมีในพื้นที่อำเภอสุวรรณคูหาว่า “เริ่มมาจากการทำนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม  เรื่องสารเคมีมันเกิดจากเมื่อปี 2555 จังหวัดหนองบัวลำภู และทำโครงการร่วมกับ อบจ.กับ สสส. เรื่องจังหวัดน่าอยู่ เรื่องสารเคมีเกษตรเป็นเรื่องสิ่งแวดล้อม หนึ่งใน 5 เรื่องที่เราทำ ตอนแรกที่คณะทำงานคิด เราคิดว่าจะทำเรื่องป่ากับขยะ ในเวทีนั้นมีเกษตรกรที่ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์ แกนำเข้าข้อมูลสารเคมีเกษตร ซึ่งตอนนั้นถือว่า เป็นการเปิดโลกทัศน์ของกรรมการเลยว่ามันมีปัญหาสารเคมีในพื้นที่ ทำให้ทราบว่าปัญหาสารเคมีในพื้นที่มันไม่ใช่เรื่องธรรมดา คิดว่ามันเป็นสิ่งที่น่าสนใจ ต่อมาพยาบาลโรงพยาบาลนากลางเขาไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ พบว่า พื้นที่ตำบลอุทัยสวรรค์ มีโรงเรียนต้องปิดโรงเรียนเพราะเด็กๆ ได้รับผลกระทบจาการฉีดยาฆ่าหญ้า เพราะต้องเดินผ่านจากไร่อ้อยไปโรงเรียน แล้วเกิดอาการวิงเวียน อาเจียนจนต้องปิดโรงเรียน พยาบาลก็นำเสนอเรื่องนี้ในที่ประชุมของหมู่บ้าน ชาวบ้านก็รู้ว่าสารเคมีเป็นพิษ แต่ก็ต้องทำมาหากิน พยาบาลเลยมาปรึกษาว่าทำอย่างไรดี ชาวบ้านก็ไม่ได้สนใจเราเลยนึกถึงเวทีที่เกษตรกรคนที่ทำเกษตรอินทรีย์ท่านนั้นพูดถึง ตัวเราคิดว่าเราสาธารณสุขคงมีกำลังไม่พอที่จะทำเรื่องนี้  เลยว่าจะชวนเครือข่ายเกษตรมาช่วย แล้วในโครงการจังหวัดน่าอยู่มีงบประมาณที่จะพอจัดเวทีให้ความรู้ได้ แล้วตอนนั้นได้รู้จักกับนายแพทย์ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ คณะแพทย์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก็เลยจัดเวทีให้ความรู้ที่นากลาง และศรีบุญเรือง เราเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องและคุณหมอปัตพงษ์มาพูดเรื่องผลกระทบ นักวิชาการของเรา นักวิชาการสมัชชาสุขภาพ คุณโกวิท พรหมวิหารสัจจา ก็อยู่บนเวทีนี้ด้วย แกจะทำพื้นที่นวเกษตร เราเลยจะทำเป็นพื้นที่นำร่อง ใครไม่ทำ เราจะทำ คุณโกวิทเลยไปซื้อที่ใหม่แล้วเข้าไปตัดหญ้าถางพื้นที่ อยู่ๆ วันหนึ่งก็ได้ข่าวว่าแกเป็นโรคเนื้อเน่า แกบอกว่าแกไปสัมผัสอยู่ 2 วันในพื้นที่นั้น บอกว่ามียาฆ่าหญ้า ปวดขามาก เลยไปหาหมอกระดูก หมอบอกว่ามันเป็นการติดเชื้อ ก็ส่งต่อไปที่ รพ.อุดรตอนนั้นแกเกือบเสียชีวิตเลยนะ ช็อกไปเลยที่ถูกลอกหนัง ถูกทำอะไรหลายอย่าง เราก็เลยได้มาศึกษาว่าโรคเนื้อเน่าเป็นอย่างไร เกิดจากอะไรเนื่องจากคนใกล้ตัวเป็น จึงนำเรื่องปรึกษากับหมอปัตพงษ์ อาจารย์บอกว่า เกิดจากยาฆ่าหญ้า ประจวบกับสมัชชาสุขภาพนั้นต้องคิดนโยบายและการทำงานเชิงวิชาการด้วย ช่วงนั้นพออาจารย์โกวิท หายป่วย ซึ่งเป็นระยะเวลาปีกว่า เราก็มาสัมภาษณ์ชาวบ้าน ทำโฟกัสกรุ๊ปก็พบว่าส่วนใหญ่จะไปสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มียาฆ่าหญ้า จึงเห็นว่ามันเกี่ยวข้องกัน การเกิดขึ้นของเครือข่ายเพื่อแก้ปัญหาเรื่องพาราควอต ในช่วงที่ทำสมัชชาสุขภาพจังหวัดในที่ประชุมของสาธารณสุขจังหวัด มีศัลยแพทย์ท่านหนึ่งได้มานำเสนอในที่ประชุมว่า โรคเนื้อเน่าเป็นโรคอันดับ 1 ในแผนกศัลยฯ ของหนองบัวลำภู ซึ่งเขาก็ไม่รู้สาเหตุ ในวันนั้นเราก็พูดในที่ประชุมว่า มันเกิดจากยาฆ่าหญ้าทุกคนก็งงว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะตัวเองเป็นทันตแพทย์ พี่เป็นทันตแพทย์ไง ศัลยแพทย์ท่านจึงบอกว่าเกิดอะไรขึ้น แล้วบอกว่าในส่วนของโรงพยาบาล เขาจะมีการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ถ้าผู้ป่วยอะไรมาก สถิติการป่วยของผู้ป่วย มีค่าใช้จ่ายสูงไหม เขาจะต้องแก้ไขปัญหา ซึ่งเขายังแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ได้นะ เป็นปัญหาอันดับ 1 ในปี 2556  ของแผนกศัลยฯ พอปี 57 มีพยาบาลไปเรียนโท แล้วทำงานวิจัยเรื่องสารเคมีเกษตร เขาเลยเจาะไปที่อ้อย เพราะที่ อ.ศรีบุญเรืองปลูกอ้อยเยอะ เลยทำข้อมูลมาให้เห็นว่าสารเคมีที่ใช้เยอะที่สุดคือยาฆ่าหญ้า อันดับ 1 คือ พาราควอต และก็บอกปริมาณ บอกอะไร ข้อมูลที่เราเริ่มรณรงค์กับชาวบ้านก็เป็นสไลด์จากข้างนอก แล้วก็มีข้อมูลจากข้างใน ระหว่างนั้นก็มีการเจาะเลือดเกษตรกร โครงการ เกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย เขาจะเจาะเลือดเกษตรกรเพื่อดูยาฆ่าแมลง ก็จะพบว่าเสี่ยงกว่า 50%  ซึ่งตอนนั้นอาจารย์หมอปัตพงษ์ บอกว่ามันไม่ใช่ยาฆ่าหญ้านะมีแต่ยาฆ่าแมลง เราเคยไปเยี่ยม รพ.สต.กำนันคนหนึ่งเขาบอกว่า เขาเป็นคนรับจ้างฉีดยาฆ่าหญ้า แต่เขาไปเจาะเลือดแล้วเขาปลอดภัย เขาเลยนึกได้ว่าเคยคุยกับอาจารย์หมอปัตพงษ์ว่ามันไม่ใช่ยาฆ่าหญ้านะเป็นยาฆ่าแมลง เราจึงทำรณรงค์ว่าที่เราเจาะเลือดเจอไม่ใช่ยาฆ่าหญ้า แต่เป็นยาฆ่าแมลง จนมาปี 57 เราไปหาว่าที่ไหนสามารถตรวจยาฆ่าหญ้าได้ เพราะเรารู้ว่าคนเขาใช้เยอะ ทางด้านเกษตรกรที่งานสมัชชาสุขภาพก็มองว่ามันต้องลด ละเลิก พอดีว่ารู้จักกับคุณนิพัท ซึ่งเป็นเกษตรกรที่ปรึกษาของนายก อบจ. พอเรานำประเด็นของสมัชชาสารเคมีเกษตรที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ  แล้วแนวทางที่เราไปศึกษามาจากต่างประเทศนี่บอกว่า ต้องเกษตรอินทรีย์นะ ต้องลดการใช้จึงจะปลอดภัย เราก็ลงพื้นที่ไปให้ข้อมูลแบบนี้ไปตามที่ต่างๆ เพื่อหาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์ พอปี 58 พอเราจะขับเคลื่อนสมัชชาคุณนิพัทก็รวมเครือข่ายได้ 6 เครือข่าย ซึ่งดิฉันมีหน้าที่ไปให้ข้อมูลเรื่องผลกระทบ ในการทำงานเรายังมีอีกเครือข่ายชื่อ สกว.ท้องถิ่น ซึ่งเสนอว่า สมัชชาฯ ต้องมีการวิจัยในท้องถิ่นว่ามีการใช้ยาฆ่าหญ้าในพื้นที่ขนาดไหน แต่ในปี 57-58 ยังไม่ได้ทำประเด็นนั้น ทำเรื่องเกษตรอินทรีย์มาเรื่อยๆ ก่อนจาก 6 เครือข่ายเพิ่มมาเป็น 12 เครือข่าย ที่จังหวัดหนองบัวลำภู ท่านผู้ว่าจะย้ายบ่อย ผู้ว่ามาทีไรคณะกรรมการสมัชชาจะต้องไปให้ข้อมูล ผู้ว่าฯ สองท่านมองว่า ยังไม่ได้ข้อมูลที่ชัดเจน พอปี 60 เราก็ไปเจาะที่อำเภอสุวรรณคูหาให้ชาวบ้านเป็นนักวิจัยท้องถิ่น ว่าเขามีปํญหาอะไร มีที่บุญทันทำเรื่องแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างในแหล่งน้ำอุปโภคบริโภค ที่นาดีทำเรื่องธรรมนูญสุขภาพเพื่อแก้ปัญหาสารเคมี ที่กุดผึ้งทำเรื่องสารทดแทนยาฆ่าหญ้าในไร่อ้อย จนในปี 60 ที่มีการเริ่มแบนพาราควอต ดิฉันกับคุณนิพัทก็ได้รับเชิญไปที่กรุงเทพฯ โดยองค์กรไทยแพน ได้จัดแถลงข่าวที่จะแบนสารเคมี เพราะในเดือนเมษายน ปี 60 รมต.สาธารณสุขขอให้แบนสารเคมี เราก็ดีใจนะในน้ำมียา ในนามีอ้อย แผ่นดินหนองบัวลำภูอาบยาพิษ เดือนกันยายนช่วงนั้น ญาติของคุณนิพัทแกเป็นโรคเนื้อเน่าที่แขนพอดี แกเลยถ่ายรูปแล้วโพสต์ขึ้นไลน์ของเครือข่ายเกษตรอินทรย์ พอวันรุ่งขึ้นไปประชุมที่ไทยแพนเขาก็ถามว่า จังหวัดไหนจะแบนบ้าง เราก็เลยขึ้นไปแถลงข่าวกับเขา เราพูดเรื่องโรคเนื้อเน่าหรือ NF (Necrotizing fasciitis) คนก็ไม่เข้าใจ ภาษาวิชาการเรียกว่าโรคหนังเน่า ต่อมาก็เรียกว่าโรคเนื้อเน่า เราก็เล่าว่าโรคเนื้อเน่าเป็นอย่างไร คุณนิพัทก็โพสต์ภาพไป มันก็เป็นข่าวดังเพราะคนไม่รู้จัก นักข่าวก็มาทำข่าวที่ รพ.หนองบัวลำภู ประกอบกับช่วงนั้นท่านผู้ว่าคนที่แล้ว(ตอนนี้ย้ายไปอุตรดิตถ์) เราไปเล่าให้ท่านฟังพร้อมกับให้ข้อมูล ประโยคเด็ดซึ่งท่านผู้ว่าบอกมาทีหลังว่า ฟังแล้วกระตุกว่าต้องทำอะไรสักอย่าง คือนำเสนอท่านว่า “ในน้ำมียา ในนามีอ้อย แผ่นดินหนองบัวลำภูอาบยาพิษ” แล้วเราเอาเอกสารข้อเท็จจริงเสนอผู้ว่าฯ ท่านก็นำเสนอส่วนราชการ นี่คือก่อนจะเป็นข่าว พอเป็นข่าวนักข่าวมาทำข่าวเยอะ ท่านผู้ว่าไปเยี่ยมผู้ป่วย พอท่านถามก็จะพบว่า ผู้ป่วยจะมีแผลก่อนแล้วไปสัมผัสยา มีคนหนึ่งโดนปูหนีบแล้วไปล้างมือในที่นา จากนั้นเกิดอาการแขนบวมพอง จึงต้องลอกเนื้อที่แขน พอใครไปสัมภาษณ์ก็จะพบว่าที่บ้านผู้ป่วยมียาฆ่าหญ้าเยอะมาก พอได้ข้อมูลแบบนี้เลยคิดว่าเราต้องขยับต่อ ต้องทำงานต่อ พอหนองบัวลำภูบูมขึ้นมา ทางส่วนวิชาการก็มา แพทย์จากสำนักระบาดวิทยาก็ลงมา เขาก็ไม่รู้จักมาก่อนก็มาทำข้อมูลให้ เราบอกว่าเกิดจากยาฆ่าหญ้า เขาก็ไม่ฟันธง สงสัยว่ามันเกิดได้อย่างไร เนื้อเน่า NF เกิดจากเชื้อโรค แต่เขาก็บอกว่า รูปกราฟการติดเชื้อที่เป็นฟันปลาว่า ถ้าติดเชื้ออย่างเดียวรูปกราฟจะไม่เป็นฟันปลาแบบนี้ เขาต้องไปค้นหาให้ได้ว่าเกี่ยวข้องกับฤดูกาลอย่างไร ประกอบกับในปี 60 นี้ทางไทยแพนสามารถตรวจยาฆ่าหญ้าได้ นักวิจัยชุมชนที่เก็บข้อมูลมาจากหลายพื้นที่ ก็บอกว่าที่เขาเก็บมาเห็นชัดเจนว่ามีการใช้พาราควอตเยอะ เราก็อยากรู้ว่าใช้เยอะแล้วมีการตกค้างเยอะขนาดไหน เรามีหน้าที่ประสานก็ประสาน จนในที่สุดได้ทางมหาวิทยาลัยนเรศวรมา ตอนแรกทางนั้นจะไม่มาเพราะว่าไกล แล้วเคยทำที่น่านแล้วแต่ผู้ว่าฯ ไม่ยอมรับ แต่หลังจากเราโทรหา ดร.พวงรัตน์ ซึ่งตอนแรกไม่รู้จักหนองบัวลำภูมาก่อน ระหว่างนั้นเราก็สื่อสารกับผู้ว่าฯ ว่าแพทย์ระบาดวิทยาให้ทำวิจัยเพิ่มเติม ท่านบอกว่าเรื่องงบประมาณไม่ต้องเป็นห่วง อย่ากังวลเรื่องราคา ท่านบอกว่าจะหาเงินทำวิจัยให้ เลยคุยกับดร.พวงรัตน์ว่า ท่านผู้ว่าฯ เห็นด้วย ทางนักวิจัยจากนเรศวรเลยมาเก็บข้อมูลก่อนว่า สมเหตุสมผลไหมที่จะมาทำ หลังจากที่ดร.พวงรัตน์มาเก็บข้อมูลในเดือนธันวาคม คราวนี้ตกใจมาก เนื่องจากเห็นสภาพแวดล้อมแล้วน่ากลัวมาก เพราะที่ทำกินคือ ไร่อ้อยกับบ้านชาวบ้านนี่อยู่ติดกันเลย ซึ่งต่างจากที่น่าน ที่จะมีที่ทำกินอยู่ที่หนึ่ง บ้านอยู่ที่หนึ่ง เขาบอกว่าน่ากลัว เมื่อกลับไปวิเคราะห์ตัวอย่าง 2-3 วันแกรีบโทรกลับมาเลยว่า ที่นี่มีการตกค้างสูงมาก ในที่สุดต้องมีการจัดการ ทางจังหวัดต้องทำอย่างไร โดยการทำต้องไม่ให้ชาวบ้านตื่นตระหนกด้วย พอเดือนมกราคมก็ให้มีการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนเฉพาะหน้าก่อน เช่น ที่ระบบประปา แบ่งหน้าที่กันว่า อบจ.ต้องทำอะไร แล้วผู้ว่าก็เน้นว่า ระบบเกษตรอินทรีย์ต้องเป็นจริง จึงนำปัญหาสารเคมีนำเข้าเป็นวาระของจังหวัด ต่อมาเราก็มีการวางแผนการลดใช้สารเคมี โดยมี ม.นเรศวร(มน.) มาช่วยเก็บตัวอย่าง 500 ตัวอย่าง ได้ข้อมูลมาว่าตกค้างเยอะ จากนั้นเราก็ขอทุนจากสถาบันวิจัยแห่งชาติ มช.ว่าจะลดสารเคมี เขาเลยให้เข้าโครงการท้าทายไทย ในเรื่องของการลดการใช้สารเคมี ให้ทาง มน.ช่วยเขียนโครงการว่าจะฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมอย่างไร ได้ผลสรุปว่า ต้องลดการใช้สารเคมีประมาณ 40% ให้ได้ในปี 64 และจะพัฒนาเกษตรอินทรีย์อย่างไร การกรองสารพาราควอตในน้ำประปา โดยที่จังหวัดน่านใช้ถ่านกัมมัน ได้เชิญคนที่เผาถ่านกัมมันเป็นมาช่วย อันนี้เป็นการแก้ไขเองปัญหาสารเคมี ส่วนในเรื่องของเกษตรอินทรีย์มีการขับเคลื่อน เช่น รพ.สต.ไปเจาะเลือดเกษตรกรเจอตกค้างเยอะ ปลูกผักในพื้นที่สาธารณะ สนับสนุนเรื่องน้ำประปา สูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ทำโครงการหัวนาโมเดลให้ชาวบ้านมีพื้นที่ในการทำเกษตรอินทรีย์ มีบุญทันโมเดลที่แก้ปัญหาสารเคมี และกำลังจะประกาศยกระดับเป็นหนองบัวลำภูโมเดล ในเรื่องการแก้ไขปัญหาสารเคมี 3 ปี เพราะถ้าหนองบัวลำภูเป็นโมเดล(ต้นแบบ) ได้น่าจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของจังหวัดอื่นๆ ได้ เมื่อปี 57 เราเล่าเรื่องโรคเนื้อเน่าให้ นพ.วีรวัฒน์ พันธุ์ครุฑ ฟังท่านยังไม่รู้จัก แต่พอเมื่อปีที่ผ่านมาเจอท่านอีกครั้งท่านบอกว่าให้ไปช่วยที่ยโสธรด้วยที่นั่นเป็นเยอะ พอเราไปถามหลายๆ จังหวัด โรคนี้เป็นเยอะนะแต่คนยังไม่สนใจ   บทเรียนในการทำงานและสิ่งที่อยากเห็นในการแก้ปัญหา เวลาเราไปให้ข้อมูลชาวบ้าน เขาจะรู้สึกว่าเขาใช้มัน(ยาฆ่าหญ้า) จนเหมือนเป็นยาธรรมดา เหมือนเรากินยาพาราที่เราไปซื้อที่ไหนก็ได้ แล้ววันดีคืนดีพอเราไปบอกว่าพาราเป็นพิษ ชาวบ้านจะถามว่า ถ้ามันอันตรายทำไมนำเข้าล่ะ ชาวบ้านจะมองแบบนี้ จะมองว่ามันไม่อันตราย เราเลยคุยกับชาวบ้านว่าทำอย่างไรเราจะลด ละ เลิก ได้ก่อน เพราะ 50 ประเทศยกเลิกไปแล้ว เราไม่ใช่ประเทศแรกที่ยกเลิกแล้วทำไมเราจะยกเลิกไม่ได้ ชาวบ้านจะถามว่า สารทดแทนเขาจะใช้อะไร ในขณะเดียวกันหน่วยงานของกระทรวงเกษตรก็บอกว่าแล้วชาวบ้านจะใช้อะไรแทนพาราควอต มันยังจำเป็นอยู่ ตัวเราเองเป็นผู้บริโภคอยากให้เป็นเกษตรอินทรีย์ เพราะเวลาไปซื้อผัก เราไว้ใจไม่ได้เลย คือเราไม่มีความมั่นคงในชีวิตเลยนะ ความมั่นคงทางอาหารเราไม่มีเลย เราจะทำอย่างไร ชาวบ้านที่เจ็บป่วยจากสารเคมีเกษตร ยังไม่ค่อยรู้เรื่องสิทธินะคะ โดยเฉพาะเรื่องการฟ้องร้องเป็นเรื่องใหม่มาก เราก็อยากให้เขายกเลิกการใช้ เพราะเรารู้ว่ามันอันตราย ในส่วนของตัวเองก็จะพยายามทำงานวิจัยเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพมารองรับมันก็จะเป็นหลักฐานที่ชัดเจนขึ้น ส่วนเรื่องความเสียหายของผู้ที่ได้รับผลกระทบนี้เป็นความรู้ใหม่ของหมอว่ามันดูแลตรงนี้ได้นะ ต้องขอบคุณทีมมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ถึงตรงนี้ก็อยากฝากว่า เราทุกคนอยู่ในอันตรายทั้งนั้น เพราะว่าตอนนี้มันอยู่ในสิ่งแวดล้อมแล้ว ตอนนี้พืชผัก ผลไม้มันปนเปื้อนหมดเลย ที่ผ่านมาไทยแพนตรวจเจอแต่ยาฆ่าแมลงไม่เคยตรวจยาฆ่าหญ้า ปี 60 เจอยาฆ่าหญ้าเยอะมากเพราะมันแทรกซึมไปทุกที่ เพราะมันลงน้ำบาดาลแล้ว ฉะนั้นทุกคนต้องลุกขึ้นมาสนับสนุนด้วยการไม่ใช้และไม่นำเข้า ถ้าไม่ลุกขึ้นมา ถ้าไม่ห่วงตัวเอง คนไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร ลูกหลานของเราจะอยู่อย่างไร 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 212 จ่ายหนี้ไม่ถึงเจ้าหนี้

จ่ายหนี้ไม่ถึงเจ้าหนี้ทุกคนมีสิทธิฉบับนี้มีเรื่องมาเตือนภัย จากประสบการณ์ของคนกลุ่มหนึ่งที่กำลังเผชิญอยู่ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2561 คนขับสามล้อรับจ้างจำนวนกว่า 100 ราย (จากจำนวนผู้เสียหายประมาณ 300 ราย) เข้ามาร้องเรียนกับศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่ากู้เงินจากธนาคารออมสินโดยผ่านสหกรณ์จักรเพชร เพื่อซื้อรถสามล้อมาขับ แต่ปรากฎว่าเมื่อส่งรถไประยะเวลาหนึ่งกลับถูกฟ้องจากธนาคารออมสินว่า ไม่ได้ชำระเงินกู้ ที่มาของเรื่องคือ บรรดาคนขับสามล้อรับจ้างเหล่านี้  ต้องผ่านเงื่อนไข ดังนี้ คือต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์จักรเพชร ก่อนโดยจ่ายค่าสมัครสมาชิก 300 บาท จึงสามารถจองรถกับสหกรณ์ได้ จากนั้นต้องทำสัญญากู้ยืมเงินและได้รับรถ (ประมาณ 3 เดือน) โดยลักษณะวิธีการทำสัญญากู้ยืมเงินที่สหกรณ์ให้ทำ มีข้อสังเกต ดังนี้·       ให้เซ็นชื่ออย่างเดียว อ้างว่า มีผู้กู้รอทำสัญญาจำนวนมาก ·       ไม่มีการชี้แจงรายละเอียดในสัญญา·       ไม่มีการอธิบายเรื่องการค้ำประกัน·       ผู้กู้ไม่ทราบว่าตนเองต้องจ่ายเงินเดือนละเท่าไหร่ตามสัญญากู้ยืมเงิน ผู้กู้ทราบแต่เพียงว่า ต้องจ่ายเงินค่างวดตามใบสรุปรายจ่ายสินเชื่อ โดยสหกรณ์ให้ดูตารางระยะเวลากู้และจำนวนเงินค่างวดแต่ไม่ได้ให้ผู้กู้เก็บสัญญาไว้ คุณวันทอง ศรีจันทร์ และคุณเจริญ งามเด่น กลุ่มสามล้อรับจ้าง ชาวจังหวัดสุรินทร์ เป็นตัวแทนเล่าเรื่องราวให้เราฟังเพิ่มเติม คุณวันทอง เริ่มต้นว่า “ออมสินไม่จ่ายให้คนกู้ คือจ่ายให้สหกรณ์จักรเพชร สหกรณ์จักรเพชรเป็นคนรับเงินแทน อย่างของตัวผม มันก็คือราคารถจริงๆ ราคาไม่เกิน 200,000 บาท แต่สหกรณ์ฯ มาขายให้เรา เป็นราคารถ 295,000 บาท แล้วบวกค่าจดทะเบียน พ.ร.บ.อะไรอีก 50,000 มันก็ตก 345,000 บาท แต่ยอดกู้ของออมสิน 400,000 แล้วเงิน 400,000 นั้นไปไหน มันก็อยู่ในสหกรณ์ฯ ”  คุณวันทอง ศรีจันทร์ตอนนี้มีผู้เสียหายประมาณกี่คนก็ประมาณ 300 คน ตอนผมไปกู้ ออมสินจัดให้ 3 คน ต่างคนต่างค้ำกัน 3 คน เขาบอกว่าไม่ต้องอ่านหรอกสัญญา กู้ได้ตามความเป็นจริงของเรา ตามรถสามล้อเขาบอกแบบนี้ (ก็คือกู้ตามนั้น) ครับ กู้เขาก็ให้เซ็น คือก็ไม่มีใครรู้ว่ายอดหนี้เท่าไหร่ เซ็นไป ทีนี้เขาก็มาให้ไปรับรถ เขาก็มีหนังสือตอนรับรถ 345,000 คุณต้องจ่าย 78 งวด งวดละ 7,873 บาท ของสหกรณ์ทำขึ้นมา เขาให้ส่งไปตามนั้นแหละ ส่งไปส่งไป รถมันก็ซ่อม โทรคุยกับสหกรณ์ฯ ก็บอกว่าไม่เป็นไร พี่มี 2-3 พันก็มาให้ได้ เราก็ส่งไปตามนั้นรถต้องซ่อม มารู้อีกทียอดคือ 4 แสน ตอนหมายศาลมา (สัญญาเป็นอย่างไร) เซ็นสัญญาทีเดียว ตอนเซ็นสัญญากู้ออมสิน เขาทำเครื่องหมายไว้ว่าให้เซ็นตัวไหนๆ เขาติ๊กเลขหนึ่งเลขสองเลขสามบอกเซ็นตามนี้ มันอยู่ในปึกเดียวกัน ตอนกู้ทีแรก สัญญากู้ยืมไม่ได้ให้ไว้ คู่ฉบับไม่มีเลย แล้วยอดหนี้เขาก็ไม่แจ้งเรา หนี้ที่เรากู้ก็ไม่ทราบด้วยซ้ำกู้เท่าไหร่ เพิ่งมารู้ตอนหลัง ตอนที่มีหมายศาลมา มารู้ตอนไหน ผ่านไปกี่เดือนเกือบ 2 ปี รู้ตอนผ่อนไปแต่เงินไม่ได้เงินเข้าออมสิน เข้าสหกรณ์อย่างเดียว เราก็ผ่อนผ่านสหกรณ์ไป  แล้วเขาออกใบรับเงินอะไรให้เรามีใบเสร็จ คือเขาให้สมาชิกทุกคนส่งเงินผ่านสหกรณ์ฯ ตอนนี้สมาชิกบางคนคือถูกยึดรถไป แล้วก็ถูกออมสินยื่นฟ้อง มีสมาชิกบางคนไปคุยกับสหกรณ์ฯ อย่างกรณีรถผมถูกยึดไปจะให้ทำยังไง หนี้ผมออมสินจะให้ทำยังไง เขาก็บอกมาว่า คุณไม่ส่งงวดสหกรณ์ฯ สหกรณ์ยึดรถคุณ ออมสินคุณกู้ออมสิน คุณก็ส่งเองไม่เกี่ยวกับสหกรณ์ฯ เขาพูดบอกว่าแบบนี้ เรื่องมันก็เกิดมาร้องเรียนกันอย่างนี้ คุณเจริญ งามเด่น คนที่ถูกธนาคารฟ้องคือภรรยาที่เป็นคนทำสัญญากู้แทนของผมแฟนไปทำสัญญาให้ บางคนก็ญาติบางคนก็ไม่ใช่ญาติ แค่ละเคสไม่เหมือนกัน อยู่ที่ว่าบูโร(เครดิตบูโร) ไม่ผ่านแล้วไปเอาที่คนใกล้ชิดมาเป็นคนกู้ให้ ที่ช้ำใจที่สุด คือไปกู้ออมสินเสร็จแล้วไม่ได้ดูเอกสารอะไรเซ็นอย่างเดียว แล้วยอดเราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ายอดกู้เท่าไหร่ แล้วกู้มาสหกรณ์เป็นคนรับเงิน พอไป ที่สำคัญคือติดไปทำสัญญาซ้ำกับสหกรณ์อีก โดนจบไปประมาณ 7 แสน แต่เขาเก็บผมไป 7 แสน  รายละเอียดเป็นอย่างไรคือซื้อรถ แฟนไปกู้ออมสินใช่ไหม กู้ออมสินมาในราคาประมาณ 4 แสน กู้ออมสิน 4 แสน เงินก็ไม่ได้รับ(เพราะออมสินให้สหกรณ์) แถมสหกรณ์ออกใบสัญญากู้อีกฉบับหนึ่งให้เรา ว่าแฟนไปกู้สหกรณ์อีก 3 แสน โดยที่แฟนไม่รู้เรื่องเลย ไปครั้งเดียวคือไปทำสัญญาที่ออมสิน แต่ในส่วนของสหกรณ์ไม่รู้เลยว่าเขาทำให้ตอนไหน   คือตอนนั้นผมกับแฟนยังไม่ได้แต่งงานกันยังไม่ได้อยู่ด้วยกัน คล้ายๆ ว่าอยู่คนละบ้านเลขที่ ผมช้ำใจตรงที่เราเป็นสาเหตุที่ทำให้เขาเป็นหนี้ ปัญหาคือเป็นปัญหาครอบครัวด้วย ไม่ใช่เป็นปัญหาเฉพาะ คือคล้ายๆ ว่าพูดเรื่องนี้ทีไรเขาก็ว่าผมเป็นคนหลอกลวงเขา ไปติดหนี้ แล้วสมาชิกทุกคนส่วนมากจะเป็นอย่างนี้ด้วย เป็นอย่างนี้แล้วทำให้ครอบครัวสามล้อแทนจะเป็นครอบครัวอบอุ่นกลับกลายเป็นครอบครัวที่แตกแยกกันแล้วยอดกู้บางคนนะ เราส่งไป 2 แสน หรือ 3 แสน เงินก็เข้าแค่ 2 - 3 หมื่นเองที่เข้าออมสินจริงๆ สมาชิกส่งผ่านสหกรณ์ไป จำนวนที่เข้าสหกรณ์จริงๆ ไม่เข้าตามที่ส่ง โทรศัพท์ไปถามประธานสหกรณ์ฯ เขาบอกว่า ที่แฟนคุณเป็นหนี้คือ คุณไปกู้ออมสินแล้วก็คุณเอาเงินมาออม(ฝาก)ที่สหกรณ์ แล้วในเมื่อคุณอยากได้สามล้อ แฟนคุณก็กู้เงินสหกรณ์มาซื้อสามล้อจึงเป็นหนี้สองทาง จริงๆ เงินที่เรากู้มาก็เป็นเงินของเราใช่ไหม แล้วสหกรณ์ไปเอารถมาก็ทำให้เรากู้อีกนี่นะ ปัญหาคืออยากได้รถก็กู้เงินเราเอง ไม่ควรเป็นกู้สหกรณ์  อย่างของพี่นี่ซ้ำซ้อนอย่างนี้มีสักกี่คน หมดเลยครับ ทุกคน  รวมทั้งหมดประมาณ 300 ราย โดยประมาณ (ยอดรวมทั้งหมดก็หลายล้าน) ครับ ความเสียหาย แล้วมารวมตัวกันยังไงทีแรกก็รวมกันได้ 5-6 คนนี่แหละ ก็ไปยื่นเรื่องที่สำนักนายกรัฐมนตรี ทางสำนักงานนายกฯ เขาก็ส่งเรื่องไปกระทรวงยุติธรรม ก็พากันไปยื่นเรื่องตรงกระทรวงยุติธรรมก็ประมาณ 10 คน หลังจากนั้นมาตัวผมก็กลับบ้านไป ทีนี้แฟนผมก็บอกว่าโทรปรึกษากับคุณนายท่านผู้ว่า ท่านก็แนะนำมาให้ไปร้องเรียนที่ศูนย์ดำรงธรรมก่อน ศูนย์ดำรงธรรมก็ให้ไปสำนักงานยุติธรรมของจังหวัด สำนักงานยุติธรรมจังหวัด ก็บอกว่า นี่มันเป็นคดีแพ่งของออมสิน เอกสารเขาครบทุกอย่าง คล้ายๆ ว่า คือช่วยอะไรไม่ได้ เอกสารกู้ยืมทางออมสินครบพร้อมหมด คุณมีทางเดียวก็คือไปมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เขาแนะนำมา ก็เลยได้มาตรงนี้ เมื่อก่อนไม่รู้จักด้วยซ้ำ ผมก็ถามเขาว่ามูลนิธิอยู่ตรงไหน อยู่แถวอนุสาวรีย์ฯ ที่อยู่ก็ไม่มี หาเอายังไง หาเอาในเน็ตเขาบอก ทีนี้ผมก็มา ก็ไปเนติก่อนไปยื่นขอทนาย ทนายก็บอกนู้นแนะ สขพบ. เจ้าหน้าที่เขาเยอะ เลือกให้ดีเขาช่วยได้ ทีนี้ผมก็นึกถึงมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ผมก็เลยให้ลูกสาวค้นหาที่อยู่ในเน็ตให้ พอค้นได้ผมก็โทรมาก่อน มานั่งเล่าเหตุการณ์ให้เจ้าหน้าที่ฟัง ก็นัดหมายมาคุย ผมมากันสองคน  มากันสองคนครับ เจ้าหน้าที่ก็รับเรื่องไว้ ให้ผมไปชวนสมาชิกสหกรณ์มา แรกๆ สมาชิกชวนยากด้วย ไม่อยากมา บางคนเขาว่า เขาส่งดีแล้วเขาไม่จำเป็นต้องอาศัยคนช่วย ยังไงเขาก็ส่งเป๊ะๆ อยู่แล้ว แต่พอไม่ใช่แล้วมันก็มีหมายศาลไปเรื่อยๆ นี่แหละคนถึงมาร่วมฟ้องกันเยอะๆ เพราะว่าทุกคนโดนหมายศาลจึงต้องมาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิฯ ตอนนั้นทางมูลนิธิบอกว่า จะขอเลื่อนจากสุรินทร์เข้ากรุงเทพฯ ย้ายคดีจากศาลสุรินทร์มาอยู่กรุงเทพฯ  ทำไมต้องให้ย้ายมาที่กรุงเทพฯเพื่อความสะดวก ไม่ต้องลำบากไปต่างจังหวัด เพราะคนเสียหายมันเยอะ ทางมูลนิธิฯ ให้ย้ายมาที่กรุงเทพฯ เพราะว่าเรากู้ที่กรุงเทพฯ ย้ายคดีมาอยู่กรุงเทพฯ จะดีกว่า ซึ่งจะขอส่วนนี้ได้ ช่วยแบบทันเหตุการณ์ไม่ต้องลำบากไปต่างจังหวัด ต้องเตรียมเอกสารหลักฐานอย่างไรเอกสารหลักฐานมีหลายอย่างเตรียมมาเอาเท่าที่เรามี ทางมูลนิธิฯ ว่าจะเจรจาให้ออมสินยกฟ้อง ภายใน 7 วัน ถ้าไม่ยกฟ้องภายใน 7 วัน ก็จะให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ไปตรวจสอบสหกรณ์จักรเพชรในส่วนของการเงินออมกับการทำสัญญากู้ ภายในเดือนหนึ่ง ในส่วนสหกรณ์ฯ  ก็ให้ทางสหกรณ์ส่งคู่มือเล่มที่เป็นสิทธิของผู้กู้ให้สมาชิก เท่าที่ทราบก็ยังไม่ตอบรับว่าจะให้หรือไม่ให้ทางมูลนิธิ แต่ใบเสร็จของที่เราได้จากสหกรณ์เราเก็บไว้หมดใบเสร็จจ่ายเงินเก็บไว้ พวกต่างจังหวัดบางคนขับตุ๊กๆ ก็รู้เลยรายได้ไม่ค่อยดีเนอะ และขึ้นอยู่บึงกาฬ ก็ไม่รู้ว่าหมายศาลไปตอนไหน บางคนไม่รู้ ชาวบ้านไปติดต่อไม่ได้ ก็โดนปิดคดี ก็โดนฟ้องไปโดยที่ตัวเองไม่รู้ หลายเจ้า บางคนไปตอนทางบ้านโทรมาบอกตอนเข้าไปติดอันนั้นแล้ว มีอยู่ 2 คนถูกบังคับคดีไปแล้ว เขาไปติดหมายศาลหน้าบ้าน แต่ยังไม่ได้ยึดอะไรไป รถเขาโดนสหกรณ์ยึดไปแล้ว ความจริงสหกรณ์ฯ ในเอกสารออมสินนะ  สหกรณ์ฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการกู้ คล้ายๆ เป็นผู้พาไปเฉยๆ ติดต่อไปเฉยๆ  สหกรณ์ไม่เกี่ยวไม่ได้เกี่ยวอะไรเลยกับเอกสารการกู้ยืมของสมาชิก ไม่รู้เขาคิดได้ไงเขาเอาเงินไปออมไว้ที่สหกรณ์ฯ  พูดง่ายๆ เขาวางแผนล่วงหน้าในการที่จะทำเรื่องแบบนี้ขึ้นมา เพราะมันมีทางเรือ เรือเขาก็เคยสอบถามผมก็แจ้งมาที่นี่ และที่สำคัญเมื่อกี้ก็มี ผู้บริหารของสาย 29 กับ 39 ก็โดนเหมือนกัน โดนเคสเดียวกันนี่แหละ โดนสหกรณ์ฯ นี้แหละ โดนคดีแบบนี้ โดนแบบเดียวกันกับออมสิน โดยมีสหกรณ์ฯ เป็นคนพาไปกู้เหมือนกัน อยากบอกคนอื่นๆ ที่เขามีปัญหาเหมือนกันให้เขาทำยังไงต่อได้บ้าง อยากให้คนที่มีปัญหาแบบนี้ออกมาเพื่อที่จะร้องเรียนให้มูลนิธิหรือสื่อได้รับรู้ และจะได้ช่วยกัน บางทีเราไปหาหน่วยงานรัฐ ปฏิเสธเลย บอกว่า กับออมสินเอกสารเขาแน่นมาก ไม่สามารถที่จะสู้กับเขาได้ ของออมสินนะ แม้แต่พยานบุคคลยังใช้ไม่ได้ คืออยากให้ออกมาแล้วพากันช่วยกันส่งเสียง ให้สื่อรับรู้เพื่อที่จะสื่อสารไปหาหน่วยงานที่รับผิดชอบของแต่ละพื้นที่ ช่วยแบ่งเบาภาระ เพราะคนส่วนมากจะเป็นผู้มีรายได้น้อย ใช่ไหม รัฐเขารู้แล้วเขาก็คำนวณต่อเดือนเท่าไหร่ๆ จะมีฝ่ายสวัสดิการมาใช่ไหม แล้วคนมีรายได้น้อยจะมีปัญญาอะไรไปกู้ออมสินตกไปคนละ 7 - 8 แสน นี่แหละ คืออยากให้ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่ออะไรต่างๆ ที่ออมสินปล่อยไป แล้วถ้าคุณไม่ได้รับความเป็นธรรม ออกมาส่งเสียง ไม่ใช่ไปทนทุกข์ทรมานทำให้ครอบครัวแตกแยก อันนี้เรื่องจริงนะ บางคนต้องหย่าร้างกันเพราะโครงการฯ อันนี้สำหรับผม ตอนนี้ดีใจ เห็นผู้ที่เดือดร้อนมาแสดงตัว ดูจากสีหน้าของเขาคล้ายๆ ว่า เรียกว่า ปลาได้น้ำมา จากคนที่เศร้า คือมาเป็นผัวเมียเนอะ มาถึงพอได้ยินมูลนิธิฯ พูดก็สดชื่นทั้งผัวทั้งเมียเลย ตอนนั่งรถมาสังเกตดูเมียหน้าบูดหน้าบี้เลยนะ ผัวก็ขับรถ โดยที่ผัวอยากให้เมียมาฟังด้วย พอมีความหวัง เขาก็ดีใจ เออออกันกลับไป เห็นหน้าเขา เราก็ภูมิใจแทนเขา วันนี้คือเห็นจริงๆ ได้เห็นสีหน้าของครอบครัวหนึ่งมีความสุขก็ถือซะว่าแกนนำบางคนก็ดีใจ ได้เท่านี้เขาก็ดีใจที่เห็นคนที่ผ่านมามีความสุข หมายเหตุ เรื่องราวอยู่ระหว่างเจรจา ผลสรุปจะเป็นอย่างไร ทางฉลาดซื้อจะนำเสนอความคืบหน้าแน่นอน 

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 211 ร่าง พ.ร.บ.ยา ที่ขัดหลักสากล

ในโอกาส 40 ปี แห่งการก่อตั้งกลุ่มศึกษาปัญหายา(กศย.) ฉลาดซื้อได้สัมภาษณ์ รศ.ดร.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์  หรืออาจารย์จิ ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา(กศย.) คนที่ 3 และรองประธานมูลนิธิเภสัชศาสตร์เพื่อสังคม ซึ่งครั้งหนึ่งเมื่อเกือบ 40 ปีก่อน เคยถูกเรียกว่า “อาจารย์นอกคอก” อาจารย์จิเป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง กศย. กลุ่มงานเล็กๆ ที่ร่วมปฏิบัติการทางสังคมในประเด็นปัญหายามาอย่างยาวนาน  ถึงมุมมองของท่าน ต่อร่าง พ.ร.บ.ยา ว่า เรื่องนี้จะมีผลกระทบกับผู้บริโภคอย่างไรบ้าง   ปัญหาของร่าง พ.ร.บ. ยาขณะนี้คือ “ คือประเด็นของร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับนี้นั้น จริงๆ มันไม่ได้เพิ่งเกิด ก็มีความพยายามมานานมาก เพราะว่าเป็น พ.ร.บ. ที่เก่ามาก ตั้งแต่ปี 2510 จนกระทั่งมาปี 2557 ในปีนั้นได้มีการพูดคุยเวทีมากมายในการที่จะพยายามสรุปประเด็นที่ภาคส่วนต่างๆ นั้นยอมรับได้ระดับหนึ่งของ พ.ร.บ. ยา  ต้องเข้าใจว่า พ.ร.บ.ยา นั้นเป็นเหมือนเครื่องมือในการควบคุมดูแล ไม่ว่าจะผลิตยา ขายยา นำเข้า และการใช้งาน เพราะฉะนั้นตรงนั้น ผู้บริโภคเองก็มีส่วน ผู้ประกอบวิชาชีพสาขาต่างๆ ก็อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ผู้ประกอบวิชาชีพหลักของการดูแลตาม พ.ร.บ.นี้นั้นก็คือวิชาชีพเภสัชกรรม พอหลังจากปี 57 ได้ข้อสรุปในส่วนที่เห็นพ้องต้องกันแล้วว่า มีผลดีต่อการที่จะทำให้ผู้บริโภคนั้นจะได้รับยาอย่างปลอดภัยและมีการใช้อย่างปลอดภัยก็คือ ในเรื่องการของ กระบวนการขึ้นทะเบียนยา เราก็บอกว่า อย่างน้อยๆ เรามีปัญหาในการเข้าถึง เพราะราคามันแพงมาก เพราะฉะนั้นน่าที่จะใช้กลไกในเรื่องของมีการควบคุมราคาตั้งแต่ตอนที่เขาจะมาขายในประเทศเรา ก็คือมาขึ้นทะเบียน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของการเสนอโครงสร้างราคา หรือในรูปของการที่ต้องต่อรองราคาให้มันเหมาะสม ว่าคุณจะเริ่มมาขายในประเทศนี้นั้น คุณจะขายในราคาเท่าไหร่ เพราะฉะนั้นตรงนั้นก็จะเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยให้เกิดการเข้าถึง ส่วนในกลไกในเรื่องของ ความปลอดภัยและความมั่นคงทางยา นั้นก็คือว่า เราจะเห็นเลยว่า ถ้าในเรื่องของราคาที่เมื่อกี้พูดถึงนั้น ถ้าสมมติปัจจุบันนี้ยามันมีสิทธิบัตร เขาจะตั้งราคาแพงมาก เพราะว่ามันไม่มีตัวเปรียบเทียบ มีการผูกขาดเจ้าเดียว เราถึงเรียกร้องว่า ต้องมีโครงสร้างราคาหรือมีกลไกการต่อรองเพื่อให้มันเหมาะสม เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ และก็ต่อมานั้นเราจะเห็นชัดว่าถ้าอย่างนี้ เราต้องพึ่งยานำเข้าอยู่ตลอดนี่มันก็จะเป็นปัญหาความมั่นคงของระบบยาในประเทศ เพราะฉะนั้นการที่ต้องทำให้อุตสาหกรรมในประเทศนั้นพึงตนเองได้ และสามารถที่จะพัฒนาในเรื่องของอุตสาหกรรมยาได้เพื่อสามารถที่จะผลิตยาชื่อสามัญออกมาในเวลาที่เหมาะสมหลังจากยาหมดอายุสิทธิบัตร ถูกไหม เพราะฉะนั้นเขา(บริษัทยาในประเทศ) ต้องมีการเตรียมตัวไง เพราะว่าในการทำยาชื่อสามัญนั้นไม่ได้หมายความว่าพอหมดสิทธิบัตรปั๊บ รู้ว่าหมดปั๊บจะเอามาขายได้เลย เพราะมันต้องมีกระบวนการในการวิจัยพัฒนา มีกระบวนการในการมาขึ้นทะเบียนยา ถ้าเขารู้ข้อมูลว่า ยาแต่ละตัวที่มาขายในประเทศไทยนั้น มีสิทธิบัตรหรือเปล่า ในประเทศไทย สิทธิบัตรนั้นมันจะหมดอายุเมื่อไหร่ คือว่าเราต้องการที่จะให้มีการแจ้งบอกข้อมูลสถานะสิทธิบัตรของยา เพราะยาบางตัวอาจมีสิทธิบัตรหลายใบ สิทธิบัตรแต่ละใบมันมีเวลาไม่เท่ากันเวลาที่มันไม่เท่ากัน คือเวลาที่มันต่างกัน เพราะเวลาที่มาขอในช่วงต่างกัน แม้ว่าเป็น 20 ปีนับจากวันยื่นคำขอ นึกออกไหม แต่ถามว่าข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลจำเป็นไหม ลองคิดดูสมมติว่าตามหลักการทั่วไปก็คือเวลาที่เขามาจดสิทธิบัตรที่กระทรวงพาณิชย์มันต้องมีข้อมูลฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศ แต่ข้อมูลฐานข้อมูลสิทธิบัตรในประเทศไทยนั้นมันบกพร่องมาก มันไม่สามารถที่จะค้นได้ มันไม่ได้สามารถหาได้ เพราะฉะนั้นมีหลายๆ ประเทศเลย เขามีกลไกที่ชัดเจนของกระบวนการในการขึ้นทะเบียนยาว่า คุณต้องให้ข้อมูลสิทธิบัตรนี้ ถ้าคุณให้ข้อมูลนี้มันก็เป็นโอกาสของอุตสาหกรรมด้วย เพราะอุตสาหกรรมนั้นเขาก็สามารถที่จะรู้ว่า มียาตัวนี้นะ มันจะหมดสิทธิบัตรในอีก 5 ปีข้างหน้า เพราะฉะนั้นเขาก็ต้องเริ่มวิจัยแล้ว พอวิจัยเสร็จเขาก็ต้องเริ่มกระบวนการที่จะไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยา เพราะฉะนั้นพอยาหมดสิทธิบัตรปั๊บเขาก็ออกตลาดได้ในเวลาที่ไม่ช้า พอมียาชื่อสามัญออกราคามันก็ไม่ผูกขาดแล้ว มันก็มีการลดราคากัน และถ้ามีการแข่งขันกัน กลไกตลาดมันก็จะได้ทำงาน ในที่ประชุมตอนปี 57 นั้น เขาตกลงกันชัดเจนว่าต้องแจ้งข้อมูลสิทธิบัตร สิทธิบัตรต้องมีข้อมูลเรื่องโครงสร้างราคายา แต่ปรากฏว่าฉบับร่างปัจจุบัน ที่เขาเอามารับฟังความเห็นล่าสุดเลย ที่ขึ้นในเว็บไซต์ของ law moment ซึ่งเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐทั้งหลายที่จะเสนอกฎหมาย ปรากฏว่าเราไม่เห็นเรื่องโครงสร้างราคา เรื่องนี้ถูกเอาออก ทำไมถึงเอาออกไป ที่เคยตกลงตอนปี 57 พอมีเปลี่ยนรัฐบาล มันมีเรื่องการเมือง กฎหมายมันก็เลยยังไม่ได้นำเสนอข้อนั้น ข้อดีๆ ข้อหนึ่งที่ผู้บริโภคควรได้กลับไม่ได้เสียแล้ว มันหายไป ประเด็นที่สองก็คือว่า ตอนนั้นตกลงกันว่าอายุทะเบียนยานั้นจะเป็น 5 ปี เพราะว่าของเดิมนั้นมันไม่มีอายุ มันไม่มีอายุมันแย่มาก ถูกไหม เพราะว่ายาที่ไม่ดี ยาเก่า ยาที่มันมีผลข้างเคียงเยอะแยะมันก็ไม่ออกจากตลาดสักที การที่มันไม่ออกจากตลาดนั้นเป็นเพราะเราไม่มีกลไก หรือว่ากลไกเรานี้มันทำงานไม่ดี กลไกที่ว่ามันคือ กลไกการทบทวนตำรับยากับในเรื่องของอายุทะเบียน คือสองอันนี้เชื่อมโยงกัน คือถ้ามันมีอายุทะเบียนตำรับยามันก็จะทำให้เกิดการทบทวนทะเบียนตำรับ และถ้าเขียนให้ชัดว่าต้องมีกระบวนการในการทบทวนทะเบียนตำรับ มันก็เป็นการบังคับให้การมีอายุหรือใกล้หมดอายุนั้น ก่อนให้ใบอนุญาตใหม่ต้องทบทวน ไม่ใช่ให้โดยอัตโนมัติ เพราะว่าถ้าเราไม่มีกลไกการทบทวน พอถึงหมดอายุ 5 ปี มาเสียเงินต่อละ มันก็ต่อได้ เพราะฉะนั้นตรงนั้นไม่เห็น มันหายไป ไม่เห็นชัดเจน และที่เคยคุยกันแค่ 5 ปีพอ มาเป็น 7 ปี ขยายเป็น 7 ปี ซึ่งอาจจะอ้างว่า เป็นเพราะอาจทำให้เกิดภาระงานหรืออะไร ซึ่งอันนี้ก็ไม่ได้เป็นประเด็นที่เป็นหลัก 5 หรือ 7 ปี ก็ขอให้มีทบทวนก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย อันนี้คือประเด็นที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคที่ชัดเจน  ผลกระทบกับผู้บริโภคที่มีแน่ๆ คือเรื่องการโฆษณายาใช่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่คิดว่ากระทบมากต่อผู้บริโภค คือ เราจะเห็นว่าตอนนี้ ผู้บริโภคถูกหลอกจากการโฆษณาการส่งเสริมการขายยานี่เยอะมาก แม้ว่ายาเองจะบอกว่า ยาเองมันมีประเภทของมัน ถ้าเป็นยาอันตราย ยาควบคุมพิเศษจะโฆษณาไม่ได้ แต่เราก็เห็นเขาทำกัน มีทั้งการเลี่ยง การส่งเสริมการขายด้วยวิธีการต่างๆ ปรากฏว่าในร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้ก็เขียนว่าต่อไปการโฆษณา ซึ่งเดิม ต้องยอมรับว่าของเดิมมันดีอยู่แล้ว ที่ว่าการโฆษณานั้นต้องมาขออนุญาต กฎหมายใหม่เขาก็เปิดช่องว่า ขออนุญาตก็ได้หรือจดแจ้งก็ได้ จดแจ้งหมายถึงว่าไม่ต้องขออนุญาต คุณเพียงบอกว่า คุณจะโฆษณาข้อความแบบนี้แล้วคุณก็ไปโฆษณาได้เลย แล้วเขาค่อยไปตามหาจับ ถ้าสมมติว่าผิด กว่าจะจัดการปัญหาการโฆษณาได้ โอ้ย..ชาวบ้านติดไปตั้งเยอะแล้ว มันฝังในความคิดผู้บริโภคไปแล้ว เพราะฉะนั้นมันไม่มีประโยชน์ มันทำให้กระบวนการที่ดูแลตรงนี้มันลดลง เพราะฉะนั้นนี่คือหัวใจหลักๆ เลย 3-4 ข้อที่มันมีผลต่อผู้บริโภคมาก อย่างอื่นๆ นั้น ก็คือในเรื่องของหลักการทั่วไป ในเรื่องของยานั้น ยามันไม่ใช่สินค้าทั่วไป ยานั้นมันเกิดจากการที่หมอต้องสั่งจ่ายยาให้เรา แต่ว่าถ้าเราไม่มีกลไกในการถ่วงดุล หมออาจจะสั่งยาที่อาจจะมีผลเนื่องมาจากการส่งเสริมการขาย อาจจะมีผลเนื่องมาจากอะไรไม่รู้ ก็สั่งยาโดยที่ว่ามันอาจจะมีปัญหา ไม่ว่าเรื่องของราคาแพง หรือมันอาจจะเกิดปัญหาในเรื่องของยาตีกัน หรือปัญหาที่คนไข้อาจจะแพ้แล้วไม่ได้บอกหรืออะไรก็ตามเหล่านี้ เพราะฉะนั้นโดยหลักสากลเลยเขาถึงมีวิชาชีพเภสัชกรรมขึ้นมา มีเภสัชที่คอยดูแลเพราะมันคือการทำงานในการถ่วงดุลกัน คนหนึ่งเขียนใบสั่ง อีกคนหนึ่งนั้นเมื่อรับใบสั่งมาก็เป็นคนจ่ายจัดยารับผิดชอบในเรื่องยา เพราะฉะนั้น คนจ่ายก็ต้องดูว่าคนไข้เคยได้รับยาอะไรมาแล้วบ้าง ถ้าได้ยานี้นั้นจะมีปัญหายาตีกันไหม หรือมีปัญหากับอาหารการกินจะได้แนะนำคนไข้ได้ ถูกไหมคะ เพราะหมอเขามีความชำนาญในของเรื่องการวินิจฉัยการรักษา เภสัชนั้นชำนาญในเรื่องของยา และเราจะเห็นเลยว่าเดี๋ยวนี้เทคโนโลยีมันเร็วมาก ยาก็ออกมาใหม่ๆ เร็วมาก เพราะฉะนั้นแค่ตามเรื่องยาก็จะไม่ทันเทคโนโลยีแล้ว ให้หมอตามทำทุกอย่างเบ็ดเสร็จในตัวเองนั้นมันก็จะมีปัญหาได้ เพราะฉะนั้น พ.ร.บ.ยาในทุกประเทศนั้น เขาก็จะมีหลักการที่ชัดเจนของการแยกอำนาจในการดูแลว่าคนที่สั่งนั้นก็จะไม่จ่าย นึกออกไหม คนที่สั่งจะไม่จ่าย มันชัดเจน ประเด็นของร่าง พ.ร.บ.ยาฉบับนี้ หลักการเรื่องถ่วงดุลนี้ไม่เห็น ไม่เห็นเพราะอะไร เพราะเขาแบ่งยาเป็น 4 ประเภท ประเภทแรกนั้นก็คือยาควบคุมพิเศษ คือยาควบคุมใบสั่ง เป็นยาที่มันอาจจะมีผลอย่างที่เมื่อกี้อาจารย์เล่า ยาตีกันบ้าง ยาที่มันอาจจะเพิ่งใช้ใหม่ๆ มันยังไม่มีข้อมูลมากพอ มันจำเป็นต้องควบคุมการใช้อย่างเคร่งครัด อันนี้ก็คือยาที่หมอสั่งแล้วก็ให้เภสัชนั้นจ่ายตามใบสั่งยา ประเภทที่สองคือยาอันตราย ยาอันตรายนั้น คือยาที่มันไม่ได้อันตรายเท่ายาควบคุมพิเศษ เป็นยาที่ใช้มานานพอควรระดับหนึ่ง มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็ให้เภสัชจ่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องมีใบสั่งแพทย์ กับประเภทที่สามคือ ยาสามัญ เป็นยาทั่วไปที่มันใช้มานานค่อนข้างปลอดภัยแล้ว ชาวบ้านก็ซื้อใช้เองได้ รู้พอควร และก็มีขนาดของรูปแบบของยาที่ชัดเจน เช่น พาราเซตามอลก็เป็นแพ็คแค่ 10 เม็ด ไม่ใช่ให้ขายทั้งขวด ถ้าทั้งขวดก็ต้องเป็นยาอันตราย ถูกไหมคะ เพราะไม่งั้นคนไข้ก็เอาไปกรอกทีละ 50 เม็ด มันก็เป็นอันตราย คือยาทุกตัวก็เป็นยาอันตราย แต่ว่ารูปแบบของการที่จะทำให้เป็นยาสามัญที่คนไข้เข้าถึงได้โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งบุคลากรสาธารณสุขนั้น มันมีวิธีการจัดการได้ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของแพ็คจะเป็นยังไง(เพื่อป้องกันไม่ให้ใช้เกินขนาด) หรือว่าคำแนะนำเหล่านี้มันก็จะประกอบอยู่ในกลุ่มของยาสามัญ แต่ใน ร่าง พ.ร.บ. ยาฉบับนี้มียาประเภทที่สี่ คือ ยาที่ไม่ใช่ยาควบคุมพิเศษ ไม่ใช่ยาอันตราย แต่ไม่รู้ยาอะไร ซึ่งประเภทนี้ไปเปิดให้บุคลากรอื่นๆ สามารถจ่ายยาได้ แปลว่าอะไร จะให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เยอะอีกหนึ่งกลุ่ม เพื่อให้บุคลากรอีกเยอะแยะเลย ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการแพทย์อีกตั้งหลายสาขาเยอะแยะ พยาบาลก็มีเยอะแยะในการจ่าย ซึ่งมันก็จะไม่ถูกมันไม่ได้ใช้หลักการของการที่จะดูแลความปลอดภัยของผู้ใช้ยาให้มีการถ่วงดุลของอำนาจในการที่จะทำให้ผู้บริโภคปลอดภัย ไม่มี เพราะฉะนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมกลุ่มเภสัชทั้งหลายรวมทั้งสถาบันการศึกษาทั้งหลายถึงจะออกมาคัดค้าน แล้วถ้าจำเป็น คือหลายคนก็บอกว่าบ้านเรานี่แบ่งให้มันชัดแบบนี้ หมอนี่จ่ายยานั้นไม่ได้ จะไปหาเภสัชอยู่ในคลินิกได้ทุกคลินิกหรือเปล่า จะอะไรหรือเปล่า อันนี้มันเป็นข้อยกเว้นว่า โอเค สถานการณ์ในบางสถานการณ์นั้นในบริบทของยาบางประเภท ถ้ายังไม่พร้อมคุณก็มาเขียนระบุไปสิว่าให้มีการยกเว้น แต่หลักนี้มันต้องยึดหลักไว้ก่อนแล้วมายกเว้น การยกเว้นต้องมีเงื่อนไข นึกออกไหม ยกเว้นให้หมอจ่ายยานั้น หรือให้จ่ายยาได้ในกรณี... ไม่ใช่เฉพาะสั่งเท่านั้น เช่น จ่ายยาได้ในกรณีที่ถ้าพื้นที่นั้นไม่มีร้านขายในอาณาเขตสักกี่กิโลก็ว่าไป อะไรก็ว่าไป มันก็จะเป็นข้อยกเว้น ถ้าสมมุติเงื่อนไขนั้นมันหมดไปมันเข้าสู่ระบบ โอเค มันก็มีใบสั่งไปที่ร้านยา ไม่งั้นใบสั่งมันก็ไม่ไป ฉะนั้นต้องมีใบสั่ง ต้องให้เภสัชอยู่ประจำ แล้วคุณไม่มีใบสั่งไป คือไม่รู้ว่าอะไรแก้ปัญหาอะไร เพราะว่าหลักของมันไม่ชัดเจนเท่านั้นแหละ อันนี้คือประเด็น  ดูเหมือนมีปัญหาพัวพันกันไปเรื่อยๆ ใช่ มันก็พัวพันกันไปเรื่อยๆ เพราะมันไม่มีใบสั่งยา ยาขายง่าย ใช้คล่อง ก็อย่างนี้แหละ เพราะว่ามันไม่ยึดหลักไง ถ้ายึดหลักแล้วค่อยๆ แก้ปัญหาของการขาดแคลน พอแก้ปัญหา โอเค พื้นที่นี้ไม่มีร้านยาเพราะมันอยู่ไกลกันมาก ร้านยายังไม่ไปเปิดหรอก โอเคก็เป็นข้อยกเว้นไป ในคลินิกเอกชนคุณจะไม่มีเภสัชไปอยู่ หรือจ่ายโดยหมอคนเดียวก็โอเครับสภาพไป แต่ถ้ามันมีร้านยาคุณจะมาขายเองสั่งเองอย่างนี้ทำไม แล้วก็ไม่รู้ว่าจะไปชาร์ตค่ายาแพงมากขึ้นไปอีกไหม เหมือนโรงพยาบาลเอกชนทั้งหลาย มันไม่รู้เลยว่าเป็นค่ารักษาหรือค่ายา  จากการทักท้วงของหลายฝ่าย ล่าสุดคือพอมีเสียงค้านออกมาเยอะ อย. ซึ่งเป็นผู้ที่รับผิดชอบในกฎหมายนี้เขาก็นัดประชุม นัดประชุมในเรื่องของวิชาชีพเภสัช และก็กับคณะเภสัชศาสตร์ต่างๆ  และก็ผู้คัดค้านทั้งหลาย สรุปว่าจะมีการแก้ในประเด็นว่ากลุ่มยาเขาจะเหลือแค่ 3 กลุ่ม คือ ยาควบคุมพิเศษ ยาอันตรายและยาสามัญ            ก็เป็นข้อที่ดีขึ้น แต่ยังไม่รับปากเรื่องโครงสร้างราคา ไม่พูดถึงเรื่องการแก้โครงสร้างราคา เรื่องของการโฆษณาเอาจดแจ้งออก ทาง อย. ยอมแก้ ประเด็นที่สองอันนั้นยอมแก้ เรื่องของข้อยกเว้น ก็ไม่ใช่เป็นข้อยกเว้น เป็นสิ่งที่ทำได้ตามกฎหมายเลย แล้วไม่มีเงื่อนไขว่าจะเมื่อไหร่ นึกออกไหมว่าจะให้หมอ ให้ทันตแพทย์ สัตวแพทย์  ที่สามารถจ่ายยาได้โดยที่ไม่มีเงื่อนไขเลย พวกนี้จ่ายยาได้โดยไม่มีข้อบังคับอะไร แต่เรื่องที่จะเปิดให้วิชาชีพอื่นๆ นี้จ่ายยาได้นั้นถูกตัดออก เพราะยาประเภทสี่มันถูกตัดออกไปแล้ว  สามหรือสี่จำไม่ได้ มี แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ 3 แพทย์ เป็นข้อยกเว้นได้ แต่ว่าพยาบาลไม่ได้ แต่ว่ามันไม่มีเงื่อนไข ถ้าสมมุติเรายึดหลักถ่วงดุลมันต้องมีเงื่อนไขว่าจ่ายได้กรณีไหนได้บ้าง นี่มันจ่ายได้ตลอดในคลินิกของตัวเอง เพราะฉะนั้นมันก็ยากที่จะแก้ปัญหา  คนทั่วไปเขาจะมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง เรากังวลก็คือเมื่อเกิดความไม่รอบคอบในกระบวนการทำกฎหมาย มันก็จะเป็นกฎหมายไม่ดีออกมา แม้ว่ามันจะมีข้อดีกว่าฉบับที่แล้ว แต่ว่ามันก็ยังไม่ได้แก้ในหลักการใหญ่ๆ หรือว่ามันก็ไม่ได้รองรับสถานการณ์ปัจจุบันที่เรามีการขายยาออนไลน์ มันจะมีกติกายังไงในการที่จะไม่ให้มีการขายออนไลน์หรือให้ขายออนไลน์แล้วผู้บริโภคปลอดภัย ถูกไหม มันไม่มีเรื่องเหล่านี้ เพราะฉะนั้นมันก็เป็นเรื่องที่ผู้บริโภคเองก็ต้องตาม และพยายามที่จะรักษาสิทธิของตัวเองในการที่จะรัฐเองต้องให้ความคุ้มครองปลอดภัยของเขา

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 210 “เรื่องของเด็ก ที่ไม่ใช่เรื่องเด็กๆ”

รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว โดยสภามหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก รพ.รามาธิบดี เล่าว่าสาเหตุที่เลือกเรียนด้านกุมารเวชศาสตร์นั้น เพราะมองว่าปัญหาสุขภาพเด็ก นอกจากเกี่ยวข้องกับสุขภาพแล้ว หากมองลึกลงไป ยังมีเรื่องนโยบายอยู่เบื้องหลังด้วย เช่น ปัญหาทารกน้ำหนักตัวน้อย สาเหตุหนึ่งมาจากการที่มารดาได้รับโภชนาการที่ไม่ดี และหากวิเคราะห์กันให้ลึกลงไปถึงสาเหตุว่าทำไมมารดาจึงไม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ สาเหตุที่แท้จริงก็มาจากการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม  จึงทำให้ไม่มีเงินซื้ออาหารที่มีประโยชน์ ทุกสิ่งเป็นเหตุและผล จากวันนั้นมาจนวันนี้ เรื่องราวของเด็กน้อย จึงไม่ใช่เรื่องของเด็กอีกต่อไปเพราะ มันส่งผลถึงอนาคตของประเทศด้วย อาจารย์อดิศักดิ์ เล่าภาพรวมปัญหาเด็กกับการคุ้มครองผู้บริโภคในบ้านเราว่า ในศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็กนี้ ทำ 5 เรื่องใหญ่ๆ คือ 1) อุบัติเหตุ แบ่งเป็นเรื่องย่อยอีก เช่น จมน้ำ จราจรทางถนน  ความร้อน ฯลฯ 2) ความรุนแรง การทำร้ายเด็ก 3) มลพิษ มลพิษจากทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ จากภาคอุตสาหกรรมทั้งหลาย 4) ภัยพิบัติ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ไฟไหม้ 5) ภัยจากข้าวของเครื่องใช้ ผลิตภัณฑ์ อยู่ในกลุ่มการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งภัยจากข้าวของเครื่องใช้ถือเป็น 1 ใน 5 กลุ่มงานที่เราทำที่นี่ เน้นที่เป็น ข้าวของเครื่องใช้ของเด็ก ของเล่นเด็ก ซึ่งมีหลายตัว โดย “ของเล่น” เรามีทำวิจัยไปหลายชนิด ทำตั้งแต่ทางด้านกายภาพ ด้านเคมี โดยการไปตรวจสอบ(ทดสอบ) ของเล่นแล้วดูว่ามีอันตรายไหม เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมหรือเปล่า เพราะมาตรฐานอุตสาหกรรมของเล่นนี้เป็นมาตรฐานบังคับ เมื่อสิบกว่าปีก่อนที่เราเริ่มจับประเด็นนี้ เราพบว่า ของเล่นส่วนหนึ่ง ซึ่งมีสัดส่วนสูงทีเดียวที่ไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐาน และทางด้านกายภาพก็อาจจะมีอันตราย เช่น มีความแหลมคม มีช่องรูที่อาจจะไม่เหมาะสม ด้านเคมีก็ตรวจพบเจอสารตะกั่วในค่าที่สูงมาก ซึ่งเรื่องแบบนี้ต้องมีการแถลงข่าว มีการประชุมร่วมกันของเครือข่าย ทั้งด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ทาง สคบ. กระทรวงอุตสาหกรรม มอก. ทั้งหลาย รวมทั้งอีกหลายภาคส่วนของภาครัฐ สมัยก่อน การแถลงข่าวก็ยังมีความเกรงใจกันว่าจะแถลงข่าวอย่างไรเกรงใจผู้ผลิตอาจจะไปโดนผู้ผลิตหลายรายเช่นกัน ไม่รู้ที่มาที่ไปของสินค้า เช่น ไม่รู้ว่ามีการผ่าน มอก. แล้ว แต่มาเปลี่ยนวัตถุดิบทีหลัง ทำให้มาเปลี่ยนโครงสร้างทีหลังแต่ไปยึดเอา มอก. เดิมมาใช้ ทำให้มันผิดไปจากมาตรฐานการส่งตรวจตั้งแต่แรก หรือว่าเป็นเพราะมีการนำเข้าของที่มันไม่อยู่ในการตรวจตั้งแต่แรก โดยที่ตอนแรกนำเข้ามาแบบหนึ่ง ตอนหลังเป็นการนำเข้าแบบอื่นๆ โดยใช้การตรวจผ่านในกลุ่มเดียวกัน อย่างเช่น กลุ่มพลาสติกทั่วไป แต่แบบของเล่นเปลี่ยนไปหมดเลย ทั้งที่ตัวเองได้ผ่านในกลุ่มพลาสติกทั่วไปในของเล่นลักษณะหนึ่ง  แต่ผลิตในรุ่นหลังๆ เปลี่ยนลักษณะไปหมด แต่ยังเอาตัว มอก. เดิมมาปะบนฉลากเลย หรือบางบริษัทไม่มีเลยตั้งแต่แรก ไม่เคยมาขออนุญาตเลยทำให้ไม่รู้ที่มาที่ไป สุดท้ายในคราวนั้นมีการนำเรียนท่านรองนายกรัฐมนตรี ตอนนั้นคือท่านไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ซึ่งท่านมีการแถลงเอง โดยท่านยกของเล่นทั้งหมดที่เราตรวจสอบมาแถลง นั่นเป็นครั้งแรกที่มีการทำวิจัยเรื่องของเล่นกัน ผลการแถลงครั้งนั้นต่อมา “ของเล่น” ก็มีการปรับปรุง มีการไปตรวจสอบตลาดซ้ำ ก็มีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น   แสดงว่ามาตรฐานของเล่นดีขึ้นแล้วตอนนี้             ก็ดีขึ้น แต่ “ของเล่น” ก็มีปัญหาอีกหลายเรื่อง อย่างตอนเจอของเล่นแปลกๆ ทีมก็ลองไปเช็คดู เช่น ปืนอัดลมที่มีกระสุนเม็ดพลาสติกเม็ดสีเหลืองๆ กลมๆ เล็กๆ กระบอกละ 50 - 60 บาท ปรากฏว่า ความเร็ว (ของกระสุนที่ยิงออกไป) ก็เกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด แต่พอได้ตรวจสอบเข้าจริง พวกนี้จะไม่ใช่ของเล่นแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรมถือว่า ไม่ใช่ของเล่นแต่เป็นสิ่งเทียมอาวุธ แล้วในกลุ่มนี้มีอะไรอีกบ้าง ปรากฎว่า ปืนฉีดน้ำก็ไม่ใช่ของเล่นนะ ปืนอัดลมก็ไม่ใช่ของเล่น ตัวดูดขยายก็ไม่ใช่ของเล่น พวกของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์ใส่น้ำยาเคมีลงไปเกิดฟองฟู่ขึ้นมาคล้ายเป็นภูเขาไฟ ถ้าอันนี้ถือเป็นของเล่นเพื่อการศึกษา ซึ่งไม่เกี่ยวกับ “ของเล่น” ตามนิยามกฎหมาย แต่เป็นอุปกรณ์การศึกษา บางทีผู้ผลิต “ของเล่น” ก็อาจไปให้นิยามตัวเองว่า เป็นของประดับ เช่น ตุ๊กตาบางอย่าง ไปลงฉลากว่า เป็นของฝากของประดับแล้วก็หลบหลีกจากนิยามของเล่นกันหมด ดังนั้นจึงพบว่าของเล่นอีกหลายประเภทก็ใช้วิธีการนิยามว่า ไม่ใช่ของเล่น แต่เวลาไปวางขายกลับไปอยู่ในชั้นของเล่นวางขายเต็มไปหมด เครื่องบินที่บอกตั้งโชว์ ก็ไปวางไว้ในชั้นของเล่น และพวกนี้ก็มีอันตรายไม่ได้ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม ทีมวิจัยจึงเกิดอีกบทบาทหนึ่งขึ้น คือทำงานร่วมกับ สคบ.(สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค) ทำในเรื่องของสินค้าที่ไม่เข้ากับกฎหมายใด (ไม่มีหน่วยงานเฉพาะเจาะจง) สินค้าแบบนี้เป็นหน้าที่ของ สคบ.ที่จะไปจัดการทั้งหมด เช่น มีประกาศของเล่นตัวยืดขยาย ลูกโป่งวิทยาศาสตร์ที่เป็นน้ำยาเคมีที่เป่า ปืนฉีดน้ำที่เป็นท่อกระบอกพีวีซี เหล่านี้ ก็เป็นของที่หลุดมาตรฐานจากกระทรวงอุตสาหกรรม หลุดจากนิยามของเล่นจากกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วมาถูกจัดการด้วยประกาศสินค้าที่เป็นอันตรายของสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคในเวลาต่อมา   ทางศูนย์วิจัยยังทำเรื่องกระเป๋านักเรียนอยู่ไหมคะ           กระเป๋านักเรียนเป็นสิ่งที่น่าสนใจมากเลย เพราะว่าเราเห็นเด็กๆ แบกกันอุตลุด ตอนก่อนโน้นก็ไปดูมาตรฐานการแบกของ แม้แต่ของผู้ใหญ่เองในการประกอบอาชีพ ก็จะมีมาตรฐานกำหนดอยู่ ในของเด็กเองเมื่อมาเทียบเคียงแล้วก็มีในหลายประเทศที่เขาห้ามการแบกของหนัก ซึ่งในบ้านเราตอนนั้นทีมไปวิจัยกันมา มีการแบกกันหนักมาก จากค่ามาตรฐานของหลายประเทศจะยึดถือที่ค่าอยู่ระหว่าง 10 – 20 % ของน้ำหนักตัว เรายึดค่ากลาง คือที่ประมาณ 15% ของน้ำหนักตัว จะให้ดีต้องต่ำกว่า 10% รุนแรง/ร้ายแรงถ้าเกิน 20% เราก็ไปยึดที่ค่า 15% ของน้ำหนักตัว พอลองไปชั่งน้ำหนักกระเป๋าบวกถุงศิลปะบวกปิ่นโตอาหารของเด็กที่แบกมา โรงเรียน พบว่า ถ้าเป็นเด็ก ป.2 นะ ป.1 ยังไม่เท่าไหร่ ป.5 – ป.6 ก็ยังไม่เท่าไหร่ หนักสุดก็พวก ป.2, ป.3, ป.4 พวกนี้เป้จะมีน้ำหนักมาก มากกว่าครึ่งหนึ่งที่แบกของเกินกว่าร้อยละ 15 ของน้ำหนักตัว       ตอนนั้นมีมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคนะ มหาวิทยาลัยหอการค้าด้วย ก็ไปทำการวิจัยกันต่ออีก ต่างคนต่างทำแต่ก็เอาข้อมูลมาดูๆ กัน แลกเปลี่ยนกัน ก็จะเจอปัญหาคล้ายๆ กันทั้งหมดว่า แบกเกิน ประกอบกับทางวิศวกรรมจุฬา สาขาวิศวกรรมอุตสาหการก็มีความสนใจในเรื่องนี้ด้วย อ.ไพโรจน์ ก็ส่งนักศึกษามาทำวิทยานิพนธ์ร่วมกับศูนย์วิจัยความปลอดภัยในเด็ก รวมกับอีกหลายชิ้นงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการแบกกระเป๋าแล้วทำให้เกิดกระดูกสันหลังคด ต่อมาค่าแรงที่เด็กทนได้(การรับน้ำหนัก) ต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงข้อแนะนำ เช่น ร้อยละของน้ำหนักตัวจะไม่เหมาะสมในกรณี เด็กมีน้ำหนักมาก คำนวณไปแล้วมีโอกาสแบกกระเป๋าได้เยอะมาก มันไม่น่าจะเป็นเช่นนั้น วัดจากค่าแรงแล้วมีการปรับเปลี่ยน ยึดเอาอายุ อายุก็ไปแปลงเป็นชั้นปี เช่น ป.1 ป.2 fix ที่น้ำหนักค่าหนึ่ง ป.3 ป.4 fix ที่น้ำหนักค่าหนึ่ง อย่างนี้เป็นต้น เกิดเป็นคำแนะนำขึ้นมา เกิดการผลักดันมาตรการการเฝ้าระวังของโรงเรียนขึ้น เช่น คุณครูชั่งน้ำหนักกระเป๋าของเด็กอย่างสม่ำเสมอ มี record บันทึกไว้ และมีมาตรการการลดน้ำหนักของเป้หรือกระเป๋า โดยของใช้บางอย่าง สามารถเก็บของไว้ใต้โต๊ะได้ มีตู้เก็บของ เก็บเอกสาร อย่างนี้เป็นต้น มีข้อแนะนำให้สำหรับผู้ปกครองด้วย ว่าให้ช่วยจัดกระเป๋าให้ลูก เพราะหลายคนแบกเพราะว่าไม่จัดตารางสอน อย่างนี้เป็นต้น มีการดีไซน์กระเป๋าให้เหมาะสมในการแยกเป็นช่องเล็กช่องน้อย แล้วก็ในการวางของให้กระจายออกตามช่องต่างๆ เพื่อกระจายน้ำหนักออกไป ไม่ถ่วงอยู่ที่จุดใดจุดหนึ่ง มีข้อแนะนำการแบกกระเป๋า เช่น กระเป๋าจะต้องแบกด้วยสะพายสองสายเสมอ ไม่สายเดียว มีสายรัดเอวเพื่อให้ช่วงล่างที่เป็นช่วงที่น้ำหนักถ่วงอยู่นั้นแนบติดกับลำตัว และช่วงล่างสุดไม่ต่ำกว่าบั้นเอวของเด็กลงไป จะช่วยให้อาการการปวดหลัง การเกิดกระดูกสันหลังคดงอในขณะแบกกระเป๋าลดน้อยลง ยังมีความพยายามที่จะออกเป็นมาตรการที่ชัดเจน มีการประชุมที่สภาผู้แทนราษฎร โดยคณะอนุกรรมาธิการด้านการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ปรากฎว่า หลังการประชุมมีการเชิญผู้ใหญ่มาเยอะนะ แต่ก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎระเบียบ เรื่องการแบกกระเป๋าหนักๆ นี้ สามารถที่จะสานต่อให้เป็นชิ้นเป็นอันได้มากขึ้น อยากให้มีคนรับรู้มากขึ้น ให้ขยายตัวมากขึ้นจะสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาการเรียนด้วย การแบกของหนักๆ มากๆ ก็ไม่สอดคล้องกับรูปแบบการศึกษา   แล้วหากเปลี่ยนเป็นเรียนผ่านแทบเลต           แทบเลตนี่เคยมีการแจกกันตอน ป.1 ทั้งประเทศ ก็เป็นเรื่องน่าคิดเหมือนกัน แทบเลตก็เป็นสินค้า เป็น สินค้าที่พบว่า มีการละเมิดความปลอดภัยในเด็กและมีการส่งเสริมให้ใช้ถึงขนาดเป็นนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ณ ห้องเรียนอิเลคโทรนิค มีคนพูดมากมาย อันนี้ก็เป็นตัวอย่างของความพยายามที่จะใช้เทคโนโลยี แต่เราต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีที่อยู่ภายใต้สินค้าชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีระดับของเศรษฐกิจที่สูง มีการประมูลถึงหมื่นๆ ล้านบาท สินค้าตัวแทบเลตเองมันจะวิ่งได้ก็ต้องมีแอปพลิเคชันที่อยู่ภายใต้อินเทอร์เน็ต ตัวอินเทอร์เน็ตก็ถือว่าเป็นสินค้าที่ซ่อนอยู่ในตัวแทบเลตหรือตัวโทรศัพท์มือถืออีกต่อหนึ่ง ถือว่าเป็นสินค้า 2 ชิ้น ที่ซ่อนเร้นกันอยู่ การกระตุ้นให้เด็กใช้บูรณาการด้านการศึกษาถือว่ามีประโยชน์มากมาย สามารถใช้ค้นคว้าหาความรู้ สร้างรูปแบบการศึกษาที่เป็นมัลติมีเดีย มีรูปมีเสียงที่กระตุ้นการศึกษาได้ แต่ขณะเดียวกัน โทษก็มากมายเช่นเดียวกัน การทำเช่นนี้ได้จะต้องยอมรับประโยชน์และโทษในเวลาเดียวกัน และผู้ลงทุนก็จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เมื่อคุณรับผิดชอบต่อประโยชน์ เช่น เก็บเงินค่าอินเทอร์เน็ต 500 บาท ต่อ เด็ก 1 คน ทุกเดือนพ่อแม่ต้องจ่ายเพื่อรักษาสายอินเทอร์เน็ต ก็ควรต้องมีการแสดงความรับผิดชอบเมื่อเกิดโทษต่อเด็กด้วย แต่ปัจจุบันไม่เห็นตรงจุดนี้ ไม่มีการคิดเกี่ยวกับคนที่เอาข้อมูลมาใส่ เกี่ยวกับถนน(ช่องทาง) ที่สร้างไปให้ถึงตัวเด็ก เกี่ยวกับรถ(เนื้อหา) ที่วิ่งอยู่บนถนนปล่อยทุกอย่างให้ไปชนเด็กเอง แล้วก็เอากำไรอย่างเดียวไม่นึกถึงโทษที่เกิดขึ้นทั้งสิ้นเลย ดังนั้นเด็กที่ได้แทบเลตฟรีจากรัฐบาล เสียค่าอินเทอร์เน็ตเอง ถ้าใครต่อไวไฟโรงเรียนก็รอดไปไม่ต้องเสีย แต่ถ้าใครต่ออินเทอร์เน็ตออนไลน์ด้วยก็ต้องจ่ายเอง ส่วนโรงเรียนเองก็ปล่อยไวไฟ แต่ซึ่งข้อมูลต่างๆ ไม่มีการกรอง เป็นอินเทอร์เน็ตสำหรับผู้ใหญ่ไม่ใช่อินเทอร์เน็ตสำหรับเด็ก เด็ก 1 คนจึงสามารถที่จะเข้าไปดูภาพโป๊ด้วยการพิมพ์คำว่า “โป๊” คำเดียว โดยเด็กอายุ 6 ปี ซึ่งคุณครูบอกให้ส่งการบ้านผ่านเฟซบุ๊ค ขณะเดียวกันกดอีกทีก็เป็น “ภาพโป๊แทน” แบบนี้ก็ได้ เล่นเกมส์ที่แบบเลือดสาด เรตติ้ง 13 – 18 ปี ให้เล่น เด็กก็เล่นได้หมด โซเชียลมีเดียที่คนอายุที่เขาเขียนไว้อยู่แล้วไม่ให้ 13 ปีเล่น ให้พ่อแม่มาลงทะเบียน เด็กก็เข้าได้หมด ตัวระบบไม่ได้ป้องกัน ทั้งหมดก็ยกให้เด็กป้องกันตัวเองหมด อยู่บนแทบเลตที่รัฐบาลเป็นคนแจก อยู่บนอินเทอร์เน็ตที่เด็กต้องจ่ายเงินเอง แล้วคนเก็บเงินไปบอกว่าไม่รับผิดชอบ ไม่เกี่ยวกับเขา เกี่ยวกับคนใส่ content เข้ามา ทีนี้พอมีการพูดถึงจะสร้างระบบเป็น single gateway เพื่อให้การควบคุมเป็นจริงได้มากขึ้นคนก็ร่วมกันถล่มทลายในเรื่องสิทธิ ซึ่งคนเหล่านั้นแน่นอนต้องเป็นผู้ใหญ่ทั้งหมด ไม่มีเด็กคนไหนมาอ้างสิทธิเรื่อง single gateway แน่นอนเพราะยังไม่รู้เรื่องเลยว่ามันคืออะไรด้วยซ้ำไป แต่ว่าผลลัพธ์ก็คือ ผลเสียต่อตัวเด็กทั้งหมด อันนี้เป็นตัวอย่างของสินค้า “สองชิ้นซ่อนอยู่ในผลิตภัณฑ์ชิ้นเดียว”  ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้เกิดขึ้นโดยภาครัฐเอง แล้วก็ยกเว้นการลงทุน เช่น การทำ parental control การเซ็นสัญญาระหว่างพ่อแม่กับบริษัทอินเทอร์เน็ตกรณีที่จะส่งสายนี้เป็นสายของลูก  และบริษัทไม่ต้องลงทุนทำอะไร ถ้าเป็นสายของลูกจะทำให้เกิดการเซ็ตอินเทอร์เน็ตให้ได้ เช่น ฝ่าย parental control เป็น automatic ให้หรือว่าลงทุนทำ แอปพลิเคชัน parental control ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คัดกรองแอปพลิเคชันให้เกินอายุเด็กออกไปให้หมดให้ได้ ก่อนจะไปเก็บเงินเด็ก พวกนี้ก็ไม่ทำทั้งสิ้น แล้วก็ถูกยอมรับโดยสังคมว่า ถูกต้องแล้ว บริษัทแบบนี้ทำถูกต้องแล้ว ทำมากกว่านี้ไม่ถูกต้อง อย่างนี้ดีแล้ว ขณะเดียวกันก็มาพูดเรื่อง white Internet แล้วไม่ได้ทำจริง ถึงเวลาจะทำจริงก็คัดค้านทั้งหมด ก็ไปสอดคล้องกับเรื่อง E-Sport ที่โผล่ขึ้นมาบนออนไลน์ก็เช่นเดียวกัน   พอปัญหาถูกปล่อยให้เกิดไปเรื่อยๆ มาแก้ทีหลังก็ยากแล้ว อันนี้ก็เป็นผลมาจากที่เราไม่คัดกรองผลิตภัณฑ์ให้เด็กใช้ สุดท้ายก็ถูกประยุกต์ใช้ต่างๆ มากมายแล้วก็ยิ่งคัดค้านยากขึ้นไปใหญ่  และเด็กก็เล่นได้ทุกอายุเช่นเดียวกัน E-Sport นี่เด็กเล่นกันจนเสียการเรียนและไม่มีอายุจำกัด ตั้งสมาคมได้โดยไม่ต้องผ่านการกีฬาแห่งประเทศไทยด้วยซ้ำ แล้วก็ไม่ต้องมีระเบียบด้วยซ้ำไปว่าเด็กอายุเท่าไหร่ถึงจะเข้าสู่การแข่งขันที่เขารับรองว่าเป็นกีฬา ไม่ต้องมีระเบียบอะไรเลยแล้วจะพูดถึงระเบียบก็พูดถึงว่า มีการเติบโตกันไปเยอะแล้วเศรษฐกิจนี้เป็นหลายแสนล้าน ต่างประเทศเดินหน้าเต็มตัวแล้วเรายังจะมาชักช้าได้อย่างไร ทั้งหมดนี้ก็เป็น “สินค้า” ทั้งนั้นเพียงแต่อยู่ในรูปเป็นข้าวของเครื่องใช้หรือเป็น air line ลอยทางอากาศ หรืออะไรก็ตามแต่ แต่ก็เป็นเรื่องของผู้บริโภค แล้วก็เป็นเรื่องของภัยที่ซ่อนเร้นภายใต้เศรษฐกิจที่ต้องเติบโตทำให้มองหรือพยายามที่จะไม่มองว่าเป็นภัย จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจอย่างมากว่า การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นบรรทัดฐานจริงหรือเปล่า ในสังคมไทยถ้าพูดถึง สิ่งที่ไม่เป็นชิ้นเป็นอันหรือว่าเป็นสิ่งที่ลอยอยู่ในอากาศ ยิ่งไม่มองยิ่งมีความรู้สึกว่าต้องคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้นโดยเฉพาะเด็ก   ปัญหาเยอะขนาดนี้อาจารย์เคยท้อบ้างไหมคะ ไม่ๆ ถือว่าเป็นธรรมชาติ เรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพราะเราคงไม่สามารถช่วยได้ทั้งหมดได้อยู่แล้ว แต่เชื่อว่าถึงวันหนึ่งก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง เพราะทุกเรื่องก็แบบนี้ สมัยก่อนถนนอันตราย ถึงวันหนึ่งถนนก็ปลอดภัยมากขึ้นเมื่อร่ำรวยมากขึ้น โรงงานทุกวันนี้ก็ปล่อยสารพิษ มาตรการความปลอดภัย ออกกฎหมายไม่ยอมทำ ขยะอุตสาหกรรม ทิ้งมั่ว เอาของจากต่างประเทศข้ามมาทิ้งอีกต่างหาก ถึงวันหนึ่งก็จะดีขึ้น อินเทอร์เน็ตก็เหมือนกัน สินค้าเหล่านี้ก็เหมือนกัน ตอนนี้เรารู้สึกว่าเสรีมาก เศรษฐกิจต้องโตห้ามกันไม่ได้ แต่ถึงวันหนึ่งเกิดผลเสียมากๆ ก็จะดีขึ้น เราจะอยู่ในโลกที่ปลอดภัยมากขึ้น เพียงแต่ว่าวันนั้นนานหรือเปล่า แต่ก่อนที่จะถึงวันนั้น มันจะต้องมีคนส่วนหนึ่งไปไม่ถึงวันนั้นแน่นอนอยู่แล้ว

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 209 “คลินิกแก้หนี้” แก้ได้จริงหรือ?

สมาชิกนิตยสารฉลาดซื้อไม่มากก็น้อยคงทราบดีว่าเรื่องปัญหาเรื่องหนี้บัตรเครดิต  เป็นเรื่องหนึ่งที่เป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของผู้บริโภคมายาวนาน เมื่อไม่นานมานี้มีโครงการหนึ่งของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ผุดไอเดียดูดีชื่อ “คลินิกแก้หนี้” โครงการที่เป็นเสมือนความหวังของลูกหนี้ทุกคน  ฉลาดซื้อจึงพูดคุยกับคุณนกกระจอกเทศ ผู้บริโภคที่มีความชำนาญ ในการให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาหนี้บัตรเครดิตมามากกว่า 10 ปี ให้กับผู้บริโภคที่เป็นลูกหนี้บัตรเครดิต จาก Webboard คนยิ้มสู้หนี้ ของเว็ปไซต์มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (www.consumerthai.org) จะมาเล่าให้เรากระจ่างว่า คลินิกแก้หนี้ จะแก้ปัญหาหนี้ได้จริงหรือไม่?จุดเริ่มต้นของโครงการ “คลินิกแก้หนี้” นั้นอ้างอิงจาก ข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ ต้นปี พ.ศ.2560 ประชากรไทยทั้งหมดทั่วประเทศ จำนวน 70 ล้านคน มีคนที่เป็นหนี้ทั้งหมด 21 ล้านคนและในจำนวนนี้ มีคนที่เป็นหนี้อยู่ 3 ล้านคน ที่จ่ายหนี้ไม่ไหวแล้ว (หยุดจ่ายแล้ว) จนกลายเป็น”หนี้เสีย” หรือ NPL จำนวนทั้งสิ้น 3 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่ จะเป็นคนไทยอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 30 ปีในช่วงเวลานั้น(ต้นปี 2560) ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(หรือที่เรียกกันว่าแบงก์ชาติ) โดน "ด่าจนเละ" ว่าปล่อยให้มีคนไทยที่เป็น "หนี้เสีย"(NPL) หรือที่เรียกกันว่า "ติด Blacklist" อยู่ในเครดิตบูโร มีจำนวนมากถึง 3 ล้านคนทางแบงก์ชาติไม่คิดจะหาทางทำอะไรบ้างเลยหรือยังไง? พอโดนวิจารณ์มากๆ เข้า ก็เลยต้องคิดทำโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ขึ้นมา โดยการนำเอา "สัญญาประนอมหนี้" หรือ "สัญญาปรับโครงสร้างหนี้" ที่เคยมีอยู่เดิม แต่นำมาปัดฝุ่นใหม่ แล้วตั้งชื่อขึ้นมาใหม่ว่าเป็น "โครงการคลินิกแก้หนี้"...เพื่อลดแรงกดดันจากทั่วสารทิศโครงการตัวนี้ ทางแบงก์ชาติได้เรียกประชุมสถาบันการเงินทั้งหมด ให้มาเข้าร่วมประชุม แล้วขอความร่วมมือให้สถาบันการเงินทั้งหลายช่วยให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมโครงการตัวนี้ของแบงก์ชาติด้วยขอย้ำว่า...เป็นการขอความร่วมมือจากทางแบงก์ชาติ หรือที่เรียกกันว่าเป็น "สัญญา MOU" ไม่ใช่ ประกาศ หรือกฎหมายบังคับ  หากสถาบันการเงินใด ที่ยินดีให้ความร่วมมือในโครงการ "คลินิกแก้หนี้" ตัวนี้ ก็ให้ลงนามใน "สัญญา MOU" ดังกล่าว ว่าจะให้ความร่วมมือด้วย...หรือจะมีสถาบันการเงินใด ที่ไม่ประสงค์จะให้ความร่วมมือก็ได้ไม่ได้บังคับทั้งนี้เพื่อให้เป็นไปในบรรทัดฐานเดียวกัน ทางแบงก์ชาติยังได้ออกข้อกำหนดมาด้วยว่า หากสถาบันการเงินใด ที่ให้ความร่วมมือในโครงการตัวนี้ จะต้องทำการคิดดอกเบี้ยกับลูกหนี้ ในระหว่างที่ลูกหนี้ขอผ่อนตามสัญญาตัวนี้ จะคิดดอกเบี้ยได้สูงสุด ไม่เกินกว่า 7% ต่อปี โดยทางแบงก์ชาติ ได้ทำการแต่งตั้งให้บริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท หรือมีชื่อย่อว่า SAM ให้เป็นผู้แทนแบงก์ชาติ ในการเจรจาให้สถาบันการเงินที่สนใจจะเข้าร่วมโครงการตัวนี้ ต้องปฏิบัติตามกฏของการคิดดอกเบี้ยดังกล่าวดังนั้น หากลูกหนี้คนใด ที่มีความสนใจจะเข้าสมัครในโครงการตัวนี้ ก็สามารถติดต่อกับทาง SAM ได้เลย เพื่อให้ SAM เป็นผู้คัดกรอง และเจรจาในเรื่องดอกเบี้ยดังกล่าว กับสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ ที่เข้ามาร่วมกับโครงการตัวนี้ โดยกำหนดให้ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมในโครงการตัวนี้ จะต้องมีคุณสมบัติตามนี้ด้วย ถึงจะสามารถผ่านการเข้าร่วมโครงการได้ โดยมี คุณสมบัติ ดังนี้1. ต้องมีอายุไม่เกินกว่า 60 ปี (หรือห้ามแก่เกินกว่าเกษียณการทำงาน)2. ต้องเป็นมนุษย์เงินเดือน มีเงินเดือนประจำที่มั่นคงแน่นอน3. ต้องเป็นลูกหนี้ที่ติด Blacklist ในเครดิตบูโรมาแล้ว อย่างน้อย 2 สถาบันการเงินขึ้นไป...และจะต้องเป็นผู้ที่ติด Blacklist มานานแล้ว ก่อนจะถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ด้วย4. จะต้องเป็นลูกหนี้ที่ไม่เคยถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาลมาก่อนเลย...แม้แต่คดีเดียว5. ลูกหนี้ที่จะเข้าร่วมในโครงการ ต้องเอาหนี้ของลูกหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมด ทุกเจ้า เข้าร่วมในโครงการให้หมด6. ยอดหนี้รวมทั้งหมด ที่ลูกหนี้จะสามารถเข้าร่วมโครงการตัวนี้ได้ จะต้องไม่เกินกว่า 2 ล้านบาท7. ลูกหนี้สามารถขอผ่อนได้นานไม่เกิน 10 ปี...(แต่เอาเข้าจริงๆ เจ้าหนี้มันก็ยอมให้ลูกหนี้สามารถผ่อนได้นานสูงสุด เพียงแค่ 5 ปีเท่านั้น)มีธนาคารหรือสถาบันการเงินใดที่เข้าร่วมโครงการบ้างผลจากการประชุมขอความร่วมมือของแบงก์ชาติในวันนั้น มีธนาคารที่ตอบรับเข้าร่วมลงนามในสัญญา MOU ของ “โครงการคลินิกแก้หนี้” ทั้งหมด จำนวน 16 ธนาคาร โดยมีรายชื่อดังนี้ธนาคารกรุงเทพ , ธนาคารกรุงไทย , ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ,ธนาคารกสิกรไทย , ธนาคารซิตี้แบงก์ , ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย ,ธนาคารทหารไทย , ธนาคารไทยพาณิชย์ , ธนาคารธนชาติ ,ธนาคารยูโอบี, ธนาคารเกียรตินาคิน , ธนาคารทิสโก้ , ธนาคารไทยเครดิต ,ธนาคารแห่งประเทศจีน (Bank Of China) , ธนาคารไอซีบีซี ,ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์  ส่วนสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร (พวก Non-Bank ทั้งหมด) ไม่มีการลงนาม MOU เข้าร่วมกับโครงการนี้เลย...แม้แต่รายเดียว ตอนนี้...โปรดมาสังเกตรายชื่อของธนาคาร 10 รายแรก ให้ดีนะครับ(ขีดเส้นใต้) เพราะมันเป็นรายชื่อของธนาคารที่เป็นผู้ออกบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดให้ประชาชนทั่วๆ ไปอยู่แล้ว...ลูกหนี้ต่างคุ้นเคยกันดีแต่ดูรายชื่อของธนาคารอีก 6 ราย ที่ถัดมาสิครับ...เขาเคยทำบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดให้กับเราด้วยหรือ? คุณเคยเห็นบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดของธนาคารเกียรตินาคิน , ธนาคารทิสโก้ , ธนาคารไทยเครดิต , ธนาคารแห่งประเทศจีน (Bank Of China) , ธนาคารไอซีบีซี , ธนาคาร แลนด์ แอนด์เฮ้าส์...พวกคุณเคยเห็นด้วยหรือครับ? โดยเฉพาะธนาคารไอซีบีซี มันตั้งอยู่ตรงส่วนไหนของประเทศไทยกัน?เมื่อ 6 รายนี้ไม่เคยทำบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดให้กับประชาชนทั่วไป...แล้วแบงก์ชาติไปชักชวนให้เข้ามาร่วมใน “โครงการคลินิกแก้หนี้” นี้ด้วยทำไม มันจะมีประโยชน์อะไรกับลูกหนี้ หรือว่าแบงก์ชาติต้องการเพียงแค่จะอวดว่า มีธนาคารที่ให้ความร่วมมือในโครงการตัวนี้ ถึง 16 แห่ง (แม้จะมีธนาคารที่เกี่ยวข้องกับหนี้บัตรต่างๆ จริงเพียงแค่ 10 ธนาคารเท่านั้น) แต่รายสำคัญจริงๆ คือกลุ่ม Non-Bank กลับไม่มีเลยแม้แต่รายเดียวข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการนี้ที่ผู้บริโภคควรรู้อย่างที่ผมเกริ่นไปว่าโครงการ “คลินิกแก้หนี้” ตัวนี้ มันเป็นเพียงแค่การขอความร่วมมือจากทางแบงก์ชาติ...ไม่ได้เป็นกฎหมาย...และไม่ได้บังคับ จะไม่ให้ความร่วมมือก็ได้ ดังนั้นจึงไม่มีสถาบันการเงินที่เป็น Non-Bank รายใด ที่ลงนามในสัญญา MOU เลยแม้แต่รายเดียว...ขนาดธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ และธนาคารฮ่องกงแบงก์(HSBC) ยังไม่ร่วมลงนามให้ความร่วมมือด้วยเลย  แล้วเท่าที่ผมทราบข้อมูลมา แม้มีลูกหนี้ผู้ถือบัตรต่างๆ ที่สนใจเข้าร่วม “โครงการคลินิกแก้หนี้” แต่ว่าเมื่อสมัครไปแล้ว ยังไม่มีใครสามารถผ่านการอนุมัติได้เลยสักคนทำไมถึงสมัครไม่ผ่าน ลองดูนะครับ เงื่อนไขมันโหดมาก1.ลูกหนี้คนนั้น จะต้องเคยหยุดจ่ายหนี้มาก่อน อย่างน้อยก็ต้องหยุดจ่ายตั้งแต่ 2 ใบขึ้น และได้หยุดจ่ายมาเป็นระยะเวลานานมากแล้ว จนกระทั่งตัวของลูกหนี้คนนั้น ได้ติด Blacklist อยู่ในเครดิตบูโรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก่อนจะถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2560…ถ้าใครที่เพิ่งเริ่มหยุดจ่าย หรือติดมา Blacklist ภายหลังจากวันที่ 1 พฤษภาคม 2560 ไปแล้ว...จะสมัครไม่ผ่าน2.หากลูกหนี้ที่ต้องการจะสมัครเข้าในโครงการนี้ ในอดีตเคยเป็นมนุษย์เงินเดือน หรือมีเงินเดือนประจำ แต่ปัจจุบันตกงาน หรือลาออกมาประกอบอาชีพส่วนตัว หรือทำงานฟรีแลนซ์ ไม่มีเอกสารใบรับรองเงินเดือนหรือสลิปเงินเดือน มาประกอบแนบกับใบสมัครด้วย...แบบนี้ก็สมัครไม่ผ่าน3.หากปัจจุบันลูกหนี้มีอายุมาก หรือเกษียณอายุจากการทำงานแล้ว...สมัครไม่ผ่านเช่นกัน4.ลูกหนี้ที่เคยถูกเจ้าหนี้ฟ้องศาลมาแล้ว แม้เพียงคดีเดียว...สมัครไม่ผ่าน5.ลูกหนี้ที่จะสมัครเข้าโครงการตัวนี้ จะต้องถูกบังคับให้เอาเจ้าหนี้เข้าร่วมในโครงการให้หมด ทุกเจ้าหนี้ ทุกบัตร-ทุกราย ห้ามยกเว้นแม้แต่รายเดียวดังนั้นสมมติว่า ลูกหนี้ที่สนใจจะเข้าสมัคร มีบัตรเครดิตและบัตรกดเงินทั้งหมด 5 ใบ และเคยติด Blacklist อยู่ในเครดิตบูโรมาก่อนแล้ว ก่อนจะถึงวันที่ 1 พฤษภาคม(ตรงตามเงื่อนไขของข้อ 1.) และต่อให้ยังไม่เคยถูกฟ้องศาลเลยก็ตาม แต่ดันมี 1 ในบัตรที่ลูกหนี้ถืออยู่เป็นบัตรของพวก Non-Bank ต่างๆ เช่น อิออน , ยูเมะพลัส , KTC , เฟิร์สช้อยส์ , บัตรกรุงศรี , พรอมิส , เอมันนี่ , เจมันนี่, กรุงศรีโฮมโปร , เซนทรัลการ์ด ฯลฯ...จะสมัครไม่ผ่าน เพราะพวก Non-Bank ไม่ได้เข้าร่วมในโครงการคลินิกแก้หนี้ด้วย เพราะข้อกำหนดในข้อ 5. บังคับเอาไว้ว่า ลูกหนี้จะต้องเอาเจ้าหนี้เข้าร่วมในโครงการนี้ให้หมด ทุกเจ้าหนี้ ทุกบัตร-ทุกราย ห้ามยกเว้นแม้แต่รายเดียว ดังนั้นหากลูกหนี้ดันมีบัตรที่เป็นเจ้าหนี้ประเภท Non-Bank เพียงใบใดใบหนึ่ง ก็จะไม่สามารถเข้าร่วมในโครงการนี้ได้เลยบทสรุปของ “คลินิกแก้หนี้”สรุปแล้ว โครงการคลินิกแก้หนี้ตัวนี้ ทางแบงก์ชาติออกมาตรการมาเป็นเพียงแค่ “ยาหอม” เพื่อลดแรงเสียดทานในช่วงที่โดนกระแสวิจารณ์มากๆ ก็เท่านั้นเองครับว่า  “ตอนนี้มีลูกหนี้ที่ติด Blacklist อยู่ 3 ล้านราย ( ต้นปี 2560) ทางแบงก์ชาติไม่คิดที่จะทำอะไรบ้างเลยหรือ? “  แบงก์ชาติก็เลยลดกระแสที่ถูกด่าอย่างหนักโดยการหยิบยกเอา“สัญญาประนอมหนี้” หรือ “สัญญาปรับโครงสร้างหนี้” ที่มีอยู่แล้วของเดิม มาทำการปัดฝุ่นใหม่ โดยการเปลี่ยนชื่อให้มันดูไพเราะเพราะพริ้งว่าเป็น“โครงการคลินิกแก้หนี้” โดยมอบหมายให้ SAM เป็นผู้ดำเนินการแทนในการคัดกรองและเจรจา แล้วก็เอาดอกเบี้ยในระหว่างที่ผ่อนตามสัญญาคลินิกแก้หนี้ ว่าเป็นดอกเบี้ยราคาถูกมาก(ไม่เกิน 7% ต่อปี) มาเป็น“ตัวล่อ”ให้ลูกหนี้มีความหวังแบบ ลมๆ แล้งๆ การทำแบบนี้ก็สามารถออกมาอ้างได้ว่า แบงก์ชาติมีการทำโครงการเพื่อลดจำนวนลูกหนี้ที่ติด Blacklist มากถึง 3ล้านคนให้แล้วนะ...แต่พอดูเงื่อนไขที่จะสามารถสมัครให้ผ่านเข้าโครงการฯ ได้ มันโหดมาก ไม่มีการแจ้งข้อมูลหรือความจริงให้ประชาชนที่เป็นลูกหนี้ได้รับทราบเลยแม้แต่น้อย มาจนถึงกรกฎาคม พ.ศ.2561 แล้วนะครับ  ผ่านมาปีกว่าตัวเลขของลูกหนี้ที่ติด Blacklist อยู่ในเครดิตบูโร ได้พุ่งสูงเกินกว่า 3 ล้านคนไปมากแล้ว ผมอยากทราบจริงๆ ว่า มีลูกหนี้ที่สมัครในโครงการคลินิกของธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านการอนุมัติสักกี่คนครับ  เพราะฉะนั้นทางออกของลูกหนี้ทั้งหลายคืออะไรถ้าผมเป็นลูกหนี้ ผมคงไม่เสียเวลากับโครงการตัวนี้ ผมจะไปทำงานหารายได้ให้มากๆ เพื่อที่จะเก็บสะสมเงินไว้เอาไป Hair cut กับเจ้าหนี้แต่ละบัตรโดยตรงเองดีกว่าครับ มันคือวิธีที่ดีที่สุดจริงๆ ในตอนนี้ ต้องการปรึกษา หรือข้อมูลเพิ่ม สามารถติดตามได้ที่ http://debtclub.consumerthai.org/

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 208 ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

“คดีส่วนใหญ่ที่เราไปฟ้อง เขาจะจ้างลอว์เฟิร์มมาต่อสู้คดีกับเราเพราะเขามีเงิน  แต่ผู้บริโภคไม่มีเงินมากขนาดที่จะไปจ้างได้ แต่เราก็มีทนายจากศูนย์ทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้” จากสถิติการร้องเรียนของผู้บริโภคทั่วประเทศ ผ่านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคและเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ในปี 2560 พบว่า มีเรื่องร้องเรียนสูงถึง 3,615 กรณี ในจำนวนนี้ปัญหาที่มีการร้องเรียนมากที่สุดคือ ปัญหาด้าน อาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ 885 กรณี สินค้าและบริการทั่วไป 682 กรณี บริการสุขภาพและสาธารณสุข 631 กรณี การเงินการธนาคาร 527 กรณี บริการสาธารณะ 424 กรณี สื่อและโทรคมนาคม 176 กรณี อสังหาริมทรัพย์ 127 กรณี และอื่นๆ 163 กรณี ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคจึงเกิดขึ้น โดยคุณเฉลิมพงษ์ กลับดี หัวหน้าศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เล่าถึงที่มาว่าทนายความจิตอาสามีความสำคัญในงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไร“ปัญหาของผู้บริโภคที่ถูกละเมิดสิทธิ์ ในปัจจุบันเป็นเรื่องสลับซับซ้อนและเป็นเรื่องเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามามากขึ้น เช่นการรักษาพยาบาล การซื้อรถยนต์มาใช้ก็มีปัญหาเรื่องรถเสีย ซึ่งต้องมีความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี หรือต้องใช้ พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ถึงจะช่วยผู้บริโภคได้ เพราะปัญหาผู้บริโภคสมัยนี้ไม่ได้โบราณ แบบ ไปตลาด เช่น ซื้อเนื้อมา 1 กิโล แต่ได้เนื้อมา 9 ขีด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้มันก็ง่าย แต่ปัจจุบันนี้  มันเป็นเรื่องที่ยากที่จะระบุว่า สินค้าที่ผู้บริโภคมาใช้แล้วมีปัญหานี่ มันเป็นความผิดของผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการไหม ตัวอย่างที่เห็นกันอยู่เรื่อยๆ ปัญหาเรื่องรถยนต์ที่เราซื้อมาใหม่ อยู่ในระยะประกันป้ายแดง ผู้บริโภคคิดว่ามันไม่ปกติ แต่เวลาไปเข้าศูนย์ของผู้ประกอบการเขาบอกว่าปกติ แล้วตกลงมันเป็นอย่างไรกันแน่ แล้วที่ว่าไม่ปกติ ไม่ปกติแค่ไหน จึงถือว่าเป็นความชำรุดบกพร่องที่ตัวผู้ผลิตจะต้องรับผิดชอบกับผู้บริโภค ด้วยการแก้ไขซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ ถ้าหากว่าแก้ไขซ่อมแซมแล้วมันไม่ดีขึ้น เรื่องเหล่านี้ทนายทั่วๆ ไป ที่ยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ ก็จะดำเนินคดีไม่ถูกว่าจะเริ่มตรงไหนจากจุดไหน ซึ่งศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีประสบการณ์ทางด้านการฟ้องคดีเกี่ยวกับรถยนต์ มีนักวิชาการให้การสนับสนุน ช่วยตรวจสอบดูว่าเหตุที่มันเกิดเพราะสาเหตุอะไรทำให้ผู้บริโภคมีข้อมูลที่จะไปโต้แย้งกับผู้ประกอบการหรือผู้ผลิตที่บอกว่าปกติ ไม่เป็นไร หรือการไปใช้สิทธิทางศาล เพราะว่าการเจรจาไม่เป็นผล ก็จะมีข้อมูลจากนักวิชาการเพียงพอที่ทนายจะใช้ไปประกอบในคำฟ้องของตนได้จึงทำให้เราเกิดศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการรวบรวมทนายที่มีจิตช่วยเหลือสังคม ช่วยเหลือผู้บริโภคโดยไม่ได้หวังสิ่งอื่น และเป็นทนายความที่มีความรู้หลากหลาย บางคนจบปริญญาโท จบเนติบัณฑิต รับรองว่าทนายของศูนย์ฯ มีทนายที่มีความรู้ความสามารถไม่น้อยหน้ากว่าองค์กรไหนๆ ทั้งสิ้น  คดีส่วนใหญ่ที่เราไปฟ้อง เขาจะจ้างลอว์เฟิร์มมาต่อสู้คดีกับเราเพราะเขามีเงิน  แต่ผู้บริโภคไม่มีเงินมากขนาดที่จะไปจ้างได้ แต่เราก็มีทนายจากศูนย์ทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพมาช่วยเหลือ ซึ่งตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้” คุณศรินธร อ๋องสมหวัง ทนายประจำมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค “การเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มันจะแตกต่างตรงที่ เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภค ว่ามันเป็นอย่างไร  แล้วเวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนแต่เค้าไม่รู้จะหันไปหาใคร เรามาทำงานส่วนนี้ก็เป็นเพราะใจของเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นลูกความ เหมือนเป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน ที่เราอยากให้คำแนะนำให้เค้าหลุดพ้นจากปัญหา”สิ่งที่ได้จากการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเราจะได้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องผู้บริโภคโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าเราทำงานที่อื่น เราจะไม่ได้ในจุดนี้นะคะ ปกติก็จะเป็นคดีทั่วไป แพ่ง อาญา ถ้าเป็นคดีเกี่ยวกับผู้บริโภค  เราก็ต้องปรับใช้  อย่างเช่นคดีทางการแพทย์ ซึ่งเราก็จะได้ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยการถามหมอเพิ่มเติมเพื่อเอามาทำคดีได้ หรือคดีเกี่ยวกับผู้บริโภคก็จะมีเรื่องเฉพาะ อย่าง เช่น ประกาศ สคบ. อะไรพวกนี้ที่ต้องใช้โดยตรง อย่างเรื่องเครื่องสำอางเพิร์ลลี่ ซึ่งต้องไปดูเรื่องสินค้าไม่ปลอดภัยว่าเป็นอย่างไร ถ้าคุณมาทำงานที่นี่คุณจะไม่ได้แค่เรื่องกฎหมายอย่างเดียว คุณจะได้เรื่องความเข้าใจเพราะส่วนหนึ่งเราก็เป็นผู้บริโภค ซึ่งเราสามารถเอาความรู้ไปปรับใช้กับครอบครัวเราได้ ว่าถ้าครอบครัวเราหรือคนรู้จักมีปัญหา เราจะรู้ว่าวิธีเบื้องต้นที่จะแก้ไขปัญาจะมีอะไรบ้าง ไม่ใช่ต้องฟ้องอย่างเดียว อาจจะทำหนังสือร้องเรียน สอบถามเพื่อรักษาสิทธิ์ของตัวเองก่อน แต่ถ้าเราทำงานกฎหมายเราก็ยื่นโนติสแล้ว ซึ่งถ้าเรารู้หลักของมันเราอาจจะไม่ถึงฟ้อง เราแก้ปัญหาเบื้องต้นได้ แล้วเรื่องมันก็จบในคดีผู้บริโภคนั้น อาจไม่ต้องมีทนายความเลยก็ได้ ผู้บริโภคสามารถดำเนินคดีด้วยตนเองได้ แต่การไม่มีทนายให้คำปรึกษา อาจทำให้ในหลายคดี ซึ่งต้องมีการสืบพยาน การที่ผู้บริโภคไม่มีทนายความคอยให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ  จะเกิดความอยากลำบาก เพราะไม่มีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับกฎหมาย เกิดการเสียเปรียบในการดำเนินคดีในชั้นศาล โอกาสที่จะเพลี่ยงพล้ำในคดีก็จะมีมาก โดยทางฝั่งผู้ประกอบธุรกิจ จะมีทนายความประจำอยู่แล้ว การที่ผู้บริโภคมีทนายความในการช่วยเหลือในคดี ทำให้ไม่เป็นการเสียเปรียบในเชิงคดีปัจจุบันจะเห็นว่า ยังมีผู้บริโภคเป็นจำนวนมากที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามาตรการเชิงป้องกันที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ จึงสมควรที่สนับสนุนให้ผู้บริโภค ได้ความรู้หรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้นในเรื่องนั้นๆ ก่อนที่ตนเองทำการบริโภคสินค้าหรือบริการ เช่น การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการที่ครบถ้วนถูกต้อง การให้ผู้บริโภคได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสินค้าหรือบริการ เมื่อพบปัญหาขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงทีความแตกต่างของการเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคงานทนายความเพื่อผู้บริโภค ได้มีโอกาสสัมผัสกับผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน เห็นการถูกละเมิดสิทธิ โดยที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องคุณภาพสินค้าหรือบริการ และขาดอำนาจต่อรองในการเข้าทำสัญญา ทำให้ผู้บริโภคเป็นฝ่ายถูกเอาเปรียบอยู่เสมอ  และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น ผู้บริโภคก็ขาดความรู้ ในวิธีการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้องตามขั้นตอน  ทนายความจึงควรมีบทบาทในการให้ข้อมูลเรื่องสิทธิผู้บริโภคโดยการให้คำแนะนำและความช่วยเหลือด้านคดีความกับผู้บริโภค  ทำงานกับผู้บริโภค รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภคการเป็นทนายเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มันจะแตกต่างตรงที่ เราจะได้รับรู้ถึงความเป็นผู้บริโภค ว่ามันเป็นอย่างไร  แล้วเวลาที่ผู้บริโภคเดือดร้อนแต่เค้าไม่รู้จะหันไปหาใคร เรามาทำงานส่วนนี้ก็เป็นเพราะใจของเราด้วย ทำให้เรารู้สึกว่าเขาไม่ได้เป็นลูกความ เหมือนเป็นญาติกัน เป็นเพื่อนกัน ที่เราอยากให้คำแนะนำให้เขาหลุดพ้นจากปัญหาถ้าเป็นลูกความก็จ่ายเงินมา เราทำตามหน้าที่รับเงิน แต่พอมาที่นี่ก็เหมือนได้หลายๆ อย่าง ผู้ร้องกับเราก็เหมือนเกิดความผูกพัน ไปไหนมาไหนก็คิดถึงเราซื้อขนมมาให้ เป็นเหมือนครอบครัว สังคมผู้บริโภค คือเขาเดือดร้อนก็จะนึกถึงมูลนิธิว่ามูลนิธิเป็นที่พึ่ง เขาไปร้องเรียนที่ศาลหรือศูนย์ดำรงธรรม เขาก็จะแนะนำให้มาร้องเรียนที่มูลนิธิ แล้วเวลาเขาร้องเรียนเรื่องกฎหมายก็จะนึกถึงมูลนิธิก่อน เพราะว่าจะเชี่ยวชาญเกี่ยวกับคดีผู้บริโภคที่สุด รักษาผลประโยชน์ให้เขาได้ เนื่องจากคดีมีความหลากหลาย อยากได้คนที่มีความรู้ที่หลากหลายสาขาอาชีพมาช่วย เช่น ปัญหาเรื่องการเงินการธนาคารมาช่วยเรื่องการคิดคำนวณเรื่องดอกเบี้ย ด้านวิศวกรรม เรื่องสินค้าชำรุดบกพร่องอย่างเช่น เรื่องรถยนต์ เป็นต้น มีพี่คนหนึ่งเขาจบพยาบาลมา ก็รับคดีเกี่ยวกับการแพทย์ไป เพราะอ่านเวชระเบียนได้ ในส่วนของใครที่มีความกังวลเรื่องความปลอดภัยนั้นอย่างตัวเองทำงานมา 2 ปีกว่าๆ เราทำงานด้วยใจและทำตามหน้าที่ โดยนำข้อเท็จจริงมาปรับใช้ในการทำงาน กฎหมายบ้านเมืองก็มีอยู่แล้ว คุณมาทำงานที่นี่ไม่ต้องกลัวเรื่องการถูกคุกคาม เพราะเราทำมาสองปีกว่า เราก็มีความปลอดภัยและมีความสุขกับการทำงานดีค่ะ ปัจจุบันทีมทนายความจิตอาสา ศูนย์ทนายความเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มีประมาณมากกว่า 20 ท่าน โดยมีความรู้ความสามารถที่หลากหลายกันไปค่ะ”ทนายความสวิทย์ จันทร์ต๊ะคาด“ทนายความอาสาเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า อาชีพทนายเป็นอาชีพอิสระ และหาคนที่มีจิตอาสาหรือจิตที่เป็นบุญกุศลมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยาก และทนายอาสาควรที่จะมีความรู้ความสามารถ ที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนได้ด้วย”เหตุที่สนใจงานด้านจิตอาสาพอดีเห็นจากประกาศของมูลนิธิประกาศรับสมัครทนายความที่มีจิตอาสามาร่วมองค์กร เพื่อให้ความช่วยเหลือประชาชน ผมคิดว่าตนเองพอจะมีความรู้ความสามารถ และมีจิตอาสาที่อยากช่วยประชาชน ส่วนแนวคิดเกี่ยวกับงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค เห็นว่าหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายควบคุมอยู่ในมือไม่สามารถใช้กฎหมายนั้นบังคับได้จริง ต้องให้ประชาชนใช้สิทธิทางศาลเอง ถึงจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย กฎหมายไทยมองว่าจะต้องพัฒนาอีกไกลเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความคุ้มครองตามสิทธิ ทนายความอาสาเป็นเรื่องจำเป็นเพราะว่า อาชีพทนายเป็นอาชีพอิสระ และหาคนที่มีจิตอาสาหรือจิตที่เป็นบุญกุศลมาช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันยาก และทนายอาสาควรที่จะมีความรู้ความสามารถ ที่จะต้องช่วยเหลือประชาชนได้ด้วยความคาดหวังเมื่อเข้ามาเป็นทนายอาสาปกติจะมีส่วนกลางใช่ไหมครับ ส่วนภูมิภาคใช่ไหมครับ ผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้าหรือบริการที่ไม่ปลอดภัย สามารถขอคำปรึกษากับเครือข่ายที่อยู่ตามภูมิภาคได้ เพื่อที่จะได้ลดค่าใช้จ่าย ไม่ต้องเดินทางมาส่วนกลางเราจะช่วยดำเนินการด้านคดีอย่างไร ต้องดูว่าสิ่งที่ผู้บริโภคได้รับผลกระทบมีอะไรบ้าง และเราจะขอให้ศาลคุ้มครองสิทธิอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดตามกฎหมายที่คุ้มครองผู้บริโภคนั้นๆ ยุคนี้คือเทคโนโลยีได้พัฒนาไปไกล ทำให้มีการผลิตสินค้าและบริการมากมาย ซึ่งก่อนที่เราจะบริโภคสินค้าหรือบริการนั้น ควรมีการตรวจสอบที่มาที่ไป ส่วนประกอบ ผลข้างเคียง ถ้าได้บริโภคหรือใช้สินค้านั้นทนายความวาสนา สายเป้า“ผู้บริโภคเมื่อจะใช้สิทธิอะไรเมื่อตัวเองเสียเปรียบ หรือสินค้าตัวนั้นไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธินั้นกลับมาให้คุ้มกับที่เงินที่จ่ายไปถึงแม้ราคาสินค้าจะเป็นบาทเดียว ห้าบาท สิบบาท แต่ควรให้คุ้มค่าตรงนั้น”ความคิดกับงานคุ้มครองผู้บริโภคงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นพื้นฐานสำคัญของผู้บริโภคในเบื้องต้น กรณีการเป็นทนายอาสาเป็นการดูแลเบื้องต้นของผู้บริโภคที่มี คือการรักษาสิทธิของผู้บริโภคเบื้องต้น ซึ่งบ้างครั้งผู้บริโภคไม่ทราบว่าตนเองสามารถเรียกร้องสิทธิ ที่ตัวเองเสียไปจากการใช้บริการสินค้าต่างๆได้ เราจะเป็นตัวแทนให้คำแนะนำ ให้ช่องทางในการเรียกร้องสิทธิ ไม่ว่ากรณีสินค้าไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือการใช้สินค้าไม่ตรงตามคุณสมบัติของรายการสินค้าที่ควรจะต้องเป็นไปตามที่ผู้บริโภคต้องได้รับ เราจะเป็นตัวแทนที่ให้ทราบสิทธิของผู้บริโภคเบื้องต้น ทำหน้าที่ต่อโดยการเรียกร้องสิทธิให้กับผู้บริโภคต่อไปจะสนับสนุนความรู้เรื่องกฎหมายแก่ผู้บริโภคอย่างไรอันนี้จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้บริโภค จริงๆ ผู้บริโภคอาจจะไม่คิดถึงว่าการบริโภคแค่ทานอาหาร ต้องใช้กฎหมายเลยเหรอ ถ้าเราให้ความรู้ผู้บริโภคก็จะสังเกตถึงสิ่งที่ตนเองบริโภคเข้าไปว่า มันถูกต้อง คุ้มราคา คุ้มที่เราจ่ายไปไหม และการบริโภคมันสมกับที่เขาโฆษณาไหม ให้ผู้บริโภคได้สังเกตสินค้ามากขึ้น แล้วก็เป็นการตรวจสอบเบื้องต้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีต่อไปด้วยคิดว่าเมื่อเข้ามาอาสา จะช่วยงานคดีทำให้ดีขึ้นได้อย่างไรชัดเจนอยู่แล้ว มันดีขึ้นอยู่แล้ว เพราะเป็นช่องทางที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสิทธิตนเอง เมื่อคุณเสียเงินไปแล้วหรือการใช้บริการไปแล้ว คุณควรได้คุ้มค่ากับการที่ต้องเสียเงินบริโภคสิ่งนั้น เพราะผู้บริโภคเมื่อจะใช้สิทธิอะไรเมื่อตัวเองเสียเปรียบ หรือสินค้าตัวนั้นไม่เป็นไปตามความประสงค์ของผู้บริโภค ผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธินั้นกลับมาให้คุ้มกับที่เงินที่จ่ายไปถึงแม้ราคาสินค้าจะเป็นบาทเดียว ห้าบาท สิบบาท แต่ควรให้คุ้มค่าตรงนั้น ถ้าผู้บริโภคไม่รักษาสิทธิ ผู้ประกอบการก็จะใช้โอกาสหรือช่องที่ผู้บริโภคไม่ได้สนใจเอาเปรียบไป ถึงแม้ผู้บริโภคจะมีสักล้านนึง คนละบาทคนละบาท อย่างกรณีค่าโทรศัพท์มันก็เหมือนกันนั้นก็คือเป็นสิทธิของผู้บริโภคที่จะเรียกร้องกลับมา(มีอะไรฝากถึงมูลนิธิฯ) ฝากให้มูลนิธิดูแลผู้บริโภคต่อไป อยากให้ดูแลไปตลอดเพราะผู้บริโภคไม่มีที่พึ่งตรงไหน ก็มีที่พึ่งที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเท่านั้น อยากให้ผู้บริโภคทุกคนมาใช้มูลนิธิทำงาน มูลนิธิยินดีอยากให้ผู้บริโภคได้ประโยชน์สูงสุดกับสินค้าทุกตัว นั้นคือความสุขของมูลนิธิทนายความจิราภา เต็มเพ็ชร“หากผู้บริโภคมีฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ้างทนายความ ทนายความอาสาจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคที่ยากจนให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น”แนวคิดกับงานคุ้มครองผู้บริโภคผู้บริโภคคือประชาชนทั้งประเทศ ทุกเพศ ทุกวัย ควรได้รับความคุ้มครองจากรัฐในทุกด้าน รัฐควรเข้ามามีบทบาทในการช่วยเหลือให้ความรู้ในด้านต่างๆ เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค และหากมีการรวมตัวกันของกลุ่มบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคเพื่อเป็นกระบอกเสียงของผู้บริโภคด้วยกันแล้ว รัฐควรเข้ามาช่วยเหลือและสนับสนุนในเรื่องนี้ เช่น เรื่องงบประมาณ, การศึกษาวิจัย, การดำเนินคดี ฯลฯงานทนายอาสามีความสำคัญกับงานคุ้มครองผู้บริโภคอย่างไรทนายความอาสานั้นมีบทบาทสำคัญต่อการคุ้มครองผู้บริโภคมาก เพราะใช้ความรู้ด้านกฎหมายช่วยเหลือในการฟ้องร้องและต่อสู้คดีแทนผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายจากการบริโภคสินค้า และหากผู้บริโภคมีฐานะยากจนไม่มีทุนทรัพย์ที่จะจ้างทนายความ ทนายความอาสาจะเข้าไปช่วยเหลือผู้บริโภคที่ยากจนให้ได้รับสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้นผู้บริโภคต้องการความช่วยเหลือหรือสนับสนุนความรู้เรื่องกฎหมายอย่างไรผู้บริโภคควรได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุน ในด้านกฎหมายเรื่องที่ว่าควรจะเลือกบริโภคสินค้า อาหาร และผลิตภัณฑ์ อย่างไรให้ปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และหากว่าต่อมาผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากการบริโภคแล้ว จะมีแนวทางในการดำเนินคดีกับผู้ผลิต หรือผู้ประกอบการอย่างไรบ้าง คิดว่าเมื่อเข้ามาอาสาช่วยให้คำแนะนำกับผู้บริโภคนั้น จะช่วยงานด้านคดีให้ดีขึ้นด้วยการทำให้ผู้บริโภคที่ยากจนมีโอกาสเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้มากขึ้น จากการที่ตนได้รับความเสียหายจากการบริโภค

อ่านเพิ่มเติม >