ฉบับที่ 189 อนุสรณ์ พุ่มพวง ผู้ประสบภัยจาก “ประกันภัย”

“ผมอายุ 64 ปี เรียนจบด้านวิศวกรรมเคยทำงานเป็นวิศวกรอยู่บริษัทแห่งหนึ่ง แต่ตอนนี้เป็นเจ้าของโรงงานเซรามิคเล็กๆ อยู่ที่ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร คุณอนุสรณ์ พุ่มพวง เริ่มเล่าเรื่องราวของตัวเองให้เราฟังด้วยความมุ่งมั่น ต่อไปนี้คือการต่อสู้ของผู้บริโภคเล็กๆ ที่ฉลาดซื้ออยากให้ทุกคนเป็นกำลังใจให้อยากให้เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นผมมีลูกชายคนเดียว พอผมเริ่มอายุมากแล้วจึงทำประกันชีวิตกับ บ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต ประเภทบำนาญพิเศษเพื่อหวังเงินขวัญวันเกิด(เงินปันผลประจำปี) ที่จะเป็นทุนการศึกษาให้แก่ลูกต่อไปในภายหน้า โดยคาดไม่ถึงว่า บ.ประกันชีวิตของธนาคารฯ จะขาดวินัยทางการบัญชี ความซื่อสัตย์ และขาดจรรยาบรรณในวิชาชีพถึงเพียงนี้ นับว่าเป็นการตัดสินใจในทางที่ผิดเก็บเงินฝากธนาคารออมสินทุกเดือนจะดีกว่า ข้อพิพาทกับ บ.ไทยพาณิชย์ประกันชีวิตของผม หลักๆ คือผมถูกแปลงกรมธรรม์ โดยอ้างว่าผมจ่ายเบี้ยเกินระยะเวลาแต่ทางบริษัทฯ ไม่เคยมีการแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานะกรมธรรม์ของผม ผมขอแยกเป็นหัวข้อดังนี้ข้อที่ 1 การชำระเบี้ยประกันโดยตัดบัญชีเงินฝากธนาคาร โอนเงินผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ บริษัทประกันควรจะต้องยึดถือว่าวันเวลานั้นๆ คือเวลาที่แท้จริงของการชำระเงิน ใบเสร็จรับเงินต้องระบุให้ถูกต้องตามความเป็นจริง แต่ของผมไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งองค์กรที่ขาดวินัยปัญหาก็จะตามมาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นทำเงินหายหรืออะไรก็ตาม ฉะนั้นผู้บริโภคไม่ว่าจะชำระค่าอะไรที่ธนาคารจะต้องเก็บใบเสร็จรับเงิน (ใบโอนเงินที่ธนาคารออกให้) ทุกครั้งเพราะเราไม่รู้ว่าธนาคารแต่ละแห่งมีวินัยและจรรยาบรรณในวิชาชีพเพียงใด เพราะคุณค่าขององค์กรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสำนักงานใหญ่โตสูง 10-20 ชั้นข้อที่ 2 การจ่ายเงินขวัญวันเกิด(เงินปันผล) บริษัทฯ ก็ไม่ยอมจ่ายแต่อ้างว่าจะนำไปหักเงินกู้อัตโนมัติที่ค้างอยู่ (หักหรือเปล่าก็ไม่รู้เพราะบริษัทให้ข้อมูลไม่เคยตรงกันเลย) อธิบายได้ว่าตามข้อกำหนดของกรมธรรม์(ทุกๆ กรมธรรม์) ระบุว่าเมื่อชำระเบี้ยประกันมาจนถึงสิ้นปีกรมธรรม์ที่ 2 (มีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว) เมื่อถึงกำหนดชำระเบี้ยประกันและเลยระยะเวลาผ่อนผัน 31 วันไปแล้วยังไม่ชำระเบี้ยประกันก็จะเป็นการใช้มูลค่าเวนคืนมาชำระเบี้ยประกันโดยอัตโนมัติ พูดง่ายๆ ว่ากู้เงินเขามาชำระเบี้ยประกันโดยมีมูลค่าของกรมธรรม์ค้ำประกัน เพื่อให้สิทธิที่พึงมีพึงได้ยังคงอยู่ทุกอย่างทุกประการ ฉะนั้นถึงเวลาจ่ายก็ต้องจ่ายตามเงื่อนไขกรมธรรม์จะอ้างว่านำไปหักเงินกู้อัตโนมัติไม่ได้ สมมติว่าผู้บริโภคทำประกันสุขภาพไว้กับบริษัทประกันเมื่อมีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้วแต่มีเงินกู้อัตโนมัติค้างอยู่ถึงเวลาเจ็บป่วยนอนโรงพยาบาลขึ้นมา บ.ประกันจะอ้างได้ไหมว่าฉันจะจ่ายให้แต่ต้องนำมาหักเงินกู้อัตโนมัติก่อน สรุปคือคุณต้องนอนห้องอนาถาไม่ใช่ห้องพิเศษวันละ 3,000 ตามที่ทำประกันไว้ เรื่องนี้ใครรู้ช่วยคิดหน่อยข้อที่ 3 การปฏิเสธไม่ยอมรับเบี้ยประกัน เวลากรมธรรม์มีมูลค่าเวนคืนเกิดขึ้นแล้ว เวลาขาดส่งเบี้ยประกันก็จะเป็นการกู้อัตโนมัติ เวลาจะชำระเงินกู้อัตโนมัติคืนเป็นงวดๆ พร้อมดอกเบี้ยก็ย่อมทำได้แต่ บ.ไทยพาณิชย์ประกันภัยไม่ยอมจะเอาคืนทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยหรือผู้เอาประกันจะใช้สิทธิชำระในงวดปัจจุบัน บริษัทฯ ก็ไม่ยอมเช่นกัน ในเมื่อเขาไม่ยอมเขาจึงปล่อยให้เป็นเงินกู้อัตโนมัติไปเรื่อยๆ จนกรมธรรม์แปรสภาพไปโดยปริยายในข้อ 3 นี้ขอนำเสนอเป็นแผนภูมิประกอบคำอธิบาย A B C D Eมูลค่าเวนคืนที่จุด A มีมากๆจุด B เป็นเงินกู้อัตโนมัติจุด C เป็นเงินกู้อัตโนมัติจุด D คืองวดชำระเบี้ยประกันถามว่าก่อนถึงจุด D (คือจุด X) ผู้เอาประกันค้างชำระอยู่ 2 งวดขอชำระ 1 งวด (ชำระ B) พร้อมดอกเบี้ย เขาไม่ยอมรับจะเอาที่ค้างชำระหนี้ทั้งหมด ถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ข้อที่ 4 การแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาโดยมูลค่าเวนคืนยังมีอยู่เป็นจำนวนมาก ตามข้อกำหนดของกรมธรรม์ การชำระเบี้ยเป็นประเภทราย 4 เดือนคือ 1 รอบปีกรมธรรม์ชำระ 4 ครั้ง บ.ไทยพาณิชย์ฯ ตีความข้อกำหนดของกรมธรรม์ว่าเงินกู้อัตโนมัติกู้ได้ไม่เกินสิ้นปีกรมธรรม์เท่านั้น นั่นคืองวดปีกรมธรรม์ที่ 3 และงวดที่ 4 กู้อัตโนมัติไปแล้ว ต่อไปงวดปีที่ 4 งวดที่ 1 จะกู้ไม่ได้อีก จึงแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาถ้าการตีความดังกล่าวชอบด้วยข้อกำหนดของกรมธรรม์ก็เป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม และการแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาไปแล้ว สิทธิและผลประโยชน์ต่างๆ จะหมดไปจะเหลือประการเดียวถ้าตายลงภายในระยะเวลาที่กำหนด บ.ประกันจะจ่ายให้เพียง 1 เท่าของทุนประกันเท่านั้นในระบอบทุนนิยมที่นายทุน เป็นผู้กำหนดบทบาทของรัฐบาลมาเป็นเวลาช้านานทำให้ผู้บริโภคโดนเอารัดเอาเปรียบ ฉ้อฉลเป็นอย่างมาก ประกอบกับกลไกคุ้มครองผู้บริโภคภาครัฐล้มเหลว สิ่งที่จะเป็นดุลอำนาจในการต่อรองคือภาคประชาชน มีคำพูดของท่านปลัดอำเภอกระทุ่มแบน(ศูนย์ดำรงธรรม) ว่า “ลุงไปร้องทุกข์มาครบถ้วนตั้งแต่เทศบาล คปภ.จังหวัด คปภ.กรุงเทพฯ ผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไม คปภ. เป็นหน่วยงานของรัฐแก้ปัญหาให้ประชาชนไม่ได้ ให้ลุงไปที่ศาลเถอะเขาจะช่วยลุงเอง”ช่วงของการเตรียมเอกสารก่อนขึ้นศาล ต้องเตรียมอย่างไรบ้างคะก็ต้องมานั่งรวบรวมเอกสารเป็นหมวดเป็นหมู่ ตอนแรกเราเก็บใบเสร็จรับเงินไว้แบบไม่เรียบร้อย คือที่บ้านมีกล่องอยู่กล่องนึงเราเอาเอกสารใส่ไว้ในนั้น เราต้องรวบรวมมา แล้วไปขอความรู้ที่เนติบัณฑิตสภา ที่โน้นที่นี่ภายในจังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งพอไปจริงๆ เขาก็ไม่รู้อะไรเท่าไร ไม่รู้ข้อกำหนดของกรมธรรม์เลย ไปๆ มาๆ เลยไปได้อาจารย์คนหนึ่งที่ห้องคุ้มครองผู้บริโภค ที่เป็นคนร่างสำนวนฟ้องให้นั่นแหล่ะ คอยเป็นพี่เลี้ยงให้ เป็นเหมือนอาจารย์คอยให้ความรู้ทางกฎหมาย ผมจึงไปฟ้องศาลเขียนคำฟ้องโดยไม่มีทนาย(คดีผู้บริโภค) มีนิติกรที่ศาลคอยช่วย ใช้เวลาเขียนคำฟ้องอยู่ 6 เดือน จนศาลรับฟ้องแล้วอยู่ในขั้นเจรจาไกล่เกลี่ย แต่ผลปรากฏว่าการเจรจาไกล่เกลี่ยนั้นตกลงกันไม่ได้ เพราะผมขอเงินคืนทั้งหมดไม่ทำประกันแล้วเพราะเขาเป็นฝ่ายผิดสัญญา ถึงเวลาจ่ายเงินปันผลเขาต้องจ่ายจะบ่ายเบี่ยงไม่ได้ ครั้งแรกเขาให้การกับ คปภ. สมุทรสาครว่า เงินปันผลจะนำไปหักกับเงินกู้อัตโนมัติ ต่อมาที่ คปภ. กรุงเทพฯ เขาบอกว่าต้องจ่ายเงินให้ครบก่อน ถึงจะมีสิทธิได้เงินปันผล คำพูด 2 ครั้งของเขาขัดแย้งกัน ในขั้นตอนการไกล่เกลี่ยทางบริษัทฯ เขาพูดกับผมว่ายังไงๆ เขาสู้ถึงอุทธรณ์ ฎีกาอยู่แล้ว ผมเห็นว่าคงสู้ไม่ไหวจึงมีความคิดว่าเราต้องใช้ธรรมะปราบอธรรมแล้วบังเอิญได้ดูข่าวของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคจากไทยรัฐก็เลยรู้จักมูลนิธิฯ จึงมาขอความช่วยเหลือ ทางมูลนิธิฯ ก็ให้ความช่วยเหลือจัดหาทนายลงไปช่วย ซึ่งศาลสมุทรสาครจะมีคำตัดสินในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2559 นี้อยากฝากถึงผู้อ่านที่ได้อ่านเรื่องนี้เกี่ยวกับการทำประกันอย่างไรบ้างเพื่อจะได้รู้เท่าทันการแปลงกรมธรรม์เป็นการขยายเวลาก็ดีหรือการแปลงกรมธรรม์แบบใช้เงินสำเร็จก็ดีจะทำให้สิทธิการได้รับผลประโยชน์ในผู้ประกันตนสูญหายไป เพราะฉะนั้นการแปลงกรมธรรม์ตัวนี้ในมุมของกฎหมายก็คือยุติสัมพันธ์ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของนิติกรรมต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้รับรู้ ในกรณีของผมนี้เขาต้องบอกให้รับรู้ว่าสถานะกรมธรรม์ของผมเป็นอย่างไร แต่เขาไม่ได้ทำ ดังนั้นหากใครทำประกันอยู่ จึงต้องหมั่นตรวจตราในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเจอปัญหาคล้ายๆ ผมหรือยังไม่เจอปัญหาก็ตาม การทำประกันหรือทำธุรกรรมต่างๆ ต้องเก็บเอกสารการโอนเงินให้ดี ใบเสร็จรับเงินที่เขาให้มาต้องเก็บไว้ทุกครั้งเพราะวันดีคืนดีเขาบอกมาว่าไม่ได้รับเงิน ถ้าไม่ได้เก็บใบเสร็จไว้ถ้าแล้วตายขึ้นมาลูกหลานไม่รู้เรื่องอะไรเลยก็อาจจะโดนเขาหลอกจนลูกหลานเราไม่ได้อะไรเลย แล้วมันเป็นไปได้ยากที่คนเรา ยิ่งหาเช้ากินค่ำด้วยแล้ว จะมาเก็บเอกสารพวกนี้แยกเป็นหมวดหมู่ทุกครั้ง แล้วยิ่งมาเจอบริษัทประกันที่ไม่มีวินัยทางการเงินแบบนี้ ทาง คปภ. ต้องมีมาตรการในจัดการ ต้องมีอำนาจควบคุมดูแลจะมาบอกว่าไม่รู้ๆ ไม่ได้สิ่งที่พวกเราผู้บริโภคจะช่วยกันสร้างดุลอำนาจต่อรองคือ1. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคต้องเป็นองค์กรที่เข้มแข็ง อุปมาเหมือนกับมูลนิธิคือปืนแต่ลูกกระสุนไม่ค่อยมี เพราะไม่มีเงินซื้อลูกปืนขอให้ผู้มีจิตสาธารณะรักความยุติธรรมช่วยกันเสริมสร้างในมูลนิธิฯ เข้มแข็งขึ้น2. ขอให้องค์กรส่วนจังหวัด เทศบาล อำเภอ อบต. จัดสัมมนาให้ความรู้ถึงสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องต่างๆ ทุกๆ ปี3. ให้รัฐบาลออกกฎหมายองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชนและจัดสรรงบประมาณให้องค์กรนั้นๆ ทุกๆ ปี นี่คือความจำเป็นโดยรีบด่วนที่ต้องทำให้สำเร็จในรัฐบาลชุดนี้ หากระบบทุนนิยมกำหนดรัฐบาลได้จะกระทำได้ยาก4. ขอให้มีการออกข้อกำหนดเรื่องการอุทธรณ์และฎีกาว่าคดีผู้บริโภคจะต้องมีคำพิพากษาโดยเร็ว เพื่อให้ทันในการเยียวยาความเสียหาย

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 188 60 Plus+ “ให้ทุกคนเห็นว่าคนพิการทำงานได้ ทุกคนมีจุดแข็ง จุดอ่อนที่มาเติมเต็มกันและกัน”

ริมถนนราชวิถี อาณาบริเวณติดกับบ้านราชวิถี เป็นที่ตั้งของร้าน 60 Plus+ Bakery & Cafe โครงการดีๆ ที่เปิดโอกาสให้คนอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมได้ใช้สิทธิในสังคมอย่างสมบูรณ์แบบ“โครงการนี้เป็นโครงการเฉลิมฉลองครบ 60 พรรษาของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เราจึงอยากให้เป็น Living Present คือของขวัญที่มีชีวิต ซึ่งประชาชนก็ถวายของขวัญให้พระองค์ท่านมากมายแต่ให้ครั้งเดียวมันก็หมดไป แต่การที่น้องๆ อยู่ตรงนี้ทุกวันมันคือ การถวายพระพรท่านในทุกๆ วันว่าน้องๆ ทุกคนทำได้ ซึ่งร้านนี้เกิดจากความร่วมมือของศูนย์พัฒนาและอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก ( APCD) และบริษัทไทยยามาซากิจำกัด จากประเทศญี่ปุ่น และผู้ค้าอื่นๆ จุดเริ่มต้นคือการที่เราทำ Showcase ให้ทุกคนเห็นว่าคนพิการทำงานได้ มันเป็นรูปแบบนามธรรมที่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก เวลาที่เรานึกถึงคนพิการส่วนใหญ่แล้วเขาก็จะโดนจ้างจากบริษัทให้ทำงานเป็นพวก Call Center อะไรพวกนั้นแต่ในกรณีของร้านนี้น้องๆ จะได้พัฒนาเต็มศักยภาพจริงๆ เงินเดือนก็ไม่ได้ต่างอะไรกับพนักงานยามาซากิคนอื่นๆ ใช้เรทเดียวกัน ที่สำคัญคือน้องๆ จะสามารถพัฒนาศักยภาพของตัวเองเพื่อที่เขาจะได้กลับไปอยู่ในสังคมที่พวกเขาคุ้นเคยอยู่แล้วได้ด้วย”น้องณูณู น้องพนักงานท่านหนึ่งเล่าให้ฟังด้วยความภาคภูมิใจ จากนั้นส่งไม้ให้คุณต้อม ดวงนฤมล ดอกรัก ผู้จัดการข้อมูลและความรู้ มูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก(ศพอ.) ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเล่าต่อ“น้องๆ จะอยู่ในเครือข่ายของเราขึ้นอยู่กับว่าจะมาสมัครหรือเปล่า อย่างรุ่นแรกจำเป็นต้องใช้เครือข่ายเพราะว่าเป็นปีแรกยังไม่มีใครรู้จักร้านเรา เราต้องรับสมัครก่อนที่ร้านจะเปิดจริงๆ 9 เดือน แล้วไม่มีใครรู้จักร้านเรา ที่ตรงนี้เดิมเป็นที่รกๆ เก่าๆ แต่เราเปลี่ยนมันให้เป็นร้านเบเกอรี่และทำพื้นที่ตรงนี้ให้เป็นเทอเรซคาเฟ่”ตอนเริ่มต้นฝึกกันอย่างไรบ้างค่อนข้างลองผิดลองถูกเพราะว่าเราไม่รู้เลยโดยส่วนใหญ่แล้ว APCD จะทำอบรมด้านความพิการอย่างเดียวแต่นี่ถือเป็นการฝึกครั้งแรก ซึ่งมีเวลาเตรียมตัวแค่ 3 อาทิตย์เท่านั้น คือเราได้รายชื่อมาแล้วว่าเขาพิการอะไรบ้างแล้วมานั่งคิดประยุกต์จากที่พวกเราเชี่ยวชาญเฉพาะทางกันอยู่แล้ว อย่างตัวเองเคยสอนเด็กพิการ 9 ประเภทตามหลักกระทรวงศึกษาธิการก็เลยรู้ Know how อย่างไรถึงจะสอนพวกเขาได้ ทำอย่างไรเด็กออทิสติกจะเข้าใจ ทำอย่างไรให้เด็กออทิสติก คนหูหนวกและคนที่พิการทางด้านร่างกายเขาอยู่ร่วมกันได้ คือคนพิการทางด้านร่างกายนั้น ถ้าไม่นับข้อจำกัดด้านร่างกายเขาก็คือคนปกติดีๆ นี่เอง คนหูหนวกก็เหมือนกันถ้าไม่นับเรื่องที่เขาไม่ได้ยินเขาก็เหมือนคนปกติ แต่เด็กออทิสติกถือเป็นปัญหาในช่วงนั้นเลย เพราะเราจะพูดกับเขาไม่รู้เรื่องและในปีแรกนั้นมีน้องคนหนึ่งพิการค่อนข้างรุนแรงเลย คือเขียนหนังสือไม่ได้ อ่านก็ไม่ค่อยออกด้วย แต่ว่าน้องพัฒนาจากการที่เราเคยต้องพูดปากเปียกปากแฉะทุกวันว่า ต้องทำอะไรอย่างไรบ้าง แต่ตอนนี้ลองมองตาของน้อง แววตามีแต่ความสุขทุกวันและน้องก็น่ารักเราจำวันแรกของทุกๆ คนได้เลย ทุกคนนั่งเฉยๆ เป็นต้นไม้ ไม่ไว้ใจใครทั้งนั้น เราก็คิดเหมือนกันว่าจะไปรอดไหมเพราะผู้พิการทางการได้ยินเขาก็จะมีสังคมของเขา แต่จะให้ช่วยมาดูแลน้องๆ ออทิสติกนั้นมันก็ยาก ก็ได้พี่ๆ ที่พิการทางร่างกายมาเป็นตัวเชื่อมโยงเหมือนเป็นพี่เลี้ยงให้เด็กออทิสติก และผู้พิการทางการได้ยินก็เรียกได้ว่าเป็นมือขวาของผู้พิการทางด้านร่างกายเพราะว่าเวลาพี่ๆ ที่พิการด้านร่างกายเดินช้ากว่า แต่ว่าเตา(เตาอบขนม) มันพร้อมแล้วผู้พิการทางการได้ยินเขาจะจมูกไวมาก ก็ช่วยๆ กันทำงาน เพราะการที่เราทำออเดอร์เสร็จนั้นมันคือข้อบ่งชี้ว่าเราทำได้จริง และช่วงปีแรกเราก็มีปัญหาที่ว่าน้องๆ ที่เป็นเด็กพิเศษ ไม่สามารถนั่งผูกผ้ากันเปื้อนได้ คือเขาไม่สามารถที่จะผูกด้านหลังโดยมองไม่เห็นได้ จึงคิดว่าจะทำอย่างไรดี รุ่น 2 เลยมีการสังเกตการณ์อยู่ 1 เดือนก่อนถ้ามีแววก็จะไปสู่ปฐมนิเทศของการอบรมแต่ถ้าไม่มีแววก็ต้องกลับบ้าน แต่เรามั่นใจว่าน้องๆ ทุกคนตรงนี้พอได้เป็นรุ่น 2 มันมีความเคยชินเพราะตอนรุ่น 1 ยังไม่มีร้านให้เขาฝึกงานเพราะร้านเสร็จตอนเดือน ส.ค. แต่เขามาฝึกกันตั้งแต่เดือน พ.ค. ซึ่งต้องฝึกกันถึง 6 เดือนรุ่นแรกมีกี่คน คัดมาจากจำนวนเท่าไรคัดมาจาก 14 คน ได้มาทำงานเป็นพนักงานจริงๆ 10 คน แต่เราเป็นสาขาศูนย์ฝึกไม่ใช่สาขาออฟฟิศ เพราะถ้าที่นี่เป็นสาขาออฟฟิศหมายความว่าเราจะสร้างความเข้มแข็งของผู้พิการได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าเราเป็นสาขาศูนย์ฝึกเราจะหมุนเวียนทุกปีหมายถึง เราจะสามารถสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพให้น้องๆ พิการได้เรื่อยๆ จำนวนจะเพิ่มขึ้นทุกปี ตอนนี้เรามีกันอยู่ในร้าน 22 คนเป็นรุ่นแรก 9 คนที่แต่เดิมมี 10 คนหายไป 1 คนเพราะถูกส่งไปอยู่สาขาอื่นเรียบร้อย เขาเป็นผู้พิการทางด้านร่างกายเคยทำงานอยู่การรถไฟแห่งประเทศไทยแล้วถูกรถไฟทับขาขาดต้องใส่ขาเทียม เดี๋ยวก็จะมีคนต่อๆ ไปส่งไปอีกต้องดูเป็นคนๆ ไปใครที่ไปได้เราก็จะส่ง แต่ว่าน้องๆ รุ่นที่ 2 นี้ก็กำลังจะจบการฝึกงานสิ้นเดือน ต.ค.นี้ ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าผลการฝึกงานจะเป็นอย่างไร เพราะตัวเราเองถูกส่งมาเพื่อคอยจับตาดูน้องๆ ทุกคนเพราะเป็นผู้ฝึกอบรมมาตั้งแต่รุ่นสังเกตการณ์ สังเกตการณ์เหมือนกับให้เขาได้เตรียมตัว เตรียมทักษะก่อนหน้าที่จะไปเจอของจริงที่เป็นมาตรฐานของยามาซากิอย่างเช่นที่คีบซึ่งมั่นใจว่าน้องๆ ไม่เคยใช้แน่ๆ แต่เขาต้องฝึกใช้กันให้คล่อง ก็ต้องสอนเขาให้รู้จักการใช้วิธีการคีบอย่างไร ใส่ถุงอย่างไร การกะขนาดของขนมกับถุงที่จะใส่ด้วยสายตา เรื่องพวกนี้เราต้องใช้เวลาในการฝึกและฝึกการทำงานเป็นทีมด้วย พอมาอยู่ในนี้ทุกคนต้องทำงานเป็นทีมเดียวกันคือต้องมีทักษะที่ชำนาญในระดับหนึ่ง และถ้าเป็นไปได้เราเริ่มให้เขาจำชื่อขนมและราคาก่อน ถ้าจำได้เรื่องจำโค้ดค่อยมาเรียนทีหลังเพราะโค้ดเป็นสิ่งที่สาขาอื่นจะใช้อยู่ตลอดเพราะฉะนั้นนี่เป็นเหตุผลที่ทำไมน้องๆ ต้องเรียนโค้ดสำหรับคนที่อยู่ฝ่ายขายและโดยเฉพาะคนที่ทำหน้าที่แคชเชียร์จะต้องจำมันให้ได้ซึ่งอันที่จริงมันก็แยกตามประเภทของขนมปังอยู่แล้ว จะมีชื่อเรียกเป็นโค้ดของมันอยู่แล้ว ก็มีทั้งหมด 21โค้ดน้องแต่ละคนได้ทำหน้าที่หมุนเวียนกันไปไหมคือไม่ได้หมุนเวียนแบบ 1 คนทำทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายขายแน่นอน เราทำอย่างนั้นไม่ได้เพราะว่าเราต้องแยกใครมีแววด้านการผลิตก็ให้อยู่ฝ่ายผลิตไปเลย ใครอยู่ฝ่ายขายก็ฝ่ายขายไปเลย แต่ว่าจะมีน้องจุ๊บแจงจะเป็นกรณีพิเศษเขาจะอยู่ได้ทั้งฝ่ายผลิตและฝ่ายขายซึ่งมีแบบนี้ไม่กี่คน คือคิดว่าคนพิการทุกคนมีจุดแข็งจุดอ่อนเหมือนคนหนึ่งคอยมาเติมส่วนที่อีกคนหนึ่งขาด อย่างพี่ที่หูหนวกก็จะถูกจับคู่กับน้องๆ ออทิสติกซึ่งตอนแรกก็ห่วงว่าเขาจะสื่อสารกันอย่างไร สุดท้ายก็ใช้วิธีเขียนเอาบ้าง ใช้ภาษามือบ้างการสื่อสารนั้นสำคัญมากเลยเพราะเรามีทั้งออทิสติก ซึ่งการสื่อสารต้องทำความเข้าใจเขานิดหนึ่งและอย่างด้านผู้พิการทางการได้ยินก็มีทั้งหูตึง หูหนวก ซึ่งหูหนวกเขาจะสื่อสารกันโดยใช้ภาษามือ ส่วนหูตึงจะใช้การอ่านปากและการเขียน ส่วนออทิสติกภาษาที่เขาใช้คือภาษาง่ายๆ ใช้ท่าทาง คือผู้พิการทั้งหลายนั้นสิ่งที่มีร่วมกันคือการใช้ภาษาร่างกาย ภาษามือง่ายๆ ที่เราคิดกันขึ้นมาเองก็สามารถทำให้เขาเข้าใจได้เพราะเขาต้องการอะไรที่สั้นๆ สื่อความหมายได้ ซึ่งการเรียนรู้ตรงนี้ไม่ยากแต่สิ่งที่เป็นพื้นฐานมากกว่านั้นคือความรัก ถ้าเขาไม่รักกันเขาจะไม่เข้าใจกันเพราะฉะนั้นสิ่งแรกเราไม่ได้เน้นให้เขาใช้ภาษามือแต่เราฝึกให้เขาใช้ความรัก ความผูกพันและความเข้าใจกัน เข้าใจทั้งคนอื่นและเข้าใจตนเองว่าตนเองมีส่วนไหนทำได้ ส่วนไหนทำไม่ได้ เขาจะได้รู้ตัวเองว่ามีจุดดีจุดด้อยตรงไหน น้องๆ ที่มาแรกๆ นั้นเขาจะนั่งเฉยๆ เพราะเขาไม่เคยต้องทำอะไรเท่าไรตอนอยู่ที่บ้านแต่พอออกมาเขาได้ทำนู้นทำนี่แล้วเรารู้สึกดีใจที่ได้เห็นแววตามีความสุขของพวกเขา เขาสามารถบอกได้ว่าชอบหรือไม่ชอบอะไรได้ นี่คือความสำเร็จของเรา ซึ่งความรักนั้นทำให้พวกเขามีพัฒนาการที่ดีขึ้นและเขาจะมีความเชื่อมั่น เวลาเขาทำสำเร็จเราจะชื่นชม เขาจะได้รู้สึกว่าเขาทำได้น้องๆ ที่นี่ก็จะมีประเภทที่ 1 คือจิตเภท คือความคิดของเขากับความจริงจะไม่เหมือนกัน โลกของเขาอาจจะต่างกับของเรา กลุ่มที่ 2 คือประเภทไบโพลาร์คือมีอารมณ์ 2 ขั้ว เขาจะมีการกลับไปกลับมาระหว่าง 2 ขั้ว ร่าเริงสุดขั้วกับซึมเศร้าสุดขั้วแต่ช่วงเปลี่ยนระหว่าง 2 อารมณ์นี้มันจะไม่แน่นอน อาจจะเปลี่ยนแค่วันเดียวหรือเป็นเดือน เป็นปีก็ได้ อีกกลุ่มคือซึมเศร้าตลอดเวลา ตอนนี้ในรุ่น 2 เรามีน้องที่เป็นจิตเภทและไบโพลาร์อยู่ในร้านด้วย อย่างที่เป็นจิตเภทจะเห็นได้ว่าเขาไม่เคยอาละวาดกับเรา แต่เขาเคยเข้าศรีธัญญามานะ ซึ่งคนทั่วไปถ้าให้รับเข้าทำงานก็คงคิดหนักเป็นเรื่องปกติเพราะเวลามีข่าวคนจะจำภาพทำให้ติดอยู่ในใจ ทำให้รู้สึกกลัวถ้าจะมีปฏิสัมพันธ์กับเขา แต่ถ้าได้มาดูที่ร้านจะเห็นว่าไม่ว่าจะวันไหนน้องๆ เขาก็น่ารักถึงแม้ว่าบางทีจะยิ้ม จะพูดคนเดียวแต่ก็ไม่ถึงขั้นร้ายแรง ส่วนที่เป็นไบโพลาร์พอเห็นเขาดีๆ ก็ดีแต่ใจก็คิดอยู่ว่าถ้าเขาคลุ้มคลั่งขึ้นมาจะเป็นอย่างไร ซึ่งน้องก็เคยเข้ารับการรักษาที่ศรีธัญญาเหมือนกันและทานยาอยู่ซึ่งน้องไม่ได้น่ากลัวเลย ตอนนี้เราเชื่อใจเขามากจึงให้ไปทำงานที่ UNCC ลูกค้าที่ไปใช้บริการที่นั่นเป็นระดับ VIP คือเป็นราชการระดับผู้ใหญ่แต่เรากล้าที่จะให้น้องที่เป็นไบโพลาร์ไปฝึกงานที่นั่นเพราะเราต้องการจะบอกกับสังคมว่าไบโพลาร์ก็ทำงานได้ ซึ่งเราพิสูจน์แล้ว จะมีแค่เขาอาจจะพูดอะไรงงๆ แต่ไม่ได้อาละวาดใคร คือเราได้เขาคืนกลับมาในสังคมซึ่งมันยิ่งใหญ่มาก จริงๆ แล้วพวกเขามีการศึกษาสูงกันทั้งนั้น เรียนปริญญาตรีกันแต่ว่าไปต่อไม่ได้เพราะเวลาเขาเข้าไปในสังคมเขาอาจจะกลัวแต่พอเขาได้อยู่ในบรรยากาศที่มีความเข้าใจเขาอยู่ได้ ตรงนี้ที่เราเน้นมากเคยมีปัญหาจากคนที่ไม่เข้าใจน้องๆ บ้างไหมเราเลี่ยงไม่ได้เพราะอาจมีคนคิดในแง่ลบกับคนพิการแต่ว่าเราไม่สามารถไปเปลี่ยนความคิดได้ด้วยคำพูดแต่เราเปลี่ยนได้จากการกระทำแล้วสักวันหนึ่งเขาจะเปลี่ยนเอง สิ่งที่เราหวังจากร้านนี้ไม่ใช่แค่ Training ไม่ใช่แค่ร้านค้าแต่มันเป็นทั้ง 2 อย่างเป็นทั้ง Training และ Showcase ด้วยเป็น Showcase หมายความว่าเราเป็นเหมือนโชว์รูมรถ เราอยากบอกว่าคนพิการทำงานได้เราก็ต้องแสดงให้เห็นจากบรรยากาศจริงๆ ในเรื่องของสินค้าเราทำมาตรฐานเดียวกันแต่ส่วนที่เราเพิ่มคือความเป็นคนพิการ ซึ่งความเป็นคนพิการไม่จำเป็นต้องเป็นอะไรที่เศร้าหรือน่าสงสาร นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการแต่เราต้องการให้เห็นคุณภาพหรือศักยภาพของคนพิการมากกว่าถ้างานเยอะมากๆ น้องๆ เขารับมือกันอย่างไรถ้าออเดอร์เยอะเราจะแบ่งจัดสรรให้เขาทำงานเฉพาะด้านที่เขาถนัด บางคนก็อาจจะมีข้อจำกัดบ้างแต่ก็อย่างที่บอกเหมือนกับเป็นการฝึกมากกว่า เราจะมีการให้จับคู่กับคนที่ไม่พิการด้วยให้ทำงานคู่กันและให้สอนเขาไปด้วยพร้อมๆ กันฝากถึงคนในสังคมให้เปิดโอกาสให้น้องๆ ที่เป็นเด็กพิเศษอย่างไรดีถ้าในด้านสังคมอยากจะบอกว่าอันดับแรกคือ ให้คิดว่าคนพิการนั้นคือคนๆ หนึ่งในครอบครัวคุณเพราะคนในครอบครัวหรือตัวคุณเองก็มีสิทธิที่จะเป็นคนพิการได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจากโรคภัยหรืออุบัติเหตุแล้วถ้าในขณะนี้เรามีโอกาสทำไมเราไม่เปิดใจที่จะช่วยกันเปิดประตูที่กั้นระหว่างคนพิการกับคนในสังคม เพื่อที่จะให้คนเหล่านี้ได้เข้ามาอยู่ร่วมกับเรา ตอนนี้บางทีเราอาจจะอยู่บ้านเดียวกันแต่ว่าถ้าบ้านนั้นมีกำแพงที่มองไม่เห็นระหว่างตัวคนพิการและคนรอบข้างมันก็เป็นช่องว่างอยู่ดี ลองช่วยกันเปิดประตูมันไม่มีทางเปิดได้จากข้างใดข้างหนึ่ง คนพิการเปิดมามันก็หนักเกินไปมันต้องเปิดร่วมกัน-------------------------------------------------------------------------คุณคริส เบญจกุล: ประชาสัมพันธ์โครงการฯเข้ามาทำตรงนี้ด้วยจิตอาสาจริงๆ ก็อยากช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันและอีกอย่างคือคนในสังคมมองว่าคนพิการทำอะไรไม่ได้ อยากจะแสดงให้เห็นว่าคนพิการก็สามารถทำได้นะ ยามาซากิที่พวกเราทำอร่อยกว่าที่อื่นนะเพราะคนพิการทางหูเขาจะจมูกดีกว่าคนอื่น อันนี้หอมแล้ว อร่อยแล้ว พอเอามาให้ชิมก็อร่อยจริงๆทำหน้าที่อะไรในร้านผมอยู่ร้านวันจันทร์ ถึงวันศุกร์ครับ ยกเว้นวันที่ไม่สบายจริงๆ หรือไปหาหมอ หน้าที่ของผมช่วยฝ่ายขายและช่วยโปรโมทร้าน ส่งของเองด้วย ส่งถึงมือลูกค้าเลย ส่วนใหญ่ก็ไปส่งเกือบทุกที่ ที่ส่งเยอะที่สุดก็ที่เซ็นทรัลเวิลด์สั่งมา 5 พันเซ็ท ก็ช่วยกันเริ่มแพ็คตั้งแต่บ่าย 2 เพราะเขาต้องการก่อน 4 ทุ่ม วันนั้นทำดึกเลยครับ ไม่มีใครงอแง ช่วยกันทุกคน บางคนแฟนก็ต้องมาช่วยทำ บางคนแม่มาช่วยเพื่อให้ได้ครบ 5 พันกล่องให้ได้ฝากอะไรถึงคนอื่นๆ ที่อยากให้มองคนพิการใหม่อยากให้มองว่าคนพิการก็ทำได้ เพียงแต่ว่าต้องใช้คนให้ถูกกับงาน เช่นบางคนหูไม่ดีให้เป็นพนักงานเสิร์ฟก็ไม่ได้ ให้เลือกงานที่เขาทำได้ให้เขาทำดีกว่า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 187 สันติ โฉมยงค์ “ถ้าเราไม่ทำแล้วจะมีใครไปทำงาน”

สันติ โฉมยงค์ เภสัชกรชำนาญการกลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค  สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการตัวเล็กๆ ที่ทำงานคุ้มครองอย่างเข้มแข็งและเต็มไปด้วยสีสัน ต้องมาสะดุดเมื่อถูกผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องราวการทำงานแต่ละช่วงเวลาเป็นตลกร้ายที่พวกเราอาจหัวเราะไม่ออก แต่เมื่อเราถามว่าเขาเริ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่เมื่อไหร่ แววตาคู่นั้นกลับมีประกายอีกครั้ง สันติดเล่าย้อนกลับไปว่า “เริ่มงานด้านผู้บริโภคตอนมาเป็นเภสัชนี่ละครับ  ผมเห็นปัญหาเรื่องของการบริโภคแล้วก็เห็นปัญหาเรื่องของการใช้ยาของชาวบ้าน  แต่ก่อนก็เป็นภสัชที่โรงพยาบาลชุมชน รพ.บ้านหมอ ตอนนั้น รพ.มีวิกฤติ คือเป็นช่วงที่ รพ.เข้าสู่ระบบ 30 บาทใหม่ๆ (ยุคแรกของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) งานมันมากมาย พองานมากๆ เข้าแพทย์ก็เริ่มลาออก ทันตแพทย์ เภสัชก็ลาออกกันหมดเลย ผมก็เป็นรุ่นที่ไปแทน ตอนนั้นเป็นข่าวดังมากที่มีบุคลากรทางการแพทย์ลาออกกันหมด ย้ายหนีกันหมด เราก็พยายามทำงานเชิงรุก เพราะเราเจอปัญหามากเนื่องจากวันหนึ่งๆ มีคนไข้ประมาณ 600 คน มีเตียง 30 เตียง คือบางทีมันจ่ายยาคนเดียวไม่ไหว เราก็พยายามออกไปเยี่ยมบ้าน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตัวเอง แล้วเราก็รู้ ก็ไปเจอว่ามันมีปัญหา ปัญหาที่ซับซ้อนในการใช้ยาของชาวบ้าน เช่น มีกลุ่มทุนในหมู่บ้านที่ต้มยาขายเอง หรือกลุ่มพระสงฆ์ที่ซื้อยาแผนปัจจุบันไปบดทำยาสมุนไพร ก็เลยคิดว่าการไปทำงานเชิงรับในโรงพยาบาลมันช่วยอะไรไม่ได้ ตอนนั้นรู้จักพี่ภาณุโชติ(ภก.ภาณุโชติ ทองยัง) แกก็เลยชวนมาทำปัญหาเรื่องยาไม่เหมาะสมในชุมชน  ซึ่งมันก็พอดีกับที่เจอเราก็เลยออกมาทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค เลยเริ่มที่ รพ.ชุมชนก่อน  แต่ทำงานใน รพ.ชุมชนก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา คือต้องหลังจากที่แพทย์เลิกตรวจแล้ว เวลาหลังบ่ายสองโมงเราถึงจะออกไปทำงานกับชาวบ้านได้ก็ทำอยู่แบบนั้นได้ประมาณสักสามปีก็เลยย้ายไปทำงานที่ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่อุทัยธานี ตอนนั้นก็ทำเต็มตัวเลยนะ ไปทำหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร  ผมเจอเคสหนึ่งตกใจมากเลย คือมีเด็กป่วยแล้วทิ้งเจลแปะหน้าผากลงไปในน้ำ พอดีฝนตกน้ำมันก็ไหล ชาวบ้านไปเจอแล้วเข้าใจว่ากินได้ เขาก็ไปจับมาแล้วก็หุงข้าวเตรียมจะกินละ  ตอนนั้นคิดว่าชาวบ้านเขาไม่รู้จริงๆ เรื่องราวเป็นข่าวใหญ่โตมากเลย เราก็ไปดูเห็นว่านี่มันเจลแปะลดไข้ธรรมดา เลยคิดว่าเราต้องทำงานเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้น อยู่ที่นั่น(อุทัยธานี) ก็ทำเรื่องแก้ปัญหาหน่อไม้ปี๊บ เรื่องการฉีดยาฆ่าแมลงแตงกวาก่อนการเก็บเกี่ยว เช่นพรุ่งนี้จะเก็บเย็นวันนี้ก็จะฉีด เราก็เข้าไปให้ความรู้ ซึ่งตอนหลังพบว่า เราเข้าไปต่อสู้กับระบบทุนใหญ่ บางพื้นที่เขาทำขนาด 50 ไร่  ใช้เครื่องฉีด ใช้รถพ่น เราก็เลยคิดว่าเรื่องการให้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญ พอย้ายมาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา จึงทำเรื่องเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจังหลักๆ มีอะไรบ้างคะมีเครือข่ายโรงเรียน เช่น งาน อย.น้อย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่แทนที่เราจะทำกับเด็กอย่างเดียว ผมเข้าไปทำกับชุมชนด้วย แล้วผมก็ไปชวนชาวบ้านมาเป็นเครือข่ายผู้บริโภคด้วย มาให้ช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหาของชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาใหม่ๆ แล้วคนในชุมชนก็ตอบปัญหาไม่ได้ อันแรกจำได้แม่นว่า มีตัวดูดน้ำ อันนี้เด็กๆ และอาจารย์ที่โรงเรียนจะเป็นคนที่แจ้งมา ตอนแรกคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ผมไปอยู่โรงเรียนหนึ่งเห็นเข้าตกใจมาก เพราะว่าทุกคนในโรงเรียนเล่นไอ้ตัวนี้อยู่ คุณครูก็จะไม่รู้เพราะว่าเด็กจะซ่อนเอาไว้ใต้โต๊ะในลิ้นชัก ครูไม่รู้ แล้วก็กลัวว่าถ้าบอกออกไปจะเป็นความผิด เราเลยไปหาผู้บริหาร ผู้บริหารก็บอกว่าใครมีเอาออกมานะ ไม่เอาออกมาจะมีความผิดปรากฏว่าทั้งโรงเรียน หรือมีอยู่โรงเรียนหนึ่งคือ เด็กกลัวความผิด เลยเอาไปทิ้งไว้ในชักโครก พอเปิดชักโครกมา โอ้โห มันพองเต็ม กลายเป็นส้วมตันทั้งโรงเรียน เราเลยต้องให้ความรู้ว่ามันอันตรายอย่างไร โดยเฉพาะพวกเด็กเล็กๆ ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังเอามากินยังอม  พอพยายามให้ความรู้กับชาวบ้าน เพราะมีเอาไปเล่นที่บ้านด้วย ตอนหลังก็รู้ว่ามันเป็นสินค้าที่ห้ามจำหน่ายอยู่แล้วเพราะผิดกฎหมาย ตอนนั้น สคบ.ออกประกาศมาแล้ว พอเราแจ้งไป สคบ.ก็มากวาดล้างที่อยุธยา แต่ถ้าถามว่าทุกวันนี้ยังมีไหมก็ยังมีอยู่นะแต่มันก็ลดน้อยลง เหมือนชุมชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เวลาผมไปทำงานแบบนี้ผมไม่ได้ไปคนเดียว จะพาชาวบ้านเครือข่ายในชุมชนนั้นไปด้วยให้เขาเห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหา ต่อไปพอเขาเห็นว่าสิ่งใดผิดสังเกตก็จะแจ้งเรา อีกอันที่เราเจอก็คือ เครื่องแช่น้ำน่ะครับ สปาเท้า ที่ต้องเอาเท้าแช่ลงไปแล้วจะมีเครื่องไฟฟ้าอะไรสักอย่างใส่ที่เอวเวลาเปิดกระแสไฟฟ้าจะผ่านตัวน้ำ แล้วน้ำจะเปลี่ยนสี น้ำจะแต่ละสีจะมีการบอกเล่าหรือวินิจฉัยโรคที่ต่างกัน เป็นใบเหมือนเสี่ยงเซียมซี เช่น ถ้าน้ำออกเป็นสีแดงสนิม อันนี้จะเป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ถ้าน้ำออกเป็นสีเขียวเป็นโรคตับเป็นน้ำดี ถ้าเป็นเหลืองๆ โรคน้ำเหลือง ชาวบ้านก็ไปทำสปาเท้ากันเต็มเลย  มีลงพื้นที่แล้วไปเจออยู่วัดหนึ่ง เขาลงทุนซื้อเลยนะครับ วัดก็มีรายได้ คนก็มานั่งแช่กันเป็นชั่วโมง เราก็ไม่ได้นะครับน้ำที่คุณแช่มันไม่สะอาด แล้วมันไม่ใช่ว่าเป็นโรคตับแล้วน้ำมันไหลมาจากเท้า ตอนนั้นถึงขนาดมีปัญหากับวัดเพราะไปทำให้วัดเขาสูญเสียรายได้ แต่ที่หนักสุดของพระนครศรีอยุธยา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานบริการสุขภาพ(คลินิก) เพราะว่าจังหวัดนี้มีนิคมอุตสาหกรรมมาก ประเด็นแรกๆ ที่เราเข้าไปดู เป็นเรื่องของยาลดความอ้วน ประมาณสักปี 52 หรือ 53 มีเจ้าหน้าที่ภาครัฐท่านหนึ่ง กินยาลดความอ้วนจนเสียสติ กินจนเป็นบ้าเลย ทางสำนักงานต้นสังกัดก็ไม่จ้างต่อ (ทุกวันนี้ก็ยังคล้ายๆ คนสติไม่ดีขายผักอยู่ที่ตลาด) เราเห็นแล้วรู้สึกว่า “ปล่อยให้มีอยู่ได้อย่างไร” เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง ผมเริ่มจากการสำรวจก่อนเลยว่ามีแหล่งจำหน่ายกี่แหล่ง แล้วมีช่องทางอะไรบ้าง ไปเจอช่องทางหนึ่ง น่ากลัวมาก คือเจ้าของคลินิกเป็นแพทย์ แพทย์จริงๆ นะครับ เขาใช้วิธีนี้ คือเวลาคนมารักษา เขาจะจ่ายยาให้ ให้คนรักษาเอายาไปขายต่อได้ มันก็เหมือนว่าตัวหมอไม่ผิด เพราะจ่ายยาตามใบสั่ง ถูกไหมฮะ ยาพวกนี้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คนที่ซื้อไปก็เอาไปขายต่อ เป็นยาชุดเลย เช่นยาชุดละ 250 บาท ก็ไปขายต่อชุดละ 300 ช่วงนั้นระบาดไปทั่วอยุธยาเลย “ยาชุดลดความอ้วน” มีน้องคนหนึ่งที่ใช้ยาตอนชุดนี้ตอนเรียนหนังสือน้ำหนัก 50 กิโลกรัมกว่าๆ เขากินยาพวกนี้ 2 ปีกว่าจะจบ เพราะกลัวว่าตอนรับปริญญาแล้วจะไม่สวย พอจบแล้วตอนนี้เลิกกิน แต่น้ำหนักขึ้นมาถึงประมาณ 120 กิโลกรัม  หรือมีอีกคลินิกหนึ่ง ตอนแรกแสดงตนว่าเป็นแพทย์แล้วมีใบประกอบโรคศิลปะด้วย มีบัตรมีอะไรครบ แต่ผมสังเกตว่าบัตรมันไม่เหมือนบัตรแพทย์ แต่เขาก็มาขออนุญาตที่เรานะ คือผมดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ได้ดูเรื่องการออกใบอนุญาต แต่ผมมาเห็นว่ามันผิดสังเกต คิดว่าบัตรนี้มันไม่ใช่แน่ แต่เราก็ยังทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะหมอส่วนใหญ่ต้องบอกว่าเส้นใหญ่ พอดีมีเหตุสาวโรงงานคนหนึ่งกินยาลดน้ำหนักแล้วเสียชีวิต เราเลยได้เข้าไปสืบข่าว ตอนนั้นขอดูหมดเลย ปรากฏว่าเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก คือเขาเคยเป็นนักเรียนแพทย์แล้วเลขที่ติดกันกับเพื่อนซึ่งชื่อเดียวกัน แต่คนละนามสกุล แต่คนที่มาเปิด(คลินิก)ที่นี่น่ะเรียนไม่จบแพทย์ เลยไปเรียนต่อต่างประเทศพอกลับมาก็มาทำธุรกิจแบบนี้ โดยที่เอาใบประกอบวิชาชีพของเพื่อน เพราะชื่อเดียวกันไง ที่นี้เขาก็ถ่ายเอกสารแล้วเปลี่ยนตรงนามสกุล เราก็เลยบอกนี่มันผิดหมดเลยนะ เราจับสังเกตจากเรื่องยา เนื่องจากใช้ยาไม่มีทะเบียน พอมีคนเสียชีวิตเราก็เลยเข้าไปตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เลยถึงบางอ้อว่าบัตรประชาชนก็คนละอย่าง ใบประกอบวิชาชีพตัวจริงก็คนละอย่าง สุดท้ายเราก็แจ้งไปที่ตัวแพทย์จริงๆ ที่อยู่ชลบุรี(ทางเราสอบถามไปที่แพทย์ชื่อนี้ก่อนว่ามีการสั่งซื้อยาเป็นล้านๆ บาทเลย ทางนั้นไม่รู้เรื่อง เราเลยอ๋อแบบนี้ ) จึงให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกัน เรื่องคดีนั้นผมไม่ได้ตามต่อ ส่วนคลินิกก็ถูกปิดไปแล้ว ในส่วนของ สสจ.เราจะเช็คมาตรฐานว่ามีตามเกณฑ์หรือไม่  หากมีการเปิดคลินิก จากนั้นจะมีตรวจประจำปี ปีละครั้งจากนั้นผมก็คิดว่าจะทำอะไรสักอย่างกับยาลดความอ้วนในจังหวัดอยุธยาดี เลยคิดว่าต้องใช้การส่งสายลับไป พวกคลินิกที่มีปัญหาเพิ่งปิดได้หมดเมื่อประมาณสักปีที่แล้ว กว่าจะเข้าไปควบคุมได้มันยาก เพราะยาพวกนี้ต้นทุนต่ำ เขาแค่สั่งของจริงที่มันถูกต้อง 1 กระปุก แต่ที่เหลือก็สั่งจากตลาดมืดมา เวลาเราไปตรวจก็จะนับแค่นี้ 30 เม็ด อ้อ ไม่มีจ่ายเลยนะ แต่ทำไมคนเดินเข้าเดินออกเยอะจังเลย ตั้งแต่วันนั้นมาวันนี้ 10 ปีแล้วผมคิดว่าเราควบคุมได้แล้ว แต่ตอนนี้มาในรูปแบบใหม่ คือไปขายส่งตามอินเทอร์เน็ต เรื่องที่ยังต้องเฝ้าระวัง  หลังจากเรื่องยาลดความอ้วน ก็มีเรื่องธุรกิจตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนเสริม ตอนแรกไม่อยากยุ่งเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นธุรกิจของแพทย์ เหมือนจะคุยกันยาก แต่พอเป็นเรื่องฉีดวัคซีนเสริม ผมเริ่มรับไม่ได้ เหมือนกับว่าเขาต้องการระบายวัคซีนที่ใกล้จะหมดอายุ แล้วโรงพยาบาลที่ทำแบบนี้เป็น รพ.เอกชนใหญ่ๆ ที่อยู่ชานเมืองทั้งนั้นเลย วิธีการคือจะสต็อกของไว้ พอ 3 เดือนหมดอายุก็จะไปเดินสายฉีดตามโรงเรียน คิดดูนักเรียนในเกาะเมืองอยุธยาประมาณ 20,000 คน ต้องมารับการฉีดวัคซีนใกล้หมดอายุน่ะ ไข้หวัด สมองอักเสบ ประมาณนี้ เข้าใจว่าเป็นการระบายของเพราะตอนมาเห็นใส่กล่องโฟมมา ซึ่งมันไม่ได้อยู่แล้วน่ะครับ ผมเจอโรงเรียนแห่งหนึ่ง มีกลุ่มบุคคลนำวัคซีนที่อีก 1 เดือนจะหมดอายุ แล้วใส่กล่องโฟมเปล่าๆ ไม่มีน้ำแข็งอะไรเลยนะ สนนราคาเข็มละ 700 บาท มานำเสนอ เคยเรียกเซลล์มาสอบถาม เขายอมรับว่าเป็นการระบายของ แต่ตัวเขาเองจะทำโดยตรงไม่ได้ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลหรือคลินิกมาพักของไว้ก่อน แล้วให้ รพ.เหล่านี้ทำโครงการตรวจสุขภาพกับโรงเรียน ส่วนโรงเรียนทำเรื่องแจ้งกับผู้ปกครองว่า แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ถ้าจะฉีดก็เข็มละ 700 บาท แต่ส่วนใหญ่ด้วยความไม่รู้และไว้ใจผู้ปกครองก็จะให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนพวกนี้ เราก็สงสารเด็กที่ต้องมาเจ็บตัวโดยใช่เหตุ ตอนนั้นเราก็ออกประชาสัมพันธ์เลยเพื่อเตือนเรื่องพวกนี้ แต่ก็มีเรื่องที่กระทบกระทั่งกันนะ เพราะบางโรงเรียนเขาได้ส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์ เช่น หัวละร้อย นักเรียนจำนวนสองพันก็กินนิ่มเลย เราต้องใช้วิธีการเข้าไปคุย ทำความเข้าใจ ทำหนังสือแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการไปให้ และเรียกพนักงานขายของบริษัทมาปราม ก็ควบคุมได้ระดับหนึ่ง หลังๆ หนักกว่า พอไม่มีการวัคซีนแล้ว คราวนี้เป็นการตรวจสุขภาพนักเรียนเลย เช่น เด็กมัธยมต้องเสียเงินค่าตรวจสุขภาพปีละ 100 บาท ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้เริ่มมาตอนไหน ผมนำเรื่องนี้ไปเสนอในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเลย เสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่า เราควรสร้างเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสุขภาพตามช่วงวัยนะ เด็กวัยไหนควรทดสอบอะไร เช่น ทดสอบสมรรถภาพ สำหรับนักศึกษาทดสอบอะไร ต้องตรวจอะไร เช่น โรคร้ายแรง ก่อนเข้างานตรวจอะไร ผู้สูงอายุตรวจอะไร แต่มันเป็นประเด็นที่ “เงียบ” มากเลย เจอปัญหาแบบนนี้เข้ากับตัวเอง เลยถึงบางอ้อว่า “ประชาชนนี่ละเป็นเหยื่อ” เรื่องราวของเภสัชกรสันติ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บอกเล่าผ่านฉลาดซื้อ ยังคงมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผลจากการทำงานอันเข้มข้นของเขา จนโดยผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท โปรดติดตามในฉบับหน้า

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 186 สันติ โฉมยงค์ “ถ้าเราไม่ทำแล้วจะมีใครไปทำงาน”

สันติ โฉมยงค์ เภสัชกรชำนาญการ กลุ่มงานคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ข้าราชการตัวเล็กๆ ที่ทำงานคุ้มครองอย่างเข้มแข็งและเต็มไปด้วยสีสัน ต้องมาสะดุดเมื่อถูกผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท เรื่องราวการทำงานแต่ละช่วงเวลาเป็นตลกร้ายที่พวกเราอาจหัวเราะไม่ออก แต่เมื่อเราถามว่าเขาเริ่มงานคุ้มครองผู้บริโภคตั้งแต่เมื่อไหร่ แววตาคู่นั้นกลับมีประกายอีกครั้ง สันติดเล่าย้อนกลับไปว่า “เริ่มงานด้านผู้บริโภคตอนมาเป็นเภสัชนี่ละครับ  ผมเห็นปัญหาเรื่องของการบริโภคแล้วก็เห็นปัญหาเรื่องของการใช้ยาของชาวบ้าน  แต่ก่อนก็เป็นภสัชที่โรงพยาบาลชุมชน รพ.บ้านหมอ ตอนนั้น รพ.มีวิกฤติ คือเป็นช่วงที่ รพ.เข้าสู่ระบบ 30 บาทใหม่ๆ (ยุคแรกของโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ) งานมันมากมาย พองานมากๆ เข้าแพทย์ก็เริ่มลาออก ทันตแพทย์ เภสัชก็ลาออกกันหมดเลย ผมก็เป็นรุ่นที่ไปแทน ตอนนั้นเป็นข่าวดังมากที่มีบุคลากรทางการแพทย์ลาออกกันหมด ย้ายหนีกันหมด เราก็พยายามทำงานเชิงรุก เพราะเราเจอปัญหามากเนื่องจากวันหนึ่งๆ มีคนไข้ประมาณ 600 คน มีเตียง 30 เตียง คือบางทีมันจ่ายยาคนเดียวไม่ไหว เราก็พยายามออกไปเยี่ยมบ้าน และให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพตัวเอง แล้วเราก็รู้ ก็ไปเจอว่ามันมีปัญหา ปัญหาที่ซับซ้อนในการใช้ยาของชาวบ้าน เช่น มีกลุ่มทุนในหมู่บ้านที่ต้มยาขายเอง หรือกลุ่มพระสงฆ์ที่ซื้อยาแผนปัจจุบันไปบดทำยาสมุนไพร ก็เลยคิดว่าการไปทำงานเชิงรับในโรงพยาบาลมันช่วยอะไรไม่ได้ ตอนนั้นรู้จักพี่ภาณุโชติ(ภก.ภาณุโชติ ทองยัง) แกก็เลยชวนมาทำปัญหาเรื่องยาไม่เหมาะสมในชุมชน  ซึ่งมันก็พอดีกับที่เจอเราก็เลยออกมาทำเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค เลยเริ่มที่ รพ.ชุมชนก่อน   แต่ทำงานใน รพ.ชุมชนก็จะมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา คือต้องหลังจากที่แพทย์เลิกตรวจแล้ว เวลาหลังบ่ายสองโมงเราถึงจะออกไปทำงานกับชาวบ้านได้ก็ทำอยู่แบบนั้นได้ประมาณสักสามปีก็เลยย้ายไปทำงานที่ฝ่ายคุ้มครองผู้บริโภคที่อุทัยธานี ตอนนั้นก็ทำเต็มตัวเลยนะ ไปทำหน่วยตรวจสอบเคลื่อนที่ เรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร  ผมเจอเคสหนึ่งตกใจมากเลย คือมีเด็กป่วยแล้วทิ้งเจลแปะหน้าผากลงไปในน้ำ พอดีฝนตกน้ำมันก็ไหล ชาวบ้านไปเจอแล้วเข้าใจว่ากินได้ เขาก็ไปจับมาแล้วก็หุงข้าวเตรียมจะกินละ  ตอนนั้นคิดว่าชาวบ้านเขาไม่รู้จริงๆ เรื่องราวเป็นข่าวใหญ่โตมากเลย เราก็ไปดูเห็นว่านี่มันเจลแปะลดไข้ธรรมดา เลยคิดว่าเราต้องทำงานเชิงรุกให้มากยิ่งขึ้น อยู่ที่นั่น(อุทัยธานี) ก็ทำเรื่องแก้ปัญหาหน่อไม้ปี๊บ เรื่องการฉีดยาฆ่าแมลงแตงกวาก่อนการเก็บเกี่ยว เช่นพรุ่งนี้จะเก็บเย็นวันนี้ก็จะฉีด เราก็เข้าไปให้ความรู้ ซึ่งตอนหลังพบว่า เราเข้าไปต่อสู้กับระบบทุนใหญ่ บางพื้นที่เขาทำขนาด 50 ไร่  ใช้เครื่องฉีด ใช้รถพ่น เราก็เลยคิดว่าเรื่องการให้ความรู้เป็นเรื่องสำคัญ พอย้ายมาอยู่ที่จังหวัดอยุธยา จึงทำเรื่องเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอย่างจริงจังหลักๆ มีอะไรบ้างคะมีเครือข่ายโรงเรียน เช่น งาน อย.น้อย ซึ่งเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่แทนที่เราจะทำกับเด็กอย่างเดียว ผมเข้าไปทำกับชุมชนด้วย แล้วผมก็ไปชวนชาวบ้านมาเป็นเครือข่ายผู้บริโภคด้วย มาให้ช่วยเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ที่เป็นปัญหาของชุมชน ผลิตภัณฑ์ที่เข้ามาใหม่ๆ แล้วคนในชุมชนก็ตอบปัญหาไม่ได้ อันแรกจำได้แม่นว่า มีตัวดูดน้ำ อันนี้เด็กๆ และอาจารย์ที่โรงเรียนจะเป็นคนที่แจ้งมา ตอนแรกคิดว่าเป็นเรื่องเล่นๆ ผมไปอยู่โรงเรียนหนึ่งเห็นเข้าตกใจมาก เพราะว่าทุกคนในโรงเรียนเล่นไอ้ตัวนี้อยู่ คุณครูก็จะไม่รู้เพราะว่าเด็กจะซ่อนเอาไว้ใต้โต๊ะในลิ้นชัก ครูไม่รู้ แล้วก็กลัวว่าถ้าบอกออกไปจะเป็นความผิด เราเลยไปหาผู้บริหาร ผู้บริหารก็บอกว่าใครมีเอาออกมานะ ไม่เอาออกมาจะมีความผิดปรากฏว่าทั้งโรงเรียน หรือมีอยู่โรงเรียนหนึ่งคือ เด็กกลัวความผิด เลยเอาไปทิ้งไว้ในชักโครก พอเปิดชักโครกมา โอ้โห มันพองเต็ม กลายเป็นส้วมตันทั้งโรงเรียน เราเลยต้องให้ความรู้ว่ามันอันตรายอย่างไร โดยเฉพาะพวกเด็กเล็กๆ ที่ยังรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังเอามากินยังอม  พอพยายามให้ความรู้กับชาวบ้าน เพราะมีเอาไปเล่นที่บ้านด้วย ตอนหลังก็รู้ว่ามันเป็นสินค้าที่ห้ามจำหน่ายอยู่แล้วเพราะผิดกฎหมาย ตอนนั้น สคบ.ออกประกาศมาแล้ว พอเราแจ้งไป สคบ.ก็มากวาดล้างที่อยุธยา แต่ถ้าถามว่าทุกวันนี้ยังมีไหมก็ยังมีอยู่นะแต่มันก็ลดน้อยลง เหมือนชุมชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น เวลาผมไปทำงานแบบนี้ผมไม่ได้ไปคนเดียว จะพาชาวบ้านเครือข่ายในชุมชนนั้นไปด้วยให้เขาเห็นว่าเรื่องนี้มันเป็นปัญหา ต่อไปพอเขาเห็นว่าสิ่งใดผิดสังเกตก็จะแจ้งเรา อีกอันที่เราเจอก็คือ เครื่องแช่น้ำน่ะครับ สปาเท้า ที่ต้องเอาเท้าแช่ลงไปแล้วจะมีเครื่องไฟฟ้าอะไรสักอย่างใส่ที่เอวเวลาเปิดกระแสไฟฟ้าจะผ่านตัวน้ำ แล้วน้ำจะเปลี่ยนสี น้ำจะแต่ละสีจะมีการบอกเล่าหรือวินิจฉัยโรคที่ต่างกัน เป็นใบเหมือนเสี่ยงเซียมซี เช่น ถ้าน้ำออกเป็นสีแดงสนิม อันนี้จะเป็นโรคเกี่ยวกับเลือด ถ้าน้ำออกเป็นสีเขียวเป็นโรคตับเป็นน้ำดี ถ้าเป็นเหลืองๆ โรคน้ำเหลือง ชาวบ้านก็ไปทำสปาเท้ากันเต็มเลย  มีลงพื้นที่แล้วไปเจออยู่วัดหนึ่ง เขาลงทุนซื้อเลยนะครับ วัดก็มีรายได้ คนก็มานั่งแช่กันเป็นชั่วโมง เราก็ไม่ได้นะครับน้ำที่คุณแช่มันไม่สะอาด แล้วมันไม่ใช่ว่าเป็นโรคตับแล้วน้ำมันไหลมาจากเท้า ตอนนั้นถึงขนาดมีปัญหากับวัดเพราะไปทำให้วัดเขาสูญเสียรายได้ แต่ที่หนักสุดของพระนครศรีอยุธยา เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานบริการสุขภาพ(คลินิก) เพราะว่าจังหวัดนี้มีนิคมอุตสาหกรรมมาก ประเด็นแรกๆ ที่เราเข้าไปดู เป็นเรื่องของยาลดความอ้วน ประมาณสักปี 52 หรือ 53 มีเจ้าหน้าที่ภาครัฐท่านหนึ่ง กินยาลดความอ้วนจนเสียสติ กินจนเป็นบ้าเลย ทางสำนักงานต้นสังกัดก็ไม่จ้างต่อ (ทุกวันนี้ก็ยังคล้ายๆ คนสติไม่ดีขายผักอยู่ที่ตลาด) เราเห็นแล้วรู้สึกว่า “ปล่อยให้มีอยู่ได้อย่างไร” เลยคิดว่าน่าจะทำอะไรสักอย่าง ผมเริ่มจากการสำรวจก่อนเลยว่ามีแหล่งจำหน่ายกี่แหล่ง แล้วมีช่องทางอะไรบ้าง ไปเจอช่องทางหนึ่ง น่ากลัวมาก คือเจ้าของคลินิกเป็นแพทย์ แพทย์จริงๆ นะครับ เขาใช้วิธีนี้ คือเวลาคนมารักษา เขาจะจ่ายยาให้ ให้คนรักษาเอายาไปขายต่อได้ มันก็เหมือนว่าตัวหมอไม่ผิด เพราะจ่ายยาตามใบสั่ง ถูกไหมฮะ ยาพวกนี้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท คนที่ซื้อไปก็เอาไปขายต่อ เป็นยาชุดเลย เช่นยาชุดละ 250 บาท ก็ไปขายต่อชุดละ 300 ช่วงนั้นระบาดไปทั่วอยุธยาเลย “ยาชุดลดความอ้วน” มีน้องคนหนึ่งที่ใช้ยาตอนชุดนี้ตอนเรียนหนังสือน้ำหนัก 50 กิโลกรัมกว่าๆ เขากินยาพวกนี้ 2 ปีกว่าจะจบ เพราะกลัวว่าตอนรับปริญญาแล้วจะไม่สวย พอจบแล้วตอนนี้เลิกกิน แต่น้ำหนักขึ้นมาถึงประมาณ 120 กิโลกรัม  หรือมีอีกคลินิกหนึ่ง ตอนแรกแสดงตนว่าเป็นแพทย์แล้วมีใบประกอบโรคศิลปะด้วย มีบัตรมีอะไรครบ แต่ผมสังเกตว่าบัตรมันไม่เหมือนบัตรแพทย์ แต่เขาก็มาขออนุญาตที่เรานะ คือผมดูแลงานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลัก ไม่ได้ดูเรื่องการออกใบอนุญาต แต่ผมมาเห็นว่ามันผิดสังเกต คิดว่าบัตรนี้มันไม่ใช่แน่ แต่เราก็ยังทำอะไรเขาไม่ได้ เพราะหมอส่วนใหญ่ต้องบอกว่าเส้นใหญ่ พอดีมีเหตุสาวโรงงานคนหนึ่งกินยาลดน้ำหนักแล้วเสียชีวิต เราเลยได้เข้าไปสืบข่าว ตอนนั้นขอดูหมดเลย ปรากฏว่าเป็นอะไรที่ซับซ้อนมาก คือเขาเคยเป็นนักเรียนแพทย์แล้วเลขที่ติดกันกับเพื่อนซึ่งชื่อเดียวกัน แต่คนละนามสกุล แต่คนที่มาเปิด(คลินิก)ที่นี่น่ะเรียนไม่จบแพทย์ เลยไปเรียนต่อต่างประเทศพอกลับมาก็มาทำธุรกิจแบบนี้ โดยที่เอาใบประกอบวิชาชีพของเพื่อน เพราะชื่อเดียวกันไง ที่นี้เขาก็ถ่ายเอกสารแล้วเปลี่ยนตรงนามสกุล เราก็เลยบอกนี่มันผิดหมดเลยนะ เราจับสังเกตจากเรื่องยา เนื่องจากใช้ยาไม่มีทะเบียน พอมีคนเสียชีวิตเราก็เลยเข้าไปตรวจสอบเอกสารทั้งหมด เลยถึงบางอ้อว่าบัตรประชาชนก็คนละอย่าง ใบประกอบวิชาชีพตัวจริงก็คนละอย่าง สุดท้ายเราก็แจ้งไปที่ตัวแพทย์จริงๆ ที่อยู่ชลบุรี(ทางเราสอบถามไปที่แพทย์ชื่อนี้ก่อนว่ามีการสั่งซื้อยาเป็นล้านๆ บาทเลย ทางนั้นไม่รู้เรื่อง เราเลยอ๋อแบบนี้ ) จึงให้ไปแจ้งความดำเนินคดีกัน เรื่องคดีนั้นผมไม่ได้ตามต่อ ส่วนคลินิกก็ถูกปิดไปแล้ว ในส่วนของ สสจ.เราจะเช็คมาตรฐานว่ามีตามเกณฑ์หรือไม่  หากมีการเปิดคลินิก จากนั้นจะมีตรวจประจำปี ปีละครั้งจากนั้นผมก็คิดว่าจะทำอะไรสักอย่างกับยาลดความอ้วนในจังหวัดอยุธยาดี เลยคิดว่าต้องใช้การส่งสายลับไป พวกคลินิกที่มีปัญหาเพิ่งปิดได้หมดเมื่อประมาณสักปีที่แล้ว กว่าจะเข้าไปควบคุมได้มันยาก เพราะยาพวกนี้ต้นทุนต่ำ เขาแค่สั่งของจริงที่มันถูกต้อง 1 กระปุก แต่ที่เหลือก็สั่งจากตลาดมืดมา เวลาเราไปตรวจก็จะนับแค่นี้ 30 เม็ด อ้อ ไม่มีจ่ายเลยนะ แต่ทำไมคนเดินเข้าเดินออกเยอะจังเลย ตั้งแต่วันนั้นมาวันนี้ 10 ปีแล้วผมคิดว่าเราควบคุมได้แล้ว แต่ตอนนี้มาในรูปแบบใหม่ คือไปขายส่งตามอินเทอร์เน็ต เรื่องที่ยังต้องเฝ้าระวัง หลังจากเรื่องยาลดความอ้วน ก็มีเรื่องธุรกิจตรวจสุขภาพ ฉีดวัคซีนเสริม ตอนแรกไม่อยากยุ่งเท่าไหร่ เนื่องจากเป็นธุรกิจของแพทย์ เหมือนจะคุยกันยาก แต่พอเป็นเรื่องฉีดวัคซีนเสริม ผมเริ่มรับไม่ได้ เหมือนกับว่าเขาต้องการระบายวัคซีนที่ใกล้จะหมดอายุ แล้วโรงพยาบาลที่ทำแบบนี้เป็น รพ.เอกชนใหญ่ๆ ที่อยู่ชานเมืองทั้งนั้นเลย วิธีการคือจะสต็อกของไว้ พอ 3 เดือนหมดอายุก็จะไปเดินสายฉีดตามโรงเรียน คิดดูนักเรียนในเกาะเมืองอยุธยาประมาณ 20,000 คน ต้องมารับการฉีดวัคซีนใกล้หมดอายุน่ะ ไข้หวัด สมองอักเสบ ประมาณนี้ เข้าใจว่าเป็นการระบายของเพราะตอนมาเห็นใส่กล่องโฟมมา ซึ่งมันไม่ได้อยู่แล้วน่ะครับ ผมเจอโรงเรียนแห่งหนึ่ง มีกลุ่มบุคคลนำวัคซีนที่อีก 1 เดือนจะหมดอายุ แล้วใส่กล่องโฟมเปล่าๆ ไม่มีน้ำแข็งอะไรเลยนะ สนนราคาเข็มละ 700 บาท มานำเสนอ เคยเรียกเซลล์มาสอบถาม เขายอมรับว่าเป็นการระบายของ แต่ตัวเขาเองจะทำโดยตรงไม่ได้ก็ต้องไปหาโรงพยาบาลหรือคลินิกมาพักของไว้ก่อน แล้วให้ รพ.เหล่านี้ทำโครงการตรวจสุขภาพกับโรงเรียน ส่วนโรงเรียนทำเรื่องแจ้งกับผู้ปกครองว่า แล้วแต่ความสมัครใจ แต่ถ้าจะฉีดก็เข็มละ 700 บาท แต่ส่วนใหญ่ด้วยความไม่รู้และไว้ใจผู้ปกครองก็จะให้เด็กได้รับการฉีดวัคซีนพวกนี้ เราก็สงสารเด็กที่ต้องมาเจ็บตัวโดยใช่เหตุ ตอนนั้นเราก็ออกประชาสัมพันธ์เลยเพื่อเตือนเรื่องพวกนี้ แต่ก็มีเรื่องที่กระทบกระทั่งกันนะ เพราะบางโรงเรียนเขาได้ส่วนแบ่งหรือเปอร์เซ็นต์ เช่น หัวละร้อย นักเรียนจำนวนสองพันก็กินนิ่มเลย เราต้องใช้วิธีการเข้าไปคุย ทำความเข้าใจ ทำหนังสือแจ้งเตือนอย่างเป็นทางการไปให้ และเรียกพนักงานขายของบริษัทมาปราม ก็ควบคุมได้ระดับหนึ่ง หลังๆ หนักกว่า พอไม่มีการวัคซีนแล้ว คราวนี้เป็นการตรวจสุขภาพนักเรียนเลย เช่น เด็กมัธยมต้องเสียเงินค่าตรวจสุขภาพปีละ 100 บาท ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเรื่องแบบนี้เริ่มมาตอนไหน ผมนำเรื่องนี้ไปเสนอในงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเลย เสนอต่อท่านรัฐมนตรีว่า เราควรสร้างเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสุขภาพตามช่วงวัยนะ เด็กวัยไหนควรทดสอบอะไร เช่น ทดสอบสมรรถภาพ สำหรับนักศึกษาทดสอบอะไร ต้องตรวจอะไร เช่น โรคร้ายแรง ก่อนเข้างานตรวจอะไร ผู้สูงอายุตรวจอะไร แต่มันเป็นประเด็นที่ “เงียบ” มากเลย เจอปัญหาแบบนนี้เข้ากับตัวเอง เลยถึงบางอ้อว่า “ประชาชนนี่ละเป็นเหยื่อ” เรื่องราวของเภสัชกรสันติ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ที่บอกเล่าผ่านฉลาดซื้อ ยังคงมีหลายประเด็นที่น่าสนใจ โดยเฉพาะผลจากการทำงานอันเข้มข้นของเขา จนโดยผู้ประกอบการฟ้องหมิ่นประมาท โปรดติดตามในฉบับหน้า

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 184 สาวแม่บ้านเรียกร้องสิทธิ

จากสาวแม่บ้าน สุนี อนุพงศ์วรางกูร ที่เลี้ยงลูกเป็นหลัก ต้องลุกขึ้นมาหาหลักฐาน ตลอดจนข้อมูลในการพิทักษ์สิทธิ์ เรียกร้องค่าเสียหาย จากคนที่อยู่แบบไม่เบียดเบียนใครๆ ต้องมาเป็นนักสู้มือเปล่า ประโยคสวยงามภาษากวี ที่ในความเป็นจริงกว่าจะผ่านความเจ็บปวดมาได้แต่ละด่านบอกได้เลยว่ายาก “สุนี อนุพงศ์วรางกูร” จะมาเล่าอีกมุมของความยากลำบากในการเรียกร้องสิทธิ“เหตุเกิดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2558 เวลาประมาณ 5.30 น. รถโดยสารของอินทราทัวร์ที่คนขับหลับในรถจึงพลิกคว่ำ ทั้งคันรถล้มระเนระนาด คนในรถได้รับบาดเจ็บ แล้วแฟนก็เสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พร้อมชาวต่างชาติเป็นผู้หญิงชาวอินเดียอีก 1 คน เป็น 2 คนที่เสียชีวิต จากเหตุการณ์วันนั้นถึงวันนี้ทางบริษัทอินทราทัวร์ก็ยังไม่ได้เยียวยาอะไรเลย จนทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคเข้ามาช่วยเหลือและแนะนำว่าเราควรไปที่หน่วยงานไหนบ้างที่จะช่วยเราได้ เราก็ไปทั้ง คปภ. ที่รัชดาและ คปภ. ที่เชียงใหม่แต่ก็ยังไม่ได้รับการตอบรับ เพิ่งได้รับการยืนยันจาก คปภ. เชียงใหม่ว่าตอนนี้เขาได้ส่งหนังสือไปถึง บ.อินทราทัวร์แล้วเพื่อให้ทางบริษัทรับผิดชอบว่าตกลงจะจ่ายหรือไม่จ่าย ส่วนเรื่องคดีตอนนี้ก็ยื่นฟ้องแล้ว ยื่นฟ้องคนขับรถเมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น ตอนนั้นทำอย่างไรบ้างคือทางมูลนิธิฯ เข้ามาหาผู้บาดเจ็บก่อนหลายๆ คนและได้แนะนำเราจึงติดต่อไปว่าเราต้องการให้ช่วยเหลือเรื่องอะไรบ้าง จึงปรึกษามาโดยตลอด ก็มีโอกาสได้เข้าร่วมงานเสวนากับมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ที่ผ่านมา ในงานผ่าทางตันรถโดยสาร กรณีอินทราทัวร์ เรื่องรถลาดเอียงด้วยขั้นตอนตอนที่ทำเรื่องเรียกร้องค่าเสียหายมีการเก็บเอกสาร หลักฐานอย่างไรบ้าง เพื่อท่านอื่นๆ ที่อ่านจะได้มีข้อมูลตอนนี้เอกสารที่ได้มาคือเอกสารที่ได้จากการบันทึกให้ปากคำของ สภ. อ่างทอง เราจะเก็บไว้ทุกครั้ง ใบมรณะบัตร บัตรประชาชนทุกอย่างของสามีและของครอบครัวเราเพราะเรามีลูก 3 คนและเราไม่ได้จดทะเบียนสมรสเลยทำให้ยังใช้สิทธิอะไรไม่ได้และยังมีพ่อแม่ของสามี ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องขอให้พ่อแม่เขาเซ็นมอบอำนาจให้เราเป็นคนดำเนินการเพราะแกก็แก่แล้ว ลูกก็ยังไม่บรรลุนิติภาวะจึงยังทำอะไรไม่ได้เราก็ต้องให้ลูกเขียนมอบอำนาจให้เราทำเรื่องแทน เลยต้องเตรียมเอกสารพวกนี้เก็บไว้ และยังมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการดำเนินคดี พวกเอกสารการประกอบอาชีพของสามี สามีมีอาชีพเลี้ยงปลาต้องทำเอกสารไปขอที่หน่วยงานต่างๆ ที่เราเกี่ยวข้อง เอกสารเกี่ยวกับลูกค้าก็ต้องมีมายืนยันว่าเรามีอาชีพนี้และ มีรายได้จากอาชีพนี้จริง คนที่มีปัญหาคล้ายๆ กันต้องรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับรายได้ทั้งหมดก็มีทำรายรับ-รายจ่ายของปีที่แล้วไว้ และค่าใช้จ่ายตั้งแต่สามีเสียชีวิตจนถึงปัจจุบันเพราะเราไม่มีรายได้ต้องใช้เงินที่เก็บไว้เลยทำเอกสารเตรียมไว้ รายจ่ายที่เกี่ยวกับลูกด้วยเพื่อจะเอามาเป็นข้อมูลในการเรียกร้องค่าเสียหายการเรียกร้องสิทธิมีอุปสรรคอย่างไรบ้างโดยส่วนตัวที่ไปดำเนินการยังไม่มี เพียงแต่บางครั้งเราไปยื่นเอกสารแล้วมันไม่ตรงประเด็นที่เขาต้องการแล้วเขาก็ไม่ได้ให้คำแนะนำเรา อย่างที่มีปัญหาครั้งแรกเลยคือ คปภ. ที่รัชดา เราไปยื่นเรื่องตั้งแต่เดือนธันวาคม แต่เพิ่งทราบว่าเขาไม่ได้ตามเรื่องให้เราเพราะเราไม่ได้ยื่นกองทุนทดแทน รถก็ไม่มี พ.ร.บ. เขาก็ไม่รับผิดชอบอยู่แล้วเลยไม่ได้ช่วยเหลือตรงส่วนนั้น จึงไปเรียนถามท่าน ผอ.คปภ. ก็ให้คำแนะนำว่าต้องยื่นกองทุนทดแทน คือเราต้องยื่นไปอีกฉบับหนึ่งแต่คนที่รับเรื่องคนแรกนั้น เขาป่วยแล้วหยุดไปหลายเดือนก็เลยทิ้งเรื่องของเราเลย ทางมูลนิธิฯ ก็ให้โทรไปถามว่าเอกสารติดอะไรจึงได้คุยกับทาง ผอ. แล้วก็แนะนำว่าอยู่เชียงใหม่ให้ไปยื่นกองทุนทดแทนที่เชียงใหม่เลย คือปัญหามันเหมือนกับเจ้าหน้าที่เขาก็มีแยกเป็นแขนงๆ ของเขา คนนี้ดูและเรื่องอุบัติเหตุ คนนี้ช่วยเหลือเรื่องผู้พิการ หน้าที่แยกกันเลยพอเราไปไม่ตรงจุดก็ไม่ได้อะไร ถ้าไม่ตามก็ไม่รู้อีกว่าปัญหามันติดอยู่ตรงไหน มันเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของการร้องเรียนกับภาครัฐ ถ้าเราไม่รู้ช่องทางว่าจะต้องไปหน่วยงานไหน ตรงฝ่ายไหนก็ทำให้เสียเวลาเพราะจริงๆ ตอนนั้นไปเยอะมากเลยหน่วยงานที่กรุงเทพฯ เสียค่าใช้จ่ายก็เยอะ เวลาเดินทางก็ต้องนั่งรถแท็กซี่เสียเงินครั้งละ 500 – 600 บาทเพราะบางที่ก็ไกลมาก ตอนแรกจะไปมูลนิธิปวีณาแต่มีคนบอกว่าการเดินเรื่องก็นานเหมือนกันเราก็เลยกลับ พอไป คปภ. ก็ยังไม่ได้เรื่องเพราะจนตอนนี้ก็ยังไม่ได้เงินช่วยเหลือเลยสักบาทเดียวมีท้อบ้างไหมไม่หรอกเพราะบางคนแย่กว่าเรา น้องคนหนึ่งเป็นเคสในอุบัติเหตุครั้งนี้เขาอยู่บนดอยอมก๋อย เขาไม่มีเงินรักษาตัวเองต้องไปรักษากับหมอผีแล้วจะไปเบิกอะไรกับใครได้ เขาก็โทรมาเล่าให้ฟังซึ่งเขาลำบากกว่าเราเพราะเขาก็เป็นเยอะเหมือนกัน ส่วนกรณีของเรา คือสามีเสียชีวิตไปอย่างน้อยก็ไม่ต้องมาทรมานแบบน้องคนนี้ ของเราก็มีเพื่อนคอยช่วยกระตุ้นให้ตามเรื่องเพื่อให้เป็นกรณีแบบอย่างเผื่อมีใครต้องพบปัญหาแบบเรา ไม่อยากให้ลอยนวลไปเฉยๆ คือเราต้องสู้ ตอนนี้คนอื่นๆ ที่ได้รับอุบัติเหตุในครั้งนั้นเป็นอย่างไรกันบ้างก็มีคุยกันในไลน์บ้างซึ่งทุกคนก็ยังรอความหวังว่าทางขนส่งจะช่วยเหลืออะไรไหม แต่ละคนเขาก็มีภาระหน้าที่การงาน บางคนต้องถูกไล่ออกจากงานเพราะจากอุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้เขาทำงานไม่ได้ เราเองก็ต้องเดินเรื่องต้องฝากลูกให้ญาติๆ ช่วยดูแล ซึ่งค่าใช้จ่ายนั้นมีเพิ่มทุกวันๆ ก็อยากให้มันผ่านพ้นไปด้วยดี ให้เรื่องจบโดยเร็วแล้วทาง บขส. ช่วยเหลืออะไรบ้างไหมก็ให้เราทำเอกสารใหม่ค่ะ ไอ้ที่ยื่นๆ ไปเขาบอกว่าใช้ไม่ได้ต้องไปยื่นใหม่อีกทีอย่างนี้คิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคของไทยควรจะให้ข้อมูลในการจัดเตรียมเอกสารให้ผู้บริโภคเข้าใจก่อนไปยื่นมากกว่านี้ไหมจริงๆ ในแต่ละหน่วยงานมีความยุ่งยากนะ น่าจะมีแบบฟอร์มให้เรากรอก ให้เราเตรียม ถ้าเรารู้ก็จะได้เตรียมถูก แต่นี่เราไม่รู้ก็เอาเท่าที่เรามี บัตรประชาชน ทะเบียนบ้านพวกนี้มันต้องใช้อยู่แล้วแต่ที่นอกเหนือจากนี้เราไม่รู้เขาต้องแนะนำว่าเราต้องใช้อะไรบ้าง เพราะคงมีหลายคนที่ท้อแท้ไปตอนขั้นตอนยื่นเอกสาร จริงๆ เราเองก็ถอดใจไปแล้วด้วยเพราะมันยุ่งยากมากๆ แล้วคนก็ตายไปแล้วอยากให้จบๆ ไปตั้งนานแล้วแต่ว่าถ้าคิดแบบนี้ก็จะลอยนวลกันอยู่อย่างนี้ ต้องทำให้เป็นกรณีตัวอย่างไปเลยไหนๆ ก็ทำมาจนถึงขั้นนี้แล้ว เสียเวลามาเยอะแล้วโดนดึงเวลามาทุกหน่วยงานเลย  นอกจากนี้เอกสารที่ต้องเตรียมก็เยอะมาก ทั้งที่ต้องถ่ายเอกสารและภาพถ่ายที่ทางเราต้องถ่ายเป็นภาพสี ซึ่งในการจัดเตรียมเอกสารครั้งนี้ก็คิดออกมาเป็นค่าใช้จ่ายสูงมาก ไหนจะมีค่าโทรศัพท์ที่จะต้องประสานงานให้คำแนะนำผู้ประสบอุบัติเหตุรายอื่นๆ ซึ่งบางคนก็ถามว่า “เรียกร้องได้ด้วยเหรอพี่” เราโทรหาเกือบทุกคนที่อยู่บนรถในวันนั้น เราก็ช่วยเขาเท่าที่เราช่วยได้นอกจากเรื่องนี้ เคยใช้สิทธิกับเรื่องอื่นไหมเคยเจอปัญหาเรื่องการซื้อของ เมื่อพบปัญหาต้องบอกคนขายเลย บางคนคิดว่าคนอื่นซื้อไปก็ได้แบบนี้เหมือนกันก็ปล่อยไป แต่ของมันเสีย ไม่ได้คุณภาพ ต้องบอก ต้องตักเตือนคนผลิต ก็แจ้งทางมูลนิธิฯ เข้าไปช่วยตักเตือนว่าของคุณไม่ได้มาตรฐานปกติเป็นคนที่จะยอมไหมเวลาเจอเหตุการณ์แบบนี้เพราะบางคนจะไม่กล้าพูดถ้าเป็นญาติพี่น้องจะบอกเลย แต่ถ้าไม่ใช่ก็จะพยายามบอกต่อๆ ไปว่ามันไม่ดีแค่นั้น เพราะก่อนหน้านี้ไม่ค่อยทราบว่ามีการร้องเรียนกันได้ด้วย เพิ่งจะมาทราบตอนหลัง ตอนนี้ทราบแล้วก็จะบอกเลย เราต้องใช้สิทธิของเราให้เป็นประโยชน์ ที่ผ่านมาก็ปล่อย อย่างเวลาซื้อผลไม้เราก็ไว้ใจคนขายคิดว่าเขาจะหยิบของดีๆ ให้แต่พอเขาหยิบของไม่ดีมาให้ เราก็จะไม่ซื้อร้านนั้นอีกแล้วก็จะบอกต่อว่าร้านนี้อย่าไปซื้อนะของเขาไม่ดี เพราะคนขายของเขาต้องมีความซื่อสัตย์กับลูกค้านะ ของที่ไม่ดีต้องเอาออก ไม่ใช่คิดจะเอาแต่กำไรอย่างนี้ไม่ซื่อสัตย์ เราก็จะหมดความไว้ใจคิดว่าบริษัทรถหรือบริษัทขนส่งต่อไปควรจะปรับปรุงเรื่องการให้บริการอย่างไรบ้างคือไม่มีใครอยากสูญเสียหรือบาดเจ็บแต่ในเมื่อมันเกิดขึ้นมาแล้วเขาต้องทำให้มันดี พ.ร.บ. ของคุณ ประกันของคุณต้องพร้อมถ้าไม่พร้อมไม่ต้องออกมาวิ่ง อย่างรถ 2 ชั้นที่กำลังรณรงค์กันอยู่เขาต้องแก้ไขได้แล้ว รถที่ไม่ได้ตรวจสภาพต้องไม่มีมาวิ่งแล้ว ไม่รู้ขนส่งทำอะไรอยู่ ไม่เข้ามาดูแลปล่อยให้รถพวกนี้มาวิ่งได้อย่างไร อยากให้ช่วยดูแลในส่วนนี้หน่อยให้ลูกค้าได้ปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางอย่างสวัสดิภาพ เพราะทุกชีวิตมีค่า ไหนจะคนที่ต้องอยู่ข้างหลังพวกเขาอีกใครจะดูแล มันต้องแก้ที่ต้นเหตุ ตรวจสภาพรถของตัวเองให้ดี

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 185 อารี แซ่เลี้ยว 9 ปี ที่ป้ารอคอย

หากวันที่เปลี่ยนแปลงชีวิตของ อารี แซ่เลี้ยว ในวันนั้น ใช้เวลามากถึง 9 ปี ในการรอคอยสิ่งที่ยากยิ่งของการต่อสู้ระหว่างประชาชนกับรัฐ กลับกลายเป็นอีก 1 คดีผู้บริโภคตัวอย่างในวันนี้ ถามว่ามันคุ้มค่าแล้วหรือไม่นับจากบ่ายวันที่ 23 เมษายน 2550 ที่ป้าอารีขึ้นรถเมล์ ขสมก. สาย 4 เพื่อเดินทางจากคลองเตย กลับบ้านพักที่เขตบางกอกใหญ่ เมื่อรถเมล์ขับมาถึงบริเวณแยกสามย่าน คนขับได้เบรกรถกะทันหัน ทำให้อารี หน้ากระแทกราวเหล็กด้านหน้า จนเลือดกบปาก ฟันหักทันที 4 ซี่ หลังเกิดเหตุ คนขับรถเมล์พาป้าอารีส่งโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แพทย์ตรวจแล้วต้องถอนฟันที่หักอีก 3 ซี่ ออกด้วย รวมเป็น 7 ซี่ ที่ป้าอารีต้องเสียฟันไปหลังจากวันนั้นเธอก็ไม่เคยได้รับการดูแลหรือเยียวยาใดๆ จาก ขสมก. เลย ป้าอารี ต้องทนกับความทุกข์ทรมานจากการบาดเจ็บแต่เพียงลำพัง จนกระทั่งผ่านไป 2 ปีกว่า  ป้าอารีจึงได้มาขอให้มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเพื่อเรียกร้องค่าเสียหายกับ ขสมก.  แต่เนื่องจากคดีของป้าอารี อายุความคดีละเมิดเกิน 1 ปีแล้ว ทีมทนายความอาสามูลนิธิฯ จึงต้องใช้เวลาหาทางแก้ไขปัญหาคดีขาดอายุความ โดยในระหว่างนั้นก็เชิญ ขสมก. มาเจรจาไกล่เกลี่ยค่าเสียหายให้กับป้าอารี แต่ถึงกระนั้น  ขสมก. ก็ยังไม่ยอมจ่าย อ้างติดระเบียบที่จ่ายไม่ได้และขอให้ไปฟ้องคดีที่ศาลกันก่อน  ขสมก.ถึงจะจ่ายให้ได้ป้าอารี ไม่มีทางเลือก จึงต้องฟ้องคนขับและ ขสมก. เป็นคดีผู้บริโภคต่อศาลแพ่ง แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นอย่างที่ตกลงกันไว้ นอกจาก ขสมก. จะไม่ยอมจ่ายแล้ว ยังสู้คดีกับ ป้าอารีที่เป็นผู้ใช้บริการรถเมล์ ขสมก. ถึง  3  ศาล จนสุดท้ายในวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งไม่รับฎีกา ขสมก. เหตุค่าเสียหายและอายุความไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ ส่งผลให้คดีนี้สิ้นสุด รวมเป็นเวลากว่า 5 ปี ที่ป้าอารี ฟ้องคดีต่อศาลให้ ขสมก. ชดใช้ค่าเสียหาย หรือรวมเป็นเวลากว่า 9 ปี นับแต่เกิดเหตุจนถึงวันที่คดีสิ้นสุด     ป้าอารี วัย 62 ปี ย้อนเล่าถึงวันเกิดเหตุว่า “วันนั้นป้านัดกันไปเดินดูงานที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิตติ์  จากนั้นเดินทางกลับบ้านด้วยการโดยสารรถเมล์ร้อนสีครีมแดง สาย 4 จากตลาดคลองเตย โดยป้านั่งที่นั่งแบบเดี่ยวถัดไปด้านหลังจากคนขับ 2-3 ที่ เราก็นั่งมาเรื่อยๆ จนถึงสามย่าน เรานั่งเบลอ ง่วง เพราะเพลียจากการเดินในงาน ตอนนั้นประมาณบ่าย 2 ถึงบ่าย 3 ตอนเรานั่งๆ แบบเอียงๆ เอาเข่าหันเฉียงออกมาด้านทางเดิน ตอนนั้นรถก็ขับแบบสบายๆ ไปเรื่อยๆ เราก็เลยคิดว่าไม่มีอะไร แล้วรถก็เบรคอย่างแรง ขนาดที่ว่าเรากระเด็นจากที่นั่งไปกระแทกบริเวณเหล็กกั้นแถวๆ ที่นั่งคนขับ ฟันหลุดทันทีเลย 4 ซี่” แล้วคนอื่นๆ ในรถล่ะคะคนอื่นๆ อีก 4 คนก็ล้มเหมือนกัน แต่ไม่แรงเท่ากับเรา มี 4 คน รวมเราก็เป็น 5 คน เราบาดเจ็บหนักที่สุด ตอนนั้นก็ถามคนขับว่าเกิดอะไรขึ้น คนขับบอกว่ามีมอเตอร์ไซต์ตัดหน้าเลยต้องเบรคกระทันหัน ตัวป้าเองตอนนั้นเลือดกบปาก คนขับไล่คนในรถให้ลงจากรถ ยกเว้นคนที่บาดเจ็บ แล้วพาไปรักษาที่ รพ.จุฬาฯ เขาพาไปก็ไม่ได้สนใจอะไร นั่งอยู่เฉยๆ ส่วนเราฟันหลุดไป 4 ซี่ แล้วก็โยกอยู่อีก 3 ซี่ รวมเป็น 7 ซี่ ฟันที่ร่วงไปตกอยู่ตรงไหนก็ไม่รู้เราก็หาไม่เจอ ถ้าหาเจอก็เอามาแช่น้ำนมตัดต่อได้  แต่ตอนนั้นเราก็คิดไม่ถึง ป้ารออยู่นาน หมอๆ ก็ยังไม่มา มีแต่นางพยาบาลมาซับเลือดให้  จนมารู้ทีหลังว่าที่คนขับกับเรารอ คือรอบริษัทประกันภัยมาทำเรื่อง  สรุปคือเรารอ 3 ชั่วโมง รอจนเกือบ 1 ทุ่ม พอประกันภัยมาถึงก็บอกให้เราไปรักษาเองนะ ออกเงินไปก่อนรักษาให้หายแล้วค่อยมาเบิกเงินทีเดียว พอเค้าเขียนใบเสร็จส่งให้เรา เราไม่รู้เรื่องก็เอาใบเสร็จเก็บกลับบ้าน พอวันรุ่งขึ้นลูกสาวบอกว่าแม่ต้องกลับไปรักษาที่ รพ.แล้วต้องเอาใบรับรองแพทย์มาด้วย ก็เลยไปด้วยกัน ไปเอาใบรับรองแพทย์กับไปแจ้งความที่โรงพัก พอไปถึงที่ รพ.เจอหมอคนเมื่อวาน  เลยถามหมอว่าฟันที่โยกอยู่อีก 3 ซี่ให้ถอนออกเลยได้ไหม มันเจ็บจนทนไม่ไหวแล้ว แต่หมอไม่ยอมถอนให้เนื่องจากต้องรักษาตามคิว ตอนนั้นคิวก็ยาวมาก คือตอนนั้นไม่ว่าจะพูดอย่างไรหมอก็ไม่ยอมถอนให้ พอออกจาก รพ. ลูกสาวเลยพาไปแจ้งความที่โรงพัก พอแจ้งความเสร็จเราทนเจ็บไม่ไหวแล้ว ลูกสาวจึงพาไปที่ รพ.เอกชน หมอที่ รพ.นี้ถอนฟันให้เรา วันนั้นหมดค่ารักษาไปประมาณ 2,000-3,000 บาท ตอนนี้ฟันล่างของป้าจึงหลอหมดเลย แต่จะทำอะไรต่อไม่ได้นะ ใส่ฟันก็ไม่ได้ เพราะหมอบอกว่าเหงือกเรายังบวมอยู่ ตอนนั้นเจ็บมากดื่มได้แต่นม ทานอาหารไม่ได้เลย เราต้องรอเพื่อจะใส่ฟันปลอมอยู่ประมาณ 7-8 เดือน เพราะต้องให้เหงือกยุบก่อน ซึ่งการไปตรวจแต่ละครั้ง เราต้องเสียเงินเองทุกครั้ง ไม่มีใครมาดูแลเราเลย ก่อนใส่ฟันปลอมเราฟันหลออยู่หลายเดือน เราก็อายเค้า ไม่กล้าไปทำงาน ซึ่งเราทำงานเป็นช่างทำผมอยู่ เรากลุ้มใจมาก เราไม่มั่นใจ ไม่กล้าไปทำงาน แต่โชคดีมีพี่สาวที่คอยช่วยเหลือ ให้เงินเราไปรักษา ส่วนเราก็ไม่ค่อยมีเงินเพราะปกติเรามีรายได้จากการทำงานร้านทำผม แต่พอไม่ได้ทำงานเงินก็หายไปทั้งก้อน เราเป็นลูกน้องเขา  หลังเกิดเหตุ 7-8 เดือนแรก เราไม่ได้ทำงานเลย แต่พอผ่านไปสัก 1 – 2 ปีร้านต้องย้ายไปที่อื่นเนื่องจากหมดสัญญาเช่า เขาก็ต้องให้เราออกจากงาน เพราะเราทำงานให้เขาไม่ได้ ส่วนเรื่องการรักษาที่ รพ.เอกชน ตอนเรายังไม่ได้ใส่ฟันปลอม เราหมดไปสองหมื่นกว่าบาท พี่สาวก็มาบอกว่า บ.สัมพันธ์ประกันภัยที่เป็นคู่กรณีเราจะเจ๊งแล้วนะ ให้เรารีบเอาอันนี้ไปยื่นก่อนเลย ได้กี่หมื่นก็หยวนๆ แล้วค่อยมารักษาต่อทีหลัง พอเรายื่น เรายื่นเอกสารเสร็จเจ้าหน้าที่ก็ให้รอไปเรื่อยๆ โดยเราก็ไม่รู้ว่าอีก 2 อาทิตย์บริษัทจะปิด สรุปก็คือเราไม่ได้เงิน จากนั้นเลยไปติดต่อที่ ขสมก.สาย 4 ซึ่งเป็นอู่จอดรถเมล์สาย 4  เราไปทุกอาทิตย์ไปตามเขาว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะได้เงินค่ารักษาที่เราออกไปก่อน  ทาง ขสมก.ก็ไม่ได้แนะนำเราเลยว่าต้องไปติดต่อที่ไหน อย่างไร เราก็เพิ่งมารู้ทีหลังว่าปกติ ขสมก.มีการเยียวยาค่ารักษาพยาบาลเบื้องต้นแต่ต้องทำเรื่องภายใน 6 เดือน ตอนที่เรามาตามเรื่องที่ ขสมก.คือเข้าเดือนที่ 8  ตอนนั้นในใจป้าคิดว่าคงไม่ได้อะไรแล้วละได้ติดตามเรื่องที่สถานีตำรวจบ้างไหมไปแจ้งความ แต่ทางตำรวจเขาก็ต้องรอประกัน แต่ บ.ประกันมันก็เจ๊งไปแล้วไง เรื่องราวก็เลยยืดเยื้อไปถึงหนึ่งปี เราได้ไปเจอพี่สุคนธา ที่วัดปากน้ำ วันนั้นเราไปไหว้พระ เราเห็นแขนแกเหมือนได้รับบาดเจ็บมาก็เลยถามแก แกบอกว่าเกิดอุบัติเหตุมา จากนั้นก็เล่าเรื่องราวของตัวเองให้ป้าสุคนธาฟัง พร้อมแนะนำให้ป้ามาร้องเรียนที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เราก็เลยมาร้องเรียนที่มูลนิธิฯ จนทุกวันนี้ป้าก็ยกย่องมูลนิธิฯ ที่มาช่วยเรา ฟ้องให้ ทำอะไรให้ เราไม่ต้องเสียสตางค์สักบาทเดียว เราภูมิใจ ถึงจะได้หรือไม่ได้สตางค์ก็ภูมิใจ  เพราะเขาช่วยเราเต็มที่ เรามาที่นี่ก็เตรียมเอกสารมา ทั้งใบแจ้งความ ใบรับรองแพทย์ และใบเสร็จค่ารักษาพยาบาลที่เราสำรองจ่ายไปก่อน มูลนิธิฯ ช่วยเหลือเราโดยการฟ้อง พาไปขึ้นศาลประมาณ 3 ครั้ง จนตอนนี้คดีสิ้นสุดแล้ว ตอนขึ้นศาลป้าก็เจอทาง ขสมก.พวกเขาก็ไม่คิดว่าเราจะเป็นหนักขนาดนี้ ใน 5 คนที่ได้รับบาดเจ็บครั้งนั้นมีป้าคนเดียวที่อาการหนักแล้วก็เป็นคดีความฟ้องร้อง ส่วนคนอื่น ๆ อาการไม่หนักก็หยวนๆ แล้วก็ไม่อยากฟ้องร้องยืดเยื้อเสียเวลาระยะเวลาการรอคอยถึง 9 ปี ป้าเจออะไรบ้าง ต่อสู้มา 9 ปี  เกิดเหตุตั้งแต่ปี 50 เรามาที่มูลนิธิฯ เมื่อปี 52 หรือ 53 เราก็จำไม่ค่อยได้ เพราะว่ามันนานมากแล้ว ขสมก.ไม่เคยช่วยเหลืออะไรเราเลย แม้ว่าคดีจะสิ้นสุด ศาลฎีกาพิพากษาแล้ว ถึงตอนนี้ ขสมก. ก็ยังไม่ยอมจ่ายเงิน  ทั้งที่ตอนเราไปหา ไปตามเรื่อง หน้าเรายังบวมอยู่ เขาก็เห็น ฟันก็ยังไม่ได้ใส่ หลอๆ อยู่แบบนี้ ป้าก็รู้สึกท้อมากเลย และผิดหวังกับ ขสมก.ที่ทำกับเราจนเจ็บช้ำแบบนี้ แล้วทุกวันนี้เกิดอุบัติเหตุในสังคมมากมาย บางคนได้รับเงินค่าเสียหาย ก็ได้นิดเดียว ไม่คุ้มกับที่เราต้องเจ็บตัว บางคนก็เสียชีวิต การได้เงินแค่นี้จะมีประโยชน์อะไร อย่างกรณีที่มาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคก็มีมากมายใช่ไหม แบบนี้มันท้อไหมล่ะ ของเรายังมีพี่สาวกับลูกสาวช่วย อย่างตอนนี้เราก็มีลูกสาวช่วย ตอนนี้เขาทำงานแล้วเราก็สบาย นี่ถ้ายังไม่ทำงานเราก็เสร็จ ช่วงสิบปีที่ผ่านมาหลังจากเกิดเรื่องเราจะส่งเขาเรียนหนังสือยังไม่มีเงินเลย ตอนนั้นได้พี่สาวช่วยส่งออกเงินให้ลูกสาวเราเรียน ตอนนี้ลูกสาวเราทำงานส่งเงินให้เรากินข้าวทุกวันก็โอเคแล้ว คำแนะนำสำหรับผู้บริโภคท่านอื่นๆ ที่อาจจะประสบเหตุแบบป้าจะแนะนำให้มาปรึกษาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะว่าเข้ามาที่นี่จะมีความรู้มากขึ้น เราเข้าไปนี่ไม่รู้สักอย่าง ไม่มีอยู่ในหัวสมองเลย เวลาคนที่เจอเหตุการณ์แบบเราถ้าไม่เจ็บหนักมาก ให้รีบไปแจ้งความที่โรงพักแล้วก็รวบรวมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วน  เรื่องการแจ้งความสำคัญมาก ต้องแจ้งให้เร็วที่สุด มีอยู่รายหนึ่งที่ป้าเห็นคือ เขาไม่แจ้งความการเรียกร้องค่าเสียหายก็เลยฟาวล์ไปเพราะว่าไม่มีหลักฐาน ถ้าไม่มีใบแจ้งความจะไปที่อื่นหรือทำเรื่องต่อไม่ได้นะ “เราเคยเกิดอุบัติเหตุครั้งที่ 2 เราถูกรถเก๋งชนที่ขา ตอนครั้งก่อนเราไม่ค่อยรู้เรื่อง พอครั้งนี้เราเริ่มรู้แล้ว คนนี้ชนแล้วไม่หนี เขาพาเราไป รพ. ยอมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายให้ทุกอย่าง ลูกสาวคนโตเราบอกว่าคนนี้เขาดี รับผิดชอบเราทุกอย่างเราไม่ต้องแจ้งความเขา แต่ทางที่ดีเราต้องแจ้งความเพื่อให้เรามีหลักฐานว่าเกิดอะไรขึ้นกับเรา การแจ้งความจะทำให้เรามีหลักฐานให้ บ.ประกันภัยจ่ายเงินเรา คนคนนี้เขาใช้ประกันรถของเขามารักษาเรา” เหตุการณ์ครั้งนี้เราต้องรักษาตัวนานถึง 6 เดือน แล้วพักฟื้นที่บ้านอีกเกือบ 2 ปีถึงจะเดินได้ ตรงนี้แหละ ที่เราสามารถเรียกร้องค่าสินไหมได้ เราคิดถึงตรงนี้ก็เลยไปแจ้งความ ถ้าไม่ได้แจ้งความก็จะไม่ได้ตรงนี้ คือจะบอกว่าแม้คนที่ทำเราจะดีแค่ไหน แต่เราก็ต้องไปแจ้งความ ถึงเล่าให้ฟังว่าครั้งแรกเราไม่รู้เรื่อง พอเกิดเหตุครั้งที่สองเราก็รู้ว่าเราต้องทำอย่างไร เลยได้ค่าสินไหมฯ มาหลายหมื่นเรื่องที่เกิดขึ้นกับเราก็ทำให้เรารู้ว่าเราต้องทำอย่างไร เราจะช่วยเหลือตัวเองอย่างไร ป้าว่าคนทั่วไปไม่ค่อยรู้หรอกว่าเมื่อเกิดเหตุขึ้นกับตัวเองจะทำอย่างไร คนจะรู้ก็เมื่อเกิดเหตุกับตัวเอง เลยอยากให้ทุกคนหาความรู้ว่าถ้าหากเกิดอุบัติเหตุแล้วเราจะต้องช่วยตัวเองอย่างไร  เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้กันน้อยไป อย่างเราคุยกับเพื่อนๆ เราหลายๆ คนก็บอกว่าไม่รู้เรื่องพวกนี้เลย ตอนเราประสบอุบัติเหตุเพื่อนเราก็แนะนำอะไรไม่ได้เลย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 183 การติชมโดยสุจริตเพื่อป้องกันส่วนได้เสียของผู้บริโภค ไม่ถือเป็นความผิด

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2559 ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลนัดอ่านคำพิพากษาในคดีที่บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลส์ จำกัด ผู้จำหน่ายรถตู้ยี่ห้อโฟตอน จากประเทศจีน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องผู้บริโภคจำนวน 20 ราย ซึ่งเป็นผู้ซื้อรถตู้โฟตอน จำนวน 19 ราย  และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภคอีก 1 ราย เป็นจำเลยในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาและแจ้งความเท็จ  หลังผู้บริโภคซื้อรถตู้ดังกล่าวมาใช้แล้วเกิดปัญหา ได้รับความเสียหาย และบริษัทฯ ไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ จึงนำข้อเท็จจริงมาเปิดเผยกับสาธารณชน  และแจ้งร้องเรียนขอความช่วยเหลือกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) นั้น ที่สุดศาลได้ตัดสินยกฟ้องผู้บริโภคทุกราย เนื่องจากเห็นว่า การเปิดเผยข้อมูลดังกล่าว เป็นการติชมโดยสุจริต เพื่อป้องกันส่วนได้เสียของตน จึงไม่มีความผิด พิพากษายกฟ้อง        กรณีนี้ถือเป็นคดีตัวอย่างอีกหนึ่งคดี ที่จะทำให้ผู้บริโภคท่านอื่นที่กำลังเผชิญปัญหาจาการถูกละเมิดสิทธิ   มีกำลังใจที่จะเดินหน้าในการพิทักษ์สิทธิของตนเองได้ เพราะถ้าเราสามารถยืนยันและให้ข้อมูลตามข้อเท็จจริงได้อย่างละเอียดชัดเจน ปัญหาก็จะได้รับการแก้ไขได้ในที่สุด  ฉลาดซื้อฉบับนี้จึงจะพาไปพบกับตัวแทนของผู้บริโภคกลุ่มคดีรถตู้โฟตอน ว่าพวกเขาต้องฝ่าฟันกับเรื่องใดมาบ้างนายบังเอิญ  เม่นน้อย  “สมัยก่อนผู้บริโภคไม่กล้าส่งเสียงเพราะกลัวว่าจะถูกฟ้อง  แต่ตอนนี้อยากให้ผู้บริโภคมั่นใจว่า การออกมาใช้สิทธิคือสิ่งที่สมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้บริโภคมีกระบวนการดูแลไม่เคยทอดทิ้งให้เราต่อสู้เพียงลำพัง”ปลายปี 2551 ผมเห็นโฆษณาประชาสัมพันธ์ของ บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ว่ามีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย  เป็นผู้ให้เช่าซื้อ มีบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยทั้งภาคบังคับ(พ.ร.บ.)และประกันภัยภาคสมัครใจ (ชั้น 1) ที่สำคัญเมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ตู้ยี่ห้ออื่นก็ราคาไม่สูง จึงตัดสินใจเข้าทำสัญญาเช่าซื้อโดยคาดหวังว่าจะยึดอาชีพพนักงานขับรถตู้โดยสารสาธารณะ เพื่อเป็นรายได้หลักเลี้ยงครอบครัวช่วงแรกได้ให้พ่อตาเป็นคนขับ แต่ก็พบปัญหาหลังจากซื้อมาได้ไม่ถึง 15 วัน คือ ไม่สามารถเหยียบครัช หรือเข้าเกียร์ได้ตามปกติ มีปัญหาของเครื่องยนต์ ต้องเปลี่ยนยกเครื่องใหม่ในเวลาไม่ถึง 3 เดือน พ่อตาไม่สามารถขับต่อไปได้ ผมจึงได้ตัดสินใจลาออกจากงานประจำในบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมาขับเอง แต่ก็เป็นการขับไปซ่อมไป “แทนที่จะมีรายได้เลี้ยงครอบครัวตามที่ตั้งใจไว้ก็กลายเป็นว่า ครอบครัวของเราต้องเป็นหนี้จากการกู้ยืมเงินมาซ่อมรถ ผมและภรรยาจึงตกลงกันว่าเราจะนิ่งเฉยไม่ได้ ต้องพิทักษ์สิทธิของตัวเองโดยการร้องทุกข์ไปที่หน่วยงานที่ไว้ใจ เชื่อใจได้ เลยตกลงมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และพยายามรวบรวมกลุ่มเพื่อนผู้เสียหายได้ประมาณ 30 คน จนในที่สุดก็เป็นกลุ่มก้อนที่เข้มแข็งมาร่วมกับเรียกร้องความถูกต้องให้ตัวเอง ”นางประทิน  ซื่อเลื่อม“ป้าซื้อรถตู้คันนี้ด้วยเงินสด ที่เก็บหอมรอบริบมาเกือบทั้งชีวิต เพราะหวังว่าจะยึดเป็นอาชีพในบั้นปลาย แต่ที่ไหนได้ซื้อมายังไม่ทันได้สามเดือนรถพัง แถมไม่มีอะไหล่เปลี่ยนให้อีก กัดฟันซ่อมแทบจะวันเว้นวัน สุดท้ายไม่ไหวต้องตัดสินใจขายต่อให้คนอื่น ได้เงินคืนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ ”ป้าซื้อรถยนต์ประเภทรถตู้ ยี่ห้อ โฟตอน รุ่น VIP 14 ที่นั่ง ราคาประมาณ 1,365,000 บาท  เริ่มใช้งานรถตู้ประมาณ 1 เดือน จึงเริ่มเกิดปัญหาของคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน และความชำรุดบกพร่องของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมเพรสเซอร์แอร์เสีย  ท่อแอร์รั่ว ไดชาร์ทเสีย คันเร่งค้าง เข้าเกียร์ไม่ได้  ประตูรถเสีย  เลี้ยวแล้วพวงมาลัยมีเสียงดัง    รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ มีความพยายามแก้ไขตามขั้นตอน ทั้งติดต่อไปที่บริษัทเพื่อส่งเข้าศูนย์ซ่อมแต่ก็ไม่มีบริการ มีเพียงแห่งเดียว ช่างชำนาญงานก็ไม่มี อะไหล่ก็ไม่มี ต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรายวัน จนในที่สุดต้องตัดสินใจขายในราคาที่ถูกมาก และเข้ามาร้องเรียนกับทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพราะต้องการเรียกค่าเสียหายกับทางบริษัท ที่เหมือนว่าจงใจนำรถที่ไม่ได้คุณภาพมาขาย แต่ท้ายที่สุดก็ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ 19“ที่ต้องสู้ต่อเพราะป้าคิดว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไรผิด พูดความจริงทุกอย่าง ไม่เคยแจ้งความเท็จกับหน่วยงานไหน ที่สำคัญถ้าป้าไม่ลุกขึ้นมาสู้เพื่อตัวเอง ใครเขาจะมาช่วยป้าได้ ”นางสาวนภัสนันท์  ปิ่นหอมระหว่างการต่อสู้ทางคดีจำเป็นต้องมีผู้ค้ำประกัน เพื่อทำสัญญากับ กรมคุ้มครองสิทธิกระทรวงยุติธรรม เธอจึงตัดสินใจยอมเป็นผู้ค้ำประกันให้กับจำเลยทั้ง 20 ราย ทั้งที่สามีของเธอคือ คุณบังเอิญ ก็เป็นจำเลยที่ 3 ในคดีนี้“ รู้สึกเศร้าใจไม่คิดว่าผู้ประกอบการจะเอาเปรียบผู้บริโภคขนาดนี้  พวกเขาเดือดร้อนกันจริงๆ  ไม่เคยคิดกลั่นแกล้งใคร เงินที่ลงทุนซื้อรถไปก็อยากมีอาชีพ เลี้ยงดูตัวเองได้ สาเหตุที่ตัดสินใจเป็นนายประกันให้จำเลยทั้งยี่สิบคนก็เพราะไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และเชื่อมั่นว่าต่อสู้ร่วมกันมาขนาดนี้ อะไรที่ช่วยกันได้ก็อยากจะช่วย เพื่อนย่อมไม่ทอดทิ้งกันแน่นอน ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเองนางสาวสวนีย์  ฉ่ำเฉลียวหลังจากรับเรื่องร้องเรียน ในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภคก็ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริงจนได้ความว่า ผู้ร้องเดือดร้อนจริงจากการเช่าซื้อรถยนต์ตู้จากบริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้พากลุ่มผู้ร้องฯ ไปยื่นหนังสือร้องเรียนกับ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ขอให้พิจารณาช่วยเหลือผู้บริโภค กรณีได้รับความเสียหายจากการซื้อรถตู้ยี่ห้อ โฟตอน แล้วพบปัญหาชำรุดบกพร่อง และพาไปร่วมออกรายการโทรทัศน์ ช่องเนชั่นทีวีผ่านทาง “รายการระวังภัย 24 ชั่วโมง” ในหัวข้อ ซื้อรถไม่ได้ใช้ แต่ต้องใช้หนี้   นำรถไม่มีคุณภาพเข้ามาจำหน่ายและไม่รับผิดชอบต่อความชำรุดบกพร่องของรถ สวนีย์  ฉ่ำเฉลียว(จำเลยที่ 20) รับหน้าที่เป็นพิธีกรร่วมในรายการ และได้ทำหน้าที่ให้ข้อมูลสถานการณ์ปัญหาที่ทางมูลนิธิเพื่อผู้บริโภคได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ร้อง รวมทั้งซักถามในประเด็นปัญหาต่าง ๆ กับทางผู้ร้องร่วมกับพิธีกรในรายการอีกท่าน การปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวถือว่า อยู่ในความรับผิดชอบในฐานะเจ้าหน้าที่ศูนย์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และ พิธีกรร่วมในรายการ ไม่ได้มีเจตนาสร้างความเสียหายให้กับโจทก์ หรือมีความโกรธแค้นโจทก์เป็นการส่วนตัวแต่อย่างใด เป็นข้อมูลความเป็นจริงที่เกิดขึ้นทั้งสิ้น“ตลอดระยะเวลาการต่อสู้ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2555 ถึง ปี 2559 นั้น ยอมรับว่าอาจจะมีความเครียดบ้างในส่วนของการดูแลความรู้สึกของผู้บริโภคที่ถูกฟ้องคดี เพราะเราต้องทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ร้องว่า ไม่ใช่เรื่องการตัดสินใจผิดพลาดที่มาใช้สิทธิร้องเรียนแล้วต้องถูกฟ้องร้องทางคดี แต่นี่คือความกล้าหาญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เป็นการแสดงพลังของคนเล็กคนน้อยให้ผู้ประกอบการเห็นว่าเราไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหา และพร้อมที่จะเผชิญหน้าในการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับตัวเอง เพราะเราเชื่อว่า หน่วยงานของเรา คือ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เป็นที่พึ่งสุดท้ายของพวกเขาแล้ว และภารกิจของมูลนิธิก็คือ รับเรื่องร้องเรียน แก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภค อยู่แล้ว การที่ดิฉันในฐานะเจ้าหน้าที่ถูกฟ้องจึงไม่ใช่เรื่องที่น่าตกใจ หรือแปลกประหลาด แต่ถือว่าเป็นการย้ำจุดยืนของหน่วยงานว่า เป็นอิสระจริง และทำงานจริงไม่ใช่แค่เสือกระดาษ” ---------------------------------------------------------------------------------------------ในช่วงปลายปี 2551 บริษัท แพล็ททินัม มอเตอร์เซลล์ จำกัด ซึ่งเป็นตัวแทนนำเข้ารถตู้ ยี่ห้อ “ โฟตอน ” จากประเทศจีน เข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย  โดยโฆษณาประชาสัมพันธ์ผ่านสมาคมรถตู้โดยสารต่างจังหวัดแห่งประเทศไทย  เพื่อเชิญชวนให้สมาชิกเข้ามาทำสัญญาเช่าซื้อ  โดยมีเอกสารแผ่นพับ  แสดงรูปแบบรายละเอียด พร้อมราคาตัวรถตู้ คันละ 1,365,000 บาท (หนึ่งล้านสามแสนหกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ซึ่งมีบริษัท เงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน) และ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้เช่าซื้อ และบริษัท กมลประกันภัย จำกัด เป็นผู้รับประกันภัยเมื่อผู้เช่าซื้อไม่สามารถชำระค่าเช่าซื้อรถตู้คันดังกล่าวได้ เช่น รถหาย รถชำรุดบกพร่อง เป็นต้น  สมาชิกที่เข้าทำสัญญาในคราวเดียวกันนี้มีทั้งสิ้นกว่า 70  ราย หลังจากสมาชิกเข้าทำสัญญาเช่าซื้อรถตู้โดยสารยี่ห้อดังกล่าวแล้วกลับพบว่า เกิดความชำรุดบกพร่องนับแต่ใช้งาน คือขณะขับรับส่งผู้โดยสารเครื่องยนต์ดับกะทันหัน เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง ระบบความร้อน ระบบแอร์ รวมถึงระบบเครื่องยนต์ มีปัญหาไม่ทำงานบ่อยครั้ง รวมทั้งระบบโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรงสังเกตจากช่วงหน้าฝน มักมีน้ำหยดผ่านหลังคาเข้ามาในรถสร้างความเดือดร้อน รำคาญให้กับผู้โดยสารเป็นประจำ  รวมทั้งปัญหาด้านการบริการซึ่งก่อนเช่าซื้อทางบริษัทฯได้โฆษณาว่า  จะมีศูนย์บริการหรืออู่ให้การบริการซ่อมอยู่ทั่วประเทศ  แต่ในความเป็นจริงกลับมี 1 แห่ง และไม่มีอะไหล่ของบริษัทโฟตอนโดยตรงเป็นอู่ซ่อมรถทั่วไป  ดังนั้นผู้เสียหายแต่ละรายจึงต้องแบกรับภาระค่าซ่อมรถ ค่างวดเช่าซื้อรถ โดยมิได้ใช้ประโยชน์จากตัวรถเต็มที่ บางรายต้องจอดทิ้งไว้ที่อู่เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อม ภายหลังจากพบปัญหาผู้ร้องได้ติดต่อ สอบถามไปยังผู้ให้เช่าซื้อคือ บริษัทเงินทุนกรุงเทพธนาทร จำกัด(มหาชน) และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อขอคืนรถยนต์ตู้โดยสารคันดังกล่าวแต่ได้รับการปฏิเสธโดยต่อมาทางผู้ให้เช่าซื้อได้ฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายข้อหาผิดสัญญาเช่าซื้อกับผู้ร้องกว่า 10 ราย มีเพียงบางส่วนได้ทำการคืนรถให้กับทางผู้ให้เช่าซื้อก่อนที่จะมีการฟ้องร้องดำเนินคดีผู้ร้องจำนวน 20 ราย จึงติดต่อมาที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เพื่อขอคำปรึกษา ร้องเรียน ให้ช่วยแก้ไขปัญหาให้ โดยความเสียหาย แบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ ค่าเช่าซื้อรถและค่าซ่อมแซม มูลค่ากว่าสามสิบล้านบาท แต่ภายหลังปรากฏว่าทาง บริษัท แพล็ททินัมฯ ได้ยื่นฟ้องต่อศาลอาญา ฐานความผิด ร่วมกันหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา, แจ้งความเท็จ จำนวนทุนทรัพย์ 5,000,000.-บาท (ห้าล้านบาทถ้วน) กับจำเลยจำนวน 20 ราย เป็นผู้ร้องเรียน 19 ราย และเจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 1 ราย  

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 182 ชนาธิป ไพรพงษ์ ผู้บริโภคต้องมี ”ภูมิคุ้มกัน”

ถ้าใครเคยฟังรายการภูมิคุ้มกัน รายการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ทางสถานีวิทยุไทยพีบีเอส คงจะคุ้นกับเสียงหวานๆ ของคุณน้ำ ชนาธิป ไพรพงษ์ กันดี วันนี้ฉลาดซื้อจะทำให้รู้จักเธอมากขึ้นจากงานที่เธอทำ เล่าถึงงานที่ทำและประสบการณ์เรื่องการถูกละเมิดสิทธิ   เรียนจบมนุษยศาสตร์  สื่อสารมวลชน จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง แต่ว่าตอนเรียนก็ทำงานไปด้วย คือทำที่สถานีวิทยุและจัดรายการวิทยุ เริ่มจัดตั้งแต่รายการเพลง รายการเกี่ยวกับบ้าน รายการเศรษฐกิจ พอเข้ามาทำงานที่ไทยพีบีเอส  ต้องมารับผิดชอบเป็นโปรดิวเซอร์ให้หลายรายการ รวมทั้งในส่วนของรายการที่ออกอากาศทางวิทยุไทยพีบีเอส อย่าง รายการภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นรายการเกี่ยวกับผู้บริโภค เริ่มตั้งแต่ปี 2553 ในการผลิตรายการ เราก็ต้องติดตามข่าว  ทำข่าวเองด้วย  หาข้อมูล ติดต่อแขกสัมภาษณ์ ตัดต่อรายการ จัดรายการเอง ทำให้เราได้รู้ข้อมูลอะไรที่มากขึ้น คือทั้งที่แต่ก่อน เราก็เป็นผู้บริโภคคนหนึ่งนะ แต่ว่าก็ไม่ได้ใส่ใจว่าถ้าเราซื้อของมาแล้วมันหมดอายุจะทำอย่างไร  ของไม่มีคุณภาพ เราก็แค่ไปซื้อมาใหม่ มารู้ทีหลังว่า  เราสามารถเรียกร้องให้ผู้ผลิตรับผิดชอบได้ คือเราไม่ได้รู้สิทธิของผู้บริโภคอะไรขนาดนั้น แล้วยิ่งพอมาจัดรายการภูมิคุ้มกัน ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ทั้งผู้เสียหายกรณีต่างๆ และผู้เชี่ยวชาญ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาทำให้เรารู้ว่า จริงๆ แล้วเราทุกคนควรใส่ใจการบริโภค รู้สิทธิของเรา ไม่ควรปล่อยผ่าน แต่ไม่ใช่ว่าไปเครียดอะไรกับการเลือกบริโภคนะคะ มีอยู่ครั้งหนึ่งเคยเกิดปัญหากับตัวเอง คือเราไปต่างประเทศ แล้วเปิดใช้บริการโรมมิ่ง แล้วซื้อแพจเกจอินเตอร์เน็ทใน 7 วัน ราคา 1,400 บาท โดยมีเงื่อนไขคือ กำหนดเวลา 00.00 น.วันที่ 18 ม.ค  ถึงเวลา 23.59 น. วันที่ 24 ม.ค แล้วระบบจะตัดอัตโนมัติ ตอนเปิดใช้บริการคือโทรจากสนามบินก่อนขึ้นเครื่อง แต่เราก็ได้รับการยืนยันโดยทางค่ายมือถือส่ง sms มาว่าเราใช้บริการโรมมิ่งแพจเกจนี้ๆ นะ คือตอนนั้น การไปซื้อซิมมือถือใช้ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศยังไม่ค่อยมี หรือเราไม่รู้ตรงนี้ก็ไม่รู้  แต่ได้ยินโฆษณาเกี่ยวกับการให้บริการเปิดโรมมิ่งดาต้าของค่ายมือถือต่างๆ ในไทยมา ก็เลยเลือกใช้แต่มันเกิดปัญหาคือ พอไปใช้ที่ต่างประเทศคือ ตอนนั้นเราไปญี่ปุ่น แล้วเครือข่ายที่ญี่ปุ่นสัญญาณไม่ครอบคลุม คือบางพื้นที่ที่เราไปเที่ยวก็ไม่มีสัญญาณ อันนี้ยังไม่ค่อยเท่าไรปัญหาที่ทำให้เรารู้ว่าผู้บริโภคควรเรียกร้องสิทธิคือเมื่อกลับมาเมืองไทย  แล้วบิลเรียกเก็บค่าโทรศัพท์มาถึงเราปรากฏว่า มีค่าโรมมิ่งที่เกินจากเวลาที่ตกลงกันในแพจเกจคือกำหนดถึงแค่ 23.59 น. ของวันที่ 24 ม.ค ใช่ไหมคะ แต่ในบิลบอกว่ามีค่าโรมมิ่ง ของ 00.00.26 น.ของวันที่ 25 ม.ค เกินมาเป็นเงินถ้าจำไม่ผิดประมาณ 680 บาท เราก็เลยงงว่า ก็ในเงื่อนไขทางค่ายมือถือบอกจะตัดสัญญาณอัตโนมัติตามเวลาท้องถิ่นของญี่ปุ่น แล้วคุณปล่อยสัญญาณโรมมิ่งหลุดมา แล้วมาเก็บค่าบริการจากเรามันไม่ยุติธรรม เพราะเราไม่ได้เป็นคนรู้ว่าจะตัดสัญญาณตอนไหน “คือถ้าคุณตัดตามเวลามันก็ไม่เกิดปัญหา เราก็คิดว่าเราจะไม่ยอมจ่าย เพราะความผิดไม่ได้อยู่ที่เราก็เลยโทรไปคอลเซ็นเตอร์ค่ายมือถือชี้แจงให้เจ้าหน้าที่ฟังว่าเงื่อนไขเป็นยังไง ค่ายมือถือก็บอกขอตรวจสอบรายละเอียดก่อนแล้วจะแจ้งเรากลับ เราก็โอเค น้ำก็เลยขอให้เขาส่งรายการและเวลาการใช้โรมมิ่งทั้งหมดมาให้ พอเห็นเวลาว่าโรมมิ่งที่เกิน คือไม่อยู่ในเงื่อนไขเวลาที่ตกลงกันก็เลยท้วงเขาไป พอค่ายบอกว่ากำลังตรวจสอบ เราก็บอกว่า งั้นเรายังจะไม่จ่ายเงินตามใบแจ้งหนี้นะรอผ่านไปเกือบ 2 สัปดาห์ก็ไม่เห็นติดต่อเรากลับสักที เราเลยติดต่อไปที่คอลเซ็นเตอร์ใหม่เจ้าหน้าที่ก็บอกกำลังตรวจสอบอยู่ ผ่านไปอีกเกือบ 2 สัปดาห์ เราก็รอว่าเขาจะติดต่อมาไหม  คือไม่ จนเราต้องติดต่อคอลเซ็นเตอร์ไปเอง สุดท้ายคือ เขาแจ้งว่าจะทำการยกเลิกรายการเก็บเงินค่าโรมมิ่งที่เกินเวลามา ก็คือเราไม่ต้องจ่าย 680 บาท คือเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่า ถ้าเรายอมจ่ายเราก็เสียเงิน 680 บาท  ก็ไม่น้อยนะ กินข้าวได้หลายจานอยู่ แต่ต้องยอมเสียเวลาจัดการไปประมาณเดือนหนึ่ง”     ยังมีอีกเรื่อง คือเรื่องคอนโดที่อาศัยอยู่ปัจจุบัน มีลูกบ้านหลายคนตั้งข้อสังเกตว่าคอนโด มีอะไรหลายอย่างที่ไม่เหมือนเดิม คือจากที่ลิฟท์เคยมีเครื่องสแกนบัตรเข้าออก ขึ้นลิฟท์แบบล็อคชั้น เพี่อความปลอดภัยไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้อยู่ในตึกนั้นขึ้นไปได้เพื่อความเป็นส่วนตัว แล้วก็ยังมีประตูเข้าออกตึกที่บัตรเข้าออกจะใช้ได้เฉพาะตึกนั้นๆ แต่ระยะหลังนี่ไม่ใช่ คือบัตรสามารถใช้ได้ทุกตึก แล้วนิติบุคคลยังไม่แสดงงบคอนโดประจำปีอีกด้วย หรือแสดงงบก็เป็นกระดาษแผ่นเดียว ไม่ชี้แจงรายละเอียด ทั้งที่ลูกบ้านจ่ายค่าส่วนกลางปีละหมื่นกว่าบาท จนนำไปสู่การที่ลูกบ้านรวมกลุ่ม เพื่อขอเปิดประชุมเอง มีวาระคือถอดถอนกรรมการชุดเดิม แต่งตั้งกรรมการชุดใหม่ เลือกบริษัทนิติบุคคลใหม่ แต่ว่าไม่สำเร็จ เพราะกรรมการชุดเดิมไปแย้งที่สำนักงานที่ดินเขตว่าการประชุมไม่ชอบ เพราะลูกบ้านไม่ส่งหนังสือเชิญประชุมล่วงหน้า 15 วัน ตามข้อบังคับคอนโด “มันก็เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งของผู้พักคอนโดนะคะ ว่าต้องรู้กฏหมายด้วย แล้วต้องมีที่ปรึกษาเป็นทนาย  ถ้าจะติดต่อทำธุรกรรมเรื่องที่ดิน  ให้ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานที่ดินเขตเลย เรื่องนี้ทำให้ต้องตระหนักมากๆ ถึงสิทธิผู้บริโภคว่า  อย่าปล่อยให้การบริหารงานของนิติบุคคลมาเอาเปรียบเรา  เสียเงินค่าส่วนกลางไปแล้ว  ควรได้รับบริการในที่พักอาศัยที่ดี จนถึงตอนนี้เรื่องคอนโดก็ยังไม่จบ เพราะกรรมการชุดเดิมหมดวาระไปแล้ว แต่ยังรักษาการอยู่  แล้วก็กำหนดประชุมสามัญประจำปีเพื่อเลือกกรรมการใหม่ แต่ก็เลื่อนการประชุมอีก ตอนแรกบอก 24 เม.ย เลื่อนเป็น 30 เม.ย ทำป้ายประกาศก็ลงวันที่ผิด และยังไม่ส่งหนังสือเชิญประชุมลูกบ้าน เหมือนจะยื้อเพื่อรักษาการต่อ  แล้วค่อยหาคนของตัวเองมาลงสมัครเป็นกรรมการเพื่อจะได้มีอำนาจในการคัดสรรบริษัทนิติบุคคลเอง เหมือนมีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งถ้าเราไม่ติดตาม ก็เหมือนเราซื้อคอนโดห้องหนึ่ง  อยู่อาศัยไปโดยไม่รู้ว่า ค่าส่วนกลางที่เราเสียทุกปี เขาเอาไปใช้อะไรบ้าง เอาไปดูแลสระว่ายน้ำ เหมือนที่โฆษณาไว้ไหม รักษาตึก ประตู ตรวจลิฟท์ประจำปีหรือเปล่าทุกอย่างก็เพื่อความปลอดภัยของลูกบ้านก็คือเรานั่นเอง” มีความคิดอย่างไรกับเรื่องสิทธิผู้บริโภคจากประสบการณ์ตรงที่เกิดกับตัวเองเราต้องตระหนักสิทธิผู้บริโภคให้มากขึ้น ไม่ใช่ว่าอะไรๆ ก็จ้องจับผิดผู้ประกอบการนะคะ เพียงแต่ว่า ไม่ว่าเราจะเลือกซื้อเลือกใช้อะไร เราก็ต้องใส่ใจหารายละเอียดก่อน แม้แต่เรื่องฉลากสินค้า เช่น ล่าสุดไปหาซื้อกะปิ ก็ดูสีว่าสีจัดไหม ถ้าสีจัดไปเราก็ไม่ซื้อเพราะเกรงว่าจะใส่สี แต่ว่าพอดูฉลาก ฉลากก็ตัวหนังสือเล็กมาก ตาก็ไม่ค่อยดี บางทีเราก็รู้ว่า เลือกเท่าที่เลือกได้แล้วกัน คิดว่าการคุ้มครองผู้บริโภคบ้านเรายังขาดอะไรบ้างขาดหลายอย่างเลยค่ะ ผู้บริโภคยังไม่ค่อยตื่นตัว ภาครัฐยังให้ความสำคัญกับผู้บริโภคน้อยมาก เห็นได้จากการแก้ปัญหาที่ล่าช้าและเรื่องกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่ไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ มีช่องโหว่อยู่มาก คือเหมือนคนไทยยอมมากเกินไป เมื่อเกิดปัญหาก็คิดว่าช่างมันเถอะ ทั้งที่คนได้รับผลกระทบคือตัวเรา อย่างการรักษาพยาบาลตามสิทธิต่างๆ เช่นสิทธิประกันสังคม บางคนยังไม่รู้ว่าประกันสังคมครอบคลุมการรักษาโรคใดบ้าง ทำฟันได้ปีละกี่ร้อยบาท เพราะไม่เคยไปใช้สิทธิรักษาพยาบาลเลยซึ่งก็ดีนะ มันหมายถึงคุณมีสุขภาพดีแต่พอไปรักษาทีก็ งง ไปเหมือนกันว่าประกันสังคมเขาให้สิทธิอย่างไร หรือแม้แต่เมื่อลาออกจากงาน ประกันสังคมจะให้อะไรบ้าง ดิฉันเคยเป็นผู้ประกันตนเหมือนกันตอนทำงานกับบริษัทเอกชน ทีนี้ พอลาออก  ไม่ได้ไปใช้สิทธิตัวเองที่ว่าให้ไปแจ้งที่ประกันสังคมภายใน 6 เดือนว่าคุณลาออกจากงาน อยู่ระหว่างการหางานใหม่  ซึ่งประกันสังคมจะให้เงินเป็นรายเดือนระหว่างที่ยังหางานทำไม่ได้ คืออันนี้ดิฉันก็ลืมไม่ไปแจ้งสิทธิ  ก็เลยเสียสิทธิไปเลย ทั้งที่ตัวเองจ่ายเงินประกันสังคมตั้ง 8 ปี หลายๆ คนน่าจะไม่รู้สิทธิตรงนี้ “เรื่องการบริโภคเป็นเรื่องใกล้ตัวมากๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย เราต้องบริโภคอาหาร ใช้บริการต่างๆ คือไม่ว่าเรื่องเล็กๆ น้อย ไปจนถึงเรื่องใหญ่ มันเกี่ยวพันกับเราทั้งสิ้น บางทีการหาข้อมูลความรู้ หรือการติดตามข่าวสารไว้  ก็จะเป็นสิ่งที่เมื่อเราเกิดปัญหาจะสามารถแก้ได้ค่ะ เช่น ตอนนี้ในเวปไซต์หรือโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็มักจะมีข้อมูลเหล่านี้อยู่  ให้เราเพิ่มความสนใจอีกนิด ส่วนผู้ประกอบการก็ขอให้นึกถึงใจเขาใจเรา  เพราะว่าถึงคุณจะผลิตสินค้าหรือให้บริการอย่างหนึ่ง  แต่คุณก็ต้องไปซื้อสินค้าหรือรับบริการอย่างอื่นอยู่ดี ถ้าคุณผลิตสินค้าดี  ให้บริการดี ก็จะช่วยลดปัญหาได้ จะเห็นว่าผู้ประกอบการถ้ามีคุณภาพจะประกอบการได้นาน ทำกำไรได้โดยไม่ต้องเอาเปรียบผู้บริโภคค่ะ” **รายการภูมิคุ้มกัน ฟังและดาวน์โหลดรายการได้ที่  www.thaipbsonline.net  และ แอพพลิเคชั่น Thaipbsแฟนเพจ www.facebook.com/ThaipbsRadioFan/  และสถานีวิทยุชุมชนที่เชื่อมโยงสัญญาณ  ได้แก่  สถานีวิทยุชุมชน คนหนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี FM 107.5 Mhz, สถานีวิทยุชุมชนปฐมสาคร FM 106.25 Mhz, สถานีวิทยุชุมชนคนเมืองลี้ จ.ลำพูน  103.75 MHz, สถานีวิทยุชุมชนวัดโพธิ์บัลลังก์ จ.ราชบุรี  FM 103.75 MHz.  สถานีวิทยุเทศบาลทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน  FM 106.25  MHz,  สถานีวิทยุชุมชนคนเขาวง  จ.กาฬสินธุ์  FM 89.5  MHz

อ่านเพิ่มเติม >

ฉบับที่ 181 ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี “เอายาปฏิชีวนะออกจากอาหารของเรา ; Antibiotics off the menu”

เพื่อให้รับกับสถานการณ์ปัญหาเรื่อง เชื้อดื้อยาปฏิชีวนะ  ฉลาดซื้อจึงไปสัมภาษณ์ ผศ.ภญ.ดร.นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี ผู้จัดการแผนงานฯ ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย.) อีกครั้ง โดยในวันผู้บริโภคสากล ปีนี้ซึ่งตรงกับวันที่ 15 มีนาคม สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล (Consumers International) ที่มีองค์กรสมาชิกถึง 240 องค์กรใน 120 ประเทศ ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ร่วมกันในเรื่อง “การเอายาปฏิชีวนะออกจากอาหารของเรา; Antibiotics off the menu” “คืออยากให้ได้ในมิติที่ผู้บริโภคจริงๆ ว่าประสบปัญหาอะไร แล้วไม่รู้อะไร ตอนนี้เราแยกเป็นสิทธิผู้บริโภคสากล ซึ่งมีทั้งหมด 8 ข้อ เรื่อง Information เป็นเรื่องสำคัญมากในการตัดสินใจ เรื่องที่ 2 ที่เชื่อมร้อยกันก็คือเรื่อง Consumer education การให้การศึกษา และอันที่ 3 ที่เกี่ยวข้องแล้วมาหลุดไปนั้น คืออยากจะโยงถึง เรื่องสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย หน่วยงานรัฐก็จะต้องรับรองให้มีผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัยเพียงพอ แต่พอเราได้เข้ามาดูตรงนี้แล้ว พบว่าปัญหายิ่งใหญ่อันหนึ่งของผู้บริโภคไทยก็คือ ข้อมูลพวกนี้มันไม่ถึงมือประชาชนและระบบไปเฝ้าระวังเรื่องนี้ไม่เพียงพอ พอเราบ่นไปก็จะได้รับคำตอบกลับมาว่า “มีกำลังไม่เพียงพอ เงินไม่มีเลยทำได้แค่นี้”  ผู้บริโภคเราจึงไม่มีข้อมูลที่จะทำให้สามารถตัดสินใจซื้อหรือไม่ซื้อได้ ประกอบกับความรู้ผู้บริโภคก็น้อยด้วย ดังนั้นทำให้ดูเหมือนผู้บริโภคไทยเองอ่อนแอและได้รับแต่สิ่งที่มีปัญหา ขอกล่าวถึงคำศัพท์หลายคำศัพท์อยู่ที่เราอาจจะคุ้นเคยกัน 1. ยาปฏิชีวนะ ที่เราคุ้นกันอยู่ แต่มีผู้รู้หลายคนที่บอกว่ายาปฏิชีวนะ 100 % ถ้าเราจำได้ ยาต้านไวรัสก็คือไปทำอะไรกับไวรัส ยาต้านเชื้อราก็คือไปทำอะไรกับเชื้อรา ดังนั้นก็ควรจะเป็น ยาต้านแบคทีเรียว่าไปทำอะไรกับแบคทีเรีย อาจจะตรงกว่าคำว่ายาปฏิชีวนะ ที่เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิง ค้นพบเมื่อไม่นานนี้ ไม่ถึง 100 ปี (เฟลมมิงค้นพบจากเชื้อราเพนนิซิลเลียม (Penicilliam) เขาเลยตั้งชื่อว่า  Antibiotics) แล้วต่อมายาหลายตัวที่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียมันไม่ได้สร้างจากเชื้อมีชีวิตแล้ว มันสร้างจากเคมีก็ได้ บางทีเราก็ใช้ศัพท์ ยาต้านแบคทีเรียหรือเท่ากับ  Antibiotic เพื่อให้คนคุ้นเคย 2 คำนี้เอาไว้     ทำไมเราจึงสนใจเรื่อง  Antibiotics เพราะว่าอันที่ 1. โดยรวมเราเรียกมันว่ายาฆ่าเชื้อหรือยาต้านจุลชีพ ยาต้านจุลชีพทั้งหมดนั้นเป็น  Antibiotics(ต้านแบคทีเรีย) อยู่ประมาณ 50 % ดังนั้นจึงมีผลกระทบเยอะและเรามีแบคทีเรียเยอะ ซึ่งอาจจะเกิดปัญหา คือเกิดการดื้อยา คือเชื้อไวรัสก็ดื้อ การดื้อนั้นเชื้อทั้งหลายมันดื้ออยู่แล้วแต่การกินที่ไม่ถูกต้องจะทำให้ดื้อเร็วขึ้น มากขึ้น คนที่จะใช้ยาต้านไวรัสได้ต้องตรวจให้ชัวร์ว่าเป็นไวรัสก็จะได้ยาต้านไวรัส คนที่เป็นเชื้อราก็ต้องตรวจให้ชัวร์ว่าเป็นเชื้อราจึงได้ยาต้านเชื้อรา แต่ปัญหาคือว่า พอไม่ใช่การติดเชื้อแบคทีเรียแล้วไปจ่ายยาต้านแบคทีเรียให้กิน เรื่องแบบนี้มันเยอะไง เชื้อมันเลยดื้อยา การดื้อยามีขนาดใหญ่และเป็นปัญหา เนื่องจากการกินผิดเยอะ ก็ทำให้เมื่อติดเชื้อจำนวนมากก็ดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้อัตราการอยู่เตียงนานขึ้น ตายมากขึ้น กลุ่มคนที่เฝ้าระวังเรื่องนี้จึงกลัวว่าต่อไปจะไม่มียาใช้เพราะว่าทุกวันนี้มันเริ่มวิจัยยาใหม่ๆ น้อยลง ดังนั้นต่อไปเวลาป่วยเราก็จะกลับไปเป็นโรคระบาดที่เป็นโรคติดเชื้อเหมือนสมัยก่อน ไม่มียาที่สามารถปราบเชื้อได้ นี่คือสิ่งที่กลัวกัน ซึ่งถ้าได้ดูข่าวจะเห็นว่าคนดังๆ ติดเชื้อในกระแสเลือดจนถึงขั้นเสียชีวิตเพราะเมื่อเชื้อเข้าไปอยู่ในกระแสเลือดแล้วเชื้อมันดื้อ ให้ยาไปแล้วไม่หาย เกิดการเรื้อรัง ปัญหาคือถ้าคนไข้อาการทรุดอยู่แล้วก็จะเสียชีวิตเร็วขึ้น เราจึงกลัวว่าต่อไปจะไม่มียาใช้ซึ่งเรื่องนี้เป็นผลกระทบต่อสุขภาพในวงกว้าง     สาเหตุที่ดื้อยาหลักๆ เกิดจากการกินเกินจำเป็น การที่เราได้รับ Antibiotics เข้าร่างกายมันก็มีอยู่ 3 รูปแบบ 1. หมอสั่งให้กิน หมอสั่งก็อาจจะวินิจฉัยผิดหรือหมอมั่วก็เยอะสั่งโดยไม่มีความจำเป็น ส่วนใหญ่ก็ 3 โรคที่เรารณรงค์ไม่ให้ใช้ (3 โรคที่สามารถหายได้เองด้วยภูมิต้านทานของร่างกายโดยไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะคือ 1.หวัดเจ็บคอ 2.ท้องเสีย 3.แผลเลือดออก และยาปฏิชีวนะที่เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียนั้น ประกอบด้วย เพนนิซิลินอะม็อกซิลลิน เตตร้าซัยคลิน ซึ่งไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบแต่อย่างใด) หรืออีกอย่างคือหมอสั่งถูกแล้ว แต่คนไข้กินผิด หมอให้กินต่อเนื่อง 5 วันแต่กิน 2 วันก็เลิกกิน อย่างนี้เป็นต้น   2. ไปซื้อกินเอง ซึ่งบางครั้งไม่ได้เป็นอะไรมาก ปวดฟันก็ไปซื้อมา 2 เม็ดเพราะไปเรียกกันว่ายาแก้อักเสบก็เลยซื้อมากิน อันนี้เป็นเรื่องเข้าใจผิดมากๆ และปัญหาข้อ 1 กับข้อ 2 นั้นบางทีเกิดเพราะหมอก็ไม่เขียนชื่อยามาให้อีก ทำให้ขาดความรู้ตรงนี้ไป และ 3. กินโดยไม่รู้ตัว ข้อสุดท้ายนี่แย่มากเพราะมันอยู่ในอาหารที่เรากินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว หรืออยู่ในยาชุดที่ยังมีคนนิยมซื้อกิน     ถ้าถามว่า เราจะมีข้อเรียกร้องอะไรบ้างเรื่องสิทธิผู้บริโภคในประเด็นนี้ ข้อที่ 1. คือเราจะกินยาอะไรต้องได้รู้จักชื่อยาที่เราใช้ เพราะ Antibiotics มันแพ้กันเยอะ แพ้ตั้งแต่กลุ่มเพนนิซิลิน เกิดการช็อก หมดสติ เสียชีวิต หายใจหอบ และพวกกลุ่มซัลฟา(Sulfonamides) ที่จะมีอาการไหม้ทั้งตัว ถ้าเราไม่รู้ชื่อยา บางคนบอกว่าตัวเองแพ้ซัลฟากล่องสีเขียวๆ แต่พอไปซื้ออีกครั้งก็กล่องสีเขียวเหมือนกันแต่ไม่ใช่ซัลฟา จึงทำให้ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วที่แพ้นั้นแพ้อะไรกันแน่เพราะมันไม่ชัดเจน เพราฉะนั้นนอกจากเราจะเรียกร้องเรื่องสิทธิคือต้องรู้จักชื่อยาแล้วเราต้องได้รับการคุ้มครองด้วยว่ารัฐต้องจัดหายา ขึ้นทะเบียนยาที่เหมาะสม เพราะยากล่องสีเขียวในท้องตลาดมีกล่องสีเขียวตั้ง 4 กล่องตัวยาก็คนละตัวกันเลย การแพ้ก็คนละแบบ รัฐต้องให้ความคุ้มครองเรื่องการที่ต้องมียาให้ถูกต้อง กลุ่ม Antibiotics รัฐต้องคุ้มครองในเรื่องของโฆษณา เราได้ยินโฆษณาของเสียงตามสายทีซี-มัยซินมาตลอด ซึ่งยากินนั้นเขาไม่ให้โฆษณา Antibiotics ที่เข้าร่างกายไม่อนุญาตให้โฆษณายกเว้นยาสามัญประจำบ้านหรือยาบรรจุเสร็จ ทีซี-มัยซิน ออยนท์เมนท์ (T.C. Mycin Ointment) อยู่ในกลุ่มยาบรรจุเสร็จ สามารถโฆษณาได้แต่เวลาโฆษณาในทีวีบนกล่องจะมีรูปแคปซูลด้วย คนก็สับสน และโฆษณาก็เป็นอีกเรื่องที่เราเรียกร้องให้งดโฆษณา Antibiotics ทั้งหมด ข้อที่ 2. รัฐจะต้องทำการถอนทะเบียนที่ไม่เหมาะสมออกให้หมด ข้อที่ 3. รัฐจะต้องควบคุมการกระจายยาที่มี Antibiotics ให้ถูกต้อง และข้อที่ 4. รัฐจะต้องให้ความรู้ที่ถูกต้องกับประชาชนด้วย   อีกจุดหนึ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองแต่มันไม่ได้อยู่ในสิทธิผู้บริโภคไทย คือ สิทธิในการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี ปัญหาที่อาจารย์เดือดร้อนมากและกำลังค้นคว้า คือการที่สิ่งแวดล้อมมีเชื้อโรคที่ดื้อยาและสายพันธุกรรมที่ดื้อยาอยู่ในสิ่งแวดล้อม Antibiotics ตกค้างในสิ่งแวดล้อมนี่เป็นเรื่องใหญ่มากที่ต้องลุกขึ้นมาจัดการเป็นเรื่องเป็นราว ในร่างกายเรามีจุลชีพที่ดีอยู่เยอะ จุลชีพใช้ย่อยอาหาร ช่วยในการสร้างวิตามินเค ช่วยหลายๆ อย่างในร่างกายเพราะฉะนั้นจุลชีพที่ดีเราต้องสงวนเอาไว้ การกิน Antibiotics บ่อยๆ ทำให้จุลชีพเสียไปได้และทำงานผิดปกติทำให้เกิดเป็นโรคได้เยอะแยะ แล้วเมื่อจุลชีพข้างนอก Bio diversity ถ้ามันเจอ Antibiotics หรือสารพิษมันก็เสีย เพราะฉะนั้นรัฐต้องมีการควบคุมไม่ให้ Antibiotics ไปตกค้างในสิ่งแวดล้อมนี่เป็นเรื่องสำคัญมาก ตอนนี้ก็เริ่มมีการวิจัยทั่วโลกแล้วเรื่องนี้และการมีสิ่งแวดล้อมที่มีเชื้อดื้อยาหรือสายพันธุกรรมเยอะๆ นั้นมันก็จะส่งผลกระทบต่อจุลชีพในท้องที่ด้วย เช่น เราควรจะมีจุลชีพที่ดีในทุ่งนามันก็จะเสียไปหรือเกิดการเพี้ยนมากขึ้น เราพบว่ามีการใช้ Antibiotics ในการเลี้ยงสัตว์ รวมทั้งใช้ในพืชด้วย ในในการเลี้ยงสัตว์ไม่ว่าจะสัตว์บกหรือสัตว์น้ำมีหมด มีน้องที่รู้จักอยู่อยุธยาบอกว่า มีการโรยลงไปในแม่น้ำเจ้าพระยาเลยในการเลี้ยงปลากระชัง หลายคนถามว่ามันละลายไปหมดจะได้ผลหรือ ลองคิดดูเมื่อหย่อนไปตรงที่เลี้ยงอย่างน้อยตรงนั้นมันก็ได้แล้วที่เหลือก็ลอยไป หรือการเลี้ยงไก่เลี้ยงหมูมันก็ตกไปอยู่ที่ดินแล้วดินตรงนั้น เราก็เอาขี้หมูขี้ไก่ไปทำปุ๋ยใส่ผักต่อ ผักออแกนิกเกิดมามีเชื้อดื้อยาเต็มเลย อธิบายเพิ่มเติมนิดหนึ่งคือ สิ่งที่เราพบเห็นของการตกค้างนั้น 1. ตกค้าง Antibiotics ในอาหารเช่นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อไก่ กุ้ง ปลา 2. เมื่อมันตกค้างแล้วอาจจะมีเชื้อดื้อยาตกค้างด้วยและมีสายพันธุกรรมของเชื้อดื้อยาตกค้างอันนี้คือน่ากลัวที่สุด เพราะว่าสายพันธุกรรมก็คือ DNA ซึ่งบางชนิดมันทนต่อความร้อน เราเชื่อกันว่าเชื้อโรคโดนต้มก็ตายแต่ Antibiotics ต้มไม่ตาย บางทีตายหรือไม่ตาย ไม่รู้ เมื่อเรากินเข้าไปก็ทำให้ดื้อได้ การที่มีขนาด Antibiotics น้อยๆ ในร่างกายนั้นมีผลอยู่ 2 – 3 อย่างคือเด็กที่กิน Antibiotics ตั้งแต่เล็กๆ จะเกิดภูมิแพ้และโรคอ้วน เด็กอ้วนพอไม่สบายหมอก็ให้ Antibiotics เรื่อยๆ แล้วการที่อ้วนทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า โกรทโปรโมเตอร์ (Growth Promoter) ให้น้อยๆ สัตว์จะอ้วน โตเร็ว มันจะทำให้การดื้อยาเป็นไปได้เร็วขึ้นและถ้าสายพันธุกรรมดื้อยาไปปะปนกับอาหาร คนกินก็จะรับสายพันธุกรรมและสายพันธุกรรมบ้าเนี่ยนะ มันเข้าไปอยู่ในจุลินทรีย์ได้ทุกอย่างทั้งคนและสัตว์ อาจารย์เคยตั้งคำถามในการประชุมวิชาการครั้งหนึ่งว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอาหารที่เรากินนั้นไม่มีสายพันธุกรรม มีข้อกำหนดหรือยังว่าต้องให้ตรวจ คำตอบก็คือไม่มี ข้อกำหนดที่มีอยู่อย่างเดียวตอนนี้คือ 1. ปริมาณ Antibiotics ไม่เกินลิมิต  2. เชื้อไม่เกินลิมิต แต่มันไม่ได้พูดว่าดื้อยาหรือเปล่า และการที่พูดว่าไม่มี Antibiotics ในผลิตภัณฑ์ ในอาหารเกินลิมิตหมายความว่ามันมีการใช้ แต่อยู่ในระยะพัก แต่เมื่อมีการใช้นั่นหมายความว่ามันมีโอกาสเกิดการดื้อยาเกิดขึ้นได้ เพราะอาจจะมีสายพันธุกรรมดื้อหรือที่มันตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เลี้ยงมันก็ต้องดื้อและคนที่เลี้ยงก็มีสายพันธุกรรมดื้อยา คือค่อนข้างพบเยอะแล้วว่าคนที่เลี้ยงโดยใช้ Antibiotics นั้นตัวคนเลี้ยงจะมีเชื้อดื้อยาเยอะ จะติดเชื้อไม่สบายอยู่เรื่อยๆ พอไปตรวจก็พบว่ามันมีจริงและถ้ามันอยู่ในอาหารที่เรากินแล้วต้มไม่ตายทุกคนก็มีความเสี่ยงต่อการรับทั้งนั้น การต้มนั้นแบคทีเรียตายแต่สายพันธุกรรมนั้นมีงานวิจัยว่าไม่ตาย ความร้อนไม่ช่วยเลยนั่นคือสิ่งที่เป็นห่วง ดังนั้นนี่คือข้อเรียกร้องว่า เราต้องได้รับข้อมูลสถานการณ์จริงและเราต้องได้รับการปกป้องให้ได้รับผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเมื่อผู้บริโภคไปเรียกร้องสิทธิ ผู้บริโภคเองก็ต้องมีหน้าที่เมื่อคุณได้รับสั่งกินยาคุณต้องมีสิทธิถาม มีตัวอย่างหนึ่งเขาเป็นสื่อมวลชนอยู่ที่เชียงใหม่ พวกเราเป็นคนให้ความรู้เขาแล้วให้เขาทำละครชุมชน พอเขาทำแล้วเขาอินกับเรื่องนี้ ตอนที่ลูกเขาไม่สบายมีน้ำมูกใสๆ จึงพาไปหาหมอ หมอจะจ่ายยา Antibiotics เขาก็ถามเลยว่า ตกลงลูกเขาติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียครับ หมอก็อึ้งแล้วบอกว่า ต้องตรวจดู เขาจึงบอกว่ารอได้ให้ตรวจเลย พอผลตรวจออกมาหมอพูดอ้อมแอ้มบอกว่า ไม่ใช่แบคทีเรียมันเป็นไวรัสเพราฉะนั้นไม่ต้องสั่งยาต้านหรือ Antibiotics ดังนั้นต้องกล้าที่จะถามว่าเป็นแบคทีเรียหรือไวรัส ถามว่ายานี้เป็นอันตรายไหม กินแล้วจะเกิดอาการอะไรขึ้นไหม นี่คือสิทธิที่เราต้องรู้ และขณะเดียวกันเรามีหน้าที่ที่ต้อง 1.อย่าไปเรียกร้องหมอขอยาแก้อักเสบนี่ไม่ควรทำ 2.ถ้าต้องกินก็กินให้ครบ 3. ต้องดูแลภายในบ้าน เพราะบางคนหมาไม่สบายก็เอายาตัวเองให้หมากินอย่างนี้เป็นต้น คือมันถ่ายทอดทั้งเขาและเราอยู่ตลอดเวลารวมทั้งการดื้อยาด้วย และถ้าต้องเลี้ยงสัตว์เป็นเกษตรกรด้วยคุณต้องมีความห่วงใยโลก ห่วงใยสิ่งแวดล้อม ห่วงใยผู้ที่จะกินอาหารจากเรา มีเกษตรกรที่เลิกใช้  Antibiotics มาพูดคุยกับเราในงานวันสิทธิผู้บริโภคสากล 15 มีนาคม 2559 นี้ด้วยหลายกลุ่มเลย ---------ข้อสรุปของการประชุมเนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล “World Consumer Rights Day 2016” วันที่ 15 มีนาคม 2559 มีดังนี้     ปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาฯ มีสาเหตุสำคัญมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่เกินจำเป็น จากข้อมูลของสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคสากล พบว่า ประมาณครึ่งหนึ่งของยาปฏิชีวนะที่ผลิตขึ้นในโลกนี้ นำไปใช้ในการเกษตร โดยนำไปเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของสัตว์ (Growth Promoter) ใช้ป้องกันการติดเชื้อมากกว่าจะใช้เป็นยารักษาโรค คาดการณ์กันว่า ภายในปี ค.ศ.2030 จะมีการเพิ่มขึ้นของการใช้ยาปฏิชีวนะ จาก 63,200 ตัน ในปี ค.ศ.2010 เป็น 105,600 ตันในปี ค.ศ.2030       การรณรงค์เรียกร้องที่ดำเนินการทั่วโลกในปีนี้มีเป้าหมายเพื่อให้ บริษัทอาหารฟาสต์ฟู้ดทั่วโลกให้สัญญาต่อผู้บริโภคว่าจะหยุดการขายเนื้อสัตว์ที่มีการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสม  โดยถือเป็นหน้าที่ของผู้บริโภคทุกคนที่จะมีส่วนช่วยในการเรียกร้องให้เกิดความปลอดภัยในอาหารที่เราบริโภค ดังนั้นในการจัดประชุมเนื่องในวันสิทธิผู้บริโภคสากล เครือข่ายภาคประชาชนภายใต้สภาผู้บริโภคแห่งชาติ มีความตระหนักและให้ความสำคัญในปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น จึงมีข้อเรียกร้องต่อทุกภาคส่วน ดังนี้ 1.เรียกร้องให้ทุกภาคส่วน ทั้งรัฐ และเอกชน ร่วมกันขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ในประเด็น “วิกฤติการณ์เชื้อแบคทีเรียดื้อยาและการจัดการปัญหาแบบบูรณาการ” โดยมีกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพหลัก ในการดำเนินการจัดการปัญหาวิกฤติแบคทีเรียดื้อยาอย่างบูรณาการ ผ่านโครงสร้างและกลไกต่างๆ ที่ต้องจัดตั้งขึ้นมาเพื่อรับผิดชอบจัดการปัญหาในระดับประเทศ ระดับพื้นที่ ตลอดจนระดับสถานพยาบาลและในชุมชน โดยครอบคลุมทั้งการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในมนุษย์ และในการเกษตร 2.เรียกร้องให้รัฐ กำหนดมาตรการให้ผู้ประกอบการที่มีการนำยาปฏิชีวนะไปใช้ในการเกษตร ต้องเปิดเผยข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะทั้งหมด และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ต้องมีมาตรการในการควบคุมไม่ให้มีการตกค้างในอาหารและสิ่งแวดล้อม 3.เรียกร้องให้ผู้ประกอบการด้านเกษตรและปศุสัตว์ ดำเนินการควบคุมการใช้ยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น ทั้งในเกษตรกรรายย่อย และการเกษตรพันธะสัญญา รวมทั้งเปิดเผยข้อมูลการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลในการตัดสินใจบริโภคได้อย่างปลอดภัย  และลดผลกระทบไม่ให้เกิดปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยาตามมา 4.เรียกร้องให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำเนื้อสัตว์มาจำหน่ายแก่ผู้บริโภค4.1ขอให้ตรวจสอบแหล่งที่มาของเนื้อสัตว์ที่นำมาประกอบอาหารเพื่อจำหน่ายแก่ผู้บริโภค       4.2 ขอให้บริษัทมีแผนปฏิบัติการลดและยุติการใช้เนื้อสัตว์ที่มีกระบวนการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นอาหาร เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในการเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ4.3 ขอให้มีตัวแทนจากนักวิชาการภายนอกตรวจสอบแผนปฏิบัติการลดและยุติการใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์และรายงานต่อสาธารณะทุก 3 เดือน 5.เรียกร้องให้บุคลากรสุขภาพทุกคน มีส่วนในการรณรงค์เพื่อให้เกิดการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุผล ทั้งในสถานพยาบาลรัฐและเอกชน 6.เรียกร้องให้ผู้บริโภคทุกคน พึงตั้งคำถามทั้งต่อตนเองและต่อบุคลากรสุขภาพว่า มีความจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะจริงหรือไม่ ก่อนการตัดสินใจบริโภค 7.เรียกร้องให้สื่อดำเนินการให้ข้อมูลต่อผู้บริโภคให้ตระหนักในปัญหาเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และ ความจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงการบริโภคยาปฏิชีวนะที่ไม่จำเป็น    

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point

ฉบับที่ 180 จะเป็นอย่างไรเมื่อ(ร่าง) รัฐธรรมนูญใหม่ ไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค

หลายท่านที่ติดตามข่าวคงได้เห็นแล้วว่าภาคประชาชนมีแอคชั่นทวงสิทธิผู้บริโภคที่หายไปในรัฐธรรมนูญ กับกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญ โดยคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคกว่า 150 คน ได้ไปยื่นหนังสือคัดค้านการประชุมของสคบ.และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่มีมติไม่สนับสนุนกฎหมายอ้างเหตุซ้ำซ้อน และขอให้สนับสนุนกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค กับ ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ โดยมี นายกมล สุขสมบูรณ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีสำนักนายกฯ เป็นผู้รับหนังสือแทน ทุกคนมีสิทธิฉบับนี้ จึงขอพาไปติดตามสองความคิดเห็นของ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน และนางสาว สารี อ๋องสมหวัง ในฐานะเลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อ(ร่าง) รัฐธรรมนูญใหม่ ไม่มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคดร.ไพบูลย์ ช่วงทองส่วนตัวผมมองว่า การทำงานของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดปัจจุบันยึดโยงและสอบถามความเห็นประชาชนน้อย ทำให้หลายภาคส่วน ออกมาแสดงความคิดเห็นว่า เป็นการร่างรัฐธรรมนูญแบบย้อนยุคไปเมื่อสมัย 40 ปี ที่แล้ว ที่ให้รัฐทำทุกอย่าง ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ล้าสมัย และเป็นสาเหตุสำคัญในการนำพาประเทศมาถึงทางตันทางการเมือง ไม่มีทางออก จนต้องนำมาสู่การรัฐประหารปี 2558 โดย คณะ คสช. ส่วนตัวผมมองว่า การเข้ามาของ คสช. ผมมองว่าไม่ถูกต้อง แต่ในขณะนั้น สังคมเราไม่มีทางเลือกที่ดีกว่า การใช้อำนาจในการเข้ามาควบคุมสถานการณ์ทางการเมือง ที่ ประชาชน 2 ฝ่าย มีแนวโน้มที่จะปะทะกันและนำไปสู่ ความรุนแรง และอาจเป็นบาดแผลที่ยากเกินกว่าจะเยียวยา ในประวัติศาสตร์ของประเทศได้ แต่เมื่อเหตุการณ์บ้านเมืองสงบขึ้น ส่วนตัวผมมองว่า ประชาชนได้ฝากความหวังว่าการทำงาน ของ คสช. จะกลับมาแก้ปัญหา การกระจายอำนาจ  รักษาหลักการ เคารพสิทธิมนุษยชน เพิ่มสิทธิพลเมือง ขยายสิทธิผู้บริโภค โดยยอมนิ่งสงบทั้งๆ ที่ การฉีกรัฐธรรมนูญ เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนคนไทยทุกคน ซึ่งต้องเข้าใจนะครับว่า รัฐธรรมนูญที่ถูกฉีกไปนั้น จะดีจะเลวอย่างไร ก็ผ่านเสียงประชามติของประชาชนทั้งประเทศมาแล้ว และส่วนตัวผม รัฐธรรมนูญ ปี 40 ที่ถูกฉีกไปเมื่อปี 49 ก็รับรองสิทธิของผู้บริโภคไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 57  “มาตรา 57 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎและข้อบังคับและให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค” นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญปี 50 ที่ถูกฉีกอีกครั้ง ก็ยังคงรับรองสิทธิ โดยบัญญัติไว้ว่า “มาตรา 61 สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครองในการได้รับข้อมูลที่เป็นความจริง และมีสิทธิร้องเรียนเพื่อให้ได้รับการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย รวมทั้งมีสิทธิรวมตัวกันเพื่อพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของหน่วยงานของรัฐในการตราและการบังคับใช้กฎหมายและกฎ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภครวมทั้งตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งนี้ให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย” ในขั้นตอนการร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ... นั้น องค์กรผู้บริโภคได้ร่วมผลักดันให้เกิดกฎหมายนี้ มาตั้งแต่ขั้นตอนการ ล่ารายชื่อประชาชน จำนวนกว่า 12,000 รายชื่อ เพื่อเสนอกฎหมายโดยภาคประชาชน ได้ดำเนินมาจนถึงขั้น ได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภา และ กำลังรอความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไปนั้น ก็เกิดอุบัติเหตุทางการเมืองขึ้น โดย คสช. ประกาศยึดอำนาจ ขึ้นทำให้ พรบ. ที่มีประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวที่ยาวนานของภาคประชาสังคม ต้องมีอันต้องตกไป ล่าสุดจากรายงานของคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบและรับหลักการร่าง พรบ. องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พร้อมเสนอร่างพรบ. ดังกล่าวต่อ คณะรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสร้างดุลภาพแห่งอำนาจการจัดการด้านการคุ้มครองผู้บริโภค โดยคำนึงถึง 3 ด้าน คือ ภาครัฐ ภาคผู้ประกอบการ และภาคประชาชน น่าเสียดาย ที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ หมดวาระไปก่อน และเมื่อ มีการจัดตั้ง สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศขึ้น ความสำคัญของงานด้านการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ก็ถูกลดทอนความสำคัญลง ตามเหตุปัจจัยตามสถานการณ์ทางการเมืองต้องขออนุญาต เล่าประวัติศาสตร์และความเป็นมาของ การคุ้มครองผู้บริโภคในอดีตให้เห็นภาพก่อน เพราะ การเคลื่อนไหว ตลอด 17 ปี ที่ผ่านมา งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคมีความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ทางการเมืองอยู่มาก จนถึงขณะนี้ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับอ.มีชัยและคณะ ไม่ปรากฏ บทบัญญัติ ให้สมกับ แนวความคิดปฏิรูปงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ที่ ต้องสร้างดุลภาพทางอำนาจ ทั้งสามฝ่ายให้เกิดขึ้น จากสิทธิประชาชนในฐานะผู้บริโภค แปลงร่างเป็น การคุ้มครองผู้บริโภค ที่ยกให้เป็นหน้าที่ของภาครัฐ ผมมองว่า เป็นการลดทอนบทบาท ของการมีส่วนร่วมในทางการเมืองการปกครอง งานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เหมือนกับ ด้านคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และคุ้มครองสิทธิชุมชน ที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์อยู่ สิทธิอันชอบธรรมอย่างหนึ่งของคนทำงานทางด้านการเคลื่อนไหวงานทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภค คือ การเสนอข้อมูล และให้ความรู้ กับประชาชน ตลอดจนทำข้อเสนอและความเห็นผ่านไปยัง อ.มีชัยและคณะ ต่อ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อเสนอให้มีการปรับแก้ เพราะ ความเห็นของประชาชนย่อมมีน้ำหนักกว่า ความเห็นของ ผู้บริหารหน่วยงานรัฐ ที่ เมื่อถึงวัยเกษียณแล้ว ก็จะหมดบทบาทหน้าที่ต่องานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคทันที ในขณะที่ รัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น กฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่มีฐานความคิดว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย จะยังคงมีผลต่อไปชั่วลูกชั่วหลาน หากบทบัญญัติใด ไม่สอดคล้องกับหลักการดังกล่าว ประชาชนก็มีสิทธิและหน้าที่อันชอบธรรมในการที่จะปฏิเสธ ไม่รับ ร่างธรรมนูญฉบับนั้น สารี อ๋องสมหวังส่วนตัวดิฉันคิดว่า รัฐธรรมนูญที่มีการยกร่างใหม่ไม่ว่าในยุคสมัยใด ยังไม่เคยปรากฎว่าสิทธิและเสรีภาพของประชาชนลดลง แต่ก็ต้องบอกว่าฉบับนี้ สิทธิพื้นฐานของมนุษย์ที่สำคัญ สิทธิของประชาชน สิทธิชุมชน สิทธิผู้บริโภค และสิทธิของกลุ่ม ถูกลดทอนและหายไปจำนวนมาก  มีปัญหาทั้งเรื่องโครงสร้างของร่างรัฐธรรมนูญ ที่ย้ายหมวดสิทธิของประชาชนจำนวนมากไปอยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ทำให้กฎหมายสูงสุดของประเทศกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการใช้อำนาจลิดรอนสิทธิของประชาชน เนื้อหาสาระที่เป็นปัญหา และรวมทั้งไม่เป็นปัจจุบันและไม่แก้ปัญหาในอดีตหากมองเฉพาะส่วนสิทธิของผู้บริโภคที่อยู่ในหมวดหน้าที่ของรัฐ ก็เขียนไว้แบบแคบๆ ในมาตรา 57 ว่า รัฐต้องจัดให้มีมาตรการหรือกลไกการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้บริโภครวมกลุ่มกันเพื่อปกป้องสิทธิของตน ซึ่งการเขียนไว้เพียงเท่านี้ จะทำให้หน่วยงานรัฐ สามารถตีความได้ว่า ตนเองมีมาตรการ หรือกลไกคุ้มครองสิทธิที่ครบถ้วนแล้ว การส่งเสริม และการสนับสนุนให้รวมกลุ่มปัจจุบันก็มีการดำเนินการแล้วเป็นระยะ ไม่จำเป็นต้องปรับปรุงมาตรการหรือกลไกอะไรในการคุ้มครองผู้บริโภค “การเขียนแบบนี้ เป็นการยึดสิทธิของผู้บริโภคไปอยู่ภายใต้อำนาจของรัฐ  แตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 ที่ระบุให้มีองค์กรของผู้บริโภคระดับประเทศ หรือองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่ให้ความเห็น หรือเสนอหน่วยงานของรัฐในการออกกฎหมาย กฎ หรือมาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค นั่นคือการออกกฎหมาย กติกาที่เป็นประโยชน์กับผู้บริโภคไม่ถูกผูกขาดในมือของหน่วยงานรัฐเท่านั้น ช่วยสนับสนุนหน่วยงานรัฐในการบังคับใช้กฎหมาย ตรวจสอบหน่วยงานรัฐในการทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค สนับสนุนและส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรู้และทักษะที่จำเป็นด้านการคุ้มครองผู้บริโภค และฟ้องคดีเพื่อสาธารณะประโยชน์ โดยให้รัฐสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการขององค์การอิสระดังกล่าวด้วย” การเขียนไว้สั้นๆ ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ถือว่าถอยหลังไปก่อนปี 2522  ทำให้ผู้บริโภคขาดองค์กรของผู้บริโภคระดับประเทศ ในการทำหน้าที่แทนผู้บริโภค หรือในต่างประเทศจะเรียกว่า สิทธิที่จะมีตัวแทนผู้บริโภคในการกำหนดกติกา( Right to representation) ในการต่อรองกับภาคธุรกิจเพื่อให้เกิดการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และยิ่งสำคัญมากกับประเทศไทยที่หน่วยงานรัฐในบ้านนี้เมืองนี้ ข้าราชการชั้นผู้น้อยไม่กล้าเถียงชั้นผู้ใหญ่ หรือไม่กล้าเถียงนักการเมืองเพื่อให้มีการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้น หรือหากมองไปในรัฐธรรมนูญ 2540 ในอดีตที่กำหนดให้มีองค์การอิสระ แต่เมื่อไม่ได้เขียนว่า เป็นอิสระอย่างไร ก็เป็นที่ถกเถียงมาก ว่าองค์การอิสระนี้สามารถเขียนไว้ภายใต้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้หรือไม่ หรือจะต้องทำเป็นกฎหมายเฉพาะ จนทำให้ไม่สามารถออกกฎหมายได้ และเป็นเหตุให้รัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า ให้มีองค์การเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอิสระจากหน่วยงานของรัฐ สิ่งนี้สะท้อนว่าทุกตัวอักษรในรัฐธรรมนูญไม่ได้เกิดขึ้นลอยๆ มีที่ไปที่มา และประวัติศาสตร์มากมายส่วนประเด็นความซ้ำซ้อนที่เลขาธิการสคบ. มองว่า “องค์กรผู้บริโภคนี้ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพราะกระบวนการในการจัดทำและบังคับใช้กฎหมาย มีกฎหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ของทางราชการกำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ของรัฐจะต้องมีกระบวนการในการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน ผู้เกี่ยวข้องหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอยู่แล้ว และการคุ้มครองผู้บริโภคถือเป็นหน้าที่หลักของภาครัฐ เป็นการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับประชาชนเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย นอกจากนี้การบังคับใช้กฎหมาย การดำเนินคดี การเปรียบเทียบความผิดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เป็นการใช้อำนาจทางปกครองซึ่งเป็นอำนาจโดยตรงตามกฎหมายของหน่วยงานรัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร จึงไม่ควรเป็นหน้าที่ของภาคประชาชนเป็นผู้ดำเนินการ แต่ภาคประชาชนควรมีบทบาทในการส่งเสริม สนับสนุนภารกิจของภาครัฐ และเติมเต็มในมิติอื่นๆ ที่ภาครัฐยังไม่สามารถดำเนินการได้ ดังนั้นการที่ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดให้คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองมีอำนาจและหน้าที่หลายประการ ซึ่งเป็นหน้าที่โดยตรงของหน่วยงานของรัฐและมีกฎหมายกำกับอยู่แล้ว จึงเป็นการซ้อซ้อนกับกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน ที่ประชุมของหน่วยงานรัฐและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 66 คน โดยไม่มีผู้บริโภค จึงไม่เห็นด้วยที่จะให้มีกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคนี้ต้องบอกว่า เป็นความน่าเบื่อของสคบ. ที่ทุกครั้งของการตัดสินใจต้องมีภาคธุรกิจ และทำหน้าที่แทนผู้บริโภคไม่ได้ และสะท้อนว่า รัฐไม่เคารพหลักการหรือมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย หรือฟังความเห็นจากทุกฝ่ายจริงตามที่อ้าง ไม่งั้นจำนวน 66 คนนี้ ต้องมีตัวแทนขององค์กรผู้บริโภคที่สนับสนุนกฎหมายฉบับนี้มาโดยตลอดขอให้อ่านร่างกฎหมายฉบับนี้ให้ดี จะเห็นว่า ได้ว่า องค์กรนี้ไม่ได้ใช้อำนาจรัฐ ไม่สามารถให้คุณให้โทษกับภาคธุรกิจได้ ทำหน้าที่ให้ความเห็นและเสนอแนะกับหน่วยงานรัฐ แต่มีหน้าที่โดยตรงในการให้ข้อมูลผู้บริโภคให้มีความรู้ เท่าทันสามารถต่อรองกับผู้ประกอบการได้ หรือแม้แต่อำนาจในการฟ้องก็เป็นเพียงสิทธิพื้นฐานเทียบเท่าประชาชนในการยื่นฟ้อง เพราะศาลยุติธรรมเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐในการพิจารณาคดี สุดท้ายอยากฝากไปภาคธุรกิจ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่คัดค้านกฎหมายฉบับนี้ ต้องบอกว่าหมดยุคธุรกิจใต้โต๊ะ หรือไม่นับถือผู้บริโภค ยุคปัจุบันและอนาคตต้องยึดความพึงพอใจของผู้บริโภคเป็นสำคัญ หากสังคมทำให้เกิดอำนาจต่อรองของผู้บริโภคมากเท่าไหร่ ย่อมสะท้อนคุณภาพของสินค้าและบริการของประเทศนั้น ๆ ดังที่เราเห็นในประเทศพัฒนาแล้ว หรือแม้แต่เพื่อนบ้านเราอย่างประเทศสิงคโปร์สิทธิของผู้บริโภคในรัฐธรรมนูญในอดีต จนถึงร่างฉบับปัจจุบัน                  

สำหรับสมาชิก >
ฉลาดซื้อ เก็บแต้มแลกสินค้า250 Point